๑.พระคาถาอาการวัตตาสูตร

 
 

                พระคาถาอาการวัตตาสูตร

          พระคาถาอากาวัตตาสูตร มี  ๑๗  บท
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )

  พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

  ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

  ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

  ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

  ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

  ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

  ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

  ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
  เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะ


  ๑.อิติปิโส ภะคาวา อะระหัง
อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต
อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ

อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง
อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ
อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวาติ
พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม ฯ

  ๒.อิติปิโส ภะคะวา อภินิหาระ ปาริมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
อะภินิหาระวัคโค ทุติโยฯ

  ๓.อิติปิโส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริณามะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโยฯ

  ๔.อิติปิโส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ ฯ

  ๕.อิติปิโส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม ฯ

  ๖.อิติปิโส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ ฯ

  ๗.อิติปิโส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตังตังชานะหะนัง ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะภิญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโมฯ

  ๘.อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มะโนมยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจารณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
วิชชาวัคโค อัฏฐะโม ฯ

  ๙.อิติปิโส ภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปาหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริญญา ปะหานะ สัจฉิกิริยา ภาวนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญานะ ปาระมิสัมปันโน
ปะริญญาวัคโค นะวะโม ฯ

  ๑๐.อิติปิโส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อินทะรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มะหาปุริสะกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาวะระญาณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโมฯ

  ๑๑.อิติปิโส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สัตตานัง นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะโรปะริยัตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จุตูปะปาตะญานะ ปาระมิสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน 
อิติปิโส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโมฯ

  ๑๒.อิติปิโส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานัง ปะกะติสะทัสสานัง หัตถีนัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา คุณะปาระมี สะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
กายะพะละวัคโค ทวาทะสะโมฯ

  ๑๓.อิติปิโส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อุสสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
ถามะพะละวัคโค เตระสะโมฯ

  ๑๔.อิติปิโส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พุทธัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พุทธัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปาระมิ อุปะปาระมิ ปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
จริยาวัคโค จะตุทะสะโม ฯ

  ๑๕.อิติปิโส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตูสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
ลักขะณะวัคโค ปัญจะทะสะโม ฯ

  ๑๖.อิติปิโส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา คะตัฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโมฯ

  ๑๗.อิติปิโส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จะตุพรหมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จะตุพรหมะวิหาระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริยันตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สัพพัญญุตตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สัพพัญญุตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม อาการะวัตตะสุตตัง นิฏฐิตัง ฯ
     แปลคาถาอารวัตตาสูตร
   พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า
  คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่ ๑
  แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่นทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลกเป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยมเป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้ง จิตทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรมพระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
  คำแปลอภินิหารวรรคที่ ๒
  แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬารพระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณพระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจโชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์
  คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่ ๓
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมีมีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงามพระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ
  คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่ ๔
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิพระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง
  คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่ ๕
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริงพระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส
  คำแปล ปาระมิวรรคที่ ๖
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญาพระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตาพระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้
  คำแปล ทสบารมีวรรคที่ ๗
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ
พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิตพระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต
  คำแปล วิชชาวรรคที่ ๘
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิพระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชาพระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า
  คำแปล ปริญญาณวรรคที่ ๙
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหาพระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนาพระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ
  คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่ ๑๐
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมีมีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมีมีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปดพระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล
  คำแปล ทศพลญาณวรรคที่ ๑๑
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะพระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง
รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลายพระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้นแห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
  คำแปล กายพลวรรคที่ ๑๒
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ
พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญาตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ
  คำแปล ถามพลวรรคที่ ๑๓
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรงพระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายในพระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะพระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้
  คำแปล จริยาวรรคที่ ๑๔
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ
พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลกพระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประ พฤติ โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง
พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี
  คำแปล ลักขณวรรคที่ ๑๕
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้าพระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลายพระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป
  คำแปล คตัฏฐานวรรคที่ ๑๖
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป
พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนักพระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์
  คำแปล ปเวณิวรรคที่ ๑๗
   แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี
พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐพระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวงพระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย

   อานิสงส์ของพระคาถาอาการวัตตาสูตร

     พระคาถาอาการวัตตาสูตร
อานิสงค์พระอาการวัตตาสูตรโดยสังเขป
  พระอาการวัตตาสูตรนี้ ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนานพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เป็นพระพุทะเจ้า มีปัญญามากเพราะเจริญพุทธมนต์บทนี้
  ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ เจริญได้ทุก ๆวัน จะเห็นผลความสุขเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่า ผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ครั้งหนึ่งจะคุ้มครองภัยอันตราย ๓๐ ประการ ได้ ๔ เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน
เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียน ได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการบูชา เคารพนับถือพร้อมทั้งไตรทวารก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใส จงกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร อันจะเป็นที่พักผ่อนพึ่งพาอาศัยในวัฏฏะกันดาร ดุจเกาะแลฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลาย ผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าของเราปัจจุบันนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงเจริญรอยตามพระสูตรนี้มาทุก ๆ พระองค์ จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่น ไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึง เป็นธรรมอันระงับได้โดยแท้ ในอนาคตกาล
  ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาตคือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เป็นวัชชกรรม ที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุม คือ สัญชีพนรก อุสุทนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉานกำเนิดไซร้ ถ้าได้ท่องบ่นจำจนคล่อง
ปาก ก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติภูมินานถึง ๙๐ แสนกัลป์ ถ้าผู้นั้นระลึกตามอยู่เนือง ๆ ก็จะสำเร็จไตรวิชชา และอภิญญา ๖ ประการ ยังมีทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์ ดุจองค์มเหสักกเทวราช ถ้ามีการรีบร้อนจะออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรูหมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี่เป็นทิฏฐธรรมเวทนียนิสงส์ปัจจุบันทันตา ในสัมปรายิกานิสงส์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้แล้ว เมื่อสืบขันธะประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติหิรัญรัตนมณีเหลือล้น ขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการวิภูษิตพรรณต่าง ๆ จะมีพละกำลังมาก จะมีเรี่ยวแรงขยันต่อการอยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ

   ทั้งที่ฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ มีจักษุประสาทรุ่งเรื่องงามไม่วิปริต แลเห็นทั่วทิศซึ่งสรรพรูปทั้งปวง และจะได้เป็นพระอินทร์ ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ ๓๖ กัลป์ โดยประมาณและจะได้เป็นพระเจ้าบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระ ในทวีปใหญ่ ๔ มีทวีปน้อย ๒๐๐๐ เป็นบริการ นาน ถึง ๓๖ กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยปราสาทที่สร้างด้วยด้วยทองคำที่ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งพระเจ้าจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน ถ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร อานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไป ให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณ อวสานที่สุดชาติก็ได้บรรลุพระนิพพาน

อนึ่ง ถ้ายังไม่ได้เข้าถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉานกำเนิด และมหานรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุม ช้านานถึง ๙๐ แสนกัลป์ และจะไม่ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุภโตพยัญชนะอันมีเพศเป็น ๒ ฝ่าย จะไม่ไปบังเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทย ที่เป็นอภัพพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใด ๆ จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองคำธรรมชาติ เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรคาพยาธิเบียดเบียน สัพพะอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สัพพะอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกาย ก็จะสงบระงับดับคลายลง ด้วยคุณานิสงส์ ผลที่ได้สวดมนต์ได้สดับฟังพระสูตรนี้ ด้วยประสาทจิตผ่องใส เวลามรณสมัยใกล้ตายจะไม่หลงสติ จะดำรงไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบ ซึ่งพระสูตรอันเจือปนด้วยพระวินัยปรมัตถ์ มีนามบัญญัติชื่อว่า "อาการวัตตาสูตร" มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้ จบอานิสงส์สังเขป

    บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลายเทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้
เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะ จะได้สวดกัน
ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหวเหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะแต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก ๒ วัน ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้ พอรุ่งขึ้นในบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตรเอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจ แบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐาน เลยไม่ได้สวดเลย ท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้มีอานุภาพดี

   ลักษณะของสวรรค์ชั้นดุสิต

   สวรรค์ชั้นดุสิตหรือดุสิตบุรี ดีอย่างไร?
   -ทำไมพระบรมโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและนักสร้างบารมีทั้งหลายถึงเลือกที่จะอยู่ชั้นนี้ ?
   -สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ มีความกว้างใหญ่ไพศาลมาก มีท้าวสันดุสิต ซึ่งบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว เป็นผู้ปกครองภพ ที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดุสิตอยู่สูงขึ้นไปจากยอดเขาสิเนรุ อยู่ในอากาศเหนือสวรรค์ชั้นยามา ๔๒๐๐๐ โยชน์ บนสวรรค์จะไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทำให้ไม่มีเงา ไม่มีมุมมืดบนสวรรค์ อยู่ได้ด้วยความสว่างจากวัตถุสิ่งของต่างๆ เช่น กายของเหล่าเทวดา วิมาน สวน สระ สิ่งแวดล้อมต่างๆ มีแต่ความสว่าง จึงไม่ต้องอาศัยดวงอาทิตย์
   ลักษณะของสวรรค์ชั้นดุสิต จะไม่ได้กลมอย่างโลกมนุษย์ แต่จะกลมแบบราบ ถ้ามองจากสวรรค์ชั้น ยามาขึ้นไป จะมองเห็นเป็นแสงสว่าง นุ่มเนียนตา และถ้ามองจากสวรรค์ ชั้นดุสิตขึ้นไป ก็จะเห็นแสงสว่างนุ่ม เนียนตาของสวรรค์ชั้นนิมมานรดี หรือถ้ามอง
ลงไปที่ดาวดึงส์ก็จะเห็น ว่ามีขนาดเล็กนิดเดียว เพราะสวรรค์ชั้นดุสิตใหญ่กว่า
   โครงสร้างของสวรรค์ชั้นดุสิต มีวิมานของท้าวสันดุสิตเป็นศูนย์กลาง ของสวรรค์ชั้นนี้ แล้วแบ่งออกเป็น ๔ เขต วนโดยรอบวิมานของท้าวสันดุสิต ดังนี้
   เขตที่ ๑ เป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี ซึ่งอยู่ชั้นในสุด
   เขตที่ ๒ เป็นที่อยู่ของนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ซึ่งวงบุญพิเศษของผู้ที่มีมโนปณิธานจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ให้หมดจนกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม ก็จะอยู่ในเขตนี้ด้วย
   เขตที่ ๓ เป็นที่อยู่ของอนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับ พยากรณ์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังต้องสร้างบารมีอีกมาก
   เขตที่ ๔ เป็นที่อยู่ของผู้ที่ทำกุศลมาก และมีกำลังบุญมากพอที่จะได้อยู่สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เป็นเขตทั่วไป นอกเหนือจาก ๓ เขตแรก สวรรค์ชั้นดุสิตนี้มีความพิเศษกว่าสวรรค์ชั้นอื่นอยู่หลายประการ หนึ่งในความ พิเศษนั้นก็คือ เป็นที่อยู่ของเหล่าพระบรมโพธิสัตว์
ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตจำนวนมาก และเหล่าเทพบุตรที่สร้างบารมีเป็นพระสาวก เพื่อตามพระบรมโพธิสัตว์ ลงมาตรัสรู้ในอนาคต แล้วทำไมพระบรมโพธิสัตว์ หรือบัณฑิตทั้งหลายจึงปรารถนาที่จะได้มาบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ ทั้งที่กำลังบุญของแต่ละท่านนั้นมากมาย ปรารถนาที่จะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นใดก็ได้ เหตุที่ท่านเลือกสวรรค์ชั้นนี้ มีข้อสังเกตอย่างน้อย ๑ ประการ คือ:-
   ๑. พระโพธิสัตว์สามารถจุติ ลงมาได้ตามใจปรารถนา หมายความ ว่า โดยปกติเทวดามีเหตุแห่งการจุติ หลายประการ เช่น หมดบุญก็มี หมดอายุขัยก็มี จุติเพราะความโกรธก็มี แต่เหล่าพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เมื่อจะจุติลงมา สร้างบารมี
หรือมาบังเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะนั่งทำสมาธิ อธิษฐานจิต สามารถดับวูบลงมาเกิด ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ของ ชาวสวรรค์ชั้นอื่นๆ
   ๒. เนื่องจากสวรรค์ชั้นนี้ มีแต่บัณฑิต มีแต่พระบรมโพธิสัตว์ ล้วนแต่มีอัธยาศัยคล้ายคลึงกัน ที่จะฝึกฝนตนเองและช่วยสรรพสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพานไม่ประมาทในการดำรงชีวิตเหมือนชาวสวรรค์ชั้นอื่นๆ มักจะคบหาบัณฑิต พูดคุยสนทนาธรรมกันเพื่อความ
เบิกบานใจ และหมั่นไปฟังธรรมในวันพระ ซึ่งท่านท้าวสันดุสิตจะเป็นผู้อัญเชิญพระบรมโพธิสัตว์ที่มีบุญบารมีมากมาแสดงธรรมให้ฟัง
   ๓. ขนาดอายุทิพย์ของสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ คือ ๔๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป พอเหมาะพอดีที่จะเสวยสุข เพราะท่านจะต้องลงมาสร้างบารมีต่อ ถ้ามี อายุขัยนานเกินไปจะทำให้เสียเวลา

   -ทำบุญอะไรจึงได้ไปสวรรค์ในแต่ละชั้นดุสิต ?
คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา เป็นโลกที่อยู่อาศัยของกายละเอียดอันเป็นทิพย์ ที่มีรัศมีสว่างไสวรอบกายตลอดเวลา มีทั้งหมด ๖ ชั้น เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอด
เวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์    วิมานปราสาทคือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน
   การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ เรื่อง ทานสูตร สรุปย่อได้ดังนี้
   เกิดบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
มีจาก หลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ทำบุญ ไม่ค่อยเป็นไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสม บุญนานๆ ทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือ ทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อน
ก็ไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสิเนรุ สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนที่มีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่
๔ ท่าน คือ ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา ๓ พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์ ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์
   เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
คือเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ กระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริ โอตตัปปะด้วยเมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง ๓๓ องค์ โดยมีท้าวสักกเทวราช หรือพระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมีพระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกเทวราช
   เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา
คือเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอดและรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไรก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็น ปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป
   เกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต
สวรรค์ชั้นดุสิต  หรือ ดุสิตบุรี คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาการสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยเมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงถัดจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป
  เกิดบนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
คือ เมื่อ ครั้งเป็นมนุษย์ เห็นผู้อื่นทำบุญแล้วได้รับ การยกย่อง ส่งเสริม จึงอยากจะทำบุญนั้นบ้าง อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อละโลกแล้ว จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไป
   เกิดบนสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไปความเป็นอยู่ของชาวสวรรค์แต่ละชั้น จะมีความประณีตยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับชั้น ถ้าใครทำบุญมามาก จนครบทุกอย่างดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ปรารถนาจะไปอยู่ ณ ที่ใด ก็สามารถจะไปสวรรค์ชั้นที่ต้องการได้ เหตุแห่งการกระทำที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นสาเหตุหลักๆ เป็นภาพรวมของการทำบุญที่ทำให้ไปเกิดในสวรรค์ในแต่ละชั้นแต่อาจ จะมีองค์ประกอบและปัจจัยอย่างอื่นเสริมอีกด้วย

   ธรรมที่จะทำให้ไปเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

    

      คาถาพระเจ้ามหาจักรพรรดิ        
   วิธีการสวดคาถามหาจักรพรรดิเพื่อปรับภพภูมิของตนเอง ขอให้ทำจิตน้อมรำลึกถึงพระพุทธรูปปางพระจักรพรรดิหรือพระพุทธรูปทรงเครื่องและเริ่มสวดคาถา 

   ตั้งนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ๓ จบ (กราบ ๓ ครั้ง แล้วสวดคาถามหาจักรพรรดิตามกำลังวันของผู้ที่เกิดในแต่ละวันดังนี้ คือ:-

   -อาทิตย์         สวด        ๖         จบ

   -จันทร์           สวด        ๑๕       จบ

   -อังคาร          สวด        ๘         จบ

   -วันพุธ           สวด        ๑๗      จบ

    -วันพฤหัส     สวด        ๑๙      จบ

   -วันศุกร์         สวด        ๒๑      จบ

   -วันเสาร์        สวด         ๑๐      จบ

     ๐นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี
จะมหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ ฯ  ขอสิ่งที่ข้าพเจ้าอธิษฐาน จงศักดิ์สิทธิ์ สำเร็จเป็นจริงโดยฉับพลันทันใจทุกประการ  อิมัง สัจจะวานัง อธิษฐามิ พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ ฯ

   หลังจากนั้นก็ให้เชิญพระเข้าตัว แผ่บุญปรับภพภูมิส่งวิญญาณด้วย บทสวดว่า "สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง  อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส ฯ (ว่า ๕ จบ)  แล้วกล่าวว่า "พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ"   ให้อธิษฐานจิตแผ่เมตตาออกไปให้กับดวงจิตวิญญาณเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จะระบุสถานที่ด้วยก็ได้   พระคาถานี้ศักดิ์สิทธิ์มากฯ  
           กรณียเมตตสูตร

     สวดแล้วเทวดารักษา ภูตผีปีศาจไม่รบกวน มีเสน่ห์เป็นที่รักของทั้งเทพ มนุษย์และภูตผีปีศาจ
         บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
   ๐ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนังยัมหิ
เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต
จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติเอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ  
     ประโยชน์ของบทขัดกรณียเมตตาสูตร
   ๐ใช้เป็นคาถาประจำวันเกิดของวันอังคาร  ให้สวดวันละ  ๘  จบ

       กะระณียะเมตตะสุตตัง
   ๐กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง
 อะภิสะเมจจะสักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ
อะนะติมานีสันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ

สัลละหุกะวุตติ  สันตินทะริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ

กุเลสุ อะนะนุคิทโธ  นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู

ปะเร อุปะวะเทยยุง  สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

   ๐เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสาทีฆา วา
เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลาทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเรภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา
นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะมาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

   ๐เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธเอตัง สะติง
อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ  ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา
ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ

          อานุภาพของพระปริตร

   ๐อานุภาพของพระปริตรจะแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางได้ มีแสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด

        การเจริญพระคาถาธารณปริตร
   ๐ความศักดิ์สิทธิ์เมื่อมีการสวดพระคาถาธารณปริตร อันเป็นบทสรรเสริญพระพุทธคุณอย่างย่อสั้น แต่สมบูรณ์ ทุกชีวิตวิญญาณของผู้สวดและผู้ฟัง แม้ทวยเทพต่างก็ชื่นชมเบิกบานมาก ที่ได้ยินพระคาถาอันทรงคุณเป็นเลิศนี้ หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ กล่าวว่าผู้ที่อาราธนามนต์พระปริตรบทนี้ทุกๆวัน อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง พร้อมกับเร่งบริจาคทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา จะสามารถรอดพ้นจากวิกฤติ มหาอุบัติภัยหรือภัยพิบัติโลก ที่จะบังเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ได้ อย่างน่าอัศจรรย์ และแม้ในที่สุด จะยังสามารถบรรเทาภัยพิบัติของโลกได้ ไม่มากก็น้อย โดยหลังจากเจริญ พระปริตบทนี้แล้ว ให้ตั้งจิตน้อมแผ่เมตตา แผ่คุณความดีบุญกุศลของเรา ที่ได้ทำมาตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ อุทิศให้กับเจ้ากรรมนายเวรของตนเอง และทุกชีวิตทั่วไตรโลกธาตุ อนันตจักรวาล ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันชาติ
         พระคาถาธารณปริตรมี ๙ บท
    ๐นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ จบ
   ๑.พุทธานัง ชิวิตตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ อันตะราโย กาตุง ตถา เม โหตุ
     อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญานัง
     อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง
     ปัจจุบันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง
   ๒.อิเมหิ ตีหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
     สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
     สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
     สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
   ๓.อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
    นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ นัตถิ ธัมมะเทสนายะ หานิ
    นัตถิ วิริยัสสะ หานิ นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ
    นัตถิ สมาธิธัสสะ หานิ นัตถิ วิมุตติยา หานิ
   ๔.อิเมหิ ทะวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
    นัตถิ ทะวา นัตถิ ระวา นัตถิ อัปผุฏฏัง นัตถิ เวคายิตัตตัง
    นัตถิ พะยาวะฏะมะโน นัตถิ อัปปฏิสังขารุเปกขา
   ๕.อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
    นะโม สัตตันนัง
    สัมมาสัมพุทธานัง นัตถิ ตะถาคะตัสสะ กายะทุจริตตัง
    นัตถิ ตะถาคะตัสสะ วจีทุจริตตัง
    นัตถิ ตะถาคะตัสสะ มะโนทุจริตตัง
    นัตถิ อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง
    นัตถิ อนาคตัง เส
    พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง นัตถิ ปัจจุบันนัง เส
    พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง
    นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
    นัตถิ สัพพัง วจีกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
    นัตถิ สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
    อิมัง ธาระณัง อะมิตัง อะสะมัง สัพพะสัตตานัง ตาณังเลณัง
    สังสาระ ภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง
   ๖.อิมัง อานันทะ ธาระณะปริตตัง ธาเรหิ วาเรหิ ปริปุจฉาหิ
    ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กะเมยยะ อุทะเกนะ ลัคเคยยะ อัคคีนะ
    ทะเหยยะ นานาภะยะวิโก นะ เอกาหาระโก นะ ทะวิหาระโก นะ
    ติหาระโก นะ จะตุหาระโก นะ อุมมัตตะกัง นะ มุฬะหะกัง
    มนุสเสหิ อะมนุสเสหิ นะ หิงสะกา
   ๗.ตัง ธาระณัง ปริตตัง ยถา กะตะเม
    ชาโล มหาชาโล ชาลิตเต มหาชาลิตเต ปุคเค มหาปุคเค
    สัมปัตเต มหาสัมปัตเต ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง
   ๘.อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง สัตตังสะเตหิ สัมมา
    สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง
    วัตเต อะวัตเต คันธะเว อะคันธะเว โนเม อะโนเม เสเว อะเสเว
    กาเย อะกาเย ธาระเณ อะธารระเณ
    อัลลิ มิลลิ ติลลิ มิลลิ โยรุกเข มหาโยรุกเข ภูตัง คะมะหิ
    ตะมังคะลัง
   ๙.อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง นะวะ นะ วุติยา สัมมา
    สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง  ทิฏฐิลา ทัณทิลา มันติลา โรคิลา ขะระลา
    ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะ  วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

       คำแปลพระคาถาธารณปริตร
   ๑.อันชีวิตแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อันใครๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ฉันใดขอชีวิตความเป็นอยู่แห่งข้าพเจ้า จงเป็นเหมือนเช่นกัน อันว่าญาณที่ไม่มีเครื่องกระทบของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญมีย่อมมีในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน
   ๒.อันว่ากายกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณ เป็นประธานเป็นไปตามญาณ
 อันว่าวจีกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็น  ประธานเป็นไปตามญาณ
 อันว่ามโนกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ
   ๓.อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของประโยชน์ที่ประสงค์ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๖ ประการเหล่านี้
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งการแสดงธรรม ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของความเพียร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของวิปัสสนาญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งกามาวจรและรูปาวจรวิมุตติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   ๔.อันว่าการพูดเล่น ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบด้วยคุณธรรมทั้งหลาย ๑๒  ประการเหล่านี้
   อันว่าการพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความไม่แพร่หลายในเญยยะธรรม ๕ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการกระทำใดๆ อย่างผลุนผลัน โดยไม่การพิจารณาเสียก่อน ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   อันว่าความมีใจวุ่นวายด้วยกิเลส ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการกระทำที่ไม่มีอุเบกขาในเตภูมิสังขาร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   ๕.อันว่าความเคารพนอบน้อม ขอจงมีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๑๘
ประการเหล่านี้
   อันว่ากายทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
   อันว่าวจีทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
   อันว่ามโนทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
   อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอดีต
   อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในปัจจุบัน
   อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอนาคต
   อันว่ากายกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   อันว่าวจีกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   อันว่า ธารณปริตร นี้ ไม่มีเครื่องเทียบ ไม่มีเครื่องเสมอเหมือน เป็นที่ต่อต้าน เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์ ผู้ที่กลัวภัยในสังสารวัฏทั้งหลาย อัคคัง ประเสริฐ มหาเตชัง มีเดชมาก
   ๖.ดูกรอานนท์ ท่านจงท่องจดจำ สอบถาม ซึ่งธารณปริตรนี้
    อันว่ากายของผู้ท่องสวดมนต์ธารณปริตรนี้ ไม่พึงตายด้วยพิษงู พิษนาค
    ไม่พึงตายในน้ำ อันว่าไฟไม่พึงไหม้เป็นผู้พ้นภัยพิบัติต่างๆ
    ใครคิดทำร้ายในวันเดียวก็ไม่สำเร็จ ใครคิดร้ายทำลายในสองวัน สามวัน สี่วัน...ก็ไม่สำเร็จ
    ไม่พึงเป็นโรคหลงลืม ไม่พึงเป็นบ้าใบ้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถเบียดเบียนได้
   ๗.อันว่าธารณปริตรนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ
    ชาโล มีอานุภาพเหมือนพระอาทิตย์ ประชุมกัน ๗ ดวง ที่ขึ้นมาในเวลาโลกาพินาศ
    มหาชาโล มีอานุภาพเหมือนมุ้งเหล็ก ที่สามารถป้องกันภัยจาก เทวดา อินทร์ นาค ครุฑ ยักษ์ เป็นต้น
    ชาลิตเต มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย
    มหาชาลิตเต มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ โรคันตรกัป, สัตถันตรกัป และทุพภิกขันตรกัป
    มีอานุภาพให้พ้นจากโลกต่างๆ ในเวลาปฏิสนธิคือ การเป็นใบ้ เป็นพิการ เป็นคนหูหนวก
    อีกทั้งไม่พึงตกต้นไม้ ตกเหว ตกเขาตาย สามารถได้สมบัติที่ยังไม่ได้
    ทรัพย์สมบัติที่ได้มาแล้วก็จะเจริญขึ้นโดยความเป็นจริง สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง
   ๘.ดูกรอานนท์ อันธารณปริตร ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสไว้พึงสมาคมคนดี ไม่พึงสมาคม
    คนชั่ว  พึงนำมาซึ่งกลิ่นและรสอันเป็นธรรม พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจดี ไม่พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจร้าย พึงทำกายให้เป็นกาย
    ดี พึงนำมาแต่สิ่งอันเป็นกุศล ไม่ถึงนำมาซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล พึงฟังแต่สิ่งที่ดีไม่พึงฟังสิ่งที่ไม่ดี พึงเห็นแต่นิมิตดี ไม่ถึง  เห็นนิมิตร้าย
    โยรุกเข ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นขึ้นมาได้
    มหาโยรุกเข ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ ก็ทำให้เจริญงอกงามโดยความเป็นจริง
    สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง
   ๙.ดูกรอานนท์ อันธารณปริตรนี้ สามารถรู้ความคิดร้ายของผู้อื่น
    อาวุธต่างๆ มีเครื่องประหาร เช่น มีด หอก ปืน ไฟ เป็นต้น ไม่สามารถทำอันตรายได้
    มันติลา สามารถทำน้ำมนต์คาถา ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น สามารถประหารโรคต่างๆได้   และโรคร้ายแรงต่างๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ทุพพิลา

   สามารถหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัดด้วยอำนาจแห่งสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเถิด ฯ

                  พระคาถาชินบัญชร
   ๐พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สืทธิ์  ได้รับการตกทอดมาจากประเทศศรีลังกา  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พรหมรังสี)  แห่งวัดระฆังโฆสิตารามวรมหา วิหาร  กรุงเทพมหานคร ได้ค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นจนมีเอกลักษณ์เป็นพิเศษ   ได้เนื้อความถูกต้องสมบูรณ์ เมื่อแปลออกมาแล้วจะมีแต่สิ่งที่เป็นศิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาเป็นอย่างยิ่ง
   ๐พระคาคาชินบัญชรนี้เป็นคาถาอันเชิญเอาพุทธานุภาพ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้ผ่านมาแล้วทั้งหลาย ตลอดจนได้อัญเชิญเอาพระสูตรอันเป็นพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มารวมกันเป็นกำแพงแก้วล้อมรอบคุ้มครองป้องกันผู้สวดภาวนาตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญจนถึงฝ่าเท้าไม่ให้มีเหตุเภทภัยอันตะรายใดๆมาเบียดเบียนได้
   ๐ผู้ใดได้สวดภาวนาคาถาชินบัญชรเป็นประจำทุกวัน ผู้นั้นก็จะเจริญด้วยศิริมงคลและความสุขสมบูรณ์เจริญพูนผลด้วย  ลาภ  ยศ  สรรเสริญสุข  ศัตรูหมู่มารทั้งหลายก็จะไม่มากล้ำกราย ไปทิศใดก็จะมีแต่คนนิยมชมชอบเกิดลาภผลพูนทวี  ขจัดเภทภัยจากภูตผีปีศาจตลอดจนคุณไสย์ต่างๆได้  พระคาถาชินบัญชรนี้ยังใช้ทำน้ำมนต์รักษาโรคภัยไข้เจ็บและกำจัดปัดเป่าเสนียดจัญไรได้ดีอีกด้วย
  ๐ถ้าจะออกเดินทางไปไปทำธุรกิจใดๆ ให้สวดพระคาถาชินบัญชรนี้ ๑๐ จบ ก่อนไป  ธุรกิจนั้นก็จะสำเร็จผลตามเป้าหมาย  แต่ต้องเป็นเรื่องที่ถูกตัองศีลธรรมอันดีงามเท่านั้น  เรื่องที่ผิดศีลธรรมจะไม่ประสบผลสำเร็จ
  อนึ่งผู้ใดป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่หมอรักษาไม่หาย  เช่น โรคมะเร็ง  โรคเบาหวาน  โรคอัมพฤกษ์อัมพาต ให้สวดคาถาชินบัญชรวันละ ๑๐ จบ ก่อนสวดให้หาขันน้ำมนต์มาหนึ่งขันเอาน้ำใส่จนเกือบเต็มตั้งไว้ตรงหน้าแล้วจุดเทียนตั้งไว้บนขอบขัน ๓ เล่ม  เอาดอกมะลิหอม๙ ดอกใส่ลงไปในขันน้ำมนต์ แล้วจึงระลึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์โตให้ท่านมาช่วย
ทำน้ำมนต์ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เดชรักษาโรคร้ายให้หายไป  ต่อจากนั้นให้ว่า นะโม  ๓  จบ   อิติปิโสอีก ๙ จบ  ต่อจากนั้นให้สวดพระคาถาชินบัญชรว่า

           พระคาถาชินบัญชร  มี  ๑๕  บท

    ๐ปุตตะกาโม  ละเภปุตตัง               ธะนะกาโม  ละเภธะนัง
อัตถิกาเย  กายะญายะ                       เทวานัง  ปิยะตัง  สุตะวา
อิติปิโส  ภะคะวา  ยะมะราชาโน           ท้าวเวสสุวัณโณ
มะระณัง  สุขัง  อะระหัง                     สุคะโต  นะโมพุทธายะ ฯ
   ๑.ชะยาสะนากะตา  พุทธา              เชตะวา  มารัง  สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง  ระสัง                        เย  ปิวิงสุ  นะราสะภา
   ๒.ตัณหังกะราทะโย  พุทธา            อัฏฐะวีสะติ  นายะกา
สัพเพ  ปะติฏฐิตา  มัยหัง                   มัตถะเก  เต  มุนิสสะรา
   ๓.สีเส  ปะติฏฐิโต  มัยหัง                พุทโธ  ธัมโม  ทะวิโลจะเน
สังโฆ  ปะติฏฐิโต  มัยหัง                    อุเร  สัพพะคุณากะโร
   ๔.หะทะเย  เม  อะนุรุทโธ                สารีปุตโต  จะ  ทักขิเณ
โกณฑัญโญ  ปิฏฐิภาคัสะมิง              โมคคัลลาโน  จะ  วามะเก
   ๕.ทักขิเณ  สะวะเน  มัยหัง              อาสุง  อานันทะราหุโล
กัสสะโป  จะ  มะหานาโม                    อุภาสุง  วามะโสตะเก
   ๖.เกสะโต  ปิฏฐิภาคัสะมิง               สุริโย  วะ  ปะภังกะโร
นิสินโน  สิริสัมปันโน                          โสภิโต  มุนิ  ปุงคะโว
   ๗.กุมาระกัสสะโป  เถโร                  มะเหสี  จิตตะวาทะโก
โส  มัยหัง  วะทะเน  นิจจัง                  ปะติฏฐาสิ  คุณากะโร
   ๘.ปุณโณ  อังคุลิมาโล  จะ              อุปาลี  นันทะสีวะลี
เถรา  ปัญจะ  อิเมซาตา                      นะลาเฏ  ติละกา  มะมะ
   ๙.เสสาสีติ  มะหาเถรา                    วิชิตา  ชินะสาวะกา
เอเตสีติ  มะหาเถรา  ชิตะวันโต           ชิโนระสา  ชะลันตา
สีละเตเชนะ  อังคะมังเคสุ                   สัณฐิตา
   ๑๐.ระตะนัง  ปุระโต  อาสิ                ทักขิเณ  เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง  ปัจฉะโต  อาสิ                     วาเม  อังคุลิมาละกัง
   ๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญ  จะ            อาฏานาฏิยะ  สุตตะกัง
อากาเส  ฉะทะนัง  อาสิ                       เสสา  ปาการะสัณฐิตา
   ๑๒.ชินาณา  วะระสังยุตตา              สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา                        พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
   ๑๓.อะเสสา  วินะยัง  ยันตุ                อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต  เม  สะกิจเจนะ                      สะทา  สัมพุทธะปัญชะเร
   ๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ               วิหะรันตัง  มะหีตะเล
สะทา  ปาเลนตุ  มัง  สัพเพ  เต            มะหาปุริสา  สะภา
   ๑๕.อิจเจวะมันโต  สุคุตโต  สุรักโข   ชินานุภาเวนะ  ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ  ชิตาริสังโฆ                สังฆานุภาเวนะ  ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต  จะ                 รามิชินะปัญชะเรติ ฯ

     วิธีเรียนเอาพระคาถาชินบัญชร
   ๑.ให้เรียนเอาในวันพฤหัสบดีข้างขึ้น
   ๒.เครื่องบูชาครูคือ ขัน ๕    ขันห้าคือ:-
       ๑.ดอกไม้ขาว  ๕  คู่
       ๒.ธุป  ๕  คู่
       ๓.เทียนขาว  ๕  คู่
    -เมื่อเรียนเอาให้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเสียก่อน
    -ตั้งครื่องบูชาครูไว้หน้ารูปภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์โตหรือรูปหล่อท่านก็ได้
    -ถ้าต้องการน้ำมนต์เพื่อรักษาโรคร้ายที่หมอรักษาไม่ได้ ให้ตั้งขันน้ำมนต์ต่อจากขัน ๕ ลงมา สิ่งที่ต้องเตรียมคือ:-
       ๑.ขันหนึ่งใบ ถ้ามีขันสำริดให้ใช้ขันสำริดเพื่อทำให้น้ำมนต์มีอานุภาพ
       ๒.ใบหนาด  ๗  ใบ  อย่าเอาใบใหญ่นักให้เอาใบเล็กๆ
       ๓.ขมิ้น  ๗  แว่น
       ๔.ส้มป่อย  ๗  ข้อ
    -ให้เอาเครื่องน้ำมนต์ใส่ลงไปในขันแล้วเติมน้ำใส่ขันกะให้น้ำเกือบเต็มขันคือให้ระดับน้ำห่างจากขอบขันประมาณ ๓ นิ้ว
     -เมื่อสวดครบ  ๙  วันแล้ว  ให้ตักเอาน้ำมนต์ในขันมาดื่มกิน  ก่อนกินให้อธิษฐานจิตให้สมเด็จพระพุฒาจารย์โตจงช่วยปัดเป่าโรคร้ายให้หายไปจากร่างกาย  ถ้าเป็นหลายโรคให้อธิษฐานทีละโรค เอาโรคที่ร้ายแรงที่สุดก่อน
     -วันหนึ่งให้ตักน้ำมนต์ขึ้นมาดื่มกินประมาณ  ๓  ครั้ง   คือ  ตอนเช้าหนึ่งครั้ง   ตอนเที่ยงหนึ่งครั้ง   ตอนเย็นก่อนเข้านอนอีกหนึ่งครั้ง  หมดแล้วให้เติมน้ำลงไปอีก  ส่วนเครื่องทำน้ำมนต์คือ  ใบหนาด ขมิ้น  ส้มป่อย  ๑  เดือนให้เปลี่ยนครั้งหนึ่ง  ให้ทำกินไปเรื่อยๆจนกว่าโรคร้ายจะหาย
     **คำเตือน
   ก่อนจะทำน้ำมนต์ให้ท่องคาถาให้ได้เสียก่อน จะทำให้น้ำมนต์มีความศักดิ์สิทธิ์  ในขณะสวดคาถาให้เพ่งสายตาลงไปที่น้ำมันต์ในขัน
         จบคาถาชินบัญชร    

            พระคาถาปาระมี ๓๐ ทัศ
   ๐พระคาถาปาระมี ๓๐ ทัศนี้  พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ท้าวสักกเทวราช หรือพระอินทร์ ณะ ที่พระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ต้นปาริกชาติ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ในคราวที่ทัาวสักกเทวราชทรงทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเรื่องของธรรมอันประเสริฐที่จะทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตามใหับรรลุมรรคผลนิพพาน  และขจัดเสียได้ซึ่งภัยพิบัติทั้งปวง  ที่จะเกิดขึ้นจาก  มนุษย์  อมนุษย์  และสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไปด้วยอำนาจแห่งการท่องบ่นสาธยาย  พระพุทธเจ้าทรงแสดงซึ่งยอดแห่งพระคาถานี้แก่ท้าวสักกเทวราชและเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ให้นำเอาไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นประโยชน์แก่ตนเอง
  ๐อนึ่งพระคาถาปาระมี ๓๐ ทัศนี้เป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลาย  ที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์  และพระอรหันต์ทั้งหลายได้เคยบำเพ็ญมาแล้วอย่างครบถ้วนสมบูรณ์  จึงจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ได้
  ๐พระคาถาปาระมี ๓๐ ทัศนี้  ผู้ใดได้สวดสาธยายเป็นประจำทุกวัน  ผู้นั้นก็จะมีปัญญา มีสง่าราศี มีโชคลาภ และมีสมบัติข้าวของเงินทองมาก  เวลานอนหลับก็จะฝันดีเป็นที่รักใคร่ของเทวดาและมนุษยทั้งหลาย  ภัยพิบัติทั้งหลายก็จะไม่มากล้ำกราย  จะปราถนาสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้นตามปราถนา
    พระคาถาปาระมี ๓๐ ทัศ มี ๑๐ บท  
    ๐ปัญญายุเปโต  สุคะโต  วีตะราคัง  ภาเสยยะ  เฉโก  ปัญญายะธะโร  โย  โลกะนาโถ
หิตัตถังวะ  จินเตนะ  หันตะวานะ  ปาปัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
    ๑.ทานะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
ทานะอุปะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
ทานะปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  อะนันตาทิคุณะสัมปันโน  คะโต  โส  ภะคะวา  อิติปิ
อะระหัง  วัตตะโส  ภะคะวา  อะระหันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ  อะระหันตัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
    ๒.สีละปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
สีละอุปะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
สีละปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ   อะระหันตาทิคุณะสัมปันโน  คะโต  โส  ภะคะวา  อิติปิ
สัมมาสัมพุทโธ  วัตตะโส  ภะคะวา  สัมมาสัมพุทธัง  สะระณัง  สัมมาสัมพุทธัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
    ๓.เนกขัมมะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
เนกขัมมะอุปะปาระมี    สัมปันโน  อืติปิโส  ภะคะวา
เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  อะนันตาทิคุณะสัมปันโน  คะโต  โส  ภะคะวา  อิติปิ
วิชชาจะระณะสัมปันโน  วัตตะโส  ภะคะวา  วิชชาจะระณะสัมปันนัง  สะระณัง  คัจฉามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
    ๔.ปัญญาปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
ปัญญาอุปะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
ปัญญาปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติโส  ภะคะวา
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  อะนันตาทิคุณะสัมปันโน  คะโต  โส  ภะคะวา  อิติปิ
สุคะโต  วัตตะโส  ภะคะวา  สุคะตัง  สะระณัง  สุคะตัง  สิระสา  นะมามื ฯ
    ๕.วิริยะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
วิริยะอุปะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
วิริยะปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
    พุุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  อะนันตาทิคุณะสัมปันโน  คะโต  โส  ภะคะวา  อิติปิ
โลกะวิทู  วัตตะโส  ภะคะวา  โลกะวิทู  สะระณัง  คัจฉามิ  โลกะวิทู  สิระสา  นะมามิ ฯ
    ๖.ขันติปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
ขันติอุปะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
ขันติปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  อะนันตาทิคุณะสัมปันโน  คะโต  โส  ภะคะวา  อิติปิ
อะนุตตะโร  วัตตะโส  ภะคะวา  อะนุตตะรัง  สะระณัง  คัจฉามิ  อะนุตตะรัง  สิระสา
นะมามิ ฯ
    ๗.สัจจะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
สัจจะอุปะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
สัจจะปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  อะนันตาทิคุณะสัมปันโณ  คะโต  โส  ภะคะวา  อิติปิ
ปุริสะทัมมะสารถิ  วัตตะโส  ภะคะวา  ปุริสะทัมมะสาระถิ  สะระณัง  คัจฉามิ  ปุริสะทัมมะ
สาระถิ  สิระสา  นะมามิ ฯ
    ๘.อะธิฏฐานะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
อะธิฏฐานะอุปะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
อะธิฏฐานะปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  อะนันตาทิคุณะสัมปันโน  คะโต  โส  ภะคะวา  อิติปิ
สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  วัตตะโส  ภะคะวา  สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  สะระณัง  คัจฉามิ
สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
    ๙.เมตตาปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
เมตตาอุปะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
เมตตาปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  อะนันตาทิคุณะสัมปันโน  คะโต  โส  ภะคะวา  อิติปิ
พุทโธ  วัตตะโส  ภะคะวา  พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ  พุทธัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
    ๑๐.อุเปกขาปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
อุเปกขาอุปะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
อุเปกขาปะระมัตถะปาระมี  สัมปันโน  อิติปิโส  ภะคะวา
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  อะนันตาทิคุณะสัมปันโน  คะโต  โส  ภะควา  อิติปิ
ภะคะวา  วัตตะโส  ภะคะวา  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ  ภะคะวันตัง  สิระสา  นะมามิ ฯ
    พุทโธ  สัพพัญญุตตะญาโณ  ธัมโม  โลกุตตะโร  วะโร  สังโฆ  มัคคะผะลัฏโฐจะ  อิจเจตัง  ระตะนัตตะยัง  สิระสา 
นะมามิ  เอเตสัง  อานุภาเวนะ  สัพพันตะราโย  วินัสสันตุ  สัพพะทา ฯ

     จบพระคาถาปาระมี ๓๐ ทัศ แต่เพียงเท่านี้

       

 
     

    

      

 

 

 

 

 

 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 140,125