2.การสร้างและซ่อมคอมพิวเตอร์

      การสร้างและซ่อมคอมพิวเตอร์

           การสร้างคอมพิวเตอร์

   คู่มือการใช้งาน เป็นเอกสารที่ผู้ผลิตแนบมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ เช่น คู่มือ เมนบอร์ด และ คู่มือซีพียู โดยก่อนลงมือประกอบเครื่องทุกครั้ง ควรอ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำต่างๆ ในคู่มือให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งภายในคู่มือนอกจากจะอธิบายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รุ่นนั้น แล้ว ยังระบุถึงวิธีการตั้งค่า การติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกวิธีข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่างๆ
  ขั้นตอนการประกอบเครื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 11 ขั้นตอนด้วยกัน คือ:-
       1.เตรียมเคสคอมพิวเตอร์
       2.ติดตั้งซีพียู
       3.ติดตั้งแผงหน่วยความจำ
       4.ติดตั้งเมนบอร์ดลงในเคส
       5.เชื่อมต่อปลั๊กและสวิตช์ต่างๆ
       6.ติดตั้งฮาร์ดดิสก์
       7.ติดตั้งเครื่องขับดีวีดี
       8.ติดตั้งเครื่องอ่านการ์ดหน่วยความจำ (ถ้ามี)
       9.ติดตั้งอะแดปเตอร์การ์ด (ถ้ามี)
       10.ปิดฝาเคส
       11.ทดสอบการใช้งาน
   เนื่องจากการประกอบเครื่องเป็นการดำเนินกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ในระหว่างการดำเนินงานควรเรียนรู้ การป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในระหว่างการประกอบเครื่องได้แก่
  1.ไฟฟ้าสถิต อาจส่งผลการเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบเครื่อง การได้นำอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุดสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตหรือถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิตมาใช้ ถือเป็นการป้องกันที่ดี
  2.ในการประกอบเครื่องและการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีความแข็ง มีน้ำหนัก และมีความคม ดังนั้น ในระหว่างการติดตั้ง ต้องระมัดระวังในเรื่องการครูด หรือการกระแทกบนอุปกรณ์บนเมนบอร์ดอย่างแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อลาย
วงจรเมนบอร์ดได้
  3.การยึดแผงเมนบอร์ดเข้ากับตัวถังเครื่อง ควรขันสกรูให้พอรู้สึกตึงมือ ไม่ควรขันแน่นจนเกินไป
  4.สายสัญญาณ สายไฟ และขั้วต่อปลั๊กไฟต่างๆ ภายในเคส จะต้องถูกรวบและรัดให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการเข้าไปขัดกับใบพัดของพัดลม และบดบังทิศทางการระบายอากาศ
  5. ระวังอย่าให้มีเศษวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า หล่นอยู่บนเมนบอร์ดในขณะประกอบเครื่อง

    จงคลิกลิ้งค์ข้างล่างเหล่านี้ขึ้นมาศึกษาประกอบ

 http://ns1.krp.ac.th/m51/n24/index.php/2014-09-22-03-31-36

 https://parinda24080.wordpress.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8

 http://pueng1233.blogspot.com/2016/12/3.html

 http://thanakronae.blogspot.com/2016/12/2.html

 

                       เมนบอร์ดของDell

   

     https://www.kaidee.com/product-4844566-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94-Dell-490-Motherboard-Dell-Precision-490

    https://th.aliexpress.com/item/7N90W-Desktop-motherboard-mainboard-For-DELL-V230-230-system-board-MIG41R-CN-07N90W-100-tested/32830292370.html

                 สอนการเลือกซื้อเมนบอร์ด

    

   https://www.youtube.com/watch?v=DFy0Rr7lEn4

   https://www.youtube.com/watch?v=CLe7oeHFyHY

           สอนการประกอบคอมพิวเตอร์

     

              

   https://www.youtube.com/watch?v=B4_O5hT1yRs

   https://www.youtube.com/watch?v=O1zuk7bI4nQ

   https://www.youtube.com/watch?v=ESfeyGDMXZ0

   https://www.youtube.com/watch?v=e-tIRM87mKE

   http://www.it4x.com/forum/index.php?topic=7108.0

   https://pantip.com/topic/30811778

   https://pantip.com/topic/36159228

   https://notebookspec.com/topics/pc-spec/

           การซ่อมคอมพิวเตอร์

   

   https://www.youtube.com/watch?v=jXyFkQXXYqg

   https://www.youtube.com/watch?v=3fj9aPelNP4

   https://www.youtube.com/watch?v=8SAEMxnNQc8

   https://www.youtube.com/results?search_query=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3+%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1...%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89+%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+1+

   http://mrcomp.lnwshop.com/

 

           ส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์

   1.Processor  or  CPU    คือหน่วยประมวลผลกลาง

         

   2.Memory     คือหน่วยความจำหลัก       

     3.Input/output      คืออุปกรณ์เครื่องรับรู้และสัมผัสขงคอมพิวเตอร์

      

         

          

    3.Storage      คือหน่วยจัดเก็บข้อมูล

          

    4.Desktop      คือจอภาพของคอมพิวเตอร์

          

    5.Case     คือกล่องเก็บโครงสร้างที่เป็นเครื่องอุปกรณ์ทั้งหมด

          

    6.Power Supply     คือสถานที่จ่ายกระแสไฟฟ้าแก่แผงวงจร

          

    7.Harddisk     คือหน่วยความจำสำรอง

          

    8.Mainbord     คือแผงวงจรไฟฟ้าคอมพิวเตอร์

          

    9.CD  Drive

    

      
   ไดรฟ์ซีดีภายนอก USB 3.0, ไดรฟ์ CD / DVD-RW, CD-RW Rewriter Burner Superdrive สำหรับการ
ถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูงสำหรับแล็ปท็อปโน้ตบุ๊คพีซีเดสก์ท็อปรองรับ Windows / Vista / 7 / 8.1 / 10 โดย
Joyphy (สีดำ)

    10.CD Rom

             

          เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์  ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW   โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk

  การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต"
ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น

     https://sites.google.com/site/non537/home/swn-prakxb-khxng-khxmphiwtexr

    https://sites.google.com/site/rabbkhxmphiwtexrcomputresystem/khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-khxmphiwtexr/swn-prakxb-hlak-khxng-khxmphiwtexr-1

     

        
       ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์          

    ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 5 ส่วน คือ:-

      1.ฮาร์ดแวร์

      2.ซอฟต์แวร์

      3.ข้อมูล

      4.ผู้ใช้

      5.กระบวนการ

    ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับองค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่นำเสนอในบทที่ 1 เรื่องระบบสารสนเทศ ทั้งนี้เนื่องจากระบบสารสนเทศในปัจจุบันมีการนำคอมพิว เตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อจัดการกับข้อมูลเป็นหลักนั่นเองฮาร์ดแวร์ (Hardware)
    ฮาร์ดแวร์ คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ด้วย ฮาร์ดแวร์มีหลายประเภท ทำหน้าที่แตกต่างกันตามระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในหน่วยการเรียนรู้นี้ จะนำเสนอตัวอย่างของฮาร์ดแวร์ที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน
   แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) ทำหน้าที่รับข้อมูลตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ด้วยการกดที่แป้นพิมพ์ ภายในจะมีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแปลงตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ที่กดลงไปเป็นรหัสหรือข้อมูลดิจิทัล มีตำแหน่งของแป้นพิมพ์เรียงกันเหมือนเครื่องพิมพ์ดีด
    เมาส์ (Mouse) เป็นฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่รับข้อมูล ด้วยการควบคุมตัวชี้ตำแหน่งหรือเคอร์เซอร์ (Curser) บนจอภาพ โดยจะรับข้อมูลผ่านคำสั่งคลิก ดับเบิลคลิก คลิกขวา และแดรก (Drag)
    สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่ได้จากการแปลงค่าแสงที่ตกกระทบวัตถุให้เป็นสัญญาณดิจิทัลที่แสดงผลออกมาในรูปแบบของไฟล์รูปภาพภายในคอมพิวเตอร์
    กล้องวีดีโอ (Video Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทภาพเครื่องไหว ซึ่งจะบันทึกข้อมูลลงในหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง มีน้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถดูไฟล์ภาพเคลื่อนไหวได้จากจอภาพที่ตัวกล้อง
    การ์ดเครือข่าย (Network Card) หรือ การ์ดแลน (LAN Card) ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับฮาร์ดแวร์อื่นๆ หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันในระบบเครือข่าย
    เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งแผงวงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน เช่น ซีพียู แรม การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง
     ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นฮาร์ดแวร์สำหรับบันทึกข้อมูลหลักที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าสื่อบันทึกอื่นๆ มีหลักการทำงานเหมือนกับแผ่นดิสก์เกตต์ คือ การอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็ก
     เครื่องอ่านซีดี/ดีวีดี (CD/DVD Drive) ใช้สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยซีดีหรือดีวีดี มีหลักการทำงานด้วยการบันทึกข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก
     จอภาพ (Monitor) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แสดงผล เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ จอภาพวีจีเอ แบบพลาสมา แลจอภาพแบบสัมผัส
     ลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียง
     เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยแสดงผล ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูลในรูปแบบสิ่งพิมพ์
      ยูเอสบีแฟรสไดรฟ์ (USB Flash Drive) ทำหน้าที่จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกข้อมูลสำรองที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน เนื่องจากมีรูปแบบที่สวยงาม น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
      เคส (Case) เป็นกล่องเหล็กหรือพลาสติกแข็ง ใช้สำหรับติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด เครื่องจ่ายไฟ เครื่องอ่านเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดี การ์ด เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ (Software)
      ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้

    ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ:-

      ๑.ซอฟต์แวร์ระบบ

      ๒.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
         -ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการทางด้านอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การดูแล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น  เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ เป็นต้น
     ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานเพียงงานเดียวในเวลาหนึ่ง เช่น ซีพีเอ็ม เอ็มเอสดอส พีซีดอส แอปเปิ้ลดอส และระบบปฏิบัติการที่ทำงานพร้อม ๆ กันหลายๆ งานในเวลาเดียวกันเรียกว่าระบบหลายภารกิจ (multitasking system) เช่น โอเอสทู วินโดวส์ 95
         1.1 ซีพีเอ็ม (Control Program/Microcomputer : CP/M)
    ซีพีเอ็ม (Control Program/Microcomputer : CP/M) จัดเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรก ๆที่นำมาใช้งานกับเครื่องไมโคร  คอมพิวเตอร์ขนาด 8 บิต ซึ่งปัจจุบันนี้ล้ำสมัยแล้ว หลังจากเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ได้ขยายมาเป็นเครื่องขนาด 16 บิต ก็ได้มีการเขียนระบบ ปฏิบัติการขึ้นใหม่ คือ เอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System : MS-DOS) พีซีดอส (Personal Computer Disk Operating  System : PC-DOS) ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสนี้ได้รับความนิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับพีซี
          1.2 เอ็มเอสดอส
     เอ็มเอสดอส มีรากฐานมาจากระบบปฏิบัติการซีพีเอ็ม โดยการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานกับไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลอินเทล ขนาด 16 บิต เบอร์ 8088 ขึ้นใหม่ที่ยังคงรูปแบบลักษณะคำสั่งคล้ายของเดิม เมื่อมีการปรับปรุงเพิ่มขยายในเวลาต่อมาเป็นรุ่น 2.0 จึงได้มีการพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นอีกมากมาย โดยในรุ่น 2.0 นี้จะมีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายคลึงกับคำสั่งในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยเฉพาะด้านการจัดการข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่จัดเป็นโครงสร้างต้นไม้ของการ แบ่งระบบแฟ้มเป็นระบบย่อย
         1.3 ระบบปฎิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ 95
     ระบบปฏิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ 95 ถือเป็นระบบ ปฏิบัติการที่ออกแบบและสร้างมาใช้กับเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ ตระกูลพีเอสทูของบริษัทไอบีเอ็มจำกัดเป็นระบบปฏิบัติการที่นำมาชดเชยขีดจากัดของเอ็มเอสดอสเดิม ด้วยการเพิ่มลักษณะพิเศษของการทำงานหลายงานพร้อมกัน เทคนิคการเรียกใช้คำสั่งเป็นเมนูและสัญรูป (icon)
        1.4 ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์
     ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาและออกแบบสำหรับงานด้านวิชาการและประยุกต์ใช้ทางด้านวิทยาศาสตร์ บนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ แต่ในภายหลังก็ได้ปรับปรุงไปใช้บนเครื่องเกือบทุกระดับ รวมถึงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบใหญ่และซับซ้อนสามารถให้ผู้ใช้หลายรายทำงานหลายงานพร้อมกัน อย่างไรก็ตามจะมีขีดจำกัดที่หน่วยความจำของระบบ

     -ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลังซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น การทำงานใด ๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำเป็นต้องทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังแบ่งแยกออกเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะและซอฟต์แวร์สำเร็จ
     1. ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนตามความต้องการของผู้ใช้หรือเฉพาะงานใดงานหนึ่ง ผู้เขียนต้องเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับงานจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ซอฟต์แวร์งานธนาคาร
     2. ซอฟต์แวร์สำเร็จ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไปผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงานซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลผู้ใช้
     ผู้ใช้ คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้งาน โต้ตอบ ควบคุม และดูแลคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ที่ดีควรมีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ผู้ใช้สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ 5 ประเภท คือ ผู้ใช้งานตามบ้าน ผู้ใช้งานตามสานักงานขนาดเล็กผู้ใช้งานที่ต้องการความคล่องตัว ผู้ใช้งานตามสำนักงานใหญ่ และผู้ใช้งานสมรรถนะสูง

          ข้อมูล
    ข้อมูลในที่นี้จะมีความหมายรวมถึงข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล และสาร สนเทศที่เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เมื่อนำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลหรือสัญญาณดิจิทัล โดยมีชนิดของข้อมูล รูปแบบของแฟ้มข้อมูล และประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนี้
    ชนิดของข้อมูล ข้อมูลจะถูกเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ ได้แก่ บิต ตัวอักษร เขตข้อมูลหรือฟิลด์ ระเบียนข้อมูล แฟ้มข้อมูล และฐานข้อมูล ข้อมูลแต่ละบิตจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเองซึ่งสามารถแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะได้ดังนี้
      1. เลขจำนวนเต็ม (Integer)
      2. ค่าตรรกะ (Boolean or Logical)
      3. ตัวอักษร (Character)
      4. สายอักขระ (String)
      5. เลขจำนวนจริง (Floating-Point Number)
      6. วันและเวลา (Date/Time)
      7. ไบนารี (Binary)
           กระบวนการ
    ขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของผู้ใช้กระบวนการทำงานที่ดีจะต้องเกิดจากผู้ใช้มีความรู้ ความสามารถในการใช้งาน ข้อมูลมีความถูกต้องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

                  แผงวงจรหลัก

    แผงวงจรหลัก (Mainboard) เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิต PCB (Print Circuit Board) ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่าง ๆ รวมทั้ง ซีพียู, หน่วยความจำหรือ RAM และแคช (Cache) ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรม
   อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัว ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกัน นอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่
เรียกว่า สล็อต (Slot) ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบัน ยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุม Hard disk, Serial Port, Printer Port), Port PS/2, USB รวมทั้ง ตัวควบคุม Keyboard โดย Mainboard ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ
หลักๆคือ
    Chipset โดยปกติแล้วนั้น Chipset จะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ เช่น Port USB,Port Printer ร่วมไปถึง Port ต่างๆ โดยจะเป็นตัวกลางระหว่าง ข้อมูล และการประมวลผล โดยจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
    North Bridge เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะทำหน้าที่ควบคุบอุปกรณ์หลักอย่าง CPU RAM และ Slot PCI Express x61 การเลือก Chipset North Bridge ต้องตรวจสอบให้ตรงกับการทำงานของ CPU เพราะบางครั้งผู้ผลิต CPU เปิดตัว CPU รุ่นใหม่ๆที่ไม่สามารถใช้กับ Chipset และ Mainboard รุ่มเดิมได้
    South Bridge เป็นส่วนที่ควบคุมอุปกรณ์ต่อพ่วงและ Slot ต่างๆ ส่วนมากจะใช้กับ Chipset North Bridge ของ CPU จาก Intel เพราะโครงสร้างของ Chipset North Bridge lสำหรับ CPU ของ AMD นิยมทำแบบ Single Chip คือเป็น Chipset ตัวเดียวโดยไม่ต้องมี Chipset South Bridge อีกต่อไป
    BIOS BIOS (Basic Input Output System) มีลักษณะเป็นโปรแกรม ขนาดเล็กที่อยู่ในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบการทำงานของเครื่องที่ทำงานอยู่ในระดับต่ำกว่าระบบปฏิบัติการโดยบรรจุอยู่ในชิป ROM โดยจะมีฟังก์ชันควบคุมการทำงานต่างๆที่จำเป็นต่อการบู๊ตระบบ ถ้าไบออสเสียหายเครื่องจะบู๊ตไม่ได้
    Cache หรือหน่วยความจำแคช (Cache) เป็นหน่วยความจำแรมแบบ Static (SRAM) ซึ่งอ่าน/เขียนข้อมูล ได้รวดเร็วกว่าแรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบบ Dynamic RAM (DRAM) หน้าที่ของ Cache คือเก็บคำสั่งและข้อมูลที่ใช้งานบ่อยๆเพื่อส่งให้ CPU ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแบ่ง Cache ได้ 3 ระดับคือแคชระดับที่ 1 (L1 Cache) เป็นแคชขนาดเล็ก 32-128 KB อยู่้ใกล้กับซีพียูที่สุด
    แคชระดัีบที่ 2 (L2 Cache) จะมีขนาดใหญ่ 512 KB-4 MB เน้นเก็บข้อมูลที่ดึงมาจากแรมของตัวเครื่อง แคชประเภทนี้จะแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือแบบ Inclusive คือจะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งของแคชเสียไปเพื่อเก็บแคช L1 แบบที่ 2 คือแบบ Exclusive คือ แคช L2 จะไม่ถึงกันพื้นที่ให้ L1 จึงได้พื้นที่แคช L2 ใช้งานเต็มพื้นที่แคชระดับที่ 3 (L3 Cache) สำหรับคั่นกลางระหว่างแคช L2 กับแรมของเครื่องโดยแคช L3 จะมีขนาดใหญ่ 2-8 MB นิยมออกแบบให้ติดอยู่กับบัสของซีพียู(CPU) เพื่อใช้เก็บข้อมูลจากแรม(RAM)ของเครื่องคอม พิวเตอร์ และช่วยให้ซีพียู(CPU)นำแคช L2 ไปเก็บข้อมูลส่วนอื่นได้มากขึ้น

        

 

 

        

 

   

 

 

   

   

 

 

 

 

 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 142,870