๒.กฐิน
กฐิน
ไตรจีวร คือ ผ้า ๓ ผืน คนไทยนิยมเรียกสั้นๆ ว่า "ผ้าไตร" ผ้าไตรคือผ้าที่สงฆ์ใช้สอย แบ่งออกเป็น ๓ ผืน คือ:-
๑.ผ้าสังฆาฏิ คือผ้าพาดบ่า
๒.ผ้าอุตราสงค์ คือผ้าจีวรที่พระใช้ห่ม
๓.ผ้าอันตรวาสก คือผ้าสบงที่พระใช้นุ่ง
และนิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ผ้ากาสาวะพัตร" คือผ้าที่ยอมด้วยน้ำฝาด ๖ อย่างตามที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตมีดอกกัณณิการ์เป็นต้น
ไตรจีวรเป็นเครื่องอัฏฐบริการบริขารที่จำเป็นมากที่พระสงฆืจะได้ใช้สอย ผู้ใดเคยถวายผ้ากฐินหรือไตรจีวร เมื่อได้บรรลุพระอรหันต์ในเพศคฤหัสถ์ก็จะมีผ้าไตรจีวรและบาตรล่องลอยมาในอากาศ มาวางอยู่ตรงหน้าให้นุ่งห่มได้เลย ข้อนี้ก็แสดงให้เห็นว่าผู้นั้นในอดีตชาติเขาเคยถวายผ้ากฐินหรือผ้าไตรจีวรและบาตรเอาไว้ แต่ถ้าเราไม่เคยถวายผ้ากฐินหรือบาตรและไตรจีวรเอาไว้ในอดีตชาติ ก็จะไม่มีผ้าไตรจีวรและบาตรล่องลอยมาในอากาศให้แก่เราในเวลาที่เราบรรลุเป็นอรหันต์ ตัวอย่างเช่นในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงออกบวช
พอจวนเวลาใกล้รุ่ง เจ้าชายสิทธัตถะ ก็เสด็จขึ้นขี่ม้ากัณฐกะโดยมีนายฉันนะเป็นสารถีเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที ก็ทรงขับม้ากัณฐกะกระโจนข้ามแม่น้ำไปโดยสวัสดี เมื่อทรงทราบว่าพ้นเขตเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว ก็เสด็จลงจากหลังม้ากัณฐกะ ประทับนั่งเหนือหาดทรายอันขาวสะอาด รับสั่งแก่นายฉันนะว่า เราจักบรรพชาถือเพศเป็นบรรพชิตในที่นี้ท่านจงเอาเครื่องประดับของเรากับม้ากลับกรุงกบิลพัสดุ์เถิด
ครั้นตรัสฉะนี้แล้วก็ทรงเปลื้องเครื่องประดับสำหรับขัตติยราชทั้งหมดมอบให้แก่นายฉันนะ ตั้งพระทัยปรารถนาจะทรงบรรพชา จึงทรงดำริว่า ผมของเรานี้ ไม่เหมาะแก่สมณเพศ จึงทรงจับพระโมลีคือมวยผมด้วยพระหัตถ์ซ้ายคือมือซ้าย พระหัตถ์ขวาคือมือขวาทรงจับพระขรรค์ แล้วทรงตัดผมให้ขาด แล้วทรงอธิษฐานว่า "ถ้าตัวข้าพเจ้าจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณขอให้ผมข้าพเจ้าจงลอยอยู่ในอากาศ แต่ถ้าข้าพเจ้าจะไม่สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ก็ขอให้ผมทั้งหลาย จงตกลงมายังพื้นดินเถิด" เมื่อทรงอธิษฐานดังนี้แล้วก็ทรงขว้างผมขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าพระเกสา แม้แต่เส้นเดียวก็มิได้หล่นลงมายังพื้นดินเลย ท้าวสักกะเทวราช หรือ ที่เราจักรู้จักท่านว่าพระอินทร์ ก็เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วทรงเอาผอบแก้วมารองรับเอาพระเกสาไว้ แล้วทรงนำไปบรรจุไว้ที่พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนกระทั่งทุกวันนี้
ขณะนั้น ฆฏิการพรหม ก็น้อมนำเอาผ้าไตรจีวรและบาตร จากพรหมโลกเข้าไปถวายแด่พระสิทธัตถะราชกุมาร พระองค์ก็ทรงรับเอาผ้าไตรจีวร
จากมือของฆฏิการพรหม แล้วทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัตรอันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ แล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตคือเป็นพระและทรงมอบผ้า
ของคฤหัสถ์ที่เหลือแก่ฆฏิกการพรหม ฆฏิการพรหมก็ได้นำเอาผ้าแห่เพศคฤหัสถ์ไปบรรจุไว้ใน "ทุสสะเจดีย์" ที่อยู่บนพรหมโลก จนกระทั่ง
ทุกวันนี้
จนต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นจะลักเอาไปตัดเย็บอีกไม่ได้ซึ่งเหมาะสมกับเพศสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ ดังปรากฏข้อความในพระวินัยปิฎก ว่า
"อานนท์ เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่ง คันนากับคันนา ผ่านตัดกันไปหรือไม่? ... เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?"
พระอานนท์ทูลตอบว่า "สามารถ พระพุทธเจ้าข้า."
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ กลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ ได้ตัดแต่งจีวรสำหรับภิกษุหลาย ครั้นแล้วก็ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า "ขอพระผู้มีพระภาคจงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าตัดแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า."
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมมีกถา ในเพราะเหตุนั้นเป็นเค้ามูล ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้ง ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง ...จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยน้ำฝาด สมควรแก่เพศสมณะ และพวกศัตรูทั้งหลายจะไม่ต้องการอีก"
หลังจากพระอานนท์ถวายผ้าจีวรที่ตัดแต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และทรง
อนุญาตให้ใช้ ผ้า ๓ ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง ต่อมาทรงอนุญาต ไตรจีวร คือ ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้ (รูปใดมีมากกว่านี้ เป็นอาบัติ)
อติเรกจีวร คือ จีวรที่มีเกินกว่าผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร ตามพระวินัย ภิกษุสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน และสามารถทำเป็น วิกัปอติเรกจีวร คือ ทำให้เป็นจีวรที่มี ๒ เจ้าของ เพื่อจะได้ไม่ต้องอาบัติ เพราะเก็บไว้เกินกำหนดความเป็นมาของเรื่องอติเรกจีวรนี้ เนื่องจากมีผู้ถวายผ้าจีวรแก่พระอานนท์ แล้วท่านประสงค์จะเก็บไว้ ถวายพระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นอยู่ต่างเมือง ประมาณ ๑๐ วัน จึงจะเดินทางมาถึง พระอานนท์ได้เข้าไป ทูลถามพระพุทธองค์ว่า จะปฏิบัติอย่างไร กับอติเรกจีวรดี จึงทรงมีพุทธบัญญัติ ให้เก็บรักษาอติเรกจีวร ไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน
สมัยต่อมา มีจีวรหลายประเภทเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่แน่ใจว่า จีวรชนิดใดที่ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นต่อพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ
๑.จีวรทำด้วยเปลือกไม้
๒.จีวรทำด้วยฝ้าย
๓.จีวรทำด้วยไหม
๔.จีวรๆทำด้วยขนสัตว์
๕.จีวรทำด้วยป่าน
๖.จีวรทำด้วยของเจือกัน
ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ บันทึกว่า แต่เดิมนั้นพระภิกษุย้อมสีจีวรต่างกันไป พระโคตมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม ๖ อย่าง คือ:-
๑.น้ำย้อมเกิดแต่รากหรือเหง้า
๒. น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้
๓. น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้
๔. น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้
๕. น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้
๖. น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้
ส่วนสีที่ทรงห้ามมี ๗ สี คือ:-
๑.สีเขียวครามเหมือนดอกผักตบชวา
๒.สีเหลืองเหมือนดอกกรรณิการ์
๓.สีแดงเหมือนชบา
๔.สีหงสบาท (สีแดงกับเหลืองปนกัน)
๕.สีดำเหมือนลูกประคำดีควาย
๖.สีแดงเข้มเหมือนหลังตะขาบ และสีแดงกลายแดงผสมคล้ายใบไม้แก่ใกล้ร่วงเหมือนสีดอกบัว
บางแห่งระบุว่า สีต้องห้าม คือ สีดำ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด และสีชมพู
การครองจีวร หรือ กาสาวะในช่วงพุทธศาสนายุคแรก หรือในยุคที่พุทธศาสนายังรุ่งเรืองในอินเดีย (Indian Buddhism) มีความแตกต่างหลากหลายไปตามคณะนิกายต่างๆ ความแตกต่างนี้ไม่เพียงสื่อถึงสำนักนิกายในสังกัดเท่านั้น แต่ยังสื่อถึงความแตกต่างในพระวินัยอีกด้วย ระหว่างปี ค.ศ. ๑๔๘ - ๑๗๐ อันซื่อเกา พระภิกษุชาวปาร์เตีย (Parthia) จาริกมาถึงแผ่นดินจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ท่าน ได้แปลปกรณ์วิเศษเกี่ยวกับการครองผ้า และสีสันจีวรของ * นิกายหลักของพุทธศาสนาในอินเดีย ปกรณ์วิเศษที่ว่านี้มีชื่อว่า "มหาภิกษุเสขิยวัตร ๓๐๐๐ ประการ" อีกปกรณ์ที่พรรณนาถึงการครองผ้าและสีจีวรในลักษณะเดียวกันคือคัมภีร์ศาริปุตร
ปริปฤจฉา ข้อแตกต่างระหว่าง 2 คัมภีร์ก็คือ สีจีวรของนิกายสรวาสติวาทกับนิกายธรรมคุปตกะสลับกัน
กาสาวะในจีน พุทธจักรในจีน เรียกจีวร หรือผ้ากาสาวะว่า "เจียซา" ในสำเนียงมาตรฐานปัจจุบัน แต่ในสำเนียงจีนโบราณออกเสียงว่า "เกียซา" หรือ "กาซา" ในช่วงแรกที่พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่แผ่นดินจีนนั้น พระภิกษุครองจีวรสีแดงเป็นหลัก แต่ต่อมาคณะนิกายมีความแตกต่างหลากหมายมากขึ้นสีสันจึงมีความแตกต่างมากขึ้น ดังเช่นคณะนิกายในอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในกรณีของจีนนั้น สีของกาสาวะมักแตกต่างกันโดย
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ต่างๆ เป็นสำคัญ มากกว่าที่จะใช้แยกแยะความแตกต่างระหว่างคณะนิกาย โดยในแถบเจียงหนาน ทางภาคใต้ มักครองสีดำเข้ม ขณะที่แถบไคเฟิง ทางภาคกลางมักครองสีกรัก เป็นต้น
ในเวลาต่อมาสายการอุปสมบทในจีนเหลือเพียงสายที่อิงกับพระวินัยของนิกายธรรมคุปตกะเท่านั้น ดังนั้นความแตกต่างระหว่างสีกาสาวะกับคณะนิกายจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป โดยเหตุนี้ในสมัยราชวงศ์ถังเป็นต้นมา พระภิกษุในจีนมักครองกาสาวะสีเทาเหลือบดำ ผู้คนจึงเรียกพระภิกษุว่า "จืออี" หรือผู้ห่มผ้าดำ ซึ่งเป็นสีกาสาวะของนิกาย ธรรมคุปตกะนั่นเอง
นอกจากสีดำแล้ว ในสมัยราชวงศ์ถังยังมีธรรมเนียมการถวายจีวรสีม่วงให้กับพระภิกษุสงฆ์ผู้ประกอบด้วยคุณงามความดีอันยอดยิ่ง โดยธรรมเนียมนี้มีที่มาจากตำนานเล่าขานเกี่ยวกับพระศาณะวาสิน ศิษย์ของพระอานนท์ ที่ถือกำเนิดมาพร้อมกับจีวร ต่อมาในแผ่นดินจีนมีเรื่องราวคล้ายคลึงกัน โดยพระภิกษุรุปหนึ่ง นามว่า ฮุ่ยเหลิง ถือกำเนิดมาพร้อมกับจีวรเช่นกัน แต่เป็นจีวรสีม่วง ประจวบเหมาะกับสีม่วงเป็นสีเครื่องแบบของขุนนางชั้นสูง ด้วยเหตุนี้ ตามธรรมเนียมจีนกาสาวะม่วงจึงไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดมาเพื่อดดำรงสมณะเพศแต่กำเนิดเท่านั้น ยังหมายถึงสมณะผู้มีคุณงามความดีความอันโดดเด่นด้วย ซึ่งการถวายจีวรสีม่วงแก่พระเถระ เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระนางเจ้าอู๋เจ๋อเทียน หรือ พระนางบูเช็กเทียน ในสมัยราชวงศ์ถัง
อย่างไรก็ตาม พระภิกษุที่เคร่งครัดในสมัยราชวงศ์ถังไม่ยินดีนักกับการครองกาสาวะม่วง อันเป็นสัญลักษณ์ที่ยังข้องอยู่กับทางโลก กระนั้นก็ตาม เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง ทางการขาดแคลนรายได้อย่างหนัก ถึงกับประกาศขายกาสาวะสีม่วง (หรือนัยหนึ่งคือสมณะศักดิ์) แก่พระภิกษุ หรือผู้ที่ปรารถนาจะซื้อแล้วถวายแก่พระภิกษุ ตราบนั้นเป็นต้นมา กาสาวะสีม่วงจึงกลายเป็นสัญญลักษณ์ของความเสื่อมโทรมของพุทธจักร
กาสาวะในเกาหลี พุทธจักรในเกาหลีเรียกจีวรว่า กาซา หรือ คาซา (อักษรฮันจา อักษรฮันกึล ) นับตั้งแต่พุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่คาบสมุทรเกาหลี การครองจีวรส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากจีน ซึ่งแตกต่างไปตามนานานิกาย อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ราชวงศ์โชซอน (1392–1910) เป็นต้นมา ภิกษุส่วนใหญ่ครองกาสาวะสีเทาครองสังฆาติสีแดง ต่อมาหลังการปฏิรูปพุทธศาสนาครั้งใหญ่ระหว่างปี 1947 - 1962 พุทธจักรในเกาหลี แยกเป็น ๒ นิกาย คือนิกายแทโก (อักษรฮันจา อักษรฮันกึล ) ซึ่งครองอุตราสงค์สีเทา หรือสีน้ำเงิน สังฆาฏิสีแดง ขณะที่นิกายโชเก (อักษรฮันจา อักษรฮันกึล ) ครองอุตราสงค์สีเทา หรือสีน้ำเงิน สังฆาฏิสีกรัก
กาสาวะในญี่ปุ่น พุทธจักรในญี่ปุ่นเรียกกาสาวะว่า เกสะ นับแต่พุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนนี้ ลักษณะการครองและสีสันของผ้าแตกต่างกันไปตามนิกายที่มีอยู่หลากหลาย อีกทั้งยังมีการจำแนกแยกย่อยกาสาวะตามคุณลักษณะการใช้งาน เช่นการครองผ้าตามวัตรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และการครองผ้าสำหรับงานพิธีกรรม อย่างน้อยมีการแบ่งกาสาวะตามลักษณะต่างๆ ดังที่ว่านี้ ด้วยชื่อเรียกถึง 20 ชื่อ นอกจากนี้ ยังมี
"วะเกสะ" หรือกาสาวะครึ่งแบบ และ "ฮังเกสะ" หรือกาสาวะเล็ก สำหรับอุบาสกผู้รับศีล
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักครองผ้าสีดำหรือสีเทาในยามปกติ นอกจากนี้ ยังรับธรรมเนียมการถวายกาสาวะสีม่วงจากสมัยราชวงศ์ถังมาด้วย แต่ธรรมเนียมนี้ถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ การประกาศยกเลิกธรรมเนียมยังผลให้พระจักพรรดิทรงขัดเคืองพระทัยอย่างหนัก ถึงกับทรงสละราชสมบัติ เมื่อพระราชาคณะชั้นสูงประท้วงคำสั่งและไม่กระทำการตามประกาศ
ภายหลังเหตุการณ์ที่เป็นข้อขัดแย้งสิ้นสุด พระภิกษุส่วนหนึ่งได้ถูกทางการเนรเทศ
กาสาวะในเวียดนาม พุทธจักรในเวียดนามครองกาสาวะ หรือ กาสะ ใกล้เคียงกับในจีน มีสีเหลือง สีส้ม สีกรัก สีแดง กาสาวะในทิเบต พุทธจักรในทิเบตถือตามพระวินัยของนิกายมูลสรวาสติวาท กาสาวะส่วนใหญ่ของคณะนิกายต่างๆ ในทิเบตจึงมีสีแดงตามนิกายมูลสรวาสติวาท แต่ส่วนประกอบอื่นๆ มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละนิกาย
ในสมัยพุทธกาลนั้นพระภิกษุใช้ผ้าจีวร สีอะไร และพระพุทธองค์ครองผ้ากาสาวพัตร สีอะไร สมัยโบราณพระนำเปลือกไม้มาทำการย้อมผ้าจีวร ผ้าจีวรจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ผ้าย้อมฝาด ดังนั้นสีก็น่าจะแตกต่างกันออกไปตามเปลือกไม้ที่นำมาผสมและนำมาใช้ย้อม ไม่น่าจะมีสีมาตรฐาน แต่พระพุทธองค์ก็วางหลักเกณฑ์เอาไว้แล้วว่า สัอะไรบ้างที่พระภิกษุใช้ได้บ้าง
สำหรับปัจจุบัน การทำผ้าจีวรไม่มีการใช้เปลือกไม้มาย้อมผ้าแล้ว แต่ใช้สึย้อมผ้าแทน ดังนั้น ผ้าสีจีวรจึงมีไม่กี่สี ไม่ค่อยหลากหลาย ผมคิดว่า สมัยโบราณสีจีวรน่าจะหลากหลาย มีความเข้ม แก่ อ่อน หลากหลายมากกว่าปัจจุบันนะครับ
เรื่องจีวรนั้นผมพอทราบมาบ้างว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น จีวรจะได้มาจากการชักบังสุกุลจากซากศพซะโดยส่วนมาก และจากญาติโยมที่มาถวายอีกส่วนหนึ่ง ช่วงแรกๆผ้าสบงจีวร ยังเป็นผืนผ้าที่ไม่มีการตัดต่อเหมือนอย่างที่เห็น คือจะเป็นแบบทั้งผืนเลย ต่อมามีพวกโจร ๕๐๐ โขมย และ พวกโจรมาโขมยมาจี้เอาจีวรพระไป เนื่องจากผ้าสมัยนั้นหายากมีราคาแพง พระพุทธองค์จึงมอบหมายให้พระอานนท์ ไปออกแบบมาใหม่โดยทำเป็นแบบคันนา แต่ภาษาพระเขาเรียกว่า ขันฑ์ นั่นคือที่มาแบบย่อๆนะครับ เรื่องราวมีมากกว่านี้ ส่วนเรื่องการย้อมสีนั้นเมื่อก่อนจะใช้ แก่นของต้นขนุน เมื่อย้อมแล้ว
จะออกสีกลัก ไม่มีกลิ่นเหม็นแต่จะมีกลิ่นของแก่นขนุนหอมดีเหมือนกัน แถมดูดีด้วย ปัจจุบันก็ยังมีบางวัดที่ยังใช้อยู่ แต่ส่วนมากจะเป็นวัดป่าที่เคร่งๆ ส่วนวัดในเมืองจะใช้สีกระป๋องเพราะสะดวก อีกส่วนนึงจะใช้จีวรสำเร็จแล้วคือทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนตอนผมบวชนั้น ผมต้องเย็บ จีวร สบง อังสะ สังฆาติเอง แล้วย้อมเองวัดไม่ให้ซื้อ บาตรเหล็กต้องบ่มไฟเองทั้งคืน ขาบาตรก็ต้องทำเอง ต้องทำเกือบจะทุกอย่างนะครับ กว่าผมจะบวชได้ต้องอยู่เป็น นาค ตั้ง ๔ เดือน เดี๋ยวนี้จำไม่ค่อยได้แล้วว่า จีวรผืนนึงจะต้องใช้กี่ ขันฑ์ เพราะจีวรจะมี ๕ ขันฑ์ ๗ ขันฑ์ ๙ทม ขันฑ์ เมื่อก่อนจำได้ว่าจีวรผืนนึงของพระพุทธองค์มี ขันฑ์ ทั้งหมด ๑๕ ขันฑ์(ถ้าจำไม่ผิดนะ) ซึ่งต้องบอกว่ายาวและใหญ่มาก ขนาดจีวร ๙ ขันฑ์ยังไม่ค่อยจะมีใครห่มกันเลย ก็ลองหาข้อมูลดูนะครับ ผิดพลาดก็ขออภัยด้วยเพราะผมสึกมานานแล้ว
อืม ผมได้ยินมาว่าจีวรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นจีวรทิพย์ ที่เกิดด้วยบุญบารมีของพระองค์ อันนี้จริงหรือไม่อย่างไร ท่านผู้รู้ช่วยแจงรายละเอียดทีนะครับ เท่าที่ผมได้ยินมาไม่ใช่แค่พระองค์เท่านั้น บรรดาเหล่าพระสาวกของพระองค์บางท่านก็มีจีวรทิพย์เกิดขึ้นเหมือนเช่นพระองค์ เพราะบุญที่ได้เคยถวายเครื่องนุ่งห่มแก่พระภิกษุในชาติก่อนๆ
๑. พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม ๒๐ อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ ๔ อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
๒. พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม ๔๐ อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ ๘ อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
๓. พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม ๘๐ อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ ๑๖ อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
จริงครับ แม้กระทั่งพระสาวก ที่ได้บวชแบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ก็ได้ ชุดบริขารที่เป็นทิพย์ แต่ก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พระพุทธองค์ไปชักผ้าบังสุกุลจากซากศพ ตอนที่ไปโปรด ชฏิล3พี่น้อง ที่ท้าวสักกะ เนรมิตสระน้ำให้พระพุทธองค์ได้ซักผ้าผืนนั้น ยังมีท่านอื่นๆอีกที่เนรมิตที่ตากที่ขยำลองไปหาอ่านดูครับ เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์และพระสาวกก็ใชจีวรแบบธรรมดาเหมือนกันไม่ใช่ของทิพย์ทั้งหมด
ผมได้ยินมาว่าจีวรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นจีวรทิพย์ ที่เกิดด้วยบุญบารมีของพระองค์ อันนี้จริงหรือไม่อย่างไรเคยได้ยินมาว่า ตอนต้นกัป จะมีดอกบัวบังเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่า กัปที่ตั้งใหม่นี้จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นกี่พระองค์ และภายในดอกบัวแต่ละดอกจะมีอัฐบริขารอยู่ แล้วพรหมจะอัญเชิญเอาอัฐบริขารไปเก็บไว้ที่พรหมโลกก่อน เมื่อพระโพธิสัตว์ออกบวชแล้ว พรหมก็จะลงมาถวายเครื่องอัฐบริขารดังกล่าว ให้พระโพธิสัตว์ถือเพศเป็นบรรพชิต แล้วออกแสวงหาหนทางตรัสรู้ครับ
คิดดูครับ ภาพที่พระพุทธองค์เสด็จนำสาวกออกบิณฑบาตร ตอนเช้างดงามขนาดไหน ภาพที่ท่านแสดงธรรมแก่พระสาวกจำนวนมาก หรือภาพที่ท่านเสด็จลงมาจากดาวดึงส์เทวโลก งดงามขนาดไหน แม้แต่พยานาคได้ชมแล้วเกิดปิติถึงขนาดกลั่น
ใจให้ละเอียดจนสามารถพ่นบั้งไฟออกมาได้คุณสาครให้ข้อมูลเกี่ยวกับจีวรพระดีมากเลยครับได้ความรู้เพิ่มขึ้นครับ จีวรของพระพุทธองค์ชุดแรกนั้นน่าจะเป็นจีวรทิพย์
จริง ๆ ครับ เพราะขณะที่ตรัสรู้แล้ว ท่านไม่น่าจะต้องหาจีวรเอง ดังนั้นจีวรชุดแรกก็เป็นจีวรทิพย์เหมือนคุณ คนเคยเข้าวัดบอกแหละครับ โดยจีวรชุดแรกของพระพุทธองค์ถูกเก็บไว้ที่พรหมโลกก่อน แต่ว่าหลังจากนั้นพระพุทธองค์น่าได้ทำจีวรเป้นต้นแบบแก่พระภิกษุทั้งหลาย ยึดเป็นต้นแบบไว้คิดว่าแต่ยังค้นไม่เจอครับว่าท่านทำจากไม้อะไร มาทำน้ำฝาด
สำหรับสีจีวรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามที่บันทึกไว้ บอกว่าออกเป็นสีเหลืองทองที่เรียกว่า "สิงคีวรรณ" สิงคี แปลว่า เปลวไฟ หรือทอง คือสีเหมือนเปลวไฟ อยากเห็นว่าเป็นอย่างไรลองไปก่อไฟดู ไฟมันเป็นเปลวออกสีเหลืองทองๆส้มๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้จีวรสิงคีวรรณ หลักฐานที่ค้นพบมีว่าอย่างนี้ เพราะฉะนั้นอย่าไปฟังอะไรมา แล้วเชื่อง่ายๆนะ"
"The moon in the middle of the night?
The young sage alone with his mind has seen it.
His disciples invite him to become immortal?
His body in the fire?"
"ดวงจันทร์ลอยเด่นยามราตรี?
หนุ่มคงแก่เรียนผู้สันโดษมองเห็นภาพในดวงจิต
เหล่าสาวกจะอัญเชิญท่านไปสู่ความเป็นอมตะ
ร่างของท่านอยู่ในเพลิง"
คำว่า "เพลิง" อาจจะเทียบได้กับสีจีวรในพระพุทธศาสนา
อนุโมทนาสาธุ กับทุกท่านที่มาช่วยกับตอบคำถามอีกครั้งครับ สาธุ สาธุ สาธุ
จุดหมุ่งหมายของสังฆทาน คือ ถวายเข้าไปในหมู่พระตั้งแต่ ๔ รูปขึ้น
หรือพระตัวแทน ที่ทางวัดจัดจุดรับสังฆทานให้ก็ได้ ก็เป็นสังฆทานแล้วครับ
*ข้อดีของการ ถวาย จีวร และบาตร นอกจากได้บุญแล้ว ได้สุคติแล้วหากเรามีบุญได้บวชโดย เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้าบวชให้โดยท่านกล่าวเพียงแค่ เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ก็จะสำเร็จเป็นพระโดยทันที และ เมื่อนั้นจะเกิดปาฏิหาริย์คือ จะปรากฏ บาตรและจีวรด้วยอำนาจแห่งบุญของเรา บังเกิดขึ้นกลางอากาศแล้วลอยมาอยู่ตรงหน้าให้ครองจีวรและบาตรได้เลย บาตรและจีวรอันเป็นทิพย์ และเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์
อานิสงส์ของการทอดกฐิน ซึ่งเป็นกาลทานอันประเสริฐนั้น มีมากมายไม่อาจจะประมาณได้ นอกจากจะส่งผลให้ผู้ทอดถวายประสบความสุขความเจริญในชาติปัจจุบันแล้ว ผลบุญยังจะส่งให้ได้รับความร่าเริงบันเทิงใจในสุคติโลกสวรรค์อีกด้วย จากนั้น...อานิสงส์ก็ยังส่งไปถึงในภพชาติต่อๆไป เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมก็จะทำให้ได้สมบัติพิเศษ คือ หากเกิดเป็นผู้ชาย ในคราวที่ออกบวช อัฐบริขาร ได้แก่ บาตรและผ้าไตรจีวรอันเป็นทิพย์ก็จะเกิดขึ้น หากเกิดเป็นผู้หญิง เครื่องประดับมหาลดาประสาธน์ซึ่งมีมูลค่าถึงเก้าโกฏิ ก็จะเกิดขึ้นให้ได้ใช้ประดับกาย บาตรและจีวร
ส่วนลักษณะแห่งการบังเกิดขึ้นของอัฐบริขารอันเป็นทิพย์นั้น สำหรับบุคคลที่ได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน หรือคุณธรรมอื่นที่สูงกว่านี้ แต่ยังไม่ถึงอรหัตผล และมีบุญจากการถวายบาตรและจีวรมาพอสมควร จะได้รับการประทานการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ขณะที่ได้รับการประทานการบวชนั้น จีวรซึ่งสำเร็จด้วยบุญฤทธิ์ก็จะเกิดขึ้นในวงแขน แต่ร่างกายนั้นยังมิได้เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อจีวรทิพย์เกิดขึ้นแล้ว อุบาสกท่านนี้ก็จะต้องได้รับการปลงผม และนุ่งห่มสบงจีวรในภายหลัง ก็เป็นอันว่า...ได้สำเร็จขั้นตอนในการบวช
ส่วนบุคคลที่ได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และมีบุญที่ได้ถวายบาตรและจีวรมามากในกาลก่อน จะได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ขณะที่ได้รับการประทานการบวชนั้น ด้วยอำนาจบุญฤทธิ์จะก่อให้เกิดความสว่างขึ้นครอบคลุม ร่างกายก็จะค่อยๆ สว่างขึ้น มีองค์พระขนาดใหญ่ยี่สิบวาคลุมกาย ในที่สุดก็กลายเพศจากคฤหัสถ์มาเป็นเพศบรรพชิต มีจีวรอันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดด้วยบุญฤทธิ์ สวมใส่แทนชุดฆราวาส สะพายบาตร เส้นผมบนศีรษะก็เป็นเช่นเดียวกับพระเถระที่ได้บวชมานาน เมื่อร่างกายได้แปรเปลี่ยนไปเป็นบรรพชิตเรียบร้อยแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นการบวช ไม่ต้องปลงผมปลงหนวด ไม่ต้องแสวงหาพระอุปัชฌาย์และคู่สวดแต่อย่างใดอีก
สำหรับผู้ที่เป็นสตรีนั้น ครั้นได้สั่งสมบุญทอดกฐิน ได้เคยถวายบาตรและจีวร มาเป็นอันมากแล้ว เมื่อบุญเต็มส่วนก็จะได้เครื่องประดับมหาลดาประสาธน์ อันเป็นเครื่องประดับที่สูงค่า ไม่ได้เกิดแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็นเครื่องประดับที่เกิดเฉพาะเจาะจงเพื่อบุคคลผู้มีบุญญาธิการ ได้ประกอบเหตุเอาไว้ในอดีต คือ ได้เคยถวายผ้าไตรจีวรแด่หมู่สงฆ์ไว้เป็นอันมากมาก่อน ดังเช่นในยุคของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา มีสตรีผู้มีบุญมากที่ได้ครอบครองเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์นี้อยู่เพียงสามท่าน หนึ่งในจำนวนนั้นคือ...นางวิสาขา มหาอุบสิกา ผู้ซึ่งเป็นยอดแห่งอุบาสิกาผู้เลิศกว่าสตรีนางใดในการสนับสนุนค้ำจุนพระพุทธศาสนา และพระภิกษุสงฆ์
ในครั้งนั้น ท่านธนัญชัยเศรษฐี บิดาของนางวิสาขา ได้สั่งให้ช่างฝีมือดีห้าร้อยคน ช่วยกันทำเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์ขึ้น เพื่อให้เป็นของขวัญวันแต่งงานแก่นางวิสาขาผู้เป็นบุตรสาว โดยใช้เวลาถึงสี่เดือน เครื่องประดับนี้จึงเสร็จสมบูรณ์เป็นเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์ที่มีความวิจิตรพิสดารและงดงามยิ่งนัก ส่วนประกอบทั้งหมดทำด้วย...ทองคำ เงิน เพชร แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วประพาฬ และรัตนชาติจำนวนมาก
และการทำชุดเครื่องประดับนี้ก็มิได้ใช้เส้นด้ายอย่างที่ใช้กัน แต่ใช้ทองคำบริสุทธิ์รีดเป็นเส้นด้ายเพื่อร้อย เย็บ และถักทอ รัตนชาติทุกชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน เครื่องประดับมหาลดาประสาธน์นี้ เมื่อสวมแล้วจะคลุมตั้งแต่ศีรษะ ยาวลงมาจรดหลังเท้า ในส่วนที่สวมศีรษะ จะทำเป็นนกยูงรำแพน มีขนซึ่งทำด้วยทองคำ ๑๐๐๐ ขน มองดูประหนึ่งนกยูงกำลังยืนรำแพนอยู่บนยอดเขา ไล่ลงมา
ตั้งแต่ศีรษะจรดหลังเท้าเป็นสายทองประดับรัตนชาติชนิดต่างๆ มีแววขนนกยูงอยู่ที่ปลายแต่ละช่วง นอกจากนี้ ยังมีแหวนรูปนกยูง พร้อมด้วยแหวนบริวารอีกข้างละสี่วง ต่างหูสองข้าง สร้อยคอหนึ่งเส้น ปลอกรัดต้นแขน เข็มขัดและรองเท้า ซึ่งล้วนแต่ทำด้วยทองคำประดับรัตนชาติทั้งสิ้น
เหตุที่ทำให้นางวิสาขาได้เครื่องประดับมหาลดาประสาธน์นั้น ก็ด้วยผลบุญที่นางเคยสั่งสมไว้หลายยุคหลายสมัย และมีบุญใหญ่ที่สั่งสมเป็นพิเศษในพุทธันดรที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า “กัสสปะ”
ในครั้งนั้น นางวิสาขาได้บังเกิดเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้ายของพระเจ้ากิกิ มีนามว่า “สังฆทาสี”-นางเป็นผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างยิ่ง ได้ถวายผ้าไตรจีวรพร้อมด้วยด้ายและเข็มแด่พระภิกษุสงฆ์สองหมื่นรูป โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข นางได้ถวายด้วยมือตนเองและถวายด้วยจิตอันเลื่อมใส ด้วยเหตุแห่งมหาทานครั้งนี้จึงทำให้นางได้เครื่องประดับมหาลดาประสาธน์อันสูงค่า ซึ่งเป็นเครื่องประดับของสตรีผู้มีบุญญาธิการเท่านั้น
เราจะเห็นว่า บุญกฐินนั้นมีอานิสงส์มากมายมหาศาล ถ้าหากเป็นผู้ชาย ก็จะทำให้ได้รับการอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา และได้เครื่องอัฐบริขารเป็นทิพย์อันสูงสุด ถ้าหากเป็นผู้หญิง ก็จะได้เครื่องประดับมหาลดาประสาธน์อันเลอค่า ดังนั้น ในฤดูกาลทอดกฐินของทุกๆปี จึงขอเชิญชวนท่านทั้งหลายมาทำบุญทอดกฐินกันเถิด อย่าได้พลาดบุญใหญ่นี้เลย
ประธานทอดกฐิน
ครั้งหนึ่งในชีวิตเราจะต้องเป็นประธานทอดผ้ากฐินให้ได้กฐินให้ได้
บางคนบอกว่า.. ‘ขอให้มีเงินเถิด จะทอดกฐินเมื่อไรก็ทอดได้’
อีกทั้งยังบอกต่อว่า.. ‘เรารวยและมีศรัทธาจะกลัวอะไร
ถ้าเราเตรียมปัจจัยและผ้าไตรไว้ให้มาก ๆ
อย่างไรที่วัดเขาก็ต้องรับเราเป็นประธานกองกฐินอยู่ดี’
แต่เชื่อไหม?...ความคิดเช่นนี้ถือเป็นความเข้าใจที่ผิดมาก!!!
เนื่องจากการทำบุญทอดกฐินมี ข้อจำกัดหลายประการ ไม่ได้ทำกันได้ง่าย ๆ อีกทั้งยังเป็นบุญที่ไม่สามารถทำได้ทุกวัน หรือไม่ใช่นึกอยากจะทอดกฐินวันไหนก็ทำได้ เนื่องจากวัดหนึ่งสามารถรับกฐินได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น
นอกเหนือจากนี้.. ถ้าวัดนั้นมีพระอยู่น้อยกว่า ๕ รูป หรือมีครบ ๕ รูป แต่รูปใด รูปหนึ่งจำพรรษาไม่ครบไตรมาส วัดนั้นก็ หมดสิทธิ์รับกฐิน ดังนั้นจะเห็นว่า ทุกวัด ไม่สามารถจะรับกฐินได้ง่าย ๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
แค่ข้อจำกัดเบื้องต้นเพียงเท่านี้ก็พบว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยาก เพราะต่อให้เรามีปัจจัยหรือมีศรัทธามากขนาดไหนก็ตาม ถ้าการทำบุญไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ที่มีอยู่ถึง ๗ ประการ ของการทอดกฐิน (ดังรายละเอียดหน้า ๑๒๘) ก็จะไม่ถือเป็น การทอดกฐิน เพราะหากทำ ผู้ทำก็จะไม่ได้อานิสงส์กฐินเลย อีกทั้งพระภิกษุสงฆ์ในวัดนั้นก็จะไม่ได้อานิสงส์กฐินเช่นกัน เพราะการทำบุญที่ไม่เป็นไปตามข้อจำกัดของการทอดกฐิน จะถือเป็นการทำบุญอย่างอื่น เช่น บุญถวายสังฆทาน บุญทอดผ้าป่า ซึ่งจะได้อานิสงส์ ตามประเภทของบุญนั้น ๆ แทน
เนื่องจากการทอดกฐินเกิดได้ยากอย่างนี้ ในโบราณกาลจึงนิยมทอดกฐิน เพราะความยากจึงทำให้การทอดกฐินกลายเป็นบุญพิเศษ เมื่อทำแล้วได้อานิสงส์พิเศษมากอย่างแตกต่าง แต่จะได้มากขนาดไหน ถ้าไม่มีการขยายความเพิ่ม ก็จะนึกภาพกันไม่ออก เพราะเวลาใคร มาชวนเราทำบุญ ก็มักจะบอกว่าได้บุญมาก ด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นในบรรทัดถัด ๆ ไป จะขอยกตัวอย่างอานิสงส์ที่โดดเด่นของการถวาย ผ้ากฐิน จากโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา เพื่อให้เห็นภาพของผลบุญชัดเจนขึ้น
เมื่อบารมีเต็มเปี่ยม หากเกิดเป็นชาย ในชาติที่เกิดมาเจอพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้รับการบวชแบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานการบวชให้ด้วยพระองค์เอง แต่ใครจะบวชแบบนี้ได้ต้องสั่งสมบุญบารมีมาในภพอดีตอย่างมหาศาลเลย ทีเดียว อีกทั้งก่อนบวชก็ต้องบรรลุธรรมเป็น พระอริยบุคคลตั้งแต่ พระโสดาบัน ขึ้นไป และเมื่อบรรลุแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องทรงตรวจตราด้วยญาณทัสนะของพระองค์ก่อนว่า..ผู้ที่จะบวชมีบุญจากการถวายบาตรและจีวร มามากพอหรือไม่ เพราะการบวชแบบนี้ บาตรและจีวรจะเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ ซึ่งเทวดาจะเป็น ผู้มาเนรมิตให้ โดยอาศัยกำลังบุญของผู้บวช ถ้ากำลังบุญน้อย ผู้ที่เนรมิตก็จะเป็นเทวดาระดับหัวหน้าเขต ถ้ามีกำลังบุญปานกลาง ผู้เนรมิตก็จะเป็นเทวดาระดับท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ แต่ถ้ามีกำลังบุญมาก ผู้เนรมิตก็จะเป็นพรหมในชั้นพรหมโลกเลยทีเดียว
ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรวจตราดูด้วยญาณทัสนะแล้วพบว่า ผู้บวชมีบุญจากการถวายบาตรและจีวรมามากพอ (ในกรณีที่ ผู้บวชบรรลุธรรมตั้งแต่ขั้นพระโสดาบันขึ้นไป แต่ยังไม่บรรลุอรหัตผล) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะประทานการบวชให้ โดยการเหยียดพระหัตถ์ขวาออกไป แล้วเปล่งพระสุรเสียงว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” และด้วยอานุภาพบุญก็จะบังเกิดองค์พระขนาดใหญ่ เปล่งรัศมีเจิดจ้าสว่างไสวครอบคลุมร่างของผู้บวช ในขณะเดียวกัน ผ้าไตรจีวรก็จะลอยลงมาจากอากาศ มาปรากฏอยู่ระหว่างมือที่พนมขึ้นกับอก แล้วบาตรก็จะถูกวางไว้ข้าง ๆ ซึ่งในบาตรจะมีบริขารต่าง ๆ เช่น เข็ม ด้าย มีดโกน ที่กรองน้ำ เป็นต้น และจากนั้นผู้บวชก็ต้องไปปลงผม ห่มจีวร เป็นพระภิกษุที่ครองผ้าเรียบร้อยในลำดับต่อไป
แต่ในกรณีที่ผู้บวชฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วบรรลุอรหัตผล เมื่อได้รับประทานการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกไป แล้วเปล่งพระสุรเสียงแค่ว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” และด้วยอานุภาพบุญจะบังเกิดองค์พระขนาดใหญ่หน้าตัก๒๐ วา เปล่งรัศมีเจิดจ้าสว่างไสวครอบคลุมร่างของ ผู้บวช ซึ่งตามนุษย์จะมองไม่เห็น เพราะเป็นของละเอียด จะเห็นก็เพียงแค่ความสว่างที่พรึบขึ้นมาเท่านั้น จากนั้นเส้นผมบนศีรษะก็จะสั้นลง จากคฤหัสถ์กลายเป็นเพศสมณะ ครองจีวรและสะพายบาตรอันเป็นทิพย์ที่สำเร็จด้วยบุญฤทธิ์ทันที
แต่ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรวจตราดูด้วยญาณทัสนะแล้วพบว่า ผู้นั้นไม่ได้ เคยถวายผ้าไตรจีวรบริขารมาเลย แม้บรรลุอรหัตผลแล้ว ก็ต้องให้ไปแสวงหาผ้ามาทำจีวรก่อน พระองค์ถึงจะประทานการบวชให้ เหมือนในกรณีของ พระพาหิยะ ซึ่งไม่เคยมีบุญจากการถวายผ้าไตรจีวรมาเลย ทำให้ระหว่างไปหา เศษผ้าจากกองขยะมาทำจีวร ได้เจอกับยักษินีที่เคยผูกเวรกันมาจากอดีตชาติเข้าสิงโค แม่ลูกอ่อน แล้ววิ่งมาขวิดท่านจนตายใน
ทันที
ฉะนั้น การทอดกฐินและถวายผ้าไตรจีวรจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ถวายไม่ได้ เพราะ สักวันหนึ่งในอนาคตหรือชาติใดชาติหนึ่ง เราก็ต้องเป็นนักบวช
ดังนั้น จงอย่าไปเสี่ยงเลย เราอาจมีสิทธิ์เป็นแบบพระพาหิยะก็ได้ ที่แม้เป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังต้องลำบากถึงขนาดต้องไปหาเศษผ้า ที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะมาทำจีวร อีกทั้งยัง อดบวชอีกด้วย !!!
รายละเอียดเครื่องมหาลดาปสาธน์
ส่วนอานิสงส์ของฝ่ายหญิง เมื่อบารมี เต็มเปี่ยมก็จะได้ครอบครองเครื่องประดับ อันสูงค่าที่สุดในยุคนั้น คือ เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ ซึ่งทำจากรัตนชาติมีมูลค่าสูงถึง ๙ โกฏิ อันประกอบด้วย
๑.เพชร ๔ ทะนาน
๒.แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน
๓.แก้วประพาฬ ๒๐ ทะนาน
๔.แก้วมณี ๓๓ ทะนาน
แม้เส้นด้ายก็ทำจากเงิน และยังมีแหวนรูปนกยูงที่มือทั้งสองข้าง มีต่างหู สร้อยคอ ปลอกรัดต้นแขน เข็มขัด และรองเท้า อีกทั้งเครื่องประดับที่ศีรษะยังออกแบบเป็น ตัวนกยูงรำแพนคล้ายนกยูงยืนอยู่บนเนินเขา โดยขนปีกทำด้วยทองข้างละ ๕๐๐ ขน รวมเป็น ๑,๐๐๐ ขน จะงอยปากทำด้วยแก้วประพาฬ นัยน์ตา คอ และแววหาง ทำด้วยแก้วมณี ก้านขนและขาทำด้วยเงิน ทำให้เวลาเดินเกิดเสียงกระทบกันของก้านปีก จนเกิดความไพเราะประดุจเสียงทิพยดนตรี
แต่กว่านางวิสาขาจะได้เครื่องประดับที่เลิศที่สุดในปฐพีขนาดนี้ ก็ไม่ได้เกิดจากการเป็นประธานถวายผ้าจีวรแค่ผืนสองผืนเท่านั้น แต่เกิดจากนางเคยถวายจีวรพร้อมด้วยเข็มและเครื่องย้อมแด่พระภิกษุมามากถึง ๒๐,๐๐๐ รูป ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า และสั่งสมบุญบารมีประเภทนี้มานับชาติไม่ถ้วน
ดังนั้น การที่เราจะถวายผ้ากฐินหรือจีวรเพียงแค่ปีละ ๑ ผืน ซึ่งต่อให้ถวายตลอดชีวิตจนหมดอายุขัย อย่างมากก็ได้ไม่เกิน ๑๐๐ ผืน ฉะนั้นการ เป็นประธานกองกฐินปีละ ๑ ครั้ง จึงไม่ถือเป็นการสั่งสมบุญที่มากเกินไปจากข้อมูลตรงนี้เอง จะเห็นว่า..ถ้านางวิสาขาไม่มีบุญจากการถวายผ้าจีวรมามากพอ ก็จะไม่ไปดลจิตดลใจให้ใครคิดจะทำเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ให้นาง เพราะเป็นเครื่องประดับที่ทำยากมาก ต้องใช้คนทำจำนวนมาก จนบิดาของนางวิสาขาต้องจ้างช่างทองมาช่วยกันทำมากถึง ๕๐๐ คน อีกทั้งยังต้องใช้เวลาทำนานถึง ๔ เดือน แถมค่าจ้างช่างยังแพงถึง ๑แสน กหาปณะ แต่ด้วยบุญบารมีที่เต็มเปี่ยมของนางวิสาขา จึงบันดาลให้มีเครื่องประดับคู่บุญเกิดขึ้น
เรื่องกฐิน
ไตรจีวร คือ ผ้า ๓ ผืน คนไทยนิยมเรียกสั้นๆ ว่า "ผ้าไตร" ผ้าไตรคือผ้าที่สงฆ์ใช้สอย แบ่งออกเป็น 3 ผืน คือ:-
๑.ผ้าสังฆาฏิ คือผ้าพาดบ่า
๒.ผ้าอุตราสงค์ คือผ้าจีวรที่พระใช้ห่ม
๓.ผ้าอันตรวาสก คือผ้าสบงที่พระใช้นุ่ง
และนิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ผ้าสาวะพัตร คือผ้าที่ยอมด้วยน้ำฝาด ๖ อย่างตามที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตมีดอกกัณณิการ์เป็นต้น
เครื่องอัฏฐบริขาร
ไตรจีวรเป็นเครื่องอัฏฐบริการบริขารที่จำเป็นมากที่พระสงฆืจะได้ใช้ลอย ผู้ใดเคยถวายผ้ากฐินหรือไตรจีวร เมื่อบรรลุพระอรหันต์ในเพศคฤหัสถ์
ก็จะมีผ้าไตรจีวรและบาตรล่องลอยมาในอากาศ มาวางอยู่ตรงหน้าให้นุ่งห่มได้เลย ข้อนี้ก็แสดงให้เห็นว่าผู้นั้นในอดีตชาติเขาเคยถวายผ้ากฐินหรือผ้าไตรจีวรและบาตรเอาไว้ แต่ถ้าเราไม่เคยถวายผ้ากฐินหรือบาตรและไตรจีวรเอาไว้ในอดีตชาติ ก็จะไม่มีผ้าไตรจีวรและบาตรล่องลอยมาในอากาศให้
แก่เราในเวลาที่เราบรรลุเป็นอรหันต์ ตัวอย่างเช่นในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงออกบวช
พอจวนเวลาใกล้รุ่ง เจ้าชายสิทธัตถะ ก็เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที ก็ทรงขับม้ากัณฐกะกระโจนข้ามแม่น้ำไปโดยสวัสดี เมื่อทรงทราบว่าพ้นเขตเมือง
กบิลพัสดุ์แล้ว ก็เสด็จลงจากหลังม้ากัณฐกะ ประทับนั่งเหนือหาดทรายอันขาวสะอาด รับสั่งแก่นายฉันนะว่า เราจักบรรพชาถือเพศเป็นบรรพชิตใน
ที่นี้ท่านจงเอาเครื่องประดับของเรากับม้าลับพระกรุงกบิลพัสดุ์เถิด
ครั้นตรัสฉะนี้แล้วก็ทรงเปลื้องเครื่องประดับสำหรับขัตติยราชทั้งหมดมอบให้แก่นายฉันนะ ตั้งพระทัยปรารถนาจะทรงบรรพชา จึงทรงดำริว่า
ผมของเรานี้ ไม่เหมาะแก่สมณเพศ จึงทรงจับพระโมลีคือมวยผมด้วยพระหัตถ์ซ้ายคือมือซ้าย พระหัตถ์ขวาคือมือขวาทรงจับพระขรรค์ แล้วทรง
ตัดผมให้ขาด ทรงอธิษฐานว่า ถ้าตัวข้าพเจ้าจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณขอให้ผมข้าพเจ้าลอยอยู่ในอากาศ แต่ถ้าข้าพเจ้าไม่สามารถบรรลุ
พระสัมมาสัมโพธิญาณได้ก็ขอให้ผมทั้งหลาย จงตกลงมายังพื้นดินเถิด เมื่อทรงอธิษฐานดังนี้แล้วก็ทรงขว้างผมขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าพระเกสา
แม้แต่เส้นเดียวก็มิได้หล่นลงมายังพื้นดินเลย ท้าวสักกะเทวราช หรือ ที่เราจักรู้จักท่านว่าพระอินทร์ ก็เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วทรงเอา
ผอบแก้วมารองรับพระเกสาไว้ แล้วทรงนำไปบรรจุไว้ที่พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนกระทั่งทุกวันนี้
ขณะนั้น ฆฏิการพรหม ก็น้อมนำเอาผ้าไตรจีวรและบาตร จากพรหมโลกเข้าไปถวายแด่พระสิทธัตถะราชกุมาร พระองค์ก็ทรงรับเอาผ้าไตรจีวร
จากมือของฆฏิการพรหม แล้วทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัตรอันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ แล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตคือเป็นพระและทรงมอบผ้า
ของคฤหัสถ์ที่เหลือแก่ฆฏิกการพรหม ฆฏิการพรหมก็ได้นำเอาผ้าแห่เพศคฤหัสถ์ไปบรรจุไว้ใน "ทุสสะเจดีย์" ที่อยู่บนพรหมโลก จนกระทั่ง
ทุกวันนี้
กฐิน
กฐินเป็นการทำบุญชนิดหนึ่งที่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ
ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวร เพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน
กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง ๑ เดือน คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน
ความหมายของกฐิน
กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่า "ไม้สะดึง คือ กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ" สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ)
กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้
-กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น
-กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)
-กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน
-กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์ความสำคัญพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นการถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้
-จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
-จำกัดเวลา คือกฐินเป็นกาลทานอย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่วันออก
พรรษา เป็นต้นไป
-จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
-จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้
-จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ รูป
-จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น
เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตการถวายผ้าอาบน้ำฝน
แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระประสงค์โดยตรง
ความเป็นมาของกฐิน
ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ ๓๐ รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง ๓๐ รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทางเมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ ๕ ประการ
ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน ๒
๓.ฉันคณะโภชนะได้ (รับนิมนต์ที่เขานิมนต์โดยออกชื่อโภชนะฉันได้) 3
๓.เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ
จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว
-การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย
สำเนาศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาใน
ดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลใน
เทศกาลกฐินในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ด้านที่ 2) ดังนี้
... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้น
ทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจี่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน
มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้า
มาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้นเท้าหัวลาน ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจัก
มักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...
— คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒
ในศิลาจารึกดังกล่าว ปรากฏทั้งคำว่า กรานกฐิน, บริวารกฐิน (บริพานกฐิน), สวดญัตติกฐิน (สูดญัตกฐิน) ซึ่งคำดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบมาจนถึง
ปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า เทศกาลทอดกฐินมีคู่กับสังคมไทยทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนมาช้านาน ดังปรากฏว่าชาวพุทธในประเทศไทย
ให้ความสำคัญกับงานทอดกฐินที่จัดในวัดต่าง ๆ มาก โดยถือว่าเป็นงานบุญสำคัญที่สุดงานหนึ่งในรอบปี บางวัดที่มีผู้ศรัทธามาก อาจมีผู้จองเป็น
เจ้าภาพทอดกฐินล่วงหน้ายาวเป็นสิบ ๆ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวพุทธในประเทศไทยที่ได้ร่วมใจกันสืบทอดประเพณีนี้มาจน
ปัจจุบัน
ชนิดของกฐินในประเทศไทย
ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับ
ผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็น ๒ คือ
จุลกฐิน
จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือ
ภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวัน
หนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายใน
ระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประ
เทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า ๒๖๘ ว่า
"ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสาน
จะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)
กฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้บุคคลและหน่วยงานรับพระราชทานไปถวายยังพระอารามต่าง ๆ
เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกัน
ทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย
โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย
สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
มหากฐิน
มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้
การทอดกฐินในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงประทับบนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์บุษบก เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค
กฐินหลวง
กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น)
-กฐินหลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น ได้แก่
ในกรุงเทพมหานคร
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร
ต่างจังหวัด
วัดพระปฐมเจดีย์
วัดสุวรรณดาราราม
วัดนิเวศธรรมประวัติ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พิษณุโลก)
กฐินต้น
กฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์
กฐินพระราชทาน
กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐิน
แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร
(ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)
กฐินพระราชทานกองทัพเรือ กองทัพเรือถือเป็นนโยบายที่จะขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวาย ณ พระอารามหลวงที่ตั้งอยู่ใกล้กองทัพเรือทุกปี
และได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นต้นมา
กฐินราษฎร์
ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ "บริวารกฐิน" มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน
กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็น
จุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้
ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุง
พระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปใน
ประเทศไทย
คำถวายผ้ากฐิน
-คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบเก่า
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” (๓ จบ)
กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
๐อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ทุติยมฺปิ อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ตติยมฺปิ อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ หิตาย สุขาย ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐิน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ
คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบใหม่
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” (๓ จบ)
กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
๐อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม,
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ,
ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ, อมฺหากํทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย ฯ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน กับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.
เกร็ดในงานถวายผ้ากฐินในประเทศไทย
ธงจระเข้-นางมัจฉา
ธงมัจฉาที่นิยมประดับในงานกฐินในประเทศไทย (ขวา) ธงจระเข้ที่นิยมประดับในงานกฐินในประเทศไทย สมัยโบราณนิยมแห่ผ้ากฐินไปทอดตามวัดต่าง ๆ โดยอาศัยเรือเป็นสำคัญ การเดินทางไปตามลำน้ำมักมีอันตรายจากสัตว์น้ำต่าง ๆ เนือง ๆ เช่น
จระเข้ขึ้นมาหนุนเรือให้ล่ม ขบกัดผู้คนบ้าง คนแต่ก่อนหวั่นเกรงภัยเช่นนี้ จึงคิดอุบายทำธงจระเข้ปักหน้าเรือไปเป็นทำนองประกาศให้สัตว์ร้ายในน้ำ เช่น จระเข้ ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่และดุร้ายกว่าสัตว์อื่น ๆ ในน้ำ ให้รับทราบการบุญการกุศล จะได้พลอยอนุโมทนาและมีจิตใจอ่อนลง ไม่คิดที่จะทำอันตรายแก่ผู้คนในขบวนซึ่งเดินทางไปประกอบพิธีการทางศาสนา
เนื่องจากถือกันว่าดาวจระเข้เป็นดาวสำคัญ การเคลื่อนขบวนทัพในสมัยโบราณต้องคอยดูดาวจระเข้ขึ้น ซึ่งเป็นเวลาจวนสว่างแล้ว การทอดกฐินเป็นพิธีทำบุญที่มีอานิสงส์ไพศาลเพราะทำในเวลาจำกัด มีความสำคัญเท่ากับการเคลื่อนขบวนทัพในชั้นเดิมผู้จะไปทอดกฐินต้องเตรียมเครื่องบริขารและผ้าองค์กฐินไว้อย่างพร้อมเพรียง แล้วแห่ไปวัดในเวลาดาวจระเข้ขึ้น ไปแจ้งเอาที่วัด ต่อมาจึงมีผู้คิดทำธงจระเข้โดยถือว่า ดาวจระเข้เป็นดาวบอกเวลาเคลื่อนองค์กฐิน
มีเรื่องเล่าว่า มีอุบาสกคนหนึ่งนำองค์กฐินแห่ไปทางเรือมีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญในการทอดกฐิน จึงว่ายน้ำตามเรืออุบาสกนั้นไปด้วย แต่ไปได้พักหนึ่งจึงบอกแก่อุบาสกนั้นว่า ตนตามไปด้วยไม่ได้แล้วเพราะเหนื่อยอ่อนเต็มที ขอให้อุบาสกจ้างช่างเขียนภาพของตนที่ธง แล้วยกขึ้นไว้ในวัดที่ไปทอดด้วยอุบาสกรับคำจระเข้แล้วก็ทำตามที่จระเข้สั่ง ตั้งแต่นั้นมาธงรูปจระเข้จึงปรากฏตามวัดต่าง ๆ ในเวลามีการทอดกฐิน
อนึ่ง มีข้อความในจาตุมสูตรตอนหนึ่ง แสดงภัยที่จะเกิดกับพระไว้ ๔ อย่างด้วยกัน ซึ่งเปรียบด้วยภัยที่เกิดแก่บุคคลที่ลงในแม่น้ำหรือทะเล คือ
ภัยเกิดแต่ความอดทนต่อโอวาทคำสอนมิได้ ท่านเปรียบเสมือนคลื่น เรียกว่า อุมฺมิภยํ
ภัยเกิดแต่การเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากมิได้ท่านเปรียบเสมือนจระเข้ เรียกว่า กุมฺภีลภยํ
ภัยเกิดแต่ความยินดีในกามคุณ 5 ท่านเปรียบเสมือนวังน้ำวน เรียกว่า อาวฏฺฏภยํ
ภัยเกิดแต่การรักผู้หญิง ท่านเปรียบเสมือนปลาร้ายเรียกว่า สุสุกาภยํ
พิจารณารูปธงที่ช่างประดิษฐ์ขึ้น จะเห็นว่ามีภัย ๔ อย่างอยู่ครบ ต่างแต่ว่าเด่นมาก เด่นน้อย หรือเป็นเพียงแทรกอยู่ในความหมายที่เด่นมาก คือ
รูปจระเข้ รองลงไปคือ รูปคลื่น ส่วนอีก ๒ อย่างคือ รูปวังน้ำวนและปลาร้าย ปรากฏด้วยรูปน้ำเป็นสำคัญ บางรายเขาเพิ่มธงปลาร้ายขึ้นอีกธงหนึ่ง เรียกว่า “ธงมัจฉา”
ธงรูปจระเข้หรือธงรูปนางมัจฉานี้ ปักไว้ที่หน้าวัด เพื่อแสดงให้ทราบว่าที่วัดนี้ได้จองกฐินหรือทอดกฐินแล้ว ด้วยถือกันมาว่าวัดหนึ่ง ๆ จะรับกฐินได้
ปีละครั้งเดียวเท่านั้น ผู้ที่ผ่านไปมาจะได้พลอยอนุโมทนาด้วย
ธงกฐินนั้นจะมีอยู่ ๔ อย่างคือ
๑.รูปจระเข้
๒.รูปนางมัจฉา
๓. รูปตะขาบ
๔. รูปเต่า ซึ่งเป็นปริศนาธรรม มีความหมายว่า
1.จระเข้หมายถึงความโลภ สื่อที่ปากจระเข้มีขนาดใหญ่ 2.ตะขาบ หมายถึงความโกรธ สื่อถึงพิษของตะขาบ 3. นางมัจฉา หมายถึงความหลง
ใช้รูปนางเงือกที่เป็นหญิงสาวรักสวยรักงาม 4.เต่า หมายถึงสติ การระวังป้องอายตนะทั้ง6 เหมือนเต่าที่หด หัว ขา หาง ป้องกันอันตราย เพื่อสอนว่า
ความโลภ โกรธ หลง ต้องรู้จักควบคุมจิตใจด้วยการมีสติ นั่นเอง
กฐินเดาะ
คำว่าเดาะในภาษาไทยแปลว่าร้าวจนหัก แต่ในความหมายของพระวินัยคือพระสงฆ์ที่ได้รับกฐินแล้วได้สิทธิ์ในการขยายเวลาในการทำจีวรออกไปได้อีก ๔ เดือน แต่ในระหว่างนั้นภิกษุออกจากวัดโดยที่ไม่คิดกลับมา และหมดความกังวลจีวรคือทำจีวรเสร็จแล้วหรือยังไม่เสร็จ แต่เกิดเสียหายหรือสูญหายไปจึงหมดหวังที่จะได้ผ้ามาทำจีวรอีก
กฐินตกค้าง กฐินตก กฐินจร หรือกฐินโจร
กฐินตกค้าง กฐินตก กฐินจร หรือกฐินโจร เป็นการทอดกฐินแก่วัดตกค้างที่ไม่มีใครจองกฐิน ในวันใกล้ ๆ ที่จะหมดเขตกำหนดทอดกฐิน ถือกันว่าได้บุญได้อานิสงส์แรงกว่าการทอดกฐินธรรมดา และที่เรียกว่ากฐินจรหรือกฐินโจรนั้น เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดนั้นเป็นการไปอย่างไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัว จู่ ๆ ก็ไปทอดไม่บอกให้วัดรู้ล่วงหน้า
อานิสงส์ของการทอดกฐิน
๑. เป็นการสงเคราะห์พระภิกษุที่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสให้ได้รับอานิสงส์ตามพุทธบัญญัติ
๒.เป็นการเทิดทูนพระพุทธบัญญัติเรื่องกฐินให้คงอยู่สืบไป นับได้ว่าบูชาพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติบูชาส่วนหนึ่ง
๓.สืบต่อประเพณีกฐินทาน มิให้เสื่อมสลายไปจากวัฒนธรรมประเพณีของคนไทย ซึ่งบรรพบุรุษนำสืบต่อกันมามิขาดสาย
๔.การทอดกฐินเป็นการถวายทานโดยมิเจาะจงบุคคลโดยเฉพาะ แต่ถวายแก่หมู่สงฆ์เป็นส่วนรวมจึงเข้าลักษณะเป็นสังฆทาน ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ว่ามีผลานิสงส์มาก
๕.การร่วมบำเพ็ญกฐินทาน เป็น กาลทาน คือเป็นทานที่ถวายได้ภายในเวลาที่มีพระพุทธานุญาตกำหนด จึงมีอานิสงส์เป็นพิเศษ
๖.ในการทอดกฐิน ส่วนใหญ่เป็นการร่วมมือร่วมใจกันของคนจำนวนมากเพื่อสร้างความดีงาม จึงเป็นการเสริมสร้างพลังสามัคคีขึ้นในสังคมอีกทางหนึ่งด้วย
หมายเหตุ
หมายเหตุ ๑: การทำผ้าจีวรในสมัยโบราณต้องใช้เวลาและความร่วมมือในการทำมาก การที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตกฐินเพื่อให้คณะสงฆ์ทั้งหมดที่จำพรรษามาด้วยกันในอาวาสเดียวกันมาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ (องค์ (วัตถุ) กฐินตามพระวินัยนั้นมีผ้าในไตรจีวรเพียงผืนเดียว เช่น มีจีวรเพียงผืนเดียว หรือมีสบงเพียงผืนเดียว ก็สามารถประกอบสังฆกรรมนี้ได้)
หมายเหตุ ๒: โดยพระวินัยนั้นพระภิกษุมีหน้าที่ต้องรักษาผ้าครองไตรจีวรของตน หากไม่สามารถรักษาไว้ได้ตลอดคืนหนึ่งย่อมต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ ดังนั้นการที่พระพุทธองค์ทรงผ่อนปรนพระวินัยให้ภิกษุผู้กรานกฐิน ไม่จำต้องรักษาไตรจีวรของตนครบสำรับดังกล่าว จึงเป็นการผ่อนปรนเพื่อเป็นอานิสงส์ให้พระสงฆ์ผู้กรานกฐิน
หมายเหตุ 3: คำว่า คณโภชน์ มีความเข้าใจผิดกันมากว่าหมายถึง ล้อมวงฉัน แต่ความจริงคณโภชน์ในคณโภชนสิกขาบท หมายถึงภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์ฉันที่เขานิมนโดยออกชื่อโภชนะ ๕ คือ ข้าว ปลา เนื้อ ขนมสด ขนมแห้ง ถ้าหากได้อานิสงส์กฐินแล้ว พระภิกษุสามารถรับนิมนต์ที่เขานิมนต์ฉันโดยออกชื่อโภชนะ ๕ ได้ ตลอดระยะเวลาอานิสงส์กฐิน
ผ้าป่า
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลาย รับจีวร จากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้วเช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ที่ชาวบ้านไม่ต้องการ นำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย พอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาล จึงค่อนข้างยุ่งยาก และเป็นงานใหญ่ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน ครั้นชาวบ้านทั้งหลาย เห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาต โดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่นในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าป่าก็มีความเป็นมาด้วยประการละฉะนี้
สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้นับการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔ ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา
ประเภทของผ้าป่า
ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือการนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น ๔ อย่าง คือ:-
๑.ผ้าป่า
๒.ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้น ต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อ ทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่า
ผ้าป่าหางกฐิน หรือ ผ้าป่าแถมกฐิน
๓.ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาม สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกัน ทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางที่จุดประสงค์ ก็เพื่อร่วมกันหาเงิน สร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆ ฯลฯ
พิธีทอดผ้าป่า
ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาส ที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญ ที่จะต้องมีก็คือ:-
๑. ผ้า
๒. กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า
๓. จตุปัจจัย
๔.เครื่องไทยทาน เช่น ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ ยาสมุนไพร
การตั้งองค์ผ้าป่า
เจ้าภาพจะจัดหาผ้าสำหรับภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง ๓ อย่าง แล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบนํ้าฝน สมุด ดินสอ ฯลฯ สำหรับเงินหรือ ปัจจัยนั้นนิยมเสียบไว้ กับต้นกล้วยเล็กๆ ในกองผ้าป่านั้น
การนำผ้าป่าไปทอดถวาย
ในสมัยโบราณ ไม่มีต้องจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงแล้ว ก็จุดประทัด หรือส่งสัญญาณ ด้วยวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือ จะอยู่รอให้พระท่าน มาชักผ้าป่าด้วยก็ได้
แต่ในปัจจุบัน การทอดผ้าป่านับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่า เพื่อแจ้งให้ทางวัด ทราบหมายกำหนดการ จะได้จัดเตรียมการต้อนรับ เมื่อถึงกำหนด ก็จะมีการแห่แหนองค์ผ้าป่ามาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือ แตรวง เป็นที่ครึกครื้น สนุกสนาน ยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่างเจ้าภาพ ต่างแห่มาพบกันที่วัด จนกลายเป็นมหกรรมย่อยๆ มีการละเล่นพื้นบ้าน หรือร่วมร้องรำทำเพลงร่วมรำวง กันเป็นที่สนุกสนาน บางทีก่อนวันทอดก็จะให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ
การทอดผ้าป่า
ให้นำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์ กล่าวถวายผ้าป่า พระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับนทานุมัติ จากหมู่สงฆ์ก็จะลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า โดยกล่าวคำปริกรรมว่า "อิมัง ปังสุกุลละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ" แปลเป็นใจความได้ว่า "ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า" ต่อจากนั้นพระสงฆ์ จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล เป็นอันเสร็จพิธี
ข้อสำคัญในการทอดผ้าป่า
สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการทอดผ้าป่าก็คือ ผู้ที่ถวายต้องตั้งใจ หรือกล่าวคำถวายอุทิศ แด่พระภิกษุสงฆ์ ผู้ต้องการผ้าบังสุกุลอย่างเดียว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการถวายผ้าป่า
คำถวายผ้าป่า
๐อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
๐ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แะลความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ
การทอดผ้าป่า อานิสงส์ใหญ่ที่คาดไม่ถึง
การทำบุญทอดผ้าป่า เป็นบุญที่มีอานิสงส์อันไม่มีประมาณ เพราะเป็น “มหาสังฆทาน” คือ เป็นทานที่ถวายแบบไม่เฉพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานแด่พระองค์เองแบบจำเพาะเจาะจงเสียอีก
หากย้อนศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการทอดผ้าป่า ก็จะพบว่า เดิมทีเดียว “การทอดผ้าป่า” เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย เพราะในยุคต้นๆ ของสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับ “คฤหบดีจีวร” หรือ “จีวรที่มีผู้ถวายโดยตรง”
ดังนั้น พระภิกษุที่บวชอยู่ในพระพุทธศาสนาจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่พวกชาวบ้านทิ้งแล้วจากที่ต่างๆ เช่น ป่าบ้าง กองหยากเยื่อบ้าง กองขยะบ้าง หรือเอามาจากผ้าห่อศพบ้าง และเมื่อรวบรวมเอาผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้พอแก่ความต้องการแล้ว ท่านก็จะนำมาซักทำความสะอาด แล้วนำมาตัด เย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ซึ่งเราจะเห็นว่ากว่าจะได้ผ้ามาทำเป็นจีวรนั้นลำบากมากๆ
จุดกำเนิดของการทอดผ้าป่า
ผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของการทอดผ้าป่าท่านแรก คือ เทพธิดาที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งมีนามว่า “เทพธิดาชาลินี”
เรื่องมีอยู่ว่า ในวันหนึ่งพระอนุรุทธเถระผู้มีจีวรเก่ากำลังเที่ยวแสวงหาเศษผ้าจากกองหยากเยื่อ เพื่อเอาไปทำจีวร พอเทพธิดาชาลินีเห็นเข้า จึงเกิดกุศลจิต แล้วตั้งใจว่าจะเอาผ้าทิพย์ ๓ ผืน ยาว ๑๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก น้อมถวายแด่ท่าน แต่แล้วเธอก็กลับฉุกคิดได้ว่า ‘ถ้าเราจะถวายโดยตรง พระเถระก็จะไม่รับ เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้รับ’ ดังนั้น เธอจึงน้อมนำเอาผ้าทิพย์ไปวางไว้ในกองหยากเยื่อ ตรงบริเวณที่พระอนุรุทธเถระท่านจะต้องเดินผ่าน โดยวางให้ชายผ้าทิพย์โผล่พ้นกองหยากเยื่อออกมาเพื่อให้เห็นง่ายๆ จากนั้นพอพระอนุรุทธเถระได้เห็นผ้านั้นจริงๆ ท่านก็จับชายผ้าดึงออกมาเพื่อนำกลับไปทำจีวร
เหตุการณ์นี้ จึงกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้ใจบุญในสมัยพุทธกาลเกิดวิสัยทัศน์ตามแบบเทพธิดาชาลินี โดยจงใจนำผ้าไปไว้ตามที่ต่างๆ บ้าง เช่น ตามต้นไม้ ตามกองขยะ ในป่า หรือตามข้างทาง โดยทำทีเป็นเหมือนว่าผ้านี้ได้ทิ้งแล้ว
จากนั้น เมื่อมีพระภิกษุเดินไปพบเข้า ท่านก็จะนำผ้าดังกล่าวไปทำจีวร เพราะถือว่าเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของ ซึ่งเราเรียกผ้าชนิดนี้กันว่า “ผ้าป่า” เพราะเอามาจากป่า หรือ “ผ้าบังสุกุล” ที่แปลว่า “ผ้าเปื้อนฝุ่น”
ผู้บรรลุพระโสดาบันหลังจากถวายผ้าป่าครั้งแรก
ต่อมา หมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระพุทธองค์ ผู้ได้ถวายการรักษาอาการต่างๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นถึงความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ที่ต้องไปแสวงหาผ้าที่พวกชาวบ้านทิ้งไว้ตามกองขยะ จึงไปกราบทูลขอพรจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า..ขอให้พระภิกษุสามารถรับคฤหบดีจีวรได้
ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้ใช้ผ้าได้ทั้ง 2 แบบ คือ พระภิกษุจะไปหาผ้าบังสุกุลมาทำเป็นจีวรก็ได้ หรือจะรับผ้าจีวรที่มีคนถวายโดยตรงก็ได้ในขณะเดียวกันนั้นเอง หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็ได้น้อมถวายคฤหบดีจีวรเป็นคนแรกและครั้งแรก โดยนำผ้าเนื้อดีที่สุดที่ได้รับพระราชทานเป็นรางวัลจากการรักษาพระเจ้าจัณฑปัชโชต มาน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
หลังจากถวายเสร็จแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาและกล่าวอนุโมทนาคาถาแก่หมอชีวกโกมารภัจจ์ เมื่อพระองค์ตรัสพระธรรมเทศนาจบลง หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันในทันที
จากเรื่องราวที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นผู้สถาปนาการทอดผ้าป่าเป็นคนแรก ซึ่งบุญจากการถวายผ้าของหมอชีวกโกมารภัจจ์นั้นเป็นบุญที่มีอานิสงส์มาก เพราะเป็นบุญที่ทำให้หมอชีวกโกมารภัจจ์มีบุญบารมีเพิ่มจนเต็มเปี่ยม กระทั่งสามารถบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันได้เป็นอัศจรรย์
ผ้าห่มสำลี
นี่คือผ้าห่มสำลีราคาถูก
http://www.xn--12cf8cwazm8czcdb2f3ik.com/
ผ้าห่มขนมิ้งค์
https://www.lazada.co.th/products/2-5-i1732262034-s4970106610.html?
เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด
กรุณาใส่ข้อความ …