๗.ประวัตินางวิสาขาภาคพิสดาร

 

    

      ประวัตินางวิสาขา

    นางวิสาขาเป็นสุภสตรีที่เลอโฉมมีความสวยงามหาหญิงใดเปรียบเทียบได้ยากที่สุดในโลกทั้งในอดีตและในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นนางสาวไทย, นางงามโลก, และนางงามจักรวาลก็ตาม เนื่องจากนางวิสาขามีความสวยงามที่ผู้หญิงทั้งหลายในโลกนี้ไม่มีอยู่ ๗ ประการ 

ดังที่ข้าพเจ้าจะเอามาเล่าให้ผู้อ่านรู้ในในบทที่ว่าด้วยความสวยงามของนางวิสาขา ประวัติของนางผู้หญิงทั้งหลายจะต้องเรียนรู้และเอาเป็นแบบอย่างข้าพจึงเขียนประวัติของนางที่กว้างขวางและพิสดารกว่าใครๆให้ท่านได้อ่านอย่างละเอียดและเก็บไว้เรียนรู้เป็นแบบย่าง ในการสร้างความดี  นางวิสาขาเกิดในตระกูลเศรษฐีที่นับถือศาสนาพราหมณ์พ่อชื่อว่าธนัญชัยเศรษฐีแม่ชื่อว่านางสุมะนะเทวี  เกิดที่เมืองภัททิยะนคร แคว้นอังคะ เด็กหญิง วิสาขาเป็นเด็กที่สวยฉลาดมีสติปัญญาดีและใจบุญเป็นที่รักใคร่ประดุจดังแก้วตาแก้วใจของปู่ที่มีชื่อว่า "เมณฑะกะเศรษฐ๊"  เมณฑะกะเศรษฐีเป็นเศรษฐีมหาศาลมีทรัพย์สมบัติมากกว่า ๘๐ โกฏิขึ้นไป

       เรื่องเมณฑะกะเศรษฐีปู่ของนางวิสาขา                     

   ถามว่า "เพราะเหตุไร? เศรษฐีนั้นจึงมีชื่อว่า เมณฑะกะเศรษฐี?"

   ตอบว่า "ได้ยินว่า แพะทองคำทั้งหลาย ตัวโตเท่าช้าง แพะทองคำตัวโตเท่าม้า และแพะทองคำตัวโตเท่าโคอุสุภะ ได้ชำแรกผุดขึ้นมาจากแผ่นดิน เอาหลังดุนหลังดันกันผุดขึ้นในที่ประมาณ ๘ กรีส (มาตราวัดความยาวเท่ากับ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก หรือ ๑๒๕ ศอก)  

ที่ข้างหลังเรือนของเศรษฐีนั้น เกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญที่ได้ใส่กลุ่มด้าย ๕ สีไว้ในปากของแพะเหล่านั้นในเวลาถวายทาน. ในเวลาที่มีความต้องการเภสัช  เนยใส  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  และน้ำอ้อย  หรือในเวลาที่มีความต้องการเสื้อผ้าและเครื่องประดับตกแต่งร่างกายเช่น  เงิน  และทองคำเป็นต้น คนทั้งหลายก็จะนำเอาจากกลุ่มด้ายที่ปากของแพะทองคำแล้วก็ท้อเป็นผ้านุ่งอย่างไม่รู้จักหมดสิ้น. เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ผ้าเครื่องปกปิดกายเงินและทองคำ ย่อมไหลออกมาจากปากของแพะเพียงตัวเดียวเท่านั้น ก็เป็นของเพียงพอแก่ประชาทั้งหลายแล้ว. จำเดิมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เศรษฐีนั้นจึงมีชื่อว่า "เมณฑะกะเศรษฐี แปลว่า "ผู้ร่ำรวยขึ้นมาจากแพะทองคำ"  ส่วนเรื่องราวที่ละเอียดของคำนี้ท่านจะได้เรียนรู้ต่อไปดังต่อไปนี้

      บุรพกรรมที่ทำให้เมณฑะกะเศรษฐีได้แพะทองคำ             

   ถามว่า "บุรพกรรมของเศรษฐีนั้นเป็นอย่างไร?

   ตอบว่า "ได้ยินมาว่า ในสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ท่านเมณฑะกะเศรษฐีได้เกิดเป็นหลานชายของกุฎุมพีชื่ออะวะโรชะ เขาก็มีชื่อเหมือนกับลุงของเขาคือ อะวะโรชะ 

   ครั้งนั้นลุงของเขาปรารภที่จะสร้างพระคันธะกุฎีเพื่อถวายพระพุทธเจ้า.  เขาไปหาลุงที่บ้านแล้ว กล่าวว่า "ลุงเราทั้งสองคนมีชื่อเหมือนกันพวกเราจงมาสร้างกุฏิถวายพระพุทธเจ้าร่วมกันเถอะ"   เขาก็ถูกลุงนั้นห้ามว่า "เราคนเดียวเท่านั้นจะสร้างกุฏิถวาย

พระพุทธเจ้าเราไม่ให้คนอื่นมาร่วมด้วยเราจะสร้างคนเดียว"  เมื่อลุงไม่ให้เขาร่วมด้วย เขาจึงคิดว่า "เมื่อลุงสร้างกุฎีในที่นี้แล้ว, เราก็ควรจะสร้างศาลารายในที่ใกล้กันนี้"  เขาจึงให้คนนำเอาเครื่องไม้มาจากป่า ให้ทำเสาอย่างนี้ คือ "เสาต้นหนึ่งบุด้วยทองคำ, ต้นหนึ่งบุด้วยเงิน, อีกต้นหนึ่งบุด้วยแก้วมณี"  ให้ทำขื่อ แป บานประตู บานหน้าต่าง กลอน เครื่องมุงและอิฐ แม้ทั้งหมดบุด้วยวัตถุมีทองคำเป็นต้นเลยทีเทียว ให้ทำศาลารายสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ แด่พระพุทธเจ้า ในที่ตรงหน้าพระคันธกุฎี    ในเบื้องบนแห่งศาลารายนั้นมียอด ๓ ยอด อันสำเร็จแล้วด้วยทองคำอันสุกปลั่งเป็นแท่ง แก้วผลึกและแก้วประพาฬ,ให้สร้างมณฑปประดับด้วยแก้วในที่ท่ามกลางแห่งศาลาราย. ให้ตั้งธรรมาสน์ไว้. เท้าของธรรมาสน์นั้นได้สำเร็จด้วยทองคำสีสุกปลั่งเป็นแท่ง, แม่แคร่ ๔ อันก็เหมือนกันแต่ให้กระทำแพะทองคำ ๔ ตัวตั้งไว้ในภายใต้แห่งเท้าทั้ง ๔ แห่งอาสนะ, ให้กระทำแพะทองคำ ๒ ตัวตั้งไว้ภายใต้ตั่งสำหรับรองเท้า,ให้กระทำแพะทองคำ ๖ ตัวตั้งแวดล้อมมณฑป. ให้ถักธรรมาสน์ด้วยเชือกเส้นเล็กสำเร็จด้วยด้ายก่อนแล้ว จึงให้ถักด้วยเชือกอันสำเร็จด้วยทองคำในท่ามกลาง แล้วให้ถักด้วยเชือกสำเร็จด้วยแก้วมุกดาในเบื้องบน. พนักแห่งธรรมาสน์นั้น ได้สำเร็จด้วยไม้จันทน์. ครั้นให้สร้างศาลารายสำเร็จอย่างนี้แล้ว เมื่อจะกระทำการฉลองศาลา จึงนิมนต์พระพุทธเจ้าาพร้อมด้วยภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสน รูป ได้ถวายทานตลอด ๔ เดือน. ในวันสุดท้ายได้ถวายไตรจีวร. บรรดาจีวรเหล่านั้นมีค่าพันหนึ่ง ถึงแก่ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์แล้ว. เขาทำบุญในกาลแห่งพระวิปัสสีพุทธเจ้าอย่างนั้นแล้ว ครั้นตายจากอัตภาพนั้นแล้ว ก็ท่องเที่ยวไปเกิดในเทวดาและในมนุษย์ทั้งหลาย.  ในภัทรกัปนี้ เขาก็มาเกิดในสกุลของเศรษฐีมีโภคะมากในกรุงพาราณสี ได้มีชื่อว่า พาราณสีเศรษฐี.

               เศรษฐีประสบฉาตะกะภัยคือภัยแล้ง               

   วันหนึ่ง พาราณสีเศรษฐีไปสู่ที่บำรุงพระราชา ได้พบปุโรหิต จึงถามว่า "ท่านอาจารย์ ท่านตรวจดูฤกษ์ยามหรือยังครับ?"

    ปุโรหิต พูดว่า "ครับ ผมตรวจดูแล้ว, พวกเราทั้งหลายยังไม่มีงานอะไรทำหรอกในตอนนี้"

    เศรษฐีพูดว่า "ถ้าอย่างนั้น เหตุการณ์ที่ร้ายในหมู่บ้านของเราคงจะไม่มีใช่ไหม๊?

    ปุโรหิตตอบว่า "ภัยอย่างหนึ่ง จะเกิดขึ้นในหมู่บ้านของพวกเรา"

    เศรษฐีถามว่า "ภัยอะไร?

    ปุโรหิตตอบว่า "ฉาตะกะภัยคือภัยแล้งจะเกิดขึ้น ท่านเศรษฐี.

    เศรษฐีถามว่า "มันจะเกิด เมื่อไร?

    ปุโรหิตตอบว่า "นับจากปันี้ไปอีก ๓ ปี"

    เศรษฐีเมื่อได้ฟังคำนั้นแล้วก็ให้คนทำกสิกรรมไว้เป็นอันมาก รับซื้อข้าวเปลือกสะสมเอาไว้มากๆด้วยทรัพย์ที่มีอยู่ ให้กระทำฉางข้าว ๑,๒๕๐ ฉาง บรรจุฉางทั้งหมดให้เต็มด้วยข้าวเปลือก. เมื่อฉางไม่พอก็บรรจุภาชนะมีตุ่มและไหเป็นต้นให้เต็มแล้ว ขุดหลุมฝังข้าวเปลือกที่เหลือเอาไว้ในแผ่นดิน. ให้ขยำข้าวเปลือกที่เหลือจากที่ฝั่งไว้ด้วยดิน ฉาบทาฝาบ้านเอาไว้ โดยสมัยอื่นอีก เศรษฐีนั้นเมื่อภัยคือความอดอยากถึงเข้าแล้ว ก็บริโภคข้าวเปลือกตามที่เก็บไว้. เมื่อข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในฉางและในภาชนะมีตุ่มและไหเป็นต้นหมดแล้วจึงให้เรียกคนผู้เป็นบริวารมาแล้ว กล่าวว่า "พ่อทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไป จงเข้าไปอยู่ในภูเขาแล้วเป็นอยู่ เมื่ออยากมาบ้านของเราก็จงมาในเวลาที่มีข้าวปลาอาหารอันหาได้ง่ายแล้ว ถ้าไม่อยากจะมา ก็จงเป็นอยู่ในที่นั้นเถิด."  คนทั้งหลายเหล่านั้นก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว.

    ส่วนทาสผู้ทำการรับใช้เศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อว่าปุณณะ เหลืออยู่ในบ้านของเศรษฐีนั้น. รวมเป็น ๕ คนเท่านั้นคือ เศรษฐี, ภรรยาของเศรษฐี, บุตรของเศรษฐี, บุตรสะใภ้ของเศรษฐี, และนายปุณณะนั้น.  คนเหล่านั้น แม้เมื่อข้าวเปลือกที่ฝังไว้ในหลุมในแผ่นดินหมดสิ้นแล้ว. พังดินที่ฉาบไว้ที่ฝาเรือนแล้ว เอาข้าวแช่น้ำกินเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเปลือกที่ได้แล้วจากฝานั้น   ครั้งนั้นภรรยาของเศรษฐีนั้น เมื่อความหิวครอบงำอยู่ เมื่อดินที่ฝาเรือนหมดสิ้นไปแล้ว ก็พังดินที่เหลืออยู่ในส่วนแห่งฝาทั้งหลายลงแล้วได้ข้าวเปลือกประมาณกึ่งอาฬหกะคือประมาณทนานครึ่ง นำไปตำแล้วได้ข้าวสารประมาณ ๑ ทะนาน เอาใส่ไว้ในหม้อใบหนึ่งเพราะกลัวโจรจะมาปล้นในเวลาที่เกิดภัยแล้ง พวกโจรมีมาก" ปิดแล้วฝังตั้งไว้ในแผ่นดิน.

   ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีมาจากที่บำรุงแห่งพระราชาแล้ว กล่าวกะนางว่า "นางผู้เจริญ ฉันหิว อะไรๆ มีไหม?" นางนั้นไม่ได้กล่าวถึงสิ่งที่มีอยู่ว่า "ไม่มี" กล่าวว่า "นาย ข้าวสารมีอยู่ทะนานหนึ่ง."

       เศรษฐีเศรษฐีถามว่า " ข้าวสารทะนานหนึ่งนั้น อยู่ที่ไหน?

       ภรรยาตอบว่า " ฉันฝั่งตั้งไว้ในพื้นดิน เพราะกลัวโจรจะมาปล้นเอาไป"

       เศรษฐีพูดว่า "ถ้าเช่นนั้น หล่อนจงขุดมันขึ้นมาแล้ว หุงต้มเร็วๆเถอะ"

       ภรรยาพูดว่า "ถ้าเราจักต้มเป็นข้าวต้ม ก็จะกินได้เพียง ๒ มื้อ, ถ้าเราจักหุงเป็นข้าวสวย ก็จะกินได้เพียงมื้อเดียวเท่านั้น. จะให้ฉันหุงหรือต้ม นาย?"

       เศรษฐีก็พูดกับภรรยาว่า "เครื่องยังชีพอย่างอื่นของพวกเราอย่างอื่นไม่มีอีกแล้ว พวกเราหุงเป็นข้าวสวยกิน เมื่อพวกเรากินเสร็จแล้วก็จะตายไปพร้อมๆกันดีกว่า"

      ภรรยาพูดว่า "ตกลง"  หล่อนจึงหุงเป็นข้าวสวยเสร็จแล้วก็แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน นางคดข้าวสวยส่วนหนึ่งวางไว้ข้างหน้าของเศรษฐี.

               เศรษฐีถวายภัตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า               

       ในขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัติ. ทราบในภายในสมาบัติว่า ความหิวย่อมไม่เบียดเบียน เพราะผลแห่งสมาบัติ แต่ว่า เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายออกจากสมาบัติแล้ว ความหิวมีกำลังย่อมเกิดขึ้น เป็นราวกะว่าไฟเผาพื้นท้องอยู่. เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นตรวจดูฐานะที่จะได้อาหารแล้วจึงไป ก็ในวันนั้น คนทั้ง ๕ ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ย่อมได้สมบัติ บรรดาสมบัติมีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าแม้นั้นก็ตรวจดูอยู่ด้วยทิพยจักษุ ดำริว่า ฉาตกภัยเกิดขึ้นแล้วในชมพูทวีปทั้งสิ้น และในเรือนเศรษฐี เขาหุงข้าวสุกอันสำเร็จด้วยข้าวสารทะนานหนึ่งเท่านั้นเพื่อคน ๕ คน; ชนเหล่านั้นจักมีศรัทธา หรืออาจเพื่อจะทำการสงเคราะห์แก่เราหรือหนอแล?" เห็นความที่ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธา ทั้งสามารถเพื่อจะทำการสงเคราะห์ จึงถือเอาบาตรจีวรไปแสดงตนยืนอยู่ที่ข้างหน้าประตูเรือนของเศรษฐี    เศรษฐีพอเห็นท่านเข้าก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่า "เราประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ เพราะความที่เราไม่ให้ทานแม้ในกาลก่อน. ก็แลภัตนี้พึงรักษาชีวิตเราไว้ได้วันเดียวเท่านั้น, ส่วนภัตที่เราถวายแล้วแก่พระผู้เป็นเจ้า จักนำประโยชน์เกื้อกูลมาแก่เราหลายโกฏิกัป" แล้วนำถาดแห่งภัตนั้นออกมา เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์นิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน.  เมื่อท่านนั่งบนอาสนะแล้ว จึงล้างเท้าของท่าน วางถาดภัตไว้บนตั่งทอง แล้วถือเอาถาดภัตนั้น มาตักลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า. เมื่อภัตเหลือกึ่งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าเอามือปิดบาตรเสีย. ทีนั้น เศรษฐีจึงกล่าวกะพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งข้าวสุกที่เขาหุงไว้เพื่อคน ๕ คน ด้วยข้าวสารทะนานหนึ่ง, กระผมไม่อาจเพื่อจะแบ่งภัตนี้ให้เป็น ๒ ส่วน, ขอท่านจงอย่ากระทำการสงเคราะห์แก่กระผมในโลกนี้เลย, กระผมใคร่เพื่อจะถวายไม่ให้มีส่วนเหลือ" แล้วได้ถวายภัตทั้งหมด. ก็แลครั้นถวายแล้วได้ตั้งความปรารถนาว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าอย่าได้ประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ ในที่ข้าพเจ้าเกิดอีกเลย ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้าพึงสามารถเพื่อจะให้ภัตอันเป็นพืชแก่ชาวชมพูทวีปได้ไม่มีหมดสิ้น ขอให้ข้าพเจ้าทำการงานเลี้ยงชีพได้ด้วยมือของตนเอง ในขณะที่ข้าพเจ้าใช้ให้คนชำระฉาง ๑,๒๕๐ ฉางแล้ว สนานศีรษะนั่งอยู่ที่ประตูแห่งฉางเหล่านั้นแล้ว แลดูในเบื้องบนเท่านั้น ธารแห่งข้าวสาลีแดง พึงตกลงมายังฉางทั้งหมดให้เต็มเพื่อข้าพเจ้า และผู้นี้นั่นแหละจงเป็นภรรยา ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นบุตร ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นลูกหญิงลูกสะใภ้ ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นทาสของข้าพเจ้า ในสถานที่ข้าพเจ้าเกิดแล้วๆ."   ทั้ง ๕ คนปรารถนาให้ได้อยู่ร่วมกันเหมือนเดิมในชาติต่อไป              

   ฝ่ายภรรยาของเศรษฐีนั้น ก็คิดว่า "เมื่อสามีของเราถูกความหิวเบียดเบียนอยู่ เราก็ไม่อาจเพื่อจะบริโภคได้" จึงถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ จำเดิมแต่นี้ อย่าให้ดิฉันประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ ในสถานที่ดิฉันเกิดแล้ว อนึ่ง แม้เมื่อดิฉันวางถาดภัตไว้ข้างหน้า ให้อยู่ซึ่งภัตแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น, ดิฉันยังไม่ลุกขึ้นเพียงใด, ที่แห่งภัตที่ดิฉันตักแล้วๆ จงเป็นของบริบูรณ์อยู่อย่างเดิมเพียงนั้น ท่านผู้นี้แหละจงเป็นสามี ผู้นี้แหละจงเป็นบุตร ผู้นี้แหละจงเป็นหญิงสะใภ้ ผู้นี้แหละจงเป็นทาส (ของดิฉัน)"   แม้บุตรของเศรษฐีนั้นก็ถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า"จำเดิมแต่นี้ไป ข้าพเจ้าไม่พึงประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้อีก, อนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าถือเอาถุงกหาปณะ (ถุงเงิน)หนึ่งพัน แม้ให้กหาปณะแก่ประชาชนชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นอยู่ ถุงเงินนี้ก็ให้เต็มอยู่เหมือนเดิม ท่านทั้งสองนี้นั่นแหละจงเป็นมารดา และบิดา หญิงคนนี้จงเป็นภรรยา ผู้นี้จงเป็นทาสของข้าพเจ้า."   แม้ลูกสะใภ้ของเศรษฐีนั้นก็ถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็ตั้งความปรารถนาว่า "จำเดิมแต่นี้ไป ขออย่าให้ดิฉันพบเห็นฉาตกภัยเห็นปานนี้ อนึ่ง เมื่อดิฉันตั้งกระบุงข้าวเปลือกกระบุงหนึ่งไว้ข้างหน้า แม้ให้อยู่ซึ่งภัตอันเป็นพืชแก่ประชาชนชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ความหมดสิ้นไปอย่าให้ปรากฏเลย, ท่านทั้งสองนี้นั่นแหละจงเป็นแม่ผัวและพ่อผัว ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นสามี. ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นทาส (ของดิฉัน)."   แม้ทาสของเศรษฐีนั้นก็ถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็ตั้งความปรารถนาว่า "จำเดิมแต่นี้ไปข้าพเจ้า ขออย่าให้พบเห็นฉาตกภัยเห็นปานนี้ คนเหล่านี้ทั้งหมดจงเป็นนาย และเมื่อข้าพเจ้าไถนาอยู่ รอยไถ ๗ รอยประมาณเท่าเรือโกลน (เรือโกลน  คือเรือที่ทำจากซุง เพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มีลักษณะคล้ายเรือแต่ยังไม่ได้ขุด)คือ "ข้างหน้า ๓ รอย ข้างหลัง ๓ รอย ในท่ามกลาง ๑ รอย จงเป็นไปในทำนองนี้"

    นายปุณณะนั้นถ้าปรารถนาตำแหน่งเสนาบดีก็สามารถจะได้ในวันนั้นเลยทีเดียว. แต่ว่า ด้วยความรักในเจ้านายทั้งหลายของตน เขาจึงได้ตั้งความปรารถนาว่า "คนเหล่านี้นั่นแหละจงเป็นนายของข้าพเจ้า."   ในที่สุดแห่งถ้อยคำของชนทั้งหมด พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" แล้วกระทำอนุโมทนาด้วยคาถาของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วคิดว่า "เรายังจิตของชนทั้งหลายเหล่านี้ให้เลื่อมใส ย่อมควร" จึงอธิษฐานว่า "ชนเหล่านี้จงเห็นเราจนถึงภูเขาคันธมาทน์" ดังนี้แล้วก็หลีกไป. แม้ชนเหล่านั้นได้ยืนแลดูอยู่เทียว.พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นไปแล้วแบ่งภัตนั้นกับด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์. ด้วยอานุภาพแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ภัตนั้นเพียงพอแล้วแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมด. ในขณะที่พระปัจเจกพุทธเจ้าได้แบ่งปั้นข้าวนั้นแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่าอื่น  คนทั้ง ๕ เหล่านั้นได้ยืนดูที่เห็นได้อย่างชัดเจนทีเดียว.

               อานิสงส์ของการถวายทาน               

    เมื่อถวายข้าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผ่านไปแล้ว ภรรยาของเศรษฐีจึงล้างหม้อข้าวแล้วปิดฝาตั้งไว้. ฝ่ายเศรษฐีถูกความหิวบีบคั้นหนักนอนหลับไปแล้ว. เศรษฐีนั้นตื่นขึ้นมาในเวลาเย็น กล่าวกะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ ฉันหิวเหลือเกิน ข้าวตังที่ติดก้นหม้อมีอยู่บ้างไหม

หนอ?"  ภรรยานั้น แม้รู้อยู่ว่านางได้ล้างหม้อแล้วปิดฝาตั้งเอาไว้ ก็ไม่พูดว่า "ไม่มี"  แต่คิดว่า "เราจะลองเปิดหม้อข้าวดูก่อนจึงจะบอกให้สามีทราบทีหลัง" 

ดังนี้แล้ว จึงลุกขึ้นไปสู่ที่ใกล้หม้อข้าวแล้วก็เปิดฝาหม้อข้าวออก. ในขณะนั้นเอง นางก็ตาค้างแทบไม่เชื่อสายตาของตนเองเลย เมื่อนางเห็นหม้อข้าวเต็มด้วยภัต ที่มีสีเหมือนกับดอกมะลิตูม ได้ดุนฝาละมีขึ้นมาเต็มปากหม้อพอดี. ภรรยานั้นเห็นภัตนั้นแล้ว นางเกิดความปีติแทบจะกระโดดโลดเต้นด้วยความปิติยินดีปลื้มใจจนขนลุกไปทั้งตัว  กล่าวกะเศรษฐีว่า "จงลุกขึ้นมาเถิดนาย พวกเราทั้งหลายไม่อดตายแล้วในบัดนี้ ดิฉันล้างหม้อข้าวแล้วปิดฝาตั้งไว้ แต่ตอนนี้หม้อข้าวนั้นมันเต็มไปด้วยภัต ที่มีสีเหมือนกับด้วยดอกมะลิตูม นี้คือผลของบุญที่พวกเราได้กระทำแล้วนี้คือผลของทานที่พวกเราได้ให้แล้วแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ขอท่านจงลุกขึ้นมาเถิดเถิดนาย จงมากินเสียให้อิ่ม"   ภรรยานั้นได้ให้ภัตแก่สามี,บุตร, ลูกสะใภ้, และแก่ทาส. เมื่อสามีและบุตรนั้นบริโภคเสร็จแล้ว นางก็นั่งบริโภคกับด้วยลูกสะใภ้ แล้วได้ให้ภัตแก่นายปุณณะผู้ที่เป็นทาส. ที่แห่งภัตที่คนทั้ง ๕ เหล่านั้นตักแล้วๆ ย่อมไม่บกพร่องไปมันยังเต็มอยู่เหมือนเดิมเหมือนไม่ได้ตัก. ปรากฏเฉพาะตรงที่ตักด้วยทัพพีเพียงนิดเดียวเท่านั้นปล่อยไว้เพียงแป๊ปเดียวก็เต็มหม้อเหมือนเดิม. ในวันนั้นนั่นแล ฉางข้าวที่ว่างเปล่าทั้งหมดเหล่านั้นก็กลับเต็มแล้วด้วยข้าวเปลือกเหมือนนัยก่อนนั่นแล. นางให้โฆษณาบอกคนในเมืองว่า "ข้าวเกิดขึ้นแล้วในเรือนของท่านเศรษฐี ผู้ใดมีความต้องการด้วยข้าว ให้รีบมารับเอาเร็วๆ."  มนุษย์ทั้งหลายถือเอาภัตอันเป็นพืชจากเรือนของเศรษฐีนั้นแล้ว. ชาวเมืองทั้งสิ้นก็ได้อาศัยเศรษฐีนั้น ได้ชีวิตกลับคืนมาแล้วนั่นแล. 

       เศรษฐีและคณะได้ไปเกิดที่ภัททิยนคร        

   เศรษฐีนั้นตายจากอัตภาพนั้นแล้ว ก็ไปบังเกิดในโลกสวรรค์ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก. ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสกุลเศรษฐีในเมืองภัททิยนคร. แม้ภรรยาของเขาก็ไปบังเกิดในสกุลของคนที่มีโภคะสมบัติมาก ครั้นเจริญวัยแล้ว ก็ได้แต่งงานไป

สู่เรือนของท่านเศรษฐีนั้นนั่นเอง. แพะทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วนั้น อาศัยบุญกรรมในกาลก่อนของเศรษฐีนั้นก็ผุดขึ้นแล้วที่ข้างหลังเรือนของเศรษฐี, แม้บุตรก็ได้ไปเกิดเป็นบุตรของท่านเศรษฐี, ลูกสะใภ้ก็ได้ไปเกิดเป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีเหมือนเดิม,ทาสก็ได้ไปเกิดเป็นเป็นทาสของเศรษฐีเหมือนเดิม. ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเศรษฐีใคร่จะทดลองบุญของตนเอง จึงให้คนทำความสะอาดฉางข้าว ๑,๒๕๐ ฉาง สนานศีรษะแล้วนั่งอยู่ที่ประตูเรือน แล้วแหงนหน้าขึ้นไปดูเบื้องบน. ฉางข้าวแม้ทั้งหมดก็เต็มแล้วด้วยข้าวสาลีแดงมีประการดังกล่าวแล้ว. เศรษฐีนั้นใคร่จะทดลองบุญแม้ของคนที่เหลือ จึงกล่าวกะภรรยาและบุตรเป็นต้นว่า "เธอทั้งหลายจงทดลองบุญดูซิ แม้คนทั้ง ๔ ก็ได้ทดลองบุญตามที่เศรษฐีแนะนำแล้ว."

   ลำดับนั้น ภรรยาของเศรษฐีได้ประดับตกแต่งร่างกายแล้วด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เมื่อมหาชนกำลังแลดูอยู่นั่นแล ใช้ให้คนตวงข้าวสารทั้งหลาย ให้หุงข้าวสวยด้วยข้าวสารเหล่านั้น นั่งบนอาสนะอันเขาปูลาดแล้วที่ซุ้มประตู ถือทัพพีทองคำแล้วให้ป่าวร้องว่า

 "ผู้ใดมีความต้องการด้วยภัตจงมาเอา" แล้วได้ให้จนเต็มภาชนะที่คนผู้มาแล้วๆ รับเอา. เมื่อนางจะให้ข้าวแก่ประชาชนตลอดทั้งวันก็ไม่ปรากฏความบกพร่องไปของภัตจะบกพร่องไปแค่ทัพพีเดียว.  ภรรยาของท่านเศรษฐีมีปทุมลักษณะเกิดเต็มฝ่ามือข้างซ้าย 

จันทรลักษณะเกิดเต็มฝ่ามือข้างขวาเพราะนางจับหม้อข้าวด้วยมือซ้าย จับทัพพีด้วยมือขวาแล้วถวายภัตจนเต็มบาตรของภิกษุสงฆ์แม้ของพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้นี้แล. ก็เพราะเหตุที่นางถือเอาธะมะกรก เครื่องกรองน้ำถวายแก่ภิกษุสงฆ์ เที่ยวไปๆ มาๆ. ฉะนั้น จันทรลักษณะจึงเกิดเต็มฝ่าเท้าเบื้องขวาของนาง, ปทุมลักษณะจึงเกิดจนเต็มฝ่าเท้าเบื้องซ้ายของนางนั้น. เพราะเหตุนี้ ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อให้นางว่า "จันทปทุมา"   แม้บุตรของเศรษฐีนั้นสนานศีรษะแล้ว ถือเอาถุงกหาปณะ (ถุงเงิน) พันหนึ่ง กล่าวว่า "ผู้มีความต้องการด้วยกหาปณะทั้งหลายจงมาเอา" แล้วได้ให้จนเต็มภาชนะแก่คนผู้มารับเอาแล้ว. กหาปณะพันหนึ่งที่เขาให้แก่ประชาชนไปแล้วก็กลับมีอยู่ในถุงนั้นเหมือนเดิมไม่ได้หมด. แม้ลูกสะใภ้ของเศรษฐีนั้นประดับประดาร่างกายด้วยเครื่องประดับที่อลังการ ถือเอากระบุงข้าวเปลือกแล้วนั่งที่กลางแจ้งกล่าวว่า "ผู้ใดมีความต้องการภัตที่เป็นพืช จงมาเอา" แล้วได้ให้จนเต็มภาชนะตามที่คนนั้นมารับเอาแล้ว. กระบุงข้าวเปลือกก็คงเต็มอยู่ตามเดิมไม่ได้บกพร่องไปเลย. แม้ทาสของเศรษฐีนั้นก็ประดับตกแต่งร่างกายแล้วด้วยเครื่องประดับที่อลังการเทียมโคทั้งหลายด้วยแอกทองคำผูกโคด้วยเชือกทองคำถือเอาด้ามปฏักทองคำ ให้ของหอมอันบุคคลพึงเจิมด้วยนิ้วทั้ง ๕ แก่โคทั้งหลาย สวมปลอกทองคำที่เขาของมัน ไปสู่นาแล้วไถไป. รอย ๗ รอยคือ "ข้างนี้ ๓ รอย ข้างโน้น ๓ รอย ในท่ามกลาง ๑ รอย" ได้แตกแยกกันไปแล้ว. ประชาชนชาวชมพูทวีปถือเอาสิ่งของที่เป็นภัต พืช เงินทองเป็นต้น ตามที่ตนชอบใจจากเรือนของเศรษฐีเท่านั้น.

    เศรษฐีผู้มีอานุภาพมากอย่างนั้นได้ยินว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว" จึงคิดว่า "เราจักกระทำการตอนรับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า" จึงออกไปได้พบพวกเดียรถีย์ในระหว่างทาง แม้ถูกพวกเดียรถีย์เหล่านั้นห้ามอยู่ว่า "คฤหบดี ท่านเป็นกิริยวาทะ 

(เป็นผู้กล่าวสิ่งที่เป็นจริง)จะไปสู่สำนักของพระสมณโคดมผู้เป็นอกิริยวาทะ (เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นจริง)เพราะเหตุไร? ก็มิได้เชื่อถ้อยคำของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น เทียวไปแล้วถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

    โทษของคนอื่นเห็นง่ายแต่โทษของตนเห็นยาก               

    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสอนุบุพพีกถาแก่เศรษฐีนั้น ในเวลาจบพระธรรมเทศนา เศรษฐีนั้นบรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล แล้วกราบทูลความที่ตนถูกพวกเดียรถีย์กล่าวโทษแล้วห้ามไว้.  ครั้งนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสกะท่านเศรษฐีนั้นว่า "ดูก่อนคฤหบดี ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านี้ย่อมไม่เห็นโทษของตนแม้มาก, ย่อมกล่าวโทษของคนอื่นแม้ไม่มีอยู่ กระทำให้มีโทษราวกะบุคคลที่โปรยแกลบลงในที่นั้นๆ ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

         ๐สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ    อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ

       ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ    โอปุนาติ ยถาภุสํ

       อตฺตโน ปน ฉาเทติ    กลึว กิตวา สโฐ.

         ๐โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย, แต่โทษของตนเห็น

       ได้ยาก เพราะว่า บุคคลนั้นย่อมโปรยโทษของบุคคลเหล่า

        อื่น เหมือนบุคคลโปรยแกลบ, แต่ว่า ย่อมปกปิด (โทษ)

         ของตน เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น                            

   นี้คือประวัติความเป็นมาของปู่, ย่า, พ่อ, และแม่ของนางวิสาขา เหตุที่ข้าพเจ้าได้นำเอาเรื่องราวประวัติความเป็นมาของบุคคลเหล่านี้มาเล่าให้ฟังก็เพราะข้าพเจ้ามีจุดปะสงค์อยากให้ผู้อ่านทั้งหลายทราบอานิสงส์ของบุญ ๒ ประการ คือ:-

    ๑.ผลของบุญที่เราทำเอาไว้แล้วในชาติปัจจุบันมันจะส่งผลไปให้เราในชาติอนาคตที่เราไปเกิด   เช่นในสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "วิปัสสี"  เมณฑะกะเศรษฐีเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อว่า "อะวะโรชะ"  พราหมณ์อะวะโรชะได้ทำบุุญเอาไว้ดังนี้

     -เขาได้สร้างศาลารายขึ้นหลังหนึ่งซึ่งมีเสาต้นหนึ่งบุด้วยทองคำ  เสาต้นหนึ่งบุด้วยเงิน  และเสาอีกต้นหนึ่งบุด้วยแก้วมณี ให้ทำขื่อ แป บานประตู บานหน้าต่าง กลอน เครื่องมุงและอิฐ แม้ทั้งหมดบุด้วยทองคำทังสิ้น เขาให้สร้างศาลารายสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ถวายพระพุทธเจ้า  ในที่ตรงหน้าพระคันธกุฎี  ณะเบื้องบนแห่งศาลารายนั้นมียอด ๓ ยอด อันสำเร็จแล้วด้วยทองคำอันสุกปลั่งเป็นแท่ง แก้วผลึกและแก้วประพาฬ,ให้สร้างมณฑปประดับด้วยแก้วในที่ท่ามกลางแห่งศาลารายหลังนั้น. ให้ตั้งธรรมาสน์ไว้ที่ศาลาราย เท้าของธรรมาสน์นั้นให้สำเร็จด้วยทองคำสีสุกปลั่งเป็นแท่ง, แม่แคร่ ๔ อันก็เหมือนกันแต่ให้กระทำแพะทองคำ ๔ ตัวตั้งไว้ในภายใต้แห่งเท้าทั้ง ๔ แห่งอาสนะ, ให้กระทำแพะทองคำ ๒ ตัวตั้งไว้ภายใต้ตั่งสำหรับรองเท้า,ให้กระทำแพะทองคำ ๖ ตัวตั้งแวดล้อมมณฑป. ให้ถักธรรมาสน์ด้วยเชือกเส้นเล็กสำเร็จด้วยด้ายก่อนแล้ว จึงให้ถักด้วยเชือกอันสำเร็จด้วยทองคำในท่ามกลาง แล้วให้ถักด้วยเชือกสำเร็จด้วยแก้วมุกดาในเบื้องบน. พนักแห่งธรรมาสน์นั้น ได้สำเร็จด้วยไม้จันทน์ ด้วยวัตถุทานอันสำเร็จด้วยทองคำเหล่านี้เมื่อเขาตายไปเกิดเป็นเมณฑะกะเศรษฐี ข้างหลังบ้านของเขาจึงมีแพะทองคำบังเกิดขึ้นแก่เขาด้วยผลทานที่เขาทำแพะทองคำที่เท้าของธรรมมาสน์นั่นเอง  ในวันที่เขาเกิดมีแพะทองคำเกิดขึ้นที่หลังบ้านเพราะฉะนั้นพ่อแม่และญาติพี่น้องจึงตั้งชื่อให้เขาว่า "เมณฑะกะ" ตรงนี้แสดงให้เห็นว่าแพะทองคำที่เกิดแก่เขานั้นเกิดเพราะเขาได้ทำบุญแพะทองคำเอาไว้ในสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "วิปัสสี"  ไม่ใช่เกิดขึ้นเองลอยๆคือลาภลอย

    ๒.การทำบุญที่เห็นผลลัพธ์ในชาติปัจจุบัน    ข้อนี้ข้าพเจ้าจะยกเอาตัวอย่างการทำบุญที่เห็นผลในปัจจุบันของพาราณสืเศรษฐีมาเป็นตัวอย่าง   พาราณสีเศรษฐีคนนีัไม่ใช่ใครอื่น  เขาก็คืออะวะโรชะพราหมณ์  เขาตายจากอะวะโรชะพราหมณ์แล้วก็ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นหมดบุญที่จะอยู่ในสวรรค์แล้วเขาตายจากเมืองสวรรค์มาเกิดในโลกมนุษย์ที่เมืองพาราณสี โดยมีชื่อว่า "พาราณสีเศรษฐี" 

    วันหนึ่งท่านเศรษฐีได้เข้าไปเฝ้าพระราชาหลังจากเฝ้าพระราชาเสร็จแล้วก็จะเดินทางกลับบ้าน ในขณะที่เดินทางกลับบ้านก็เจอกับปุโรหิตที่เป็นยอดของโหราจารย์ที่พยากรณ์เกี่ยวกับบ้านเมืองได้แม่นยำมากคนหนึ่ง

    เศรษฐีจึงถามปุโรหิตว่า "อาจารย์  ปีนี้จะมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นในบ้านเมืองเราไหม๊ ?"

    ปุโรหิตตอบว่า "ปีนี้ยังไม่มีอะไร   แต่นับจากปีนี้ไป ๓ ปี  จะเกิดฉาตะกะภัยคือภัยแล้งในบ้านเมืองของเรา"

    เมื่อเศรษฐีรู้ว่าอีก ๓ ปีจะเกิดภัยแล้งจึงให้ทำนาแล้วสะสมข้าวเปลือกเอาไว้ในฉางข้าว ๑๒๕๐ ฉางจนเต็มทั้งหมดและให้ขยำข้าวปลือกกับดินเหนียวแล้วฉาบทาทำเป็นฝาบ้านเอาไว้เมื่อทำเป็นฝาบ้านเสร็จแล้วก็ให้ใส่ไว้ในตุ่มในโอ่งในหม้อและในไห  เมื่อตุ่มโองหม้อและไหเต็มหมดแล้วก็ให้ใส่ในภาชนะฝังดินเอาไว้  พอภัยแล้งมาถึงเศรษฐีพร้อมทั้งครอบครัวและบริวารก็เอาข้าวในฉาง ๑๒๕๐ ฉางออกมากินจนหมด  เมื่อข้าวในฉางหมดแล้วก็ให้เอาข้าวในตุ่มในโอ่งในหม้อในไหออกมากินจนหมด  และให้เอาข้าวที่ฝังดินไว้ออกมากินจนหมดอีก  ต่อจากนั้นก็ให้เอาข้าวที่ฉาบทาไว้ที่ฝาบ้านเรือนออกมากินจนหมดอีก 

    วันหนึ่งท่านเศรษฐีออกมาจากการเข้าเฝ้าพระราชาแล้วพูดกับภรรยาว่า "นางผู้เจริญ 

ในเรือนของเรามีอะไรเหลือพอที่จะกินได้ไหม๊ ?"

    ภรรยาก็พูดว่า"ข้าแต่นาย ในเรือนของเรามีข้าวสารเหลืออยู่ ๑ ทะนาน  ถ้าหุงเป็นข้าวสวยจะกินได้มื้อเดียวแต่ถ้าต้มเป็นข้าวต้มจะกินได้ ๒ มื้อ   ท่านจะให้ทำอย่างไหน ?"

    เศรษฐีจึงพูดว่า"ให้หุงเป็นข้าวสวย  เมื่อพวกเรากินอิ่มแล้วก็จะได้ตายไปพร้อมกันไม่ต้องทรมานต่อไปอีก"

    ภรรยาพูดว่า "ตกลง"  แล้วก็ได้นำเอาข้าวสาร ๑ ทะนานไปหุง   เมื่อหุงเสร็จแล้วนางก็ยกหม้อข้าวมาตั้งไว้ตรงหน้าเศรษฐี  แล้วคดข้าวส่วนหนึ่งมาตั้งตรงหน้าเศรษฐี ส่วนหนึ่งให้แก่ตน  ส่วนหนึ่งให้บุตรชาย   ส่วนหนึ่งให้ลูกสะใภ้   และอีกส่วนหนึ่งให้แก่ทาสชื่อว่า "ปุณณะ"

    วันนั้นที่ภูเขาคันธมาทน์พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ออกจากนิโรธสมาบัติ  ปกติถ้าอยู่ในนิโรธสมบัติจะไม่หิวแต่ถ้าออกจากนิโรธสมาบัติแล้วจะเกิดความหิวเป็นกำลังเหมือนกับมีไฟเผาพื้อท้องอยู่อย่างทรมาน  พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเข้าสมาธินั่งตรวจดูด้วยญาณว่าจะมีใครถวายข้าวแก่เราได้บ้าง  พอนั่งตรวจดูก็ทราบว่า พาราณสีเศรษฐีพร้อมทั้งภรรยา, ลูกชาย,ลูกสะใภ้, และทาส  ที่เมืองพาราณสีจะถวายข้าวแก่เรา เมื่อทราบดังนั้นแล้วพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงอุ้มบาตรตรงมายังบ้านของเศรษฐี  มายืนอยู่ตรงหน้าบ้านของเศรษฐี           เศรษฐีเมื่อเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามายืนรอรับบิณฑบาตอยู่ที่หน้าบ้านก็เกิดความเลื่อมใสคิดว่า "ที่เราต้องมาประสบภัยแล้งในครั้งนี้ ก็เพราะเราไม่เคยให้ทานไว้เอาไว้ในชาติปางก่อน ข้าวที่เราจะกินในวันนี้ก็กินได้เพียงมื้อเดียวเท่านั้นถึงอย่างไรเราก็จะอดข้าวตายอยู่แล้วสู้เราอดข้าวตายวันนี้เลยดีกว่า  การอดข้าวตายวันนี้เราจะได้บุญมากเพราะได้ช่วยเหลือชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าเอาจะดีกว่า"  เมื่อคิดได้ดังนี้แล้วเขาเดินไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าให้เข้ามารับที่บิณฑบาตข้างในบ้าน  เขายกเอาจานข้าวอันเป็นส่วนของเขาตักใส่บาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้าพอได้ครึ่งหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เอามือปิดไว้บอกให้เขาหยุด  เขาก็พูดกับพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า "พระคุณเจ้าอย่าสงเคราะห์ผมแต่เพียงชาตินี้เลยนิมนต์สงเคราะห์ผมในชาติเบื้องหน้าด้วย" เขาก็ตักข้าวใส่บาตรจนหมดแล้วก็ตั้งความปราถนาว่า " ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ  ด้วยอำนาจที่ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวให้เป็นทานในวันนี้เกิดชาติใดภพใดก็ตามขออย่าให้ข้าพเจ้าได้ประสบกับภัยแล้งเช่นนี้อีกในสถานที่ข้าพเจ้าบังเกิดแล้ว  ขอให้ข้าพเจ้าได้แจกทานข้าวแก่คนทั้งหลายโดยไม่รู้จักหมดสิ้น  เมื่อข้าพเจ้าให้ทำความสะอาดฉาง ๑๒๕๐ ฉาง   อาบน้ำแต่งตัวชำระร่างกายแล้วไปนั่งอยู่ที่ประตูแห่งฉางข้าวมองขึ้นไปบนอากาศ  ขอให้ธารแห่งข้าวสาลีแดงจงตกลงมายังฉางข้าวของข้าพเจ้าให้เต็มทั้ง ๑๒๕๐ ฉาง   ผู้นี้จงเป็นภรรยาของข้าพเจ้า   ผู้นี้จงเป็นบุตรชายของข้าพเจ้า   ผู้นี้จงลูกสะใภ้ของข้าพเจ้า   และผู้นี้จงเป็นทาสของข้าพเจ้าเหมือนเดิม"

   ภรรยาของเศรษฐีเมื่อเห็นสามีผู้ที่มีความหิวแทบไส้จะขาด ถวายข้าวแก่พระพุทธเจ้าทั้งหมด  นางก็ได้ถวายข้าวส่วนของตัวเองทั้งหมดแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วตั้งความปราถนาว่า " ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ  ขอให้ดิฉันอย่าได้ประสบกับภัยแล้งที่เห็นปานนี้อีก  ในสถานที่ๆดิฉันบังเกิดแล้ว  เมื่อดิฉันตั้งหม้อข้าวไว้เพื่อแจกทาน  ข้าวที่ดิฉันได้แจกทานไปแล้วแก่คนทั้งหลายก็ขอให้ข้าวนั้นจงเด็มหม้อบริบูรณ์เหมือนเดิมอย่าได้มีคำว่า "บกพร่องไปเลย"  ผู้นี้จงเป็นสามี  ผู้นี้จงเป็นบุตรชาย   ผู้นี้จงเป็นลูกสะใภ้   และผู้นี้จงเป็นทาส ของดิฉันเหมือนเดิม"

   ลูกชายของเศรษฐีเมื่อเห็นพ่อและแม่ถวายข้าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าหมดแล้ว  ก็ได้ถวายข้าวอันเป็นส่วนของตนบ้างแล้วตั้งความปราถนาว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ  เกิดชาติใดภพใดก็ตาม ขออย่าให้ข้าพเจ้าประสบภัยแล้งเห็นปานนี้อีกในสถานที่ข้าพเจ้าบังเกิดแล้ว เมื่อข้าพเจ้าถือถุงเงินให้ทานอยู่แก่คนทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะให้ทานไปเท่าไรก็ตามขอให้ถุงเงินยังเต็มถุงอยู่เหมือนเดิมอย่าได้ได้บกพร่องไปเลยแม้แต่นิดเดียว  ขอให้ผู้นี้จงเป็นพ่อ   ขอให้ผู้นี้จงเป็นแม่   ขอให้ผู้นี้จงเป็นภรรยา   ขอให้ผู้นี้จงเป็นทาสของข้าพเจ้าเหมือนเดิม"

   ลูกสะใภ้ของเศรษฐีเมื่อเห็นพ่อผัวแม่ผัวและสามีของตนถวายข้าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าหมดแล้ว นางก็ได้ถวายข้าวอันเป็นส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดแล้วก็ตั้งความปราถนาว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ  เกิดชาติใดภพใดก็ตาม  ขออย่าให้ดิฉันประสบกับภัยแล้งเห็นปานนี้อีกในสถานที่ๆดิฉันบังเกิดแล้ว  เมื่อดิฉันตั้งกระบุงข้าวเปลือกไว้ข้างหน้าแล้วให้ทานอยู่แก่ประชาชนทั้งหลาย  ดิฉันจะให้ไปเท่าไรก็ขอให้ข้าวเปลือกยังเต็มกระบุงอยู่เหมือนเดิมอย่าได้บกพร่องไปเลย  ผู้นี้จงเป็นพ่อผัว   ผู้นี้จงเป็นแม่ผัว   ผู้นี้จงเป็นสามี   และผู้นี้จงเป็นทาสของดิฉันเหมือนเดิม"

   ส่วนทาสคือนายปุณณะเมื่อเห็นเจ้านายทั้ง ๔ ของตนถวายข้าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าหมดแล้วตัวเองก็ถวายข้าวอันเป็นส่วนของตนทั้งหมดแล้วตั้งความปราถนาว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ  เกิดชาติใดภพใดก็ตาม  ขออย่าให้ข้าพเจ้าจงอย่าได้ประสบกับภัยแล้งเห็นปานนี้อีกในสถานที่ๆข้าพเจ้าบังเกิดแล้ว  เมื่อข้าพเจ้ากำลังไถนาอยู่ขอให้รอยไถ ๗ รอยเป็นเหมือนเรือโกลน  (เรือโกลน คือเรือที่ทำจากซุง เพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มีลักษณะคล้ายเรือแต่ยังไม่ได้ขุด)  ข้างหน้า ๓ รอย   ข้างหลัง ๓ รอย   และตรงกลาง ๑ รอย

   พระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อคนทั้ง ๕ ได้ถวายข้าวและกล่าวคำอธิษฐานเสร็จแล้วก็กล่าวว่า

"ขอให้เป็นไปตามคำอธิษฐานนี้เถิด"  แล้วกระทำอนุโมทนาด้วยคาถาของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วจึงคิดว่า "เราจะยังจิตของคนทั้ง ๕ เหล่านี้ให้เลื่อมใส ย่อมควร" จึงอธิษฐานว่า "ในขณะที่เราเดินทางกลับไปสู่ภูเขาคันธมาทน์นี้ ขอให้คนเหล่านี้จงมองเห็นเราเดินทางกลับจนถึงภูเขาคันธมาทน์เถิด" ดังนี้แล้วก็หลีกไป. แม้คนทั้ง ๕ ก็ได้มองเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเดินทางกลับจนถึงภูเขาคันธมทน์ได้อย่างชัดเจน  นี้ก็เป็นเรืองอัศจรรย์    

  ระยะทางจากบ้านของเศรษฐีถึงภูเขาคันธมาทน์ก็เป็นระยะทางหลาย ๑๐ โยชน์  แต่ทำไมคนทั้ง ๕ ถึงมองเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเดินทางกลับได้อย่างชัดเจนเหมือนอยู่ใกล้ๆ ข้อนี้ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า "พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านย่นแผ่นดินให้บ้านเศรษฐีและภูเขาคันธมาทน์มาอยู่ใกล้ๆกันนั้นเอง" 

   ด้วยอานิสงส์ที่ท่านเศรษฐีพร้อมทั้งครอบครัวได้ถวายข้าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ที่ออกจากนิโรธสมาบัติในวันนั้นมันจึงเป็นทานที่มีพละกำลังอันมากมายมหาศาลสามารถบรร ดาลให้ผู้ที่ให้ทานเห็นผลของทานได้ในวันนั้นเลยที่เดียวคือ หม้อข้าวที่ภรรยาเศรษฐีล้างแล้วปิดฝาทิ้งไว้ก็เต็มไปด้วยข้าวหอมมะลิอันมีกลิ่นหอมและขาวนวล  ฉางข้าว ๑๒๕๐ ฉางก็เต็มไปด้วยข้าวสาลีแดง  เศรษฐีพร้อมด้วยภรรยาจะแจกทานให้คนทั้งหลายไปเท่าไรก็ไม่มีหมดสิ้นยังเต็มหม้อเต็มฉางอยู่เหมือนเดิม  ลูกชายเศรษฐีหยิบถุงเงินขึ้นมาแจกทานให้แก่คนยากจนทั้งหลายแจกไปเท่าไรเงินก็ยังเต็มถุงอยู่เหมือนเดิมไม่รู้จักหมดสิ้น

 ลูกสะใภ้ของเศรษฐีเอาข้าวเปลือกตักใส่กระบุงแล้วแจกทานให้แก่คนยากจนตักแจกทานไปเท่าไรข้าวก็ยังเต็มกระบุงอยู่เหมือนเดิมไม่บกพร่องไปเลยแม้แต่นิดเดียว   ส่วนนาย     ปุณณะทาสของเศรษฐีเวลาออกไปไถนา  รอยไถก็แตกออก็เป็น ๗ส่วนคือข้างหน้า ๓ รอย ข้างหลัง ๓ รอย  ตรงกลาง ๑ รอย  ปักดำข้าวกล้าลงไปแล้วทำให้ต้นข้าวงอกงามได้ข้าวมากผิดปกตินานิดเดียวก็ได้ข้าวมากเต็มยุ่งเต็มฉางไปหมด  ข้าวเปลือกก็มีเมล็ดตูมดีไม่มีข้าวลีบเลย

   ก่อนที่จะผ่านเรื่องนี้ไปข้าพเจ้าใคร่จะนำเอาเรื่องของนิโรธสมาบัติที่เกี่ยวข้องกับการให้ทานมาชี้แจงให้ผู้อ่านทั้งหลายเข้าใจ  ผู้ใดได้ให้ทานแก่พระอริยบุคคลในขั้นอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธสมาบัติในวันนั้นผู้นั้นจะได้รับอานิสงส์ของผลทานในวันนั้นเลยทีเดียวพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือให้ทานในวันนั้นจะได้รับผลของทานในวันนั้นเลย  แต่พระผู้รับทานของเราจะต้องออกจากนิโรธสมาบัติเท่านั้น

    นิโรธสมาบัติ

   นิโรธสมาบัติ  คือการเข้าฌานขั้นสูงจนถึงลำดับฌาณที่ ๙ ดังนี้

    ๑.ปฐมฌาน               คือฌานที่ ๑

    ๒.ทุติยฌาน              คือฌานที่ ๒

    ๓.ตติยฌาน               คือฌานที่ ๓

    ๔.จตุตถฌาน            คือฌานที่ ๔

    ๕.ปัญจมฌาน           คือฌานที่ ๕

    ๖.ฉัฏฐมฌาน             คือฌานที่ ๖

     ๗.สัตตมฌาน           คือฌานที่ ๗

     ๘.อัฏฐมฌาน            คือฌานที่ ๘ 

     ๙.นิโรธฌาน             คือฌานที่ ๙ หรือนิโรธสมาบัติ

   เมื่อเข้าสู่องค์ฌานลำดับที่ ๙ นี้แล้ว กายสังขารและจิตตสังขารจะระงับไป คือไม่มีลมหายใจ ไม่มีความรู้สึกทางกายและทางใจ แต่ก็ไม่ใช่พระนิพพาน สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติ ได้นั้น พระบาลีระบุว่า"ต้องเป็นพระอนาคามีและพระอรหันต์" เท่านั้น ต่ำกว่านี้ไม่สามารถเข้าได้

    อานิสงส์ของการเข้าฌานสมาบัติ

  การเข้านิโรธสมาบัติเป็นการพักผ่อนของพระอริยเจ้า ที่สามารถระงับทุกขเวทนาทางกาย ฌานสมาบัตินี้สามารถเข้าได้นานที่สุดเพียง ๗ วัน เพราะร่างกายของคนเราจะทนอดทนกลั้นไม่กินข้าว ไม่หายใจ ไม่รับรู้อะไรเลยนั้น มันฝืนธรรมชาติได้เพียง ๗ วันเท่านั้นแหละเมื่อพระอริยบุคคลท่านนั้นออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ก็จะเกิดความหิวขึ้นมาอย่างรุนแรงภายในท้องเหมือนถูกไฟเผา บุคคลผู้ใดได้ให้ข้าวอาหารแก่พระอริยบุคคลผู้ออกจากฌานสมาบัติเช่นนี้ จะได้รับอานิสงส์ใหญ่หลวงภายในวันนั้นเลยทีเดียว  อานิสงส์ที่จะได้รับมีดังนี้:-

   ๑.ถ้าปราถนาความร่ำรวยเป็นเศรษฐีก็จะได้เป็นเศรษฐีในวันนั้น

   ๒.ถ้าปราถนาจะเป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ก็จะได้เป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ในวันนั้น

   ๓.ถ้าปราถนาจะเป็นพระราชาก็จะได้เป็นพระราชาในวันนั้น

   ๔.ถ้าปราถนาจะเป็นมเหสีก็จะได้เป็นมเหสีในวันนั้น

   ๕.ถ้าปราถนาพุทธภูมิคือปราถนาเป็นพระพุทธเจ้า  พระที่ออกจานิโรธสมาบัติองค์นั้นจะต้องเป็นพระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น  และผู้นั้นจะต้องได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า "จะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต"  อย่างนี้จึงจะเป็นได้แต่ถ้าพระพุทธเจ้าหรือพระพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ทรงพระยากรณ์ก็จะเป็นไม่ได้    เช่น:-

    การอยู่นิโรธสมาบัติก็ใช้เวลาถึง ๗วัน  เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติแล้วผู้ที่ให้ทานใส่บาตรคนแรกและคนเดียวเท่านั้นจึงจะมีผล  ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าตรัสแสดงพระธรรมเทศนาแก่พระสารีบุตร "ในอนาคตกาลพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ องค์  อันจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลนั้น  มีลำดับดังนี้

   ๑.พระศรีอาริยเมตไตรย

   ๒.พระรามเจ้า 

   ๓.พระยาปัสเสนทิโกศล

   ๔.พระยามาราธิราช

    ๕.พระยาอสุรินทราหู

    ๖.พระโสนะ

    ๗.พระสุภะ

    ๘.โตไทยะพราหมณ์

    ๙.พระยาช้างนาฬาคีรีหัตถี

    ๑๐.พระยาช้างป่าเลไลยก์หัตถี

   ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงเรื่องของพระยามาราธิราชบรมโพธิสัตว์ได้ก่อสร้างบารมี ๑๐ ประการ  มีทานและศีลเป็นอาทิมามากแล้ว  บัดนี้จะนำเอาอดีตกรรมแห่งพระยามาราธิราชบรมโพธิสัตว์มาเล่าเป็นใจความว่า  "ในสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะนั้น  พระยามาราธิราชองค์นี้ได้บังเกิดเป็นมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ของพระเจ้ากิงกิสสะราช  มีนามว่า "โพธิอำมาตย์"  อยู่มาวันหนึ่งพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าสู่นิโรธสมาบัติ  เมื่อถึงกำหนดเวลาออกจากนิโรธสมาบัติพระองค์จะออกภายใต้ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง    พระเจ้ากิงกิสสะราชทรงพระจินตนาว่า "ถ้าใครได้ถวายทานให้แก่พระพุทธเจ้าผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ผู้นั้นก็จะได้อานิสงค์อันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้"  เมื่อคิดเช่นนั้แล้วจึงได้สั่งราชบุรุษทั้งหลายให้ตีกลองร้องป่าวชาวเมืองว่า "ถ้าผู้ใดไปถวายทานแก่พระพุทธเจ้าก่อนเราๆจะลงโทษแก่ผู้นั้นถึงขั้นประหารชีวิต"  แล้วให้ราชบุรุษล้อมพระเชตวันมหาวิหารเอาไว้โดยรอบ  

  ฝ่ายโพธิอำมาตย์เสนาบดีทราบเหตุนั้นแล้ว  ก็ปรารถนาจะถวายทานแก่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบ้าง  โดยไม่เกรงกลัวพระราชอาญาของพระราชาเลยเลย  จึงไปบอกบุตรภรรยาให้รู้และช่วยนำอาหารเครื่องไทยทานเป็นห่อใหญ่และผ้าหนึ่งผืน  ฝ่ายภรรยาได้ฟังสามีบอกดังนั้นแล้วนางก็มีศรัทธารับวาจาสาธุ  ครั้นรุ่งเช้านางก็จัดแจงแต่งเครื่องไทยทานทั้ง ๒ สิ่งนั้นให้แก่สามี  พร้อมเครื่องไทยทานอีกส่วนหนึ่งของตนฝากสามีไปถวายด้วย  เมื่อมหาเสนาบดีไปถึงยังพระวิหาร  พวกราชบุรุษที่แวดล้อมอยู่เห็นเข้า  จึงตรงเข้าไปถามมหาเสนาบดีว่า "ท่านมาด้วยเหตุอันใดหรือ?"  

ฝ่ายมหาเสนาบดีได้ฟังก็คิดว่า ถ้าเราจะบอกราชบุรุษเหล่านี้ด้วยคำเท็จว่า "พระราชาใช้ให้เรามาอาราธนาพระพุทธเจ้าไปยังพระราชนิเวศน์ก็ได้  แต่เราไม่ควรที่จะมุสา  ในเมื่อเราตั้งใจจะถวายทานแก่พระพุทธเจ้าอยู่แล้ว  ซึ่งการที่เราจะกล่าวมุสานั้น  ทานของเราจะไม่ส่งผลเลย"  จึงบอกความจริงแก่ราชบุรุษไปว่า  เราจะไปถวายทานแก่พระพุทธเจ้า

เมื่อราชบุรุษได้ฟังคำของมหาเสนาบดีแล้วก็มีความโกรธจึงกรูกันเข้าจับตัวมหาเสนาบดีแล้วรีบนำตัวไปถวายพระราชา  ครั้นพระราชาได้ทราบความแล้วก็ทรงพิโรธที่ผู้รู้ทำเสียเอง จึงมีรับสั่งให้เพชฌฆาตเอาตัวไปตัดศีรษะเสียในทันใด ขณะที่เพชฌฆาตได้พาโพธิอำมาตย์มหาเสนาบดีไปที่ป่าช้าเพื่อจะทำการตัดศีรษะนั้น  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปทรงทราบเหตุการณ์ด้วยญาณทิพย์แล้ว  ทรงดำริว่ามหาเสนาบดีนี้เป็นบรมโพธิสัตว์เป็นหน่อแห่งพุทธางกูร  มีอภินิหารมาแต่ก่อนจะกระทำกาลกิริยาคือตายเสียแล้วในวันนี้  จึงทรงเนรมิตเป็นพระพุทธนิมิตให้สถิตอยู่ในพระวิหาร  ส่วนองค์จริงของพระองค์ได้หายตัวเสด็จไปอยู่ที่ป่าช้านั้น  พร้อมกับกำบังตาเพชฌฆาตเอาไว้ให้เห็นพระองค์เหมือนกับว่าราชบุตรทั้งหลายที่มานั่งอยู่นั้น  เว้นแต่มหาเสนาบดีผู้เดียวที่เห็น

พระองค์  จึงตรัสว่า  "ดูกรมหาเสนาบดีผู้เจริญ  ท่านจงสละชีวิตของท่านเสียเถิด  อย่าได้อาลัยในชีวิตนี้เลย  อันว่าปัจจัยทานของท่านมีประการใด  ท่านจงให้ทานยังจิตที่เลื่อมใสในพระตถาคตเถิด  อันเครื่องปัจจัยทานของมหาเสนาบดีนั้น  ราชบุรุษได้เอามาวางตรง

หน้าแล้ว  ด้วยพระพุทธานุภาพ"  เมื่อมหาเสนาบดีได้สดับฟังพระพุทธดำรัสดั้งนั้น  จึงบังเกิดมีจิตโสมนัสหาที่เปรียบมิได้  ก็ถือเอาเครื่องปัจจัยไทยทานทั้งของท่านและของภรรยา ถวายแก่พระพุทธกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่า  "ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์โลกทั้งหลาย  อันชีวิตนี้ข้าพระบาทเสียสละแล้ว  ด้วยพระเดชะผลทานของข้าพระพุทธเจ้าในกาลบัดนี้  ขอให้ได้บังเกิดเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกับพระองค์ในอนาคตกาลโน้นเถิด พระเจ้าข้า" เมื่อโพธิอำมาตย์มหาเสนาบดีได้ตั้งปณิธานปรารถนาดังนั้นพุทธเจ้าก็ทรงพระอนุเคราะห์  ยื่นพระหัตถ์ไปลูบเหนือศีรษะท่านมหาเสนาบดี แล้วทรงพยากรณ์ว่า "ตัวท่านปรารถนาประการใด  ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่าน  ในอนาคตเบื้องหน้าโน้น  ท่านจะได้บังเกิดเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง  ทรงพระนามว่า พระธรรมสามี"  ครั้นทรงพยากรณ์มหาเสนาบดีแล้วก็เสด็จกลับ  ฝ่ายเพชฌฆาตก็ตัดศีรษะของมหาเสนาบดีขาดกระเด็นไปจนถึงแก่ความตาย  แล้วมหาปฐพีอันใหญ่ก็หวั่นไหวเกิดโกลาหลเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก  อันเป็นเหตุให้เศวตฉัตรของพระเจ้ากิงกิสสะราชหักลงมาจนพระองค์สะดุ้งสั่นไหว  และในขณะนั้นเองทิพย์วิมานทองอันประกอบไปด้วยนางเทพอัปสรประมาณพันนางได้บังเกิดขึ้นในป่าช้าตรงที่ท่านมหาเสนาบดีได้เสียชีวิตลงพร้อมกับขุมทอง ๑๖ ขุม  และไม้กัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง  

   ส่วนภรรยาและบุตรของท่านมหาเสนาบดีได้อาศัยอยู่ในวิมานทองนั้นเลี้ยงชีวิตสืบมาถึง ๕๐๐ ปี  ฝ่ายโพธิอำมาตย์มหาเสนาบดีก็ได้ไปบังเกิดในดุสิตสวรรค์  เสวยทิพย์สมบัติด้วยผลทานนั้น  ครั้งเมื่อศาสนาของพระยามาราธิราชบังเกิดขึ้น  มหาชนทั้งหลายจักได้บริโภคข้าวสาลีเป็นนิจกาลด้วยอนุภาพแห่งผลทานแห่งข้าวสุกห่อหนึ่งที่มหาเสนาบดีได้ถวายแก่พระพุทธกัสสปในครั้งนั้น  พร้อมด้วยเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ด้วยผลทานถวายผ้าผืนหนึ่ง    ดังนั้นการที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานอันเป็นความปรารถนาสูงสุดของชาวพุทธทั้งหลายนั้นก็เริ่มจากการให้ทานเป็นเบื้องต้น  ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐  ก็เริ่มจากทานก่อนเรื่องราวของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันซึ่งจะมีในลำดับต่อไปให้เกี่ยวด้วยเรื่องของศีล  แต่ที่ยกเรื่องของพระธรรมสามีมานั้นก็เกี่ยวกับเรื่องสวรรค์อีก  ซึ่งจะมีอยู่ในเรื่องสัคคกถาสวรรค์ชั้นที่ ๖   เพื่อให้สอดคล้องกันและให้มีความเข้าใจถูกต้อง  แม้ทานที่ให้จะมีน้อย  หรือมาก  ดีหรือไม่ดี  เมื่อเหตุสักแต่ว่า  จิตเลื่อมใสแล้ว  ย่อมมีผลหาที่เปรียบมิได้  

   ดังเรื่องของชายเข็ญใจผู้หนึ่งชื่อว่า "กุรุเทวะ"  ได้เที่ยวขออาหารกับภิกษุทั้งหลาย  เลี้ยงชีวิตด้วยอาหารที่ได้มาอย่างยากและได้อย่างเล็กน้อย  เป็นคนอนาถา กำพร้า  ขัดสนไม่มีญาติ  ไม่มีเพื่อน  ตัวคนเดียวแท้ๆ  อาศัยนอนที่ริมเสาของศาลาหรือโคนต้นไม้ในวิหารนั้น  ผ่านไปวันหนึ่งๆ  การงานอะไร เช่น  ปัดกวาดเป็นต้น  เขาไม่ทำเลย  อยู่อย่างนี้ไปหลายปี  ต่อมาภายหลังพระสังฆเถระที่อยู่ในวิหารนั้น  เที่ยวจาริกไปในวิหาร  เห็นกุรุเทวะกินอิ่มแล้วนอนที่โคนต้นไม้  จึงตรวจดูด้วยทิพยจักษุว่าสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วจะเกิดที่ไหนหนอ  ก็เห็นว่าล่วง ๗ วันไปแล้วเขาจุติแล้วจักเกิดในนรก  จึงเรียกเขามาเพื่อให้โอวาทว่า พ่อแม่ญาติพี่น้องของเจ้าไม่มี เจ้าไม่มีเงินทองไม่มีโชคลาภเป็นคนขัดสน  เจ้ามีเครื่องนุ่งห่มขาดวิ่น  มีเลือดไร  ประกอบด้วยภัย  มีผ้าเลวๆ  เจ้าไม่ได้นอนแม้เสื่อ  ไม่มีอะไรดีกว่านอนบนพื้นดิน  เจ้าถือกะลาขอทานเที่ยวไปในเรือนนั้นๆ  เป็นคนกินเดน(ของที่คนอื่นกินหลือ) เหลือแต่หนังหุ้มกระดูกเหมือนเปรต  เมื่อเห็นคนมีบุญเขากินข้าวน้ำอร่อย  เจ้าก็ได้แต่น้ำลายไหล  เมื่อไม่ได้อะไรในที่นั้นก็ได้แต่ถอนหายใจร้องไห้หมดหวัง  แม้เจ้าขืนเป็นอย่างนี้ก็ไม่ได้ทำอะไรให้เป็นประโยชน์  เพื่อเป็นปัจจัยในภายหน้า  คนที่จะเสมอ

เหมือนเจ้าไม่มีแล้ว  เจ้าเป็นศัตรูแก่ตัวเองในภพทั้งสาม  เนื่องจากเจ้าไม่ได้ทำบุญไว้ในภพก่อนดังนี้กุรุเทวะฟังคำนั้นแล้วจึงกล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่มีทรัพย์  เป็นคนกำพร้า  อนาถา  จะทำกุศลอย่างไร  ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอถามพระคุณเจ้าโปรดบอกทางที่ข้าพเจ้าจะไปสู่ความดับสนิทดังนี้"  พระเถระกล่าวว่า "ในแม่น้ำนี้มีปลามากหลายมีทั้งปลากา  ปลากระบอก  ปลาดุก  กุ้ง  ปลาตะเพียน เป็นต้น  เจ้าเอาข้าวที่ขอเขามา เหลือจากที่เจ้ากินแล้วให้ทานแก่ปลาทั้งหลาย  การให้ทานนั้นนำมาซึ่งสวรรค์และความสุขแก่เจ้า  จงถือศีล ๕ ให้ปราศจากมลทิน  ศีลที่เจ้ารักษานั้นเป็นการเพียงพอเพื่อภพและโภคสมบัติและเพื่อนิพพานดังนี้"  กุรุเทวะเมื่อฟังคำเถระแล้วมีจิตเลื่อมใสนมัสการพระเถระแล้วรับศีล ๕ ตั้งแต่นั้นมา  เมื่อบริโภคแล้วเอาก้อนข้าวที่เหลือให้ปลาทั้งหลาย  เขาทำบุญกรรมเพียงเท่านี้ล่วงไปได้ ๗ วัน  จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว  เกิดในเรือนกุฎุมพีมีโภคสมบัติมากคนหนึ่ง  ต่อมาได้ไปอยู่กับพระราชา  รักษาศีล   อยู่ตลอดชีวิต  บังเกิดในเทวโลกเมื่อสิ้นสุดอายุ    กุรุเทวะสมาทานศีล  ถวายทานเล็กน้อยในอดีตแก่ผู้รับซึ่งเป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน  เขาได้รับโภคะอันไพบูลย์อย่างนี้ในโลกนี้  และได้เข้าถึงสวรรค์แล้วดังนี้

  ไทยทานที่บริสุทธิ์แม้มีน้อยในเวลาที่ให้ก็ย่อมมีผลมาก  เหมือนต้นไทรใหญ่เกิดจากเมล็ดเล็กๆ  ต้นไทรจะไปบังท้องฟ้าเหมือนเมฆก้อนใหญ่  เช่นเดียวกับพืชที่รู้กันว่าเป็นกุศล  แม้มีประมาณน้อย  เมื่อหว่านลงในพื้นแผ่นดินแห่งพุทธบุตรผู้มีศีลผู้นั้นย่อมได้ทิพยสมบัติในหมู่เทวดา  และความสุขในหมู่มนุษย์ในที่สุดได้นิพพานสมบัติอันหาอุปมามิได้ดังนี้

   วันหนึ่งพระพุทธองค์ทรงแผ่ข่ายคือพระญาณครอบคุมจักรวาลเพื่อตรวจดูอุปนิสัยของสัตวโลกว่าใครจะสามารถบรรลุธรรมได้บ้างวันนั้นปรากฏว่าเมณฑะกะเศรษฐี, นางจันทะปะทุมา ภรรยาของเมณฑะกะเศรษฐี, ธนัญชัยเศรษฐี ลูกชายของเมณฑะกะเศรษฐี, 

นางสุมะนะเทเวี ภรรยาของธนัญชัยเศรษฐี, นางวิสาขา ลูกสาวของธนัญชัยเศรษฐี ทีอายุได้ ๗ ปี, และทาสของเมณฑะกะเศรษฐีชื่อว่า "ปุณณะ"   สามารถบรรลุธรรมได้พระพุทธองค์จึงได้เสด็จไปสู่ภัททิยนคร                    

         เด็กหญิงวิสาขาอายุ ๗ ปี บรรลุโสดาบัน

   เมื่อเมณฑะกะเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมากกำลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ ท่านเมณฑะกะเศรษฐีจึงได้มอบหมายให้เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่นั้น เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ก็เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอและบริวารของเธอฟ้ง เมื่อการแสดงพระธรรมเทศนาจบลงด.ญ.วิสาขาและบริวารก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด

   ส่วนเมณฑะกะเศรษฐี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกันแล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตนเป็นระยะเวลา ๑๕ วันที่ประทับอยู่ที่ภัททิยนครนั้น   

   สมัยนั้น พระเจ้าปะเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ ซึ่งมีความเกี่ยวดองกันคือ พระเจ้าพิมพิสารได้น้องสาวของพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นภรรยา  พระเจ้าปเสนทิโกศลได้น้องสาวของพระเจ้าพิมพิสารเป็นภรรยา  ในเมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมากเลย และได้ทรงทราบว่าในเมืองราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น มีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติขนานนับไม่ถ้วนอยู่ถึง ๕ คน   ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารแล้วแจ้งความประสงค์ที่มาในครั้งนี้ ก็เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นี้ไปอยู่ในเมืองสาวัตถีสักหนึ่งตระกูลพระเจ้าพิมพิสารได้สดับแล้วตรัสตอบว่า “การโยกย้ายตระกูลใหญ่ ๆ เพียงหนึ่งตระกูลก็เหมือนกับแผ่นดินทรุด” แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้หลังจากที่ได้ปรึกษากับอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่าสมควรยกตระกูลธนญชัยเศรษฐี ให้ไปอยู่เมืองสาวัตถีกับพระเจ้าปเสนทิโกศล   ธนญชัยเศรษฐีได้ขนย้ายทรัพย์สมบัติพร้อมทั้งบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายเดินทางสู่พระนครสาวัตถีพร้อมกับพระเจ้าปเสนทิโกศล และเมื่อเดินทางเข้าเขตแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้ว ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมืองธนญชัยเศรษฐีเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณที่พักนั้นเป็นชัยภูมิเหมาะสมดี อีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจำนวนมาก  ถ้าไปตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้านเมืองลง ณ ที่นั้น และได้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “สาเกต” ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์เท่ากับ ๑๑๒ กิโลเมตร

   เบญจกัลยาณี

  ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตรชายชื่อ 

ปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงานเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่งเมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น เขาจึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง ๕ อย่าง ซึ่งเรียกว่า เบญจกัลยาณีแล้วจึงจะยอมแต่งงาน

   เบญจกัลยาณี คือความงามของสุภสตรี ๕ อย่าง คือ

   ๑.เกสกลฺยาณํ ผมงาม คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น

   ๒.มงฺสกลฺยาณํ เนื้องาม คือหญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี

   ๓.อฏฺฐิกลฺยาณํ กระดูกงาม คือหญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน

   ๔.ฉวิกลฺยาณํ ผิวงาม คือหญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา  จะไม่มีไฝและขี้แมลงวันเลย

   ๕. วยกลฺยาณํ วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว 

   บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้วจึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถีลักษณะมาถามว่า  "หญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ในโลกนี้? "เมื่อพวกพราหมณ์ตอบว่า "พอมีอยู่ แต่หายากมาก" จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นออกเที่ยวแสวงหาหญิงที่มีอิตถีลักษณะครบ ๕ ประ การตามเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยทองคำและสินสอดทองหมั้นไปด้วย

   คน ๔ จำพวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม

พวกพราหมณ์เที่ยวแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ จนมาถึงเมืองสาเกต ได้พบนางวิสาขามีลักษณะภายนอกถูกต้องตามตำราอิตถีลักษณะครบทุกประการ ขณะที่นางพร้อมทั้งหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ำกันที่ท่าน้ำในวันนักขัตฤกษ์ ขณะนั้นฝนตกลงมาอย่างหนัก หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดินด้วยอาการปกติ ทำให้พวกพราหมณ์ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจประกอบกับต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนางด้วยจึงถามนางว่า “ทำไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนกับหญิงอื่น ๆ” 

นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวก เมื่อวิ่งจะดูไม่งาม ได้แก่

   ๑.พระราชา ผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ

   ๒.บรรพชิต ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์

   ๓.สตรี ผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลาย นอกจากจะดูไม่งานแล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุจนเสียโฉม หรือพิการ จะทำให้เสื่อมเสียและหมดคุณค่า

   ๔.ช้างมงคล ตัวประดับประดาแล้วด้วยเครื่องอาภรณ์สำหรับช้าง

  ตรงนี้ข้าพเจ้าผู้แต่งตำราเล่มนี้อยากจะอธิบายลักษณะความงามของนางวิสาขาที่ครบสม บูรณ์นอกเหนือไปจากตำราความงาม ๕ อย่างของพราหมณ์  ตามความเป็นจริงแล้ว นางวิสาขามีความงาม ๙  ประการ ที่เรียกว่า "นวกัลยาณี"  คือ:-

    ๑.ผมงาม  คือผมของนางวิสาขาจะดกงามดำสนิทประดุจดังสีของนิล  ลักษณะของเส้นผมจะละเอียด อ่อนนุ่ม ดำสลวย เมื่อปล่อยไว้ผมจะยาวถึงสะเอว และมีปลายช้อยงอนงาม

    ๒.เนื้องาม  คือริมฝีปากของนางวิสาขาจะแดงประดุจดังผลตำลึงสุกจะเรียบสนิทชิดกันดีมาก จะไม่มีเนื้อปูดโปน

    ๓.กระดูกงาม   คือฟันของนางวิสาขาจะมีสีขาวประดุจสังข์และเรียบเสมอกันดีประดุจระเบียบของเพชร

    ๔.ผิวงาม   คือผิวของนางวิสาขาจะขาวนวลละเอียดประดุจดังสีของแสงจันทร์ในวันเพ็ญ หรือสีของดอกกรรณิกา

    ๕.วัยงาม   คือนางวิสาขาแม้คลอดลูกตั้ง ๑๐ ครั้ง  ความสาวและความสวยจะไม่ลดหย่อนไปเลย  ยังคงสภาพความสวยและความสาว เหมือนเด็กสาวอายุ ๑๘ ปีอยู่ตลอดเวลานางวิสาขามีลูกหลานเหลนและหลอดรวมกันนับได้  ๙๙๙ คน  เมื่อนางวิสาขาไปยืนอยู่ในท่ามกลางลูกหลานเหลนและหลอดทั้งหลายจะไม่มีใครรู้เลยว่านางวิสาขาคือคนไหน

    ๖.ถันงาม   คือนางวิสาขามีนมตั้งเต่งตึงอยู่ตลอดเวลาไม่มีหย่อนยานแม้อายุได้ ๑๒๐ ปีแล้วก็ตาม  นมเป็นจุดเด่นที่สำคัญของผู้หญิงที่ผู้ชายจะต้องมอง  ถ้าผู้หญิงคนใดสวยแต่ไม่มีนม  ผู้หญิงคนนั้นจะขาดเสน่ห์ในการชวนมองไปทันที  ผู้หญิงคนนั้นจะไม่ต่างอะไรกับพวกทอมหรือผู้ชาย  นมจะเล็กเกินไปก็ไม่ได้จะใหญ่เกินไปก็ไม่ดีต้องให้อยู่ในระดับพอดีคือให้โตเท่ากับผลมะตูมตัดครึ่งกำลังสวย

    ๗.เรือนร่างงาม   คือนางวิสาขามีรูปร่างทรวดทรงงดงามมาก  ไม่สูงเกินไปไม่ต่ำเกินไป  ไม่อ้วนเกินไป ไม่ผอมเกินไป  รูปร่างเด่นมีสง่าน่ามองยิ่งนัก

    ๘.เสียงไพเราะ   คือนางวิสาขามีเสียงพูดและเสียงร้องไพเราะเสนาะโสตยิ่งนักประดุจดังเสียงของนกการเวก  เมื่อนางพูดขึ้นทุกคนจะตั้งใจฟัง  แม้เด็กร้องไห้ก็จะหยุดฟัง

    ๙.อิริยาบถงาม   คืออิริยาบถทั้ง ๘ ของนางวิสาขาได้แก่  ยืน   เดิน   นั้ง   นอน   กิน   ดื่ม   ทำ   พูด   คิด (คือคิดแต่เรืองที่จะทำบุญทุกวันมิได้ขาด)  นางวิสาขาจะย่างก้าวไปที่ไหน  เมื่อใครได้เห็นนางย่อมขอร้องให้นาง ยืน  เดิน  นั้ง  นอนให้ดูอยู่เสมอมิได้ขาด  ถ้าจะพูดว่า "นางเป็นยอดหญิงงาม"  คำนี้ก็ยังไม่เหมาะสมที่จะเรียกนาง  นางเป็นหญิงพิเศษมากกว่านี้อีก   

   พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันชาญฉลาด และคุณสมบัติ เบญจกัลยาณี ครบทุกประการแล้ว จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทำการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึงชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติก็ทราบว่า มีเสมอกัน จึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาขาเป็นการหมั้นหมายและกำหนดวันวิวาหมงคล  ธนญชัยเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทำเครื่องประดับ ชื่อ มหาลดาปสาธน์ เพื่อมอบให้แก่ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า ประดับด้วยเงินทองและรัตนอันมีค่าถึง ๙ โกฏิกหาปณะ ค่าแรงฝีมือช่างอีก ๑ แสน เป็นเครื่องประดับที่หญิงอื่น ๆ ไม่สามารถจะประดับได้เพราะมีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ธนญชัยเศรษฐี ยังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าทาสบริวารและฝูงโคอีกจำนวนมากมายมหศาล อีกทั้งส่งกุฏุมพีผู้มีความชำนาญพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเป็นที่ปรึกษาดูแลประจำตัวอีก ๘ นายด้วย

        เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์

       มหาลดาปสาธน์   คือเครื่องประดับที่มีส่วนประกอบดังนี้

     -เพชร ๔ ทะนาน, แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน, แก้วประพาฬ ๒๐ ทะนาน, แก้วมณี ๓๓ ทะนาน

     -ใช้เงินทำแทนด้าย

     -เครื่องประดับนั้นสวมที่ศีรษะแล้ว ย่อมจดหลังเท้า  ลูกดุมทำด้วยทองคำ หวงทำด้วยเงิน

     -แหวน วงหนึ่งที่ท่ามกลางกระหม่อม, หลังหูทั้งสอง ๒ วง, ที่หลุมคอ ๑ วง, ที่เข่าทั้งสอง ๒ วง, ที่ข้อศอกทั้งสอง ๒ วง, ที่ข้างสะเอวทั้งสอง ๒ วง ดังนี้. ก็ในเครื่องประดับนี้

     -เขาทำนกยูงตัวหนึ่งไว้   นกยูงนั้นสถิตอยู่ท่ามกลางกระหม่อมแห่งนางวิสาขา ปรากฏประหนึ่งว่านกยูงยืนรำแพนอยู่บนยอดเขา

     -ขนปีกทำด้วยทองคำ ข้างละ ๕๐๐ ขน

     -จะงอยปากทำด้วยแก้วประพาฬ

     -นัยน์ตาทำด้วยแก้วมณี, คอและแววหางก็ทำด้วยแก้วมณี

     -ก้านขนทำด้วยเงิน, ขาก็ทำด้วยเงิน

     -เครื่องประดับมีค่า ๙ โกฏิ  ธนัญชัยเศรษฐีบิดาของนางวิสาขาให้ ค่าช่าง ๑๐๐๐๐๐ กหาปนะ

     -การสร้างใช้ช่างทอง ๕๐๐ คน ใช้เวลาสร้าง ๔ เดือน 

     -ผู้ที่จะประดับเครื่องประดับนี้ได้  ผู้นั้นต้องเป็นผู้หญิงที่มีกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก  มิฉะนั้นแล้วจะประดับเครื่องประดับนี้ไม่ได้เพราะมีเรี่ยวแรงไม่เพีงพอ

     -ในสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "โคดม"  ผู้หญิงที่ประดับเครื่องประดับนี้ได้มีอยู่ ๓ คน  คือ:-

      ๑.นางวิสาขา          บุตรสาวของธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาเกต

      ๒.พระนางมัลลิกาเทวี       มเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถี

      ๓.นางจูฬสุภัททา      บุตรสาวคนเล็กของอนาถบิณฑิกะเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี

        ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว

ก่อนที่นางวิสาขาจะไปสู่ตระกูลของสามี ธนญชัยเศรษฐีได้อบรมมารยาทสมบัติของ กุลสตรีผู้จะไปสู่ตระกูลของสามี โดยให้โอวาท 

๑๐ ประการ เป็นแนวปฏิบัติ คือ:-

   โอวาทข้อที่ ๑ ไฟในอย่านำออก หมายความว่า อย่านำความไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและสามีออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง

   โอวาทข้อที่ ๒ ไฟนอกอย่านำเข้า หมายความว่า เมื่อคนภายนอกตำหนิพ่อผัวแม่ผัวและสามีอย่างไร อย่านำมาพูดให้คนในบ้านฟัง

   โอวาทข้อที่ ๓ ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น หมายความว่า ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้วนำมาส่งคืน

   โอวาทข้อที่ ๔ ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายความว่า ไม่ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้ว แล้วไม่นำมาส่งคืน

   โอวาทข้อที่ ๕ ควรให้ทั้งแก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายความว่า เมื่อมีญาติมิตรผู้ยากจนมาขอความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย เมื่อให้ไปแล้วจะให้คืนหรือไม่ให้คืน ก็ควรให้

   โอวาทข้อที่ ๖ พึงนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัว แม่ผัวและสามี

   โอวาทข้อที่ ๗ พึงนอนให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนอนก่อนพ่อผัวแม่ผัวและสามี

   โอวาทข้อที่ ๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ควรจัดให้พ่อผัว แม่ผัวและสามีบริโภคแล้ว ตนจึงบริโภคภายหลัง

   โอวาทข้อที่ ๙ พึงบำเรอไฟ หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว แม่ผัวและสามีเป็นเหมืองกองไฟ และพญานาคที่จะต้องบำรุงดูแล

   โอวาทข้อที่ ๑๐ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสอมว่า พ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม

      อานิสงส์ของการทำบุญแล้วแถม

ธนญชัยเศรษฐี ให้เวลาถึง ๔ เดือนในการเตรียมทรัพย์สมบัติเพื่อมอบให้แก่นางวิสาขาสำหรับใช้สอยเมื่อไปอยู่ในตระกูลของสามี เฉพาะเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์เพียงอย่างเดียวก็ใช้เวลาทำถึง ๔ เดือน เช่นกัน เมื่อถึงกำหนดนางวิสาขาได้ออกเดินทางไป

ยังตระกูลของสามีพร้อมด้วยข้าทาสบริวารทรัพย์สินเงินทองของใช้อเนกอนันต์ และโคกระบืออีกมากมายมหาศาลที่บิดาจัดการมอบให้ แม้กระนั้น โคกระบือที่อยู่ในคอกยังทำลายคอกวิ่งออกตามขบวนของนางวิสาขาไปอีกจำนวนมาก ทั้งนี้ด้วยอานิสงส์แห่งการทำบุญถวายทานที่นางทำไว้ในอดีตชาติ คือ ในครั้งที่นางวิสาขาเดิมเป็นธิดาของพระเจ้ากิกิ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ นางได้ถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณรเป็นประจำ และทั้ง ๆ ที่พระภิกษุสามเณรกล่าวว่า “พอแล้ว ๆ” ก็ยังบอกว่า “พระคุณเจ้าสิ่งนี้อร่อย สิ่งนี้น่าฉัน” แล้วก็ถวายเพิ่มขึ้นอีก ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเพิ่มนี้ บันดาลให้โคเหล่านั้นแม้จะมีคนห้ามมีคอกกั้นอยู่ก็ยังดดออกจากคอกวิ่งตามขบวนของนางวิสาขาไปอีกจำนวนมาก

     นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว

เมื่อนางวิสาขา เข้ามาสู่ตระกุลของสามีแล้ว เพราะความที่เป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดีตั้งแต่วัยเด็ก และเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีน้ำใจเจรจาไพเราะ ให้ความเคารพผู้ที่มีวัยสูงกว่าตน จึงเป็นที่รักใคร่และชอบใจของคนทั่วไป ยกเว้นมิคารเศรษฐีพ่อของสามี ซึ่งมีจิตฝักใฝ่ในนักบวชอเจลกะชีเปลือย โดยให้ความเคารพนับถือว่าเป็นพระอรหันต์ และนิมนต์ให้มาบริโภคโภชนาหารที่บ้านของตนแล้ว สั่งให้คนไปตามนางวิสาขามาไหว้พระอรหันต์ และให้มาช่วยจัดเลี้ยงอาหารแก่อเจลกะชีเปลือยเหล่านั้นด้วยนางวิสาขา ผู้เป็นพระอริยสาวิกาชั้นโสดาบันพอได้ยินคำว่า อรหันต์ ก็รู้สึกปีติยินดีรีบมายังเรือนของมิคารเศรษฐี แต่พอได้เห็นอเจลกะชีเปลือย ก็ตกใจจึงกล่าวว่า “ผู้ไม่มีความละอายเหล่านี้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้” พร้อมทั้งกล่าวติเตียนมิคารเศรษฐีแล้วกลับไปที่อยู่ของตนต่อมาอีกวันหนึ่ง ขณะที่มิคารเศรษฐีกำลังบริโภคอาหารอยู่ โดยมีนางวิสาขาคอยปรนนิบัติอยู่ใกล้ ๆ ได้มีพระเถระเที่ยวบิณฑบาตผ่านมาหยุดยืนที่หน้าบ้านของมิคารเศรษฐีนางวิสาขาทราบดีว่าเศรษฐีแม้จะเห็นพระเถระแล้วก็ทำเป็นไม่เห็น นางจึงกล่าวกับพระเถระว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าไปข้างหน้าก่อนเถิด ท่านเศรษฐีกำลังบริโภคของเก่าอยู่” เศรษฐี ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงโกรธเป็นที่สุด หยุดบริโภคอาหารทันทีแล้วสั่งให้บริวารมาจับและขับไล่นางวิสาขาให้ออกจากบ้านไป แต่ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาจับ นางวิสาขาขอชี้แจงแก่กุฎุมพี ๘ นายที่คุณพ่อได้ส่งมาช่วยดูแลนางก่อน และเมื่อมิคารเศรษฐีให้คนไปเชิญกุฎุมพีมาแล้ว แจ้งโทษของนางวิสาขาให้ฟัง ซึ่งนางก็แก้ด้วยคำว่า “ที่ดิฉันกล่าวอย่างนั้น หมายถึง มิคารเศรษฐีบิดาของสามีกำลังบริโภคบุญเก่าอยู่ มิใช่บริโภคของบูดเน่าอย่างที่เข้าใจ” กุฎุมพีทั้ง ๘ จึงกล่าวกับเศรษฐีว่า “เรื่องนี้นางวิสาขาไม่มีความผิด” 

     พ่อผัวยกย่องนางวิสาขาในฐานะมารดา

  เมื่อมิคารเศรษฐี ฟังคำชี้แจงของลูกสะใภ้แล้วก็หายโกรธขัดเคือง และกล่าวขอโทษนางพร้อมทั้งอนุญาตให้นางนิมนต์พระบรมศาสดาพร้อมภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตในเรือนของตน ขณะที่นางวิสาขาจัดถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์

อยู่นั้น ก็ได้ให้คนไปเชิญมิคารเศรษฐีมาร่วมถวายภัตตาหารด้วย แต่เศรษฐีเมื่อมาแล้วไม่กล้าที่ออกไปสู่ที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา เพราะไม่มีศรัทธาเลื่อมใสจึงแอบนั่งอยู่หลังม่าน เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วพระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา ส่วนมิคารเศรษฐีแม้จะหลบอยู่หลังม่านก็มีโอกาสได้ฟังธรรมด้วยจนจบ และได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลในพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฎฐิบุคคลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  ทันใดนั้น มิคารเศรษฐีได้ออกมาจากหลังม่านแล้วตรงเข้าไปหานางวิสาขาใช้ปากดูดถันของลูกสะใภ้ และประกาศให้ได้ยินทั่วกัน ณ ที่นั้นว่า “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอเธอจงเป็นมารดาของข้าพเจ้า” และตั้งแต่นั้นมานางวิสาขาก็ได้นามว่า “มิคารมารดา” คนทั่วไปนิยมเรียกนางว่า “วิสาขามิคารมารดา”      

    คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา

  ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมากเป็นพิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ หลายประการ 

เช่น:-

   ๑.ลักษณะของผู้มีวัยงาม คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง ๒๐ คน ลูกเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางก็มีหลานนับได้ ๔๐๐ คน หลานเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ ๘๐๐๐ คน ดังนั้น คนจำนวน ๘๔๒๐ คน มีต้นกำเนิดมาจากนางวิสาขา นางมีอายุยืนได้เห็นหลานได้เห็นเหลนทุกคน แม้นางมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่ขณะเมื่อนางนั่งอยู่ในกลุ่มของลูก หลาน เหลน นางจะมีลักษณะวัยใกล้เคียงกับคนเหล่านั้นคนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะสังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืนธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สำหรับคนแก่จะต้องใช้มือยันพื้นช่วยพยุงกาย และจะยกก้นขึ้นก่อน นั่นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน

  ๒.นางมีกำลังมากเท่ากับช้าง ๕ เชือกรวมกัน ครั้งหนึ่งพระราชามีพระประสงค์จะทด ลองกำลังของนาง จึงรับสั่งให้ปล่อยช้างพลายตัวที่มีกำลังมากเพื่อให้วิ่งชนนางวิสาขา นางเห็นช้างวิ่งตรงเข้ามา จึงคิดว่า “ถ้ารับช้างนี้ด้วยมือข้างเดียวแล้วผลักไป ช้างก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เราก็จะเป็นบาป ควรจะรักษาชีวิตช้างไว้จะดีกว่า” นางจึงใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วจับช้างที่ งวงแล้วเหวี่ยงไปปรากฏว่าช้างถึงกับล้มกลิ้งแต่ไม่เป็นอันตราย ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ชนทั้งหลายเมื่อจะจัดงานมงคลในบ้านเรือนของตนจึงพากันเชิญนาง

วิสาขาให้ไปเป็นประธานในงาน มอบให้นางเป็นผู้นำในพีธีต่าง ๆ แม้แต่อาหารก็ให้นางทานก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล จนนางวิสาขาไม่มีเวลาดูแลปฏิบัติพระภิกษุที่มาฉันในบ้านของตนต้องมอบให้ลูก ๆ หลาน ๆ ดำเนินการให้

    นางวิสาขาร้องไห้อาลัยหลาน

  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารบุพพาราม ซึ่งนางวิสาขาเป็นผู้สร้างถวายใกล้กรุงสาวัตถี ขณะนั้นหลานสาวชื่อว่าสุทัตตีผู้เป็นที่รักเป็นที่พอใจอย่างยิ่งของนางได้ถึงแก่กรรมลง ทำให้นางเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้รำพันถึงหลานรัก เข้าไปเฝ้าพระผู้

มีพระภาคทั้ง ๆ ที่กำลังร้องไห้อยู่ด้วยพระพุทธองค์ตรัสถามเหตุแห่งความเศร้า ทรงทราบโดยตลอดแล้ว จึงตรัสถามว่า    “ดูก่อนวิสาขา ในพระนครสาวัตถีนี้ เธอต้องการบุตรหลานสักกี่คน ?”    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ต้องการบุตรหลานในพระนครนี้ทั้งหมด พระเจ้าข้า”

    “ดูก่อนวิสาขา ก็ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละเท่าไร ?”

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละ ๑ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ถึงวันละ ๑๐ คนบ้าง พระเจ้าข้า”

   “ดูก่อนวิสาขา ถ้าคนเหล่านั้นเป็นบุตรหลานของเธอจริง เธอก็คงมีหน้าเปียกชุ่มด้วยน้ำตาโดยไม่มีวันแห้งเหือดนะสิ วิสาขา คนในโลกนี้ ผู้ใดมีสิ่งเป็นที่รัก ๑๐๐ สิ่ง ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๑๐๐ อย่างผู้ใดมีสิ่งเป็นที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๕๐ เช่นกัน

   “ดูก่อนวิสาขา เราขอบอกเธอว่า ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ที่คนทั้งหลายประสบกันอยู่ในโลกนี้ ก็เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ถ้าไม่มีสัตว์หรือสัตว์อันเป็นที่รักแล้ว ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพันเหล่านั้นก็ไม่มี ผู้นั้น

ก็จะมีแต่ความสุข ดังนั้น ผู้ปรารถนาความสุขให้กับตนเอง ก็ไม่ควรทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก”

   นางวิสาขา เมื่อได้ฟังพระพุทธดำรัสตรัสสอนจบลงแล้ว ก็คลายจากความเศร้าโศก แต่เพราะความที่นางมีลูกหลานหลายคน ซึ่งต่อจากนั้นอีกไม่นานนักหลานสาวอีกคนหนึ่ง ที่นางได้มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติดูแลพระภิกษุสงฆ์ซึ่งนิมนต์มาฉันที่บ้านเป็นประจำก็

ได้ถึงแก่ความตายลงอีก นางวิสาขาก็ต้องเสียน้ำตาร่ำไห้ด้วยความรักความอาลัยต่อหลานสาวเป็นครั้งที่สองและพระพุทธองค์ก็ทรงเทศนาโปรดนางให้คลายความเศร้าโศกลงดุจเดียวกับครั้งก่อน

    นางวิสาขาสร้างวัด

โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้าไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวายเพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่มสามเณรีน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้านวันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับไปนำมา แต่สั่งว่าถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ” ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายในราคา ๙ โกฏิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้  นางจึงซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้นมาซื้อที่

ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้างวัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระบรมศาสดารับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มี

ห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาในการก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า “พระวิหารบุพพาราม”

    เพราะพระเปลือยกายจึงถวายผ้าอาบน้ำฝน

  โดยปกตินางวิสาขา จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของนางเป็นประจำ เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยพร้อมแล้ว ก็จะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยัง

บ้านของนางวันหนึ่ง สาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็นนักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า

“ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่”

   นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบ เหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง ๓ ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้นเมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำอาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้านและเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขา จึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์   พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้าไปแล้วหรือถึงซื้อผ้ามาให้พระนุ่งอาบน้ำ  นางวิสาขา ได้ชื่อว่าเป็นมหาอุบาสิกาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นยอดแห่งอุปัฏฐายิกา ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยวัตถุจตุปัจจัยไทยทานต่าง ๆ ทั้งที่ถวายเป็นของสงฆ์ส่วนรวม และถวายเป็นของส่วนบุคคลคือแก่พระภิกษุแต่ละองค์ ๆ การทำบุญของนางนับว่าครบถ้วนทุกประการตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ดังคำที่นางเปล่งอุทานในวันฉลองวิหาร คือ วัดบุพพาราม ที่นางสร้างถวายนั้นด้วยคำว่า “ความปรารภนาใด ๆ ที่เราตั้งไว้ในกาลก่อน ความปรารถนานั้น ๆ ทั้งหมดของเราได้สำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการแล้วความปรารถนาเหล่านั้น คือ:-

   ๑.ความปรารถนาที่จะสร้างปราสาทฉาบด้วยปูนถวายเป็นวิหารทาน

   ๒.ความปรารถนาที่จะถวายเตียง ตั่ง ฟูก หมอน และเสนาสนภัณฑ์

   ๓.ความปรารถนาที่จะถวายสลากภัตเป็นโภชนาทาน

   ๔.ความปรารถนาที่จะถวายผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย เป็น จีวรทาน

   ๕.ความปรารถนาที่จะถวายเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชทานความปรารถนาเหล่านั้นของนางวิสาขาสำเร็จครบถ้วนทุกประการ สร้างความเอิบอิ่มใจแก่นางยิ่งนัก นางจึงเดินเวียนรอบปราสาทอันเป็นวิหารทานพร้อมทั้งเปล่งอุทานดังกล่าว

   พระภิกษุทั้งหลายได้เห็นกิริยาอาการของนางวิสาขาแล้ว ต่างก็รู้สึกประหลาดใจ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับนาง จึงพร้อมใจกันเข้าไปกราบทูลถามพระบรมศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตั้งแต่ได้พบเห็นและรู้จักนางวิสาขาก็เป็นเวลานานพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่เคยเห็นนางขับร้องเพลงและแสดงอาการอย่างนี้มาก่อนเลย แต่วันนี้ นางอยู่ในท่ามกลางการแวดล้อมของบรรดาบุตรธิดาและหลาน ๆ ได้เดินเวียนรอบปราสาทและบ่นพึมพำคล้ายกับร้องเพลง เข้าใจว่าดีของนางคงจะกำเริบ หรือไม่นางก็คงจะเสียจริตไปแล้วหรืออย่างไร พระเจ้าข้า ?”  พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธิดาของเรามิได้ขับร้องเพลงหรือเสียจริตอย่างที่พวกเธอเข้าใจหรอก แต่ที่ธิดาของเราเป็นอย่างนั้นก็เพราะความปีติยินดีที่ความปรารถนาของตนที่ตั้งไว้นั้นสำเร็จลุล่วงสมบูรณ์ทุกประการ นางจึงเดินเปล่งอุทานออกมาด้วยความอิ่มเอมใจ ด้วยเหตุที่นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์ และได้ถวายวัตถุจตุปัจจัยในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ดังกล่าวมา พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงประกาศยกย่องนางในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นทายิกา

   บุรพกรรมของนางวิสาขา 

   ภิกษุทั้งหลาย ในที่สุดแสนกัปแต่นี้ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ได้มีพระชนมายุแสนปี มีภิกษุขีณาสพแสนหนึ่งเป็นบริวาร นครชื่อหังสวดี พระชนกเป็นพระราชา นามว่า สุนันทะ พระชนนีเป็นพระเทวี นามว่า สุชาดา 

อุบาสิกาผู้เป็นยอดอุปัฏฐยิกาของพระศาสดาองค์นั้นทูลขอพร ๘ ประการแล้ว ตั้งอยู่ในฐานะดังมารดา บำรุงพระศาสดาด้วยปัจจัย ๔ ย่อมไปสู่ที่บำรุงทั้งเย็นและเช้า หญิงสหายคนหนึ่งของอุบาสิกานั้น ย่อมไปวิหารกับอุบาสิกานั้นเป็นนิตย์ หญิงนั้น เห็นอุบาสิกานั้น 

พูดกับพระศาสดาด้วยความคุ้ยเคยสนิทสนม และเห็นความเป็นผู้สนิทสนมกับพระศาสดา คิดว่า    

  “เธอทำกรรมอะไรหนอแล จึงเป็นผู้สนิทสนมกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนี้ ?” ดังนี้แล้ว จึงทูลถามพระศาสดาว่า “พระพุทธเจ้าข้า หญิงคนนี้ เป็นอะไรกับพระองค์ ?” 

   พระศาสดา ตรัสว่า " หญิงคนนี้เป็นยอดแห่งหญิงที่เป็นอุปัฏฐยิกาคือผู้อุปัฏฐากบำรุงพระสงฆ์" 

   หญิง : พระเจ้าข้า นางกระทำกรรมอะไร จึงเป็นเลิศแห่งหญิงผู้อุปัฏฐยิกา ? 

   พระศาสดา : เธอตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป. 

   หญิง : บัดนี้ หม่อมฉันปรารถนาแล้วอาจจะได้ไหม พระเจ้าข้า ? 

   พระศาสดา : จ๊ะ, อาจจะได้ .

  หญิงนั้นกราบทูลว่า “พระเจ้าข้า ถ้ากระนั้น ขอพระองค์กับภิกษุแสนรูป โปรดรับภิกษาของหม่อมฉันตลอด ๗ วันเถิด พระศาสดา ทรงรับแล้ว หญิงนั้น ถวายทานครบ ๗ วัน ในวันที่สุดได้ถวายผ้าสาฏกเพื่อทำจีวรแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา หมอบลงแทบบาทมูล 

ตั้งความปรารถนาว่า “พระเจ้าข้า ด้วยผลแห่งทานนี้ หม่อมฉันปรารถนาความเป็นใหญ่ในเทวโลกเป็นต้นอย่างไรหนึ่งก็หาไม่ หม่อมฉันขอตั้งอยู่ในฐานะดังมารดา เป็นยอดของอุบาสิกาผู้สามารถเพื่อบำรุงด้วยปัจจัย ๔” 

   พระศาสดา ทรงดำริว่า “ความปรารถนาของหญิงนี้ จักสำเร็จหรือหนอ ?” ทรงคำนึงถึงอนาคตกาล ตรวจดูตลอดแสนกัปแล้วจึงตรัสว่า “ในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ในกาลนั้น เธอจักเป็นอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา ได้พร ๘ 

ประการ ในสำนักของพระองค์แล้ว ตั้งอยู่ในฐานะดังมารดา จักเป็นเลิศแห่งหญิงผู้เป็นอุปัฏฐายิกา ผู้บำรุงด้วยปัจจัย ๔” สมบัตินั้นได้เป็นประหนึ่งว่า อันนางจะพึงได้ในวันพรุ่งนี้ทีเดียว นางทำบุญจนตลอดอายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น เกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่ใน

เทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เป็นพระธิดา พระนามว่า สังฆทาสี ผู้พระกนิษฐาของบรรดาพระธิดา ๗ องค์ ของพระจ้ากาสีพระนามว่ากิงกิ ยังมิได้ไปสู่ตระกูลอื่น ทรงทำบุญมีทานเป็นต้นกับด้วยเจ้าพี่หญิงเหล่านั้น

ตลอดกาลนาน ได้ทำความปรารถนาไว้ แม้แทบบาทมูลแห่งพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะว่า 

  “ในอนาคตกาล หม่อมฉัน พึงได้พร ๘ ประการ ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์แล้ว ตั้งอยู่ในฐานะดังมารดาเป็นยอดแห่งอุบาสิกา

อุบาสิกาผู้ถวายปัจจัย ๔ 

    สัตว์เกิดแล้วควรทำกุศลให้มาก 

   พระศาสดาครั้นทรงแสดงอดีตนิทานจบแล้ว ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธิดาของเราย่อมไม่ขับเพลง ด้วยประการฉะนี้แล แต่เธอเห็นความสำเร็จ แห่งความปรารถนาที่ตั้งไว้ จึงเปล่งอุทาน” เมื่อจะทรงแสดงธรรม ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายมาลาการผู้ฉลาด นำ

กองดอกไม้ต่างๆ ให้เป็นกองโตแล้ว ย่อมทำพวงดอกไม้มีประการต่างๆ ได้ฉันใด 

จิตของนางวิสาขา ย่อมน้อมไปเพื่อทำกุศล มีประการต่างๆ ฉันนั้นเหมือนกัน” ภายหลังต่อมา พระศาสดาเมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่างๆ จึงทรงสถาปนานางวิสาขามิคารมารดาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายทาน 

แล นางวิสาขาขอพร ๘ ประการ 

   ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครพาราณสี ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครสาวัตถีเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระ

นครสาวัตถีนั้น   ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นาง เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้ว นางวิสาขาได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระ

ผู้มีพระภาค พร้อมด้วยพระสงฆ์จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของหม่อมฉัน เพื่อเจริญบุญกุศลและปิติ ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ 

  ครั้นนางทราบการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณกลับไป ครั้นผ่านราตรีนั้นไป ฝนตั้งเค้าขึ้นในทวีปทั้ง ๔ ตกลงมาห่าใหญ่ 

  ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝนตกในเชตวัน ฉันใด ตกในทวีปทั้ง ๔ ก็ฉันนั้น พวกเธอจงสรงสนานกายกันเถิด เพราะเป็นครั้งสุดท้ายที่ฝนห่าใหญ่ตั้งเค้าขึ้นในทวีปทั้ง ๔ "

  ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธบัญชาว่า "เป็นดังพระพุทธดำรัส พระพุทธเจ้าข้า แล้วพากันเปลื้องผ้าสรงสนานกายอยู่" 

  ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตา สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของบริโภคอันประณีต แล้วสั่งทาสีว่า "ไปเถิดแม่ เจ้าจงไปอารามแล้วแจ้งภัตกาลว่า ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าข้า " ทาสีนั้นรับคำแล้วไปวัด ได้เห็นภิกษุเปลื้องผ้าสรงสนานกาย นางทาสีจึงเข้าใจ

ผิดคิดว่า ในอารามไม่มีภิกษุมีแต่พวกอาชีวกอาบน้ำอยู่ จึงกลับไปบ้านแจ้งความแก่นางวิสาขาคิดว่า "ข้าแต่แม่นาง ภิกษุไม่มีในอาราม มีแต่พวกอาชีวกแก้ผ้าอาบน้ำอยู่เจ้าค่ะ"   นางวิสาขา นางเป็นสตรีฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญารู้ได้ทันทีว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายคงเปลื้องผ้าพากันสรงน้ำอยู่อย่างแน่นอน สาวใช้คนนี้เขลาจึงสำคัญว่าไม่มีภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงน้ำอยู่ จึงสั่งสาวใช้ว่า "เธอจงไปบอกพระภิกษุทั้งหลายว่า อาหารทำเสร็จแล้วนิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายมาฉันภตตาหารได้แล้ว"  เวลาต่อมาภิกษุเหล่านั้น ทำตัวให้เย็น มีกายงาม ต่างถือจีวรเข้าไปสู่ที่อยู่ตามเดิม 

  ครั้งนั้น พระพุทธเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเตรียมบาตรจีวร ถึงเวลาภัตตาหารแล้ว" 

  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธบัญชาว่า "เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า" 

  เวลาเช้าวันนั้น พระพุทธองค์ทรงครองผ้าอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เสด็จหายไปจากพระเชตวัน มาปรากฏตัวที่ซุ้มประตูบ้านของนางวิสาขา ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระองค์ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย พร้อมด้วยพระสงฆ์  ขณะนั้น นางวิสาขากล่าวว่า "ชาวเราผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริงหนอ ชาวเราผู้เจริญประหลาดจริงหนอ พระตถาคตชื่อว่ามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะน้ำไม่เปียกเข่าบ้าง ไม่เปียกสะเอวบ้าง เท้าหรือจีวรของภิกษุ แม้รูปหนึ่ง ก็ไม่ได้เปียกด้วยน้ำดังนี้แล้ว ร่าเริง เบิกบานใจ แจ่มใส ถวายภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียะโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตนจนพระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จแล้ว ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรห้ามภัตรแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลแด่พระพระพุทธเจ้าว่า "หม่อมฉันทูลขอประทานพร ๘ ประการต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระพุทธเจ้าข้า" 

  พระพุทธองค์ตรัสว่า " ตถาคตเลิกให้พรเสียแล้ว วิสาขา" 

  นางวิสาขา กราบทูลว่า " หม่อมฉันทูลขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า" 

  พระพุทธองค์ตรัสว่า "จงบอกมาเถิด วิสาขา" 

  นางวิสาขา กราบทูลว่า "พระพุทธเจ้าข้า สำหรับพระสงฆ์  หม่อมฉันปรารถนาจะถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) จนตลอดชีพ, จะถวายภัตรเพื่อพระอาคันตุกะ (อาหารเพื่อพระภิกษุผู้จรมาใหม่) จนตลอดชีพ, ถวายภัตรเพื่อพระที่เตรียมจะไป (เดินทางไกล) จนตลอดชีพ, จะถวายภัตรเพื่อพระอาพาธ (ป่วย) จนตลอดชีพ, จะถวายภัตรเพื่อพระที่พยาบาลพระอาพาธ จนตลอดชีพ, จะถวายเภสัชสำหรับพระอาพาธ จนตลอดชีพ, จะถวายยาคูประจำ (ข้าวต้มประจำวัน) จนตลอดชีพ, และสำหรับภิกษุณีสงฆ์ หม่อมฉันปรารถนาจะถวายอุทกสาฎก (ผ้านุ่งอาบน้ำ) จนตลอดชีพ" 

   พระพุทธองค์ตรัสว่า "  ดูกรวิสาขา เธอเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงขอพร ๘ ประการ ต่อตถาคต" 

   นางวิสาขา กราบทูลว่า " พระพุทธเจ้าข้า วันนี้หม่อมฉันสั่งนางทาสีไปนิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลาย นางทาสี ไปถึงอารามแล้วบอกเวลาภัตรว่า "ภัตตาหารเสร็จแล้ว นิมนต์เจ้าข้า" และนางก็ไปวัด ได้ไปเห็นภิกษุทั้งหลายเปลื้องผ้าสรงน้ำอยู่ เข้าใจผิดคิดว่า ไม่มี

ภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่ จึงกลับมาบ้าน แล้วรายงานแก่หม่อมฉันว่า "คุณนาย ไม่มีภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่  ยังมีอีก

  ๑.พระพุทธเจ้าข้า การเปลือยกายไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายผ้าวัสสิกสาฎกแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ 

  ๒.อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง ไม่รู้จักที่โคจร ย่อมเที่ยวบิณฑบาตลำบาก ท่านฉันอาคันตุกภัตรของหม่อมฉัน พอชำนาญหนทาง รู้จักที่โคจร จักเที่ยวบิณฑบาตได้ไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวาย อาคันตุกภัตรแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ 

  ๓.อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้เตรียมตัวจะไปมัวแสวงหาภัตตาหาร เพื่อตนอยู่ จักพลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึงสถานที่ที่ตนต้องการจะไปอยู่เมื่อพลบค่ำ จักเดินทางลำบาก ท่านฉันคมิกภัตรของหม่อมฉันแล้ว จักไม่พลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึงสถานที่ ที่ตนต้องการจะไปอยู่ไม่พลบค่ำ จักเดินทางไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคมิกภัตรแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ 

  ๔.อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอาพาธไม่ได้โภชนาหารที่เป็นสัปปายะอาพาธกำเริบ หรือท่านจักถึงมรณภาพ เมื่อท่านฉันคิลานภัตรของหม่อมฉันแล้ว อาพาธจักทุเลา ท่านจักไม่ถึงมรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวาย

คิลานภัตรแก่สงฆ์ จนตลอดชีพ 

  ๕.อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้พยาบาลพระอาพาธ มัวแสวงหาภัตตาหารเพื่อตน จักนำภัตตาหารไปถวายพระอาพาธจนสาย ตนเองจักอดอาหาร ท่านได้ฉันคิลานุปัฏฐากภัตรของหม่อมฉันแล้ว จักนำภัตตาหารไปถวายพระอาพาธตามเวลา ตนเองก็

จักไม่อดอาหาร หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานุปัฏฐากภัตรแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ 

  ๖.อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอาพาธไม่ได้เภสัชที่เป็นสัปปายะอาพาธจักกำเริบ หรือจักถึงมรณภาพ เมื่อท่านฉัน

คิลานเภสัชของหม่อมฉันแล้ว อาพาธจักทุเลาท่านจักไม่ถึงมรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานเภสัชแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ 

  ๗.อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงเห็นอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ทรงอนุญาตยาคูไว้แล้ว ที่เมืองอันธกวินทะ หม่อมฉันเห็นอานิสงส์ตามที่พระองค์ตรัสนั้น จึงปรารถนาจะถวายยาคูประจำแก่สงฆ์ จนตลอดชีพ 

  ๘.พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายเปลือยกายอาบน้ำร่วมท่ากับหญิงแพศยา ณ แม่น้ำอจิรวดีนี้ หญิงแพศยาเหล่านั้นพากันเย้ยหยัน  ภิกษุณีว่า แม่เจ้าเอ๋ย พวกท่านกำลังสาวประพฤติพรหมจรรย์จะได้ประโยชน์อะไร ควรบริโภคกามมิใช่หรือ ประพฤติพรหมจรรย์

ต่อเมื่อแก่เฒ่าอย่างนี้ จักเป็นอันพวกท่านยึดส่วนทั้งสองไว้ได้ ภิกษุณีเหล่านั้น ถูกพวกหญิงแพศยาเย้ยหยันอยู่ ได้เป็นผู้เก้อ ความเปลือยกายของมาตุคามไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายผ้าอุทกสาฎก แก่ภิกษุณีสงฆ์

จนตลอดชีพ" 

  พระพุทธองค์ตรัสว่า " วิสาขา ก็เธอเห็นอานิสงส์อะไร จึงขอพร ๘ ประการต่อตถาคต" 

  นางวิสาขา กราบทูลว่า "พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ จำพรรษาในทิศทั้งหลายแล้ว จักมาพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระองค์ แล้วจักทูลถามว่า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพแล้ว ท่านมีคติอย่างไร มีภพหน้าอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า พระองค์จักทรง

พยากรณ์ภิกษุนั้นในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อานาคามิผล หรืออรหัตผล หม่อมฉันจักเข้าไปหาภิกษุพวกนั้น แล้วเรียนถามว่า พระคุณเจ้ารูปนั้นเคยมาพระนครสาวัตถีไหมเจ้าข้า ถ้าท่านเหล่านั้นจักตอบแก่หม่อมฉันว่า ภิกษุ นั้นเคยมาพระนครสาวัตถี หม่อม

ฉันจักถึงความตกลงใจในการมาของพระคุณเจ้ารูปนั้นว่า พระคุณเจ้ารูปนั้นคงใช้สอยผ้าวัสสิกศาฎก คงฉันอาคันตุกภัตร คมิกภัตร  คิลานภัตร คิลานุปัฏฐากภัตรคิลานเภสัช หรือยาคูประจำเป็นแน่ เมื่อหม่อมฉันระลึกถึงกุศลนั้นอยู่ ความปลื้มใจจักบังเกิด เมื่อหม่อม

ฉันปลื้มใจแล้ว ความอิ่มใจจักบังเกิด เมื่อมีใจอิ่มเอิบแล้ว กายจักสงบ เมื่อมีกายสงบแล้ว จักเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตจักตั้งมั่น จักเป็นอันหม่อมฉันได้อบรมอินทรีย์ อบรมพละ อบรมโพชฌงค์นั้น หม่อมฉันเห็นอานิสงส์นี้ จึงขอประทานพร ๘ ประการต่อพระองค์

 พระพุทธเจ้าข้า" 

 พระพุทธองค์ ตรัสว่า " ดีละ ดีละ วิสาขา ดีแท้ วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์นี้ จึงขอพร ๘ ประการ ต่อตถาคต เราอนุญาตพร ๘ ประการ

แก่เธอ" 

  ครั้งนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุโมทนานางวิสาขามิคารมาตา ด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้ 

     คาถาอนุโมทนา 

 สตรีใด ให้ข้าวและน้ำ มีใจเบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล 

เป็นสาวิกาของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่แล้ว บริจาค 

ทานอันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็นเครื่องบรรเทาความโศก 

นำมาซึ่งความสุข สตรีนั้น อาศัยมรรคปฏิบัติ ปราศจากธุลี 

ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วใจ ย่อมได้กำลังและอายุเป็นทิพย์ สตรี 

ผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมีสุข สมบูรณ์ด้วยอนามัย ย่อม 

ปลื้มใจในสวรรค์สิ้นกาลนาน 

   พระพุทธานุญาตผ้าวัสสิกสาฎกเป็นต้น 

   ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนา นางวิสาขามิคารมาตา ด้วยพระคาถาเหล่านี้ แล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับกลับไป แล้วทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุนั้นเป็นเค้ามูล ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าวัสสิกสาฎก อาคันตุกภัตร  คมิกภัตร คิลานภัตร คิลานุปัฏฐากภัตร คิลานเภสัช ยาคูประจำ อนุญาตผ้าอุทกสาฎก สำหรับภิกษุณีสงฆ์ 

  ก็จำเดิมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในอัตภาพนี้ ได้เกิดเป็นธิดาของธนญชัยเศรษฐีผู้เป็นบุตรแห่งมณฑกเศรษฐี ได้ทำบุญเป็นอันมากในศาสนาของเรา 

  นางวิสาขามหาอุบาสิกาสิ้นชีวิตอุบัติในสวรรค์นิมมานรดี  ด้วยอานิสงส์ที่นางวิสาขามหาอุบาสิกา และเพื่อนบริวาร ๕๐๐ คนได้ร่วมกัน โดยนางวิสาขาสละเครื่องประดับนั้น ซึ่งมีราคาถึงเก้าโกฏิเจ็ดพันกหาปนะ สร้างปราสาทหลังใหญ่สมควรเป็นที่ประทับของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า และเป็นที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ ประดับด้วยห้องหนึ่งพันห้อง คือชั้นล่างห้าร้อยห้อง ชั้นบนห้าร้อยห้อง โดยที่ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างจัดไว้อย่างดี น่าจับใจ งานไม้ที่น่ารื่นรมย์ก็ตกแต่งสำเร็จเป็นอย่างดีงานปูนก็

พิถีพิถันทำอย่างดีน่าปลื้มใจ วิจิตรไปด้วยจิตรกรรมมีมาลากรรมลายดอกไม้ และลดากรรมลายเถาไม้เป็นต้นที่ประดับตกแต่งไว้อย่างงดงาม และสร้างปราสาทห้องรโหฐานหนึ่งพันปราสาทเป็นบริวารของปราสาทใหญ่นั้น และสร้างกุฎีมณฑปและที่จงกรมเป็นต้นเป็นบริวารของปราสาทเหล่านั้น ใช้เวลา ๙ เดือนจึงสร้างวิหารเสร็จ เมื่อวิหารสำเร็จเรียบร้อยแล้ว   นางวิสาขาใช้เงินฉลองวิหารถึงเก้าโกฏิกหาปนะ นางพร้อมด้วยหญิงสหายประมาณ ๕๐๐ คนขึ้นปราสาท ได้เห็นสมบัติของปราสาทนั้น ดีใจกล่าวกะพวกเพื่อนหญิงว่า "เมื่อฉันสร้างปราสาทหลังนี้งามถึงเพียงนี้ ขอเธอทั้งหลายจงอนุโมทนาบุญที่ฉันขวนขวายนั้น ฉันขอให้ส่วนบุญแก่พวกเธอ เพื่อนหญิงทั้งหมดมีใจเลื่อมใสต่างอนุโมทนาว่า อโห สาธุ อโห สาธุ ดีจริงๆ ดีจริงๆ 

  บรรดาเพื่อนหญิงเหล่านั้น เพื่อนอุบาสิกาคนหนึ่งได้ใส่ใจถึงการแผ่ส่วนบุญให้นั้นเป็นพิเศษ ต่อมาไม่นาน นางได้ตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ ด้วยบุญญานุภาพของนางได้ปรากฏวิมานหลังใหญ่ ยาวกว้างและสูงสิบหกโยชน์ ประดับประดาด้วยห้องรโหฐาน 

กำแพงอุทยานและสระโบกขรณีเป็นต้นมิใช่น้อย ล่องลอยอยู่ในอากาศ แผ่รัศมีของตนไปได้ร้อยโยชน์ นางอัปสรนั้น เมื่อจะเดินก็เดินไปพร้อมกับวิมาน สำหรับมหาอุบาสิกาวิสาขา เพราะมีจาคะไพบูลย์และมีศรัทธสมบูรณ์จึงบังเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ได้ดำรงตำแหน่งอัครมเหสีของท้าวสุนิมมิตเทวราช 

  ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเที่ยวจาริกไปเทวโลก เห็นเพื่อนหญิงของนางวิสาขานั้นเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และทราบว่านางวิสาขาบังเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ได้ดำรงตำแหน่งอัครมเหสีของท้าวสุนิมมิตเทวราช ส่วนในที่นี้ ท่านพระอนุรุทธะกลับมนุษยโลกแล้ว ได้กราบทูลเนื้อความที่ตนและเทพธิดาพูดกัน ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำเนื้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน พระธรรมเทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล 

   นางวิสาขามหาอุบาสิกาจะนิพพานในเทวโลกในอนาคต 

อนึ่ง พระโสดาบันบางองค์ มีอัชฌาสัยในวัฏฏะ เป็นผู้ยินดีในวัฏฏะ ย่อมท่องเที่ยวไปในวัฏฏะบ่อยๆ นั่นเทียว ปรากฏอยู่ ก็คนเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้ คือ:- 

  ๑.อนาถบิณฑิกเศรษฐี 

  ๒.วิสาขาอุบาสิกา 

  ๓.จูลรถเทวบุตร 

  ๔.มหารถเทวบุตร 

  ๕.อเนกวรรณเทวบุตร 

  ๖.ท้าวสักกเทวราช 

  ๗.นาคทัตตเทวบุตร 

   คนทั้งหมดนี้ มีอัธยาศัยในวัฏฏะ เกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ตั้งแต่ต้นชำระจิตให้สะอาดในเทวโลกนั่นแหละ แล้วจึงตั้งอยู่ในพรหมสุทธาวาส  ในชั้นอกนิฏฐภพ (เป็นพรหมชั้นสูงสุดในรูปพรหม) จึงจักปรินิพพาน คนเหล่านี้ไม่ต้องลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีกแล้ว แต่ว่าพึงทราบว่า ในที่นี้พระองค์ทรงถือเอาพระโสดาบัน ที่ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ กับโกลังโกละ ด้วยสามารถแห่งภพอันเจือกัน และพระโสดาบันผู้บังเกิดในภพของมนุษย์เท่านั้นที่ชื่อว่า เอกพีชี  

  

      นางวิสาขาตายจากโลกนี้แล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นที่ ๕ คือชั้นนมมานรดี ได้เป็นอัครมเหสีของท้าวสุนิมมิตเทวราช เมื่อตายจากสวรรค์ชั้นที่ ๕ ก็ท่องเที่ยวตายเกิดในสวรรค์ ๖ ชั้น ในภพสุดท้ายจะได้ไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ในชั้นอกนิฏฐภพ ซึ่งเป็นพรหมโลกสุทธาวาสชั้นสูงสุดและนางก็จะเข้าสู่พระนิพพานในพรหมโลกชั้นนี้นี่แหละ ส่วนบริวารของนางวิสาขาเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทั้งหมดข่าวนี้พระอนุรุทธะเป็นผู้บอกแจ้งให้รู้ในตอนที่พระคุณเจ้าท่องเที่ยวในสวรรค์

 สิ่งที่นางวิสาขาได้ถวายในตอนที่นางมีชีวิตอยู่

  ๑.ผ้าวัสสิกสาฎก  คือผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าจำนำพรรษา

  ๒.อาคันตุกภัตร  คืออาหารสำหรับภิกษุผู้จรมา

  ๓.คมิกภัตร  คืออาหารสำหรับภิกษุผู้จะออกเดินทางไป

  ๔.คิลานภัตร  คืออาหารสำหรับพระเณรที่ป่วยไข้

  ๕.คิลานุปัฏฐากภัตร  คืออาหารสำหรับพระเณรที่ดูแลพระภิกษุสามเณรที่ป่วยไข้

  ๖.คิลานเภสัช  คือยาสำหรับพระสงฆ์พระภิกษุณีสงฆ์สามเณรและสามเณรีผู้ป่วยไข้

  ๗.ยาคูประจำ  คือข้าวยาคูที่ถวายเป็นประจำทุกวัน

  ๘.ผ้าอุทกสาฎก สำหรับภิกษุณีสงฆ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 142,870