๓๐.พระอรหันตธาตุ

 

        

        
       ประวัติพระอรหันตธาตุ
    -ประวัติพระอรหันตธาตุแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด  คือ:-
         ๑.พระบรมสารีริกธาตุ
         ๒.พระธาตุของพระสาวก
        พระบรมสารึรกธาตุ
      ความมหัศจรรย์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่เป็นวัตถุก็คือพระบรมสารีริกธาตุพูดตามภาษาชาวบ้านก็คือกระดูกของพระพุทธเจ้านั่นเอง  แต่กระดูกของพระพุทธเจ้าแตกต่างจากคนธรรมดาดังนี้
      ๑.เป็นเม็ดกลมเกลี้ยงมันเลื่อมแวววาวสดใสประดุจดังแก้ว  ถ้าเราเอาไปวางลงที่น้ำพระบรมสารีริกธาตุจะลอยน้ำไม่จมน้ำเหมือนกระดูกคนธรรมดา  ถ้าเม็ดไหนจมน้ำเราเอาขึ้นมาเช็ดให้สะอาดแล้ววางลงไปใหม่ก็จะลอยน้ำนี่คือความมหัศจรรย์ข้อที่หนึ่ง
      ๒.พระบรมสารีริกธาตุที่เป็นเม็ดเล็กๆเมื่อเอาลงสรงน้ำจะลอยติดกันเป็นแพไม่จมน้ำ ถ้าเม็ดไหนจมให้เอาขึ้นมาเช็ดให้สะอาดแล้ววางลงไปใหม่ก็จะลอยน้ำเหมือนกันหมด  แต่กระดูกคนธรรมดาที่ยังมีกิเลสและก้อนหินเล็กๆจะไม่ลอยน้ำนี่คือความมหัศจรรย์ข้อที่สอง
      ๓.ถ้าเราหมั่นกราบไหว้บูชาด้วยคาถาบูชาพระบรมธาตุอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดสายจะทำให้เม็ดพระบรมธาตุโตขึ้นกว่าเดิมและพระบรมสารีริกธาตุที่อยู่ในที่อื่นๆจะเสด็จมารวมกันเพิ่มขึ้นนี่คือความมหัศจรรย์ข้อที่สาม
      ๔.เมื่ออายุขัยของศาสนาของพระพุทธโคดมมีอายุได้ ๔๙๙๙ ปี  เราจะเก็บไว้ไม่อยู่ไม่ว่าจะเก็บโดยวิธีใดๆก็ตาม  พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายเหล่านี้จะเสด็จไปรวมตัวกันที่พระเจดีย์ฐานที่อยู่ในประเทศอินเดียรอที่จะรวมตัวกันเป็นรูปร่างของพระพุทธเจ้าให้เราได้พบเห็นรูปร่างอันแท้จริงของพระพุทธองค์อีกครั้งหนึ่งนี่คือความมหัศจรรย์ข้อที่สี่
      ๕.ในวันพฤหัสบดี  เดือน ๖  ขึ้น ๙ ค่ำ  คิมหันตฤดู  ปีชวด   นักษัตรอัฐศกได้ ๕๐๐๐  ปี   เป็นปีที่อายุขัยของพระพุทธศาสนามีอายุครบ ๕๐๐๐ ปีบริบูรณ์   ในวันนี้เวลารุ่งเช้าพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายที่มีอยู่ในมนูษยโลก  ในเทวโลก   ในพรหมโลก   และที่มีอยู่ในสากลจักรวาลเครื่องบริขารที่ยังเหลืออยู่ก็จะมารวมตัวกันในเวลารุ่งเช้ากลายเป็นรูปร่างของพระพุทธเจ้าขึ้นมาเหมือนตอนที่พระองค์ยังทรงมีชีวิตอยู่มีรูปร่างสูงได้ ๑๘ ศอก  มีรัศมีเปล่งออกจากลำตัว ๑๘  ประการ  มีรูปร่างสิริโฉมอันงดงามน่าทัศนายิ่งนัก   คนไหนยังไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าก็จะได้เห็นในวันนี้นี่คือความมหัศจรรย์ข้อที่ห้า
    พระบรมสารีริกธาตุคือพระธาตุของพระพุทธเจ้ามีประวัติความเป็นมาว่า เมื่อสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ณ อุทธยานสาลวันใกล้กรุงกุสินาราแคว้นมัลละนั้น พระอานนท์ได้กราบทูลถามข้อที่ควรปฏิบัติภายหลังปรินิพพานรวมทั้งการถวายเพลิงพระบรมศพด้วย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ดูกรอานนท์ ข้อนั้นเป็นหน้าที่ของกษัตริย์พราหมณ์และบัณฑิตจะเป็นผู้จัดการกันเอง" พระอานนท์ทูลถามต่อไปว่า "เขาจะพึงจัดอย่างไร" ตรัสตอบว่า "  เขาจะจัดทำอย่างพระศพของพระเจ้าจักพรรรดิ" เมื่อทูลถามต่อไปว่า "พระศพของพระเจ้ามหาจักรพรรดินั้นจัดทำอย่างไร" รับสั่งว่า "เขาห่อพระศพด้วยผ้าใหม่แล้วหุ้มด้วยสำลีสลับกันห้าร้อยชั้น ใส่ลงในรางน้ำมันที่ทำด้วยเหล็กแล้วปิดด้วยฝาเหล็กตั้งเผาบนไม้หอม เสร็จแล้วนำไปบรรจุในสถูปที่สร้าง ณ หนทางสี่แพร่ง เป็นที่สักการะบูชาของคนที่มาจากสี่ทิศ"  คืนนั้นพระเจ้ามัลละ ทรงทราบข่าวการประชวรหนักของพระพุทธเจ้าก็มาถวายบังคม รุ่งขึ้นก็รีบประชุมปรึกษากันเรื่องการเตรียมจัดการถวายเพลิงพระพุทธสรีระ
   ครั้นพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ก็ได้จัดเตรียมพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพตามพระพุทธาธิบาย จัดสถานที่ให้ประชาชนมาถวายบังคมพระบรมศพเจ็ดวัน แล้วอัญเชิญพระบรมศพไปตั้งที่มกุฏพันธนเจดีย์ นอกกำแพงเมืองกุสินารา รอเวลาจนพระมหากัสสปะมาถวายบังคมพระบาทยุคลแล้ว ก็ปรากฏเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ขึ้นคือเพลิงทิพย์ได้ลุกเกิดขึ้นเอง แล้วก็ลุกไหม้พระพุทธสรีระจนเหลือแต่พระอัฐิ พระเกศา พระโลมา พระนขา พระทันตากับผ้าคู่หนึ่ง พระอัฐิธาตุทั้งปวงก็ได้ลุกไหม้ละเอียดเป็นเกล็ดขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วแตก ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก  ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด ส่วนที่ยังเป็นชิ้นเป็นอันอยู่ตามเดิมคือพระอุณหิสธาตุ (พระอัฐิหน้าผาก) ๑ พระทาฐะธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ๔ และพระอักขะกะธาตุ (พระรากขวัญ) ๒ พร้อมทั้งพระทนต์อีก ๓๖ ซี่  เมื่อได้มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุแก่พระมหากษัตริย์และพราหมณ์ทั้งเจ็ด นครที่มาขอแบ่งแล้ว พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์และพราหมณ์ต่างก็สร้างพระเจดีย์ขึ้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในแว่นแคว้นของตนครั้นพระพุทธศาสนาผ่านเวลาได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้อัญเชิญพระบรมธาตุที่ขุดได้จากพระพุทธเจดีย์ต่างๆ นำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น และได้มอบพระบรมสารีริกธาตุบางส่วนให้พระเถระนำไปประดิษฐานสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีปและนานาประเทศในทวีปเอเซียที่มีความเคารพเลื่อมใสในพระบรมสารีริกธาตุซึ่งถือเป็นยอดมงคล แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เจริญแพร่หลายขยายตามกันไป
   พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองประเทศต่างๆได้ทรงสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริก ธาตุไว้เป็นที่เคารพสักการะเป็นจำนวนมาก เช่นพระเจดีย์สุวรรณมาลิกที่ลังกา พระเจดีย์ชะเวดากองที่พม่า พระธาตุดอยตุง พระธาตุจอมกิติ พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุหริภุญไชย พระปฐมเจดีย์ ฯลฯ ในเมืองไทย เป็นต้น นอกจากตามเจดีย์ร้างบางแห่งที่เคยเป็นบ้านเมืองที่รุ่งเรืองมาแต่โบราณ เมื่อขุดค้นลงไปจะมีข่าวว่าได้พบผอบทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุพระอรหันต์ อยู่เนืองๆ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่พบก็มักจะปกปิดเอาไว้ด้วยความหวงแหน มีผู้ยืนยันว่าพบเห็นอิทธิปาฎิหาริย์ของพระบรมสารีริกธาตุต่างๆกัน เช่น ปรากฏเป็นดวงไฟส่องสว่างดุจสีรุ้งพุ่งไปในอากาศ หรือเป็นแสงเสด็จจากพระเจดีย์องค์หนึ่งลอยไปยังอีกเจดีย์องค์หนึ่งหรือบางครั้งพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระอรหันต์ที่เก็บรักษาบูชาไว้ ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก
   คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ
   ๑ พระบรมสารีริกธาตุก็ดี พระธาตุของพระสาวกก็ดี  ย่อมมีลักษณะแตกต่างจากอัฐิหรือกระดูกของปุถุชนคนธรรมดา โดยที่ท่านเป็นผู้สำเร็จพระอรหันตผลและได้ปรินิพพานอันเป็นธรรมะวิเศษ ยากที่ผู้ใดจะพึงบรรลุได้ในสมัยปัจจุบัน ดังนั้น พระะธาตุจึงมีลักษณะผิดแผกจากปุถุชนคนธรรมดา ดังนี้
      (ก) มีลักษณะกลม เสี้ยว ยาวรี เป็นเหลี่ยม หรือแม้จะมีลักษณะคล้ายกระดูกคนก็จริง แต่ก็มีสัดส่วนเล็กกว่ามาก รูปพรรณสัณฐานเป็นมันเลื่อมมีสีต่างๆ เช่นสีทอง สีขาวเหมือนงาช้าง สีแดงเรื่อๆ ระหว่างเหลืองปนแดง เป็นต้น
      (ข) มีลักษณะเผินๆคล้ายก้อนหิน ก้อนกรวด หรือไข่มุกด์ขนาดเล็ก แต่ถ้าพิจารณาดูโดยละเอียดแล้วมิใช่หินกรวด หรือไข่มุกด์ เหตุด้วยมีน้ำหนักเบากว่ามากและมีแรงดูดคล้ายแม่เหล็ก ดูดสิ่งของไม่ได้เหมือนแม่เหล็ก แต่มักจะรวมตัวเข้าหากัน โดยเหตุนี้พระธาตุขนาดเล็กบางองค์ที่ลอยน้ำได้ ถ้าลอยหลายๆองค์ มักจะรวมติดกันป็นแผ่น เป็นแพ ด้วยหตุนี้เองท่านเกจิอาจารย์จึงกล่าวว่า ผู้ใดมีพระธาตุและหมั่นบูชาสักการะตามวิธีอันควรแล้ว มักจะเป็นหตุให้พระธาตุองค์อืนๆเสด็จมาร่วมอยู่ด้วยกัน
     (ค) พระบรมสารีริกธาตุก็ดี พระอรหันตธาตุก็ดี ถ้าเป็นขนาดล็ก เท่าแค่เมล็ดข้าวสารหัก เมล็ดพันธ์ผักหรือเมล็ดงา ถ้าเป็นของแท้แล้วท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่าท่านเด็จลอยเหนือน้ำได้ด้วย ความมหัศจรรย์ ลักษณะที่ลอยนั้นถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามิใช่ลอยอย่างท่อนไม้ลอยน้ำซึ่งจะลอยครึ่งจมครึ่ง แต่พระบรมธาตุหรือสาวกธาตุจะประทับลงบนน้ำ ทำให้น้ำเป็นแอ่งหรือเป็นรอยบุ๋มลงไป และถ้าเป็นพระบรมสารีริก ธาตุก็จะมีประกายหรือรัศมีของน้ำปรากฏออกมาเป็นแฉกๆ แต่พระบรมธาตุฯบางองค็อาจจะจมน้ำก็ได้ เมื่อได้ลอยมาแล้วและเราช้อนออกแล้วนำไปวางลงบนผิวน้ำใหม่ ก็อาจจะลอยให้ปรากฏแก่ตาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เป็นความมหัศจรรย์อย่างยิ่งยวด ซึ่งยากนักที่
นักวิทยาศาสตร์จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเพราะหตุใด
     (ง) พระบรมธาตุฯ หรือพระธาตุที่มีขนาดใหญ่กว่าสัณฐานในข้อ (ค) มักไม่ลอยเหนือน้ำ กล่าวคือจม อย่างไรก็ดี เป็นที่เชื่อถือกันในบรรดาผู้รู้ทั้งหลายว่า พระบรมธาตุหรือพระธาตุขนาดนี้จะมีพุทธาภินิหารในทางปรากฏเป็นรัศมีสีต่างๆ ในเวลาค่ำคืนบางเวลา นับเป็นมหาสิริมงคลแก่บรรดาผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งได้ปรากฏแล้วในประวัติศาสตร์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยุ่หัว ได้เคยทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุทรงแสดงปาฎิหาริย์ โดยรอบองค์พระปฐมเจดีย์
   ๒.มีความเชื่อกันในหมู่ผู้รู้ทั้งหลายว่า ถ้าเอกชนผู้ใดมีพระธาตุในครอบครอง แต่ไม่ประดิษฐานไว้ในที่อันควร และไม่หมั่นสักการะบูชาอาจเป็นเหตุให้พระธาตุเสด็จไปที่อื่น แต่ถ้าประดิษฐานไว้ในที่อันควรและบูชาสักการะเป็นนิจ อาจทำให้พระธาตุเสด็จมาจากที่อื่นและประทับร่วมเพิ่มขึ้นอีกก็ได้
  ๓.ท่านผู้รู้ทั้งหลายเชื่อกันว่าพระธาตุเสด็จประทับอยู่ในที่ใด จะเป็นสถานที่ก็ดี จะเป็นบุคคลก็ดี ที่นั้นหรือบุคคลนั้นมักประสบแสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล โดยฉพาะอย่างยิ่งพระบรมธาตุ พระพิมพาธาตุ พระสิวลีธาตุ พระสาารีบุตรธาตุ พระโมคคัลลานธาตุ พระมหากัจจายนธาตุและพระองคุลีมาลธาตุ เป็นต้น
         พระพุทธสรีระธาตุองค์ใหญ่ ๗ องคที่ไฟไม่ไหม้
   -พระพุทธสรีระธาตุองค์ใหญ่ ๗ องด์ที่ไฟไม่ไหม้ คือ:-
     ๑.พระอุณหิสธาตุ   คือพระอัฏฐิหน้าผาก   ประดิษฐานอยู่ที่ประเทศศรีลังกา
     ๒.พระรากขวัญเบื้องขวา   ประดิษฐานอยู่ที่ประเทศศรีลังกา
     ๓.พระรากขวัญเบื้องซ้าย        ประดิษฐานอยู่ในพรหมโลก
     ๔.พระธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวาบน       ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
     ๕.พระธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องซ้ายบน       ประดิษฐานอยู่ที่เมืองคันธาระราชประเทศอินเดีย
     ๖.พระธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวาล่าง      ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธรรมจักร เมืองแคนดี้  ประเทศศรีลังกา
     ๗.พระธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องซ้ายล่าง       ประดิษฐานอยู่นาคพิภพ
   การบังเกิดเหตุอันน่าอัศจรรย์ว่าเพลิงทิพย์เกิดขึ้นเอง ลุกไหม้พระพุทธสรีระจนเหลือแต่พระอัฐิ พระเกศา พระโลมา พระนขา พระทันตา ๓๖ ซี่กับผ้าคู่หนึ่ง
    ส่วนพระบรมสารีริกธาตุ ๑๖ ทะนานก็ได้ประดิษฐานไว้ในนครทั้ง ๘ คือ:-
       ๑.เมืองราชคฤห์
       ๒.เมืองเวสาลี
       ๓.เมืองกบิลพัสดุ์
       ๔.เมืองอัลปะกะบุรีรมย์
       ๕.บ้านพราหมณ์นิคมเขต
       ๖.เทวะทะหะประเทศ
       ๗.เมืองปาวายะบุรินทร์
       ๘.เมืองนครโกสินะรายน์
     พระเกสา   โลมา    นะขา    ทันตา  ก็เรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทั่วทุกทิศในจักรวาล    ส่วนเครื่องพุทธบริขารคือ บาตร  จึวร   ผ้าสันถัด   ประคตเอว    สมุกเหล็กไฟ    กล่องเข็ม     ผ้ากรองน้ำ    ธะมะกะรก    วัสสิกะสาฎกผ้าชุบสรง     ผ้านิสีทนะ    มีดโกน    ตลกบาตร   เครื่องลาดแท่นพระบรรทม     ลูกดานทอง     ฉลองพระบาท    ธาตุพุทธบริขารเหล่านี  กษัตริย์และพราหมณ์ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในประเทศของตนทั้ง ๑๐  เมืองได้ทำการสักการะบูชาจนเกิดความรุ่งเรืองเห็นปรากฏ
       -กายะนะทันธะนัง    คือพระพุทธะรัดประคต       อยู่ที่เมืองเทวะทะหะราช
       -ปัตโต     คือบาตร          อยู่ที่ประเทศศรีลังกา
       -อุทะกะสาฏะกัง     คือผ้าชุบสรง       อยู่ที่เมืองปัญจาละนคร
       -จีวะรัง     คือจีวร        อยู่ที่เมืองพันทะวิไสย
       -หะระนี      คือสมุกเหล็กไฟ       อยู่ที่เมืองตักกสิลา
       -วาสีสูจิฆะรัง      คือมีดโกนและกล่องเข็ม       อยู่ที่เมืองอินระปัตมะไหสวรรค์
       -จัมมัง     คือหนังนิสีทนะสันถัด       อยู่ที่เมืองคันธาระราช
       -ถะวิกา     คือตลกบาตรและเครื่องลาดที่พระบรรทม   ลูกดานทองฉลองพระบาททั้งคู่       อยู่ที่บ้านอุสิระคาม
       -พระธาตุบริขารอื่นๆอีก ๖ อย่างคือ พระอังคาร     ถ่านเถ้าเสาเชิงตะกอน    อยู่ที่เมืองโมรียะประเทศ    
       -จุฬามุณีบรมเกสธาตุ      อยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
       -กาสายะวัตถัง      คือผ้าทรง      อยู่พรหมโลกชั้นพรหมา
       -สุวัณณะโทณัง     คือทะนานทองที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุ       อยู่ที่เมืองโกสินะรายน์รัตนมไหศวรรย์
          -พระบรมธาตุทั้ง ๒๒  ประการนั้นทรงพระคุณเป็นอย่างยิ่ง  พระพุทธองค์ทรงอนุญาตประทานไว้ทุกสิ่งด้วยพระมหากรุณาทรงหวังพระทัยเพื่อจะให้เป็นที่สักการะบูชาเกิดผลานิสงส์อันเป็นสวัสดิมงคลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกว่ายุติสื้นสุดพระพุทธศาสนา พระบรมธาตุทั้งหลายนี้ก่อนที่อายุพระพุทธศาสนาจะครบ ๕๐๐๐ ปีจะเสด็จไปที่เกาะลังกาทวีปเพื่อที่จะสงเคราะห์ชาวสิงหฬให้เกิดสวัสดิมงคลด้วยการกระทำ
สักการะบูชาพระคุณ เมื่อถึงกาลที่พระพุทธศาสนาจะศูนย์สิ้นครบถ้วน ๕๐๐๐ ปี
        เมื่ออายุพระพุทธศาสนาครบถ้วน ๕๐๐๐ ปีแล้ว  พระบรมธาตุทั้งหลายเหล่านี้จะเสด็จไปที่เจดีย์ฐานใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ประเทศอินเดียดำรงอยู่ที่นั้นจนอายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๔๙๙๙ ปี   ๑๑  เดือน  ๒๒  วัน  วันพฤหัสบดี   เดือน  ๖  ขึ้น  ๙  ค่ำ   คิมหันตฤดู   ปีชวด   นักษัตรอัฐศก   ในเวลารุ่งเช้า   พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายเหล่านี้  จะเสด็จไปรวมกัน ณ ที่ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์สถานที่พระองค์ตรัสรู้แล้วทรงทำยมก
ปาฏิหาริย์ด้วยพุทธฤทธิ์อันพิเศษบังเกิดเป็นพุทธวรกายซึ่งมีรูปกายสูงได้ ๑๘ ศอก  มีรัศมีเปล่งออก ๑๘ ประการ  มีพระศิริรูปกายอันสวยงามยิ่งนัก ดวงพระพักตร์ผุดผ่องประดุจดังสีทองคำธรรมชาติ  แล้วรูปร่างพุทธวรกายนั้นก็เสด็จขึ้นสถิตนั่งเหนือรัตนบัลลังก์อาสน์  ทรงนั้งสมาธิใต้ควงต้นไม้พระศรีมหาโพธิ์แล้วทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์   โปรดสัตว์, คนธรรพ์, อมรเทวดา, ฤาษีสิทธิ์พิทธยาธร, กินนร, นาคราช, ทั้งอสุรา
เดียรดาษนั่งแน่นเหนือแผ่นพื้นพสุธา   ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดสัตว์เป็นเวลา ๗ วัน   พอทรงแสดงพระธรรมเทศนาวันที่ ๗ สิ้นสุดลง
ก็จะมีพระเตโชธาตุพวยพุ่งรุ่งโรจน์โชตนาการ  ผุดขึ้นมาเผ่าไหม้รูปกายของพุทธวรกายนั้นให้หมดสิ้นไป  ในวันพุธ  เดือน ๖  ขึ้น ๑๐ ค่ำ  ปีชวด  นักษัตรอัฐศก  อายุขัยของศาสนาพระพุทธโคดมก็สิ้นสุดจบสิ้นลงในวันนั้น 
    คาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
       ๐อะหัง วันทามิ ทูระโต
      อะหัง วันทามิ ธาตุโย
      อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ
      คาถาบูชาพระบรมธาตุทั่วจักรวาล
       ๐จัตตาฬีสะสะมาทันตา       เกสา  โลมา   นะขา ปิจะ
      เทวา  หะรันติ  เอเกกัง        จักกะวาฬาปะรัมปะรา
      ปูชิตานะระเทเวหิ               อะหัง  วันทามิ  ธาตุโย ฯ
      คาถาบูชาพระบรมธาตุในพรหมโลกและดาวดึงส์สวรรค์            
       ๐พรหมโลเกทัสสะธาตุ             วามะอักขะกะธาตุ
      สัพเพพรหมาภิปูเชนตุ               ถูปัง  ทะสะโยชะนัง
      ตาวะติงสัมหิเทวานะ                 จุฬามะณี  จะ  เกสะกัง
      สัพเพเทวาภิปูเชนตุ                  ถูปัง  จะ  จะตุโยชะนัง
      ปูชิตานะระเทเวหิ                     อะหัง  วันทามิ  ธาตุโย ฯ
         คาถาบูชาพระธาตุ ๘๔๐๐๐ องค์ในชมพูทวีป
         ๐อัฏฐาระเส   เทวะวัสสะสะเต            ธัมมา  โสโก  ราชาอะหุ
       จะตุราสีติสะหัสสา                             เจติยา  จะ  การาปิตา
       ปูชิตา  นะระเทเวหิ                            อะหัง  วันทามิ  ธาตุโย
       สัตตะโทณานิ  ธาตูนิ                          ชัมพูทีเป  ปะติฏฐิตา
       จะตุราสีติสะหัสสา                             เจติยา  ปะติยา  ปะติมัณฑิตา
       ปูชิตา  นะระเทเวหิ                            อะหัง  วันทามิ  ธาตุโย ฯ
           คาถาบูชาพระธาตุในทวีปลังกา
         ๐อะปะเรนะ  สะมะเยนะ             ทุฏฐานามะนะระราธิโป
       เอกะโทณัญจะ  ธาตูนัง                 ลังกาทีเป  ปะติฏฐิตัง
       ปูชิตา  นะระเทเวหิ                      อะหัง  วันทามิ  ธาตุโย ฯ
           คาถาอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุ 
        ๐ให้หาขันสำริดใบหนึ่งตั้งไว้หน้าที่บูชาพระ  คนที่จะอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริก ธาตุนั้นให้นั่งตรงหน้าที่บูชาพระบนผ้าขาวผืนหนึ่งทำเป็นผ้าสันถัดรองนั่งแล้วทำการสวดบริกรรมด้วยคาถานี้
         ๐อัชชะตัคเคปาณุเปตัง  พุทธัง   ธัมมัง   สังฆัง   สะระณังคะโต 
       สะมิมะหันตา  ภินนะมุตตา  จะ  มัชฌิมา  ภินนะตัลฑุลา  ขุททะกาสาสะปะมัตตา
       เอวัง  ธาตุโย  สัพพะฐาเน  อาคัจฉะตุ  สีเลเมปัตตันตุ ฯ   หรือจะใช้คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยอย่างนี้ก็ได้
             ๐อิติปิโสวิเสเสอิ          อิเสเสพุทธะนาเมอิ
          อิมินาพุทธะตังโสอิ        อิโสตังพุทธะปิติอิ ฯ
       ๐เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าการสวดบริกรรมคาถานี้แล้วสามารถทำให้พระธาตุเสด็จมาได้โปรดตั้งใจทำให้ต่อเนื่องอย่าได้ทำครึ่งๆกลางๆ เดี๋ยวหยุดเดี๋ยวทำขอให้ทำด้วยความเชื่อมั่นคนไหนตั้งใจทำตามวิธีนี้พระธาตุจะเสด็จมาอยู่กับเขาเป็นจำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ  หลายคนได้พิสูจน์มาแล้วนับว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ
               คาถาบูชาพระธาตุเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า
        ๐อะหัง  วันทามิ  อะระหะโต             สัมมาสัมพุทธัสสะ  ปูชะนัตถายะ
      ปะระมะสารีริกกะทาฐาธาตุง               มัยหัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ
        ๐ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระธาตุเขี้ยวแก้วอันเป็นพระบรมสารีริกธาตุของ
    พระอะระหันตะสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลในการบูชาและความสุข
    แก่ตัวข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ ฯ
        วิธีไหว้พระธาตุเขี้ยวแก้ว
    ๐ให้เอารูปภาพพระธาตุเขี้ยวแก้วตั้งไว้ในที่สูง  จุดธูป ๓ ดอก  เทียน ๒ เล่ม  ตั้งนโม ๓ จบ    สวดอิติปิโส ๙ จบ   แล้วจึงต่อด้วยคาถาบูชาพระธาตุเขี้ยวแก้วอีก ๓ จบ   เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง  ก็เป็นอันเสร็จพิธีในการกราบไหว้พระธาตุเขี้ยวแก้ว
      ๐ผู้ใดได้เห็นพระธาตุเขี้ยวแก้วแม้จะเป็นเพียงรูปภาพก็ตามให้ตั้งจิตอธิษฐานเคารพกราบไหว้บูชาด้วยความเคารพนอบน้อมเป็นอันดี ผู้นั้นก็จะมีแต่ความสุขและความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานไปทิศใดก็จะมีแต่คนนิยมชมชอบเมตตาสงสาร เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองรักษา   
   
  
     นี้คือเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวาล่าง  ที่วัดพระธรรมจักร  เมืองแคนดี้ 

ประเทศศรีลังกา

       

         นี้คือรูปภาพพระเขี้ยวแก้วของจริงจาก เมืองแคนดี้  ประเทศศรีลังกา

       ประวัติพระธาตุของพระสาวก

     ๑.ประวัติ พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นผู้ลิศในทางรัตตัญญู  พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้านโทณวัตถุ อันไม่ห่างไกล จากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ “โกณฑัญญะ” เมื่อเจริญเติบโตขึ้นได้ศึกษาศิลปะวิทยาจบไตรเพท และวิชาการทำนายลักษณะอย่างเชี่ยวชาญ  เป็นพระสาวกองค์แรกที่บรรลุธรรมก่อนใครทั้งหมด

     

          นี้คือพระธาตุของพระอัญญาโกณฑัญญะ

     ๒.พระภัททิยะ  มีสัณฐานดังกลอง ที่สุดทั้งสองข้างเรียวเล็ก มีพรรณะดังสีดอกพุด ตาน

        

          นี้คือพระธาตุของพระภัททิยะ

     ๓.ประวัติของพระสารีบุตร อัครมหาสาวกผู้เลิศทางปัญญา
พระสารีบุตรถือกำเนิดในครรภ์ของนางสารีพราหมณีในบ้านอุปติสสคาม ณ หมู่บ้านนาลกะ (นาลันทะ) ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์ เดิมชื่ออุปติสสะ บิดาคือ วังคันตพราหมณ์ มารดาคือ สารีพรามหณี มีน้องชาย ๓ คนชื่ออุปเสนะ (ผู้เลิศในทางนำความเลื่อมใสมาโดยรอบ),จุนทะ (พระมหาสาวกจุนทะ แต่พระส่วนใหญ่ชอบเรียกท่านว่า สามเณรจุนทะ จนติดปาก),เรวตะ (ผู้เลิศในทางผู้อยู่ป่าเป็นวัตร), มีน้องสาว ๓ คน นามว่า จาลา, อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชเป็นภิกษุณีและสามารถบรรลุธรรมขั้นสูง เป็นพระอรหันต์ทั้งหมดแม้สหายของท่านคือ พระโมคคัลลานะ ก็ถือกำเนิดในครรภ์ของโมคคัลลีพราหมณีในวันเดียวกัน บ้านโกลิตคาม อันไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์

      

      นี้คือพระธาตุของพระสารีบุตร          

    ๔.ประวัติ พระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นผู้เลิศในทางมีฤทธิ์มาก
    พระมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า “โกลิตะ” ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อ โมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “โมคคัลลานะ” ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากับอุปติสสมาณพ เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย นอกจากนี้ยังมีอุปนิสัยใจคอเหมือนกัน และยังได้ออกบวชพร้อมกันอีกด้วย (ประวัติเบื้องต้นของท่านถึงศึกษา
จากประวัติของพระสารีบุตร)

          

                นี้คือพระธาตุของพระมหาโมคคัลลานะ

   ๕.ประวัติ พระสีวลีเถระ เป็นผู้เลิศในทางเป็นผู้มีลาภมาก
พระสีวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ราชธิดาแห่งโกลิยนคร ตั้งแต่ท่านจุติลงถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระมารดา ได้ทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระมารดาเป็นอันมาก ท่านอาศัยอยู่ในครรภ์ของพระมารดา นานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ครั้นเมื่อใกล้เวลาจะประสูติพระมารดาได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า พระนางจึงขอให้พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพร จากพระบรมศาสดาและพระพุทธองค์ตรัสประทานพรแก่พระนางว่า “ขอพระนางสุปปวาสา พระราชธิดาแห่งพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุขปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชโอรสผู้หาโรคมิได้เถิด”

    

         นี้คือพระธาตุของพระสีวลี

   ๖.ประวัติ พระมหากัจจายนเถระ เป็นผู้เลิศในทางการอธิบายความย่อให้พิสดาร
   พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลกัจจายนะ ผู้เป็นปุโรหิต (ที่ปรึกษา) ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เดิมท่านชื่อว่า  “กัญจนะ” เพราะมีรูปร่างลักษณะงามสง่า มีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น เมื่อเจริญวัยขึ้น ได้เรียนจบไตรเพท คือ คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์ เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้วได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวจาริกประกาศหลักธรรมคำสอนตามคามนิคมชนบทอยู่นั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชต มีพระราชประสงค์จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จสู่กรุงอุชเชนีของพระองค์บ้าง จึงรับสั่งให้ปุโรหิตกัจจายนะไปกราบทูลอาราธนา กัจจายนะถือโอกาสกราบทูลลาเพื่ออุปสมบทด้วย เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงพร้อมด้วยบริวารติดตามอีก ๗ คน เดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อเดินทางไปถึงก็รับเข้าเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสพระธรรมเทศนาให้ฟัง และท่านทั้ง ๘ คนนั้น ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  

      

             นี้คือพระธาตุของพระมหากัจจายนะ

      ๗.ประวัติ พระอานนท์เถระ เป็นผู้เลิศในทางเป็นพหูสูตร
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ผู้เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดานามว่า พระนางกีสาโคตมี มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา (พระราชโอรสของพระเจ้าอา) ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอนุรุทธะและอุบาลี (ศึกษาประวัติเบื้องต้นในประวัติของพระอนุรุทธเถระ) เมื่อท่านบวชแล้ว ได้ฟังโอวาทจากพระปุณณะมันตานีบุตร ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ได้รับเลือกให้เป็นพุทธอุปัฎฐาก

       

          นี้คือพระธาตุของพระอานนท์  พุทธอุปัฏฐาก

    ๘.ประวัติ พระอนุรุทธเถระ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางตาทิพย์
  พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ผู้เป็นพระเจ้าอาของพระบรมศาสดา มีพระเชษฐา (พี่ชาย) พระนามว่า เจ้าชาย
มหานามะ มีพระกนิษฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า พระนางโรหิณี รวมเป็น ๓ พระองค์ด้วยกัน เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้วเสร็จมาโปรด
พระประยูรญาติศากยวงศ์ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ได้มีศากยกุมารผู้มีชื่อเสียงออกบวชติดตามพระบรมศาสดาหลายพระองค์

     

       นี้คือพระธาตุของพระอนุรุทธะ

   ๙.ประวัติ พระกาฬุทายีเถระ เป็นผู้เลิศในทางเป็นผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
   พระกาฬุทายี เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ในกรุงกบิลพัสดุ์ และเป็นสหชาติอีกคนหนึ่งที่เกิดพร้อมกันกับเจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร เดิมท่านชื่อว่า  “อุทายี” แต่เพราะท่านมีผิวดำ คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “กาฬุทายี” เมื่ออยู่ในวัยเด็กก็เป็นพระสหายเล่นกันมากับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อเจริญเติบโตแล้ว ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กติดตามเจ้าชายสิทธัตถะ นับว่าเป็นผู้มีความสนิทสนมคุ้นเคยกับพระมหาบุรุษเป็นอย่างมาก ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชาแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดา คอยติดตามสดับรับฟังข่าวตลอดเวลา ครั้นได้ทราบว่าพระราชโอรสของพระองค์บำเพ็ญความเพียรทุกขกิริยาเป็นเวลา ๖ พรรษา นั้น บัดนี้ ได้บรรลุอมตธรรม สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ สมดังคำพยากรณ์ของท่านอสิตดาบสและพราหมณ์ทั้ง ๘ คนแล้ว เสด็จเที่ยวประกาศพระธรรมคำสอนของพระองค์ตามคามนิคมต่าง ๆ ขณะนี้ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหารใกล้เมืองราชคฤห์พระพุทธบิดา ทรงตั้งพระทัยคอยอยู่ว่า เมื่อไรหนอ พระพุทธองค์จะเสด็จมาสู่พระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งไม่มีข่าวว่าจะเสด็จมาเลย ก็เกิดความเล่าร้อนพระทัยปรารถนาจะได้ทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระบรมศาสดาโดยเร็ว จึงได้จัดส่งอำมาตย์พร้อมด้วย บริวาร ๑,๐๐๐ คน ให้ไปกราบทูลอาราธนาเสด็จมายังพระนครกบิลพัสดุ์แต่อำมาตย์และบริวารเหล่านั้น เมื่อเดินทางไปถึงกรุงราชคฤห์แล้ว รีบตรงไปยังพระเวฬุวันมหาวิหารโดยเร็ว ขณะนั้น พระพุทธองค์กำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนา อยู่ในท่ามกลางพุทธบริษัท คณะอำมาตย์จึงหยุดคอยโอกาสที่จะกราบทูลอาราธนา และขณะที่รอคอยอยู่นั้นก็ได้สดับพระธรรมเทศนาไปด้วย เมื่อจบพระธรรมเทศนาลง อำมาตย์และบริวารได้บรรลุพระอรหัตผลด้วยกันทั้งหมดแล้วกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ประทานด้วยเอหิภิกขุ
อุปสัมปทา

      

         นี้คือพระธาตุของพระกาฬุทายี

     ๑๐.ประวัติพระองคุลิมาล(อังคุลิมาล) พระมหาสาวกหนึ่งในอสีติมหาสาวก
   พระองคุลิมาลเป็นบุตรของคัคคพราหมณ์ (ภัคควพราหมณ์) ซึ่งเป็นปุโรหิตาจารย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งนครสาวัตถี โกศลรัฐ มารดาของท่านชื่อมันตานี ท่านเกิดเวลากลางคืนตรงกับฤกษ์โจร เวลาท่านเกิดนั้น บรรดาศัสตราอาวุธทั่วพระนคร ตลอดจนพระแสงหอกดาบของพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ลุกเป็นเปลวเพลิง บิดาของท่านเห็นว่าลางร้ายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะลูกชายของตน จึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลให้ทรงทราบและกราบทูลขอให้ประหารลูกชายของตนเสีย แต่พระเจ้าปเสนทิโกศล หาได้ทรงกระทำตามไม่ กลับรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เพราะทราบจากบิดาของท่านว่า ท่านจะเป็นเพียงโจรร้ายต่อเอกชนไม่ถึงกับเป็นโจรแย่งราชสมบัติ เวลาท่านเกิดขึ้น แม้ศัสตราอาวุธจะเกิดเป็นลางร้าย แต่หาได้เป็นอันตรายหรือเบียดเบียนใครไม่ ฉะนั้นเพื่อเป็นนิมิตรอันดีงาม เมื่อถึงวันตั้งชื่อบิดามารดาจึงตั้งชื่อท่านว่าอหิงสกะกุมารซึ่งแปลว่าผู้ไม่เบียดเบียนใคร

    

       นี้คือพระธาตุของพระองคุลิมาล

      ๑๑. ประวัติพระอุปปะคุต
พระอุปคุตตะ คือ พระเถระรูปหนึ่ง ซึ่งได้รับอาราธนามาเพื่อป้องกันพญามาร ที่ต้องการทำลายงานฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุกล่าวว่าท่านมีฤทธิ์มาก ทรงฌานสมาบัติอยู่ที่ปราสาทในท้องมหาสมุทร ชื่อเต็มของท่านคือ พระกีสนาคอุปคุตเถระ ราวปี พ.ศ. ๒๑๘ ในกาลแห่งสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงได้ทำการสร้างพระเจดีย์ขึ้น ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทั่วชมพูทวีปภายหลังจากการค้นพบการซ่อนพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งความตอนนี้อ่านได้ใน ตำนานธาตุนิธาน

  

    นี้คือพระธาตุของพระอุปปะคุต   

   ๑๒.ปุณณมันตานีบุตร
     พระปุณณมันตานีบุตรคือพระเถระชื่อว่า ปุณณะ ท่านเป็นบุตรของนางมันตานีพราหมณี จึงชื่อว่า ปุณณมันตานีบุตร เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้าน พราหมณ์ ชื่อโทณวัตถุไม่ไกลกรุงกบิลพัสดุ์ ในวันขนานนามของท่าน พวกญาติขนานนามท่านว่า ปุณณมาณพ ท่านเป็นหลานของพระอัญญาโกณฑัญญะครั้งเมื่อ พระศาสดาทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จดำเนินมาโดยลำดับเข้าอาศัยอยู่ ยังกรุงราชคฤห์ ในพรรษาที่ ๒ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ได้มายังกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อให้ปุณณมาณพหลานชายของตนบวชวันรุ่งขึ้น จึงมาเฝ้าพระทศพล ถวายบังคมแล้วก็ทูลลาไปยังฉัททันตสระ เพื่อพักผ่อนกลางวัน และไม่ต้องการคลุกคลีกับหมู่ฝ่ายพระปุณณมันตานีบุตรมาเฝ้าพระทศพล พร้อมกับพระอัญญาโกณฑัญญเถระผู้ลุง คิดว่า เราจักทำกิจแห่งบรรพชิตของเราให้ถึงที่สุดแล้วจึงจักไปเฝ้าพระทศพล ดังนี้ จึงตั้งใจทำกิจในกรุงกบิลพัสดุ์นั่นเอง กระทำโยนิโสมนสิการกรรมฐาน ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตผล

    

        นี้คือพระธาตุของพระปุณณะมันตานีบุตร

    ๑๓.ประวัติพระอุทายี
พระเถระรูปหนึ่ง ท่านเป็นบุตรพราหมณ์ชาวกรุง กบิลพัสดุ์ เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้เห็นอานุภาพของพระพุทธเจ้าในคราวที่พระพุทธองค์เสด็จไปแสดงปาฏิหาริย์ และทรงแสดงธรรมโปรดพระประยูรญาติ แล้วมีความเลื่อมใสเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ได้บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาพยายามเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์  ตามหลักฐานหลายแห่งในพระไตรปิฎก ปรากฏว่าท่านพระอุทายีรูปนี้ เป็นนักเทศน์ที่มีฝีปากดีมาก

   

      นี้คือพระธาตุของพระอุทายี   

   ๑๔.พระอุปนันทะเป็นผูัเชี่ยวชาญในการเทศน์
   บุตรเศรษฐีเลื่อมใสในการเทศน์ของท่านพระอุปนันทะศากยบุตร จึงปวารณาให้ขออะไรก็ได้ แต่ท่านขอผ้า (ห่ม) จากตัวเขา แม้เขาจะขอไปเอาที่บ้านมาให้ก็ไม่ยอม พระศาสดาทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายหญิงที่มิใช่ญาติ ถ้าขอได้มาต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 

      

         นี้คือพระธาตุของพระอุปะนันทะ      
       ๑๕.พระสัมปะฑัญญะ  พระธาตุของท่านมีสัณฐานเท่ากับหมากสงปอกแล้ว พรรณสีแดง และสีขาว

          

                    นี้คือพระธาตุของพระสัมปะฑัญญะ

   ๑๖.พระอุตตะรายีเถรี  สัณฐานดังรูปพระควัมปะติ พรรณดังเมฆ สีหมอกฟ้า สีแดงเข้ม

          

             นี้คือพระธาตุของพระอุตตะรายีเถรี
   ๑๗.ประวัติ สันตติมหาอำมาตย์
   สันตติมหาอำมาตย์ เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้งหนึ่งได้ไปปราบปรามโจรที่ปัจจันตชนบท เมื่อสงบแล้วจึงกลับมา พระราชาทรงพอพระหฤทัย ประทานราชสมบัติให้ และหญิงผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับนางหนึ่งแก่ท่าน ท่านจึงมัวเมาด้วยกามและสุราอยู่ ๗ วัน ในวันที่ ๗ ท่านประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่างแล้ว จึงขึ้นสู่คอช้างไปสู่ท่าอาบน้ำ ก็เห็นพระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่ระหว่างประตู ท่านจึง ผงกศีรษะถวายบังคม
    

        นี้คือพระธาตุของสันตะติมหาอำมาตย์

 ๑๘.พระนางอุบลวรรณาเถรี พระธาตุมีสัณฐานงอนดังกระดูกสันหลังงูมีรูทะลุกลาง พรรณเหลืองดังเกสรบัว
       ประวัติ พระนางอุบลวรรณาเถรี เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีในทางเป็นผู้มีฤทธิ์  พระนางอุบลวรรณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้นางว่า “อุบลวรรณา” ตามลักษณะที่นางมีผิวพรรณเหมือนกลีบดอกอุบลเขียว  เป็นผู้หญิงที่มีเรือนร่างอันสวยงามหาหญิงอื่นสู้ได้ยาก  มีชายหนุ่มทั้งที่เป็นพระราชาและเศรษฐีมาตามตื้อขอแต่งงานด้วยจนน่ารำคาญ  เพื่อแก้ความรำคาญนี้บิดาจึงตัดสินใจให้นางบวช
 เศรษฐีผู้บิดาจึงพานางไปยังสำนักของภิกษุสงฆ์แล้วให้บวชเป็นที่เรียบร้อย เมื่อนางอุบลวรรณาบวชได้ไม่นาน ก็ถึงสาระที่จะต้องไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ เธอได้จุดประทีปเพื่อขจัดความมืดแล้วกวาดโรงอุโบสถ เห็นเปลวไฟที่ดวงประทีปแล้วยึดถือเอาเป็นนิมิตร ขณะที่กำลังยืนอยู่นั้นได้เข้าฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็นฐานเจริญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย ณ ที่นั้นนั่นเอง

   

      นี้คือพระธาตุของนางภิกษุณีอุบลวรรณาเถรี

  ๑๙.พระพระธาตุของจุลลินะเถระ   มีสัณฐานต่างๆ หากำหนดมิได้ พรรณสีเหมือนดอกจำปา และสีกล้วยครั่ง

   

       นี้คือพระธาตุของพระจุลลินะเถระ

 ๒๐.พระธาตุของพระจุละนาคะ   มีสัณฐานดังดอกดีปลี เป็นปุ่มยาวทบไปทบมาทั่วทั้งองค์ พรรณขาวเหมือนดังสีสังข์       

     

    ๒๑พระธาตุของพระมหากัปปินเถระ ผู้เป็นเลิศในทางเป็นผู้ให้โอวาทแก่พระภิกษุทั้งหลาย
   พระมหากัปปินะ เป็นพระโอรสของพระมหากษัตริย์ผู้ครองนครภุกฎะวะดี ในปัจจันตะชนบท มีพระนามเดิมว่า “กัปปินะ” เมื่อพระราชบิดาทิวงคต
แล้วก็ได้ครองราชย์สมบัติสืบแทนพระราชบิดา ได้พระนามใหม่ว่า “พระเจ้ามหากัปปินะ” มีพระอัครมเหสีพระนามว่า “อโนชาเทวี” ซึ่งเป็น
พระราชธิดาของพระราชาผู้ครองนครสาคะละ แห่งแคว้นมัททะรัฐ พระเจ้ามหากัปปินะ มีพระราชหฤทัยใฝ่ต่อการศึกษาแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่
เสมอ โดยเฉพาะทรงฝักใฝ่ในการออกบวชเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานอันเป็นคุณธรรมเบื้องสูง ทุก ๆ วันพระองค์จะส่งอำมาตย์ออกไป
สืบข่าวจากทิศทั้ง ๔ ว่ามีข่าวอะไรบ้าง โดยเฉพาะข่าวเกี่ยวกับพระรัตนตรัย อำมาตย์เหล่านั้นออกจากพระนครไปไกล ๒-๓ โยชน์ทุกวัน
ค่ำแล้วก็กลับมารายงานข่าวให้ทรงทราบ พระเจ้ามหากัปปินะ มีม้าอันเป็นพระราชพาหนะ ๕ ม้า คือ ม้าชื่อพละ ม้าชื่อพลวาหนะ ม้าชื่อปุปผะ
ม้าชื่อปุปผวาหนะ และ ม้าชื่อสุปัตตะ โดยปกติพระองค์จะทรงม้าชื่อสุปัตตะ เป็นประจำ ส่วนม้าที่เหลือจะพระราชทานให้อำมาตย์หรือทหาร
ใช้เป็นพาหนะไปสืบข่าวต่าง ๆ ทรงทราบข่าวพระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโลก วันหนึ่ง พระองค์เสด็จประพาสพระราชอุทยานพร้อมด้วยอำมาตย์
และข้าราชบริพาร ๑,๐๐๐ คน ได้พบพ่อค้าที่เดินทางมาจากเมืองสาวัตถี รับสั่งให้เข้าเฝ้าถามข่าวสารจากเมืองสาวัตถุนั้น ครั้นเมื่อพ่อค้าได้กราบทูล
ว่า "“ขอเดชะ ข่าวอื่นไม่มี แต่ในเมืองสาวัตถีนั้น บัดนี้ มีพระพุทธเจ้า มีพระธรรม และมีพระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก พระเจ้าข้า”
   พระเจ้ามหากัปปินะ พอได้สดับคำว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้น ทั่วทั้งพระวรกายถูกปีติโสมนัสเข้าครอบงำอย่างท่วมท้น จนหลง
ลืมพระสติไปชั่วขณะ พอได้สติสัมปปชัญญะ กลับคืนมาแล้ว พระองค์ได้ตรัสถามซ้ำอีกถึง ๓ ครั้ง บรรดาพ่อค้ากราบทูลยืนยันเช่นเดิม จึงรับสั่ง
ให้อำมาตย์เขียนพระราชสาสน์ ถึงพระชายา รับสั่งให้พระราชทานรางวัลแก่พ่อค้าจำนวน ๓ แสนกหาปณะ และขอสละราชสมบัติให้พระชายา
รับครอบครองสืบต่อไป ส่วนพระองค์เองพร้อมด้วยอำมาตย์ผู้ใกล้ชิดเหล่านี้ จะขอออกบวชอุทิศเฉพาะแต่พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล้ว มอบ
พระราชสาสน์นั้นให้พ่อค้านำไปถวายแด่พระชายา แม้อำมาตย์เหล่านั้นก็เขียนจดหมายถึงภรรยาของตน ๆ ดุจเดียวกัน จากนั้นได้ติดตาม
พระมหากัปปินะ ออกจากพระราชอุทยานมุ่งสู่พระนครสาวัตถีเพื่อออกบวชต่อไป

 ๒๒.พระธาตุของพระยังคิกะเถระ   มีสัณฐานสี่เหลี่ยมแบนเป็นหน้ากระดาน มีรูกลาง มีพรรณะดังสีทองแดง

     

        นี้คือพระธาตุของพระยังคิกะเถระ

    ๒๓.พระธาตุของพระสุมณะเถระ มีสัณฐานดังหอยโข่ง พรรณะแดงดังสีชาด ดังสีเสน และสีกำมะถัน

         

            นี้คือพระธาตุของพระสุมณะเถระ

  ๒๔.พระธาตุของพระกังขาเรวัตตะ มีสัณฐานกลม งอกกระปุ่มกระป่ำดังภูเขา   มีพรรณะเขียวดังสีลูกปัด สีปีกแมลงทับ สีลูกจันทน์อ่อน

    

    นี้คือพระธาตุของพระกังขาเรวตะ

 ๒๕.พระธาตุของพระโมฬียะวาทะ มีสัณฐานดังฟองมัน มีพรรณะสีเมฆหมอก และสีดำเทา 

       

                นี้คือพระธาตุของพระโมฬียะวาทะ

    ๒๕.พระอุตตระเถระ ท่านเป็นบุตรของพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งในนครราชคฤห์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในไตรเพท มีรูปงาม มีศีล และมีปัญญาเฉลียวฉลาด ท่านวัสสการ พราหมณ์ มหาอำมาตย์ของพระเจ้าอชาตศัตรูเห็นรูปสมบัติและคุณสมบัติของท่านแล้ว เกิดความเอ็นดู ปรารถนาจะให้สมรสกับธิดาของตน แต่ท่านเกิดความเบื่อหน่ายต่อโลก ไม่ปรารถนาจะครองเรือน และเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของท่านพระสารีบุตรได้เกิด ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอบรรพชาอุปสมบทกับพระสารีบุตร และอยู่ปฏิบัติรับใช้พระเถระผู้เป็นอาจารย์เรื่อยมา

    

        นี้คือพระธาตุของพระอุตตะระเถระ

     ๒๖.พระธาตุของพระคิริมานันทะ มีสัณฐานดังดอกพิกุล มีพรรณะเหลืองแก่ ดังสีขมิ้น สีดอกการะเกด

    

        นี้คือพระธาตุของพระคอริมานันทะ

 ๒๗.พระธาตุของพระสะปากะ มีสัณฐานดังผลมะม่วง กลางทะลุเป็นรูตลอด มีพรรณะแดง เหลืองขาว

   

นี้คือพระธาตุของพระสะปากะ

  ๒๘.พระธาตุของพระวิมะละ มีสัณฐานกลมยาว มีรูทะลุตลอดหัวท้าย มีพรรณะสีเขียวสีขาว

    

       นี้คือพระธาตุของพระวิมะละ

    ๒๙.พระธาตุของพระเวณุหาสะ มีสัณฐานดังตาอ้อย มีพรรณะแดงดังสีฝาง สีมะเดื่อสุก

 

   นี้คือพระธาตุของพระเวณุหาสะ

   ๓๐.พระธาตุของพระอุคคาเรวะ มีสัณฐานดังผลกระจับ  มีพรรณะดังเมล็ดในทับทิมสุก

     

              นี้คือพระธาตุของอุคคาเรวะ

   ๓๑.พระธาตุของพระโลหะนามะเถระ มีสัณฐานดังผลฝ้าย มีพรรณะสีเขียว เหลืองแดง  เหมือนฟ้า ทับทิม เหมือนดอกลั่นทมอย่างหนึ่ง เหมือนปูนแดงอย่างหนึ่ง 

    

       นี้คือพระธาตุของพระโลหะนามะ

 ๓๒.พระธาตุของพระคันธะทายี มีสัณฐานดังวงพระจันทร์ข้างแรม

   

      นี้คือพระธาตุของพระคุนธะทายี

  ๓๓.พระธาตุของพระโคธิกะ สัณฐานดังลูกข่าง

    

        นี้คือพระธาตุของพระโคธิกะ

    ๓๔.พระธาตุของพระปิณฑะปาติยะ มีสัณฐานเป็นกลีบกนก   

     

      นี้คือพระธาตุของพระปิณฑะปาติยะ

  ๓๕.พระธาตุของพระกุมาระกัสสะปะ มีสัณฐานดังคอนนกเขา

      

        นี้คือพระธาตุของพระกุมาระกัสสะปะ 

   ๓๖.พระธาตุของพระภัทธะคู มีสัณฐานดังหอยสังข์

      

           นี้คือพระธาตุของพระภัทธะคู

  ๓๗.พระธาตุของพระโคทะฑัตตะ มีสัณฐานดังผลมะระ

 

     นี้คือพระธาตุของพระโคทะฑัตตะ

 ๓๘.พระธาตุของพระอนาคาระกัสสะปะ มีสัณฐานเหมือนหอยสังข์

    

       นี้คือพระธาตุของพระอะนาคาระกัสสะปะ

    ๓๙.พระธาตุพระคะวัมปะติ มีสัณฐานเหมือนใบบัวอ่อน

        

            นี้คือพระธาตุของพระคะวัมปะติ

     ๔๐.พระธาตุของพระมาลียะเทวะ มีสัณฐานเหมือนขันครอบ

           

             นี้คือพระธาตุของพระมาลียะเทวะ

            

      ภาพพระบรมสารีริกธาตุที่อยู่ข้างบนนี้คือภาพของ

         ๑.พระอุณหิส

         ๒.พระรากขวัญ

         ๓.พระเขี้ยวแก้ว

 เป็นภาพที่หาดูยาก  พระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๓ องค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่ประเทศศรีลังกาถ้าใครอยากดูองค์จริงให้ไปดูได้ที่ประเทศศรีลังกา

   

   

   

   

  ภาพพระธาตุของพระสาวกทั้ง ๔ ภาพนี้  ข้าพเจ้าได้นำเอามาลงไว้ในที่นี่เพื่ออยากจะให้ผู้อ่านทั้งหลายได้ดูข้อแตกต่างของกระดูกของพระอรหันต์และคนธรรมดา  กระดูกของคนธรรมดาจะเป็นเถ้าเป็นฝุ่นและเป็นเสี้ยนเล็กๆ ถ้าเป็นชิ้นใหญ่จะเหมือนกระดูกวัวหรือกระดูกควายที่เขาเอาไปต้มเคี่ยวผสมทำน้ำปลา  แต่กระดูกพระอรหันต์จะกลมเกลี้ยงเกลาเป็นมันวาวสวยงามยิ่งนัก  กระดูกของพระอริยเจ้าบางองค์กลายเป็นแก้วไปเลยโปรดดูภาพข้างบน   ส่วนเรื่องสีของพระธาตุของพระสาวกทั้งหลายจะเป็นได้หลายสีจะเป็นสีอะไรก็ได้แล้วแต่บารมีของท่านที่ได้บำเพ็ญมา ภาพ ๔ ภาพที่ข้าพเจ้านำมาแสดงให้ดูนี้  ภาพที่ ๑ กระดูกจะกลายเป็นแก้วไปหมด  ภาพที่ ๒ กระดูกจะเป็นหลายสี  ภาพที่ ๓ กระดูกจะเป็นสีเขียวไปหมด  ภาพที่ ๔ กระดูกจะกลายเป็นสีเขียวและสีเหลือง  กระดูกของพระอรหันต์มองดูคล้ายๆเพชรพลอยแต่ก็ไม่ใช่เพชรพลอยจะมีข้อแตกต่างกันอยู่โปรดสังเกตดูให้ดีๆท่านก็จะรู้ข้อแตกต่างเอง   ถ้าใครมีพระอรหันตธาตุของพระสาวกให้สวดบูชาทุกวันก็จะเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขมีโชคภาลและความสำเร็จในหน้าที่การงาน  คาถาสวดบูชามีดังนี้

           คาถาสวดบูชาอะสีติมะหาสาวก
  ๐โกณฑัญโญสารีปุตโต จะ          โมคคัลลาโน จะ กัสสะโป
กุมาโร อุรุเวโฬ จะ                         คะยานันทิ จะ กัสสะโป
ปารัฏโฐ รัฏฐะปาโล จะ                  นาโคอังคุลิมาละโก
สุภูโต ภารัทวาโช จะ                     ปุณโณวักกะลิ อัสสะชิ
ภัทธะชิ จะ อุปาลี จะ                      สีวะลี จะ คะวัมปะติ
อุทายี กาฬุทายี จะ                        โลฬุทายี จะ ถะวะลี
สมิทธิปะภังกะโรจาปิ                      สุภัทโธ สุคะโต ปิจะ
สาคะโต จะ สุทัตโต จะ                  โคทะทัตโต นาคะทัตตะโก
อุคคาเรโว จะ เรโว จะ                    กังขาเรโว จะ ยังคิโก
สุนันโท คิริมานันโท                       นันทัตเถโร จะ นันทะโน
อานันโท นันทะกัปโป จะ                 เวยยากัปโป จะ ภัทธะคู
มะหานาโม โลหะนาโม                   สังคาโม วิชิโต ปิจะ
จุลลิโน ธะนิยัตเถโร                       ทัพโพ จะ อุปะเสนะโก
สุปาโก ปิจะ อุตตะโร                      สุขัตเถโร อะนุรุทโธ
ภัทธิโย โชติโย จาปิ                      กิมะโล วิมะโลพาหุ
สุพาหุ จุลละปัณฐะโก                    มะหาปัณโฐ จะ สุมะโน
ราธะโถโมฆะราชะโก                    โสณะกัปโป จะ โสโน จะ
โสณะกัณโณ จะ โสมะโก              กัจจาโน วังคิโส ปิจะ
วะกุโล ราหุลัตเถโร                       อะนาคาโร จะ กัสสะโป
วัปปัตเถโร จะ ชะฏิโล                   อิจเจเตสีติสาวะกา
เอเตหิ จะ อัญเญหิ จะ                   พุทธะสาวะเกหิ
ยาวะวะเน มะหาวะเน                     ยาวะปะเถ มะหาปะเถ
ยาวะนะคะเร มะหานะคะเร             รักขันตุ สุรักขันตุ
วิสุทธา จะ มะหาเถโร                    อุชุจิตตานิรังคะณา
ปาเท เต สะมะทัญเจวะ                  คุณัญจะ สิระสามะหันติ ฯ        

   ๐วิธีสวด: ให้สวดบูชาวันละ ๓ จบ  ก่อนสวดให้ตั้ง นโม ๓ จบ และอิติปิโสอีก ๙ จบ  แล้วจึงต่อด้วยคาถาสวดบูชาพระอะสีติมะหาสาวก  ๓  จบ   ถ้าใครสวดเป็นประจำทุกวันก็จะเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง  ผู้นั้นจะเป็นที่รักใคร่ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะทำอะไร ก็จะประสบโชคดีเป็นส่วนมาก
  บารมีของพระอรหันต์ ๘๐ รูป  จะปกปักรักษาคุ้มครองให้ผู้นั้นแคล้วคลาดปราศจากอุปัทวะเหตุและอันตรายทั้งหลาย จะไปทิศใดอยู่ทิศใดก็ตามจะร่มเย็นเป็นสุขมีความสุขกายสบายใจจิตใจจะเบิกบานผ่องใสไม่หดหู่ด้วยสภาวะของกิเลสที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง  ไม่ตกใจสะดุ้งหวาดกลัวต่ออำนาจฝ่ายต่ำของสิ่งชั่วร้าย

   ส่วนนี้ขอให้ผู้อ่านจงเปิดดูลิ้งค์ของพระอรหันตธาตุที่อยู่ข้างล่างนี้ขึ้นมาศึกษาประกอบให้หมด

     http://www.relicsofbuddha.com/page9-1.htm

     http://www.relicsofbuddha.com/page8-2.htm

     http://www.kaolud.com/publicize/pratart/pratart.html

     http://pantip.com/topic/31086344

   https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8&biw=1280&bih=887&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwjk6e63ppLNAhUILY8KHRSrB20QsAQILw

   

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 140,125