หน้าที่ ๒ อาณาจักรสมัยอยุธยา

 

                   อาณาจักรสมัยอยุธยา

   

     พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา
   พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา มี ๕ ราชวงศ์ คือ:-
     ๑.ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ ๓ พระองค์
     ๒.ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ ๑๓ พระองค์
     ๓.ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ ๗ พระองค์
     ๔.ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ ๔ พระองค์
     ๕.ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ ๖ พระองค์
   รวมมีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ๓๓ พระองค์
  
รายพระชื่อพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา
         ราชวงศ์อู่ทอง ๑
    ๑.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) 
      -ประสูติ   พ.ศ.๑๘๕๕         ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๘๙๓          สวรรคต พ.ศ. ๑๙๑๒             ครองราชย์ได้   ๒๐  ปี
    ๒.สมเด็จพระราเมศวร                  
      -ประสูติ  พ.ศ.๑๘๘๕      ครองราชย์ปี  พ.ศ. ๑๙๑๒        สวรรคต  พ.ศ. ๑๙๑๓            ครองราชย์ได้  ไม่ถึง  ๑  ปี
     ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ๑
    ๓.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑  (ขุนหลวงพะงั่ว)    
      -ประสูติ  พ.ศ. 1853       ครองราชย์ปี  พ.ศ. ๑๙๑๓       สวรรคต  พ.ศ. ๑๙๓๑            ครองราชย์ได้   ๑๘  ปี
    ๔.สมเด็จพระเจ้าทองลัน (เจ้าทองจันทร์)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๑๙๑๗     ครองราชย์ปี  พ.ศ. ๑๙๓๑      ครองราชย์ได้   ๗ วัน     เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ได้น้อยที่สุด  
     ราชวงศ์อู่ทอง ๒
    ๕.สมเด็จพระราเมศวร    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๑๘๘๕             ครองราชย์ปี  พ.ศ. ๑๙๓๑          สวรรคต  พ.ศ. ๑๙๓๘           ครองราชย์ได้    ๗   ปี
    ๖.สมเด็จพระรามราชาธิราช    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๑๘๙๙     ครองราชย์ปี  พ.ศ. ๑๙๓๘          สวรรคต  พ.ศ. ๑๙๕๒           ครองราชย์ได้  ๑๕  ปี
     ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ๒
    ๗.สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๑๙๐๒      ครองราชย์ปี  พ.ศ. ๑๙๕๒         สวรรคต  พ.ศ. ๑๙๖๗           ครองราชย์ได้    ๑๕  ปี
    ๘.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๑๙๒๙      ครองราชย์  พ.ศ. ๑๙๖๗           สวรรคต  พ.ศ. ๑๙๙๑           ครองราชย์ได้   ๒๔ ปี
    ๙.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ    เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชนานที่สุด
      -เกิด  พ.ศ. ๑๙๗๔         ครองราชย์ปี  พ.ศ. ๑๙๙๑          สวรรคต  พ.ศ. ๒๐๓๑           ครองราชย์ได้   ๔๐  ปี
    ๑๐.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๐๐๕            ครองราชย์ปี  พ.ศ. ๒๐๓๑           สวรรคต  พ.ศ. ๒๐๓๔           ครองราชย์ได้   ๓  ปี
   ๑๑.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒    ครองราชย์  พ.ศ.๒๐๑๕       สารรคต พ.ศ.๒๐๓๔           ครองราชย์ได้    38  ปี
   ๑๒.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (หน่อพุทธางกูร)    
     -ประสูติ  พ.ศ. ๒๐๔๐    ครองราชย์  พ.ศ. ๒๐๗๒    สวรรคต  พ.ศ.๒๐๗๖   ครองราชย์ได้  ๔  ปี                                                                                                                  ๑๓.พระรัษฎาธิราช                                                                                                    
    -ประสูติ  พ.ศ.๒๐๗๒    ครองราชย์  พ.ศ. ๒๐๗๗    ทรงครองราชย์ได้   ๕  เดือน
   ๑๔.สมเด็จพระไชยราชาธิราช    
       -ประสูติ   พ.ศ. ๒๐๔๕     ครองราชย์  พ.ศ.๒๐๗๗         สวรรคต   ๒๐๘๙                      ครองราชย์ได้    ๑๒   ปี
   ๑๕.พระยอดฟ้า  (พระแก้วฟ้า)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๐๗๘    ครองราชย์  พ.ศ.๒๐๘๙             สวรรคต  พ.ศ. ๒๐๙๑     ครองราชย์ได้   ๒   ปี
      -ขุนวรวงศาธิราช    
        -ประสูติ  พ.ศ.๒๐๔๙    ครองราชย์  พ.ศ. ๒๐๙๑            สวรรคต  พ.ศ.              ครองราชย์ได้    ๔๒  วัน (ไม่ได้รับการยกย่อง แต่ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
   ๑๖.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก)    เสียกรุงครั้งที่ ๑    ในรัชสมัยของพระองค์    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๐๔๘    ครองราชย์  พ.ศ.๒๐๙๑          สวรรคต  พ.ศ. ๒๑๑๑       ครองราชย์ได้   ๒๐  ปี
   ๑๗.สมเด็จพระมหินทราธิราช    เสียกรุงครั้งที่ ๒  ในรัชสมัยของพระองค์
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๐๘๒    ครองราชย์  พ.ศ. ๒๑๑๑       สวรรคต   ๗   สิงหาคม  พ.ศ. ๒๑๑๒      ครองราชย์ได้   ๑  ปี
      ราชวงศ์สุโขทัย
   ๑๘.สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช  (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๐๕๙    ครองราชย์  พ.ศ. ๒๑๑๒        สวรรคต  พ.ศ. ๒๑๓๓    ครองราชย์ได้   ๒๑  ปี
   ๑๙.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๐๙๘     ครองราชย์  ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓    สาวรรคต  ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘     ครองราชย์ได้  ๑๕  ปี
   ๒๐.สมเด็จพระเอกาทศรถ  (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๑๐๔    ครองราชย์  ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘    สวรรคต  พ.ศ. ๒๑๕๓        ครองราชย์ได้  ๕  ปี
   ๒๑.พระศรีเสาวภาคย์  (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๔)    
       -สวรรคต  พ.ศ. ๒๑๕๓    ครองราชย์ได้   ๓  เดือน
   ๒๒.สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  (สมเด็จพระบรมราชาที่ ๑)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๑๒๕    ครองราชย์  พ.ศ. ๒๑๕๔         สวรรคต  ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๑๗๑     ครองราชย์ได้   ๑๗  ปี
   ๒๓.สมเด็จพระเชษฐาธิราช    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๑๕๖           ครองราชย์  พ.ศ.๒๑๗๑         สวรรคต  พ.ศ. ๒๑๗๓      ครองราชย์ได้  ๑ ปี ๘ เดือน
   ๒๔.พระอาทิตยวงศ์    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๑๖๑    ครองราชย์  พ.ศ. ๒๑๗๓        สวรรคต  พ.ศ. ๒๑๗๓       ครองราชย์ได้  ๓๖  วัน
     ราชวงศ์ปราสาททอง
   ๒๕.สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๑๔๓           ครองราชย์    พ.ศ. ๒๑๗๓         สวรรคต  พ.ศ.         ครองราชย์ได้   ๒๕  ปี
   ๒๖.สมเด็จเจ้าฟ้าไชย  (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๖)    
      -สวรรคต  พ.ศ. ๒๑๙๙    ครองราชย์ได้  ๙ เดือน
   ๒๗.สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา  (พระสรรเพชญ์ที่ ๗)    
      -สวรรคต  พ.ศ. ๒๑๙๙    ครองราชย์  ๒ เดือน ๑๗ วัน
   ๒๘.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๑๗๕         ครองราชย์ได้    พ.ศ. ๒๑๒๙๙    สวรรคต  พ.ศ. ๒๒๓๑         ครองราชย์ได้    ๓๒   ปี
       ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
   ๒๙.สมเด็จพระเพทราชา    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๑๗๕         ครองราชย์  พ.ศ. ๒๒๓๑    พ.ศ.        สวรรคต  พ.ศ. ๒๒๔๖         ครองราชย์ได้  ๑๕  ปี
   ๓๐.สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี  (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘)  (พระเจ้าเสือ)    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๒๐๔         ครองราชย์  พ.ศ. ๒๒๔ต           ครองราชย์  พ.ศ. ๒๒๕๑    ครองราชย์ได้  ๕  ปี
   ๓๑.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙)
      -ประสูต  พ.ศ.๒๒๒๑          ครองราชย์  พ.ศ.๒๒๕๑       สวรรคต  พ.ศ. ๒๒๗๕    ครองราชย์ได้   ๒๔   ปี
   ๓๒.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ    
      -ประสูติ  พ.ศ. ๒๒๒๓           ครองราชย์  พ.ศ. ๒๒๗๕              สวรรคต  พ.ศ. ๒๓๐๑    ครองราชย์ได้   ๒๖   ปี
   ๓๓.สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร  (ขุนหลวงหาวัด)    
      -ประสูติ  พ.ศ.๒๒๖๕    ครองราชย์  พ.ศ. ๒๓๐๑         สวรรคต  พ.ศ. ๒๓๓๙         ครองราชย์ได้   ๒   เดือน
   ๓๔..สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์  (พระเจ้าเอกทัศ)   เสียกรุงครั้งที่  ๓    ในรัชสมัยของพระองค์
     -ประสูติ  พ.ศ. ๒๒๕๒    ครองราชย์  พ.ศ. ๒๓๐๑        สวรรคต  ๗  เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐     ครองราชย์ได้   ๙   ปี

        คลิกดูรายละเอียดที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้

   https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

    พระมหากษัตริย์ที่สำคัญในสมัยอยุธยา
       ๑.พระเจ้าอู่ทอง

       ๒.พระบรมไตรโลกนาถ

       ๓.พระไชยราชาธิราช

       ๔.พระมหาจักรพรรดิ

       ๕.พระมหาธรรมธิราช

       ๖.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

       ๗.พระเจ้าทรงธรรม

       ๘.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

       ๙.พระเจ้าบรมโกส 

              พระเจ้าอู่ทอง

      
   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ พระเจ้าอู่ทอง องค์นี้ เป็นพระโอรสของพระเจ้าศิริชัย หรือ ศรีวิชัย สมภพ เมื่อ  วันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ จ.ศ.๖๗๖   พ.ศ.๑๘๕๗ (ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๑๘๕๖)  เวลารุ่งเช้า ปลายรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัย
   เรื่องราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองนั้น มีความสันนิษฐานสรุปไว้เบื้องต้นว่า พระเจ้าไชยศิริ กษัตริย์จากแคว้นโยนกเชียงแสน ซึ่งครองเมืองชัยปราการ (เมืองฝาง) นั้นได้พาครอบครัวและเชื้อพระวงศ์ทิ้งเมืองอพยพหนี เนื่องจากพวกมอญได้ยกทัพมาตีและเข้าเผาทำลายบ้านเมืองจนร้าง บรรดาไพร่พลและเชื้อพระวงศ์ที่อพยพลงมาทางตอนใต้นั้น ได้พากันแยกย้ายไปตั้งเมืองของตนอยู่ในแคว้นต่าง ๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ กล่าวคือ ขณะนั้นได้มีคนไทยชาวอพยพ พากันลงมาทำมาหากิน อยู่ตามเมืองต่าง ๆ มากแล้ว เมืองที่คนไทยมาอาศัยอยู่นั้นมีเมืองใหญ่  ๒  แห่ง คือ เมืองอโยธยา ในแคว้นละโว้ และเมืองอู่ทอง ในแคว้นสุวรรณภูมิ ต่อมาพวกขอมได้ขยายอำนาจเข้ามาปกครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยอาณาจักรทวาราวดี จึงตั้งศูนย์กลางดูแลอยู่ที่ เมืองละโว้ จึงทำให้บรรดาคนไทยที่อยู่ในเมืองอโยธยา เมืองละโว้ ดังกล่าวนั้นอยู่ในความดูแลของพวกขอม ที่ครองเมืองละโว้ไปด้วย
   ครั้นเมื่อคนไทยทางตอนเหนือนำโดยพ่อขุนบางกลาวหาว และขุนผาเมือง ได้ร่วมกันทำการขับไล่อำนาจขอม จากขอมสบาดโขลญลำพง และทำการตั้งเมืองสุโขทัยประกาศตนเป็นแคว้นอิสระ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๐  นั้น เมืองสุโขทัยได้จัดตั้งแคว้นต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจของขอมใหม่ เป็นเมืองพระยามหานคร คือเป็นเมืองที่มีเจ้าครองเมือง
   เมืองพระยามหานคร ในดินแดนทางตอนใต้นั้น คือ แคว้นอโยธยา มีเมืองแพรกหรือเมืองสรรค์(เมืองตรัยตรึงส์) เป็นราชธานี (เดิมนั้นเมืองอโยธยาขึ้นกับเมืองละโว้) และแคว้นสุวรรณภูมิ มีเมืองอู่ทอง เป็นราชธานี
  เจ้าผู้ครองแคว้นดังกล่าวนั้น น่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์ที่อพยพลงมาพร้อมกับพระเจ้าไชยศิริ โดยพระเจ้าไชยศิรินั้นได้อพยพมาตั้งอยู่ที่เมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้าง (เมืองร้างนี้ น่าจะเป็นเมืองนครปฐมโบราณมากกว่าเมืองเก่าทางเมืองกำแพงเพชร) อยู่ในแคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอู่ทอง ที่เป็นราชธานี
   ต่อมานั้น พระเจ้าไชยศิริได้ทำการขยายอาณาเขตไปทางตอนใต้ จนได้ปกครองแคว้น ศิริธรรมราชครั้งนั้น พระเจ้าไชยศิริได้ตั้งเมืองนครศิริธรรมราช (นครศรีธรรมราช) ขึ้นเป็นราชธานีปกครองแคว้นดังกล่าว โดยมีกษัตริย์ครองแคว้นศิริธรรมราชต่อมาหลายรัชกาล จนถึง พระเจ้าศิริธรรมราชผู้เป็นพระอัยการของพระเจ้าอู่ทอง
   พระเจ้าศิริธรรมราช นั้น มีพระโอรสชื่อ พระเจ้าศิริชัย (หรือศรีวิชัย) ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๑๘๕๖ นั้น พระเจ้าศิริชัยองค์นี้ได้อภิเษกกับพระธิดาองค์เดียวของ พระยาตรัยตรึงส์ กษัตริย์ครองแคว้นอโยธยา (มีราชธานีอยู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ คือ เมืองตรัยตรึงส์ และเมืองอโยธยา เป็นเมืองท่า) ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับอาณาจักรละโว้ของขอม ต่อมาพระเจ้าชัยศิริเชียงแสนนั้นมีพระโอรสระยะแรกไม่ปรากฏ ภายหลังเรียก พระเจ้าอู่ทอง (หลังจากที่อภิเษกและไปอยู่เมืองอู่ทอง แคว้นสุวรรณภูมิ)
   ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงเป็นนามมงคลที่เกิดขึ้นในธรรมเนียมของ แคว้นสุวรรณภูมิ และพระเจ้าอู่ทององค์นี้เป็นทายาทที่สืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าไชยศิริ กษัตริย์ราชวงศ์ชัยปรากการ (เชียงราย) มาจนถึง พระเจ้าศิริชัยหรือศรีวิชัย  พระเจ้าศิริชัย องค์นี้ครองอยู่แคว้นศิริธรรมราช ทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ครั้นเมื่อพระยาตรัยตรึงส์ กษัตริย์แคว้นอโยธยา ผู้เป็นพระบิดาของพระมเหสีนั้นได้สิ้นพระชนม์ ลง พระเจ้าศิริชัยเชียงแสนจึงได้ครองแคว้นอโยธยาด้วย
   เมื่อพระเจ้าอู่ทอง มีพระชนม์ ๑๙ พรรษา (ราว พ.ศ.๑๘๗๖) นั้น พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน พระบิดาจึงได้สู่ขอพระธิดาของพระยาอู่ทอง แคว้นสุวรรณภูมิ มาอภิเษกสมรส และพระเจ้าชัยศิริเชียงแสน ยอมให้พระเจ้าอู่ทองไปอยู่ช่วยราชการที่เมืองอู่ทองนั้น น่าจะมีเหตุให้ช่วยดูแล แคว้นอโยธยาด้วย ด้วยเหตุที่พระเจ้าอู่ทองนั้นได้ช่วยเหลือราชการบ้านเมืองและไว้วางใจในความสามารถ ทำให้พระยาอู่ทอง ไว้วางใจยิ่ง ส่วนขุนหลวงพะงั่ว
พระโอรสของพระยาอู่ทอง และพระเชษฐาของพระมเหสีของพระเจ้าอู่ทองนั้น น่าจะครองเมืองสรรค์บุรีอยู่
   ต่อมาพระเจ้าแสนเมืองมิ่ง เจ้าเมืองมอญได้ยกทัพมาตีเอาเมืองทะวาย เมืองตะนาวศรี ครั้งนั้น พระเจ้าอู่ทองจึงได้แสดงความสามารถนำทัพไปตีเอาเมืองทวาย กับเมืองตะนาวศรี กลับคืนมาได้ ทำให้ได้รับการยกย่องรักใคร่ของอาณาประชาราษฎร์ ครั้นเมื่อพระยาอู่ทอง กษัตริย์แคว้นสุวรรรภูมิสิ้นพระชนม์ลงราษฎร์จึงพากันยกให้พระเจ้าอู่ทอง ขณะนั้นมีพระชนม์พรรษา ๓๐ ปี ครองแคว้นสุวรรณภูมิต่อมา (ทำไมขุนหลวงพระงั่ว ไม่ได้ครองเมืองสุวรรณภูมิ)
   ครั้นเมื่อพระเจ้าชัยสิริเชียงแสน พระบิดาสิ้นพระชนม์ลงอีก พระเจ้าอู่ทอง พระโอรสจึงได้ครองแคว้นศิริธรรมราชและแคว้นอโยธยา ในที่สุด และรวมทั้งแคว้นสุวรรณภูมิ ด้วย (ภายหลังโปรดให้ ขุนหลวงพะงั่ว ครองเมืองสุพรรณบุรี) ถือว่าเป็นการรวบรวมอาณาจักรทั้งสามแคว้นขึ้นเป็นอาณาจักร โดยใช้เมืองอู่ทอง เป็นราชธานี ตามเดิม ซึ่งมีความหมายว่า สุวรรณภูมิ โดยมีแม่นำสายใหญ่ คือ แม่น้ำท่าจีนเป็นทางออกสู่ทะเลที่เมืองนครปฐมโบราณ โดยเป็นเมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บริเวณเมืองอู่ทองหรือแคว้นสุวรรณภูมิ จึงเป็นศูนย์กลางการปกครองและเศรษฐกิจของแคว้นสุพรรณภูมิ ที่มีพ่อค้าชาวจีนเดินทางไปมาค้าขายและตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน
   พระเจ้าอู่ทองนั้นมีพระโอรสองค์หนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อในตอนแรก ภายหลังได้ เป็นพระราเมศวร ตำแหน่งพระอุปราชต่อมา พระเจ้าอู่ทองนั้น ได้อพยพผู้คนมาจากเมืองอู่ทอง (บ้างอ้างว่ากันดารน้ำและเกิดโรคระบาด) มาตั้งอยู่ที่ตำบล เวียงเหล็ก พออยู่ได้ ๓ ปี ใน พ.ศ.๑๘๙๓ จึงย้ายสถานที่ข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยาไปทำการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นที่ตำบลหนองโสน
   ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ได้ระบุว่า เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ นั้น ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ (อาจจะเป็นอหิวาตกโรคหรือ กาฬโรค เพราะระหว่างปี พ.ศ.๑๘๗๘ - ๑๘๙๓   ได้เกิดกาฬโรคโคจรจากเมืองจีน และได้ระบาดไปทั่วโลก) ทำให้ต้องมีการย้ายเมืองจากด้านตะวันออกมาสร้างใหม่ที่หนองโสน ส่วนเหตุที่ทำให้พระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองจากตำบลเวียงเหล็ก มาสร้างกรุงศรีอยุธยา นั้นมีข้อสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองนั้นได้ครองเมืองเทพนคร (เมืองอโยธยา) อยู่ ๖ ปีด้วย
   ส่วนเรื่องที่รับรู้กันมาว่า เมื่อพระเจ้าอู่ทองครองเมืองอู่ทอง พ.ศ. ๑๘๘๙ นั้น พอครองเมืองได้ ๑ ปี (พ.ศ.๑๘๙๐) ก็เกิดภาวะธรรมชาติกล่าวคือ ลำน้ำจระเข้สามพันที่ผ่านเมืองอู่ทอง นั้นได้เกิดตื้นเขิน และเปลี่ยนทางน้ำ จนกันดารน้ำต้องขุดบ่อ สระขังน้ำไว้ใช้ในไม่ช้าก็เกิดโรคระบาดดังกล่าวขึ้น (ซึงมาทางเรือสินค้าจากจีน) โดยเข้ามาตามแม่น้ำท่าจีน) พระเจ้าอู่ทอง จึงอพยพย้ายผู้คนมาตั้งเมืองอยู่บริเวณแคว้นอโยธยา คือ ตำบลเวียงเหล็ก เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๐ และเมืองอู่ทองนั้น คงไม่ถูกทิ้งร้างยังมีผู้คนอาศัยอยู่ เป็นข้อสันนิษฐานเดิมที่เชื่อกันเช่นนี้
   ดังนั้น เรื่อง การย้ายเมืองของพระเจ้าอู่ทอง จึงมีข้อศึกษาใหม่ว่า พระเจ้าอู่ทองนั้น น่าจะดำริถึง อาณาจักรใหม่ที่พระองค์ได้รรับสิทธิปกครองดูแลนั้น คือ แคว้นสุวรรณภูมิ (ของมเหสี) แคว้นอโยธยา (ของมารดา) แคว้นศิริธรรมราช (ของบิดา) ซึ่งแต่ละแคว้นนั้นต่างมีเมืองสำคัญ ตั้งอยู่ห่างไกลกันมาก หากจะให้เมืองอู่ทองเป็นราชธานีของแคว้นทั้งหมด ก็มีทำเลไม่เหมาะสม ด้วยเหตุที่เมืองอู่ทองนั้น ไม่เป็นศูนย์กลางที่จะดูแลแคว้นนั้น
ได้สะดวก และมีแม่น้ำใหญ่เพียงสายเดียว ทำให้ขัดข้องในการติดต่อกับแคว้นอื่นๆ ได้
   พระองค์จึงได้ทำการอพยพ ผู้คนสำรวจสถานที่สร้างเมืองใหม่ขึ้น เพื่อหาทำเลที่จะตั้งเมือง ให้เป็นศูนย์กลางอาณาจักรที่สามารถปกครองดูแลหรือติดต่อถึงกันได้โดยสะดวกขึ้น โดยเฉพาะทำเลที่มีแม่น้ำหลายสาย ไหลผ่านและใช้เป็นเส้นทางที่จะติดต่อไปยังเมืองใหญ่ของแคว้นทั้งหมดได้ คือ เมืองนครศิริธรรมราช(เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองอู่ทอง (ภายหลังย้ายมาสร้างเมืองสุพรรณบุรี) เมืองสรรค์บุรี (เมืองแพรก ) เมืองชัยนาท
เมืองอโยธยา เมืองละโว้ เมืองนครปฐมโบราณ (เมืองนครไชยศรี) เป็นต้น  ประกอบกับเมืองอโยธยาเดิมนั้น มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านและเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่อยู่แล้ว ในครั้งแรกนั้น
   พระเจ้าอู่ทองได้กลับมาครองแคว้นอโยธยาอยู่ ๖ ปี ก็เห็นว่าที่ตำบลเวียงเหล็ก นั้นน่าจะเป็นทำเลสร้างเมืองใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองทั้ง ๓ แคว้น นั้นได้ จึงอพยพไปตั้งเมืองอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็กก่อน (ส่วนเมืองอโยธยานั้นได้ให้เจ้าแก้วเจ้าไทย ครอง) ครั้นอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็ก ๓ ปี จึงเห็นว่าบริเวณตำบลหนองโสนนั้น มีทำเลเหมาะสมกว่าและเป็นพื้นที่มีลักษณะเหมือนสังขทักษิณาวรรตที่มีแม่น้ำ ๓ สายไหลออกดุจน้ำไหลออกจากสังข์ และเป็นแม่น้ำที่ใช้ เป็นเส้นทางติดต่อได้ สะดวกกว่าที่เดิม (เมืองอโยธยา) ประจวบกับเวลานั้นเกิดโรคอหิวาระบาดใหญ่ จนเป็นเหตุให้เจ้าแก้วเจ้าไทยสิ้นพระชนม์ (จนเมืองอโยธยาร้างผู้คน) พระองค์จึงตัดสินพระทัยอพยพมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลหนองโสน
              
พระราเมศวร

        

  สมเด็จพระราเมศวร ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงครองราชย์สองครั้งคือ ครั้งแรกต่อจากสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๑๒ - ๑๙๒๓ และครั้งที่สอง ต่อจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๓๑ - ๑๙๓๘

ก่อนขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราเมศวรได้รับโปรดเกล้า ฯ จากสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ให้ครองเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง และเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อทางกัมพูชาไม่เป็นไมตรีกับทางกรุงศรีอยุธยาที่เรียกว่า ขอมแปรพักตร์  ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปตีนครธม ราชธานีของขอม ร่วมกับขุนหลวงพะงั่ว จนตีนครธมได้สำเร็จ

ในปี พ.ศ.๑๙๑๓ ขุนหลวงพะงั่วได้ยกกำลังจากเมืองสุพรรณบุรี มายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรทรงเชิญเสด็จเข้าพระนครแล้วถวายราชสมบัติให้ ส่วนพระองค์เองก็ขึ้นไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม

เมื่อขุนหลวงพะงั่วสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๑๙๓๑ สมเด็จพระเจ้าทองลันผู้เป็นพระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์ได้เจ็ดวัน สมเด็จพระราเมศวรก็ยกกำลังจากเมืองลพบุรี จับพระเจ้าทองลันสำเร็จโทษ แล้วขึ้นครองราชย์ต่อมา

ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงทำสงครามแผ่ขยายราชอาณาเขตกรุงศรีอยุธยาออกไปยังอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรขอมกล่าวคือ

ในปี พ.ศ.๑๙๓๓ ทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ในชั้นแรกเจ้าเมืองเชียงใหม่ขอสงบศึก และจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย แต่สุดท้ายไม่ได้ทำตามสัญญา พระองค์จึงยกกำลังเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ จับนักสร้าง โอรสพระเจ้าเชียงใหม่ได้ แล้วกวาดต้อนผู้คนลงมาทางใต้ ให้ไปอยู่ที่เมืองจันทบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

หลังจากตีเชียงใหม่แล้วก็ได้ยกกำลังไปทำสงครามกับอาณาจักรขอม เนื่องจากทางขอมได้ยกกำลังมากวาดต้อนผู้คนชาวเมืองจันทบุรี และเมืองชลบุรี ไปประมาณ ๖,๐๐๐ - ๗,๐๐๐ คน พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้า เมื่อตีเมืองขอมได้แล้วจึงได้นำชาวเมืองจันทบุรี และเมืองชลบุรีกลับคืนมา แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์ปกครองเมืองขอม พร้อมกับกำลังพล ๕,๐๐๐ คน  ต่อมาเมื่อญวนยกกำลังมารบ พระองค์จึงให้พระยาไชยณรงค์กวาดต้อนผู้คนมายังกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระราเมศวรเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๘ ครองราชย์ได้ ๘ ปี

พระราเมศวร ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒  แห่งอยุธยา ทรงเป็นโอรสของพระรามาธิบดีที่ ๑  (พระเจ้าอู่ทอง) กับเจ้าหญิงละโว้ (ลพบุรี-อโยธยา) ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระรามาธิบดีที่ ๑  ดังนั้นเมื่อสถาปนาอยุธยาแล้ว พระราเมศวรจึงได้ครองเมืองลพบุรี ในฐานะของเมืองของแคว้นที่สำคัญของอยุธยาสมัยดังกล่าว

    ในสมัยของพระเจ้าอู่ทองนั้น อยุธยาได้พยายามขยายอำนาจเข้าครอบครองกัมพูชา สยามและกัมพูชามีปํญหาเรื่องชายแดนแถบปราจีนบุรีไปจรดจันทบุรีเป็นเวลานาน ในสงครามระหว่างอยุธยากับกัมพูชานี้ พระราเมศวรเป็นผู้คุมกองทัพ ๕๐๐๐ คนไปตีเมืองนครธมหรือกรุงศรียโสธรปุระแต่ไม่สามารถจะตีได้ดังนั้นจึงต้องส่งพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เจ้าเมืองสุพรรณบุรียกทัพไปช่วยการทำสงครามจึงสามารถยึดเมืองเขมรได้ และได้กวาดต้อนประชากรเขมรจำนวนมากเข้ามายังอยุธยา

     เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคต พระราเมศวรก็ขึ้นเป็นกษัตริย์แต่ทรงเป็นอยู่ได้ไม่นาน ต้องถวายราชสมบัติให้กับพระบรมราชาธราชที่ ๑  (ขุนหลวงพะงั่ว) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีซึ่งทรงเป็นพระเจ้าลุง พระราเมศวรเสด็จกลับไปครองลพบุรีตามเดิม อยู่  ๑๘  ปี

     การที่พระราเมศวรสละราชสมบัติให้พระเจ้าลุงคือพระบรมราชาธิราชที่ ๑  นั้น อาจมีความเข้าใจกันไว้ว่าเมื่อสิ้นสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ ๑  นั้น พระราเมศวรก็อาจจะกลับมาครองบัลลังก์อีกครั้ง แต่เมื่อพระบรมราชาธิราชที่สวรรคต พระเจ้าทองลันโอรสของพระบรมราชาธิราชที่ ๑  ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๑๕  พรรษาก็ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๔  ของอยุธยา พระเจ้าทองลันครองราชสมบัติได้เพียง ๗  วัน พระราเมศวรก็ยกทัพลงมาจากลพบุรี แล้วสำเร็จโทษพระเจ้าทองลันด้วยท่อนไม้จันทร์ แล้วพระราเมศวร ก็ครองราชย์สมบัติครั้งที่ ๒  นี้อยู่ ๗  ปี และทรงสวรรคต พระรามราธิราช โอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชยสมบัติต่อเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๕  ของอยุธยา พระรามราธิราชอยู่ในราชสมบัติ ๑๕  ปี ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์อู่ทอง

       สมเด็จพระรามราชาธิราช

      

     พระบาทสมเด็จพระรามราชาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๙ ที่เมืองลพบุรี ทรงพระนามว่า เจ้าพระยาราม เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๓๘ พระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงศรีอยุธยาในห้วงเวลาที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองเป็นปกติสุขดี พระองค์ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๐ และก็ได้ส่งทูตแลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีอยู่เสมอในระยะต่อ ๆ มาสมเด็จพระรามราชาธิราช พยายามที่จะขยายอำนาจไปยังอาณาจักรล้านนา แต่ไม่เป็นผล ทางอาณาจักรสุโขทัยก็ไม่ได้
อยู่ในอำนาจ และยังไม่ไว้วางพระทัยเจ้านครอินทร์ พระราชนัดดาในขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งทางพระเจ้ากรุงจีนให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง ในปลายรัชสมัยของพระองค์ ได้มีข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี และเป็นผู้บังคับบัญชาทหาร เจ้าพระยามหาเสนาบดีได้หนีไปอยู่ฟากปทาคูจาม แล้วได้
รวมกับเจ้านครอินทร์ ยกกำลังจากสุพรรณบุรีมายึดวังหลวง แล้วทูลเชิญเจ้านครอินทร์ขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยา
   ส่วนสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปครองเมืองปทาคูจาม เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๕๒ พระองค์ทรงครองราชย์กรุงศรีอยุธยาได้ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตปีใดไม่ปรากฏ
   สมเด็จพระนครินทราธิราช หรือ สมเด็จพระอินทร์ราชา(เจ้านครอินทร์) ทรงเป็นพระราชนัดดาในขุนหลวงพะงั่วเสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๒ ทรงครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๕๒ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ ของกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๑๙๖๒ พระยาบาลเมืองและพระยารามได้สู้รบชิงราชสมบัติกรุงสุโขทัย พระองค์ได้ทรงเข้าไปไกล่เกลี่ย แล้วทรงอภิเศกพระยาบาลเมือง ให้ครองกรุงสุโขทัย และพระยารามราชครองเมืองศรีสัชนาลัย หลังจากนั้นได้ทรงปรับปรุงการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยาใหม่ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอ้ายพระยาไปครองเมืองสุพรรณบุรีซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง เจ้ายี่พระยาไปครองเมืองแพรกศรีราชา (บริเวณอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท) และเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาทซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือ
   เจ้านครอินทร์เคยเสด็จไปเมืองจีน เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๐ เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีน พระเจ้ากรุงจีนให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง เมื่อสมเด็จพระรามราชาธิราช(พระราชโอรสสมเด็จพระราเมศวร)ได้มีข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี และเป็นผู้บังคับบัญชาทหาร เจ้าพระยามหาเสนาบดีได้หนีไปขึ้นกับเจ้านครอินทร์ ยกกำลังจากสุพรรณบุรีมายึดวังหลวง แล้วทูลเชิญเจ้านครอินทร์ขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยา ส่วนสมเด็จ

    พระบรมราชาธิราชที่ ๒ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปครองเมืองปทาคูจาม เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๕๒ สมเด็จพระอินราชาธิราชครองราชย์ได้ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๖๗

             ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

                ขุนหลวงพะงั่ว

        

    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. 1853 เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 สวรรคตใน พ.ศ. 1912 สมเด็จพระราเมศวรซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตเสด็จขึ้นครองราชย์ หากแต่ปีรุ่งขึ้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จยกทัพมาจากเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรจึงมอบราชสมบัติให้แล้วเสด็จไปประทับที่เมืองลพบุรี ขณะที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ขึ้นครองราชย์นั้นมีพระชนมายุได้ 60 พรรษา ตามที่ปรากฏในคัมภีร์จุลยุทธการวงศ์ซึ่งเป็นพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับภาษาบาลี และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เสวยราชย์เมื่อปีจอ จุลศักราช 732 (พ.ศ. 1913) ครองราชย์ 12 ปี สวรรคตเมื่อจุลศักราช 744 (พ.ศ. 1925) แต่ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่าสวรรคตปีมะโรง จุลศักราช 750 (พ.ศ. 1931) รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ 18 ปี
พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์อธิบายความช่วงการเปลี่ยนแผ่นดินจากรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไปยังรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 และ สมเด็จพระราเมศวรไว้ว่า
“ศักราช 731 ระกาศก (พ.ศ. 1912) แรกสร้างวัดพระราม ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระ (ราเม) ศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ ครั้นเถิงศักราช 732 จอศก (พ.ศ. 1913) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จมาแต่เมืองสุพรรณบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา และท่านจึงให้สมเด็จพระราเมศวรเจ้า เสด็จไปเสวยราชสมบัติเมืองลพบุรี”

พระนามขุนหลวงพ่องั่ว หรือขุนหลวงพะงั่วนั้น ทำให้สันนิษฐานได้ว่าทรงเป็นพระราชโอรสในลำดับที่ 5 เพราะการนับลำดับลูกชายในเอกสารโบราณเรียงลำดับคือ อ้าย ยี่ สาม ไส งั่ว ลก เจ็ด แปด เจ้า จ๋ง ความสัมพันธ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขุนหลวงพะงั่วนี้พระราชพงศาวดารว่าเป็นพี่พระมเหสีของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ด้วย จึงโปรดให้ไปครองเมืองสุพรรณบุรีและได้มีบทบาทในการสู้รบกับข้าศึกในรัชกาลพระเจ้าอู่ทองมาแต่ก่อน ครั้นสิ้นแผ่นดินแล้วจึงเสด็จยกทัพมาขึ้นครองราชย์ที่อยุธยา
พระราชพงศาวดารบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ไว้ว่า ก่อนขึ้นครองราชย์นั้นเคยไปครองเมืองชัยนาท (พิษณุโลก) อยู่ระยะหนึ่ง เมื่อครั้งที่อยุธยารบชนะสุโขทัย ได้ทรงยกทัพไปตีเมืองนครธมแห่งกัมพูชาเพื่อช่วยกองทัพของสมเด็จพระราเมศวร เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วได้ยกทัพไปรบเมืองเหนือหลายครั้ง โดยเฉพาะการยึดเมืองชากังราวและเมืองพิษณุโลก
ใน พ.ศ. 1916 ทรงยกทัพจากอยุธยาไปตีเมืองชากังราว ครั้งนั้นพระยาไสแก้วและพระยาคำแหงเจ้าเมืองออกรบ พระยาไสแก้วเสียชีวิต ส่วนพระยาคำแหงหลบหนีกลับเข้าเมืองได้ อีก 3 ปี ต่อมาทรงยกทัพหลวงขึ้นไปอีกครั้งหนึ่ง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุว่า
“ศักราช 738 มะโรงศก (พ.ศ. 1919) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้น พญาคำแหงแลท้าวผ่าคอง คิดด้วยกันว่าจะยอทัพหลวง และจะทำมิได้ แลท้าวผ่าคองเลิก ทัพหนี แลจึงเสด็จทัพหลวงตาม แลท้าวผ่าคองนั้นแตก แลจับได้ตัวท้าวพระยา แลเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน”

จากนั้นอีก 2 ปี สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ทรงยกทัพไปตีเมืองกำแพงเพชร พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัยทรงออกรบด้วย แต่เพลี่ยงพล้ำต่อทัพกรุงศรีอยุธยา จึงออกถวายบังคมเป็นการยอมรับในอำนาจทางทหารของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ทรงให้พระมหาธรรมราชาปกครองเมืองสุโขทัยต่อไป แต่ให้ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองประเทศราช ใน พ.ศ.1931 ทรงยกทัพขึ้นไปชากังราวอีกครั้ง และเสด็จสวรรคตระหว่างเดินทัพกลับ
พระราชกรณียกิจที่สำคัญทางฝ่ายพระพุทธศาสนาของพระองค์คือการสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1917 ร่วมกับพระมหาเถระรูปสำคัญคือพระมหาเถรธรรมากัลญาณ โดยทรงสร้างพระศรีรัตนมหาธาตุสูง 19 วา และยอดนพศูลสูง 3 วา เป็นพระอารามสำคัญกลางพระนคร

                   เจ้านครอินทร์

                    

         สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์)

      พระอิสริยยศ   กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา องค์ที่ ๖

            ราชวงศ์          สุพรรณภูมิ

            ครองราชย์      พ.ศ.๑๙๕๒ -๑๙๖๗

            รวมระยะเวลาครองราชย์    ๑๕   ปี

            รัชกาลก่อน     สมเด็จพระพระรามราชาธิราช

            รัชกาลถัดไป    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)

            พระราชสมภพ           พ.ศ.๑๙๐๒

            สวรรคต         พ.ศ.๑๙๖๗

            พระราชบิดา    เป็นอนุชาของขุนหลวงพะงั่ว

            พระราชมารดา เป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย

            ราชบุตร-ธิดา  มี    คือ:-        

              ๑.เจ้าอ้ายพระยา  

              ๒.เจ้ายี่พระยา

              ๓.เจ้าสามพระยา (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่่)

         สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีนครินทราธิราช หรือ สมเด็จพระนครินทราธิราช สมภพเมื่อ พ.ศ.๑๙๐๒ พระองค์เป็นหลาน (พระราชนัดดา) ของขุนหลวงพะงั่ว (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่) และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๒คนทั่วไปรู้จักเจ้านครอินทร์ในนาม "พระร่วงผู้ไปเมืองจีน"

      พระราชประวัติ

      สมเด็จพระอินทราชา หรือ เจ้านครอินทร์ เป็นพระราชโอรสในเจ้าเมืองสุพรรณบุรี และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 พระองค์ได้ครองราชย์กินเมือง ณ เมืองสุพรรณบุรี มีหลักฐานตามตำนานและจารึกกล่าวว่า ก่อนจะได้ครองเมืองสุพรรณบุรี เคยเสด็จไปครองเมืองเหนือ คือเมืองกำแพงเพชร นอกจากนั้น เจ้านครอินทร์ยังได้ร่วมตรากฎหมายสลักไว้บนแผ่นศิลา แล้วปักไว้ที่เมืองสุโขทัย.

     จนกระทั่ง สมเด็จพระรามราชาธิราช เกิดข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี เป็นเหตุให้เจ้าพระยามหาเสนาบดีหนีมาขึ้นกับพระองค์และยกกำลังเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แล้วจึงทูลเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุงศรีฯ ส่วนสมเด็จพระรามราชาธิราชนั้น เจ้านครอินทร์ได้ให้ไปครองเมืองปทาคูจามแทน.

      สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) ครองราชย์ได้ 15 ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.1967 ในครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา พระราชโอรสของพระองค์ต่างยกพลเข้ามายังกรุงศรีฯ เพื่อหมายในราชสมบัติ จึงเกิดการชนช้างกันขึ้น ณ สะพานป่าถ่าน จนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ เป็นเหตุให้เจ้าสามพระยาพระราชโอรสองค์ที่ 3 ได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา โดยมีพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒

        พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง

     เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๒ พระมหาธรรมราชาธิราช (ที่ ๓ )  เสด็จสวรรคต เมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจลอันเนื่องมาจากพระยาบาลเมืองและพระยาราม พระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่๓   แย่งชิงราชสมบัติแห่งกรุงสุโขทัยกัน เป็นเหตุให้พระองค์ต้องเสด็จขึ้นไปถึงเมืองพระบาง แล้วทรงไกล่เกลี่ยให้พระยาบาลเมือง เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ครองเมืองพิษณุโลกอันเป็นเมืองหลวงและให้พระยารามเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองเอก.

        นอกจากนี้ เจ้านครอินทร์ได้โปรดฯ ให้โอรสไปครองเมืองอันเป็นเมืองลูกหลวง ได้แก่

       เจ้าอ้ายพระยา ครองเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง

    เจ้ายี่พระยา ครองเมืองแพรกศรีราชา (เมืองสรรค์) (บริเวณอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท) (คำว่าแพรก หมายถึงทางแยกของลำน้ำ)

    เจ้าสามพระยา ครองเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือ (นักวิชการบางท่านเสนอแนะว่าควรเขียนว่า ชัยนาถ ซึ่งหมายถึงเมืองพิษณุโลก)

      ด้านการต่างประเทศ

       เจ้านครอินทร์เคยเสด็จไปเมืองจีนในปี พ.ศ.1920 เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี พระเจ้ากรุงจีนให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง โดยจดหมายเหตุทางจีนออกพระนามพระองค์ว่า "เจียวลกควนอิน" ซึ่งมาจากพระนาม เจ้านครอินทร์.

       เมื่อสมเด็จพระรามราชาธิราช เกิดข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี เป็นเหตุให้เจ้าพระยามหาเสนาบดีหนีมาขึ้นกับพระองค์และยกกำลังเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ แล้วจึงทูลเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้น พระองค์และพระเจ้ากรุงจีนได้แต่งราชทูต เพื่อเจริญทางราชไมตรีระหว่างกันอีกหลายครั้ง โดยจดหมายเหตุจีนออกพระนามพระองค์ หลังขึ้นครองราชย์แล้วว่า "เจียวลกควนอินตอล่อทีล่า" ซึ่งมาจากพระนาม เจ้านครอินทราธิราช.

          การกลับมาของราชวงศ์สุพรรณภูมิ

       ด้วยความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างฝ่ายสุพรรณภูมิกับฝ่ายสุโขทัย และความใกล้ชิดกับราชสำนักจีน ส่งผลให้เจ้านครอินทร์ช่วงชิงความเป็นใหญ่ได้สำเร็จ และส่งพระรามราชาธิราช เชื้อสายราชวงศ์อู่ทองออกไปจากกรุงศรีอยุธยา.

       การที่ราชวงศ์สุพรรณภูมิกลับขึ้นเป็นใหญ่ในกรุงศรีอยุธยาอีก โดยได้รับพลังหนุนจากพระญาติฝ่ายสุโขทัย ทำให้สมเด็จพระนครินทราธิราชมีฐานะยิ่งใหญ่กว่าพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาพระองค์อื่น ๆ กล่าวคือ มีอำนาจไปถึงดินแดนแคว้นนครศรีธรรมราชทางใต้ และขึ้นไปถึงดินแดนแคว้นสุโขทัยทางเหนือ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ศูนย์กลางของราชอาณาจักรอย่างแท้จริง และต่างชาติรู้จักในนาม ราชอาณาจักรสยาม.    มีการค้าขาย Globalize ในอยุธยา

    ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงก่อนสมเด็จพระนครินทร์นั้น มีการแตกขั้วทางการเมืองเป็นสองขั้วคือ 

    ๑.ขั้วสุพรรณภูมิ

   ๒. ละโว้ ได้ลงมารวมในสุพรรณภูมิ

    กลุ่มผู้พูดภาษาไท-ลาวมีบทบาทอย่างมาก วรรณคดีภาษาไทยเริ่มมีมากขึ้น

    สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ในกรุงศรีฯ เริ่มต้นขึ้นในสมัยสมเด็จพระศรีนครินทร์นี้ มีปัญหาการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระศรีนครินทราธิราช

    ปัญหาเรื่องการมองว่าสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก - ทำให้ข้ามการมองบ้านเมืองอื่นทางใต้ ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ลงมาก็มีการตั้งเป็นราชธานีขึ้น ลืมมองสุพรรณ ลืมมองละโว้

    ปัญหาการมองว่า กรุงศรีอยุธยามีจุดกำเนิดที่ พ.ศ.1893 - แต่จริง ๆ ก่อนหน้าก็มีก่อนนี้ เช่น การกำเนิดโองการแช่งน้ำ กฎหมายบางมาตราในตราสามดวง เกิดขึ้นก่อนพระเจ้าอู่ทอง.

    ปัญหาการมองศูนย์กลางในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีเพียงหนึ่งเดียว จนทำให้ลืมนึกไปว่า "เสียน" คือ สุพรรณ - ก่อนหน้านี้มี ละโว้และสุพรรณ มีการแย่งชิงพื้นที่บริเวณเกาะกรุงศรีฯ

    ปัญหาความเชื่อมั่นในพระราชพงศาวดาร (เนื้อหาท่อนนี้สั้นมาก) รวมถึงปัญหาการแปลความเอกสารจีน.- จดหมายเหตุหมิงสือลู่ มีการตีความที่สั้นมาก

    วงศ์อินทร์วงศ์ราม

     จิตร ภูมิศักดิ์ ได้อธิบายว่า ในช่วงต้นของการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเชื้อสายของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 นิยมใช้คำว่า "ราม" เป็นนามสืบตระกูล เช่น รามาธิบดี ราเมศวร และ รามราชา ส่วนราชตระกูลฝ่ายสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) นิยมใช้คำว่า "อินทร" เป็นนามสืบตระกูล เช่น อินทรราชา และ นครอินทร์.

          สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ หรือเจ้าสามพระยา

        

     สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่    หรือ เจ้าสามพระยา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓  ในสมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) และเป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗ ภายหลังจากเหตุการณ์แย่งราชสมบัติของพระเชษฐาทั้งสอง จนสิ้นพระชนม์ไปทั้งสองพระองค์ โดยพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา.

      พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในการปกครอง และการรบ ดังจะเห็นได้จากกรณีการตีล้านนา และเมืองกัมพูชา นับเป็นการขยายพระราชอาณาเขตของ อาณาจักรอยุธยาตอนต้นอย่างเป็นรูปธรรม.

                 พระราชประวัติ

      สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่    มีพระนามเดิมว่า เจ้าสามพระยา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่    ในสมเด็จพระอินทราชา(เจ้านครอินทร์) มีพระเชษฐา    พระองค์ ได้แก่ เจ้าอ้ายพระยา และ เจ้ายี่พระยา พระองค์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปปกครองเมืองชัยนาท (พิษณุโลก) ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญทางเหนือ และได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ ๓  (ไสลือไท) แห่งกรุงสุโขทัย ส่วนเจ้าอ้ายพระยาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ปกครองเมืองสุพรรณบุรีและเจ้ายี่พระยาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ปกครองเมืองสรรค์ (แพรกศรีราชา).

     เมื่อสมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ.๑๙๖๗ เจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา ต่างยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยา เพื่อชิงราชสมบัติ ทั้งสองพระองค์ได้กระทำยุทธหัตถีกันที่เชิงสะพานป่าถ่าน จนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ เป็นเหตุให้เจ้าสามพระยาได้ครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ที่ ๒ ) โดยพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ก่อพระเจดีย์ขึ้นสององค์ ณ บริเวณที่เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาชนช้างกันจนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์.

 เจดีย์คู่สองพี่น้อง ที่ริมคลองประตูข้าวเปลือก เชิงสะพานป่าถ่าน

      พระองค์มีพระราชโอรส ๒  พระองค์ ได้แก่

        ๑.พระอินทราชา หรือ พระนครอินทร์ เชื่อกันว่าประสูติจากมเหสีเดิมในสมัยที่เจ้าสามพระยาทรงครองเมืองชัยนาท ต่อมา พระอินทราชา ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองเมืองพระนครหลวง (นครธม) จนกระทั่งสิ้นพระชนม์.

        ๒.พระราเมศวร ประสูติ แต่พระมารดาที่เป็นพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่    แห่งกรุงสุโขทัย (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)

      สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  ๒ หรือเจ้าสามพระยา เสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ.๑๙๙๑ พระองค์ครองราชสมบัติรวม  ๒๔  ปี โดยสมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสได้สืบราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาต่อจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช มีพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

            พระราชกรณียกิจ

        ด้านราชการสงครามทำการศึกกับเขมร

       เมื่อ พ.ศ.๑๙๗๔ พระเจ้าธรรมาโศก กษัตริย์อาณาจักรเขมร ได้ยกกำลังมากวาดต้อนผู้คนตามหัวเมือง ชายแดนของกรุงศรีอยุธยาไป ทำให้เจ้าสามพระยา ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองพระนครหลวง (นครธม) เมื่อ พ.ศ.๑๙๗๕ พระองค์ตั้งทัพล้อมเมืองพระนครหลวงอยู่    เดือน ก็สามารถตีเอาเมืองพระนครหลวงได้ ครั้งนั้นพระองค์ทรงให้พระอินทราชา พระโอรสปกครองเมืองนครหลวงในฐานะเมืองขึ้นประเทศราช ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา แล้วให้นำ พระยาแก้ว พระยาไทย และรูปภาพ (เทวรูป สมบัติศิลปะของขอม) ทั้งปวงพร้อมทั้งกวาดต้อนผู้คน และสิ่งของสำคัญ ๆ มายังกรุงศรีอยุธยา ทำให้อิทธิพลของเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงานศิลปะมาปรากฎชัดในอยุธยา.

     พระอินทราชานั้นครองราชย์ที่เมืองพระนครธมไม่นานก็สิ้นพระชนม์ เนื่องจากทนสภาวะอากาศไม่ได้ กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นไปดูแลแทน จึงทำให้ชาวเขมรนั้น ไม่อาจกลับมายังที่เมืองพระนครธมได้ ปล่อยให้เมืองร้างลง ภายหลังเมื่อเขมรเริ่มคืนอำนาจ จึงได้มีการย้ายราชธานีไปตั้งที่เมืองพนมเปญ ทำให้เมืองพระนครธมล่มสลายในที่สุด.

        การศึกกับล้านนา

        ในปี พ.ศ.๑๙๘๕ พระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ ได้รบกับท้าวช้อยผู้เป็นพระอนุชา ท้าวช้อยพ่าย จึงหนีไปอยู่เมืองเทิง (อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย) เจ้าเมืองเทิงได้มาขอสวามิภักดิ์กับกรุงศรีอยุธยาและขอให้ส่งกองทัพไปช่วยรบ เจ้าสามพระยาจึงทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ตีไม่สำเร็จ ประกอบกับทรงพระประชวร จึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา.

      เจ้าสามพระยายกกองทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อ พ.ศ.๑๙๘๗ ทรงตั้งทัพหลวงที่ตำบลปะทายเขษม ครั้งนี้ได้หัวเมืองชายแดนของเชียงใหม่กับเชลยอีก 120,000 คน จึงยกทัพหลวงกลับพระนคร. (มีนักวิชาการบางท่านได้ให้ข้อมูลแก้ไขว่า เจ้าสามพระยาไม่ได้ไปตีเชียงใหม่ในครั้งที่ 2 นี้ ความจริงคือไปตีเมืองเขมร แต่พงศาวดารจดคลาดเคลื่อน)

        ด้านการพระศาสนา

        เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้สถาปนาเจดีย์ใหญ่ สองพระองค์ไว้ตรงบริเวณที่เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาชนช้างสู้รบกันถึงสิ้นพระชนม์ทั้งคู่ ณ ตำบลป่าถ่าน พร้อมกับได้โปรดให้สถาปนาวัดราชบูรณะ ประกอบด้วยพระธาตุ และพระวิหาร โดยสร้างไว้ ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา และสร้างพระปรางค์ใหญ่ขึ้น เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนครินทราชาธิราช พระราชบิดาในวาระนั้นด้วย.

        พ.ศ.๑๙๘๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชได้ทรงสร้างวัดมเหยงค์ขึ้น

        ด้านการปกครอง      

        ทรงตรากฎหมายลักษณะอาญาศึก (อยู่ในลักษณะกบฎศึก) ขึ้น         การรวมสุโขทัยกับอยุธยา

        พระเจ้าติโลกราช (มหาราชติลก) กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา เป็นผู้นำที่เข้มแข็งในการสงคราม ได้พยายามที่จะขยายอาณาเขตของเมืองเชียงใหม่ลงมาทางใต้ สมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระยา) ทรงเห็นว่าหากปล่อยให้เชื้อสายราชวงศ์พระร่วง ปกครองสุโขทัยในฐานะเมืองประเทศราชอยู่เช่นนั้นแล้ว จะทำให้ผู้คนในหัวเมืองพากันไปเข้ากับล้านนา หรือไม่ก็ถูกล้านนาลงมารุกราน ด้วยสุโขทัยนั้นอ่อนแอลงไม่เข้มแข็งพอ ที่จะดูแลหัวเมืองต่าง ๆ นั้นได้.

       เพื่อให้หัวเมืองฝ่ายเหนือหรืออาณาจักรสุโขทัยในการดูแลของเมืองพิษณุโลก อยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาโดยสมบูรณ์ ดังนั้นใน พ.ศ.๑๙๘๑ เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๔๓  กษัตริย์แห่งสุโขทัยซึ่งครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ได้สวรรคตลง เจ้าสามพระยาจึงทรงให้รวบรวมหัวเมืองเหนือที่เคยแยกการปกครองเป็นสองเขตนั้น รวมเป็นเขตเดียวกัน แล้วแต่งตั้งให้พระโอรสพระราเมศวร ซึ่งมีพระมารดาเป็นพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่๓   (พระยาไสลือไทย) เป็นพระมหาอุปราช ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก เพื่อกำกับดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด โดยให้เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองมหาอุปราช จึงเป็นการทำให้ราชวงศ์พระร่วงหมดอำนาจในการปกครองสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยจึงค่อย ๆ ถูกรวมกับกรุงศรีอยุธยา.

         เหตุการณ์สำคัญ

    พ.ศ.๑๙๘๑ เมื่อพระราเมศวร ซึ่งเป็นพระราชโอรสได้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก ทรงเห็นน้ำพระเนตรของพระพุทธชินราชตกออกมาเป็นโลหิต.

    พ.ศ.๑๙๘๓ เกิดเพลิงไหม้พระราชมณเฑียร.

    พ.ศ.๑๙๘๔เกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข ในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา.

      นี้คืออุบาทว์แสดงให้รู้เหตุร้ายอันจะเกิดขึ้น   

       

              สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

 

        

    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็น พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พระราชชนนีเป็นพระราชธิดา พระมหาธรรมราชาที่ ๓ หรือพระยาไสลือไท (บางแห่งว่าเป็นพระราชธิดาพระมหาธรรมราชาที่ ๒) ในพระราชวงศ์สุโขทัย แต่เสวยราชสมบัติอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
   ใน พ.ศ. ๑๙๗๔ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ โปรดให้เตรียมกองทัพใหญ่ไปตั้งประชุมพล ณ ทุ่งพระอุทัย นอกกรุงศรีอยุธยาทางตะวันออกเฉียงเหนือ จะยกไปทำสงครามเอาเมืองพระนครใน แคว้นกัมพูชา เวลานั้นพระราชชนนีทรงพระครรภ์แก่ เสด็จออกตามไปส่งสมเด็จพระราชบิดาและ ประสูติสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าในกาลสมัยนั้น
   เมื่อสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าทรงเจริญพระชนมายุ ๗ พรรษา พระราชบิดาโปรดให้พระราชชนนี เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลกเพื่อทรงเยี่ยมพระมหาธรรมราชา ครั้งนั้นโปรดให้สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ตามเสด็จไปด้วยพระราชชนนี ต่อมาเมื่อพระชนมายุ ๙ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาโปรดให้สถาปนา พระนามว่า สมเด็จพระราเมศวร ครั้นถึง พ.ศ. ๑๙๘๔ สมเด็จพระราเมศวรเจริญพระชนมายุ ๑๐ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาโปรด
ให้สถาปนาพระอิสริยยศตั้งขึ้นไว้เป็นที่พระมหาอุปราชแห่ง กรุงศรีอยุธยา
   พ.ศ. ๑๙๙๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เสด็จสวรรคต พระมหาอุปราชขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระเจ้าแผ่นดินลำดับที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ขณะ มีพระชนมายุ ๑๗ พรรษา ทรงปกครองแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยานาน ๑๕ ปี และได้รวมแคว้นสุโขทัย เข้ามาร่วมเป็นแผ่นดินเดียวกับกรุงศรีอยุธยา ทรงปกครองได้เป็นปึกแผ่นต่อมาอีก ๒๕ ปี นับได้ว่า ยาวนานยิ่งในสมัยอยุธยา
   ช่วงเวลา ๔๐ ปีในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีพระราชดำริริเริ่มและทรงพระราช- กรณียกิจสำคัญอันเป็นคุณประโยชน์ยิ่งนานาประการแก่การบริหารราชการ กระบวนการยุติธรรม ความมั่นคงของรัฐ การบำรุงรักษาศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรง พระราชนิพนธ์วรรณกรรมมหาชาติคำหลวงอันเป็นพระราชมรดกชิ้นสำคัญที่ตกทอดมาจนปัจจุบัน เป็นต้น ซึ่งพระราชดำริการใหม่ และพระราชกรณียกิจสำคัญเหล่านี้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรง ทำมาตลอดสมัยในระหว่างทรงปกครองแผ่นดิน
   เมื่อสมัยแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติและประทับ ณ พระราชวังเดิม ที่พระราชบิดาเคยประทับ ไม่นานก็โปรดให้สร้างพระราชวังแห่งใหม่ขึ้น ณ บริเวณพื้นที่ที่อยู่ถัดพระราชวังเดิมขึ้นไปทางเหนือใกล้แม่น้ำลพบุรี  พระราชวังใหม่นี้ โปรดให้สร้างพระมหาปราสาทขึ้นเป็นประธานแห่งพระราชวังชื่อเบญจารัตนมหาปราสาท ประกอบด้วยพระราชมนเทียร พระตำหนักเรือนหลวง คลังต่างๆ และบริวารสถานพร้อม
ตามขนบนิยมโดยโบราณราชประเพณีการปกครองบ้านเมืองในพระราชอาณาจักรก่อนแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นการปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจในการปกครอง โดยได้มอบสิทธิและหน้าที่ในอำนาจที่บุคคลในราชสกุลควรได้รับไปจัดการปกครองบ้านเล็กเมืองน้อยตามฐานะและขนาด  ครั้นมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตระหนักถึงความสำคัญ จึงเลิกส่งพระเจ้าลูกเธอพระเจ้าหลานเธอไปกินเมือง คงให้มีตำแหน่งอยู่ในราชธานี เพื่อป้องกันมิให้พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอมีโอกาสซ่องสุมผู้คนเป็นกำลังก่อเหตุขึ้นในแผ่นดินเหมือนดังในกาลที่ผ่านมา  การปฏิรูปการปกครองจึงเริ่มด้วยการจัดฐานะเมืองตามขนาดและความสำคัญ จัดตั้งเป็นเมืองเอก เมืองโท และเมืองตรี
   การบริหารราชการแผ่นดินก่อนรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์ทรงรับเป็นพระราชภาระและบริหารราชการแผ่นดินทั้งด้านการปกครอง การยุติธรรม การเศรษฐกิจ การเกษตรกรรม การศาสนา เป็นต้น  โดยมีเจ้านาย ขุนนาง เจ้าพนักงานแบ่งรับสนองพระราชกิจได้บ้าง แต่ก็ยังมิได้เป็นระบบระเบียบที่ชัดเจนอย่างมีประสิทธิภาพ  กิจราชการต่าง ๆ อาจมีการปฏิบัติผิดกระทรวงล่วงกรมกัน อันเป็นผลให้ส่วนราชการไม่
มั่นคงเรียบร้อย ย่อมไม่เป็นการดีแก่การบริหารราชการ ซึ่งราชการและสังคมสมัยนั้นกว้างขวางขึ้นกว่าสมัยก่อนๆ
   สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นให้เป็นระเบียบใหม่  พลเมืองฝ่ายทหารตั้งอธิบดีเป็นผู้บริหารราชการเป็น “สมุหพระกลาโหม” และพลเมืองฝ่ายพลเรือนตั้งอธิบดีผู้บริหารราชการเป็น “สมุหนายก”  ทั้งสองตำแหน่งนี้ให้มีตำแหน่งเป็น “อัครมหาเสนาบดี” รับสนองพระราชกิจเหนือขุนนางชั้นรองลงไปด้วย
   ต่อมาโปรดให้ตั้งบุคคลขึ้นรับสนองพระราชกิจสำคัญสำหรับการบริหารราชการแผ่นดิน ๔ ฝ่ายอันเปรียบเป็นเสาหลักสำหรับค้ำจุนความมั่นคงและมั่งคั่งแก่บ้านเมือง เรียกว่า “จัตุสดมภ์” คือ ตำแหน่งอธิบดีกรมวัง อธิบดีกรมคลัง อธิบดีกรมเมือง (เวียง) และอธิบดีกรมนา
   ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นในสังคมแห่งกรุงศรีอยุธยาและในประวัติศาสตร์ชาติไทยในสมัยต่อมา กล่าวคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ตั้งและกำหนดศักดินาขึ้นสำหรับตัวบุคคลที่เป็นเจ้านาย ข้าราชการ และพลเมืองทุกบุคคลที่มีภูมิลำเนาในพระราชอาณาเขตแห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อยกฐานะและความสามารถในความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคลให้ปรากฏเป็นที่ยอมรับทางสังคม ประเพณี
นิยม ระบบราชการ สิทธิและผลประโยชน์กับกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
   สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ตราพระราชกำหนดกฎมณเฑียรบาล เป็นกฎระเบียบในการปฏิบัติราชการมิให้เป็นความผิดต่อพระเจ้าแผ่นดิน มิให้บกพร่องแก่ราชการ มิให้เป็นเหตุแก่พระเจ้า แผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ มิให้ทำความชั่วให้เป็นที่เสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นต้น อนึ่ง กฎมณเฑียรบาลซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ตราขึ้นครั้งแรกเป็นพระราชกำหนดใน แผ่นดินของพระองค์นั้น ได้ถือเป็น
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายสำหรับราชการในพระราชสำนักแห่ง กรุงศรีอยุธยาต่อมาเป็นลำดับ ทั้งยังได้รับสืบต่อมาเป็นกฎมณเฑียรบาลสำหรับพระราชสำนักแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ด้วย
   การรักษาและผดุงความมั่นคงของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรงเป็นพระประมุขแห่งพระราชอาณาเขต กับสถาบันราชการ สังคม พลเมือง และแว่นแคว้น มิให้มีเหตุเป็นภัยขึ้นภายใน หรือมาแต่ภายนอก จนนำมาซึ่งภัยเป็นอันตรายแก่ความสงบเป็นปกติสุข จึงต้องมีกฎหมายเพื่อยับยั้งห้ามปรามและ ปราบการณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นเหตุบั่นทอนความมั่นคงทั้งในส่วนพระเจ้าแผ่นดิน การบริหารราชการ สวัสดิภาพของพลเมือง เพื่อมิให้เป็นจลาจล
ขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้น
   ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคง ซึ่งโปรดให้ตรา ขึ้น คือพระไอยการอาชญาหลวงกับพระไอยการลักษณะขบถศึก
   เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาได้ ๓ ปี ระหว่างนั้นทรง จัดการบริหารราชการให้เป็นปกติเรียบร้อย ดังการสร้างพระราชวังใหม่ การปฏิรูประบบข้าราชการ เป็นต้น ในการศึกสงคราม พระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๔
   ต่อมา พ.ศ. ๑๙๙๘ เมืองมะละกาซึ่งเป็นเมืองขึ้นแก่กรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อน เจ้าเมืองตั้งตัว เป็นขบถ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ส่งกองทัพลงไปปราบและได้เมืองมะละกาคืนมาดังเดิม อนึ่ง ในช่วงระยะเวลาของพระองค์ ปรากฏว่าทรงแผ่พระบรมเดชานุภาพเหนือดินแดนลาว กัมพูชา และทวายด้วย นอกจากนั้นยังทรงทำสงครามอีกหลายครั้งกับเชียงใหม่ เพื่อป้องกันเมืองกำแพงเพชร เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย
หลังจากที่มีศึกสงครามกับฝ่ายล้านนานี้เอง ทำให้สมเด็จพระ บรมไตรโลกนาถเสด็จไปเสวยราชย์ที่เมืองพิษณุโลกและคอยทรงบัญชาการรบ พระองค์เสด็จออก ผนวชที่วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๘ ทรงพระผนวชเป็นเวลานานถึง ๘ เดือน หลังจาก ทรงลาพระผนวชแล้ว สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงครองราชย์อยู่ต่อไปที่เมืองพิษณุโลก และเสด็จ   สวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๓๑ ขณะพระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา

           สมเด็จพระรามาธิบดีที่  ๒(พระเชษฐาธิราช)

      

          ประวัติส่วนตัว

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับที่ปรากฏพระนามว่า " พระพันวษา " ในวรรณคดีพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน เนื่องจากในพงศาวดาร อาทิ คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุถึงรัชสมัยของพระองค์ มีตอนที่กล่าวถึงทหารคนสำคัญคนหนึ่งที่ชื่อ " ขุนแผน " ด้วย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  (พระเชษฐาธิราช) พ.ศ.๒๐๓๔ -๒๐๗๒  (๓๘ ปี )

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔ – ๒๐๗๒ ทรง เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๐ ของกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประสูติเมื่อปีมะโรง ๒๐๑๕ ที่เมืองพิษณุโลก ทรงครองราชสมบัติยาวนานอยู่ถึง ๓๘ ปี นับเป็นลำดับที่สองรองจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชบิดา สวรรคตเมื่อมีพระชันษาได้ ๕๗ พรรษา ในปี ๒๐๗๒ ซึ่งเป็นปีที่ดาวหางฮัลเลย์โคจรมาใกล้โลก

        เมื่อพระชันษาได้ ๑๓ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานอภิเษกให้เป็นพระมหาอุปราชอยู่ได้ ๓ ปี สมเด็จพระราชบิดาถึงสวรรคต ตอนนั้นพระองค์มีพระชันษาได้ ๑๖ พรรษา พระองค์ยอมถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระบรมราชาธิราชผู้เป็นพระเชษฐา ซึ่งต่างพระมารดากัน และ ครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น ส่วนพระองค์คงครองเมืองพิษณุโลกอยู่ในตำแหน่งพระมหาอุปราชอีก ๓ ปี จนสมเด็จพระบรมราชาธิราชสวรรคต จึงเสด็จเสวยราชสมบัติเมื่อมีพระชันษาได้ ๑๙ พรรษา รวมระยะเวลาการครองราชย์นานถึง ๓๘ ปี นานเป็นอันดับที่สองรองจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชบิดา

          พระราชกรณียกิจที่สำคัญคือ

        ๑.ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระศรีสรรเพชญ์ขึ้นมีความสูงถึง๑๖  เมตร ๘ วา

        ๒.ทรงทำสงครามกับอาณาจักรล้านนาหลายครั้ง

    ปี พ.ศ.๒๕๐๖ พระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่ ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดี ได้ทรงยกทัพขึ้นไปช่วยโจมตี จนกองทัพเชียงใหม่แตกกลับไป

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระองค์ได้ทรงยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองลำปางได้

         ๓.ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกสซึ่งเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาสัมพันธไมตรีกับไทย และไทยได้ทำสัญญาทางราชไมตรี และทางการค้าร่วมกับโปรตุเกส เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๙ นับเป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ

        ผลจากการเข้ามาสร้างไมตรีของชาวโปรตุเกส ได้มีการนำเอาอาวุธแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาถวาย ได้แก่ ปืนประเภทต่าง ๆ และกระสุนดินดำ ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เข้ามาเป็นทหารอาสาฝรั่ง ได้ช่วยฝึกวิธีการใช้อาวุธแบบตะวันตก

       ๔.ทรงจัดให้มีการทำบัญชีสำรวจประชากรและสัตว์เลี้ยง

        ๕.ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพ และแต่งตำราพิชัยสงคราม

        ๖.ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล (พ.ศ.๒๐๖๑) เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดให้ไพร่ที่เป็นชาย อายุตั้งแต่ ๑๘ - ๖๐ ปี ต้องเข้ารับราชการทหาร ยกเว้นผู้ที่มีบุตรชายแล้วเข้ารับราชการ ตั้งแต่สามคนขึ้น ผู้เป็นบิดาจึงพ้นหน้าที่รับราชการทหาร ชายที่มีอายุ ๑๘ ปี ต้องขึ้นทะเบียนทหารเพื่อเข้ารับการฝึกหัดทหาร เรียกว่า ไพร่สม เมื่ออายุ ๒๐ ปี จึงเรียกเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการเรียกว่า ไพร่หลวง ส่วนพวกที่ไม่สามารถมารับราชการทหารได้ ก็ต้องมีของมาให้ราชการเป็นการชดเชยเรียกว่า ไพร่ส่วย

        ๗.ทรงตั้งกรมพระสุรัสวดี ให้เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยมีออกพระราชสุภาวดี เป็นเจ้ากรมรับผิดชอบในมณฑลราชธานี พระสุรัสวดีขวา รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระสุรัสวดีซ้าย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้

        ๘.ทรงทำสงครามกับมะละกาปี พ.ศ. ๒๐๔๓ ยังได้ส่งกองทัพทั้งทางบก และทางเรือ ไปทำสงครามกับมะละกา ถึงสองครั้ง เข้าโจมตีชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก แม้ไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็ทำให้มะละกาได้ตระหนักถึงอำนาจของอยุธยาที่มีอิทธิพลเหนือหัวเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองนครศรีธรรมราช ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ใช้เป็นฐานในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ในคาบสมุทรแห่งนี้ กษัตริย์มะละกา ผู้ปกครอง ปัตตานี ปาหัง กลันตัน และเมืองท่าที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทั้งหมด ต้องส่งบรรณาการต่อกษัตริย์สยามทุกปี

   

           สมเด็จพระไชยราชาธิราช

    

   สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จพระราชสมภพราว พ.ศ. ๒๐๔๒  เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ที่ประสูติแต่พระสนม ในปี พ.ศ.๒๐๗๗  ขณะพระชนมายุราว ๓๕ พรรษา ได้ปราบดาภิเษกโดยการสำเร็จโทษพระรัษฎาธิราช แล้วขึ้นครองราชย์
   ในเอกสารของโปรตุเกส กล่าวกันว่าในปี ค.ศ.๑๕๔๔  มีความเป็นไปได้ที่พระองค์อาจเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยมีนามทางศาสนาว่า ดง จูอาว (โปรตุเกส: Dom Jo?o) ซึ่งนอกจากนี้ก็ไม่มีเอกสารอื่นใดที่ยืนยันเกี่ยวกับการเปลี่ยนศาสนาในครั้งนี้อีก
      พระมเหสี พระราชโอรส ธิดา
   คำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชมีพระมเหสี ๒ พระองค์   คือ:-
     ๑.พระมเหสีจิตรวดี
     ๒.แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ จากราชวงศ์อู่ทอง
   สมเด็จพระไชยราชาธิราชมีพระโอรสที่ปรากฏในพงศาวดาร ๒ พระองค์ ประสูติแต่นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์  คือ:-
     ๑.พระยอดฟ้า ได้ครองราชย์หลังจากสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคตไม่ถึง ๒ ปี ก็ถูกขุนวรวงศาธิราชสำเร็จโทษ
     ๒.พระศรีศิลป์ ยังถูกเลี้ยงไว้ หลังจากสำเร็จโทษพระยอดฟ้า ต่อมาเมื่อขุนนางฝ่ายพระไชยราชาได้สังหารขุนวรวงศาและท้าวศรีสุดาจันทร์ที่คลองสระบัว พระศรีศิลป์ได้อยู่ในเหตุการณ์แต่รอดชีวิตกลับมาได้ ในรัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ พระศรีศิลป์ได้คิดกบฏต่อพระมหาจักรพรรดิจนต้องปืนสิ้นพระชนม์  การสวรรคต   พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า หลังทำสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จยกทัพหลวงกลับมายังกรุงศรีอยุธยา แล้วสวรรคตระหว่างทาง
   อย่างไรก็ดี บันทึกของพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาในอาณาจักรอยุธยาในสมัยนั้นชื่อ เฟอร์ดินันท์ เมนเดซ ปินโต กลับระบุว่าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์  ซึ่งลักลอบมีความสัมพันธ์กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) พราหมณ์ผู้คุมหอพระ ได้ลอบปลงพระชนม์พระองค์ด้วยยาพิษในปี พ.ศ. ๒๐๘๙ ซึ่งเป็นข้อมูลหลักในบทภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท
   พระราชกรณียกิจ
   ราชการสงคราม 

   ทำสงครามกับพม่าที่เชียงกราน  ในพ.ศ.๒๐๘๑
   ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามไทยกับพม่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๘๑ เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งกรุงหงสาวดีได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงกราน อันเป็นหัวเมืองชายแดนทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกทัพไปตีกลับคืนมา ในการทัพครั้งนี้ พระองค์นำทหารอาสาชาวโปรตุเกสไปด้วย อาสาชาวโปรตุเกสมีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ และได้เริ่มใช้ปืนไฟ ในการรบเป็นครั้งแรก กองทัพไทยสามารถยึดเมืองเชียงกราน กลับคืนมาได้
   เมื่อพระองค์ยกทัพกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบแก่กองอาสาชาวโปรตุเกส พระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนที่บริเวณตำบลบ้านดิน เหนือคลองตะเคียน ซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านโปรตุเกส และทรงอนุญาตให้สร้างโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทำให้มีบาทหลวงเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา
   ทำสงครามกับล้านนา
   เกิดการผลัดแผ่นดินขึ้นที่เชียงใหม่ พระเมืองเกษเกล้าถูกลอบปลงพระชนม์ โดยแสนคล้าวขุนนางผู้ทุริยศ บรรดาเจ้าเมืองลำปาง เมืองเชียงราย และเมืองพานได้ ยกกำลังเข้ายึดเมืองนครเชียงใหม่ได้ แล้วพร้อมใจกันแต่งตั้งพระนางจิรประภาเทวี มเหสีในพระเมืองเกษเกล้า ขึ้นครองนครเชียงใหม่ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงพิจารณาเห็นว่าล้านช้างอาจแผ่อำนาจเข้ามาปกครองล้านนา  จึงทรงแต่งทัพไปตีเชียงใหม่ในกลางปี พ.ศ. ๒๐๘๘ แต่ไม่สำเร็จ ในปลายปีต่อมาจึงยกทัพไปอีกครั้ง ตีได้เมืองลำพูน เมื่อถึงเชียงใหม่พระมหาเทวีได้ยอมอ่อนน้อมต่อสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระองค์ได้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศพระเมืองเกษเกล้าร่วมกับพระมหาเทวี ณ วัดโลกโมฬี แล้วเสด็จฯ กลับอยุธยา ต่อมา
สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคตระหว่างทาง พระนางจิรประภาจึงหันไปพึ่งล้านช้างโดยถวายราชสมบัติแด่สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช ปกครองนครเชียงใหม่สืบแทน
    การคมนาคม
   ในรัชสมัยของพระองค์ได้โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดบางกอก เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากน้ำไปถึง กรุงศรีอยุธยามีความคดเคี้ยวหลายแห่ง ทำให้เสียเวลาในการเดินทางเรือ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า แผ่นดินระหว่างคลองบางกอกใหญ่ และคลองบางกอก น้อยแคบ สามารถเดินถึงกันได้ ผลจากการขุดคลองลัดบางกอกทำให้สายน้ำเปลี่ยนทางเดินจนคลองลัดบางกอกกลายเป็นลำน้ำเจ้าพระยา จึงโปรดเกล้าให้ขุดคลองลัด ณ บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ด้านท่าราชวรดิษฐ์ในปัจจุบัน

    พระไชยราชาธิราชพระองค์เป็นนักรบที่เชี่ยวชาญในการสงครามมาก  พระองค์ทรงทำสงครามกับพม่าเป็นครั้งแรกที่เชียงกราน ในปีพ.ศ.๒๐๘๑  พระองค์ทรงตีกองทัพขนาดใหญ่ของพม่าซึ่งมีพระเจ้าตะเบงชะเวตี้เป็นจอมทัพ และมีบุเรงนองเป็นแม่ทัพใหญ่ แตกพ่ายอย่างโกลาหล  พม่าต้องถอยทัพกลับพม่าอย่างบอบช้ำ ในสมัยของพระองค์ที่ครองราชย์  ๑๓  ปี  พม่าไม่กล้ามาตอแยไทยเลย   เหตุที่พระไชยราชาธิราชทรงเอาชนะพม่าได้เพราะพระองค์นำเอาทหารอาสาชาวโปรตุเกสที่ชื่อว่า "เฟอร์ดินันท์  เมนเดช  ปินโต"

ซึ่งเป็นพ่อค้าที่มีความชำนานในการใช้ปืนไฟมาก ออกรบด้วย  พระองค์สั่งให้ เฟอร์ดินันท์ เมนเดช ปินโต  ยิงปืนไฟถล่มกองทัพพม่า  ปืนไฟยิงเข้าที่ไหนทหารพม่าก็แตกพ่ายในที่นั่น  พม่าเห็นสู้ไม่ไหวจึงรีบถอยทัพกลับประเทศไปโดยเร็ว

            สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

    
   สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงพระนามเดิมว่า พระเฑียรราชา ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และทรงเป็น พระอนุชาต่างพระชนนี ในสมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๕ ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คู่กันกับท้าวศรีสุดาจันทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระยอดฟ้า ต่อมาได้เสด็จออกผนวช ณ วัดราชประดิษฐาน
   เมื่อขุนพิเรนทรเทพและคณะ ได้กำจัดขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ เสร็จสิ้นแล้ว จึงได้อัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาผนวชและขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้สถาปนาพระมเหสีเป็นพระสุริโยทัย ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาสี่พระองค์คือ พระราเมศวร พระมหินทร พระวิสุทธิกษัตรี และพระเทพกษัตรี
   เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทรงแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพ เป็นพระมหาธรรม ราชา ครองเมืองพิษณุโลก แล้วพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรีให้เป็นพระมเหสี ขุนอินทรเทพ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช หลวงศรียศ เป็นเจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหกลาโหม หมื่นราชเสน่หา เป็นเจ้าพระยามหาเทพ หมื่นราชเสน่หานอกราชการ เป็นพระยาภักดีนุชิต พระยาพิชัย เป็นเจ้าพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลก เป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก
   ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือน พระเจ้าหงสาวดี (พระเจ้าตะเบงชะเวตี้) ทรงทราบว่า ทางกรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายังราชอาณาจักรไทย จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางเมืองกาญจน บุรี ตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง  ทัพพระมหาอุปราชา ตั้งที่เพนียด ทัพพระเจ้าแปร ตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จออกไปดูลาดเลากำลังศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง พร้อมกับพระสุริโยทัย พระราเมศวร และพระมหินทราธิราช สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้กระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร  ช้างพระที่นั่งเสียที สมเด็จพระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรและพระมหินทรา ฯ ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร
   ในการต่อสู้กับข้าศึกในขั้นต่อไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้นำปืนใหญ่นารายณ์สังหาร ลงเรือสำเภาแล่นไปตามลำน้ำโจมตีข้าศึกที่ตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ อำนาจการยิงของปืนใหญ่ทำให้ฝ่ายพม่าล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับเป็นเวลาใกล้ฤดูฝน และเสบียงอาหารร่อยหรอลง อีกทั้งทางฝ่ายพม่าได้ข่าวว่า มีกองทัพไทยจากหัวเมืองเหนือยกมา  สนับสนุน เกรงว่าจะถูกตีกระหนาบจึงยกทัพกลับทางด่านแม่ละเมา  กองทัพของพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวร ไล่ติดตามไปจนเกือบถึงเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายพม่าได้ทำอุบายซุ่มกำลังไว้ทั้งสองข้างทาง พอกองทัพไทยถลำเข้าไป จึงได้เข้าล้อมไว้ จับได้ทั้งพระมหาธรรมราชา และพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องทรงขอหย่าศึก และไถ่ตัวคืนโดยแลกกับช้างชนะงาสองเชือก
   ในระหว่างปี พ.ศ.๒๐๙๒ - ๒๑๐๖ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้ปรับปรุงกิจการทหาร และเสริมสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงแข็งแรงกว่าเดิม ยุทธศาสตร์ในการป้องกันคือ ใช้พระนครเป็นที่มั่น โปรดให้รื้อป้อมปราการตามหัวเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกอาศัยเป็นที่ตั้งมั่น ทรงสร้างกำแพงกรุงศรีอยุธยาด้วยการก่ออิฐถือปูน ขุดคลองมหานาคเป็นคูเมืองออกไปถึงชายทุ่งภูเขาทอง โปรดให้สำรวจบัญชีสำมะโนครัว ตามหัวเมืองในเขตชั้น
ในทุกหัวเมือง ทำให้ทราบจำนวนชายฉกรรจ์ที่สามารถทำการรบได้ โปรดให้สะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ พาหนะทั้งทางบก และทางน้ำเพื่อใช้ในสงคราม โปรดให้จับม้าและช้างเข้ามาใช้ในราชการ สามารถจับช้างเผือกได้ถึงเจ็ดเชือก จึงได้รับขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือกอีกพระนามหนึ่ง
   พระเจ้าบุเรงนอง  ผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเตะเบงชะเวตี้ ทราบเรื่องช้างเผือก จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือกสองเชือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงให้เหตุผลเชิงปฎิเสธ พระเจ้าบุเรงนองจึงถือสาเหตุนั้น ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๖ ด้วยกำลังพลสองแสนคน จัดเป็นทัพกษัตริย์หกทัพ ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกสอาสาสมัคร ๔๐๐ คน เป็นทหารปืนใหญ่ ให้
เมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหาร โดยลำเลียงมาทางเรือ เปลี่ยนเส้นทางเดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าตีหัวเมืองเหนือของไทยมาตามลำดับเพื่อตัดกำลังที่จะยกมาช่วยกรุงศรีอยุธยา
   ฝ่ายไทยเตรียมตัวป้องกันพระนคร โดยคาดว่าพม่าจะยกกำลังมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตีเมืองกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลกได้ ครั้นลงมาถึงเมืองชัยนาท กองทัพพม่าก็ได้ปะทะกับกองทัพไทยของพระราเมศวร แต่ฝ่ายไทยต้านทานไม่ได้ต้องถอยกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าในพระนครทุกวัน จนราษฎร์ได้รับความเดือดร้อนและเสียขวัญ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง ที่พลับพลาบริเวณตำบลวัดพระเมรุการาม กับวัดหัสดาวาส ยอมเป็นไมตรี โดยได้มอบช้างเผือกสี่เชือก พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามให้แก่พม่า
   หลังสงครามช้างเผีอกสิ้นสุดลง สมเด็จพระมหินทรา ผู้ทรงเป็นพระมหาอุปราชแทนพระราเมศวร ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ที่เสด็จออกผนวช ต่อมาทรงเกรงว่าพระมหาธรรมราชาจะไปสนับสนุนพม่า พระองค์จึงทูลให้พระมหาจักรพรรดิ์ให้ทรงลาผนวช แล้วกลับมาครองราชย์ตามเดิม ส่วนพระองค์เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปเมืองพม่าแล้วรับรองพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยพระราชนัดดามาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา  เมื่อพระมหาธรรมราชาทราบเรื่องจึงให้ไปเข้ากับพม่าอย่างเปิดเผย
   ในปี พ.ศ. ๒๑๑๑ พม่าได้ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพ มีกำลังหาแสนคน เดินทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน โดยมุ่งตีหักเข้ามาทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านที่อ่อนแอที่สุด และใช้กำลังทางเรือปิดกั้นลำน้ำทางตอนใต้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไทยติดต่อกับหัวเมืองทางใต้และต่างประเทศ ฝ่ายไทยได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคต ทำให้ราษฎรเสียขวัญ และกำลังใจกองทัพของ
   พระเจ้าไชยเชษฐาที่ยกมาช่วย ถูกพม่าซุ่มโจมตีถอยกลับไป พระเจ้าบุเรงนองได้ทำอุบายให้พระยาจักรีที่พม่าขอไปพม่าในสงครามครั้งก่อน ลอบเข้ากรุงศรีอยุธยา เป็นไส้ศึกให้พม่า จนทำให้การป้องกันกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลงไปตามลำดับ หลังจากพม่าล้อมกรุง อยู่เก้าเดือนก็เสียกรุงแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒
   สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๑ ครองราชย์ได้ ๒๐ ปี

    บุคคลสำคัญในสมัยพระมหาจักรพรรดิ

     ๑.พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช

     ๒.พระเจ้าบุเรงนอง

     ๓.พระมหาธรรมราชาธิราช

        สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช

    
   พระเจ้าอุภัยภูธรบวรไชยเชษฐาธิปัตย์ศรีสัตนาคนหุต
   สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  มีพระนามเดิมว่า เจ้าเชษฐวังโส ประสูติปีมะเมีย (ปีม้า) เดือนอ้ายหรือเดือนเจียง หรือเดือนหนึ่ง แรม ๙ ค่ำ วันอาทิตย์เวลาเที่ยง ปี พ.ศ.๒๐๗๗ สมัยเยาว์วัยนั้น เจ้าฟ้าเชษฐวังโส หรือเจ้าฟ้าไชยเชษฐากุมาร มีจิตใจใฝ่การศึกษาเล่าเรียน ฉลาดหลักแหลม และมีจิตเอื้ออารี พระบิดาทรงพระนามว่า พระเจ้าโพธิสาร ครองราชย์ (พ.ศ.๒๐๖๓ -๒๐๙๐) ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ คือ พระราชบิดาของท่าน เป็นลูกของพญาเกสเชษฐราชเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ส่งพระเจ้าโพธิสารไปปกครองนครศรีสัตนาคนหุตเชียงทอง (หลวงพระบาง) ในรัชกาลที่
๒๐
   เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา พระเจัานครเชียงใหม่ คือ พระเมืองเกษเกล้า หรือ พญาเกสเชษฐราช พระอัยกา (ปู่) ของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคต ฝ่ายเสนาอำมาตย์และพระสงฆ์องค์เจ้าผู้ใหญ่ จึงได้ปรึกษาหารือเห็นดีงามพร้อมกันว่า “เจ้าฟ้าไชยเชษฐาราชกุมาร พระราชโอรสของพระนางหอสูง สมควรจะได้ปกครองราชสมบัติในนครเชียงใหม่แทนพระอัยกา” แต่ก่อนที่พระองค์จะเสด็จมาครองเมืองเชียงใหม่นั้น
พระนางมหาเทวีจิรประภา (ย่า) พระอัครมเหสีของพญาเกสเชษฐราช พระอัยกา (ปู่) ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๘๘-๒๐๘๙ เพื่อรอหลานชายจากเมืองหลวงพระบาง ได้เสด็จมาครองราชย์สืบต่อพระนาง
   พระเจ้าไชษฐากุมาร ก็ได้ปกครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินในนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๐๙๑ ได้เพียงแค่ปีเดียว เพื่อเป็นสิริมงคล ในการเสวยราชสมบัติของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนั้น เหล่าเสนาอำมาตย์ จึงได้ไปอัญเชิญพระมหามณีรัตน์ปฎิมากรแก้วมรกต ที่ประดิษฐานอยู่ที่เมือง ลำปางนำกลับมาไว้ที่เมืองเชียงใหม่
   ปี พ.ศ. ๒๐๙๐ พระเจ้าโพธิสารราชก็เสด็จสวรรคต (พระบิดา) เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย ก็ได้แต่งพระราชสาส์นฉบับหนึ่งแจ้งข้อราชการในนครศรีสัตนาคนหุตเชียงทอง (หลวงพระบาง) ไปถวายระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่นครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระยายศลือเกียนเป็นผู้นำขึ้นไปถวาย ครั้นทราบจากราชสาส์นแล้ว พระองค์ก็ทรงกรรแสง (ร้องไห้) และทรงคิดถึงพระราชบิดา ด้วยยังไม่เห็นพระทัยเมื่อสรรคต
   ดังนั้น พระองค์ได้ทรงปรึกษาหารือกับเสนาอำมาตย์ว่า “เราจะไปเยี่ยมพระศพและทำการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชบิดาของเราที่นครศรีสัตนาคหุต และจะทรงเยี่ยมพระญาติ และบ้านเมืองของเราด้วย จะไปยาวนานเท่าไรยังไม่ทราบ และเพื่อเป็นสิริมงคล แก่บ้านเมืองเราจะนำเอา พระแก้วมรกตไปด้วย” พอแต่ท้าวเพีย (พระยาผู้ใหญ่) จัดยุทธ โยธาจตุรงค์พร้อมเพียงแล้ว พระองค์ ก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระพุทธสิหิงส์ และพระแก้วขาว ซึ่งเป็นพระพุทธ รูปศักดิ์สิทธิ์ จัดขบวนแห่เดินทางไปจนถึงพระนครศรีสัตนาคหุตเชียงทอง
   จากพงศาวดารตรงนี้ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้นำขบวนแห่องค์พระแก้วมรกต รวมทั้งพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงค์) และพระแก้วขาว แวะพักตามสถานที่และหัวเมืองต่างๆก่อนที่จะไปถึงเมืองหลวงพระบาง และวัดพระเวียงพระแก้ว ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ ของเรา ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ขบวนทัพของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้เสด็จหยุดแวะพักและได้ทำการเฉลิมฉลองสมโภชน์องค์พระแก้ว ให้ชาวเมืองได้สักการะ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อวัดเวียงพระแก้ว มาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกจากเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้มอบเมืองให้แก่ พระยากงกางราช ผู้เป็นลุงให้เป็นผู้รักษาว่าราชการบ้านเมืองแทนชั่วคราว
   ฝ่ายพวกเสนาฝ่ายใต้ อันมีพระยาเวียงแสนมะโรง มารดาพระล้านช้างและกวานด้ามฟ้า เป็นหัวหน้าพอทราบข่าวว่า พระโพธิสารเสด็จสวรรคตแล้ว ก็พร้อมกันคิดว่าจะอภิเษกพระล้านช้างขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงพากันแข็งข้ออยู่ที่เมืองปากห้วยหลวง
   สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงทราบ จึงมีพระราชโองการทรงแต่งตั้งให้ พระศรีสัทธรรมไตรโลก ยกไพร่พลโยธาลงมาปราบกองทัพทหารของพระเจ้าล้านช้าง กองทัพทั้งสองทำสงครามกันอยู่ที่แก้งสา พระเวียงกวานด้ามพ้าและพระยาแสนณรงค์ เห็นว่าจะต้านไม่ไหว จึงได้พาพระล้านช้าง หนีลงไปพึ่งพระยานครที่เมืองกระบอง (เมืองท่าแขก) พระยานคร จึงได้จับคนทั้งสามส่งให้พระยาศรีสัทธรรมไตรโลก ทั้งสามคนจึงถูกพระ
ยาศรีสัทธรรมไตรโลก สั่งประหารชีวิต แล้วควบคุมเอาพระมารดาและพระล้านช้างขึ้นมายังนครเชียงทอง พอขึ้นมาถึงแก้งปิง พระยาศรีสัทธรรมไตรโลก ก็ได้ประหารชีวิตพระมารดาของพระล้านช้างเสีย คุมเอาเฉพาะพระล้านช้างและแม่เลี้ยง มีชื่อว่า “นางกองสร้อย” ขึ้นไปนครเชียงทองพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงพระราชทานอภัยโทษ แล้วให้ไปอยู่กับพระยาแสนเมือง
   เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองได้สงบเรียบร้อยแล้ว พระองค์ จึงทรงพระราชทานเพลิงศพพระราชบิดา และในคราวนั้น พระองค์ก็ได้ทรงผนวช จูงพระบรมศพพระราชบิดาด้วย เมื่องานพระราชพิธีศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหล่าเสนาอำมาตย์ราชมนตรี และพระสงฆ์องค์เจ้าทั้งหลายจึงพร้อมกันอภิเษก พระไชยเชษฐาธิราชเจ้า ขึ้นเป็น พระเจ้าแผ่นดินปกครองนครเชียงทอง ถวายพระนามว่า
“พระอุภัยภูธรบวรไชยเชษฐาภูวนาถาธิปัตศรีสัตนาคนหุต” ด้วยที่พระองค์ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองทั้งสองนคร พระองค์จึงทรงแต่งตั้ง พระยาศรีสัทธรรมไตรโลก ผู้มีความชอบขึ้นเป็น “พระยาจันทบุรีศรีสัทธรรมไตรโลกน้าออก” เป็นพระเจ้าปกครองเวียงจันทน์ ในปี
พ.ศ.๒๐๙๓
   บรรดาเมืองที่ขึ้นกับนครเวียงจันทน์ ดังนี้
    ๑.เมืองเชียงคาน
    ๒.เมืองแก่นท้าว
    ๓.เมืองแก
    ๔.เมืองพระน้ารุ่งเชียงสา
    ๕.เมืองห้วยหลวง
    ๖.เมืองเวียงคำ(คู่กับเมืองเวียงจันทน์)
พอพระยาจันทบุรีขึ้นปกครองนครเวียงจันทน์แล้ว  ก็ได้สร้างวัดขึ้น ๒ วัดคือ
   ๑. วัดพระยา(วัดเพีย ในปัจจุบัน)
   ๒.วัดจันทบุรีศรีสัทธรรมไตรโลก อยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง (วัดจันทบุรี ในปัจจุบัน)
   ปี พ.ศ. ๒๐๙๔ สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้มีพระราชโองการแต่งให้เสนามนตรีไปบอกทางนครเชียงใหม่ว่า พระองค์จะ ไม่ได้เสด็จกลับ คืนมานครเชียงใหม่แล้ว ส่วนราชการบ้านเมืองขอมอบให้พระนางเจ้าจิระประภา เป็นผู้ดูแลแทนต่อไป    ฝ่ายเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ของเมืองเชียงใหม่ได้ทราบดังนี้ ก็เกิดทะเลาะกัน แย่งความเป็นใหญ่จนเกิดศึกกลางเมือง พระองค์ทรงทราบเรื่อง จึงมีพระราชโองการให้ พระยาเมืองแพร่ กับพระยานครล้านช้าง และพระยาทัวเวียง ยกกำลังขึ้นไปปราบปรามจึงสงบลง
   ปี พ.ศ.๒๐๙๖ พวกเสนาอำมาตย์นครเชียงใหม่ ได้พร้อมกันไปเชิญเอา “เจ้าเนกุติ” ผู้เป็นเชื้อสายของพระยาเม็งราย ซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ ให้ลาสิกขาออกมาอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งนครเชียงใหม่ สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงทราบ ก็พิโรธเป็นอย่างมาก ซึ่งเมืองเชียงใหม่ยังเป็นของพระองค์อยู่
   ปี พ.ศ.๒๐๙๘ พระองค์จึงทรงยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ในขณะนั้น สมเด็จพระไชษฐาธิราช ได้แต่งตั้งให้พระยาเมืองกลาง เป็นแม่ทัพยกไปตีเชียงแสน ตัวแสนน้อยหนีไปเมืองตองอู (เมืองหงสาวดี) พระองค์เสด็จขึ้นไปประทับที่เมืองเชียงแสน และตั้งนครเชียงแสนเป็นราชธานีทรงปกป้องรักษาไพร่พล ช้างม้าอยู่ที่นั่น นานถึง ๘ เดือน เพื่อจะตีเอานครเชียงใหม่คืนมาให้ได้
    ฝ่ายแสนน้อยที่หนีไปนั้น ได้ไปเชิญเจ้าฟ้าหงสาวดีบุเรงนอง ให้มาตีเมืองเชียงใหม่ เจ้าฟ้าหงสาวดี จึงมีราชสาส์นโดยให้น้อยเจียถือไปถวายสมเด็จพระไชษฐาธิราชอยู่เมืองเชียงแสน มีข้อความว่า “เมืองเชียงใหม่เป็นของลูกเรา เราก็รู้เป็นอย่างดี แต่พ่อเจ้าหมื่นกวาน กับนายประ เทียบวิชุลได้มาบอกเล่าถึงอังวะโน้น พระเมกุติ ทั้งแสนน้อยเขาได้ชิงเอาเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว บัดนี้ เราผู้พ่อก็ได้รับพระเมกุติและแสนน้อยไว้แล้ว บัดนี้
เมืองเชียงใหม่นี้ ลูกเราจะมาเอา เราผู้พ่อจักมอบให้”
   สมเด็จพระไชษฐาธิราช ได้ทรงทราบพระราชสาส์นนั้นแล้วทรงตอบกลับไปว่า“เมืองเชียงใหม่นี้หากเป็นเมืองของเราผู้ลูกแท้ พ่อเราตาย เรากลับไปบวช และสร้างมหาธาตุทั้งวิหาร ให้ทานเป็นการตอบแทนคุณพ่อเรา เราจึงฝากเมืองไว้กับพระสงฆ์และเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย เขาไม่อยู่ในคำสัตย์ที่ตั้งไว้ เลยเอาพระเมกุติมาตั้งแทน บัดนี้พ่อเราได้เมืองเชียงใหม่แล้ว เราขอถวายมอบให้แก่พ่อเรา เราจักกลับไปเมืองล้านช้างดังเดิม”
   ตั้งนครเวียงจันทน์เป็นราชธานี
   ปี พ.ศ.๒๑๐๓  ปีวอก สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงพิจารณาเห็นว่า “นครเชียงทอง (หลวงพระบาง) เป็นที่คับแคบ ไม่กว้างขวาง และอย่างหนึ่ง ก็เป็นที่เดินทัพของพม่า ซึ่งกำลังเป็นศัตรูอยู่กับนครเชียงทอง ทั้งพิจารณาเห็นว่า “เมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองใหญ่มีที่ทำมาหากินกว้างขวาง อุดมไปด้วยข้าว ปลาอาหาร สมควรแต่งตั้งให้เป็นมหานครได้”
   เมื่อพระองค์จินตนาการดังนั้นแล้ว จึงปรึกษาหารือกับเสนามนตรีทั้งหลาย ในเมื่อทุกคนเห็นดีงามด้วยทุกประการ จึงมอบนครเชียงทอง ให้พระสงฆ์เป็นผู้ดูแลรักษา พร้อมด้วยพระบางเจ้า ส่วนพระองค์ได้อัญเชิญเอาพระแก้วมรกต และพระแซกคำพร้อมด้วยสมบัติทั้งมวล อพยพจตุรงคเสนาโยธาทหารลงมาอยู่นครเวียงจันทน์ ได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงคำมาอยู่ที่เวียงจันทน์ ได้ประดิษฐานพระแก้วมรกต และพระแซกคำ (พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงค์) ไว้ที่เวียงจันทน์ เรียกว่า เวียงจันทน์ล้านช้าง จึงขนานนามนครเวียงจันทน์ใหม่ว่า “พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุดมราชธานี” และได้ สร้างวัด เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตขึ้นเป็นพิเศษพระองค์ได้ทรงสร้าง พระธาตุหลวง ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นยอดเยี่ยมของลาว พระองค์ก็ได้ สร้างมหาปราสาทราชวังหลวงขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๙ ซึ่งต่อมา ได้ถูกพวกปล้นจากยูนนานทำลายเสียหายไปมาก
   ส่วนนครเชียงทองนั้น ก็ได้เรียกว่า “นครหลวงพระบาง” แต่กาลบัดนั้น เหตุว่า พระบางเจ้ายังประดิษฐานอยู่ ณ ที่นั่น พระบางประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงทอง จึงได้ชื่อว่าหลวงพระบางมาจนถึงบัดนี้ บางครั้ง ก็เรียกชื่อว่าล้านช้างหลวงพระบาง
    สร้างพระธาตุหลวงและวัดวาอาราม
   ปี พ.ศ. ๒๑๐๙ สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้ทรงสร้างพระธาตุหลวงขึ้น อยู่ในสวนอุทยานทานด้านตะวันออกแห่งพระมหานคร โดยก่อครอบพระเจดีย์ลูกหนึ่งที่มีอยู่ ในที่นั้นก่อนแล้ว ได้ฤกษ์ในการลงมือทำในวันเพ็ญเดือนอ้าย (เดือนที่ ๑) ใช้เวลาก่อสร้างนานพอ สมควรเมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงขนานนามว่า “พระธาตุเจดีย์โลกจุลมณี”คนส่วนมากเรียกว่า “พระธาตุใหญ่” หรือ “พระธาตุหลวง”
  เพื่อปฎิบัติรักษาพระธาตุโลกจุลมณี ให้มีรูปทรงสวยงามอยู่ตลอดเวลา พระองค์มีพระราชโองการให้ ๓๕ ครอบครัวอยู่ เฝ้ารักษา พระธาตุ ซึ่งพระองค์ได้อุทิศที่ดินไร่นาให้ทุกครอบครัวเพื่อเป็นที่ทำมาหากิน เมื่อสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างวัดวาอารามอีกหลาย แห่งคือ
    ๑.วัดป่าฤาษีสังหรณ์(ไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด)
    ๒.สร้างอุโมงค์รอบธาตุพระอรหันต์ที่ป่ามหาพุทธวงศ์ (วัดธาตุฝุ่น ในปัจจุบัน)
    ๓.วัดป่ากันทอง ที่หนองยางคำ
    ๔.พระเจดีย์โล้นธาตุหัวเหน่าอยู่ภูเขาหลวง (พระธาตุบังพวน หนองคาย)
    ๕.วัดโพนทองกก
    ๖.ก่อพระเจดีย์ครอบพระธาตุศรีโคตบูรณ์ที่เมืองท่าแขก
    ๗.ปฎิสังขรณ์ซ่อมแซมพระธาตุพนมใหม่
   พระองค์ได้ทรงสร้างวัดวาอารามทั้งอยู่ในนครเวียงจันทน์ ทั้งอยู่ในภาคกลางของลาว และแผ่นดินฝั่งด้านขวาแม่น้ำโขง ซึ่งเสด็จไปทุกที่ไม่เคยหยุดหย่อน อันทำให้ประชาราษฏร์เกิดความเลื่อมใสยิ่งนัก สมเด็จพระเจัาไชยเชษฐาธิราชเป็นกษัตริย์นักพัฒนา สร้างสรรให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ในนครเวียงจันทน์เต็มไปด้วย วัดวาอารามและพระธาตุเจดีย์ที่ประดับประดาอย่างวิจิตรพิสดาร
   พระพุทธศาสนา ในยุคของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช นับว่ามีความเจริญถึงขั้นขีดสุด ทรงได้สร้างวัดสำคัญมากมาย ที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ ให้ใหญ่โตมโหฬาร สมกับที่เป็นปูชนียสถานคู่แผ่นดินพระราชอาณาจักร และได้สร้างวัดในกำ แพงเมืองอยู่ประมาณ ๑๒๐ วัด และยังได้สร้างวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต ที่นำมาจากเมืองเชียงใหม่ ในสมัยนี้ ได้มีการแต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น
สังสินชัย การเกต พระลักพระราม เป็นต้น
   สมัยนี้ราชอาณาจักรไทย ได้มีความสัมพันธ์ลาวอย่างแน่นแฟ้น ได้ร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับพม่า ได้สร้างเจดีย์ “พระธาตุศรีสองรัก” ในอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งความเป็นพี่เป็นน้องกัน ของสองอาณาจักร   นอกจากพระองค์จะได้ทรงสร้างพระธาตุอื่นๆ และพระพุทธรูปสำคัญๆ อีกมากมาย เช่น พระเจ้าองค์ตื้อ ที่เวียงจันทน์ พระเจ้าองค์ตื้อ ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พระเสริม พระสุก พระใส พระอินทร์แปลง พระองค์แสน ทรงสร้างวัดพระธาตุ ที่จังหวัดหนองคาย และพระธาตุที่จมน้ำ
โขงอยู่ พระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย สร้างวัดศรีเมือง จังหวัดหนองคาย และพระประธานในโบสถ์ นามว่า พระไชยเชษฐา พระศรีโคตรบูร ที่แขวงคำม่วน พระธาตุอิงรัง ที่แขวงสุวรรณเขต (สุวรรณเขต) พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และทรงปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนม เป็นต้น
  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงประคับประคองนำราชอาณาจักรล้านช้างผ่านพ้นภัยการเป็นเมืองขึ้นของพม่าไปได้ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าในขณะนั้นอาณาจักรล้านนา (เสียแก่พม่า พ.ศ. ๒๑๐๑) และอาณาจักรอยุธยา (เสียแก่พม่า พ.ศ. ๒๑๐๗) ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว แต่หลังจากพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๑๔ พอมาถึง พ.ศ. ๒๑๑๗-๒๑๑๘ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ยกทัพมาตีลาวและได้รับชัยชนะ และทรงนำโอรสองค์เดียวของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งประสูติในปีที่สวรรคต ไว้เป็นประกันที่หงสาวดีด้วย ต่อจากนั้นมาหลายปีแผ่นดินลาวก็วุ่นวายด้วยเรื่องราชสมบัติ
   จน พ.ศ. ๒๑๓๔ พระเถระเจ้าอาวาสวัดต่างๆ จึงได้ประชุมกันลงมติให้ส่งทูตไปเชิญเจ้าชายหน่อแก้วกุมาร ซึ่งเป็นตัวประกันอยู่ประเทศพม่ากลับมาครองราชย์ และในเวลานั้นพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตลง พม่าเริ่มอ่อนแอลง และเจ้าหน่อแก้วกุมารขึ้นครองราชย์สมบัติ พ.ศ. ๒๑๓๕ และประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าต่อไป
   การการเรียนรู้พงศาวดารและประวัติศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่อดทึ่งไม่ได้คือ การเดินทางของพระมหากษัตริย์หรือผู้นำในสมัยก่อน ในการยกทัพหรือการเดินทาง ซึ่งไม่ได้สะดวกสบายอย่างทุกวันนี้ แต่กระนั้นก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของผู้คนในสมัยนั้น บางครั้งมีการเดินทางเป็นเดือนๆ เป็นปีกว่าจะไปถึงที่หมาย แล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเบื้องหน้า และในช่วงที่เดินทางเป็นอย่างไร..นั้นแหละที่ทำให้ ผมสนใจอยู่มิใช่น้อย

                   พระเจ้าบุเรงนอง

     

    บุเรงนองเป็นกษัตริย์แห่งพม่าที่รบเอาชนะพระมหาจักรพรรดิ ในปีพ.ศ.๒๑๐๖ พระเจ้าบุเรงนอง  ผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเตะเบงชะเวตี้ ทราบเรื่องช้างเผือก จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือก  ๒  เชือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงปฎิเสธ พระเจ้าบุเรงนองจึงถือสาเหตุนั้นเป็นข้ออ้าง   ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๖ ด้วยกำลังพล  ๒๐๐๐๐๐  คน จัดเป็นทัพกษัตริย์หกทัพ ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่พร้อมกับว่าจ้างชาวโปรตุเกสอาสาสมัคร ๔๐๐ คน มาเป็นทหารปืนใหญ่ให้อีกด้วย นี้ก็แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าบุเรงนองเคยรบแพ้ พระไชยราชาธิราช ที่เชียงกราน ในปี พ.ศ.๒๐๘๑  เพราะปืนไฟของอาสาสมัครชาวโปรตุเกสนี้เอง

          สมเด็จพระมหินทราธิราช

                   
   เป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระองค์ได้โดยเสด็จพระราชบิดาในการศึกสงครามกับพม่า มาตั้งแต่ต้นรัชกาลคือ ในปี พ.ศ.๒๐๑๙ ที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ยกทัพพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาและสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ถูกพระเจ้าแปรฟันสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
   ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๐๖ คราวสงครามช้างเผือก พระมหาจักรพรรดิ์ทรงยอมทำไมตรีกับพระเจ้าบุเรงนอง แต่พระเจ้าบุเรงนองทรงยุยงพระมหาธรรมราชา พระราชบุตรเขยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และครองเมืองพิษณุโลกอยู่นั้น ให้แข็งข้อต่อกรุงศรีอยุธยา และหันไปฝักฝ่ายกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ดังปรากฎในกรณีที่พระองค์แจ้งให้กองทัพพม่า ยกมาชิงพระเทพกษัตริย์ไปยังกรุงหงสาวดี ในระหว่างที่เสด็จไปเวียงจันทน์  เพื่อเข้าสู่พระราชพิธีอภิเษกเป็น พระอัครมเหสีของ พระเจ้าไชยเชษฐา แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ตามที่ได้กราบทูลขอมา เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ทรงเสียพระทัยเป็นอันมาก จึงเสด็จออกทรงผนวช และยกราชสมบัติให้แก่พระมหินทราธิราช
   สมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทรงคบคิดกับพระเจ้าไชยเชษฐา ที่จะจับพระมหาธรรมราชา แต่พระมหาธรรมราชาได้เดินทางไปเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองเสียก่อน พระเจ้าบุเรงนองจึงสถาปนาพระมหาธรรมราชาเป็นเจ้าฟ้าสองแคว สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงทราบเรื่อง จึงได้กราบทูลขอให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงลาผนวช กลับมาครองราชย์
ใหม่ แล้วเสด็จไปเมืองพิษณุโลก พร้อมสมเด็จพระมหินทราธิราช เพื่อรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระราชนัดดา มายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองเห็นเป็นโอกาส จึงได้กรีฑาทัพ โดยรวมทหารจากประเทศราชทั้งปวง เข้ามาทางด่านแม่ละเมา เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๑
   สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และพระมหินทร ได้ช่วยกันป้องกันรักษาพระนครไว้อย่างเต็มความสามารถ ระหว่างนั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงประชวร และเสด็จสวรรคต พระเจ้าบุเรงนอง ล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ห้าเดือน ก็ยังตีเอาพระนครไม่ได้ ประกอบกับฤดูฝนกำลังย่างเข้ามา พระองค์จึงใช้วิธีเกลี้ยกล่อม ให้พระยาจักรีทรยศต่อเมืองไทย โดย
รับอาสาเป็นไส้ศึกให้พม่า จัดการให้การป้องกันพระนครอ่อนแอลง เมื่อพม่าเข้าโจมตีพระนครในตอนกลางคืน เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๑๑๒ กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่ข้าศึก
   เมื่อสิ้นสงครามแล้ว พระเจ้าบุเรงนองก็หาเรื่องเอาผิดพระยาจักรี แล้วให้ประหารชีวิต เนื่องจากชิงชังว่าเป็นคนทรยศต่อชาติบ้านเมืองของตนเอง หลังกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว พระเจ้าบุเรงนองเสด็จยกทัพกลับไปทางเมืองกำแพงเพชร สมเด็จพระมหินทราธิราชก็โดยเสด็จ ครั้นถึงแดนเมืองแครง สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงพระประชวร เสด็จ
สวรรคต

                    ราชวงศ์สุโขทัย

                 พระมหาธรรมราชาธิราช

             
   สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่  ๑  พระมหากษัตริย์ไทยผู้สถาปนาราชวงศ์สุโขทัยสมัยอาณาจักรอยุธยา
   พระราชประวัติ  ก่อนครองราชย์
   สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า มีพระราชบิดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง ส่วนพระราชมารดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์สมเด็จพระไชยราชาธิราช สมเด็จพระมหาธรรมราชา      ธิราชเจ้า พระราชสมภพในปี พ.ศ. ๒๐๕๗  ต่อมาได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิเรนทรเทพ ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจขวา
   เมื่อขุนวรวงศาธิราชและนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์สมคบกันสำเร็จโทษสมเด็จพระยอดฟ้าพระราชโอรสของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เองแล้ว ขุนพิเรนทรเทพได้ร่วมกับขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา (ในราชการ) และหลวงศรียศ ปรึกษากันว่าแผ่นดินเป็นทุรยศ ควรจับขุนวรวงศาธิราชไปประหารชีวิตเสีย แล้วให้พระเทียรราชาซึ่งทรงผนวชอยู่วัดราชประดิษฐานเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระเทียรราชา กราบทูลแผนการ
ให้ทรงทราบ ก็ทรงเห็นด้วย ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ เห็นว่าควรเสี่ยงเทียนว่า พระเทียรราชามีพระบารมีมากกว่า ขุนวรวงศาธิราชหรือไม่ ขุนพิเรนทรเทพไม่เห็นชอบ แต่พระเทียรราชาทรงเห็นด้วย ค่ำวันนั้นทั้งหมดจึงไปยังพระอุโบสถวัดป่าแก้วเพื่อทำพิธีเสี่ยงทาย
   เมื่อจุดเทียนแล้วปรากฏว่าเทียนของขุนวรวงศาธิราชยาวกว่า ขุนพิเรนทรเทพจึงโกรธว่าห้ามแล้ว ยังขืนทำอีก แล้วคายชานหมากทิ้ง บังเอิญไปถูกเทียนขุนวรวงศาธิราชดับลง ทั้ง ๕ คนจึงยินดีอย่างยิ่งขณะนั้นมีพระภิกษุลึกลับเข้ามาในอุโบสถ ให้พรว่าที่ปรารถนานั้นจะสำเร็จแน่ ออกจากอุโบสถก็หายตัวไป
   ต่อมากรมการเมืองลพบุรีแจ้งราชสำนักว่าพบช้างมงคล (ช้างเผือก) ในเช้าตรู่วันต่อมาขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ พระราชโอรส และพระศรีสิน จึงทรงเสด็จทางชลมาส พระราชดำเนินไปทางคลองสระบัว เพื่อไปทรงคล้องช้างเผือก ขุนพิเรนทรเทพกับพวกได้จัดกองเรือออกสกัดเข้าจับขุนวรวงศาธิราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และพระราชโอรส ฆ่าเสียทั้งหมด เอาศพไปเสียบประจานไว้ ณ วัดแร้ง เว้นชีวิตไว้แต่พระศรีสินแล้วเข้ายึดพระราชวัง ให้ส่งเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ไปรับพระเทียรราชาซึ่งลาสิกขาบทแล้วมาราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ครองกรุงศรีอยุธยาแทน
   สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงตั้งขุนพิเรนทรเทพเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ครองเมืองพิษณุโลก ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดาเป็นพระวิสุทธิกษัตรีย์ ให้เป็นพระอัครมเหสี และพระราชทานเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค มีอำนาจตั้งตำแหน่งบรรดาศักดิ์ฝ่ายทหารพลเรือนในเมืองพิษณุโลก และเรือชัยพื้นดำพื้นแดงคู่หนึ่ง เมื่อประทับ ณ เมืองพิษณุโลกนั้น พระวิสุทธิกษัตรีย์ได้มีประสูติกาลพระราชโอรสธิดาตามลำดับคือ พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ   ถึงปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเห็นว่าครั้งนี้ทัพหงสาวดีมากจนเหลือกำลังจะต้านทานได้ ในวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๒ จึงทรงยอมแพ้ พระเจ้าบุเรงนองจึงรับสั่งให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาจัดทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาร่วมกับพระองค์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็จัดพล ๓๐๐๐๐ ไปกับทัพพระเจ้าบุเรงนอง จนกระทั่งเสียกรุงในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองจึงถอดสมเด็จพระมหินทราธิราชจากราชสมบัติ แล้วราชาภิเษกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าให้ครองกรุงศรีอยุธยาแทน มีราชทินนามว่า สมเด็จพระเจ้าสรรเพชญวงศ์กุรสุริโคดม บรมราชาธิราชราเมศ ปริเวทธรรมิกราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรเทพสมมติราชบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว
      หลังการครองราชย์
   ในรัชสมัยของพระองค์ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ (พระยาละแวก) ได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาถึง ๒ ครั้ง แต่ทรงป้องกันพระนครไว้ได้ และได้โปรดให้ขุดขยายคูเมืองด้านตะวันออกของเกาะเมืองให้กว้างขึ้น สร้างป้อมมหาชัย และสร้างพระราชวังจันทรเกษมให้เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช (สมเด็จพระนเรศวร)
  สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชประชวรและเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๓๓ สิริพระชนมายุ ๗๖ พรรษา ครองราชย์ได้ ๒๒ ปี

   บุคคลสำคัญในสมัยของพระมหาธรรมธิราช

    ๑.หลวงปู่ทวด    แห่งวัดช้างไห้

    ๒.สมเด็จพระนพรัตน์  วัดป่าแก้ว

    ๓.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ๔.พระสุพรรณกัลยา

               หลวงปู่ทวด

     

    หลวงปู่ทวดท่าน   เกิดในรัชกาลของ  สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
      ตามตำนานกล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หลวงปู่ทวดมีนามเดิมว่า " ปู " เป็นบุตรของนายหู นางจัน ชาวบ้านวัดเลียบ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ส่วนวันเดือนปีเกิดของเด็กชายปู ตรงกับวันเดือนปีใด หลักฐานยังขัดแย้งกันมากมีผู้สันนิษฐานไว้หลายกระแส ดังนี้
   ข้อสันนิฐานที่ ๑ อนันต์ คณานุรักษ์ ได้ระบุไว้ว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๕”
   วัน ศุกร์ ที่ ๔ เดือน มีนาคม พุทธศักราช ๒๑๓๑  ตรงกับ สุกรวาร, ขึ้น ๘ คํ่า , เดือน : ๔  จุลศักราช : ๙๔๙ คริสต์ศักราช : ๑๕๘๘  ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน
   เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ ๒ กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า

   ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหนอิ นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ

   เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม
   เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ ๗ ขวบ พ.ศ. ๒๑๓๒ บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป
   ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรี อยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ ๔ กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัด
สีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น
   โดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุ  ได้ ๘๐ ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นำพระศพท่านไปไว้ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนมาเที่ยว  เมื่อท่านมาจำพรรษาที่วัดพะโคะได้ ๕ ปี ท่านก็มรณภาพ

         สมเด็จนพรัตน์  วัดป่าแก้ว

      
    วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ "วัดป่าแก้ว" หรือ "วัดเจ้าไท" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ อีกด้วย

    สมเด็จพระนพรัตน์ ได้มาทูลขอโทษให้แก่แม่ทัพนายกองที่ติดตามพระนเรศวรไม่ทันในสงครามยุทธหัตถี ท่านทูลขอโทษว่า " การที่แม่ทัพนายกองเหล่านั้นติดตามเสด็จไม่ทันนั้น ก็เพราะบุญญาภินิหารของพระองค์ ที่จะได้รับเกียรติคุณเป็นวีรบุรุษที่แท้จริง ด้วยเหตุว่าถ้าพวกนั้นติดตามไปทันแล้วถึงจะชนะก็ยังไม่เป็นชื่อเสียงที่ยิ่งใหญ่ เหมือนกับที่พระองค์เสด็จไปโดยลำพัง เมื่อเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงเลื่อมใสในคำบรรยายข้อนี้แล้ว สมเด็จพระนพรัตน์ก็ทูลขอโทษให้แก่พวกแม่ทัพนายกองเหล่านี้ สมเด็จพระนเรศวรก็โปรดประทานให้ แต่ก็มีข้อแม้ว่าแม่ทัพนายกองเหล่านี้จะต้องไปตีเอาเมืองทะวายและเมืองตะนาวศรีมาให้ได้"

         สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    

     สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระนามเดิมว่าพระนเรศ หรือ "พระองค์ดำ" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์
(พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๘ ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก มีพระเชษฐภคินีคือพระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ สิริรวมการครองราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ สิริพระชนมายุ ๕๐ พรรษา
   พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช, พระนเรศ, องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม "นเรศวร" ได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช มาเป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช
   ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ

    สงครามยุทธหัตถี เป็นการต่อสู้กันด้วยอาวุธบนหลังช้าง ซึ่งเป็นวิธีการรบอย่างกษัตริย์ในสมัยโบราณ ดังเช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า และมีชัยในการกระทำยุทธหัตถีในครั้งนั้น
  ในการกระทำยุทธหัตถีนั้น บนหลังช้างจะมีคนนั่งอยู่สามคน ตัวแม่ทัพจะถือง้าวอยู่ที่คอช้าง คนที่นั่งกลางอยู่บนกูบจะถือหางนกยูงซ้ายขวา โบกเป็นสัญญาณ และคอยส่งอาวุธให้แม่ทัพ และจะสับเปลี่ยนที่นั่งกันตอนกระทำการรบเท่านั้น ที่ท้ายช้างจะมีควาญนั่งประจำที่ ตามเท้าช้างทั้งสี่มีพลประจำเรียกว่า จตุรงคบาท คนทั้งหมดจะถืออาวุธ เช่น ปืนปลายขอ หอกซัด ของ้าว ขอเกราะเขน แพน
   ถ้าเป็นช้างยุทธหัตถีจะมี หอกผูกผ้าสีแดงสองเล่ม ปืนใหญ่หันปากออกข้างขวาหนึ่งกระบอก ข้างซ้ายหนึ่งกระบอก มีนายทหารและพลทหารสวมเกราะ โพกผ้า ช้างที่เข้ากระบวนทัพ จะสวมเกราะใส่เกือกหรือรองเท้าเหล็กสำหรับกันขวากหนาม โดยทั้งที่สี่เท้าสวมหน้าราห์ มีปลอกเหล็กสวมงาทั้งคู่ และมีเกราะโว่พันงวงช้าง สำหรับพังหอค่าย โดยไม่เจ็บปวด
      ในปี พ.ศ.๒๑๓๕ พระเจ้าบุเรงนองโปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้านป่าโมก ไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวง บริเวณหนองสาหร่าย
     เช้าของวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงา คือช้างมีงาที่ได้รับการฝึกให้รู้จักการต่อสู้ มาแล้ว หรือ เคยผ่านสงครามชนช้าง ชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นช้างที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่า หลงเข้าไปในแดนพม่า มีเพียงทหารรักษาพระองค์ และจาตุรงค์บาท เท่านั้น ที่ติดตามไปทัน
  สมเด็จพระนเรศวร ทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้ กับเหล่าเท้าพระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรง ของสองพระองค์หลงถลำเข้ามา ถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบ ของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึก จึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคย มาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไม ขอเชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกัน ให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะชนช้างอย่างเราไม่มีอีกแล้ว"
     พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอ เข้าชน เจ้าพระยาไชยานุภาพ เสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพ ชนพลายพัทธกอ เสียหลัก สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง
   ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะรีเสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้ว จึงใช้ปืนระดมยิงใส่สมเด็จพระนเรศวรได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้น ทัพหลวงไทยตามมาช่วยทัน จึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน

        การตีเมืองทะวายและตะนาวศรี
   ศึกทะวายและตะนาวศรีนั้น เป็นการรบในระหว่างคนต้องโทษกับคนต้องโทษด้วยกัน กล่าวคือ ทางกรุงศรีอยุธยพาพวกนายทัพที่ตามเสด็จไม่ทันในวันยุทธหัตถีนั้น มีถึง ๖ คนคือ     พระยาพิชัยสงคราม พระยารามกำแหง เจ้าพระยาจักรี พระยาพระคลัง และพระยาศรีไสยณรงค์ สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้ปรึกษาโทษ ลูกขุนปรึกษาโทษให้ประหารชีวิต สมเด็จพระวันรัตสังฆปรินายกมาถวายพระพรบรรยายว่า การที่แม่ทัพเหล่านั้นตามเสด็จไม่ทัน ก็เพราะบุญญาภินิหารของพระองค์ ที่จะได้รับเกียรติคุณเป็นวีรบุรุษที่แท้จริง ด้วยเหตุว่าถ้าพวกนั้นตามไปทันแล้วถึงจะชนะก็ไม่เป็นชื่อเสียงใหญ่หลวง เหมือนที่เสด็จไปโดยลำพัง เมื่อเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงเลื่อมใสในคำบรรยายข้อนี้แล้ว สมเด็จพระวันรัตก็ทูลขอโทษพวกแม่ทัพเหล่านี้ไว้ สมเด็จพระนเรศวรก็โปรดประทานให้ แต่พวกนี้จะต้องไปตีทะวายและตะนาวศรีเป็นการแก้ตัว จึงให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพคุมพลห้าหมื่นไปตีตะนาวศรี พระยาพระคลังคุมกำลังพลหมื่นเหมือนกันไปตีทะวาย ส่วนแม่ทัพอื่นๆ ที่ต้องโทษก็แบ่งกันไปในสองกองทัพนี้คือ
   -พระยาพิชัยสงครามกับพระยารามคำแหงไป ตีเมืองทะวายกับพระยาพระคลัง และให้พระยาเทพอรชุนกับพระยาศรีไสยณรงค์ไปตีเมืองตะนาวศรีกับเจ้าพระยาจักรี
   ส่วนทางพม่านั้น เมื่อพระเจ้านันทบุเรงเสียพระโอรสรัชทายาทแล้วก็โทมนัส ให้ขังแม่ทัพนายกองไว้ทั้งหมด แต่ภายหลังทรงดำริว่าไทยชนะพม่าในครั้งนี้แล้วก็จะต้องมาตีพม่าโดยไม่ต้อง สงสัย ก่อนที่ไทยไปรบพม่าก็จะต้องดำเนินการอย่างเดียวกันกับที่พม่ารบกับไทย กล่าวคือ จะต้องเอามอญไว้ในอำนาจเสียก่อนและเป็นการแน่นอนว่าไทยจะต้องเข้ามาตีทะวาย และตะนาวศรี ด้วยเหตุนี้จึงให้แม่ทัพนายกองที่ไปแพ้สงครามครั้งนี้ไปทำการแก้ตัวรักษา เมืองตะนาวศรีและเมืองทะวาย เป็นอันว่าทั้งผู้รบและผู้รับทั้งสองฝ่าย ตกอยู่ในฐานคนผิดที่จะต้องทำการแก้ตัวทั้งสิ้น

   บุคคลสำคัญในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ๑.มหาเถรคันฉ่อง

    ๒.พระมหาอุปราชา  แห่งประเทศพม่า

        มหาเถรคันฉ่อง

   
      พระมหาเถรคันฉ่อง เกิดที่ประเทศพม่า สมัยพระเจ้าสิริชัยสุระ(พระเจ้าเมงจีโย) ท่านมีเชื้อมอญลูกครึ่งจีน พูดได้ ๔ภาษา คือ มอญ พม่า ไทย จีน ท่านมีนามเดิมว่า เกี้ยะจ้อง เมื่อเจริญวัยบิดา-มารดาพาไปขึ้นพระกัมมัฏฐานกับพระมหาเถรชาวมอญ เรียนพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับท่านจบสมถะ และวิปัสสนา ตั้งแต่เป็นฆราวาส และเรียนวิชาพิชัยสงครามด้วย
   เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทแล้วได้แปดเดือน ถึงสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ๆท่านได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร ชายหนุ่ม ชาวพม่า ชาวมอญต้องไปออกรบ ท่านได้เป็นนักรบในครั้งนั้นด้วย เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ๆสวรรคตแล้ว พระเจ้าบุเรงนองปราบดาภิเษกตั้งราชวงศ์แล้ว ต่อมาท่าน เกี้ยะจ้องก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ประมาณ พ.ศ. 2093 ปลายรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ท่านเกี้ยะจ้องได้บำเพ็ญพระกัมมัฏฐานทุกวัน ถือวัตรปฏิบัติตามแบบพระอาจารย์ อยู่ป่าเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
   แล้วต่อมาท่านระลึกถึงทหารที่ได้รับบาดเจ็บในการสู้รบ ท่านก็ปรารถนาอยากจะช่วยเหลือ ช่วยหาทางรักษา จึงตั้งจิตอธิษฐานอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ คืนวันหนึ่งท่านนั่งสมาธิ เห็นภิกษุชราโบราณมาบอกให้ไปนำบาตรดิน และไม้เท้าเบิกไพร ที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ในเขตเมืองมอญ ต่อมา ท่านได้ออกเที่ยวธุดงค์ ไปในป่าลึกในเขตเมืองมอญ ไปที่ถ้ำแห่งนั้น มีเทวดาที่เฝ้าอยู่หน้าถ้ำ นำพาท่านไปในถ้ำนั้น ท่านจึงได้นำเอาบาตรดินโบราณ และไม้
เท้าเบิกไพรออกมา แล้วท่านเรียนวิชาเรียกธาตุทั้ง ๔ เพื่อมาปรุงยา โดยมีพระอาจารย์ในสมาธิเป็นผู้สอน
   ต่อมาท่านได้จาริกธุดงค์ มาอยู่ป่าใกล้ๆพระธาตุมุเตา ชาวบ้านทราบเรื่องก็มากราบสักการะท่าน ๆพูดได้ทั้งภาษามอญ ภาษาพม่า การต่อมาพระนเรศ(พระนเรศวร)ทราบเรื่องราวว่ามีภิกษุเก่งกล้าวิชาอาคม มาอยู่ที่ป่ามุเตานั้น พระนเรศจึงขออนุญาต พระเจ้าบุเรงนอง เพื่อมาศึกษาพระธรรมกับพระที่อยู่ในป่านั้น
   ต่อมาพระเจ้าบุเรงนอง ได้อนุญาติและส่งพระนเรศมาเรียนพระธรรมกัมมัฏฐานมัชฌิมาและคาถาอาคม กับพระเกี้ยะจ้อง ท่านรู้อนาคตว่า พระนเรศจะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา จึงคิดทำน้ำมันว่านยา เมื่อปรุงยาเสร็จก็ให้พระนเรศอาบน้ำว่าน เพื่อไว้ป้องกันพระองค์ เมื่อสิ้นพระเจ้าบุเรงนองแล้ว พระเกี้ยะจ้อง ย้ายมาอยู่เมืองแครง
   กาลต่อมาย้ายเข้ามาอยู่กรุงศรีอยุธยา แล้วท่านก็ได้ศึกษาวิชาพิเศษต่างๆในคัมภีร์สติปัฏฐาน วิธีทำสันโดด ในทางสมาธิ กับ พระพนรัต(รอด หรือหลวงปู่เฒ่า)จนสำเร็จ และได้ศึกษาเพิ่มเติมวิชาต่างจากปู่เฒ่าด้วย ต่อมาพระเกี้ยะจ้อง ได้เปลี่ยนนามใหม่ว่า คันฉ่อง เป็นภาษาไทย หมายความว่าผู้มีแสงสว่างเหมือนคันฉ่อง(กระจก) เพราะรัศมีกายท่านสว่างไสว อีกตำนานกล่าวเรียกท่านอีกนามหนึ่งว่า พระมหาโอสถะวิชา เพราะท่านเป็นผู้รอบรู้ในสมถะ-วิปัสสนากัมมัฏฐาน-รู้สารพัดว่านยา รู้การปรุงว่านยาสูตรต่างๆหรือแม้กระทั่งว่านยาที่ฆ่าพิษปรอท ว่านยาอันชำระร่าง กายให้บริสุทธิ์ น้ำมันว่านยาคงกระพันชาตรีปราศจากโรคาพยาธิทั้งหลาย ต่อมาพระมหาเถรคันฉ่องได้รับสถาปนา จากสมเด็จพระนเรศมหาราช ให้ดำรงตำแหน่งพระสังฆราชฝ่ายซ้าย เจ้าคณะอรัญวาสี ที่พระพนรัตน สถิตวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว คลองตะเคียน อยู่หลังวัดพุทไธศวรรค์* ท่านถือข้อ
   วัตร ๓ อย่าง ๑.อยู่ป่าเป็นวัตร ๒.บิณฑบาตเป็นวัตร ๓.นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ตามแบบอย่างพระมหากัสสปเถระเจ้า และแบบคณะป่าแก้ว พระพนรัตนมหาเถรคันฉ่องพระ องค์ท่านสิ้นพระชนม์ในต้นรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวเอกาทศรส
   ถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเปลี่ยนนาม พระพนรัตน เจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย เป็น พระวันรัต เจ้าคณะคามวาสี ฝ่ายขวา วัดป่าแก้ว จึงมาอยู่ในเมือง แล้วตั้งให้พระอริยะโคดม ไปครองวัดแก้วฟ้า–ป่าแก้วๆ เหลือเพียงชื่อว่า วัดแก้วฟ้า อย่างเดียว แล้วตั้งให้ พระพุทธาจารย์ วัดโบสถ์ราชเดชะ เป็นเจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย

          พระมหาอุปราชา

   

    มังกะยอชวา  หรือ มังสามเกียด (ตามที่พงศาวดารไทยและพงศาวดารมอญเรียก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยโดยทรงนำทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง รวมถึงได้ทรงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  พระราชประวัติ   วัยเยาว์
  มังกะยอชวาเสด็จพระราชสมภพที่หงสาวดี พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์มีปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่ากับคำให้การขุนหลวงหาวัด ว่าเดิมทรงมีความสนิทสนมกับพระนเรศวรดี ต่อมาได้มีการชนไก่ระหว่างพระนเรศวรและมังกะยอชวา ไก่ของพระนเรศวรชนะไก่ของมังกะยอชวา มังกะยอชวาจึงกล่าววาจาเหยียดหยามพระนเรศวรทำให้พระนเรศวรรู้สึกเจ็บช้ำพระทัย
    การเป็นพระมหาอุปราชา
   เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๔ ภายหลังพระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคต พระเจ้านันทบุเรงได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ มังกะยอชวาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหาอุปราชมังกะยอชวา หรือ พระมหาอุปราชานั่นเอ
   ศึกเมืองคัง
   ในปีที่พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์ เจ้าฟ้าเมืองคังแข็งเมืองต่อกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงจึงโปรดเกล้าฯให้ พระนเรศวร พระสังขทัตและ พระมหาอุปราชมังกะยอชวา ไปปราบเมืองคัง หลังจากการตกลงกันมังกะยอชวาจึงยกขึ้นไปตีเมืองคังเป็นพระองค์แรกในเดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ตั้งแต่สี่ทุ่มแต่ไม่สำเร็จ จนรุ่งสางจึงต้องถอยทัพกลับ หลังจากนั้นสองวันพระนเรศวรทรงสามารถตีเมืองคังได้
  กบฏพระเจ้าอังวะและการประกาศอิสรภาพของอยุธยา
   ในพ.ศ.๒๑๒๗ ตะโดเมงสอพระเจ้าอังวะเป็นกบฏ มีการกล่าวว่าเพราะพระมหาอุปราชวิวาทพระชายาซึ่งเป็นธิดาของตะโดเมงสอถึงขั้นทำร้ายตบตีกันจนเลือดตกยางออก ทำให้นางเอาผ้าซับเลือดแล้วใส่ผอบส่งไปให้พระบิดา ทำให้พระเจ้าอังวะแยกตัวออกจากหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงจึงยกทัพ ไปปราบด้วยพระองค์เอง ส่วนพระมหาอุปราชมังกะยอชวาได้อยู่รักษาพระนคร
   พระนเรศวรได้ยกทัพตามไปช่วยปราบกบฏอังวะด้วยโดยยกไปช้าๆ ความตอนนี้ต่างกันในพงศาวดารไทยกับพม่า
  พงศาวดารไทย กล่าวว่าพระมหาอุปราชาวางแผนประทุษร้ายพระนเรศวร ทำให้พระนเรศวรประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนผู้คนก่อนจะหนีกลับกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชาจึงจัดทัพตามไป ให้สุรกำมาเป็นกองหน้า เมื่อสุรกำมาถูกพระนเรศวรยิงตายพระมหาอุปราชาจึงยกทัพกลับ
   พงศาวดารพม่า กล่าวว่าพระนเรศวรยกทัพมาถึงเมืองหงสาวดี พระมหาอุปราชาจึงมีรับสั่งให้พระนเรศวรเสด็จไปอังวะ แต่พระนเรศวรไม่ฟังและ
ยกเข้ามาตีหงสาวดีและตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ พระมหาอุปราชาจึงให้ทหารขึ้นประจำเชิงเทินกำแพงเมือง แต่เมืองรู้ข่าวว่าพระเจ้านันทบุเรงกำลังเสด็จ
กลับมา พระนเรศวรจึงกวาดต้อนผู้คนหนีกลับกรุงศรีอยุธยา
   ศึกนันทบุเร
พ.ศ. ๒๑๒๙ พระเจ้านันทบุเรงยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชมังกะยอชวาทรงยกทัพมาด้วยแล้วตั้งค่ายที่ทุ่งชายเคืองทางทิศตะวันออกของพระนคร ได้ทรงให้กองทัพม้าตีทัพพระยากำแพงเพชรที่มาป้องกันผู้คนที่ออกไปเกี่ยวข้าวแตกพ่าย การรบติดพันมาถึง พ.ศ. ๒๑๓๐ พระเจ้านันทบุเรงจึงทรงยกทัพกลับ พระมหาอุปราชาก็ยกทัพกลับด้วย
   พระมหาอุปราชาตีกรุงศรีอยุธยา
   พ.ศ.๒๑๓๓ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ พระเจ้านันทบุเรงจึงให้พระมหาอุปราชมังกะยอชวายกไปตีกรุงศรีอยุธยา แต่ก็เสียทีจนกองทัพแตกพ่ายจนพระองค์เกือบถูกจับได้ พระมหาอุปราชาเสด็จกลับถึงหงสาวดีเมื่อเดือน ๕ พ.ศ. ๒๑๓๔ ทรงถูกพระราชบิดาภาคทัณฑ์ให้ทำการแก้ตัวใหม่
   สงครามยุทธหัตถี
   ตราประจำจังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน แสดงถึงสงครามยุทธหัตถีระหว่าง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับ พระมหาอุปราชมังกะยอชวาพระเจ้านันทบุเรงจึงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชมังกะยอชวาไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง พระองค์เสด็จจากหงสาวดีเมื่อ วันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๓๕
   เช้าของวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่าหลงเข้าไปในแดนพม่า มีเพียงทหารรักษาพระองค์และจาตุรงค์บาทเท่านั้นที่ติดตามไปทันสมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าเท้าพระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มี พระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง
   แต่ในมหายาชะเวงหรือพงศาวดารของพม่า ระบุว่า การยุทธหัตถีครั้งนี้ ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรบุกเข้าไปในวงล้อมของฝ่ายพม่า ฝ่ายพม่าก็มีการยืนช้างเรียงเป็นหน้ากระดาน มีทั้งช้างของพระมหาอุปราชา ช้างของเจ้าเมืองชามะโรง ทหารฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็ระดมยิงปืนใส่ฝ่ายพม่า เจ้าเมืองชามะโรงสั่งเปิดผ้าหน้าราหูช้างของตน เพื่อไสช้างเข้ากระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรเพื่อป้องกันพระมหาอุปราชา แต่ปรากฏว่าช้างของเจ้าเมืองชามะโรงเกิดวิ่งเข้าใส่ช้างของพระมหาอุปราชาเกิดชุลมุนวุ่นวาย กระสุนปืนลูกหนึ่งของทหารฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็ยิงถูกพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์
 

     คลิกอ่านดูรายละเอียดที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้

   https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A

  https://www.youtube.com/watch?v=qHNWAW70X_s

  https://www.youtube.com/watch?v=HOViU8F5jCc

                      พระสุพรรณกัลยา

       
        พระสุพรรณกัลยา สุวรรณกัลยา หรือ สุวรรณเทวี เป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ และเป็นพระพี่
นางใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก เชื่อว่าพระนามเดิม คือ องค์ทอง
    ชีวิตในกรุงหงสาวดี
   พระสุพรรณกัลยา พระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระนางปรากฏในพงศาวดารพม่าระบุว่า ในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ เจ้าฟ้าสองแคว (พระอิสริยยศของพระมหาธรรมราชาเมื่อครั้งได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าบุเรงนองให้ขึ้นครองพิษณุโลก) ได้ถวายพระธิดาชื่อ สุวรรณกัลยา พระชันษา ๑๗ ปี กับบริวารและนางสนมรวม ๑๕ คนแก่พระเจ้าบุเรงนองโดยพระองค์ได้สถาปนาเป็นพระมเหสี มีพระตำหนักและฉัตรส่วนพระองค์ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด เครื่องใช้สิ่งของ ข้าราชบริวารที่เป็นชาวไทยทั้งหมด เมื่อจะเสด็จไปยังที่ใด จะโดยเสลี่ยงหรือพระที่นั่งหรือพระพาหนะใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานกางฉัตรถวาย และพระองค์ทรงอยู่อย่างเกษมสำราญ
   พระนางมีพระธิดา ๑ พระองค์กับพระเจ้าบุเรงนอง ทรงได้รับพระราชทานพระนามว่า เจ้าภุ้นชิ่ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีสติปัญญาและพระบารมี แต่โดยมากจะรู้จักกันในพระนาม เมงอทเว ในพระราชพงศาวดารพม่าได้บันทึกว่าพระสุพรรณกัลยาเป็นพระมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปรานมาก โดยทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นในพระราชวังกรุงหงสาวดี
   ด้วยเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองเสด็จออกราชการสงครามอยู่เสมอ ทำให้พระสุพรรณกัลยารวมทั้งพระมเหสีองค์อื่นทรงดำเนินชีวิตในพระราชวังตามปกติ โดยมิได้เส็ดจออกงานหรือเห็นโลกภายนอกจนกว่าที่พระเจ้าบุเรงนองจะเสด็จกลับหงสาวดีจึงจะมีการจัดงานสำคัญ โดยในวันเพ็ญเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๑๑๖ มีงานบูชาพระมหาเจดีย์ชเวดากอง พระสุพรรณกัลยาพร้อมด้วยพระราชธิดาองค์น้อยได้ประทับเรือพระที่นั่งโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปบำเพ็ญพระราชกุศลนาน ๕ วัน นับเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จออกนอกพระราชฐานมานานว่า ๓ ปี
   หลังจากงานบูชามหาเจดีย์จบสิ้นลง พระเจ้าบุเรงนองได้นิมนต์พระสงฆ์พม่า มอญ เชียงใหม่ และไทใหญ่ ๓๕๐๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ และทำพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ เงิน สำริด และปัญจโลหะ อย่างละองค์ ในการนี้พระเจ้าบุเรงนองได้ทำการเฉลิมพระยศพระราชโอรส และพระราชธิดา โดยในการนี้ เจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ พระราชธิดาในพระสุพรรณกัลยาได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น พิษณุโลกเมียวซา เนื่องจากทรงได้รับสิทธิ์ในภาษีประจำปีที่ได้จากพิษณุโลก นับแต่นั้นมาทุกคนจึงขานพระนามพระราชธิดาพระองค์นี้ว่า เจ้าหญิงพิษณุโลก
    พระสุพรรณกัลยาทรงเป็นองค์ประกันที่ราชสำนักหงสาวดีนั้น เป็นจังหวะเวลาเดียวกันกับที่อยุธยาสามารถฟื้นฟูบูรณะบ้านเมือง และเสริมสร้างความเข้มแข็ง จนภายหลังพร้อมที่จะท้าทายอำนาจหงสาวดีได้อย่างเปิดเผย ในช่วงแห่งการปรับเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งมีพระสุพรรณกัลยาเพียงพระองค์เดียวที่เป็นผู้มีความสำคัญที่สุด ในฐานะที่เป็นสายใยเหนี่ยวรั้งความสัมพันธ์ และ “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” ระหว่างราชสำนักหงสาวดีและอยุธยา นับแต่
พ.ศ. ๒๑๑๒-๑๓ ที่พระสุพรรณกัลยาได้ตกเป็นองค์ประกัน จนถึง พ.ศ. ๒๑๒๕ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงท้าทายอำนาจหงสาวดีอย่างเปิดเผยก็คือช่วงที่อยุธยาได้ฟื้นฟูบูรณะบ้านเมือง และไพร่พลให้พร้อมประกาศตนเป็นอิสระจากเจ้าเอกราชพม่า และพร้อมจะเปิดศึกใหญ่ในทุกทิศทุกทางนั้นเอง

                 สมเด็จเอกาทสรถ

           

                ราชวงศ์สุโขทัย
      ปีที่ครองราชย์ : พ.ศ.๒๑๔๖ -๒๑๕๓
     พระเอกาทศรถ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๐ ของอาณาจักรอยุธยา พระองค์เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีและเป็นอนุชาของพระนเรศวร มีพระชนมายุอ่อนกว่าพระนเรศวร ๕ ปี ในสมัยที่พระราชบิดาคือพระมหาธรรมราชาครองราชสมบัติ พระนเรศวรได้รับการสถาปนาเป็น “วังหน้า” ซึ่งคล้ายกับตำแหน่งที่จะได้รับการครองราชสมบัติ พระเอกาทศรถก็ได้รับการสถาปนาเป็น “วังหลัง” เมื่อพระนเรศวรได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเอกาทศรถก็ได้ยกย่องในฐานะเท่าเทียบกับพระนเรศวร คือพระองค์อยู่ในฐานะของ “พระเจ้าอยู่หัว” อีกพระองค์หนึ่ง ทั้งนี้อาจจะเป็นได้ว่าพระเอกาทศรถทรงร่วมรบในการสงครามกับพระนเรศวรมาตลอด และอาจเป็นเพราะพระนเรศวรไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพระมเหสีหรือพระโอรส พระเอกาทศรถจึงอยู่ในฐานะของอุปราชหรือผู้ที่จะได้รับ
สืบราชสมบัติอย่างชัดเจน
     พระเอกาทศรสขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนมายุได้  ๔๕ พรรษา ในสมัยที่อาณาจักรอยุธยาเป็นปึกแผ่นมั่นคง เพราะพระนเรศวรได้ขยายอำนาจของอยุธยาออกไปกว้างขวางอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน อยุธยามีอำนาจเหนือเชียงใหม่และรุกเข้าไปในดินแดนรัฐฉานและทางพม่าตอนใต้ก็ได้เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี และทางด้านกัมพูชาก็
ทำให้เขมรต้องยอมรับอำนาจของไทย แต่อย่างไรก็ตามบรรดาอาณาเขตเหล่านี้ก็เป็นอิสระเมื่อสิ้นพระนเรศวร คงยังเหลืออยู่ก็แค่ส่วนพม่าตอนล่าง
     เอกสารชาวต่างชาติกล่าวกันว่า ทั้งพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงโปรด “ชาวต่างชาติ” ดังนั้นอยุธยาจึงต้อนรับชาวต่างชาติอื่นๆอีก เช่น โปรตุเกส และญี่ปุ่น น่าเชื่อชาวญี่ปุ่นได้มีบทบาทสำคัญแล้วตั้งแต่สมัยของพระนเรศวร ซึ่งมี “ทหารอาสา” ญี่ปุ่น ๕๐๐ คนในสงครามครั้งนั้น ในสมัยพระเอกาทศรถก็มีชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาค้าขายและมารับจ้าง
เป็นทหาร พระเอกาทศรถเองทรงเป็นทูตกับตระกูลโตกุกาว่าด้วย สมัยนี้เป็นสมัยที่เรือญี่ปุ่นได้รับ “ใบเบิกร่องตราแดง” ทางราชการญี่ปุ่นเข้ามายังอยุธยา ใบร่องตราแดง ซึ่งเป็นเสมือนใบอนุญาตกิจการสำคัญทางการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เป็นเวลาถึง ๓๒ ปี ก่อนญี่ปุ่นจะปิดประเทศ มีเรือญี่ปุ่นมาอยุธยา  ๕๖ ลำ มาซื้อสินค้าประเภท ฝาง หนัง กวาง หนังปลาฉลาม ตะกั่ว ดีบุก เป็นต้น
     สมัยของพระเอกาทศรถ เป็นสมัยของการสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ พระเอกาทศรถไม่โปรดการสงคราม และมิได้ทำการขยายอำนาจทางทหารอย่างสมัยพระนเรศวร ดังนั้นสมัยนี้จึงเป็นสมัยของการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศและเป็นสมัยที่มีมาตรการทางด้านภาษีอากรอย่างมาก พระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์ในเวลาที่สั้นเพียง ๕ ปี และเมื่อพระองค์สวรรคตก็มีปํญหาการสืบราชสมบัติแย่งชิงกันในหมู่พระโอรสของพระองค์เอง อันเป็นปัญหาทางการเมืองภายในของอยุธยาที่มีมาตลอดเกือบจะทุกสมัย

       สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๔)

       

   พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ ๒๐ แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
    สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ พระราชสมภพ พ.ศ.๒๑๐๐ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่  ๒๐ แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และเป็นรัชกาลที่  ๔ ในราชวงศ์สุโขทัย เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒
   ในสมเด็จพระเอกาทศรถ และมีพระเชษฐาที่ประสูติร่วมพระราชมารดา ได้แก่ เจ้าฟ้าสุทัศน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช พระองค์ประชวรพระยอดจนเสียพระเนตรไปข้างหนึ่ง และมีพระบุคลิกค่อนข้างอ่อนแอและไม่สนพระทัยเกี่ยวกับราชการบ้านเมือง หลังจากที่สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตลง พระองค์ได้รับทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ ๔
       ในรัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในแผ่นดิน โดยเรือของชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาค้าขาย ได้ปล้นราษฎร ได้บุกเขาไปในพระนคร และเข้าไปในพระราชวังหลวง จับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์และบังคับให้ทรงปฏิญาณสัญญาว่ามิให้ผู้ใดทำร้ายพวกญี่ปุ่น แล้วได้ลงเรือแล่นหนีออกทะเล โดยนำตัวสมเด็จพระสังฆราชไปเป็นตัวประกันจน
ถึงปากน้ำ
       พระองค์ครองราชย์อยู่ได้ ๑ ปี ๒ เดือน พระศรีศิลป์และจมื่นศรีเสารักษ์ก็ร่วมกันนำกองกำลังเข้ายึดพระราชวังหลวง เมื่อทรงทราบก็ตกพระทัยอยู่ครู่หนึ่ง จึงตรัสว่า "เวราเราแล้วก็ตามเถิด แต่อย่าให้ลำบากเลย" พระองค์ถูกพันธนาการอย่างแน่นหนา จนรุ่งเช้าจึงให้ภิกษุ ๑๐๐ รูปมาบังสุกุล ถวายธูปเทียนขมา แล้วนำพระองค์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อน
จันทน์ ตรงกับปี พ.ศ.๒๑๕๔ พระบรมศพถูกนำไปฝังที่วัดโคกพระยา.  
    

                พระเจ้าทรงธรรม

    

             พระเจ้าทรงธรรม
    พระเจ้าทรงธรรมเป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา องค์ที่ ๒๑ ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๔ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ ที่ประสูติแต่พระสนม เมื่อเสวยราชย์แล้วทรงพระนามว่า "สมเด็จพระอินทราชาธิราช" แต่อาจเนื่องมาจากก่อนเสวยราชย์ ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ และในระหว่างครองราชย์ พระองค์ได้ทรงทำนำบำรุงบ้านเมือง และการศาสนามาก ทั้งได้พบรอยพระพุทธบาทที่เมืองสระบุรีอีกด้วย ประชาชนจึงได้ถวายพระนามเป็นการยกย่องว่า "สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม"  พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๑ ครองราชย์ได้ ๑๙ ปี
   ทหารญี่ปุ่นขบถ  สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ครองราชย์ได้ไม่นานกำลังทหารญี่ปุ่น ที่เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของออกญากรมนายไวย ได้รวบรวมกำลังประมาณ ๑๘๐ คน ยกจู่โจมเข้าไปในพระราชวัง จับสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมไว้ แต่เมื่อเห็นกองทหารกรุงศรีอยุธยารวบรวมกำลังกัน  เตรียมจะขับไล่พวกตน  จึงลงเรือสำเภาล่องลงไปจากกรุงศรีอยุธยา  และได้นำพระสงฆ์สี่รูปไว้เป็นตัวประกัน  ระหว่างทางได้ขึ้นปล้นบ้านริมแม่น้ำ แล้วไปยึด
เมืองเพชรบุรีไว้ และขึ้นครองเมืองอยู่หนึ่งปีเต็ม
   ต่อมา สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมส่งกองทหารออกไปขับไล่ได้ในปี พ.ศ.๒๑๕๔ แต่พวกญี่ปุ่นกลับมายึดเมืองบางกอก (ต่อมาเรียก เมืองธนบุรี)  สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ชาวญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยา  ออกไปเจรจาให้พวกที่ยึดบางกอกอยู่ออกไปได้
    การสงคราม
   ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยาต้องทำสงครามถึงห้าครั้งด้วยกันคือ:-
     ๑. การขับไล่กองทัพล้านช้าง
     พ.ศ.๒๑๕๕  ในระหว่างที่พวกชาวญี่ปุ่นได้จับกุมสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระเจ้ากรุงล้านช้างทราบข่าว จึงยกทัพเข้ามานัยว่าจะมาช่วยขับไล่พวกญี่ปุ่นออกไป ได้เคลื่อนทัพมาดูชั้นเชิงอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี)  ถึงสี่เดือน เมื่อทราบว่าเหตุการณ์ภายในกรุงศรีอยุธยาสงบลงแล้ว จึงทรงส่งราชทูตเชิญพระราชสาสน์ มาถวายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีความว่าที่ยกทัพลงมาครั้งนี้ก็เพื่อจะช่วยขับไล่พวกญี่ปุ่น แต่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมไม่ทรงเชื่อจึงทรงเคลื่อนทัพจากพระนครไปยังเมืองละโว้ แต่กองทัพล้านช้างได้ชิงถอยหนีไปก่อนแล้วถึงสี่วัน จึงทรงส่งกองทหารออกไล่ติดตามไปทัน แล้วเข้าโจมตีทัพล้านช้างแตกกลับไป
   ๒. การแย่งเมืองทวาย
   พ.ศ.๒๑๕๖  พระเจ้าอังวะ ยกกองทัพมีกำลัง ๔๐๐๐๐ มาตีเมืองทวายได้ และยกทัพเลยลงมาจะตีเมืองตะนาวศรี แต่เมื่อพบกองทัพไทยสองกองทัพ ตั้งสกัดอยู่ที่ท่าจะข้ามไปเมืองตะนาวศรีก็ชะงักอยู่ พอดีถูกกองทัพพระยาสวรรคโลก กับกองทัพพระยาพิไชย ยกอ้อมมาล้อมด้านหลังพระเจ้าอังวะจึงถอยหนีไปยังเมืองเมาะตะมะ
   ๓. การเสียเมืองเชียงใหม่ให้กับพม่า
   พ.ศ.๒๑๕๘  พระเจ้าอังวะพักพลอยู่ที่เมาะตะมะได้ไม่นาน ก็ทรงทราบข่าวว่า เมืองเชียงใหม่ได้เกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นภายใน ทรงเห็นว่าชาวเชียงใหม่คงจะแตกกันเป็นสองฝ่าย จึงยกทัพจากเมืองเมาะตะมะไปยังเมืองเชียงใหม่ ในปลายปี พ.ศ.๒๑๕๗ เมื่อยกมาถึงเมืองลำพูน ทรงทราบว่า พระเจ้าเชียงใหม่ได้กวาดต้อนผู้คนไปตั้งมั่นอยู่ในเมืองลำปาง จึงยกทัพติดตามไปล้อมเมืองไว้ ชาวเมืองเชียงใหม่และลำปางรักษาเมืองอยู่ได้นาน จนกองทัพพม่าขาดเสบียง เกือบจะถอยทัพกลับ พอดีพระยาน่านคุมเสบียงมาส่งทัน และพระเจ้าเชียงใหม่พิราลัยลง ชาวเมืองจึงยอมอ่อนน้อมแก่พม่า พระเจ้าอังวะตั้งให้พระยาน่าน เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ต่อมาไทยกับพม่าได้ทำสัญญาเลิกสงครามต่อกันในปีต่อมา ในสัญญานั้น มีข้อความสำคัญว่า เมืองเชียงใหม่เป็นของไทย และเมืองเมาะตะมะเป็นของพม่า
   ๔. การสงครามกับเขมร
   พ.ศ.๒๑๖๔  ในปี พ.ศ.๒๑๖๒ สมเด็จพระไชยเชษฐา กษัตริย์เขมรองค์ใหม่ ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองอุดมลือไชย ทรงคิดแข็งเมืองไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการแก่ไทย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงให้เตรียมกองทัพบก และกองทัพเรือไปตีเขมร กองทัพเรือขาดเสบียงและน้ำต้องถอยกลับก่อน สมเด็จพระไชยเชษฐายกทัพเข้าโจมตีทัพบกไทยแตก กรุงศรีอยุธยาต้องปล่อยให้เขมรเป็นอิสระภาพ อยู่ตลอดรัชกาลของพระองค์
   5. สงครามเสียเมืองทวาย
   พ.ศ.๒๑๖๕  พม่าส่งกองทัพมาตีเมืองทวาย ทางกรุงศรีอยุธยาส่งกองทัพไปป้องกันไม่ทัน จึงเสียเมือง
    ด้านสังคมและวัฒนธรรม
   สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้ทรงดำรงตำแหน่งศาสนูปถัมภกทุกศาสนา ที่มีผู้นำเข้ามาในพระราชอาณาจักรตามพระราชประเพณี เฉพาะพระพุทธศาสนาได้ทรงส่งเสริมไว้หลายอย่างคือ ในปี พ.ศ.๒๑๕๖ โปรดให้ชักชลอพระมงคลบพิตรจากที่ตั้งเดิม ด้านทิศตะวันออกของพระราชวัง มาไว้ด้านตะวันตกแล้วสร้างพระมณฑปขึ้นครอบ และในปี พ.ศ. ๒๑๖๑ มีผู้พบรอยพระพุทธบาทอยู่บนไหล่เขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี
จึงทรงถวายที่ดินเป็นพุทธมณฑล กว้าง ๑ โยชน์ โดยรอบพระพุทธบาท นอกจากนั้น ยังโปรดให้แต่งมหาชาติคำหลวงและทรงสร้างพระไตรปิฎกขึ้นไว้

      
       พระราชประวัติสมเด็จพระอาทิตยวงศ์

      

           ราชวงศ์สุโขทัยองค์สุดท้าย

   สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ มีพระนามเดิมว่าพระอาทิตยวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระเชษฐา  ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระเชษฐาธิราชและพระพันปีศรีสิน
   เมื่อเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์สำเร็จโทษสมเด็จพระเชษฐาธิราชแล้ว ได้อัญเชิญพระอาทิตยวงศ์ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษาให้สืบราชสมบัติ ตรงกับปี พ.ศ.๒๑๗๓ แต่ด้วยความที่ทรงพระเยาว์จึงไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ทรงโปรดเที่ยวประพาสจับแพะจับแกะเล่น เจ้าพนักงานต้องคอยนำเครื่องทรงและเครื่องเสวยตามเสด็จอยู่ตลอด ผ่านไปได้ประมาณ ๖ เดือน เหล่ามุขมนตรีก็เห็นว่าสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ยังทรงพระเยาว์เกินไป ไม่รู้จักว่าราชการจนเสียการแผ่นดิน จึงถอดพระองค์จากราชสมบัติ ถวายราชสมบัติแก่เจ้าพระยากลาโหมให้ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
   หลังจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระอาทิตยวงศ์ยังคงประทับอยู่ภายในพระราชวังหลวงกับพระนมพี่เลี้ยง ถึงปี พ.ศ. ๒๑๗๖ ระหว่างที่พระเจ้าปราสาททองเสด็จไปนมัสการพระศรีสรรเพชญดาญาณ ทอดพระเนตรเห็นพระอาทิตยวงศ์ขึ้นนั่งห้อยเท้าอยู่บนหลังกำแพงแก้ว ชี้พระหัตถ์ตรัสว่า "อาทิตยวงศ์องอาจ มิได้ลงจากกำแพงแก้วให้ต่ำ" จึงโปรดให้ลดพระยศ ให้อยู่เรือนเสาไม้ไผ่  ๒ ห้อง ๒ หลังริมวัดท่าทราย และให้คนรับใช้ไว้ ๒ คน แต่พออยู่ตักน้ำหุงข้าว
   ถึงปีฉลู จ.ศ.๙๙๙ พระอาทิตยวงศ์กับขุนนางที่ถูกออกจากราชการได้พวกกว่า ๒๐๐ คน ร่วมกันก่อกบฏบุกเข้าพระราชวัง พระเจ้าปราสาททองเสด็จหนีลงเรือแล้วโปรดให้ขุนนางเร่งปราบกบฏ จนจับพระอาทิตยวงศ์ได้ ก็ให้สำเร็จโทษตามราชมณเทียร     

     
             ราชวงศ์ปราสาททอง

           
         สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๕ )
     สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ พ.ศ.๒๑๗๓ -๒๑๙๙) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่  ๒๔  แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และทรงเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททอง
          พระราชประวัติ
    สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เดิมเป็นขุนนางในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีบรรดาศักดิ์เป็นพระมหาอำมาตย์ และมีความชอบจากการปราบกบฎญี่ปุ่น จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ และได้รับพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนมาก.
       เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชสืบราชสมบัติต่อมาได้  ๔  เดือน มารดาเจ้า  พระยากลาโหมถึงแก่กรรม มีข้าราชการใหญ่น้อยไปช่วยงานมาก สมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงเชื่อว่าเจ้าพระยากลาโหมเตรียมการจะก่อกบฏ จึงโปรดให้ตั้งกองทหารไว้ แล้วให้ขุนมหามนตรีไปเรียกเจ้าพระยากลาโหมมาดูมวย แต่เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีส่งข่าวไปแจ้งแผนการก่อน เจ้าพระยากลาโหมจึงบอกขุนนางว่า "เจ้าแผ่นดินว่าเราเป็นกบฏแล้วเราจะทำตามรับสั่ง" แล้วยกกองกำลังเข้ายึดพระราชวังได้ ส่วนสมเด็จพระเชษฐาธิราชกับข้าหลวงเดิมลงเรือหนีไป เจ้าพระยากลาโหมให้พระยาเดโชและพระยาท้ายน้ำออกติดตามในคืนนั้นจนตามจับได้ที่ป่าโมกน้อย แล้วให้นำไปสำเร็จโทษ.
       จากนั้นจึงอัญเชิญพระอาทิตยวงศ์ขึ้นสืบราชสมบัติต่อ แต่ผ่านไปได้ประมาณ  ๖  เดือน เหล่ามุขมนตรีก็เห็นว่าสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ยังทรงพระเยาว์เกินไป ไม่รู้จักว่าราชการจนเสียการแผ่นดิน จึงถวายราชสมบัติแก่เจ้าพระยากลาโหมให้ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง ส่วนในกฎหมายพระธรรมนูญ กรมศักดิ์ ลักษณะ
อาญาหลวง ออกพระนามว่าสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร แล้วทรงปูนบำเหน็จมากมายแก่ขุนนางที่สวามิภักดิ์ และทรงตั้งพระอนุชาเป็นพระศรีสุธรรมราชา.
      ถึงปี พ.ศ.๒๑๙๙ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองประชวรหนัก ทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งเบญจรัตน์ ได้ตรัสมอบราชสมบัติและพระแสงขรรค์ชัยศรีแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าชัย (ไชย) หลังจากนั้น 3 วัน ก็เสด็จสวรรคต ครองราชย์ได้  ๒๗  ปี.
       พระราชกรณียกิจด้านพระศาสนา
       สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนาราม วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร สร้างพระปรางค์วัดมหาธาตุ ในช่วงพระราชพิธีลบศักราชได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามกว่าร้อยแห่ง เช่น วัดหน้าพระเมรุเป็นต้น และโปรดเสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลในโอกาสต่าง ๆ เช่น สมโภชพระพุทธบาท เป็นต้น.
       ด้านเศรษฐกิจ
    รัชสมัยของพระองค์เป็นยุคที่การค้าทางเรือระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังรุ่งเรือง โดยเฉพาะบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (เฟโอเซ - VOC - Vereenigde Oostindische Compagnie) ที่เข้ามารับซื้อของป่า หนังกระเบน ดีบุกและข้าวสาร ต่อมายังได้รับพระราชทานสิทธิ์ขาดในการส่งออกหนังสัตว์ด้วย นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าสเปน โปรตุเกส อินเดีย เปอร์เซีย และอาร์มีเนีย เข้ามาค้าขาย ทำให้การเงินของประเทศมั่งคั่งขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดรัชกาล.
       ด้านสถาปัตยกรรม
    สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้สร้างปราสาทนครหลวง พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระตำหนักธารเกษม และพระที่นั่งวิหารสมเด็จ นอกจากนี้ยังโปรดให้ตกแต่งพระตำหนักท่าเจ้าสนุกและสร้างศาลาตามรายทางที่ไปนมัสการพระพุทธบาทเพื่อให้ประชาชนได้พักผ่อนและอาศัย.
      ด้านการปกครอง
    สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงปรับการบริหารให้รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยให้เจ้าเมืองต่าง ๆ มาปฏิบัติหน้าที่เข้าเฝ้าที่ศาลาลูกขุนในพระราชวังทุกวัน แล้วส่งผู้รั้งเมืองไปปกครองหัวเมืองแทน นอกจากนี้ยังโปรดให้ตรากฎหมายขึ้นหลายฉบับ เช่น พระไอยการทาส พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกู้หนี้ พระไอยการลักษณะอุทธรณ์ และกฎหมายพระธรรมนูญ อันเป็นรากฐานแห่งกฎหมายตราสามดวง
      ความโหดเหี้ยมของพระเจ้าปราสาททอง
   ล้างบางขุนนาง (บันทึกของ เจเรเมียส ฟอน ฟลีต หรือ วันวลิต)
       "ขุนนางที่แสดงออกนอกหน้าว่าฝักใฝ่อยู่กับพระมหาอุปราชพระอนุชาธิราชของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ก่อน หรือ ผู้ที่ไม่ประกาศออกมาอย่างชัดเจนว่าเป็นพวกใด เมื่อคราวที่พระเจ้าอยู่หัวในพระโกศ (สมเด็จพระเชษฐาธิราช) ทรงประสงค์จะทราบความรู้สึกในเรื่องนี้ ต่างถูกจับกุมทันที และถูกพันธนาการอย่างแน่นหนา บ้านเรือนตลอดจน
ทรัพย์สมบัติถูกปล้นสะดม ข้าทาสบริวารถูกคร่าเอาไปสิ้น. ในเวลาเดียวกัน พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ทรงรับสั่งให้นำนักโทษตัวการสำคัญทั้งสาม ออกมาจากคุก และให้สับเป็น
ท่อน ๆ ที่ท่าช้าง (Thacham) คือทวารประตูหนึ่งของพระราชวัง ในฐานะที่เป็นผู้รบกวนความสงบสุขของประชาชน และในฐานะที่ร่วมกันต่อต้านผู้สืบราชสมบัติ ที่แท้จริงและถูกต้องตามกฎมณเฑียรบาล ศีรษะและร่างกายส่วนอื่น ๆ ของคนเหล่านั้นถูกเสียบประจานไว้ตามที่สูงในเมืองหลายแห่ง เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจผู้คนทั้งหลาย ซึ่งอาจต้องการขัดขวางการสืบราชบัลลังก์นี้
       ส่วนทรัพย์สมบัติของคนเหล่านั้นทั้งหมดถูกริบเป็นราชบาตร และพระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานทรัพย์เหล่านี้ เฉลี่ยกันไปในบรรดาคนโปรดของพระองค์.ขุนนางซึ่งถูกประหารชีวิตทั้งสามคน เป็นผู้ที่มั่งคั่งร่ำรวยที่สุด มีตำแหน่งราชการสูงที่สุดในอาณาจักร และเป็นที่เคารพอย่างสูงของประชาชน ทั้งเป็นที่โปรดปรานยิ่งนักของพระเจ้าแผ่นดิน
รัชกาลก่อน คนหนึ่งคือ ออกญากลาโหมแม่ทัพช้าง ผู้เป็นหนึ่งในบรรดาขุนนางสำคัญ ๖  คน และร่ำรวยที่สุดในประเทศ มีข้าทาสมากกว่า ๒๐๐๐ คน ช้าง  ๒๐๐  เชือก และม้างาม ๆ อีกเป็นจำนวนมาก. คนที่สอง คืออกพระท้ายน้ำ (Opera Taynam) แม่ทัพม้า เป็นออกญาพระคลังมาก่อนเป็นเวลา  ๕  ปี กับ  ๒  เดือน ในขณะที่อยู่ในตำแหน่งนั้น ได้รวบรวมทรัพย์สินเงินทองไว้มากมาย พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนทรงยกย่องและโปรดปรานเป็นพิเศษ เพราะเป็นผู้สามารถในราชการและช่างเจรจา คนที่สามคือ ออกหลวงธรรมไตรโลก (Oloangh Thamtraylocq) เจ้าเมืองตะนาวศรี เป็นขุนนางสูงอายุ และได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงจากบรรดาขุนนาง.
       ด้วยความจงเกลียดจงชังของออกญาศรีวรวงศ์ ขุนนางเหล่านี้จึงต้องถูกลงทัณฑ์และสิ้นชีวิตอย่างน่าเวทนายิ่งโดยไม่สมควรเลย"

***ออกญาศรีวรวงศ์ คือ ตำแหน่งถัดจาก จมื่นศรีสรรักษ์ (ได้สังหารพระราชมารดาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน - บันทึกของ เจเรเมียส ฟอน ฟลีต หรือ วัน วลิต)
"พระองค์ปรารถนาจะได้พระราชมารดาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่เพิ่งสวรรคตซึ่งเป็นสตรีที่งามที่สุดคนหนึ่ง ในอาณาจักรมาเป็นสนม

      ราชวงศ์ปราสาททอง เป็นราชวงศ์ที่ ๔ ครองอาณาจักรอยุธยาเป็นเวลา ๕๘ ปี (พ.ศ. ๒๑๗๑- พ.ศ. ๒๒๓๑) สถาปนาราชวงศ์โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองด้วยการยึดอำนาจจากสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยพระองค์สุดท้าย
   ราชวงศ์ปราสาททอง หมดอำนาจลงภายหลังการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช    เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๒ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา จึงเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ปราสาททอง และเริ่มต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง

                    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

         
      สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (พ.ศ. ๒๑๗๔/๒๑๗๕ - ๒๒๓๑) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๒๗ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    พระราชสมภพ
   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. ๒๑๗๕ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวีไม่ปรากฏพระนาม  คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าพระชนนีของพระองค์ชื่อพระสุริยา  ส่วนคำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุพระนามว่าพระอุบลเทวี และหม่อมหลวงมานิจ ชุมสายระบุพระนามว่าพระนางศิริธิดา และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือกรมหลวงโยธาทิพ (หรือพระราชกัลยาณี)
   พระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นเครือญาติกัน หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย ระบุว่าพระมารดาของพระนารายณ์เป็น "...พระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง"  แต่งานเขียนของนิโคลาส์ เดอ แซร์แวส ระบุว่า มารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ส่วนพระราชบิดาคือสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฟาน ฟลีต ระบุว่า เป็นลูกของน้องชายพระราชมารดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
   พระองค์มีพระนมที่คอยอุปถัมภ์บำรุงมาแต่ยังทรงพระเยาว์คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน กับอีกท่านหนึ่งคือพระนมเปรม ที่ฟร็องซัว อ็องรี ตุรแปง (François Henry Turpin) ระบุว่าเป็นเครือญาติของสมเด็จพระนารายณ์
  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ (เจ้าฟ้าง่อย  เจ้าฟ้าน้อย พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา  ในคำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่าพระองค์มีพระนามาภิไธยเดิมว่า พระนรินทกุมาร หรือ คำให้การชาวกรุงเก่า เรียกว่า พระสุรินทกุมาร เมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า พระนารายณ์ หรือ พระเจ้าลูกเธอพระนารายณ์ราชกุมารส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์ พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อนๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหาริย์มหัศจรรย์ตามลำดับ คือ:-
    ๑.เมื่อพระนารายณ์มีพระชนม์ได้ ๕ พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
   ๒.เมื่อพระนารายณ์มีพระชนม์ได้ ๙ พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดีสมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัและพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
    การครองราชย์
   สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้วนั้นสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจาก
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ ๒ เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
   สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๐๑๘ ปีวอก (ตรงกับวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙) ขณะมีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
   สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสรรเพชญ์บรมมหาจักรพรรดิศวร ราชาธิราชราเมศวรธรธราธิบดี ศรีสฤษดิรักษ์สังหารจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดีบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอัคนิตวิจิตรรูจี ตรีภูวนาทิตย์ ฤทธิพรหมเทพาธิบดินทร์ ภูมินทราธิราช รัตนากาศมนุวงศ์องค์เอกาทศรุท วิสุทธิยโสดม บรมอัธยาศัย สมุทยดโรมนต์ อนันตคุณวิบุลยสุนทรธรรมิกราชเดโชชัย ไตรโลกนาถบดินทร์ อรินทราธิราช ชาติพิชิต
ทิศทศพลญาณ สมันตมหันตผาริตวิชัยไอศวรรยาธิปัตย์ ขัตติยวงศ์ องค์ปรมาธิบดี ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฎรัตนโมลี ศรีประทุมสุริวงศ์องค์สรรเพชญ์พุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้า
   หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ ๑๐ ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๐๙ และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุกๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน ด้วยเหตุผลว่า ทั้งสองรัชกาลนี้มีศัตรูมากมายรายรอบพระองค์ เนื่องจากการเข่นฆ่าฟันล้างบางพระราชวงศ์ด้วยกันมาหลายครั้งหลายหน รวมทั้งเรื่องของเสนาบดีใหม่และเก่า
   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มิเคยได้เป็นพระมหากษัตริย์ "ทรงธรรม" หรือ "ธรรมราชา" ในสายตาของทวยราษฎร์เลยแม้แต่น้อย ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ที่มีการเปรียบเทียบพระองค์กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็จะพบว่าเชลยไทยชื่นชมพระมหากษัตริย์พระองค์หลังเสียมากกว่า นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสารของชาวตะวันตกที่ยืนยันความไม่เป็นที่นิยมของราษฎรอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะตลอดรัชสมัยของพระองค์ล้วนมีการสงครามทั้งกับต่างประเทศและการปราบกบฏภายในประเทศ ชาวนาจึงต้องถูกเกณฑ์ไปรบหรืออาจทนทุกข์เพราะความแร้นแค้นของภาวะสงคราม ยังความทุกข์สู่ทวยราษฎร์และไม่มีประโยชน์อันใดต่อชาวนา
    การเสด็จสวรรคต
   สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตเมื่อ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา ๓๒ ปี มีพระชนมายุ ๕๖ พรรษา
   พระราชบุตร
   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวที่เกิดกับพระอัครมเหสีคือ สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี ที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น "กรมหลวงโยธาเทพ" ถือเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมคู่แรก พร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ พระขนิษฐา พระราชธิดาพระองค์ดังกล่าวมีพระราชอำนาจสูงมาก โดยจากหลักฐานของลาลูแบร์ได้กล่าวว่าเจ้าฟ้าพระองค์นี้ "...ดำรงอิสริยยศเยี่ยงพระมเหสี..." และบางครั้งชาวตะวันตกก็เรียกแทนว่าเป็น
"ราชินี" และหากมีผู้ใดเสกสมรสด้วยกับเจ้าฟ้าพระองค์นี้ก็ย่อมได้รับสิทธิธรรมเหนือราชบัลลังก์มากขึ้นด้วย
   นอกจากนี้ยังมีปรากฏในพงศาวดารที่เขียนในสมัยหลังว่าพระองค์มีพระราชโอรสลับคือหลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ) ที่แพร่หลายมากที่สุดในราชสำนัก ในคำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า เกิดจากพระราชชายาเทวี มีนามเดิมว่าเจ้าจอมสมบุญ ภายหลังได้มอบราชบุตรดังกล่าวกับเจ้าพระยาสุรศรี (พระเพทราชา) ส่วน คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่า เกิดกับนางนักสนมที่ชื่อนางกุสาวดี เมื่อนางตั้งครรภ์ก็ได้ส่งนางไปอยู่กับ
เจ้าพระยาสุรสีห์ (คือพระเพทราชา)   ส่วน พระราชพงศาวดารฯ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลที่ต่างออกไปว่า มีพระนามเดิมว่า "มะเดื่อ" เกิดจากพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ภายหลังทรงให้พระเพทราชาไปดูแล ด้วยทรงละอายพระทัยที่เสพสังวาสกับนางลาว
   ในพงศาวดารของไทยปรากฏว่าพระองค์ไม่ทรงยกย่องพระโอรสลับพระองค์ใดที่เกิดกับพระสนมมีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ทรงหมายพระทัยให้มีพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีสืบราชสมบัติเสียมากกว่า ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ว่า
   ครั้นต่อมาพระนารายน์ทรงพระปริวิตกด้วยหาพระราชโอรสสืบราชตระกูลมิได้ จึงรับสั่งให้พระอรรคมเหษีตั้งสัตยาธิษฐานขอพระโอรส แต่นางนักสนมทั้งปวงนั้นมิได้รับสั่งขอ ด้วยไม่วางพระไทยกลัวจะเป็นขบถอย่างพระสีสิงห์ [พระศรีศิลป์] ที่สุดนางนักสนมคนใดมีครรภ์ขึ้นก็ให้รีดทิ้งเสีย คือไม่ให้มีโอรสหรือธิดาเลย
   ส่วนใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งถ่ายมาจากคำให้การชาวกรุงเก่าก็อธิบายไว้ดุจกัน แต่ได้ขยายความดังกล่าวว่า
   อันพระนารายณ์นั้นได้ขัดเคืองพระศรีศิลปกุมารแต่ครั้งนั้นมาว่าเปนขบถ เพราะเหตุว่ามิใช่ลูกของพระองค์ที่เกิดกับพระมเหษี จึงจะไม่เป็นขบถ...อันพระมเหษีนั้นก็มีแต่พระราชธิดา มิได้มีเป็นกุมาร พระองค์จึงรักษาศีลาจารวัตรปฏิบัติโดยธรรมสุจริต จะขอให้ได้พระโอรสอันเกิดในครรภ์พระมเหษี ก็มิได้ดั่งพระทัยปราร์ถนา จึงทรงพระโกรธ ครั้นเมื่อทรงพระโกรธขึ้นมา จึงตรัสกับพระสนมกำนัลทั้งปวงว่า ถ้าใครมีครรภ์ขึ้นมาแล้ว จะให้ทำลายเสีย กูมิให้ได้สืบสุริยวงศต่อไป ต่อเมื่อเกิดในครรภ์พระมเหษี กูจึงจะมอบโภคัยศวรรยทั้งปวงให้ตามใจกูปรารภ ครั้นพระสนมกำนัล รู้ตัวว่ามีครรภ์ก็ต้องทูลพระองค์ ครั้นทราบก็ให้ทำลายเสียอย่างนั้นเป็นต้นมา
   นอกจากนี้บาทหลวงเดอ แบส และพระราชพงศาวดาร ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ได้กล่าวถึงเรื่องที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับเลี้ยงดูเด็กเล็กเลี้ยงดูในพระราชวังหลายคนโดยเลี้ยงดุจลูกหลวง แต่หากเด็กคนใดร้องไห้อยากกลับไปหาพ่อแม่เดิมก็ทรงอนุญาตส่งตัวคืน แต่ลาลูแบร์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า "...พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะเลี้ยงไว้จนกระทั่งเด็กนั้นมีอายุได้ ๗ ถึง ๘ ขวบ พ้นนั้นไปเมื่อเด็กสิ้นความเป็นทารกแล้วก็จะไม่โปรดอีกต่อไป..." แต่มีเพียงคนเดียวที่โปรดปรานคือ พระปีย์ ทั้งยังโจษจันกันว่านี่อาจเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ก็มี ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงวางเฉยกับเรื่องพระปีย์เป็นโอรสลับเสียด้วย
   ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า พระองค์มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์พระนามว่า เจ้าฟ้าน้อย เมื่อโสกันต์แล้วพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้าอภัยทศ แต่ในจดหมายเหตุและคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวต้องกันว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่มีพระราชโอรส เจ้าฟ้าอภัยทศพระองค์นี้เป็นพระราชอนุชาของพระองค์
   พระราชกรณียกิจ
  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมืองเมาะตะมะ สิเรียม ย่างกุ้ง หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
    การต่างประเทศ
   สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรจันทรุปราคาร่วมกับคณะทูต นักบวชคณะเยสุอิต และนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๒๒๘ ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี
   ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชเยนทร์  (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่สมุหนายกขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตนำโดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ถึง ๔ ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
   สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่างๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ศาสนาคริสต์ และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก
    ยกตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. ๒๒๓๐ (ค.ศ. 1687) ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี พระยาพระคลัง และออกพระศรีพิพัทธ์รัตนราชโกษาได้ลงนามในสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศฝรั่งเศส
   ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดาได้กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียมสร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะนั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมาก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส
   ราชทูตสยามนำโดยโกษาปานเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่ ห้องกระจก พระราชวังแวร์ซาย ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๙ (ค.ศ. 1686)  ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ไว้ เพื่อให้ ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว

   แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้นก็มิใช่ว่าจะปลอดภัย ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ร่วมศาสนาด้วย

   แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้าหลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย
    วรรณกรรมในรัชกาล
    สมเด็จพระนารายณ์มิใช่เพียงทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูตเท่านั้น หากทรงเป็นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุคของพระองค์อย่างมากมาย กวีลือนามแห่งรัชสมัยของพระองค์ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราชครู ผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และตอนหนึ่งของเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ (อีกตอนหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็นปฏิภาณกวี
เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนุรุทรคำฉันท์ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว สมเด็จพระนารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง
   วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น
   ๑.สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อโดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น  

   ๒.คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๑๖  เป็นต้น  ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญ ๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น

    บุคคลสำคัญในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    ๑.เจ้าพระยาโกษาเหล็ก

    ๒.เจ้าพระยาโกษาปาน

    ๓.พระยาสีหราชเดโช

    ๔.ยอดกวีเอกศรีปราชญ์

    ๕.เจ้าพระยาวิชเยนทร์

              เจ้าพระยาโกษาเหล็ก

   

      เรื่องเล่าเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็กและปาน)
     จะเล่าถึงท่านพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)  ผู้เป็นพี่ก่อน และตามด้วยผู้เป็นน้อง (ปาน)    เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) หรือเจ้าพระยาโกศาเหล็ก เป็นบุตรของพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ซึ่งเรียกกันว่า “เจ้าแม่วัดดุสิต” (บัว)
    ตามประวัติศาสตร์นั้น เจ้าพระยาโกศาเหล็กเกิดในปี พ.ศ. ๒๑๗๕  เพราะอยู่ในวัยเดียวกับสมเด็จพระนารายณ์ แต่มิทราบนามเดิมและนามบิดาของท่าน  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)  หรือเจ้าพระยาโกศาเหล็กนี้มีน้องชายคนหนึ่ง คือ เจ้าพระโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อยในประวัติศาสตร์สมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ในวิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี กล่าวว่า บิดาของท่านเป็นขุนนางเชื้อสายมอญ และบอกว่า ท่านมีน้องสาวอีกคน ชื่อ แช่ม หรือ ฉ่ำ)

     ตามตำแหน่งแล้วพระยาโกษาธิบดีเป็นตำแหน่งผู้ควบคุมกรมคลัง อันรวมถึงการดูแลกิจการค้าขายกับต่างประเทศในสมัยนั้นด้วย แต่ทว่าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) กลับมาได้รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ไปรบหลายครั้งและได้แสดงวีรกรรมด้านการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระยาสีหราชเดโช ซึ่งมีตำแหน่งเป็นแม่ทัพบกเกือบตลอดรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
   พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) มีประวัติว่าเป็นบุตรเจ้าแม่วัดดุสิต (หม่อมเจ้าบัว) ผู้ซึ่งเป็นพระนมผู้ใหญ่ของสมเด็จพระนารายณ์ มีน้องร่วมมารดาอีก ๒ คนคือ แจ่มซึ่งเป็นหญิง และพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ผู้เป็นราชทูตไทยเดินทางไปประเทศฝรั่งเศส มีหลักฐานน่าเชื่อได้ว่าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) น่าจะเกี่ยวดองเป็นญาติอันสนิทกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   กับพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) คงจะมีมาตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ คือ เป็นพระสหายอันสนิทซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๙ คน เล่าเรียนหนังสือและฝึกซ้อมเพลงอาวุธมาด้วยกัน อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ชิงราชบัลลังก์มาจากเจ้าฟ้าชัยเมื่อ พ.ศ.๒๑๙๗ และจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาเมื่อ พ.ศ.๒๑๙๙ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้รับตำแหน่งพระยาโกษาธิบดีบริหารด้านการเงินการคลัง รวมถึงการค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งการค้าขายกับต่างชาติในระยะเวลาดังกล่าวเฟื่องฟูมาก เพราะมีชาวต่างประเทศเดินทางมาติดต่อทำการค้าขายหลายชาติ มีทั้งชาวต่างชาติในทวีปเอเชียและชาวต่างชาติในทวีปยุโรป พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) รับราชการด้วยความสามารถ
ทำให้กิจการค้าสำเภาของหลวงขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง มีรายได้เข้าสู่พระคลังมหาสมบัติเป็นอันมาก ชาวยุโรปที่เข้ามาทำการค้าได้บันทึกไว้ว่า
“...พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระราชทรัพย์อยู่ ๘ หรือ ๑๐ ท้องพระคลัง ที่มีทรัพย์สินอันล้ำค่ายิ่งกว่าท้องพระคลังอื่น ๆ ในห้องหรือท้องพระคลังแห่งหนึ่ง มีไหเป็นอันมากตั้งเรียงสลับซับซ้อนอยู่จนถึงหลังคา เต็มไปด้วยเงินเหรียญบาทและทองคำแท่ง...
   สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในความซื่อสัตย์จงรักภักดี และทรงเชื่อในฝีมือความสามารถของพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกรบแทนพระองค์ในตำแหน่งแม่ทัพใหญ่อยู่เสมอ  เมื่ออ่านมาถึงตอนนี้ ท่านอาจจะมีคำถามอยู่ในใจว่า อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือพระยามหาเสนาบดี ตำแหน่งสมุหกลาโหมนั้นไปอยู่เสียที่ไหน จึงไม่ได้เป็นแม่ทัพออกรบ ก็ขอตอบว่า ในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำแหน่งสมุหกลาโหมเป็นตำแหน่งที่เป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ ด้วยมีสิทธิ์คุมกำลังคนจำนวน
มากและมักจะเข้ามาชิงราชบัลลังก์อยู่เสมอ ดังนั้นพระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาในสมัยหลัง จึงทรงลดอำนาจของสมุหกลาโหมให้น้อยลง หรือให้ทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาทางทหารเท่านั้น

     แม้จะมิใช่เป็นกษัตริย์ยอดนักรบ  ทว่าเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) นี้  ก็นับเป็นวีรบุรุษคนสำคัญอีกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์เช่นกัน  เพราะก่อนหน้าที่สมเด็จพระนารายณ์จะเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น ท่านเป็นเสมียนยอดนักรบคู่ใจของสมเด็จพระนารายณ์  ซึ่งเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า
“ขุนเหล็ก”
     พ.ศ. ๒๒๒๔  ปีนั้น  พม่าตามพวกมอญเข้ามาในเขตไทย  ขันเหล็กก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาโกษธิบดี (เหล็ก)  ในตำแหน่งแม่ทัพใหญ่นำทัพออกไปรับมือกับพม่า  ซึ่งเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ก็สามารถนำทัพเข้าต่อสู้โรมรันกับพม่าจนแตกพ่ายไปได้ในที่สุด
     พ.ศ. ๒๒๒๕  สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ไปรับมือกับศึกพระเจ้าอังวะที่เข้ามาล่วงล้ำรุกรานไทย
     ศึกครั้งนั้นเป็นครั้งใหญ่กำลังพลของแต่ละฝ่ายนับได้ร่วมแสนคน  ซึ่งเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) มิได้เป็นแม่ทัพใหญ่ที่เตรียมการรุกและรับอย่างเดียว  แต่ท่านได้ศึกษาการรบตามหลักพิชัยสงครามอย่างละเอียดรอบคอบ จนทำให้เอาชัยชนะพม่าได้อีกคำรบหนึ่ง
     การเอาชนะพม่าได้ในครั้งนี้  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ได้แสดงปรีชาสามารถในเชิงจิตวิทยา  ครั้งหนึ่งได้แต่งหนังสือเป็นเชิงท้าทายพม่าให้ออกมาสู้รบกันข้างนอกเมืองด้วยเพราะได้ล้อมพม่าไว้เป็นเวลานาน  จนใกล้จะขาดแคลนเสบียงอาหารแล้ว
      ชั้นเชิงในการแต่งหนังสือนั้งทำให้พม่าเสียทีหลงกลไทยเป็นเหตุให้แพ้พ่ายแก่ไทยในที่สุด  เมื่อชนะแล้วก็ยังได้ส่งหนังสือเข้าไปยังเมืออังวะอีก  จนเป็นเหตุให้เมืองอังวะคิดว่าเป็นกลลวงอีกคำรบหนึ่ง  จึงรู้สึกขยาดและครั่นคร้ามต่อกองทัพไทยเป็นยิ่งนัก  หลังจากนั้นก็มิปรากฏว่าอังวะจะกล้ายกทัพออกจากเมืองมารุกรานไทยอีกเป็นเวลานานทีเดียว
     เจ้าพระโกษาธิบดี (เหล็ก) ท่านเป็นแม่ทัพไทยที่มีความช่ำชองในการศึกษา  และมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญสมกับเป็นแม่ทัพใหญ่  ในเชิงพิชัยยุทธ์นั้นท่านมีความเฉลียวฉลาดและลึกซึ้งเป็นยิ่งนัก  จึงกล่าวได้ว่าท่านกรำศึกษาอย่างโชกโชน  คู่ราชบัลลังก์ของสมเด็จพระนารายณ์
      พ.ศ. ๒๒๒๖  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)  ได้เกิดล้มป่วยลงเนื่องจากผ่านการรบทัพจับศึกมาอย่างตรากตรำลำบากเป็นเวลานาน ซึ่งในระหว่างที่ล้มป่วยนั้นสมเด็จพระนารายณ์ทรงให้บรรดาแพทย์หลวงทั้งปวงมาทำการรักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิด  ด้วยเพราะทรงรักใคร่เป็นห่วงเป็นใยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เสมือนหนึ่งดั่งพี่น้องแท้ ๆ  ของพระองค์
       แต่ทว่าในที่สุดเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ก็ถึงแก่อสัญกรรมท่ามกลางความโศกเศร้าเสียพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งกล่าวกันว่า ทรงหลั่งน้ำพระเนตรด้วยความอาลัยรักในขุนศึกซึ่งเปรียบเป็นเสมือนพระสหายสนิท  และเป็นทั้งพี่น้องที่เห็นกันมาตั้งแต่ยังพระเยาว์ (ในวิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี  กล่าวว่าท่านถึงแก่อสัญกรรม เนื่องจากเมื่อมีการสร้าง ป้อมปราการ จำเป็นต้องมีการเกณฑ์แรงงานในการก่อสร้าง แต่บางคนไม่อยากทำจึงนำเงินไปให้ท่าน และท่านได้กราบบังคมทูลต่อสมเด็จพระนารายณ์ว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างป้อมปราการ ท่านจึงถูกสมเด็จพระนารายณ์สั่งลงทัณฑ์โดยการเฆี่ยนจนถึงอสัญกรรม)
         สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงทำการฌาปนกิจศพเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) อย่างยิ่งใหญ๋สมเป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่ง  และหลังจากนั้นก็ได้ทรงสนับสนุนให้นายปานผู้เป็นน้องชายคนเดียวของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แทนพี่ชายสืบต่อไป

                       เจ้าพระยาโกษาปาน

   

       ส่วนเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ผู้น้อง  เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๑๙๓  เป็นน้องชายคนเดียวของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ซึ่งทั้งสองนั้นเป็นบุตร “เจ้าแม่ดุสิต” ผู้เป็นพระนมและพระพี่เลี้ยงคอยถวายการอภิบาลดูแลสมเด็จพระนารายณ์ หลังจากที่พระราชมารดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว
       ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เจ้าพระยาโกษาธิบดีทั้งสองพี่น้องมีความสนิทชิดใกล้กับสมเด็จพระนารายณ์มากกว่าในฐานะข้าราชบริพาร แต่หากมีความสนิทมากกว่าระดับพระสหายเพราะเปรียบเสมือนเป็นเช่นพี่น้องกันก็มิปาน
       เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) นั้น  ได้รับการไว้วางพระทัยและการยกย่องจากสมเด็จพระนารายณ์มิใช่น้อย  ดังจะเห็นได้ว่าในคราวที่สมเด็จพระนารายณ์มีพระราชประสงค์จะเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส และปรารถนาที่จะให้ไทยเราได้ไปเห็นความเป็นอยู่ของต่างประเทศว่มีความก้าวหน้าล้ำไปอย่างไรนั้น  สมเด็จพระนารายณ์ก็ได้ทรงเลือกนายปานผู้เป็นน้องชายของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ให้ได้รับเกียรติอันสูงสุดโดยแต่งตั้งเป็นราชทูตไทยเดินทางไปยังฝรั่งเศส  เพื่อถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ
      เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) จึงเป็นราชทูตไทยคนแรกของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้เดินทาออกจากแผ่นดินไทยไปสู่แผ่นดินต่างประเทศซึ่งเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และคณะราชทูตไทยนั้นได้ลงเรือเดินทางออกจากประเทศไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๘  ซึ่งเป็นการเดินทางไปเยือนต่างประเทศได้สำเร็จเป็นครั้งแรก  ก่อนหน้านั้นไทยเราได้ส่งคณะทูตออกเดินทางสู่ต่างประเทศบ้างแล้ว  แต่ทว่ามิสามารถเดินทางไปถึงจุดหมาย
ได้ เพราะเกิดอุปสรรคเรืออัปปางลงก่อนเสมอ
     เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เดินทางถึงฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๒๒๘  โดยได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซาย ในเดือนกันยายน  พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ให้การต้องรับคณะทูตไทยอย่างสมเกียรติและได้แลกเปลี่ยนเครื่องราชบรรณาการกันด้วย
     พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นั้นมีความทึ่งและชื่นชมในคณะทูตไทยเป็นอย่างยิ่ง ที่สามารถฝ่าคลื่นลมมรสุมกลางมหาสมุทรมาสู่ฝรั่งเศสได้อย่างปลอดภัย  เมื่อซักถามถึงวิธีการเอาตัวรอดพ้นจากอันตรายนั้น  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ก็ได้กราบทูลตอบด้วยความเฉลียวฉลาด อันเป็นเหตุให้พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ โปรดปรานและชื่นชมในสติปัญญาแก่เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นยิ่งนัก
     เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในขณะนั้นยังอยู่ในวัยหนุ่ม จึงนับได้ว่าเป็นราชทูตที่มีความสง่างามทั้งบุคลิกและสติปัญญาอันปราดเปรื่องลึกซึ้ง  อีกทั้งกิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย  เป็นผู้ที่ช่างจำช่างคิดและไตร่ตรองก่อนพูดเสมอ
     ในชั้นเชิงการทูตนั้น กล่าวได้ว่า ท่านมีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง จึงสามารถสร้างประโยชน์และความสำเร็จให้เกิดขึ้นระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในการเจริญสัมพันธไมตรีครั้งนั้น
     นอกจากชั้นเชิงลีลาและฝีมือในการทูตแล้ว  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ยังได้นำเอาวิชาความรู้ทางด้านคาถาคงกระพันชาตรีอันเป็นความเชื่อดั้งเดิมของไทยเราแต่สมัยโบราณไปอวดให้เป็นที่ประจักษ์แก่หน้าพระพักตร์พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แลทหารฝรั่งเศสทั้งปวงด้วย
    ทั้งนี้ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ได้จัดการให้คนไทย ๑๗ คน แต่งเป็นลูกศิษย์อาจารย์นุ่งขาวห่มขาว  นุ่งเครื่องแต่งตัวที่ลงเลขเสกยันต์พันผ้าต่าง ๆ  นั่งอยู่ที่หน้าพระลาน  แล้วให้ทหารฝรั่งเศสยิงเข้าใส่ ซึ่งด้วยอำนาจคุณของคาถาอาคมและเลขยันต์ต่าง ๆ  นั้น ทำให้ปืนไฟของฝรั่งเศสไม่สามารถจะยิงกระสุนออกได้แม้แต่นัดเดียวหรือกระบอกเดียว  ตามที่เรียกกันว่าปืนด้านนั่นเอง
     ด้วยวิชาอาคมของไทยโบราณในครั้งนั้นทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และทหารชาวฝรั่งเศสถึงกับทึ่งในวิชาโบร่ำโบราณของไทยเป็นยิ่งนักด้วยเพราะมีปฏิภาณไหวพริบอันปราดเปรื่องลึกซึ้ง  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)  จึงได้รับพระกรุณาอย่างสูงจากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔  สามารถเข้าเฝ้าและคอยอยู่ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทได้เสมอ และนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) สามารถสังเกตดูความเป็นไปต่าง ๆ  ในราช
สำนักได้โดยละเอียดแม้กระทั่งการตกแต่งพระราชอาสน์ของพระมหากษัตริย์  ท่านก็ได้สังเกตการณ์ประดับและการตกแต่งเพชรพลอยทั่วราชอาสน์นั้นด้วย  มิได้เพียงแค่ศึกษาความเป็นไปในการปกครองบ้านเมืองแต่อย่างเดียวเท่านั้น
     เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส
  พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงโปรดเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) อย่างสูง ถึงขนาดพระราชทานนางข้าหลวงชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งให้เป็นภริยาของราชทูตโกษาธิบดี (ปาน) พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องแต่งกายแบบฝรั่งเศสกับเพชรพลอยต่าง ๆ  จำนวนหนึ่งให้แก่ราชทูตผู้นี้ด้วย
   เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) พำนักอยู่กินกับภริยาชาวฝรั่งเศสจนกระทั่งได้บุตรชายผู้หนึ่ง ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ทรงขอลูกชายนั้นไว้ด้วย มีพระประสงค์อยากจะได้ทายาทเชื้อสายของราชทูตผู้เฉลียวฉลาดผู้นี้ไว้เลี้ยงดูเป็นที่รักใคร่ต่อไป  ดังนั้น  เมื่ออยู่พำนักที่ฝรั่งเศสครบ ๓  ปีเต็ม  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) จึงได้กราบบังคมทูลลาพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และฝากฝังภริยากับบุตรไว้กับราชาแห่งฝรั่งเศสก่อนที่จะเดินทางมุ่งกลับสู่แผ่นดินไทย  ในช่วยปลายปี ๒๒๓๐
   นอกจากความเฉลียวฉลาดเยี่ยงนักปราชญ์ราชทูตแล้ว  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ยังมีจิตใจที่หาญกล้าเด็ดเดี่ยวมิใช่น้อย ท่านได้เคยออกทัพจับศึก และมีชัยชนะในการศึกหลายครั้งหลายครา  เป็นต้นว่า ครั้งที่นำกรุงศรีอยุธยาไปทำสงครามกับพม่าถึงกรุงอังวะนั้น  ท่านก็ได้ชัย และยังได้ปราบปรามหัวเมืองที่ยังกระด้างกระเดื่องต่าง ๆ  ให้สงบราบคาบได้อีกด้วย
    ครั้นเมื่อสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ก็ตกที่นั่งลำบาก  เนื่องจากพระเพทราชานั้นมิได้มีความเป็นมิตรไมตรีกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) แต่อย่างเดิม  ทั้ง ๆ  ที่พระเพทราชานั้นก็เรียกมารดาของพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ว่าแม่  แต่ทว่าด้วยความขัดแย้งทางการเมือง เจ้าพระยาโกศาปาน หรือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)  จึงถูกกลุ่มของพระเพทราชาและขุนหลวงสุรศักดิ์จับตัวเอาไปเฆี่ยนตีทำทรมานจนถึงแก่อสัญกรรมในอายุเพียง ๔๐ ปีเท่านั้น..ฯ

               พระยาสีหราชเดโช

       

            พระยาสีหราชเดโชไชย
   ในสมัยพระนารายณ์มหาราช มีครั้งหนึ่งที่กรุงศรีอยุธยารบกับพม่าในปีพ.ศ.๒๒๐๗ เหตุผลของการรบในครั้งกระนั้น เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาขณะนั้น มีความอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยขุนศึกแม่ทัพที่เก่งกาจกล้าหาญ ไพร่พลฮึกเหิมเคยรบชนะพม่ามาแล้วสอง ครั้งสองครา และพม่าก็เคยยกทัพมาตีไทยหลายหน แต่ไทยเองไม่เคยยกไปตีพม่าเลย จึงถือเป็นโอกาสเหมาะที่จะชำระแค้น ประกอบกับพม่าเองขณะนั้นกำลังระส่ำระสาย อัน
เนื่องจากการแย่งชิงราชสมบัติของพระเจ้าแปร   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดให้จัดทัพมีกำลังพล ๖๐,๐๐๐ นาย แยกกันไป ๓ ทาง พระยารามเดโช จัดทัพเชียงใหม่แยกไปทางผาปูน  พระยากำแพงเพชร จัดทัพเมืองเหนือแยกไปทางด่านแม่ละเมา และกองทัพ หลวงโปรดให้ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาสุรสงคราม เป็นกองหลังยกไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์
  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) ได้ให้พระยาเกียรติกับสมิงพระรามยกทัพ มอญ ไปตีเมืองทวายอีกทางหนึ่ง เพราะเกรงว่าทวายจะยกทัพมาตีกระหนาบช่วยพม่า   กองทัพไทยตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ แล้วตีเมืองจิตตอง สิเรียม และย่างกุ้ง ซึ่งเป็นหัวเมืองรายทางได้เป็นลำดับ เจ้าพระยาโกษาธิบดีได้จัดกองทัพเรือยกไปตีเมือง แปรและหงสาวดี ซึ่งเป็นเมืองริมน้ำ  แต่พม่าก็ต่อสู้อย่างแข็งขัน พระเจ้าอังวะสั่งให้มังจาเล ราชบุตรจัดกองทัพตั้ง มั่นอยู่ที่พุกาม แต่ก็สู้กำลังทหารไทยไม่ได้ ถูกตีแตกพ่ายกลับไปทุกครั้ง ที่สุดทหารไทย จึงล้อมเมืองพุกามไว้ได้   แต่จนแล้วจนรอด ก็ตีเมืองพุกามไม่แตก จนถึงปี พ.ศ.๒๒๐๘ เสบียงร่อยหรอ ลงทุกที จำใจต้องถอยทัพกลับ แต่เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก)
ได้ออกอุบายลวง มังจาเลว่า ไทยจำเป็นต้องถอนทัพกลับแล้ว
  มังจาเลหลงกล และคิดจะตีทัพไทยระหว่างถอนทัพ เมื่อถึงกำหนดวัน มังจาเล ก็ยกทัพเข้าโจมตี จึงถูกทัพไทยตลบหลัง ทหารพม่าถูกฆ่าตายจำนวนมาก มังจาเลรีบ ยกทัพกลับเข้าเมืองพุกามได้ทัน ไม่เช่นนั้นพุกามคงต้องแตกพ่ายด้วยน้ำมือของเจ้า พระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) เป็นแน่แท้
   เมื่อถึงกำหนดเดินทัพกลับจริงๆ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) ก็ออกอุบาย ปล่อยข่าวไปยังมังจาเลอีก แต่คราวนี้มังจาเลไม่เชื่อ ไม่กล้าออกจากกำแพงเมืองอีก ปล่อยทัพไทยจึงถอนกลับกรุงศรีอยุธยาอย่างปลอดภัย
   ในคราวศึกครั้งนี้ พระราชพงศาวดารบันทึกถึงอภินิหารของทหารไทยท่านหนึ่ง ไว้ว่าพระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) คุมกองทัพเข้าต่อสู้กับพม่าเป็นสามารถ แต่ถูก พม่าจับตัวไว้ได้ และถูกจองจำไว้อย่างแข็งแรง ความทราบถึงเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) จึงรีบกราบบังคมทูลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้ทรงทราบ ซึ่ง พระองค์ก็ ทรงร้อนระทัยเป็นยิ่งนัก จึงให้หาสมเด็จพระราชาคณะมาทำนาย ดวงชะตาของพระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) ว่าดีร้ายเป็นประการใด
   สมเด็จพระราชาคณะกราบบังคมทูลว่า ไม่เป็นอันตราย สิ้นกระแสความ ก็มีม้าเร็วมาแจ้งข่าวว่า พระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) หนีออกจากที่คุมขังพม่าได้สำเร็จ กำลังเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา
   ว่ากันว่า พระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) นี้เป็นผู้มีความสามารถทางไสยศาสตร์ คงกระพันชาตรี และหายตัวได้….

    แม่ทัพจอมขมังเวทย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
   ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่บันทึกถึงเรื่องไสยศาสตร์ ไม่ค่อยมีบันทึกไว้ แต่พระยาสีหราชเดโช กลับมีบันทึกในประวัติศาสตร์ ถึงความขมังเวทย์ของท่าน แอดมินจึงนำเรื่องของท่านมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อแสดงให้เห็นว่า วิชาไสยศาสตร์เป็นเรื่องทีผูกพัน กับคนไทยมานานแสนนาน
   พระยาสีหราชเดโชเป็นทหารเอก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นคนสนิท และเป็นกำลังอันสำคัญในการช่วงชิงบัลลังค์ถึงสองครั้ง ว่ากันว่า พระยาสีหราชเดโชกับพระยาโกษาธิบดี(ขุนเหล็ก) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท่านเป็นสหายที่โตมาด้วยกัน จึงมีความสนิทสนมกันมาก เมื่อกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความอุดมสมบูรณ์ มีไพร่พลที่แข็งแกร่ง สมเด็จพระนาราย์จึงมีพระบัญชาประกาศสงครามกับพม่า ได้แต่งตั้งพระโกษาธิบดี(ขุนเหล็ก) ซึ่งขณะนั้นมีอายุยังน้อย ให้เป็นแม่ทัพใหญ่ สร้างความไม่พอใจ แก่เหล่าแม่ทัพนายกองมาก ถ้าเทียบกับปัจจุบัน คงหมายถึงเด็กเส้น พระยาโกษาธิบดีก็ทราบดีว่า ตัวอายุยังน้อย จะให้คนเหล่านั้นมาซูฮก คงจะเป็นเรื่องยาก และถ้าออกสงคราม โดยยังมีพวกที่แข็งข้อ คงแพ้สงครามแน่
   การที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงตั้งพระโกษาธิบดี เป็นแม่ทัพใหญ่ ไม่ใช่เพราะความสนิทสนมอย่างเดียว แต่ท่านเชื่อกึ๋นพระโกษาธิบดี ว่าจะมีปัญญาเป็นแม่ทัพใหญ่ได้ พระยาโกษาเหล็ก จึงเริ่มใช้อุบาย เรียกไพร่พลมาซ้อมรบ และสั่งให้ตั้งคูตั้งค่าย โดยสั่งให้ทหารตั้งค่าย โดยเอาหัวเสาลง ไม่ได้เอาปลายเสาลงแบบปรกติ สร้างความงุนงงแก่พวกทหารมาก พวกที่ไม่พอใจท่านอยู่แล้ว จึงรวมหัวกัน นินทาท่านหัวเราะท่านว่า แค่ตั้งค่ายคูแค่นี้ยังไม่รู้ แล้วจะไปสู้รบกับคนอื่นได้ยังไร พวกนี้จึงตั้งค่ายแบบเอาปลายลง แต่พวกที่ชมชอบท่าน แม้ท่านสั่งแปลกๆ ก็ยินยอมทำตามที่ท่านสั่ง พอตอนเย็นพระโกษาเหล็ก มาตรวจค่าย จึงเรียกพวกที่ไม่ทำตามคำสั่ง เข้ามาหาทั้งหมด และสอบถามว่า ที่เราสั่งให้ทำ ทำไมไม่ทำกลับไปทำอีกอย่าง พวกนั้นยังไม่รู้ว่าตัวเองหลงกลแล้ว พยายามอธิบายว่าการตั้งค่ายที่ถูกต้องทำแบบนี้ พระโกษาเหล็กจึงใช้อาญาสิทธิ์แม่ทัพว่า พวกเจ้าไม่ทำตามคำสั่ง
แม่ท้พ ถือว่าผิดวินัยอย่างร้ายแรง จึงสั่งให้จับพวกนี้ไปตัดหัวทั้งหมด
   เมื่อยกทัพขึ้นไปตีพม่า พระยาสีหราชเดโชเป็นทัพหน้า พระยาโกษาเหล็กเป็นทัพหลวง พระยาสีหราชเดโช ถูกอุบายกลศึกของพม่า โดยพม่าแกล้งเข้ามารบ แล้วแกล้งพ่าย แล้วถอยทัพหนี พระยาสีหราชเดโชหลงกล นำทัพทหารห้าร้อยไล่ติดตามไป หวังบดขยี้ให้แหลกลาน เมื่อตามเข้าไปพื้นที่ข้าศึกซุ่มไว้ พวกข้าศึกจึงกรูออกมานับเรือนหมื่น พระยาสีหราชเดโช รู้ตัวแล้วว่าหลงกลข้าศึก จึงสั่งทหารให้สู้ตาย ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์นี้ คงไม่มีการบันทึกถึงเวทย์วิทยาคมของพระยาสีหราชเดโช ทหารทั้งห้าร้อยนาย ล้วนอยู่ยงคงกระพันทั้งสิ้น แม้ถูกหอกถูกดาบก็หาระคายผิวไม่
   พระยาสีหราชเดโช คงใช้วิชาแต่งทัพคุ้มครองบริวาร ส่วนตัวพระยาสีหราชเดโช ได้แสดงวิชากำบังตัวขั้นสุดยอด กำบังตัวทั้งม้าทั้งคน หายตัวเป็นช่วงๆ เดี๋ยวเห็นเดี๋ยวหาย ฆ่าฟันข้าศึกไปมากมาย แอดมินคิดว่า ท่านคงใช้คาบอึดใจในการหายตัว เพราะตามประวัติว่า เห็นบ้างหายบ้าง แต่สุดท้าย ด้วยกำลังข้าศึกมหาศาล ทำให้ท่านหมดแรง

 
    พระยาสีหราชเดโชนั้นมีตำแหน่งเป็นแม่ทัพบก นามเดิมว่า “น้อย ทิป” เป็นพระสหาย
ของสมเด็จพระนารายณ์ฯ มาแต่วัยเด็กร่วมเรียน ร่วมเล่น และร่วมกันคิดก่อการยึดอำนาจจากสมเด็จเจ้าฟ้าชัย และสมเด็จพระศรีสุธรรมราชามาเช่นเดียวกันกับพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) พระยาสีหราชเดโชมีประวัติว่า
    เรียนหนังสือเก่ง เชี่ยวชาญในเพลงอาวุธและไสยศาสตร์มาก จนสามารถหายตัวได้อึดใจหนึ่ง ในคราวยกทัพไปโจมตีพม่าที่เมืองพุกาม เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๗ ในตำแหน่งแม่ทัพหน้า ได้ออกปล้นค่ายพม่าเพื่อตัดกำลังในยามค่ำคืน
จนถูกพม่าจับตัวไว้ได้ แต่อาศัยความสามารถเอาตัวรอดมาได้ พงศาวดารทั้งไทยและพม่ายกย่องในฝีมือ และเชื่อว่าสามารถล่องหนหายตัวได้จริง
    เมื่อพระยาสีหราชเดโช ได้ตำแหน่งแม่ทัพบกแล้ว ได้แสดงวีรกรรมด้านการรบไว้อย่างโชกโชนโดยสร้างวีรกรรมเคียงคู่กันกับพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ตลอดมา บุคคลทั้งสองทำการศึกอย่างคนที่รู้ใจกันเป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็คงจะเนื่องมาจากความสนิทคุ้นเคยกันมาตั้งแต่วัยเด็กนอกจากนี้พระยาสีหราชเดโช ยังมีความเกี่ยวดองเป็นเครือญาติใกล้ชิดกับพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ด้วย โดยพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แต่งงานกับนิ่มซึ่งเป็นพี่สาวของพระยาสีหราชเดโชและพระยาสีหราชเดโชก็แต่งงานกับแจ่มน้องสาวของพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) บุคคลทั้งสองจึงเป็นทั้งเพื่อนและญาติผู้ใกล้ชิดเสมือนบุคคลในครอบครัวเดียวกัน และรู้ใจกันเป็นอย่างดีมาตั้งแต่เด็ก จนเมื่อแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ บุคคลทั้งสองก็สามารถร่วมมือร่วมใจกันรบได้เป็นอย่างดี เป็นที่เข็ดขยาดแก่กองทัพพม่าจนไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเป็นเวลายาวนานถึง ๙๕ ปีทีเดียว

   เกียรติประวัติด้านการรบวีรกรรมการรบของบุคคลทั้งสองนี้ ปรากฏขึ้นเมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสีหราชเดโชยกทัพไปช่วยพระยาแสนหลวงเจ้าเมืองเชียงใหม่ ป้องกันบ้านเมืองให้พ้นจากการรุกรานของพวกฮ่อ เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๐
    ขณะนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ เสวยราชย์มาได้ ๔ ปี ทรงเห็นเป็นโอกาสที่จะได้เมืองเชียงใหม่กลับมาเป็นของไทยดังแต่ก่อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสีหราชเดโชเป็นแม่ทัพยกไปช่วยเหลือเมืองเชียงใหม่  กองทัพกรุงศรีอยุธยายกผ่านเมืองกำแพงเพชร ยังไม่ทันจะเข้าเมืองเถิน (ลำปาง) ทูตเชียงใหม่ก็หลบหนีไปเสียสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงยกทัพหลวงติดตามไปฟังข่าวที่เมืองพิษณุโลก เมื่อทรงทราบข่าว จึงโปรดให้เจ้าพระยามหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหกลาโหม ยกทัพหนุนขึ้นไปช่วยเหลือ กองทัพกรุงศรีอยุธยาสามารถ
รวบรวมหัวเมืองทางภาคเหนือให้เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นอันมาก แต่ไม่สามารถตีเอาเมืองเชียงใหม่ได้
    พระยาแสนหลวงเจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงคิดอุบายนิมนต์พระสงฆ์ ๔ รูป ถือหนังสือมายอมอ่อน้อมเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ยกทัพกลับ พระยามหาเสนาบดีทำการคราวนี้ไม่สำเร็จ ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ฯ ไม่ทรงเชื่อถือในฝีมือ และไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพอีก
   ครั้น พ.ศ.๒๒๐๔ เกิดเหตุวุ่นวายแย่งชิงราชสมบัติในพม่า สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงเห็นเป็นโอกาสอันดีที่พม่าจะไม่มาเกี่ยวข้องกับเมืองเชียงใหม่จึงโปรดให้พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นแม่ทัพไปตีเชียงใหม่ ด้วยทรงไว้วางพระทัยและเชื่อในความสามารถในตัวพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) มาโดยตลอด แม้ตำแหน่งของพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) จะดูแลการคลัง ไม่ใช่ตำแหน่งแม่ทัพก็ตามพระบรมราชโองการดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาความไม่พอใจกันขึ้นในกลุ่มเสนาบดีและเสนาบดีผู้ใหญ่ทั้งหลาย จึงปรากฏเรื่องที่พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ขอทดลองอาญาสิทธิ์จัดทัพ โดยสั่งให้เจ้าหมู่ นายกองคุมไพร่พลไปตั้งค่ายที่ทุ่งเพนียด ค่ายนั้นให้ฝังไม้ไผ่เอาปลายลงดิน เอาโคนต้นขึ้นจนเป็นที่ขบขันแก่เสนาบดีผู้ใหญ่ทั้งปวง ขุนหมื่นนายหนึ่งเห็นผิดประเพณีที่เคยทำมาก่อน สั่งให้ถอนค่ายเอาโคนไผ่ปักลงดินจึง  ถูกพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) สั่งให้นำไปประหารชีวิตเสีย เพื่อจะแสดงอำนาจสิทธิ์ขาดของแม่ทัพใหญ่ และตัดปัญหาการอิจฉาริษยาจากเสนาบดีผู้ใหญ่ทั้งหลายทั้งปวง
    การไปรบที่เชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๒๐๕ ครั้งนี้พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) จึงเป็นแม่ทัพใหญ่ มีพระยาสีหราชเดโชเป็นทัพหน้า ปรากฏว่าทางเมืองเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับเมืองลำพูนต้านทานอย่างเต็มที่ พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ต้องเตรียมการรบอย่างรอบคอบและรัดกุมที่สุด เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงยกทัพหลวงติดตามไปสมทบในภายหลัง ทัพทุกฝ่ายก็ได้ร่วมกันโจมตีเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จเสร็จการศึกครั้งนี้แล้ว สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงปูนบำเหน็จเลื่อนยศให้พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ขึ้นเป็นเจ้าพระยา ส่วนพระยาสีหราชเดโชนั้น โปรดให้อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ต่อไป  เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จกลับได้โปรดให้เชิญ “พระพุทธสิหิงค์” ลงมายังกรุงศรีอยุธยาด้วย
    ครั้งปีรุ่งขึ้น พ.ศ๒๒๐๖ พม่าได้ติดตามเข้ามาปราบปรามพวกมอญในเขตแดนไทย เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพไปรบขับไล่พม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี และโปรดให้พระยาสีหราชเดโชยกทัพจากเชียงใหม่ลงมารักษาด่านแม่ละเมา จังหวัดตาก เมื่อพระยาสีหราชเดโชเห็นว่าพม่าไม่ยกทัพเข้ามาทางนี้ จึงยกทัพลงมาสนับสนุนทัพเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เกิดการรบกันที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีติดต่อกันถึง ๓ วัน โดยทัพเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เข้าตี
กระหนาบด้านหลังพร้อมกัน พม่าต้านทางไม่ไหว แตกพ่ายไป นับเป็นชัยชนะที่งดงามของทหารเอกทั้งสองท่านนี้
    สงครามครั้งสุดท้ายที่สองทหารเอกสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้แสดงฝีมือให้ปรากฏเลื่องลือก็คือ คราวที่ยกทัพไปตีเมืองพม่าใน พ.ศ.๒๒๐๗ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาสีหราชเดโชเป็นแม่ทัพหน้าเหมือนเช่นเคย ยกทัพออกทางด้านเจดีย์สามองค์ไปล้อมเมืองพุกามของพม่าไว้พระยาสีหราชเดโชได้ออกปล้ค่ายตัดกำลังพม่าทุกคืน อันเป็นยุทธวิธีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเคยใช้ได้ผล สามารถตัดกำลังข้าศึกไปได้มาก แต่สมเด็จพระนเรศวรก็เคยถูกพม่าแทงตกจากค่ายทรงได้รับบาดเจ็บสำหรับพระยาสีหราชเดโชนั้นเสียท่าถูกพม่าจับตัวไปได้ แต่ด้วยความสามารถจึงหนีเอาตัวรอดกลับมาได้ แม้พงศวดารฝ่ายพม่าก็ยังกล่าวยกย่องในวีรกรรม และความสามารถ และยังเชื่อว่าท่านหายตัวได้อีกด้วยพม่าไม่ยอมออกจากเมืองมาสู้รบกับกองทัพไทยด้วยหวั่นเกรงในฝีมือของสองทหารเอก ฝ่ายไทยต้องล้อมเมืองอยู่นานจนขาดเสบียงอาหารต้องยกทัพกลับมา แม้จะไมได้เมืองพม่าแต่ก็ได้หลอกให้ทัพพม่าออกมาจากเมืองจนถูกทัพไทยโจมตีเสียหายเป็นอันมาก
    การที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงเปลี่ยนวิเทโศบายการรบกับพม่า จากการเป็นฝ่ายตั้งรับพม่าที่กรุงศรีอยุธยามาเป็นฝ่ายรุกพม่าเสียบ้าง โดยส่งทัพใหญ่นำโดยสองทหารเอกไปรบดังกล่าว ทำให้พม่าไม่กล้ามาย่ำยีไทยอีกเป็นเวลานานถึง ๙๕ ปีทีเดียว

                กวีเอกศรีปราญ์

       
         ศรีปราชญ์  เป็นข้าราชในสำนักสมเด็จพระนารายณ์ เป็นบุตรชายของ
พระโหราธิบดี มีความสามารถทางร้อยกรอง และไปเสียชีวิตที่นครศรีธรรมราชเหมือนในเอกสารเดิม เขายังได้รับการนำเสนอว่า เป็นกวีเอกและบุคคลสำคัญของชาติไทย
     เรื่องราวของศรีปราชญ์ได้รับการดัดแปลงแก้ไขให้ถูกต้องในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในงานเขียนของพระยาตรัง กวีเอกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และงานเขียนของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ข้าราชการสมัยรัชกาลที่ ๖
   เรื่องราวที่ดัดแปลงแก้ไขนี้ระบุว่า ศรีปราชญ์มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เดิมชื่อว่า "ศรี" เป็นบุตรชายของพระโหราธิบดี เกิดราว พ.ศ. ๒๑๙๖   วันหนึ่งในราว พ.ศ.๒๒๐๕ สมเด็จพระนารายณ์ทรงนิพนธ์โคลงค้างเอาไว้ ๒ บาทว่า
          อันใดย้ำแก้มแม่    หมองหมาย
         ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย    ลอบกล้ำ
แล้วทรงให้พระโหราธิบดีกลับไปแต่งต่ออีก ๒ บาทให้เต็มบท พระโหราธิบดีคิดไม่ออก  จึงเขียนคำโคลงไว้บนกระดาน พยายามคิดต่อคำโคลงให้จบบท แต่ยังคิดไม่ออกก็เลยปล่อยทิ้งไว้แล้วลงไปอาบน้ำ เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วจะมาเขียนโคลงบาทนี้ให้จบบท  ศรีปราชญ์ อยากรู้ว่าในห้องของบิดา ท่านเขียนอะไรเอาไว้จึงแอบเข้าไปดู  เมื่อเห็นคำโคลงที่บิดาเขียนเอาไว้ยังไม่จบบท ก็ถือโอกาสแต่งเติมต่อให้จบว่า
          ผิวชนแต่จะกราย      ยังยาก
         ใครจักอาจให้ช้ำ        ชอกเนื้อเรียมสงวน
   พระโหราธิบดีเมื่ออาบน้ำเสร็จแล้ว หวังจะไปแต่งคำโคลงต่อให้จบบท แต่เมื่อมาเห็นคำโคลงนั้นถูกต่อให้จบแล้วและต่อได้ดีเสียด้วย ก็รู้ว่าคำโคลงที่ถูกต่อนี้จะเป็นคนอื่นไปไม่ได้นอกจากศรีปราชญ์  จึงได้นำขึ้นถวาย สมเด็จพระนารายณ์ๆได้อ่านคำโคลงที่ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "ท่านต่อคำโคลงได้ดีจริงๆ เราชอบใจมากมาก" 
       พระโหราธิบดีกราบทูลว่า "คำโคลงนี้ข้าพระองค์ไม้ได้เป็นคนต่อ พระเจ้าข้า"
       สมเด็จพระนารายณ์จึงตรัสว่า "ถ้าไม่ใช่ท่านแล้ว ใครจะมีความสามารถถึงเพียงนี้"
       พระโหราธิบดีจึงกราบทูลว่า "ด.ช.ศรี ซึ่งเป็นลูกชายของข้าพระองค์เป็นคนต่อ  พระเจ้าข้า"
      สมเด็จพระนารายณ์ตรัสว่า "ท่านมีบุตรชายที่เก่งกล้าสามารถถึงเพียงนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่? เราไม่รู้เลย  วันพรุ่งนี้เวลาเข้าเฝ้าขอให้ท่านนำลูกชายคนนั้นมาให้เราดูตัวด้วย"
      สมเด็จพระนารายณ์พอเห็นตัวศรีปราชญ์ก็ทรงรู้ว่าเด็กคนนี้มีรูปร่างลักษณะดี เป็นคนเฉลียวฉลาด  จึงตรัสถามพระโหราธิบดีว่า "ลูกชายของท่านครู  อายุเท่าไหร่?"
      พระโหราธิบดีกราบทูลว่า "อายุได้ ๙ ขวบ  พระเจ้าข้า"
      สมเด็จพระนารายณ์ทรงรำพึงในพระทัยว่า "เด็กอายุแค่นี้ต่อโคลงได้ดีถึงเพียงนี้ เขาไม่ใช่มนุษย์ธรรมดาเสียแล้ว"      
      พระองค์จึงโปรดให้ศรีปราชญ์เข้ามาเป็นมหาดเล็ก พระโหราธิบดีรู้ว่า ลูกชายเป็นคนอุกอาจ จึงทูลขอพระราชทานโทษไว้ว่า วันใดลูกชายทำผิดถึงตาย ขออย่าได้ทรงประหาร เป็นแต่เนรเทศก็พอ สมเด็จพระนารายณ์ก็โปรดให้ตามนั้น
   ต่อมา สมเด็จพระนารายณ์เสด็จประพาสป่าแก้ว ฝูงลิงร่วมประเวณีอยู่บนต้นไม้ ตรัสถามศรีปราชญ์ว่า ลิงทำอะไรกัน ศรีทูลด้วยโวหารว่า
"นั้นคือเสียงมักกโฏ...มันทำสมัครสังวาสผิดประหลาดกว่าธรรมดา" บางฉบับก็ว่า ลิงในป่าแก้วถ่ายมูลรดศีรษะขุนนางผู้ใหญ่ ทุกคนหัวเราะ  จนสมเด็จพระนารายณ์ตื่นบรรทม ทรงถามว่า เกิดอะไรขึ้น ศรีปราชญ์จึงทูลด้วยโวหารว่า
 "พยัคฆะ ขอเดชะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระยาเดโช" สมเด็จพระนารายณ์เห็นว่า ศรีปราชญ์มีสติปัญญา จึงพระราชทานนามให้โดยตรัสว่า
"ศรีเอ๋ย เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"
   ต่อมา พระแสนเมือง เจ้านครเชียงใหม่ เสด็จลงมากรุงศรีอยุธยา ได้พบศรีปราชญ์ และประลองปัญญาโต้ตอบกันเป็นโคลงดังนี้
   -พระแสนเมือง: ศรีเอยพระเจ้าฮื่อ        ปางใด
   -ศรีปราชญ์: ฮื่อเมื่อเสด็จไป        ป่าแก้ว
   -พระแสนเมือง: รังสีบ่สดใส        สักหยาด
   -ศรีปราชญ์: ดำแต่นอกในแผ้ว        ผ่องเนื้อนพคุณ
   เรื่องราวที่ได้รับการขยายความนี้มีอีกหลายแห่งที่กล่าวถึงความสามารถของศรีปราชญ์ในการเจรจาเป็นร้อยกรอง เช่น ระบุว่า ศรีปราชญ์ได้รับ
พระราชทานแหวน เดินผ่านประตูวัง และนายประตูทัก จึงโต้ตอบกันดังนี้
   -นายประตู: แหวนนี้ท่านได้แต่        ใดมา
   -ศรีปราชญ์: เจ้าพิภพโลกา        ท่านให้
   -นายประตู: ทำชอบสิ่งใดนา        วานบอก
   -ศรีปราชญ์: เราแต่งโคลงถวายไท้        ท่านให้รางวัล
ต่อมา ศรีปราชญ์ล่วงเกินนางในคนหนึ่งชื่อ "ท้าวศรีจุฬาลัษณ์" โดยนางแต่งโคลงต่อว่าเขาว่า
   -หะหายกระต่ายเต้น        ชมจันทร์
    มันบ่เจียมตัวมัน        ต่ำต้อย
   นกยูงหางกระสัน        ถึงเมฆ
   มันบ่เจียมตัวน้อย        ต่ำต้อยเดียรฉาน
และศรีปราชญ์ก็แต่งตอบว่า
   หะหายกระต่ายเต้น        ชมแข
   สูงส่งสุดตาแล        สู่ฟ้า
   ระดูฤดีแด        สัตว์สู่ กันนา
   อย่าว่าเราเจ้าข้า        อยู่พื้นดินเดียว
เรื่องราวดังกล่าวระบุว่า นางในคนนั้น คือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) สนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์ โดยเชื่อมโยงกับ กำสรวลศรีปราชญ์ ที่เชื่อว่า เขาแต่งให้หญิงนาม ศรีจุฬาลักษณ์  การล่วงละเมิดนางในเป็นความผิดถึงตาย แต่สมเด็จพระนารายณ์ทรงเนรเทศเขาไปนครศรีธรรมราชแทน ตามที่ทรงรับปากไว้กับบิดาของเขา  เขาถูกเนรเทศไปในเดือนยี่
  ที่นครศรีธรรมราช ศรีปราชญ์ถูกกล่าวหาว่า มีสัมพันธ์กับอนุภรรยาของเจ้าเมือง และถูกประหารชีวิตใน พ.ศ. ๒๒๒๖ ก่อนตายเขาเขียนโคลงสาป
แช่งไว้บนพื้นดินว่า
   ธรณีนี่นี้        เป็นพยาน
   เราก็ศิษย์มีอาจารย์        หนึ่งบ้าง
   เราผิดท่านประหาร        เราชอบ
   เราบ่ผิดท่านมล้าง        ดาบนี้คืนสนอง
บางแหล่งระบุ ๒ บาทแรกของโคลงดังกล่าวไว้แตกต่างออกไปดังนี้
   ธรณีภพนี้เพ่ง        ทิพญาณ หนึ่งรา
   เราก็ลูกอาจารย์        หนึ่งบ้าง
   ต่อมา สมเด็จพระนารายณ์ทรงรำลึกถึงเขา จึงรับสั่งให้เรียกตัวเขากลับกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อทรงทราบว่า เขาถูกเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชประหาร
แล้ว จึงรับสั่งให้เอาดาบที่ใช้ประหารเขานั้นประหารเจ้าเมืองตายตกตามกันสมดังคำสาปแช่งของเขา
มีผู้เชื่อว่า ที่ประหารศรีปราชญ์ ปัจจุบันคือ โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช "ณ นครอุทิศ" และสระล้างดาบที่ใช้ประหารนั้น ปัจจุบันคือ
โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

        เจ้าพระยาวิชเยนทร์

             

        เจ้าพระยาวิชเยนทร์
    เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) (กรีก: Κωνσταντίνος Γεράκης, กอนสตันตีโนส เยราจิส; อังกฤษ: Constantine Phaulkon) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
นอกจากภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาแม่แล้ว ฟอลคอนยังสามารถพูดภาษาต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาโปรตุเกส และภาษามลายู
     วัยเด็ก
   ฟอลคอนเกิดที่แคว้นเซฟาโลเนีย (ประเทศกรีซ) เมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๐ โดยมีเชื้อสายของชาวกรีกและเวนิส ฟอลคอนเข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
   พ.ศ. ๒๒๐๕  ฟอลคอนออกจากบ้าน และเดินเรือสินค้าไปค้าขายยังดินแดนต่าง ๆ
    ชีวิตในอยุธยา
   พ.ศ. ๒๒๑๘ เดินทางมายังราชอาณาจักรอยุธยาในฐานะพ่อค้า เนื่องจากฟอลคอนมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย ฟอลคอนจึงเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลาไม่กี่ปีและเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตำแหน่งล่าม นับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา เป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ฟอลคอนได้กลายมาเป็นสมุหเสนาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาในเวลาอันรวดเร็ว
   พ.ศ.๒๒๒๕ ฟอลคอนแต่งงานกับดอญา มารี กีมาร์ (ท้าวทองกีบม้า) ซึ่งภายหลัง เป็นผู้ประดิษฐ์ขนมไทยหลายอย่าง
   ความใกล้ชิดระหว่างเจ้าพระยาวิชเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ราชนิกุล ซึ่งส่งให้เกิดผลเสียต่อตัวเจ้าพระยาวิชเยนทร์เองในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคต ก็มีข่าวลือว่าเจ้าพระยาวิชเยนทร์ต้องการใช้องค์รัชทายาทเป็นหุ่นเชิดและเข้ามาเป็นผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเสียเอง ซึ่งแม้เหตุดังกล่าวจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่ก็เป็นข้ออ้างให้พระเพทราชาซึ่งเป็น
ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พอใจกับนโยบายด้านต่างประเทศที่ส่งผลให้มีชาวต่างชาติมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากมาย วางแผนให้สมเด็จพระนารายณ์ มหาราชเสด็จไปประทับที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ในลพบุรี และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้ไว้ใจมอบอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินให้  พระเพทราชาใน พ.ศ. ๒๒๓๑
   บั้นปลายชีวิต
  เมื่อพระเพทราชากุมอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว ก็จับกุมเจ้าพระยาวิชเยนทร์และผู้ติดตามรวมถึงราชนิกุลองค์ต่าง ๆ และนำไปประหารชีวิต  ในวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๒๓๑ ในวัยเพียง ๔๐ ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบถึงเหตุดังกล่าว พระองค์ทรงกริ้วมาก แต่ไม่มีพระวรกายแข็งแรงเพียงพอที่จะทำการใด ๆ และเสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่วันต่อมา บรรดาขุนนางได้อัญเชิญ พระเพทราชา ขึ้นครองราชย์โดย
การปราบดาภิเษก ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา และปกครองโดยมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการขับไล่ชาวต่างชาติแทบทั้งหมดออกจากราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา การตีความกันไปต่าง ๆ นานาถึงเหตุจูงใจที่ทำให้สมเด็จพระเพทราชาสั่งจับกุมและประหารชีวิตเจ้าพระยาวิชเยนทร์เป็นผลให้จุดยืนของกรีกในประวัติศาสตร์ไทยเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปมิได้
   นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วยกับการกระทำของพระองค์มองเจ้าพระยาวิชเยนทร์ว่าเป็นชาวต่างชาติที่ฉวยโอกาสมาใช้อิทธิพลเข้าควบคุมราชอาณาจักรในนามของผลประโยชน์จากชาติตะวันตก แต่นักประวัติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าเจ้าพระยาวิชเยนทร์เป็นแพะรับบาป เป็นช่องว่างให้สมเด็จพระเพทราชาสามารถเข้ายึดอำนาจจากองค์รัชทายาทได้โดยนำเอาความริษยาและความระแวงที่มีต่อเจ้าพระยาวิชเยนทร์มาเป็นมูลเหตุสนับสนุน

                  สมเด็จพระเพทราชา

                    ต้นราชวงศ์พลูหลวง

          

      สมเด็จพระเพทราชา แต่เดิมเป็นสามัญชนชื่อว่า "ทองคำ" เป็นชาวพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี  เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2175 บางหลักฐานระบุว่า พ.ศ.2170 จุลศักราช 994 จัตวาศก ปีเดียวกับ สมเด็จพระนารายณ์ และทรงเป็นพระสหายกับสมเด็จพระนารายณ์มาตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์  เนื่องจากพระมารดาของพระองค์เป็นพระนมโทในสมเด็จพระนารายณ์ (พระนมเอกคือ เจ้าแม่วัดดุสิต  มารดาของโกษาเหล็กและโกษาปาน)

   ในตอนต้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระเพทราชาทรงมีตำแหน่งเป็นจางวางกรมช้าง มีความชำนาญในศิลปศาสตร์การบังคับช้างและมีฝีมือในการสงคราม เคยได้รับความชอบจากสมเด็จพระนารายณ์หลายครั้ง มีครั้งหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระเพทราชาหรือจางวางกรมช้างในขณะนั้นได้ตามเสด็จไปทำศึกด้วย

   การศึกในครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ทรงตีได้เมืองเชียงใหม่และได้มีสัมพันธ์กับราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งจนตั้งครรภ์ แต่พระองค์ทรงคิดละอายที่จะรับราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ไว้เป็นพระสนม เนื่องจากในเวลานั้นยังถือว่าเมืองเชียงใหม่เป็นพวกเดียวกับเมืองลาวและยังเป็นที่ดูถูกว่าต่ำต้อย จึงทรงยกนางนั้นให้แก่จางวางกรมช้าง เมื่อเดินทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่มาถึงเมืองพิษณุโลก ตำบลโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตรในปัจจุบัน ราชธิดาองค์นั้นได้คลอดบุตรออกมาเป็นเพศชายตั้งชื่อให้ว่า  "เดื่อ" ซึ่งก็คือหลวงสรศักดิ์ (ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์) สมเด็จลูกยาเธอกรมพระราชวังบวร (ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา) หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระ เพทราชานั่นเอง

   จากการศึกษาประวัติศาสตร์จากพงศาวดารต่างๆ จะเห็นได้ว่าปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ได้มีฝรั่งต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก หนึ่งในชาวต่างชาติที่คนไทยรู้จักดีก็คือชาวกรีกผู้ภักดีต่อฝรั่งเศสที่ชื่อ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (ฟอลคอน หรือ เยการี) สามีของท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์ เดอ ปีนา) ลูกผสมญี่ปุ่น-โปรตุเกส ต้นตำรับขนมหวาน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมหม้อแกงของไทย สมเด็จพระนารายณ์โปรดเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความสามารถและได้ทำประโยชน์ให้แก่ราชการเป็นอันมาก

   แต่การกระทำหลายอย่างของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์สร้างความไม่พอใจให้แก่เสนาบดีกลาโหม (สมเด็จพระเพทราชาได้รับตำแหน่งนี้ต่อจากโกษาเหล็ก) และหลวงสรศักดิ์เป็นอันมาก เนื่องจากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์พยายามจะโน้มน้าวสมเด็จพระนารายณ์ให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ อีกทั้งคริสเตียนชาวกรีกผู้นี้ได้กระทำการหมิ่นน้ำใจชาวพุทธหลายครั้ง เช่น จัดการสึกภิกษุสามเณรให้ลาสิกขาออกมารับราชการโดยไม่สมัครใจ เป็นต้น สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงโอนอ่อนตามเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ในหลายเรื่อง ทำให้พุทธศาสนิกชนอย่างเสนาบดีกลาโหมและหลวงสรศักดิ์รู้สึกโกรธเคืองในตัวชาวกรีกผู้นี้ยิ่งนัก

   อีกทั้งมีความระแวงว่าเจ้าพระยาวิชาเยนทร์จะนำทหารฝรั่งเศสเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากในเวลานั้นสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรอย่างหนัก เสนาบดีกลาโหมและหลวงสรศักดิ์จึงก่อการยึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์ และได้ประหารเจ้าพระยาวิชาเยนทร์รวมทั้งผู้อยู่ในข่ายที่จะได้สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระนารายณ์คือ เจ้าฟ้าอภัยทศ เจ้าฟ้าน้อย (พระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์)  และพระปีย์ (พระโอรสบุญธรรม) เสีย

   เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบ อาการประชวรก็เพียบหนักขึ้นและสวรรคตในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคต เสนาบดีกลาโหมจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเพทราชา ครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระนารายณ์ นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ 28 แห่งกรุงศรีอยุธยา (ไม่นับรัชกาลขุนวรวงษาธิราช) ส่วนหลวงสรศักดิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จลูกยาเธอกรมพระราชวังบวร

   สมเด็จพระเพทราชาทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑ จุลศักราช  ๑๐๕๐  ขณะมีพระชนมพรรษา  ๕๑   พรรษา ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระมหาบุรุษ วิสุทธิเดชอุดม บรมจักรพรรดิศร บรมนาถบพิตร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว" และได้ทรงแต่งตั้งคุณหญิงกันเป็นพระอัครมเหสีฝ่ายขวา (พระมเหสีเดิมในพระเพทราชาเป็นผู้อภิบาลพระเจ้าเสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ภายหลังได้ขึ้นเป็นที่กรมพระเทพามาตย์ในสมัยของพระเจ้าเสือ)

แต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุพรรณ (กรมหลวงโยธาทิพ) ซึ่งเป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนนีกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้เป็นพระมเหสีฝ่ายขวา ซึ่งต่อมาได้พระราชทานกำเนิดพระโอรสพระองค์หนึ่งคือ "เจ้าพระขวัญ" และแต่งตั้งเจ้าฟ้าทอง หรือเจ้าฟ้าสุดาวดี (กรมหลวงโยธาเทพ) พระราชธิดาพระองค์เดียวในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมเหสีฝ่ายซ้าย ซึ่งต่อมาได้พระราชทานกำเนิดพระโอรสพระองค์หนึ่งคือ "ตรัสน้อย" และแต่งตั้งนางนิ่มเป็นพระสนมเอก นอกจากนี้ยังได้แต่งตั้งหม่อมแก้วบุตรท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระขนิษฐาของพระองค์เป็นกรมขุนเสนาบริรักษ์อีกด้วย

   เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ทรงขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังมีพระบรมราชานุญาตให้บาทหลวงและพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหารและทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดเรือกับต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทยที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศสสิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา

   นอกจากนี้ในสมัยของพระองค์ยังได้เกิดกบฏขึ้นหลายครั้ง อีกทั้งเกิดปัญหาหัวเมืองใหญ่อย่างเมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งได้รับการสถาปนาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่ยอมรับพระราชอำนาจของพระองค์ เนื่องจากมองว่าพระองค์เป็นผู้แย่งชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในเวลานั้นชาวฝรั่งเศส นักสอนศาสนาคริสต์ และชาวต่างชาติบางกลุ่มถูกเนรเทศให้กลับประเทศ ส่วนพระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงเป็นอันมากทั้งนี้พระองค์ยังได้ทรงทำการปฏิรูปการปกครองขึ้นมาใหม่ โดยได้กำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม และยังได้แบ่งให้แต่ละฝ่ายดูแลรับผิดชอบกิจการต่างๆ ทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้นๆ นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงให้เพิ่มจำนวนกำลังทหารแก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย

   ส่วนงานทางด้านต่างประเทศ มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือในปี พ.ศ.2234 เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวาย ขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมาในปี พ.ศ.2238 กษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทานการรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ทรงจัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ยจนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน

   สมเด็จพระเพทราชาทรงครองราชสมบัติเป็นเวลาถึง  ๑๕  ปี (สิริพระชนมพรรษาได้๗๑ พรรษา)  ก่อนที่จะทรงพระประชวรอย่างหนัก ระหว่างที่พระองค์ทรงพระประชวรอยู่นั้นได้เกิดปัญหาในการสืบราชสมบัติขึ้น ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์คือ เจ้าพระขวัญและตรัสน้อย พระราชโอรสแท้ๆ ของพระองค์ แต่เจ้าพระขวัญทรงถูกกรมพระราชวังบวร (พระเจ้าเสือ) ลอบสังหาร ตรัสน้อยทรงหนีไปบวชพระ

   เมื่อสมเด็จพระเพทราชาทรงทราบก็ทรงรีบตั้งพระราชนัดดาคือ "เจ้าพระยาพิไชยสุรินทร์" ให้ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ แต่เมื่อพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ.๒๒๔๖ เจ้าพระยาพิไชยสุรินทร์กลับไม่กล้าปราบดาภิเษกขึ้นครองราชด้วยเกรงบารมีของกรมพระราชวังบวร จึงได้ขอให้กรมพระราชวังบวรขึ้นครองราชย์แทน กรมพระราชวังบวรจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่  ๘  เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่  ๒๙  แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา.

              พระเจ้าเสือ

      
    สมเด็จพรระสรรเพชญ์ที่  ๘ หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ (สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์ที่ ๒ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่  ๒๙ แห่งกรุงศรีอยุธยา สำหรับพระสมญานามว่า “เสือ” อาจสืบเนื่องมาจากพระราชสมภพปีขาล ซึ่งแปลว่าเสือ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพราะพระองค์มีพระนิสัยดุ จากพระราชประวัติ น่าจะหมายถึงทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดก็แล้วแต่ ทำงานแล้วจะต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน แต่หากผู้ใดมีความดีความชอบพระองค์กลับมีพระเมตตายิ่งดังเรื่อง พันท้ายนรสิงห์มหาดเล็กข้าหลวง เดิมตำแหน่งนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระเจ้าเสือ

   เมื่อครั้งเสด็จทางชลมารคไปตามคลองโคกขาม เมืองสาครบุรี ลำคลองคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์เป็นผู้คัดท้ายเรือพระที่นั่งและเป็นผู้ทำให้หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ หัวเรือพระที่นั่งหัก ซึ่งตามพระราชประเพณีนายท้ายเรือจะต้องรับโทษถึงตายแต่สมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงมีพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษแต่พันท้ายนรสิงห์เกรงจะเสียขนบธรรมเนียม กราบทูลขอให้พระองค์มีพระเมตตาแก่บุตรภรรยาของตนแทน และขอรับโทษตามราชประเพณี พระองค์จึงมีรับสั่งให้ปลูกศาลเพียงตาแล้วประหารชีวิตตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ พร้อมทั้งนำหัวเรือพระที่นั่งขึ้นพลีกรรมไว้บนศาลด้วย
   สมเด็จพระเจ้าเสือ พระนามเดิม “เดื่อ” สืบเนื่องมาจากพระมารดาและสมเด็จพระเพทราชา(จางวาง-กรมช้าง) ตามเสด็จสมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นไป นมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ วัดพระศรี-มหาธาตุ เมืองพิษณุโลก กระบวนเสด็จพระราชดำเนินถึงตำบลโพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร พระมารดาเจ็บครรภ์คลอดพระองค์ใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ ซึ่งมีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ใกล้กัน และได้นำรกไปฝังไว้ระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อเสร็จแล้วกระบวนเสด็จพระราช ดำเนินทางต่อไปจนถึงเมืองพิษณุโลก
   สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือบ้านเมืองสงบสุขไม่มีศัตรูมารุกราน แม้พระองค์โปรดการเสด็จประพาสไปในที่ต่างๆ ทั้งทางบกทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ประทับในพระราชวัง แต่ก็ไม่มีผู้ใดคิดร้าย เนื่องจากเกรงอำนาจบารมีของพระองค์ โปรดการคล้องช้างป่าเพื่อนำมาใช้ในราชการ โปรดการทรงเบ็ดตกปลา ล่าสัตว์ และโปรดการชกมวยอย่างยิ่งทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนนักมวยชาวกรุงผู้มีฝีมือเป็นเลิศเสด็จไปตามสนาม มวยต่าง ๆ เพื่อเปรียบมวยชกและทรงชนะทุกครั้งหาผู้ใดเปรียบฝีพระหัตถ์ได้ไม่ หลังการชกมวยพระองค์และทหารจะเสด็จเที่ยวชมงานเยี่ยงสามัญชนโดยไม่มีผู้ใด รู้ว่าพระองค์คือ กษัตริย์

             สมเด็จพระเจ้าเสือ
   สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (สมเด็จพระเจ้าเสือ)  ครองราชย์  พ.ศ.๒๒๔๖ -๒๒๕๑
สมเด็จพระเจ้าเสือนี้  เป็นพระโอรสของสมเด็จพระเพทราชามีพระนามเดิมว่า"เดื่อ"  ต่อมาได้รับราชการเป็นหลวงสรศักดิ์  และได้ช่วยสมเด็จพระเพทราชาชิงอำนาจได้รับแต่งตั้งเป็น  ขุนหลวงสรศักดิ์  พระมหาอุปราช  ครั้นเมื่อสมเด็จพระเพทราชาประชวรหนักนั้น  ขุนหลวงสรศักดิ์  ได้นำเอาตัว  เจ้าฟ้าพระขวัญ  (พระตรัสน้อย)  พระโอรสของสมเด็จพระเพทราชาไปสำเร็จโทษ  และทำการกำจัดพวกที่นิยมเจ้าฟ้าพระขวัญเป็นจำนวนมาก
   ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๒๔๕  สมเด็จพระเพทราชาเสด็จสวรรคตลง  ขุนหลวงสรศักดิ์พระมหาอุปราช  จึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระเจ้าเสือ  พร้อมกันนั้นพระองค์ได้แต่งตั้งให้  เจ้าฟ้าเพ็ชร  พระโอรสองค์ใหญ่เป็น  พระมหาอุปราช  และตั้งเจ้าฟ้าพร  พระโอรสองค์น้อยเป็น  พระบัณฑูรน้อย
   สมเด็จพระเจ้าเสือ  นั้นมีความนัยเล่าว่า  เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์  ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่เมื่อ  พ.ศ.๒๒๐๕  นั้น  เมื่อมีชัยชนะได้เมืองเชียงใหม่แล้ว  ขณะที่พระองค์ทรงประทับที่เมืองเชียงใหม่นั้น  ทรงมีบาทบริจาริกาเป็นกุลธิดาชาวเชียงใหม่  และนางนั้นได้เกิดมีพระครรภ์ขึ้น  พระองค์จะทรงเลี้ยงดูก็ละอายพระทัย  ดังนั้นเมื่อมีการปูนบำเหน็จความชอบให้กับแม่ทัพนายกองและข้าราชการ  พระองค์จึงพระราชทานนางนั้น  (มีครรภ์อ่อน)  ให้กับพระเพทราชา  ซึ่งเป็นแม่ทัพทำการสู้รบมีความชอบ

   ข้อนี้สันนิษฐานได้ว่า "พระเจ้าเสือเป็นราชบุตรของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช"
   ต่อมานางนั้นได้คลอดบุตรเป็นชาย  พระเพทราชาให้ชื่อว่า "เดื่อ"  ต่อมาได้นำมาถวายเป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระนารายณ์  พระองค์ทรงชุบเลี้ยงนายเดื่อโดยให้ความกรุณาอย่างพระราชบุตร  และตั้งเป็นหลวงสรศักดิ์  ด้วยการได้รับการทำนุบำรุงจากพระเจ้าเหนือหัวอย่างดีนั้นทำให้หลวงสรศักดิ์ถือตัวว่าเป็นพระโอรส  ทำให้มีความทะนงองอาจกล้าที่จะทำการต่างๆ  จนทำให้พระเพทราชาจำต้องชิงราชสมบัติขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์  ด้วยเหตุนี้ในจดหมายของฝรั่งเศส  จึงมักจะกล่าวอ้างว่า  หลวงสรศักดิ์นั้นเป็น  พระโอรสของสมเด็จพระนารายณ์  ไปด้วย  เช่นเดียวกันเรื่องเช่นนี้ก็ไม่น่าเชื่อได้ว่าหลวงสรศักดิ์  เป็นพระโอรสไปได้  หากมีการพระราชทานนางให้บำเหน็จแก่พระเพทราชาจริงก็อยู่ในธรรมเนียมการให้ยศให้นาง  การที่นางมีหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์แล้วก็ทรงเลี้ยงดูได้เพราะเหตุที่สมเด็จพระนารายณ์ไม่มีพระโอรสอยู่แล้ว  ดังจะเห็นว่าพระองค์ยังทรงมีพระปีย์  (จากราชินิกุลญาติทางพระชายา)  มาเลี้ยงดูดั่งพระโอรสเช่นกัน  หลวงสรศักดิ์ก็น่าจะเช่นเดียวกัน
   ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ  นั้นมีพระประสงค์จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสขึ้นใหม่  หลังจากไม่ได้ติดต่อกัน ๑๕ ปี  พระองค์จึงติดต่อกับสังฆราช  เดอ  ซิเซ  ผู้ดำรงตำแหน่งประมุขคริสต์ในสยามแทนสังฆราชลาโน  แต่ไม่สำเร็จด้วยในขณะนั้นได้มีคณะบาทหลวงฝรั่งเศส  มาประจำอยู่ที่เมืองจันทบูร  และเมืองมะริดแล้วโดยมี  สังฆราช  เดอ เกราเลย์  รับหน้าที่ต่อจาก  สังฆราช  เดอ  ซิเซ
   ประจวบกับช่วงเวลานั้น  ทางญี่ปุ่น  โชกุน  ไทโกสะมะ  และพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่นต่อต้านพวกคริสต์ในญี่ปุ่นอย่างรุนแรง  ถึงขึ้นฆ่าบาทหลวง  ห้ามชาวคริสต์ทุกคนเข้าญี่ปุ่นจึงเป็นเหตุให้ชาวคริสต์ส่วนหนึ่งต่างพากันหนีมาอยู่ที่แผ่นดินของอาณาจักรสยาม
   สมเด็จพระเจ้าเสือนั้นไม่ปรากฏว่าได้จัดแจงบ้านเมืองอย่างใด  เนื่องจากการขุดคลองโคกขามเพื่อให้เป็นเส้นทางตรงใช้เดินทางไปสู่ทะเล  พระองค์ทรงโปรดการต่อยมวยถึงกับปลอมพระองค์เข้าไปเอาชนะกับชาวบ้าน  พระอง์มีพระทัยโหดร้ายทารุณปราศจากศีลธรรม  ลุอำนาจในเรื่องราคะตัณหา  แล้วยังโปรดในการล้อมช้าง  ล่าสัตว์  และตกปลา  โปรดที่จะเสวยเพดานของปลากระโห้
   ดังนั้นเมื่อ  พ.ศ.๒๒๔๗  สมเด็จพระเจ้าเสือ  ได้เสด็จทางชลมารคไปทรงเป็ดที่ปากน้ำเมืองสาครบุรี  เพื่อตกปลาบริเวณคลองโคกขาม  (บริเวณจังหวัดสมุทรสาครปัจจุบัน  ด้วยปลากระให้ชอบอยู่ที่น้ำเค็มกับน้ำจืดผสมกันเป็นน้ำกร่อย  จึงชุกชุมอยู่แถวบริเวณใกล้ปากน้ำ)  แต่เนื่องจากคลองโคกขามนั้นคดเคี้ยวมาก  พันท้ายนรสิงห์
(ตำแหน่งนายท้ายเรือ)  ซึ่งเป็นนายท้ายเรือนั้นคัดท้ายเรือไม่ไหว  จึงทำให้เรือพระที่นั่งเอกชัย  ชนกิ่งไม้ริดฝั่งทำให้หัวเรือหักลง  พันท้ายนรสิงห์ขอให้ประหารชีวิตตนตามกฎมณเทียรบาลเพื่อรักษาพระราชอำนาจของกษัตริย์แม้สมเด็จพระเจ้าเสือจะทรงพระราชทานอภัยโทษและให้ประหารหุ่นแทนก็ไม่ยอมรับ  พันท้ายนรสิงห์จึงถูกประหารชีวิตตาม
กฎมณเฑียรบาลซึ่งปรากฎในพระราชกำหนดว่า  “ถ้าแหละพันท้ายผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งนั้นหักท่านว่าพันท้ายผู้นั้นถึงมรณโทษให้ตัดศรีษะเสีย”  จึงเป็นวีรกรรมที่เล่าขานยกย่องในประวัติศาสตร์มาถึงบัดนี้
   ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อ  พ.ศ.๒๒๔๙ นั้นได้เกิดฟ้าผ่ายอดมณฑปวิหารของพระมงคลบพิตรทำให้เกิดไฟไหม้มณฑปตกมาถูกพระศอ  (คอ)  ของพระมงคลบพิตรหักเศียรตกลงมายังพื้น  จึงโปรดให้บูรณะก่อมณฑปใหม่
   พระมงคลบพิตรนี้เชื่อกันว่าพระพุทธรูปโบราณเป็นพระพุทธรูปทำด้ยอิฐลงรักปิดทองไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใดรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนั้นพระองค์โปรดให้ชะลอมาจากวัดชีเชียงทางทิศตะวันออกของพระราชวังหลวงมายังทิศตะวันตก  เพราะต้องการขยายพระราชวัง  (ต่อมาหลังเสียกรุงครั้งที่ ๒ ได้มีคนร้ายไปขุนค้นหาสมบัติในองค์พระมงคลบพิตรจนชำรุด  พระเมาฬี  (ยอดผม)  หักและพระกร  (แขนขวาขาดตกลงมา  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่  ๖  พระยาโบราณราชธานินทร์  สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาได้ซ่อมองค์พระจนคืนดี  และ  พ.ศ.๒๔๙๘  สมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีการสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ตามแบบของกรมศิลปากร
   แผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าเสือนั้น  มีพระสงฆ์องค์หนึ่งสึกออกมาชื่อ  ธรรมเถียร  มีคนเชื่อถือมาก  ได้อ้างตัวเป็นเจ้าฟ้าพระขวัญ  พระโอรสของพระเพทราชาที่สมเด็จพระเจ้าเสือทรงให้สำเร็จโทษแต่แอบอ้างว่าเจ้าฟ้าพระขวัญนั้นหนีไปได้  ธรรมเถียรจึงขี่ช้างรวมพลเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา  เพื่อก่อการยึดอำนาจ  สมเด็จพระเจ้าเสือทรงยิงปืนยาว
จากป้อมมหาไชยไปถูกธรรมเถียรตกจากหลังช้างเสียชีวิต   หลังจากกรณีพันท้ายนรสิงห์แล้วได้โปรดให้ขุดคลองสนามชัยจากปากน้ำสาครบุรี  (สมุทรสาคร)  เพื่อให้ออกไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาที่พระประแดง  โดยให้ฝรั่งส่องกล้องแก้วเอาไม้หักเป็นแนวคลอง  ปากคลองกว้างแปดวาพื้นคลองกว้างห้าวา  หกศอก  แล้วให้พระราชสงครามเป็นแม่กองเกณฑ์คนทำการขุดคลองแต่ไม่ทันเสร็จ  ก็สิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือเสียก่อน
   สมเด็จพระเจ้าเสือนั้นต่อมาทรงประชวรหนัก  และทรงพระพิโรธเจ้าฟ้าเพชร  พระมหาอุปราช  ทำให้พระองค์ทรงเวนราชสมบัติให้แก่  เจ้าฟ้าพร  พระบัณฑูรน้อย  เมื่อสมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่  ๙  กุมภาพันธ์  ปีชวด  พ.ศ.๒๒๕๑  รวมพระชนม์อายุ  ๔๕  พรรษา  ครองราชย์อยู่ ๗  ปี  เจ้าฟ้าพร  พระบัณฑูรน้อย  ก็ยอมเวนคืนราช
สมบัติให้เจ้าฟ้าเพชร  ครองราชย์เป็นกษัตริย์ต่อมา
   สมเด็จพระเจ้าเสือหรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘  คือ  ขุนหลวงสรศักดิ์มีพระชนมายุ  ๓๖ พรรษา  ขึ้นครองราชย์  พ.ศ.๒๒๔๖ รัชกาลนี้  มีพระราชพิธีพระบรมศพพระราชบิดา  ให้สร้างพระอารามที่บ้านโพธิ์ประทับช้างอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑปวัดมงคลบพิตร  เสด็จนมัสการพระพุทธบาทเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรี  เมืองสาครบุรี  และเกิดคดีประหารพันท้ายนรสิงห์  จึงโปรดให้ขุดคลองโคกขาม  ปลายรัชกาล  เมื่อ  พ.ศ.๒๒๔๙ สมเด็จพระเจ้าเสือมีพระชนมายุ ได้  ๔๕  พรรษาทรงประชวรอยู่  ณ  พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์และสวรรคตในปี  พ.ศ.๒๔๕๑  นั้น  บางแห่งว่า
ครองราชย์  พ.ศ.๒๒๔๐ -๒๒๕๑ (11  ปี)  ศักราชไม่ตรงกัน)

                  พระเจ้าท้ายสระ

   
   พระเจ้าท้ายสระเป็นพระนามพระมหากษัตริย์องค์ที่  ๓๐  แห่งกรุงศรีอยุธยา และองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๒๕๑ - ๒๒๗๕ เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ของสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่  ๘ (พระเจ้าเสือ) สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยการบูรณะปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม ที่สำคัญหลายแห่งด้วยกัน
   ในด้านการคมนาคม พระองค์โปรด ฯ ให้พระราชสงครามเป็นแม่กองขุดคลองโคกขาม ที่คดเคี้ยวให้ตัดลัดลง โดยเกณฑ์คนจากแปดหัวเมืองคือ เมืองนนทบุรี ธนบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี ราชบุรี นครชัยศรี ได้ไพร่พล  ๓๐๐๐๐ คนเศษ ให้ชาวฝรั่งส่องกล้องดูให้ตรงปากคลอง ทางที่ตัดให้ตรงนี้ยาว  ๓๔๐  เส้น ใช้เวลาขุด
ประมาณสามเดือน คลองลัดนี้ให้ชื่อว่า คลองมหาไชย ในปีต่อมา พ.ศ.๒๒๖๕โปรด ฯ ให้พระธนบุรีเป็นแม่กอง เกณฑ์ไพร่พลประมาณหมื่นเศษ ขุดคลองเกร็ดน้อย ลัดคุ้งบางบัวทองตัดให้เป็นเส้นตรง เป็นคลองลึกหกศอก กว้าง หกวา ยาว  ๒๙ เส้นเศษ ใช้เวลาขุดเดือนเศษ
   ในด้านเศรษฐกิจ พระองค์ทรงสนพระทัยที่จะปรับปรุงการค้าขายกับต่างประเทศมาก สำเภาไทยได้ไปค้าขายที่ประเทศญี่ปุ่นสองครั้ง แต่งทูตไปเมืองจีนสี่ครั้ง ได้นำข้าวสารไปขายที่เมืองเอ้หมึงด้วย
   ด้านการสงคราม ในปี พ.ศ.๒๒๕๔ นักเสด็จกรุงกัมพูชาชื่อ พระธรรมราชาวังกระดาน กับนักพระแก้วฟ้าสะออกเป็นอริกัน นักพระแก้วฟ้าหันไปขอความช่วยเหลือจากญวน นักเสด็จกับนักพระองค์ทองมาพึ่งไทย สมเด็จพระเจ้าท้ายสระโปรด ฯ ให้เจ้าพระยาจักรี ยกทัพบกจำนวนหมื่นคน และให้พระยาโกษาธิบดีเป็นแม่ทัพเรือ เกณฑ์ไพร่หลวงอีก
หมื่นคนไปตีกรุงกัมพูชา ทัพเรือถูกกองเรือญวนตีแตกพ่ายไป ที่ปากน้ำพุทไธมาศ ทัพบกตีได้เมืองเขมร นักพระแก้วยอมอ่อนน้อมถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง กรุงศรีอยุธยาจึงคงมีอำนาจเหนือกัมพูชาดังเดิม
   ตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ทรงมีประกาศเมื่อปี พ.ศ.๒๒๗๓ ห้ามมิให้นักบวชฝรั่งเศสแต่งหนังสือสอนคริสต์ศาสนาเป็นภาษาบาลี และภาษาไทย และห้ามเทศนาสั่งสอนเป็นภาษาไทย มอญ ลาว ญวน และจีน ห้ามมิให้ชักชวน และหลอกลวงประชาชน ให้หันไปนับถือคริสต์ศาสนา และห้ามมิให้ติเตียนพุทธศาสนา
   เมื่อสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ใกล้เสด็จสวรรคตได้เกิดศึกกลางเมืองที่ใหญ่หลวง ยิ่งกว่าครั้งใดที่เคยเกิดในกรุงศรีอยุธยามาก่อน ระหว่างเจ้าฟ้าอภัยกับเจ้าฟ้าปรเมศวรฝ่ายหนึ่ง และกรมพระราชวังบวรอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายกรม
พระราชวังบวรเป็นฝ่ายชนะ
    เรื่องราวนี้กล่าวโดยสามัญแล้วจะบอกประมาณว่าเป็นความน้อยใจกันระหว่างพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระกับพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเสด็จสวรรคตลงแล้วยกราชสมบัติให้กับพระโอรสขึ้นครองราชย์แทน ยังความพิโรธแก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศถึงกับดำรัสว่าจะให้เอาพระบรมศพโยนทิ้งน้ำเสีย เพราะเหตุใดอะไรเป็นสาเหตุ
มาอ่านกันครับ
   เหตุการณ์นี้ย้อนหลังไปยังรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ ซึ่งมีพระราชโอรสสองพระองค์คือ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระกับพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีอยู่วันหนึ่งพระเจ้าเสือจะเสด็จข้ามบึง โปรดเกล้าฯให้พระโอสรทั้งสองทำการถมบึง ครั้นแล้วช้างพระที่นั่งถลำติดหล่มลงและเมื่อช้างฉุดพยุงตัวข้ามบึงมาได้ พระโอรสทั้งสองมาทัน พระเจ้าเสือทรง
พระพิโรธเป็นอย่างมาก ดำรัสว่า “อ้ายลูกสองคนนี้เห็นว่ากูแก่ชราแล้วจึงชักชวนเป็นกบฏ แกล้งทำถนนให้เป็นพลุหลุมไว้หวังจะให้ช้างพระที่นั่งตกหล่มแล้วจะฆ่าพระองค์” จึงทรงคว้าง้าวฟันพระเศียรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวร (ท้ายสระ) แต่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระบัณฑูรน้อย(บรมโกศ)ได้เอาด้ามพระแสงขอยกขึ้นรับพระแสงของ้าวไว้โดยฉับไว พระเชษฐาจึงได้รอดชีวิต
   ครั้นแล้วกรมพระเทพามาตย์วัดดุสิต ราชมารดาเลี้ยงของพระเจ้าเสือทูลขอประทานอภัยโทษพระโอรสทั้งสองไว้ จึงได้รอดพระราชอาญา เมื่อพระอนุชาเคยช่วยชีวิตพระเชษฐา (น้องช่วยชีวิตพี่) ดังนี้แล้วเมื่อพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้ราชบัลลังก์และสวรรคตลงก็ควรจะต้องมอบราชสมบัติให้กับพระอนุชาเพราะเคยช่วยชีวิตไว้ ซึ่งก็คือ ต้องมอบให้
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่กลับนำราชสมบัติไปยกให้แก่พระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแทน
   หลังจากที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้จัดการเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์แล้วดำรัสถึงเรื่องการจัดการพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หากแต่ว่ายังทรงพิโรธถึงกับสั่งให้นำพระบรมศพโยนทิ้งน้ำไปเสีย หากแต่มุขมนตรีได้กราบทูลทัดทานหลายครั้งและกล่าวว่าจะเป็นที่น่าละอายแก่อาณาประชาราษฎร์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างงานพระเมรุมาศ ในที่สุด
       ปรียบกับขุนชำนาญชาญณรงค์ ทหารคนสนิทของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำความดีความชอบในสงครามกลางเมืองครั้งนี้ ได้เลื่อนยศเป็นถึงเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ที่โกษาธิบดี ตอนที่เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ถึงแก่อสัญกรรม พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเสียดายและอาลัยรักขุนนางคนสนิทผู้นี้มาก โปรดฯ ให้จัดการศพอย่างยิ่งใหญ่ ถึงกับตั้งศพนั้นเป็นเจ้า ใส่ชฎาอย่างเจ้าต่างกรม และให้ทรงเรียกว่า "พระศพ" ซึ่งต่างจากงานพระศพของพระเชษฐาราวฟ้ากับดิน
 

                     พระเจ้าบรมโกศ

      

        สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือ สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศ ทางฝ่ายพม่าเรียกว่า พระมหาธรรมราชา มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าพร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) ทรงมีพระเชษฐา ได้แก่ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) พระองค์ได้รับการสถานปนาเป็นพระบัณฑูน้อยในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ และเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
   ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ นอกจากนั้นพระองค์ยังมีพระนามอื่นตามที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์คือ สมเด็จพระรามาธิบดินทรฯ สมเด็จพระรามาธิบดีฯ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุธรรมราชาฯ และสมเด็จพระบรมราชา
   ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ได้เกิดการสู้รบกันระหว่างพระองค์กับพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คือ เจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าปรเมศร์ อันเนื่องมาจากพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีสิทธิที่จะขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง แต่เมื่อพระเชษฐาใกล้สวรรคต กลับตัดสินพระทัยยกราชสมบัติแก่ เจ้าฟ้านเรนทร พระโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่เห็นด้วยชอบด้วย จึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระโอรสองค์รอง เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า ๑ ปี
   ภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ และประหารชีวิตเจ้าฟ้าทั้ง ๒ พระองค์ จากนั้นจึงได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนา มีขุนนางคนสำคัญที่เติบโตในเวลาต่อมา ในรัชกาลของพระองค์หลายคน เช่น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี, พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นต้น ในทางด้านวรรณคดี ก็มีกวีคนสำคัญเช่น เจ้าฟ้ากุ้ง ซึ่งเป็นพระโอรส เป็นต้น
   นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์พุทธศาสนาเฟื่องฟูมาก พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั้งในกรุงศรีอยุธยาและในบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดป่าโมก วัดหันตราวัดภูเขาทอง และวัดพระราม  โปรดเกล้า ฯ ให้ซ่อมเศียรพระประธานวัดมงคลบพิตร ที่ชำรุดอยู่ ทรงให้ความสำคัญในการศึกษาทางพุทธศาสนาเป็นพิเศษ ผู้ที่ถวายตัวเข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้ว
   ในปี พ.ศ. ๒๒๙๖ พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ทรงทราบกิตติศัพท์ว่าพระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมาก จึงได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระ และคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมลงไป สมเด็จพระเจ้าบรมโกษ จึงโปรดให้ส่งคณะสมณทูตประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก ๑๒ รูป ไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชา อุปสมบท ให้กับชาวลังกา คณะสงฆ์คณะนี้ได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกา หลังจากที่ได้ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา เป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว คณะสงฆ์คณะนี้บางส่วนได้ เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๓
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ พระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา ครองราชย์ได้ ๒๖ ปี

         บุคคลสำคัญในสมัยพระเจ้าบรมโกศ

    ๑.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

    ๒.สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    ๓.เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)

         เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์

   

                       กาพย์เห่เรือ
             ประวัติเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์
    เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ กรมขุนเสนาพิทักษ์ หรือเรียกติดกันปากว่า  "เจ้าฟ้ากุ้ง"  เจ้าฟ้าองค์หนึ่งของอยุธยา พระองค์มีพระปรีชา สามารถหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร การช่างและโดยเฉพาะด้านวรรณกรรม จัดได้ว่าพระองค์ท่านทรงเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งทีเดียว
   พระองค์ประสูติ เมื่อ พ.ศ.๒๒๔๘ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระซึ่งเป็นพระปิตุลา(ลุง) ของพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมโกศหรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ กับกรมหลวงอภัยนุชิต พระมเหสีใหญ่ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรมีพระอนุชาต่างพระมารดา อีก ๒ พระองค์คือ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าเอกทัศ(พระเจ้าเอกทัศ) และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าดอกเดื่อ (ขุนหลวงหาวัด)
  จุลศักราช ๑๑๐๓ ปีระกา ตรีศก พ.ศ. ๒๒๘๔ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ได้เข้าพระราชพิธีอุปราชาภิเศกเถลิงถวัลยราชสถิติ ที่พระมหาอุปราช เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าหญิงอินทสุดาวดี ก่อนหน้านี้เเคยจะถูกสำเร็จโทษ เนื่องจากไปทำร้ายเจ้าฟ้านเรนทร์กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ พระโอรสองค์โตในพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เนื่องจากแกรงว่าจะเป็นศัตรูในการสืบราชสมบัติ ซึ่งกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์เป็นที่โปรดปรานรักใคร่ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในขณะดำรงค์ตำแหน่งอุปราช ต่อมาเจ้าฟ้านเรนทร์ ทรงออกผนวชมอบราชสมบัติให้เจ้าฟ้าอภัย ทำให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไม่พอพระทัย และเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ เจ้าฟ้ากุ้งฟ้าเคยเป็นคู่รักกับหม่อมเจ้าสังวาลย์ แต่ต่อมากลับได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมเหสีฝ่ายซ้ายของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึงเป็นผู้สั่งประหารบิดาของหม่อมเจ้าสังวาลย์ ส่วนเจ้าฟ้าเทพผู้เป็นแม่กลับกลายเป็นชายาของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเจ้าฟ้ากุ้งภายหลังเจ้าฟ้ากุ้งก็ลักลอบไปมีความสัมพันธ์กับเจ้าฟ้านิ่มหรือเจ้าฟ้าสังวาลย์ จึงเกิดเป็นกาพย์กลอน เรื่องกากี และ บทสังวาส
  ในตอนหลังทรงติดโรคผู้ชายคือสิฟิริส เมื่อโรคลุกลามไปยังเส้นประสาททำให้เดินตัวงอหมดคุณสมบัติการสืบทอดราชสมบัติ จึงเป็นที่มาของคำว่าเจ้าฟ้ากุ้ง และก็ถูกพระราชบิดาสำเร็จโทษโดยการโบยพร้อมเจ้าฟ้าสังวาลย์ ข้อหาลักลอบคบชู้ แล้วนำพระศพไปฝังที่วัดไชยวัฒนาราม
   ผลงานด้านวรรณกรรมที่พระองค์พระนิพนธ์ไว้เป็นสมบัติของชาติไทยหลายเรื่องด้วยกัน พระองค์ท่านทรงชำนาญ ในการประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลง งานพระนิพนธ์เท่าที่ทราบ มีดังนี้
   ๑. กาพย์เห่เรือ
   ๒. บทมเห่เรื่องกากี ๓ ตอน
   ๓. บทเห่สังวาสและเห่ครวญอย่างละบท
   ๔. กาพย์ห่อโคลงนิราศธานโศก
   ๕. กาพย์ห่อโครงนิราศธารทองแดง
   ๖. ลิลิตนันโทปนันทสูตรคำหลวงทรงนิพนธ์ พ.ศ. ๒๒๗๙ ขณะทรงผนวช
   ๗. ลิลิตพระมาลัยคำหลวงทรงนิพนธ์ พ.ศ. ๒๒๘๐ ขณะทรงผนวช
   ๘. เพลงยาวบางบท

      บทเห่ชมเรือกระบวน
          โคลง
   ปางเสด็จประเวศด้าว   ชลาไลย
ทรงรัตนพิมานไชย         กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร    แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว      เพลิศพริ้งพายทอง ฯ
        ช้าลวะเห่
   พระเสด็จโดยแดนชล   ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย   พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด          ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือลิ่วปลิวธงสลอน         สาครสั่นครั้นครื้นฟอง

   เรือครุฑยุดนาคหิ้ว         ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง      ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน                 เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา          หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถไชยไกรกาบแก้ว    แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร          ดังร่อนฟ้ามาแดนดิน

สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย       งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์   ลินลาศเลือนเตือนตาชม
เรือไชยไวว่องวิ่ง               รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม              ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ฯ
              มูละเห่
   คชสีทีผาดเผ่น       ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ทียืนยัน          คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ        แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง     องค์พระพายผายผันผยอง
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน    โจนตามคลื่นฝืนฝาฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง        เป็นแถวท่องล่องตามกัน
นาคาหน้าดังเป็น       ดูขะเม่นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน     ทันแข่งหน้าวาสุกรี
เลียงผาง่าเท้าโผน    เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรีย์      ที่ปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
ดนตรีมี่อึงอล            ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม  โสมนัสชื่นรื่นเริงพล
กรีฑาหมู่นาเวศ        จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล      ยลมัจฉาสารพันมี ฯ

            สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร

     
   สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าอุทุมพร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับกรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) ที่ทรงมีพระชะตาพลิกผันยิ่ง เมื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลถูกลงโทษจนทิวงคต (เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าทรงเป็นชู้กับเจ้าฟ้านิ่มและเจ้าฟ้าสังวาลย์) ทำให้ตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่างลง
   พระราชโอรสที่มีอิสริยยศและอยู่ในลำดับที่จะได้ขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มี เจ้าฟ้าเอกทัศน์ (พระเชษฐาร่วมพระราชชนกและพระราชชนนีเดียวกัน) และเจ้าฟ้าอุทุมพร หากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเลือกสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุทุมพร แทนตำแหน่งที่ว่าง และโปรดให้เจ้าฟ้าเอกทัศน์เสด็จออกไปทรงผนวชที่วัดละมุด ปากจั่น
   ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพระประชวรหนัก จึงได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เรื่องราวไม่ได้เป็นไปโดยง่าย
พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่เกิดจากพระสนม คือ กรมหมื่นสุนทรเทพ, กรมหมื่นเสพภักดี,กรมหมื่นจิตรสุนทร ได้เตรียมการซ่องสุมอาวุธหวังช่วงชิงแผ่นดิน ก่อนที่กรมหมื่นทั้งสามจะถูกจับมาสำเร็จโทษ
   นอกจากนี้เจ้าฟ้าเอกทัศน์ก็ทรงปรารถนาราชสมบัติเช่นกัน พระองค์เสด็จมาประทับพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ไม่ยอมเสด็จไปประทับที่อื่นๆ แม้ว่าขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจะเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว สุดท้ายพระองค์ก็ถวายราชสมบัติให้เจ้าฟ้าเอกทัศน์แล้วเสด็จออกไปทรงผนวช
   ขุนนางผู้ใหญ่และเจ้านายบางส่วนวางแผนจะถอด สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แล้วหวังจะให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรกลับมาทรงครองแผ่นดิน  เมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงทราบข่าวนี้ จึงเสด็จฯ ไปแจ้งข่าวแก่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แล้วเสด็จฯ กลับไปยังวัดประดู่ทรงธรรม
   ต่อมาอยุธยาทำศึกกับพม่าที่มีพระเจ้าอลองพญาเป็นผู้นำทัพ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงทรงลาสิกขามาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา หากเมื่อเสร็จศึกพม่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงระแวงสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงเสด็จออกผนวชอีกครั้ง
   จนปี พ.ศ.๒๓๑๐ ที่เกิดสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระเจ้ามังระปราบปรามหัวเมืองต่างๆ ที่กระด้างกระเดื่องเสร็จสิ้น จึงโปรดให้มังมหานรธาและเนเมียวมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพยกมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๙ โดยแบ่งเส้นทางเดินทัพเป็น  ๓  ทาง คือ
    -ทางเมืองทวาย มีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ คุมกำลังทหาร  ๑๕๐๐๐ คน
    -ทางเมืองเชียงใหม่ มีเนเมียวมหาเสนาบดีเป็นแม่ทัพ คุมกำลังทหาร ๒๐๐๐๐ คน
    -ทางด่านเมืองอุทัยธานี มีแมงกิม้าระหญ่าเป็นแม่ทัพ คุมกำลัง ๓๐๐๐ คน
   กองทัพกรุงศรีอยุธยาที่ออกไปรับศึกตามหัวเมืองต่างๆ แพ้กลับมาจนต้องถอยเข้ามายังพระนคร สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์จึงมีดำรัสให้นิมนต์พระราชาคณะจากวัดต่างๆ นอกพระนครให้เข้ามาอยู่ในพระนครเสีย สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรที่ทรงพระผนวชอยู่ที่วัดประดู่ทรงธรรม จึงได้เสด็จฯ เข้ามาประทับ ณ วัดราชประดิษฐาน
   เมื่อกองทัพพม่าตีเข้ามาพระนครศรีอยุธยาได้ในวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ จึงเผาทำลายเมืองและกวาดต้อนผู้คนไปยังพม่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์สวรรคตระหว่างเสด็จพระราชดำเนินหนีออกจากพระนคร
   ส่วนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็ถูกพม่ากวาดต้อนไปยังกรุงอังวะพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ ซึ่งมีทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในตั้งแต่ พระอัครมเหสี, พระมเหสี, พระภคินี, พระราชธิดา, พระราชโอรส, พระราชนัดดา ฯลฯ รวมถึงไพร่พลชาวกรุงศรีอยุธยาด้วย
   สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรประทับอยู่ที่เมืองอังวะประมาณ  ๑๖ ปี พ.ศ.๒๓๒๕ พระเจ้าโบดอพญาปะโดเมง หรือพระเจ้าปดุง แห่งราชวงศ์คองบอง ทรงย้ายราชธานีจากกรุงอังวะ ไปเมืองอมรปุระ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็ต้องทรงย้ายไปด้วย และเมืองอมรปุระก็เป็นเมืองที่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรสวรรคต   

                พระเจ้าเอกทัศ

         

           พระเจ้าเอกทัศ
   เป็นช่วงเหตุการณ์ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ ๓ ไม่นานนัก ปัญหาก็เริ่มจากการสืบราชสันตติวงศ์เหมือนเดิม โดยเหตุเกิดในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ปรากฏว่าเกิดเรื่องยุ่งยากในการสืบราชสมบัติ เนื่องจากพระราชโอรสไม่สามัคคีปรองดองกันโอรสทั้ง ๓ พระองค์ ที่มีสิทธิในราชสมบัติ คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศน์)
 และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าอุทุมพร) และพระโอรสเกิดจากพระสนมอีก ๔ พระองค์ คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ กรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี
   ต่อมาพระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) ได้รับพระราชอาญาให้ประหารชีวิตเนื่องจากลักลอบเป็นชู้กับพระสนมของพระราชบิดา(พระเจ้าบรมโกศ) ส่วนราชโอรสองค์กลางคือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศน์) นั้น พระปรีชาและพระอุปนิสัยไม่เหมาะแก่การปกครองบ้านเมือง พระราชบิดาจึงโปรดให้ออกผนวชที่วัดกระโจม นัยว่าเพื่อหลีกทางให้สมเด็จพระอนุชา คือเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต(เจ้าฟ้าอุทุมพร) เป็นอุปราชแทน
   หลังจากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์(จ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๙๘ แล้วสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มิได้ทรงแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใด ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแทน เป็นเวลาถึง ๑๑ ปี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๐ จึงทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าอุทุมพร) ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยทรงเห็นว่าทรงพระปรีชา มีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าพระเชษฐาคือกรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศน์) กล่าวไปแล้ว
   ปัญหามาเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอุทุมพร ต่อมากรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี คบคิดกันช่วงชิงราชสมบัติแต่ไม่สำเร็จ ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์  แต่พระเจ้าอุทุมพรครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษ ก็จำต้องทรงสละราชย์สมบัติ แล้วถวายแก่เจ้าฟ้าเอกทัศผู้เป็นพระเชษฐาที่ลาสิกขาออกมาทวงสิทธิ  ในราชบัลลังก์ แล้วพระเจ้าอุทุมพรก็เสด็จออกผนวช โดยประทับอยู่ที่วัดประดู่โรงธรรม
พงศาวดารกล่าวว่า เจ้าฟ้าเอกทัศได้ลาผนวชเสด็จกลับเข้าวังเพื่อแสดงสิทธิ์ของพระองค์ โดยเสด็จเข้าไปในพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ประทับนั่งบน  พระแท่นพาดพระแสงดาบไว้บนพระเพลา(ตัก/ขา) แล้วโปรดฯให้พระเจ้าอุทุมพรเข้าเฝ้า พระอนุชาผู้ขึ้นครองราชย์ได้ไม่กี่วันก็เข้าพระทัย ยอมถวายราชบัลลังก์ให้โดยดี แล้วหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมาด้วยการไปผนวชเสียที่วัดประดู่ทรงธรรมให้หมดเรื่องไป
   แต่เรื่องก็ไม่จบเพียงนั้น เพราะใน พ.ศ. ๒๓๐๑-๒๓๑๓  พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่าทรงยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ พระเจ้าเอกทัศน์ ทรงเห็นเป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าจะทรงสู้ศึกได้เอง จึงไปขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชมาบัญชาการรบแทนพระองค์ พระเจ้าอุทุมพรก็ทรงยอมทำตาม
   ในการศึกครั้งนี้อลองพญาถูกกระสุนปืนใหญ่ของฝ่ายไทยบาดเจ็บสาหัส จำต้องถอยทัพไปสิ้นพระชนม์กลางทาง อยุธยาก็พ้นศึกกลับมาสงบตามเดิมเมื่อศึกสงบ แทนที่จะทรงมอบหมายให้พระอนุชาครองราชย์อย่างที่ควรจะเป็น พระเจ้าเอกทัศน์ก็ทรงใช้ไม้เดิม คือขึ้นประทับนั่งพาดพระแสง ดาบบนพระเพลา(ตัก/ขา)ให้รู้ว่าทรงทวงบัลลังก์คืน พระอนุชาก็ว่าง่าย ทูลลากลับไปผนวชอย่างเก่า จนได้สมญาว่า "ขุนหลวงหาวัด"
แล้วก็เกิดสงครามครั้งสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา เมื่อพม่าจัดทัพมารุกรานอีกครั้ง ในปี พ.ศ.๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก โดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยายืดเยื้อยาวนาน แล้วก็เข้าตีพระนครได้ เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๐
   แต่ก่อนกรุงจะแตกนั้น ไทยเริ่มเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำติดต่อกันหลายครั้งหลายคราว จนถึงคับขันจน กรุงใกล้จะแตก ราษฎรหมดความหวังในตัวพระเจ้าเอกทัศน์ ก็พากันไปถวายฎีการ้องทุกข์ ทูลขอร้องพระเจ้าอุทุมพรให้ลาผนวชมาช่วย บ้านเมืองอีกครั้ง แต่จะด้วยความเกรงพระทัยพระเชษฐาที่ไม่ได้มาร้องขอด้วยพระองค์เอง ท่านก็เฉยไม่ยอมลาผนวช ไม่ว่าราษฎรจะอ้อนวอนแค่ไหนก็ตาม ปล่อยให้พระเจ้าเอกทัศน์บัญชาการรบไปเอง จนกระทั่งวาระสุดท้ายของอยุธยามาถึงทั้งสองพระองค์

     เหตุการณ์ตอนกรุงศรีอยุธยาแตกในครั้งที่ ๓

    ครั้นถึงวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นวันเนาสงกรานต์ เพลาบ่าย ๓ โมง พม่าก็จุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาไชย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกๆ ค่าย พอเพลาพลบค่ำ กำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เพลาค่ำ ๘ นาฬิกา แม่ทัพพม่าก็ยิงปืนสัญญาให้เข้าปีนปล้นพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดพาดปีนเข้าได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน พวกไทยที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็เข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง นับเวลาแต่พม่ายกมาตั้งล้อมพระนครได้ปี ๑ กับ ๒ เดือน จึงเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึก
   เมื่อพม่าเข้าพระนครได้นั้นเป็นเพลากลางคืน พม่าไปถึงไหนก็เอาไฟจุดเผาเหย้าเรือนของชาวเมืองเข้าไปจนกระทั่งปราสาทราชมนเทียร ไฟไหม้ลุกลามแสงสว่างดังกลางวัน ครั้นพม่าเห็นว่าไม่มีผู้ใดต่อสู้แล้ว ก็เที่ยวเก็บรวบรวมทรัพย์จับผู้คนอลหม่านทั่วไปทั้งพระนคร แต่เพราะเป็นเวลากลางคืนพวกชาวเมืองจึงหนีรอดไปได้มาก พม่าจับได้สัก ๓๐,๐๐๐  

   ส่วนพระเจ้าเอกทัศ มหาดเล็กพาลงเรือน้อย หนีไปซุ่มซ่อนอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ที่บ้านจิก ริมวัดสังฆาวาส แต่พม่ายังหารู้ไม่ จับได้แต่พระเจ้าอุทุมพรซึ่งทรงผนวชกับเจ้านายโดยมาก ทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยและพระภิกษุสามเณรที่หนีไปไม่พ้น พม่าก็จับเอารวมไปคุมไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนผู้คนพลเมืองที่จับได้ ก็แจกจ่ายกันไปควบคุมไว้ตามค่ายนายทัพนายกองทั้งปวง แล้วพม่าเที่ยวตรวจเก็บบรรดาทรัพย์สมบัติทั้งสิ่งของ ของหลวงของราษฎรตลอดจนเงินทองของเครื่องพุทธบูชาตามพระอารามใหญ่น้อย ไม่เลือกว่าของที่จะหยิบยกได้หรือที่ไม่พึงจะหยิบยกได้ ดังเช่นทองเงินที่แผ่หุ้มพระพุทธรูป มีทองคำที่หุ้มพระศรีสรรเพชญดาญาณเป็นต้น พม่าก็เอาไฟสุมพระพุทธรูปให้ทองละลายเก็บเอามาจนสิ้น เท่านั้นยังไม่พอ พม่ายังจะเอาทรัพย์ซึ่งราษฎรฝังซ่อนไว้ตามวัดวาบ้านเรือนต่อไปอีก เอาราษฎรที่จับไว้ได้ไปชำระซักถาม แล้วล่อลวงให้ส่อกันเอง ใครเป็นโจทก์บอกทรัพย์ของผู้อื่นให้ได้ก็ยอมปล่อยตัวไป ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ถ้าไม่บอกให้โดยดี พม่าก็เฆี่ยนตีและทำทัณฑกรรมต่างๆ เร่ง เอาทรัพย์จนถึงล้มตายก็มี”

   พงศาวดารเล่าว่าพระเจ้าเอกทัศน์ทรงหนีออกจากอยุธยาไปได้ แต่ก็หนีไปไม่ตลอด เพราะอดอาหารมิได้เสวยถึง  ๑๒  วัน จนไปสิ้นพระชนม์ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนพระเจ้าอุทุมพรถูกจับเป็นเชลยพร้อมเจ้านายและขุนนางอื่นๆจำนวนมาก ถูกนำตัวไปพม่า แล้วก็ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตที่พม่าจนสิ้นพระชนม์ไปในที่สุด ระหว่างนั้นทรงให้ปากคำบันทึกกับชาวพม่า ถึงประวัติศาสตร์ของอยุธยา ต่อมาเรื่องนี้แปลเป็น ไทยชื่อ “คำให้การของขุนหลวงหาวัด”
   ในครั้งนั้นยังมีอีกพระองค์หนึ่งที่ออกบวชเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง คือกรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศที่เกิดแต่พระสนมพระนามเดิมว่า "พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าแขก" เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดากับ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ และพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ (พระเจ้าอุทุมพร)  ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๑ กรมหมื่นเทพพิพิธสนับสนุน พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ(พระเจ้าอุทุมพร) ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ตำแหน่งรัชทายาท) ได้ครองราชสมบัติ แต่พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ผู้เป็นพี่รีบลาผนวช
ออกมา ประจวบกับ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อรักสงบ ไม่ชอบการขัดแย้งจึงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวช กรมหมื่นเทพพิพิธเกรงราชภัยจะถึงตน จึงออกผนวชที่วัดกระโจม
   แต่กระนั้นก็ตามเมื่อสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้ครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระตำรวจทั้งแปดไปจับตัวมาหวังจะประหารชีวิตเสีย แต่ขุนนางกราบบังคมทูลว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ไม่มีความผิดชัดเจน ไม่ควรประหารในระหว่างทรงพรตในเพศสมณะ จึงสั่งให้จองจำไว้ ครั้นกำปั่นจะไปลังกาทวีปเพื่อส่งพระวิสุทธาจารย์ และพระวรญาณมุนีไปเผยแผ่พุทธศาสนาสยามวงศ์ที่เมืองลังกา จึงให้เนรเทศกรมหมื่นเทพพิพิธไปกับเรือกำปั่นนั้นด้วย
   พระกรมหมื่นเทพพิพิธพำนักที่เมืองลังกาได้ ๔-๕ ปี ต่อมาภายหลังทราบว่ากรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมอยู่ จึงหาโอกาสหนีกลับมาเมืองไทยอีก ได้โดยสารเรือกำปั่นแขกลูกค้าเมืองเทศมายังเมืองมะริด เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๕  ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๗ กองทัพพม่ายกมาตีเมืองมะริด ตะนาวศรี กรมหมื่นเทพพิพิธจึงหนีมาอาศัยอยู่ที่เมืองเพชรบุรี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร (ลาผนวชมารักษากรุงฯ) ทราบเรื่องราวกรมหมื่นเทพพิพิธตกยากอยู่ที่เพชรบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่เมืองจันทบุรีในปีเดียวกันนั้น เมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธมาอยู่เมืองจันทบุรีนั้น ข่าวกองทัพพม่าล้อมกรุงฯ ปล้นสะดมชาวเมืองในหัวเมืองใกล้เคียง และเข่นฆ่าชาวบ้านชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้คนได้รวมตัวกันเป็นชุมนุมตั้งค่ายป้องกันตัว ดังค่ายบ้านบางระจัน เป็นต้น ชาวหัวเมืองในภาคตะวันออกต่างก็
เห็นว่า เชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ได้มาพำนักที่เมืองจันทบรี ต่างพากันมาสวามิภักดิ์ หวังจะให้เป็นหัวหน้าต่อสู้กองทัพพม่า  จนหลังกรุงแตก กรมหมื่นเทพพิพิธก็ไปตั้งก๊กหนึ่งที่เมืองพิมาย นครราชสีมา แต่ในที่สุดก็ถูกก๊กของพระยาตากปราบปรามลง และประหารชีวิต
เสีย

    บุคคลสำคัญในสมัยพระเจ้าเอกทัศ

    ๑.ชาวบ้านบางระจัน

    ๒.นายขนมต้ม

                 ชาวบ้านบางระจัน

    

    ชาวบ้านบางระจัน อยู่ที่อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี  เป็นวีระชนซึ่งเป็นชาวบ้านบางระจันที่ได้แสดงวีรกรรมอันกล้าหาญ และความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของคนไทย ซึ่งเป็นชาวบ้านของคนกลุ่มหนึ่ง ที่เสียสละชีวิต แสดงความรักชาติ บ้านเมือง  ได้รวมพลังกันขึ้นมาเองอย่างจริงใจ และฉับพลันในยามบ้านเมืองมีศึก ตั้งค่ายต่อต้าน กองทัพพม่าข้าศึกต่อสู้ได้ชัยชนะ ถึง ๗  ครั้ง  เพื่อถ่วงเวลา  คอยกองทัพหลวงจากกรุงศรีอยุธยาส่ง
มาช่วย ทำการถ่วงเวลาได้นานถึง ๕ เดือน จึงได้แพ้แก่ข้าศึก   เมื่อวัน จันทร์  เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีจอ
   พม่าได้พยายามเข้ามาตีชาวบ้านบางระจันถึง ๗ ครั้ง  แต่ก็ไม่สำเร็จ  จนในครั้งสุดท้ายสุกี้ชาวมอญ ซึ่งเป็นนายกองใหญ่ของพม่า  ได้เคยอยู่ในเมืองไทยเป็นเวลานาน  และรู้ว่าชาวบ้านบางระจันถนัดรบในที่แจ้ง  จึงอาสามาปราบชาวบ้านบางระจัน  โดยสั่งให้ยิงปืนใหญ่เข้าไปในค่ายแทนการสู้รบกันกลางแจ้ง  ทำให้คนไทยต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก  นายทองเหม็นได้ขี่กระบือบุกเข้าค่ายพม่า  แต่ถูกพม่ารุมทำร้ายจนตาย
   ส่วนฝ่ายไทยไม่มีปืนใหญ่ยิงตอบโต้  ครั้งเมื่อขอไปทางกรุงศรีอยุธยาก็ไม่ให้  โดยอ้างว่าเกรงจะถูกข้าศึกแย่งไประหว่างทาง  ชาวบ้านจึงช่วยกันหล่อปืนใหญ่เอง  โดยบริจาคของใช้ทุกอย่างที่ทำด้วยทองเหลืองมาหล่อปืนได้สองกระบอก  แต่พอทดลองยิง  กระบอกปืนก็แตกจนใช้การไม่ได้  ในที่สุดชาวบ้านบางระจันก็พ่ายแพ้แก่พม่า  โดยการต่อสู้กันมานานถึง ๕ เดือน
   วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน  ได้รับการยกย่องว่า เป็นเกียรติภูมิของคนไทยอันมีค่ายิ่ง  และถือเป็นตัวอย่างอันดีของอนุชนรุ่นหลัง  ทางราชการจึงได้สร้างอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน  (เป็นรูปหล่อของวีรชนที่เป็นหัวหน้าทั้ง ๑๑ คน  คือ  นายแท่น  นายโชติ  นายอิน  นายเมือง  นายดอก นายแก้ว  ขุนสรรค์  นายจันทร์หนวดเขี้ยว  นายทองเหม็น  นายทองแสงใหญ่  และนายพันเรือง)  ขึ้นบนเนินสูงหน้าค่ายบางระจัน  ที่อำเภอ บางระจัน  จังหวัดสิงห์บุรี
   ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๓ พม่าได้ยกกองทัพเข้ามา ๒ ทาง  คือ  ทางเมืองกาญจนบุรีและเมืองตากทัพของเนเมียวสีหบดีได้มาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ  แล้วให้ทหารออกปล้นสะดมทรัพย์สมบัติ  เสบียงอาหาร  และข่มเหงราษฎรไทย  กลุ่มบุคคลที่บางระจันประกอบด้วยหัวหน้า ๖ คน  คือ  นายแท่น  นายโชติ  นายอิน  นายเมือง  นายดอก  และนายแก้ว  ได้รวบรวมชาวบ้านต่อสู้กับพม่า  โดยได้อัญเชิญพระอาจารย์ธรรมโชติ  จากสำนักวัดเขานางบวช  แขวงเมืองสุพรรณบุรี  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องวิชาอาคมมาร่วมให้กำลังใจ  และมีหัวหน้าเพิ่มขึ้นอีก  คือ  ขุนสรรค์  นายจันทร์หนวดเขี้ยว  นายทองเหม็น  นายทอง แสงใหญ่  และพันเรือง  ช่วยกันตั้งค่ายบางระจันขึ้นเพื่อต่อสู้ขัดขวางการรุกรานของพม่า
   ประวัติ ๑๑ วีรชนชาวบ้านบางระจัน
      นายพันเรือง
   ๑. นายพันเรือง  เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน เมื่อถูกพม่าเข้าปล้นหมู่นบ้าน ทั้งข้าวปลาอาหาร ส่วนชาวบ้านถูกทหารพม่ารังแก ข่มเหง จึงได้รับความเดือดร้อน นายพันเรือง นายทองแสงใหญ่ และนายจันหนวดเขี้ยวปรึกษากันว่า ให้ชาวบ้านบางระจันทั้งหมดไปอยู่ที่วัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อหลบทหารพม่า เพราะมีคลองธรรมชาติล้อมรอบถึง ๒ ชั้น และชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านจำนวนหนึ่ง ซึ่งแบ่งกลุ่มกันออกลาดตะเวน หลอกล่อทหารพม่าให้หลงทาง และนายพันเรืองยังเป็นผู้ออกความคิดหล่อปืนใหญ่ เพื่อยิงทำลายค่ายพม่า จึงชวนชาวบ้านให้เสียสละทองเหลือง ทองแดง หล่อปืนขึ้น ๒ กระบอก แต่ใช้การไม่ได้ อาจเพราะโลหะไม่ได้เป็นชนิดเดียวกัน หรือไม่ชำนาญ ชาวบ้านต้องอยู่ในสภาพเสียขวัญกำลังใจ และท่านได้หลบหนีทหารพม่าในคราวค่ายแตกไปเสียชีวิตริมฝั่งคลอง หน้าวัดขุนสงฆ์ห่างจากค่ายประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร
      นายแท่น
   ๒. นายแท่น  เป็นคนบ้านศรีบัวทอง แขวงเมืองสิงห์บุรี เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ และมีฝีมือในการวางแผนรบ จัดว่าเป็นแม่ทัพใหญ่อีกคนหนึ่ง นายแท่นคุมพลเข้ารบกับทหารพม่าหลายครั้งได้รับชัยชนะ ในการรบครั้งที่ ๔ ท่านคุมพล ๒๐๐ คน เป็นทัพหลวง คุมพลเข้าตีลวงพม่าก่อน และให้ทหารปีกขวาและปีกซ้ายตีโอบหลัง สนามรบคือฝั่งคลองทุ่งห้วยไผ่สะตือสี่ต้น ในการรบครั้งนั้นท่านได้รับชัยชนะ และสามารถฆ่าแม่ทัพพม่าได้ คือ สุรินทร์จอข่อง แต่ท่านก็ได้รับบาดเจ็บที่เข่า เนื่องจากถูกอาวุธของข้าศึก ต้องหามกลับค่ายหลังจากนั้นท่านต้องนอนรักษาตัวอยู่ในค่าย ไม่นานก็เสียชีวิต เพราะพิษบาดแผล ทำให้ทุกคนในบางระจันเสียขวัญกำลังใจ เนื่องจากขาดบุคคล ซึ่งเป็นที่พึ่ง ๑ ใน ๑๑ ท่าน ทุกคนในค่ายต้องหลั่งน้ำตาในการจากไปของท่าน
   นายโชติ
   ๓. นายโชติ  เป็นคนบ้านศรีบัวทอง แขวงเขตเมืองสิงห์บุรีติดต่อเมืองสุพรรณบุรี นายโชติได้รวมชาวบ้านที่ถูกกองลาดตะเวนของทหารพม่าข่มเหง และให้ส่งหญิงสาวให้ ในครั้งนั้นท่านกับพรรคพวกได้ลวงทหารพม่าไปฆ่าได้กว่า ๒๐ คน จากนั้นท่านและชาวบ้านจึงมาอยู่รวมกัน ณ บางระจัน ท่านได้ต่อสู้กับทหารพม่า จนเสียชีวิตในสนามรบ
      นายอิน
   ๔. นายอิน   เป็นคนบ้านสีบัวทอง ที่มากับนายแท่น นายโชติ นายเมือง เป็นคนหนึ่งที่ร่วมกันฆ่าทหารพม่าในครั้งแรก แล้วมารวมรวมกำลังตั้งค่ายบางระจันขึ้น ณ วัดโพธิ์เก้าต้น ท่านเป็น ๑ ใน ๑๑ ผู้นำชาวบ้านที่ออกต่อสู้กับทหารพม่า ด้วยความกล้าหาญจนตัวตายในสนามรบ
     นายดอกแก้ว
   ๕. นายดอกแก้ว   อยู่เมืองวิเศษชัยชาญ เมืองถูกกองทัพพม่าตีเมืองวิเศษชัยชาญแตกและยึดเมืองได้ นายทองแก้วจึงรวบรวมชาวบ้านหลบหนีไปอยู่ที่บ้านโพธิ์ทะเล ท่านหนีออกมาคราวเดียวกับนายดอก ต้องแยกทัพกันอยู่เพราะมีชาวบ้านจำนวนมาก
   นายทองแสงใหญ่
  ๖. นายทองแสงใหญ่   ท่านเป็น ๑ ใน ๑๑ ท่านที่เป็นผู้นำระดับแนวหน้า และท่านเป็นผู้ที่คิดตั้งค่ายน้อยเพื่อลวงทหารพม่า ได้คัดชายฉกรรจ์ จำนวนหนึ่ง ตั้งค่ายขึ้นอีกค่ายหนึ่ง ซึ่งห่างจากค่ายใหญ่ออกไป ในค่ายใหญ่เต็มไปด้วยคนแก่ทั้งชายหญิงเด็กเล็กและผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากการสู้รบและมีการเสียชีวิตทุกวันท่านต่อสู้กับทหารพม่าด้วยกำลังที่มีอยู่ทั้งหมด
   นายเมือง
   ๗. นายเมือง   เป็นคนบ้านศรีบัวทอง เมืองสิงห์บุรี ร่วมกับนายอิน นายโชติ นายแท่น และชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่ง ลวงทหารพม่าไปฆ่า และท่านเป็นคนไปนิมนต์พระอาจารย์ธรรมโชติ จากแคว้นเมืองสุพรรณ มาอยู่วัดโพธิ์เก้าต้น ค่ายบางระจัน นายเมืองเป็น ๑ ใน ๑๑ ผู้นำชาวบ้านในค่าย ที่คุมคนออกต่อสู้กับพม่า จนกระทั้งเสียชีวิตในสนามรบ
     ขุนสรรค์
   ๘. ขุนสรรค์  จากเมืองสรรค์บุรี ท่านได้รวบรวมชาวบ้านต่อสู้กับทหารพม่าที่ยกทัพมาทางเมืองอุทัยธานี ท่านมีฝีมือในการยิงปืน เมื่อท่านกับชาวบ้านต่อต้านทหารพม่าไม่ไหวจึงชักชวนชาวบ้านมารวมกันที่บางระจัน และได้ร่วมรบกับชาวบ้านศรีบัวทอง ชาวเมืองวิเศษชัยชาญ ชาวบ้านที่รวมตัวกันอยู่ วัดโพธิ์เก้าต้นค่ายบางระจัน และท่านได้ให้ชาวบ้านรวบรวมอาวุธต่าง ๆ ที่ยึดได้จากทหารพม่าในการรบครั้งก่อน ๆ ที่ได้รับชัยชนะ ครั้งหนึ่งท่านได้รวมกับนายจันหนวดเขี้ยว ท่านได้คุมพล ๑๐๐ คน ตีทัพของ อาคา บัญคญี แตกพ่าย และได้ร่วมรบอยู่ในค่าย จนกระทั้งเสียชีวิตในสนามรบ
    นายดอก
   ๙. นายดอก  อยู่เมืองวิเศษชัยชาญ เมื่อกองทัพพม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา แม่ทัพพม่าสั่งให้กองทัพออกตีหัวเมืองต่าง ๆ เมืองวิเศษชัยชาญจึงอยู่ในเป้าหมาย เมืองกองทัพพม่าเข้าตีเมืองวิเศษชัยชาญแตก นายดอกจึงชักชวนชาวบ้านไปอยู่บ้านตลับ คือบ้านตลับ ในปัจจุบัน กองทัพพม่าเที่ยวออกลาดตะเวนเป็นบริเวณกว้าง ทำให้ชาวบ้านเดือนร้อน เพราะถูกทหารพม่าข่มเหงจึงชักชวนมาอยู่ วัดโพธิ์เก้าต้น ค่ายบางระจัน นายดอกเป็น
ผู้นำชาวบ้าน ท่านได้ร่วมรบกับชาวบ้านบางระจัน กองทัพพม่าบุกเข้าได้แล้ว ทำให้ท่านเสียชีวิตในสนามรบ
   นายจันทร์  หนวดเขี้ยว
   ๑๐. นายจันหนวดเขี้ยว ท่านเป็นคนบางระจัน เดิมเป็นคนชื่อจัน ชอบไว้หนวดและแต่งหนวดให้งอนดูเหมือนเขี้ยว  ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียนท่านว่า นายจันหนวดเขี้ยว ท่านเป็นผู้กล้าหาญมีฝีมือในการต่อสู้ เป็นเหมือนครูฝึกประจำหมู่บ้านให้เด็กหนุ่มสาว เมื่อทหารพม่ามาข่มเหงชาวบ้าน ท่านจึงออกช่วยชาวจึงเกิดการต่อสู้ เด็กหนุ่มที่ท่านฝึกให้รวมพลังกันรบทหารพม่าได้รับชัยชนะ ท่านจึงให้พวกชาวบ้านไปรวมตัวกันอยู่ที่วัดโพธิ์เก้าต้น ครั้ง
หนึ่งกองทัพพม่ายกกำลังมามาก ท่านให้กองสอดแนมในค่ายออกไปดูกำลังพลพม่าที่ยกมา เมื่อท่านทราบว่ากำลังพลไล่เลี่ยกัน จึงคุมกำลัง ๑๐๐ คน แบ่งออกเป็น ๒ พวก เข้าตีกองทัพพม่า อาคา บัญคญี แม่ทัพพม่าจนเสียชีวิตในที่รบ ครั้งสุดท้ายพม่าเปลี่ยนวิธีการรบ คือสร้างค่ายเป็นสามค่าย มาเรื่อย ๆ และยิงปืนใหญ่ออกมา ไม่ต้องออกมารบ จึงสร้างความกดดันให้ชาวบ้านบางระจันเป็นอย่างมาก นายจันหนวดเขี้ยวพร้อมกับชาวบ้านเข้า
ตีค่ายพม่า ในค่ายพม่ามีสุกี้เป็นแม่ทัพ ท่านถูกทหารพม่าฆ่าตายในสนามรบ
   นายทองเหม็น
   ๑๑. นายทองเหม็น   ท่านเข้าร่วมในค่ายบางระจันและเป็นอีกท่านหนึ่งที่ร่วมวางแผนในการรบครั้งที่ ๔ ท่านทำหน้าที่เป็นปีกขวา ร่วมกับนายโชติ นายดอก นายทองแก้ว คุมพล ๒๐๐ คน ไปข้ามคลองบ้านขุนโลก ตีโอบหลังข้าศึก ผลทำให้พม่าแตกพ่าย และได้ฆ่าทัพพม่าคือ สุรินทร์จอข่อง ครั้งสุดท้ายพม่าทำการรบแต่ในค่ายโดยยิงปืนใหญ่ออกมา นายทองเหม็นสุดที่จะทนร่วมกับพวกชาวบ้านบางระจันจำนวนหนึ่ง นายทองเหม็นจึงได้ขี่กระ บือเผือกตะลุยฝ่าค่ายพม่า จึงเสียทีถูกพม่าจับฆ่าตาย

              ประวัตินายขนมต้ม

      

     วีรบุรุษผู้นี้ เกิดวันอังคาร เดือนยี่ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๒๙๓ ซึ่งอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่  บ้านกุ่ม ในปัจจุบันคือ ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อนายเกิด มารดาชื่อนางอี่ มีน้องสาว ๑ คนชื่อนางเอื้อย และถูกพม่าฆ่าตายเมื่อยังเล็กๆ ชีวิตของนายขนมต้มเกิดมาบนความลำบากตั้งแต่เด็ก ต้องไปอาศัยอยู่ในวัด เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ ก็ต้องมาเสียพ่อแม่ไปอีก เนื่องจากถูกพม่าฆ่าตายเช่นกัน
   นายขนมต้มเริ่มสนใจ และฝึกมวยอย่างเอาจริงเอาจังตั้งแต่เริ่มเป็นหนุ่ม จนมีวิชาเก่งกล้าสามารถ และยังมีจิตใจอาจหาญ ทระนง เวลาผ่านล่วงเลยจนเข้าสู่สมัยของ พระเจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยาจึงถูกพม่าตีแตกและต้องพ่ายแพ้ไปในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ทำให้ชาวเมืองส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยศึกยังประเทศพม่า เหตุการณ์นี่เองที่สร้าง "วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งนักชกชาวสยามไปตลอดกาล" 

      ประวัติ
   นายขนมต้มมีชื่อเสียงในเชิงมวยเป็นที่เลื่องลือ โดยมีเหตุการณ์ที่นายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่า เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๑๗ พงศาวดารบันทึกว่า   เมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้ ปฏิสังขรณ์และก่อเสริมพระเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้ง เป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ ๑๗ มีนาคม ของทุกปี จึงโปรด ให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร ขุนนางพม่ากราบทูลว่า "นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก" พระเจ้ามังระจึงตรัสสั่งให้เอาตัวนายขนมต้ม   นักมวยดีมีฝีมือตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาถวาย พระเจ้ามังระได้ให้จัดมวยพม่าเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้ม โดยจัดให้ชกต่อหน้าพระที่นั่ง ปรากฏว่านายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึงยกก็ชนะถึง ๑๐ คน พระเจ้ามังระทอดพระเนตรเห็นจึงยกพระหัตถ์ขึ้นตบพระอุระแล้วตรัสสรรเสริญนายขนมต้มว่า “คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนของเราได้ถึง  ๑๐  คน นี่ ถ้าหากว่าเจ้านายของมันดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดแข้งขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลของตนเองแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึกได้ ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้”  เจ้านายมันชั่วเลี้ยงคนไม่เป็นใช้คนไม่เป็นคอยแต่อิจฉาริษยาแก่งแย้งแตกสามัคคีกัน บ้านเมืองจึงเกิดความพินาศล้มจม
   หลังจากนายขนมต้มได้เอาชนะนักมวยพม่าแล้ว พระเจ้ามังระได้ปูบำเหน็จแก่นายขนมต้มโดยแต่งตั้งให้เป็นข้ารับใช้ในกรุงอังวะแต่นายขนมต้มกลับปฏิเสธและขอให้พระเจ้ามังระปลดปล่อยตนและเชลยคนไทยทั้งหมดให้เป็นอิสระเพื่อกลับบ้านเกิด พระเจ้ามังระก็ยอมทำตามความประสงค์ ในที่สุดนายขนมต้มและเหล่าเชลยคนไทยก็ได้รับอิสรภาพและกลับไปยังบ้านเกิดก็คือแผ่นดินไทยที่มีกรุงธนบุรีเป็นราชธานีในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นามว่า "ตากสินมหาราช" นายขนมต้มก็ได้อาศัยอยู่บ้านเกิดอย่างสงบสุขแต่ไม่ทราบว่าเขาเสียชีวิตไปตั้งแต่เมื่อใด
          สรูปสมัยอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า  ๓  ครั้ง

    ๐เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ในรัชสมัยของพระมหาจักรพรรดิ  เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๖

      -สาเหตุพม่ายกกองทัพมาตีอยุธยา  เพราะได้ยินข่าวว่า พระมหาจักรพรรดิมีช้างเผือกมากถึง ๗ ตัว   บุเรงนองส่งราชสาส์นมาขอช้างเผือก ๒ ตัว  แต่พระมหาจักรพรรดิไม่ให้    บุเรงนองจึงถือโอกาสยกกองทัพใหญ่บุกกรุงศรีอยุธยาเสียเลย  การรบผลปรากฏว่า มหาจักรพรรดิแพ้ ยอมเป็นไมตรี ยอมยกช้างเผือกให้ ๔ ตัว  เข้าภาษิตว่า "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย"  และบุเรงนองยังขอคนสำคัญไปเป็นตัวประกันอีก ๓ คน   คือ:-

       ๑.พระราเมศวร   ราชบุตรองค์ใหญ่ของพระมหาจักรพรรดิ

       ๒.พระยาจักรี  นักรบฝีมือดี  เพื่อตัดกำลังของมหาจักรพรรดิ

       ๓.พระยาสุนทรสงคราม   นักรบใจกล้า

    ๐เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒   ในรัชสมัยของพระมหินทราธิราช    เมื่อปี  พ.ศ.๒๑๑๒

      -สาเหตุพม่าเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเปลี่ยนกษัตริย์องค์ใหม่บ้านเมืองยังไม่สงบยังแตกแยกกันมากก็เลยช่วยโอกาสยกกองทัพใหญ่มาบดขยี้เสียเลย  ผลปรากฏว่ากรุงศรีอยุธยาแตก  ในวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๑๑๒ (ตรงกับเดือน๙ไทย) พระยาจักรีจึงให้สัญญาณแก่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาและเปิดประตูเมือง ให้ทัพพม่าเข้าไปยึดกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ กรุงศรีอยุธยาจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรตองอูตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  บุเรงนองจึง

ถอดพระมหินทราธิราชออกจากการเป็นกษัตริย์  แล้วทำราชาภิเสกพระมหาธรรมราชาให้เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแทน   แล้วยึดเอาตัวพระนางสุพรรณกัลยา  และพระนเรศวร ไปเป็นตัวประกันที่ประเทศพม่า

    ๐เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๓   ในรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศ   ในวันที่  ๑๓  เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐  ตรงกับวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐

      -สาเหตุพม่าอยากได้ทรัพย์สินของคนไทยและกวาดต้อนเอาคนไทยไปเป็นเชลย 

 พม่าจับประชาชนได้ประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ส่วนพระเจ้าเอกทัศ และมหาดเล็กพาลงเรือน้อย หนีไปซุ่มซ่อนอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ที่บ้านจิก ริมวัดสังฆาวาส แต่พม่ายังหารู้ไม่ จับได้แต่พระเจ้าอุทุมพรซึ่งทรงผนวชอยู่กับเจ้านายโดยมาก ทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยและพระภิกษุสามเณรที่หนีไปไม่พ้น พม่าก็จับเอารวมไปคุมไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนผู้คนพลเมืองที่จับได้ ก็แจกจ่ายกันไปควบคุมไว้ตามค่ายนายทัพนายกองทั้งปวง แล้วพม่าเที่ยวตรวจเก็บบรรดาทรัพย์สมบัติและสิ่งของ ของหลวงของราษฎรตลอดจนเงินทอง เครื่องของและพระพุทธรูปบูชาที่อยู่ตามวัดใหญ่น้อย ไม่เลือกว่าเล็กหรือใหญ่หยิบยกไปให้หมดเช่น ทองคำที่แผ่หุ้มพระพุทธรูป เช่น ทองคำที่หุ้มหลวงพ่อพระศรีสรรเพชญดาญาณเป็นต้น พม่าก็เอาไฟสุมเผาพระพุทธรูปให้ทองคำละลายแล้วก็เก็บเอาทองคำมาจนหมดสิ้น   เท่านั้นยังไม่พอ พม่ายังจะเอาทรัพย์ซึ่งราษฎรฝังซ่อนไว้ตามวัดวาบ้านเรือนต่อไปอีก เอาราษฎรที่จับไว้ได้ไปชำระซักถาม แล้วล่อลวงให้ส่อกันเอง ใครเป็นโจทก์บอกทรัพย์ของผู้อื่นให้ได้ก็ยอมปล่อยตัวไป ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ถ้าไม่บอกให้โดยดี พม่าก็เฆี่ยนตีและทำทัณฑกรรมต่างๆ เร่งเอาทรัพย์จนถึงกับล้มตายก็มีมาก ”

     โศกนาฏกรรมที่พม่าเอาไฟเผ่าพระพุทธรูปคือหลวงพ่อศรีสรรญเพชญดาญาณและพระพุทธรูปอื่นๆ อีกจำนวนหลายองค์ เพื่อเอาทองคำที่หุ้มห่อตัวท่านนี้ พม่าไม่ควรจะเป็นชาวพุทธเลย พม่าเป็นชาวพุทธที่จอมปลอมพม่าเป็นชาวพุทธที่ลวงโลก ควรจะเป็นซาตานมากกว่าจะเป็นชาวพุทธ  ด้วยผลกรรมที่พม่าได้ก่อเอาไว้นี้  ส่งผลให้ทหารอังกฤษเข้าไปยึดครองเอาประเทศพม่าเป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จใน  วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๘  สมัยรัชกาลที่ ๔  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศพม่าก็ไม่สามารถจะเข้ามารุกรานประเทศไทยได้อีกเลยจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ สาธุ !

            ไทยกับพม่ารบกันกี่ครั้งให้คลิกดูที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้

   https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

      สงครามไทยพม่าสิ้นสุดลงเมื่อพม่ายอมแพ้อังกฤษ

     ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘  เกิดชนวนที่จะทำสงครามขึ้น กล่าวคือทางการพม่าเรียกค่าปรับจากบริษัทบอมเบย์เบอร์มาเทรดดิงเป็นเงินจำนวน  ๒.๓  ล้านรูปี อังกฤษจึงตัดสินใจยื่นคำขาดต่อพม่าในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ โดยให้พม่าลดค่าปรับ ให้ความสะดวกแก่อังกฤษในการค้าขายกับจีนและให้อังกฤษควบคุมนโยบายต่างประเทศของพม่า พม่าปฏิเสธ  ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน  กองทัพอังกฤษก็เคลื่อนพลมาตามแม่น้ำโดยมีการต่อต้านน้อยมาก การปะทะที่ดุเดือดเกิดที่ป้อมมินหล่า ซึ่งอังกฤษเป็นฝ่ายชนะเมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๒๘  ในที่สุดกินหวุ่นมินจีจึงเสนอให้เจรจากับอังกฤษ การเจรจาเกิดขึ้นในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน อังกฤษต้องการให้พม่ายอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข เสนาบดีแห่งราชสำนักมัณฑะเลย์จึง  ยอมแพ้ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๒๘
 
หลังจากยอมแพ้ต่ออังกฤษแล้ว พระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัตทั้งสองพระองค์ก็เสด็จลงเรือไปยังย่างกุ้งและถูกเนรเทศให้ไปอยู่ในอินเดีย  พม่ากับไทยที่รบกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่  สมัยของพระเจ้าอโนธรามังช่อ ในปีพ.ศ.๑๖๐๐  นับเป็นเวลาได้  ๙๖๑  ปี ก็มาสิ้นสุดลงตราบเท่าทุกวันนี้ 

                         

     อาณาจักรสมัยธนบุรี และ อาณาจักรสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดดูหน้าที่ ๒

         ออกจากหน้านี้แล้วให้คลิกดูที่รูปสามเหลี่ยมสีขาวของข้อ ๘ นี้

              

 

 

         

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …