หน้าที่ ๔.อาณาจักรสมัยรัตนโกสินทร์

              

           อาณาจักรสมัยรัตนโกสินทร์

      

   อาณาจักรรัตนสมัยโกสินทร์ เป็นอาณาจักรที่ดีในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานครซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕
   ครึ่งแรกของสมัยนี้เป็นการเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร ถูกขัดจังหวะด้วยความขัดแย้งเป็นระยะกับพม่า เวียดนามและลาว ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นการเผชิญกับประเทศเจ้าอาณานิคม อังกฤษและฝรั่งเศส จนทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ผลกระทบจากภัยคุกคามนั้น นำให้อาณาจักรพัฒนาไปสู่รัฐชาติสมัยใหม่ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ การเลิกทาส และการขยายการศึกษาแก่ ชนชั้นกลางที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบสมบูรณา ญาสิทธิราชถูกแทนที่ด้วยระบอบราชาธิปไตยภาย ใต้รัฐธรรมนูญ ในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕
   ชื่อ "รัตนโกสินทร์" ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ เท่านั้น
   การก่อตั้ง
   รัชกาลที่ ๑ ทรงฟื้นฟูระบบสังคมและการเมืองของราชอาณาจักรอยุธยา ทรงออกกฎหมายตราสามดวงประมวลกฎหมายใหม่ทรงฟื้นฟูพิธีในราชสำนัก และทรงบัญญัติวินัยสงฆ์ การปกครองแบ่งเป็นหกกรม โดยในจำนวนนี้สี่กรมมีหน้าทีปกครองดินแดนโดยเฉพาะ กรมกลาโหมปกครองทางใต้ กรมมหาดไทยปกครองทางเหนือและตะวันออก กรมพระคลังปกครองดินแดนที่อยู่ทางใต้ของพระนคร และกรมเมืองปกครองพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ส่วนอีกสองกรมนั้นคือ กรมนาและกรมวัง กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของอุปราชซึ่งเป็นพระอนุชาในพระมหากษัตริย์ พม่าซึ่งเห็นความวุ่นวาย ประกอบกับการโค่นล้มสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รุกรานสยามอีกใน พ.ศ. ๒๓๒๘  ฝ่ายสยามแบ่งกำลังออกเป็นทางตะวันตกได้บดขยี้กองทัพพม่าใกล้จังหวัดกาญจนบุรี นี่เป็นการรุกรานสยามครั้งใหญ่และเป็นครั้งสุดท้ายของพม่า พ.ศ. ๒๓๔๕ พม่าถูกขับออกจากล้านนา
   พ.ศ. ๒๓๓๕ สยามสามารถยึดครองเมืองหลวงพระบาง และนำดินแดนลาวส่วนใหญ่มาอยู่ใต้การปกครองโดยอ้อมของสยาม และกัมพูชาก็อยู่ภายใต้การปกครองของสยามอย่างเต็มที่ จนกระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระองค์ทรงสถาปนาความเป็นเจ้าของสยามเหนือดินแดนที่ใหญ่กว่าประเทศไทยปัจจุบันอยู่มาก
   การรุกรานเวียดนาม
   ใน พ.ศ. ๒๓๑๙ เมื่อกบฏเต็ยเซิน (Tây Sơn) ยึดซาดินห์ (Gia Dinh) ก็ได้ประหารพระราชวงศ์เหงวียนและประชากรท้องถิ่นเป็นอันมาก เหงียน อั๊ญ (Nguyễn Ánh) พระราชวงศ์เหงียนพระองค์สุดท้ายที่ยังมีพระชนม์อยู่ ทรงหนีข้ามแม่น้ำมายังสยาม ขณะที่ลี้ภัยในสยาม เหงียน อั๋นห์ทรงปรารถนาจะยึดซาดินห์คืน และขับกบฏเต็ยเซินออกไป พระองค์ทรงโน้มน้าวพระทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่วางพระ องค์เป็นกลาง ให้การสนับสนุนด้านกำลังพลและกำลังรุกรานขนาดเล็กแก่พระองค์ใน พ.ศ. ๒๓๒๖ 
   กลาง พ.ศ. ๒๓๒๗ เหงียน อั๊ญ พร้อมกับกองทัพสยาม ๒๐๐๐๐-๕๐๐๐๐ นาย และเรือ ๓๐๐ ลำ   เคลื่อนผ่านกัมพูชา ทางตะวันออกของของต้นทะเลสาบ และแทรกซึมแคว้นอันนัมซึ่งเพิ่งถูกผนวกล่าสุด ทหาร ๒๐๐๐๐ นายถึงเกียนเซียง (Kien Giang) และอีก ๓๐๐๐๐ นายขึ้นบกที่ชัป หลาบ (Chap Lap) ขณะที่สยามรุกคืบสู่เกิ่นเทอ (Cần Thơ) ปีเดียวกัน สยามยึดแคว้นเดียดินห์ ซึ่งอดีตเป็นของกัมพูชา มีการอ้างว่า ทหาร
สยามกระทำทารุณต่อประชากรผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเวียด ทำให้ประชาชนท้องถิ่นหันไปสนับสนุนเตยเซิน
   เหงวียนเหว (Nguyễn Huệ) แห่งราชวงศ์เตยเซิน ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเคลื่อนไหวของสยาม ทรงจัดวางทหารราบอย่างลับ ๆ ตามแม่น้ำเตียง (Tiền) ใกล้กับมายโตว (Mỹ Tho) ปัจจุบัน และเกาะกลางแม่น้ำบางเกาะ เผชิญกับกำลังอื่นฝั่งเหนือ พร้อมกำลังเสริมทางเรือทั้งสองฝั่งของที่ตั้งทหารราบ
   เช้าวันที่ ๑๙ มกราคม เหงวียนเหวทรงส่งกำลังทางเรือขนาดเล็ก ใต้ธงสงบศึก เพื่อลวงให้ฝ่ายสยามเข้าสู่กับดัก หลังได้รับชัยชนะหลายครั้ง ทัพบกและทัพเรือสยามจึงมั่นใจว่าจะต้องเป็นการยอมแพ้โดยบริสุทธิ์ ดังนั้น จึงเดินเข้าสู่การเจรจาโดยไม่รู้เลยว่าเป็นกับดัก กองทัพของเหงวียนเหวโผเข้าทำลายแนวของสยาม สังหารทูตไม่มีอาวุธและโจมตีต่อไปยังทหารที่ไม่ทันตั้งตัว ยุทธการจบลงโดยกองทัพสยามเกือบถูกทำลายสิ้น แหล่งข้อมูลเวียดนามบันทึกว่า เรือทั้งหมดของทัพเรือสยามถูกทำลาย และมีกองทหารดั้งเดิมเพียง ๒๐๐๐-๓๐๐๐ นายที่รอดชีวิตหลบหนีกลับข้ามแม่น้ำไปในสยามได้
   รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ค่อนข้างไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ขณะนี้ราชวงศ์จักรีเข้าควบคุมทุกส่วนของรัฐบาลสยาม เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชโอรส-ธิดารวมทั้งสิ้น ๔๒ พระองค์ พระมหาอุปราช พระอนุชา มีพระโอรส-ธิดารวม ๔๓ พระองค์ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์ จึงมีเจ้านายพอที่จะจัดเข้าสู่ระบบข้าราชการประจำ กองทัพ สมณเพศอาวุโสและรัฐบาลส่วนภูมิภาค มีการเผชิญหน้ากับเวียดนาม ซึ่งกลายมาเป็นมหาอำานจในภูมิภาค เหนือการควบคุมกัมพูชาใน พ.ศ. ๒๓๕๖ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการฟื้นฟูสถานะเดิม
   อิทธิพลของตะวันตกเริ่มแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๘  อัง กฤษยึดครองปีนัง และใน พ.ศ. ๒๓๖๒ เข้ามาตั้งสิงคโปร์ ไม่นาน อังกฤษก็ได้เข้ามาแทนที่ฮอลันดาและโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองหลักในสยาม อังกฤษคัดค้านระบบเศรษฐกิจสยาม ซึ่งเจ้านายเป็นผู้ผูกขาดการค้า และธุรกิจถูกจัดเก็บภาษีตามอำเภอใจ ใน พ.ศ.๒๓๖๔ ลอร์ดฮัสติงส์แห่งบริษัทอินเดียตะวันออกซึ่งขณะนั้นเป็นข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดีย ส่งตัวแทนของบริษัท จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นคณะทูตเพื่อเรียกร้องให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี อันเป็นสัญญาณแรกของประเด็นซึ่งจะครอบงำการเมืองของสยามในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙
    การรวมเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน
   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๖๗  กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เสวยราชสมบัติต่อเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระองค์เล็ก เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้รับการแนะนำให้ออกผนวช เพื่อจะได้ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
   ใน พ.ศ. ๒๓๖๘  อังกฤษส่งคณะทูตเข้ามาในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง นำโดย ผู้แทนทางการทูตของบริษัทอินเดียตะวันออก เฮนรี เบอร์นี ขณะนั้น อังกฤษได้ผนวกพม่าตอนใต้แล้ว และจึงเป็นเพื่อนบ้านของสยามทางตะวันตก และอังกฤษยังพยายามขยายการควบคุมเหนือมลายูด้วย พระมหากษัตริย์ไม่เต็มพระทัยยอมข้อเรียกร้องของอังกฤษ แต่ที่ปรึกษาของพระองค์กราบทูลเตือนว่า สยามจะเผชิญชะตาเดียวกับพม่าหากไม่บรรลุ  ข้อตกลงกับอังกฤษ ฉะนั้น ใน พ.ศ. ๒๓๖๙ สยามจึงบรรลุสนธิสัญญาพาณิชย์ฉบับแรกกับชาติตะวันตก คือ สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (หรือสนธิสัญญาเบอร์นี) ภายใต้เงื่อนไขแห่งสนธิสัญญา สยามตกลงจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีเป็นแบบเดียวกัน ลดภาษีการค้าต่างชาติและลด การผูกขาดของหลวงบางประเภท ผลคือ การค้าของสยามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร และอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มแผ่ขยาย ราชอาณาจักรมั่งคั่งขึ้นและกองทัพติดอาวุธดีขึ้น
   กบฏเจ้าอนุวงศ์ของลาวพ่ายแพ้ใน พ.ศ. ๒๓๗๐  ซึ่งหลังจากนั้นสยามได้ทำลายกรุงเวียงจันทน์ และดำเนินการถ่ายโอนประชากรแบบบังคับขนานใหญ่จากลาวมายังภาคอีสานปัจจุบันที่ครอบครองแน่นหนากว่า และแบ่งแยกเมืองลาวเป็นหน่วยเล็ก ๆ เพื่อป้องกันการก่อการกำเริบอีก ใน พ.ศ. ๒๓๕๘-๒๓๘๘ สยามทำสงครามกับเวียดนามเป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นผลให้สยามปกครองกัมพูชาได้รัดกุมขึ้น  จนถึงคริสต์ทศวรรษ ๑๘๔๐ เป็นที่ประจักษ์ว่า เอกราชของสยามอยู่ในอันตรายจากประเทศเจ้าอาณานิคม ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนจากสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งระหว่างอังกฤษกับจีนใน
พ.ศ. ๒๓๘๒-๒๓๘๕  พ.ศ.๒๓๙๓ อังกฤษและอเมริกาส่งคณะทูตมายังกรุงเทพมหานครเรียกร้องให้ยุติการจำกัดการค้าทั้งหมด จัดตั้งรัฐบาลแบบตะวันตกและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่พลเมืองของตน รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปฏิเสธข้อเรียกร้องเหล่านี้ ทิ้งให้ผู้สืบราชสมบัติอยู่ในสถานการณ์อันตราย
   ในทางเศรษฐกิจ นับแต่ก่อตั้งราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ พ่อค้าจีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่ถูกขับไล่ออกไปโดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกเหนือจากพ่อค้า ชาวจีนที่เป็นชาวนาก็เข้ามาแสวงโชคไม่หยุดหย่อนในราชอาณาจักร ผู้ปกครองสมัยนี้ต้อนรับชาวจีนเพราะเป็นแหล่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ่อค้าเชื้อสายจีนบางคนได้กลายมาเป็นข้าราชสำนึกถือตำแหน่งสำคัญ วัฒนธรรมจีน เช่น วรรณกรรม ได้รับการยอมรับและสนับสนุน ความสัมพันธ์ของสยามกับจักรวรรดิจีนนั้นเข้มแข็ง ซึ่งรับประกันโดยคณะทูตบรรณาการ ซึ่งดำเนินเรื่อยมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ชาวจีนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเกิดใหม่ของราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์
    การทำให้ทันสมัย
   เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรงถูกกำหนดให้ช่วยสยามให้รอดพ้นจากการครอบงำอาณานิคมโดยทรงบังคับให้คนในบังคับทันสมัย แม้พระองค์จะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชในทางทฤษฎี แต่พระราชอำนาจของพระองค์มีจำกัด หลังจากออกผนวชนาน ๒๗ ปี พระองค์จึงขาดฐานในหมู่เจ้านายที่ทรงอำนาจ และไม่อาจดำเนินระบบรัฐสมัยใหม่ตามพระประสงค์ได้ ความพยายามแรกของพระองค์ในการปฏิรูปเพื่อสถาปนาระบบการปกครองใหม่และยกสถานภาพของทาสสินไถ่และสตรีไม่สัมฤทธิ์ผล
   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้อนรับการบุกรุกของตะวันตกในสยาม อันที่จริง พระองค์และข้าราชบริพารนิยมอังกฤษอย่างแข็งขัน ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ มีคณะทูตอังกฤษ นำโดย เซอร์จอห์น เบาริง ผู้ว่าราชการฮ่องกง เดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานครเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทันที โดยได้รับการสนับสนุนจากการข่มขู่ใช้กำลัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมยอมรับข้อเรียกร้องทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งจำกัดอัตราภาษีขาเข้าที่ร้อยละ 3 กำจัดการผูกขาดการค้าของพระมหากษัตริย์ และให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับ
อังกฤษ ไม่นาน ชาติตะวันตกอื่น ๆ ก็ได้เรียกร้องและได้สัมปทานที่คล้ายกัน
   ไม่นาน พระองค์ก็ทรงตระหนักว่า ภัยคุกคามต่อสยามแท้จริงนั้นมาจากฝรั่งเศส มิใช่อังกฤษ อังกฤษสนใจในประโยชน์พาณิชย์ แต่ฝรั่งเศสสนใจ สร้างจักรวรรดิอาณานิคม ฝรั่งเศสยึดครองไซ่ง่อนใน พ.ศ. ๒๔๐๒  และ พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้สถาปนารัฐในอารักขาเหนือเวียดนามตอนใต้และกัมพูชาตะวันออก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหวังว่าอังกฤษจะปกป้องสยามหากพระองค์พระราชทานสัมปทานเศรษฐกิจตามที่ต้องการ แต่เหตุการณ์ในรัชกาลต่อมาได้พิสูจน์แล้วว่า ความหวังของพระองค์เป็นเพียงภาพลวงตา แต่ก็เป็นจริงที่อังกฤษมองสยามเป็นรัฐกันชนที่มีประโยชน์ระหว่างพม่าและมลายูของอังกฤษกับอินโดจีนฝรั่งเศส
     การปฏิรูป
   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๑๑ และสืบราชบัลลังก์ต่อโดยเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ วัย ๑๕ ชันษา เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สยามพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาอย่างตะวันตกมาอย่างสมบูรณ์ ในตอนแรกรัชสมัยของพระองค์ถูกครอบงำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษนิยมแต่เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา พระองค์ก็ทรงเข้าปกครองโดยตรง พระองค์ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษา  ในพระองค์ ระบบศาลและสำนักงบประมาณอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงประกาศว่า ความเป็นทาสจะค่อย ๆ ถูกเลิกไปและจำกัดพันธะหนี้สิน ช่วงแรก เจ้านายและผู้มีแนวคิดอนุรักษนิยมพระองค์อื่นสามารถขัดขวางวาระการปฏิรูปของพระมหากษัตริย์ได้ แต่เมื่อเจ้านายรุ่นเก่าถูกแทนที่ด้วย เจ้านายรุ่นใหม่และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก การขัดขวางก็จางลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพันธมิตรอันทรงพลังใน
   พระอนุชา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลังปัจจุบัน) พระองค์แรก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงจัดระเบียบรัฐบาลภายในและการศึกษา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เป็นราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศกว่า ๓๘ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการเสด็จเยือนยุโรปเพื่อทรงศึกษาระบบรัฐบาล ในการถวายความเห็น พระมหากษัตริย์ทรงจัดตั้งการปกครองแบบรัฐสภา สำนักงานตรวจสอบบัญชีและกระทรวงธรรมการ (ดูแลการศึกษา) สถานะกึ่งปกครองตนเองของเชียงใหม่สิ้นสุดลง และกองทัพถูกจัดระเบียบใหม่และทำให้ทันสมัย
    การสละการอ้างสิทธิเหนือดินแดนของสยามในรัชกาลที่ ๕
   พ.ศ. ๒๔๓๖ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสในอินโดจีนใช้ข้อพิพาทพรมแดนเล็กน้อยเพื่อปลุกปั่นวิกฤตการณ์ เรือปืนฝรั่งเศสปรากฏขึ้นที่กรุงเทพมหานคร และเรียกร้องให้โอนดินแดนลาวที่อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขออังกฤษ แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษกราบทูลพระองค์ให้ระงับด้วยเงื่อนไขใดก็ตามที่พระองค์จะทรงได้รับ และพระองค์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมทำตาม ท่าทีเดียวของอังกฤษคือ ความตกลงกับฝรั่งเศสรับประกันบูรณภาพของสยามส่วนที่เหลือ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน สยามยอมยกการอ้างสิทธิ์เหนือรัฐฉานทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าแก่อังกฤษ
   อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสยังคงกดดันสยาม และใน พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๕๐ ก็ได้ก่อวิกฤตการณ์ขึ้นอีกหน หนนี้สยามจำต้องโอนดินแดนทางฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบางและรอบจำปาศักดิ์ทางตอนใต้ของลาว ตลอดจนกัมพูชาตะวันตก ให้อยู่ในการควบคุมของฝรั่งศส อังกฤษเข้าไกล่เกลี่ยเพื่อกันมิให้ฝรั่งเศสระรานสยามอีก แต่ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ สยามจำต้องจ่ายราคาเป็นการยอมรับอธิปไตยของอังกฤษเหนือไทรบุรี กลันตัน  ปะลิสและตรังกานู  ภายใต้สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. ๒๔๕๒ "ดินแดนที่เสียไป" ทั้งหมดเหล่านี้อยู่ที่ขอบเขตอิทธิพลของสยามและไม่เคยกลับ มาอยู่ภายใต้การควบคุมของสยามอย่างรัดกุมอีกเลย แต่ถูกบังคับให้สละการอ้างสิทธิ์ทั้งหมดเหนือดินแดนเหล่านี้เป็นการทำให้พระมหากษัตริย์  และประเทศอัปยศ และเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐0 วิกฤตการณ์เหล่านี้ถูกรัฐบาล ที่เป็นชาตินิยมเพิ่มขึ้น  ใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการถือสิทธิ์ของตนต่อตะวันตกและประเทศเพื่อนบ้าน
   ขณะเดียวกัน การปฏิรูปดำเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชซึ่งอิงความสัมพันธ์ของอำนาจเป็นรัฐชาติรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางสมัยใหม่ ขบวนการดังกล่าวเพิ่มพูนขึ้นภายใต้รัชสมัยพระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งล้วนแต่ได้รับการศึกษาในยุโรปทั้งสิ้น ทางรถไฟและสายโทรเลขเชื่อมจังหวัดที่แต่ก่อนเคยห่างไกลและกึ่งปกครองตนเอง สกุลเงินถูกผูกติดกับมาตรฐานทองคำและระบบการจัดเก็บภาษีสมัยใหม่แทนที่การรีดภาษีตามอำเภอใจและราชการแรงงาน อย่างในอดีต ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ การขาดแคลนข้าราชการที่ผ่านการฝึกฝน และจำต้องจ้างชาวต่างชาติหลายคนกระทั่งสามารถสร้างโรงเรียนใหม่และมีการผลิตบัณฑิตออกมา จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ หลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว อย่างน้อยสยามได้กลายมาเป็นประเทศกึ่งสมัยใหม่ และยังหนีการปก ครองแบบอาณานิคมต่อไป
   การกลายเป็นชาติสมัยใหม่
   หนึ่งในการปฏิรูปของรัชกาลที่ ๕ คือ การนำกฎหมายการสืบพระราชสันตติวงศ์แบบยุโรปมาใช้ ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรส จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อมา พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยทหารแซนเฮิสต์ และที่ออกซ์ฟอร์ด ปัญหาหนึ่งของสยาม คือ ช่องว่างที่กว้างขึ้นระหว่างพระราชวงศ์ที่มีแนวคิดแบบตะวันตกกับชนชั้นสูงและประชาชนที่เหลือของประเทศ ต้องใช้เวลา  อีก ๒๐ ปี การศึกษาแบบตะวันตกจึงขยายไปยังข้าราชการส่วนที่เหลือและกองทัพ อันเป็นแหล่งความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้
   สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปฏิรูปทางการเมืองอยู่บ้าง แต่พระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งทรงเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีและทรงแต่งตั้งพระประยูรญาติดำรงตำแหน่งในทุกหน่วยงานของรัฐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีการศึกษาแบบตะวันตก ทรงทราบว่า ส่วนที่เหลือของชาติใหม่นี้ไม่อาจถูกตัดออกจากรัฐบาลได้ตลอดไป แต่พระองค์ไม่ศรัทธาในประชาธิปไตยแบบตะวันตก พระองค์ทรง
ปรับการสังเกตความสำเร็จของพระมหากษัตริย์อังกฤษในการปกครองอินเดีย โดยทรงปรากฏพระองค์แก่สาธารณะบ่อยครั้งขึ้นและทรงริเริ่มพระราชพิธีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี พระองค์ยังดำเนินแผนการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยต่อจากพระราชชนก มีการยกเลิกพหุสามีภริยา ริเริ่มการศึกษา ขั้นประถมแบบบังคับ และใน พ.ศ. ๒๔๕๙ มีการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันเป็นจุดเริ่มต้นของอุดมศึกษา ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแหล่ง
เพาะกลุ่มปัญญาชนใหม่ของสยาม
   กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองหลวงของชาติมากขึ้นทุกที รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มโครงการพัฒนาทั่วประเทศหลายอย่าง แม้จะประสบปัญหาด้านการเงิน มีถนน สะพาน ทางรถไฟ โรงพยาบาลและโรงเรียนผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศด้วยงบประมาณแห่งชาติจากกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งอุปราชที่เพิ่งตั้งใหม่ถูกแต่งตั้งไปประจำมณฑลเทศาภิบาล เป็นผู้แทนของพระมหากษัตริย์คอยกำกับเรื่องการปกครองในจังหวัดต่าง ๆ
  พระองค์ยังได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า ซึ่งเป็นองค์การกำลังกึ่งทหารของสยามที่มีการผสมรวม "คุณลักษณะที่ดี" เข้าเพื่อส่งเสริมอุดมการณ์ของชาติ พระองค์ยังทรงจัดตั้งสาขาเยาวชนซึ่งดำรงมาถึงปัจจุบันเป็นคณะลูกเสือแห่งชาติ พระองค์ทรงใช้เวลามากในการพัฒนาขบวนการดังกล่าว ด้วยทรงเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างพันธะระหว่างพระองค์กับพลเมืองที่จงรักภักดี เหล่าอาสาสมัครที่ตั้งใจสละชีพเพื่อชาติและพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังเป็นหนทางหนึ่งที่พระองค์จะเลือกและให้เกียรติแก่ผู้ที่พระองค์โปรด ขบวนการกึ่งทหารดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่หายไปเมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๐ แต่มีการฟื้นฟูและวิวัฒนามาเป็นกองอาสารักษาดินแดน หรือเรียก ลูกเสือชาวบ้าน   รูปแบบรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแตกต่างจากรัฐบาลในพระราชชนก ช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ พระมหากษัตริย์ใช้คณะของ
พระราชชนกและกิจวัตรประจำวันของรัฐบาลยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ฉะนั้นกิจการประจำวันที่กำลังดำเนินอยู่ส่วนมากจึงอยู่ในมือของผู้มีประสบการณ์และความสามารถ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้ทำให้สยามก้าวหน้า เช่น การพัฒนาแผนแห่งชาติให้การศึกษาแก่ประชากรทั้งหมด การจัดตั้งคลินิกที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษฟรี และการขยายทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง
   อย่างไรก็ดี ตำแหน่งอาวุโสค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยพรรคพวกของพระมหากษัตริย์ เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ คณะรัฐมนตรีครึ่งหนึ่งเป็นหน้าใหม่ ที่โดดเด่นเห็นจะเป็นการเข้ามาของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) แทนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพในตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย กรมพระยาดำรงราชานุภาพลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลอย่างเป็นทางการว่าสุขภาพไม่ดี แต่อันที่จริงเป็นเพราะการไม่ลงรอยกับพระมหากษัตริย์
     กำลังรบนอกประเทศของสยามระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในกรุงปารีส พ.ศ. ๒๔๖๒  ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ สยามประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมันและออสเตรีย -ฮังการี โดยหลักเพื่อให้เป็นที่พอใจของอังกฤษและฝรั่งเศส การมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในเชิงสัญลักษณ์ของสยามทำให้ได้ที่นั่งในการประชุมสันติภาพแวร์ซาย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงใช้โอกาสนี้อภิปรายเรื่องการยกเลิกสนธิสัญญาเก่าสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ และการฟื้นฟูอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของสยาม สหรัฐอเมริกาตกลงยกเลิกสนธิสัญญาเหล่านั้นใน พ.ศ. ๒๔๖๓ ขณะที่ฝรั่งเศสและอังกฤษชะลอออกไปกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๘  ชัยชนะนี้ทำให้พระมหากษัตริย์ได้รับความนิยมบ้าง แต่ความนิยมในพระองค์ได้ลดลงไปจากความไม่พอใจในประเด็นอื่น เช่น ความฟุ่มเฟือย ซึ่งกลายมาเป็นที่สังเกตได้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงหลังสงครามส่งผลกระทบต่อสยามใน พ.ศ. ๒๔๖๒
   พระองค์ไม่มีทายาทที่เป็นโอรส ฉะนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ด้วยพระชนมายุเพียง ๔๔ พรรษา สถาบันพระมหากษัตริย์ก็อยู่ในสภาพที่อ่อนแอแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชา เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา
    การสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
   ความแตกต่างจากพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอ่านเอกสารสำคัญของรัฐแทบทั้งหมดที่ผ่านมาทางพระองค์อย่างขันแข็ง ภายในครึ่งปี มีรัฐมนตรีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้ง ๑๒ คน เหลือเพียง ๓ คน ที่เหลือถูกแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ในแง่หนึ่ง การแต่งตั้งนี้ทำให้ผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์กลับมาดำรงตำแหน่ง แต่อีกแง่หนึ่ง เป็นการส่งสัญญาณถึงการหวนคืนสู่
คณาธิปไตยโดยราชวงศ์ ชัดเจนว่า พระองค์ทรงต้องการแสดงถึงข้อแตกต่างอย่างชัดเจนกับรัชกาลที่ 6 ที่ถูกทำให้เสียความน่าเชื่อถือ และตัวเลือก ผู้มาดำรงตำแหน่งสำคัญเหมือนจะถูกชี้นำโดยพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูรัฐบาลแบบพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
   มรดกเริ่มต้นที่พระองค์ทรงได้รับจากพระเชษฐา คือ ปัญหาชนิดที่กลายมาเรื้อรังในรัชกาลที่ ๖ ปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ เศรษฐกิจ การเงินของรัฐอยู่ในความยุ่งเหยิง งบประมาณติดลบอย่างหนัก และบัญชีของพระมหากษัตริย์เต็มไปด้วยหนี้สินและธุรกรรมที่น่าสงสัย และการที่ประเทศที่เหลือในโลกต่างประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็มิได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
   พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เป็นนวัตกรรมเชิงสถาบันมีเจตนาเพื่อฟื้นฟูความความเชื่อมั่นในพระมหากษัตริย์และรัฐบาล คณะองคมนตรีนี้ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีประสบการณ์และทรงพระปรีชาสามารถ รวมทั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่ดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนานด้วย เจ้านายเหล่านี้ค่อย ๆ ถือสิทธิ์เพิ่มอำนาจโดยผูกขาดตำแหน่งรัฐมนตรีหลักทั้งหมด เจ้านายหลายพระองค์รู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของพวกตนที่ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดในรัชกาลก่อน แต่โดยทั่วไปไม่เป็นที่ชื่นชอบนัก
   ด้วยการช่วยเหลือของอภิรัฐมนตรีนี้ พระมหากษัตริย์ทรงฟื้นฟูเสถียรภาพเศรษฐกิจ แม้จะด้วยปริมาณการลดข้าราชการจำนวนมากและการตัดเงินเดือนข้าราชการที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน และเป็นหนึ่งในชนวนเหตุของการปฏิวัติ
พ.ศ. ๒๔๗๕
   จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหันความสนพระทัยไปยังปัญหาอนาคตการเมืองในสยาม พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลใจจากตัวอย่างอังกฤษ มีพระราชประสงค์ให้สามัญชนมีสิทธิ์มีเสียงในการงานของประเทศโดยการตั้งรัฐสภา มีพระบรมราชโองการให้ร่างรัฐธรรมนูญแต่พระราชประสงค์ของพระองค์ทรงถูกที่ปรึกษาปฏิเสธ เพราะรู้สึกว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย
   เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระองค์ทรงตกลงจะนำรัฐธรรมนูญมาใช้ ซึ่งพระองค์จะทรงแบ่งพระราชอำนาจกับนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงในกองทัพ วันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ขณะที่พระมหากษัตริย์แปรพระราชฐาน ณ ชายทะเล กองทหารกรุงเทพมหานครก่อการกำเริบและยึดอำนาจ นำโดยผู้ก่อการ ๔๙ คน และเป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ๑๕๐ กว่าปี
   ระบบไพร่
  อาณาจักรรัตนโกสินทร์ยังคงใช้ระบบไพร่ตามอาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรธนบุรี แต่พบว่าจำนวนประชากรในอาณาจักรเพิ่มมากขึ้น ระยะเวลาการเกณฑ์แรงงานไพร่จึงลดลงเหลือ ๔ เดือนต่อปี และ ๓ เดือนต่อปีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทั้งนี้ ทางการได้หันไปจ้างแรงงานกุลีจากจีนมาทำงานมากกว่าการใช้ไพร่เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีกว่า ระบบไพร่จึงมีความสำคัญน้อยลงจนกระทั่งถูกยกเลิกไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
   พ.ศ. ๒๔๕๐
   เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ (พ.ศ. ๒๔๔๙ เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕  พร้อมด้วยสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ ซึ่งลงนามโดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายวี คอลแลง (เดอ ปลังซี) โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้
   รัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ กับเมืองศรีโสภณ ให้แก่กรุงฝรั่งเศส
   รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมลิง ไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม
    พ.ศ. ๒๔๕๒
   เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ (พ.ศ. ๒๔๕๑ เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลอังกฤษได้ร่วมกันลงนามในสัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ  และสัญญาว่าด้วยเขตแดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ ๑๐ มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ คฤสตศักราช ๑๙๐๙ ซึ่งลงนามโดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายราลฟ์ แปชยิด โดยมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้
   รัฐบาลสยามยอมโอนเมืองกลันตัน เมืองตรังกานู เมืองไทรบุรี เมืองปลิศ และเกาะที่ใกล้เคียงเมืองเหล่านั้นให้แก่รัฐบาลอังกฤษ
    พ.ศ. ๒๔๘๔
   ภายหลังกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส ณ กรุงโตเกียว โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้
   เขตแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสจากเหนือลงมาให้เป็นไปตามแม่น้ำโขงตั้งแต่จุดที่รวมแห่งเขตแดนประเทศไทย อินโดจีนฝรั่งเศส และพม่า [สามเหลี่ยมทองคำ] จนถึงจุดที่แม่น้ำโขงตัดเส้นขนานที่สิบห้า บริเวณเมืองจำปาศักดิ์  โดยใช้เส้นกลางร่องน้ำเดินเรือที่สำคัญยิ่ง เป็นเขตแดน แต่เกาะโขงยังคงเป็นของอินโดจีนฝรั่งเศส ส่วนเกาะโขนตกเป็นของประเทศไทย
   เขตแดนจะลากต่อไปทางใต้ บรรจบกับเส้นเที่ยงซึ่งผ่านจุดที่พรมแดนระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงกมบต) [บริเวณเมืองธาราบริวัตร์ ตรงข้ามเมืองสตึงแตรง จนถึงปากน้ำสตึงกมบต]  ในทะเลสาบเขมร เขตแดนได้แก่เส้นโค้งวงกลมรัศมี ๒๐ กิโลเมตร จากจุดที่ระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงกมบต) ไปบรรจบจุดที่พรมแดนระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิสัตว์จดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงดนตรี)
   ต่อจากปากน้ำสตึงดนตรีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เขตแดนใหม่จะเป็นไปตามพรมแดนระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิสัตว์จนถึงจุดที่พรมแดนนี้บรรจบกับเขตแดนระหว่างไทยและอินโดจีนฝรั่งเศส (เขากูป) ภายใต้อนุสัญญานี้ อาณาเขตที่จะโอนมาเป็นของประเทศไทย ประกอบไปด้วยแคว้นหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แคว้นนครจำปาศักดิ์ฝั่งขวาแม่น้ำโขง เมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง โดยมีพื้นที่รวมประมาณ ๕๑๓๒๖   ตารางกิโลเมตร โดยรัฐบาลไทยได้เข้าไปจัดระเบียบการปกครองและบริหารดินแดนดังกล่าวเสมือนดินแดนในประเทศไทยเป็นเวลากว่า ๕ ปีครึ่ง
   ต่อมาในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลไทยยังได้รับเกาะดอนต่างๆ เป็นจำนวนถึง ๗๗ แห่งในลำแม่น้ำโขงตามความตกลงกำหนดเส้นเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส
   พ.ศ.๒๔๘๙
   ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  สงบลง เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙  รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้ อนุสัญญากรุงโตเกียว ฉบับวันที่ ๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ เป็นอันยกเลิก และสถานภาพก่อนอนุสัญญานั้นเป็นอันกลับสถาปนาขึ้น

  บุคคลสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์

   ๑.พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

   ๒.พระพุทธเลิศหล้านภาลัย

   ๓.พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

   ๔.พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

   ๕.พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

   ๖.พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

   ๗.พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

   ๘.พระอานันทมหิดล

   ๙.พระภูมิพลอดุลยเดช

          พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

   
        พระราชประวัติรัชกาลที่ ๑
   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงพระนามเต็มว่า" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตน ชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิ บดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพา ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "   เรียกย่อๆว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"
   ทรงประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙  พระราชบิดาทรงพระนามว่า "ออกอักษรสุนทรศาสตร์"   พระราชมารดาทรงพระนามว่า "ดาวเรือง "  มีพระนามเดิมว่า "ทองด้วง"  มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด ๕ คน คือ:-
     -คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )
     -คนที่ ๒ เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ ๓ )
     -คนที่ ๓ เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )
      -คนที่ ๔ เป็นชายชื่อ "ทองด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
      -คนที่ ๕ เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
   เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร
  พระชนมายุ ๒๑ พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วสึกออกมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
  พระชนมายุ ๒๕ พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดา "นาค" ซึ่งเป็นธิดาของ
ท่านเศรษฐี  ที่ชื่อว่า "ทอง"   และ ภรรยาชื่อว่า " ส้ม "
  พระชนมายุ ๓๒ พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อนตําแหน่งดังนี้
     -พระชนมายุ ๓๓ พรรษา พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
     -พระชนมายุ ๓๔ พรรษา พ.ศ. ๒๓๑๓ ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายก เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
     -พระชนมายุ ๓๕ พรรษา พ.ศ. ๒๓๑๔ ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็นแม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ ๒
     -พระชนมายุ ๔๑ พรรษา พ.ศ. ๒๓๒๑ ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  เมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
     -พ.ศ. ๒๓๒๓ เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจลจึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325
พระองค์ทรงปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มี   พระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบาง ยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มี
       การมหรสพ
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักร  เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และปราบดาภิเษกเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน   พ.ศ. ๒๓๒๕ ( วันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ คํ่า ปีขาล ) ขณะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติทรง  มีพระชนมายุได้ ๔๕ ปี ทรงโปรดให้สถาปนา  พระอนุชา ( เจ้าพระยาสุรสีห์ ) เป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระนัดดา ( พระยาสุริยอภัย ) เป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง ถัดจากนั้นได้ประกอบกิจการที่สําคัญคือ  สร้างกรุงเทพมหานคร
   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ( วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ คํ่า  ปีขาล ) คือ ทําพิธียกเขาเอก " เสาหลักเมือง" กรุงเทพมหานครได้ลงมือก่อสร้างอย่าง จริงจังเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๖ ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีชื่อเต็มว่า   " กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ "
          สาเหตุที่ย้ายราชธานีเพราะ
    ๑. พระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรี มีวัดขนาบทั้งสองข้างไม่เหมาะแก่การที่จะขยายพระราชวังออกไปได้อีก
    ๒. ที่ตั้งพระราชวังเดิมอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นที่ที่นํ้าเซาะ
    ๓. กรุงเทพมหานครอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นพื้นที่กว้างขวาง เป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การป้องกันตัวเองจากข้าศึก
           การสร้างพระบรมมหาราชวัง
   พ.ศ. ๒๓๒๖   สร้างพระนคร ได้สร้างพระราชมณเฑียรสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล
   พ.ศ. ๒๓๒๗ สร้างพระมหาปราสาท สร้างวัดพระแก้วมรกต ( และได้อัญเชิญพระแก้วมรกต  จากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรีมาสถิตอยู่ภายในวัด
พระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกับได้อัญเชิญพระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทองกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยามาสร้างเป็นพระรูปหุ้มเงินปิดทองประดิษฐานไว้ในพระวิหารทรงพระราชทานนามวิหารแห่งนี้ว่า "หอพระเทพบิดร" ปฎิสังขรณ์วัดสลัก
  พ.ศ. ๒๓๒๘ หล่อปืนใหญ่ขึ้น ๗ กระบอก สร้างวังให้พวกเจ้าเขมรที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขุดคลองมหานาค ขุดคูเมือง สร้างป้อมเชิงเทินขึ้นมากมาย
            ฟื้นฟูพระราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
    การปกครอง หลังจากปราบดาภิเษกแล้ว ทรงให้มีการตั้งข้าราชการที่มีความดีความชอบในราชการให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่น้อยตามฐานะทรงตั้งราชการวังหลวงขึ้น
   ด้านกฎหมาย ได้ทรงชําระกฎหมาย เรียกว่ากฎหมายตรา  ดวง ( คือ ตราราชสีห์  คชสีห์ บัวแก้ว ) เพื่อสําหรับวินิจฉัยอรรถคดี และบริหาร ราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย
       การค้าขาย     
   การค้าขายกับต่างประเทศ ผลประโยชน์ของประเทศไทยที่ได้รับขณะนั้นได้จากภาษีอากร เช่น อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด ภาษีค่านํ้าเก็บตามเครื่องมือ  อีกทั้งส่วนสินค้าต่างๆ ที่ให้ผลประโยชน์มาก ก็คือการค้าสําเภาอันสืบเนื่องมากแต่สมัยกรุงธนบุรี การค้ากับต่างประเทศได้แก่ประเทศจีน ลังกา อินเดีย มลายู สิงคโปร์ มาเก๊า
       การสงคราม
   การสงคราม การสงครามกับพม่าในสมัยพระเจ้าปดุง โดยพม่าได้แบ่งกองทัพเข้าโจมตีไทยหลายทาง คือ เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ด่านพระเจดีย์สามองค์ ชุมพร ไชยา และ เมืองถลาง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงปรึกษาการต่อสู้กองทัพพม่า แล้วโปรดฯ ให้แบ่งกองทัพเป็น ๔ ทัพ  คือ:-
    -กองทัพที่ ๑ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นแม่ทัพไปขัดตาทัพที่เมืองนครสวรรค์
    -กองทัพที่ ๒ กรมพระราชบวรสถานมงคล ไปตั้งรับที่เมืองกาญจนบุรี
    -กองทัพที่ ๓ เจ้าพระยาธรรมากับเจ้าพระยายมราชคอยคุมทางลัาเลียงติดต่อกองทัพ
    -กองทัพที่ ๔ เป็นกองทัพหลวง คอยช่วยศึกถ้าหากด้านใดเพลี้ยงพลํ้าก็จะยกไปช่วยทันที การสงครามครั้งนี้ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีไทยทีละทัพ
ก็ถูกไทยตีแตกไปทุกทัพด้วยหลักยุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า
      สงครามกับพม่า ( พม่าล้อมเมืองถลาง พ.ศ. ๒๓๒๘ )
   กองทัพพม่ายกมาตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งโดยทางเรือแล้วจึงข้ามไปตีเมืองถลางขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรม คุณหญิงจันทร์ (ภรรยาเจ้าเมือง) กับนางมุก (น้องสาวคุณหญิงจันทร์) เกณฑ์ไพร่พลชาวเมืองช่วยกันป้องกันเมืองถลาง ทัพพม่าไม่สามารถจะเอาเมืองถลาง สู้รบกันประมาณเดือนเศษพม่าขาดเสบียงอาหาร จึงเลิกทัพกลับไป  เมื่อข่าวทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแต่งตั้งให้คุณหญิงจันทร์เป็นท้าวเทพกษัตรี  ส่วนนางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
      สงครามกับพม่า ( ศึกท่าดินแดง พ.ศ. ๒๓๒๙ )
    สงครามครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากสงครามครั้งที่พม่าล้อมเมืองถลาง พระเจ้าปดุงยกกอง  ทัพเข้ามาทางด่วนเจดีย์สามองค์ด้านเดียว เนื่องจากพระเจ้าปดุงรู้สึกว่าพระองค์ดําเนินการแผนผิด เพราะตั้งแต่ทําสงครามมาไม่เคยแพ้ใครมาก่อนจึงพยายามที่จะตีไทยให้ได้ จึงรวบรวมกําลังผู้คนตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ และให้พระมหาอุปราชคุมคน ๕ หมื่นคน  ตั้งมั่นอยู่ที่ตําบลสามสบ ท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯเป็นแม่ทัพหน้า และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นจอมทัพหลวงทัพทั้งสองเข้าตีพร้อมกัน พม่าทิ้งค่ายแตกหนีทุกค่าย กองทัพไทยไล่ฆ่าฟัน และจับเชลยได้เป็นอันมาก ได้ทั้งช้าง ม้า เสบียงอาหาร และอาวุธ ตลอดจนปืนใหญ่
      สงครามกับพม่า ( ลําปางและป่าซาง พ.ศ. ๒๓๓๐ )
    การที่พม่าแพ้ไทย ประเทศราชของพม่าก็เริ่มทําตัวกระด้างกระเดื่อง พม่าต้องใช้เวลาปราบ จากนั้นพม่าก็เลยมาตีเมืองป่าซางและลําปาง ซึ่งเป็นเขตไทยขณะที่ตีอยู่นั้น ข่าวทราบถึงกรุงเทพฯ ซึ่งกําลังเตรียมทัพจะไปตีเมืองทวายต้องเปลี่ยนแผน รัชกาลที่ ๑  โปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ ไปช่วยเมืองทั้งสองโดยให้คนที่อยู่ในตัวเมืองตีด้านในทหารที่ไปช่วยรบตีด้านนอก เสด็จจากสงครามครั้งนี้กรมพระราชวังบวรฯได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์
    ไทยตีเมืองทวาย พ.ศ. ๒๓๓๐
  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตั้งพระทัยจะตีเมืองทวาย โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คุมพล ๓ หมื่น ยกไปทางเหนือส่วนพระองค์เอง คุมพล 2 หมื่น โดยกระบวนเรือทางลํานํ้าไทรโยคขึ้นยกที่ท่าตะกั่วข้ามทิวเขาบรรทัด ซึ่งมีความลําบาก หนทางกันดาร ทําให้คนในทัพเหนื่อยล้าอิดโรยจึงตีเมืองไม่ได้ ต้องเสด็จยกทัพกลับ ภายหลังต่อมาอีก ๔ ปี เมืองทวาย  เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด ได้มาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย
         การรบที่เมืองทวาย พ.ศ.๒๓๓๖
    รัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระราชดําริจะรบกับพม่าให้ได้ ได้ตั้งพระทัยใช้เมืองทวายเป็นฐานทัพและรวบรวมเสบียงอาหาร พระองค์ทรงยกทัพทางบก และโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯบัญชาการทัพเรือแต่ว่าไปถึงเมืองทวายเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด ชาวเมืองกลับไปเข้าข้างพม่า ขณะนั้นพม่าก็ยกกองทัพมาตีทวายกลับคืนได้เกิดกบฎขึ้นในเมืองมะริดและเมืองทวาย กองทัพไทยจําต้องทําสงครามทั้งสองด้าน ไทยขาดแคลนเสบียงอาหาร เพราะอาศัยเมืองทั้งสามไม่ได้จึงต้องยกกองทัพกลับไป
        พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๔๐
    พม่ายกทัพมาคราวนี้ ๗ ทัพ โดยมุ่งหมายจะตีลานนาไทยอีก รัชกาลที่ ๑ โปรดให้กรมพระวังบวรฯ ทรงประชวรเป็นโรคนิ่ว จึงต้องหยุดประทับอยู่ที่นั่น ทรงโปรดให้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระยาวังหลังติดตามเสด็จขึ้นไปช่วยทรงบัญชาการรบจนมีชัยชนะทรงขับไล่พม่าออกจากแคว้นลานนาจนหมด       
          ศาสนา
    พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์วัดวาอารามและได้ทรงยกสถาปนาตําแหน่งพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทําสังคายนาสอบสวนพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง
       การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อนบ้านและการติดต่อกับญวน พ.ศ. ๒๓๒๕
    กษัตริย์ประเทศญวนขณะนั้นก็คือ องเชียงสือ ได้ลี้ภัยจากพวกกบฎแห่งเมืองไกเชิงได้พามารดาเข้ามาอยู่ในเมืองไทย  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา
โลกมหาราช ทรงอุปถัมภ์ไว้ และทรงช่วยเหลือเสบียงอาหารและสนับสนุนพร้อมทั้งอาวุธยุทธภัณฑ์ต่อมาองค์เชียงสือได้เข้าไปปราบปรามกู้บ้านเมืองได้และตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้ายาลอง"
   การติดต่อกับจีน ติดต่อในฐานะการค้า การติดต่อกับเขมร  นักองเองมกุฎราชกุมารแห่งประเทศเขมร  ยังทรงอ่อนวัย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช ( แบน ) เป็นผู้สําเร็จราชการประเทศเขมร ทรงชุบเลี้ยงอย่างพระราชบุตรบุญธรรมจนเวลาผ่านไปได้ ๑๒ ปี จึงได้กลับไปครองประเทศเขมร ทรงพระนามว่า " สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี " และโปรดให้พระยายมราช เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ครองเมืองพระตะบองขึ้นกับไทย ผู้นี้เป็นต้นตระกูล " อภัยวงศ์ "
     การติดต่อกับประเทศตะวันตก ประเทศโปรตุเกส  เป็นชาติแรกที่มาติดต่อกับไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ องตนวีเสนได้อัญเชิญพระราชสาส์นเข้ามาเจริญพระราชไมตรี รัชกาลที่ ๑ โปรดให้จัดการต้อนรับอย่างสมเกียรติ
     ประเทศอังกฤษ มีอิทธิพลทางใต้ของไทยและฟรานซิสไลท์ คนอังกฤษได้เพียรขอเฝ้ารัชกาลที่ ๑ ทูลเกล้าถวายดาบที่ประดับพลอยกับปืนด้ามเงินกระบอกหนึ่ง ต่อมาทรง แต่งตั้งให้เป็นพระยาราชกัปตัน
       พระราชนิพนธ์ งานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑
   - กลอนนิราศท่าดินแดง
   - กลอนบทละครเรื่องอิเหนา
   - กลอนบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ต่อจากสมัยกรุงธนบุรี
   - กลอนบทละครเรื่อง อุณรุธ
   - กฎหมายตราสามดวง
             เสด็จสวรรคต
   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครองราชสมบัติได้ ๒๗ ปีเศษ ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา ได้เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวัน
ที่  ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ ขณะนั้นทรงพระชนมายุได้ ๗๔ พรรษา พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น ๔๒ พระองค์

            พระพุทธรูปสำคัญในรัชกาลที่ ๑

                       ประวัติพระแก้วมรกต

        
                 นี่คือพระแก้วมรกตองค์จริง

   พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
   พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย  (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ. ๑๙๗๗ (หรือ ค.ศ. ๑๔๓๔) ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์
   หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียง ใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง

   ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรง
อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว
   ตำนานพระแก้วมรกต
   พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช ๕๐๐ โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม ๑๐๐๐ ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) นำมาจำหลักเป็นพระพุทธรูปถวายให้พระนาคเสน ถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ๗ พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนได้พยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ
   พุทธศักราช ๘๐๐ โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ
   พุทธศักราช ๑๐๐๐ โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี)  หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็น กษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง มีพระราชโองการ ให้ส่งพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ ไปยังลังกาทวีป เพื่อขอคัดลอกพระไตรปิฎกและขอพระแก้วมรกตกลับมาด้วย แต่เรือที่บรรทุกพระแก้วมรกตถูกพายุพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน
  พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา สั่งให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย
   หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนคร
อโยธยาอีกหลายรัชสมัย
  ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีก หลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต่อมา เจ้ามหาพรหมพระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าผู้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือสามหัวเมือง คือเชียงราย เชียงแสน และเมืองฝางได้ลี้ภัยจากศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่ ไปอาศัยอยู่กับพระยาญานดิส เจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมาเมื่อจะกลับไปเมืองเชียงราย ก็ได้ทูลขอพระแก้วมรกตต่อพระเจ้ากำแพงเพชร พระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้เจ้ามหา
พรหม
   เมื่อเจ้ามหาพรหมชราภาพลง ด้วยความเป็นห่วงในพระแก้วมรกต จึงได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงรายโดยไม่มีใครรู้ จนกระทั่งเกิดอัสนีบาตลงเจดีย์ตามที่ปรากฏในพงศาวดารของล้านนา
    ประวัติพระแก้วมรกต
พระแก้วมรกตพระองค์นี้ เทวดาสร้างถวายพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีนามว่า พระนาคเสนเถระ แห่งเมืองปาตลีบุตร ในอินเดีย พระนาคเสน ได้อธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระแก้วมรกต ๗ พระองค์ http://winne.ws/n341
   ตามประวัติกล่าวว่า พระแก้วมรกตพระองค์นี้ เทวดาสร้างถวายพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีนามว่า พระนาคเสนเถระ แห่งเมืองปาตลีบุตร ในอินเดีย พระนาคเสน ได้อธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระแก้วมรกต ๗ พระองค์ คือ ในพระโมฬี พระนลาฏ พระอุระ พระอังสาทั้ง ๒ ข้าง พระชานุทั้ง ๒ ข้าง ต่อมาพระแก้วมรกตได้ตกไปอยู่ที่เมืองลังกา เมืองกัมโพชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ เมืองกำแพงเพชร และเมืองเชียงราย ตามลำดับ เจ้าเมืองเชียง รายได้เอาปูนทาแล้วลงรักปิดทอง นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงราย เพื่อซ่อนเร้นจากศัตรู
   เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๙ เกิดฟ้าผ่าที่องค์เจดีย์ ชาวเมืองได้เห็นพระพุทธรูปปิดทองปรากฎอยู่ คิดว่าเป็นพระพุทธรูปศิลาทั่วไป จึงได้อัญเชิญไปไว้ในวิหารในวัดแห่งหนึ่ง ต่อมาปูนที่ลงรักปิดทองได้กะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เห็นเป็นเนื้อแก้วสีเขียว จึงได้แกะปูนออกทั้งองค์ จึงพบว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งองค์ ผู้คนจึงพากันไปนมัสการ พระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงจัดกระบวนไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาเชียง ใหม่ แต่ช้างที่ใช้อัญเชิญได้หันเหไปทางลำปางถึงสามครั้ง จึงต้องยอมให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่ นครลำปางถึง ๓๒ ปี ที่วัดพระแก้ว ยังปรากฎอยู่ถึงปัจจุบันนี้
   เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราชครองเมืองเชียงใหม่ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่เมืองเชียงใหม่ เป็นเวลา ๘๔ ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๔ พระเจ้าไชยเชษฐา โอรสพระเจ้าโพธิสาร ซึ่งเป็นพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้ครองเมืองเชียงใหม่ต่อจากพระอัยกา ครั้นเมื่อพระเจ้าโพธิสารทิวงคต ทางกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐา กลับไปเมืองหลวงพระบาง จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๕ และได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ๑๒ ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๗ ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพะแก้วมรกตไปด้วย พระแก้วมรกต ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์อีก ๒๑๔ ปี
   เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะที่ทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ยกกองทัพ ไปตีได้เมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมกับพระบาง มายังกรุงธนบุรี ได้ประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้วในบริเวณพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้ครองราชย์ที่กรุงรัตนโกสินทร์   เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ทรงโปรดให้ประดิษฐานพระแก้วมรกต ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗

       คำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น เรื่องพระแก้วมรกต
   เรื่องนี้อัตถุปปัตติเหตุเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ พระอุปัชฌาย์อุ่น (พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตฺตโม) วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร) ได้ไปกราบนมัสการฟังเทศน์ และได้นำรูปพระแก้วมรกตขนาด ๒๐ นิ้ว เป็นภาพพิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์ แต่ดูท่านจะลืมทำความสะอาดเพราะมีฝุ่นจับอยู่ ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด้วยความเคารพ   หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นได้ทำความสะอาด โดยนำผ้าสรงน้ำของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ) เอาผ้าเช็ดพื้นเข้าไปช่วยทำความสะอาดด้วย เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่ ท่านหันมาเห็นเข้า พูดว่า
   “อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้หรือ”
    ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน ท่านฯ ก็เลยทำความสะอาดเอง เสร็จแล้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด้วย ท่านเลยเทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก้วมรกตว่า
   “พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม”
   ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า พระแก้วมรกตหล่อที่ลังกาทวีป ผู้เป็นประธานหล่อคือ พระจุลนาคเถระ เป็นชาวลังกา หล่อเมื่อศาสนาล่วงมาได้ ๓๐๐ ปี  ส่วนแก้วนั้น ท่านเล่าเชิงปาฏิหาริย์ พอเริ่มจะหล่อไม่ได้ตั้งใจจะเอาแก้วมรกตเพราะเป็นของหายาก บอกบุญตามแต่ศรัทธา จะเป็นแก้วอะไรก็ได้ ร้อนถึงพระอินทร์อยู่บนสวรรค์ มาอาสาเป็นช่างหล่อ และพระองค์มีแก้วอยู่ดวงหนึ่ง ขออนุโมทนาเป็นกุศลด้วย พระอินทร์ไม่ได้เป็นช่าง แต่ช่างคือเทพบุตรชื่อ วิษณุกรรม ส่วนแก้วก็ไม่ใช่ของพระอินทร์ แต่เป็นแก้วอยู่ในถ้ำจิตรกูฏหรืออินทสารนี้ละ ผู้เล่าไม่มั่นใจ
  ท่านพระอาจารย์ท่านเล่าว่า เป็นแก้วหน่อเนื้อพุทธางกูรประจำภัทรกัปป์ เหลืออยู่ ๒ ลูก มียักษ์รักษา พระอินทร์ไปขอแก้วดวงใหญ่ ซึ่งสุกใสกว่าจากยักษ์ตนนั้น แต่ยักษ์ไม่ให้ บอกว่าไม่ใช่ของเจ้า จึงให้แก้วดวงเล็กมา พระอินทร์นำมาหล่อเป็นผลสำเร็จ แต่ยังมีแก้วเหลือค้างอยู่ที่เรียกว่าแก้วก้นเตา เผาอย่างไรก็ไม่ละลาย พระจุลนาคเถระจึงอธิษฐานบรรจุไว้ใต้ฐาน ปรากฏว่าเป็นกระปุกระปะ ไม่เรียบ
   หล่อเสร็จมีการสมโภช ท่านจุลนาคเถระ ได้อธิษฐานอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ๕ แห่ง คือระหว่างพระขนง ๑ แห่ง พระอังสาทั้งสอง ๒ แห่ง พระเมาลี ๑ แห่ง และพระนาภี ๑ แห่ง ท่านฯ ว่าอย่างนี้
   การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด้วยความรักท่านพระอาจารย์เล่าต่อว่า ได้มีการอัญเชิญจากกรุงลังกาสู่นครศรีธรรมราชโดยทางเรือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำโดยเถรเจ้าป่า (คำว่า เถรเจ้าป่า หมายความถึง พระกัมมัฏฐานที่ชอบออกปฏิบัติภาวนาอยู่ตามป่าเขา) อยู่นครศรีธรรมราชก็ไม่ได้กำหนดว่านานเท่าไร ต่อจากนั้นจึงอัญเชิญไปสู่นครวัด นครธม ประเทศเขมร เพื่อเผยแผ่พระศาสนา นำโดยเถรเจ้าป่าอีกนั่นแหละ
   จากนครวัด นครธม สู่กรุงจันทบุรีศรีสัตตนาคนหุต (ประเทศลาว) ปัจจุบันคือเวียงจันทน์ สาเหตุเกิดกลียุคแย่งราชสมบัติ เถรเจ้าป่าท่านเห็นว่า พระแก้วจะไม่ปลอดภัย จึงได้เอาผ้าห่อแล้วบรรจุลงในบาตร (คงจะเป็นบาตรขนาดใหญ่) เพื่ออำพรางผู้ทุศีลไม่ให้แย่งชิงไป เถรเจ้าป่าองค์นั้นไปอยู่ที่เวียงจันทน์ก็ไม่มีกำหนดปีเหมือนกัน
   จากนครเวียงจันทน์ก็ได้เสด็จสู่นครลำปาง และนครเชียงใหม่ ด้วยสาเหตุแห่งความรัก เนื่องจากเจ้าผู้ครองเวียงจันทน์ได้บุตรเขยเป็นชาวเชียงใหม่ หลังจากนั้นจะนำบุตรีสู่เชียงใหม่ บิดาให้พรบุตรีว่าอยากได้อะไรก็จะให้ บุตรีจึงขอพระแก้วมรกตไปด้วย ด้วยความรักของบิดาก็จำยอมยกให้
   พอไปถึงลำปาง ช้างที่นั่งไปไม่ยอมไปเอาดื้อๆ จะขับไสอย่างไรช้างก็ไม่ไป ตกลงกันว่าองค์พระแก้วมีพระประสงค์จะประทับที่ลำปางแน่ พระแก้วก็เลยประดิษฐานที่ลำปางก่อน นานพอสมควรจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านก็ไม่ได้บอกว่ากี่ปี ต่อมาบุตรเขยก็เสียชีวิตลง บุตรีเจ้าผู้ครองนครก็กลับสู่เวียงจันทน์ และนำพระแก้วมรกตกลับมาด้วย จึงประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทน์อีกเป็นครั้งที่สอง
   ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ไทยคือลาว ลาวคือไทย เป็นชาติเดียวกัน แต่ครั้งอยู่ราชคฤห์ แต่หนีตายมาคนละสาย มาบรรจบกันที่แม่น้ำใหญ่ๆ ๔ สาย คือ แม่น้ำโขง เจ้าพระยา สาละวิน และแม่น้ำตาปี
   ต่อมาเหตุการณ์บ้านเมืองในลาวเปลี่ยนแปลง เกิดกลียุค ราชวงศ์และราชบุตรเป็นศัตรูกัน ราชบุตรมักถูกรังแกใส่ความ ทนไม่ไหวจึงอพยพครอบครัวข้ามโขงมาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง (ปัจจุบัน คือ จังหวัดหนองบัวลำภู) ราษฎรก็ทยอยติดตามมา โดยมีพระตา น้องชายราชบุตรเป็นหัวหน้า ราชวงศ์ยังยกกองทัพมารังแกข่มเหงอีก
   ฝ่ายพระตาและพระวอก็ได้ถอยร่นลงมาสู่ดอนมดแดง คือจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน อย่างทุลักทุเล บังเอิญกองทัพทางเวียงจันทน์เสบียงขาดแคลนลงจึงต้องยกทัพกลับ หลังจากนั้นก็ได้ยกทัพมาตีอีกครั้งที่สอง ชาวดอนมดแดงได้ต่อสู้ถวายหัวเต็มกำลังความสามารถ
   พระตาสวรรคตในสนามรบอย่างสมพระเกียรติ พระวอเห็นท่าไม่ได้การ ได้ให้ม้าเร็วนำสาส์นขอกองกำลังจากบางกอกไปช่วย สมัยนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ จึงส่งกองทัพม้าเป็นทัพหน้าเดินทางไปก่อน กองทัพหลวงนำโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกตามไป ชาวดอนมดแดงก็มีกำลังใจสู้ถวายหัว พอกองทัพหลวงยกมาถึง กองทัพทางเวียงจันทน์จึงแตกพ่ายกลับไป
   ทั้งทัพม้าศึกและทัพหลวงแห่งบางกอก พร้อมกองอาสาสมัครแห่งดอนมดแดง ก็ติดตามไล่ตีไม่ลดละ จนถึงฝั่งโขง และข้ามโขงเข้ายึดนครเวียงจันทน์ได้ทั้งหมด
   หลังจากชนะศึกแล้ว ชาวลาวได้ยินยอมพร้อมใจมอบพระแก้วมรกตและพระบาง ให้มาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ นี่คือสาเหตุที่พระแก้วมรกตมาประดิษฐานในประเทศไทย  ปีนั้นบางกอกเกิดฝนแล้ง โหรหลวงทำนายว่า เพราะพระแก้วและพระบางมาอยู่รวมกันเป็นเหตุ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงส่งสาส์นแจ้งไปยังเจ้ามหาชีวิตลาว พระองค์ทรงยินดีรับคืน แต่ให้ส่งไปนครหลวงคือ กรุงศรีสัตตนาคนหุต ไทยได้ทำการสักการะจัดส่งอย่างสมพระเกียรติ ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าอย่างนี้ ตั้งแต่วันพระบางไปถึงกรุงศรีสัตตนคนหุต ก็เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองหลวงพระบางมาจนบัดนี้
   ท่านฯ ยังเล่าต่อไปว่า เดิมไม่ได้เรียกเมืองหลวงพระบาง เรียก “หลวงพระบ้าง” เพราะว่าทองที่หล่อนั้นเป็นทองหลายชนิด ผู้มีศรัทธาไปร่วมพิธีเททองหล่อนั้น มีทั้งสร้อยทองคำ ตุ้มหูทองคำ กำไลทองคำ เงิน ทองแดง นาค ทองสัมฤทธิ์ เอาออกมาใส่ลงในเบ้าหล่อ โดยทุกคนก็กล่าวว่า ฉันบ้าง ข้าบ้าง กูบ้าง ข้าน้อยบ้าง เมื่อเป็นพระออกมาก็คงจะมีชื่ออย่างอื่น ชื่ออะไรท่านมิได้กล่าวๆ แต่คนนั้นก็ว่าพระบ้าง คนนี้ก็พระบ้าง ลักษณะชายจีวร บางแผ่ออกทั้งสองข้าง เป็นแผ่นบางๆ คนภายหลังมาเห็น เลยกลายจากบ้างมาเป็นบาง จากพระบ้างมาเป็นพระบางไป
   หลังจากสมเด็จเจ้าพระมหากษัตริย์ศึกได้เสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๑ แล้ว ได้ยกฐานะบ้านดอนมดแดงขึ้นเป็นเมืองให้ชื่อว่า เมืองอุบลราชธานี ตั้งพระวอเป็นพระวรวงศาธิราชครองเมืองอุบลฯ พระวรวงศาธิราชสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พ้นภัยพิบัติมาได้ จึงได้ประกาศเป็นทางการว่า แผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงทั้งหมดขอขึ้นตรงต่อบางกอก ไม่ขึ้นตรงต่อเวียงจันทน์ ตั้งวันนั้นเป็นต้นมาถึงปัจจุบันปรากฏอยู่ในแผนที่ประเทศไทยโดยสมบูรณ์
  พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร คือ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อยต่างกันเท่านั้น ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัยเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า (พระพุทธศาสนา ก็เป็นจอมพุทธศาสนาที่กรุงเทพฯ นี้)
   ไทยนั้นเป็นเจ้าขององค์พระแก้วมรกต ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้วเป็นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณวัด แม้แต่ชาวต่างชาติ จะเป็นฝรั่ง อังกฤษ อเมริกา มีโอกาสเข้าไปในบริเวณวัดพระแก้ว จะด้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตาม ก็ได้เข้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย หรือจะบังเอิญก็แล้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให้เข้ามาได้ ต่อไปจะสามารถมาเกิดเป็นคนไทย สืบต่อบุญบารมีสำเร็จมรรคผลได้  ขอจบเรื่องเล่าของพระอาจารย์  ภูริทตฺโต แต่เพียงเท่านี้

          บุคคลสำคัญในรัชกาลที่ ๑

     ๑.ท้าวเทพกษัตรี

     ๒.ท้าวศรีสุนทร

                ท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร

      

       ประวัติท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร
      คุณจัน เป็นบุตรคนแรกของจอมร้างบ้านเคียนซึ่งเกิดจากนางหม้าเสี้ย มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน ๕ คน เมื่ออายุสมควรจะมีเรือน บิดามารดาก็ได้จัดการแต่งงานให้กับหม่อมภักดีภูธร (สามีคนแรก) มีธิดา ๑ คน คือแม่ปราง และบุตร ๑ คน คือนายเทียน (ต้นสกุล ประทีป ณ ถลาง) หลังจากคลอดนายเทียน หม่อมภักดีภูธรเสียชีวิตลง คุณจันอยู่เป็นหม้ายจนกระทั่งแต่งงานครั้งที่สองกับพระยาพิมลอัยา (ขัน) ภายหลังเป็น
พระยาสุรินทราชาพิมลอัยา (ขัน) มีบุตรธิดาอีก ๒ คน คุณจันเป็นผู้ประกอบด้วยความงาม มีอัธยาศัยสุภาพอ่อนโยน และมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวสมกับเป็นบุตรของจอมร้างบ้านเคียน จึงเป็นที่สนิทเสน่หาของบิดามารดาและวงศ์ญาติทั้งหลาย เมื่อบิดามารดาแก่เฒ่า คุณจันก็ได้รับภาระปกครองผู้คนบ่าวไพร่ และดูแลการงานภายในครอบครัวแทนบิดามารดาโดยสิทธิ์ขาดเพราะเป็นพี่คนโต
   คุณมุก เป็นบุตรคนที่ ๒ ของจอมร้างบ้านเคียน ซึ่งเกิดจากนางหม้าเสี้ย มีกิริยาสุภาพอ่อนโยน ทั้งมีสติปัญญาและความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวไม่ย่อหย่อนกว่าคุณจันผู้เป็นพี่ เป็นที่สนิทเสน่หาของบิดามารดา และวงศ์ญาติเช่นกัน แต่งงานกับพระอาจฯ ท่านมุกไม่มีบุตรสืบตระกูล
   เมื่อจอมร้างบ้านเคียนถึงแก่กรรมลง พระถลางอาดบุตรชายและน้องชายท่านผู้หญิงจันได้ครองเมืองถลาง ครองได้ไม่นานก็ถูกผู้ร้ายยิงตาย หลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กพระยานครได้ประมาณ ๗ ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรินทราชาพิมล (ขัน) เป็นเจ้าเมืองถลาง ท่านผู้หญิงจันเป็นแม่เมืองปกครองเมืองถลางด้วยความสงบสุขสืบมา ครั้นเมื่อพระยาสุรินทราชาพิมลอัยา (ขัน) เจ้าเมืองถลางถึงแก่อนิจกรรม กองทหารจากเมืองหลวงที่ยึดค่ายปากพระได้เข้าเกาะตัวจับกุมท่านผู้หญิงจันเป็นเชลยศึกไปที่ค่ายปากพระ ในข้อกล่าวหาอ้างว่าสามีเป็นหนี้แผ่นดิน
   ส่วนแผ่นดินพม่ามีพระเจ้าปดุงครองราชสมบัติใต้ฟ้าแผ่นดินอังวะ ลุปี พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าได้เตรียมกองทัพใหญ่ด้วยพระประสงค์ที่จะขยายอาณาเขต
 ด้วยกองทัพที่ยิ่งใหญ่แกร่งกล้าในการรบสามารถปราบรามัญ ไทใหญ่ มณีปุระ ยะไข่ รวบรวมไพร่พลได้ถึง ๑๔๔๐๐๐ คน จัดเป็นทัพใหญ่หมายจะโจมตีประเทศสยามให้จมพื้นธรณีไปเลย เป็นที่รู้จักกันดีในนามสงครามเก้าทัพ พม่ายกทัพเข้าบุกตีค่ายปากพระ ซึ่งทหารของรัชกาลที่ ๑ เป็นผู้บัญชาการค่าย พญาพิพิธโภไคยหนีไปเมืองพังงา ท่านผู้หญิงจันในขณะนั้นยังถือว่าเป็นเชลยศึก ได้หนีข้ามช่องปากพระ เข้ามายังเมืองถลาง ผ่านบ้านไม้ขาว บ้านสาคู และบ้านเคียน อันเป็นที่ตั้งเมืองถลาง
   แม่ทัพใหญ่ยี่หวุ่นคุมกำลัง ๓๐๐๐ คน เข้าตีหัวเมืองทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ตั้งแต่เมืองกระ ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ค่ายปากพระ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายที่เมืองถลางขุมคลังของสยาม ข่าวทัพเรือพม่าบุกโจมตี กอปรกับเจ้าเมืองถลางเสียชีวิตเป็นข่าวร้ายที่ทำร้ายจิตใจชาวเมืองถลางให้อยู่ในความหวาดกลัว ไม่มีที่พึ่งหมดหวัง แต่พลังใจทั้งมวลกลับตั้งมั่นด้วยจิตใจที่เข็มแข็งของท่านผู้หญิงจันและคุณมุกน้องสาว โดยได้นำกำลังจากบ้านสาคู บ้านในยาง บ้านดอน บ้านไม้ขาว บ้านแขนน บ้านลิพอน บ้านเหรียงมาเตรียมการรบ ณ ค่ายข้างวัดพระนางสร้าง ฝ่ายพม่ายกทัพเข้ามาเร่งก่อสร้าง
ค่ายบริเวณทุ่งนา (โคกชนะพม่า) เพื่อเตรียมโจมตีเมืองถลาง ส่วนท่านผู้หญิงจัน คุณมุกและคณะกรมการเมืองวางแผนตั้งค่ายประชิดค่ายข้าศึก เตรียมปืนใหญ่ตรึงไว้ดึงเวลาได้หลายวันเป็นผลให้เสบียงอาหารของพม่าลดน้อยลง และวางแผนให้กลุ่มผู้หญิงแต่งตัวคล้ายทหารไทย เอาไม้ทองหลางเคลือบดีบุกมาถือแทนอาวุธ ทำทียกขบวนเข้าเมืองถลางในช่วงดึกลวงพม่าว่าเมืองถลางมีกำลังมาเสริมทุกคืน ทำให้พม่าคาดการณ์กองกำลังเมืองถลางผิดพลาด

   การศึกครั้งนี้กินเวลายาวนานถึง ๑ เดือนเศษ กำลังพม่าทั้งอ่อนล้าและขาดเสบียงอาหาร เมื่อพม่าตั้งพลเข้าโจมตีถูกฝ่ายเมืองถลางระดมยิงปืนเล็กปืนใหญ่ นำเอาดินประสิวไปโปรยในกองทัพพม่ายิงคบเพลิงเข้าไปผสมตามยุทธวิธีพระพิรุณสังหาร ครั้นเมื่อชาวเมืองถลางยิงปืนใหญ่แม่นางกลางเมืองถูกต้นทองหลางหน้าค่ายพม่าหักลง กองทัพพม่าระส่ำระสายเสียขวัญ และแตกทัพไปเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔
ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗ ตรงกับวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ เป็นวันถลางชนะศึก
   เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมบำเหน็จผู้ทำคุณแก่แผ่นดิน ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกษัตรี คุณมุกน้องสาวเป็น ท้าวศรีสุนทร ดำรงยศอันมีศักดิ์แก่ฐานานุรูป เป็นศรีแก่เมืองถลาง และวงศ์ตระกูลสืบไป
             พระพุทธเลิศหล้านภาลัย

     

        พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
   พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ สวรรคต ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ ครองราชย์ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๑  กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๒ ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม ซึ่งตรงกับ วันที่ ๒๔  กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐  เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชสมบัติเมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. ๒๓๕๒ -๒๓๖๗ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา
  พระนามเต็ม
   หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้สืบทอดบัลลังก์ในทันทีพร้อมด้วยพระนามชั่วคราวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นราชประเพณีว่าพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีพระบรมราชาภิเษกจะได้รับพระอิศริยยศชั่วคราวเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเต็มเมื่อทรงรับการบรมราชาภิเษกแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวซึ่งเหมือนกับพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์
   ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามรัชกาลที่ ๒ ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงโปรดให้สร้างอุทิศถวาย และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อย พระนามเป็น "นภาลัย" และเฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เป็นพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐ มเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์  สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย
   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เฉลิมพระนามใหม่เป็นพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
   ครองราชสมบัติ
   เมื่อถึงวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตด้วยพระโรคชรา ขณะมีพระชนมายุได้ ๗๓ พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ได้นานถึง ๒๗ ปี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้เสด็จขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี
   การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ ๒ ได้ย้ายมาทำพิธีที่หมู่พระที่นั่งจักร   พรรดิพิมาน เนื่องจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทซึ่งสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทอันเป็นสถานที่ทำพิธีปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้นใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอยู่ ในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงใช้หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นสถานที่จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นสถานที่ตั้งพระบรมศพ หลังจากเสร็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์จึงเสด็จเลียบพระนคร
โดยกระบวนพยุหยาตราตามโบราณราชประเพณี
    พระปรีชาสามารถ
   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
    ด้านกวีนิพนธ์
   ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ ๒ นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราช นิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่น ๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนแต่มีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้....
   ด้านประติมากรรม
   นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๒ นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้วยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย
   ด้านดนตรี
   กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้
   เสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา ๘ วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗  สิริพระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี
      พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมี พระราชโอรส - พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์ โดยประสูติเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ๔๗ พระองค์ ประสูติเมื่อดำรงพระอิสรยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ๔ พระองค์ และประสูติภายหลังบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ๒๒ พระองค์
    พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
    โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีอุปราชาภิเษก ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย ในรัชกาลที่ ๑ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชเจ้า  สถาปนาพระราชชนนีขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระราชชนนีในรัชกาล ๒
   กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยามใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง
    พระกรณียกิจที่สำคัญ
   พ.ศ. ๒๓๑๐
   ๒๔ กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชสมภพ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม พระนามเดิม ฉิม
   พ.ศ. ๒๓๒๕
   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงได้รับการสถาปนาพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
   พ.ศ. ๒๓๔๙
   ทรงได้รับการสถาปนาพระยศจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาอิศรสุนทร ทรงดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
   พ.ศ. ๒๓๕๒
   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต
พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางกราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๒ แห่งพระราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความสงครามกับพม่าที่เมืองถลาง
   พ.ศ. -๒๓๕๓
   โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิเกียเข้งแห่งอาณาจักรจีนราชทูตญวนเข้ามาถวายราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งทูลขอเมืองบันทายมาศคืน ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานคืนให้
   พ.ศ. ๒๓๕๔
   โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่างๆ  โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา"  ออกพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น
จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่
   โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ"
   โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา อิน-จัน แฝดสยามคู่แรกของโลกถือกำเนิดขึ้น
   พ.ศ.๒๓๕๕
   โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วผลึก (พระพุทธบุษยรัตน์) จากเมืองจำปาศักดิ์มายังกรุงเทพ ฯ  และให้ทรงประดิษฐานไว้  ณ วัดอนงคาราม  ฝั้งธนบุรี
   พ.ศ. ๒๓๕๖
   พม่าให้ชาวกรุงเก่านำสาส์นจากเจ้าเมืองเมาะตะมะมาขอทำไมตรีกับสยาม
พระองค์เจ้าชายทับ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
   พ.ศ. ๒๓๕๗
   โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะสมณทูตเดินทางไปศรีลังกาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง นครเขื่อนขันธ์ ขึ้นที่บริเวณพระประแดง เพื่อสำหรับรับข้าศึกที่มาทางทะเล
   พ.ศ. ๒๓๕๙
    -โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น ๙ ประโยค
   พ.ศ. ๒๓๖๐
    -ทรงฟื้นฟูประเพณี วันวิสาขบูชา
   พ.ศ. ๒๓๖๑
   ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพนฯ โดยสร้างถนนท้ายวังคั่นโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการออกแบบและสร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวังคณะสมณทูตที่พระองค์ทรงส่งไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ ประเทศลังกาเดินทางกลับเจ้าเมืองมาเก๊า ส่งทูตเข้ามาถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเพื่อเจริญทางพระราชไมตรี
   พ.ศ. ๒๓๖๒
   หมอจัสลิส มิชชันนารีประจำย่างกุ้ง หล่อตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรก  พ.ศ. ๒๓๖๓   ฉลองวัดอรุณราชวราราม  สังคายนาบทสวดมนต์ภาษาไทยครั้งแรก ในประเทศไทยโปรตุเกสตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ นับเป็นสถานกงสุลต่างชาติแห่งแรกของสยาม
   พ.ศ. ๒๓๖๕   เซอร์จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นทูตชาวอังกฤษเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
   พ.ศ. ๒๓๖๗    เสด็จสวรรคต

       บุคคลสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๒

   ๑.สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมปรมานุชิตชิโนรส  (เป็นพระอนุชาของรัชกาลที่ ๒)

   ๒.สุนทรภู่

   ๓.พระยาตรัง

   ๔.นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)

 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมปรมานุชิตชิโนรส

   

        พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมปรมานุชิตชิโนรส
       ประสูติ
   สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑ ) อันเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระมารดา คือ เจ้าจอมมารดาจุ้ย พระสนมโท ต่อมาได้เลื่อนเป็น “ท้าวทรงกันดาล” เป็นตำแหน่งผู้รักษาการ คลังใน เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ ) ทรงประสูติเมื่อ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ และมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชาย วาสุกรี
   สำหรับพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น ทรงมีพระนามเดิมว่า ทองด้วง ประสูติที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อทรงเจริญพระชันษาได้เข้ารับราชการ ทรงเป็นกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในการกู้บ้านเมือง จนได้เลื่อนยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และต่อมาได้ทรงสถาปนาพระราชวงศ์ขึ้นใหม่และตั้งราชธานีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงครองราชย์เป็นเวลา ๒๗ ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนี้นอกจากจะทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถแล้ว ยังทรงเป็นกวีและนักปราชญ์อีกด้วย
   การศึกษา
   สามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ทรงเป็นศิษย์ในสำนักสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ผู้เป็นนักปราชญ์ล้ำลึกและมั่นคงเคร่งครัดในพระธรรมวินัย สมเด็จพระพนรัตน์องค์นี้เกิดในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมเจดีย์ ในสมัยกรุงธนบุรี ได้รับมอบหมายให้ไปจัดการสังฆมณฑลฝ่ายเหนือที่พิษณุโลก และได้เลื่อนเป็นที่พระพิมลธรรม แต่ต้องโทษในปลายรัชกาล เนื่องจากยึดมั่นในพระธรรมวินัย ไม่โอนอ่อนผ่อนตามพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นสมเด็จพระพนรัตน์ ครองวัดพระเชตุพนฯ และได้เป็นพระอาจารย์ของสามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ได้ถ่ายทอดพระธรรมวินัยและความรู้ทางด้านภาษาไทย และภาษามคธ บาลี โบราณคดี โหราศาสตร์ และเวทมนตร์ ตลอดทั้งวิธีลงเลขยันต์ต่างๆ สมเด็จพระพนรัตน์องค์นี้เป็นผู้อ่านประกาศเทวดา และเป็นแม่กองชำระพระอภิธรรมปิฎกในรัชกาลที่ ๑ นอกจากนี้ได้นิพนธ์หนังสือภาษาบาลีไว้หลายเรื่อง และมีชื่อเสียงโด่งดัง
ในการเทศน์มหาชาติ กัณฑ์ “นครกัณฑ์” ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ของท่านก็ได้สืบทอดกันต่อๆ มาหลายรัชกาล
   สามเณรพระองค์วาสุกรีได้ทรงศึกษาอย่างใกล้ชิดกับพระอาจารย์ ทรงได้รับการถ่ายทอดวิทยาการไว้ทั้งหมด รวมทั้งได้รับมอบตำรับตำราพิชัยสงคราม โหราศาสตร์ เวทมนตร์ และพระธรรมวินัยไว้ด้วยจึงทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญแตกฉาน นับได้ว่าเป็นนักปราชญ์ที่ล้ำลึกของยุคต้นรัตนโกสินทร์เลยที่เดียว
   ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ และได้มีการเชิญอัฐิของสมเด็จพระพนรัตน์มาบรรจุไว้ในสถูปในบริเวณตำหนักของสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส มีโคลงจารึกเป็นเกียรติไว้ว่า
       ๏ สถูปเสถียรธาตุไท้          ธิบดี สงฆ์แฮ
   วันรัตน์เจ้าจอมชี                     ชื่ออ้าง
   ปรากฏเกียรติมุนี                     เสนอโลกย ไว้เอย
   องค์อดิศวรสร้าง                    สืบหล้าแหล่งเฉลิม ๚
    ผนวชเป็นสามเณร
    เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๕ ในรัชกาลที่ ๑ กรมพระราชวังหลัง (เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์พระเจ้าหลานเธอ ในรัชกาลที่ ๑ ) ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ได้มีเจ้านายตามเสด็จออกผนวชเป็นสามเณร เป็นหางนาคหลวง ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าชายวาสุกรี กับพระองค์เจ้าชายฉัตร (กรมหมื่นสุรินทรรักษ์)
   ผนวชเป็นพระภิกษุ
   สามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี ประทับจำพรรษาและศึกษาอยู่ในวัดพระเชตุพนฯ จนสิ้นรัชกาลที่ ๑ ขณะนั้นพระชนม์ได้ ๑๙ พรรษา ก็ไม่ทรงสึก เนื่องจากอายุยังไม่ครบผนวชเป็นพระภิกษุจึงทรงเป็นสามเณรต่อไป จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) จึงได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปีมะแม พ.ศ.๒๓๕๔  สมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “สุวัณณรังษี” เป็นพระราชาคณะและอธิบดีสงฆ์
   พระองค์เจ้าพระ “สุวัณณรังษี” ทรงผนวชอยู่ได้ ๓ พรรษา สมเด็จพระพนรัตน์อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ก็ถึงแก่มรณภาพ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระเชตุพนฯ พระองค์โปรดแต่งตั้งให้พระองค์เจ้าพระ “สุวัณณรังษี” เป็นพระราชาคณะและอธิบดีสงฆ์ วัดพระเชตุพนฯ
   พระอิสริยยศและสมณศักดิ์
   ทรงได้รับเลื่อนเป็นเจ้าต่างกรมครั้งแรก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) เป็น “กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์” และดำรงพระยศนี้อยู่จนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ )
   เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศเลื่อน ”กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์” ให้ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ณ วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ (พ.ศ.๒๓๙๔) และได้เลื่อนเป็น “กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถ ปฐมพันธุมหาราชวรังกูร ปรเมนทรนเรนทรสูรสัมมานาภิสักกาโรดมสถาน อริยสมศีลาจารพิเศษมหาวิมล มงคลธรรมเจดีย์ยุตมุตวาที สุวีรมนุญ อดุลยคุณคุณาธาร มโหฬารเมตตยาภิธยาศรัย ไตรปิฎกกลาโกศล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณ มหาสมนุตตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิ์ธำรง
มหาสงฆปริณายก พุทธสาสนดิลกโลกุตตมมหาบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฎิภาณ ไวยัติ ญาณ มหากระวี พุทธาทิศรีรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอรรคมหา อนาคาริยรัตน์ สยามาทิโลกยปฎิพันธ พุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศร์ สกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษดิศุภการ มหาปาโมกขประธานวโรดม บรมนาถบพิตร”
   พระเกียรติคุณประกาศ
   ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ องค์การยูเนสโกได้มีมติรับข้อเสนอของคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ ๒๕ ที่สำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศรายชื่อบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม
ระดับโลก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ และถวายพระเกียรติคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในฐานะ ปูชนียบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ตามมติที่ประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๕ ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ และชักชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมจัดกิจกรรมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓
   ผลงานด้านวรรณกรรม
   สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้ว สมพระเกียรติ
ที่เป็น “รัตนกวี” ของชาติ วรรณกรรมของพระองค์ นับว่าเป็นสมบัติที่ประมาณค่ามิได้ พระนิพนธ์ต่างๆ มีดังนี้
  โคลง
   (๑) โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ
   (๒) ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค
   (๓) ลิลิตตะเลงพ่าย
   (๔) โคลงภาพฤาษีดัดตน
   (๕) โคลงภาพคนต่างภาษา
   (๖) โคลงกลบท
   (๗) โคลงบาทกุญชร และวิวิธมาลี
   (๘) โคลงจารึกศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ ๒ หลัง
   (๙) โคลงจารึกศาลาราย ๑๖ หลัง
   (๑๐) ร่ายและโคลงบานแพนก
   ฉันท์
   (๑) กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
   (๒) สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนปลาย
   (๓) ตำราฉันท์มาตรพฤติและวรรณพฤติ
   (๔) สรรพสิทธิคำฉันท์
   (๕) ฉันท์สังเวยกล่อมวินิจฉัยเภรี
   (๖) จักรทีปนีตำราโหราศาสตร์
   (๗) ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างพัง
    ร่ายยาว
   (๑) มหาเวสสันดรชาดก (เว้นกัณฑ์ชูชกและมหาพน)
   (๒) ปฐมสมโพธิกถา
   (๓) ทำขวัญนาคหลวง
   (๔) ประกาศบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๔
    กลอน
   (๑) เพลงยาวเจ้าพระความเรียง
   (๒) พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป
   (๓) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับความสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เล่ม ๑–๒
   ภาษาบาลี
   (๑) ปฐมสมโพธิกถาฉบับภาษาบาลี มีต้นฉบับอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ เป็นพระคัมภีร์ใบลานจำนวน ๓๐ ผูก ผูกละประมาณ ๒๔ หน้า เมื่อปริวรรตเป็นอักษรไทยและแปลออกมาแล้วจะเป็นหนังสือหนาประมาณ ๒,๑๖๐ หน้า หรือประมาณ ๒๗๐ ยก ซึ่งเป็นหนังสือพระพุทธประวัติฉบับที่มีขนาดหนาที่สุดในโลก
   สิ้นพระชนม์
   สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสฯ ทรงมีพระชนมายุอยู่ในรัชกาลที่ ๔ เพียง ๒ พรรษา ก็ประชวรด้วยพระโรคชรา และสิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ เวลาบ่าย ๓ โมง ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา
   เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวงแล้ว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้มีตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ประจำสำหรับรักษาพระอัฐิ ถึงเวลาเข้าพรรษาก็เสด็จพระราชดำเนินไปถวายพุ่มบูชาพระอัฐิทุกปี และถึงวันเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน วัดพระเชตุพนฯ ก็โปรดให้อัญเชิญพระอัฐิไปประดิษฐานในอุโบสถ ทรงสักการบูชาแล้วทอดผ้าไตร ให้พระฐานานุกรมสดับปกรณ์พระอัฐิเป็นประเพณีตลอดมาตั้งแต่รั
ชกาลที่ ๔ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศสถาปนากรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสขึ้นเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔

                         สุนทรภู่

    

          ประวัติครูกลอนสุนทรภู่ กวีเอกของโลก
      ประวัติสุนทรภู่แบบย่อ
     สุนทรภู่  เป็นกระฏุมพีผู้ดีมีมีมิตรชาวบางกอก  เกิดในวังหลัง  ปากคลองบางกอกน้อย) เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙  ยุคต้นแผ่นดิน  รัชกาลที่ ๑ เมื่อเติบโตขึ้นเข้ารับราชการในวังหลวง  เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำราชสำนักรัชกาลที่ ๒ ต่อมาได้ ออกบวชในรัชกาลที่ ๓  อยู่วัดเทพธิดาราม นานถึง ๑๘ ปี (พ.ศ.๒๓๖๗ -๒๓๘๕  อายุ ๓๘-๕๖ปี) แล้วลาสึกมารับราชการในวังหน้ากับสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
(แต่อาศัยอยู่พระราชวังเดิม ธนบุรี) จนถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุ ๖๙ ปี
    ประวัติสุนทรภู่โดยละเอียด
   ประวัติของท่านสุนทรภู่ ท่านเป็นกวีเอกคนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์  เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๒๖  มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙  ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นคนจังหวัดไหนไม่ปรากฏ  ตั้งแต่สุนทรภู่ยังเด็ก บิดากลับไปบวชที่เมืองแกลง ส่วนมารดามีสามีใหม่มีลูกผู้หญิงอีก 2 คน ชื่อฉิมกับนิ่ม ต่อมามารดาได้เป็นแม่นมของพระองค์เจ้าจงกล พระธิดาของกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่จึงเข้าไปอยู่ในวังกับมารดา  ตอนยังเป็นเด็ก สุนทรภู่ได้เล่าเรียนที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) โตขึ้นก็เข้ารับราชการเป็นนายระวางพระคลังสวน ไม่นานก็ลาออกเพราะไม่ชอบงานนี้ ชอบแต่การแต่งกลอน และแต่งสักวาเท่านั้น
      ประวัติสุนทรภู่
   ต่อมาสุนทรภู่มีความสัมพันธ์รักกับสาวชาววังชื่อ "จัน" จึงถูกจองจำทั้งคู่ ครั้นพ้นโทษ  แล้วก็ได้แต่งงานกัน และถวายตัวเป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้า ปฐมวงศ์ พระโอรสของพระราชวังหลัง สุนทรภู่มีบุตรชายกับนางจันชื่อ พัด ชีวิตคู่ของสุนทรภู่ไม่ราบรื่นเลยมักระหองระแหงกันเสมอ จนในที่สุดก็เลิกร้างกัน แล้วสุนทรภู่ก็ได้เข้ารับราชการกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เป็นที่โปรดปรานมากจนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนสุนทรโวหาร เวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนติดขัดก็มักให้ สุนทรภู่แต่งต่อให้ ระยะนี้เองสุนทรภู่ก็ได้ภรรยาใหม่ชื่อนิ่ม มีบุตรด้วยกันชื่อ "ตาบ"
นิ่มเสียชีวิตไปตั้งแต่ตาบยังเล็กอยู่

   คราวหนึ่งสุนทรภู่เมาสุรา แล้วทำร้ายญาติผู้ใหญ่จนบาดเจ็บจึงถูกจำคุก ในระหว่างต้องโทษนี้เอง ที่สุนทรภู่แต่งนิทานเรื่อง พระอภัยมณี เพื่อขายเอาเงินมาเลี้ยงชีวิต จำคุกได้ไม่นานก็พ้นโทษออกมารับราชการตามเดิม
   พอสิ้นราชการที่ ๒ สุนทรภู่ก็ออกจากราชการเพราะไม่เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ออกจากราชการแล้ว
สุนทรภู่ก็บวชเป็นพระภิกษุอยู่ในวัดราชบูรณะ บวชได้ราว 3 พรรษา ก็ต้องอธิกรณ์ (โทษ) ถูกขับไล่ออกจากวัดในข้อหาเสพสุรา จึงไปอยู่ที่
วัดอรุณราชวราราม ไม่นานก็ย้ายไปที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ และวัดสุดท้ายคือวัดเทพธิดาราม แล้วก็สึกออกมา
รวมเวลาบวชเป็นพระภิกษุประมาณ ๑๘-๒๐  ปี จากนั้นก็ตกยากจนไม่มีบ้านอยู่ต้องลอยเรือร่อนเร่แต่งกลอนขาย
   ปลายรัชกาลที่ ๓ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์โปรด ฯ ให้สุนทรภู่ไปอยู่ที่ราชวังของพระองค์ ครั้นได้รับสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ก็โปรดเกล้าให้สุนทรภู่เข้ารับราชการเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร รับราชการเพียง ๕ ปี ก็ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี
    ประวัติสุนทรภู่และผลงานที่น่ายกย่อง
     ได้รับยกย่องเป็น มหากวีกฎุมพีแห่งรัตนโกสินทร์ และบุคคลสำคัญของโลกจากองค์การ UNESCO
     ประวัติและผลงานของสุนทรภู่เป็นที่กล่าวขาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้แต่งประวัติสุนทรภู่โดยพิสดารไว้ กล่าวว่า ได้ทรงค้นพบมี ประมาณ ๒๔ เรื่อง โดยแยกประเภทดังนี้
 นิราศสุนทรภู่ นิราศมี ๙ เรื่อง
     นิราศ คือ บทประพันธ์ที่แต่งขึ้นเพื่อบรรยายถึงสภาพการเดินทาง ด้วยสมัยก่อนการเดินทางค่อนข้าง ลำบากและใช้เวลานาน นักเดินทางจึงแก้ความเหงาเบื่อด้วยการประพันธ์บทกวี พรรณนาถึงการเดินทาง และสภาพภูมิประเทศ โดยมากมักโยงเข้ากับความรัก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายที่มาของนิราศไว้ ดังนี้: "หนังสือจำพวกที่เรียกว่านิราศ เป็นบทกลอนแต่งเวลาไปทางไกล มูลเหตุจะเกิดหนังสือชนิดนี้ขึ้น สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะเวลาเดินทาง ที่มักต้องเดินทางไปเรือหลายๆ วัน มีเวลาว่างมาก ได้แต่นั่งๆ นอนๆ ไป จนเกิดเบื่อ ก็ต้องคิดหาอะไรทำแก้
รำคาญ ผู้สันทัดในทางวรรณคดี จึงแก้รำคาญโดยทางกระบวนคิดแต่ง บทกลอน บทกลอนแต่งในเวลาเดินทางเช่นนั้น ก็เป็นธรรมดาที่จะพรรณนาว่าด้วยสิ่งซึ่งได้พบเห็นในระยะ ทาง แต่มักแต่งประกอบกับครวญคิดถึงคู่รักซึ่งต้องพรากทิ้งไว้ทางบ้านเรือน กระบวนความในหนังสือนิราศ จึงเป็นทำนองอย่างว่านี้ทั้งนั้น ชอบแต่งกันมาแต่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์...นิราศที่แต่งกันในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งทั้งเป็นโคลงแลเป็นกลอนสุภาพ ดูเหมือนกวีที่แต่งนิราศ
   ในครั้งรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ จะถือคติต่างกันเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งถือคติเดิมว่า โคลงฉันท์เป็นของสำคัญ และแต่งยากกว่ากลอน กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นโคลงตามเยี่ยงอย่างศรีปราชญ์ทั้งนั้น กวีอีกพวกหนึ่งชอบ เพลงยาว อย่างเช่นเล่นกันเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา กวีพวกนี้แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพทั้งนั้น ถ้าว่าเฉพาะที่เป็นกวีคนสำคัญในพวกหลังนี้ คือสุนทรภู่แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพมากเรื่องกว่าใครๆ หมด   

    กลอนของ สุนทรภู่คนชอบอ่านกันแพร่หลาย ก็ถือเอานิราศของสุนทรภู่เป็นแบบอย่างแต่งนิราศกันต่อมา ตั้งแต่รัชกาล ที่ ๓ จนถึงรัชกาลที่ ๕" นิราศของ
สุนทรภู่ นอกจากจะพรรณนาการเดินทางแล้ว ท่านยังสอดแทรกคติธรรม ข้อเตือนใจต่างๆ และเปรียบเทียบถึงชีวิตของตัวท่านเองเข้าไว้ด้วย ทำให้นักศึกษาๆงานของท่านสืบเสาะประวัติของท่านจาก งานนิพนธ์ของท่านเองได้มาก ท่านสุนทรภู่แต่งนิราศไว้มาก
 แต่เท่าที่พบในปัจจุบันมี ๘ เรื่อง คือ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร ส่วน รำพันพิลาป ก็มีเนื้อความรำพึงรำพันทำนองเดียวกับนิราศ เนื้อหาเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านสุนทรภู่เป็น ส่วนใหญ่ นอกเหนือจากนี้ ในช่วงเวลาที่ท่านบวชเป็นพระนั้น ท่านได้ธุดงค์ไปทั่ว จึงเชื่อว่ายังมีนิราศ เรื่องอื่นของท่านที่ยังมิได้ค้นพบ หรืออาจไม่มีวันค้นพบก็ได้ เพราะต้นฉบับอาจถูกทำลายไปเสียแล้วเมื่อ ครั้งปลวกขึ้นกุฏิของท่านที่วัดเทพธิดารามรำพันพิลาป
   ปี พ.ศ. ๒๓๘๕ พระสุนทรภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านได้ประพันธ์บทกลอนเชิงนิราศเรื่อง "รำพันพิลาป" ขึ้น เนื่องจากเกิดนิมิตฝันอันเป็นลางร้าย ว่าจะต้องถึงแก่ชีวิต ในฝันนั้นท่านว่าได้พบเห็นนางฟ้านางสวรรค์มากมาย รวมถึงนางมณีเมขลา มาชักชวนให้ท่านละชมพูทวีป แล้วไปอยู่สวรรค์ด้วยกัน เรื่องนางสวรรค์นี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระวินิจฉัยว่าน่าจะหมายถึง กรมหมื่นฯ อัปสรสุดาเทพ นัยว่าท่านสุนทรภู่มีจิตพิศวาสอยู่ จะเป็นจริงเช่นไร ท่านผู้อ่านต้องลองอ่านบทกลอนของท่านสุนทรภู่เอง สำหรับข้าพเจ้าเองเห็นว่า น่าจะหมายถึงนางฟ้าจริงๆ มิได้มีความหมายอื่น
     ด้วยท่อนหนึ่งในนิราศบทนี้ ท่านยังอ้อนวอนนางมณีเมขลา ว่าให้แก้วแล้ว ขอประโยชน์โพธิญาณถึงพระนิพพานเถิด เช่นเดียวกับที่ท่านได้เคย แสดงความปรารถนาพุทธภูมิไว้ในนิราศหลายๆ เรื่องการเกิดฝันเช่นนี้ เมื่อท่านตื่นขึ้นจึงได้รีบแต่ง "รำพันพิลาป" นี้ขึ้น แสดงความในใจและประวัติชีวิตของท่านในหลายๆ ส่วน รวมถึงประเพณีเทศกาลต่างๆ ที่ได้ประสบพบผ่านมา ซึ่งในส่วนนี้เองทำให้เราทราบว่า ยังมีนิราศของท่านอีกหลายเรื่องที่ท่านแต่งไว้ ๑๒ แต่เรายังไม่มีโอกาสได้อ่าน เพราะปลวกขึ้นกุฏิของท่าน ทำให้ต้นฉบับบทกลอนที่มีค่ายิ่งสูญสลายไปอย่างน่าเสียดาย
เว้นเสียแต่จะมีผู้พบต้นฉบับคัดลอกจากที่อื่นเมื่อข้าพเจ้าอ่าน "รำพันพิลาป" จบ
    ข้าพเจ้าอยากให้ผู้คนทั้งหลายที่เคยคิดว่าสุนทรภู่เป็นคนเจ้าชู้ สุนทรภู่เป็นคนขี้เมา ได้มาอ่านนิราศเรื่องนี้ด้วย ตลอดช่วงชีวิต ๖๙ ปีของท่าน ได้มีห้วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ เมื่อครั้งรับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพียง ๘ ปี ช่วงเวลาที่เหลือในชีวิตของท่านเป็นเช่นไร ขอท่านได้โปรดอ่าน "รำพันพิลาป" จนจบ และตรองดูเถิด
      นิทาน ๕ เรื่อง
   ในสมัยก่อน ยังไม่มีคำว่า นิยาย หรือนวนิยาย เรื่องบันเทิงต่างๆ ยังใช้เรียกกันว่า"นิทาน" ทั้งนั้นแต่เดิมนิทานมักแต่งด้วยลิลิต ฉันท์ หรือกาพย์ นายเจือ สตะเวทิน ได้กล่าวยกย่องสุนทรภู่ในการริเริ่มใช้กลอนสุภาพบรรยายเรื่องราวเป็นนิทาน ดังนี้ว่า"ท่านสุนทรภู่ ได้เริ่มศักราชใหม่แห่งการกวีของเมืองไทย โดยสร้างโคบุตรขึ้นด้วยกลอนสุภาพ นับตั้งแต่เดิมมา เรื่องนิทานมักเขียนเป็นลิลิต ฉันท์ หรือกาพย์ สุนทรภู่เป็นคนแรกที่เสนอศิลปะของกลอนสุภาพ ในการสร้างนิทานประโลมโลก และก็เป็นผลสำเร็จ
     โคบุตร กลายเป็นวรรณกรรมแบบฉบับที่นักแต่งกลอนทั้งหลายถือเป็นครู นับได้ว่าโคบุตรมีส่วนสำคัญยิ่งในประวัติวรรณคดีของชาติไทย"คุณวิเศษของท่านสุนทรภู่ที่ทำให้นิทานของท่านโดดเด่นกว่านิทานเรื่องอื่นๆนอกจากในกระบวนกลอนที่สันทัดจัดเจนเป็นอย่างยิ่งแล้ว ความเป็นปราชญ์ของท่านก็แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งโดยการสอดแทรกคติทั้งทางพุทธทางพราหมณ์ ความรู้ในวรรณกรรมโบราณ คัมภีร์ไตรเพท และ
ความรู้อันน่าอัศจรรย์เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของโลกซึ่งกาญจนาคพันธุ์ (ขุวิจิตรมาตรา) ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดน่าสนใจอย่างยิ่งใน "ภูมิศาสตร์สุนทรภู่"  มีการวิจารณ์กันว่า กลอนนิทานเรื่องลักษณวงศ์ และสิงหไตรภพนั้นสำนวนอ่อนกว่าเรื่องพระอภัยมณีมากนัก ไม่น่าที่ท่านสุนทรภู่จะแต่งเรื่องพระอภัยมณีก่อน
   ในเรื่องนี้ คุณ.... มีความเห็นว่า เรื่องลักษณวงศ์และสิงหไตรภพนั้น สุนทรภู่อาจจะเป็น ๑๓ เพียงผู้คิดเรื่องและเริ่มกลอนให้ แต่ผู้แต่งจริงๆ คงเป็นลูกศิษย์ของท่าน และท่านสุนทรภู่ช่วยตรวจทานให้สำหรับเรื่องพระไชยสุริยา ท่านสุนทรภู่แต่งด้วยกาพย์ สำหรับใช้เป็นแบบเรียนเขียนอ่าน  ของเจ้านายน้อยๆ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จึงไล่ลำดับความยากง่ายของการอ่าน ตั้งแต่แม่ ก กา เป็นต้นขึ้นไป
             ตัวอย่างกลอนสุนทรภู่
    ๐แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์         มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
   ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด      ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
                (บางตอนจากพระอภัยมณี)
  ๐จะหักอื่น ขืนหัก ก็จักได้           หักอาลัย นี้ไม่หลุด สุดจะหัก
  สารพัด ตัดขาด ประหลาดนัก     แต่ตัดรัก นี้ไม่ขาด ประหลาดใจ
               (บางตอนจากนิราศอิเหนา)
  ๐มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท       อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
  จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง      อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
             (บางตอนจากสุภาษิตสอนหญิง)
  ๐อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก           แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
  แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย    เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ
            (บางตอนจากเพลงยาวถวายโอวาท)
    อุปนิสัยสำคัญอีกประการหนึ่งของสุนทรภู่คือ มีความอหังการ์และมั่นใจในความสามารถของตนเป็นอย่างสูง ลักษณะนิสัยข้อนี้ทำให้นักวิจารณ์ใช้ในการพิจารณางานประพันธ์ซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงอยู่ว่า เป็นผลงานของสุนทรภู่หรือไม่ ความอหังการ์ของสุนทรภู่แสดงออกมาอย่างชัดเจนอยู่ในงานเขียนหลายชุด และถือเป็นวรรคทองของสุนทรภู่ด้วย เช่น
   ๐อย่างหม่อมฉันอันที่ดีและชั่ว    ถึงลับตัวแต่ก็ชื่อเขาลือฉาว
เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว       เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร    
  หรืออีกบทหนึ่งคือ
  ๐หนึ่งขอฝากปากคำทำหนังสือ    ให้สืบชื่อชั่วฟ้าสุธาสถาน
สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรพาฬ         พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชร
  ๐สุนทรภู่ระลึกให้.................จุ่งดี
  อย่าแต่งเพียงปะรำพิธี.............เทิดไว้
  โคลงท่านอ่อนในวจี...............ก็เปล่า
  จารจดปรากฏให้....................ใช่ท้า-ท่านสอน
  ๐กานท์กลอนเพียรฝึกใช้.......สม่ำเสมอ
  รู้รอบดุจดั่งเกลอ.....................แนะชี้
  ดำเนินเรื่องบำเรอ....................หลายหลาก
  ครูท่านนำเสนอนี้.....................เร่งรู้ฝึกฝน
    นิราศสุพรรณ
 ๐เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า......ดาดาว
   จรูญจรัสรัศมีพราว.............พร่างพร้อย
   ยามดึกนึกหนาวหนาว.........เขนยแนบ...แอบเอย
   เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย.............เยือกฟ้าพาหนาว
    ๐เสียงลือเสียงเล่าอ้าง     อันใด พี่เอย
    เสียงย่อมยอยศใคร        ทั่วหล้า
    สองเขือพี่หลับใหล        ลืมตื่น ฤๅพี่
    สองพี่คิดเองอ้า            อย่าได้ถามเผือ

              พระยาตรัง

         
          พระยาตรัง
     พระยาตรัง หรือ พระยาตรังคภูมาภิบาล เป็นเจ้าเมืองตรัง และเป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีผลงานที่โดดเด่นด้านคำประพันธ์ประเภทโคลง มีผลงานเป็นที่ยกย่องแต่อดีตจนปัจจุบัน ทว่าประวัติชีวิตของท่านไม่ใคร่จะเป็นที่รู้จักมากนัก
   พระยาตรังเป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของ 'ออกพระศรีราชสงครามราชภักดี (เยาว์) ' มารดาคือ 'หม่อมแจ่ม' ธิดาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) ประวัติอื่นๆ เท่าที่ทราบ ก็คือ ท่านมีภรรยา ๔ คน ชื่อ 'เขียว' (มีบุตรหนึ่งคน ชื่อ พิม) , ชื่อ'คง ' (มีบุตรชื่อ อบ) , ชื่อ 'แดง' (มีบุตรชื่อนายภู่และนายหนู) และชื่อ 'ฉิม' (มีบุตรชื่อเจิม)
   ในวัยเยาว์ท่านคงจะบวชและเรียนหนังสือที่วัดท่ามอญ (ปัจจุบัน คือ วัดศรีทวี ในเขตอำเภอเมือง นครศรีธรรมราช) ท่านได้เป็นเจ้าเมืองตรังในสมัยใดไม่ปรากฏ แต่ไม่น่าจะช้ากว่าสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปราบดาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕
   พระยาตรังได้เข้ามาถวายตัวรับราชการในกรุงเทพมหานคร โดยได้พักอาศัยอยู่กับพระยาภักดีภูธร (ฮิม) ลุงของท่าน   เมื่อพระยาตรังชราภาพลงมาก จึงกราบถวายบังคมลากลับไปอยู่บ้านที่เมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และอยู่ที่นั่นกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม
     ประวัติพระยาตรัง
พระยาตรัง หรือที่มีนามบรรดาศักดิ์ในตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ว่า “พระยาตรังคภูมาภิบาล” เป็นกวีเอกผู้หนึ่งในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ผลงานวรรณกรรมของท่าน โดยเฉพาะที่เป็นคำประพันธ์ประเภทโคลง อาทิ โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อยและโคลงนิราศพระยาตรัง (หรือที่เรียก “โคลงนิราศถลาง”) ได้รับการยกย่องนับถือในหมู่กวีรุ่นหลังเป็นอันมาก อย่างไรก็ตาม แม้ว่างานวรรณกรรมของพระยาตรังจะเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้รักงานกวีนิพนธ์โดยทั่วไป แต่ด้านประวัติชีวิตของท่านนั้นกลับไม่ปรากฏเรื่องราวชัดเจนนัก ที่ทราบแน่นอนจากเนื้อความในโคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อยว่า ท่านเป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งหยิ่งทะนงในความเป็นปราชญ์ของตนเองสูง ดังคำโคลง
๏ กรุงศรีธรรมราชหม้าย    เมธี พ่อฮา
แสวงอยุธยาขู    คู่พร้อง
เฉลิมบาทนฤบดี    โดยเสด็จ เศิกแฮ
นิราศเรื่องพ้องหน้า    ณรงค์ ฯ
   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ประวัติพระยาตรังสั้นๆ ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ถือเป็นการเผยแพร่ประวัติของพระยาตรังครั้งแรก และมีผู้อ้างอิงอยู่เสมอถึงปัจจุบัน ความว่า
   ส่วนชื่อเดิมของพระยาตรังนั้น มีผู้เสนอข้อคิดเห็นแตกต่างกันออกไป กล่าวคือในหนังสือตรังสาร ซึ่งพิมพ์ในงานฉลองรัฐธรรมนูญจังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๔๘๒ และ ว.ศิวะสริยานนท์ (พระวรเวทย์พิสิฐ) เขียนไว้ในหนังสือวรรณคดีสาร เล่มที่ ๑๐ ปีที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๗ ว่า พระยาตรังมีชื่อเดิมว่า “สีไหน” ส่วนบทความเรื่อง “พระยาตรังค์” ของศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส ในวารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ อ้างว่าขุนอาเทศคดีได้สอบถามคนรุ่นเก่าที่เชื่อถือได้หลายคน กล่าวว่าพระยาตรังมีชื่อเดิมว่า “จัน” ส่วนขุนอาเทศคดี (กลอน มัลลิกะมาส) ระบุไว้ในเรื่อง “ชีวประวัติและกวีนิพนธ์ของพระยาตรัง” ในหนังสือวิชชา ฉบับชีวิตไทยปักษ์ใต้ มิถุนายน-กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ ว่าชื่อ “ศรีจันทร์” จึงเป็นอันว่าชื่อเดิมของพระยาตรังยังไม่เป็นที่ยุติ เท่าที่ใช้กันอยู่มีต่างกันเป็น ๓ ชื่อ คือ จันทร์ (จัน) ศรีจันทร์ (สีจัน)
 และศรีไหน (สีไหน)
   ด้านการศึกษาของพระยาตรัง ขุนอาเทศคดีเขียนไว้ในเรื่อง “ชีวประวัติและผลงานของพระยาตรัง” ว่าพระยาตรังเรียนหนังสือขอมไทย ที่วัดท่ามอญ (ปัจจุบันคือ วัดศรีทวี ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ้านของท่านตรงสุดทางรถไฟ ทิศใต้ของวัดดังกล่าวในปัจจุบัน แต่เมื่อได้เวลาบวชเป็นสามเณร สันนิษฐานว่าพระยาตรังคงจะบวชที่วัดหน้าพระลาน เพราะสมัยนั้นสำนักวัดหน้าพระลานมีชื่อเสียงในด้านการศึกษามาก อีกทั้งเพื่อให้ห่างไกลจากบ้านจะได้ตั้งใจเล่าเรียน ประกอบกับมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ที่วัดนี้เคยมีสามเณรน้อยรูปหนึ่งชอบแต่งโคลง และมีคนขอร้องให้ท่านช่วยแต่งโคลงกันมาก ต่อมาสามเณรรูปนี้สึกออกไปรับราชการเป็นกวีมีชื่อเสียงใหญ่โต ส่วนโคลงที่สามเณรแต่ง มีผู้จำกันมาได้ ๒ บท ดังนี้
   บทที่หนึ่ง
๏ เณรนี้รูปร่างอย่าง    แมงแปะ
เหมือนหนึ่งนํ้าเต้าแกะ    ตั้งไว้
นอนวันฝันเห็นแพะ    เลียวาน เณรนา
สุนัขเห่าหอนให้    ร่ำร้องหาขวัญ ฯ
บทที่สอง
๏ เสน่ห์เหยอย่าทำให้พี่นี้    รวนเร
มิเงินเถิดพี่จะเท    ให้ม้วย
ร้อยปีพี่ไม่เห    ห่างสวาท
บิณฑบาตได้กล้วย    ให้น้องกินแฮ ฯ
   ขุนอาเทศคดีกล่าวว่ากวีชาวนครศรีธรรมราชที่ร่วมสมัยกับพระยาตรัง เช่น นายเรือง นาใน และชูปราชญ์ ก็ไม่ได้รับราชการ ข้อสำคัญเมื่อพิจารณาถึงคำว่า “เท” ในภาษาปักษ์ใต้หมายความถึงกิริยาที่ผู้หญิงกับผู้ชายร่วมประเวณีกัน เป็นคำหยาบซึ่งไม่เคยมีกวีคนใดนำมาใช้ ถือเป็นโวหารกล้าในโคลง ทำให้เชื่อว่าสามเณรรูปนั้นน่าจะเป็น “พระยาตรัง” มากกว่าผู้อื่น เพราะกวีที่ใช้โวหารกล้ามาแล้วก็มักจะติดเป็นนิสัยเสมอ โดยเฉพาะสำนวนในนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อยและนิราศถลางของพระยาตรัง ก็มีโคลงชนิดที่เรียกว่า โวหารกล้าโลดโผนคมคายอยู่หลายบท

      นายนรินทร์ธิเบศร์

   
    นิราศนรินทร์คำโคลง
   นิราศนรินทร์คำโคลง เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่ การกล่าวคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก ด้วยสำนวนโวหารอันไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์  นิราศนรินทร์จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง
   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา-  ดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานเกี่ยวกับงานประพันธ์ประเภทนี้ว่า เป็นงานที่เกิดขึ้นเพราะระยะเวลาที่กวีเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ใช้เวลานาน และการเดินทางสมัยก่อนใช้เรือเป็นยานพาหนะ กวีจึงมีเวลาว่างมาก จึงบันทึกอารมณ์คิดถึงนางอันเป็นที่รักที่ตนต้องจากมา พร้อมกับเล่าระยะทางสถานที่ที่ผ่าน และสิ่งที่พบเห็นระหว่างทาง
    เนื้อเรื่องเริ่มด้วยการยอพระเกียรติ  พระมหากษัตริย์ การกล่าวชมเมือง กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ต่อจากนั้นเป็นการรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักซึ่งต้องผ่านสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ออกจากกรุงเทพฯ จนกระทั่งถึงที่หมายที่เมืองตะนาวศรี
    นิราศนรินทร์แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑๔๓ บท โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น ๑ บท ผู้แต่งประณีตในการคัดสรรคำและความหมาย ร้อยกรองเป็นบทโคลงที่ไพเราะ ทั้งยังมีสัมผัสอักษรแพรวพราวตามขนบของคำโคลง อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีโคลงบทไหนเลย ที่อ่านแล้วไม่รู้สึกถึงความไพเราะงดงาม อย่างไรก็ตาม ด้วยสำนวนภาษาที่เก่าถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีคำศัพท์จำนวนไม่น้อยที่เข้าใจยาก หรือเป็นที่ถกเถียงกันโดยยังไม่มีข้อยุติ
     ผู้แต่ง นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)
  นายนรินทรธิเบศร์ เดิมชื่อ อิน ได้รับราชการเป็นมหาดเล็กฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า)  ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพรมีบรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร์ จึงมักเรียกกันว่า นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) คือใส่ชื่อเดิมเข้าไปด้วย
    นิราศเรื่องนี้เป็นที่ยกย่องกันมาก ถึงกับยกเปรียบกับวรรณคดีรุ่นเก่าอย่างโคลงกำสรวล  ในเรื่องนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังได้ทรงพระนิพนธ์คำนำหนังสือนิราศนรินทร์
   เอาไว้ ตอนหนึ่งมีข้อความว่า “...มีผู้สันนิษฐานว่านายนรินทรธิเบศร์ (อิน) แต่งเอาอย่าง หรือเลียนแบบโคลงนิราศกำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อเทียบเคียงกันแล้ว กลับเห็นว่าแต่งดีกว่าเรื่องกำสรวลศรีปราชญ์
    ตัวอย่างคำโคลงนิราศนรินทร์
   ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ      สงสาร อรเอย
   จรศึกโศกมานาน             เนิ่นช้า
   เดินดงท่งทางละหาน       หิมเวศ
   สารสั่งทุกหย่อมหญ้า        ย่านน้ำลานาง

   ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ไม่ค่อยมีศึกสงคราม พระมหากษัตริย์และข้าราชการจึงแต่งโคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน กันเล่นอย่างสนุกมือ  เพราะฉะนั้นในสมัยนี้จึงมี รัตนกวีเอก

ระดับโลกอยู่  ๒  คน   คือ:-

    ๑.สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมปรมานุชิตชิโนรส

    ๒.สุนทรภู่

   ทั้งสองท่านนี้ได้รับรางวัลการยกย่องเกียรติภูมิจากองค์การยูเนสโก้ แห่งองค์การสหประชาชาติว่าเป็นรัตนกวีเอกของโลก

           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

     

                        พระราชประวัติรัชกาลที่ ๓
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้าเป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม เวลาค่ำ ๑๐.๓๐ น. นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ซึ่งภายหลังพระราชชนนีได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระองค์เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ ๒๗ ปี
   ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ๕ พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น ๕๑ พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ เวลา ๗ ทุ่ม ๕ บาท ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา
  พระราชประวัติ
   ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๓ รูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิม "ทับ" ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาไลย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่า หม่อมเจ้าชายทับ จนกระทั่ง สมเด็จพระราชชนกทรงรับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ
   เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. ๒๓๕๖ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
   เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงออกพระนามเต็ม ตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชา
ธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตน
ราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชา
ธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร
พระพุทธเจ้าอยู่หัว" นับเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖"
   ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ เป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์
สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ออกพระนามโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"
   ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประกาศให้เฉลิมพระปรมาภิไธย เป็น "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี
ศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" หรือ "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓
   ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และได้ใช้เป็นสร้อย
พระนามสืบมาจนปัจจุบัน
   เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ ๒) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ ๓๗ พรรษา ทรงรอบ
รู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๓
        พระราชกรณียกิจ
   พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล
       ด้านความมั่นคง
   พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยาม นอกจากนี้ พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้สยามกับญวนยุติการสู้รบระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องเขมรโดยที่สยามไม่ได้เสียเปรียบญวนแต่อย่างใด
   ด้านการคมนาคม
   ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไป อีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน
   ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
   พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศน์ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายกและวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น ๓ วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดารามและวัดราชนัดดาราม ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก ๓๕ วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ ๑ วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น
   ด้านการศึกษา
   ทรงทำนุบำรุง และ สนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี
   โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่างๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปั้นตึ้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่างๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม
   ด้านความเป็นอยู่
   พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบ กรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฎีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดย  พระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่องๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้
   ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีศาสตราจารย์และนายแพทย์ชาวอเมริกันและอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้  คือศาสตราจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ เอ็ม.ดี. หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามของ หมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น
(ปี พ.ศ. ๒๓๗๙) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๗๙ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๘๕ หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
  ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ ๓ หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๗
   หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิสรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา ๔๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๔ และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔
   ด้านการค้ากับต่างประเทศ
   พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคลังสินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมถึงการเปิดค้าขายกับมหาอำนาจจะวันตกจนมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. ๒๓๖๙ และ ๖ ปีต่อมาก็ได้เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกัน ใน พ.ศ. ๒๓๗๕ นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก
   ด้านศิลปกรรม
   เรือสำเภาจีนที่วัดยานนาวา
   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสงขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจนแล้วเสร็จ และทรงมีรับสั่งให้สร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐในวัดยานนาวา เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร เพราะทรงเล็งเห็นว่าภายหน้าจะไม่มีการสร้างเรือสำเภาอีกแล้ว
   สำหรับวรรณกรรม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจารึกวรรณคดีที่สำคัญๆ และวิชาแพทย์แผนโบราณลงบนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ รอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้
    เหตุการณ์สำคัญ
   พ.ศ. ๒๓๖๗ มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
   พ.ศ. ๒๓๖๘ เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย
   พ.ศ. ๒๓๖๙ มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้:
    -ลงนามในสัญญา เบอร์นี
    -เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
   พ.ศ. ๒๓๗๐ เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์
   พ.ศ. ๒๓๗๑ ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
   พ.ศ. ๒๓๗๒ เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
    กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
   โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย  ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๒ ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็น ศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
   พ.ศ. ๒๓๗๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นว่าที่สมุหพระกลาโหม
   พ.ศ. ๒๓๗๔
   ทำการบูรณะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ใช้เวลา ๑๖ ปีในการสร้าง  เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพระราชอาณาจักร
   พ.ศ. ๒๓๗๕ ประธานาธิบดีแจคสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทำการค้ากับไทย
   พ.ศ. ๒๓๗๖  ญวนเกิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการไปรบกับญวน
   พ.ศ. ๒๓๗๗
    ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
   ญวนได้ส่งพระอุไทยราชามาปกครองเขมร
   พ.ศ. ๒๓๗๖ เกิดภาวะเงินฝืดเคือง

     - ภาวะเงินฝืด (อังกฤษ: deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย
   พ.ศ. ๒๓๘๐ หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
   พ.ศ. ๒๓๘๑  เกิดกบฏหวันหมาดหลี ที่หัวเมืองไทรบุรี
   พ.ศ. ๒๓๘๒ ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง และ มีการเผาฝิ่น และ โรงยา ฝิ่น พร้อม มีการปราบอั้งอั้งยี่ซึ่งค้าฝิ่น
เหล่านั้น
   พ.ศ. ๒๓๕๘  หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
   พ.ศ. ๒๓๘๖ เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงขึ้นในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๘๖ แนวคราสมืดพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง กรุงเทพฯเห็นเป็นชนิดบาง
ส่วน 82%
   พ.ศ. ๒๓๘๙ ญวนขอหย่าทัพกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม
   พ.ศ. ๒๓๙๐ ทรงอภิเษกให้นักองค์ด้วงเป็นพระบาทสมเด็จพระนโรดม หริรักษ์รามาธิบดีครองกรุงกัมพูชา
   พ.ศ. ๒๓๙๑  ญวนขอเจริญพระราชไมตรีดังเดิม กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับกรุงเทพฯ
   พ.ศ. ๒๓๙๒ มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
   กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และ เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ บุนนาค) ปราบอั้งยี่ ที่ ฉะเชิงเทรา
   เกิดอหิวาตกโรคระบาด มีคนตายมากกว่า ๓๐๐๐๐ คน ซึ่งรวมถึง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
   พ.ศ. ๒๓๙๓  อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา
   พ.ศ. ๒๓๙๔ เสด็จสวรรคต เมื่อ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔

    บุคคลสำคัญในรัชกาลที่ ๓

    ๑.เจ้าพระยาบดินทรเดชา

    ๒.ท้าวสุรนารี

    ๓.เจ้าอนุวงศ์  เวียงจันทน์

    ๔.ประธานาธิบดี แจ๊คสัน  แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา

    ๕.หมอบรัดเลย์  ชื่อเต็ม ศาสตาจารย์  แคน  บีช  บรัดเลย์

          เจ้าพระยาบดินทรเดชา

   

                   ประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา
       เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) (๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๑๘ - ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๙๒) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก และแม่
ทัพใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 "เจ้าพระยาบดินทรเดชา" เป็นราชทินนามพิเศษ ที่พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานราชทินนามนี้มีแต่ท่านเพียงผู้เดียวเท่านั้น
    ประวัติ
   เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นบุตรคนที่ ๔ ของเจ้าพระยาอภัยราชา กับท่านผู้หญิงฟัก เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม ๗ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม พ.ศ. ๒๓๑๘  เทียบกับปฏิทินปัจจุบันตรงกับวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๑๙ ตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถานที่เกิดอยู่ในเขตพระนคร ตอนเชิงสะพานช้างโรงสีหน้ากระทรวงมหาดไทยทุกวันนี้
   เมื่อเจริญวัยขึ้น เจ้าพระยาอภัยราชาผู้เป็นบิดาได้นำตัวนายสิงห์เข้ารับราชการในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร และได้รับพระราชทานยศศักดิ์ในตำแหน่ง จมื่นเสมอใจราชและพระนายเสมอใจ ต่อมาได้เป็นพระยาเกษตรรักษาว่าการกรมนาฝ่ายพระราชวังบวรในสมัยรัชกาลที่ ๒ ภายหลังเมื่อรัชกาลที่ ๓ ขึ้นครองราชย์สมบัติจึงโปรดให้เป็น พระยาราชสุภาวดี
   ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ก่อสงครามขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพหน้ายกไปปราบปรามกองทัพลาว ในที่สุดท่านได้ปราบปรามกองทัพลาวสำเร็จและสามารถยกเข้าเมืองนครจำปาศักดิ์ได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าพระยาราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
   เสร็จศึกเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงสถาปนาเจ้าพระยาราชสุภาวดีขึ้นเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา อัครมหาเสนาบดีสมุหนายกใน พ.ศ. ๒๓๗๒ (เวลานั้นท่านอายุได้ ๕๒ ปี)
   อีกไม่กี่ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๓๗๖) ญวนเกิดเข้าไปแทรกแซงหาทางจะเอาเขมรเป็นของตน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพขึ้นไปสู้รบกับญวนอีก จนกระทั่งญวนยอมทำไมตรีกับไทยแล้ว และเหตุการณ์ในกัมพูชากลับเป็นปกติตามเดิมเจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๓๙๑ ท่านได้ควบคุมบ้านเมืองในเขมรนานถึง ๑๕ ปีเต็ม
   ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ใช้หลักความเฉียบขาดในการบังคับบัญชา จึงได้ผลคือยุติสงครามเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ และได้ช่วยป้องกันเขมรจากญวนได้สำเร็จตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนำเกียรติคุณมาสู่ทหารไทยและประเทศไทยอย่างมากมาย
   ปีที่กลับจากเขมรมานั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชา มีอายุย่าง ๗๑ ปี แต่ก็ยังเข้มแข็งสามารถรับราชการสนองพระเดชพระคุณได้ต่อมาจนกระทั่งถึง วันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๙๒ ก็ถึงแก่อสัญกรรมบ้านริมคลองโอ่งอ่าง (บริเวณเชิงสะพานหันกับบ้านดอกไม้) ด้วยอหิวาตกโรคซึ่งระบาด  ชุกชุมในปีนั้น รุ่งขึ้นปี พ.ศ. 2393 จึงได้พระราชทานเพลิงศพที่วัดสระเกศ
   เมื่อสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองด้วง) พระเจ้ากรุงกัมพูชา ได้ทราบว่า เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว พระองค์ทรงระลึกถึงครั้งที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ช่วยเหลือปราบปรามหมู่ปัจจามิตรทั้งช่วยจัดราชการเมืองเขมรให้ราบคาบเรียบร้อยตลอดมา จึงดำรัสสั่งสร้างเก๋งขึ้นที่หน้าค่ายใหญ่ ใกล้วัดโพธารามในเมืองอุดงมีชัย (เมืองหลวงเก่าเมืองเขมร) แล้วให้พระภิกษุสุกชาวเขมรช่างปั้นฝีมือเยี่ยมในยุคนั้น ปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทรเดชาขึ้นไว้เป็นอนุสาวรีย์ด้วยปูนเพชร และประกอบการกุศลมีสดับปกรณ์เป็นต้นปีละครั้งที่เก๋ง

   ชาวเขมรเรียกว่า "รูปองบดินทร" ตลอดมาจนบัดนี้ รูปนี้สร้างขึ้นในราวปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๒   เจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นบุคคลที่ประเทศกัมพูชานับถือมากถึงกับสร้างอนุสาวรีย์ไว้ที่เมืองอุดงมีชัยท่านสำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ประเทศเขมร เป็นเวลา  ๑๕  ปี
จากผลงานและคุณงามความดีที่ปรากฏต่อประเทศชาติ ทำให้อนุชนรุ่นหลังสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อเคารพสักการะและระลึกถึงพระคุณของท่าน
หลายแห่ง เช่น เมืองอุดงมีชัย ประเทศกัมพูชา, วัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) , โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) , โรงเรียนบดินทรเดชา
 (สิงห์ สิงหเสนี) ๒, โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา, โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ , โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
นนทบุรี , โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุทรปราการ ,โรงเรียนเทพลีลา, วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร , ค่ายบดินทรเดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11 อ.มะขาม จ.จันทบุรี , ค่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) , กองกำกับ
การตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว , ค่ายบดินทรเดชา กรมทหารราบที่ 16 อ.เมือง จ.ยโสธร สถานีตำรวจภูธรโพธิ์ตาก
อ.โพธิ์ตาก และองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน อ.เมือง จ.หนองคาย ฟิ้ว
    บุตร-ธิดา
   เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) มีบุตรธิดาดังต่อไปนี้
    -จมื่นมหาสนิท (น้อย สิงหเสนี) - ท่านผู้หญิงเพ็ง เป็นมารดา
    -บัว สิงหเสนี (ญ.) ทำราชการฝ่ายใน
    -คุณหญิงแย้ม ราชสุภาวดี สมรสกับพระยาราชสุภาวดี (ปาน สุรคุปต์)
    -เจ้าพระยามุขมนตรี (เกด สิงหเสนี) - ท่านผู้หญิงเพ็ง เป็นมารดา
    -จมื่นทิพย์เสนา (อินทร์ สิงหเสนี)
    -คุณหญิงเกษร วิสูตรโยธามาตย์ สมรสกับพระยาวิสูตรโยธามาตย์ (กุหลาบ หงสกุล)
    -เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) - ท่านผู้หญิงเพ็ง เป็นมารดา
    -คุณหญิงมรกด พิบูลสงคราม สมรสกับพระยาพิบูลสงคราม (นุ้ย)
    -เจ้าจอมมารดากลีบ ในรัชกาลที่ 3 - ท่านผู้หญิงหนู เป็นมารดา
    -ท่านผู้หญิงปุก วิเชียรคีรี สมรสกับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา)
    ขเจ้าจอมมาลัย ในรัชกาลที่ 3
    -จมื่นประธานมณเฑียร (แสง สิงหเสนี)
    -ทิม สิงหเสนี (ญ.) สมรสกับพระอภัยพลรบ
    -สารภี สิงหเสนี (ญ.) สมรสกับพระศรีกาฬสมุทร (บุญมี สุวรรณสุภา)
อำพัน สิงหเสนี (ญ.) สมรสกับพระเสนีพิทักษ์ (ทองสุก)
จมื่นประธานมณเฑียร (เวียง สิงหเสนี)
หม่อมเป้า เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมในหม่อมเจ้าสวัสดิ์ เดชาติวงศ์
    เกียรติประวัติ
   ศาลเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
        ด้านการสงคราม
   -แม่ทัพใหญ่ในศึกสู้ศึกเจ้าอนุวงศ์
   -แม่ทัพในเหตุการณ์ญวณแทรกแซงเขมร
   -ว่าราชการที่เขมรกว่า ๑๕ ปี
   -ช่วยทำราชการปราบปรามจีนตั้วเหี่ยที่ก่อการกำเริบที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
        ด้านศาสนา
   -ปฏิสังขรณ์วัด "วัดสามปลื้ม" ปัจจุบันคือ วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
   -ปฏิสังขรณ์วัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดพระนครในรัชกาลที่ 3 พระราชทานนามใหม่ว่าวัดปรินายก และทรงปฏิสังขรณ์ต่อมา
   -ปฏิสังขรณ์วัดช่างทอง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านผู้หญิงฟักผู้เป็นมารดาได้สร้างไว้ อยู่ที่เกาะเรียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
   -ปฏิสังขรณ์วัดวรนายกรังสรร (เขาดิน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
   -สร้าง วัดตึก ปัจจุบันคือ วัดเทพลีลาพระอารามหลวง
   -ยกที่บ้านถวายเป็นวัด สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญเสนาสนะพร้อม มีชื่อว่าวัดไชยชนะสงครามแต่ชาวบ้านมักเรียกกันว่าวัดตึกจนทุกวันนี้ อยู่ตรง
ข้ามกับเวิ้งนครเขษมใกล้สี่แยกวัดตึก จังหวัดพระนคร
   -สร้างวัดที่เมือง พัตบอง และอุดงมีชัย
   -โรงเรียนพระปริยัติธรรมเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร  สร้างวัดหัวโค้ง ปัจจุบันคือ วัดปากบ่อ
                 ท้าวสุรนารี

     

                     ท้าวสุรนารี
       ท้าวสุรนารี, คุณหญิงโม  หรือ ย่าโม (พ.ศ. ๒๓๑๔-พ.ศ. ๒๓๙๕) บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะวีรสตรีผู้มีส่วนกอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์เวียงจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๙
    ประวัติ
   ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า "โม" (แปลว่า ใหญ่มาก) หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๑๔ มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก (ภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองพนมซร็อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร็อกมาอยู่ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมืองพนมซร็อกมาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นบ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทาง
ถนนจิระจนทุกวันนี้)
   เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๙  โม เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อมานายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระภักดีสุริยเดช" ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา "พระภักดีสุริยเดช" ได้เลื่อนเป็น "พระยาสุริยเดช" ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม  ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า "คุณหญิงโม" และ "พระยาปลัดทองคำ" ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า แม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก-หลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลังและอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการใด ๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคน สำคัญที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ
   ท้าวสุรนารีเป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลานไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำเสมอท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๕ (เดือน ๕ ปีชวด จัตวาศก จศ. 1๑๒๑๔) สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี
   เหตุการณ์ประวัติศาสตร์อันเป็นที่มาแห่งวีรกรรมของท้าวสุรนารี เกิดขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๙ หลังจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติได้เพียง ๒ ปี พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ บันทึกความไว้ว่า
   "เจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฎ... ฝ่ายอนุเวียงจันทน์ตั้งแต่กลับไปถึงเมืองแล้วก็ตรึกตรองที่จะคิดมาประทุษร้ายต่อกรุงเทพมหานคร จึงให้หาอุปราช ราชวงศ์ สุทธิสารกับท้าวเพี้ยขุนนางผู้ใหญ่ มาปรึกษาว่าที่กรุงเดี๋ยวนี้มีแต่เจ้านายเด็กๆ ขุนนางผู้ใหญ่ก็น้อยตัว ฝีมือทัพศึกก็อ่อนแอ ทั้งเจ้าพระยานครราชสีมาก็ไม่อยู่ หัวเมืองรายทางก็ไม่มีที่กีดขวาง การเป็นที่หนักหนาแล้ว ไม่ควรเราจะเป็นเมืองขึ้น ชาวอังกฤษก็มารบกวนอยู่เราจะยกทัพไปตีเอากรุงก็เห็นจะได้โดยง่าย..."
   เจ้าอนุวงศ์ หรือเรียกกันเป็นสามัญว่า เจ้าอนุ ตามที่กล่าวถึงในพระราชพงศาวดารนี้ เป็นบุตรพระเจ้าบุญสาร เสด็จขึ้นครองนครเวียงจันทน์ ต่อจากเจ้าอินทวงศ์ เป็นผู้มีความสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ มาแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลงมาเฝ้า และรับทำราชการต่างๆ โดยแข่งขันสืบมา จนเป็นที่สนิทชิดชอบพระราชอัธยาศัย ส่วนมูลเหตุที่เจ้าอนุวงศ์คิดเป็นกบฎ จะเข้ามาตีกรุงเทพฯ กล่าวว่า เนื่องจากทูลขอครัวชาวเวียงจันทน์ ที่ถูกกวาดต้อนมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี เพื่อจะนำกลับไปบ้านเมือง แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่พระราชทานให้ตามประสงค์ ด้วยทรง
พระราชดำริว่า ครัวชาวเวียงจันทน์เหล่านี้ ได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นหลักแหล่งมั่นคงแล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์มีความอัปยศ จึงเป็นกบฎจะยกทัพเข้ามาตีกรุงเทพมหานคร
   การเตรียมกำลังเข้ามาตีกรุงเทพฯ ครั้งนั้นเจ้าอนุวงศ์ได้ไปเกลี้ยกล่อมบรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้เข้าร่วมด้วย เจ้าเมืองใดขัดขืนก็ฆ่าเสีย มีเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เป็นต้น ราษฎรและเจ้าเมืองอื่นๆ พากันกลัวอำนาจยอมเข้าด้วยหลายเมือง เมื่อเห็นว่ามีกำลังมากพอ ก็ให้ยกกองทัพไปพร้อมกันที่เมืองนครราชสีมา
   มีบันทึกเหตุการณ์ซึ่งเป็นลางร้ายก่อนเจ้าอนุวงศ์จะยกกองทัพออกจากเมืองเวียงจันทน์ว่า
   เมื่อ ณ เดือน ๖ ปีจออัฐศก (พ.ศ.๒๓๖๙) เวลากลางวันเกิดลมพายุใหญ่พัดช่อฟ้าใบระกา หอพระแก้วพระบางหลังคาเรือนอนุหักไปเป็นอันมาก เรือนภรรยาอนุทลาย ๕ หลัง แต่เรือนราษฎรชาวบ้านหักพังประมาณ ๔๐-๕๐ หลัง ครั้นมาถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ อนุยังเกณฑ์กองทัพอยู่นั้น บังเกิดดาวพฤหัสบดีขึ้นทางทิศทักษิณเมื่อเวลาดึกประมาณ ๒ ยามเศษ เกิดแผ่นดินไหวที่เมืองเวียงจันทน์ ถ้วยชามสิ่งของรูปพรรณกระทบกัน ครั้นรุ่งสว่างขึ้นเห็นแผ่นดินแยกออกในกำแพงท้ายเมือง ยาวประมาณ ๒ วา กว้างประมาณศอกเศษ ลึกประมาณเส้นเศษ อนุเห็นดังนั้น จึงหาโหรมาดูว่าดีหรือร้ายประการใด จะยกกองทัพลงไปตีกรุงเทพจะปราชัยหรือมีชัย โหรทำนายว่าเหตุนี้ร้ายนักจะปราชัย
   แม้โหรทำนายเช่นนั้นแต่เจ้าอนุวงศ์ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะยกทัพมาตีกรุงเทพฯ เจ้าอนุวงศ์เองนั้นเกณฑ์กองทัพเมืองเวียงจันทน์ ยกข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งอยู่บ้านพันพร้าว ฝึกหัดกองทัพอยู่ ส่วนทัพหน้าให้เจ้าราชวงศ์คุมคนยกล่วงมาถึงเมืองนครราชสีมา หลังจากเบิกเสบียงจากเมืองนครราชสีมาแล้วก็ยกทัพล่วงหน้าไปเมืองสระบุรี จากนั้นเจ้าอนุวงศ์กับเจ้าสุทธิสารราชบุตรก็ยกทัพตามลงมาถึงเมืองนครราชสีมา
   การที่กองทัพของเจ้าอนุวงศ์ยกผ่านเมืองต่างๆ ไปโดยสะดวก ก็โดยใช้อุบายลวงเจ้าเมืองกรมการรายทางว่า มีศุภอักษรจากกรุงเทพฯ โปรดให้เกณพ์กองทัพมาช่วยรบกับอังกฤษ เจ้าเมืองกรมการเมืองหลงกลและพากันเชื่อฟังจัดหาเสบียงอาหารให้ และไม่มีใครขัดขวางยอมให้ผ่านไปแต่โดยดีทุกเมือง
   เมื่อเจ้าอนุวงศ์ยกกองทัพมาตั้งอยู่ที่เมืองนครราชสีมานั้น เป็นเวลาที่เจ้าพระยานคร ราชสีมาไม่อยู่ ไปราชการที่เมืองขุขันธ์ คงมีแต่กรมการผู้น้อยรักษาเมืองอยู่ เช่น พระยาพรหมยกรบัตร เป็นต้น เจ้าอนุวงศ์ได้สั่งให้พระยาพรหมยกรบัตร เตรียมกวาดครอบครัวขึ้นไปเมืองเวียงจันทน์ให้เสร็จภายในเวลา ๔ วัน พระยาพรหมยกรบัตรกลัวอำนาจก็จำต้องยอมทำตาม และแกล้งจัดหาหญิงรูปงามให้เจ้าอนุวงศ์เพื่อลวงให้ตายใจ
   ฝ่ายพระยาปลัดซึ่งไปราชการกับเจ้าเมืองนครราชสีมา เมื่อทราบข่าวว่าเจ้าอนุวงศ์ลงมากวาดต้อนครัวเมืองนครราชสีมาไปเป็นจำนวนมาก จึงขออนุญาตเจ้าพระยานคร ราชสีมากลับมาช่วยครอบครัวและชาวเมือง ได้เข้าเฝ้าเจ้าอนุวงศ์ โดยลวงเจ้าอนุวงศ์ว่า เจ้าเมืองนครราชสีมาหนีไปเสียแล้วเจ้าอนุวงศ์หลงเชื่อ ก็มอบให้พระยาปลัด และพระยาพรหมยกรบัตร ควบคุมครัวเมืองนครราชสีมา ออกเดินทางไปเมืองเวียงจันทน์ ดังมีหลักฐานเล่าเหตุการณ์รายงานในใบบอกพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา แจ้งมายังค่ายหลวง มีความโดยละเอียดว่า
   ข้าพเจ้าพญาปลัด พญายกรบัตร หลวงพิชัย หลวงเมือง กรมการเมืองนครราชสีมา บอกลงมาว่าด้วยอยู่ ณ วันเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ ปีจออัฐศก  เจ้าเวียงจันทน์เข้ามาถึงเมืองนครราชสีมา เจ้าเวียงจันทน์ให้หาพญายกรบัตรหลวงสัสดี หลวงเมือง หลวงนา หลวงนรา หลวงปลัดเมืองพิมาย ออกไปเจ้าเวียงจันทน์ว่ากับกรมการว่า ถ้าผู้ใดมิยอมไปด้วยเจ้าเวียงจันทน์ฯ จะฆ่าเสียให้สิ้น... เจ้าเวียงจันทน์ให้กองทัพไล่ครัวนอกเมืองในเมืองออกแล้วแต่กองทัพคุมครัวยกไป...ข้าพเจ้ายกไปทันครัว ณ บ้านปราสาท  ข้าพ เจ้ากับกรมการปรึกษาให้ไล่ครัวเข้ามาตั้ง ณ บ้านสำริด แขวงเมืองพิมายข้าพเจ้ากรม การได้บอกข้อความให้ขุนพลถือลงมาบอกกองทัพยกขึ้นไปช่วย ก็หาเห็นกองทัพยกขึ้นไปไม่ ครั้น ณ วันเดือน ๔ แรม ๘ ค่ำ เจ้าเวียงจันทน์ให้ยกกองทัพประมาณพันเศษไปตีชิงเอาครัว ข้าพเจ้ากรมการกับหมื่นศรีธนรัตน หลวงปลัดพิมาย พระณรงค์เดชะ เกณฑ์กำลังครัวได้ ๕๐๐๐ เศษ ยกออกรบ ตีกองทัพเจ้าเวียงจันทน์แตก... เจ้าเวียงจันทน์ แต่งให้เจ้าสุทธิสาร บุตร คุมคนประมาณ ๖๐๐๐ เศษ ยกไปตีข้าพเจ้า
กรมการอีก ข้าพเจ้ากรมการ... ยกออกตีกองทัพเจ้าสุทธิสารแตก ข้าพเจ้ากรมการฆ่ากองทัพเจ้าสุทธิสารตายประมาณ ๑๐๐๐ เศษ ได้ปืนเชลยศักดิ์  ๕๐ คน

   บอกเหตุการณ์ที่ครัวชาวเมืองนครราชสีมารวมกำลังกันต่อสู้ครั้งนี้เองที่ได้เกิดวีรสตรีคนสำคัญขึ้นในประวัติศาสตร์ของชาติไทย นั่นคือ ท่านผู้หญิงโมภริยาพระยาปลัด ได้ควบคุมกำลังฝ่ายผู้หญิงนุนช่วยสู้รบอย่างองอาจกล้าหาญ โดยคบคิดวางแผนกับผู้นำฝ่ายชายและกรมการเมือง จัดหาหญิงสาวให้นายทัพนายกองที่ควบคุมครัวไปจนถึงชั้นไพร่ จนพวกลาวกับครัวชาวเมืองสนิทเป็นอันดีแล้ว ก็ออกอุบายแจ้งว่าครอบครัวที่อพยพไปได้รับความยากลำบากอดอยากนัก ขอมีด ขวาน ปืน พอจะได้ยิงเนื้อมากินเป็นเสบียงเลี้ยงครัวไปตามทาง
   เมื่อเดินทางถึงทุ่งสัมฤทธิ์ก็พร้อมใจกันเข้าสู้ทัพลาว ด้วยอาวุธอันมีอยู่น้อยนิด บ้างก็ตัดไม้ตะบองเสี้ยมเป็นหลาวบ้าง สามารถฆ่าฟันศัตรูล้มตายเป็นจำนวนมาก ดังมีความในใบบอกข้างต้น
   หลังจากชัยชนะของชาวครัวเมืองนครราชสีมาครั้งนี้ ทำให้เจ้าอนุวงศ์หวาดหลั่นไม่กล้าที่จะยกทัพลงมายังกรุงเทพฯ พากันถอยทัพกลับไปและถูกปราบจับตัวมาลงโทษ ณ กรุงเทพมหานคร ในที่สุด
   จากวีรกรรมของคุณหญิงโมที่ได้รวบรวมครัวชายหญิงชาวเมืองนครราชสีมา เข้าต่อสู้ข้าศึกศัตรูจนแตกพ่ายไปครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบำเหน็จความชอบแต่งตั้งขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี
    ท้ายสุรนารี หรือคุณหญิงโม เกิดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ ในแผ่นดินกรุงธนบุรี เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี ได้สมรสกับเจ้าพระยาหิศราธิบดี (ทองคำ) ที่ปรึกษาราชการเมืองนครราชสีมา แต่ครั้งยังดำรงตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา ซึ่งชาวเมืองเรียกสั้นๆ ว่า พระยาปลัด มีนิวาสสถานอยู่บริเวณตรงข้ามวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ท้าวสุรนารีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน ๕ ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๑๔ พุทธศักราช ๒๓๙๕ รวมอายุได้ ๘๑ ปี หลังจากกระทำพิธีฌาปนกิจแล้ว เจ้าคุณสามีได้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอย ต่อมาเจดีย์ชำรุดลงจึงได้ย้ายอัฐิมาบรรจุไว้ที่กู่
ที่วัดพระนารายณ์มหาราช จนกระทั่งเมื่อทางการและประชาชน ชาวนครราชสีมา ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้ ณ หน้าประตูชุมพล เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๗ จึงได้นำอัฐิของท้าวสุรนารีมาประดิษฐานในฐานอนุสาวรีย์แห่งนี้    ที่หน้าประตูชุมพล ประตูเมืองเก่าด้านทิศตะวันตกของเมืองโคราชหรือเมืองนครราชสีมา ทุกวันนี้ยังปรากฎอนุสาวรีย์ของวีรสตรีท่านนี้ ประดิษฐานในอาการที่พร้อมจะเข้าต่อสู้ เพื่อปกป้องคุ้มครองชาวเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย
   อนุสาวรีย์รูปท้าวสุรนารีดังกล่าวนี้ สร้างเป็นรูปปั้นสุภาพสตรีมีเครื่องแต่งกายอย่างหญิงมีบรรดาศักดิ์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือนุ่งผ้าจีบ ห่งสไบคลุมมีอย่างน้อย ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม ในมือถือดาบ ในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะปกปักรักษาบ้านเมือง นอกจากนี้ เพื่อให้อนุสาวรีย์นี้มีความหมายในฐานะเป็นที่เคารพสักการะรำลึกถึงท่านท้าวสุรนารีอย่างแท้จริง ทางการจึงได้เชิญอัฐิของท่านมาประดิษฐานไว้ ณ ฐานของอนุสาวรีย์ด้วย
    วีรกรรมของท้าวสุรนารี และบำเหน็จความ
   เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไป คุณหญิงโม และนางสาวบุญเหลือรวบรวมครอบครัวชาย หญิงชาวนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด
    ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย
ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน
บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี
รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการ
ความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง
แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก
แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง
                     เจ้าอนุวงศ์

     

      เจ้าอนุวงศ์
    เจ้าอนุวงศ์ หรือ เจ้าอนุ (ลาว: ສົມເດັຈພຣະເຈົ້າ​ອະນຸວົງສ໌) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๕ หรือพระองค์สุดท้าย ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหาวีรกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างและประเทศลาว นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวลาวว่า เป็นพระมหากษัตริย์ผู้พยายามกอบกู้เอกราชชาติลาวจากการเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม ทรงปกครองราชอาณาจักร
ล้านช้างเวียงจันทน์ราว พ.ศ. ๒๓๔๘-๒๓๗๑ นักประวัติศาสตร์ลาวและไทยนิยมออกพระนามของพระองค์ว่าพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราชที่ ๓ หรือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านตรวจสอบพระนามตามจารึกต่างๆ โดยละเอียดแล้วได้นับพระองค์เป็นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๕ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารผู้เป็นพระราชบิดา และพระเจ้าอินทวงศ์ ผู้เป็นพระราชเชษฐาได้เฉลิมพระนามของทั้งสองพระองค์เองว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชด้วยเช่นกัน
  พระนาม
   เจ้าอนุวงศ์ทรงได้รับการเฉลิมพระนามตามจารึกประวัติศาสตร์ว่า สมเด็จบรมบพิตรพระมหาขัติยธิเบศไชยเชษฐาฯ จากการเฉลิมพระนามนี้ชี้ให้เห็นว่า นครเวียงจันทน์มีเจ้าผู้ปกครองแผ่นดินในฐานะพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงเอกราชมากกว่าที่จะอยู่ในฐานะเมืองขึ้นหรือเมืองส่วยอย่างที่นักวิชาการหลายท่านเข้าใจ นอกจากนี้ ในจารึกหลายหลักยังออกพระนามของพระองค์แตกต่างกันไป ดังนี้
   เจ้าอนุวงศ์ เอกสารทางประวัติศาสตร์บางแห่งออกพระนามว่า เจ้าอนุรุธราช ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓ ของสมเด็จพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราช ที่ ๓ (พระเจ้าสิริบุญสาร หรือ เจ้าองค์บุญ ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์องค์ที่ ๔ และพระมหากษัตริย์เอกราชแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์สุดท้าย ก่อนตกเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรี สันนิษฐานว่า พระราชมารดาทรงเป็นพระอัครมเหสีฝ่ายขวา เจ้าอนุวงศ์ทรงเป็นพระราชนัดดาในเจ้าองค์ลอง พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๒ (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๗๓-๒๓๒๒)    ส่วนเจ้าองค์ลองนั้นทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (หรือพระไชยองค์เว้) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๑ (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๒๕๐-๒๒๗๓)   

   เจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระราชอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกโดยกำเนิด และมีลำดับในการสืบราชสันตติวงศ์ตามระบบเจ้ายั้งขะหม่อมทั้ง ๔ หรือระบบอาญาสี่ของลาวเป็นลำดับที่ ๓ (โดยนับจากพระเชษฐาสู่พระอนุชา) พระยศของพระองค์ต่างจากพระยศของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) แห่งกรุงเทพมหานครผู้เป็นคู่ปรับของพระองค์ ซึ่งมีพระยศเป็นพระองค์เจ้าโดยกำเนิด ความสัมพันธ์ของเจ้าอนุวงศ์กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ของสยาม ทรงเป็นไปอย่างสนิทแนบแน่นและเป็นความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ เนื่องจากเจ้าคุณจอมเจ้าหญิงคำแว่น (เจ้าจอมแว่น หรือคุณเสือ) และเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงคำสุก (ทองสุก) พระราชนัดดาทั้งสองของพระองค์ ทรงเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกและพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) และพระราชธิดาของเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิง
คำสุก (ทองสุก) คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดี หรือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้ายในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ด้วย นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และการเมืองบางท่านกล่าวว่า สถานะของพระองค์เมื่อครั้งประทับอยู่ ณ กรุงเทพมหานครนั้นเป็นเสมือนองค์ประกันความจงรักภักดีต่อกรุงสยามของกรุงเวียงจันทน์ เสมอ
สถานะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งประทับในกรุงหงสาวดีของพม่า
   เหตุการณ์สงครามเจ้าอนุวงศ์
   พ.ศ. ๒๓๖๘ เจ้าอนุวงศ์เสด็จลงมาถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) แห่งสยาม สยามอ้างว่า พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่ากองทัพไทยอ่อนแอ เนื่องจากแม่ทัพนายกองรุ่นเก่าที่มีฝีมือได้สิ้นชีวิตไปหลายคน ต่อมายังมีข่าวลือไปถึงนคร เวียงจันทน์ว่า ไทยกับอังกฤษวิวาทกันจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นี

   ต่อมา เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้รับการสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าแผ่นดินสยามแล้ว พระองค์จึงทูลขอพระราชทานละครในของเวียงจันทน์ เจ้าหญิงลาว และชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาสยามให้กลับคืนไปเวียงจันทน์ แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพระราชทานพระราชานุญาต เป็นเหตุให้พระองค์ไม่พอพระทัย พระองค์จึงยกทัพลงมากรุงเทพมหานคร โดยวางอุบายหลอกเจ้าเมืองต่าง ๆ ตามรายทางว่าจะยกทัพลงไปช่วยกรุงเทพมหานครรบกับพวกอังกฤษ ทำให้กองทัพของเจ้าอนุวงศ์สามารถเดินทัพผ่านมาได้โดยสะดวก แต่ "เอกสารฝ่ายลาว" อ้างว่า พระองค์มีพระบรมราชโองการแก่เจ้านายหัวเมืองลาวอีสานทั้งหลายว่า จะลงไปตีนครราชสีมาด้วยเจ้านครราชสีมาล่วงล้ำเขตแดนเข้าไปตีข่าสักเลกไพร่พลในแดนลาว และพระองค์มิได้ลงไปตีกรุงเทพมหานครอย่างที่ไทยกล่าวอ้างแต่ประการใด บรรดาเจ้าเมืองหัวเมืองลาวอีสานทั้งหลายต่างรังเกียจพฤติกรรมและนิสัยของเจ้าเมืองนครราชสีมาอยู่แล้วจึงร่วมมือกับพระองค์ เจ้าเมืองลาวอีสานทั้งหลายต่างขันอาสาออกศึกช่วยเหลือพระองค์และกล่าวคำชื่นชมพระบารมีของพระองค์อย่างมาก ฝ่ายสยามกล่าวว่าเมื่อกองทัพลาวยกมาถึงนครราชสีมา เจ้าอนุวงศ์ได้ฉวยโอกาสที่เจ้านครราชสีมาและพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาไปราชการที่เมืองขุขันธ์เข้ายึดเมือง และกวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองขึ้นไปเวียงจันทน์ แต่เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า เจ้าเมืองนครราชสีมาทราบข่าวว่า
   พระองค์เสด็จมาถึงนครราชสีมาแล้ว เจ้าพระยานครราชสีมาเกรงพระราชบารมีและเกรงว่าตนจะต้องโทษที่ล่วงล้ำเขตแดนเวียงจันทน์และจำปาศักดิ์ จึงได้ปลอมตัวหนีทิ้งเมืองของตนเองเสีย เอกสารฝ่ายลาวยังกล่าวอีกว่า เมื่อพระองค์เข้าเมืองของเจ้านครราชสีมาได้แล้ว ทรงเห็นว่าวังของเจ้า
นครราชสีมานั้นใหญ่โตและมีจำนวนมากถึง ๗ หลัง ในเขตวังของเจ้านครราชสีมาสามารถบรรจุทหารของพระองค์ได้มากกว่าพันคน พระองค์จึงทรงตั้งให้พระบรมราชา (มัง ต้นสกุล มังคละคีรี) เจ้าเมืองนครพนมให้กินเมืองนครราชสีมาแทนเจ้าเมืองคนเดิม
   ต่อมา ระหว่างทางกองทัพลาวได้พักไพร่พลและเชลยที่ทุ่งสัมฤทธิ์ พวกครัวเรือนเมืองนครราชสีมาได้วางอุบายลวงทหารลาวจนตายใจแล้วฆ่าฟันทหารลาวตายลงจำนวนมาก จากนั้นจึงตั้งค่ายรอกองทัพจากกรุงเทพมหานครขึ้นมาสมทบ ฝ่ายทหารของเจ้าอนุวงศ์เห็นการณ์ไม่สำเร็จตามคิด จึงถอยทัพกลับไปตั้งมั่นที่กรุงเวียงจันทน์เพื่อรอรับศึกจากกองทัพกรุงเทพมหานคร เอกสารฝ่ายไทยกล่าวว่า เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นวีรกรรม
    ทุ่งสัมฤทธิ์ของท้าวสุรนารี (โม ณ ราชสีมา) ชายาของเจ้านครราชสีมา และวีรกรรมนางสาวบุญเหลือธิดากรมการเมืองนครราชสีมา ส่วนทางฝ่ายลาวและอีสานไม่มีเอก สาร ชั้นต้นหรือเอกสารปฐมภูมิแม้แต่ชิ้นเดียว ที่มีการกล่าวถึงวีรกรรมของสตรีทั้งสองคน ตำนานมุขปาฐะฝ่ายลาวกล่าวว่า
   ท้าวสุรนารีเดิมเป็นชาวลาวแต่มีใจฝักใฝ่กับสยาม จึงได้ร่วมวางแผนกับสยามเข้าตีเวียงจันทน์ และเอกสารฝ่ายลาวยังกล่าวอีกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้
เกิดวีรกรรมของเจ้าเมือง ๒ ท่าน คือ วีรกรรมพระยานรินทร์สงคราม (เจ้าจอมนรินทร์ หรือ พระยาโนลิน ต้นสกุล ลาวัณบุตร์) เจ้าเมืองจตุรัส (เมืองสี่มุม) และเมืองหนองบัวลุ่มภู (หนองบัวลำภู) กับวีรกรรมพระยาภักดีชุมพล (แล ต้นสกุล ภักดีชุมพล) เจ้าเมืองชัยภูมิ ซึ่งทั้ง ๒ องค์ต่างมีความจงรักภักดีต่อนครเวียงจันทน์
  อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกรุงเทพมหานครทราบข่าวกองทัพเจ้าอนุวงศ์ช้ากว่าที่คิด เพราะกองทัพกรุงเทพมหานครทราบข่าวเมื่อกองทัพเจ้าอนุวงศ์หลังจากมาตั้งมั่นที่นครราชสีมาแล้ว สยามได้ส่งกองลาดตระเวนหาข่าวมาถึงเมืองสระบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงทราบข่าวศึกจึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์เป็นแม่ทัพใหญ่ยกทัพจากสระบุรีขึ้นไป และให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี)  ซึ่งเอกสารฝ่ายลาวเรียกว่า พระยามุนินเดช ยกทัพไปทางเมืองปัก (อำเภอปักธงชัย) แล้วตรงไปสมทบกันที่เมืองนครราชสีมา กองทัพทั้ง ๒ ของ
สยามสามารถตีทัพลาวแตกพ่ายไป ส่วนเจ้าอนุวงศ์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงเสด็จไปปรึกษาราชการศึกที่เวียดนาม และได้รับความคุ้มครองตลอดจนได้รับที่ประทับชั่วคราวจากฝ่ายเวียดนามตามฐานะ เมื่อสยามยึดเวียงจันทน์ได้แล้ว กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์จึงโปรดฯ
ให้สร้างเจดีย์ปราบเวียงขึ้นที่หนองคาย และให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) กวาดต้อนครัวเวียงจันทน์ลงไปกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งอัญเชิญพระบาง พระแทรกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแสน พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ และพระพุทธรูปศิลาเขียว (พระนาคสวาดิเรือนแก้ว) มาประดิษฐานยังกรุงเทพมหานครด้วย แต่ในตำนานพระพุทธรูปและเอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า ยัง
มีทรัพย์สินมีค่าอื่น ๆ และพระพุทธรูปสำคัญประจำหัวเมืองลาวอีกหลายองค์ที่สยามพยายามอัญเชิญลงมากรุงเทพมหานคร แต่ชาวบ้านได้นำไปซ่อนไว้ในถ้ำเสียก่อน อาทิ พระแสงที่เมืองนครพนม พระแก้วมรกตที่พระธาตุพนม และพระทองคำที่ถ้ำปลาฝา ถ้ำพระ เมืองท่าแขก เป็นต้น จากนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาราชสุภาวดีเป็นที่เจ้าพระยาราชสุภาวดี ที่สมุหนายก ด้วยมีความชอบ
ในงานราชการศึก
   ใน พ.ศ. ๒๓๗๐ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ไม่พอราชหฤทัยที่เจ้าพระยาราชสุภาวดีไม่ยอมทำลายนครเวียงจันทน์ จึงโปรด
เกล้าฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีกลับไปตีนครเวียงจันทน์อีกครั้งเพื่อทำลายนครเวียงจันทน์ให้สิ้นซาก ฝ่ายพระยาพิชัยสงครามได้คุมทหาร ๓๐๐ นาย
ข้ามแม่น้ำโขงไปดูลาดเลาได้ความว่า พระราชวงศ์เหงียนได้ให้ข้าหลวงพาเจ้าอนุวงศ์และเจ้าราชวงษ์ (เหง้า ต้นสกุล สีหาราช) กลับมาขออภัยโทษจาก
ฝ่ายไทยและขอสวามิภักดิ์อีกครั้ง แต่เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่า พระองค์ไม่พอพระทัยพระจักรพรรดิเวียดนามที่คิดแต่จะแสวงหาส่วย เงินทองจากพระองค์ และพระองค์ก็มิได้ดำริว่าจะทรงเสด็จมาสวามิภักดิ์ฝ่ายไทย แต่ทรงเสด็จกลับมานครเวียงจันทน์เพื่อเสวยราชย์อีกครั้ง เมื่อทรงเห็นทหารไทยเข้าไปอาศัยอยู่ในเมืองของพระองค์โดยพละการ จึงทรงไม่พอพระทัยและสั่งให้ฆ่าฟันขับไล่ทหารไทยพวกนั้นออกไปจากเวียง จันทน์เสีย เอกสารฝ่ายไทยกล่าวว่า รุ่งขึ้นเจ้าอนุวงศ์และเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) กลับยกพลเข้าโจมตีทำร้ายทหารไทยล้มตายเป็นอันมาก

   เจ้าพระยาราชสุภาวดีเห็นพวกนครเวียงจันทน์ตามมาไล่ฆ่าฟันถึงชายหาดหน้าเมืองพันพร้าวก็ทราบว่าเกิดเหตุร้ายขึ้น จึงขอกำลังเพิ่มเติมจากฝ่ายเมืองยโสธร เจ้าอนุวงศ์โปรดฯ ให้เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) นำกำลังพลข้ามตามมาและปะทะกับกองทัพไทยที่ค่ายบกหวาน บ้านบกหวาน เมืองหนองคาย และเกิดการต่อสู้กันถึงขั้นตะลุมบอน แม่ทัพทั้งสองฝ่ายได้รบกันตัวต่อตัวจนถึงขั้นบาดเจ็บ ผลปรากฏว่าฝ่ายเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ได้รับชัยชนะ ส่วนเจ้าพระยาราชสุภาวดีนั้นพ่ายแพ้อย่างราบคาบเพราะถูกฟัน ทหารไทย]]ยิงปืนต้องเจ้าราชวงษ์ (เหง้า)ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย กองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดีจึงได้เร่งติดตามกองทัพลาวไปจนถึงเมืองพันพร้าวก็ปรากฏว่ากองทัพลาวข้ามแม่น้ำโขงไปแล้ว ฝ่ายลาวได้หามเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ไปรักษาพระองค์และไม่ปรากฏเรื่องราวของพระองค์อีกเลยตลอดรัชกาล
   ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ทรงเห็นเหตุการณ์ดังนั้น จึงพาครอบครัวและพระบรมวงศานุวงศ์หนีไปพึ่งพระจักรพรรดิเวียดนามอีกครั้ง แต่พระเจ้าสุททะกะสุวันนะกุมารเจ้านครเชียงขวาง หรือ เจ้าน้อยเมืองพวน ได้ทรงจับกุมเจ้าอนุวงศ์พร้อมครอบครัวส่งพระองค์ลงมาที่กรุงเทพมหานคร
    เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่าสยามได้หลอกลวงเจ้าน้อยเมืองพวนให้บอกที่ซ่อนเจ้าอนุวงศ์ เจ้าน้อยเมืองพวนไม่ทราบเรื่องจึงเป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์ถูกจับเอกสารฝ่ายลาวยังกล่าวอีกว่า สงครามครั้งนี้เจ้าอนุวงศ์ทรงสูญเสียพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า ท้าวหมื่นนาม ซึ่งประสูติแต่พระนางสอนราชเทวี ราชธิดาในพระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนม ส่วนพระนางสอนราชเทวีนั้นทางสยามได้นำพระองค์ไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดเกล้าฯ ให้นำพระองค์เจ้าอนุวงศ์ใส่กรงเหล็กประจานไว้หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พร้อมด้วยนำ
เครื่องทรมานต่างๆ มาทรมานพระองค์อย่างเหี้ยมโหด โปรดให้อดข้าว น้ำ ทั้งพระมเหสี พระชายา พระสนม ตลอดจนพระราชโอรสพระราชนัดดาหลายพระองค์ หลังจากนั้นไม่นานเจ้าอนุวงศ์และพระบรมวงศานุวงศ์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยความทุกข์ทรมาน สิริพระชนมายุรวม ๖๑ พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ในนครเวียงจันทน์ได้ ๒๓ ปี หลังจากนั้นเป็นต้นมาทางสยามก็ไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดในราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ ขึ้นมาเป็นกษัตริย์เวียงจันทน์ ฝ่ายกรุงเวียงจันทน์ได้ถูกทำลายจากการปล้นและเผาจนไม่เหลือสภาพของเมืองหลวง
และกลายเป็นเมืองร้างในที่สุด คงเหลือไว้แต่วัดสำคัญเพียงไม่กี่วัด ได้แก่ วัดพระแก้ว และวัดสีสะเกดเท่านั้น
  หลังจากเจ้าอนุวงศ์สิ้นพระชนม์แล้วอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ก็ถึงกาลอวสานสิ้นสุดลงในที่สุด เอกสารสยามไม่กล่าวถึงพระราชพิธีพระบรมศพของพระองค์ ส่วนเอกสารฝ่ายลาวได้กล่าวถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระองค์ว่า จัดอย่างพิธีลาวใหญ่โตและงดงามกลางกรุงเทพมหานคร ทางสยามไม่ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิถวายเป็นพระเกียรติยศของพระองค์เยี่ยงกษัตริย์ทั่วไปแต่ประการใด ภายหลังมีข่าวลือว่า พระบรมอัฐิของพระองค์ถูกเก็บไว้ใต้บันไดวัดอรุณราชวราราม

    แต่ทางลาวกล่าวว่าพระองค์นำง้วนสารหรือยาพิษมาเสวยจนสิ้นพระชนม์ ทางสยามได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ใต้ฐานพระธาตุดำกลางกรุงเวียงจันทน์ ต่อมาสยามได้ลดฐานะนครเวียงจันทน์ให้เป็นเพียงหัวเมืองชั้นจัตวา และโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยไปรักษาราชการเมือง แล้วยกฐานะเมืองหนองคายเป็นเมืองชั้นเอก
   ให้เมืองเวียงจันทน์ขึ้นแก่เมืองหนองคาย ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระองค์ปรารถนาจะชุบเลี้ยงเจ้านายในราชวงศ์ล้านช้างเวียง จันทน์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเจ้าจอมมารดาดวงคำ พระราชนัดดาในเจ้าอนุวงศ์มาเป็นเจ้าจอมพระสนม และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชนัดดาทั้ง ๒ พระองค์ของเจ้าอนุวงศ์ คือ เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดี (หนู ต้นสกุล จันทนากร) ขึ้นไปกินเมืองมุกดาหารบุรี (หรือเมืองมุกดาหาร) และโปรดฯ ให้ให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมาอุบลราชธานีบาล (หน่อคำ ต้นสกุล เทวานุเคราะห์,
พรหมโมบล, พรหมเทพ) ขึ้นไปกินเมืองอุบลราชธานีในฐานะเมืองประเทศราชทั้ง ๒ เมือง

     ประธานาธิบดีแจ๊คสัน  แห่งสหรัฐอเมริกา

      

             ประธานาธิบดี แอนดรูว์แจ็คสัน
           แอนดรูว์ แจ็กสัน (อังกฤษ: Andrew Jackson – ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๘๘) มีชื่อเล่นว่า “โอลด์ฮิกกอรี่ (Old Hickory) รัฐบุรุษอเมริกันและประธานาธิบดีคนที่ ๗ แห่งสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๓๗๒- พ.ศ. ๒๓๘๐) เกิดที่เมืองแวกซ์ฮอว์ รัฐเซาท์แคโรไลนา จบการศึกษาด้านกฎหมายและได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาจากรัฐเทนเนสซี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙   เป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๐ และระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๔๑- พ.ศ. ๒๓๔๗ ได้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลสูง นอกจากนี้ก่อนหน้านี้ แอนดรูว์ แจ็กสันยังเคยเป็นนักค้าที่ดินและนักค้าทาสอยู่ระยะหนึ่งด้วย
   ชีวิตและงาน
   ในปี พ.ศ. ๒๓๖๔  แอนดรูว์ แจ็กสันดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐฟลอริดาฝ่ายทหาร ต่อมาในช่วงเวลาสงครามต่อสู้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ แอนดรูว์ แจ็กสันได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพอเมริกันส่วนใต้ ชื่อเสียงอันโด่งของแอนดรูว์ แจ็กสันเริ่มจากสงครามเมื่อครั้งที่รบกับอินเดียนแดงที่ครีก และมีชื่อเสียงมากขึ้นอีกครั้งจาการได้ชัยชนะต่อกองทัพอังกฤษที่นิวออร์ลีนส์ (พ.ศ. ๒๓๕๘) เหตุผลสำคัญที่ทำให้       แอนดรูว์   แจ็กสัน  ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเนื่องมาจากการได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาแบบใหม่ที่เรียกกันภายหลังว่า “ประชาธิปไตยแจ็กสัน” (Jacksonian democracy) แอนดรูว์ แจ็กสันมีอิทธิพลและเป็นศูนย์กลางของวงการเมืองอเมริกันระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๓ - พ.ศ. ๒๓๗๒
   อนุสาวรีย์แอนดรู แจ็กสันที่เมืองนิวออร์ลีนส์
   ชื่อสมญา “โอลด์ฮิกกอรี” ที่ได้มาก็เนื่องการเป็นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนบึกบึนอดทน แอนดรูว์ แจ็กสันนับเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเขตชายแดนอเมริกัน แม้จะเกิดทางใต้คือที่เซาท์แคโลไลนา แต่เกือบตลอดชีวิต แจ็กสันนับเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเขตชายแดนอเมริกัน

    ประธานาธิบดี แอนดรูว์  แจ็คสัน  เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ส่ง เอ็ดมันต์  โรเบิร์ต มาทำการค้ากับไทย  และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสยามก็มีสัมพันธไมตรีต่อกันจนกระทั่งทุกวันนี้

   รัชกาลที่ ๓ ได้ทำสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. ๒๓๖๙ และ ๖ ปีต่อมาก็ได้เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกัน ใน พ.ศ. ๒๓๗๕ นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก

                    หมอบรัดเลย์ 

     

                       หมอบรัดเลย์
   หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรบัณฑิต (อังกฤษ: Dan Beach Bradley) หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเลย์  หมอปลัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
    ประวัติ  ชีวิตช่วงแรก
   แดน บีช บรัดเลย์ เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ บิดาเกิดที่เมืองแฮมเดน รัฐคอนเนตทิคัต ก่อนจะย้ายครอบครัวมายังเมืองมาร์เซลลัสเมื่อ พ.ศ. ๒๒๘๘๘  บิดาของหมอบรัดเลย์เป็นผู้หนึ่งที่เริ่มก่อตั้งเมืองมาร์เซลลัส ส่วนมารดา ยูนิช ตายเมื่อ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ เมื่ออายุ ๓๘ ปี
   หลังจากที่คลอดหมอบรัดเลย์ ท่านจึงได้มารดาเลี้ยงคือ แนนซี ดูแลในวัยเด็ก
   หมอบรัดเลย์เลือกศึกษาวิชาแพทย์เพราะในสมัยนั้นต้องการมิชชานารีเป็นอย่างมาก ระยะแรกศึกษากับ ดร.เอ.เอฟ โอลิเวอร์ ที่เมืองเพนน์แยน โดยพยายามแก้ไขการพูดติดอ่างซึ่งเป็นมาตั้งแต่วัยรุ่นโดยการเข้ากลุ่มฝึกพูด ท่านเคยไปฟังบรรยายทางการแพทย์ที่ฮาเวิร์ด ในปี ค.ศ. ๑๘๓๐ และกลับไปฝึกปฏิบัติงานการแพทย์ สลับกับการเป็นครูในหมู่บ้าน เมื่อสะสมเงินได้เพียงพอจึงไปโรงเรียแพทย์ที่กรุงนิวยอร์ก เพื่อเรียนและสอบได้รับปริญญาแพทย์ในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๘๓๓ ระหว่างอยู่ที่นิวยอร์กได้ปฏิบัติงานหาความชำนาญ จนสมัครเป็นแพทย์มิชชันนารีกับคณะกรรมการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเล (American Board of Commissioners for Foreign Missions) เพื่อทำงานในเอเชีย
   เดินทางมายังสยาม
   แดเนียล บีช บรัดเลย์ ออกเดินทางพร้อมภรรยา เอมิลี จากเมืองบอสตัน เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๗ พร้อมมิชชันนารีกลุ่มหนึ่งซึ่งจะเดินทางไปพม่า โดยสารมากับเรือชื่อแคชเมียร์ ใช้เวลา ๑๕๗ วัน จนถึงเมืองท่าแอมเฮิสต์ ของพม่า (ปัจจุบันคือเมือง Kyaikkhami) เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๓๗๗ จนวันขึ้นปีใหม่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๘  เรือมาทอดสมอที่เกาะปีนัง แล้วเดินทางต่อมาถึงสิงคโปร์ ๑๒ มกราคม ใช้เวลา ๖ เดือนกว่าจะถึงสิงคโปร์ เมื่อมาถึงสิงคโปร์ได้พักอาศัยอยู่กับสมาคมมิชชันนารีแห่งลอนดอน (London Missionary Society) โดยพยายามเรียน  ภาษาไทยกับชาวอินเดียในสิงคโปร์ และเดินทางออกจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม เรือมาทอดสมออยู่นอกสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่เช้า เวลา ๗.๐๐ น. ของวันที่ ๑๖ กรกฎาคม รอน้ำขึ้นและคนนำร่อง ในที่สุดเรือผ่านสันดอนได้วันที่ ๑๘ กรกฎาคม จึงได้ลงเรือยาวพร้อมกับสัมภาระบางส่วนเข้ามายังกรุงเทพฯ มาถึงปากน้ำเวลาเที่ยงวัน และถึงกรุงเทพฯ เวลา ๒๑.๐๐ น. ของวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๗๘ ซึ่งตรงกับวันเกิดปีที่
๓๑ พอดี
   หมอบรัดเลย์พักอาศัยอยู่แถววัดเกาะ สำเพ็ง (วัดสัมพันธวงศ์) โดยอาศัยพักรวมกับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน หมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นเป็นที่แรกในสยาม เพื่อทำการรักษา จ่ายยาและหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ แต่เนื่องจากในย่านนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่ กิจการนี้จึงถูกเพ่งเล็งว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงกดดันให้เจ้าของที่ดินคือนายกลิ่น ไม่ให้มิชชันนารีเช่าอีกต่อไป ต่อมาจึงย้ายไปอยู่แถวกุฎีจีน ที่เป็นย่านของชาวโปรตุเกส เช่าบ้านที่ปลูกให้ฝรั่งเช่าของเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งต่อมาคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
(ดิศ บุนนาค) บริเวณหน้าวัดประยุรวงศาวาส โดยหมอบรัดเลย์และคณะมิชชันนารีดัดแปลงบ้านเช่าที่พักแห่งใหม่นี้เป็น โอสถศาลา เปิดทำการ  เมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๓๗๘
   ที่บ้านพักแห่งใหม่นี้ หมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การแพทย์ของไทย โดยตัดแขนให้แก่พระภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๓๘๐ พระภิกษุรูปนั้นประสบอุบัติเหตุจากกระบอกบรรจุดินดำทำพลุแตก ในงานฉลองที่วัดประยุรวงศ์ ซึ่งประสบความสำเร็จดีจนเป็นที่เลื่องลือ เพราะแต่ก่อนคนไทยยังไม่รู้วิธีผ่าตัดร่างกายมนุษย์แล้วยังมีชีวิตอยู่ดีหมอบรัดเลย์ได้ทำการรักษาคนไข้จนมีชื่อเสียง ส่วนภรรยา เอมิลีเข้าไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในวัง ค่าใช้จ่ายเริ่มสูงขึ้นเรื่อง ๆ ไม่มีใครสนับสนุน หมอจึงหางานเสริมมาเลี้ยงครอบครับ จนหน่วยงานด้านกิจการ  ศาสนาในอเมริกา ขอยุติการสนับสนุนภารกิจของมิชชันนารีในสยาม และขอให้ยกทีมเดินทางกลับอเมริกา ส่วนหมอบรัดเลย์กำลังหมดตัว แต่คณะมิชชันนารีได้ทิ้งเครื่องพิมพ์ไว้ให้ จนหมอหันมาทุ่มเทด้านการพิมพ์ จนประดิษฐ์อักษรไทยสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ และได้ทุนรับจ้างพิมพ์จากทางราชการสยาม
   กลับอเมริกาและกลับมายังสยาม
   สุสานหมอบรัดเลย์
   จนภรรยาที่เป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้ราชสำนักสยามมานาน ๑๐ ปีล้มป่วยและเสียชีวิตด้วยวัณโรค จึงพาลูก ๔ คนที่เกิดในสยามกลับไปอเมริกา เป็นเวลา ๓ ปีเศษ ส่งลูกศึกษาที่อเมริกา ดิ้นรนจนได้รับทุนสนับสนุนจากสมาคมมิชชันนารีอเมริกันเป็นผลสำเร็จ และได้พบรักใหม่กับภรรยาใหม่ ซาราห์ บลักลี (Sarah Blachly) บัณฑิตจากวิทยาลัยโอเบอร์ลิน รัฐโอไฮโอ หลังแต่งงานก็กลับสยามเพื่อทำงานที่ค้างไว้ในสยามเมื่อ 3 ปีก่อน การ  กลับมาครั้งนี้ ได้พิมพ์หนังสือพิมพ์ไทยฉบับแรก บางกอกรีคอร์เดอร์ เป็นทั้งบรรณาธิการและเขียนบทความเอง และได้พิมพ์หนังสือต่าง ๆ อีกหลายเล่ม ส่วนภรรยา ซาราห์ ก็สอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก หมอบรัดเลย์ยังริเริ่มการปลูกฝึ ที่กำ ลังระบาดในสยาม
   ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๙๕  รัชกาลที่ ๔ พระราชทานที่ดินให้หมอบรัดเลย์ รวมถึงมิชชานารี ได้สร้างโรงพิมพ์บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ข้างป้อมวิชัยประสิทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตบางกอกใหญ่) ในหลวง รัชกาลที่ ๔ เสด็จไปสนทนาภาษาอังกฤษและเรื่องราวความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์กับคุณหมอและแหม่มซาราห์ที่บ้านอยู่บ่อยครั้ง
   หมอบรัดเลย์เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๖  อายุ  ๖๙ ปี ศพฝังที่สุสานโปรเตสแตนต์ ที่ใกล้โรงงานยาสูบ ถนนตก ซึ่งยังมีอยู่จนทุกวันนี้
    ในฐานะหมอสอนศาสนา
   หมอบรัดเลย์สมัครเป็นมิชชันนารีกับคณะกรรมการพันธกิจคริสตจักรโพ้นทะเล (American Board of Commissioners for Foreign Missions) โดยเรียนศาสนศาสตร์ด้วยตัวเอง ต่อมาภายหลังท่านเชื่อหลักศาสนศาสตร์เรื่อง คริสเตียนสมบูรณ์แบบ (Christian perfection) ของชาลส์ ฟินนีย์ โดยเชื่อว่า คริสเตียนทำบาปไม่ได้ ท่านเชื่อว่าคนมีสองพวกเท่านั้น คือคนชอบธรรมและอธรรม
   สิ่งที่หมอบรัดเลย์ทำเป็นประจำควบคู่กับการรักษาคนเจ็บป่วยที่คลินิกคือการเทศน์และการอธิบายถึงพระเจ้าแท้จริง ท่านจะไปเทศน์อธิบายข้อความในพระคัมภีร์ทุกแห่งที่มีโอกาสไม่ว่าจะเป็นที่วัด เช่นเมื่อครั้งไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาส ก็ถือโอกาสเทศน์ให้พระสงฆ์ หรือเมื่อไปรักษาคนเจ็บป่วยในวังก็เทศน์ให้ชาววังฟัง ยังมีการแจกแผ่นปลิวที่พิมพ์เป็นภาษาไทย จากการแปลด้วยตัวเอง และมีครูภาษาไทยช่วยเรียบเรียงให้ในระยะแรก หมอบรัดเลย์ยังแวะขึ้นเรือสำเภาที่จอดริมแม่น้ำเจ้าพระยา แถบท่าดินแดง ราชวงศ์ คลองสาน เรื่อยมาจนถึงบางรัก ยานนาวา แจกแก่ลูกเรือชาวแต้จิ๋ว
    ในฐานะแพทย์
   การอยู่ไฟของมารดาหลังคลอด
   หมอบรัดเลย์เป็นผู้นำแพทย์แผนปัจจุบัน (แบบตะวันตก) เข้ามาหลายประการ ทั้งการผ่าตัดและการป้องกันโรค หมอบรัดเลย์เปิดสถานพยาบาล  รักษาผู้ป่วยในบางกอกเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๗๔ ในการรักษาโรคในระยะแรก ๆ หมอบรัดเลย์จะตรวจผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมากเกือบ ๗๐-๑๐๐  คน ในเวลา ๓-๔ ชั่วโมง ส่วนมากในช่วงเช้ามีคนช่วยจัดยาและแจกใบปลิวข้อความในพระคัมภีร์ด้วย   ในปีแรกเจ้าฟ้าน้อย (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้เสด็จมาเยี่ยม เล่าให้ฟังเรื่องประเพณีการอยู่ไฟของมารดาหลังคลอด หมอบรัดเลย์ได้เสนออยากจะสอนให้คนไทยบางคนรู้จักภาษาอังกฤษแลสอนวิชาแพทย์ที่มี โดยในช่วงที่มีการปลูกฝี มีหมอหลวงมาศึกษากับหมอบรัดเลย์ และยังเขียนหนังสือเพื่อสอนหมอชาวสยาม เขียนบทความอธิบายวิธีการปลูกฝึ ในภายหลังรัชกาลที่ ๓ ได้พระราชทานรางวัลให้ ๒๕๐ บาท (เท่ากับ ๑๔๕  ดอลลาร์อเมริกันในสมัยนั้น) ตำราแพทย์แผนปัจจุบันเล่มแรกนี้ชื่อว่า ครรภ์ทรักษา มีความหนา ๒๐๐ หน้า มีภาพประกอบฝี มือคนไทยประมาณ ๕๐ ภาพ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาการของโรคในการคลอดและวิธีการแก้ไขรักษา กับพยายามสอนให้คนไทยเลิกธรรมเนียมการอยู่ไฟ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มารดาหลังคลอดเสียชีวิต
   สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้หมอบรัดเลย์ คือการผ่าตัด มีการผ่าตัดก้อนเนื้อที่หน้าผากของผู้ป่วยรายหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๑๙๘๕  โดยไม่มียาสลบและอีกหนึ่งการผ่านตัดที่ได้รับการจารึกไว้คือเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๑๘๓๗ เกิดเหตุระเบิดของปืนใหญ่ที่งานวัดบริเวณวัดประยุรวงศาวาส มีคนตาย ๘ คน และบาดเจ็บจำนวนมาก หมอบรัดเลย์ได้ตัดแขนของชายหนุ่มคนหนึ่งถึงเหลือหัวไหล่ ในภายหลังวันที่ ๗ กันยายน ๑๘๔๐ หมอ  บรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่า ได้ตัดแขนเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุบนเรือฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีการบันทึกว่า วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๑๘๗๓ หมอบรัดเลย์ได้ใช้เวลาทั้งวันในการแก้ไขกรามบนของชายที่กรามหักในงานวันเมื่อ ๖ วันก่อน
   ในบันทึกของหมอบรัดเลย์ ยังบันทึกการผ่าตัดรักษาต้อกระจกหลายครั้ง รวมถึงการผ่าตัดต้อเนื้อ เช่น เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๑๘๓๖ มีพระภิกษุรุปหนึ่งจากสุโขทัยเดินทางมา ๑๕ วัน พาพี่ชายที่ตาบอดเพราะการอักเสบมาตรวจ แต่ช้าเกินกว่าจะรักษา หลังจากนั้น ๔ ธันวาคม ๑๘๓๖ พระภิกษุรูปเดิมพาพระจากสุโขทัย ๕ รูป มาตรวจตา มีรูปหนึ่งอายุ ๘๐ ปี เป็นต้อเนื้อ ก็ได้รับการผ่าตัดลอกต้อออกได้ ยังมีการผ่าตัดต้อกระจกขุนนางผู้ใหญ่ เช่น เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๑๘๔๔ ได้ผ่าตัดต้อกระจกเจ้าพระยาพลเทพ อายุ ๗๓ ปี ซึ่งอีก ๒ เดือนต่อมาได้ให้ใส่แว่นก็เห็นได้ชัดเจนดี
     งานพิมพ์
    บางกอกรีคอเดอ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย
   หมอบรัดเลย์ ถือเป็นผู้บุกเบิกงานพิมพ์ในประเทศไทย ภูมิหลังน่าจะได้มาจากบิดาซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือ และการสนใจในวรรณคดีแต่เด็ก การพิมพ์ในยุคแรกของหมดบรัดเลย์มุ่งเน้นเรื่องทางศาสนา โดยได้แปลและพิมพ์หนังสือ ใบปลิวที่เกี่ยวกับศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก โดยไม่ยอมพิมพ์หนังสือเรื่องทางโลกอื่น ๆ ยกเว้นเรื่องทางการแพทย์และเอกสารของราชการ เนื่องจากหมอบรัดเลย์ได้พัฒนาอักษรและแท่นพิมพ์ให้เหมาะสม ทำให้ราชสำนักสยามว่าจ้างให้ตีพิมพ์เอกสารประกาศของราชการ อย่าง ประกาศห้ามมิให้คนสูบแลค้าขายฝิ่นจำนวน ๙๐๐๐ ฉบับ ปีกุน พ.ศ.๒๓๘๒  ออกเผยแพร่ให้แก่ราษฎร ซึ่งนับว่าเป็นเอกสารทางราชการไทยชิ้นแรกที่ได้จัดพิมพ์ขึ้น
   แต่ต่อมาหลังจากกลับจากอเมริกาและถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๑๘๕๐ มีความจำเป็นต้องพึ่งตัวเองมากขึ้น จึงเริ่มพิมพ์งานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น พิมพ์นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) ในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ โดยได้ซื้อลิขสิทธิ์จากหม่อมราโชทัยด้วยจำนวนเงิน ๔๐๐ บาท ถือเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ในการพิมพ์หนังสือครั้งแรกในประเทศไทย และได้จัดพิมพ์หนังสือด้วยตัวอักษรลาวขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย มีการตีพิมพ์ ภูมิประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสพิมพ์ตำราเรียนภาษาไทย เช่น ประถม ก กา จินดามณี หนังสือกฎหมาย ทั้งยังพิมพ์เรื่องในวรรณคดีต่าง ๆ เช่น ราชาธิราช สามก๊ก เลียดก๊ก ไซ่ฮั่น และก่อนจะเสียชีวิตในปี ๑๘๗๓  ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมไทย ชื่อ อักขราภิธานศรับท์
   นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มการพิมพ์หนังสือพิมพ์ในแนวจดหมายเหตุ ที่ชื่อ บางกอกรีคอเดอ ถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก ฉบับแรกออกเมื่อ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๗ เป็นเอกสารชั้นต้นซึ่งบันทึกข่าวสารเหตุการณ์สำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื้อหาในแต่ละฉบับมีข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการสาธารณสุข ตลอดจนให้ข้อมูลสินค้าของสยามและต่างประเทศ คำศัพท์สำนวน
ภาษาอังกฤษ พงศาวดารต่างชาติ ฯลฯ หมอบรัดเลย์นำเสนอข่าวสารอย่างกล้าหาญและรักความเป็นธรรม ตัวอย่างเช่นเมื่อกงสุลฝรั่งเศสชวนข้าทาสไทยให้เข้าไปอยู่ในความคุ้มครองของฝรั่งเศสและเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราโดยไม่บอกรัฐบาลไทยทราบ เมื่อลงหนังสือพิมพ์ก็ถูกฟ้องร้องและถูกปรับ แต่ฝรั่งในไทยช่วยกันรวมรวมเงินจ่ายค่าปรับแทน โดยรัชกาลที่ ๔ พระราชทานเงินสมทบด้วย
   หมอบรัดเลย์ยังริเริ่มการเย็บเล่ม เข้าปกแบบหนังสือตะวันตก จึงเรียกว่า สมุดฝรั่ง[9] และพิมพ์ปฏิทินสุริยคติเป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
    ตัวพิมพ์
   ก่อนยุคหมอบรัดเลย์ การพิมพ์และหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยมีขึ้นแล้ว แต่ทำกันในต่างประเทศ ผลงานในยุคแรก ๆ เช่น หนังสือ James Low's Thai Grammar ใช้ตัวพิมพ์ซึ่งจัดทำโดยมิชชันนารีสตรีชาวอเมริกันชื่อ แอน แฮสเซลไทน์ จัดสัน และช่างพิมพ์ที่ชื่อนายฮัฟ การเรียงตัวและจัดพิมพ์ทำขึ้นที่อินเดียและพม่า ในราว พ.ศ. ๒๓๗๐ เมื่อหมอบรัดเลย์ถึงกรุงเทพ ก็ได้นำตัวพิมพ์ชุดนี้เข้ามาใช้ในโรงพิมพ์ของเขา ต่อมาในปี ๒๓๘๒ ได้รับจ้างราชการไทยพิมพ์เอกสาร แผ่นประกาศห้ามสูบฝิ่น เอกสารนี้ใช้ตัวเรียงซึ่งซื้อจากสิงคโปร์ จนมีการหล่อตัวพิมพ์ใน ประเทศไทยสำเร็จครั้งแรกในปี ๒๓๘๔ ผลงานชิ้นแรก ๆ เช่น ครรภ์ทรักษา
   ส่วนตัวพิมพ์ที่เรียกกันว่า "บรัดเลย์เหลี่ยม" ใช้ในผลงานรุ่นถัดมา ปรากฎใช้ครั้งแรกใน บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งออกในปี ๒๓๘๗ แบบอักษรของบรัดเลย์เหลี่ยมนั้น ถ่ายทอดมาจากตัวเขียนลายมือ สันนิษฐานได้ว่ามาจากลายมือแบบอาลักษณ์ อาจพบลายมือคล้ายกันนี้ในสมุดข่อย ซึ่งเขียนขึ้นในยุคต้นรัตนโกสินทร์หลายเล่ม ตัวอักษรของบรัดเลย์เหลี่ยม ทำเพื่อให้แกะง่ายขึ้น เช่น ดัดตัวให้ตรง มีเส้นนอนด้านบน ซึ่งหักมุมเหลี่ยมเป็น บุคลิกสำคัญ มีรูปทรงและสัดส่วนของอักษรที่แน่นอน เช่น ก ไก่ มีความกว้างยาวเป็นสัดส่วนราว ๒ ต่อ ๓ และมีรูปทรงสี่เหลี่ยนผืนผ้าแนวตั้ง ยังปรับปรุงโครงสร้างอื่น เช่น ทำเส้นตั้งหรือ ขา ให้ตั้งฉากกับเส้นนอน กำหนดหัวกลมโปร่งให้มีเอกภาพและตำแหน่งแน่นอน เส้นมีความหนา และการหักมุมเที่ยงตรงแบบเรขาคณิต ดูเป็นระเบียบมากขึ้น ตัวอักษรบรัดเลย์เหลี่ยมยังสร้างมาตรฐานใหม่ของอักษรไทย ถือกันว่าเป็นการวางฐานสำคัญให้แก่ตัวพิมพ์ไทย
   นอกจากนั้นยังมีตัวอักษร "บรัดเลย์โค้ง" พิมพ์ครั้งแรกใน นิราษเมืองลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (กระต่าย) บรัดเลย์โค้งชุดนี้มี ๒ ขนาด ใน บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งออกช่วงปี ๒๔๐๘ ใช้บรัดเลย์โค้งเป็นตัวพาดหัว
    ผลงาน
   ผลงานการตีพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ที่ออกมาเป็นรูปเล่ม โดยหนังสือเรื่องแรกที่พิมพ์แต่ยังไม่ออกเป็นรูปเล่ม คือ พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์  หนังสือต่าง ๆ เหล่านี้พิมพ์เป็นภาษาไทย   -ค.ศ. ๑๘๓๗ - การสร้างโลก, ประวัติพระคริสต์, ลักษณะและพระบัญญัติของพระยะโฮวาห์, ประวัติพระพุทธและพระคริสต์โดยเปรียบเทียบ,
หนทางที่แท้สู่สวรรค์
   -ค.ศ. ๑๘๓๘ - บทเพลงเพื่อดวงวิญญาณ (รวม ๗๒ บท), คำตัดสินสุดท้าย, คำสอนของนักบุญ
   -ค.ศ. ๑๘๓๙ - คัมภีร์การปลูกฝี
   -ค.ศ. ๑๘๔๑ - ความเรียงว่าด้วยฝิ่น, จุลสารว่าด้วยวัฒนธรรมอินเดีย
   -ค.ศ. ๑๘๔๒ - ประวัติพระคัมภีร์เดิม ตอนที่ ๔, ความเรียงว่าด้วยความชั่วร้ายของการเสพสุรา, ความเรียงว่าด้วยบุตรผู้รักดี, ความเรียงว่าด้วยลาซา
รัสและคนดำน้ำ,  ความเรียงว่าด้วยทูตสวรรค์, ความเรียงว่าด้วยข้าวสาลีและภาชนะ
   -ค.ศ. ๑๘๔๓ - คำภีร์ครรภ์ทรักษา, ประวัติพระคัมภีร์เดิม ตอนที่ ๕
   -ค.ศ. ๑๘๔๔ - จัดทำร่างพจนานุกรมบาลี
   -ค.ศ. ๑๘๔๕ - ประวัติพระคัมภีร์เดิม ตอนที่ ๖
   -ค.ศ. ๑๘๔๖ - เรื่องของแดเนียล
   -ค.ศ. ๑๘๔๗ -เรื่องของโยเซฟ
   -ค.ศ. ๑๘๕๙ -กฎหมายว่าด้วยการจอดเรือ
   -ค.ศ. ๑๘๖๐ - นิราศลอนดอน, จินดามณี
   -ค.ศ. ๑๘๖๓ - ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส
   -ค.ศ. ๑๘๖๔ - พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล
   -ค.ศ. ๑๘๖๕ - สามก๊ก
   -ค.ศ. ๑๘๗๐ -เลียดก๊ก
   -ค.ศ. ๑๘๗๒ -ไซ่ฮั่น
   -ค.ศ. ๑๘๗๓ -อักขราภิธานศรับท์
    งานหลวง
   หมอบรัดเลย์ใช้วิชาการแพทย์แผนตะวันรักษาผู้ป่วยคนไทยเป็นจำนวนมาก จนพวกขุนนางและข้าราชการไทยได้รับบริการจากท่านด้วย กิตติศัพท์นี้เข้าถึงพระกรรณเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดราชาธิราช พระองค์รับสั่งให้หมอบรัดเลย์เข้าเฝ้า เพื่อถวายการรักษาพระโรคลมอัมพาตที่เกิดแก่พระพักตร์ของพระองค์ ต่อมายังเข้าถวายพระโอสถใช้รักษา ในวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๓๗๙ ผลการรักษา ได้ผลดีทำให้อาการของพระโรคทุเลาลงมากทำให้หมอบรัดเลย์ได้เข้าใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท จนโปรดเป็นพระสหายคนหนึ่งในเวลาต่อมา ดังจะเห็นได้จากการโปรดให้หมอบรัดเลย์ เข้าถวาย
พระอักษาภาษาอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๓๖๒ เจ้านายที่โปรดหมอบรัดเลย์มากอีกพระองค์คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)  ส่วนขุนนางที่สนิทสนมกับหมอบรัดเลย์ คือ หลวงนางสิทธิ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
   หมอบรัดเลย์เข้ามาในสยามในยามที่ชนชั้นนำกำลังปรับปรุงโลกทัศน์ตนเอง โดยเฉพาะหลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้านายฝ่ายนั้น พร้อมกับการขึ้นมาเป็นหัวหน้าขุนนางของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นขุนนางหัวก้าวหน้ามาตั้งแต่สมัยมิชชันนารีเริ่มเข้าสู่สยาม จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ในปีแรก ได้พูดคุยกับขุนนางผู้ใหญ่หลายคน ทั้งซักถามถึงวิทยาการแผนใหม่เช่นการแพทย์ โดยบันทึกไว้ว่า "เมื่อคนชั้นปกครองในเมืองไทยมีความกระ หายที่จะเรียนรู้ความเจริญแบบยุโรปเช่นนี้ ก็ย่อมทำให้พวกเราเกิดมีใจ  มุมานะที่จะอยู่ และปฏิบัติกิจการของเราต่อไปเป็นอันมาก"หมอบรัดเลย์ยังเป็นผู้ร่างและแปลจดหมายภาษาอังกฤษถวายตลอดจนทรงปรึกษาบรัดเลย์ในบางกรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแบบแผนวัฒนธรรมตะวันตก บางครั้งเขาเป็นล่ามในการเจรจาทำสัญญาการค้ากับตะวันตกด้วย
    ชีวิตส่วนตัว
   หมอบรัดเลย์สมรสกับภรรยาคนแรก เอมิลี รอยส์ บรัดเลย์ (Emilie Royce Bradley) เมื่อมาเมืองไทยรับลูกของมิชชันนารีด้วยกันเป็นบุตรบุญธรรมคนหนึ่ง และภรรยามีลูกอีก  ๒ คน รวมมีบุตรเป็น ๓ คน แต่เอมิลีถึงแก่กรรม ใน พ.ศ. ๒๓๘๘ ด้วยโรควัณโรคและศพได้ฝังอยู่ในเมืองไทย จากนั้น พ.ศ. ๒๓๙๐ กลับอเมริกาโดยพาบุตรและบุตรบุญธรรมกลับ และกลับมาเมืองไทยอีกครั้งปี พ.ศ. ๒๓๙๓ มีภรรยาใหม่ชื่อ ซาราห์
บรักลีย์ บรัดเลย์ (Sarah Brachly Bradley) คงพักอยู่ในสยามโดยไม่ได้กลับอเมริกาเลยตลอดชีวิต เสียชีวิตเมื่อ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ตอนอายุ ๗๕ ปี อยู่สยามรวม ๔๓ ปี ส่วนลูกของเธอ ๔ คนเดินทางกลับไปใช้ชีวิตในอเมริกา มีบุตรชายชื่อ คอร์เนลิอุส บี บรัดเลย์ (Cornelius) ลูกสาวคนหนึ่งของหมอพักอาศัยในบ้านหลังนี้ต่อไปจนเสียชีวิตด้วยโรคชรา และมอบที่ดินดังกล่าวให้กองทัพเรือ

              แจ้งเตือน 

    พระราชประวัติรัชกาลที่ ๔  โปรดคลิกดูที่ข้างบนของหน้านี้

 

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 139,924