หน้าที่ ๒ บาลีไวยกรณ์


 

    

                           บาลีไวยกรณ์

   

             เรียนบาลีไวยกรณ์แบบเข้าใจง่าย   
   ๐บาลีไวยกรณ์ในทัศนะของข้าพเจ้า มันค่อนข้างจะสับสนเรียนเข้าใจได้ยากครูบาอารย์แทบจะทุกคนสอนให้ ท่องจำอย่างเดียว ข้าพเจ้าขอยอมรับว่า ข้าพเจ้าสอบได้ตามที่ครูบาอารย์สั่งสอนมา แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเข้าใจมันอย่างแจ่มแจ้งเลย ข้าพเจ้าเพียงทำให้มันสอบได้เท่านั้น  เมื่อข้าพเจ้าหยุดเรียนปล่อยทิ้งไว้หลายปีก็แทบจะลืมมันทั้งหมด นับเป็นเวลานานที่เดียวที่ข้าพเจ้าเคยคิดเอาไว้ในสมัยที่ข้าพเจ้าได้เรียนบาลีไวยกรณ์ว่า สักวันหนึ่งจะต้องนำมันมาศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ให้ได้  เมื่อข้าพเจ้าได้เรียนความรู้ทางโลกจบตามที่ตัวเองต้องการแล้ว  ข้าพเจ้าก็มีเวลาว่างพอจึงได้หยิบเอาบาลีไวยกรณ์มาเรียนใหม่ การเรียนครั้งนี้ข้าพเจ้าเรียนด้วยตนเอง แต่ถ้าข้าพเจ้าสงสัยอะไร  ข้าพเจ้าจะถาม  ปรมาอาจารย์ กูเกิล                 
   คราวนี้ข้าพเจ้าตั้งใจไว้ว่าจะเรียนด้วยตัวเองและต้องเรียนแบบเข้าใจไม่ใช่เรียนแบบท่องจำเมื่คิดได้เข่นนี้ ข้าพเจ้าจึงเริ่มปรับปรุงหลักสูตรในการเรียนบาลีไวยกรณ์ใหม่ คือทำให้มันเรียนง่ายขึ้นและเข้าใจได้ง่ายโดยไม่ต้องท่องจำ  ข้าพเจ้าเห็นว่าการท่องจำนั้  ถ้าเราไม่มั่นทบทวนอยู่บ่อยๆมันก็จะลืมเลือนหายไปจากมันสมองของเราจนหมดสิ้น   เราจะมีวิธีอย่างไรจึงจะให้การเรียนบาลีไวยกรณ์จำติดอยู่ในมันสมองของเราตลอดไป  ข้าพเจ้าคิดหาวิธีอยู่เป็นเวลานานจึงได้มาค้นพบวิธีว่า "การเรียนแบบเข้าใจเท่านั้นจึงจะทำให้การเรียนบาลีไวยกรณ์จำติดอยู่ในสมองตลอดไป" การเรียนแบบเข้าใจนั้นคือการเรียนแบบรู้แจ้งในหลักบาลีไวยกรณ์ทั้งหมดแบบเข้าใจง่ายๆ ไม่ใช่เรียนแบบเพื่อสอบได้อย่างเดียวแต่ตัองให้เข้าใจหลักของบาลีไวยกรณ์อย่างแท้จริง  ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะพาท่านไปศึกษาเล่าเรียนบาลีไวยกรณ์แบบเข้าใจต่อไป
                     บทเรียนที่ ๑
     ๐บาลีไวยกรณ์แบ่งออกเป็น  ๔  ภาค   คือ:-
       ๑.อักขรวิธี               แปลว่า "แบบของตัวอักษร"
       ๒.วจีวิภาค               แปลว่า "การแบ่งคำพูด"
       ๓.วากยสัมพันธ์        แปลว่า "การผูกคำพูดให้เป็นอันเดียวกัน"
       ๔.ฉันทลักษณะ        แปลว่า "วิธีการแต่งฉันท์"
                  อักขรวิธี  ภาคที่ ๑
     ๐อักขรวิธี   คือวิธีที่ว่าด้วยเรื่องของอักษร  แบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด  คือ:-
        ๑.สมัญญาภิธาน    คือการแสดงชื่อของอักษร ที่เป็นสระ และพยัญชนะ พร้อมทั้งฐานกรณ์ที่เกิด  เช่น:-
                    สระ  
           -อณฺณํ        แปลว่า "ข้าว"
           -อิตฺถี          แปลว่า "ผู้หญิง"
           -ทานํ          แปลว่า "การให้"
           -กีสา          แปลว่า "ผอม"
                  พยัญชนะ
           -โสตฺถิ        แปลว่า "ความสวัสดี"
           -เสฏฺฐํ        แปลว่า "ผู้เจริญกว่า"
           -ฐานกรณ์  คือที่ตั้งที่เกิดของอักขระมี  ๖  ฐาน   คือ:-
               ๑.กณฺโฐ    คือ  คอ
               ๒.ตาลุ       คือ  เพดาน
               ๓.มุทฺธา     คือ  ศีร์ษะ  หรือ  ปุ่มเหงือก
               ๔.ทนฺโต     คือ  ฟัน
               ๕.โอฏฺโฐ    คือ  ริมฝีปาก
               ๖.นาสิกา    คือ  จมูก   
       ๒.สนธิ   คือการต่ออักษรที่อยู่คนละคำ ให้ต่อเนื่องเป็นคำเดียวกัน   เช่น:-
             -จตฺตาโร   อิเม     ต่อกันเข้าเป็น        จตฺตาโรเม       =สี่อย่างเหล่านี้
             -กต    อุปกาโร      ,,              ,,      กโตปกาโร     =อุปการะที่กระทำแล้ว
             -อิทฺธิ    พล           ,,              ,,      อิทธิพล          =กำลังแห่งฤทธิ์
                    เรื่องของสมัญญาภิธาน
   -สมัญญาภิธาน   แปลว่า "การกำหนดสระและพยัญชนะให้เป็นคำพูด"
   -สมัญญาภิธาน  แบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด   คือ:-
      ๑.สระ   หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาจากช่องเสียง โดยไม่มีการกักอากาศ     
         -สระที่มี  ๘  ตัว   คือ  อ   อา   อิ   อี   อุ   อู   เอ   โอ       
      ๒.พยัญชนะ คือเสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ
         - พยัญชนะ มี  ๓๓  ตัว  คือ:-
             -ก   ข   ค    ฆ     ง
             -จ   ฉ   ช    ฌ    ญ
             -ฏ   ฐ   ฑ    ฒ    ณ
             -ต   ถ   ท    ธ     น
             -ป   ผ   พ    ภ     ม
             -ย   ร   ล    ว      ส   ห   ฬ   อํ
                            อักขระ
    ๐เสียงก็ดี ตัวหนังสือก็ดี เรียกว่า "อักขระ"   อักขระ แปลว่า "ไม่รู้จักหมดจักสิ้นไป และ ไม่เป็นของแข็ง"  แบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด  คือ:-
       ๑.เสียง
       ๒.ตัวหนังสือ
                   เสียงในภาษาบาลี
    ๐เสียงในภาษาบาลี  แบ่งออกเป็น  ๓  ชนิด   คือ:-
       ๑.เป็นรัสสะสระ  คือสระที่มีเสียงสั้น มี  ๓  ตัว  คือ  อ   อิ   อุ     เช่น:-
           -อณฺณํ       แปลว่า "ข้าว"
           -อิตฺถี         แปลว่า "ผู้หญิง"
           -ครุ           แปลว่า "ครู"
       ๒.เป็นฑีฆะสระ  คือสระที่มีเสียงยาว มี  ๕  ตัว   คือ  อา   อี   อู   เอ   โอ    เช่น:-
           -ทานํ          แปลว่า "การให้"
           -กีสา          แปลว่า "ผอม"
           -ภูต           แปลว่า "ปีศาจ"
           -เมตตา      แปลว่า "ความรักใคร่"
           -โภชนํ       แปลว่า "อาหาร"
       ๓.เสียงพยัญชนะสังโยค   คือพยัญชนะที่มีเสียงควบกล้ำกัน ๒ ตัว โดยตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและอีกตัวหนึ่งเป็นตัวตาม    เช่น:-
           -เสยโย         แปลว่า "ประเสริฐ"
           -โสตฺถิ          แปลว่า "ความสวัสดี"
           -เสฏฺฐํ          แปลว่า "ผู้เจริญกว่า"
      -สระที่เป็นทีฆะล้วน และสระที่เป็นพยัญชนะสังโยค และมีนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง เป็นสระที่มีเสียงหนัก   เช่น:-
         -ภูปาโล             =ผู้รักษาแผ่นดิน
         -เอสี                  =ผู้แสวงหา
         -มนุสฺสินฺโท        =ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์
         -โกเสยฺยํ           =ผ้าไหม   ผ้าแพร
     -สระที่เป็นรัสสะล้วน  ไม่มีพยัญชนะสังโยคอยู่ด้วย และไม่มี อํ  นิคคหิตอยู่ในเบื้องหลัง เป็็นสระที่มีเสียงเบา   เช่น:-
         -ปติ                  =ผัว   นาย   เจ้าของ   เป็นหัวหน้า
         -มุนิ                  =ผู้รู้
         -อิติ                  =ด้วยประการฉะนี้
     -สระที่จัดเป็นคู่  แบ่งออกเป็น ๓ คู่   คือ:-
         ๑.อุ  กับ  อา      เรียกว่า "อุวณฺโณ"
         ๒.อิ  กับ  อี        เรียกว่า "อิวณฺโณ"
         ๓.อุ  กับ  อู         เรียกว่า "อุวณฺโณ"
     -เอ  กับ  โอ   เป็นสังยุตตสระ  คือสระ  ๒  คัว แต่ออกเป็นเสียงเดียวกัน   เช่น:-
         -ภาเสยฺโย             =ผู้กล่าว
         -อาหุเนยฺโย          =ผู้ควรบูชา
     -อ  กับ  อิ       ผสมกันเป็น    เอ      และ  อ  กับ  อุ     ผสมกันเป็น   โอ   เพราะฉะนั้นสระทั้ง ๒ ตัวนี้จึงใน  ๒  ฐาน
               ตัวหนังสือในภาษาบาลี
    ๐ตัวหนังสือในภาษาบาลี  แบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด   คือ:-
         ๑.สระ              แปลว่า "เสียง หรือ สำเนียงที่บ่งถึงชื่อ"
         ๑.พยัญชนะ     แปลว่า "ทำเนื้อความให้ปรากฏ"
                ว่าด้วยเรื่องของสระ         
       -สระในภาษาบาลี มี  ๘  ตัว  คือ อ   อา   อิ   อี   อุ   อู   เอ   โอ
          -สระ  ๘  ตัว เหล่านี้ ชื่อว่า "นิสสัย"  เพราะเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ           
          -สระจะออกเสียงได้ชัดเจนและรู้ความหมายจะต้องอาศัยพยัญชนะ   เช่น:-
              -อณฺณํ           แปลว่า "ข้าว"
              -นารี              แปลว่า "นางสาวน้อย"
              -กีสา              แปลว่า "ผอม"
              -สุวณฺณํ         แปลว่า "ทองคำ"
              -ภูตา             แปลว่า "ป๊ศาจ"
              -เมตฺตา          แปลว่า "ความรักใคร่"
              -โภคา           แปลว่า "ของกินของใช้"
             ว่าด้วยเรื่องของพยัญชนะ
      -พยัญชนะ มี  ๓๓  ตัว  คือ:-
             -ก   ข   ค   ฆ   ง
             -จ   ฉ   ช   ฌ   ญ
             -ฏ   ฐ   ฑ   ฒ   ณ
             -ต   ถ   ท   ธ   น
             -ป   ผ   พ   ภ   ม
             -ย   ร   ล   ว   ส   ห   ฬ   อํ
          -พยัญชนะ  ๓๓  ตัวเหล่านี้จะต้องอาศัยสระจึงจะรู้ความหมายได้ชัดเจน   เช่น:-
             -ถ้าถามว่า "ไปไหนมา"   ถ้าไม่อาศัยสระก็จะเป็น  "ปหนม"   ฟังดูแล้วไม่รู้ความหมายว่าหมายถึงอะไร?  ใช่ไหม๊?   เมื่อใส่สระเข้ามาแล้วจึงจะเป็น "ไปไหนมา"
               พยัญชนะ ๓๓ ตัว
    ๐พยัญชนะ ๓๓ ตัง แบ่งออกเป็น ๒ วรรค   คือ:-
       ๑.วรรค   แปลว่า "พวก"  คือพยัชนะที่เป็นพวกเดียวกันตามฐานกรณ์ที่เกิด   เช่่น:-
           -วรรคที่ ๑   คือ ก วรรค   มี ๕  ตัว   คือ  ก   ข   ค   ฆ   ง
           -วรรคที่ ๒   คือ จ วรรค   มี ๕  ตัว   คือ  จ   ฉ   ช   ฌ   ญ
           -วรรคที่ ๓   คือ ฏ วรรค  มี ๕  ตัว   คือ  ฏ   ฐ   ฑ   ฒ   ณ
           -วรรคที่ ๔   คือ ต วรรค  มี ๕  ตัว   คือ  ต   ถ   ท   ธ   น
           -วรรคที่ ๕   คือ ป วรรค  มี ๕  ตัว   คือ  ป   ผ   พ   ภ   ม         
      ๒.อวรรค   แปลว่า "ไม่ใช่พวก"   คือพยัญชนะที่ไม่ใช่พวกเดียวกันตามฐานกรณ์ที่เกิด  มี ๘  ตัว   คือ  ย   ร   ล   ว   ส   ห   ฬ   อํ
           -พยัญชนะคือ  อํ  เรียกว่า "นิคคหิต"   ตามคัมภีร์ศัพทศาสตร์ เรียกว่า "อนุสาร"
           -นิคคหิต   แปลว่า "กดสระ หรือ กรณ์"  คืออวัยวะทำเสียง  เวลาจะว่าไม่ต้องอ้าปากมากเกินไป เหมือนว่า ทีฆะสระ   เช่น:-
             -ยุตตํ               = ประกอบ
             -วญญาณํ        = การรู้แจ้ง        
             -ทยฺหํ               = ของเรา
             -กิเลสํ              = เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
      -อนุสาร   แปลว่า "ไปตามสระะ"   คือพยัญชนะ อํ ตัวนี้ จะต้องไปตามหลังสระ  คือ:-  อ    อิ   อุ    เช่น:-
             -อหํ            = เรา
             -อกาสิ        = ได้กระทำแล้ว
             -เสตุํ           = สพาน
     -สระ เปรียบเหมอนต้นไม้  อํ นิคคหิต เปรียบเหมือนนก ธรรมดาว่านกจะต้องอาศัยจับอยู่บนต้นไม้ จึงจะดำเนินชีวิตไปได้
     ว่าด้วยเรื่องฐานกรณ์ของอักขระ
     ๐ฐานกรณ์  คือที่ตั้งที่เกิดของอักขระมี  ๖  ชนิด   คือ:-
       ๑.กณฺโฐ    คือ  คอ
       ๒.ตาลุ       คือ  เพดาน
       ๓.มุทฺธา     คือ  ศีร์ษะ  หรือ  ปุ่มเหงือก
       ๔.ทนฺโต     คือ  ฟัน
       ๕.โอฏฺโฐ    คือ  ริมฝีปาก
       ๖.นาสิกา    คือ  จมูก
   -อักขระบางพวกเกิดฐานเดียว  อักระบางพวกเกิดสองฐาน
                  อักขระเกิดในฐานเดียว
     -อ   อา   ก   ข   ค   ฆ   ง   ห    อักขระ ๘ ตัวเหล่านี้ เกิดที่ คอ  เรียกว่า "กณฺฐชา  
     -อิ   อี   จ   ฉ   ช   ฌ   ญ   ย    อักขระ ๘ ตัวเหล่านี้ เกิดที่ เพดาน   เรียกว่า "ตาลุชา"
     -ฏ   ฐ   ฑ   ฒ   ณ   ร   ฬ    อักขระ ๗ ตัวเหล่านี้ เกิดที่  ศีรษะหรือปุ่มเงือก  เรียกว่า "มุทฺธชา"
     -ต   ถ   ท   ธ   น   ล   ส   อักขระ  ๗  ตัวนี้เหล่านี้  เกิดที่ฟัน  เรียกว่า "ทันตชา"
     -อุ   อู   ป   ผ   พ   ภ   ม   อักขระ  ๗  ตัวเหล่านี้   เกิดที่ริมฝีปาก  เรียกว่า "โอฏฐชา"
     -อํ  นิคคหิต  เกิดในจมูก   เรียกว่า "นาสิกฏฺฐานชา"
    -ตัวอักขระทั้งหลายเหล่านี้เกิดในหลายฐาน     แต่ตัวพยัญชนะสุดท้ายวรรค ๕ ตัว  คือ ง   ญ   ณ   น   ม  เกิดในฐานเดียว
    -เอ     เกิดในสองฐาน     คือ  คอและเพดาน      เรียกว่า "กัณฐตาลุโช"
    -โอ     เกิดในสองฐาน     คือ  คอและริมฝีปาก    เรียกว่า "คณฺโฐฏฺฐโช"
    -พยัญชนะที่สุดวรรค ๕ ตัว   คือ  ง   ญ   ณ   ฯ   ม   เกิดในสองฐาน   คือเกิดตามฐานของตน และเกิดในจมูกอีกเรียกว่า "สกฏฺฐานนาสิกฏฺฐานชา"
    -ว     เกิดในสองฐาน    คือ  ฟันและริมฝีปาก    เรียกว่า "ทนฺโตฏฺฐโช"
    -ห     ที่ประกอบด้วยพยัญชนะ ๘ ตัว  คือ  ญ   ณ   ฯ   ม   ย   ล   ว   ฬ  เกิดแต่คอ   แต่ถ้าไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะเหล่านี้  ก็จะเกิดในคอตามฐานเดิมของตน
                     สมัญญาภิธาน
   ๑. อักขรวิธี  แบ่งออกเป็น ๒ คือ สมัญญาภิธาน และสนธิ
   ๒. อักขระที่เป็นสระและพยัญชนะ พร้อมทั้งฐานและกรณ์ คือ สมัญญาภิธาน
   ๓. เสียงก็ดี  ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่า อักขระ ๆ นั้นแปลว่า ไม่รู้จักสิ้น ๑ ไม่เป็นของแข็ง ๑
   ๔. สระมี ๘ ตัว  คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
   ๕. พยัญชนะมี ๓๓  ตัว คือ:-  
       -ก ข ค ฆ ง.    
       -จ ฉ ช ฌ  ญ.    
       -ฏ  ฐ   ฑ ฒ  ณ.
       -ต ถ  ธ ท น.    
       -ป ผ พ ภ ม.     
       -ย ร ล ว ส ห ฬ  อํ.
   ๖. สระ๘ ตัว เรียกว่า นิสสัย  เพราะออกเสียงได้ด้วยตัวเอง  พร้อมทั้งทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้ด้วย
    -อ  อิ  อุ    ๓   ตัวนี้   เรียกว่า  "รัสสสระ"     เพราะมีเสียงสั้น                  
    อา  อี  อู  เอ  โอ   ๕   ตัวนี้    เรียกว่า  "ทีฆสระ"    เพราะมีเสียงยาว        
    สระทั้ง ๘ ตัวจัดตามวรรคได้ ๓ วรรค คือ:-
     ๑. อ อา   เรียก     อวณฺโณ
     ๒. อิ อี   เรียก   อิวณฺโณ
     ๓. อุ อู   เรียก   อุวณฺโณ
       ส่วน เอ และ โอ เรียกว่า "สังยุตตสระ"  เพราะเป็นสระผสม
    คือ อ  กับ  อิ เป็น  เอ อ  กับ อุ เป็น โอฯ
   ๗. พยัญชนะมี ๓๓ ตัวแปลว่าทำเนื้อความให้ปรากฏเรียกว่า "นิสสิต" เพราะต้องอาศัยสระจึงออกเสียงได้    แบ่งเป็น ๒ พวก คือ:-
    ๑.พวกที่เป็นหมู่เดียวกันตามฐานและกรณ์     เรียกว่า "วรรค"
    ๒.พวกที่ไม่เป็นหมู่เดียวกันตามฐานและกรณ์     เรียกว่า  "อวรรค"
   ๘. พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว  จัดเป็น ๕ วรรค คือ:-         
      -ก  ข  ค ฆ  ง   เรียกว่า  ก   วรรค                  
      -จ ฉ ช ฌ  ญ เรียกว่า จ วรรค              
      -ฏ  ฐ  ฑ ฒ ณ  เรียกว่า  ฏ    วรรค
      -ต ถ ธ ท  น เรียกว่า ต วรรค              
      -ป  ผ  พ  ภ  ม  เรียกว่า  ป วรรค
   ๙.พยัญชนะอวรรคมี ๘  ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
   ๑๐. อํ เรียกว่า "นิคคหิต"  แปลว่า "กดสระ"  คือเวลาเปล่งเสียงจะกดฐานและกรณ์ไว้  ตามศาสโวหาร    เรียกว่า "อนุสาร" เพราะไปตามรัสสสระ   คือ อ  อิ อุ เช่น อหํ ,  อกาสึ ,  เสตุ,  เป็นต้น
   ๑๑. ฐาน คือ ที่ตั้ง, ที่เกิดของอักขระ มี ๖ คือ:-     
     ๑.กณฺโฐ  คอ
     ๒.ตาลุ  เพดาน
     ๓.มุทฺธา  ศีรษะ/ปุ่มเหงือก
     ๔.ทนฺโต  ฟัน
     ๕.โอฏฺโฐ ริมฝีปาก
     ๖.นาสิกา  จมูก
   ๑๒.กรณ์  คือ  อวัยวะเครื่องทำเสียงของอักขระ มี ๔ คือ:-
     ๑.ชิวฺหามชฺฌํ   ท่ามกลางลิ้น             
     ๒.ชิวฺโหปคฺคํ    ถัดปลายลิ้นเข้ามา
     ๓.ชิวฺหคฺคํ   ปลายลิ้น                
     ๔.สกฏฺฐานํ    ฐานของตน
 -อักษรทั้ง  ๔๑  ตัว  มีฐานกรณ์ต่าง ๆ กันดังนี้
    -อักษร                                    -ฐาน                                   -กรณ์
      -อ อา,  ก ข   ค ฆ   ง,  ห         กณฺโฐ/คอ                          กณฺโฐ/สกฎฐานํ
      -อิ อี,    จ ฉ ช ฌ  ญ,  ย          ตาลุ/เพดาน                       ชิวฺหามชฺฌํ
      -ฎ  ฐ ฑ ฒ ณ,  ร ฬ                มุทฺธา/ศีรษะหรือปุ่มเหงือก  ชิวฺโหปคฺคํ
      -ต ถ   ท ธ   น,  ล  ส               ทนฺโต/ฟัน                          ชิวฺหคฺคํ
      -อุ อู,  ป ผ   พ   ภ  ม              โอฎโฐ/ริมฝีปาก                 โอฎโฐ/สกฎฐานํ
      -อํ                                         นาสิกา/จมูก                       นาสิกา/สกฎฐานํ         
              อักขระเกิดใน  ๒  ฐาน
      -อักษร                     ฐาน                     กรณ์
       เอ                         กณฺโฐ/ตาลุ          กณฺโฐ/ชิวฺหามชฺฌํ
       โอ                        กณฺโฐ/โอฎฺโฐ       กณฺโฐ/โอฎฺโฐ
       ว                          กณฺโฐ/โอฎฺโฐ       ชิวฺหคฺคํ/โอฎฺโฐ
       ง  ญ น ณ ม          สกฎฺฐานํ/นาสิกํ     สกฎฺฐานํ/นาสิกา
    ๑๓.อักขระที่เกิดใน ๒ ฐาน คือ พยัญชนะที่สุดวรรคทั้ง ๕ ตัว คือ  ง  ญ ณ น ม  เกิดที่ฐานของตนและจมูกเรียกว่า "สกฏฺฐานนาสิกฏฺฐานชา"        
      -เอ     เกิดที่คอและเพดาน  เรียกว่า   "กณฺฐตาลุโช"
      -โอ    เกิดที่คอและริมฝีปาก  เรียกว่า  "กณฺโฐฏฺฐโช"  
      -ว      เกิดที่ฟันและริมฝีปาก  เรียกว่า  "ทนฺโตฏฺฐโช"
       ห   ถ้าประกอบด้วยพยัญชนะ ๘  ตัว คือ  ญ ณ น ม ย ล ว ฬ เกิดที่อก เรียกว่า "อุรโช"  
          ถ้าไม่ประกอบด้วยพยัญชนะเหล่านี้  เกิดที่คอตามเดิม
    ใส่ใจ  ท่องจำ  ค้นคว้า  ทำความเข้าใจ  คือหัวใจนักศึกษา
    ๑๔ เสียงของพยัญชนะทั้ง ๓๓ ตัว
    -อโฆสะ ได้แก่ พยัญชนะที่มีเสียงไม่ก้อง  คือ พยัญชนะที่ ๑ - ๒ ในวรรคทั้ง ๕ และ  ส รวม ๑๑ ตัว
    -โฆสะ ได้แก่พยัญชนะที่มีเสียงก้อง คือพยัญชนะที่ ๓-๔-๕ ในวรรค ทั้ง ๕ และ ย ร ล ว ห ฬ รวม ๒๑ ตัว
    -สิถิล  ได้แก่ พยัญชนะที่มีเสียงเบา  คือพยัญชนะที่ ๑ - ๓ - ๕ ในวรรคทั้ง ๕
    -ธนิต  ได้แก่ พยัญชนะที่มีเสียงหนัก  คือ พยัญชนะที่ ๒ - ๔ ในวรรคทั้ง ๕
    -สิถิลอโฆสะ  ได้แก่  พยัญชนะที่มีเสียงเบาและไม่ก้อง คือ พยัญชนะที่ ๑ ในวรรคทั้ง  ๕
    -ธนิตอโฆสะ  ได้แก่  พยัญชนะที่มีเสียงหนักและไม่ก้อง คือ พยัญชนะที่ ๒ ในวรรคทั้ง  ๕
    -สิถิลโฆสะ   ได้แก่  พยัญชนะที่มีเสียงเบาแต่ก้อง คือ พยัญชนะที่  ๓ - ๕ ในวรรคทั้ง  ๕
    -ธนิตโฆสะ   ได้แก่  พยัญชนะที่มีเสียงหนักและก้อง คือ พยัญชนะที่ ๔ ในวรรคทั้ง  ๕
    -โฆสาโฆสวิมุติ ได้แก่ พยัญชนะที่ไม่จัดเป็น โฆสะ  และ อโฆสะ คือ อํ
    -พยัญชนะ โฆสะ อโฆสะ สิถิล ธนิต จัดเป็นตารางได้ดังนี้
      -พยัญชนะวรรค           -อโฆสะ                               โฆสะ                               
                                    -สิถิล           -ธนิต            -สิถิล           -ธนิต         -สิถืล
                                       ก                ข                 ค                ฆ             ง
                                       จ                ฉ                 ช                ฌ            ญ
                                       ฏ                ฐ                 ฑ                ฒ            ณ
                                       ต                ถ                 ท                ธ             น
                                       ป                ผ                 พ                ภ             ม
                  
      -พยัญชนะอวรรค        -อโฆสะ              -โฆสะ                 -วิมุติ
                                           ส                  ย  ร  ล  ว  ห  ฬ         อํ      
                       พยัญชนะสังโยค
       ๑.  พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑  และที่ ๒ ในวรรคของตนได้
       ๒.  พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่  ๔ ในวรรคของตนได้
       ๓.  พยัญชนะที่ ๕  ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทุกตัว ยกเว้น ง  ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้
       ๔.  พยัญชนะอวรรค ๓ ตัว คือ ย ล ส  ทำเป็นพยัญชนะซ้อนตัวเองได้
     เช่น    เสยฺโย,  สลฺล และ ตสฺส เป็นต้น.
  ๑๕.  พยัญชนะอวรรค ๗ ตัว คือ  ย ร ล ว ส  ห ฬ เรียกว่า "อัฑฒสระ"  เพราะว่า  ออกเสียงกึ่งสระ

             สนธิ       
         คำสนธิ คืออะไร?
   คำสนธิ คือ การเชื่อมคำเข้าด้วยกัน โดยนำคำบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเป็นคำเดียวกันเสียงสุดท้ายของคำหน้า รับเสียงหน้าของคำหลัง  โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ และนิคหิตที่มาเชื่อมเพื่อการกลมกลืนเสียงให้เป็นธรรมชาติของการออกเสียง และทำให้คำเหล่านั้นมีเสียงสั้นเข้า เช่น:-
     คำ                        รวมเป็น
   -คช + อินทร์           คชินทร์
   -อัคคี + โอภาส       อัคโยภาส
   -มหา + อรรณพ      มหรรณพ
   -สนธิ   แปลว่า  "เชื่อม"
    ลักษณะของคำสนธิ
เกิดจากคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป
ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น
มีการเชื่อมคำโดยเปลี่ยนแปลงสระ พยัญชนะ หรือนิคหิต ของคำเดิม
มักเรียงคำหลักไว้หลังคำขยาย ดังนั้นในการแปลความหมายจะแปลจากหลังไปหน้า
     ชนิดของการสนธิ
การสนธิ แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงอักษร คือ:-
   ๑.สระสนธิ
   ๒.พยัญชนะสนธิ
   ๓.นิคหิตสนธิ
      สระสนธิ
  สระสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ เพื่อให้เสียงสระ ๒ เสียง ได้กลมกลืนเป็นเสียงเดียวกัน แบ่งออกเป็น ๓ วิธี ได้แก่
 ๑.อะ อา สนธิกับ อะ อา ได้เป็น อะ หรือ อา   เช่น:-
       คำพื้น                      รวมเป็น
    -กต + อัญชลี             กตัญชลี
    -คงคา + อาลัย           คงคาลัย
    -เทศ + อภิบาล           เทศาภิบาล
    -มหา + อัศจรรย์         มหัศจรรย์
    -วิทย + อาลัย            วิทยาลัย
 ๒. อะ อา สนธิกับ อิ อี ได้เป็น อิ อี หรือ เอ   เช่น:-
   คำพื้น                    รวมเป็น
  -มหา + อิทธิ           มหิทธิ
  -อุตร + อีสาน         อุตรีสาน
  -คช + อินทร์          คชินทร์, คเชนทร์
 ๓. อะ อา สนธิกับ อุ อู ได้เป็น อุ อู หรือ โอ เช่น
    คำพื้น                     รวมเป็น
  -มัคค + อุเทศน์        มัคคุเทศน์
  -ราช + อุปโภค        ราชูปโภค
  -บุริส + อุดม            บุริโสดม
 ๔. อะ อา สนธิกับ เอ ไอ โอ เอา ได้เป็น เอ โอ ไอ หรือ เอา เช่น
     คำพื้น                       รวมเป็น
  -มหา + โอสถ              มโหสถ
  -มหา + โอฬาร            มโหฬาร, มเหาฬาร
  -อน + เอก                   อเนก
 ๕.  อิ อี สนธิกับ อิ อี ได้เป็น อิ อี หรือ เอ   เช่น:-
     คำพื้น                    รวมเป็น
      -มุนี + อินทร์         มุนินทร์
      -อริ + อินทร์         อรินทร์, อเรนทร์
 ๖. อิ อี สนธิกับสระอื่นที่ไม่ใช่ อิ อี ด้วยกัน ต้องแปลง อิ อี เป็น ย ก่อน แล้วจึงสนธิกับสระหลัง และถ้าคำหน้ามีพยัญชนะตัวตามซ้อนกัน ก็ให้ลบตัวหน้าทิ้งหนึ่งตัวด้วย   เช่น:-
     คำพื้น                     รวมเป็น
   -อัคคี + โอภาส         อัคโยภาส
   -อัคคย + โอภาส       อัคโยภาส
   -อธิ + อาศัย             อัธยาศัย
 ๗. อุ อู สนธิกับ อุ อู ได้เป็น อุ อู หรือ โอ     เช่น
      คำพื้น                    รวมเป็น
   -คุรุ + อุปกรณ์          คุรุปกรณ์, คุรูปกรณ์, คุโรปกรณ์
 ๘. อุ อู สนธิกับสระอื่นที่ไม่ใช่ อุ อู ด้วยกัน ต้องแปลง อุ อู เป็น ว ก่อน แล้วจึงสนธิกับสระหลัง    เช่น:-
     คำพื้น                  รวมเป็น
    -ธนู + อาคม         ธันวาคม
 
         พยัญชนะสนธิ
   พยัญชนะสนธิ เป็นการเชื่อมคำระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะคำเดิมก่อน
นำมาสนธิ ซึ่งเป็นวิธีการรวมคำในภาษาบาลีสันสกฤต ไทยรับมาใช้เพียงไม่กี่คำ เช่น:-
    คำพื้น                   รวมเป็น
    -มนสฺ + ภาพ          มโนภาพ
    -รหสฺ + ฐาน           รโหฐาน
    -นิสฺ + ภัย              นิรภัย
    -นิสฺ + ทุกข์           นิรทุกข์
   -ทุสฺ + คติ              ทุรคติ
   -มนสฺ + ธรรม         มโนธรรม
   -เตชสฺ + ธาตุ         เตโชธาตุ
   -ศิรสฺ + เมธน์         ศิโรเมฐน์
   -พฺรหฺมนฺ + ชาติ     พรหมชาติ
   -ทุสฺ + ลักษณ์        ทรลักษณ์
 
       นิคหิตสนธิ
  นิคหิตสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ หรือสระก็ได้ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
  ๑.นิคหิต สนธิกับ สระ แปลงนิคหิตเป็น ม     เช่น:-
      คำพื้น                    รวมเป็น
     -สํ + อาทาน           สมาทาน
     -สํ + โอสร              สโมสร
     -สํ + อิทธิ               สมิทธิ
     -สํ + อาคม             สมาคม
     -สํ + อาจาร            สมาจาร
     -สํ + ยุทัย              สมุทัย
     -สํ + อาส               สมาส
  ๒.นิคหิต สนธิกับ พยัญชนะวรรค แปลงนิคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคนั้นๆ    เช่น:-
     คำพื้น                    รวมเป็น
    -สํ + กร                   สังกร
    -สํ + จร                   สัญจร
    -สํ + ฐาน                 สัณฐาน
    -สํ + ธาน                 สันธาน
    -สํ + ภาร                 สัมภาร
    -สํ + ขาร                 สังขาร
    -สํ + ชาติ                สัญชาติ
    -สํ + ฐิติ                  สัณฐิติ
    -สํ + นิบาต              สันนิบาต
    -สํ + พนฺธ               สัมพันธ์
   ๓.นิคหิต สนธิกับ เศษวรรค (ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ) แปลงนิคหิตเป็น ง    เช่น:-
      คำพื้น                    รวมเป็น
    -สํ + โยค                 สังโยค
    -สํ + วาส                 สังวาส
    -สํ + สนฺทน              สังสันทน์
    -สํ + สาร                  สังสาร
    -สํ + วร                    สังวร
    -สํ + สรรค์               สังสรรค์
    -สํ + หรณ์                สังหรณ์

          ตัวอย่างของสนธิ

   -ตตฺรายมาทิ

   -ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย

   -ยสฺสินทฺริยานิ

   -จตฺตาโรเม

   -ตยสฺสุ

   -พนฺธุสฺเสว

   -ตถูปมั

   -ปญฺจหุปาลิ

   -อิติสฺส

   -ตฺยสฺส

   -วตฺเถฺวตฺถ 
     ประโยชน์ของการสนธิคำ
ได้รูปศัพท์ใหม่ที่เด่นด้วยความหมาย และได้รูปคำที่มีความสละสลวย
เป็นประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ และร่าย
     หลักการสังเกตคำสนธิ
คำสนธิต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
เมื่อนำคำมาสนธิกันแล้ว จะกลายเป็นคำเดียว และจะต้องแปลจากคำหลังมาหาคำที่อยู่ข้างหน้าคำที่จะนำมาสนธิกัน จะต้องมีทั้งสระหน้าและสระหลัง
เมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อมเสมอ

   http://www.palidict.com/content/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99
         สมัญญาภิธานและสนธิ จบเพียงแค่นี้

 

           

                วจีวิภาค  ภาคที่ ๒

        ๐วจีวิภาคๆ ที่ ๒  แบ่งออกเป็น  ๖  ชนิด   คือ:-
       ๑.นาม                 แปลว่า "ชื่อ"
       ๒.อัพยยศัพท์      แปลว่า "ศัพท์ที่แจกด้วยวิภัตฺทั้ง ๗ ไม่ไติ
       ๓.อาขยาต           แปลว่า " บอก, กล่าว" 

       -อาขยาต  หมายถึง  ศัพท์ที่บอกกิริยา คือการกระทำ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน  กิน   ดื่ม   ทำ   พูด   คิด
      ๔.กิตก์               แปลว่า "ตกแต่งแล้ว"  คือตกแต่งด้วยธาตุอันสำเร็จแล้ว
      ๕.สมาส              แปลว่า "การย่อ"
      ๖.ตัทธิต              แปลว่า "การใช้ปัจจัยแทนศัพท์"

           นาม
  นามศัพท์นั้นแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด  คือ:-
   ๑.นามนาม            แปลว่า "ชื่อของชื่อ"
   ๒.คุณนาม            แปลว่า "ชื่อของการแสดงลักษณะ"
   ๓.สัพพนาม          แปลว่า "ชื่อทั่วไป"

   นามทั้ง ๓ คือ นามนาม   คุณนาม   และสัพพนาม  มีสิ่งที่เกี่ยวข้องที่จะใช้เป็นเครื่องมือแบ่งออกเป็น  ๓  ชนิด  คือ:-

      ๑.ลิงค์

      ๒.วจนะ

      ๓.วิภัตติ

                   ลิงค์

     ๐ลิงค์    แปลว่า "เพศ"   แบ่งเพศออกเป็น  ๓  เพศ     คือ:-

       ๑.ปุงลิงค์     แปลว่า "เพศชาย"

       ๒.อิตถีลิงค์    แปลว่า "เพศหญิง"

       ๓.นปุงสกะลิงค์    แปลว่า "ไม่ใช่เพศชายและเพศหญิง"

      -นามนาม  เป็นได้ลิงค์เดียว  คือจะเป็นปุงลิงค์   อิตถีลิงค์   หรือนปุงสกะลิงค์ก็ได้ 

         -นามนามที่เป็นปุงลิงค์    เช่น:-

                  ปุงลิงค์

        -อมโร                แปลว่า         เทวดา

        -อาทิจฺโจ               ,,             พระอาทิตย์

        -อินฺโท                   ,,             พระอินทร์

        -อีโส                     ,,             คนเป็นใหญ่

        -อุทธิ                    ,,             ทะเล

        -เอรนฺโฑ               ,,             ต้นระหุ่ง

        -โอโฆ                   ,,             ห้วงน้ำ

        -กณฺโณ                ,,             หู

        -จนฺโท                  ,,             พระจันทร์

        -ตรุ                      ,,             ต้นไม้

        -ปพฺพโต              ,,             ภูเขา

        -ยโม                   ,,              พระยม

       -นามนามที่เป็นอิตถีลิงต์    เช่น:-

                  อิถีลิงค์

        -อจฺฉรา              แปลว่า          นางอัปสร

        -อาภา                    ,,              รัศมี

        -อิทธิ                      ,,             ฤทธิ์

        -อีสา                      ,,             งอนไถ

        -อุฬุ                       ,,              ดาว

        -เอสิกา                  ,,              เสาระเนียด

        -โอชา                   ,,               รส

        -กฏิ                       ,,              สะเอว

        -จมู                       ,,              เสนา

        -ตารา                   ,,               ดาว

        -ปภา                     ,,              รัศมี

        -ยาคุ                     ,,              ข้าวต้ม

      -นามนามที่เป็นนปุงสกะลิงค์    เช่น:-

                   นปุงสกะลิงค์

        -องฺคํ                    แปลว่า        องค์

        -อารมฺมณํ               ,,              อารมณ์

        -อิณํ                       ,,              หนี้

        -อิริณํ                     ,,              ทุ่งนา

        -อุทกํ                      ,,              น้ำ

        -เอฬาสุกํ                ,,              ฟักเหลือง

        -โอกํ                      ,,              น้ำ

        -กมฺมํ                     ,,              กรรม

        -จกฺขุ                     ,,              นัยต์ตา

        -เตลํ                      ,,              น้ำมัน

        -ปณฺณํ                  ,,              ใบไม้, หนิงสือ

        -ยานํ                     ,,              ยาน (รถ, เรือ, ร่ม, รองเท้า) 

   **คำเตือน

     -คำศัพท์ทั้งหลายเหล่านี้ขอให้นักเรียนและนักศึกษาทั้งหลายจงจดจำเอาไว้ให้ด้ มันจะมีประโยชน์มากในการแปลบาลเป็นไทยและแปลไทยเป็นบาลีที่จะได้เรียนในปนระโยคสูงๆขึ้นไป  การจำนั้นอย่าท่องจำโดยเด็ดขาด ขอให้อ่านทุกวันวันละ ๒ จบ  อ่านบ่อยๆ อ่านออกเสียงดังๆ มันจะค่อยๆซึมเข้าไปในมันสมองของเราเอง และให้หาเวลาที่เราสบายและโล่งใจแล้วนั่งสมาธิประมาณสัก ๑๐ นาที ต่อจากนั้นให้นึกถึงคำศัพท์ในแต่ละลิงค์ ให้เริ่มจากคำศัพท์ในปุงลิงค์ก่อนคือให้นึกดูว่ามันมีกี่คำ  แต่ละคำแปลว่าอะไร? ให้ฝึกทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันจะคล่องตัวเอง  วิธีจำคำศัพท์นี้เอาไปใช้ได้ทุกบทเรียน

   -นามนามศัพท์เดียว มีรูปศัพท์เป็นอย่างเดียวกัน แต่เป็นได้ ๒ ลิงค์   คือ ปุงลิงค์ และนปุงสกะลิงค์   เช่น:-

         ปุงลิงค์                นปุงสกะลิงค์           แปลว่า

        -อกฺขโร                อกฺขรํ                      อักษร

        -อคาโร                 อคารํ                      เรือน

        -อุตุ                      อุตุ                          ฤดู

        -ทิวโส                  ทิวสํ                         วัน

        -มโน                    มนํ                           ใจ

        -สํวจฺฉโร              สํวจฺฉรํ                      ปี

     -นามนามศัพท์เดียว แต่เปลี่ยนสระที่สุดแห่งคำศัพท์ เป็นได้ ๒ ลิงค์   คือ ปุงลิงค์ และอิตถีลิงค์  เช่น:-   
           ปุงลิงค์                       อิตถีลิงค์                  แปลว่า

        -อรหา  หรีอ  อรหํ           อรหนฺตํ                   พระอรหันต์

        -อาชีวโก                       อาชีวกา                  นักบวช

        -อุปาสโก                       อุปาสิกา                  อุบาสก, อุบาสิกา

        -กุมาโร                         กุมารี, กุมาริกา        เด็กชาย, เด็กหญิง

        -ขตฺติโย                        ขตฺติยานี, ขตฺติยา    กษัตริย์, กษัตรีย์

        -โคโณ                          คาวี                         โคตัวผู้, โคตัวเมีย

        -โจโร                            โจรี                         โจรผู้ชาย, โจรผู้หญิง

        -ญาตโก                        ญาติกา                   ญาติชาย, ญาติหญิง

        -ตรุโณ                          ตรุณี                       ชายหนุ่ม, หญิงสาว

        -เถโร                            เถรี                          พระเถระ, พระเถรี

        -ทารโก                         ทาริกา                     เด็กชาย, เด็กหญิง

        -เทโว                            เทวี                          พระราชา, พระราชินี

        -นโร                             นารี                          ผู้ชาย, ผู้หญิง

        -ปริพฺพาชโก                 ปริพฺพาชิกา              นักบวชชาย, นักบวชหญิง

        -ภิกฺขุ                            ภิกฺขุนี                      ภิกฺษุ, ภิกษุณี

        -ภวํ                              โภตี                          ผู้เจริญ

        -มนุสฺโส                        มนุสฺสี                       มนุษย์ชาย, มนุษย์หญิง

        -ยกฺโข                          ยกฺขินี                       ยักษ์, ยักษิณี

        -ยุวา                            ยุวตี                           ชายหนุ่ม, หญิงสาว

        -ราชา                          ราชินี                         พระเจ้าแผ่นดิน, พระราชินี

        -สขา                            สขี                            เพื่อนชาย, เพื่อนหญิง

        -หตฺถี                           หตฺถินี                        ช้างพลาย (ช้างตัวผู้), ช้างพัง (ช้างตัวเมีย)

     -คุณนามเป็นได้  ๓  ลิงค์    เช่น:-

           คุณนามเป็น ๓ ลิงค์

          ปุงลิงค์                 อิตถีลิงค์               นปุงสกะลิงค์             แปลว่า

        -กมฺมกาโร              กมฺมการินี             กทฺมการํ                   ทำการงาน

        -คุณวา                   คุณวตี                  คุณวํ                        มีตุณ    

        -จณฺโฑ                  จณฺฑา                  จณฺฑํ                       ดุร้าย

        -เชฏฺโฐ                  เชฏฺฐา                   เชฏฺฐํ                       เจริญที่สุด

        -ตาโณ                  นาณา                    ตาณํ                       ต้านทาน

        -ถิโร                      ถิรา                       ถิรํ                           มั่นคง

        -ทกฺโข                  ทกฺขา                     ทกฺขํ                       ขยัน

        -ธมฺมิโก                ธมฺมิกา                   ธมฺมิกํ                      ตั้งในธรรม

        -นาโถ                   นาถา                     นาถํ                        ที่พึ่ ง                                     -ปาโป                   ปาปา                     ปาปํ                        บาป

        -โภคี                    โภคินี                     โภคิ                        มีโภคะ

        -มติมา                  มติมตี                    มติมํ                       มีความคิด

        -ลาภี                    ลาภิน๊                    ลาภิ                        มีลาภ

        -สทฺโธ                  สทฺธา                    สทฺธํ                        มีศรัทธา

           ว่าด้วยเรื่องของวจนะ

   ๐วจนะ  แปลว่า "คำพูด"  ในภาษาบาลีคำพูดแบ่งวจนะออกเป็น ๒ ชนิด  คือ:-

      ๑.เอกวจนะ        คือคำพูดที่ออกชื่อของสิ่งเดียว

      ๒.พหุวจนะ        คือคำพูดที่ออกชื่อของหลายสิ่งคือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป

     วจนะทั้ง ๒ ชนืดนี้จะมีเครื่องหมายที่ทำให้แปลกกันที่ท้ายคำศัพท์   เช่น:-

        -ปุริโส    ชายคนเดียว   เป็นเอกวจนะ

        -ปุริสา    ชายหลายคน   เป็นพหุวจนะ

              ว่าด้วยเรื่องของวิภัตติ

   ๐ วิภัตติ   แปลว่า "การแจก, หรือ การแบ่ง" 

      -วิภัตติมี  ๑๔  ตัว  แบ่งเป็นเอกวจนะ ๗ ตัว  และพหุวจนะ ๗ ตัว  คือ:-

                                เอกวจนะ  ๗  ตัว              พหุวจนะ ๗ ตัว

        ๑.ปฐมาวิภัตติ        สิ                                   โย

        ๒.ทุติยาวิภัตติ        อํ                                  โย

        ๓.ตติยาวิภัตติ        นา                                 หิ

        ๔.จตุตถีวิภัตติ        ส                                   นํ

        ๕.ปญฺจมีวิภัตติ       สฺมา                               หิ

        ๖.ฉัตถีวิภัตติ           ส                                  นํ

        ๗.สัตตมีวิภัตติ       สฺมึ                                 สุ

     -ปฐมาวิภัตติเป็นได้  ๒  อย่าง   คือ:-

         ๑.เป็นลิงคัตโถ   คือใช้เป็นตัวประธานของประโยค    เช่น:-

             -ปุริโส  คาเม   วสติ.  -บุรุษย่อมอยู่ในบ้าน.  ปุริโส  เป็นลิงคัตโถ

         ๒.เป็นกัตตา   คือเป็นตัวอาลปนะ สำหรับใช้ในการร้องเรียน   เช่น:-

             -ภนฺเด       ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

             -เทวเต       ข้าแต่เทวดา

             -ภทฺเท        ดูก่อนนางผู้เจริญ

            ทั้ง ๓ คำนี้เป็นคำ อาลปนะ     อาลปนะ  แปลว่า "การเรียกร้อง"

                       อายตนิบาต

     ๐อายตนิบาต   คือคำปรุงแต่งวิภัตติทั้ง ๗ ให้รู้ความหมายได้ดีขึ้น

                         เอกวจนะ                        พหุวจนะ

   ๑.ปฐมาวิภัตติ     อันว่า                            อันว่าทั้งหลาย

   ๒.ทุติยาวิภัตติ    ซึ่ง, สูํ, ยัง, สิ้น               ซึ่, สู่, ยัง, สิ้น (ทั้งหลาย)

   ๓.ตติยาวิภัตติ    ด้วย, โดย, อัน                ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี  (ทั้งหลาย)

                            ตาม, เพราะ, มี

   ๔.จตุตถีวิภัตติ   แก่, เพื่อ, ต่อ                   แก่, เพื่อ, ต่อ  (ทั้งหลาย)

   ๕,ปัญจมีวิภัตติ  แต่, จาก, กว่า, เหตุ         แต่, จาก, กว่า, เหตุ (ทั้งหลาย)

   ๖.ฉัตถีวิภัตติ     แห่ง, ของ, เมื่อ               แห่ง, ของ, เมื่อ (ทั้งหลาย)

   ๗.สัตตมีวิภัตติ  ใน, ใกล้, ที่                   ใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในพเพราะ  (ทั้งหลาย)  

                           ครั้นเมื่อ, ในเพราะ 

   ๘.อาลปนะวิภัตติ  แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่      แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่  (ทั้งหลาย)           



     ปฐมา ที่ 1 อันว่า
ทุติยา ที่ 2 ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ
ตติยา ที่ 3 ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วยทั้ง
จตุตฺถี ที่ 4 แก่, เพื่อ, ต่อ
ปญฺจมี ที่ 5 แต่, จาก, กว่า, เหตุ, เพราะ
ฉฏฺฐี ที่ 6 แห่ง, ของ, เมื่อ
สตฺตมี ที่ 7 ใน, ใกล้, ที่, ณ, บน, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ
อาลปนะ แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่ 
     

    

          นามนาม
  นามนาม  คือนามที่เป็นชื่อของคน, สัตว์, สิ่งของ, และสถานที่ 
    -นามนาม ที่เป็นชื่อของคน  เช่น:-
      -อนาถบิณฺฑิกเสฎฺฐี    แปลว่า "เศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ"
      -วิสาขามหาอุปาสิกา   แปลว่า "มหาอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา"
      -ทลฺลิกาเทวี    แปลว่า "พระเทวีชื่อว่ามัลลิกา"
    -นามนาม ที่เป็นชื่อของสัตว์   เช่น:-
      -ปาลืเลยฺยโก     แปลว่า "ช้างปาลิเลยกะ"
      -กณฺฐโก    แปลว่า "ม้ากัณฐกะ"
      -โคนนฺทวิสาโล    แปลว่า "โคนันทวิสาล"
    -นามนาม ที่เป็นชื่อของสิ่งของ   เช่น:-
      -อนฺนํ    แปลว่า "ข้าว"
      -ปณฺณํ   แปลว่า "หนังสือ"
      -ธนํ    แปลว่า "ทรัพย์"
      -ชวณิกา   แปลว่า "ผ้าม่าน"
   -นามนาม ที่เป็นขื่อของสถานที่   เช่น:-
      -ชนปโท    แปลว่า "ชนบท"
      -อาเธยฺโย   แปลว่า "โรงเก็บของ"
      -คาโม    แปลว่า "บ้าน"
   -นามนามนี้ แบ่งออกเป็น ๒ คือ:-
      ๑.สาธารณนาม     แปลว่า "นามทั่วไป"
      ๒.อสาธารณนาม   แปลว่า "นามที่ไม่ทั่วไป"
            สาธารณนาม
  -สาธารณนาม  คือนามทั่วไป ได้แก่ คน, สัตว์,สิ่งของ, สถานที่  เช่น:-
     -มนุสฺโส    แปลว่า "มนุษย์"มนุษย์
     -ติรจฺฉาโน    แปลว่า "สัตว์ดิรัจฉาน"
     -ปณฺณํ    แปลว่า "หนังสือ"
     -นคร    แปลว่า "เมือง"  
            อสาธารณนาม
  -อสาธารณนาม  คือนามที่ไม่ทั่วไป แก่สิ่งอื่น   เช่น:-
    -ทีฆาวุ    แปลว่า "กุมารชื่อว่าทีฆาวุ"
    -เอราวโณ   แปลว่าว่า "ช้างชื่อว่าเอราวัณ"
    -สาวตฺถี    แปลว่า "เมืองชื่อว่าสาวัตถี
            คุณนาม
   -คุณนาม  คือนามที่แสดงลักษณะของนามนาม เพื่อจะให้รู้ว่า นามนามนั้น ดีหรือชั่ว  เช่น:-
      -ปญฺวา    แปลว่า "มีปัญญา"    เช่น
        -ปญฺวา  ปุริโส    แปลว่า "บุรุษผู้มีปัญญา"
        -กาฬ     แปลว่า "ดำ"   เช่น
          -กาโฬ  ปุคฺคโล    แปลว่า "คนดำ"
        -เสต    แปลว่า "ขาว"    เช่น
          -เสโต  ปุคฺคโล    แปลว่า "คนขาว"
      -ปุริโส บุรุษ ถือเอาความตามภา ษาของเราว่า บุรุษมีปัญญา
      -ปญวา   กาโฬ   เสโต   ๓ คำนี้เป็นคุณนามที่ใช้ในการแสดงลักณะของนามนาม คือ  ปุริโส   ปุุคฺคโล
   -คุณนามนี้แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ:-
      ๑.ปกติ
      ๒.วิเสส
      ๓.อติวิเสส

        คุณนามขั้นปกติ
     -คุณนามขั้นปกติ   เช่น:-
       -ปณฺฑิโต   แปลว่า "เป็นบัณฑิต"
       -ปาโป     แปลว่า "เป็นบาป"
          คุณนามขั้นวิเสส
     -คุณนามขั้นวิเสส   เช่น:-
       -ปณฺฑิตฺตโร    แปลว่า "เป็นบัณฑิตกว่า"
       -ปาปตโร     แปลว่า "เป็นบาปกว่า"
          คุณนามขั้นอติวิเสส
    -คุณนามขั้นอติวิเสส    เช่น:-
       -ปณฺทิตฺตโม    แปลว่า "เป็นบัณฑิตที่สุด"
       -ปาปตโม        แปลว่า "เป็นบาปที่สุด"      
   -คุณนามขั้นวิเสสนั้น ใช้ปัจจัยในตัทธิต ๒ ตัวนี้คือ ตร  อิย ปัจจัย แปลว่า "กว่า"  และใช้อุปสัคคือ อติ แปลว่า "ยิ่ง" มาต่อท้าย
   -คุณนาทขั้นอติวิเสส ใช้ปัจจัย ๒ ตัว ในตัทธิต คือ ตม อิฏฺ ปัจจัย ที่แปลว่า "ที่สุด" มาต่อท้าย

             สัพพนาม
  ๐สัพพนาม  คือคำที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำซาก อันเป็นการไม่เพาะหู   แบ่งออกเป็น ๒  ชนิด   คือ:-
    ๑.ปุริสสัพพนาม    คือคำที่ใช้แทนนามนามที่เป็นบุคคลหรือสิ่งของที่ได้ออกชื่อมาแล้ว   เช่น:-

        -อหํ, มยํ  (เอกะ, พหุ)         แปลว่า"ข้าพเจ้า"
        -ตฺวํ, ตุมฺเห  (เอกะ, พหุ)      แปลว่า "ท่าน"

        -โส, เต (เอกะ, พหุ)            แปลว่า "เขา, มัน"

 

     

 

     ๒.วิเสสนสัพพนาม
(ดู แบบแจกสัพพนาม)
              ปุริสสรรพนาม
  ปุริสสัพพนาม คือ คำที่ใช้แทนบุคคล สิ่งต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึง หรือแทนตัวผู้พูดหรือผู้ฟัง  เช่น เขา, ท่าน, ฉัน  เป็นต้นแบ่งเป็น ๓ บุรุษ คือ:-
   ๑.ปฐมบุรุษ หมายถึง บุคคล สิ่งต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึง
ในภาษาบาลีใช้ ต ศัพท์  แปลว่า  เขา, มัน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ความเหมาะสมในภาษาไทย
เป็นได้ 3 ลิงค์
   ๒.มัธยมบุรุษ  หมายถึง ผู้ฟัง หรือผู้ที่พูดด้วย
ในภาษาบาลีใช้ ตุมฺห ศัพท์  แปลว่า  คุณ, ท่าน, เธอ, เจ้า,  เอ็ง, มึง  เป็นต้น ตามสมควร เป็นได้ 2 ลิงค์ คือ
ปุงลิงค์ และ อิตถีลิงค์
   ๓.อุตตมบุรุษ หมายถึง ตัวผู้พูดเอง
ในภาษาบาลีใช้ อมฺห ศัพท์  แปลว่า  ผม, ดิฉัน, ฉัน, กระผม, ข้าพเจ้า, เรา, กู เป็นต้น  ตามสมควร  
เป็นได้ 2 ลิงค์ คือ ปุงลิงค์ และ อิตถีลิงค์
               วิเสสนสรรพนาม
  วิเสสนสัพพนาม คือ สัพพนามที่ใช้ประกอบนามนาม เพื่อระบุบุคคล หรือสิงต่างๆ (โดยไม่ต้องบอกลักษณะ
อย่างคุณนาม)
  วิเสสนสัพพนาม มีลักษณะและวิธีใช้เหมือนคุณนาม   เป็นได้ ๓ ลิงค์    แบ่งเป็น ๒   คือ:-
    ๑,นิยมวิเสสนสัพพนาม คือ สัพพนามที่ใช้ประกอบนามนาม เพื่อระบุอย่างเจาะจง ว่าเป็นใคร หรือสิ่งใด  
ใกล้หรือไกล    มี ๔ ศัพท์    คือ:-
      ๑. ต  นั้น    
      ๒.เอต  นั่น, นี่    
      ๓. อิม  นี้    หุ)      ๔. อมุ  โน้น
   ๒.อนิยมวิเสสนสัพพนาม คือ สัพพนามที่ใช้ประกอบนามนาม เพื่อระบุ แต่ไม่เจาะจง ไม่แน่ชัดว่าเป็นใคร
หรือสิ่งใด   มี ๑๓ ศัพท์    คือ:-
   ๑. ย  ใด                                    
   ๒. อญฺญํ  อื่น                                
   ๓. อญฺญตร  คนใดคนหนึ่ง           
   ๔. อญฺญตม  คนใดคนหนึ่ง          
   ๕. ปร  อื่น                               
   ๖. อปร  อื่นอีก
   ๗.กตร  คนไหน, อย่างไหน
   ๘.กตม  คนไหน, อย่างไหน
   ๙.เอก  คนหนึ่ง, พวกหนึ่ง
   ๑๐.เอกจฺจ อปฺเปกจฺจ  บางคน, บางพวก
   ๑๑.อุภย  ทั้งสอง
   ๑๒.สพฺพ  ทั้งปวง
   ๑๓.กึ  อะไร
      
   อนิยมวิเสสนสัพพนาม ทั้ง ๑๓ ศัพท์ แจกอย่าง ย ศัพท์
(มีอีก ๔ ศัพท์ที่แจกอย่าง ย ศัพท์ คือ  อิตร นอกนี้  ทกฺขิณ ขวา, ใต้  อุตฺตร ซ้าย, เหนือ  ปุพฺพ ก่อน)
  -ต ศัพท์ เป็นได้ทั้ง ปุริสสัพพนาม และ วิเสสนสัพพนาม
  -ต ศัพท์ ปุริสสัพพนาม  ใช้แทนนามนามที่กล่าวมาแล้ว โดยไม่ยกนามนามนั้นมากล่าวซ้ำอีก แปลว่า “เขา
มัน ท่าน นาง” เป็นต้น
  -ต ศัพท์ วิเสสนสัพพนาม  ใช้ขยายกับนามนาม โดยวางไว้หน้านามนามนั้น ให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ ตรงกัน  
แปลว่า “นั้น”

ปุริสสัพพนาม:
วิเสสนสัพพนาม:    ทารโก รุกฺขํ  อภิรุหติ,  โส ภูมิยํ ปตติ.
ทารโก รุกฺขํ  อภิรุหติ,  โส ทารโก ภูมิยํ ปตติ.    เด็กขึ้นต้นไม้,  เขา ตกลงบนพื้น.
เด็กขึ้นต้นไม้,  เด็ก นั้น ตกลงบนพื้น.
ปุริสสัพพนาม:
วิเสสนสัพพนาม:    อุปาสิกา ภิกฺขุสงฺฆสฺส ยาคุภตฺตํ อทาสิ,   สา สทฺธาย ปุญฺญํ กโรติ.
อุปาสิกา ภิกฺขุสงฺฆสฺส ยาคุภตฺตํ อทาสิ,  สา อุปาสิกา สทฺธาย ปุญฺญํ กโรติ.    อุบาสิกาถวายข้าวต้มข้าวสวยแก่หมู่ภิกษุ,  นาง ทำบุญด้วยศรัทธา.
อุบาสิกาถวายข้าวต้มข้าวสวยแก่หมู่ภิกษุ, อุบาสิกา นั้น ทำบุญด้วยศรัทธา.
ปุริสสัพพนาม:
วิเสสนสัพพนาม:    มธุ เคเห อโหสิ,   มาตา ตํ อาหริ.
มธุ เคเห อโหสิ,   มาตา ตํ มธุํ อาหริ.    น้ำผึ้งมีอยู่ในบ้าน,  แม่นำมันมา.
น้ำผึ้งมีอยู่ในบ้าน,  แม่นำ น้ำผึ้ง นั้น มา.
การแปล ต ศัพท์ ปุริสสัพพนาม โดยพยัญชนะ
ต ศัพท์ ปุริสสัพพนามนี้   สำหรับผู้เริ่มศึกษา ในการแปลบาลีเป็นไทยโดยพยัญชนะ
ให้แปลยกนามนามที่สัพพนามนั้นใช้แทนขึ้นมาด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น  โดยแปล ต ศัพท์ว่า “นั้น” เหมือนวิเสสนสัพพนาม  เช่น

มธุ เคเห อโหสิ,   มาตา ตํ อาหริ.

ในประโยคนี้ คำว่า ตํ เป็นปุริสสัพพนาม (แทนคำว่า มธุํ  หมายถึงน้ำผึ้ง)  แปลว่า “มัน”
แต่เพื่อความชัดเจน ให้แปล ตํ ศัพท์นี้ เป็นวิเสสนสัพพนาม  โดยเพิ่มนามนามที่มันแทนในประโยคนั้น เข้ามาแปลด้วย คือ มธุํ  เป็น ตํ มธุํ แปลว่า “น้ำผึ้งนั้น”
ดังนั้น คำว่า ตํ ในประโยคนี้ จึงถูกแปลอย่างวิเสสนสัพพนาม

ต ศัพท์ วิเสสนสัพพนาม  ใช้ขยายปุริสสัพพนามได้  เช่น

โส/สา  อหํ  อาจริยสฺส  วจนํ  กโรมิ.   ผม/ดิฉัน  นั้น  กระทำ ซึ่งคำ  ของอาจารย์.
เต/ตา  มยํ  อาจริยสฺส  วจนํ  กโรม.    ผม ท./ดิฉัน ท. นั้น  กระทำ ซึ่งคำ ของอาจารย์.
(ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ เป็นได้ทั้ง 2 ลิงค์ และแจกเหมือนกันทั้ง 2 ลิงค์)

เต เม โว โน  ห้ามเรียงไว้ต้นประโยค ต้องมีคำอื่นนำหน้าเสมอ  เช่น

โก  นาม  เต  อุปชฺฌาโย?     อุปัชฌาย์  ของท่าน  ชื่ออะไร?
อุปชฺฌาโย เม  ภนฺเต  โหหิ.    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ท่าน  จงเป็น  อุปัชฌาย์  ของกระผม.
อหํ  ธมฺมํ  โว  เทเสสฺสามิ.       ข้าพเจ้า  จักแสดง  ซึ่งธรรม  แก่ท่าน ท.
พุทฺโธ  โน  โลเก  อุปฺปชฺชิ.      พระพุทธเจ้า  ของเรา ท. เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว  ในโลก.

กึ ศัพท์ (ใคร, อะไร, ไหน)
ปุงลิงค์  แปลง กึ เป็น ก  แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
อิตถีลิงค์  แปลง กึ เป็น กา  แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
นปุงสกลิงค์   แปลง กึ เป็น ก  ยกเว้น ป. ทุ. เอก. คงเป็น กึ   แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
  ใน ปุ. นปุ. เอก.  แปลง ก เป็น กิ ได้บ้าง เช่น จ. ฉ. กิสฺส  ส. กิสฺมึ กิมฺหิ
 

การใช้ กึ ศัพท์

กึ ศัพท์ที่ใช้เป็นคำถาม  (ดูเพิ่มเติม การสร้างประโยคคำถาม ในภาษาบาลี)

 กึ ศัพท์  สัพพนาม  (ใคร, อะไร, ไหน)

ใช้อย่างปุริสสัพพนาม คือ ใช้ลำพังตัวเอง ไม่ต้องประกอบกับนามนาม แปลว่า ใคร อะไร  เช่น
โก/กา  คามํ  อาคจฺฉติ?    ใคร  ย่อมมา  สู่บ้าน?
กึ  ปิฏเก โหติ?    อะไร  มีอยู่  ในตะกร้า?
กสฺส  สุนโข  อาวาเส  รวติ?    สุนัข  ของใคร  ร้องอยู่ ในวัด?
ใช้อย่างวิเสสนสัพพนาม ใช้ประกอบกับนามนาม แปลว่า อะไร ไร ไหน  เพื่อถามอย่างระบุชัดเจนขึ้น
เช่นรู้ว่าเป็นสามเณร เป็นเด็กหญิง เป็นผลไม้  แต่ยังไม่รู้ว่าคนไหน ประเภทไหน เป็นต้น  (กึ แบบนี้มีความหมายเท่ากับ กตร กตม)  เช่น
โก  สามเณโร  ปตฺเต  โธวติ?    สามเณร  รูปไหน  ย่อมล้าง  ซึ่งบาตร ท.?  (=กตโร/กตโม สามเณโร ...)
กา  ทาริกา  อุยฺยานํ  คจฺฉติ?    เด็กหญิง ไร/ไหน ย่อมไป สู่สวน?   (=กตรา/กตมา ทาริกา ...)
กึ  ผลํ   ปิฏเก  โหติ?    ผลไม้  อะไร  มีอยู่  ในตะกร้า?    (=กตรํ/กตมํ ผลํ ...)
กสฺส ภิกฺขุโน  สุนโข  อาวาเส  รวติ?    สุนัข  ของภิกษุ ไหน  ร้องอยู่  ในวัด?
กึ ศัพท์ นิบาต (หรือ/ไหม, ทำไม, อย่างไร)

เป็นคำถามให้ตอบใช่หรือไม่ใช่  แปลว่า หรือ   เช่น
กึ ปน เถโร อาคโต?        ก็ พระเถระ มาแล้ว หรือ?
กึ  ปเนตํ  อาวุโส  ปฏิรูปํ?     ดูก่อนอาวุโส  ก็  อันนั่น  สมควร  หรือ?
บางทีประโยคนั้นไม่มี กึ  แต่ใช้วิธีพูดขี้นเสียงสูงที่ท้ายประโยค* เพื่อทำให้เป็นคำถาม  เช่น
   อตฺถิ เต กหาปณํ?    กหาปณะ ของท่าน มีอยู่ หรือ?  (วางกิริยาใหญ่ไว้ต้นประโยคได้)
   อตฺถิ  ปนายสฺมโต  โกจิ  เวยฺยาวจฺจกโร?    ก็  ใครๆ  เป็นไวยาวัจกร  ของท่านผู้มีอายุ  มีอยู่  หรือ?
   ตฺวมสิ โฆสโก นาม?   ท่านเป็นผู้ชื่อว่าโฆสกะ ย่อมเป็น หรือ?
   โสตุกามตฺถ?    เธอ ท. เป็นผู้ใคร่เพื่ออันฟัง ย่อมเป็น หรือ?
   เทวราชา:  เอวํ ภนฺเต.  อย่างนั้น หรือ?  (คำถาม  พูดขี้นเสียงสูงท้ายประโยค)
     ตาปโส:   เอวมาวุโส.     อย่างนั้น.        (คำตอบ  พูดลงเสียงต่ำท้ายประโยค)
ในประโยคบอกเล่า ก็วางกิริยาใหญ่ไว้ต้นประโยคได้ เพื่อเน้นความ หรือเน้นกิริยา
    อตฺถิ เต กหาปณํ. = กหาปณํ เต อตฺถิ.
* เทียบเคียงกับระดับเสียง(สูง/ต่ำ)ของคำในประโยค (intonation) ในภาษาอังกฤษ ที่มีการพูดขี้นเสียงสูงที่ท้ายประโยค  สำหรับประโยคคำถามที่ต้องการให้ตอบว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” (yes/no questions)  และพูดลงเสียงต่ำท้ายประโยคในประโยคบอกเล่าและประโยคคำถามอื่นๆ    ในภาษาไทย ประโยคคำถามก็มักขี้นเสียงสูงท้ายประโยค  เช่น  เขามาไหม?  กินข้าวด้วยกันมั้ย?  เขาไม่มาหรือ?
เป็นคำถามถึงเหตุผล  แปลว่า ทำไม  (=กสฺมา กึการณา)  เช่น
กึ ภิกฺขเว โรทถ?  ดูก่อนภิกษุ ท. เธอ ท. ย่อมร้องไห้ ทำไม?
กึ ปาลิต ปมชฺชสิ?   ดูก่อนปาลิตะ  ท่าน  ประมาทอยู่  ทำไม?
เป็นคำถามถึงวิธีการ เป็นต้น แปลว่า อย่างไร  (=กถํ)  เช่น
เต อตฺตโน ปุราณจีวรานิ กึ กริสฺสนฺติ?    พวกเขา จักทำจีวรเก่าของตน อย่างไร?
ตํ กึ มญฺญสิ นนฺท?    นันทะ เธอจะสำคัญข้อนั้น อย่างไร?
กึ ศัพท์ที่มี จิ ต่อท้าย ไม่ใช้เป็นคำถาม

กึ ศัพท์ ตามปกติแปลว่า ใคร อะไร   แต่ถ้ามี จิ ต่อท้าย ให้แปลซ้ำสองหนว่า ใครๆ  ไรๆ  อะไรๆ   เช่น
   โกจิ             ใครๆ  
   โกจิ ชโน       ชน ไรๆ
   กาจิ  อิตฺถิโย  หญิงไรๆ
   กิญฺจิ  ธนํ      ทรัพย์ อะไรๆ
อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า น้อย  บาง เช่น
   กิญฺจิ  ธนํ  ทรัพย์  น้อยหนึ่ง    โกจิ  ปุริโส  บุรุษ  บางคน
เมื่อเป็นพหุวจนะ แปลว่า  บางพวก บางเหล่า  เช่น
  เกจิ ชนา  ชน ท. บางพวก  กาจิ  อิตฺถิโย  หญิง ท. บางเหล่า    กานิจิ  ภาชนานิ  ภาชนะ ท. บางพวก
วิธีแจก กึ ศัพท์ ที่มี จิ ต่อท้าย
ให้นำ จิ ไปต่อท้ายศัพท์ที่แจกแล้วตามวิภัตตินั้นๆ  เช่น  โกจิ  เกจิ  กาจิ  กานิจิ
ถ้าวิภัตติใด ลงท้ายด้วยนิคคหิต ( ํ  ) ให้แปลงนิคคหิตเป็น ญฺ  เช่น
กํ + จิ = กิญฺจิ     กึ + จิ = กิญฺจิ     กสฺมึ + จิ = กสฺมิญฺจิ
กึ ศัพท์ที่มี ย นำหน้า และมี จิ ต่อท้าย
เมื่อมี ย นำหน้า และมี จิ ต่อท้าย กึ ศัพท์  ให้แปลว่า  คนใดคนหนึ่ง, สิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  
    โย โกจิ (ปุคฺคโล),  ยา กาจิ (อิตฺถี),  ยงฺกิญฺจิ (กุลํ)
อมุ ศัพท์ แปลงเป็น อสุ ได้บ้าง  และนิยมลง ก ท้าย อมุ และ อสุ   เป็น อมุก และ อสุก
เป็นได้ 3 ลิงค์  แจกตามแบบ ย ศัพท์        อมุก และ อสุก ใช้มากกว่า อมุ

อมุโก  สกุโณ  รวติ.    นก  โน้น  ย่อมร้อง.
อมุกา  สกุณี  รวติ.    นางนก  โน้น  ย่อมร้อง.
อมุกํ  กุลํ  นคเร ติฏฺฐติ.    ตระกูล  โน้น  ย่อมตั้งอยู่  ในเมือง.
อสุโก  ภิกฺขุ  คามํ  ปิณฺฑาย  ปาวิสิ.    ภิกษุ  โน้น  เข้าไปแล้ว  สู่บ้าน  เพื่อบิณฑะ.                         
   ๑๒.สพฺพ  ทั้งปวง
                                                ๑๓.กึ  อะไร
อนิยมวิเสสนสัพพนาม ทั้ง 13 ศัพท์ แจกอย่าง ย ศัพท์
(มีอีก 4 ศัพท์ที่แจกอย่าง ย ศัพท์ คือ  อิตร นอกนี้  ทกฺขิณ ขวา, ใต้  อุตฺตร ซ้าย, เหนือ  ปุพฺพ ก่อน)
ต ศัพท์ ่เป็นได้ทั้ง ปุริสสัพพนาม และ วิเสสนสัพพนาม

ต ศัพท์ ปุริสสัพพนาม  ใช้แทนนามนามที่กล่าวมาแล้ว โดยไม่ยกนามนามนั้นมากล่าวซ้ำอีก แปลว่า “เขา มัน ท่าน นาง” เป็นต้น
ต ศัพท์ วิเสสนสัพพนาม  ใช้ขยายกับนามนาม โดยวางไว้หน้านามนามนั้น ให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ ตรงกัน  แปลว่า “นั้น”

ปุริสสัพพนาม:
วิเสสนสัพพนาม:    ทารโก รุกฺขํ  อภิรุหติ,  โส ภูมิยํ ปตติ.
ทารโก รุกฺขํ  อภิรุหติ,  โส ทารโก ภูมิยํ ปตติ.    เด็กขึ้นต้นไม้,  เขา ตกลงบนพื้น.
เด็กขึ้นต้นไม้,  เด็ก นั้น ตกลงบนพื้น.
  -ปุริสสัพพนาม:
  -วิเสสนสัพพนาม:อปาสิกา ภิกฺขุสงฺฆสฺส ยาคุภตฺตํ อทาสิ, สา สทฺธาย ปุญฺญํ กโรติ.
อุปาสิกา ภิกฺขุสงฺฆสฺส ยาคุภตฺตํ อทาสิ,  สา อุปาสิกา สทฺธาย ปุญฺญํ กโรติ.    อุบาสิกาถวายข้าวต้มข้าวสวยแก่หมู่ภิกษุ,  นาง ทำบุญด้วยศรัทธา.
อุบาสิกาถวายข้าวต้มข้าวสวยแก่หมู่ภิกษุ, อุบาสิกา นั้น ทำบุญด้วยศรัทธา.
ปุริสสัพพนาม:
วิเสสนสัพพนาม:    มธุ เคเห อโหสิ,   มาตา ตํ อาหริ.
มธุ เคเห อโหสิ,   มาตา ตํ มธุํ อาหริ.    น้ำผึ้งมีอยู่ในบ้าน,  แม่นำมันมา.
น้ำผึ้งมีอยู่ในบ้าน,  แม่นำ น้ำผึ้ง นั้น มา.
การแปล ต ศัพท์ ปุริสสัพพนาม โดยพยัญชนะ
ต ศัพท์ ปุริสสัพพนามนี้   สำหรับผู้เริ่มศึกษา ในการแปลบาลีเป็นไทยโดยพยัญชนะ
ให้แปลยกนามนามที่สัพพนามนั้นใช้แทนขึ้นมาด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น  โดยแปล ต ศัพท์ว่า “นั้น”
เหมือนวิเสสนสัพพนาม  เช่น:-
   -มธุ เคเห อโหสิ,   มาตา ตํ อาหริ.
   -ในประโยคนี้ คำว่า ตํ เป็นปุริสสัพพนาม (แทนคำว่า มธุํ  หมายถึงน้ำผึ้ง)  แปลว่า “มัน”
แต่เพื่อความชัดเจน ให้แปล ตํ ศัพท์นี้ เป็นวิเสสนสัพพนาม  โดยเพิ่มนามนามที่มันแทนในประโยคนั้น เข้ามาแปลด้วย คือ มธุํ  เป็น ตํ มธุํ แปลว่า “น้ำผึ้งนั้น”
ดังนั้น คำว่า ตํ ในประโยคนี้ จึงถูกแปลอย่างวิเสสนสัพพนาม

  ต ศัพท์ วิเสสนสัพพนาม  ใช้ขยายปุริสสัพพนามได้  เช่น:-
    -โส/สา  อหํ  อาจริยสฺส  วจนํ  กโรมิ.   ผม/ดิฉัน  นั้น  กระทำ ซึ่งคำ  ของอาจารย์.
    -เต/ตา  มยํ  อาจริยสฺส  วจนํ  กโรม.    ผม ท./ดิฉัน ท. นั้น  กระทำ ซึ่งคำ ของอาจารย์.
     (ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ เป็นได้ทั้ง ๒ ลิงค์ และแจกเหมือนกันทั้ง ๒ ลิงค์)
    -เต เม โว โน  ห้ามเรียงไว้ต้นประโยค ต้องมีคำอื่นนำหน้าเสมอ  เช่น:-
      -โก  นาม  เต  อุปชฺฌาโย?     อุปัชฌาย์  ของท่าน  ชื่ออะไร?
      -อุปชฺฌาโย เม  ภนฺเต  โหหิ.    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ท่าน  จงเป็น  อุปัชฌาย์  ของกระผม.
      -อหํ  ธมฺมํ  โว  เทเสสฺสามิ.       ข้าพเจ้า  จักแสดง  ซึ่งธรรม  แก่ท่าน ท.
      -พุทฺโธ  โน  โลเก  อุปฺปชฺชิ.      พระพุทธเจ้า  ของเรา ท. เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว  ในโลก.
         กึ ศัพท์
   -กึ ศัพท์ (ใคร, อะไร, ไหน)
   -ปุงลิงค์  แปลง กึ เป็น ก  แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
   -อิตถีลิงค์  แปลง กึ เป็น กา  แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
   -นปุงสกลิงค์   แปลง กึ เป็น ก  ยกเว้น ป. ทุ. เอก. คงเป็น กึ   แล้วแจกอย่าง ย ศัพท์
   -ใน ปุ. นปุ. เอก.  แปลง ก เป็น กิ ได้บ้าง เช่น จ. ฉ. กิสฺส  ส. กิสฺมึ กิมฺหิ
 
        การใช้ กึ ศัพท์
  -กึ ศัพท์ที่ใช้เป็นคำถาม  (ดูเพิ่มเติม การสร้างประโยคคำถาม ในภาษาบาลี)
  -กึ ศัพท์  สัพพนาม  (ใคร, อะไร, ไหน)
  -ใช้อย่างปุริสสัพพนาม คือ ใช้ลำพังตัวเอง ไม่ต้องประกอบกับนามนาม แปลว่า ใคร อะไร  เช่น:-
     -โก/กา  คามํ  อาคจฺฉติ?    ใคร  ย่อมมา  สู่บ้าน?
     -กึ  ปิฏเก โหติ?    อะไร  มีอยู่  ในตะกร้า?
     -กสฺส  สุนโข  อาวาเส  รวติ?    สุนัข  ของใคร  ร้องอยู่ ในวัด?
  -ใช้อย่างวิเสสนสัพพนาม ใช้ประกอบกับนามนาม แปลว่า อะไร ไร ไหน  เพื่อถามอย่างระบุชัดเจนขึ้น
เช่นรู้ว่าเป็นสามเณร เป็นเด็กหญิง เป็นผลไม้  แต่ยังไม่รู้ว่าคนไหน ประเภทไหน เป็นต้น  (กึ แบบนี้มีความ
หมายเท่ากับ กตร กตม)  เช่น:-
    -โก  สามเณโร  ปตฺเต  โธวติ?    สามเณร  รูปไหน  ย่อมล้าง  ซึ่งบาตร ท.?  (=กตโร/กตโม สามเณโร ...)
    -กา  ทาริกา  อุยฺยานํ  คจฺฉติ?    เด็กหญิง ไร/ไหน ย่อมไป สู่สวน?   (=กตรา/กตมา ทาริกา ...)
    -กึ  ผลํ   ปิฏเก  โหติ?    ผลไม้  อะไร  มีอยู่  ในตะกร้า?    (=กตรํ/กตมํ ผลํ ...)
    -กสฺส ภิกฺขุโน  สุนโข  อาวาเส  รวติ?    สุนัข  ของภิกษุ ไหน  ร้องอยู่  ในวัด?
กึ ศัพท์ นิบาต (หรือ/ไหม, ทำไม, อย่างไร)
  -เป็นคำถามให้ตอบใช่หรือไม่ใช่  แปลว่า หรือ   เช่น:-
     -กึ ปน เถโร อาคโต?        ก็ พระเถระ มาแล้ว หรือ?
     -กึ  ปเนตํ  อาวุโส  ปฏิรูปํ?     ดูก่อนอาวุโส  ก็  อันนั่น  สมควร  หรือ?
  -บางทีประโยคนั้นไม่มี กึ  แต่ใช้วิธีพูดขี้นเสียงสูงที่ท้ายประโยค* เพื่อทำให้เป็นคำถาม  เช่น
     -อตฺถิ เต กหาปณํ?    กหาปณะ ของท่าน มีอยู่ หรือ?  (วางกิริยาใหญ่ไว้ต้นประโยคได้)
     -อตฺถิ  ปนายสฺมโต  โกจิ  เวยฺยาวจฺจกโร?    ก็  ใครๆ  เป็นไวยาวัจกร  ของท่านผู้มีอายุ  มีอยู่  หรือ?
     -ตฺวมสิ โฆสโก นาม?   ท่านเป็นผู้ชื่อว่าโฆสกะ ย่อมเป็น หรือ?
     -โสตุกามตฺถ?    เธอ ท. เป็นผู้ใคร่เพื่ออันฟัง ย่อมเป็น หรือ?
     -เทวราชา:  เอวํ ภนฺเต.  อย่างนั้น หรือ?  (คำถาม  พูดขี้นเสียงสูงท้ายประโยค)
     -ตาปโส:   เอวมาวุโส.     อย่างนั้น.        (คำตอบ  พูดลงเสียงต่ำท้ายประโยค)
ในประโยคบอกเล่า ก็วางกิริยาใหญ่ไว้ต้นประโยคได้ เพื่อเน้นความ หรือเน้นกิริยา
    อตฺถิ เต กหาปณํ. = กหาปณํ เต อตฺถิ.
* เทียบเคียงกับระดับเสียง(สูง/ต่ำ)ของคำในประโยค (intonation) ในภาษาอังกฤษ ที่มีการพูดขี้นเสียงสูงที่
ท้ายประโยค  สำหรับประโยคคำถามที่ต้องการให้ตอบว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” (yes/no questions)  และ
พูดลงเสียงต่ำท้ายประโยคในประโยคบอกเล่าและประโยคคำถามอื่นๆ    ในภาษาไทย ประโยคคำถามก็มักขี้น
เสียงสูงท้ายประโยค  เช่น  เขามาไหม?  กินข้าวด้วยกันมั้ย?  เขาไม่มาหรือ?
  -เป็นคำถามถึงเหตุผล  แปลว่า ทำไม  (=กสฺมา กึการณา)  เช่น:-
     -กึ ภิกฺขเว โรทถ?  ดูก่อนภิกษุ ท. เธอ ท. ย่อมร้องไห้ ทำไม?
     -กึ ปาลิต ปมชฺชสิ?   ดูก่อนปาลิตะ  ท่าน  ประมาทอยู่  ทำไม?
  -เป็นคำถามถึงวิธีการ เป็นต้น แปลว่า อย่างไร  (=กถํ)  เช่น:-
    -เต อตฺตโน ปุราณจีวรานิ กึ กริสฺสนฺติ?    พวกเขา จักทำจีวรเก่าของตน อย่างไร?
    -ตํ กึ มญฺญสิ นนฺท?    นันทะ เธอจะสำคัญข้อนั้น อย่างไร?
    -กึ ศัพท์ที่มี จิ ต่อท้าย ไม่ใช้เป็นคำถาม
        กึ สัพท์
กึ ศัพท์ ตามปกติแปลว่า ใคร อะไร   แต่ถ้ามี จิ ต่อท้าย ให้แปลซ้ำสองหนว่า ใครๆ  ไรๆ  อะไรๆ   เช่น:-
   โกจิ             ใคร ๆ  
   โกจิ ชโน       ชน ไร ๆ
   กาจิ  อิตฺถิโย  หญิงไร ๆ
   กิญฺจิ  ธนํ      ทรัพย์ อะไร ๆ
  อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า น้อย  บาง เช่น:-
   กิญฺจิ  ธนํ  ทรัพย์  น้อยหนึ่ง    โกจิ  ปุริโส  บุรุษ  บางคน
เมื่อเป็นพหุวจนะ แปลว่า  บางพวก บางเหล่า  เช่น:-
  เกจิ ชนา  ชน ท. บางพวก  กาจิ  อิตฺถิโย  หญิง ท. บางเหล่า    กานิจิ  ภาชนานิ  ภาชนะ ท. บางพวก
วิธีแจก กึ ศัพท์ ที่มี จิ ต่อท้าย
ให้นำ จิ ไปต่อท้ายศัพท์ที่แจกแล้วตามวิภัตตินั้นๆ  เช่น:-  
  -โกจิ  เกจิ  กาจิ  กานิจิ
ถ้าวิภัตติใด ลงท้ายด้วยนิคคหิต ( ํ  ) ให้แปลงนิคคหิตเป็น ญฺ  เช่น:-
   -กํ + จิ = กิญฺจิ     กึ + จิ = กิญฺจิ     กสฺมึ + จิ = กสฺมิญฺจิ
   -กึ ศัพท์ที่มี ย นำหน้า และมี จิ ต่อท้าย
เมื่อมี ย นำหน้า และมี จิ ต่อท้าย กึ ศัพท์  ให้แปลว่า  คนใดคนหนึ่ง, สิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น:-  
   -โย โกจิ (ปุคฺคโล),  ยา กาจิ (อิตฺถี),  ยงฺกิญฺจิ (กุลํ)
   -อมุ ศัพท์ แปลงเป็น อสุ ได้บ้าง  และนิยมลง ก ท้าย อมุ และ อสุ   เป็น อมุก และ อสุก
เป็นได้ ๓ ลิงค์  แจกตามแบบ ย ศัพท์        อมุก และ อสุก ใช้มากกว่า อมุ
   -อมุโก  สกุโณ  รวติ.    นก  โน้น  ย่อมร้อง.
   -อมุกา  สกุณี  รวติ.    นางนก  โน้น  ย่อมร้อง.
   -อมุกํ  กุลํ  นคเร ติฏฺฐติ.    ตระกูล  โน้น  ย่อมตั้งอยู่  ในเมือง.
   -อสุโก  ภิกฺขุ  คามํ  ปิณฺฑาย  ปาวิสิ.    ภิกษุ  โน้น  เข้าไปแล้ว  สู่บ้าน  เพื่อบิณฑะ.

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 139,922