34.หลักการฝึกพูด
หลักการฝึกพูด
คำพูด
คำพูดของคนเรามีหลากหลายประเภท บางคำพูดเมื่อผู้ฟังได้ฟัง ผู้ฟังก็เกิดความรู้สึก ไม่ชอบใจ โกรธเคือง เสียใจ น้อยใจ หมั่นไส้ แต่ บางคำพูดเมื่อพูดออกไปแล้วผู้ฟังเกิด มีกำลังใจ ดีใจ อยากที่จะฟัง รู้สึกชอบคนพูด ในบทความนี้กระผมขอแจกแจง
คำพูดออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
เริ่มจากคำพูดประเภทที่ควรหลีกเลี่ยง
- คำพูดเหน็บแนม เป็นคำพูดที่มีลักษณะเสียดสี กระทบกระแทก แดกดัน กระแนะกระแหน เช่น เธอไม่จำเป็นจะต้องมาทำงานก็ได้ เพราะเจ้านายชอบเธอ เธอมาไม่มา เธอก็ได้เงินเดือนขึ้นและได้เลื่อนขั้นอยู่ดีแหละ เป็นต้น
- คำพูดขวานผ่าซาก พูดโผงผาง เป็นคำพูด ที่มีลักษณะใช้น้ำเสียงค่อนข้างดังและน้ำเสียงสูง เป็นการพูดแบบตรงไปตรงมา แต่จะออกไปในด้านลบ เมื่อผู้ฟังได้ฟังมักไม่ชอบใจ เนื่องจาก คนเราส่วนใหญ่มักอยากที่จะฟังเรื่องดีๆของตนเอง มากกว่าที่จะอยากฟังเรื่องลบๆของตนเอง คนบางคนพูดจา โผงผาง เสียงดัง ก็ยิ่งทำให้ผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา เข้าใจผิดคิดว่า ทะเลาะกัน
- คำพูดโอ้อวด เป็นคำพูดที่มักจะทำให้คนฟังเกิดอาการหมั่นไส้ เพราะจิตใจของคนเราโดยส่วนใหญ่แล้วลึกๆ ไม่ชอบให้ใครอยู่เหนือตนหรือมีความอิจฉาขึ้นภายในใจ คำพูดโอ้อวด มีดังนี้ อวดรวย อวดเก่ง อวดฉลาด ฯลฯ
-คำพูดนินทา เป็นคำพูดที่พูดลับหลับ บุคคลที่ 3 ในทางที่ไม่ดี โดยมีลักษณะให้ร้าย ป้ายสี ซึ่งอาจเป็นเรื่องจริงบ้าง ไม่เป็นความจริงบ้าง แต่ผู้พูดมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อบุคคลที่ 3 คำพูดประเภทนี้ ควรระวังให้มาก เพราะไม่มีความลับใดๆในโลกนี้ หากสักวันหนึ่งเรื่องที่ตนเองพูดไปเข้าหูบุคคลที่ 3 ก็จะเกิดความขัดแย้งและขุ่นใจกันได้
-คำพูดเท็จหรือคำพูดโกหก เป็นคำพูดที่หลอกหลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อตนเอง หรือให้เข้าใจผิดเพื่อเอาตัวรอด เพื่อเอาผลประโยชน์ต่างๆจากผู้ฟัง การที่ผู้พูดพูดเท็จหรือพูดโกหกบ่อยๆ ก็จะทำให้คนขาดความเชื่อถือ คำพูดขาดน้ำหนัก ซึ่งจะเป็นผลร้ายกับเราในระยะยาว ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐ เคยกล่าวเกี่ยวกับเรื่องการใช้คำพูดที่เท็จหรือโกหก ว่า “ เราอาจจะโกหกคนบางคนได้ตลอดเวลา เราอาจจะโกหกคนทุกคน ได้บางเวลา แต่เราจะโกหกคนทุกคน ตลอดเวลาไม่ได้ ”
-คำพูดหยาบหรือคำพูดที่ไม่สุภาพ เป็นคำพูดที่ผู้พูดมักมีฐานจิตหรือการได้รับการอบรมหรือมีสภาพแวดล้อม ที่ไม่ค่อยดี โดย
ที่บุคคลในสังคมนั้น พูดจาไม่สุภาพจนเคยชิน เช่น ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ควาย พ่อมึงหรือ ฯลฯ
สำหรับคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยงนี้ เราสามารถฝึกฝน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้ เพราะคำพูดเหล่านี้ เป็นคำพูดที่ผู้ฟัง ฟังแล้ว เกิด
ความรู้สึก ไม่ชอบ ไม่พอใจ โกรธ เกลียด ทำลายขวัญกำลังใจ ของผู้ฟัง เพราะธรรมชาติของคนส่วนใหญ่แล้ว มักชอบฟังคำพูดที่
สุภาพ อ่อนหวาน พูดความจริง พูดถ่อมตน ฯลฯ ซึ่งเป็นคำพูดประเภท ที่กระผมกำลังจะนำเสนอต่อไปนี้
ลักษณะการพูดที่ดี
ลักษณะการพูดที่ดีมักประกอบด้วย
๑. มีความมุ่งหมายดี ทั้งความมุ่งหมายทั่วไปและความมุ่งหมายเฉพาะ
๒. มีความเหมาะสม กับกาลสมัย เวลาที่กำหนดให้ สถานที่ โอกาส และบุคคล
๓. ใช้ถ้อยคำดี คือ พูดด้วยถ้อยคำที่เป็นจริง มีประโยชน์ และเป็นที่พอใจแก่ผู้ฟัง
๔. มีบุคลิกลักษณะดี คือต้องใช้น้ำเสียง ภาษา สายตา ท่าทาง และกิริยาอาการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามธรรมชาติ สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่องที่พูด สาระหรือเนื้อเรื่องที่จะพูด การเตรียมเนื้อหาจะต้องมีโครงเรื่อง ได้แก่ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุปจบ
เพื่อให้การพูดดำเนินไปโดยสม่ำเสมอตลอดเรื่อง
คำนำ เป็นตอนสำคัญที่จะเรียกร้องให้ผู้ฟังสนใจและตั้งใจฟัง คำนำจึงต้องใช้ภาษาและสำนวนที่กระทัดรัดได้ใจความดี โดยอาจขึ้นต้นได้หลายแบบ ได้แก่
๑.กล่าวถึงความสำคัญของเรื่อง
๒.นำด้วยตัวอย่างหรือนิทาน
๓.นำด้วยข้อความที่เร้าใจ
๔.นำด้วยคำถามที่เร้าใจ
๕.นำด้วยการยกย่องผู้ฟัง
๖.นำด้วยคำพังเพย สุภาษิต คำขวัญ คำประพันธ์ หรือคำคม
เนื้อเรื่อง จะต้องเตรียมให้
๑.สอดคล้องกับคำนำ
๒.เป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามโครงเรื่อง
๓.เวลาพูดต้องแสดงสีหน้า ท่าทางให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่อง เพื่อให้เกิดความสนใจ แต่ไม่มากจนกลายเป็นเล่นละคร
สรุปจบ อาจทำได้หลายวิธี คือ
๑.ย้ำจุดสำคัญ
๒.จำแนกหัวข้อสำคัญ
๓.ทบทวนความรู้ทั่วไป
๔.สรุปด้วยการสรรเสริญสดุดี
หลักทั่วไปในการพูด
๑.เตรียมตัวให้พร้อม
๒.ซักซ้อมให้ดี
๓.ท่าทีให้สง่า
๔.วาจาสุขุม
๕.ทักที่ประชุมให้โน้มน้าว
๖.เรื่องราวให้กระชับ
๗.ตาจ้องจับผู้ฟัง
๘.เสียงดังแต่พอดี
๙.อย่าให้มีเอ้ออ้า
๑๐.ดูเวลาให้พอครบ
๑๑.สรุปจบให้จับใจ
๑๒.ยิ้มแย้มแจ่มใสเมื่ออำลา
ลักษณะการพูดของสัตบุรุษ
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เป็นที่รู้กันว่า เป็นสัตบุรุษ. ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?
๔ ประการ คือ :-
(๑) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สัตบุรุษในกรณีนี้ แม้มีใครถาม
ถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถาม
ถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยว
ลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.
(๒) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ
แม้ไม่ถูกใครถามอยู่ ถึงความดีของบุคคลอื่น ก็ยังนำมา
เปิดเผยให้ปรากฏ จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม;
ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหา
ไปทำให้ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน กล่าวความดีของผู้อื่น
โดยพิสดารบริบูรณ์.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้เป็น สัตบุรุษ.
(๓) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ
แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ยังนำเปิดเผย
ทำให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อถูกถามเล่า;
ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ไม่นำเอาปัญหา
ไปหาทางทำให้ลดหย่อนบิดพลิ้ว แต่กล่าวความไม่ดี
ของตนโดยพิสดารเต็มที่.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.
(๔) ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ
แม้มีใครถามถึงความดีของตน ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ
ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถาม
ถึงความดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปกระทำให้ลดหย่อน
หลีกเลี้ยวเสีย กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดารเต็มที่.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เหล่านี้แล เป็นที่รู้กันว่า เป็นสัตบุรุษ.
ความรู้พื้นฐานในการพูด
เพื่อให้การพูดประสบความสาเร็จ ผู้พูดควรมีความรู้พื้นฐานในการพูด ดังต่อไปนี้
ประเภทของการพูด
ประเภทของการพูดแบ่งตามลักษณะการพูดได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. การพูดอย่างไม่เป็นทางการ คือ การพูดในชีวิตประจำวัน เช่น การสนทนา การพูดโทรศัพท์ การแนะนำตัว การซัก
ถาม การตอบคำถาม เป็นต้น ผู้พูดต้องฝึกฝนให้เป็นผู้ที่พูดได้ถูกต้อง น่าฟัง และเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
2. การพูดอย่างเป็นทางการ หมายถึง การพูดอย่างเป็นพิธีการในที่ประชุม หรือ การพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่าง ๆ
และเพื่อจุดหมายต่าง ๆ ต้องอาศัยความรู้ความสามารถและมีศิลปะในการพูด การพูดอย่างเป็นทางการ เช่น การปาฐกถา การ
อภิปราย บรรยาย การกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น
รูปแบบของการพูด
การพูดมีหลายแบบ เพื่อให้ประสบความสาเร็จในการพูด ผู้พูดควรเลือกแบบการพูดให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการ
พูดแต่ละครั้ง แบบของการพูดมีดังนี้
1. การพูดบอกเล่าหรือบรรยาย หมายถึง การพูดที่มุ่งให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ฟัง เช่น การพูดอบรม ปฐมนิเทศ ชี้แจง
ระเบียบ ข้อบังคับ สรุป รายงาน การสอน การเล่าเรื่อง เล่าประสบการณ์ การแนะนำวิทยากร การพูดตามมารยาทสังคมในโอกาส
ต่าง ๆ เช่น การกล่าวต้อนรับ แสดงความยินดี อวยพร เป็นต้น
2. การพูดจูงใจหรือโน้มน้าวใจ หมายถึง การพูดที่มุ่งให้ความรู้ ความคิด ปลุกเร้า ให้ผู้ฟังคิดตาม เชื่อถือ คล้อยตาม และ
ปฏิบัติตาม วิธีการพูดต้องสอดใส่อารมณ์ กิริยาท่าทาง ความรู้สึกที่จริงใจ ลงไป เช่น การพูดจูงใจให้คนไปลงคะแนนเสียงเลือก
ตั้ง การโน้มน้าวชักชวนให้คนประท้วงหรือเดินขบวน โน้มน้าวให้คนบริจาคเงิน บริจาคโลหิต จูงใจให้ซื้อสินค้า เป็นต้น
3. การพูดจรรโลงใจหรือการพูดเพื่อความบันเทิง หมายถึง การพูดที่มุ่งให้ความสนุกสนาน รื่นเริง ขณะเดียวกันก็ได้
สาระ หรือได้แง่คิดบางประการด้วย เช่น การเล่านิทาน การเล่าเรื่องตลก ขำขัน ปัจจุบันมีการพูดแบบนี้ในที่สาธารณะและมีผู้สน
ใจฟังเป็นจำนวนมาก
ในการปฏิบัติ แม้ว่าผู้พูดจะเน้นหนักไปในการพูดแบบใดแบบหนึ่งแต่ก็สามารถนำการพูดทั้ง 3 แบบ มาปรับใช้ให้สอด
คล้องกับสถานการณ์ และเนื้อหา เพื่อให้การพูดครั้งนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ
วิธีการพูด
วิธีการพูด จำแนกได้ดังนี้
1. พูดแบบฉับพลัน หรือพูดแบบกะทันหัน คือ การพูดที่ผู้พูดไม่มีโอกาส หรือไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า ประสบการณ์ ความรู้ ความคิด และปฏิภาณ ไหวพริบ จะช่วยให้ผู้พูด พูดได้ดีในชีวิตประจำวันเราอาจต้องพูดแบบนี้เสมอ ๆ เช่น ในการโต้ ตอบสนทนา การให้สัมภาษณ์ เป็นต้น
2. พูดแบบอ่านจากร่างหรือต้นฉบับ วิธีนี้นิยมใช้แบบเป็นทางการ เช่น การกล่าวรายงาน แถลงการณ์ กล่าวเปิด กล่าวปิดงาน กล่าวตอบในพิธีการต่างๆ การกล่าวถวายรายงานเฉพาะพระพักตร์เป็นต้น
3. การพูดแบบท่องจำ บางครั้งเราจำเป็นต้องจำข้อความบางอย่างไปใช้อ้างหรือใช้พูด เช่น โคลง กลอน บทกวีต่าง ๆ คำคม ภาษิต ตัวเลข สถิติ เราสามารถนาสิ่งเหล่านี้ไปประกอบการพูดได้ตามความเหมาะสม
4. พูดจากความเข้าใจโดยมีการเตรียมตัวล่วงหน้า การพูดจากความเข้าใจ คือการพูดจากความรู้ ความสามารถ ความรู้สึกของผู้พูด และจะพูดได้ดียิ่งขึ้นถ้าได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้า ผู้ที่คิดว่ายังมีความรู้ความสามารถน้อยก็จะสามารถพูดได้ดีถ้าได้
มีโอกาสเตรียมตัวและฝึกฝน
องค์ประกอบของการพูด
การพูดคือ พฤติกรรมในการสื่อสาร องค์ประกอบของการพูดจะเป็นไปในทำนองเดียวกับองค์ประกอบของการสื่อสารนั่นคือมีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญคือ
1. ผู้พูด คือ ผู้ส่งสาร (sender)
2. เรื่องที่พูด คือ สาร หรือเนื้อหาสาระ (message)
3. ภาษา คือสื่อ(media) หรือเครื่องมือที่ถ่ายทอดสาร ทั้งภาษาที่ใช้ถ้อยคำ (วัจนภาษา) และภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ (อวัจนภาษา) และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ประกอบการพูด เช่น ไมโครโฟนคอมพิวเตอร์ สื่อ power point แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ
4. ผู้ฟัง คือ ผู้รับสาร (receiver) นอกจากนั้นองค์ประกอบของการพูดยังหมายรวมถึงผล (effect) ที่เกิดจากการพูด เช่น ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกปฏิกิริยา ตอบสนอง (feedback) ที่ผู้ฟังแสดงออก เช่น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ชื่นชม ดีใจ เสียใจ และสถานการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ในการพูด เช่น สถานที่ เวลา และโอกาสอีกด้วย
อวัจนภาษาในการพูด
การพูดที่ดีนอกจากวัจนภาษา (verbal language) คือถ้อยคำภาษาที่สื่อสารเนื้อหาสาระต่างๆ แล้วสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้การพูดประสบความสาเร็จ ก็คืออวัจนภาษา (non-verbal language) ซึ่งจะช่วยสื่อความหมายช่วยให้การพูดเป็นธรรมชาติ ช่วยเน้นให้มีน้าหนัก และช่วยให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นศรัทธาในตัวผู้พูด อวัจนภาษาที่สำคัญในการพูดมีดังนี้
1. การเดิน ควรเดินอย่างกระฉับกระเฉงมั่นใจ มีชีวิตชีวาไม่เนิบเนือยแต่ไม่ เร่งรีบลุกลน ท่าเดินที่ควรหลีกเลี่ยงคือการเดินวางก้ามแบบนักเลงโต เดินตัวลีบกระมิดกระ เมี้ยน ประหม่าอาย หลุกหลิก แกว่งแขนมากเกินไป นวยนาดแบบนางละคร เดินหลังงอ เล่นหรือตามสบายเกินไป
1.1 การเดินไปสู่ที่พูด ควรเดินช้า ๆ มั่นใจ เมื่อถึงที่พูด ควรหยุดเล็กน้อย กวาดสายตาไปทั่ว ๆ ผู้ฟัง ยิ้มแย้มแจ่มใส แล้วจึงเริ่มปฏิสันถารหรือทักทายผู้ฟัง
1.2 การเดินระหว่างพูด ทำได้บ้าง ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่พูด เช่น ก้าวไปข้างหน้า หมายถึงย้ำเน้น ชี้จุดสำคัญ ถอยหลัง หมายถึง ชะงัก ลังเล หรือคิดทบทวน ก้าวไปข้าง ๆ แสดงการเปรียบเทียบ การเดินระหว่างพูดช่วยดึงดูดความสนใจของผู้พูด แก้ความจำเจ แต่ถ้าเดินมากเกินไปผู้ฟังจะมึนงง และไม่ควรหันหลังให้ผู้ฟังขณะเดินกลับจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
1.3 การเดินกลับ ควรเดินอย่างช้า ๆ และมั่นใจเช่นเดียวกัน
2. การยืนและการนั่ง การยืนและการนั่ง จะต้องมีการทรงตัวที่สง่างาม ผึ่งผาย ช่วยให้ผู้ฟังศรัทธา การทรงตัวที่ดี ลำตัวจะต้องตั้งตรง หลังตรง ไหล่ตรง เก็บพุง ดูสบาย และเป็นธรรมชาติ
2.1 การยืน ควรยืนสบาย ๆ วางเท้าให้เหมาะสม ไม่ห่างเกินไป หรือชิดเกินไป ส้นเท้าชิด หรือห่างเล็กน้อย ปลายเท้าห่างพอสมควร น้ำหนักลงที่ก้อนเนื้อกลมถัดจากหัวแม่เท้า ไม่ยืนเขย่งหรือน้ำหนักลงที่ส้นเท้า ท่ายืนที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ท่าตรงแบบทหาร เพราะไม่เป็นธรรมชาติ ท่าพักขา หรือหย่อนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะดูลำลอง สบาย ๆ เกินไป ท่าทิ้งสะโพกไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือสลับกัน เพราะเสียการทรงตัวและดูตลก ท่านางแบบ ท่าไหล่ทรุด คอเอียง หลุกหลิก โยกหน้า-หลัง พิงโต๊ะ-เก้าอี้ หรือแท่นพูด ฯลฯ
2.2 การนั่ง นั่งในท่าสง่างาม หลังตรง วางเท้าให้เหมาะสม สุภาพสตรีควรเอียงขาไปข้างใดข้างหนึ่งหรือไขว้ปลายเท้า ไม่นั่งไขว่ห้าง นั่งให้เต็มสะโพก เท้ายันพื้น
3. การใช้กิริยาท่าทาง กิริยาท่าทางที่สัมพันธ์กับการพูดมีดังนี้
3.1 การเคลื่อนไหวศีรษะและลำคอ สื่อความหมายบางประการดังนี้ ศีรษะตั้งตรง หมายถึง กล้าหาญ มั่นคง มั่นใจภูมิใจ มีอำนาจ ผงกศีรษะ หมายถึง ยอมรับ เห็นด้วย โน้มศีรษะไปข้างหน้า หมายถึง เคารพ ขอร้อง ขอความเห็นใจ ผงะศีรษะ ไปข้างหลัง หมายถึง ตกใจ สะดุ้ง สั่นศีรษะ หมายถึง ปฏิเสธ ไม่เห็นด้วย ไม่ยอมรับ ก้มศีรษะ หมายถึง ขวยอาย สงบ ปลง สุภาพ เอียงศีรษะ หมายถึง คิด สงสัย ไม่แน่ใจ เป็นต้น
3.2 การแสดงสีหน้า การแสดงสีหน้าจะสอดคล้องกับน้ำเสียง ท่าทาง และดวงตา เช่น ยิ้ม เศร้า ตกใจ ร่าเริง สงสัย เสียใจ สีหน้าโดยทั่วไป ควรยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตรกับผู้ฟัง
3.3 การใช้ท่ามือ ช่วยเน้นย้ำหรือขยายความเข้าใจ ท่ามือมีหลายแบบ เช่น หงายมือแล้วค่อย ๆ เคลื่อนไปสู่ผู้ฟัง เป็นการแสดงความรู้สึกเป็นมิตร ยกย่อง หรือเชื้อเชิญ แบมือทั้งสองข้าง หมายถึง สูญเสีย หมดหวัง ยกมือตั้งสั่น หมายถึงปฏิเสธ คว่ามือแล้วลดมือลง แสดงการขอร้องให้สงบ ขอให้ช้าลงหรือแสดงระดับสูง-ต่ำ ตะแคงมือแล้วเคลื่อนมือไปทางซ้ายหรือขวา แสดงถึงการแบ่ง ตะแคงมือตั้งบนฝ่ามือ แสดงการตัดแบ่ง กำมือแสดงถึงความมั่นคง เอาจริงเอาจัง ชี้นิ้วแสดงถึงลักษณะเฉพาะเจาะจง เน้น ตักเตือน หรือบอกทิศทาง เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีการใช้มือและแขนแสดงขนาดเล็ก ใหญ่ สูง ต่ำ แสดงรูปร่าง กลม เหลี่ยม แสดงจานวน เช่น 1, 3, 5 และระดับมือที่ใช้มีอยู่ 3 ระดับคือ สูง ระดับไหล่ขึ้นไป กลาง ระดับเอวถึงไหล่ และต่ำ คือ ระดับต่าจากเอวลงไป โดยทั่วไปจะใช้ท่ามือในระดับกลางและระดับสูง
หลักการใช้ท่ามือที่ดีต้องเป็นธรรมชาติ จังหวะเหมาะ มีความหมายและใช้ไม่มากเกินไป ไม่ขัดเขินหรือมองดูมือขณะทำท่าหลีกเลี่ยงการใช้ท่ามือ ซ้า ๆ หรือไม่มีความหมาย หรือมีลักษณะมือไม่อยู่สุข แตะจมูก เกาศีรษะ เป็นต้น
4. การใช้สายตา การใช้สายตาช่วยให้การพูดมีพลังมีความหมาย สร้างความสัมพันธ์กับผู้ฟัง ถ่ายทอด ความรู้สึกของผู้พูด ได้รับรู้ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ฟัง ลักษณะการใช้สายตาที่ควรฝึกฝน คือ
4.1 การใช้สายตาเมื่อเริ่มต้นพูด ให้มองผู้ฟังเป็นส่วนรวมก่อน โดยมองไปที่ผู้ฟังที่อยู่ตรงกลางแถวหลังสุด หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนสายตาไปยังจุดอื่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง ให้ทั่วถึง และเป็นธรรมชาติ อย่าเปลี่ยนสายตาโดยรวดเร็ว หรือใช้สายตาแบบพัดลมส่าย ควรจับตาและเปลี่ยนสายตาในลักษณะของการถ่ายรูป
4.2 การใช้สายตาขณะพูด มองผู้ฟังให้ทั่วถึง สบตาผู้ฟังนิ่งอยู่เฉพาะคนบ้าง และใช้สายตาแสดงความรู้สึก อารมณ์ตามเนื้อหาที่พูด อวัจนภาษาเกี่ยวกับสายตาบางประการ เช่น เบิ่งตาโพลง หมายถึง ตกใจ อยากได้ ปิดตา หมายถึง อ่อนเพลีย หรี่ตา หมายถึง สงสัย ไม่แน่ใจ ยั่วเย้า ประสานสายตา หมายถึงจริงใจ แน่ใจ ลดสายตาลง หมายถึง เกรง รู้สึกผิด ยอมรับ ชาเลือง ตา หมายถึง อาย อิจฉา ดูถูก เป็นต้น ขณะพูด ให้หลีกเลี่ยงการมองเพดาน มองข้ามศีรษะไปที่ผนังหลังห้อง มองออกนอกประตู หน้าต่าง หรือใช้สายตาหลุกหลิกเหลือบไปเหลือบมาตลอดเวลา ทาให้เสียบุคลิกภาพ
5. การใช้เสียง เสียงจะห่อหุ้มอยู่โดยรอบถ้อยคำ ช่วยถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกของผู้พูด สิ่งที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับการใช้เสียงมีดังนี้
5.1 เสียงและการออกเสียง จะต้องชัดเจน แจ่มใส นุ่มนวลชวนฟัง ไม่ห้วน ไม่สูงแหลมจนฟังไม่สบายหู ไม่ต่าจนฟังไม่ถนัดไม่สั่นเครือไม่แหบพร่าและไม่เพี้ยนแปร่ง นอกจากนั้นยังต้องไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป หนัก เบา สูง ต่า เป็นไปตามธรรมชาติ มีการ เน้นย้าไม่ราบเรียบเสมอกันไปโดยตลอด (mo-no-tone) แต่ก็ไม่ควรเปลี่ยนระดับเสียงขึ้น – ลง – สูง - ต่า มากเกินไป จนดูเหมือนเสียงแสดงละคร (dramatization) ออกเสียงสระ พยัญชนะ และระดับเสียงวรรณยุกต์ชัดเจน ถูกต้อง การออกเสียงชัดเจนถูกต้องช่วยให้การพูดครั้งนั้น ๆ น่าฟังและน่าเชื่อถือ
5.2 จังหวะการพูด ไม่เร็วจนเสียความ ไม่ตัดหรือรวบคำ เช่น “กระทรวงสาธารณสุข” ออกเสียงเป็น “กระทรวงสาสุข” “มหาวิทยาลัย” ออกเสียงเป็น “มหาลัย” “พิจารณา” ออกเสียงเป็น “พิณา” เป็นต้น และต้องไม่ช้าเนิบนาบจนเกินไป การพูดเร็วเกินไป ผู้ฟังจะฟังไม่ทันและรู้สึกเหนื่อย การพูดช้าจนเกินไปผู้ฟังก็จะรู้สึกรำคาญ และอึดอัด นอกจากนั้นยังต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง การเว้นวรรคตอนผิดจะทาให้สื่อความหมายผิดได้
การตื่นเวทีและการลดอาการตื่นเวที
เมื่อต้องพูดต่อหน้ากลุ่มคน ทุกคนจะประหม่า ความรู้สึกประหม่าเล็กน้อยเป็นสิ่งดี ทำให้มีชีวิตชีวา กระตือรือร้นที่จะเตรียมตัวและพูด อาการประหม่าที่เกิดขึ้น คือ การตื่นเวที (stage fright) ซึ่งถ้ามีมากจนเกินไป จะทาให้เสียบุคลิกภาพ และทาให้เสียบุคลิกภาพ สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการตื่นเวที คือ อาการของการตื่นเวที และการลดอาการตื่นเวที
1. อาการของการตื่นเวที อาการของการตื่นเวทีมีหลายประการ เช่น คอและปากแห้ง เสียงหาย ต้องกระแอมกระไอเรียกเสียงก่อนพูด พูดไม่ออก ตะกุกตะกัก หรือติดอ่าง ลืม นึกอะไรไม่ออก ลังเลไม่แน่ใจ สับสน หายใจขัด มือสั่น ขาสั่น เข่ากระตุก เสียงเบากว่าปกติ พูดเร็วขึ้น ๆ หรือ ช้าลง ๆ หัวใจเต้นถี่ เร็ว หรือเต้นดังกว่าปกติ รู้สึกเครียด เกร็ง หรือไม่สบาย ในท้อง ไม่กล้าสบตาผู้ฟัง รู้สึกว่าผู้ฟังไม่ชอบ หรือไม่เห็นด้วย เหงื่อออกมาก รู้สึกกลัว เป็นต้น อาการตื่นเวทีของบางคนอาจมี เพียงเล็กน้อยจนไม่มีใครสังเกตเห็น คือเพียงแต่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการพูดและเกร็ง เครียด (tension) ซึ่งเป็นอาการตื่นเวทีในระดับปรกติ ผ่อนคลายได้ง่าย แต่ บางคนอาจตื่นเต้นและกังวลมากจนถึงขึ้นกลัว (fear) กลัวที่จะพูด กลัวคนฟัง อาจอาเจียนปวดท้องมาก ใจเต้นระทึก หูอื้อ เหงื่อไหล หายใจหอบ เป็นต้น การตื่นเวทีระดับนี้ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนและสร้างเชื่อมั่นก็จะ
แก้ไขให้ลดน้อยลงได้ ส่วนการตื่นเวทีที่มากที่สุดคือการกลัวมาก (panic) ถึงขั้นเข่าอ่อน หมดแรง เป็นลม ซึ้งน้อยคนมากที่จะตื่นเวทีจนถึงระดับนี้
2. การลดอาการตื่นเวที การที่จะแก้ไขอาการประหม่า หรือตื่นเวทีให้หายไป อย่างสิ้นเชิงนั้นยังไม่มีข้อแนะนำใด ๆ ที่ปฏิบัติแล้วได้ผล แต่อาจจะลดอาการตื่นเวทีให้น้อยลงได้ มีข้อเสนอแนะดังนี้
2.1 ก่อนการพูด มีแนวทางในการลดการตื่นเวทีให้น้อยลง เริ่มด้วยการเตรียมตัวให้พร้อม ความพร้อมจะช่วยให้เกิดความมั่นใจ นอกจากนั้นอาจใช้วิธีหายใจเข้าลึก ๆ แล้วอัดไว้ 2-3 วินาที แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออก ออกซิเจนที่เข้าไปในปอดจะช่วยลดความ ตึงเครียดได้ (หายใจให้เป็น หายใจเข้ากระบังลมจะพองตัวออก ท้องจะป่อง หายใจออกท้องแฟบลง การหายใจโดยปกติเป็นเช่นนี้ แต่บางคนเมื่อเกิดความ “ตั้งใจ” ที่จะหายใจเข้า ท้องกลับแฟบ เพราะแขม่วท้อง ทำให้หายใจไม่ลึกลมที่หายใจเข้าไปไม่ถึงช่องท้อง) บางคนอาจใช้วิธีลดความเครียด เช่น จิบน้ำ ดื่มกาแฟ ลุกขึ้นเดินไปเดินมา สุดท้ายทาใจให้สงบ ทบทวนลาดับการพูดในใจว่าจะทักทายผู้ฟังอย่างไร เริ่มต้นพูดอย่างไร จะขยายความเนื้อหาอย่างไรบ้าง และจะจบการพูดอย่างไร การลำดับการพูดได้ตั้งแต่เริ่มต้นพูด จนจบการพูด จะทำให้ผู้พูดมั่นใจยิ่งขึ้น อาการตื่นเวทีจะลดน้อยลง
2.2 ขณะพูด พยายามควบคุมสายตา มองผู้ฟังให้ทั่วถึง และจับตาที่ผู้ฟังเฉพาะคนให้ได้ พูดช้า ๆ ถ้ารู้สึกตัวว่ากำลังพูดเร็วขึ้น ๆ ให้ควบคุมให้ช้าลง จะช่วยลดความประหม่าลงได้ เปลี่ยนอิริยาบถขณะพูดบ้าง เช่น จัดอุปกรณ์ จิบน้า ถ้ารู้สึกประหม่า คอแห้ง ให้จิบน้า ถ้าไม่มีน้ำให้หาจังหวะ เช่น ตอนก้มหรือจัดหยิบอุปกรณ์ ให้อ้าปากเล็กน้อย ภายใน 2-3 วินาที จะมีน้้ำลายช่วยให้ชุ่มคอขึ้น ถ้าติดขัดขณะพูด ไม่ควรพูดซ้า หรือหยุดคิดนาน จนเกิดบรรยากาศตาย เงียบ ให้พยายามเชื่อมโยงแล้วข้ามมายังเนื้อหาที่จำได้ ผู้ที่ตั้งใจจะฝึกพูดต้องพร้อมเผชิญหน้ากับอาการตื่นเต้นประหม่านั้น พยายามหาโอกาสพูด พูดหน้าชั้น หน้าที่ประชุมตอนไม่มีคนฟังหรือตอนที่มีคนน้อย ๆ เมื่อถึงเวลาพูดจริง ๆ ให้คิดว่ากำลังพูดให้เพื่อนสนิทฟัง อย่างไรก็ตามการลดความ
ประหม่าที่ดีที่สุด ก็คือการสร้างความมั่นใจโดยการเตรียมตัวให้พร้อม
http://thaiedu2104.blogspot.com/p/2.html
http://www.ecepost.com/viewtopic.php?id=41012106
เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด
กรุณาใส่ข้อความ …