๓๖.เรื่องของพระเจ้าจักรพรรดิ

 

               พระเจ้าจักรพรรดิราช
      

              

      ๐พระพุทธเจ้าทรงประสูติได้  ๕  วัน  พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาทรงเชิญพราหมณ์  ๑๐๘  คนมาทำนายลักษณะและขนานพระนามของพระราชกุมาร  ในบรรดาพราหมณ์  ๑๐๘  คนเหล่านั้น  คัดเอาเฉพาะพราหมณ์ผู้ที่มีความรู้ที่เชี่ยวชาญในวิชาการทำนายลักษณะเป็นเลิศได้  ๘  คน  พราหมณ์ทั้ง  ๘  คน เหล่านั้น ทำนายลักษณะของพระราชกุมารดังนี้

    พราหมณ์  ๗  คน ที่มีอายุมากตามลำดับกันทำการทำนายลักษณะของพระราชกุมารออกเป็น ๒ แง่ว่า "ถ้าพระราชกุมารอยู่ครองเพศฆารวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิ  แต่ถ้าทรงออกบวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เป็นศาสดาเอกองค์เดียวในโลก"

    ส่วนพราหมณ์คนที่ ๘ ที่มีชื่อว่า "อัญญาโกณฑ้ญญะพราหมณ์" เป็นคนหนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน  ได้ทำการทำนายลักษณ์ของพระราชกุมารออกมาเป็นแง่เดียวว่า "พระราชกุมารที่มีพระลักษณะเช่นนี้ทรงเกิดมาเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้นจะเป็นอื่นมิได้โดยเด็ดขาด"   ปรากฏว่าเป็นจริงตามคำทำนายของอัญญาโกณฑัญญะพราหมณ์จริงๆ แสดงให้เห็นว่าอัญญาโกณฑัญญะพราหมณ์เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชา การพยากรณ์เป็นยอดกว่าใครๆ  เปรียบประดุจดังมีตาทิพย์ฉะนั้น

    ข้าพเจ้ามีความสนใจในคำทำนายที่พราหมณ์ทั้ง ๘ คน ทำนายเอาไว้มากและที่สนใจที่สุดในคำว่า "ถ้าอยู่ครองเพศฆารวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ" มันหมายถึงใคร  บุคคลที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นคือบุคคลเช่นไร จะทำบุญอะไรบ้างจึงจะเป็นพระเจ้าจักรพรร,ดิ  คำว่า "พระเจ้าจักรพรรดิ"นั้นเป็นชื่อที่เรียกรวมกัน ตามความเป็นจริงแล้วพระเจ้าจักรพรรดิมีอยู่ด้วยกัน ๗ ประเภท  คือ:-

    ๑.พระเจ้าจุลจักรพรรดิ                        เช่น  พระเจ้าทัฬหะเนมิจุลจักรพรรดิราช

    ๒.พระเจ้ามหาจักรพรรดิ                      เช่น  พระเจ้ามหามันธาตุมหาจักรพรรดิราช 

    ๓.พระเจ้าบรมจักรพรรดิ                      เช่น  พระเจ้าสังขะจักรบรมจักรพรรดิราช

    ๔.พระเจ้าอุดมบรมจักรพรรดิ               เช่น  พระเจ้ากาลิงคะจักรพรรดิราช

    ๕.พระเจ้าเดชอุดมบรมจักรพรรดิ         เช่น  พระเจ้ามหาสุทัสสนะจักรพรรดิราช

    ๖.พระเจ้าไพบูลย์บรมจักรพรรดิ           เช่น  พระเจ้าจักรพรรดิวิชิตาวีบรมโพธิสัตว์

    ๗.พระเจ้าไพศาลบรมจักรพรรดิ           เฃ่น  พระเจ้าจักรพรรดิติโลกะวิชัย

            พระเจ้าจักรพรรดิคือใคร?

    พระเจ้าจักรพรรดิ  คือ "บุคคลที่เป็นอภิมหาราชาผู้มีบุญญาภินิหารมาก" ทรงดำเนินชีวิตด้วยแก้ว ๗ ประการ  สามารถครอบครองแผ่นดินในทวีปใหญ่ ๔ ทวีปและทวีปน้อยอีก ๒๐๐๐ ทวีป ด้วยความเป็นธรรม  เป็นผู้รักษาศีล ๕, ศีล ๘, และกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ อย่างสมบูรณ์ เป็นธรรมราชาผู้ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม มีพระโอรสนับพัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรารถนาสงคราม ไม่ประสงค์เครื่องบรรณาการ พระเจ้าจักรพรรดิมีแต่ผู้เคารพนับถือ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก พระเจ้าจักรพรรดิมีลักษณะของมหาบุรุษเช่น เดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ทรงเลือกปกครองแผ่นดิน  ยามใดที่มีพระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้  พระเจ้าจักรพรรดิก็จะทรงบำรุงอุปัฎฐากพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ช่วยเผยแพร่พระธรรม แต่ถ้ายามใดที่ไม่มีพระพุทธศาสนาไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ พระองค์ก็จะทรงรวบรวมผืนแผ่นดิน และผู้คนให้เป็นปึกแผ่น ทรงปกครองโดยธรรม สั่งสอนประชาชนทั้งมวลให้รักษาศีล ๕ ด้วยชีวิต พระเจ้าจักรพรรดิทรงขยันในการสร้างบารมีมาก ถึงแม้จะเป็นพระจักรพรรดิแล้วก็ยังทรงสร้างพระบารมีไม่หยุดหย่อน      

  มหาสมบัติแก้ว ๗ ประการ ของพระเจ้าจักรพรรดิ 

   ๐ผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้นจะต้องมีมหาสมบัติแก้ว  ๗  การ  เหล่านี้  คือ:-

       ๑.กงจักรแก้ว          (จ้กกะรัตนะ)

       ๒.ช้างแก้ว              (หัตถีรัตนะ)

       ๓.ม้าแก้ว                 (อัสสะรัตนะ)

       ๔.ดวงแก้วมณี         (มณีรัตนะ)

       ๕.นางแก้ว               (อิตถีรัตนะ)

       ๖.ขุนคลังแก้ว          (คะหะปะติรัตนะ)

       ๗.ขุนพลแก้ว          (ปะรินายะกะรัตนะ)

                                  กงจักรแก้ว

          

   ๐กงจักรแก้ว  เป็นมหาสมบัติอันแรกของพระเจ้าจักรพรรดิหรือพระเจ้ามหาจักรพรรดิ  เวลาพระเจ้าจักรพรรดิจะเสด็จเดินทางไปที่ไหนพร้อมกับคนเป็นจำนวนมากตั้งแต่  ๑๐๐  คน  ถึงแสนคนชึ้นไป  หรือยกกองทัพขบวนใหญ่จะต้องใช้จักรแก้วนี้เป็นยานพาหนะ  กล่าวกันว่ากงจักรแก้วนี้  ส่วนกว้างวัดได้ ๑๒ โยชน์  โดยรอบวัดได้ ๓๖ โยชน์  แม้คนทั้งหลายในสถานที่กว้าง  ๑๒  โยชน์  วัดโดยรอบ  ๓๖  โยชน์ สามารถนั่งไปพร้อมกันบนกงจักรแก้วนี้ได้โดยไม่แออัด  เพราะฉะนั้นกงจักรแก้วนี้จึงสามารบรรจุคนได้มากกว่า เครื่องบินหรือยานอวกาศที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมาในสมัยปัจจุบันนี้  กงจักรแก้วนีี้ไม่ต้องใช้น้ำมันไม่ต้องใช้แก๊สหรือไม่ต้องใข้ไฮโดรเยนหรือเชื้อเพลิงใดๆในการขับเคลื่อน  แต่มันจะขับเคื่อนไปด้วยอำนาจบุญฤทธิ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเป็นพลังอันมหาศาลโดยไม่รู้จักหมดไม่รู้จักสิ้นได้   คล้ายๆกับการโคจรไปของดวงอาทิตย์ฉะนั้น   กงจักรแก้วนี้ไม่มีอาวุธใดๆจะมาทำอันตรายมันไ้ด้  ถ้ามีอาวุธใดๆจะมาทำอันตรายมัน อาวุธนั้นๆก็จะกลายเป็นฝุ่นไปเลย  มันจะเคลื่อนไปด้วยความรวดเร็วมากตามแต่พระเจ้าจักรพรรดิต้องการ

  โปรดอ่านดูรายละเอียดของกงจักรแก้วพระเจ้าจักรพรรดิ   

   ๐กงจักรแก้ว  ประดับประดาด้วยแก้ว ๗ ประการ มีซี่ล้อรอบดุม จำนวน ๑๐๐๐ ซี่  อยู่รอบๆ ดุมนั้น งดงามยิ่งนัก  กงจักรแก้วนี้จมอยู่ในท้องมหาสมุทรลึกได้ ๘๔๐๐ โยชน์ ตัวจักรนั้นเป็นแก้ว ส่วนดุมนั้นเป็นแก้วอินทนิล หัวซี่ที่ฝังเข้าไปในดุมนั้น เป็นเงินและทองคำ ดูสวยสดงดงามยิ่งนัก เมื่อเรามองดูดุมนั้นก็เหมือนราวกับว่าดุมนั้นยิ้มให้แก่เรา และมองเห็นเป็นสีขาวงามยิ่งนัก ที่ขอบดุมนั้นหุ้มด้วยแผ่นเงิน งามดุจดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ ตรงกลางนั้นเป็นรูโดยตลอด โดยรอบหัวซี่นั้นประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ แต่ละซี่ดูสุกใสงดงามเหมือนกับสายฟ้าแลบ มีรัศมีเหมือนแสงพระอาทิตย์ เมื่อพิจารณาดูแล้วมันใสงามเลื่อมพรายประดังฟ้าแลบไขว้กันไปมา วาววับแวววาวดูงามไปทั่วทุกหนแห่งในสถานที่ๆมีชื่อว่า "นาภีสรรพการ" บริบูรณ์ด้วยซี่จำนวน ๑๐๐๐ ซี่ ประดับไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ดูเลื่อมพรายแวววาวดังสายฟ้าแลบ รุ่งเรืองด้วยรัศมีดังแสงพระอาทิตย์ ที่ประดับด้วยตะปูแก้วดูงดงามและมีรัศมีฉวัดเฉวียนไปมา ดั่งเทพยดาที่มีชื่อว่า "พระวิศณุกรรมเทพบุตร"
   กงจักรแก้วนั้นประดับด้วยแก้วดูเกลี้ยงเกลาดุจดังบรรจงสร้างไว้ มีรัศมีเหมือน พระอาทิตย์ในยามรุ่งอรุณดูเต็มงาม ไม่มีปมไม่มีรอยแตก ไม่เบี้ยว ไม่มีจุดบกพร่อง เมื่อแลดูในหน้ากล้องนั้น รูปล่องตลอดไปมา ดั่งกล้องอันชื่อว่า" พังกา" ที่เทพยดาเป่าในเมืองสวรรค์ชั้นฟ้า กล้องแก้วนั้นเวลาเป่าจะมีเสียงดังกังวาลไพเราะยิ่งนัก เสียงดัง ผาดโผน เสียงหึ่งๆ น่าฟังอย่างยิ่ง แก้วร้อยหนึ่งอยู่เหนือลำกล้องแก้วหมู่นั้น กล้องแก้วหมู่นั้นรองอยู่ใต้ต้นกลดขาวร้อยหนึ่ง และมีหอกดาบแห่งละร้อยๆอยู่รอบกลดนั้นด้วย เหนือกลดตรงกลางนั้น มียอดทองคำเรืองรองงามดังแสงฟ้าเหนือฉัตรแก้วฉะนั้น

   มันเหมือนมีราชสีห์ทองสองตัวประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ มีแสงทอง  เมื่อจักรแก้วนั้นหมุนไปบนอากาศงามนักหนา แลดูเลื่อมพรายงามดั่งสีหะไกรสรสองตัวจะเหาะบิน และยื่นหน้าออกมาจากชายกงจักรแก้วนั้น ดุจดังจะเข้าขบขยํ้าฝูงข้าศึก   เมื่อคนทั้งหลายแลเห็นเช่นนั้นจึงคิดว่า เจ้านายของเราผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช เป็นผู้มีบุญมากยิ่งนัก แม้พระพญาราชสีห์สองตัว ซึ่งมีกำลังและมีชัยชนะแก่ศัตรูทั้งหลาย ยังอดอยู่มิได้ต้องมานอบน้อมถวายบังคม มาสวามิภักดิ์ แก่พระเจ้าจักรพรรดิราช ผู้เป็นนายแห่งพวกเราหมู่ชนทั้งหลาย ต่างพากันยกมือขึ้นเพียงศีรษะแล้วไหว้วันทนาการ  แล้วกล่าวว่า "ชาวเราทั้งหลายปากของราชสีห์ ๒ ตัวนั้น มิใช่ไม่มีอะไรอยู่แต่มีสร้อยมุกดา ๒ สาย ใหญ่เท่าลำตาล ดูรุ่งเรืองงดงามดั่งรัศมีของพระจันทร์เมื่อวันเพ็ญ และปากราชสีห์นั้นก็คาบสร้อยมุกดานั้นให้ห้อยลงมา แก้วซึ่งอยู่ในชายมุกดานั้น ดูเลื่อมแดง ดุจแสงพระอาทิตย์เมื่อแรกขึ้นฉะนั้น เมื่อกงจักรแก้วนั้นลอยอยู่บนอากาศ แลดูเหมือนไม่ไหวตามสร้อยมุกดาซึ่งพรายงามดั่งนํ้าชื่อว่า "อากาศคงคา" ที่ไหลลงมาฉะนั้น   

   ขณะที่กงจักรแก้วยังลอยอยู่นั้น กลุ่มมุกดาก็กระจายออกรอบกงจักรแก้วนั้น ดุมกงจักรแก้ว ๓ อัน หมุนพัดผันไปในทางเดียวกัน กงจักรแก้วนั้น พระอินทร์ พระพรหม หรือเทพยดาผู้มีฤทธานุภาพเป็นผู้สร้างกงจักรแก้วนั้นก็หามิได้ หากแต่กงจักรแก้วนั้นเกิดขึ้นมาเองด้วยอำนาจของบุญฤทธิ์ของพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น
   ผิว่า ในกัปป์ใดไม่มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ก็จะมีพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชนั้นมาเกิดเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ในการสั่งสอนให้ประชาชนรักษาศีลห้าศีลแปดและปฏิบัติธรรมในขั้นเริ่มต้น ในกัลป์นั้น

   ครั้นเกิดไฟประลัยกัลป์เผาไหม้แผ่นดินคือทวีปทั้ง ๔ แล้ว ด้วยบุญของบุคคลซึ่งจะมาเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น กงจักรแก้วซึ่งเป็นมหาสมบัตฺอันแรกนั้นก็จะบังเกิดขึ้นมาก่อน และก็จะจมอยู่ในท้องมหาสมุทรลึก  ๘๔๐๐๐  โยชน์ รอท่าบุคคลผู้จะมาเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น และเครื่องประดับสำหรับบุคคลผู้มีบุญนี้ ก็ไม่มีสิ่งอื่นใดเสมอเหมือนด้วยกงจักรแก้วนี้ได้เลย ซึ่งเกิดขึ้นมาเพื่อให้รู้จักคนผู้มีบุญมากกว่าคนทั้งหลาย และจะให้หมู่คนทั้งหลายใน ๔ แผ่นดินหรือใน ๔ ทวีป รักใคร่สามัคคีกัน มีดวงใจเป็นอันเดียวกัน ด้วยบุญของท่านผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น  กงจักรแก้วนั้นก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เดชเดชานุภาพมากยิ่งนัก

   เมื่อมีผู้ใดไปไหว้วอนนบนอบด้วยความเคารพและสักการะบูชากงจักรแก้วนั้นด้วยข้าวตอกดอกไม้ กงจักรแก้วนั้นก็ย่อมจะช่วยปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยให้แก่พวกเขาและบำบัดความเจ็บไข้ ให้ประสบแต่ความสุขความเจริญ มั่งมีด้วยทรัพย์สินเงินทองมากมาย กงจักรแก้วนี้ ประเสริฐกว่าแก้วอันมีชื่อว่า "สรรพกามะทะ" (คือแก้วสารพัดนึก) ตั้งหมื่นเท่าแสนเท่า และกงจักรแก้วนั้น ไม่มีชีวิตจิตใจ แต่มีสภาพดุจดังมีชีวิต เมื่อกงจักรแก้วนั้นลอยขึ้นมา ยังมิทันที่จะพ้นท้องน้ำมหาสมุทร และนํ้ามหาสมุทรนั้นก็จะแยกแตกออก ให้กงจักรแก้วนั้นลอยขึ้นมากลางอากาศ แลเห็นดุจดังกงจักรแก้วนั้นเป็นเครื่องประดับท้องฟ้า ดูเลื่อมพรายงามดั่งดวงพระจันทร์ในวันเพ็ญ
   เมื่อถึงวันเพ็ญ ชนทั้งหลายต่างแต่งเนื้อแต่งตัวให้สวยงาม แล้วนั่งเล่น เจรจากันอยู่ทั้งหนุ่มและสาว เด็กเล็กหญิงชายทั้งหลายต่างประดับตกแต่งกาย แล้วออกไปเล่นด้วยกัน บางพวกก็พากันไปเล่นในป่า บางพวกก็ไปเล่นในกลางแม่น้ำ บางพวกก็ไปกลางท้องนาและในถนนหนทาง วันนั้นคนทั้งหลายที่อยู่ในเมืองของพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น จะมองเห็นกงจักรแก้วนั้นลอยพุ่งขึ้นมาเทียมกับพระจันทร์ในเวลาเวลายามคํ่า จะดูเท่ากับว่ามีดวงจันทร์ลอยขึ้นมาจากน้ำอีกหนึ่งดวง  จึงเป็นเหมือนกับมีพระจันทร์ขึ้นมาในวันนั้นเป็นที่  ๒ ดวง

   ครั้นกงจักรแก้วเข้ามาใกล้ได้ ๑๒ โยชน์แล้ว   คนทั้งหลายได้ยินเสียงของกงจักรแก้วอันผันต้องลม มีเสียงคังไพเราะยิ่งนัก ไพเราะยิ่งกว่าเสียงปี่พาทย์และพิณ ฆ้อง กลอง และแตรสังข์กังสดาลดุริยดนตรีทั้งหลาย  คนทั้งหลายเมื่อได้ยินเสียงไพเราะนั้นแล้ว ก็จะรู้สึกถูกใจและยินดีปรีดากันทุกตัวคน  จึงชวนกันกล่าวว่า ช่างประหลาดหนอ แต่กาลก่อนเราทั้งหลายไม่เคยมีเรื่องอัศจรรย์เช่นนี้ให้ปรากฏเห็นเหมือนวันนี้ พระจันทร์เจ้าได้ขึ้นมาเป็นสองดวง เต็มงาม บริบูรณ์เสมอกันทั้งสองดวง ขึ้นมาเทียมกันดุจพระยาหงส์ทองสองตัว ทะยานเทียมขึ้นมาบนอากาศ จึงร้องเรียกกันให้มาดู บางคนพูดว่า พระจันทร์ขึ้นสองดวง บางคนร้องว่า ดูก่อนพวกท่านทั้งหลายเอ๋ยนี่ช่างเป็นบุญตาของพวกเราจริงๆ ชั่วปู่ย่าและตายายไม่เคยมีใครกล่าวว่ามีพระจันทร์เป็น ๒ ดวง อีกดวงหนึ่งนั้นเป็นดวงตะวัน เพราะว่าหากพ้นที่ๆ จะร้อนแล้ว มันก็จะไม่ร้อน อีกจำพวก ๑ ก็ร้องมาดังนี้ว่า ชาวเราทั้งหลาย เขาเหล่านั้นเป็นบ้าไปเสียแล้ว ไม่ใช่ข้อความที่จะกล่าวกลับเอามากล่าว มาเข้าใจกันว่าพระจันทร์ขึ้นมา เป็น ๒ ดวง บางแห่งก็ว่าการที่คิดว่าอีกดวงหนึ่งนั้นเป็นดวงตะวันน่าหัวเราะนัก
   เขาเหล่านั้นเป็นบ้าไปแล้ว ตะวันเพิ่งจะตกไปเดี่ยวนี้ แล้วจะมาขึ้นพร้อมพระจันทร์ทันทีได้อย่างไร ดวงที่ขึ้นมานี้มิใช่อะไรอื่นเลย มันคือปราสาททองของเทพยดา จึงดูรุ่งเรืองสุกใส เพราะแก้วแหวนเงินทองที่ประดับประดาปราสาทนั่นเอง คนอีกจำพวกหนึ่งพากันหัวเราะพูดว่า เจ้าทั้งหลายอย่าได้โจทเถียงกันไปมาเลย สิ่งนี้มิใช่เดือนมิใช่ตะวัน และมิใช่ปราสาททองของเทพยดาที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า เดือนก็ดี ตะวันก็ดี ปราสาททองของเทพยดาก็ดีนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีเสียง อึกทึกกึกก้อง และมีเสียง  ดังกังวานอย่างนี้สักทีเลย สิ่งนี้ต้องเป็นกงจักรแก้ว ซึ่งมีชื่อว่า จักรรัตนะ ดังที่ท่านกล่าวมาแต่กาลก่อน กงจักรแก้วนั้นย่อมเกิดมาด้วยบุญของท่านผู้มีบุญมากยิ่งกว่าใครๆ ผู้นั้นจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชอย่างแน่นอน
  คนทั้งหลายต่างก็ถกเถียงกันไปมาอยู่อย่างนั้น พวกเขามิได้เชื่อถ้อยคำ ของกันและกันเลย เมื่อกงจักรแก้วนั้นลอยออกมาจากดวงจันทร์เข้ามาใกล้กว่าเก่าอีกประมาณ ๑ โยชน์ จึงจะถึงเมืองนั้น ชนทั้งหลายจึงแลเห็นชัดเจนงามยิ่งนักและมีใจรักใคร่ทุกๆ คน เสียงกงจักรแก้วนั้นดังกึกก้องมาก ดังจะเปล่งเสียงว่า พระราชาองค์นั้น พระองค์จะได้เป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชเจ้า จึงลอยมาถึงพระนครที่พระราชาผู้มีบุญอาศัยอยู่ เมื่อเป็นดังนั้นคนทั้งหลายจึงกล่าวว่า กงจักรแก้วดวงนี้ จะลอยไปสู่พระราชาองค์ใดหนอ

   คนอีกจำนวนหนึ่งจึงกล่าวว่า กงจักรแก้วดวงนี้ มิได้เกิดมาด้วยบุญของพระราชาองค์อื่นเลย คงลอยมาเพื่อพระราชาผู้เป็นเจ้านายของเรานี้เองท่านเป็นผู้มีบุญมากจะได้เป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชแล พระองค์ทรงคำนึงถึงกงจักรแก้วอยู่ กงจักรแก้วดวงนี้ จึงลอยมาหาพระองค์กงจักรแก้วก็ลอยมาถึงเมืองนั้น แล้วร่อนลงที่ประตูเมืองของพระองค์ แล้วทำประทักษิณรอบๆ เมือง ๗ รอบ แล้วลอยอยู่บนอากาศไปตามถนนหลวง แล้วเข้ามาสู่พระราชมนเทียรของพระราชาและทำประทักษิณพระราชานั้น ๓ รอบ และพระราชมนเทียรของพระราชานั้น ๗ รอบ แล้วก็ลอยเข้าหาพระราชานั้น ดุจดังมีชีวิตจิตใจ จะมานอบน้อมแด่พระราชานั้น แล้วเข้ามาสู่แทบพระบาทตรงที่ทรงบรรทม

   ไม่ว่าจะเป็นที่แห่งใดก็ตาม กง จักรแก้วก็ลอยอยู่ในที่นั้น แล้วคนทั้งหลายก็เอาข้าวตอกดอกไม้บุปผชาติและธูปเทียนชวาลา รวมทั้งกระแจะจันทน์ นํ้ามันหอมมาไหว้ มานบนอบเคารพบูชาสักการะแก่กงจักร แก้วนั้น เมื่อกงจักรแก้วสถิต ตั้งอยู่ในที่อันสมควรแล้ว ก็เปล่งรัศมีรุ่งเรืองรอบๆ ทั่วทั้งพระราชมนเทียรนั้น ทุกแห่งดุจดังยอดเขายุคันธร ในวันพระจันทร์เต็มดวง และเมื่อพระจันทร์ลอยขึ้นมาเหนือยอดเขานั้น มีแสงรุ่งเรืองงดงามยิ่งนัก
   เมื่อนั้นพระราชาจึงเสด็จออกมาจากปราสาท เพื่อทอดพระเนตรกงจักรแก้วนั้น อำมาตย์จึงทูลแด่พระองค์ว่า ขออัญเชิญพระองค์เจ้าทอดพระเนตรกงจักรแก้ว อันมีรัศมีรุ่งเรืองงาม งามทั้งพระราชมนเทียรของพระองค์ พระยาองค์นั้นจึงเสด็จมาประทับนั่งบนแท่น ทองอันประดับด้วยแก้วอันตั้งอยู่แทบพระบัญชรนั้น พระมหากษัตริย์เจ้าก็ทรงทอดพระ
เนตรกงจักรแก้วอันรุ่งเรืองด้วยแก้ว ๗ ประการ อันงามตระการตา หาที่จะเปรียบมิได้ พระราชาองค์นั้นจึงมีพระราชโองการแก่อำมาตย์ราชมนตรีทั้งหลายว่า

   อาจารย์ทั้งหลายในอดีตกาลกล่าวว่า พระราชาพระองค์ใดมีบุญมากและจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น สามารถจะปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล กงจักรแก้วอันมีชื่อว่า "จักรรัตนะ" จักรรัตนะนั้นย่อมมาสู่บุญสมภารของพระราชาองค์นั้น เราได้กระทำบุญมาแต่ก่อนและบุญนั้นมาถึงเราจริง กงจักรแก้วนั้นจึงลอยมาหาเราในบัดนี้

   อีกทั้งวันนั้น ก็เป็นวันเพ็ญอุโบสถ และพระราชาองค์นั้นให้ทานรักษาศีล ๘ แล้ว ทรงบำเพ็ญเมตตาภาวนาอยู่ เมื่อทรงรำพึงถึงทานศีลและภาวนาอยู่ กงจักรแก้วนั้น ก็ลอยขึ้นมาหาในคืนนั้นแล พระราชาองค์นั้นจึงเอาผ้าขาวเนื้อละเอียดพาดเหนือพระอังสาทั้งสอง กราบไหว้ด้วยผ้าผืนเล็ก ผ้าสำลี และมีบางพวกห่มผ้าสีชมพู ผ้าหนัง ผ้าเกราะ แล้วถือเครื่องประหาร ถือหน้าไม้ ธนู หอก ดาบ แหลน หลาว สวมหมวกเงิน ทอง และถม ถือกลดชุบสายหลายคัน พากันไปชมหมู่ไม้ในกลางป่าดง มีบางพวกถือธงเล็ก ธงใหญ่ ธงขนาดกลาง ธงแดง ธงขาว ดูงามพิสดาร มีสีขาว สีดำ สีแดง สีเหลืองเรืองรอง พรายงามดังแสงตะวัน สว่างไสวทั่วทั้งแผ่นดิน เหาะไปในอากาศตามเสด็จพระเจ้าจักรพรรดิราช เมื่อนั้นเสนาบดีผู้ใหญ่จึงสั่งให้เจ้าเมืองทั้งหลายเอากลองงดงามมีสายเป็นทอง และมีแสงเป็นสีแดงดุจแสงไฟ ไปตีป่าวร้องแก่หมู่ราษฎรทั้งหลายว่า "ถ้าผู้เป็นพระราชา เจ้านายของเรานี้ พระองค์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชและบัดนี้ พระองค์ก็ปราบได้ทั่วทั้ง ๔ ทวีปแล้ว ผู้ใดใคร่อยากชมบุญบารมีของพระองค์ ก็ให้เร่งชักชวนกันมาไหว้ดูชม"

                    อานุภาพของกงจักรแก้ว

   เมื่อใดพระเจ้าจักรพรรดิได้เสด็จไปปราบทวีปทั้ง ๔ ประชาชนทั้งหลายจึงเร่งแต่งตัวแล้วพากัน หอบ ถือข้าวตอกดอกไม้ไปบูชากงจักรแก้วนั้น  เมื่อคนทั้งหลายได้ยินเสียงกงจักรแก้วนั้น เสียงดังไพเราะลอยไปทางอากาศเบื้องหน้าพระเจ้าจักรพรรดิราช คนทั้งหลายต่างก็หยุดทำงานของตนที่ค้างไว้ แล้วชักชวนกันประดับตกแต่งกายให้สวยงามทากระแจะจันทน์น้ำมันหอม ถือข้าวตอกดอกไม้ไปบูชากงจักรแก้วนั้น 

   ครั้งนั้น คนทั้งหลายต่างมีใจชื่นชมยินดียิ่งนัก เพียงนึกว่าจะตามเสด็จไปก็สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ทุกคน ด้วยบุญอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้น บรรดาสมณพราหมณ์ บรมวงศานุวงศ์ ลูกขุนมนตรี ข้าราชบริพาร เศรษฐี คฤหบดี พ่อค้าประชาชน พวกแพศย์ พวกศูทร เหล่านี้ต่างมีร่างกายงามสะอาดทุกคน ไม่มีสกปรกเลย แม้ความสกปรกด้วยเหตุใดๆ ก็ดีที่เขามีในกาลก่อน ก็พลันมลายหายไปสิ้นด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์แห่งกงจักรแก้วนั้น ซึ่งสามารถขจัดความสกปรกมลทินทั้งผองในกายมนุษย์จะกล่าวให้รู้ว่ากำลังรี้พลของพระเจ้าจักรพรรดิราช ว่ามีจำนวนมากเท่าใด ถ้าอยากรู้ก็ให้คิดถึงที่แห่งหนึ่งกว้าง ๑๒ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๓๖ โยชน์ แล้วให้ไพร่พลทั้งหลายนั่งในบริเวณนั้น กงจักรแก้วนั้นก็สามารถอยู่ในบริเวณเท่านั้นได้

   พระเจ้าจักรพรรดิราชก็ดี และไพร่พลทั้งหลายก็ดี ย่อมเหาะไปในอากาศเหมือนวิทยาธรผู้มีฤทธิ์ ผู้มีอาวุธวิเศษ พระเจ้าจักรพรรดิราช และรี้พลไปในอากาศด้วยอำนาจของกงจักรแก้วนั้น พระเจ้าจักรพรรดิราช รุ่งเรืองงามเหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ และพสกนิกรผู้ตามเสด็จก็รุ่งเรืองงามสง่าเหมือนดั่งดวงดาราห้อมล้อมเป็นบริวารของพระจันทร์ฉะนั้น ซนทั้งหลายต่างมีใจแช่มชื่นรื่นเริงยิ่งนัก มีการแต่งตัวมาชมกงจักรแก้วนั้น แล้วขับร้องและมีเสียงปี่พาทย์ เสียงพิณ แตร สังข์ กลองใหญ่กลองน้อย ฉิ่งฉาบ บัณเฑาะก์ ทั้งไพเราะและวังเวง บางคนตีกลอง ตีพาทย์ ตีฆ้อง ตีกรับ บางพวก ดีดพิณ สีซอ ตีฉิ่ง จับระบำรำเต้นเสียงสรรพดนตรีดังครื้นเครง กึกก้องดังแผ่นดินจะถล่มทลาย คนทั้งหลายผู้เป็นบริวารตามเสด็จพระเจ้าจักรพรรดิราช ไปในกลางอากาศนั้น งามนักหนาดังเทวดาทั้งหลายผู้เป็นบริวารของพระอินทร์
   เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จไปทางอากาศครั้งใด กงจักรแก้วจะนำเสด็จไปก่อน ถัดมาเป็นพระราชาและต่อมาเป็นไพร่พลทั้งหลาย พฤกษชาติไม้ดอกไม้ผลนานาชนิดตามข้างทางที่เสด็จผ่านก็ลอยละลิ่วปลิวตามไปด้วย ถ้าใครอยากจะกินผลไม้ชนิดใดก็ได้กินสมตามใจนึก  ถ้าอยากทัดดอกไม้ชนิดใดก็ได้สมใจ หรือถ้าใครอยากจะเข้าไปอยู่ในร่มเงาก็ได้เข้าไปอยู่ในร่มเงาสมใจนึกเช่นกัน

   ประชาชนผู้อยู่เบื้องล่าง เมื่อเห็นรี้พลบริวารของพระพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น อยากที่จะรู้จักชื่อเขาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบรมวงศานุวงศ์ก็ดี ขุนนางก็ดี หรือข้าราชบริพารอื่นๆ ก็ดี อำนาจของกงจักรแก้วจะบอกชื่อคนทั้งหลายเหล่านั้นแก่ผู้อยากรู้ถ้วนทุกคน   ผู้ใดนึกอยากตามเสด็จไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะอาการยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะลอยขึ้นไปในอากาศ ด้วยลักษณะอาการนั้นๆ ไม่ต้องก้าวไม่ต้องเดิน ทั้งเสื่อสาดอาสนะ ที่นั่ง ที่นอนอยู่ ถ้านึกอยากจะนำไปด้วย มันก็จะลอยไปด้วย ถ้าใครนึกอยากจะยืนไป เดินไป นั่งไปนอนไป ทำการงานไป ก็จะเป็นไปตามความประสงค์ทุกประการ ถ้าใครกำลังทำงานอยู่ และไม่อยากทำงานไปด้วย งานทั้งหมดก็จะไม่ไปด้วย ใครอยากทำงานไปด้วย ก็จะทำงานไปด้วยไม่เสียงานเลย
  ทิศตะวันออกของภูเขาพระสุเมร และด้านซ้ายภูเขาสัตตบริภัณฑ์ ข้ามมหาสมุทร ด้านทิศตะวันออก ก็จะถึงแผ่นดินที่มีชื่อว่า "บุรพวิเทหะทวีป" กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิราชไปถึงสถานที่นั้นๆจะราบเรียบมาก มีนํ้าใสงาม ท่านํ้าก็ไม่ลึก ที่นั้นเหมือนคนถากไว้ด้วยพร้าด้วยขวาน กว้าง ๑๒ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๓๖ โยชน์ ที่นั้นเคยเป็นที่ตั้งทัพหลวงของพระเจ้าจักรพรรดิราชตั้งแต่อดีต ในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาส กงจักรแก้วจึงหยุดอยู่ในอากาศเหมือนถูกขัดเพลาไว้ ไม่ให้เคลื่อน และไม่มีผู้ใดหมุนไปได้

   เมื่อกงจักรแก้วหยุดอยู่ดังนั้น พระเจ้าจักรพรรดิราชและไพร่พลทั้งหลายจึงลงมาจากอากาศมายังพื้นแผ้นดินที่ดูรุ่งเรืองงาม เหมือนดาวหรือเหมือนฟ้าแลบ หรือเหมือนแสงธนูของพระอินทร์ ทุกคนสนุกสนาน ใครอยากจะอาบนํ้าก็ได้อาบ ใครอยากจะกินข้าวและนํ้าก็ได้กินผู้ใดปรารถนาสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นทุกอย่าง  เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิราชเสด็จไปถึงทวีปนั้น บรรดาพระราชาและ เจ้าเมืองต่างๆ ในทวีปนั้น ก็ไม่อาจตระเตรียมอาวุธมาสู้รบกับพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้นได้เลย เขาทั้งหลายต่างมีใจรักใคร่นิยมบูชาพระองค์ยิ่งนัก จึงชักชวนกันมาถวายบังคมมาเฝ้าแหนพระเจ้าจักรพรรดิราชอยู่ บรรดาปีศาจ ผีสาง และสัตว์ทั้งหลายที่ฆ่ามนุษย์ก็ไม่มีใจคิดร้ายต่อพระเจ้าจักรพรรดิราชเลยเพราะเกรงบุญอำนาจของพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น เมื่อกงจักรแก้วมาจากมหาสมุทรจึงมีชื่อว่า "จักรรัตนะ" แต่เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิราชปราบทวีปทั้ง ๔ ได้แล้ว กงจักรแก้วนั้นจึงมีชื่อว่า "อรินทมะ" (ผู้ปราบข้าศึก)
   บรรดาพระราชาทั้งหลายในบุรพวีเทหทวีป ต่างแต่งเครื่องบรรณาการมี เทียน ธูป และเครื่องหอมนานาชนิดที่ตกแต่งอย่างประณีตงดงาม แล้วชวนกันมาไหว้และมาถวายตัวเป็นข้าแห่งพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น ขณะที่พระราชาทั้งหลายมาเฝ้าพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชอยู่นั้น ดูรุ่งเรืองงามด้วยด้วยเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องประดับและอาภรณ์ของพระราชาเหล่านั้น พวกเขาประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ ดูรุ่งเรืองงามตา เปรียบดังฟองน้ำไหลออกจากคนโททองมาล้างพระบาทพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น

   เมื่อพระราชาทั้งหลายถวายบังคมแล้วก็ถวายตัวและถวายบังคมทูลว่าดังนี้ "ข้าแต่มหาราชเจ้า ตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าทั้งหลายขอถวายตัวเป็นข้าของพระองค์ผู้เป็นเจ้าหากพระองค์ปรารถนาสิ่งใด ข้าพเจ้าทั้งหลายจะทำการงานสิ่งนั้นถวายพระองค์ ขอถวายบ้านเมืองของข้าเจ้าทั้งหลาย แด่พระองค์ผู้ทรงบุญฤทธิ์ ขอพระองค์ได้โปรดข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด แล้วพระราชาทั้งหลายก็ถวายบังคมแสดงความเคารพยำเกรงพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น พระเจ้าจักรพรรดิราชจึงตรัสตอบพระราชาทั้งหลายว่า "เราไม่ต้องการทรัพย์สมบัติหรือส่วยสาอากรจากพระราชาองค์ใดเลย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิราชมีสมบัติทิพย์อยู่แล้วด้วยเดชอำนาจของกงจักรแก้วนั้นเอง"

              คำสั่งสอนของพระเจ้าจักรพรรดิราช

  พระเจ้าจักรพรรดิราชไม่ได้ทรงมีพระดำรัสสั่งการใดๆ ให้พระราชาทั้งหลายต้องพลัด พรากจากที่อยู่อาศัยหรือเกิดความน้อยเนื้อตํ่าใจเลย พระองค์อนุเคราะห์เขาเหล่านั้นให้มีความสุข มีความสบาย ไม่ให้มีอันตรายเกิดแก่เขา พระเจ้าจักรพรรดิราชรู้บุญรู้ธรรมและทรงสั่งสอนธรรมแก่คนทั้งหลายเหมือนเป็นพระพุทธเจ้ามาเกิด พระองค์สอนธรรมแก่โลกทั้งหลาย พระองค์สอนธรรมแก่พระราชาทั้งหลายว่าให้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ตลอดเวลาให้รักไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลายเสมอกัน อย่าลำเอียง การเกิดเป็นคนเป็นสิ่งยาก เมื่อได้เกิดเป็นพระราชา แสดงว่ามีบุญมากแล้ว จึงควรรู้จักบุญรู้จักธรรม รู้จักละอายแก่บาป ให้ตัดสินความด้วยความสัตย์สุจริตเป็นธรรม และรวดเร็ว กระทำได้ดังนี้ เมื่อเกิดมาแล้วเมื่อใด เพราะบุญกุศลที่ได้ทำมาแต่ครั้งก่อน จะทำให้เกิดเป็นพระราชาให้รู้จักคุณของแก้ว ๓ ประการ คือ พระพุทธ  พระธรรม และพระสงฆ์ ให้ปฏิบัติตามธรรมคำสั่งสอนที่อาจารย์แต่โบราณ เช่นพระพุทธเจ้า และปราชญ์ผู้รู้ทั้งหลายได้สั่งสอนไว้ และควรเว้นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม  บาป ๕ ประการที่ควรเว้น ได้แก่
  ๑.ไม่ควรฆ่าสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต ไม่ว่าจะมดตัวหนึ่งก็ดี หรือปลวก ตัวหนึ่งก็ดี ถ้าผู้ใดจะทำร้ายตน ก็ไม่ควรฆ่าผู้นั้นควรว่ากล่าวสั่งสอนโดยธรรม การฆ่าสัตว์มีชีวิตเป็นบาปหนัก ผู้ใดทำบาปนั้นจะไปเกิดในนรกทนทุกขเวทนา เดือดร้อนเป็นเวลานานมากเมื่อพ้นจากนรกแล้วมาเกิดเป็นคนจะมีความทุกข์โศก จะถูกทำร้ายได้รับความเดือดร้อนไม่มีความสุขใจเลยเป็นเวลา ๑๐๐ ชาติ ๑,๐๐๐ ชาติ ต้องพลัดพรากจากคนที่รักทั้งหลาย ถ้าใครไม่กลัวบาปนั้นและยังทำบาปนั้นซํ้าอีก ก็จะเป็นการต่อบาปนั้นไปไม่มีที่สิ้นสุด
  ๒.ไม่ถือเอาทรัพย์สิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ และไม่ใช่ให้คนอื่นไปถือเอา ถ้าผู้ใดโลภเอาทรัพย์สินของคนอื่นที่เจ้าของไม่ให้ จะไปเกิดในนรกทนทุกข์ทรมานมาก เมื่อพ้นจากนรกนั้นมาเกิดเป็นคน จะเป็นคนโง่มาก เดือดร้อนลำบากมาก จนไม่อาจพรรณนาได้ทั้งหมด หากมีทรัพย์ใดๆ แม้เพียงนิดเดียวก็จะถูกช่วงชิงไป แม้ใส่พกไว้ก็จะตกหาย หรือมิฉะนั้น
จะถูกไฟไหม้ หรือมิฉะนั้นจะถูกนํ้าพัดไป จะเป็นคนเข็ญใจเช่นนี้ถึง ๑,๐๐๐ ชาติ จึงจะหมดบาป แม้ผู้ใดไม่รู้จักกลัวบาปนี้ และยังกระทำอีก ก็จะต่อบาปนั้นไปไม่สิ้นสุด
 ๓.การเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่นหรือเป็นชู้กับสามีผู้อื่น ไม่ควรกระทำแม้แต่น้อย ผู้ใดกระทำบาปนั้นจะตกนรกสิมพลี มีไม้งิ้วมีหนามเป็นเหล็กยาวแหลมคมมาก มีเปลวไฟลุกโพลงตลอดเวลา มีฝูงยมบาลถือหอกทิ่มแทงคอยขับให้สัตว์นรกปีนขึ้นลง มีความทุกข์ทรมานเป็นเวลานานเมื่อพ้นจากนรกนั้นจะมาเกิดคนมีศัตรูมาก จะเกิดเป็นกะเทยเป็นเวลา ๑,๐๐๐ ชาติ ถ้าเกิดเป็นผู้ชายจะมีบาปสืบไปตลอดชาติ
  ๔.การพูดปด ไม่ควรกล่าว ถ้าผู้ใดกล่าวคำเท็จ ผู้นั้นจะตกนรก มีฝูงยมบาลทรมานให้ได้รับความทุกข์ทรมานเป็นเวลานานมาก เมื่อพ้นจากนรกนั้นมาเกิดเป็นคน ร่างกายจะมีกลิ่นอาจม มีกลิ่นเหม็นหืนมาก ถ้าไปทำผิดต่อผู้ใด เวลาผู้นั้นจะทำร้ายจะหนีไม่พ้น และจะถูกทำร้ายไปทุกชาติ ผ้านุ่งห่มก็เหม็นสาบเหม็นสาง ต้องเกิดเป็นเช่นนี้ ๑,๐๐๐ ชาติจึงจะหมดบาป หากผู้ใดไม่รู้จักกลัวบาปนี้ยังพูดปดอีก บาปนั้นจะเพิ่มมากขึ้น และจะพ้นจากบาปนั้นได้ยาก
  ๕.ไม่ควรชวนกันกินเหล้า บาปนั้นจะทำให้ตกนรก มียมบาลทรมาน ให้ได้รับความทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน เมื่อพ้นจากนรกนั้นจะมาเกิดเป็นผีเสื้อ ๕๐๐ ชาติ และเป็นสุนัขบ้า ๕๐๐ ชาติ ถ้ามาเกิดเป็นคนจะเป็นบ้า มีรูปร่างน่าเกลียด ใจเป็นพาลไม่รู้จักผิดชอบ  เป็นคนใจคอโหดเหี้ยม หากไม่รู้จักบาปนั้นยังคงกระทำต่อไป บาปนั้นจะเพิ่มมากขึ้น และยากที่จะพ้นจากบาปนั้นได้บาปกรรมที่มีควรกระทำ ที่ควรเว้น ที่เราได้กล่าวมาแล้วนี้ ชื่อว่า เบญจศีล สูเจ้าทั้งหลายจงจำไว้ให้มั่น และจงสั่งสอนไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลาย ในอาณาจักรของตนให้รู้ให้ปฏิบัติชอบ จะได้เจริญและมีความสวัสดีทุกๆ คน
   ท้าวพระยาทั้งหลาย ไพร่ฟ้าข้าไทราษฎรทำไร่ไถนาเลี้ยงชีวิตในแผ่นดิน ของเรานี้ เมื่อข้าวออกรวง ผู้ทำนาไม่ว่าจะเป็นผู้ดีหรือเข็ญใจ ให้เขาแบ่งข้าวเปลือก เป็น ๑๐ ส่วน เป็นของหลวง ส่วนหนึ่ง อีก ๙ ส่วนเป็นของเขาผู้นั้น หากเห็นว่า เขาทำนาไม่ได้ข้าวก็ไม่ควรเอาของเขา

   อนึ่งควรแจกข้าวแก่ไพร่พลและทหารทั้งหลาย เดือนละ ๖ ครั้ง เขาจึงจะพอกินอย่าให้เขาอดอยาก ถ้าจะให้เขาทำสิ่งใดก็ตาม ควรใช้แต่พอควร อย่าใช้งานมากเกินไป ไม่ควรใช้คนมีอายุมาก ควรปล่อยเขาไปเป็นอิสระ ให้เก็บส่วยจากราษฎรตามแบบที่ท้าวพระยาแต่โบราณกระทำมา ถ้าทำได้เช่นนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหลายจะสรรเสริญว่ากระทำชอบ ไม่ควรเก็บส่วยจากราษฎรมากเกินไป ถ้าทำเช่นนั้น ท้าวพระยาผู้จะมาเสวยราชย์ต่อจากเราในภายหน้าจะถือเป็นตัวอย่าง เป็นธรรมเนียมสืบต่อๆ กันไป บาปจะเกิดแก่เรา เพราะเรากระทำความไม่ชอบธรรมนี้ไว้ในแผ่นดิน
   อนึ่งหากไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลายในแผ่นดินเรา จะไปค้าขายแต่ไม่มีทุน และได้มาหาและมาขอกู้เงินทองเป็นทุนจากเราผู้เป็นนาย เราควรเอาเงินจากท้องพระคลังให้เขา และให้จดบัญชีไว้แต่ต้นปีว่าเขากู้ไปเท่าใด เราผู้เป็นนายไม่ควรคิดดอกเบี้ยเขาเลย ควรเรียกแต่ต้นทุนคืนเท่านั้น ไม่ควรเรียกเก็บภาษีหรือดอกเบี้ยจากเขาเลย ท้าวพระยาทั้งหลายควรให้ทรัพย์สินแก่ลูกและเมียของเสนามนตรี และ ไพร่พลทั้งหลาย เพื่อเป็นเบี้ยเลี้ยงเสบียงสำหรับเขา เป็นเครื่องแต่งตัว ควรให้ทรัพย์สินแก่เขา เขาจะได้เต็มใจทำงาน เราผู้เป็นท้าวพระยาไม่ควรคิดเสียดายทรัพย์  ขณะที่เสนามนตรีทั้งปวงเข้าเฝ้า พระราชาไม่ควรพูดมาก ไม่ควรยิ้มมาก ควรพูดและแย้มยิ้มพอประมาณอย่าลืมตัว

   เมื่อจะตัดสินคดีความทั้งหลาย อย่าพูดนอกเรื่องหรือทะเลาะกัน ต้องตัดสินคดีความอย่างยุติธรรม พิจารณาความให้ตลอดถี่ถ้วน แล้วจึงตัดสินความอย่างซื่อตรงให้เลี้ยงดูบำรุงสมณพราหมคณาจารย์และนักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้รู้ธรรมยกย่องให้นั่งในที่สูง แล้วจึงสนทนาซักถามธรรมอันประเสริฐ ไพร่ฟ้าข้าราชบริพารผู้ใดทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ท้าวพระยาต้องให้รางวัลผู้นั้นมากน้อยตามความดีที่เขาทำ
   ถ้าพระราชาองค์ใด เมื่อเสวยราชย์แล้วทรงปกครองโดยชอบธรรม ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ จะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะพระบุญญาบารมีของพระราชา ผู้เป็นนาย มีข้าวปลาอาหาร แก้วแหวนเงินทอง ผ้าผ่อนแพรพรรณบริบูรณ์ ฝนตกปริมาณพอดีตกตามฤดูกาล ข้าวในนาปลาในน้ำก็จะไม่หมดไป เพราะฝนไม่แล้ง
   อนึ่ง วันคืน เดือนปี ทั้งหลายย่อมเป็นไปโดยปรกติ เทวดาอารักษ์ประจำเมืองก็รักษาเมือง เพราะเกรงบุญบารมีของพระราชาผู้ปกครองโดยธรรม ถ้าพระราชาองค์ใดไม่ปกครองโดยธรรม ฝนจะวิปริต การทำไร่ไถนาจะเสียหาย เพราะฝนแล้ง โอชารสที่อร่อยในดินจะจมหายไปได้แผ่นดินทั้งสิ้น ผลไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ จะไม่งอกงาม แดด ลม ฝน เดือนและดาวจะไม่เป็นไปตามฤดูกาลดังแต่ก่อน ทั้งนี้เพราะพระราชาไม่อยู่ในธรรม เทวดาทั้งหลายเกลียดพระราชาอธรรม ไม่ชอบมองหน้าพระราชานั้น จะมองด้วยหางตาเท่านั้น พระราชาทั้งหลาย จงจำคำที่เราสอนไว้นั้นตราบเท่ามีชีวิตอยู่ และจงเร่งกระทำความชอบธรรมนี้เถิด จะได้มีความสุขความเจริญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อสิ้นชีวิตไป แล้วจะได้ไปเกิดในสวรรค์ ๖ ชั้น ถ้ามาเกิดในเมืองมนุษย์ จะได้เกิดในตระกูลดีมียศศักดิ์มีบุญทุกประการ
   ถ้ามีคนถามว่า เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิราชสั่งสอนพระราชาทั้งหลายนั้น พระราชาเหล่านั้นสนใจฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนนั้นหรือไม่ ตอบว่า แม้พระพุทธเจ้าผู้ได้สะสมสร้างบารมีมามากจนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และได้สั่งสอนชาวโลกนั้น ยังมีบางคนผู้มีบุญเต็มใจปฏิบัติตามคำสั่งสอน บางคนมีบุญน้อยไม่นิยมปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามยังมีจำนวนมาก
   ส่วนพระเจ้าจักรพรรดิราชไม่อาจเทียบกับพระพุทธเจ้าได้ ยังห่างไกลกันมาก ดังนั้น ไม่ใช่พระราชาทั้งหมดจะปฏิบัติตามคำสั่งสอน บางคนฟังคำสั่งสอนและทำตาม บางคนไม่เชื่อและไม่ทำตาม 
   คำสั่งสอนที่พระเจ้าจักรพรรดิราชทรงแสดงแก่พระราชาทั้งหลายในบุรพวิเทหทวีป ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแผ่นดินนี้ ชื่อว่า "ชัยวาทสาสน์" แล้วพระองค์จึงเลี้ยงอำลาพระราชาทั้งหลายพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งปวงด้วยอาหารอันมีรสเลิศทั้งหลาย แล้วกงจักรแก้วก็เหาะขึ้นไปในอากาศ มหาสมุทรกลัวบุญบารมีกงจักรแก้วจึงไม่ตีฟองเป็นละลอก เปรียบเหมือนพระญานาคซึ่งกำลังแผ่พังพานอยู่ ต้องก้มสยบหัวลงแอบซ่อนเพราะความกลัวอาญาเมือง  กงจักรแก้วนั้นผันไปถึงพระมหาสมุทรแล้ว นํ้าในมหาสมุทรก็แยกออกเป็นทาง กว้าง ๑ โยชน์ หรือ ๘,๐๐๐ วา นํ้าสองข้างงามเหมือน กำแพงแก้วไพฑูรย์ เมื่อกงจักรแก้วไปถึงพื้นมหาสมุทร นํ้าแยกออกเป็นเนื้อที่ ๘,๐๐๐ วา แก้ว ๗ ประการที่อยู่ในพื้นมหาสมุทรและแก้วประเภทต่างๆ ก็มาอยู่ตรงทางที่พระเจ้าจักรพรรดิราชเสด็จด้วยรี้พล ตั้งแต่มหาสมุทรฝั่งนี้ไปจนถึงมหาสมุทรฝังโน้นตลอดไปจนถึงเชิงกำแพงจักรวาล ทั้งนี้เพราะอำนาจของกงจักรแก้วนั้นฝูงคนทั้งหลายที่ตามเสด็จพระเจ้าจักรพรรดิราชในวันนั้นต่างเห็น แก้วแหวนเงินทอง ต่างก็เลือกเอาตามความพอใจของตน บางคนกวาดเอาใส่พก บางคนกวาดใส่ห่อผ้า

   คนทั้งหลายต่างชื่นชมยินดีมาก ทุกคนร้องชมว่า แต่ก่อนเราไม่เคยพบเห็น อย่างนี้ บัดนี้เราได้เห็นได้พบทั้งนี้เป็นเพราะบุญบารมีเจ้านายของพวกเรา  กงจักรแก้วนั้นก็นำเสด็จพระองค์ไปถึงฝั่งมหาสมุทรอีกด้านหนึ่ง จนถึงกำแพงจักรวาลฝั่งตะวันออก  พระเจ้าจักร พรรดิราชจึงหลั่งนํ้าหอมจากหม้อทองลงสู่พื้นดินและประกาศว่า ดินแดนฝั่งตะวันออกนั้นเป็นของเรา อาณาประชาราษฎร์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนตะวันออกนี้เป็นของเรา แล้วพระเจ้าจักรพรรดิราชก็เสด็จกลับทางเก่า คนทั้งหลายก็กลับตาม

   ข้าราชบริพารและไพร่พลบางคนนำเสด็จ บางคนตามเสด็จ ส่วนกงจักรแก้วนั้นตามหลังคนทั้งหลาย เพราะคอยกันไม่ให้นํ้าในมหาสมุทรท่วมกลบหนทางของคนทั้งหลาย ส่วนนํ้าในมหาสมุทร รักกงจักรแก้วมาก ไม่อยากให้จากไป เปรียบเหมือนผู้หญิงที่มีรูปงาม มีสามีที่ตนรักและสามีได้จากไปเป็นเวลานาน เมื่อกลับคืนมาหาและจะจากไปอีก นางรักสามีมากไม่อยากให้จากไป จึงกล่าวถ้อยคำเล้าโลมสามี เพราะไม่อยากให้จากไป ฉันใดก็ดี น้ำในมหาสมุทรก็  ฉันนั้น นํ้าในมหาสมุทรมีใจรักกงจักรแก้วยิ่งนัก  จึงตามมาส่งนํ้านั้นคอยท่วมทางตามกงจักรแก้วมา แต่ไม่ถูกกงจักรแก้วเลย แก้วแหวนเงินทองทั้งหลายก็มีใจรักกง จักรแก้วมาก จึงชวนกันมาส่งกงจักรแก้ว ถึงฝั่งมหาสมุทร เมื่อกงจักรแก้วขึ้นมาจากมหา สมุทรแล้ว นํ้ามหาสมุทรก็เต็มดังเดิมเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิราช ปราบบุรพวิเทหทวีป ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ได้เอามหาสมุทรและเชิงเขากำแพงจักรวาลเป็นเขตแดนเบื้องตะวันออก และประสงค์จะมาปราบชมพูทวีป ซึ่งมีมหาสมุทรกั้นอยู่ จึงเสด็จทางอากาศ กงจักรแก้วนำพระองค์มาทางอากาศ ดังได้ปฏิบัติมาแต่ก่อน แล้วจึงมาทางแผ่นดินชมพูทวีปที่พวกเราอาศัยอยู่ทุกวันนี้
   พระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปต่างก็มาถวายบังคมและถวายเครื่องราชบรรณาการแด่พระเจ้าจักรพรรดิราชๆก็ทรงสั่งสอนพระราชาทั้งหลายด้วยธรรมชื่อ "ชัยวาทสาสน์" แล้วเสด็จไปยังมหาสมุทร นํ้าในมหาสมุทรก็แยกออกเป็นทางดังกล่าวมาแล้ว รี้พลทั้งหลายก็เก็บแก้วแหวนเงินทองในมหาสมุทรตามต้องการ เมื่อเก็บได้เต็มที่แล้วก็ไปถึงกำแพงจักรวาลด้านใต้ พระเจ้าจักรพรรดิราชจึงหลั่งนํ้าจากหม้อทอง ประกาศว่าดินแดนนี้ และอาณาประชาราษฎร์ในดินแดนนี้เป็นของเรา แล้วจึงเสด็จกลับตามทางเดินในมหาสมุทรนั้น เมื่อเสด็จขึ้นจากนํ้า นํ้ามหาสมุทรก็เต็มดังเดิม
   เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิราช ปราบดินแดนทางด้านทิศตะวันออกและ ชมพูทวีปอันกว้างได้ ๑๐,๐๐๐ โยชน์แล้ว ก็ประสงค์จะไปปราบดินแดนทางทิศตะวันตก ซึ่งกว้างได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ ชื่อ "อมรโคยานทวีป" ซึ่งมีมหาสมุทรเป็นเขตแดนกั้นอยู่ พระองค์ซึ่งเสด็จไปยังมหาสมุทรทางทิศตะวันตก ปราบแผ่นดินอมรโคยานทวีปเสร็จแล้วก็ได้ทรงสั่งสอน พระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปเหมือนดังที่กล่าวมาแล้ว เสร็จแล้วก็ข้ามมหาสมุทรไปถึงเขตกำแพงจักรวาลทิศตะวันตก พระเจ้าจักรพรรดิราชจึงหลั่งนํ้าจากหม้อทองคำ แล้วทรงประกาศว่า "ดินแดนนี้และอาณาประชาราษฎร์ในดินแดนนี้เป็นของเราแล้ว" จึงเสด็จกลับ พระเจ้าจักรพรรดิราช ทรงประสงค์จะปราบแผ่นดินในอุตรกุรุทวีป ซึ่งกว้างได้ ๘,๐๐๐ โยชน์

   บรรดาพระราชาทั้งหลายได้มาถวายบังคมพระเจ้าจักรพรรดิราชพระ องค์ได้สั่งสอนพระราชาทั้งหลายแล้วข้ามมหาสมุทร  ไปถึงกำแพงจักรวาลทางทิศเหนือ แล้วจึงหลั่งนํ้าจากหม้อทองคำ และประกาศว่า "ตั้งแต่นี้ไป ดินแดนนี้ และอาณาประชาราษฎร์ในเมืองนี้เป็นของเรา" แล้วเสด็จกลับตามทางเดิมในมหาสมุทร ดังกล่าวมาแล้ว เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นจากมหาสมุทรแล้ว น้ำในมหาสมุทรก็เต็มดังเดิม
   บรรดาพระราชาทั้งหลายในแผ่นดินน้อยใหญ่จำนวน ๒,๐๐๐ ทวีป ซึ่งรวมบริวารของทวีปทั้ง ๔ ทวีปละ ๕๐๐ ก็ได้มาเฝ้ามาถวายบังคม พระเจ้าจักรพรรดิราชเอง  พระเจ้าจักร พรรดิราชไม่ต้องเสด็จไปปราบ ทรัพย์สมบัติทั้งหลายในแผ่นดิน ในจักรวาลและในมหา สมุทรทั้ง ๔ ในส่วนที่รัศมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องไปถึง ย่อมเป็นพระราชทรัพย์
ของพระเจ้าจักรพรรดิราชทั้งสิ้นมีจำนวนมากมายยิ่งนัก เหมือนดังกงจักรราชรถของพระอินทร์ผู้เป็นเจ้าครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชปราบได้ทั่วทุกทวีปและจักรวาลแล้วประสงค์จะทอดพระเนตรมหาสมบัติของพระองค์ กงจักรแก้วเหมือนจะรู้พระทัย จึงหมุนเหาะขึ้นไปในอากาศ มีรัศมีดั่งดวงจันทร์ หมุนรอบเขาพระสุเมรุนั้นสว่างดังพระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกัน ๒ ดวง คนทั้งหลายเห็นแสงสว่างรุ่งเรืองดังนั้นคิดว่าเป็นพระอาทิตย์ ๒ ดวง

   เมื่อพระเจ้าาจักรพรรดิราชและรี้พลทั้งหลายที่ตามเสด็จลอยขึ้นไปในอากาศด้วยอำนาจของกงจักรแก้วนั้น ก็แลเห็นทั่วทุกแห่ง เห็นเขาพระสุเมรุอยู่ตรงกลาง เห็นแผ่นดินใหญ่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ ๔ ทิศ เห็นแผ่นดินน้อยซึ่งเป็นบริวารของแผ่นดินใหญ่จำนวน ๒,๐๐๐ เห็นพระมหาสมุทรทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเขตแดนขวางกั้นอยู่ เห็นแม่นํ้าใหญ่น้อยทั้งหลายเห็นยอดเขาใหญ่ เห็นป่าใหญ่บนทั้ง ๔ ทวีป เห็นเมืองน้อยใหญ่ เห็นถิ่นฐานชนบทนับไม่ถ้วน
   คนทั้งหลายเห็น ห้วย หนอง คลอง บึง และสระที่มีดอกบัวนานาพรรณ มีดอกและรากเหง้างามตระการ กงจักรแก้วนั้น ก็บันดาลให้พระเจ้ามหาจักรพรรดิราชเห็นถ้วนทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว จึงนำเสด็จลงสู่แผ่นดินและเมืองที่พระเจ้าจักรพรรดิราชประทับอยู่ เมื่อกงจักรแก้วมาถึงประตูพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิราช ก็ลอยอยู่กลางอากาศในระยะสูงพอสมควร คนทั้งหลายนำข้าวตอก  ดอกไม้มากราบไหว้บูชา เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิราชมาถึงเรือนหลวงแล้ว จึงสั่งให้ปลูกมณฑปแก้วขึ้น มีแก้ว ๗ ประการเป็นเครื่องประดับมณฑปเขาแก้วนั้นมีประตูทำด้วยแก้วและทองคำดูรุ่งเรืองงามมาก แล้วจึงให้กงจักรแก้ว มาอยู่ที่มณฑปนั้น คนทั้งหลาย จึงนำข้าวตอกดอกไม้มาเคารพบูชา ขณะที่กงจักรแก้วอยู่ในมณฑปแก้วนั้นปราสาทของพระเจ้าจักรพรรดิราชไม่ต้องจุดประทีปโคมไฟเลย เพราะรัศมีกงจักรแก้วนั้นส่องไปให้รุ่งเรืองทั่วทุกแห่ง  กลางคืนก็เหมือนกลางวัน แต่ถ้าใครต้องการให้มืด ก็จะรู้สึกมืดด้วยใจของผู้นั้น พระกงจักรแก้วจะนำพระเจ้าจักรพรรดิราชพร้อมด้วยรี้พลไปทางทิศตะวันออก มุ่งไปทางกำแพงจักรวาล ด้านตะวันออก เมื่อมาถึงฝั่งมหาสมุทรด้านตะวันออกแล้ว กงจักรแก้วก็จะผันลงสู่น้ำในมหาสมุทร

                    จบเรื่องของกงจักรแก้วเพียงเท่านี้

                             ช้างแก้ว

      

   ๐ช้างแก้ว   เป็นสมบัติอันที่สองของพระเจ้าจักรพรรดิ  ช้างแก้วนี้เป็นช้างที่เกิดจากบุญฤทธิ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ  ถ้าสมัยใดมีพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จมาบังเกิดขึ้นบนโลก  ช้างแก้วนี้มันจะมาหาเองโดยไมต้องไปแสวงหามัน  เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิสิ้นอายุขัยแล้ว  มันก็จะหนีไปเองไม่มีใครจะเอามันไปใช้ได้นอกจากพระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น  มันเป็นช้างที่มีเนื้อหนังจริงๆ  ไม่ใช่ช้างที่ทำขึ้นด้วยแก้วที่มนุษย์สร้างขึ้นมา  ช้างแก้วนี้มีลกษณะสีขาวเผือกสดใสดูรูปภาพตัวอย่างข้างบน  แต่ตัวจริงจะสวยมากกว่านี้  ช้างพวกนี้มันจะอาศัยอยู่ที่ฉัททันสระอยู่ในป่าหิพานต์ไม่มีใครจะจับมันมาใช้งานได้นอกจากพระเจ้าจักร พรรดิเท่านั้น   พูดไปแล้วมันก็เหมือนกับช้างที่มีชื่อว่า "ปัจจัยนาค" ของพระเวสสันดร  วันที่พระเวสสันดรประสูติช้างปัจจัยนาคสีมันก็มาที่อยู่ที่โรงช้างเอง  ช้างปัจจัยนาคตัวนี้มี ลักษณะสีขาวเผือกสดใส  เหมือนกับช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิไม่มีผิด  ช้างปัจจัยนาคตัวนี้มีลัษณะพิเศษคือถ้าที่ไหนมีฝนแล้ง  ถ้าเอามันไปที่มีฝนแล้งฝนจะตกลงมาห่าใหญ่เลยทีเดียว

    ช้างแก้วเกิดมาจากพญาช้างฉัททันต์

    พญาช้างฉัททันต์ พร้อมด้วยบริวาร  ๘๐๐๐  เชือก  ได้อาศัยอยู่ในถ้ำทองคำ  ถ้ำทองคำนั้นอยู่ในภูเขาทองคำที่แวดล้อมฉัททันต์สระในป่าหิมพานต์ ในถ้ำทองคำนั้นมีส่วนกว้างและส่วนยาววัดได้ ๑๒  โยชน์  อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของสระฉัททันต์
    -ลักษณะของพญาช้างฉัททันต์มีลำตัวสูง  ๘๐  ศอก
    -มีลำตัวยาว  ๑๔๐  ศอก
    -มีเท้าทั้งสองข้างแดงงามประดุจดังน้ำครั่งสด  ปากก็มีสีแดง
    -มีลำตัวเป็นสีขาวล้วนผ่องใสงดงามประดุจดังเขาไกรลาส
    -มีงวงยาว  ๕๘  ศอก  งดงามประดุจดังพวงเงิน
    -มีงาทั้งสองข้างยาวได้  ๓๐  ศอก  โดยกลมรอบวัดได้  ๑๕  ศอก  ประกอบด้วยสีแห่งรัศมี  ๖  ประการ  มีสีรุ่งเรืองงดงามยิ่งนัก
    -พญาฉัททันต์มีมีมเหสี  ๒  ตัว   คือ:-
       ๑.มหาสุภัทรา
       ๒.จูฬะสุภัทรา
     ช้างพังทั้งสองตัวมีสีขาวผ่องสดใสงดงามยิ่งนัก  และมีช้างพลายคือช้าวตัวผู้ทั้งหลายที่เป็นบริวารของพญาฉัททันต์ ๘๐๐๐  ตัว ล้วนแล้วแต่มีสีขาวผ่องสดใสงดงามด้วยกันทั้งนั้น  ช้างทุกตัวมีกำลังรวดเร็วประดุจดังลมพัด มีความแกล้วกล้าสามารถยิ่งนัก และสามา รถย่ำยีข้าศึกศัตรูให้พ่ายแพ้ไปในเร็วพลัน
    -คุณสมบัติพิเศษของพญาช้างฉัททันต์  มีฤทธิ์สามารถเหาะเหินเดินไปในอากาศได้  เป็นช้างแก้วคู่บารมีของพระเจ้าจักรพรรดิ  คือช้างแก้วตัวไหนที่จะเป็นช้างคู่บารีของพระเจ้าจักรพรรดิช้างตัวนั้นก็จะเหาะไปสู่พระเจ้าจักรพรรดิในเวลาที่พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นในโลกของมนุษย์แล้ว เพื่อทำหน้าที่รับใช้เป็นพาหนะของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยอำนาจบุญบารีของพระองค์ 
   -ร่างกายมีสีขาวปลอด ปากและเท้าสีแดง มีร่างกายใหญ่โตมากกว่าช้างธรรมดาอื่น ๆ ที่งามีแสงรัศมีเปล่งออกมาเป็น ๖ ประการ มันจะเปล่งออกมาให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
   -พญาช้างฉัททันต์มีกำลังมากเท่ากับบุรุษ  ๑๐๐๐  โกฏิคน

    ช้างแก้วนี้ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิจะทรงเสด็จไปดูแลทุกข์สุขของประชาชนที่ไหนพระองค์ก็จะทรงใช้ช้างแก้วนี้เป็นพาหนะนำไปยังที่นั้น  บางครั้งพระองค์ก็ใช้ช้างแก้วนี้ไปตรวจดูงานรอบจักวาล  ใช้เวลาตั้งแต่หกโมงเช้าพอถึงเวลาสิบเอ็ดโมงพระค์ก็จะเสด็จกลับมาถึงพระราชวังแล้ว  มันวิ่งรวดเร็วมากจริงๆนะ

         วิธีรับเอาช้างแก้วมาสู่พระเจ้าจักรพรรดิ         
    ๐ครั้งนั้น พวกข้าราชบริพารทั้งหลาย จะถูกสั่งให้ปลูกโรงช้างแห่งหนึ่ง หลังคาและเสาทำด้วยเงินและทองคำประดับตกแต่งด้วยแก้ว ๗ ประการ ตรงกลางโรงช้างนั้นจะทาและประพรมด้วยกระแจะและจวงจันทน์อันหอม ให้สร้างแท่นทองภายในโรงช้างนั้น แล้วใช้ผ้าหลายชั้นปูบนแท่นทอง ใช้ผ้าทำหัตถีรัตนะ  เพดานตกแต่งด้วยแก้ว ๕ ประการ ดูรุ่งเรือง สดใสงดงามยิ่ง ให้ติดผ้าม่าน ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ แกว่งไกวไปมางามมาก มีแสงสีสุกใสแวววาวเหมือนดั่งดวงดาวบนท้องฟ้า เนื้อผ้านั้นมีกลิ่นหอม เพราะถูกอบด้วยกระแจะและจวงจันทน์ มีข้าวตอกดอกไม้หอมนานาชนิด ร้อยเป็นสร้อยห้อยย้อยระย้าเป็นพุ่มพวงประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ ติดห้อยไว้กลางโรงช้าง ซึ่งมีรัศมีสีเขียว ขาว แดง และเหลือง สลับกันดูรุ่งเรืองแวววาวยิ่งนัก
   พนักงานได้ติดผ้าเขียวขาวดำแดงและเหลืองไว้ในโรงช้าง ประดับตกแต่งด้วยแก้ว ๗ ประการ รุ่งเรืองงาม ดุจดั่งทิพยวิมานในสวรรค์ครั้นปลูกสร้างโรงช้างเสร็จแล้ว เจ้าพนัก งานจึงนำเรื่องขึ้นกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิราช ข้าทั้งหลายก็สร้างโรงช้างของพระ องค์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอพระองค์คำนึงถึงช้างแก้วอันควรจะมาเป็นช้างต้นของพระองค์ด้วยเถิดพระเจ้าข้า
   ครั้งนั้นพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชเจ้า จึงทรงบริจาคทานเละทรงสมาทาน รักษาศีลตลอด ๗ วัน ครั้นแล้วทรงดำริถึงพระบุญญาบารมีที่ได้เคยทรงบำเพ็ญมา ทรงดำริถึงธรรมที่ทรงหยั่งรู้มาแล้ว ต่อจากนั้น ทรงดำริถึงช้างแก้วอันประเสริฐด้วยอำนาจพระบุญญาบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิราช บรรดาฝูงช้างแก้วทั้งหลาย มีช้างแก้วตระกูลฉัททันต์และตระกูลอุโบสถเป็นต้นที่อยู่ในป่าหิมพานต์ เป็นช้างที่มีร่างสูงใหญ่เผือกปลอดขาวผ่อง งดงามเหมือนดั่งรัศมีดวงจันทร์วันเพ็ญ มีเท้าแดงสดใสเหมือนดั่งแสงทองในยามอรุณรุ่ง งดงามสมส่วนเหมือนดั่งช่างปั่นแต่ง มีงวงแดงเข้มงามดั่งดอกบัวแดง สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้อย่างรวดเร็ว เหมือนดั่งพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ มีอำนาจเหาะเหินเดินอากาศได้
อย่างรวดเร็วฉะนั้น ช้างแก้วนั้นมีรูปร่างสูงใหญ่ดุจดังภูเขาเงิน พระวิษณุกรรมที่นำหิงคุล มาไล้ทาขัดสีฉวีวรรณให้งามผุดผ่องอยู่เสมอ ช้างแก้วตัวประเสริฐนี้มีลักษณะดีสมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ สมควรเป็นช้างทรงคู่บารมีองพระเจ้าจักรพรรดิราช เหาะมาทางอากาศเหมือนดั่งพระญาหงส์ทองธรรมราชบินมายังเมืองพระเจ้าจักรพรรดิราช

   ครั้นช้างแก้วมาถึงเมืองพระเจ้าจักรพรรดิราชแล้ว  จึงเข้าไปในโรงช้างทองคำที่ตก แต่งไว้อย่างงาม ยืนอยู่เหนือฟูกที่ปูลาดไว้และขึ้นไปยืนอยู่บนแท่นทองคำช้างนั้นเฉลียวฉลาดและเชื่องมาก เหมือนดั่งช้างประจำพระราชสำนักเก่าแก่ที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้วอย่างดีเป็นเวลาช้านาน ช้างนี้เป็นสัตว์ดีเยี่ยม มีชาติตระกูลสูงถ้าเป็นช้างมาจากตระกูลฉัททันต์ หรือตระกูลอุโบสถ ที่นับว่าประเสริฐและวิเศษดียิ่งกว่าช้างตระกูลอื่นๆ
   ครั้นเจ้าพนักงานเห็นดังนั้น จึงนำเรื่องเข้ากราบทูลว่าช้างพลายเผือกตัวประเสริฐเข้ามาอยู่ในโรงช้างแล้ว เชิญเสด็จไปทอดพระเนตร พระเจ้าจักรพรรดิราชจึงเสด็จไปยังโรงช้าง ได้ทอดพระเนตรเห็นช้างนั้นมีลักษณะงดงาม ยิ่งทรงมีพระทัยชื่นชมยินดี จึงยื่นพระหัตถ์ไปทรงลูบคลำช้างแก้ว ฝ่ายช้างแก้วนั้นค่อยเอี้ยวคอมามองพระเจ้าจักรพรรดิราช แล้วก้มหัวลงใช้งาดุนพื้นดิน เป็นสัญญานบอกให้รู้ว่าจบไหว้พระเจ้าจักรพรรดิราช
   พระเจ้าาจักรพรรดิราชเจ้าทรงมีรับสั่งให้ประดับตกแต่งช้างแก้วทั่วสรรพางค์กายด้วยเครื่องประดับ เช่น แก้วแหวน เงินทอง และผ้าอาภรณ์อย่างดี เหลือที่จะคณนานับทีเดียว เครื่องประดับเหล่านั้นมีแสงเรืองสุกดังแสงดาวในท้องฟ้า ครั้นแล้วพระเจ้าจักรพรรดิราชจึงเสด็จขึ้นทรงช้างแก้วนั้น ทรงมีพระราชดำริจะเสด็จไปทางอากาศ ช้างแก้วนั้นจึงเหาะล่องลอยไปในอากาศ เหมือนราชหงส์ทองอันเป็นพญาของหงส์เหล่านั้น ชื่อ "พญาหงส์ทองธรรมราช" บรรดาข้าราชบริพารและรี้พลโยธาทแกล้วทหารก็เหาะตามเสด็จไป  ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์ช้างแก้ว เช่นเดียวกับผู้คนเหาะเหินเดินอากาศได้ ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์กงจักรแก้วฉะนั้น  

   ส่วนพระเจ้าาจักรพรรดิราชทรงช้างแก้วเสด็จล่องลอยไปในอากาศ ท่ามกลางการห้อมล้อมของข้าราชบริพารและทแกล้วทหาร ทรงรุ่งเรืองด้วยสิริราชสมบัติเหมือนดั่งพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณตัวประเสริฐ ทรงรุ่งเรืองด้วยทิพยสมบัติท่ามกลางการห้อมล้อมของหมู่นางฟ้าฉะนั้น พระองค์พร้อมด้วยข้าราชบริพารและทแกล้วทหารผู้ตามเสด็จ เสด็จถึงเขาพระสุเมรุราชแล้วทรงเสด็จเวียนรอบพระสุเมรุราชนั้น แล้วเสด็จไปเลียบขอบกำแพงจักร วาล จากนั้นจึงเสด็จกลับคืนสู่พระนครในเวลาอันรวดเร็วแต่เช้ามาถึงก่อนเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า พระเจ้าจักรพรรดิราชเสด็จไปแล้วยังกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้ารวดเร็วมากจริงๆ
                        เรื่องของช้างแก้วจบเพียงแค่นี้

                              ม้าแก้ว

                 

  ๐ม้าแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้าชื่อวลาหะกะ ตระกูลสินธพ มีสีขาวล้วน มีปากแดง  มีเท้าแดงทั้ง ๔ เท้า   มีศีรษะดำเหมือนปีกกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงมีพระเนตรเมตตาทรงมองดูด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ม้าตัวนี้ถ้าได้รับการฝึกหัดก็จะดี” ม้าแก้วก็เป็นม้าแสนรู้ ในทันที เหมือนม้าที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดีมาเป็นเวลานานแล้ว ในเวลาเช้าพระองค์จะทรงทดลองม้าแก้วด้วยการเสด็จขึ้นขี่หลังแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร และเหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า

    ม้าแก้วเป็นม้าที่เกิดมาจาก "ม้าตระกูลวลาหก" มันอาศัยอยู่ในถ้ำแก้วที่ภูเขาจิตกูฏ ในป่าหิมพานต์  มันมีพละกำลังมากสามารถวิ่งเหาะเหินเดินไปในอากาศได้  เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิขึ้นนั่งบนหลังของมันๆ ก็จะพาวิ่งไปรอบโลกและจักรวาลใช้เวลาเพียง ๗ ชั่วโมง มันก็จะวิ่งมาู่จุดหมายเดิมได้สำเร็จ

       วิธีการทำให้ม้าแก้วมาสู่พระเจ้าจักรพรรดิราช

    ๐ม้าแก้ว  เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิต้องการม้าแก้วมาเป็นพาหนะ พระองค์จะต้องทำการสร้างโรงม้าประดับด้วยเงิน ทองคำ และแก้ว ๗ ประการ จากนั้น จึงปูลาดด้วยผ้าหลายชั้น เอาข้าวตอกดอกไม้โปรยลงให้ทั่วที่โรงม้า แล้วพระเจ้าจักรพรรดิจะต้องให้ทานรักษาศีล ๘  ตลอด ๗ วัน แล้วคำนึงถึงม้าแก้ว ม้าแก้วอันงามดังสีเมฆหมอกขาว และมีลายเขียวดังสายฟ้าแลบ มีกีบเท้าทั้งสี่ และหน้าผากแดงดังน้ำครั่ง มีร่างกายกำยำล่ำสันขนหัวนั้นดำเลื่อมงามดังกาดำ เรืองแสงงามดังแก้วอินทนิล ก็จะเหาะมาลงที่โรงม้า ม้าแก้วสามารถเดินทางและเหาะไปในอากาศได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งกว่าลมพัด

                         เรื่องของม้าแก้วจบเพียงแค่นี้

                          ดวงแก้วมณี

     

    ๐ดวงแก้วมณีนี้ จะปรากฏผุดขึ้นมาเองตรงใจกลางมหานคร แล้วจะเคลื่อนย้ายไปอยู่ในท้องพระคลัง ทำหน้าที่รักษาสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ให้มีเพียงพอเพื่อเลี้ยงดูประชากรทั้งโลก มันจะส่องสว่างอยู่ชั่วกาลนาน  จนกว่าพระเจ้าจักรพรรดิราชจะทรงสิ้นอายุขัย มันถึงจะล่องลอยหายไป  ไม่มีใครจะรักษามันไว้ได้มันเกิดมาเพื่อบุญบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น

    แก้วมณึของพระเจ้าจักรพรรดิราชสถิตย์อยู่ที่ระหว่างภูเขาเวปุลละบรรพต ในกรุงราชคฤห์ พวกยักข์ทั้งหลาย ๑๐๐๐๐๐ ตนรักษาไว้อยู่

                     เรื่องของแก้วมณีโชติจบเพียงแค่นี้

                                   นางแก้ว

    

   ๐ นางแก้ว   คือสุภาพสตรีที่มีบุญมาก  เป็นผู้หญิงที่มีคุณสมบัติความงามครบ ๑๐ ประการ  ผู้หญิงประเภทนี้เกิดมาคู่บุญบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น ชายอื่นไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ไม่มีบุญบารมีสามาถครอบครองสตรีนี้ได้  "ทสกัลยาณี"  ได้แก่มีความงาม ๑๐  ประการ  คือ :-

       ๑.เป็นผู้มีผมงาม     คือมีผมยาวเหมือนแววหางนกยูง เมื่อสยายออกทิ้งตัวลงจะยาวลงมาถึงชายผ้าและมีปลายงอนขึ่นเล็กน้อย

       ๒.เป็นผู้มีวัยงาม    คือมีอายุกี่ปีก็ตามจะไม่แก่ชราตามอายุ ได้แก่เป็นสาวอยู่ตลอดเวลา  แม้คลอดบุตรถึง ๑๒ ครั้ง ก็ยังสาวสวยอยู่เหมือนเดิม รูปร่างจะไม่เหี่ยวย่นหย่อนยานเหมือนสตรีโดยทั่วไป เช่นนางวิสาขา

       ๓.เป็นผู้ผิวงาม   คือเป็นผู้มีผิวพรรณงามเหมือนกลีบดอกกรรณิการ์  จะไม่มีสิวไฝฝ้าหน้าตกกะ ไม่มีมลทินโทษใดๆ ในร่างกายเลย

       ๔.เป็นผู้มีเนื้องาม    คือเป็นผู้มีริมฝีปากแดงเหมือนผลตำลึงสุกและเรียบสนิทมิดชิดกันดีมาก

       ๕.เป็นผู้มีฟันงาม    คือมีฟันสีขาวงามประดุจดังสังข์  และเรียบเสมอกันดีประดุจดังระเบียบแห่เพชร

       ๖.เป็นผู้มีถันงาม     คือจะมีนมงามโตเท่าผลมะตูมตัดครึ่งและจะเต่งตึงอยู่ตลอดเวลา จะไม่หย่อนยาน  ถึงคลอดลูกมาแล้ว ๑๒  คน ก็ตาม

       ๗.เป็นผู้มีกระดูกงาม     คือจะมีกระดูกที่ไหปลาร้า และกระดูกในส่วนต่างๆของร่างกายเรียบงามไม่ปูดโปนออกมานอกผิวกาย

       ๘.เป็นผู้มีตางาม     คือจะมีลูกตาไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป  จะมีลูกตางามเหมือนลูกตาของลูกโคที่เกิดใหม่  มองดูแล้วมีเสน่ห์จับใจชวนมอง

       ๙.เป็นผู้มีรอยยิ้มงาม     คือมีรอยยิ้มอันอ่อนหวานน่ารักและทรงเสน่หฺ์ยิ่งนัก

       ๑๐.เป็นผู้มีเสียงไพเราะ    คือมีเสียงอันไพเราะเสนาะโสตประดุจดังเสียงของกล้องพังกาที่เทวดาเป่าในเมืองสวรรค์

    นางแก้วจะเป็นผู้หญิงที่มีร่างกายสวยงามก้าวล่วงความสวยงามของผู้หญิงทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกใบนี้  ต่อให้เป็นนางงามโลกหรือนางงามจักรวาลก็ตามไม่สามารถจะเอามาเปรียบกับนางแก้วได้เลย  นางงามจักรวาลในบางปีไม่มีความสวยงามอะไรเลย  กรรมการตัดสินตาถั่วไปหมดแล้วหรืออาจจะได้รับสินบนในการตัดสินก็ได้จะถือเอาเป็นมาตรฐานไม่ได้เลย เช่น นางงามจักรวาลปี 2019  ชื่อนางสาวโซซิบินิ   ทันซี  สาวไม่งามจากแอฟริกาใต้  โปรดดูรูปภาพของเธอด้านล่าง  ไม่รู้ว่าเธอเป็นนางงามจักรวาลได้อย่างไร?  ดูในรูปภาพนี้แล้วเธอไม่มีความงามของนางแก้วแม้แต่ข้อเดียว

         

     ด้วยพระบุญญาธิการของพระเจ้าจักรพรรดิราชจะมีนางแก้วมาเป็นพระมเหสีอยู่นางหนึ่งนางเป็นพระมเหสีคู่พระบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิราช นางเป็นผู้หญิงที่ได้ทำบุญกุศลไว้มากแต่ชาติปางก่อน ถ้าได้มาเกิดในแผ่นดินชมพูทวีปนี้  ก็จะเกิดในตระกูลกษัตริย์  คนทั้งหลายจะยกย่องกล่าวขานกันว่าพระนางประสูติมาเพื่อทรงเป็นพระอัครมเหสีคู่พระบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิโดยแท้ 

    แต่ถ้าไม่มีผู้หญิงที่มีบุญญาธิการมากมาเกิดในแผ่นดินชมพูทวีปนี้ไซร้ เดชอำนาจพระบุญญาบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิจะทำให้ได้นางแก้วในแผ่นดินอุดตรกุรุทวีปมาเป็นพระอัครมเหสีคู่บารมีพร้อมด้วยอาภรณ์เครื่องประดับตกแต่งทุกอย่าง ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ รุ่งเรืองสดใสงดงามยิ่งนัก โดยเหาะมาเฝ้าทางอากาศ เหมือนนางฟ้าเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ฉะนั้น แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิราช คือถ้าสตรีผู้ใดจะได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิก็จะมีนางฟ้าจากเมืองสวรรค์นำเอามาส่งให้   พระนางแก้วนั้นทรงมีพระสิริโฉมงดงามยิ่งนักหาสตรีอื่นเปรียบเทียบได้ยากคืองดงามก้าวล่วงความงามของผู้หญิงทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ 

    พระวรกายไม่สูงนักและไม่ตํ่าเกินไปนัก พระฉวีวรรณไม่ดำไม่ขาวเกินไปนัก ทรงไม่อ้วนไม่ผอมเกินไปนัก ทรงเป็นที่เจริญตาเจริญใจแก่ผู้ได้พบเห็น ทรงมีพระฉวีวรรณสะอาดหมดจดเกลี้ยงเกลางดงามยิ่งนัก ปราศจากมลทินสิ่งเศร้าหมองทุกอย่างเช่นไฝฝ้า ฝุ่นละอองและธุลีแม้น้อยนิดก็มิได้แปดเปื้อนเลย เหมือนดอกบัวถูกนํ้าแล้วไม่ติดนํ้าฉะนั้น พระสิริรูปโฉมของนางแก้วมีลักษณะอันงามครบถ้วน ๑๐ ประการ เป็นที่ติดตาตรึงใจของคนทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ แม้กระนั้นก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับความงามของนางฟ้าเทพธิดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว

    ความงามของนางแก้วจัดว่ายังเป็นรอง เพราะรัศมีในพระวรกายของพระนางแก้วมีน้อยกว่าของนางฟ้ามาก เหล่านางฟ้าในสำนักของพระอินทร์มีรัศมีแผ่ซ่านกระจายออกไปไกลมาก ส่วนรัศมีของนางแก้วแผ่ซ่านออกไปไกลได้เพียง ๑๐ ศอกเท่านั้น รอบๆ พระวรกายแม้จะมืดสักเพียงใด ไม่ต้องใช้แสงสว่างจากแสงเทียนหรือตะเกียงนำทางเลย นางแก้ว
ทรงมีพระพักตร์ผ่องใสโสภาเกลี้ยงเกลายิ่งนัก พระนางทรงมีพระวรกายอ่อนนุ่มดัง สำลีบริสุทธิ์ที่วางทับซ้อนกันเป็นร้อยชั้น แล้วชุบด้วยนํ้ามันเปรียงโคจามจุรีบริสุทธิิ์ิ์สดใส งดงามยิ่ง นางจะปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิราชเจ้าเป็นที่ถูกพระราชหฤทัยยิ่งนัก ในเวลาที่พระวรกายของพระเจ้าจักรพรรดิราชหนาวเย็น พระวรกายของนางแก้วก็จะอุ่น แต่ในเวลาที่พระวรกายของพระเจ้าจักรพรรดิราชร้อน พระวรกายของนางแก้วก็จะกลับเย็น
   อนึ่งพระวรกายของนางแก้วนั้น มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นแก่นจันทน์ และกฤษณาซึ่งบดและปรุงด้วยคันธารสอันหอมทั้ง ๔ ประการ(คันธารส ๔ =กลิ่นเกิดจากราก กลิ่นเกิดจากแก่น กลิ่นเกิดจากเปลือก กลิ่นเกืดจากดอก) หอมฟุ้งอยู่ตลอดเวลา  ในเวลาที่นางแก้วทรงเจรจาหรือทรงแย้มสรวล กลิ่นที่ฟุ้งออกจาก พระโอษฐ์หอมเหมือนกลิ่นดอกบัวนิลุบลและจงกลนีที่แย้มบานและหอมฟุ้งอยู่ตลอดเวลา ในยามที่พระเจ้าจักรพรรดิราชเสด็จมาหานางแก้ว เมื่อนางแก้วได้ทอดพระเนตรเห็น

    พระนางจะไม่ประทับนั่งอยู่ จะเสด็จลุกไปทรงต้อนรับพระเจ้าจักรพรรดิราช แล้วตามเสด็จไปยังพระแท่นบรรทมแก้ว ทรงนำหมอนทองมาประทับนั่งถวายงานพัดทรงปรนนิบัติบีบนวดเฟ้นพระบาทและพระกรของพระราชสวามี แล้วเสด็จลงประทับนั่งอยู่เบื้องตํ่า ไม่เสด็จขึ้นเหนือพระแท่นบรรทมแก้วก่อนพระเจ้าจักรพรรดิราช แม้แต่ครั้งเดียว และเสด็จลงจากพระแท่นแก้วก่อนพระราชสวามีเสมอ ไม่ว่าพระนางแก้วจะทรงกระทำการสิ่งใดก็จะทรงกราบทูลให้พระราชสวามีทรงทราบก่อนทุกครั้ง และทรงกระทำเฉพาะสิ่งที่พระเจ้าจักรพรรดิราชทรงมีรับสั่งให้ทรงกระทำเท่านั้น ทรงไม่ฝ่าฝืนหรือละเมิดพระบรรหารของพระเจ้าจักรพรรดิราชแม้แต่ครั้งเดียว

    เพราะฉะนั้น กิจการที่พระนางแก้วทรงกระทำจึงเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าจักรพรรดิราชทุกประการ แม้จะทรงทูลเจรจาปราศรัยก็เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าจักรพรรดิราชยิ่งนัก และผู้ที่จะได้เป็นพระราชสวามีของพระนางแก้วมีเฉพาะพระเจ้าจักรพรรดิราชเท่านั้น ชายอื่นอย่าได้หว้งเลย  เพราะนางแก้วนั้นเกิดมาคู่บุญบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิราชเท่านั้นไม่ทั่วไปแก่บุรุษเหล่าอื่น พระนางแก้วนั้นทรงมีความจงรักภักดีต่อพระราชสวามีเป็นที่ยิ่ง ไม่ทรงประพฤติล่วงละเมิดนอกพระทัย  พระเจ้าจักรพรรดิราชเจ้าแม้แต่น้อยเลย

                       เรื่องของนางแก้วจบเพียงแค่นี้

                          ขุนคลังแก้ว

     

    ๐  ครั้งนั้นพวกโหราพฤฒาจารย์เข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิราชแล้ว กราบทูลว่า ตั้งแต่พระองค์ทรงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชมานั้น เครื่องประดับพระบุญญาบารมีของพระ องค์ยังมีไม่ครบถ้วนเลย พระเจ้าจักรพรรดิราชจึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยการทรงบริจาคทาน ทรงสมาทานรักษาศีล ครั้นแล้วทรงดำริถึงผู้มีบุญญาภินิหาร มีอำนาจราชศักดิ์ที่จะมาเป็นขุนคลังประจำพระราชสำนัก ในกาลครั้งนั้น ยังมีมหาเศรษฐีคนหนึ่ง เป็นผู้สืบเชื้อสายวงศ์ตระกูลเก่าแก่ของมหาเศรษฐีมาแต่โบราณกาล ผู้เป็นขุนคลังนั้นสามารถจะทำการงานให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิราชทุกประการ
   แม้หากพระองค์ทรงดำริถึงทรัพย์สิ่งใด เพื่อทรงรับมาเป็นสมบัติส่วนพระองค์ ขุนคลังก็สามารถนำมาถวายได้ทุกอย่างตามพระราชประสงค์ และมหาเศรษฐีนั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งขุนพระคลังแก้วประจำพระราชสำนักด้วยอำนาจพระบุญญาบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้นเอง
   ขุนคลังแก้วนั้นมีอำนาจพิเศษประจำตัวอยู่ สามารถมองเห็นหรือได้ยิน เสียงสิ่งที่อยู่ไกลลี้ลับได้ เหมือนมีตาทิพย์หูทิพย์ ดั่งเทพยดาในสวรรค์ชั้นฟ้าทีเดียว บรรดาแก้วแหวนเงินทองที่อยู่บนแผ่นดินนี้หรืออยู่ใต้แผ่นดินลึกลงไปถึง ๑๖ โยชน์ หรือแม้อยู่ในท้องมหา สมุทร ขุนคลังแก้วนั้นสามารถมองเห็นทุกอย่าง ถ้าเขานึกอยากให้สิ่งใดเป็นต้นว่าแก้วแหวนเงินทองมาเป็นของตน ทุกอย่างก็จะหลั่งไหลมาหาเขาตามใจนึก หรือถ้าขุนคลังแก้วประสงค์จะให้เป็นเครื่องถนิม พิมพาภรณ์ หรือสิ่งอื่นใดก็ตาม แก้วแหวนเงินทองเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนสภาพไปตามใจนึกของขุนคลังแก้วทุกประการ เขาเข้าเฝ้าพระเจ้าเจ้าจักรพรรดิราช แล้วกราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญในราชสมบัติเถิดอย่าได้ทรงวิตกกังวลเลย

    หากทรงมีพระประสงค์ทรัพย์สมบัติใดๆ ขอได้โปรดเรียก เอาจากข้าพระพุทธเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียวจะจัดหามาถวายทุกอย่าง ถ้าหากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะพระราชทานบำเหน็จรางวัล แก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าจะจัดหามาถวายให้เพียงพอตามพระราชประสงค์ ขอพระองค์อย่าได้ทรงคิดระ แวงสงสัยเลย ไม่ว่าพระองค์จะพระราชทานทรัพย์สมบัติมากน้อยเพียงใด ขอจงพระราชทานได้ตามพระราชประสงค์เถิด ขออย่าได้ทรงเป็นกังวลพระหฤทัยเลย
   เมื่อขุนคลังแก้วรำลึกนึกในใจอยากได้สิ่งใด สิ่งนั้นก็เกิดเพิ่มพูนขึ้นตาม ใจนึก แก้ว ๗ ประการ มีมากมายเต็มท้องพระคลังแล้ว เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามความประสงค์แล้ว ขุนคลังแก้วจึงเข้าเฝ้าแล้วกราบทูลว่า ตั้งแต่บัดนี้ไปเบื้องหน้า ข้าพระพุทธเจ้าจะจัดหาแก้ว ๗ ประการ มาถวายพระองค์ทุกเมื่อ ขอจงทรงพระราชทานแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์เถิด อย่าได้ทรงคิดเสียดายเลย และจงทรงพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเถิด
   ครั้งนั้น พระเจ้ากรพรรดิราช ทรงมีพระประสงค์ใคร่จะทรงทดลอง ศักดานุภาพของขุนคลังแก้ว จึงทรงให้จัดตกแต่งเรือพระที่นั่งประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วทรงมีบัญชาให้สร้างปราสาทเงินปราสาททองประดับตกแต่งด้วยแก้ว ๗ ประการ ภายในเรือพระที่นั่งนั้น  ครั้นแล้วพระองค์จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่ง ประทับนั่งในปราสาท ออกไปถึงกลางมหาสมุทรในวันนั้น มีขบวนเรือสำเภาเงิน สำเภาทองและขบวนเรือนาคราชตามเสด็จเป็นบริวาร ๘๔,๐๐๐ ลำ
   ลำดับนั้นพระเจ้าจักรพรรดิราช รับสั่งกับขุนคลังแก้วว่า ข้าพเจ้ามีความประสงค์ใคร่จะได้แก้ว ๗ ประการ ท่านจงรีบหามาในกลางมหาสมุทรนี้โดยเร็ว ฝ่ายขุนคลังแก้วกราบทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้าจะจัดหามาถวายแต่พระองค์ตามรับสั่ง" เขาจึงมองลงไปในมหาสมุทร ทันทีทันใดนั้น ตุ่มและไหมากมาย ล้วนเต็มด้วยแก้วแหวนเงินทอง ก็ผุดขึ้นเหนือนํ้าเต็มท้องมหาสมุทร ขุนคลังแก้วจึงนำเข้าถวายโดยทันที พระเจ้าจักรพรรดิราชจึงทรงพระราชทานเป็นบำเหน็จรางวัลแก่บรรดาไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ในวันนั้นโดยไม่มีวันหมดสิ้น ขุนคลังแก้วในพระเจ้าจักรพรรดิราชมีอิทธิฤทธิ์มาก ดังกล่าวมานี้

                    เรื่องของขุนคลังแก้วจบเพียงแค่นี้

                             ขุนพลแก้ว

     

    ๐ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิราชอยู่เสมอ
    พระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น ทรงมีพระโอรส ๑,๐๐๐ พระองค์ พระโอรสเหล่านั้นทรงมีพระสิริโฉมสง่างามยิ่งทั้งทรงมีพระปรีชาสามารถแกล้วกล้า อาจหาญทุกพระองค์ ส่วนพระราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงมีพระปรีชาเป็นขุนพลแก้วมีความสามารถเฉลียวฉลาดกว่าพระโอรสองค์อื่นๆ ทั้งนี้ก็ด้วยพระบุญญาบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิราชที่ได้ทรงบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน จึงทรงมีแก้วคู่พระบารมีอีกประการหนึ่ง คือขุนพลแก้ว อันได้แก่ พระราชโอรสแก้ว

   พระราชโอรสแก้วนั้นทรงมีพระปรีชาสามารถมาก ทรงหยั่งรู้จิตใจของคนอื่นได้ ทรงรู้คนดีคนชั่ว แม้จะอยู่ไกลถึง ๑๒ โยชน์ ก็ทรงหยั่งรู้ความรู้สึกนึกคิดของทุกคนทีเดียวพระองค์ทรงมีพระประสงค์จะทรงปฏิบัติราชกิจแทนพระราชบิดา จึงเสด็จเข้าเฝ้าแล้วทรงกราบทูลว่า "ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป งานบริหารราชการแผ่นดินและพระราชกรณียกิจ อื่นใดของพระราชบิดา พวกข้าพระองค์ขอดำเนินการจัดทำแทนตามความรู้ ความสามารถให้ถูกต้องชอบธรรมตามพระราชประเพณี มิให้เป็นที่ขัดเคืองพระราชหฤทัย ขอจงทรงพระเกษมสำราญเสวยสุขทุกประการเถิด"
   นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พระเจ้าจักรพรรดิราชมิได้ทรงกังวล พระทัยในราชการบ้านเมืองและพระราชกิจทุกอย่าง เพราะพระราชโอรสแก้ว ทรงบริหารการบ้านการเมืองและทรงปฏิบัติพระราชภารกิจต่างพระเนตรพระกรรณรัตนะคือแก้วอันประเสริฐสำหรับประดับพระบุญญาบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิราชผู้มาก ก็มีครบถ้วนทั้ง ๗ ประการดังกล่าวมาโดยลำดับแล้วนั้น
   พระเจ้าจักรพรรดิราชทรงเป็นประมุขแห่งคนทั้งหลายในพื้นแผ่นดิน ทั้ง ๔ ทวีป ซึ่งมีทวีปเล็ก ๒,๐๐๐ ทวีปเป็นบริวาร ภายในขอบเขตจักรวาลนี้ พระองค์ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมทุกเวลา ผู้ที่ตั้งอยู่ในพระโอวาทคำสั่งสอนของพระองค์ เมื่อสิ้นชีวิตลงจะได้ไปเกิดในสวรรค์ ส่วนผู้ไม่ตั้งอยู่ในพระบรมราโชวาท มีใจบาปหยาบช้าไม่มีศีลธรรมนั้น
พระองค์ไม่ทรงโปรดปรานและตรัสเจรจาด้วยเลย   ตราบใดที่พระเจ้าจักรพรรดิราชยังทรงพระชนม์อยู่ กงจักรแก้ว ก็ยังคงสถิตอยู่ประดับพระบารมีอยู่ตราบนั้น ไม่คลาดเคลื่อนลอยไปไหนเลย แต่เมื่อใดพระเจ้าจักรพรรดิราชเสด็จสวรรคต กงจักรแก้วนั้นจึงจะเคลื่อนจากเรือนแก้วที่อยู่ลงสู่ท้องมหาสมุทรซึ่งเคยสถิตอยู่แต่เดิม แก้วคู่พระบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิราชจะเคลื่อนจากพระเจ้าจักรพรรดิราช ในกรณีต่อไปนี้ คือ

   ๑.ก่อนพระเจ้าจักรพรรดิราชจะเสด็จสวรรคต ๗ วัน

   ๒.ก่อนพระเจ้าเจ้าจักรพรรดิราชจะเสด็จออกผนวช ๗ วัน

   ๓.ก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๗ วัน
   เมื่อใดพระเจ้าเจ้าจักรพรรดิราชเสด็จอุบ้ติขึ้นมาอีก กงจักรแก้วก็จะขึ้นจากท้องมหา สมุทรไปเป็นแก้วคู่พระบารมีของพระองค์เหมือนดังแต่ก่อนมา เมื่อจักรแก้วซึ่งเป็นผู้นำของแก้วคู่พระบารมีทั้งหลายคลาดเคลื่อนลอยจากพระเจ้าจักรพรรดิราชไปแล้ว แก้วคู่พระบารมีอื่นๆ ก็มีอันจากไปเสื่อมไปตามลำดับ เช่น ช้างแก้วตระกูลอุโบสถหรือช้างแก้ว
ตระกูลฉัททันต์ก็จะกลับคืนไปสู่ตระกูลของตนตามเดิม ทั้งม้าแก้วตระกูลพลาหกก็กลับคืนไปอยู่ในตระกูลของตนตามเดิมเหมือนกัน ทั้งแก้วมณีพร้อมด้วยแก้วบริวาร ๘๔,๐๐๐ ชนิด ก็จะกลับคืนไปสู่เขาพิบูลบรรพตตามเดิม

   ส่วนพระนางแก้วนั้นถ้าพระนางเสด็จมาแต่อุตตรกุรุทวีปพระนางก็จะเสด็จกลับคืนสู่อุตตรกุรุทวีปอย่างเดิม แต่ถ้าพระนางแก้วนั้นเสด็จอุบัติในแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่นี้ รัศมีที่เคยแผ่ซ่านออกจากพระวรกายของพระนางก็จะดับสูญหายไปสิ้น จะทรงมีผิวพรรณเหมือนหญิงสามัญทั่วไป
   ส่วนขุนคลังแก้วซึ่งแต่ก่อนเคยมองเห็นหรือได้ยินสิ่งที่อยู่ไกลได้ก็กลับมองไม่เห็นหรือได้ยินไม่ได้ไกลดังแต่ก่อนหรือแม้แต่จะคิดอยากได้สิ่งใดก็จะไม่ได้สมใจนึกเหมือนแต่ก่อนอีก ทั้งขุนพลแก้ว คือ พระราชโอรสแก้ว ซึ่งแต่ก่อนทรงเฉลียวฉลาดเฉียบแหลมมากก็กลับลดน้อยลง ทรงไม่สามารถหยั่งรู้จิตใจของใครได้อีกเลย แต่บางครั้งพระราชโอรส
แก้วนั้นทรงมีพระบุญญาภินิหาร และทรงมีพระบรมเดชานุภาพมาก ทรงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชสืบแทนพระราชบิดา ก็จะทรงหยั่งรู้ธรรมอันประเสริฐทุกอย่างเช่นเดียวกับพระราชบิดา
   เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิราชสวรรคตแล้ว พระบรมศพได้รับการ ชะโลมด้วยกระแจะจวงจันทน์อันหอม มัดตราสังด้วยผ้าขาวเนื้อละเอียด แล้วนำสำลีอย่างดีที่ตีได้ร้อยครั้งมาห่อชั้นหนึ่งใช้ผ้าขาวอันละเอียดมาห่อทับอีกชั้นหนึ่ง แล้วนำสำลีอันละเอียดบริสุทธิ์มาห่อทับอีกชั้นหนึ่ง ห่อสลับกันอยู่อย่างนั้น จนถึง ๑,๐๐๐ ชั้น คือห่อด้วยผ้า ๕๐๐ ชั้น ห่อด้วยสำลี ๕๐๐ ชั้น นำนํ้าหอมซึ่งอบได้ ๑๐๐ ครั้งมาสรงพระบรมศพ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระบรมศพบรรจุไว้ ในโกศทองประดับด้วยหินดำถมอมีลวดลายและสีสันต่างๆ งดงามละเอียดและ ประณีตยิ่งนัก
   อัญเชิญพระบรมศพขึ้นสู่เชิงตะกอน เพื่อถวายพระเพลิงด้วยแก่นจันทน์ และกฤษณาทั้งห้า บูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้มากมาย ครั้นถวายพระเพลิงแล้ว ชาวพระนครจึงนำพระอัฐิธาตุไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่ก่อไว้ในทางสี่แพร่งกลางใจเมือง เพื่อให้คนทั้งหลายได้ไปกราบไหว้สักการบูชา ผู้ใดได้กราบไหว้บูชา ครั้นตายไปจะได้ไปเกิดในสวรรค์เหมือนได้กราบไหว้สักการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ แต่ผู้ที่กราบไหว้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์อาจจะได้รับสมบัติ ๓ ประการ คือ มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ ส่วนผู้ที่กราบไหว้สักการบูชาพระเจ้าจักรพรรดิราชอาจจะได้สมบัติเพียง ๒ อย่าง คือ มนุษยสมบัติและสวรรคสมบัติเท่านั้นไม่สามารถได้นิพพานสมบัติ โดยเหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิราชยังทรงเป็นปุถุชนอยู่นั่นเอง
   ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิราชทรงมีพระบุญญาเดชานุภาพมาก ทรงมีพระราชอำนาจเหนือข้าศึกศัตรู ทรงสามารถปราบได้ทั่วทั้ง ๔ ทวีป พระองค์ก็ยังเสด็จสวรรคต ไม่ทรงพระชนม์ชีพยั่งยืนอยู่ได้ตลอดกาล ตราบใดที่ยังไม่พ้นจากกิเลสและกองทุกข์ พระองค์ก็จะทรงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้อยู่ตราบนั้น แต่เมื่อพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
ได้บรรลุธรรมถึงพระนิพพานแล้ว จึงจักพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารนี้ได้

                     เรื่องของขุนพลแก้วจบเพียงแค่นี้

 

  ทวีปทั้ง ๔  ที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงครอบครอง

    ๑.อุตตรกุรุทวีป

    ๒.ปุพพวิเทหะทวีป

    ๓.ชมพูทวีป

    ๔.อมรโคยานทวีป

    ถาม: ทำไมถึงเรียกว่า "ทวีป" 

    ตอบ: ก็เพราะว่า "ทวีป  คือเกาะหรือแผ่นดินที่ลอยอยู่เหนือน้ำ"  แต่คนในสมัยปัจจุบันนี้เขาเรียกกันว่า "โลก"

                     อุตตะระกุรุทวีป

     

     ๐อุตตรกุรุทวีป  คือ "เกาะหรือแผ่นดินที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของจักรวาล"  ถ้าใครอยากรู้รายละเอียดของทวีปทั้ง ๔ ให้คลิกดูข้อที่ ๔  วิชาพุทธศาสตร์  ที่เมนูข้างบนของหน้านี้

    อุตตรกุรุทวีป   คือเกาะหรือแผ่นดินที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของจักรวาล   อุตตรกุรุทวีปมีสัณฐานเป็น ๔ เหลี่ยม  กว้างและยาวเท่ากัน  ๘๐๐๐  โยชน์   ตั้งอยู่ในมหาสมุทรที่มีชื่อว่า "ปีตสาคร" มีทวีปน้อยเป็นบริวาร  ๕๐๐  ทวีป  ทวีปที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ก็ตั้งอยู่ในปีตสาครเหมือนกัน

       มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปมีคุณลักษณะพิเศษดีกว่าเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดีงส์และมนุษย์ในชมพูทวีปอยู่ ๓  ประการ  คือ:-
    ๑.มีตัณหาคือความอยากน้อย  มนุษย์ในทวีปนี้จะไม่หวงแหนสรรพสิ่งของต่างๆไม่ว่าจะเป็นสิ่งของใดๆก็ตาม
    ๒.มีอายุยืน ๑๐๐๐ ปีอย่างเที่ยงแท้  คือมนุษย์ในทวีปนี้จะไม่ตายตอนเป็นเด็กและตอนเป็นหนุ่มเป็สาว จะตายเมื่อสิ้นอายุขัยคือ มีอายุได้ ๑๐๐๐ ปีเท่านั้น  และจะไม่ตายด้วยอุบัติเหตุและการป้องร้ายของสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย    มนุษย์ในโลกนี้มีข้อแตกต่างกันดังนี้   ผู้หญิงเกิดมาแล้วก็เจริญเติบโตมาถึงอายุได้  ๑๘ ปี รูปร่างก็จะคงอยู่แค่นั้นไม่แก่ไม่เฒ่า จนอายุได้  ๑๐๐๐  ปีจึงจะตาย   ส่วนผู้ชายก็เจริญเติบโตมาจนอายุได้  ๒๐  ปี  รูปร่างก็จะคงอยู่แค่นั้นไม่แก่ไม่เฒ่าพูดง่ายๆก็คือเป็นหนุ่มสาวอยู่ตลอดเวลาจนอายุได้  ๑๐๐๐  ปีจึงจะตาย   ทำไมมนุษย์ในโลกนี้ถึงไม่แก่ไม่เฒ่าและมีอายุยืนเช่นนี้   คำตอบก็คือมนุษย์ในโลกนี้ตั้งแต่เกิดจนตายทั้งหญิงและชายไม่เคยผิดศีล ๕ ข้อเลย  คือรักษาศีล ๕ ได้ครบทุกข้อไม่เคยล่วงละเมิดศีลทั้ง ๕ ข้อเลย
    ๓.เมื่อตายแล้วจะไปเกิดในเทวโลกคือเมืองสวรรค์อย่างเดียวจะไม่ไปเกิดในโลกอื่น

    **นางแก้ว  คือที่เป็นพระมเหสี หรือเป็นภรรยาของพระเจ้ามหาจักรพรรดิมาจากทวีปนี้หรือโลกนี้ก็ได้

                   ปุพพวิเทหะทวีป

         
    ๐ปุพพวิเทหะทวีป   คือ "เกาะหรือแผ่นดินที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของจักรวาล"

   ปุพพวิเทหทวีป   ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของภูเขาพระสุเมรุ  มีเนื้อที่กว้าง ๘๐๐๐ โยชน์  มีเกาะที่เป็นบริวารอีก ๕๐๐ เกาะ  มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้มีรูปใบหน้ากลมเหมือนพระจันทร์เต็มดวงมีลักษณะตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตรพระ มีรูปร่างสูง ๙ ศอก  มีอายุยืนได้  ๗๐๐  ปี จึงจะตาย รักษาศีล ๕ ได้ครบทุกข้อ  แผ่นดินของเนื้อที่ทวีปนี้เป็นสีขาวเหมือนน้ำนม  ท้องฟ้าในทวีปนี้ก็เป็นสีเหมือนเงิน  มหาสมุทรในทวีปนี้ชื่อว่า
"ขีรสาคร"   น้ำในมาสมุทรมีสีขาวเหมือนน้ำนม    เด็กที่เกิดในทวีปนี้เพียงชั่วครู่จะโตเท่ากับเด็กในชมพูทวีปอายุได้ ๕ ปี   มนุษย์ในทวีปนี้มีผิวกายหลายสีคือ  สีขาวก็มี  สีเหลืองก็มี  สีดำก็มี  สองสีผสมกันก็มี  สีด่างพร้อยเหมือนกับมนุษย์ในชมพูทวีปก็มี

                     ชมพูทวีป

     

     ๐ชมพูทวีป   คือ "เกาะหรือแผ่นดินที่อยู่ทางด้านทิศใต้ของจักรวาล"   

 ชมพูทวีป  คือเกาะใหญ่ที่มีต้นไม้หว้าใหญ่เป็นสัญญาลัษณ์ของทวีปมีเนื้อที่ ๑๐๐๐๐ โยชน์  และมีทวีปน้อยเป็นบริวารอีก ๕๐๐ ทวีป ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์  มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้มีใบหน้ารูปไข่  มึอายุยืนได้ตังแต่ ๑๐ ปี  ถึง ๑ อสงไข   พระพุทธเจ้าทุกพระองค์และพระสาวกจะต้องลงมาตรัสรู้ในชมพูทวีปนี้เท่านั้นจะไม่เสด็จไปตรัสรู้ที่ทวีปอื่น   ในเนื้อที่ ๑๐๐๐๐ โยชน์นี้  เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ๓๐๐๐ โยชน์   เป็นป่าหิมวัน
ต์ ๓๐๐๐ โยชน์   และเป็นน้ำทะเล ๔๐๐๐ โยชน์  ชมพูทวีปและทวีปน้อย ๕๐๐ ทวีปล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่บนนีลสาคร คือทะเลที่มีน้ำเป็นสีเขียว  ประเทศไทยอยู่ในทวีปนี้

                  อมรโคยานทวีป

    

     ๐อมรโคยานทวีป    คือ "เกาะหรือแผ่นดินที่ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจักรวาล"

     อมรโคยานทวีป   คือเกาะใหญ่ทีมีต้นไม้กระทุ่มเป็นสัญญลักษณ์ของทวีป  ต้นไม้กระทุ่มมีรูปลักษณะเท่ากันกับต้นไม้หว้าทุกประการ มีอายุยืนได้หนึ่งวิวัฏฏัฏฐายีกัปป์เท่ากัน มีเนื้อที่วัดได้ ๗๐๐๐ โยชน์  มนุษย์ในทวีปนี้มีใบหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว มีอายุยืนได้ ๕๐๐ ปีเป็นกำหนด ถ้าอายุยังไม่ถึง ๕๐๐ ปีจะไม่ตาย  มนุษย์ในทวีปนี้เดินเหิรเคลื่อนไหวไปมาโดยเท้าไม่ติดดินเลย  คล้ายๆเหาะแต่ไม่ใช่เหาะคือเดินตัวลอยอยู่เหนือพื้นดินแปลกมากๆ

    คุณสมบัติพิเศษของพระเจ้าจักรพรรดิ
  ๑.พระเจ้าจักรพรรดิ   มีพระวรกายงดงามยิ่งกว่ามนุษย์ใดๆ ในโลก
  ๒.พระเจ้าจักรพรรดิ   มีอายุยืนกว่ามนุษย์ใดๆ ในโลก
  ๓.พระเจ้าจักรพรรดิ   มีอาพาธน้อย และเจ็บป่วยน้อยกว่าคนทั่วไป
  ๔.พระเจ้าจักรพรรดิ   เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา แม้แต่เทวดาก็ยังเกรงใจ

  ๕.พระเจ้าจักรพรรดิ   มีอำนาจครอบครองอำนาจของพระราชา   พระมหากษัตริย์   พระเจ้าแผ่นดิน   ประธานาธิบดี   นายกรัฐมนตรี   ประธาน   ผู้นำ  พูดให้ฟังง่ายๆ ก็คือมีอำนาจครอบครองมนุษย์ทั้งโลกในจักรวาลนี้
   มหาสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิคือ ๗ ประการ
    ๑.จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ)
  เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากแก้วอันมีค่ามาก ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังทวีปและประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง ๔ ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการ  พระเจ้าจักรพรรดิก็จะไม่ทรงรับ แต่ได้พระราชทานโอวาทคือศีล ๕   ให้นำไปนับถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
   ๒.ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ)
  ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะไปในอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่รุ้งเช้า และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า
   ๓.ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ)
  ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบ
มหาสมุทร ได้ตั้งแต่รุ้งเช้า และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า
   ๔.มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ)
  มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง ๑ โยชน์ คือ ๑๖ กิโลเมตร คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างให้เกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีปโดยไม่ต้องทำมาหากินเมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณีไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสวในเวลากลางคืน ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน
   ๕.นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ)
  นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการมาก รูปร่างสวยงามน่าดูชม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่าหญิงมนุษย์ทั่วไปในโลกนี้ พูดจาสุภาพ ไม่โกหก มีกลิ่นหอมดังดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ
   ๖.ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ)
  คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำเอาทรัพย์สินมาให้แก่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหนก็เห็นไปหมด
   ๗.ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ)
   ขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักร พรรดิอยู่เสมอ

    ผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้จะต้องมีมหาสมบัคิคือแก้ว  ๗  ประการ  ถ้าไม่มีแก้ว  ๗  การเป็นสมบัติไม่เรียกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ    อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีนเรียกพระราชาของเขาว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราต้องศึกษาประวัติดูก่อนว่าพระราชาของเขามีแก้ว  ๗  ประการเป็นสมบัติหรือไม่  ถ้าไม่มีไม่เรียกว่าพระเจ้าจักรพรรดิ คือเป็นได้แค่เพียงพระราชาเท่านั้นเรียกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิมิได้  เขาเอาชื่อพระเจ้าจักรพรรดิมาตั้งก็เพราะเขาต้องการสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่พระราชาของตนเองเท่านั้น
  อานิสงส์ผลบุญที่ทำให้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิมี  ๕  อย่าง  คือ:-
   ๑.ทำบุญทำทานด้วยจิตใจสะอาดงดงามอยู่เสมอ
   ๒.เป็นเจ้าภาพในงานทอดกฐิน หรือเป็นเจ้าภาพในการสร้างวัด พระอุโบสถ วิหาร ศาลาและพระพุทธรูป ฯลฯ
   ๓.เป็นประธานในการเทศนาธรรม การสังคายนาพระไตรปิฏก ฯลฯ
   ๔.บูชาพระเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ
   ๕.เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี      

              วิธีเจริญเมตตาจิต

    ในเส้นทางแห่งการสร้างบารมี นักสร้างบารมีจะต้องมีจิตประกอบด้วยความเมตตา ปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ความเมตตานี้เป็นหนึ่งในบารมี ๑๐ ประการ ที่พระบรมโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญให้บริบูรณ์ จึงจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ และกระแสแห่งความเมตตานี้จะเกิดขึ้นเมื่อใจเราหยุดนิ่ง มีความสุขความบริสุทธิ์ภายในอย่างเต็มเปี่ยมเท่านั้น ซึ่งต้องเริ่มด้วยการเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน เมตตาสูตร ความว่า
            
“โย จะ เมตตัง ภาวะยะติ           อัปปะมาณัง ปะฏิสสะโต
              ตะนู สังโยชะนา โหนติ          ปัสสะโต อุปะธิกขะยัง
              เอกัมปิ เจ ปาณะมะทุฏฺฐะจิตฺโต  เมตตายะติ กุสะลัง  เตนะ โหติ ฯ
    "ผู้ใดมีสติมั่นคง เจริญเมตตาอันหาประมาณมิได้ สังโยชน์ของผู้นั้น ผู้เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสย่อมเบาบาง หากว่าเขาไม่มีจิตคิดประทุษร้ายสัตว์แม้สักตัวเดียว เจริญเมตตาอยู่ เพราะเจริญเมตตาจิตนั้น ย่อมเป็นกุศล”
   ในกระแสโลกปัจจุบัน มีการรบราฆ่าฟันกันเป็นประจำ ซึ่งปกติของมนุษย์แล้ว ต้องไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แต่สังคมมนุษย์ในขณะนี้ กลับเห็นการเข่นฆ่าเป็นเรื่องธรรมดา นั่นเป็นเพราะขาดเมตตาธรรม ทำให้ความเดือดร้อน ความวุ่นวาย เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก
   วิธีการหนึ่งที่เราพอจะช่วยแก้ไขสถานการณ์โลก ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ขณะนี้ได้คือ ให้หมั่นเจริญสมาธิภาวนา ตั้งจิตเมตตาปรารถนาดีต่อทุกๆชีวิต แล้วแผ่กระแสแห่งเมตตาธรรมไปยังเพื่อนมนุษย์ทุกคน ให้มีความรักความปรารถนาดีเกิดขึ้นในดวงจิตอันสดใสบริสุทธิ์ ถ้ามนุษย์มีความปรารถนาดีต่อกันจริงๆ ก็จะคุยกันรู้เรื่อง เมื่อคุยกันรู้เรื่อง ก็ไม่ต้องใช้วิธีที่รุน แรงในการยุติปัญหา สังคมก็จะอยู่กันอย่างสงบสุข
   หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญได้กล่าวไว้ว่า “ความเมตตานี้อัศจรรย์นัก ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกส่วนแล้วละก็ มีฤทธิ์เดชมากมายนัก จะมีคนรักใคร่สนับสนุน จะทำอะไรก็สำเร็จหมด มารดารักบุตรที่เกิดจากอกของตนเพียงคนเดียวฉันใด ให้เรามีความรัก ความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างนั้นเช่นเดียวกัน”
    พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงอานิสงส์ของการแผ่เมตตาเอาไว้ ๑๑ ประการ คือ:-

    ๑.ผู้แผ่เมตตาจิตบ่อยๆ ย่อมทำให้หลับเป็นสุข

    ๒.ตื่นก็เป็นสุข

    ๓.ไม่ฝันร้าย หากฝันก็ฝันแต่เรื่องที่เป็นสิริมงคล

    ๔.ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และเทวาทั้งหลาย

    ๕.อมนุษย์ไม่เข้าใกล้

    ๖.เหล่าเทวดาลงมาปกปักรักษา อันตรายจากไฟ ยาพิษ หรือศัสตราอาวุธ ไม่สามารถมากลํ้ากรายได้

    ๗.จิตของผู้นั้นย่อมตั้งมั่นอย่างรวดเร็ว

    ๘.จะมีดวงหน้าที่สดใส

    ๙.มีแววตาแจ่มใส

    ๑๐.จะเป็นผู้ไม่หลงลืมก่อนจะละโลกนี้ไป

    ๑๑.เมื่อยังไม่แทงตลอดในคุณธรรมอันยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
 

     ** ในสมัยพุทธกาล มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป หลังจากได้เรียนกัมมัฏฐานจากพระบรมศาสดาแล้ว ก่อนจะเข้าพรรษา ได้ทูลลาพระพุทธองค์ไปหาสถานที่จำพรรษา ภิกษุเหล่านั้นจาริกไปในชนบท แล้วได้ไปพำนักอยู่ใกล้ภูเขาแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนัก ในวันรุ่งขึ้น ท่านได้พากันเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ชาวบ้านเห็นพระมาโปรดเป็นจำนวนมาก ต่างก็เกิดความยินดีว่า เราได้เนื้อนาบุญแล้ว จึงช่วยกันจัดเตรียมข้าวปลาอาหารมาถวาย ด้วยจิตที่เคารพเลื่อมใส
    เมื่อพระฉันเสร็จ ญาติโยมก็ได้อ้อนวอนขออาราธนาให้พระทั้ง ๕๐๐ รูปอยู่จำพรรษาใกล้หมู่บ้านนั้นตลอด ๓  เดือน แล้วช่วยกันสร้างกุฏิ ๕๐๐ หลัง จัดแจงเครื่องอุปโภคบริ โภคทุกอย่าง มีเตียง ตั่ง น้ำฉัน น้ำใช้ ครบหมด เพื่อจะได้อำนวยความสะดวกให้ท่านได้บำเพ็ญสมณธรรมได้เต็มที่ โดยไม่ต้องมีเครื่องกังวลใจ พระภิกษุทุกรูปได้แยกย้ายกันไปบำเพ็ญเพียรตามกุฏิของตน ตั้งใจเจริญสมาธิภาวนาอย่างเอาจริงเอาจัง
    ในราวป่าที่ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาอยู่ มีรุกขเทวดาสิงสถิตอยู่ตามต้นไม้ จะมีวิมานซ้อนอยู่ ในคืนแรกเหล่าเทวดาต่างก็คิดว่า พระภิกษุเหล่านี้คงอยู่ไม่กี่วัน แล้วจาริกไปที่อื่น จึงพากันลงจากต้นไม้มาอยู่ข้างล่าง เพราะว่าไม่กล้าอยู่สูงกว่าผู้ทรงศีล  ผ่านไปหลายวันแล้ว
    พระภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะจาริกไปที่อื่น เทวดาเหล่านั้นต่างก็ได้รับความลำบาก จึงคิดหาวิธีขับไล่ให้พระภิกษุไปพำนักที่อื่น ในเวลากลางคืน จึงได้เนรมิตกายมาหลอกหลอนพระภิกษุ ในขณะที่แต่ละรูปเดินจงกรมบำเพ็ญภาวนากันอยู่ บางทีก็เห็นผีหัวขาดบ้าง เห็นรูปยักษ์ที่น่ากลัวยืนอยู่ข้างหน้าทำท่าจะทำร้ายเอาบ้าง บางคืนท่านก็ได้ยินเสียงอมนุษย์ร้องโหยหวนน่าสะพรึงกลัว บางทีก็ทำทีเหมือนจะตามมาเอาชีวิตของท่าน แม้เวลาจำวัดก็ยังได้กลิ่นเหม็นเน่าเหมือนซากศพที่พองขึ้นอืดจนรู้สึกสะอิดสะเอียน ลมในท้องปั่นป่วน
    เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นติดต่อกันหลายวัน แต่ละรูปถูกรบกวนอย่างนี้ ทำให้ไม่ได้พักผ่อน ร่างกายก็ซูบผอม เป็นไข้ ไม่สบาย เมื่อจิตใจของพวกภิกษุเกิดความไม่สงบ มีความกลัว หวาดผวา ทำให้ใจฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิ การบำเพ็ญสมณธรรมก็ไม่ก้าวหน้า มีแต่จะแย่ลงไปทุกวันๆ ท่านจึงได้ปรึกษาหารือกันว่า “ที่แห่งนี้ไม่เป็นสัปปายะเสียแล้ว เรา
ควรจะย้ายไปจำพรรษาในที่แห่งใหม่ดีกว่า” จึงตัดสินใจเก็บเครื่องบริขาร บาตร จีวร กลับไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นกลับมา จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า "ภิกษุไม่ควรเที่ยวจาริกไปภายในระหว่างพรรษา เพราะเหตุไรพวกเธอจึงยังจาริกกันอยู่เล่า”

    ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงทราบว่าภิกษุเหล่านี้ไม่ได้แผ่เมตตาให้เหล่าเทวดา จึงให้โอวาทว่า “พวกเธอจงอยู่ในที่นั้นเถิด เธอจักได้บรรลุธรรม ถ้าพวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยจากเทวดาทั้งหลาย ก็จงตั้งเมตตาจิตให้เกิดขึ้นแก่เทวดาทั้งหลาย เพราะว่าเมตตาธรรมนี้เป็นธรรมาวุธสำหรับภิกษุในพระธรรมวินัยนี้” แล้วทรงสอนวิธีการแผ่เมตตาว่า
     “...พึงเจริญเมตตาในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็นผู้สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่งคั่งไม่มีส่วนเหลือ สัตว์เหล่าใดมีกายยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ผอมหรือพี ที่เราเห็นแล้วหรือไม่ได้เห็น อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ที่เกิดแล้วหรือแสวงหาที่เกิด ขอสัตว์ทั้งหมดนั้นจงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นไม่พึงข่มขู่สัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรเขาในที่ไหน ๆ ไม่พึงปรารถนาทุกข์ให้แก่กันและกัน เพราะความโกรธ เพราะความเคียดแค้น...”.
     จากนั้นก็ทรงแนะนำต่อไปอีกว่า “พึงเจริญเมตตาจิตในสัตว์ทั้งหลาย ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข ปราศจากทุกข์ มีความเกษมสำราญ ขอให้เข้าถึงความสุข มีความรักและปรารถนาดีต่อกันและกัน เหมือนมารดารักษาบุตรน้อย แม้ชีวิตก็ยอมสละได้”
    เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้ธรรมาวุธจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็มีจิตอาจหาญกลับไปจำพรรษาในราวป่าแห่งเดิมนั้นอีก เมื่อไปแล้วก็หมั่นเจริญเมตตาจิต สวดพระปริตร ทำให้เทวดาทั้งหลายเกิดความเมตตา มีความรักและปรารถนาดีต่อภิกษุเหล่านั้น จึงมิได้แสดงอาการน่าสะพรึงกลัวอีกต่อไป ทั้งเกิดปีติโสมนัสว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย ได้หวังประโยชน์
ใหญ่ให้เกิดแก่พวกเรา ให้พวกเราได้รับบุญกัน เหล่าเทวดาจึงพากันเก็บกวาดเสนาสนะ จัดแจงน้ำร้อนน้ำเย็น จัดการอารักขาให้ภิกษุเหล่านั้นเป็นอย่างดี
     เมื่อทุกอย่างสัปปายะ พระภิกษุท่านมีความสุขในการเจริญภาวนา และเจริญเมตตา ทำเมตตานั้นให้เป็นบาท คือ มีอารมณ์จิตที่ประกอบด้วยเมตตาธรรม มีใจหยุดนิ่งตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา เกิดสมถะ คือใจหยุดจนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายภายใน แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา ยกจิตขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ได้บรรลุกายธรรมไปตามลำดับ จนกระทั่งบรรลุกายธรรมอรหัต เป็นพระอรหันต์ภายในพรรษานั้นทั้ง ๕๐๐ รูป
     ดังนั้น กระแสแห่งความเมตตา จึงมีอานุภาพมาก ซึ่งผู้หวังการบรรลุธรรมควรจะมีเมตตาจิตเป็นอารมณ์ ฝึกทำใจของเราให้ใสบริสุทธิ์หยุดนิ่ง แล้วแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายโดยไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง ไม่มีอคติ ให้เป็นอัปปมัญญา คือเป็นกระแสแห่งความเมตตาที่ไร้ขอบเขต ใจของเราจะได้รู้สึกโล่ง โปร่ง เบา สบาย มีความสุขความเบิกบาน ใจจะเป็นอิสระ ปลอดกังวล สภาพใจอย่างนี้ จึงจะสามารถเข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆ เพราะฉะนั้นอย่างน้อยทุกคืนก่อนนอน เราควรแผ่เมตตาเป็นประจำ จะได้มีความสุขตลอดเวลา ทั้งหลับและตื่นกันทุกๆ คน

          พระเจ้าจักรพรรดิ
   -พระเจ้าจักรพรรดิ, พระเจ้ามหาจักรพรรดิ, และเจ้าบรมจักรพรรดิ  จะต้องมีพระจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ  
    จักรวรรดิวัตร ๑๒ คือ ธรรม อันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำหรับพระมหาจักรพรรดิ และพระราชาเอกในโลกทั้งนี้ โดยพระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองประชาชนทรงถือ และอาศัยธรรมข้อนี้เป็นธงชัย สำหรับการดำเนินกุศโลบายและวิเทโศบายดัง   พระราชกรณียกิจที่ปรากฎ ๑๒ ประการคือ:-
    ๑.ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนัก และคนภายนอก ให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย
    ๒.ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น
    ๓.ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
    ๔.ควรเกื้อกูลสมณพราหมณ์ คหบดี และคฤหบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง
    ๕.ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท
    ๖.ควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล
    ๗ ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์
    ๘.ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุจริต
    ๙.ควรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริต และอกุศลกรรมต่อสังคม
    ๑๐.ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์ เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ้งชัด
    ๑๑.ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ
    ๑๒. ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้

         ความรู้เกี่ยวกับ "พระเจ้าจักรพรรดิ”
  พระเจ้าจักรพรรดิ คือ มนุษย์ผู้มีบุญมาก เพราะได้ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ หรือได้บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอะระหันต์ พระภิกษุสงฆ์ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือได้ทำประโยชน์แก่สาธารณะชนด้วยกำลังศรัทธาที่แรงกล้า
  พระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระราชาโดยธรรมะ ไม่ต้องแย่งชิงอำนาจจากใครด้วยอุบายหรือการทำสงคราม ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรที่มั่นคง ทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในโลกแต่ผู้เดียว ทรงมีพระปัญญาอันประเสริฐ ฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาการ ทรงบำรุงพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญสูงสุด พระองค์มีแก้ว ๗ ประการ มีพระราชบุตรมากกว่าพันคนล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีระกษัตริย์ สามารถย่ำยีกองกำลังของข้าศึกได้ไม่ยาก ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์ของพระองค์ และอานุภาพแห่งแก้ว ๗ ประการ ทำให้พระองค์ทรงบริหารและปกครองราษฎรโดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่ต้องใช้อาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารใดๆ ไม่ต้องลงโทษ ไม่ต้องลงอาชญา
    สมัยใดโลกมีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สมัยใดโลกว่างเปล่าจากจากพระพุทธศาสนาและพระปัจเจกพุทธเจ้า สมัยนั้นได้ชื่อว่าโลกมืด โลกจะแบ่งแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยอย่างมากมาย มีเชื้อชาติมากมาย ภาษามากมาย
ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย มีลัทธิศาสนาอันไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากมาย แล้วมวลมนุษย์ในโลกก็เกิดความขัดแย้งกันทะเลาะไม่สามัคคีกัน ด่ากัน แล้วลงท้ายด้วยการจับก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง อาวุธอันมีคมบ้าง ประหัตประหารกัน รบกัน ทำสงคราม
กัน แล้วเกิดการจองเวรด้วยการลอบทำร้ายกัน ลอบสังหารกันและก่อวินาศกรรม กลายเป็นลัทธิก่อการร้ายล้างผลาญกันไป ล้างผลาญกันมาไม่จบสิ้น

   พระองค์ทรงเห็นโทษเห็นความลามกของความแตกแยกและความแตกต่าง พระองค์จึงทรงรวบรวมมนุษย์ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้มนุษย์โลกมีเพียงชาติเดียว เผ่าพันธุ์เดียว ภาษาเดียว ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียว ใช้สกุลเงินเดียว แล้วพระองค์ทรงสอนศีล ๕ แก่มวลมนุษย์ในโลก เป็นหลักคำสอนเดียวศาสนาเดียว ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้นจึงมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระประมุขของชาวโลก และเป็นศาสดาของชาวโลก
  เมื่อประมุขของโลกและมนุษย์โลกต่างมีศีล ๕ มีธรรมะอันงาม ไม่มีแหล่งอบายมุขใดๆในแผ่นดิน ไม่แตกแยกไม่ขัดแย้งกันดังนี้มวลมนุษย์ย่อมเห็นความสุขความเจริญในปัจจุบัน เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมปลื้มปีติยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ทั้งหลายก็มีสุขภาพจิตสุขภาพกายดี อายุยืน จำนวนมนุษย์ก็มากขึ้นแต่ไม่ขาดแคลน มวลมนุษย์ทั้งปวงต่างมองหน้ากันด้วยแววตาแห่งความรักความเมตตา เมื่อนั้นได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประทานแสงสว่างให้แก่โลก ประ ทานความร่มเย็นให้แก่โลก.
   ฤทธิ์ ๔ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ
   ๑.พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
   ๒.พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระชนมายุยืนนานกว่ามนุษย์ทั่วไป
   ๓.พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อยกว่ามนุษย์ทั่วไป
   ๔.พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นที่รักที่ชอบใจของพระเจ้าจักรพรรดิ ดุจบุตรเป็นที่รักที่ชอบใจของบิดาทีเดียว เมื่อถึงคราวพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเลียบพระนครออกเยี่ยมราษฎร ราษฎรทั้งหลายไปเฝ้า พระองค์พลางกราบทูลว่า “ขอเดชะ... ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระองค์จะได้เฝ้าพระองค์นานๆ”แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงตรัสกับนายสารถีว่า “นายสารถี เธออย่าด่วนขับรถไปเร็วนัก เราจะได้เห็นราษฎรนานๆ”

  คุณธรรมของพระราชาผู้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
  ๑. อาศัยธรรมะ สักการะเคารพธรรมะ นับถือธรรมะ บูชาธรรมะ ยำเกรงธรรมะ มีธรรมะเป็นธงชัย มีธรรมะเป็นใหญ่
  ๒. รักษาคุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรมะในราชนิกุล ในกองพล ในกษัตริย์เมืองขึ้น ในชาวเมือง ชาวชนบท สมณะ พราหมณ์
  ๓. รักษาคุ้มครองป้องกันอย่างเป็นธรรมะในเหล่าสัตว์เดรัจฉาน ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
  ๔. ไม่ให้มีสิ่งผิดศีลธรรมในแผ่นดิน
  ๕. ให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
  ๖. เข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้มีความอดทน มีความสงบระงับ ฝึกตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสอยู่ผู้เดียว ล้วถามว่า“ท่านขอรับ...กุศลคือ อะไร อกุศลคืออะไร กรรมใดไม่มีโทษ กรรมใดมีโทษ กรรมใดควรเสพ กรรมใดไม่ควรเสพ กรรมใดทำแล้วเป็นประโยชน์ กรรมใดทำแล้วไม่เป็นประโยชน์”
  ๗. เมื่อฟังคำของสมณะพราหมณ์นั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศลจงเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลจงถือมั่นประพฤติปฏิบัติ
   จักรแก้ว
  พระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงศีล ๕ อยู่เป็นนิตย์ ในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ – ๑๕ ค่ำ พระองค์จะทรงจัดการงานแผ่นดินทั้งหลายให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วทรงถวายมหาทาน ทรงสรงน้ำชำระพระเศียรแล้วฉลองพระองค์ด้วยชุดขาว เสวยพระกระยาหารประทับนั่งสมาธิอยู่บนปราสาทสมาทานศีล ๘ ทรงลำลึกถึงเหตุแห่งบุญที่สำเร็จด้วย ทาน ศีล การข่มใจ และการฝึกตนของพระองค์ จนกระทั่งวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง คืนหนึ่งขณะที่พระองค์ทรงถือศีล ๘ และเจริญสมาธิอยู่จักรแก้วอันเป็นทิพย์ก็ปรากฏแก่พระองค์ จักรแก้วอันเป็นทิพย์นั้นบริบูรณ์ด้วย ดุม กง และซี่พันซี่ ล้วนสำเร็จด้วยทองและเงิน ประดับด้วยรัตนะชาติ ๙ ประการ ที่ได้รับการสลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงาม มีแสงรัศมีซ่านออกโดยรอบดุจดวงอาทิตย์

   จักรแก้วเมื่อต้องลมแล้วมีเสียงไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟัง ชวนให้เคลิบเคลิ้ม เหมือนเสียงดนตรีทั้ง ๕ ที่บรรเลงโดยนักดนตรีผู้ชำนาญดีแล้วจักรแก้วนั้นลอยมาจากทิศตะวันออกเปล่งแสงสุกสว่างดุจพระจันทร์ดวงที่ ๒ มาวนเวียนรอบพระนครแล้วหยุดอยู่ที่สีหะบัญชรด้านทิศเหนือของปราสาท มหาชนเห็นแล้วแตกตื่นพากันวิ่งตามมาดูและสักการบูชา พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นจักรแก้วแล้วทรงดำริว่า “เราเคยได้ฟังมาว่า พระราชาผู้ได้รับการราชาภิเษ แล้วองค์ใด ทรงสรงน้ำชำระพระวรกาย สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถศีลอยู่บนปราสาทในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ

   จักรแก้วอันเป็นทิพย์จะปรากฏแก่พระราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเห็นจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้วหรือ?” จึงทรงออกจากสมาธิลุกขึ้นมาทรงผ้าสไบเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายจับพระเต้าทองหลั่งน้ำทักษิโณทก พระหัตถ์ขวาชูจักรขึ้น แล้วตรัสว่า “โอ... จักรแก้วอันเจริญ จงหมุนไปพิชิตจักรวรรดิเถิด” ทันใดนั้นจักรแก้วก็หมุนลอยนำไปทางทิศตะวันออก พระราชาพร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าอีกทั้งมหาชนทั้งหลายก็ติดตามไป

   ด้วยอานุภาพของจักรแก้วพาให้พระราชาและผู้ติดตามทั้งหมดเหาะลอยไปได้ในอากาศ ข้ามภูเขา ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล จักรแก้วนำพาไปสู่อาณาจักรของประเทศใด ก็หยุดลงที่หน้าพระราชนิเวศของพระราชาประเทศนั้น พระองค์พร้อมผู้ติดตามก็หยุด ณ ที่นั้น พระราชาของประเทศนั้นๆก็นำเครื่องบรรณาการเสด็จเข้ามาเฝ้าพระองค์ แล้วน้อมพระเศียรอันทรงมหามงกุฎซบพระบาทของพระองค์ กราบทูลด้วยวจนะว่า

   “ข้าแต่มหาราช... ขอพระองค์ทรงเสด็จมาเถิด การเสด็จมาของพระองค์เป็นความดี ข้าพระองค์ขอถวายการต้อนรับพระองค์ด้วยราชสมบัติของหม่อมฉันขอยกถวายแก่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดประทานพระราชโอวาทแก่หม่อมฉันเถิด”.
  พระองค์ไม่ทรงตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงนำเครื่องราชพลีมาให้เรา” พระองค์ไม่ทรงเอาโภคทรัพย์ของพระราชาองค์ใดไป แต่ทรงตรัสด้วยพระปัญญาอันสมควรที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงธรรมะด้วยพระวจนะอันเป็นที่รัก อันละเอียดอ่อนว่า

   “ดูก่อนพ่อทั้งหลาย.... การฆ่าสัตว์ก็ดี การลักทรัพย์ก็ดี การประพฤติผิดในกามก็ดี การพูดโกหกก็ดี การเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติดก็ดี บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์ในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่นรก การไม่เสพกรรมทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสุขในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ดังนั้นพ่อทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดโกหก ไม่พึงเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติด แล้วพ่อทั้งหลายจงเสวยราชสมบัติตามเดิมเถิด”.
  จักรแก้วนำพาพระราชาพิชิตประเทศต่างๆทางทิศตะวันออก... พระราชาของประเทศเหล่านั้นก็ออกมาสวามิภักดิ์โดยดี ทรงเป็นบริวารของพระองค์โดยทั่วแล้ว จักรแก้วก็นำเสด็จสู่ทิศใต้... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศใต้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้ว
นำเสด็จสู่ทิศตะวันตก... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศตะวันตกก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศเหนือ... พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศเหนือก็ออกมาสวามิภักดิ์

   พระราชาทั้งหลายที่จะประชุมกองกำลังเตรียมรบหรือพยายามยกอาวุธขึ้นต่อ
กรไม่มีเลยพระราชาของประเทศทั้งหลายย่อมเข้าถึงการฝึกอบรมแล้วด้วยอานุภาพของจักรแก้ว พระองค์ก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งปฐพี โดยมีมหาสมุทรทั้งหมดเป็นขอบเขต ถึงซึ่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกด้วยประการฉะนี้ เมื่อจักรแก้วนำ
พิชิตทั่วพื้นปฐพีนี้แล้ว ก็นำเสด็จกลับสู่ราชธานีตั้งประดิษฐานอยู่ในประตูเมืองให้สง่างาม มหาชนทั้งหลายก็นำเครื่องสักการะบูชาอันมีดอกไม้และของหอมเป็นต้นมาสักการะบูชา กิจที่จะต้องทำด้วยการจุดคบเพลิง ด้วยการจุดตะเกียงในราชธานีไม่มี แสงสว่าง
แห่งจักรแก้วย่อมกำจัดความมือแห่งราตรี บุคคลใดต้องการแสงสว่าง แสงสว่างก็เกิดแก่บุคคลนั้น บุคคลใดต้องการความมืด ความมืดก็เกิดแก่บุคคลนั้น.
  ช้างแก้ว
  ช้างแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้างชื่อ อุโบสะถะ ตระกูลอุโบสถ เป็นช้างเผือกขาวปลอด มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทั้งปวง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ถ้าได้รับ
การฝึกหัดก็จะดี” ช้างแก้วก็เป็นช้างแสนรู้ในทันทีเหมือนช้างที่ได้รับการฝึกอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองช้างแก้วด้วยการเสด็จขึ้นคอแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยา หารเช้า.
  ม้าแก้ว
  ม้าแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้าชื่อ วลาหะกะ ตระกูลสินธพ มีสีขาวล้วน ศีรษะดำเหมือนกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ... ผู้เจริญ ม้าตัวนี้ถ้าได้รับการฝึก
หัดก็จะดี” ม้าแก้วก็เป็นม้าแสนรู้ในทันที เหมือนม้าที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองม้าแก้วด้วยการเสด็จขึ้นขี่หลังแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.
  แก้วมณี
  แก้วมณีได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วไพฑูรย์น้ำงามโดยกำเนิด แปดเหลี่ยมเจียรนัยดีแล้ว กว้างยาว ๔ ศอก ลักษณะงามพร้อมทุกประการ มีแสงสุกใสแวววาว มีรัศมีส่องแสงแผ่ออกไปไกล ๑ โยชน์ ถ้าติดไว้ที่ปลายยอดธงในเวลากลางคืนที่
มืดมิด จะมีแสงสว่างดุจกลางวัน ชาวบ้านพากันประกอบการงานนึกว่าเป็นกลางวัน.
  นางแก้ว
  นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นสตรีรูปร่างสวยงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก เอวเล็กและบาง สะโพกผาย ทรวดทรงงามระหงอรชรได้สัดส่วน ผิวพรรณเปล่งปลั่งเกินมนุษย์ มีรัศมีสว่างไสวแผ่ไปไกล ๑๒ ศอก มีร่างกายอ่อนนุ่มเหมือนนุ่นหรือปุยฝ้าย เมื่ออากาศเย็นเนื้อตัวจะอุ่น เมื่ออากาศร้อนเนื้อตัวจะเย็น มีกลิ่นจันทร์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก นางแก้วย่อมตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่ง คอยขับกล่อมพัดวี ประพฤติปฏิบัติเป็นที่พอพระราชหฤทัย พูดจาไพเราะอ่อนหวานด้วยคำที่น่ารัก ใจของนางไม่นอกพระหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทางกายจะประพฤติชั่วแต่ที่ไหน นางมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่บูดบึ้ง ชวนทัศนา.
  คฤหบดีแก้ว
  คฤหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นคนมีตาทิพย์ สามารถเห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ ทั้งบนดินใต้ดิน ทั้งบนน้ำใต้น้ำ ได้ไกล ๑ โยชน์ เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วงเรื่องทรัพย์ ข้าพระองค์
จะกระทำหน้าที่จัดหาจัดการพระราชทรัพย์แก่พระองค์” พระเจ้าจักรพรรดิทรงทดลองคฤหบดีแก้ว ด้วยการเสด็จพาประทับบนเรือลอยสู่กลางแม่น้ำคงคา แล้วทรงรับสั่งคฤหบดีแก้ว “ดูก่อน... ท่านคฤหบดี ฉันต้องการเงินทอง”
  คฤหบดี “มหาราชเจ้า... ถ้ากระนั้นขอพระองค์จงทรงให้เทียบเรือที่ริมตลิ่งเถิด”
  พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... ฉันต้องการเงินทองตรงกลางแม่น้ำนี้แหละ”
ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วก็เอามือทั้งสองจุ่มลงไปใต้น้ำ แล้วยกเอาหม้อที่เต็มไปด้วยเงินทองขึ้นมาพลางกราบทูลว่า “มหาราชเจ้า... เท่านี้พอหรือยังพระเจ้าข้า?”
  พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี... เท่านี้พอแล้ว ทำเพียงเท่านี้เถิด เท่านี้ก็เป็นอันท่านบูชาฉันแล้ว”
  ปริณายกแก้ว
  ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป้นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์เอง เป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีวิชาความรู้ทุกด้าน เฉลียวฉลาดสามารถรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่น เข้มแข็ง สามารถชี้แนะ
ให้พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จไปยังที่ๆควรไป ให้หลีกในที่ๆควรหลีก ให้ยับยั้งในที่ๆควรยับยั้ง เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ... พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วง ข้าพระองค์จะทำหน้าที่จัดการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระองค์จะวางนโยบายอย่างไร ขอพระองค์จงทรงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า” แก้วเจ็ดประการเห็นป่านนี้ปรากฏแล้วปรากฏแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ
  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้ ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรมเป็นอภิมหาราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้าง แก้ว ม้าแก้ว แก้วมณีนางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีมากกว่าพัน ล้วนกล้าหาญมีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้

   พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม โดยเสมอมิต้องใช้ศัสตรา มิต้องใช้อาชญา มิได้มีเสนียด ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็น ขอบเขต มิได้มีเสาเขื่อน มิได้มีนิมิต ไม่มีเสี้ยนหนาม สำเร็จ แพร่หลาย มีความเกษม สำราญ ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้น เป็นไฉน ซึ่งพระมหาบุรุษประกอบแล้วย่อม มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้น เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส
อันเปิดแล้วในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษในโลกนี้

     มหาปุริสะลักษณะ ๓๒ ประการ

   ๑.มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี ภิกษุทั้งหลาย การที่พระมหาบุรุษ มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ
   ๒.ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน  มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง มีดังนี้ 
   ๓. มีส้นพระบาทยาว
   ๔. มีพระองคุลียาว
   ๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
   ๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
   ๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ
   ๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย
   ๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง
   ๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก
   ๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณะแห่งทองคำ คือ มีพระตจะ ประดุจหุ้ม ด้วยทอง
   ๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้
   ๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ
   ๑๔. มีพระโลมชาติมีปลายขึ้นช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ
   ๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม
   ๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน
   ๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ
   ๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม
   ๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของพระองค์ก็เท่ากับวาของพระองค์
   ๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน
   ๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี
   ๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์
   ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่
   ๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
   ๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง
   ๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม
   ๒๗. มีพระชิวหาใหญ่
   ๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกกรวิก
   ๒๙. มีพระเนตรดำสนิท [ดำคม]
   ๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค
   ๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระขนง มีสีขาวอ่อน ควร เปรียบด้วยนุ่น
   ๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พระมหาบุรุษ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษนั้นด้วย
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้แล ที่มหาบุรุษ ประกอบแล้ว
ย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์  

  อนึ่งถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ภิกษุทั้งหลาย พวกฤาษีแม้เป็นภายนอก
ย่อมทรงจำมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ เหล่านี้ได้ แต่ฤาษีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่ทราบว่าเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก สัตว์ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนี้อันตนทำสั่งสมพอกพูนไพบูลย์ สัตว์ที่บำเพ็ญกุศลกรรมนั้น ย่อมครอบงำเทวดา ทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์ โดยสถาน ๑๐ คือ:-

    ๑.อายุทิพย์

    ๒.วรรณทิพย์

    ๓.ความสุขทิพย์

    ๔.ยศทิพย์

    ๕.ความเป็นอธิบดีทิพย์

    ๖.รูปทิพย์

    ๗.เสียงทิพย์

    ๘.กลิ่นทิพย์

    ๙.รสทิพย์

    ๑๐.โผฏฐัพพทิพย์

    ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้
   คำว่า "จักรพรรดิ" ที่ได้กำหนด และเลือกสืบค้น พบว่า ปรากฏในพระไตรปิฎกทั้งหมด ๒๕ เล่ม ตำแหน่งที่พบมีจำนวน ๕๙๔ แห่ง เมื่อเปิดศึกษาแล้ว ได้เลือกพระสูตรเล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ซึ่งเป็นเนื้อหาในจักกวัตติสูตร พระสูตรที่ว่าด้วย จักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ หลังจากที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องการปฏิบัติที่ต้องยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ทำตัวเองให้เป็น ประทีปแก่ตัวเอง อย่าพึงยึดถือ พึ่งพาสิ่งอื่น ก่อนตนเอง ทรงสอนเรื่องการพิจารณาตัวเองด้วยแนวสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทรงยกเรื่องราวของพระเจ้าจักรพรรดิราชทรงพระนามว่า "ทัฬหะเนมิ" มาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ซึ่งพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นี้ ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม มีพระราชอาณาเขตกว้างขวางมีมหาสมุทร ทั้ง ๔ เป็นขอบเขต พร้อมพรั่งสมบูรณ์ ด้วยสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๗ ประการ ได้แก่

   ๑. จักรแก้ว
   ๒. ช้างแก้ว

   ๓. ม้าแก้ว

   ๔. แก้วมณี

   ๕. นางแก้ว

   ๖. ขุนคลังแก้ว

   ๗. ขุนพลแก้ว

    แต่สมบัติทั้ง ๗ ประการนี้ก็ยังไม่ยิ่งใหญ่ หรือยืนยาวเท่ากับการได้ประพฤติอยู่ใน จักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ ภิกษุทั้งหลายจึงพากันทูลถามว่า แล้วจักรวรรดิวัตรนั้นเป็นอย่างไร ?  ควรประพฤติอย่างไร ?
   พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยสรุปเป็นใจความว่า จักรวรรดิวัตรทั้ง ๑๒ ข้อนั้น มีดังนี้ คือ:-
   ๑. คุ้มครองสงเคราะห์แก่ ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา
   ๒. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ
   ๓. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือเหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นข้าราชบริพาร
   ๔. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
   ๕. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือราษฎรพื้นเมืองทั้งหลาย
   ๖. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่เหล่าสมณพราหมณ์
   ๗. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์
   ๘. ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม
   ๙. เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์
   ๑๐.เข้าไปไต่ถามสนทนาอรรถปริศนากับสมณพราหมณ์
   ๑๑.เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม
   ๑๒.เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
  พุทธพจน์ที่ทรงกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าจักรพรรดิ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแลประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสุคติซึ่งเขาพูดหมายถึงสวรรค์นั้นแลโดยชอบ พึงกล่าวได้ว่า เป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงสวรรค์เป็นสุข ก็ไม่ใช่ง่ายนัก
   เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความ สัมฤทธิผล ๔ อย่างจึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการเป็นไฉน?
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ผู้ทรงได้มุรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนาน พระเศียรทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้นเป็น วันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพย์มีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ครั้นทอดพระเนตร แล้วได้มีพระราชดำริดังนี้ว่า ก็เราได้สดับมาดังนี้แล พระราชาพระองค์ใด ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวัน นั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพย์ มีกำตั้งพันพร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พระราชานั้นย่อมเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือหนอ?
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อนั้น พระองค์เสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงจับพระเต้าน้ำ ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหลั่งรดจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา รับสั่งว่า จงพัดผันไปเถิด จักรแก้วผู้เจริญ จักรแก้วผู้เจริญจงพิชิตให้ยิ่งเถิด ลำดับนั้นจักรแก้วนั้นก็พัดผันไป ทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคะเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคะเสนา บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงสั่งการเถิด

   พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควร ลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออกเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ ต่อนั้น จักรแก้วนั้นได้พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันออก แล้วกลับขึ้นมา พัดผันไปทิศใต้ ฯลฯ พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศใต้แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศตะวันตก ฯลฯ  พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันตก แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศเหนือ พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคะเสนา ก็เสด็จตามไป จักรแก้วประดิษฐาน อยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อม ด้วยจตุรงคะเสนา

   บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงสั่งการเถิดพระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และ ท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดาพระราชาที่ เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแลจักรแก้วนั้นพิชิตยิ่งตลอดแผ่นดินมีสมุทรเป็น ขอบเขต แล้วกลับมาสู่ราชธานีเดิม ประดิษฐานอยู่เป็นเสมือนลิ่มสลักพระทวาร ภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ ทำให้งดงามอย่างมั่นคงอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ย่อมปรากฏจักรแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏช้างแก้ว เป็นช้างหลวงชื่ออุโบสถเผือกทั่วสรรพางค์กาย มีที่ตั้งอวัยวะ ทั้งเจ็ดถูกต้องดี มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้วย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า จะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อมหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้นช้างแก้วนั้นจึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนย ตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีเป็นเวลานาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเวียน รอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระยาหารเช้าได้ทันเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏช้างแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏม้าแก้ว เป็นอัสวราชชื่อวลาหกะขาวปลอด ศีรษะดำเหมือนกา เส้นผม สลวยเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า จะเป็นยานม้าที่เจริญหนอ พ่อมหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้นม้าแก้วนั้นจึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนม้า อาชาไนยตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีแล้วเป็นเวลานาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จ เวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระยา หารเช้าได้ทันเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏม้าแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏมณีแก้ว เป็นแก้วไพฑูรย์ งามโชติช่วง แปดเหลี่ยม อันเจียระไนไว้ อย่างดี มีแสงสว่างแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองมณีแก้วนั้น จึงสั่งให้จตุรงคะเสนา ยกแก้วมณีขึ้นเป็นยอดธง แล้วให้เคลื่อนพลไปในความมืดทึบของราตรี ชาวบ้าน ที่อยู่รอบๆ พากันประกอบการงานด้วยแสงสว่างนั้น สำคัญว่าเป็นกลางวัน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย มณีแก้วมีอานุภาพเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏนางแก้วรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณ อย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนักล่วงผิวพรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงผิวพรรณทิพย์ มีสัมผัสทางกายปานประหนึ่ง สัมผัสปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย นางแก้วนั้นมีตัวอุ่นในคราวหนาว มีตัวเย็นในคราวร้อน มีกลิ่นดังกลิ่นจันทรฟุ้งไปแต่กาย มีกลิ่นดังกลิ่นอุบลฟุ้งไปแต่ปาก นางแก้วนั้นมีปรกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังบรรหารใช้ ประพฤติถูกพระทัย ทูลปราศรัย เป็นที่โปรดปรานต่อพระเจ้าจักรพรรดิและไม่ประพฤติล่วงพระเจ้าจักรพรรดิแม้ ทางใจ ไฉนเล่า จะมีประพฤติล่วงทางกายได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏนางแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏคฤหบดีแก้ว ผู้มีจักษุเพียงดังทิพเกิดแต่วิบากของกรรมปรากฏ ซึ่งเป็นเหตุ ให้มองเห็นทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของได้ เขาเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พระองค์จงทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักทำหน้าที่การคลังให้พระองค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งให้ ลอยล่องบนกระแสน้ำกลางแม่น้ำคงคา แล้วรับสั่งกะคฤหบดีแก้วดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ฉันต้องการเงินและทองคฤหบดีแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น โปรดเทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเถิด พระเจ้าจักรพรรดิตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ฉันต้อง การเงินและทองตรงนี้แหละ ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วจึงเอามือทั้ง ๒ หย่อนลง ในน้ำ ยกหม้อเต็มด้วยเงินและทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พอหรือยังเพียงเท่านี้ ใช้ได้หรือยังเพียงเท่านี้ บูชาได้หรือยัง เพียงเท่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิจึงรับสั่งอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี พอละ ใช้ได้แล้ว บูชาได้แล้วเพียงเท่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏคฤหบดีแก้วเห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏปริณายกแก้ว ปริณายกนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถถวาย ข้อแนะนำให้พระองค์ทรงบำรุงผู้ที่ควรบำรุง ทรงถอดถอนผู้ที่ควรถอดถอน ทรง แต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เขาเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอ เดชะขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักสั่งการถวาย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏปริณายกแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการนี้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างเป็นไฉน
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ย่อมทรงพระสิริ โฉมงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งพระฉวีวรรณอย่างยิ่ง เกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อแรกดังนี้
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ทรงพระชนมายุยืน ทรงดำรงอยู่นานเกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๒ ดังนี้
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม เป็นผู้มีพระโรคาพาธน้อย ไม่ทรงลำบากทรงประกอบด้วยพระเตโชธาตุย่อย พระกระยาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความมฤทธิผลข้อที่ ๓ ดังนี้
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ทรงเป็นที่รักใคร่ พอใจ ของพราหมณ์และคฤหบดีเหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่พอใจ ของบุตรฉะนั้น พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นที่ทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิเหมือนบุตรเป็นที่รักใคร่พอใจของบิดาฉะนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาออก ประพาสพระราชอุทยาน ทันทีนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์อย่ารีบด่วน โปรดเสด็จโดยอาการที่ พวกข้าพระองค์ได้ชมพระบารมีนานๆ เถิด

   แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงสั่งสารถีว่า ดูกรสารถี ท่านอย่ารีบด่วน จงขับไปโดยอาการที่ฉันได้ชมบรรดาพราหมณ์และ คฤหบดีนานๆ เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๔ ดังนี้ 

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างนี้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่างดังนี้ พึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุบ้างไหมหนอ  

   ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจักรพรรดิทรง ประกอบด้วยแก้วแม้ประการหนึ่งๆก็ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมีแก้วประการนั้นเป็นเหตุได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล ทั้ง ๔ อย่าง
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่า ฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้กับภูเขาหลวงหิมพานต์ อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน ฯ
  ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้มี ประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
  พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล พระเจ้าจักรพรรดินี้ ทรง ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง ย่อมทรงเสวยสุข โสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ สุขโสมนัสนั้นเปรียบเทียบสุขอันเป็น ทิพย์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้การนับย่อมไม่เข้าถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล ถ้ามาสู่ความเป็นมนุษย์ ในบางครั้งบางคราวไม่ว่ากาลไหนๆโดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุล สูงคือ สกุลกษัตริย์มหาศาล หรือสกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคฤหบดี มหาศาล เห็นปานนั้นในบั้นปลาย อันเป็นสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจและทรัพย์ธัญญาหารอย่างเพียงพอ และเขาจะเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ อาศัย และเครื่องตามประทีปเขาจะประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะฉวยเอา ชัยชนะได้ประการแรกเท่านั้น จึงบรรลุโภคสมบัติมากมาย การฉวยเอาชัยชนะ ของนักเลงการพนันที่บรรลุโภคสมบัติมากมายได้นั้นแล เพียงเล็กน้อย ที่แท้แลการฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวงกว่านั้น คือ การฉวยเอาชัยชนะที่บัณฑิตนั้น ประ พฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นั่นเอง  ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล 
  เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิไม่อุบัติร่วมกัน(เมื่ออุบัติขึ้นก็อุบัติขึ้นทีละองค์ไม่ซ้อนกัน)
 ในโลกธาตุ คือในจักรวาลเดียวกัน ก็หมื่นจักรวาลแม้จะถือเอาด้วยบทนี้ในตอนต้น ก็ควรที่จะกำหนดเอาจักรวาลเดียวเท่านั้น เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะอุบัติขึ้นย่อมอุบัติขึ้นในจักรวาลนี้เท่านั้น ก็เมื่อห้ามสถานที่ที่เสด็จอุบัติย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาดว่าพระพุทธ เจ้าทั้งหลาย ไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่นนอกจากจักรวาลนี้.
   จักรรัตนะย่อมอันตรธานไปโดยส่วน ๒ คือ โดยพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จสวรรคต หรือโดยเสด็จออกทรงผนวช ก็แหละจักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธานไปในวันที่ ๗ แต่การเสด็จสวรรคต หรือแต่การเสด็จออกทรงผนวช ต่อแต่นั้นไม่ห้ามการปรากฏขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
  ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน.
  ตอบว่า เพราะจะตัดการวิวาทกัน เพราะจะให้เป็นความอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก
   ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์ อุบัติขึ้นพร้อมกัน การวิวาทก็จะพึงเกิดขึ้นว่า พระราชาของพวกเราใหญ่ พระราชาของพวกเราก็ใหญ่ ในทวีปหนึ่งมี พระเจ้าจักรพรรดิ (อีก) ทวีปหนึ่งก็มี พระเจ้าจักรพรรดิ ดังนั้นจะพึงไม่เป็นของอัศจรรย์ และอานุภาพอันยิ่งใหญ่ของจักรรัตนะอันสามารถมอบให้ซึ่งความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารก็จะหมดคุณค่า พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์ ก็ย่อมไม่อุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน ก็เพราะจะตัดการวิวาทกัน เพราะไม่เป็นความอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก ด้วยประการดังนี้

   พระพุทธเจ้าทรงปราบทิฏฐิมานะของพระเจ้ามหาชมพูบดี

   ในสมัยพุทธกาล มีพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจพระองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองเมืองปัญจาลราษฐ พระนามว่า "พญาชมพูบดี" กล่าวกันว่า ขุมทองคำเกิดพร้อม ๆ กับการประสูติของพญาชมพูบดี ขุมทองในที่ต่างๆ ก็ผุดขึ้นมากมายอันแสดงถึงบุญญาธิการของพระองค์ ประชาชนในเมืองนี้จึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์ พญาชมพูบดี

   พระองค์ทรงมีอาวุธวิเศษ ๒ อย่าง คือ:-

    ๑.ฉลองพระบาทแก้ว ซึ่งเมื่อสวมเข้าไปแล้วก็จะพาพระองค์เหาะไปในที่ต่างๆ ได้ ทั้งยังใช้อธิษฐานแปลงเป็นนาคราชเข้าประหัตประหารศัตรูได้อีกด้วย

    ๒.อาวุธวิเศษอย่างที่สอง คือ วิษศร ซึ่งเป็นศรวิเศษใช้ต่างราชทูต หากกษัตริย์เมืองใดไม่มาอ่อนน้อมขึ้นต่อพระองค์ วิษศรนี้ก็จะไปร้อยพระกรรณพาตัวเข้าเฝ้าพระองค์จนได้ ทำให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันยำเกรงในพระเดชานุภาพแห่งพญาชมพูบดี ด้วยอาวุธคู่พระวรกาย

   พญาชมพูบดีได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั้งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า พญาชมพูบดีส่งอาวุธวิเศษของพระองค์ ไปทำอันตรายต่อพระเจ้าพิมพิสาร แต่ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ ด้วยอาศัยพระพุทธานุภาพ ทำให้พญาชมพูบดีแค้นพระทัยมาก แม้ส่งอาวุธวิเศษอย่างใดไป ก็พ่ายแพ้แก่พระพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้ และมีทิฏฐิมานะเบาบางลง ประกอบด้วยกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดีว่าสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดี มาเข้าเฝ้า

       ส่วนพระองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ทรงมงกุฎพร้อมเครื่องราชาภรณ์ล้วนแล้วแต่งดงามยิ่งนัก ส่วนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์สาวก ก็เนรมิตกายเป็นเสนาอำมาตย์ใหญ่น้อย ล้วนแล้วแต่น่าเกรงขาม ทั้งเนรมิตเวฬุวัน (ป่าไผ่) ให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง ๗ ชั้น และมีพุทธฎีกาตรัสสั่งให้เทวดา พรหม ทั้งหลายร่วมเนรมิตเป็นตลาดน้ำ ตลาดบก เมื่อพระอินทร์ซึ่งเนรมิตกายเป็นราชทูต ไปถึงเมืองปัญจาลราษฐ เห็นพญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ยังถือดี จึงแสดงฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ พญาชมพูบดีไม่อาจแข็งขืนจำยอม ต้องยกพลเดินทัพเพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า เมื่อพญาชมพูบดี เดินทางเข้าเขตพระนคร ก็ตกตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิต แม้แต่เหล่าแม่ค้าริมทาง ก็ยังงดงามกว่าพระอัครมเหสีของพญาชมพู จนชวนให้รู้สึกขวยเขินก้าวเดินไม่ตรงทาง และเมื่อผ่านทางยังกำแพงพระนครแต่ละชั้น ทอดพระเนตรเห็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่รักษาพระนคร พระทัยก็ประหวั่นพรั่นกลัวพระเสโทไหลโทรมทั่วพระสกลกาย ถึงกำแพงชั้นในซึ่งเป็นแก้ว ก็ทำท่าจูงกระเบนเหน็บรั้ง ด้วยเข้าพระทัยผิดคิดว่ามีเสียงนางในร้องเย้ยเยาะว่ากษัตริย์ บ้านนอก กระทำเชยๆ พญาชมพูบดีก็รู้สึกได้รับความอัปยศอย่างยิ่ง เมื่อพญาชมพูบดีมาถึงต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระบรมศาสดา ซึ่งเนรมิตกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่หมดทิฏฐิมานะ พระพุทธองค์ทรงเชื้อเชิญให้แสดงฤทธิ์เดชอำนาจและของวิเศษทุกสิ่งทุกอย่างออกมา เมื่อพญาชมพูบดีทรงแสดงแล้ว ก็ต้องได้รับความอัปยศยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย
   เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีคลายทิฏฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากมายให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฏสงสาร ทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่างรู้สึกปีติ โสมนัส จึงปลดมงกุฎและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งองค์พระสัมพัญญูบรมศาสนา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูน จากนั้นจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์ จากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้าบรมครู พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เทวดา พรหม ก็คล้ายฤทธานุภาพกลับสู่สภาพเดิม (เป็นป่าไผ่และสภาพทั้งหลายตามความเป็นจริง)   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบถแก่พญาชมพูบดี พร้อมด้วย
เสนาอำมาตย์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์ มีรูป เป็นต้นว่า อุปมาดั่งพยับแดด หาสาระตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้ และแสดงเทศนาต่างๆ เป็นอเนกปริยาย พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็ดื่มดำในพระอมตธรรมสลัดเสียซึ่ง ตัณหา อุปาทาน จิตของท่านก็เข้าสู่อรหันตผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา
        พระเจ้าสังขจักรบรมพรรดิราช
  พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็นเทวบุตรนามว่า นะฬะการเทพบุตร เสวยทิพยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์เป็นเวลาช้านาน ในกาลสมัยแห่ง สมเด็จพระสิริมัตตะพุทธเจ้านั้น นฬการเทพบุตร ได้จุติจากฉกามาพจรสวรรค์มาบังเกิดเป็น พระเจ้าสังขจักรพรรดิราช ครองอินทปัตนคร ทรงถึงพร้อมด้วย แก้ว ๗ ประการ และมหาปราสาท ๗ ชั้น พระเจ้าสังขจักรพรรดิราชซึ่งเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร ได้ทรงตั้งสัจจาธิษฐานว่า “ เราจักมอบราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แก่ผู้ที่แจ้งข่าว พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ แก่เรา แล้วจักไปสู่สำนักพุทธเจ้า “
  ในกาลนั้น สามเณรในพระศาสนาของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า "สิริมัตตะ" ได้เดินทางผ่านมาทางพระนคร ชาวเมืองเห็นเข้าด้วยไม่รู้จึงนึกว่าเป็นยักษ์ จึงหมายจะเข้าไปทำร้ายสามเณร ด้วยความสะดุ้งกลัวอันตรายสามเณรจึงวิ่งไปสู่พระบรมราชวังแห่งพระเจ้า
จักรพรรดิ พระเจ้าสังขจักรบรมโพธิสัตว์ ได้ตรัสถามความเป็นมาของสามเณร จึงทรงทราบว่าขณะนี้ ได้มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “สิริมัตตะ” บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว จึงตรัสถามสามเณรว่า “ ข้าแต่สามเณรผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด”
สามเณรกล่าวตอบว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในบุพพารามไกล ๑๖ โยชน์ ทางทิศอุดรจากมหานครนี้”
  ด้วยสัจจาธิษฐานที่ทรงตั้งไว้ จึงสละจักรพรรดิ์สมบัติอันประเสริฐแก่สามเณร และทรงผินพระพักตร์ไปสู่ทิศอุดรเสด็จไปสู่ที่ประทับของพระพุทธเจ้า ด้วยทรงเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ เสด็จพระราชดำเนินด้วยการก้าวย่างพระบาทเพียงวันเดียว พระบาททั้ง ๒ ก็แตก
พระโลหิตไหลออกจากฝ่าพระบาททั้ง ๒ เมื่อพระบาททั้ง ๒ แตกแล้ว พระบรมโพธิสัตว์จึงเสด็จคลานด้วยพระชงฆ์ทั้ง ๒ กับทั้งพระหัตถ์ทั้ง ๒ เป็นเวลา ๓ วัน ในวันที่ ๔ พระโลหิตจึงไหลออกจากพระหัตถ์ และพระชงฆ์ทั้ง ๒ ข้างในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์ ทรงตัดสินใจว่าจะดำเนินไปด้วยพระอุระ ครั้นแล้วพระบรมโพธิสัตว์จึงทรงกระเถิบไปด้วยพระอุระ
ด้วยมุ่งหมายเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ จึงทรงอดกลั้นความลำบากได้
   ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล็งข่ายพระพุทธญาณตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นกำลังพระวิริยะบารมีของพระบรมโพธิสัตว์ จึงทรงใช้อำนาจพระพุทธบารมีแปลงเพศเป็นคนเนรมิตรถแล้ว เสด็จไปประทับอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระเจ้าสังขจักรพรรดิบรมโพธิสัตว์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ ดูก่อนท่านผู้เจริญ จงหลีกทาง เราจักขับรถไป “
   พระบรมโพธิสัตว์เมื่อทรงสดับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงตรัสว่า
“ ดูก่อนนายสารถีผู้เจริญ เมื่อเราเดินทางไปด้วยหน้าที่ที่ต้องทำ ทำไมจึงต้องถอยหลีก เรายึดถือพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ขอท่านจงบังคับรถของท่านให้วิ่งทับร่างของเราไปได้ เราจะไม่ยอมหลีกทางให้ท่าน “
  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ถ้าท่านจะไปสู่สำนักพระพุทธเจ้าแล้วไซร้ ขอจงขึ้นรถเถิด เราจักนำไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า “
   ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จถึงสำนักบุพพารามแล้วจึงทรงแปลงพระวรกายจากเพศคน แล้วประทับนั่งพุทธอาสน์  เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรแสงพระพุทธฉัพพรรณรังสีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นถึงกับสลบไป
เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงฟื้นแล้ว เสด็จเข้าไปใกล้พระบรมศาสดา ทรงประคองอัญชลีได้กราบทูลขอฟังธรรมอันสูงสุดจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
   เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมบทหนึ่งแล้ว พระราชาทูลขอร้องให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพักการแสดงธรรมไว้ก่อน เหตุเพราะเกรงว่า ถ้าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมมากแล้วไซร้ จะไม่มีไทยธรรมที่ควรแก่การบูชาพระธรรม พระบรมโพธิสัตว์ กราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ทรงแสดงพระนิพพานอันเป็นธรรมเอก เป็นธรรมที่สุดในสรรพธรรม แม้ข้าพระองค์ตัดศีรษะอันเป็นอวัยวะสูงสุดในอวัยวะทั้งปวงของข้าพระองค์ บูชาพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน “ ครั้นตรัสแล้ว จึงทรงใช้พระนขะ(เล็บ)ตัดพระเศียร ทรงวางพระเศียรไว้บนฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสว่า
“ ข้าแต่พระสิริมัตตะพุทธเจ้า ขอพระองค์ทรงบรรลุอมตธรรมก่อนเถิด ด้วยการถวายศีรษะนี้ ข้าพระองค์ขอบรรลุนิพพาน ในภายหลัง “ ดังนี้ฯ
   พระเจ้าจักรพรรดิ คือ มนุษย์ผู้มีบุญ เพราะได้ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ หรือได้บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอะระหันต์ พระภิกษุสงฆ์ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา
หรือได้ทำประโยชน์แก่สาธารณะชนด้วยกำลังศรัทธาที่แรงกล้า. พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาโดยธรรมะ ไม่ต้องแย่งชิงอำนาจจากใครด้วยอุบายหรือการทำสงคราม ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรที่มั่นคง ทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในโลกแต่ผู้เดียว ทรงมีพระปัญญาอันประเสริฐ ฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาการ ทรงบำรุงพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญสูงสุด พระองค์มีแก้ว ๗ ประการ มีพระราชบุตรมากกว่าพันล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีระกษัตริย์ สามารถย่ำยีกองกำลังของข้าศึกได้ไม่ยาก ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์ของพระองค์ และอานุภาพแห่งแก้ว ๗ ประการ ทำให้พระองค์ทรงบริหารและปกครองราษฎรโดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่ต้องใช้อาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารใดๆ ไม่ต้องลงโทษ ไม่ต้องลงอาชญา.
  สมัยใดโลกมีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สมัยใดโลกว่างเปล่าจากจากพระพุทธศาสนาและพระปัจเจกพุทธเจ้า สมัยนั้นได้ชื่อว่าโลกมืด โลกจะแบ่งแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยอย่างมากมาย มีเชื้อชาติมากมาย ภาษามากมาย
ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย มีลัทธิศาสนาอันไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากมาย แล้วมวลมนุษย์ในโลกก็เกิดความขัดแย้งกันทะเลาะไม่สามัคคีกัน ด่ากัน แล้วลงท้ายด้วยการจับก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง อาวุธอันมีคมบ้าง ประหัตประหารกัน รบกัน ทำสงคราม
กัน แล้วเกิดการจองเวรด้วยการลอบทำร้ายกัน ลอบสังหารกันและก่อวินาศกรรม กลายเป็นลัทธิก่อการร้ายล้างผลาญกันไป ล้างผลาญกันมาไม่จบสิ้น พระองค์ทรงเห็นโทษเห็นความลามกของความแตกแยกและความแตกต่าง พระองค์จึงทรงรวบรวมมนุษย์ทุก
ชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้มนุษย์โลกมีเพียงชาติเดียว เผ่าพันธุ์เดียว ภาษาเดียว ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียว ใช้สกุลเงินเดียว แล้วพระองค์ทรงสอนศีล ๕ แก่มวลมนุษย์ในโลก เป็นหลักคำสอนเดียวศาสนาเดียว ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้น
จึงมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระประมุขของชาวโลก และเป็นศาสดาของชาวโลก.
เมื่อประมุขของโลกและมนุษย์โลกต่างมีศีล ๕ มีธรรมะอันงาม ไม่มีแหล่งอบายมุขใดๆในแผ่นดิน ไม่แตกแยกไม่ขัดแย้งกันดังนี้
  มวลมนุษย์ย่อมเห็นความสุขความเจริญในปัจจุบัน เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมปลื้มปีติยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ทั้งหลายก็มีสุขภาพจิตสุขภาพกายดี อายุยืน จำนวนมนุษย์ก็มากขึ้นแต่ไม่ขาดแคลน มวลมนุษย์ทั้งปวงต่างมองหน้ากันด้วยแววตาแห่งความรักความเมตตา เมื่อนั้นได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประทานแสงสว่างให้แก่โลก ประทานความร่มเย็นให้แก่โลก.
  ฤทธิ์ ๔ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ
 ๑. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
 ๒.พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระชนมายุยืนนานกว่ามนุษย์ทั่วไป

 ๓. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อยกว่ามนุษย์ทั่วไป
 ๔.พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นที่รักที่ชอบใจของพระเจ้าจักรพรรดิดุจบุตรเป็นที่รักที่ชอบใจของบิดาทีเดียว เมื่อถึงคราวพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเลียบพระนครออกเยี่ยมราษฎร ราษฎรทั้งหลายไปเฝ้า พระองค์พลางกราบทูลว่า “ขอเดชะ... ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระองค์จะได้เฝ้าพระองค์นานๆ”แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงตรัสกับนายสารถีว่า “นายสารถี เธออย่าด่วนขับรถไป เราจะได้เห็นราษฎรนานๆ” 

      ตัวอย่างของพระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๗ ประเภท

  ๑.พระเจ้าจักรพรรดิที่บำเพ็ญบุญบารีมาน้อยและมีอานุภาพน้อย     เช่น:-

          พระเจ้าทัลหเนมิจุลจักรพรรดิราช

   

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นครมาตุลา แคว้นมคธ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตนพึ่งธรรมและเจริญสติปัฏฐาน ๔  แล้วตรัสเล่าเรื่องรัตนะ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระนามว่า ทัฬหเนมิ คือ?-
   ๑. จักรแก้ว    ( จักกรัตนะ )     

   ๒. ช้างแก้ว     ( หัตถิรัตนะ )
   ๓. ม้าแก้ว     ( อัสสรัตนะ )     

   ๔. แก้วมณี     ( มณีรัตนะ )
   ๕. นางแก้ว     ( อิตถีรัตนะ )     

   ๖. ขุนคลังแก้ว   ( คฤหปติรัตนะ)
   ๗. ขุนพลแก้ว    ( ปริณายกรัตนะ )
   พระเจ้าทัฬหะเนมิตรัสสั่งราชบุรุษให้คอยดูว่า จักรแก้วเคลื่อนจากฐานเมื่อไรให้บอก จำเนียรกาลผ่านมา เมื่อจักรแก้วเคลื่อนจากที่แล้ว ราชบุรุษนั้นก็ไปกราบทูล พระองค์จึงตรัสเรียกพระราชบุตรองค์ใหญ่มอบราชสมบัติให้แล้วปลงพระเกสาพระมัสสุ ทรงผ้ากาสยะ ( ผ้าย้อมฝาด ) ออกผนวชเป็นบรรพชิต. เมื่อออกผนวชเป็นฤษีได้ ๗ วัน จักรแก้วก็อันตรธานหายไป.
   พระราชาราชบุตร  ก็ทรงเสียพระราชหฤทัย เล่าความถวาย พระราชฤษีก็ตรัสปลอบว่า จักรแก้วเป็นของให้กันไม่ได้ และทรงแนะนำให้บำเพ็ญจักกวัตติวัตร คือข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ มีฐานะอยู่ที่เมื่อปฏิบัติแล้ว จักรแก้วอันเป็นทิพย์ ก็กำตั้งพัน , มีกง , ดุมสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง จักปรากฏขึ้นแก่พระราชาผู้รักษาอุโบสถในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ผู้ขึ้นสู่ชั้นบนปราสาท

   พระราชากราบทูลถามว่า "วัตรอันประเสริฐของพระเจ้าจักรพรรดิราชเป็นอย่างไร

   พระฤาษีตรัสตอบว่า "จักกวัตติวัตร ๑๒ ประการ ที่พระราชาผู้ปราถนากงจักรแก้วจะต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ถ้าประพฤติปฏิบัติตามไม่ได้กงจักรแก้วก็จะไม่ปรากฏขึ้นมี ๑๒ ประการ  คือ:-

              จักกะวัตติวัตร  ๑๒  ประการ     
   ๑. คุ้มครองสงเคราะห์แก่ ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา
   ๒. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ
   ๓. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือเหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นข้าราชบริพาร
   ๔. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
   ๕. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือราษฎรพื้นเมืองทั้งหลาย
   ๖. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่เหล่าสมณพราหมณ์
   ๗. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์
   ๘. ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม
   ๙. เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์
   ๑๐.เข้าไปไต่ถามสนทนาอรรถปริศนากับสมณพราหมณ์
   ๑๑.เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม
   ๑๒.เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
   เมื่อพระราชา ผู้เป็นราชบุตร กระทำตาม จักรแก้วก็ปรากฏขึ้นตามที่พระราชฤาษีทรงกล่าวไว้ พระราชาจึงทรงถือเต้าน้ำด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหมุนจักแก้วไปด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา รับสั่งว่า จักรแก้วอันเจริญจงหมุนเถิด จงมีชัยเถิด แล้วยกกองทัพมีองค์ ๔ ติดตามไปทั้งสิ้นจนจดสมุทร สั่งสอนพระราชาในทิศนั้น ๆ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้วมอบให้ครอบครองสมบัติต่อไปตามเดิม ( เพียงให้ยอมแพ้เท่านั้น). เมื่อได้ชัยชนะทั้งสี่ทิศแล้ว ก็เสด็จกลับสู่ราชธานีตามเดิม
    พระเจ้าจักรพรรดิราช องค์ที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ และที่ ๗ ก็ดำเนินไปในทำนองเดียวกันนี้  พระเจ้าจักรพรรดิที่ ๗ เมื่อออกผนวชและมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรสแล้ว จักแก้วก็อันตรธานหายไป พวกอำมาตย์ราชบริพารก็ถวายคำแนะนำเรื่องจักกะวัตติวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิราช
                    ความผิดพลาดในพระราชาองค์ที่ ๘
    พระราชาสดับแล้ว ก็ทรงจัดการรักษาคุ้มครองอันเป็นธรรม แต่ไม่พระราชทานทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์คือ ไม่จัดการด้านสังคมสงเคราะห์ ไม่มีการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก   

    ความยากจนจึงได้แพร่ขยายมากขึ้น เมื่อความยกจนแพร่ขยายมากขึ้น  มนุษย์ทั้งหลายก็จะลักทรัพย์ของผู้อื่น  เมื่อราชบุรุษจับได้ก็นำไปปถวายให้ทรงจัดการ เมื่อทรงไต่ส่วนได้ความเป็นสัตย์ และทรบว่าเพราะไม่มีอาชีพ ก็พระราชทานทรัพย์ให้ไปเลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตรภรรยาประกอบการงานและบำรุงสมณพราหมณ์  ต่อมามีคนลักทรัพย์ของผู้อื่นและถูกจับได้อีก พระราชาทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์อย่างเดิม ก็พระราชทานทรัพย์ให้อีก  ข่าวก็ลือกันไปว่า "ถ้าใครลักทรัพย์ก็จะได้พระราชทานทรัพย์ คนก็ลักทรัพย์กันเพิ่มมากขึ้น"
   ครั้นต่อมา ราชบุรุษจับคนลักทรัพย์ได้อีก แต่คราวนี้ส่งให้พระราชาเพราะทรงเกรงว่า ถ้าพระราชทานทรัพย์ การลักทรัพย์อีกก็จักเพิ่มยิ่งขึ้น จึงตรัสสั่งให้มัด โกนศีรษะ พาตระเวนไปตามถนนหนทาง ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว    นำออกทางประตูพระนครทางด้านทิศใต้ ปราบกันอย่างถอนรากถอนโคน แล้วก็ตัดศีรษะเสียบประจานเสีย
   เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย ทราบข่าวเช่นนี้ ก็พากันสร้างเครื่องศัสตราอันคมขึ้น และคิดว่า ถ้าลักทรัยพ์ใครก็ต้องตัดษีรษะเจ้าทรัพย์บ้าง จึงเกิดการปล้นหมู่บ้านนิคมนครและการปล้นในหนทาง   อายุลดลง อธรรมเพิ่ม
   จากการที่ไม่ให้ทรัพย์แก่ผู้ยากไร้ทรัพย์  ตนยากไร้ก็มีมากขึ้นด้วยความยกจน มากด้วยการลักทรัพย์ มากด้วยการใช้ศัสตรา มากด้วยการฆ่า มากด้วยการพูดปด อายุผิวพรรณของสัตว์ทั้งหลายก็เสื่อมลง คือมนุษย์มีอายุ   ๘ หมื่นปี แต่พอถึงรุ่นบุตรก็จะมีอายุเพียง  ๔ หมื่นปี และอายุก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ

    ในเมื่อความชั่วเกิดมากขึ้น เช่น การพูดเท็จอย่างจงใจ, การพูดส่อเสียด, การประพฤติผิดในกาม  เมื่ออายุลดลงเหลือ   ๕ พันปี  คนทั้งหลายก็จะมากไปด้วยธรรม  ๒ อย่าง คือการพูดหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ. เมื่ออายุลดลงมาถึง   ๒,๕๐๐ ปี ก็จะมากไปด้วยธรรม   ๒ อย่าง โลภอยากได้ของเขา และพยาบาทปองร้ายเขา

    เมื่ออายุลดลงมาถึง  ๑ พันปี คนทั้งหลายก็จะมากไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดทำนองคลองธรรม เมื่ออายุลดลงมาถึง   ๕๐๐ ปี ก็จะมากไปด้วยธรรม  ๓ อย่าง คือ 

    ๑. ความกำหนัดที่ผิดธรรม ๔  ( อธมฺมราค)  

    ๒. ความโลภรุนแรง (วิสมโลภ )  
    ๓. ธรรมะที่ผิด (คือ ความกำหนัดพอใจที่ผิดปกติ เช่น ชายรักชาย หญิงรักหญิง  เมื่ออายุลดลงมาถึง ๒๕๐ ปี ก็จะมากไปด้วยธรรม คือการไม่ปฏิบัติชอบในมารดาบิดา, ในสมณะ, ในพราหมณ์ , และการไม่อ่อนน้อมถ่อมตัวต่อผู้ใหญ่ในสกุล เมื่อเสื่อมลงอย่างนี้
ทั้งอายุและผิวพรรณของมนุษย์  ก็จะมีอายุเหลือ ๒๕๐ ปี บุตรก็มีอายุเพียง ๑๐๐ ปี
       อายุขัย ๑๐ ปี เกิดมิคสัญญี
    จักมีสมัยหนึ่ง  มนุษย์ทั้งหลายไม่มีศีล ๕ ทำบาปอกุศลกรรมเอาไว้มากอายุขัยก็จะลดลงเหลือ ๑๐ ปี หญิงสาวอายุ ๕ ปี ก็มีสามีได้  เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเป็นสาเหตุทำให้รสทั้งหลายอันตรธานไป คือ รสเนยใส รสเนยข้น รสน้ำมัน รสน้ำผึ้ง รสน้ำอ้อย รสเค็ม  เมล็ดพืช ชื่อกุทรุสกะ (ไทยแปลกันว่าข้าวหญ้ากับแก้) จะเป็นโภชนะอันเลิศ เสมือนหนึ่งข้าวสุกแห้งข้าวสาลีและเนื้อสัตว์เป็นโภชนะอันเลิศในสมัยนี้    ( คือของเลวสมัยนี้กลายเป็นของดีในสมัยเสื่อม )  กุสลกัมมะบถ ( ทางแห่งกุศล ) ๑๐ ประการ จะอันตรธาน อกุศลกัมมะบถ ( ทางแห่งอกุศล ) ๑๐ ประการ จะรุ่งเรืองยิ่งขึ้น  แม้คำว่า กุศล ก็ไม่มี ผู้ทำกุศลจะมีที่ไหน  การไม่ปฏิบัติชอบในมารดาบิดา ในสมณะ ในพราหมณ์ การไม่อ่อนน้อมถ่อมตัวต่อผู้ใหญ่ในสกุล จะได้รับการบูชาสรรเสริญ ซึ่งตรงกันข้ามกับสมัยปัจจุบันนี้ จะไม่มีคำว่า มารดา,น้า , บิดา , ป้า , อา , ภริยาของอาจารย์ , ภริยาของครู . โลกจะเจือปนกันเหมือนสัตว์ เช่น แพะ ไก่ สุกร  จักมีอาฆาต, พยาบาท, มุ่งร้ายกัน, คิดฆ่ากันอย่างรุนแรง , แม่คิดต่อลูก ลูกคิดต่อแม่ , พ่อคิดต่อลูก ลูกคิดต่อพ่อ , พี่ชายคิดต่อน้องหญิง น้องหญิงคิดต่อพี่ชาย.
  จะเกิดมีสัตถันตรกัปป์ ๕    คือกัปป์ที่อยู่ในระหว่างศัสตรา ๗ วัน คนทั้งหลายจะมีความสำคัญในกันและกันว่าเป็นเนื้อ ( มิคสัญญา ๖ .  ) จะมีศัสตราวุธอันคมเกิดขึ้นในมือ ฆ่ากันและกันด้วยสำคัญว่าเป็นเนื้อ.กลับเจริญขึ้นอีก
   มีบุคคลบางคนหลบไปอยู่ในป่าดง พงชัฏ กินเหง้าไม้ ผลไม้ในป่า เมื่อพ้น   ๗ วันแล้ว ออกมา. ก็ดีใจร่าเริงที่รอดชีวิต จึงตั้งใจทำกุศลกรรม ละเว้นการฆ่าสัตว์ และบำเพ็ญกุศลกรรม ละเว้นอกุศลกรรม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อายุก็ยืนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง    ๘ หมื่นปี.
        พระเจ้าจักรพรรดิอีกพระองค์หนึ่ง
   เมื่อมนุษย์มีอายุยืน    ๘ หมื่นปีนั้น หญิงสาวอายุ  ๕ พันปีจึงมีสามีได้. มนุษย์จะมีโรคเพียง   ๓ อย่าง คือ  

    ๑ . ความปรารถนา ( อยากอาหาร)  

    ๒. ความไม่อยากกินอาหาร ( เกียจคร้านอยากจะนอน )  

    ๓ . ความแก่

    ชุมพูทวีปนี้จะมั่งคั่งรุ่งเรือง มีคามนิคมราชธานีแบบไก่บินถึง ( ใกล้เคียงกัน ) ยัดเยียดไปด้วยมนุษย์. กรุงพาราณสีจะเป็นราชธาณีนามว่า "เกตุมตี" อันมั่งคั่ง มีคนมาก อาหารหาง่าย จักมีพระเจ้าจักรพรรดิราชพระนามว่า "สังขะ " เป็นพระราชาผู้ปกครองโดยธรรม มีชัยชนะจบ  ๔ ทิศ ปกครองชนบทถาวรสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้งเจ็ด.
   พระศรีอริยะเมตตรัยพุทธจ้า
   เมื่อมนุษย์อายุ ๘ หมื่นปีนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่า "ศรีอริยะเมตไตรย" จักบังเกิดในโลกเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ( ความรู้ ) จรณะ ( ความประพฤติ ) เป็นต้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย พร้อมทั้งอรรถะพยัญชนะ บริหารภิกษุสงฆ์มีพันเป็นอเนกเช่นเดียวกับที่เราบริหารภิกษุสงฆ์มีร้อยเป็นอเนก  พระเจ้าสังขจักรพรรดิจักให้ยกปราสาทที่พระเจ้ามหาปนาทะให้สร้างขึ้น ครอบครอง แจกจ่ายทาน และออกผนวชในสำนักพระเมตไตรยพุทธเจ้า ในไม่ช้าก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมด้วยความรู้ยิ่งด้วยพระองค์เอง ( คือสำเร็จเป็นพระอรหันต์ )
  ครั้นแล้วตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายพึ่งตน พึ่งธรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ และสอนให้ท่องเที่ยวไปในโคจรของบิดา ( ดำเนินตามพระองค์ ) ก็จักเจริญด้วยอายุ วรรณะ ( ผิวพรรณ ) สุข โภคะ ( ทรัพย์สมบัติ ) และพละ ( กำลัง )
   ๑. ทรงแสดงการเจริญอิทธิบาท ( คุณให้บรรลุความสำเร็จ ) ๔ ประการ ว่าเป็นเหตุให้ดำรงอยู่ได้ตลอดกัปป์หรือกว่ากัปป์
   ๒. ทรงแสดงการมีศีล สำรวมในปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) ว่าเป็นเหตุให้มีวรรณะ
   ๓. ทรงแสดงการเจริญฌาณทั้งสี่ ว่าเป็นเหตุให้มีสุข
   ๔. ทรงแสดงพรหมวิหาร ๔ ว่าเป็นเหตุให้มีโภคะ ( ทรัพย์สมบัติ ).
   ๕. ทรงแสดงการทำให้แจ้งเจโตวิมุต ( ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ ) ปัญญาวิมุติ ( ความหลุดพ้นเพราะปัญญา ) อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ว่าเป็นเหตุให้มีพละ ( กำลัง ).
   ตรัสในที่สุดว่า ไม่ทรงเห็นกำลังอย่างอื่นสักอย่างหนึ่งที่ครอบงำได้ยากเท่ากำลังของมาร  เพราะสมาทานกุศลธรรม บุญก็จะเจริญยิ่ง.

     ตัวอย่างของพระเจ้ามหาจักรพรรดิ

 

  -พระเจ้ามหาจักรพรรดิ   คือจักรพรรดิที่บำเพ็ญบุญบารมีมาพอปานกลางแต่มีอานุภาพมาก   เช่น พระเจ้ามหาจักรพรรดิทรงพระนาม ว่า"มหามันธาตุ"

   เรื่องในอดีตของพระเจ้ามหามันธาตุ มหาจักรพรรดิ  พระเจ้ามหามันธาตุพระองค์เป็นคนยากจนรับจ้างชุนผ้ามาก่อน  พระองค์รับจ้างชุนผ้าเลี้ยงชีวิต อาศัยจิตที่เป็นกุศลพระองค์ได้ถวายทานแก่ภิกษุรูปหนึ่งด้วยค่าจ้างจากการรับจ้างชุนผ้านั้นตลอดไป  ทานที่สำคัญที่ทำให้พระองค์กลายเป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชมีประวัติความเป็นมาดังนี้

   นับถอยหลังจากภัทรกัปป์นี้ไป ๑๙ กัปป์  พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "วิปัสสี"  เสด็จอุบัติขึ้นในนครพันธุมดี  เขาก็เกิดในนครพันธุมดีนั้นเหมือนกัน

   วันหนึ่งชาวนครพันธุมดีได้ร่วมกันถวายทานแก่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี  เขาก็มีกุศลจิตไปรับจ้างชุนผ้าเอาเงินมาซื้อถั่วราชมาสไปถวายทานกับพวกเขาด้วย แต่ก็ไม่ได้โอกาสที่จะถวายเพราะคนมาทำบุญเป็นจำนวนมาก เขาจึงโปยถั่วราชสามเหล่านั้นขึ้นไปในอากาศ ด้วยอำนาจของพุทธานุภาพและเทวานุภาพถั่วราชมาสเหล่านั้นไปตกลงที่บาตรของพระพุทธเจ้าและพระสงห์จนหมดสิ้น 

    เขาเห็นความอัศจรรย์นี้แล้วจึงมีจิตเลื่อมใสในพุทธคุณเป็นล้นพ้น  เขาจึงยืนยกมือขึ้นเหนือศีรษะแล้วตั้งความปราถนาว่า "ด้วยวิธีการอันวิเศษและความเลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เป็นอิสระนี้ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้เลิศกว่าผู้บริโภคกามทั้งหลายในสถานที่ข้าพเจ้าเกิดบังเกิดแล้ว  คราวใดที่ข้าพเจ้าตบมือมองไปในท้องฟ้า ขอให้ฝนอันสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ  จงตกลงมาในคราวนั้นจงทุกเมื่อเถิด

   ในเบื้องต้นของภัทรกัปป์นี้พระองค์ได้บังเกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้าอุโบสถะทรงพระนามว่า "มันธาตา" ซึ่งเป็นลูกหลานของพระเจ้ามหาสมมต    พระเจ้ามันธาตาสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ  และมีพระมหเสี ๔ คน  เมื่อใดพระองค์เหยียดพระหัตถ์ซ้ายออกไปแล้วตบด้วยพระหัตถ์ขวา  ฝนแก้ว ๗ ประการ จะตกลงมาจากอากาศสูงเพียงเข่า

   พระองค์ทรงเล่นเป็นเด็กอยู่ ๘๔๐๐๐ ปี  ทรงเป็นมหาอุปราชอยู่ ๘๔๐๐๐ ปี  และทรงเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชอยู่ ๘๔๐๐๐ ปี  พระองค์มีอายุยืนได้ ๑ อสงไขปี พระองค์เป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิที่มีอานุภาพมาก  พระองค์เสวยราชสมบับัติในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาโดยการยินยอมของท้าวมหาราชทั้ง ๔ และพระองค์ยังได้เสวยราชสมบัติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครึ่งหนึ่งโดยการยินยอมของท้าวสักกเทวราช  พระองค์เสวยราชสมบัติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่หลายล้านปี  จนท้าวสักกเทวราชจุติคือตายไปตั้ง ๓๖ องค์  ท้าวสักกเทวราชแต่ละองค์จะมีอายุยืนได้ ๓๖ ล้านปี 

   เหตุที่ทำให้พระเจ้ามหามันธาตุเคลื่อนจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก็เพราะความโลภอยากเป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์คนเดียวโดยการคิดกำจัดท้าวสักกเทวราชให้ออกไปจากราชสมบัติกึ่งหนึ่งนั้นเสีย พระองค์จะเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียว  เพราะเหตุนี้นี่แหละ เมื่อพระองค์ถูกความมักมากครอบงำจิต  อายุสังขารก็เสื่อมลง ความชราก็ประหารร่างกายของพระ องค์ ร่างกายของมนุษย์จึงแตกดับจากจากเทวโลกตกหล่นลงไปในอุทยานในเมืองธุมดี  ในที่สุดพระองค์ก็เสด็จสวรรคตในตอนนั้นแล

   แก้วมณึของพระเจ้าจักรพรรดิสถิตย์อยู่ที่ระหว่างภูเขาเวปุลละบรรพต ในกรุงราชคฤห์ พวกยักข์ทั้งหลาย ๑๐๐๐๐๐ ตนรักษาไว้อยู่

   บรรดาพระราชาทั้งหลายในแผ่นดินน้อยใหญ่จำนวน ๒,๐๐๐ ซึ่งรวม บริวารของทวีปทั้ง ๔ ทวีปละ ๕๐๐ ก็ได้มาเฝ้ามาถวายบังคมพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชเอง พระเจ้ามหาจักร พรรดิราชไม่ต้องเสด็จไปปราบ ทรัพย์สมบัติทั้งหลายในแผ่นดิน ในจักรวาลและในมหาสมุทรทั้ง ๔ ในส่วนที่รัศมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องไปถึง ย่อมเป็นพระราชทรัพย์ของพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชทั้งสิ้น มีจำนวนมากมายยิ่ง เหมือนดังกงจักรราชรถของพระอินทร์ผู้เป็นเจ้าครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    เมื่อพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชปราบได้ทั่วทุกทวีปและจักรวาลแล้วประสงค์จะทอดพระเนตรมหาสมบัติของพระองค์ กงจักรแก้วดูเหมือนจะรู้พระทัย จึงหมุนเหาะ ขึ้นไปในอากาศ มีรัศมีดั่งดวงจันทร์ หมุนรอบเขาพระสุเมรุนั้นสว่างดังพระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกัน ๒ ดวง คนทั้งหลายเห็นแสงสว่างรุ่งเรืองดังนั้นคิดว่าเป็นพระอาทิตย์ ๒ ดวง

    เมื่อพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชและรี้พลทั้งหลายที่ตามเสด็จลอยขึ้นไปในอากาศด้วยอำนาจของกงจักรแก้วนั้น ก็แลเห็นทั่วทุกหนทุกแห่ง เห็นเขาพระสุเมรุอยู่ตรงกลาง เห็นแผ่นดินใหญ่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ ๔ ทิศ เห็นแผ่นดินน้อยซึ่งเป็นบริวารของแผ่นดินใหญ่จำนวน ๒,๐๐๐ เห็นพระมหาสมุทรทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเขตแดนขวางกั้นทวีปทั้ง ๔ ทวีป เอาไว้ เห็นแม่นํ้าใหญ่น้อยทั้งหลาย เห็นยอดเขาใหญ่ เห็นป่าใหญ่บนทั้ง ๔ ทวีป เห็นเมืองน้อยใหญ่ เห็นถิ่นฐานชนบทนับไม่ถ้วน
   คนทั้งหลายเห็น ห้วย หนอง คลอง บึง และสระที่มีดอกบัวนานาพรรณ มีดอกและรากเหง้างามตระการ กงจักรแก้วนั้นบันดาลให้พระเจ้ามหาจักรพรรดิราชเห็นถ้วนทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว จึงนำเสด็จลงสู่แผ่นดินและเมืองที่พระเจ้ามหาจักรพรรดิราชประทับอยู่ เมื่อ
กงจักรแก้วมาถึงประตูพระราชวังของพระเจ้ามหาจักรพรรดิราช ก็ลอยอยู่กลางอากาศในระยะสูงพอสมควร คนทั้งหลายนำข้าวตอกดอกไม้มากราบไหว้บูชา เมื่อพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชมาถึงเรือนหลวงแล้ว จึงสั่งให้ปลูกมณฑปแก้วขึ้น มีแก้ว ๗ ประการเป็น
เครื่องประดับมณฑปเขาแก้วนั้นมีประตูทำด้วยแก้วและทองดูรุ่งเรืองงดงามมาก แล้วจึงให้กงจักรแก้ว มาสถิตย์อยู่ที่มณฑปนั้น คนทั้งหลายจึงนำข้าวตอกดอกไม้มาเคารพบูชาขณะที่กงจักรแก้วอยู่ในมณฑปแก้วนั้น ปราสาทของพระเจ้ามหาจักรพรรดิราชไม่ต้องจุดประ ทีปโคมไฟเลย เพราะรัศมีกงจักรแก้วนั้นส่องสว่างไปทำให้รุ่งเรืองทั่วทุกแห่ง  กลางคืนก็เหมือนกลางวัน แต่ถ้าใครต้องการให้มืด ก็จะรู้สึกมืดด้วยใจของผู้นั้น

                ตัวอย่างของพระเจ้าบรมจักรพรรดิ

 

   -พระเจ้าบรมจักรพรรดิ   คือจักรพรรดิที่บำเพ็ญบุญบารมีมามากมีอานุภาพมากกว่าพระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๒ ประเภท และบั้นปลายชีวิตในการครองราชจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์   เช่น  พระเจ้าสังขจักรบรมจักรพรรดิ  จะบังเกิดในสมัยของพระศรีอริยเมตตรัยสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงมาตรัสรู้ 

       พระเจ้าสังขจักรบรมจักรพรรดิ
    ในช่วงที่พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาบังเกิดบนโลกนั้น จะตรงกับสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า “สังขจักร”-แห่งเกตุมดีนคร    พระเจ้าสังขจักรบรมจักรพรรดิทรงสำเร็จศิลปศาสตร์ทุกเแขนงเมื่อมีพระชนมายุ ๗ พรรษา
    เรื่องราวของพระองค์ก็มีอยู่ว่า ในคราวที่พระเจ้าสังขจักรทรงมีพระชนมายุเพียงแค่เจ็ดพรรษา พระองค์ทรงเป็นพระราชกุมารที่ทรงมีพระปรีชาสามารถเป็นอย่างมาก เพราะพระองค์สามารถเล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกแขนงจนจบทั้งหมด เมื่อพระเจ้าสังขจักรบรมจักร พรรดิจะทรงราชาภิเษก ได้มีปราสาททองประดับด้วยรัตนชาติ ผุดขึ้นมาจากมหาสมุทร
    เมื่อถึงคราวที่พระเจ้าสังขะจักรพรรดิจะทรงราชาภิเษกครองราชสมบัติต่อจะพระราชบิดา ก็ได้มีปราสาททองคำประดับด้วยรัตนชาติ ผุดขึ้นมาจากมหาสมุทรเพื่อรองรับพระราชพิธีราชาภิเษกของพระองค์ ครั้นปราสาททองคำผุดขึ้นมาแล้ว พระองค์ก็ทรงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกในปราสาททองคำหลังนี้
   พระเจ้าสังขจักรบรมจักรพรรดิ  นอกจากจะใช้ปราสาททองหลังนี้เป็นสถานที่จัดพระราชพิธีราชาภิเษกแล้ว พระเจ้าสังขจักรยังทรงใช้ปราสาททองหลังนี้เป็นที่บำเพ็ญจักรวรรดิวัตรและรักษาอุโบสถศีลอีกด้วย การบำเพ็ญจักรวรรดิวัตรและการรักษาอุโบสถศีล ถือเป็นสิ่งสำคัญที่พระเจ้าจักรพรรดิทุกๆพระองค์จะต้องทรงกระทำ เพราะถ้าไม่ทำก็ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้

    ในสมัยนั้น  กรุงพาราณสีจะเปลี่ยนชื่อเป็น "เกตุมดี"   เกตุมมดีนคร  โดยส่วนยาววัดได้ ๑๖ โยชน์ โดยส่วนกว้างวัดได้ ๑ โยชน์ มีต้นไม้กัลปพฤกษ์เกิดขึ้นทั้ง ๔ ประตูเมือง มีแก้ว ๗ ประการ มีกำแพงแก้ว ๗ ชั้นโดยรอบพระนคร ครั้งนั้น มหานฬกาลเทวบุตร ก็จุติลงมาเกิดเป็นพระเจ้าบรมจักรพรรดิราช ทรงพระนามว่า "พระเจ้าสังขจักร" เสวยศิริราชสมบัติในเกตุมดีมหานคร ในท่ามกลางเมืองนั้นมีปรางค์ปราสาททองคำอันสำเร็จไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ผุดขึ้นมาจากมหาสมุทร ลอยขึ้นมายังอากาศ มาตั้งอยู่ในท่ามกลางเกตุมดีมหานคร ปรางค์ปราสาทนี้ แต่กาลก่อนเป็นปรางค์ปราสาทแห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปะนาท ครั้นสิ้นบุญพระเจ้ามหาปะนาทแล้ว ปรางค์ปราสาทนั้นก็จมลงไปในมหาสุทร เมื่อสมเด็จบรมจักรจอมทวีปผู้ทรงพระนามว่า "พระเจ้าสังขจักร" ได้เสวยราชสมบัติในเกตุมดีนครนั้น ปรางค์ปราสาทก็ผุดขึ้นมาแต่มหาสมุทรด้วยอานุภาพของพระเจ้าบรมจักรพรรดิ ประดับไปด้วยหมู่พระสนมแสนสาวสุรางค์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น ๔ พันคน พระองค์มีพระราชโอรส ๑๐๐๐พระองค์ พระราชโอรสผู้ใหญ่นั้น ทรงพระนามว่า "อชิตราชกุมาร" เจ้าอชิตราชกุมารนั้น เป็นปรินายกคือขุนพลแก้ว แห่งสมเด็จพระราชบิดาผู้เป็นพระเจ้าบรมจักรพรรดิสังขจักร อันบริบูรณ์ไป ด้วยแก้ว ๗ ประการ

       แก้ว 7 ประการ ของพระเจ้ามหาจักรพรรดิ์
    ผู้ที่จะเป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิได้นั้นจักต้องมีบุญญาธิการมาก บำเพ็ญพระบารมีมามากแล้ว (อย่างน้อยต้องเต็ม ๑๐ ทัศ ) และเมื่อได้เป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิ ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเภท คือ:-
   ๑. มหาปนาทะจักรพรรดิ
   ๒. มหาสังขะจักรพรรดิ
  ในกาลนั้นจะมีแก้ว ๗ ประการ ปรากฏขึ้นเป็นของคู่พระบารมี ดังนี้ มหาปนาทะจักรพรรดิ นั้น เป็นเนรมิตนาม ของพระจักรพรรดิราชาธิราช ทุกพระองค์ที่ทรงมี สัตตรัตนสมบัติ ๗ ประการ กับมี คทาใหญ่ อันเป็นนิมิตสมบัติจักรพรรดิชุดบก หรือชุดแผ่นดิน เช่นเดียวกัน มหาสังขะจักรพรรดิ ก็ทรงมี สัตตรัตนสมบัติ ๗ ประการ กับมีสังข์ใหญ่ หรือมหาสังข์ อันเป็นนิรมิตสมบัติจักรพรรดิชุดน้ำ หรือชุดทะเล สัตตรัตนสมบัติ ๗ ประการนั้น คือ:-
   ๑. จักรรัตนะ คือจักรแก้ว        
      ๐จักรรัตนะ หรือ จักรแก้ว จมอยู่ในท้องมหาสมุทรลึกได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ดุมเป็นแก้วอินทนิล ประกอบไปด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการ มีพันซี่ หัวกำอันฝังเข้าไปในดุมเป็นเงิน และทองอันงาม มีรัศมีดุจพระอาทิตย์ ครั้นพระเจ้ามหาจักรพรรดิปรากฏขึ้น จักรแก้วนี้ก็จะทะยานขึ้นจากท้องมหาสมุทร ร่อนลงที่ประตูเมือง แล้วกระทำทักษิณาวัตรรอบเมือง จากนั้น จะเข้าไปสู่พระราชมณเฑียรของมหาจักรพรรดิ กระทำทักษิณาวัตรรอบมณเฑียร แล้วเข้ามานบนอบที่เบื้องบาทแห่งองค์ พระเจ้ามหาจักรพรรดิ ซึ่งจักรแก้วนี้มีฤทธิ์สามารถปราบได้หมดทุกทวีป ไม่อาจที่จะหามนุษย์ผู้ใดต่อต้านได้ เมื่อพระเจ้ามหาจักรพรรดิยกทัพ จักรแก้วก็สามารถทำให้ ทั้งกองทัพเดินทางไปในอากาศเหมือนกองทับของเหล่าเทพยดา
  ๒.หัตถีรัตนะ  คือช้างแก้ว     
     ๐หัตถีรัตนะ หรือ ช้างแก้ว ครั้นพระเจ้ามหาจักรพรรดิปราบได้ทุกทวีปแล้ว จะทำการสร้างโรงช้างประดับด้วยเงิน และทอง และแก้ว ๗ ประการ จากนั้นจึงปูลาดด้วยผ้าหลายชั้น เอาข้าวตอกดอกไม้โปรยทั่วโรงช้าง แล้วพระเจ้ามหาจักรพรรดิ จะทำทานรักษาศีล ๗ วัน แล้วคำนึงถึงช้างแก้ว ช้างแก้วตระกูลฉัตรทันต์ หรือตระกูลอุโบสถ ก็จะเหาะมาลงที่โรงช้าง ช้างแก้วนี้จะเป็นช้างเผือก มีงวงแดงงามดั่งดอกบัวแดง สามารถเดินทางไปในอากาศได้ด้วยความรวดเร็ว มีพละกำลังอันมหาศาล
  ๓.อัสสรัตนะ  ตือม้าแก้ว    
     ๐อัสสรัตนะ หรือ ม้าแก้ว พระเจ้ามหาจักรพรรดิ จะทำการสร้างโรงม้าประดับด้วยเงิน ทอง และแก้ว ๗ ประการ จากนั้น จึงปูลาดด้วยผ้าหลายชั้น เอาข้าวตอกดอกไม้โปรยทั่วโรงม้า แล้วพระเจ้ามหาจักรพรรดิจะทำทานรักษาศีล ๗ วัน แล้วคำนึงถึงม้าแก้ว ม้าแก้วอันงามดังสีเมฆหมอกขาว และมีลายเขียวดังสายฟ้าแลบ มีกีบเท้าทั้งสี่ และหน้าผากแดงดังน้ำครั่ง กำยำล่ำสัน ขนหัวนั้นดำเลื่อมงามดังกาดำ เรืองงามดังแก้วอินทนิล ก็จะเหาะมาลงที่โรงม้า ม้าแก้วสามารถเดินทางทางไปในอากาศได้อย่างรวดเร็วกว่าจรวดหลายแสนเท่า
  ๔.มณีรัตนะ  คือแก้วมณี   

     ๐มณีรัตนะ หรือ แก้วมณี พระเจ้ามหาจักรพรรดิจะต้องทำทานรักษาศีล ๘ แล้วคำนึงถึงแก้วรัตนะ มณีรัตนะ อันอยู่ที่วิบูลบรรพต ก็จะลอยมาหามณีรัตนะนี้สามารถทำให้เวลากลางคืน สว่างดุจกลางวัน 
  แก้วมณึของพระเจ้ามหาจักรพรรดิสถิตย์อยู่ที่ระหว่างภูเขาเวปุลละบรรพต ในกรุงราชคฤห์ พวกยักข์ทั้งหลาย ๑๐๐๐๐๐ ตน เฝ้า รักษาไว้อยู่  เมื่อพระเจ้ามหาจักรพรรดิมาเกิดมันจะลอยมาหาเอง  ด้วยเดชอำนาจบุญบารมีของพระเจ้ามหาจักรพรรดินั้น

  ๕. อิตถีรัตนะ  คือนางแก้ว     
     ๐อิตถีรัตนะ หรือ นางแก้ว พระเจ้ามหาจักรพรรดิจะต้องทำทานรักษาศีล ๘ แล้วคำนึงถึงนางแก้ว นางแก้วก็จะเหาะมาหา นางแก้วนี้มีฉวีวรรณเกลี้ยงเกลาสดใส ธุลีมิอาจเกาะติดกายนาง สรีระมีลักษณะอันอุดมถ้วนทุกแห่ง มีรัศมีแผ่ออกรอบกายนาง ๑๐ ศอก มีพระพักตร์งดงาม เนื้อหนังอ่อนนุ่ม มีกลิ่นกายหอม ดั่งแก่นจันทน์และกฤษณา กลิ่นปากหอมดังดอกบัวนิลุบล เมื่อร่างกายพระเจ้ามหาจักรพรรดิหนาว ตัวนางแก้วจะอุ่น เมื่อร่างกายของพระเจ้าจักรพรรดิร้อน  ตัวนางแก้วจะเย็น และนางแก้วจะมีรสสัมผัสอันเป็นทิพย์
  ๖.คหบดีรัตนะ  คือขุนคลังแก้ว     
     ๐คหบดีรัตนะ หรือ ขุนคลังแก้ว พระเจ้ามหาจักรพรรดิจะต้องทำทานรักษาศีล ๘ แล้วคำนึงถึงขุนคลังแก้ว มหาเศรษฐีผู้ประเสริฐ ก็จะเหาะมาหาพระองค์ ขุนคลังแก้วนี้ จะสามารถทำให้พระเจ้ามหาจักรพรรดิพอพระทัย ทุกประการ มีคุณวิเศษคือ มีตาทิพย์ หูทิพย์ และสามารถนำทรัพย์สมบัติมาได้แม้จะอยู่ที่ใดก็ตาม
  ๗. ปรินายกรัตนะ  คือขุนพลแก้ว     
     ๐ปริณายกรัตนะ หรือ ขุนพลแก้ว พระเจ้ามหาจักรพรรดิจะมีโอรสพันกว่าองค์ ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า แต่ลูกคนโตจะประเสริฐกว่าน้องทั้งหลาย จะได้เป็นขุนพลแก้ว
    การที่พระเจ้าจักรพรรดิจะได้สมบัติทั้ง ๗ ประการนี้  ก็ด้วยการประพฤติธรรมคือจักกวัตติวัตร  มีการปกครองประเทศโดยธรรมเป็นต้น  แม้คนทั่วไปก็เช่นกัน  ถ้าจะให้สมบัติเกิดขึ้นแก่ตนก็ต้องประพฤติธรรม   ไม่ว่าจะเป็นมนุษยสมบัติ  สวรรค์สมบัติ  และนิพพานสมบัติ  บุคคลจะได้รับก็ด้วยการประพฤติธรรมทั้งสิ้น

        พระเจ้ามหาสุทัสสะจักรพรรดิราช

   

        มหาสุทัสสนสูตร
   เรื่อง พระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ เมืองกุสาวดี  พระองค์เป็นพระเจ้าอุดมบรมจักรพรรดิราช
  ในสมัยใกล้เสด็จปรินิพพานคราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับในระหว่างไม้สาละ ในสาลวัน อันเป็นที่แวะพักของเหล่ามัลละกษัตริย์ เขตกรุงกุสินารา. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคอย่าเสด็จปรินิพพาน ในเมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองนี้เลย. นครใหญ่เหล่าอื่น มีอยู่คือ เมืองจัมปา เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี เมืองพาราณสี. ขอพระผู้มีพระภาค จงเสด็จปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล ที่เลื่อมใสพระตถาคตอย่างยิ่ง มีอยู่มากในเมืองเหล่านี้. ท่านเหล่านั้นจักกระทำ การบูชาพระสรีระของพระตถาคต ดังนี้.
   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า เมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมือง ดังนี้เลย. ดูกรอานนท์ แต่ปางก่อน มีพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่า มหาสุทัสสนะ เป็นกษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษก เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง. ดูกรอานนท์ เมืองกุสินารานี้มีนามว่า กุสาวดี เป็นราชธานี
ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ โดยยาวด้านทิศบูรพาและทิศประจิม ๑๒ โยชน์. โดยกว้างด้านทิศอุดรและทิศทักษิณ ๗ โยชน์. ดูกรอานนท์ กุสาวดีราชธานีเป็นเมืองที่มั่งคั่ง รุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย.
   ดูกรอานนท์ เมืองอาลกะมันทาราชธานีแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย เป็นเมืองที่มั่งคั่ง รุ่งเรือง มีชนมาก ยักษ์หนาแน่น และมีภิกษาหาด้ง่าย แม้ฉันใด. เมืองกุสาวดีราชธานี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. เป็นเมืองที่มั่งคั่ง รุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย. ดูกรอานนท์ กุสาวดีราชธานีมิได้เงียบจากเสียง ๑๐ ประการ ทั้งกลางวันและกลางคืน คือ
เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคม และเสียงเป็นที่ ๑๐. ว่า ท่านทั้งหลาย จงบริโภค จงดื่ม จงเคี้ยวกิน.
   ดูกรอานนท์ กุสาวดีราชธานี แวดล้อมด้วยกำแพง ๗ ชั้น คือ กำแพงแล้วด้วยทองชั้น ๑. แล้วด้วยเงินชั้น ๑. แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ชั้น ๑. แล้วด้วยแก้วผลึกชั้น ๑. แล้วด้วยแก้ว
โกเมนชั้น ๑. แล้วด้วยบุษราคัมชั้น ๑. แล้วด้วยรัตนะทุกอย่างชั้น ๑. ดูกรอานนท์ เมืองกุสาวดีราชธานี มีประตูสำหรับวรรณะทั้ง ๔ คือ ประตู ๑ แล้วด้วยทอง. ประตู ๑ แล้วด้วยเงิน. ประตู ๑ แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์. ประตู ๑ แล้วด้วยแก้วผลึก. ในประตู ๑ๆ มีเสาระเนียดปักไว้ประตูละ ๗ เสา ปักลึก ๓ ชั่วบุรุษ โดยส่วนสูง ๑๒ ชั่วบุรุษ. เสาระเนียดต้นหนึ่ง
แล้วด้วยทอง ต้นหนึ่งแล้วด้วยเงิน ต้นหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ต้นหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก ต้นหนึ่งแล้วด้วยแก้วโกเมน ต้นหนึ่งแล้วด้วยบุษราคัม ต้นหนึ่งแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง.
   ดูกรอานนท์ กุสาวดีราชธานีแวดล้อมด้วยต้นตาล ๗ แถว ต้นตาลแถวหนึ่งแล้วด้วยทอง แถวหนึ่งแล้วด้วยเงิน แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วโกเมน แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วบุษราคัม แถวหนึ่งแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง. ต้นตาลที่แล้วด้วยทอง ลำต้นแล้วด้วยทอง ใบและผลแล้วด้วยเงิน. ต้นตาลที่แล้วด้วยเงิน ลำต้นแล้วด้วยเงิน ใบและผลแล้วด้วยทอง. ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ลำต้นแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ใบและผลแล้วด้วยแก้วผลึก. ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วผลึก ลำต้นแล้วด้วยแก้วผลึก ใบและผลแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์. ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วโกเมน
   ลำต้นแล้วด้วยแก้วโกเมน ใบและผลแล้วด้วยแก้วบุษราคัม. ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วบุษราคัม ลำต้นแล้วด้วยแก้วบุษราคัม ใบและผลแล้วด้วยแก้วโกเมน. ต้นตาลที่แล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง ลำต้นแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง ใบและผลแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง.
   ดูกรอานนท์ แถวต้นตาลเหล่านั้น เมื่อต้องลมพัดแล้ว มีเสียงไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟังและให้เคลิบเคลิ้ม. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ ที่บุคคลปรับดีแล้ว ประโคมดีแล้ว บรรเลงโดยผู้เชี่ยวชาญ เสียงย่อมไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม ฉันใด. เสียงแห่งแถวต้นตาลเหล่านั้น ที่ต้องลมพัดแล้ว ก็ฉันนั้น เหมือนกัน. ไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม. ดูกรอานนท์ ก็สมัยนั้น ในกุสาวดีราชธานี มีนักเลง นักเล่นและนักดื่ม พวกเขาบำเรอกันด้วยเสียงแห่งแถวต้นตาลที่ต้องลมเหล่านั้น.
   ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และด้วยฤทธิ์ ๔ ประการ. แก้ว ๗ ประการ เป็นไฉน ?
   ดูกรอานนท์ เมื่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสนานพระเศียรในวัน ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นบนปราสาทอันประเสริฐ. จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุม พร้อมบริบูรณ์ โดยอาการทั้งปวงได้ปรากฏขึ้น. ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็น จึงทรงพระดำริว่า ก็เราได้สดับเรื่องนี้มาแล้วว่า ผู้ใดเป็นขัตติยราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว สนานพระเศียรในวัน ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ. จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุม พร้อมบริบูรณ์ โดยอาการทั้งปวงย่อมปรากฏขึ้น พระราชาผู้นั้น ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนี้. เราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือหนอ. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จลุกจากอาสนะ ทรงกระทำพระภูษาเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายทรงจับพระเต้าทอง พระหัตถ์ขวาทรงชูจักรแก้วขึ้น ตรัสว่า จักรแก้วอันเจริญ จงเป็นไป จักรแก้วอันเจริญ จงชำนะวิเศษยิ่ง. ดูกรอานนท์ ครั้งนั้นแล จักรแก้วนั้นก็เป็นไปทางปุรัตถิมทิศ.
   พระเจ้ามหาสุทัสสนะ พร้อมด้วยจตุรงคเสนาก็เสด็จตามไป. ดูกรอานนท์ จักรแก้วหยุดอยู่ในประเทศใด พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็เสด็จเข้าพักแรม พร้อมด้วยจตุรงคเสนาในประเทศนั้น. ดูกรอานนท์ ก็ในปุรัตถิมทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จ
มาเถิด พระองค์เสด็จมาดีแล้ว. ราชสมบัติของหม่อมฉัน ย่อมเป็นของพระองค์. ขอพระ องค์จงประทานพระบรมราโชวาท.
   พระเจ้ามหาสุทัสสนะจึงตรัสอย่างนี้ว่า “ พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงบริโภคตามเคยเถิด. ” ดูกรอานนท์ ก็ในปุรัตถิมทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นกลับอ่อนน้อมต่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะ.

       ว่าด้วย จักรแก้ว

   ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น จักรแก้วก็ย่างเข้าสู่สมุทรด้านปุรัตถิมทิศ แล้วกลับเวียนไปทางทิศทักษิณ ย่างเข้าสู่สมุทรด้านทักษิณทิศ แล้วกลับเวียนไปทางทิศปัจจิม ย่างเข้าสู่สมุทรด้านทิศปัจจิม แล้วกลับเวียนไปทางทิศอุดร พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงติดตามไปพร้อมด้วยจตุรงคเสนา. ดูกรอานนท์ ก็จักรแก้วหยุดอยู่ในประเทศใด พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็เสด็จเข้าพักแรม พร้อมด้วยจตุรงคเสนาในประเทศนั้น. ดูกรอานนท์ ก็ในอุตตรทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชสมบัติของหม่อมฉัน ย่อมเป็นของพระองค์. ขอพระองค์จงประทานพระบรมราโชวาท.
   พระเจ้ามหาสุทัสสนะจึงตรัสอย่างนี้ว่า “ พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงบริโภคตามเคยเถิด. ” ดูกรอานนท์ ก็ในอุตตรทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นกลับอ่อนน้อมต่อพระเจ้ามหาสุทัสนะ. ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นก็ปราบปรามปฐพี มีสมุทรเป็น
ขอบเขตให้ราบคาบ เสร็จแล้วก็กลับมากุสาวดีราชธานี ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ที่พระทวารภายในพระราชวัง ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว ยังภายในราชวังของพระเจ้ามหาสุทัสสนะให้สว่างไสวอยู่.ดูกรอานนท์ จักรแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.
     ว่าด้วย หัตถีรัตนะ
   ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ช้างแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นช้างเผือกล้วน เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ เป็นพระยาช้างสกุลอุโบสถ. พระเจ้ามหาสุทัสสนะทอดพระเนตรแล้ว ทรงพอพระทัย ดำรัสว่า ท่านผู้เจริญ ยานคือช้างอันเจริญ ถ้าได้ฝึกหัด. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น ช้างแก้วก็เข้าถึงการฝึกหัดเหมือนอย่างช้างอาชานัยที่เจริญ อันเขาฝึกหัดเรียบร้อยดีแล้ว ตลอดเวลานาน ฉะนั้น. กรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วตัวนั้นแหละ พอเวลาเช้าก็เสด็จขึ้นทรง แล้วเสด็จเลียบไปตลอดปฐพี อันมีสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จกลับกุสาวดีราชธานี แล้วเสวยพระกระยาหารเช้า. ดูกรอานนท์ ช้างแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.
    ว่าด้วย อัสสรัตนะเป็นต้น
   ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ม้าแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นม้าขาวล้วน ศีรษะดำ มีผมเป็นพวงประดุจหญ้าปล้อง มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ ชื่อวลาหกอัศวราช. ท้าวเธอทอดพระเนตรแล้ว ทรงพอพระหฤทัย ตรัสว่า  ท่านผู้เจริญ ยานคือม้าอันเจริญ ถ้าได้ฝึกหัด. ลำดับนั้น ม้าแก้วนั้นก็เข้าถึงการฝึกหัดเหมือนอย่างม้าอาชานัยตัวเจริญ ที่ได้รับการฝึกหัด เรียบร้อยดีแล้ว ตลอดเวลานาน ฉะนั้น. ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วตัวนั้นแหละ ได้เสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเลียบไปตลอดปฐพี อันมีสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมากุสาวดีราชธานี แล้วเสวยพระกระยาหารเช้า.ดูกรอานนท์ ม้าแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.

     ว่าด้วย มณีรัตนะ

   ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง แก้วมณีได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นแก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง. ดูกรอานนท์ แสงสว่างของแก้วมณีนั้น แผ่ไปโดยรอบประมาณโยชน์หนึ่ง. ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เมื่อจะทรงทดลองแก้วมณีดวงนั้น ทรงยังจตุรงคเสนาให้ผูกสอดเครื่องรบ ทรงยกแก้วมณีไว้ปลายธง แล้วเสด็จไปยืนในที่มืด ในราตรีกาล. ดูกรอานนท์ ชาวบ้านที่อยู่โดยรอบ ต่างพากันสำคัญว่ากลางวัน ประกอบการงานด้วยแสงสว่างนั้น.ดูกรอานนท์ แก้วมณีเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.

     ว่าด้วย อิตถีรัตนะ

   ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง นางแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นสตรีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส กอปรด้วยผิวพรรณผุดผ่อง ยิ่งนัก ไม่สูงเกิน ไม่ต่ำเกิน ไม่ผอมเกิน ไม่อ้วนเกิน ไม่ดำเกิน ไม่ขาวเกิน เย้ยวรรณของหญิงมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณทิพย์. ดูกรอานนท์ สัมผัสแห่งกายของนางแก้วนั้น เห็นปานนี้ คือ เหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย.
 นางแก้วนั้น ฤดูหนาวตัวอุ่น ฤดูร้อนตัวเย็น. กลิ่นจันทร์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปากของนางแก้วนั้น. นางแก้วนั้นมีปรกติตื่นก่อน มีปรกตินอนภายหลัง คอยฟังว่าจะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติต้องพระทัย เพ็ดทูลด้วยถ้อยคำที่น่ารัก. นางแก้วนั้น แม้ใจก็ไม่คิดนอกพระทัยพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ไหนเลยกายนางจะเป็นได้เล่า.ดูกรอานนท์ นางแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.
       ว่าด้วย คหบดีแก้ว
   ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง คฤหบดีแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ. คฤหบดีแก้วนั้นปรากฏว่า มีจักษุเป็นทิพย์ซึ่งเกิดแต่ผลแห่งกรรม อาจเห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของ และไม่มีเจ้าของ. คฤหบดีแก้วนั้นเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พระองค์จงมีความขวนขวายน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจักกระทำ หน้าที่เรื่องทรัพย์ด้วยทรัพย์ของพระองค์. ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะเมื่อจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้นแหละ ได้เสด็จลงเรือตัดข้ามกระแสน้ำไปกลางแม่น้ำคงคา แล้วตรัสกะคฤหบดีแก้วว่า คฤหบดี เราต้องการเงินและทอง. คฤหบดีแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น จงเทียบเรือเข้าไปริมตลิ่งข้างหนึ่ง. ดูกรคฤหบดี เราต้องการเงินและทองที่นี่. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น คฤหบดีแก้วนั้นเอามือทั้งสองจุ่มน้ำลงไปยกหม้อ อันเต็มด้วยเงินและทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า ขอเดชะ เท่านี้พอละ เท่านี้เป็นอันทำแล้ว ? พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ตรัสอย่างนี้ว่า คฤหบดี เท่านี้พอละ เท่านี้เป็นอันทำแล้ว เท่านี้เป็นอันบูชาแล้ว ดังนี้. ดูกรอานนท์ คฤหบดีแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ.
        ว่าด้วย ปรินายกแก้ว
  ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ปริณายกแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ. ปริณายกแก้วนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญาสามารถเพื่อยังพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ให้ดำเนินเข้าไปยังที่ที่ควรเข้าไป ให้หลีกไปยังที่ที่ควรหลีกไป หรือให้ทรงยับยั้ง ในที่ที่ควรยับยั้ง. ปริณายกแก้วนั้นเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองเอง.ดูกรอานนท์ ปริณายกแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ.

    ว่าด้วย ฤทธิ์ ๔
  ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงประกอบได้ด้วยฤทธิ์ ๔ ประการ. ฤทธิ์ ๔ ประการ เป็นไฉน ?
ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะมีพระรูปงามน่าดู น่าเลื่อมใส กอปรด้วยผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก เกินกว่ามนุษย์อื่นๆ. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงประกอบด้วยฤทธิ์นี้ เป็นที่หนึ่ง.
  ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง พระเจ้ามหาสุทัสสนะเป็นผู้มีพระชนม์ยืนดำรงอยู่สิ้นกาลนานกว่า มนุษย์เหล่าอื่นยิ่งนัก. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงประกอบด้วยฤทธิ์นี้ เป็นที่สอง.
  ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีพระโรคาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยไฟธาตุอันเกิดแต่วิบากสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินกว่ามนุษย์เหล่าอื่น. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงประกอบด้วยฤทธิ์นี้ เป็นที่สาม.
  ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง พระเจ้ามหาสุทัสสนะเป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของพวกพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย. เหมือนอย่างบิดา ย่อมเป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของบุตรทั้งหลาย ฉันใด พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ฉันนั้น. ดูกรอานนท์ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นที่รักใคร่
เป็นที่ชอบใจของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ เหมือนอย่างบุตร ย่อมเป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของบิดา ฉันใด. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ฉันนั้น.
    ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จออกประพาส พระราชอุทยานด้วยจาตุรงคเสนา. ลำดับนั้น พวกพราหมณ์และคฤหบดีเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระพุทธเจ้าจักได้เห็นพระองค์นานๆ. ดูกรอานนท์ ฝ่ายพระเจ้ามหาสุทัสสนะตรัสเตือนสารถีว่า จงขับรถช้าๆ เราจะพึงได้ดูพวกพราหมณ์และคฤหบดีนานๆ. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงประกอบด้วยฤทธิ์นี้ เป็นที่สี่. พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงประกอบด้วยฤทธิ์ ๔ ประการนี้.
   สระโบกขรณี
  ครั้งนั้นแล อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า ถ้ากระไร เราจะพึงขุดสระโบกขรณีระยะห่างกันสระละร้อยชั่วธนู ในระหว่างต้นตาลเหล่านี้. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะให้สร้างสระโบกขรณีระยะห่างกัน สระละร้อยชั่วธนู ในระหว่างต้นตาลเหล่านั้น. สระโบกขรณีเหล่านั้นก่อด้วยอิฐ ๔ ชนิด อิฐชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก. ในบรรดาสระโบกขรณีเหล่านั้น สระหนึ่งมีบันได ๔ ด้าน ๔ ชนิด บันไดด้านหนึ่งแล้วด้วยทอง ด้านหนึ่งแล้วด้วยเงิน ด้านหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ด้านหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก. บันไดแล้วด้วยทอง แม่บันไดแล้วด้วยทอง ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยเงิน. บันไดแล้วด้วยเงิน แม่บันไดแล้วด้วยเงิน ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยทอง. บันไดแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ แม่บันไดแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยแก้วผลึก. บันไดแล้วด้วยแก้วผลึก แม่บันไดแล้วด้วยแก้วผลึก ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์.
   ดูกรอานนท์ สระโบกขรณีเหล่านั้นแวดล้อมด้วยเวทีสองชั้น เวทีชั้นหนึ่งแล้วด้วยทอง เวทีชั้นหนึ่งแล้วด้วยเงิน. เวทีแล้วด้วยทอง เสาแล้วด้วยทอง คั่นและกรอบแล้วด้วยเงิน. เวทีแล้วด้วยเงิน เสาแล้วด้วยเงิน คั่นและกรอบแล้วด้วยทอง. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงพระดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงให้ปลูกไม้ดอกเห็นปานนี้ ในสระโบกขรณี
เหล่านี้ คือ อุบล ปทุม โกมุท บุณฑริก อันเผล็ดดอกได้ทุกฤดูกาล ไม่ต้องให้ปวงชนผู้มาต้องกลับไปมือเปล่า. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะรับสั่งให้คนปลูกไม้ดอก เห็นปานนั้น ในสระโบกขรณีเหล่านั้น คือ อุบล ปทุม โกมุท บุณฑริก อันเผล็ดดอกได้ทุกฤดูกาล ไม่ต้องให้ชนผู้มาต้องกลับไปมือเปล่า. ครั้งนั้นแล อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงวางบุรุษผู้เชิญคนให้อาบน้ำ ไว้ที่ฝั่งสระโบกขรณีเหล่านี้ จักได้เชิญคนผู้มาแล้วๆ ให้อาบ. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงวางบุรุษผู้เชิญคนให้อาบน้ำไว้ที่ขอบสระโบกขรณีเหล่านั้น สำหรับเชิญคนผู้มาแล้วๆ ให้อาบ.
   ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงตั้งทานเห็นปานนี้ ไว้ที่ขอบสระโบกขรณีเหล่านี้ คือ ข้าวสำหรับผู้ต้องการข้าว น้ำสำหรับผู้ต้องการน้ำ ผ้าสำหรับผู้ต้องการผ้า ยานสำหรับผู้ต้องการยาน ที่นอนสำหรับผู้ต้องการที่นอน สตรีสำหรับผู้ต้องการสตรี เงินสำหรับผู้ต้องการเงิน และทองสำหรับผู้ต้องการทอง. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงตั้งทานเห็นปานนี้ ไว้ที่ขอบสระโบกขรณีเหล่านั้น คือ ข้าวสำหรับผู้ต้องการข้าว น้ำสำหรับผู้ต้องการน้ำ ผ้าสำหรับผู้ต้องการผ้า ยานสำหรับผู้ต้องการยาน ที่นอนสำหรับผู้ต้องการที่นอน สตรีสำหรับผู้ต้องการสตรี เงินสำหรับผู้ต้องการเงิน และทองสำหรับผู้ต้องการทอง.
   ดูกรอานนท์ ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์และคฤหบดี ถือเอาทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมากนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้านำมาเฉพาะพระองค์เท่านั้น ขอพระองค์จงทรงรับทรัพย์สมบัตินั้น. มีพระราชดำรัสว่า ช่างเถอะ พ่อผู้เจริญ ทรัพย์สมบัติอันมากมายนี้ พวกท่านนำมาเพื่อเราโดยพลีอันชอบธรรม จงเป็นของพวกท่านเถิด และจงนำเอาไปยิ่งกว่านี้. พวกเขาถูกพระราชาตรัสห้าม ได้หลีกไปข้างหนึ่ง แล้วปรึกษากันอย่างนี้ว่า การที่พวกเราจะนำทรัพย์สมบัติเหล่านี้ กลับคืนไปยังเรือนของตนอีกนั้น ไม่สมควรเลย. ถ้ากระไร พวกเราจงช่วยกันสร้าง นิเวศน์ถวายพระเจ้ามหาสุทัสสนะ. พวกเขาได้เข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะช่วยกันสร้างนิเวศน์ถวายแด่พระองค์. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
     ธรรมปราสาท
  ดูกรอานนท์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงทราบ พระดำริของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ จึงมีเทวโองการตรัสเรียกวิศวกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า เพื่อนวิศวกรรม เธอจงมานี่เถิด เธอจงไปสร้างนิเวศน์ชื่อว่า ธรรมปราสาท เพื่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะ. ดูกรอานนท์ วิศวกรรมเทวบุตรรับสนองเทวบัญชาแล้ว อันตรธานไปจากดาวดึงสเทวโลก ได้
ปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ออกหรือคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น วิศวกรรมเทวบุตรได้กราบทูลพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตนิเวศน์ ชื่อธรรมปราสาท ถวายพระองค์. พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
   ดูกรอานนท์ วิศวกรรมเทวบุตรได้นิรมิตนิเวศน์ชื่อ ธรรมปราสาท แด่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ. ธรรมปราสาทได้มีปริมาณโดยยาวหนึ่งโยชน์ ด้านปุรัตถิมทิศและปัจจิมทิศ โดยกว้างกึ่งโยชน์ ด้านอุตตรทิศและทักษิณทิศ. ดูกรอานนท์ ธรรมปราสาทมีวัตถุที่ก่อด้วยอิฐ ๔ ชนิด โดยส่วนสูงกว่าสามชั่วบุรุษ คือ อิฐชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน
ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก. ธรรมปราสาทมีเสาแปดหมื่นสี่พันต้น แบ่งเป็นสี่ชนิดเสาชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก. ธรรมปราสาทปูลาดด้วยแผ่นกระดาน ๔ ชนิด กระดานชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก. ธรรมปราสาทมีบันได ๒๔ บันได แบ่งเป็น ๔ ชนิด บันไดชนิดหนึ่งแล้วด้วย
   ทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก.
บันไดที่แล้วด้วยทอง แม่บันไดแล้วด้วยทอง ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยเงิน. บันไดที่แล้วด้วยเงิน แม่บันไดแล้วด้วยเงิน ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยทอง. บันไดที่แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ แม่บันไดแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยแก้วผลึก. บันไดที่แล้วด้วยแก้วผลึก แม่บันไดแล้วด้วยแก้วผลึก ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์.
ในธรรมปราสาทมีเรือนยอดแปดหมื่นสี่พัน แบ่งเป็น ๔ ชนิด เรือนยอดชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก. ในเรือนยอดแล้วด้วยทอง แต่งตั้งบัลลังก์เงินไว้. ในเรือนยอดแล้วด้วยเงิน แต่งตั้งบัลลังก์ทองไว้.
   ในเรือนยอดแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ แต่งตั้งบัลลังก์งาไว้. ในเรือนยอดแล้วด้วยแก้วผลึก แต่งตั้งบัลลังก์แล้วด้วยแก้วบุษราคัมไว้. ที่ประตูเรือนยอดแล้วด้วยทอง มีต้นตาลแล้วด้วยเงินตั้งอยู่ ลำต้นของต้นตาลนั้นแล้วด้วยเงิน ใบและผลแล้วด้วยทอง. ประตูเรือนยอดแล้วด้วยเงิน มีต้นตาลแล้วด้วยทองตั้งอยู่ ลำต้นของต้นตาลนั้นแล้วด้วยทอง ใบและผลแล้วด้วยเงิน. ที่ประตูเรือนยอดแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ มีต้นตาลแล้วด้วยแก้วผลึกตั้งอยู่ ลำต้นของต้นตาลนั้นแล้วด้วยแก้วผลึก ใบและผลแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์. ที่ประตูเรือนยอดแล้วด้วยแก้วผลึก มีต้นตาลแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ตั้งอยู่ ลำต้นของต้นตาลนั้นแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ใบและผลแล้วด้วยแก้วผลึก.
          สวนตาล
  ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงให้สร้างสวนตาลแล้วด้วยทองล้วน ไว้ที่ประตูเรือนยอดหลังใหญ่ สำหรับเราจักได้นั่งพักกลางวัน. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะรับสั่งให้สร้างสวนตาล แล้วด้วยทองล้วนไว้ที่ประตูยอดเรือนหลังใหญ่ สำหรับทรงนั่งพักกลางวัน. ดูกรอานนท์ ธรรมปราสาทแวดล้อมด้วยเวที ๒ ชั้น เวทีชั้นหนึ่งแล้วด้วยทอง ชั้นหนึ่งแล้วด้วยเงิน. เวทีแล้วด้วยทอง มีเสาแล้วด้วยทอง ขั้นและกรอบแล้วด้วยเงิน. เวทีแล้วด้วยเงิน มีเสาแล้วด้วยเงิน ขั้นและกรอบแล้วด้วยทอง.
   ดูกรอานนท์ ธรรมปราสาทแวดล้อมด้วยข่ายแห่งกระดึงสองชั้น ข่ายชั้นหนึ่งแล้วด้วยทอง ชั้นหนึ่งแล้วด้วยเงิน. ข่ายที่แล้วด้วยทอง มีกระดึงแล้วด้วยเงิน ข่ายที่แล้วด้วยเงิน มีกระดึงแล้วด้วยทอง.  ดูกรอานนท์ ข่ายแห่งกระดึงเหล่านั้นต้องลมพัดแล้ว มีเสียงไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม. ดูกรอานนท์  เปรียบเหมือนดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ ที่บุคคลปรับดีแล้ว ประโคมดีแล้ว บรรเลงโดยผู้เชี่ยวชาญ เสียงย่อมไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม แม้ฉันใด ดูกรอานนท์ ข่ายแห่งกระดึงเหล่านั้นต้องลมพัดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีเสียงไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม.
   ดูกรอานนท์ ในสมัยนั้น กุสาวดีราชธานี มีนักเลง นักเล่น และนักดื่ม พวกเขาบำเรอกันด้วยเสียงแห่งกระดึงที่ต้องลมเหล่านั้น. ดูกรอานนท์ ธรรมปราสาทที่สำเร็จแล้วยากที่จะดู ทำนัยน์ตาให้พร่าพราย. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนในสรทกาล คือ ท้ายเดือนแห่งฤดูฝน เมื่ออากาศแจ่มใส ปราศจากเมฆหมอก พระอาทิตย์ส่อง นภากาศสว่างจ้า ยากที่จะดู
ย่อมทำนัยน์ตาให้พร่าพราย ฉันใด ธรรมปราสาท ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยากที่จะดู ย่อมทำนัยน์ตาให้พร่าพราย.
     ธรรมโบกขรณี
   ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงพระดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงสร้างสระชื่อ ธรรมโบกขรณี ไว้เบื้องหน้าธรรมปราสาท. ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงสร้างสระชื่อ ธรรมโบกขรณี ไว้เบื้องหน้าธรรมปราสาท. ดูกรอานนท์ ธรรมโบกขรณีโดยยาวด้านทิศบูรพาและทิศปัจจิม ๑ โยชน์ โดยกว้างด้านทิศอุดรและทิศทักษิณ กึ่งโยชน์.
   ธรรมโบกขรณีก่อด้วยอิฐ ๔ ชนิด อิฐชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก.
   ดูกรอานนท์ ธรรมโบกขรณีมีบันได ๒๔ บันได แบ่งเป็น ๔ ชนิด บันไดชนิดหนึ่งแล้วด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก. บันไดที่แล้วด้วยทอง แม่บันไดแล้วด้วยทอง ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยเงิน. บันไดที่แล้วด้วยเงิน แม่บันไดแล้วด้วยเงิน ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยทอง. บันไดที่แล้วด้วยแก้ว
ไพฑูรย์ แม่บันไดแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยแก้วผลึก. บันไดที่แล้วด้วยแก้วผลึก แม่บันไดแล้วด้วยแก้วผลึก ลูกบันไดและพนักแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์.
   ดูกรอานนท์ ธรรมโบกขรณีแวดล้อมด้วยเวทีสองชั้น เวทีชั้นหนึ่งแล้วด้วยทอง ชั้นหนึ่งแล้วด้วยเงิน. เวทีที่แล้วด้วยทอง มีเสาหนึ่งแล้วด้วยทอง ขั้นและกรอบแล้วด้วยเงิน. เวทีที่แล้วด้วยเงิน มีเสาแล้วด้วยเงิน ขั้นและกรอบแล้วด้วยทอง. ดูกรอานนท์ ธรรมโบกขรณีแวดล้อมด้วยต้นตาล ๗ แถว ต้นตาลแถวหนึ่งแล้วด้วยทอง แถวหนึ่งแล้วด้วยเงิน แถวหนึ่ง
แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วโกเมน แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วบุษราคัม แถวหนึ่งแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง. ต้นตาลที่แล้วด้วยทอง ลำต้นแล้วด้วยทอง ใบและผลแล้วด้วยเงิน. ต้นตาลที่แล้วด้วยเงิน ลำต้นแล้วด้วยเงิน ใบและผลแล้วด้วยทอง. ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ลำต้นแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ใบและผลแล้วด้วยแก้วผลึก. ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วผลึก ลำต้นแล้วด้วยแก้วผลึก ใบและผลแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์. ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วโกเมน ลำต้นแล้วด้วยแก้วโกเมน ใบและผลแล้วด้วยแก้วบุษราคัม. ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วบุษราคัม ลำต้นแล้วด้วยแก้วบุษราคัม ใบและผลแล้วด้วยแก้วโกเมน. ต้นตาลที่แล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง ลำต้นแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง ใบและผลแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง.
   ดูกรอานนท์ แถวต้นตาลเหล่านั้นเมื่อต้องลมพัดแล้ว มีเสียงอันไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่บุคคลปรับดีแล้ว ประโคมดีแล้ว บรรเลงโดยผู้เชี่ยวชาญ เสียงย่อมไพเราะยวนใจ ชวนฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม แม้ฉันใด. ดูกรอานนท์ เสียงแห่งแถวต้นตาลเหล่านั้น ที่ต้องลมพัดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม. ดูกรอานนท์ ก็สมัยนั้น ในกุสาวดีราชธานี มีนักเลง นักเล่น นักดื่ม พวกเขาบำเรอกันกัน ด้วยเสียงแห่งแถวต้นตาลที่ต้องลมเหล่านั้น. ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมปราสาทสำเร็จแล้ว และธรรมโบกขรณีสำเร็จแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงยังสมณพราหมณ์ทั้งหลายให้เอิบอิ่ม ด้วยสมณบริขารและพราหมณบริขาร ที่ตนปรารถนาทุกอย่าง แล้วเสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาท ฉะนี้แล.

           พระเจ้าไพศาลบรมจักรพรรดิติโลกวิชัย

     

   ๐พระเจ้าติโลกวิชัยจักรพรรดิราช  พระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ประเภท ไพศาลบรมจักรพรรดิราช

        ผู้ชนะสิบทิศ ตอนที่ ๑
         ( จอมจักรพรรดิราช )
      การสร้างบุญบารมีที่ถูกเนื้อนาบุญ เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด เพราะจะทำให้เราได้ประสบกับอานิสงส์ยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ สุดยอดแห่งเนื้อนาบุญ คือ การได้สร้างบุญกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมัยที่พระองค์ยังสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ท่านได้สร้างบุญไว้ในพุทธเขตแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้พระองค์จะเกิดมามีฐานะที่ยิ่งใหญ่เป็นถึงจอมจักรพรรดิราช ท่านก็ไม่ประมาทในการสร้างบุญ
    *ดังเช่นในสมัยที่พระองค์บังเกิดเป็นจอมจักรพรรดิราชติโลกวิชัย และเรื่องนี้มีสาเหตุที่ทำให้ พระพุทธองค์ตรัสถึงดังนี้
     วันหนึ่ง พระอานนท์ได้ทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีอยู่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ได้เพราะเหตุอะไร "
    พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า " ดูก่อน อานนท์ ชนเหล่าใด ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ยังไม่อาจที่จะบรรลุธรรม พ้นกิเลสกรรมในศาสนาของพระชินเจ้า เพราะมีหัวใจมุ่งที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณในอนาคตกาล อย่างไม่คลอนแคลน มีพระอัธยาศัยอันเข้มแข็งไม่ท้อแท้ มีพระปัญญาแก่กล้า จะทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูได้ ด้วยเดชแห่งพระปัญญา "
    พระศาสดาตรัสต่อไปอีกว่า " อานนท์ ปัญญานั้นคือความฉลาด ในการที่จะเอาบุญทุกๆ อย่าง เหมือนสมัยที่เราเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในครั้งนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่า "ติโลกวิชัย" ได้ให้ยกธง ๕ สี มีสีเขียว และสีเหลือง เป็นต้น    บนยอดไม้ บนยอดเขาทั้งหลาย ทั้งที่เป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาจักรวาล ยอดเขาสิเนรุราช และในที่ทั้งปวงในจักรวาลทั้งสิ้น เราได้ประนมนิ้วทั้งสิบนมัสการพระโลกนาถ พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก กราบไหว้พระสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐด้วยเศียรเกล้า
   เราเองปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ได้สร้างบารมีทุกรูปแบบ และได้สร้างบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ ที่จะทำให้เป็นพระธรรมราชา เราได้บำเพ็ญบารมีมานับไม่ถ้วน อานุภาพของเราไม่มีประมาณ เราเชิญชวนคนจากโลกอื่น เช่นพวกนาค จากนาคภิภพ  พวกคนธรรพ์จากป่าหิมพานต์  และเทวดาจากเทวโลก ผู้มีบุญเหล่านั้นมาทำการนอบน้อมเรา กระทำอัญชลี แวดล้อมเวชยันตปราสาทของเรา
   ในสมัยนั้น เราได้บำเพ็ญมหาทานอันยิ่งใหญ่ เพราะอุดมทานนั้น ทำให้ภูเขาบันลือเสียงกระหึ่มกึกก้องไป ยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกทั้งสิ้น ให้ร่าเริงโสมนัส อานุภาพของเราในภพชาตินั้นยิ่งใหญ่นัก อานนท์ ในจักรวาล มีทิศทั้งสิบที่ไม่เคยมีผู้ใดท่องเที่ยวไปได้ทั่วเลย ครั้งที่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในสถานที่ที่เราไปแล้วนั้น มีพุทธเขต คือ พุทธวิสัยนับไม่ถ้วน
   ในกาลนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่มีรัศมี คือ แสงสว่างของจักรแก้ว และแก้วมณี เปล่งรัศมีเป็นคู่ๆ ปรากฏในระหว่างหมื่นจักรวาล มีแสงสว่างกว้างขวางในหมื่นจักรวาล ชนทั้งปวงย่อมเห็นเรา เหล่าเทวดาตลอดเทวโลกทุกชั้น ต่างเกื้อกูลเรา เราสามารถนำรัตนะทั้งที่มีอยู่ในอากาศ และที่มีอยู่บนภาคพื้นแผ่นดินมาได้เท่าที่ใจเราจะปรารถนา เรามีอานุภาพมากอย่างนี้ทีเดียว อานนท์ แต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่ประมาท ได้สร้างบุญในพุทธเขตซึ่งเป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ " เมื่อพระบรมศาสดา ตรัสเล่าเรื่องราวที่พระองค์เสวยพระชาติ เป็นพระเจ้าติโลกวิชัยจอมจักรพรรดิราชโดยสังเขปแล้ว พระอรรถกถาจารย์ได้นำเรื่องนี้มาอธิบายไว้อย่างละเอียด ซึ่งจะได้ศึกษากันต่อไป ขอขยายความเกี่ยวกับเรื่องพุทธเขตที่พระเจ้าจักรพรรดิผู้เลิศกล่าวถึงบ่อยๆ นั้นหมายถึงอะไร
   รัศมีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ละพระองค์จะไม่เท่ากัน บางพระองค์มีรัศมีวาหนึ่ง บางพระองค์มีรัศมี ๘๐ วา และบางพระองค์มีรัศมีไม่มีกำหนด แผ่ไปได้ไกลบ้าง ใกล้บ้าง โยชน์หนึ่งบ้าง หรือหลายๆ ร้อยโยชน์ และบางครั้งแผ่ไปจนถึงสุดขอบจักรวาล พระรัศมีของพระมังคลพุทธเจ้า แผ่ไปถึงหมื่นจักรวาล นี้เป็นรัศมีที่มีตามปกติ หากพระองค์ทรงต้องการจะแผ่รัศมีไปแค่ไหน ก็ทรงสามารถแผ่ไปได้ตามพระประสงค์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความต่างกันในคุณวิเศษและมีพุทธเขตเหมือนกัน
    พุทธเขตของพระพุทธเจ้ามีอยู่ ๓ ประการ คือ:-
      ๑.ชาติเขต
      ๒.อาณาเขต
      ๓.วิสัยเขต
    เขตทั้งสามนั้น ขณะพระบรมโพธิสัตว์  ถือปฏิสนธิก็ดี ออกจากพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี ออกผนวชก็ดี ตรัสรู้ก็ดี ประกาศพระธรรมจักรก็ดี หรือปลงอายุสังขารก็ดี หมื่นโลก ธาตุจะสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น

   จักรวาล และโลกธาตุนี้จะสั่นสะเทือนเหมือนเป็นอันเดียวกัน นี้เป็นชาติเขตของพระองค์
   อานุภาพของพระปริตรจะแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางได้ มีแสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด อย่างนี้เรียกว่า อาณาเขต

   ส่วนเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งความปรารถนาไว้ ทรงปรารถนาเท่าใดก็ทรงได้เพียงนั้น คือ หาประมาณที่สุดมิได้ อย่างนี้ชื่อว่า วิสัยเขต ในเขตทั้งสามนั้น เมื่อชาติเขตพินาศไป อาณาเขตก็จะพินาศไปด้วย เมื่อยังคงอยู่ก็จะคงอยู่ด้วยกัน ไม่แตกแยกกัน

   ส่วนสาเหตุที่จะทำให้พุทธเขตทั้งสองพินาศนั้น ต่อเมื่อกัปป์ถูกทำลายด้วยไฟประลัย กัลป์  น้ำประลัยกัลป์  และลมประลัยกัลป์ ประมาณแสนโกฏิจักรวาลโดยส่วนกว้าง แต่จะเหลืออยู่เฉพาะพรหมโลกชั้นสูงๆ เท่านั้นที่ไม่ได้พินาศไปด้วย
  พระเจ้าจักรพรรดิไม่ใช่ว่าจะเป็นกันได้ง่าย เพราะผู้ที่จะได้เข้าถึงตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ จะต้องสั่งสมบุญมามากจนสมบูรณ์ด้วยสมบัติจักรพรรดิทั้ง ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพล แก้ว กอปรด้วยอานุภาพมากมาย สามารถเดินทางข้ามทวีปได้ในพริบตา ทรงอานุภาพมากขนาดนี้ทีเดียว จึงจะได้ชื่อว่าจอมจักรพรรดิราช
   พระเจ้าติโลกวิชัยจักรพรรดิราช ทรงเป็นอภิมหาราชาผู้ทรงมีอานุภาพมาก พระองค์ทรงสร้างมหาทานบารมีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของจอมจักรพรรดิราชทั้งหลาย และพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนามากทรงมีพระปัญญาที่เหนือมนุษย์ ทรงมีอานุภาพเหนือมนุษย์ธรรมดา ทรงสามารถนำสมบัติที่มีอยู่ทั่วสากลโลกมาใช้สร้าง
บารมีได้ เพื่อยังประโยชน์ ให้บังเกิดขึ้นแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะพระองค์มีความปรารถนาอย่างยิ่งยวดที่จะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
    ครั้งนี้ขอกล่าวถึงพุทธเขตเพียงเท่านี้ ต่อไปจะได้กล่าวในรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งน่าอัศจรรย์เกินกว่าสิ่งมหัศจรรย์ใดๆ ในโลก เพราะพระ องค์ทรงนำมหารัตนะทั้งหลาย ที่มีอยู่ในโลก มาสร้างบารมีได้อย่างวิจิตรพิสดารและยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างบารมีของพวกเราต่อไป ฉะนั้น ให้ขยันในการสร้างบุญ
สร้างบารมี เพื่อตัวของเราเองจะได้หลุดพ้นจากทุกข์ จากการบังคับบัญชาของกิเลสอาสวะ ของพญามาร และจะมีผลดีต่อมวลมนุษยชาติ และธาตุธรรมอีกด้วย ให้หมั่นสร้างบารมี ประพฤติปฏิบัติธรรมกันให้สมํ่าเสมอทุกๆ คน

   https://www.youtube.com/watch?v=EQYDiGp93Rw&list=RDCMUCjDnA0sf1O3Xb6fU9Lnvo6A&start_radio=1&t=79

   http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=829

          จอมจักรพรรดิราชติโลกวิชัย ๒

   http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=829

     ติโลกวิชัยจักรพรรดิราช ๒
   ๐หลักในการดำเนินชีวิตของนักสร้างบารมี ผู้มีหัวใจประดุจพระบรมโพธิสัตว์ ที่มุ่งตรงสู่ฝั่งแห่งพระนิพพาน โดยก้าวตามเส้นทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายดำเนินไปนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะพระอริยเจ้าเหล่านั้น ได้ตั้งใจสั่งสมบ่มบารมีมาทุกรูปแบบ ทั้งทาน ศีล และภาวนา แม้กระทั่งบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ก็ไม่ขาดตกบกพร่อง การที่เราจะบรรลุวัตถุประสงค์ของชีวิตได้เช่นท่าน เราต้องดำเนินตามรอยบาท ของท่านผู้รู้เหล่านั้น ท่านก้าวเดินไปทางไหน เราก็ก้าวเดินตาม ทำอย่างที่ท่านทำไว้ เราย่อมจะประสบผลเช่นเดียวกับท่านอย่างแน่นอน
   ๐มีวาระแห่งภาษิตอยู่ใน พุทธาปทาน ความว่า
   ๐พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์มากมาย มาประชุมกัน โดยประการทั้งปวง ท่านทั้งหลายจงกราบไหว้พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็น อจินไตย พระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอจินไตย เมื่อบุคคลเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และพระธรรมอันเป็น อจินไตย ย่อมมีวิบากเป็นอจินไตย
   ๐อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีประมาณ ขอเพียงมีใจที่ศรัทธาหนักแน่น ไม่คลอนแคลนในพระรัตนตรัย ส่งใจไปถึงพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวกทั้งหลาย อีกทั้งสร้างบารมีกับท่านเหล่านั้น ย่อมมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ เป็นอจินไตย คำว่า อจินไตย นี้ หมายถึงสิ่งที่ไม่ควรคิด หรือเกินกว่าที่ความคิดเราจะไปถึง เพราะอานุภาพของท่าน ผู้มีอานุภาพเหล่านั้นมากมายเกินกว่าความคิดของปุถุชนคนธรรมดาที่จะคาดคิดได้
   ๐*เมื่อคราวที่แล้ว ได้นำเรื่องราวของจอมจักรพรรดิราชพระนามว่า ติโลกวิชัย ผู้ท่องไปทั้งสิบทิศ เพื่อสร้างบารมีในพุทธเขตดินแดนของพระพุทธเจ้า ตอนนี้จะกล่าว ถึงหัวใจของผู้ชนะสิบทิศ ที่จอมจักรพรรดิมีเหนือกว่าพระเจ้าจักรพรรดิ ทั้งหลาย พระเจ้าติโลกวิชัยจักรพรรดิ พระราชาพระองค์นี้ เป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยอำนาจสิทธิของ จอมจักรพรรดิ ได้ตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้ามานับภพนับชาติไม่ถ้วน ในภพชาตินี้ก็เช่นกัน พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ศรัทธาในพระรัตนตรัย ทรงคิดเสมอว่า ที่พระองค์ทรงมีอานุภาพมากขนาดนี้ ก็ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ได้ทรงทำไว้ แต่สิ่งที่พระองค์ปรารถนาอย่างยิ่ง คือ พระโพธิญาณ ดังนั้นพระองค์จึงทรงคิดที่จะ สร้างบารมีครั้งยิ่งใหญ่สักครั้ง โดยทรงใช้อานุ ภาพของพระองค์ให้เป็นไปเพื่อ สร้างบารมีอย่างแท้จริง
   ๐พระองค์ทรงคิดต่อไปว่า ก่อนที่จะนิมนต์พระอริยเจ้าทั่วทั้งสิบทิศ มาประชุมรวมกันให้มากที่สุดนั้น ต้องจัดเตรียมสถานที่รองรับให้สมเกียรติ ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย คิดดังนั้นแล้วพระองค์ไม่ทรงรอรี รีบนึกถึงบุญ และตามสมบัติทั้งหลายที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นรัตนะซึ่งมีค่ามากที่อยู่ในอากาศ และอยู่บนภาคพื้นแผ่นดิน มีมากมายเพียงใด พระองค์ทรงใช้ใจนึกมาได้ทั้งหมด ให้มาปรากฏอยู่ต่อพระพักตร์
   ๐จากนั้นพระองค์ทรงใช้มหาสมบัติทั้งหลายเหล่านั้นสร้างเป็นปราสาทรัตนะ ทรงนึกสร้างด้วยใจเช่นเดียวกัน เป็นมหาปราสาทมีความสูงจรดขอบฟ้าเบื้องบน ฐานของรัตนปราสาทแผ่ขยายตลอดภาคพื้นสุดลูกหูลูกตา ตั้งตระหง่านสะกด สายตาของทุกๆ คนที่ได้เห็น เสาแต่ละต้นวิจิตรงดงาม ได้สร้างไว้อย่างดี ล้วนทำด้วยรัตนะที่มีค่ามาก มีคันทวยทำด้วยทองคำ ประดับด้วยนกกะเรียน และฉัตรรัตนะ ที่พื้นชั้นแรกของปราสาท เป็นแก้วไพฑูรย์งดงามปราศจากมลทิน
   ๐พระองค์ทรงประดับปราสาทด้วยกอบัวหลวง พื้นปูด้วยทองคำบริสุทธิ์ พื้นบางชั้นมีสีดังแก้วประพาฬ แตกแขนงออกมาคล้ายกิ่งก้านของต้นไม้ มีสีแดงงดงาม เปล่งรัศมีดังสีแมลงค่อมทอง สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ตรงหน้าปราสาทมีหน้ามุข ประตูหน้าต่างตกแต่งอย่างดีเป็นแก้ว ไพรที ๔ ชั้น มีชวาลาประทีปสว่างไสว มีพวงอุบลส่งกลิ่นหอมสดชื่น
รื่นรมย์ใจ
   ๐พื้นบางชั้นก็มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว และสีดำล้วนๆ ที่ประกอบ ด้วยเรือนยอด ซึ่งประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ และยังตกแต่งด้วยดอกปทุมบานสะพรั่ง งดงามด้วยหมู่สกุณา ดารดาษไปด้วยดาวนักษัตร ประดับด้วยรูปดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ และยังปกคลุมด้วยตาข่ายทองคำ ห้อยระย้าด้วยกระดิ่งทองคำ ตาข่ายทองคำ ขณะมีลมโชยพัดมา
จะมีเสียงคล้ายทิพยดุริยางค์อันไพเราะ
   ๐หน้าต่างจะมีสีต่างๆ เช่น สีชมพู สีแดง สีเหลือง และสีทอง มีธงปักไว้เป็น ทิวแถวเป็นระเบียบ แผ่นกระดานต่างๆ ทำด้วยเงินบ้าง แก้วมณีบ้าง ทับทิมบ้าง และแก้วลายบ้าง อีกทั้งยังมีที่นอนซึ่งปูด้วยผ้าจากแคว้นกาสีเนื้อละเอียด ผ้าห่มมีสีเหลืองทำด้วยผ้ากัมพล พระองค์ทรงปูลาดเครื่องลาดทุกชนิดด้วยใจ คือ ทำด้วยความเคารพเลื่อมใสจริงๆ
   ๐แต่ละชั้นของปราสาทประดับยอดด้วยรัตนะ มีผู้มีบุญยืนถือประทีปแก้วสว่างไสว มีเสาระเนียด เสาซุ้มประตู ทำด้วยทองชมพูนุท ไม้แก่น และเงิน วิจิตรด้วยบานประตู และกลอนมีลวดลาย ทำให้ปราสาทรุ่งเรืองสว่างไปทั่วทุกทิศ
   ๐ครั้นตระเตรียมสถานที่งดงามเช่นนั้นแล้ว ท่านนึกอาราธนานิมนต์ พระพุทธเจ้า ในอดีตทุกๆ พระองค์ พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย นิมนต์มามากมายทีเดียว ด้วยอานุภาพที่เหนือธรรมชาติ เหนือจินตนาการความคิดของมนุษย์ พระพุทธเจ้า นับพระองค์ไม่ถ้วน พร้อมทั้งพระสาวกเสด็จเข้าไปทางประตูรัตนปราสาท โดยพระอริยเจ้าจะนั่งบนตั่งที่ทำด้วยทองคำล้วนๆ พระพุทธเจ้า ทั้งหลายที่มีอยู่ใน บัดนี้ก็ดี และที่ล่วงไปแล้วก็ดี ทุกพระ องค์ได้เสด็จขึ้นปราสาทของพระเจ้าติโลกวิชัย จอมจักรพรรดิ แม้แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ได้ขึ้นสู่ปราสาทมาเป็นเนื้อนาบุญให้ท่านด้วย
   ๐.พระเจ้าติโลกวิชัยได้นำผ้าทุกชนิดจากต้นกัลปพฤกษ์ ทั้งที่เป็นของทิพย์ และเป็นของมนุษย์มาทำเป็นจีวร น้อมถวายให้ท่านเหล่านั้นครอง อีกทั้งนำภัตตาหาร ที่มีโอชาทิพย์ใส่จน เต็มบาตรแก้วมณี และน้อมถวายพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเหล่านั้น กระทำภัตกิจบนปราสาทอย่างอิ่มหนำสำราญ จากนั้นพระบางองค์นั่งเจริญสมาธิ บางองค์แสดงธรรม บางองค์แสดงฤทธิ์ บางองค์เข้าอัปปนาฌาน และบางองค์เจริญอภิญญาวสี
   ๐พระพุทธเจ้าบางพระองค์แสดงปาฏิหาริย์กายเป็นหลายพันพระองค์ ทรงสอบถาม อารมณ์ของพระสัพพัญญุตญาณ กับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระสาวกทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ตรัสถามพระสาวก หรือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอริยสาวก ต่างถามกันและพยากรณ์กันและกัน
   ๐พระอริยเจ้าทั้งหลาย ต่างยินดีในปราสาท ของพระเจ้าติโลกวิชัยจอมจักรพรรดิราช ผู้มีอานุภาพมาก ทุกๆ พระองค์จะทรงฉัตรอันห้อยระย้าด้วยข่ายทองที่งดงาม มีข่ายเงิน แวดวงด้วยข่ายมุกดาเหนือพระเศียร มีเพดานผ้าทิพย์แวววาวด้วยดาวทอง ห้อยพวง มา ลัยไว้ทั่วงดงามตระการตา มีพวงมาลัยเต็มไปหมด หอมกรุ่นด้วยกลุ่มของหอมงดงามด้วยพวงผ้า ประดับประดาด้วยพวงแก้ว พวงดอกไม้ ทุกๆ อย่างอบด้วยของหอม เจิมด้วยของหอม มุงด้วยเครื่องมุงอันเป็นทองในทิศทั้งสี่ มีสระโบกขรณี ซึ่งระยิบ ตาด้วยดอกปทุมและอุบล หอมตลบด้วยกลิ่นเกสร ต้นไม้ทุกต้นรอบๆ ปราสาท ก็ผลิดอก บางต้นดอกไม้ก็ร่วงหล่นโปรยปรายรายรอบรัตนปราสาท ดูสวยงามยิ่งนัก
   ๐นี่คือมหัศจรรย์แห่งการสร้างบารมี ที่เหนือคำบรรยายของจอมจักรพรรดิราช ผู้มีฤทธิ์ทางใจ ท่านสามารถทำในสิ่งที่ผู้อื่นทำไม่ได้ และใช้อานุภาพของตนส่งเสริม การสร้างบารมีให้ ยิ่งๆ ขึ้นไป เรื่องราวของท่านยังไม่จบ จะนำมาเล่าในคราวต่อไป ขอให้ทุกท่านขวนขวายในการสร้างบารมีให้มากๆ ถ้าบารมีเรามีมาก จะสร้างบารมี อะไรต่อก็สะดวก
สบายอย่างพระเจ้าจักรพรรดิโพธิสัตว์ของเราพระองค์นี้ ท่านสร้าง บารมีด้วยใจ มีสมบัติตามใจปรารถนา เราต้องสร้างบารมีให้ได้อย่างนี้กันทุกคน

                         จอมจักรพรรดิติโลกวิชัย ๓
    ๐การสร้างบารมีเพื่อขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป เป็นวัตถุประสงค์หลักของ การเกิดมาเป็นมนุษย์ ทุกๆ ชีวิตไม่ว่าจะเป็นมหากษัตริย์ พระเจ้าจักรพรรดิ มหาเศรษฐี หรือยาจกวณิพก รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีวิญญาณครองล้วนมีวัตถุประสงค์ อย่างเดียวกันทั้งนั้น สรรพสัตว์ที่เกิดมาในโลกนี้ จะต้องเพียรเพื่อ ทำตนให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ มุ่งไปสู่อายตนนิพพาน การที่จะทำเช่นนี้ได้ ต้องหมั่น ทำใจให้หยุดให้นิ่ง จนกระทั่งได้เข้าถึงพระธรรมกาย จึงจะมีอุปกรณ์ ที่จะไปสู่อายตนนิพพานได้
   ๐มีวาระแห่งภาษิตใน พุทธาปทาน ความว่า
   ๐กุศลกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นกิริยาที่เราจะพึงกระทำ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กุศลกรรมนั้นเรากระทำแล้ว ได้ไปในไตรทศ สัตว์เหล่าใดผู้มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตาม สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงเป็นผู้มีส่วนแห่งผลบุญที่เราได้กระทำแล้ว สัตว์เหล่าใดรู้บุญที่เราได้กระทำแล้ว เราให้ผลบุญแก่สัตว์เหล่านั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดไม่รู้ ขอทวยเทพจงไปบอกแก่สัตว์เหล่านั้นให้รู้
   ๐นี่เป็นคำกล่าวของพระเจ้าติโลกวิชัย ที่กล่าวไว้ภายหลังจากที่ท่าน ได้สร้างมหาทานบารมีครั้งยิ่งใหญ่ และได้อุทิศส่วนบุญแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่ท่านได้ชื่อว่า ผู้ชนะสิบทิศ เพราะท่านท่องไปทั่วทั้งสิบทิศเพื่อสร้างบารมี ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่พระนิพพาน ทิศทั้งสิบ นั้นไม่เคยมีใครจะเดินทางไปถึง และใน ๑๐ ทิศ
นั้น มีพุทธเขตนับไม่ถ้วน พระเจ้าติโลกวิชัยสามารถท่องไปทั่วโลกธาตุที่ว่านั้นได้ ท่านไปด้วยจักรแก้ว กายของท่านมีรัศมีปรากฏเปล่งแสงออกเป็นคู่ๆ เป็นผู้ที่มีแสงสว่างไม่มีประมาณ ด้วยอำนาจของจักรแก้ว และแก้วมณี ปวงชนทั้งโลกธาตุมีมากมายเพียงใด ก็สามารถมองเห็นพระองค์ได้ และต่างประพฤติอยู่ในโอวาทของพระองค์
   ๐*เมื่อพระเจ้าติโลกวิชัยเปล่งวาจาว่า ด้วยบุญนี้ในอนาคตกาล ขอให้เราได้เป็น พระพุทธเจ้าในโลก เหตุการณ์ในครั้งนั้น แม้แต่ภูเขาหินที่ไม่มีชีวิต ก็ยังเปล่งเสียงกึกก้องกัมปนาทดังกระหึ่มไปทั่วทุกทิศ มวลมนุษย์ทั้งหลายทั่วทั้งจักรวาล ต่างชื่นชมอนุโมทนา เหล่าทวยเทพผู้มีกายทิพย์ ที่สิงสถิตอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภุมมเทวา รุกขเทวา อากาสเทวา ไล่เรื่อยไปจนถึงสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า พรหม อรูปพรหม ทั่วโลกธาตุเปล่งเสียงสาธุการ
   ๐มาถึงตรงนี้ จะขยายความเกี่ยวกับโลกธาตุ เพื่อที่จะให้ทุกท่านได้เข้าใจ มากยิ่งขึ้น โลกธาตุนั้นมีอยู่ ๓ ขนาด มีขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระอานนท์ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพลางทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พระองค์เคย ตรัสกับข้าพระองค์ว่า สาวกชื่ออภิภูของพระสิขีพุทธเจ้า ยืนอยู่บนพรหมโลกสามารถยัง ๑,๐๐๐ โลกธาตุ ให้ได้ยินเสียง แล้วพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสามารถ ตรัสให้โลกธาตุ ได้ยินพระสุรเสียงได้เท่าไร พระเจ้าข้า “
   ๐พระศาสดาตรัสว่า “อานนท์ พระอภิภูนั้นเป็นเพียงพระสาวก แต่พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ไม่มีใครจะเปรียบเทียบได้” พระอานนท์ได้ฟังดังนั้นได้ทูลถาม อีกเช่นเดิม พระพุทธองค์ก็คงตรัสตอบยืนยันเช่นเดิม เมื่อพระอานนท์ทูลถามอีกเป็นครั้งที่ ๓ พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า “เธอเคยได้ฟังหรือไม่ อานนท์ สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ พระอานนท์ทูลว่า
“ขอพระองค์ตรัสเถิดภิกษุทั้งหลายจะได้ จดจำไว้”
   ๐พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอธิบายเกี่ยวกับโลกธาตุว่า “อานนท์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์แผ่รัศมีส่องแสง ทำให้สว่างไปทั่วทิศตลอดที่มีประมาณเท่าใด โลกมีเนื้อที่เท่านั้น จำนวน ๑,๐๐๐ ใน ๑,๐๐๐ โลกนั้น มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภูเขาสิเนรุราช อย่างละ ๑,๐๐๐ มีชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป ปุพพวิเทหทวีป อย่างละ ๑,๐๐๐ มีมหาสมุทร มีมหาราชอย่างละ ๔,๐๐๐ มีสวรรค์ ๖ ชั้น และพรหมโลกซึ่งมีรูปพรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔​ ชั้น ชั้นละ  ๑,๐๐๐ นี้เรียกว่า สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ โลกธาตุอย่างเล็กมี ๑,๐๐๐ จักรวาล
   ๐สหัสสีจูฬะนิกาโลกธาตุมีเท่าใด โลกเท่านั้นคูณโดย ๑,๐๐๐ นี้เรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ โลกธาตุขนาดกลางมี ๑,๐๐๐,๐๐๐ จักรวาล ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุมีเท่าใด เอาโลกธาตุนั้นคูณโดยส่วน ๑,๐๐๐ อย่างนี้เรียกว่า "ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ" โลกธาตุขนาดใหญ่มี ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิจักรวาล
   ๐เมื่อตถาคตมีความปรารถนาจะพูดให้ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุได้ยินหรือปรารถนาพูดเท่าใดก็ได้ ตถาคตอยู่ในที่นี้ จะพึงแผ่รัศมีไปทั่วติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ เมื่อสัตว์ทั้งหลายในโลกธาตุเหล่านั้นรู้จักแสงสว่างนั้น ตถาคตก็บันลือสีหนาท ให้สัตว์เหล่านั้นได้ยินด้วยวิธีอย่างนี้
   ๐ครั้นจบพระกระแสพุทธดำรัส พระอานนท์อุทานออกมาว่า “เป็นลาภของข้าพระองค์หนอที่ได้ยินเช่นนี้ ข้าพระองค์ได้พระศาสดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพใหญ่อย่างนี้” พระอุทายีเถระที่นั่งฟังอยู่ด้วย ก็กล่าวขัดขึ้นว่า “ท่านได้ประโยชน์อะไรในเรื่องนี้ อาวุโส อานนท์ ที่พระศาสดามีฤทธิ์มากมีอานุภาพใหญ่อย่างนั้น” พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระอุทายี
ว่า “อย่าพูดเช่นนั้น อุทายี ถ้าอานนท์จะพึงเป็นผู้ยังไม่สิ้นราคะ มรณภาพไป ด้วยความที่จิตเลื่อมใสในเราด้วยคำพูดเท่านี้ เธอจะพึงได้เป็นเทวราชในเทวโลก ๗ ชาติ เป็นมหาราชาในชมพูทวีป ๗ ชาติ แต่ที่แท้นั้น อานนท์จักปรินิพพานในชาติปัจจุบันนี้ทีเดียว”
   ๐เพราะฉะนั้นการได้ยินเรื่องราวที่ลึกซึ้ง นำมาซึ่งมหาปีติ มีอานิสงส์มาก นี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกธาตุที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ในภพสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ วันที่พระองค์เสด็จจุติจากเทวโลก ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระพุทธมารดา ในวันประสูติ วันเสด็จออกผนวช วันตรัสรู้ วันทรงแสดงธรรมจักร วันทรงปลงอายุสังขาร และวันดับขันธปรินิพพาน โลกธาตุขนาดกลางก็หวั่นไหว มีโลกธาตุอย่างนี้นับกันไม่ถ้วน แสนโกฏิจักรวาลที่ได้ยินกันบ่อยๆ นั้น หมายถึงมหาสหัสสีโลกธาตุ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพุทธประสงค์ จะทรงเปล่งพระรัศมีออกจากพระพุทธสรีระ ให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้เห็น หรือได้ยินพระสุรเสียงก็สามารถทำได้อย่างสบายๆ
   ๐คำหนึ่งที่ทุกท่านได้ยินกันบ่อยๆ คือคำว่า อนันตจักรวาล หมายถึงจำนวนจักรวาลที่นับไม่ถ้วน ดังข้ออุปมาเพื่อให้ทุกท่านพอจะนึกภาพออก สมมติว่า ถ้าเราเอาแสนโกฏิจักรวาลที่กล่าวมานั้น ทำให้เป็นพื้นที่ว่างๆ แล้วนำเมล็ดพันธุ์ผักกาดใส่ไปให้เต็มแสนโกฏิจักรวาลไล่เรื่อยไปจนถึงพรหมโลก เมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดหนึ่งนับเป็นหนึ่งจักรวาล จากนั้นเราก็หยิบออกทีละเมล็ด ไปวางเรียงไว้ทางทิศเหนือ จนกระทั่งเมล็ดผักกาดหมด จักรวาลทางทิศเหนือ ก็ยังไม่หมดสิ้นไป ยังมีอยู่อีกมากมาย
   ๐ส่วนในทิศอื่นก็ในทำนองเดียวกันกับทางทิศเหนือ คือ หยิบเมล็ดผักกาด ซึ่งเต็มทั้งแสนโกฏิจักรวาลออกทีละเมล็ดวางเรียงออกไป จนกระทั่งเมล็ดผักกาดหมด จักรวาลก็ยังมีเหลืออยู่อีก ดังนั้น อนันตจักรวาลจึงหมายถึง จักรวาลที่มีมากมาย สุดที่จะนับจะประมาณได้ นี้คือความอัศจรรย์ที่อยากจะให้ทุกคนได้เรียนรู้ ศึกษาไว้ เพราะพวกเราเป็นนักสร้างบารมีที่ยังต้องเดินทางต่อไปอีก จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งธรรม
   ๐พระเจ้าติโลกวิชัยพระองค์ทรงมีอานุภาพมาก สามารถที่จะท่องไป ในโลกธาตุ ทั้งหลายได้ และทรงสร้างมหาทานบารมีกับเนื้อนาบุญในพุทธเขตที่ไม่มีประมาณ หลังจากที่พระองค์ ทรงสร้างทานบารมีแด่พระอริยเจ้านับพระองค์ไม่ถ้วน ซึ่งในประวัติศาสตร์ของจอมจักรพรรดิราชทั้งหลาย ยังไม่มีใครสามารถทำได้อย่างพระองค์ เมื่อทรงสร้างบารมี
แล้ว ทรงแผ่ส่วนบุญ แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เรื่องราวของท่านยังไม่จบ ซึ่งจะได้ศึกษากันในตอนต่อไป

                   จอมจักรพรรดิติโลกวิชัย ๔
   ๐สังขารร่างกายของเราทุกคน กำลังเดินทางไปสู่ความเสื่อมสลาย ร่างกายที่เคยแข็งแรง ก็อ่อนแอลงไปตามกาลเวลา บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย จึงดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาท เพราะตระหนักดีว่า คุณค่าที่แท้จริงและเป็น แก่นสารของชีวิตนั้น คือ การสั่งสมบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อเป็นเสบียงเดินทาง ไกลในสังสารวัฏ จนกว่าจะสามารถกำจัดอาสวะกิเลสทั้งหลาย ให้หมดสิ้นไป ได้เข้าถึงพระนิพพานอันเกษม
   ๐มีวาระแห่งภาษิตใน พุทธาปทาน ความว่า
   ๐ไม่มีผู้เสมอด้วยปัญญา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ และในป่า อาหารทิพย์ รัตนะทุกอย่าง ของหอมทุกชนิด ยวดยานทุกชนิด ดอกไม้ทุกชนิด สิ่งที่เราปรารถนาเข้ามาหาเรา เราเป็นใหญ่กว่าเทวดา และมนุษย์ เป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยรูปลักษณะ
   ๐นี่เป็นคำกล่าวของพระเจ้าติโลกวิชัย วันนี้จะนำเรื่องราวของพระองค์ มาเล่าต่อจากตอนที่แล้ว หลังจากที่พระองค์ได้สร้างมหาทานบารมี และ ได้ตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต ทำให้สรรพสัตว์ทั่วทั้งโลกธาตุต่างยินดีปรีดา พากันตั้งความปรารถนาที่จะหลุด พ้นจากกิเลสอาสวะในศาสนาของพระองค์ โลกในยุคนั้นสว่างไสวด้วยแสงธรรม เพราะทุกคนประพฤติปฏิบัติธรรมกันเป็นปกติ
   ๐*พระองค์ทรงอาศัยอยู่ในรัตนมหาปราสาท ในปราสาทแก้ว มีสิ่งที่ทำให้รื่นรมย์ ใจมากมาย รอบปราสาทมีนักยูงรำแพน หางดูสวยงาม มีหงส์ทิพย์ส่งเสียงไพเราะ ขับกล่อม และหมู่นกการะเวกก็พากันขับขาน กลองทุกชนิดดังขึ้นเอง พิณทุก ชนิดก็ดีดขึ้นเอง เครื่องสังคีตทุกชนิดบรรเลงเองอย่างน่าอัศจรรย์ และยังมีบัลลังก์ ทองใหญ่ที่มีรัศมีสว่างไสว ตั้งอยู่ในกำหนด พุทธเขต และในหมื่นจักรวาล เรียงรายสวยงามมาก
   ๐ในแต่ละที่ จะมีต้นไม้ประจำทวีป ต้นไม้ประจำทวีปทั้งหมดต่างส่องแสงสว่าง เป็นอย่างเดียวกันสืบต่อกันไป หญิงนักร้องฟ้อนรำก็เต้นรำขับร้องไป สร้างความเบิกบาน สราญใจให้พระเจ้าจักรพรรดิ และยังมีเหล่านางอัปสร ประดับประดาด้วย เครื่องประดับ ทิพย์สวยงาม พากันมาปรากฏอยู่รายรอบปราสาท พระเจ้าติโลกวิชัยยังให้ชักธงทุก ชนิดมี
๕ สี งามวิจิตรประดับไว้บนยอดไม้ ยอดภูเขา และบนยอดเขาสิเนรุ เมื่อหมู่มนุษย์ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ และเทวดาเข้ามาหาพระองค์ ต่างก็ประณมมือไหว้ แวดล้อมปราสาทอยู่
   ๐พระเจ้าจักรพรรดิมีเมตตาต่อผู้อยู่ในเขตแดนที่ปกครอง พระองค์จะตั้ง จิตอธิษฐานว่า ปวงสัตว์ในโลกผู้อาศัยอาหารเป็นอยู่ทุกจำพวก ขอจงได้อาหาร อันน่าพอใจด้วยใจของเรา เมื่อตั้งจิตอย่างนี้ อาหารทั้งหลายก็บังเกิดขึ้น พระองค์ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งโลกเพียงแค่ใจนึกคิดเท่านั้น นี้เป็นพลานุภาพที่เกิดจากการสร้างบารมี ที่ท่านให้ทานอย่างหมดใจบูชา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระอรหันตเจ้าทั้งปวง
   ๐เมื่อพระองค์สวรรคต จักรแก้วก็อันตรธานหายไป สาเหตุที่จักรแก้วหายไปนั้น ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ การสวรรคตของพระเจ้าจักรพรรดิ หรือพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงออกผนวช จักรแก้วจะอันตรธานหายไปก็ต่อเมื่อผ่านไป ๗ วัน นับจากวันสวรรคต หรือทรงออกผนวช
๐ในจักรวาลหนึ่งจะมีพระเจ้าจักรพรรดิบังเกิดขึ้นได้ครั้งละพระองค์เดียวเท่านั้น พระเจ้าจักรพรรดิจะไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน ๒ พระองค์ เพราะจะทำให้มนุษย์ ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์มีบารมีไม่เท่ากัน ความคิด คำพูด และการกระทำก็จะไม่เสมอกัน สรรพสัตว์ที่อยู่ในโอวาทของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็จะไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน และอานุภาพแห่งจักรแก้ว มีมากเกินกว่าจักรวาลเดียวจะรับได้ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิรบชนะ พิชิตไปทั้ง ๔ ทวีป จักรแก้วจะลอยสถิตนิ่งๆ ท่ามกลางนภากาศ เพราะหากมีการเคลื่อนไหวสักเล็กน้อย นั่นจะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของพระ เจ้าจักรพรรดิ พระ องค์นั้น ดังนั้นเวลาที่พระเจ้าจักรพรรดิ ปรารถนาที่จะรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงและเป็นการเตรียมพระองค์ ไว้ก่อน พระองค์จะสั่งให้ขึงเชือกไว้ทั้งข้างล่างและข้างบนของจักรแก้ว จากนั้นราชบุรุษจะไปวัดระดับ ของการเคลื่อนย้าย ของจักรรัตนะนั้นทุกๆ วัน หลังจากที่พระเจ้าติโลกวิชัย จักรพรรดิราชสวรรคตแล้ว จักรแก้วนั้นก็อันตรธานไป
   ๐ด้วยอำนาจแห่งความดีที่ท่านได้สั่งสม และด้วยการตั้งความปรารถนา ของพระองค์ ครั้นละโลกแล้ว ท่านได้บังเกิดบนดาวดึงสพิภพ ท่องเที่ยวอยู่ในสองภพภูมิเท่านั้น คือ เป็นเทวดาและมนุษย์โดยไม่รู้จักคติอื่นเลย นี้เป็นผลแห่ง การตั้งความปรารถนาด้วยใจ ตอนเป็นเทพบุตรก็เป็นใหญ่กว่าเทวดา ทั้งหลาย เป็นมนุษย์ก็เป็นใหญ่ในเมืองมนุษย์เป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยรูปลักษณะ ไม่มีผู้เสมอด้วยปัญญา
   ๐บุญที่สร้างไว้ดีแล้วนั้น ทำให้ท่านสมความปรารถนาในทุกสิ่ง หากปรารถนาสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นโภชนาหาร รัตนะอันมีค่า หรือผ้าชนิดต่างๆ เพียงแค่ท่านนึกถึง และชี้มือ ไปในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ หรือในป่า สิ่งที่ต้องการ จะน้อมเข้ามาหาท่านทันที
   ๐พระองค์ท่านถึงกับเปล่งอุทานว่า “เราปรารถนาของหอม ชี้มือไปในป่า ของหอมทุกอย่างย่อมบังเกิดขึ้นแก่เรา เราปรารถนายวดยาน ชี้มือไปบนอากาศ ยวดยานทุกชนิดย่อมเข้ามาหาเรา เราปรารถนาดอกไม้ ชี้มือไปในแผ่นดิน ดอกไม้ทุกชนิด ย่อมเข้ามาหาเรา เราปรารถนาเครื่องประดับ ของเคี้ยว น้ำผึ้ง น้ำตาล เพียงแค่ชี้มือเท่านั้น เครื่องประดับ
ของเคี้ยว น้ำผึ้ง น้ำตาล ก็บังเกิดขึ้นแก่เรา” นี่เป็นพลานุภาพแห่งบุญที่พระองค์ได้สั่งสมไว้อย่างดีแล้วในภพชาตินั้น
   ๐พระองค์ท่านให้ทานแก่คนไม่มีทรัพย์ คนเดินทางไกล ยาจก เพื่อต้องการบรรลุพระสัมโพธิญาณอันประเสริฐ เพียงตั้งความปรารถนา มนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกต่างร่าเริงยินดีที่จะได้มีส่วนในบุญกับพระพุทธเจ้า และในภพนั้นท่านได้ท่องไปทั่วทิศทั้งสิบ ที่มีพุทธเขตนับไม่ถ้วน ได้สร้างบารมีอย่างเต็ม ที่ด้วยกายมนุษย์ สำเร็จทุกอย่าง ดุจของทิพย์ที่สำเร็จได้ด้วยใจปรารถนา นอกจากนั้นท่านยังได้อธิษฐานว่า “ในอนาคตกาลเราจะตีกลองอมฤตธรรมมีเสียงบันลือไพเราะ สละสลวย ปวงชน ที่ตามเรามา จงได้ยินเสียงอันไพเราะของเรา เมื่อเมฆฝน คือ ธรรมธาราตกลงมา ปวงชนจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ แม้ผู้มีบารมีอ่อนที่สุด ก็ขอให้บรรลุธรรมาภิสมัย เราได้ให้ทานที่ควรให้ บำเพ็ญศีลโดยไม่เหลือ ถือเนกขัมมบารมี เพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม”
   ๐เมื่อท่านกล่าวถึงตรงนี้ ท่านก็ได้กล่าวเตือนมวลมนุษย์ทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านและความวิวาทเป็นภัย และเห็นความเพียร ความไม่วิวาทโดยเป็นความเกษม จงปรารภความเพียร กล่าววาจาอ่อนหวานแก่ กันและกัน จงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เมื่อพระพุทธเจ้าและ พระอรหันต์ทั้งหลายมาประชุมกัน ท่านทั้งหลายจงกราบ
ไหว้บูชา พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายเถิด เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย พระธรรมของพระองค์ก็เป็นอจินไตย เมื่อบุคคลเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และพระธรรมอันเป็นอจินไตย ย่อมมีวิบากเป็นอจินไตย
   ๐เราจะเห็นว่า ชีวิตของผู้ชนะสิบทิศที่แท้จริงนั้น คือผู้ที่เห็นคุณค่าของการสร้างบารมี จะแสวงหาทางสร้างบารมีไปทั่วทุกทิศ ด้วยใจที่เคารพเลื่อมใสไม่มีประมาณ และจะสร้างบารมีจนหมดใจ จะไม่ประมาท ในการสร้างบารมี แม้จะเป็นผู้ที่สมบูรณ์พร้อมในทุกสิ่งแล้วก็ตาม ดังนั้นพวกเราควร ประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างพระโพธิสัตว์ ทำอย่างเต็มที่เต็มกำลังของเรา การเกิดมาในภพชาตินี้ จะคุ้มค่าสมกับที่ได้เกิดมาพบต้นแบบแห่งการสร้างบารมี         


     จงคลิกลิ้งค์ข้างล่างเหล่านี้ขึ้นมาศึกษาประกอบ

    http://www.kalyanamitra.org/vdo/index_vdo_track_yt.php?id=55

    https://www.youtube.com/watch?v=ZGPbCBwhoCo

    https://www.youtube.com/watch?v=dzZJ0mj7h8U

    https://www.youtube.com/watch?v=Vf13p4QaHu4

    https://www.youtube.com/watch?v=QevwmCQmAk4

        สามเณรอายุ ๗ ปีบรรลุพระอรหันต์

    https://www.youtube.com/watch?v=yLXvNgCNqKg

              
               กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ
         โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ และ พิทยา ทิศุธิวงศ์
   1. กายสิทธิ์ มีหลายระดับ ได้แก่:-
      (1) กายสิทธิ์ที่มีรูปลักษณ์เหมือนพระดาบส-ฤาษี แต่กายสิทธิ์ก็ไม่ใช่วิญญาณของพระดาบส-ฤาษี นั้นๆ
      (2) กายสิทธิ์ที่มีรูปลักษณ์คล้ายกายทิพย์หรือกายพรหม แต่กายสิทธิ์ก็ไม่ใช่เทวดาและไม่ใช่พรหม 
      (3) กายสิทธิ์ที่มีรูปลักษณ์เป็นกายพระจักรพรรดิ คือพระพุทธรูปทรงเครื่อง (เครื่องประดับของพระจักรพรรดิมีไว้ประกอบการ “เดินวิชชา” หรือ “เข้าวิชชา” และส่งพลังฤทธิ์ต่างๆ) แต่กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ ไม่ใช่ “พระเจ้าจักรพรรดิ” ซึ่งเป็นจอมราชาของมนุษย์ แต่ก็มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญ กายสิทธิ์พระจักรพรรดิเป็นของ “ทิพย์ธรรม” แต่ที่เรียกจักรพรรดิเหมือนกัน เพราะมี “รัตนะ ๗” ได้แก่
   ๑.จักรแก้ว (ก่อให้เกิดอำนาจ)
   ๒.แก้วมณี (ก่อให้เกิดสะอาดสว่างรอบรู้)
   ๓.ขุนพลแก้ว (มีกำลังพลสนับสนุน)
   ๔.ขุนคลังแก้ว (มีกำลังทรัพย์สมบัติ)
   ๕.นางแก้ว (ก่อให้เกิดความสวยงามและสุขสบายใจ)
   ๖.ช้างแก้ว (ก่อให้เกิดความสะดวกเอื้ออำนวยต่องานการ)
   ๗.ม้าแก้ว (ความรวดเร็วว่องไว) เป็นทีมงานบริวารช่วยงาน และเป็นเครื่องมือในการทรงอยู่และทำงาน พระเจ้าจักรพรรดิกายมนุษย์ มีรัตนะ 7 ของหยาบที่จับต้องได้ ส่วน กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ มีรัตนะ 7 ของละเอียดที่เป็น “ทิพย์ธรรม” ส่วนมนุษย์ที่เป็น “พระจักรฯ” หรือ “พระจักรพรรดิ” ก็คือมนุษย์ที่มี “ต้นสายธาตุสายธรรม” หรือ “ต้นขั้วแห่งตัวตน” เป็น “กายต้นกายสิทธิ์” หรือ “กายพระจักรพรรดิ” คอยควบคุมดูแลมนุษย์แต่ละคนนั้นๆ ซึ่งต้นสายธาตุสายธรรมของมนุษย์แต่ละคน ก็ไม่ใช่พระจักรพรรดิเสมอไป บางคนมีต้นสายธาตุสายธรรมเป็น “พระธรรมกาย” เป็น “พระพุทธเจ้า” แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น “กายสิทธิ์” ที่คล้ายๆ กายทิพย์ของเทวดา หรือกายพรหม ซึ่งมีอ่อนมีแก่แตกต่างกันไป ซึ่งมนุษย์คนใดที่เป็น   “ภาคพระ” (ฝ่ายดี) หรือ “ภาคมาร” (ฝ่ายชั่ว) ก็ดูกันตรงนี้ ว่า “กายต้นขั้ว” เป็น พระพุทธเจ้า พระธรรมกาย พระจักรพรรดิ หรือ กายสิทธิ์ ฝ่ายพระ หรือฝ่ายมาร ถ้าเป็นฝ่ายพระก็จะเป็นกายขาวใสสะอาด สว่างมากบ้างน้อยบ้างตามกำลังบารมี แต่ถ้าเป็นฝ่ายมาร ก็จะเป็นกายสีดำ ยกเว้นกรณีที่มนุษย์ผู้นั้นเป็นคนของภาคอื่นๆ เช่นภาคทอง, ภาคเงิน (ทองคำขาว), ภาคทองแดง (ทองชมพู) ภาคเทา (อัพยากฤต)  หรือ เป็นจักรพรรดิ และ/หรือ กายสิทธิ์ สีต่างๆ ตามสายธาตุสายธรรม เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง สีชมพู สีม่วง สีส้ม และสีอื่นๆ ก็จะมีกายต้นขั้วเป็นสีนั้นๆ ตามภาคที่มาแห่งตน ซึ่งต้นสายธาตุสายธรรม ส่งมนุษย์ท่านนั้นๆ มาทำงานภารกิจของธาตุธรรม มาสร้างบารมี และเพื่อปลดเปลื้องทุกข์ให้สรรพสัตว์ เป็นต้น ดังเช่นพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย จะอยู่ในกรณีนี้เป็นส่วนมาก
   2.กายสิทธิ์มีทั้งแบบที่บำเพ็ญพัฒนาตนขึ้นไปเป็นพระจักรพรรดิ โดยมักจะเริ่มจากรูปลักษณ์เหมือนฤาษีชีไพร ซึ่งฤาษีชีไพรท่านมีวิชาอัดตัวเองเข้าไปเป็น “กายสิทธิ์” หรือ “กายจำลอง” ของตน สถิตอยู่ในวัตถุ เช่นคดหินต่างๆ เพราะต้องการบำเพ็ญบารมีต่อ หรือเพื่อให้ตนสามารถอยู่ต่อไปยืดยาวได้อีก ในสภาพนั้น จนกว่าจะพบอมตธรรม และ/หรือ ได้ทำงานที่แท้จริง และ/หรือ พบผู้ทรงคุณที่มีวาสนาบารมีแก่กล้า เป็นการเปิดโอกาสให้
   กายสิทธิ์มีส่วนช่วยงานการ ที่จะนำไปสู่การสิ้นสุดสังสารวัฏ ฤาษีชีไพรที่มีญาณแก่กล้า บ้างก็ทราบว่า ธรรมเบื้องต้นนั้น ยังไม่เป็นที่สุดอย่างแท้จริง นี่คือการบำเพ็ญจาก “ล่างขึ้นบน” ซึ่งมีส่วนดีที่ความแก่กล้าจากการส่งสมอบรมอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฌานที่แก่เข้มข้น โดยมากแล้ว ฤาษีชีไพรที่ใช้วิชาอัดตัวเองเข้าไปเป็นกายสิทธิ์สถิตอยู่ในวัตถุแล้ว หรือเมื่อหมดอายุขัยแล้ว จิตวิญญาณของท่านก็ไปเกิดใหม่ โดยส่วนใหญ่จะไปอยู่พรหมโลกกัน เหลือเพียงกายสิทธิ์ที่สถิตอยู่ในวัตถุทิ้งเอาไว้ในโลกมนุษย์ สามารถทำงานแทนตนเองได้ต่อไป โดยฤาษีชีไพรที่สำเร็จเป็นพรหมนั้น จะควบคุมดูแลกายสิทธิ์ของตน ที่ฝากเอาไว้ในโลกมนุษย์ เพื่อให้ทำงานจนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คือการ “หมดสิ้นสังสารวัฏ” นั่นเอง ซึ่งเจ้าของกายสิทธิ์ประเภทนี้สามารถที่จะเรียกกายสิทธิ์ของตน กลับคืนมารวมกับตนเองได้ในภายหลังจากที่งานสำเร็จแล้ว ซึ่งพระดาบสและฤาษีชีไพร รวมถึงผู้รู้วิชชาบางท่าน นิยมทำกายจำลอง อัดเป็นกายสิทธิ์ไว้ในวัตถุต่างๆ อย่างเช่น คดหิน มีให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก ฝากเอาไว้แด่ชนรุ่นหลังได้พึ่งพาอาศัยใช้ประโยชน์ และเพื่อทำภารกิจของธาตุธรรมคือการทำที่สิ้นสุดแห่งวัฏสงสาร คล้ายๆ กับพระเกจิอาจารย์ในปัจจุบัน ที่นิยมสร้างพระเครื่อง และเครื่องราง ของขลัง ในวาระโอกาสต่างๆ เพื่อให้ลูกศิษย์และผู้ที่นับถือ ได้พึ่งพาอาศัยใช้ประโยชน์ โดยกายสิทธิ์จะมีวิชชายืนพื้นตามเดิมของผู้จำลอง และมีพลังหรือกำลังมากน้อยตามกำลังของผู้จำลองที่เติมเอาไว้ รวมถึงมีความสามารถ ความชำนาญ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ตามอย่างของผู้จำลองด้วย เช่นกายสิทธิ์บางชนิด เก่งเรื่องคุ้มครองป้องกันภัย บางชนิดเก่งเรื่องรักษาโรค บางชนิดเก่งเรื่องโภคทรัพย์สมบัติ ฯลฯ
   3.กายสิทธิ์อีกชนิดคือ กายสิทธิ์ที่ผลิตขึ้นจากภพศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีพระจักรพรรดิผู้ใหญ่ (กายทิพย์ธรรม) เป็นผู้ปกครอง ซึ่งภพศักดิ์สิทธิ์นี้ มีเครื่องผลิตกายสิทธิ์ อุปมาได้กับโรงงานผลิต “แอนดรอยด์” ในเมืองมนุษย์ โดยอาศัยบุญศักดิ์สิทธิ์ในการผลิต และตั้งยนตร์กลไกขึ้น เมื่อผลิตแล้ว ก็กระจายส่งไปอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาและให้ความสุขแก่มนุษย์ ซึ่งภพมารเขาก็มีการผลิตกายสิทธิ์ในทำนองเดียวกันนี้ เพื่อให้กายสิทธิ์
มารก่อให้เกิดทุกข์เกิดโทษแก่เหล่าสัตว์ ซึ่งกายสิทธิ์ที่ผลิตขึ้นจากภพศักดิ์สิทธิ์นี้ ปกติแล้วจะ “เบา” กว่ากายสิทธิ์ที่บำเพ็ญตนขึ้นมาตามลำดับ
  กายสิทธิ์ที่บำเพ็ญหรือแก่กล้าขึ้นจนเป็น “กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ” แล้ว มีลำดับขั้นดังนี้
   (1) พระจุลจักรพรรดิ
   (2) พระมหาจักรพรรดิ
   (3) พระบรมจักรพรรดิ
   (4) พระอุดมบรมจักรพรรดิ
   (5) พระเดชอุดมบรมจักรพรรดิ หรือ พระอเนกอุดมบรมจักรพรรดิ
   (6) พระไพบูลย์จักรพรรดิ
   (7) พระไพศาลจักรพรรดิ
   ซึ่งกายสิทธิ์จะอบรมบ่มบารมีในตัวเรื่อยมา หรือเมื่อมาอยู่กับผู้ทรงวิชชา หรือมนุษย์ผู้ทรงคุณ ที่สั่งสมบุญสร้างบารมี หรือทำกิจการงานอันเป็นภารกิจของธาตุธรรม กายสิทธิ์ก็มีส่วนช่วยเอื้ออำนวยให้เจ้าของอยู่ดีมีสุข มีความปลอดภัย บำเพ็ญภาวนาได้ดีขึ้น และกายสิทธิ์ก็จะได้บุญบารมีเพิ่มเติม ไปพร้อมๆ กับเจ้าของ หรือถ้าเจ้าของเจริญภาวนา เข้าญาณ เข้าวิชชา ศึกษาวิชชา กายสิทธิ์ก็จะได้วิชชาเพิ่มเติมตามเจ้าของไปด้วย ถ้าหากทำวิชชาร่วมกัน เมื่องานสำเร็จตามลำดับขั้น หรืองานสร้างบารมี เจริญภาวนา ก้าวหน้า กายสิทธิ์ก็เลื่อนขั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ มีความเก่งกล้า มีความแก่กล้า มากยิ่งขึ้นไปด้วย เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ทรงวิชชา หรือเจ้าของกายสิทธิ์ด้วยกันยิ่งๆ ขึ้นไปอีก  ซึ่งจักร    พรรดิยังแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามภพภูมิ คือ:-
  (ก) จักรพรรดิของมนุษย์
  (ข) ทิพยจักรพรรดิ กายสิทธิ์พระจักรพรรดิที่ดูแลภพเทวดา
  (ค) พรหมจักรพรรดิ กายสิทธิ์พระจักรพรรดิที่ดูแลภพของพรหม/อรูปพรหม 
  (ง) พุทธจักรพรรดิ กายสิทธิ์พระจักรพรรดิที่ดูแลเมืองพระนิพพาน
  (จ) ประเภทอื่นๆ
   มีกายสิทธิ์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่ง “ภพศักดิ์สิทธิ์” ส่งลงมาอยู่ในโลกมนุษย์แล้วหล่อเลี้ยงไว้มาเรื่อยๆ พร้อมทั้งปลูกเรือนหยาบ บ่มจนเติบโตเป็นกายสิทธิ์แก่กล้าขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หินแร่ ควอทซ์ และแก้วโป่งข่ามและผลึกต่างๆ ทั้งนี้ เพราะทางธาตุธรรมเจ้าของกายสิทธิ์ ต้องการลองหลายๆวิธี เพื่อทำงานการที่จะนำไปสู้การหมดสิ้นวัฏสงสารได้ โดยกายสิทธิ์ประเภทนี้ จะมาเป็นกำลังให้กับผู้ทรงวิชชาท่านต่างๆ ในการประกอบวิชชา ให้มีกำลังและสรรพคุณต่างๆ พร้อมพรั่งขึ้น
   4. ผู้ทรงวิชชาสามารถ   ได้แก่:-
    (1) เชิญกายสิทธิ์จากที่อื่นหรือของตนมาซ้อนในวัตถุ อย่างเช่นลูกแก้วหลอม หรือพระของขวัญ
    (2) ใช้วิชชาของตนสร้างกายสิทธิ์แล้วอัดลงไปในวัตถุ อย่างเช่นลูกแก้วหลอม หรือพระของขวัญ ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ทรงวิชชาจะต้องมีวิชชาแก่กล้าพอสมควร แต่ส่วนใหญ่แล้ว กายสิทธิ์ที่ผู้ทรงวิชชาสร้างขึ้นได้ มักจะเป็นกายสิทธิ์อ่อนแก่ตามกำลังของผู้ทรงวิชชา หรือเป็นพระจักรพรรดิชั้นต้นๆ
   (3) หากวัตถุมีกายสิทธิ์สถิตอยู่แล้ว ผู้ทรงวิชชาก็กลั่นกายสิทธิ์ให้สะอาดบริสุทธิ์ และสอนวิชชาให้กับกายสิทธิ์เพื่อทำงานต่างๆ มีการคุ้มครองป้องกันภัย, ตามสมบัติ, รักษาโรค เป็นต้น รวมถึงเติมบุญบารมีให้กายสิทธิ์นั้นๆ ซึ่งกายสิทธิ์มักจะก่อให้เกิดลางสังหรณ์กับเจ้าของ เมื่อจะมีเหตุสำคัญประการหนึ่งประการใดเกิดขึ้น ในกรณีที่เจ้าของยังไม่มีวิชชาหรือไม่มีรู้มีญาณ แต่ถ้ามีแล้วก็จะมาแจ้งให้ทราบโดยตรง
   5. กายสิทธิ์ มีทั้งที่อยู่ในวัตถุ และที่อยู่ในตัวมนุษย์ และสัตว์ เมื่อมีกายสิทธิ์อยู่มาก วัตถุนั้นก็มีกำลังมาก ถ้ามนุษย์ หรือสัตว์ มีกายสิทธิ์สถิตอยู่ในตัวมาก ก็จะมีกำลังความสามารถต่างๆ มากขึ้นไปตามลำดับ บางคนมีกายสิทธิ์มาแต่เดิมไม่มาก แต่เมื่อมีวิชชา หรือรู้จักผู้ทรงวิชชา ก็ “ทับทวี” กายสิทธิ์ในตัวให้มากขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งปริมาณกายสิทธิ์จะมากขึ้นจริง แต่ว่า “เบา” หรือก