หน้าที่ ๕ ว่าด้วยเรื่องการถวายทาน

                ไหว้พระสวดมนต์หน้าที่ ๕

  

                   เรื่องการถวายทาน

     เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึง “สังฆทาน” พวกเราจะนึกถึงถังสีเหลืองๆ ภายในบรรจุข้าวของเครื่องใช้เยอะแยะมากมาย จนล้นออกมาปากถัง แล้วมีพลาสติกใสหุ้มทับอีกที แท้จริงแล้วของที่จะถวายหมู่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงที่เรียกว่า สังฆทาน นั้น คืออะไรก็ได้ที่เหมาะกับชีวิตสมณะ ไม่จำเป็นต้องเป็นถังเหลืองๆ ที่วางขายตามหน้าร้านสังฆภัณฑ์เสมอไป
    ข้าวของเครื่องใช้ที่บรรจุมักเป็นของที่พระภิกษุเก็บไว้ใช้ในช่วงวันเข้าพรรษา (ประมาณ 3 เดือน) ส่วนมากก็จะเป็นของที่ใช้ดำรงชีวิตทั่วไป เหมือนเราๆ ท่านๆ นี่แหละ  เช่น ผงซักฟอก, ยาสีฟัน, แปรงสีฟัน, สบู่, ยาสระผม เป็นต้น จะมีเพิ่มมาหน่อยก็จะเป็นผ้าอาบน้ำฝน สบงจีวรเครื่องนุ่งห่ม ที่พระภิกษุจะต้องมีไว้ใช้ ถ้าเราไม่รู้ว่าจะซื้ออะไรไปถวายพระสงฆ์ดี เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยเครื่องสังฆทานที่มีจำหน่ายตามร้านบรรจุให้สำเร็จรูป อีกทั้งการบรรจุกระป๋องก็ทำมาให้เรียบร้อยสวยงาม ซื้อปุ๊บก็ถือไปถวายปั๊บ เข้ากับยุคสมัยพอดี ไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อหามาประกอบให้ลำบาก
    ถึงเวลาที่ต้องมาทบทวนการทำสังฆทานกันเสียที สังฆทานที่ดีไม่จำเป็นต้องมีของถวายมากมาย ขอเพียงเป็นของที่จำเป็นและมีคุณภาพดีเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว และการเลือกซื้อของมาประกอบเป็นสังฆทานเอง จะได้ของดีมีคุณภาพกว่าการไปซื้อ “ถังเหลืองๆ” ตามร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไป “ถังเหลืองๆ” ที่มีวางขายตามร้านสังฆภัณฑ์นั้น บางร้านจะยัดหนังสือพิมพ์หรือกระดาษแข็งเข้าไว้เต็มคุถัง ส่วนที่เป็นสังฆทานหรือข้าวของเครื่องใช้จริงๆ จะถูกบรรจุไว้แถวขอบปากถัง เพื่อให้ดูว่ามีของใช้มากมายจนล้นปากถัง แล้วเอาพลาสติกใสหุ้มอีกทีเพื่อไม่ให้ของล้นจนหก แท้จริงแล้วมีของใช้ไม่กี่อย่างเท่านั้นเอง
 
           เครื่องสังฆทานที่ดี
    ๑.เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ต้องเรียนพระปริยัติธรรม
    ๒.มีดโกน สำหรับการโกนหนวด อาจจะซื้อมีดโกนหนวดเหมือนที่ฆราวาสใช้ต่างหาก เพราะใบมีดปลงผม (โกนศีรษะ) ถ้าเก็บไว้เฉพาะปลงผมครั้งต่อไปในวันโกนหน้าจะได้ไม่ทื่อเร็วเกินไป และด้ามมีดปลงผมของพระบางอย่างอาจไม่มีกระบังรองสำหรับโกนหนวด ทำให้บาดขณะโกนหนวดได้
    ๓.ผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอที่จะนุ่งห่มได้ มีความหนาพอเหมาะสม เพราะผ้าที่ติดมากับถังเหลือง มันทั้งสั้น ทั้งบาง ทำให้พระท่านลำบากใจเวลาสวมใส่ ขาดความมั่นใจและเสียภาพลักษณ์ที่ดีของสงฆ์ ผู้ใดถวายผ้าไตรจีวร จึงได้อานิสงส์มากนัก
    ๔.ซีดีธรรมะ หนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ หรือหนังสือความรู้ต่างๆ ที่คิดว่าพระสงฆ์ควรรับรู้เพื่อนำไปบอกกล่าวแก่ญาติโยมได้
    ๕.รองเท้า พระท่านต้องเดินบิณฑบาตร, ธุดงค์, ไปเรียนหนังสือ, ไปกิจนิมนต์ตามที่ต่างๆ, บางรูปต้องทำงานที่ใช้แรงงานในวัด เช่น ก่อสร้างทำสวน สิ่งที่ต้องรับภาระหนักก็คือ 'รองเท้า' ที่มักจะขาด เสียหาย อยู่บ่อยๆ นั่นเอง รองเท้าจึงถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างสูง
    ๖ยาสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งยาแผนปัจจุบัน เช่น พาราเซตามอล ยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ยาลดกรด ในกระเพาะอาหาร แอลกอฮอล์ล้างแผล เบตาดีนสำหรับใส่แผลสด ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยาทาเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ฯลฯ
    ๗.ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า สีเหลือง เหลืองหม่น สีกรัก (อาจพิจารณาตามสีจีวรที่ท่านครอง)เพราะผ้าขนหนูที่ติดมากับถังเหลืองมักหยาบ เล็ก และคุณภาพต่ำ จนเอามาใช้ไม่ได้ในชีวิตจริง
    ๘.จาน ชาม ช้อน ส้อม อาจสอบถามดูว่าวัดนั้นๆ ต้องการจำนวนมากหรือไม่ จะได้จัดเป็นชุดใหญ่ถวายเป็นของสงฆ์ เพื่อให้ชาวบ้านหยิบยืมได้ด้วยในงานบุญประเพณีต่างๆ รวมทั้งเครื่องมืองานช่าง เช่น ค้อน ตะปู ไขควง หรืองานเกษตร เช่น จอบ เสียม พลั่ว และอุปกรณ์งานทำความสะอาด เช่น ไม้กวาดอ่อน ไม้กวาดแข็ง ไม้กวาดตาด ถังขยะ ที่ตักผง ฯลฯ
    ๙.เครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมชง จำพวกขิงผง ชารางจืด มะตูม, นม UHT, น้ำผัก-น้ำผลไม้ 100 % , เครื่องดื่มผสมธัญพืช หรือจะเป็นเครื่องดื่มรสช็อกโกแลต ไมโลหรือโอวัลตินพร้อมดื่มก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืมดูวันหมดอายุก่อนซื้อด้วย
    ๑๐.สบู่ จัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระก็ใช้ได้เพื่อทำความสะอาดและระงับกลิ่นกาย ยาสีฟัน ชนิดผงหรือแบบหลอดก็ได้ ยาสีฟันสมุนไพรดีที่สุด แปรงสีฟัน เลือกที่เป็นชนิดขนแปรงอ่อนๆ จะได้สบายเหงือก ยาสระผม เอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น ผงซักฟอก ใช้ซักจีวรเพื่อความสะอาด น้ำยาล้างห้องน้ำ ใช้ทำความสะอาดสุขาของวัด น้ำยาเช็ดพื้น เพราะนอกจากจะช่วยผ่อนแรงในการทำความสะอาด สลายคราบแล้ว บางยี่ห้อยังช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในมูลนกพิราบ ฉี่หมา ฉี่แมว ฉี่หนู เห็บ หมัด ของหมาวัด ได้อีกด้วย สารส้ม สำหรับดับกลิ่นตัว ถ้าดีกว่านั้น ควรหาสารส้มที่มีการทำให้มันพร้อมใช้ (กับรักแร้) และสเปรย์ดับกลิ่นตัวอาจมีกลิ่นที่ไม่เหมาะ (ยกเว้นชนิดไม่มีกลิ่น)

   ๑๑.นาฬิกา
   - กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลังเช่น โอวัลติน
   - ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุด้วยโฟม เพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
   - ผลไม้สดก็ดี ถ้าในวัดมีครัวอาจซื้อผักสดเข้าครัวก็ได้

    ๐คำถวายทานต่างๆ แบ่งออกเป็น  ๑๘  ชนิด   คือ:-

      ๑.คำถวายสังฆทาน

      ๒.คำถวายกฐิน

      ๓.คำถวายผ้าป่า

      ๔.คำถวายผ้าอาบน้ำฝน

      ๕.คำถวาย  โบสถ์   วิหาร   ศาลา   และ กุฏิ

      ๖.คำถวายพระพุทธรูป

      ๗.คำถวายดอกไม้ธูปเทียน

      ๘.คำถวายสลากภัตร และ ข้าวประดับดิน

      ๙.คำถวายข้าวสาร

      ๑๐.คำถวายพัดลม

      ๑๑.คำถวายนาฬิกา

      ๑๒.คำถวายข้าวจี่

      ๑๓.คำถวายปราสาทผึ้ง

      ๑๔.คำถวายยารักษาโรค

      ๑๕.คำถวายเงิน

      ๑๖.คำถวายเสนาสนะ

      ๑๗.คำถวายรถ

      ๑๘.คำถวายเรือ

      ๑๙.คำถวายเครื่องไทยทานงานแจกข้าว

                    คำถวายสังฆทาน

    ๐คำถวายสังฆทานแบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด  คือ:-

      ๑.คำถวายสังฆทานโดยทั่วไปว่าดังนี้

      ๐อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ภัตตานิ  สะปะริวานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณฃะยามะ  สาธุ

โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  ภัตตานิ  สะปะริวานิ  ปะฏิคคันหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                     คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร  กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ซึ่งภัตตาหาร  กับเครี่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่บิดามารดา  ปู่ย่าตายาย  และญาติสนิทมิตรสหาย  ตลอดทั้งเจ้ากรรมนายเวรและแก่ตัวข้าพเจ้าเอง  สิ้นกาลนานเทอญ  สาธุ  สาธุ  สาธุ  อนุโมทามิ ฯ

    ๒.คำถวายสังฆทานแก่ผู้ตายว่าดังนี้

    ๐อิมานิ  มะยัง  ภันเต  มะตะกะภัตตานิ  สปะริวานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณฃะยามะ

สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  มะตะกะภัตตานิ  สะปะริวานิ  ปะฏิคคันหาตุ  อัมหากัญเจวะ  มาตาปีตุอาทีนัญจะ  ญาตะกานัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                      คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายซึ่งภัตรเพื่อผู้ตาย  กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ซึ่งภัตรเพื่อผู้ตาย  กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย

เพื่อประโยฃน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย  แก่ปิยชนคนที่รักทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้นด้วย  และแก่ญาติทั้งหลายด้วย  สิ้นกาลนานเทอญ  สาธุ  สาธุ  สาธุ  อนุโมทนามิ ฯ

                    คำถวายกฐิน   
    ๐อิมัง มะยัง  ภันเต  สะปะริวารัง  กะฐินะจีวะระทุสสัง  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมัง  สะปะริวารัง  กะฐินะจีวะระทุสสัง  ปะฏิคคัณหาตุ  ปะฏิคคะเหตะวา  จะ  อิมินา  ทุสเสนะ  กะฐินัง  อัตถะระตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ
                    คำแปล
    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งผ้ากฐินจีวร กับทั้งเครื่องบริวารนี้ แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งผ้ากฐินจีวร  กับทั้งเครื่องบริวารนี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  ครั้นรับแล้ว  ขอจงกรานกฐิน  ด้วยผ้ากฐินจีวรนี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน  เทอญ ฯ

                   คำถวายผ้าป่า
    ๐อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกุละจีวะรานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ปังสุกุละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ทีฆารัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
                   คำแปล  
    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร  กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แก่พระภิษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประ โยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                    คำถวายผ้าอาบน้ำฝน

    ๐อิมานิ  มะยัง  ภันเต  วัสสิกะสาฏิกานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  วัสสิกะสาฏิกานิ  สะปะริวารานิ  ปะฏิคคันหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                    คำแปล

     ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แก่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแด่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ

            คำถวายโบสถ์วิหารศาลาและกุฏิ

    ๐ข้อแตกต่างของการถวายเสนาสนะที่จำเป็นแก่พระสงฆ์ มีส่วนแตกต่างกันดังนี้

      -ถ้าถวายศาลา  ให้เปลี่ยนเป็น  สาลายัง 

      -ถ้าถวายโบสถ์    ให้เปลี่ยนเป็น   โปสะถัง

      -ถ้าถวายวิหาร    ให้เปลี่ยนเป็น   วิหารัง

      -ถ้าถวายกุฏิ    ให้เปลี่ยนเป็น   กุฏิง

       ส่วนอื่นๆจะเหมือนกันหมด  เช่น:-

     ๐อิมัง  มะยัง  ภันเต  สาลายัง  สะปะริวารัง  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน

ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมัง  สาลายัง  สะปะริวารัง  ปะฏิคคันหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                       คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายซึ่งศาลา  พร้อมเครื่องของ บริวารนี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งศาลาพร้อม

เครื่องของบริวารนี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

    **หมายเหตุ:-

      -ถ้าถวายโบสถ์  ก็เปลี่ยนเป็น  โปสะถัง

      -ถ้าถวายวิหาร  ก็เปลี่ยนเป็น   วิหารัง

      -ถ้าถวายกุฏิ  ก็เปลี่ยนเป็น   กุฏิง  นอกนั้นเหมือนกันทั้งหมด

                         คำถวายพระพุทธรูป

    ๐อิมัง  มะยัง  ภันเต  พุทธรูปัง  สะปะริวารัง  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ

โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมัง  พุทธะรูปัง  สะปะริวารัง  ปฏิคคัณหาตุ  อัมกากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                         คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย  ซึ่งพระพุทธรูป  กับทั้งเครื่องบริวารนี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสังฆ์จงรับ  ซึ่งพระพุทธรูปกับเครื่องบริวารนี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                     คำถวายดอกไม้ธูปเทียน
    ๐อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ  สะปะริวานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ  สะปะริวานิ  ปฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ที่ฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ
                    คำแปล
    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่งดอกไม้และธูปเทียนอันประเสริฐ  พร้อมทั้งเครื่องบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งดอกไม้และธูปเทียนทั้งหลาย  พร้อมทั้งเครื่องบรวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                   คำถวายข้าวสากและข้าวประดับดิน

    ๐อิมานิ  มะยัง  ภันเต  มะตะกะภัตตานิ  สะปะริวารานิ  ภิขุสังฆัสสะ  โฮโณชะยามะ

สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  มะตะกะภัตตานิ  สะปะริวารานิ  ปะฏิคคัณหาตุ 

อัมหากัง  ญาตะกานัง  กาละกะตานัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                       คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร  กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ซึ่งภัตตาหารกับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าที่ล่วงลับไปแล้วสิ้นกาลนานเทอญ ฯ       

                    คำถวายข้าวสาร

    ๐อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ตัณฑุลานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณขะยามะ  สาธุ

โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  ตัณฑุลานิ  สะปะริวารานิ  ปะฏิคคันหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะ

รัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                    คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งข้าวสาร  กับทั้งเครื่องของ

บริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่ง

ข้าวสาร  กับทั้งเครื่องบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่บิดามารดาปู่ย่าตายและญาติสนิทมิตรสหายตลอดทั้งเจ้ากรรมนายเวร  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                     คำถวายพัดลม

    ๐อิมัง  มะยัง  ภันเต  วีชะนิง  สะปะริวารัง  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน

ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมัง  วีชะนิง  สะปะริวารัง  ปะฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                    คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งพัดลม กับเครื่องของ บริวารนี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ซึ่งพัดลม  กับเครื่องของบริวารนี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                   คำถวายนาฬิกา

    ๐อิมัง  มะยัง  ภันเต  นาฬิกะยันตัง  สะปะริวารัง  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ

โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิม้ง  นาฬิกะยันตัง  สะปะริวารัง  ปะฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง

ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                   คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งนาฬิกากับทั้งเครื่องบริวารนี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์  จงรับซึ่งนาฬิกา  กับเครื่องบริวารนี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                   คำถวายข้าวจี่

    ๐อิมานิ มะยัง ภันเต พาหิระอัณฑานิ ปิณฑะปาตานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโข อิมานิ พาหิระอัณฑานิ ปิณฑะปาตานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง  ฑีมะรัตตัง อัตถายะ หิตายะ สุขายะ ฯ
                      คำแปล
     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งก้อนข้าวจี่  กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งก้อนข้าวจี่กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ
    ในสมัยปัจจุบันบุญข้าวยี่ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อยและเป็นที่น่าเสียดายที่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ส่วนมากเลิกการทำบุญข้าวจี่ไปเสียแล้ว

                      คำถวายปราสาทผึ้ง

    ๐อิมัง  มะยัง  ภันเต  มุธุปุปผะปาสาทัง  สะปะริวารัง  ภิกขุลังฆัสสะ  โอโณชะยามะ

สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมัง  มุธุปุปผะปาสาทัง  สะปะริวารัง  ปฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                      คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งปราสาทผึ้ง  กับทั้งเครื่องของบริวารนี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งปราสาทผึ้ง  กับทั้งเครื่องของบริวารนี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                     คำถวายยารักษาโรค

    ๐อิมานิ  มะยัง  ภันเต  เภสัชชานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ

โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  เภสัชชานิ  สะปะริวารานิ  ปะฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะ

รัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                    คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งยารักษาโรค  กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ซึ่งยารักษาโรค  กับทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                   คำถวายเงิน

    ๐อิมัง  มะยัง  ภันเต  รูปิยัง  สะปะริวารัง  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน 

ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมัง  รูปิยัง  สะปะริวารัง  ปะฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                    คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งเงินกับทั้งเครื่องของบริวารนี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ  ซึ่งเงินกับทั้งเครืองของบริวารนี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                   คำถวายเสนาสนะ

    ๐อิมานิ  มะยัง  ภันเต  เสนาสนานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ

โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  เสนาสะนานิ  สะปะริวารานิ  ปะฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                    คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งเสนาสะนะทั้งหลาย  พร้อมเครื่องบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งเสนาสะนะทั้งหลาย  พร้อมเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

    **หมายเหตุ:-เมื่อถวายสิ่งของอะไรก็ตาม  ถ้าไม่รู้คำศัพท์ของสิ่งนั้น  ก็ให้ใช้คำว่า

"เสนาสะนะ"  แทนสิ่งของนั้นๆ  คำถวายให้ดูข้างบน   แต่เวลาแปลให้แปลชื่อสิ่งของที่เราถวาย  เช่นสมมุติว่า เราถวายโต๊ะบูชาก็ให้แปลว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่งโต๊ะบูชา  พร้อมด้วยเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์" ดังนี้เป็นต้น ฯ

                  คำถวายรถ

    ๐อิมัง  มะยัง  ภันเต  ระถัง  สะปะริวารัง  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน 

ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมัง  ระถัง  สะปะริวารัง  ปะฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

                  คำแปล

    ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายซึ่งรถยนต์  พร้อมด้วยเครื่องของบริวารนี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งรถยนต์  พร้อมด้วยเครื่องของบริวารนี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

                 การทำบุญเลี้ยงพระ

  
    ๐การทำบุญเลี้ยงพระ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวพุทธ ในการทำบุญนั้นมักนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในตอนเย็น ซึ่งเรียกกันว่า สวดมนต์เย็น พอรุ่งขึ้นก็มีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ถ้าเป็นเวลาเช้าก็เรียกว่า เลี้ยงพระเช้า ถ้าเป็นเวลาเพลก็เรียกว่า เลี้ยงพระเพล ซึ่งชาวพุทธนิยมทำบุญเลี้ยงพระกันในงามมงคล เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานวันครบรอบวันเกิด งานวันมงคลสมรส และงานอวมงคล เช่น ทำบุญในงานพิธีศพ หรือพิธีเกี่ยวกับการตาย เป็นต้น
  ในการทำบุญเลี้ยงพระผู้ที่เป็นเจ้าภาพ หรือผู้จัดงานพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
      ๑. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
      ๒. เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ตั้งพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชา ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ ตั้งบาตรน้ำมนต์ ถ้าไม่มีบาตรให้ใช้ขันใบใหญ่ๆก็ได้ ด้ายสายสิญจน์และมัดหญ้าคาสำหรับซัดน้ำมนต์ด้วย
      ๓. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามความเหมาะสม เช่น น้ำดื่ม น้ำสมุนไพร  และอื่นๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
      ๔. เมื่อพระสงฆ์มาพร้อมแล้ว เจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์นั่งยังอาสนะที่จัดไว้ แล้วให้ประเคนเครื่องดื่มที่จัดเตรียมไว้เพื่อถวายพระ
      ๕. เมื่อได้เวลาแล้ว เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา กราบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง
      ๖. อาราธนาศีลและรับศีล
      ๗. อาราธนาพระปริตร ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
      ๘. ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ แล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้แก่พ่อแม่  ปู่ย่าตายาย  เจ้ากรรมนายเวรและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
      ๙. รับพรจากพระสงฆ์ที่สวดอนุโมทนา ถ้ามีการทำน้ำมนต์ ก็จะรับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ด้วย   การทำบุญเลี้ยงพระก็เป็นอันเสร็จสิ้นลงแต่เพียงเท่านี้

    ๐การทำบุญเลี้ยงพระมีสิ่งที่จะต้องจัดเตรียมดังนี้

      ๑.พระพุทธรูป  หน้าตักประมาณ  ๙  นิ้ว    ๑    องค์

      ๒.โต๊ะบูชา   ๑    ชุด    ถ้าไม่มีโต๊ะบูชาให้ใช้โต๊ะเล็กๆ แทนก็ได้

      ๓.แจกัน       ๑     คู่

      ๔.ผ้าปูโต๊ะ       ๑    ผืน

      ๕.บาตรน้ำมนต์       ๑      ลูก   และให้ใส่น้ำสะอาดครึ่งบาตรเตรียมเอาไว้ด้วย

      ๖.หญ้าคา      ๑      มัด

      ๗.ขมิ้น      ๙    แว่น

      ๘.ส้มป่อย      ๙     ข้อ

      ๙.มะกรูด      ๙     ฝาน    คือเฉือนให้เป็นชิ้นบางๆ

      ๑๐.ใบเงินและใบทอง    อย่างละ    ๙    ใบ

      ๑๑.พิธีกร      ๑     คน

      ๑๒.ด้ายสายสิญจน์        ๑      ม้วน

      ๑๓.เทียนเล่มบาท     ๔   เล่ม

      ๑๔.เทียนน้ำมนต์     ๓    เล่ม

      ๑๕.เชิงเทียน      ๑     คู่

      ๑๖.กระถางธูป     ๑     ลูก

      ๑๗.ธูปหอม      ๑     ห่อ

      ๑๘.ขันห้า      ๑    ขัน

    ให้จัดเตรียมสิ่งของเหล่านี้ให้พร้อมก่อนวันงาน  ๑  วัน   เมื่อได้สิ่งของต่างๆครบแล้วก็ให้ตั้งโต๊ะบูชาไว้ทางด้านขวามือของพระ  เอาน้ำเย็นใส่บาตรกะพอประมาณ  เอาขมิ้น

มะกรูดและส้มป่อยใส่ลงไปในน้ำมนต์ ตามด้วยใบเงินใบทอง  ต่อจากนั้นให้ติดเทียนเอาไว้ที่ขอบปากบาตรหรือขอบขันน้ำมนต์  เทียนเล่มบาท  ๒  เล่มติดเอาไว้ที่เชิงเทียน

   พอถึงวันงานให้เอาดอกไม้ใส่ในแจกันข้างละ  ๙  ดอก  และดอกมะลิอีก  ๙  ดอก ให้ใส่ในบาตรหรือขันน้ำมนต์  เทียนทำน้ำมนต์ให้พาดไว้ที่ปากบาตรหรือขันน้ำมนต์

    การปูผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) อย่าปูให้ใกล้กันนักเดี๋ยวพระท่านจะอึดอัดเคลื่อนไหวไปมายาก  แก้วโถและกระโถนจัดตั้งไว้ให้เป็นระเบียบ

                 วิธีการตั้งหิ้งพระ

    ๐วิธีตั้งหิ้งพระแบ่งออกเป็น   ๒   ชนิด  คือ:-

       ๑.ตั้งหิ้งพระที่ติดไว้กับฝาเรือนด้านบนให้ใช้หิ้งพระอย่างนี้

            

       ๒.ตั้งหิ้งพระที่ติดกับฝาเรือนด้านล่าง ส่วนมากจะเป็นโต๊ะบูชาหรืออาจจะทำขึ้นเองก็ได้   เช่น

            

                    การตั้งหิ้งพระติดไว้กับฝาเรือน

    ๐การติดตั้งหิ้งพระที่ติดไว้กับฝาเรือนด้านบน  อย่าติดให้สูงเกินไปนักเวลาเปลี่ยนดอกไม้ขึ้นลงลำบาก  ควรติดไว้สูงในระหว่างคิ้วของพ่อบ้าน แต่ถ้าไม่มีพ่อบ้านก็ให้สูงในระดับคิ้วของเจ้าของบ้าน  และอย่าให้ต่ำกว่าระหว่างคิ้ว  เพราะโชคลาภและความสำเร็จมันจะอยู่ในระหว่างคิ้วพอดี

                    ทิศที่นิยมในการตั้งหิ้งพระ

    ๐ทิศที่นิยมกันมากที่สุด  คือ:- 

       ๑.ทิศตะวันออก

       ๒.ทิศเหนือ

       ๓.ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

    ๐ถ้าจะเอาดีทางโชคลาภ  ให้หันหน้าหิ้งพระไปทางด้านทิศเหนือ

    ๐ถ้าจะเอาดีทางเมตตามหานิยม  ให้หันหน้าหิ้งพระไปทางด้านทิศตะวันออก

    ๐ถ้าจะเอาดีทางตำแหน่งหน้าที่การงานและเกียรติยศชื่อเสียง  ให้หันหน้าหิ้งพระไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

                    การตั้งหิ้งพระโดยการใช้โต๊ะบูชาแทน

    ๐การตั้งหิ้งพระโดยการใช้โต๊ะบูชาแทน  เป็นวิธีที่สะดวกสบายและสวยงามดี  ข้อนี้เหมาะแก่คนที่มีฐานะดีและมีบ้านเรือนกว้างขวาง  แต่คนที่มีฐานะทางการเงินไม่ดีและมีบ้านแคบอาจจะไม่เหมาะเพราะโต๊ะบูชาบางชุดราคาแพงมาก  เช่นโต๊ะบูชาลายมุก ราคา ค่อนข้างแพงชุดหนึ่งก็ประมาณ  ๒๐๐๐๐  บาท   และโต๊ะบูชาที่ไม่มีลายมุก ถูกที่สุดก็ไม่ต่ำกว่า  ๒๐๐๐  บาท

           

                         ชุดนี้ราครา  ๒๐๐๐๐  บาท

          

                            ชุดนี้ราคา  ๒๒๐๐  บาท

 

                     การปล่อยสัตว์ที่ถูกต้อง

     
    ๐วิธีการปล่อยสัตว์ที่ถูกต้อง มี ๔ ประการ   คือ:- 
 ๑. ในการปล่อยสัตว์ ควรไปซื้อนก ซื้อปลาจากตลาดสด เลือกปลาหรือนกที่ชะตากำลังจะหมด เพราะจะถูกคนซื้อไปฆ่า ทำเป็นอาหาร และควรนำไปปล่อยที่แม่น้ำใหญ่ จะดีกว่าปล่อยในลำคลองเล็กๆ  ส่วนนกให้นำไปปล่อยในป่าที่เขาห้ามยิ่งสัตว์
 ๒. ควรปล่อยให้ลงท้ายด้วยเลข ๙ หรือตามกำลังทรัพย์ ที่สะดวก ถ้ามีเคราะห์หนัก อยากปล่อยเท่าอายุ เช่น อายุ ๔๐ ก็ปล่อยจำนวน ๔๐ ตัว  ใน ๑  เดือน ก็ได้
 ๓. ไม่จำเป็นต้องไปปล่อยที่วัด แต่เป็นที่ๆเราสะดวกก็ได้
 ๔. เมื่อปล่อยสัตว์ใดแล้ว ต้องงดการกินสัตว์นั้นด้วย
      ความหมายของการปล่อยสัตว์แต่ละประเภท
  -ปล่อยปลาทั่วไป เพื่อสะเดาะเคราะห์ ปรับดวงหม่นหมองให้สดใส
  -ปล่อยปลาช่อน เพื่อสะเดาะเคราะห์ ปรับดวงให้หมดเคราะห์หมดภัย
  -ปล่อยปลาไหล เพื่อให้ทุกอย่างราบรื่น พ้นจากอุปสรรค
  -ปล่อยเต่า เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขอให้คนที่เจ็บป่วย หายวันหายคืน และมีอายุยืนยาวต่อไป
  -ปล่อยหอยขม เพื่อ ให้หมดทุกข์โศก ขอให้เรื่องขมขื่นชอกช้ำระกำใจบรรเทาและลบเลือนสิ้นไปในเร็ววัน
  -ปล่อยนก เพื่อให้มีความสุขความเจริญ ทำสิ่งใดให้โชคดี และพ้นจากทุกข์ภัยต่างๆ
  -ปล่อยปลาสวาย เพื่อเสริมดวงขอความสำเร็จ ขอโชคลาภ
    วิธีการปล่อยสัตว์ ปล่อยปลา ที่ถูกต้อง เชื่อว่าหลายคนคงเคยปล่อยสัตว์ เช่น นก ปลา หรือโค กระบือ การเลือกปล่อยสัตว์ให้ได้บุญเต็มที่นั้นควรปล่อยสัตว์ที่กำลังตกอยู่ในความลำบากถึงที่ชีวิต และควรหาซื้อในตลาดที่กำลังจะโดนฆ่า และการปล่อยสัตว์ไม่จำเป็นต้องไปปล่อยที่วัดให้ปล่อย ที่ใดก็ได้ขอเพียงให้เป็นสถานที่ๆสัตว์สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดตลอดไปได้
   ๐การปล่อยสัตว์นั้นได้บุญจริงหรือ ?
   ๐การปล่อยสัตว์นั้นได้บุญจริง
   -เต่า ควรปล่อยในที่ที่มีน้ำค่อนข้างนิ่ง ดินแฉะๆ เพราะเต่าไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในกระแสน้ำแรงๆ ถ้าเราเอามันไปปล่อยในแม่น้ำใหญ่ ที่มีกระแสน้ำไหลแรง บางทีมันอาจจะตายก็ได้เท่ากับว่าเราทำบาปเข้าไปแล้ว  ซึ่งตรงกับภาษิตที่ว่า "ทำบุญได้บาป"
   -ปลาไหล ควรปล่อยลงแม่น้ำที่มีดินเฉอะแฉะและน้ำไหลไม่แรงหรือตามบริเวณห้วย หนอง  และท้องนา
  -ปลาดุก-ปลาช่อน ควรปล่อยในแม่น้ำลำคลองที่มีกระแสน้ำไม่แรง ค่อยๆปล่อยเพื่อให้ปลาคุ้นน้ำ
  -หอยโข่ง-หอยขม-กบ ควรปล่อยชายแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ค่อยๆปล่อย ไม่ควรโยนไปกลางน้ำ เพราะจะทำให้หอยตายได้

  -การปล่อยนกให้ปล่อยในป่าที่มันจะไม่ถูกจับมาขายอีกและในป่าที่มันจะไม่ถูกเขายิงตาย  คือให้ปล่อยในสถานที่ๆเขาห้ามยิงสัตว์ เป็นดีที่สุด
   อานิสงส์การปลดปล่อยชีวิตสัตว์เพื่อสงเคราะห์
  -ปล่อยโค-กระบือ เป็นการสะเดาะเคราะห์ต่อดวงชะตาตนเอง จะมีอายุยืนแคล้วคลาด ปราศจากโรคภัย หรือหมดเคราะห์กรรม
  -ปล่อยนก จะทำให้โชคลาภเพิ่มพูน เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้มีความสุขความเจริญรุ่งเรือง และพ้นจากทุกข์ภัยต่างๆ
  -ปล่อยหอยโข่ง จะช่วยให้ดำเนินชีวิตสะดวกสบาย เป็นผู้นำคนมีบริวารมาก
  -ปล่อยหอยขม เป็นการสะเดาะเคราะห์ให้หมดทุกข์หมดโศก สามารถช่วยปลดปล่อยเรื่องขมขื่นความทุกข์โศกทั้งหลาย
  -ปล่อยเต่า เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยหายวันหายคืนและมีอายุยืน
  -ปล่อยตะพาบ จะทำให้ไม่มีเภทภัยมาคุกคาม คนที่ป่วยเป็นอัมพาตจะมีอาการทุเลา
  -ปล่อยกบ ๒ ตัว เพื่อให้เคราะห์กรรมที่เกิดจากคู่ครองได้หมดสิ้น
  -ปล่อยกบ ๕ ตัว เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร ช่วยให้พ้นวิบากกรรมเก่า
  -ปล่อยปลาทั่วไป เพื่อสะเดาะเคราะห์ปรับดวงที่หม่นหมองให้สดใสรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข
  -ปล่อยปลาไหล ช่วยการดำเนินชีวิตทุกอย่างราบรื่น ทั้งการงาน การเงิน พ้นจากอุปสรรคสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างรวดเร็ว
  -ปล่อยปลาดุก จะทำให้ศัตรูหรือคู่แข่งพ่ายแพ้
  -ปล่อยปลาช่อน ช่วยช้อนเงิน ช้อนทองมาให้ และเพื่อปรับดวงให้หมดเคราะห์หมดภัย
  -ปล่อยปลาหมอ เพื่อสุขภาพดี แข็งแรง จะทุเลาจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เป็นอยู่
  -ปล่อยปลาตะเพียน จะขยันหมั่นเพียรและหาเงินได้มากขึ้น
  -ปล่อยปลาบู่ เพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดา ผู้มีพระคุณ
  -ปล่อยปลากราย ช่วยให้เคราะห์ร้ายกลายเป็นดี
  -ปล่อยปลาใน จะเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
  -ปล่อยปลาซิว จะทำให้รอดพ้นจากคดีความต่างๆ
      การปล่อยสัตว์ นิยมปล่อยตามกำลังวัน ดังนี้
    -วันอาทิตย์ ปล่อยจำนวน ๖ - ๙  ชีวิต
    -วันจันทร์ ปล่อยจำนวน ๑๕ ชีวิต
    -วันอังคาร ปล่อยจำนวน ๘ ชีวิต
    -วันพุธกลางวัน ปล่อยจำนวน ๑๗ ชีวิต
    -วันพุธกลางคืน ปล่อยจำนวน ๑๒ ชีวิต
    -วันพฤหัสบดี ปล่อยจำนวน ๑๙ ชีวิต
    -วันศุกร์ ปล่อยจำนวน ๒๑ ชีวิต
    -วันเสาร์ ปล่อยจำนวน ๑๐ ชีวิต
        คำอธิฐานในการปล่อยสัตว์
  ข้าพเจ้าชื่อ...........นามสกุล.........ขอตั้งจิตอันเป็นกุศลถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั่วสากลโลกธาตุ ณ เวลา วันนี้ข้าพเจ้าตั้งจิตเป็นมหากุศลในการให้ทานชีวิตแก่สัตว์ทั้งหลายคือ........... (ปล่อยสัตว์อะไรก็ให้ใส่ชื่อเข้าไป)
  วันนี้ข้าพเจ้าได้ปล่อยสัตว์ทั้งหลายให้เป็นอิสระเป็นการให้ชีวิตเป็นทานแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ หากข้าพเจ้ามีเคราะห์เข็ญ ขอให้เคราะเข็ญจงหลุดออกไปกับสัตว์ที่ข้าพเจ้าได้ปล่อยในวันนี้ ขอบุญกุศลส่วนนี้จงส่งผลให้ตัวข้าพเจ้ามีชีวิตที่ดีขึ้น พ้นจากเคราะห์กรรมอันเลวร้าย พ้นจากโศก พ้นจากโรค พ้นจากภัย และสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายขอให้หลุดพ้นออกไปจากตัวข้าพเจ้า ณ กาล บัดนี้ด้วยเถอะ สาธุ สาธุ  สาธุ ฯ

   เมื่อกล่าวคำอธิษฐานเสร็จแล้วก็ให้เทสัตว์ที่อยู่ในภาชนะลงไปในน้ำค่อยๆเทและในขณะที่เท ก็กล่าวอวยพรให้เขาไปดีมีสุขมีอายุยืนยาว  ข้าพเจ้าเห็นบางคนปล่อยปลาจับกะละมังได้ยืนลุกขึ้นแล้วก็สาดลงไปในแม่น้ำอย่างแรง  นี้คือการปล่อยสัตว์แบบไม่พอใจแบบมีโทษะ  ต้องปล่อยแบบอ่อนหวานนุ่มนวลและมีเมตตามันถึงจะได้บุญมาก

   บางคนปล่อยปลา พอไปถึงแม่น้ำก็ไม้ได้พูดพร่ำทำเพลงอะไรจับปลาโยนลงไปในแม่น้ำเลย อย่างนี้ก็มีนะ นี้คือการปล่อยแบบไม่รู้เรื่องและวิธีการ  การปล่อยอย่างนี้ได้บุญน้อยนิด  ก่อนจะปล่อยสัตว์ต้องศึกษาวิธีการปล่อยให้ดีเสียก่อนจะได้บุญในการปล่อยอย่างมากหลาย

       การปล่อยสัตว์ได้บุญหรือไม่ได้ให้อ่านตรงนี้

              เรื่องของสามเณรติสสะ

                

   ๐พระสารีบุตรเถระ ซึ่งเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า มีสามเณรองค์หนึ่งชื่อว่า        "ติสสะ"  เมื่ออายุได้ ๗ ปี ก็มาบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนกับท่าน  เป็นระยะเวลาหนึ่งปีพอดี
   วันหนึ่งพระสารีบุตรสังเกตเห็นลักษณะของสามเณรว่าจะมีอายุสั้น คือจะมีชีวิตอยู่ได้อีก ๗ วันเท่านั้น ก็จะถึงแก่มรณภาพ
   ท่านพระสารีบุตรจึงเรียกสามเณรมาบอกึงความจริงให้ทราบว่า ตามตำราดูลักษณะเธอจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน ดังนั้น ให้เธอกลับบ้านไปล่ำลา โยมพ่อ โยมแม่ และญาติพี่น้องเสีย  สามเณรมีความโศกเศร้าเสียใจมากจึงร้องไห้ร่ำไรอย่างน่าสงสาร เมื่อได้ทราบคังนั้นจึงนมัสการลาอาจารย์แล้วเดินทางกลับไปบ้านด้วยดวงหน้าอันหม่นหมอง  ในระหว่างทางที่สามเณรเดินผ่านไปนั้น สามเณรได้พบเห็นปลาน้อยใหญ่ในสระน้ำซึ่งกำลังแห้งขอด ซึ่งกำลังดิ้นทุรนทุรายเพื่อหนีเอาชีวิตรอด เพราะน้ำไม่เพียงพอ สามเณรจึงรำพึงว่า "เออ! เรานี้จะตายภายในอีก ๗ วัน แต่ปลานี้หากไม่มีน้ำจะต้องตายในวันนี้แล้ว"  อย่ากระนั้นเลยถึงเราจะตายเราก็ควรจะช่วยชีวิตสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ให้รอดพ้นจากความตายเถิด
   เมื่อคิดได้ดังนั้น สามเณรจึงเอามือช้อนปลาน้อยใหญ่ทั้งหมดลงในบาตรของตน เพื่อนำเอาไปปล่อยในแม่น้ำใหญ่ และในระหว่างทางสามเณรก็ได้พบอีเก้ง ซึ่งถูกแร้วของนายพราน สามเณรก็ปล่อยอีเก้งอีก เมื่อเดินทางไปถึงบ้าน ได้บอกเรื่องราวที่ตนจะตายแก่ญาติพี่น้องมีบิดามารดาเป็นต้น คนทั้งหลายเหล่านั้นก็พาร่ำไห้ เพราะสงสารสามเณร ต่างคนก็คอยเวลาที่สามเณรจะมรณภาพด้วยดวงใจที่แสนเศร้า  เมื่อเลยกำหนดไปได้หนึ่งวันสองวันตามลำดับ จนล่วงกำหนดไป ๗ วัน สามเณรก็ยังไม่ตาย  กลับมีผิวพรรณผ่องใสยิ่งขึ้น พ่อแม่และญาติพี่น้องจึงบอกให้สามเณรให้กลับไปหาพระสารีบุตรเถระ สามเณรก็ได้เดินทางไปหาพระสารีบุตร  เมื่อพระสารีบุตรเห็นสามเณรเดินทางกลับมา  ก็มีความประหลาดใจยิ่งนักจึงได้ถามสามเณรว่า "ทำไมถึงยังไม่ตาย"
  สามเณรติสสะจึงกราบเรียนให้ทราบเกี่ยวกับการที่ตนได้นำปลาไปปล่อยในน้ำใหม่ และปล่อยอีเก้งจากแร้วของนายพราน การกระทำเพื่อช่วยชีวิตสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จึงเป็นบุญกรรมที่มีพลังอันยิ่งใหญ่มหาศาลสามารถเปลี่ยนชีวิตอันสั้นของสามเณร  ให้มีอายุยืนยาวรอดพ้นจากความตายได้  ข้อนี้ก็แสดงให้เราเห็นว่า "บุญที่ช่วยชีวิตของผู้อื่นที่จะถึงแก่ความตายให้รอดพ้นจากความตายได้สามารถฝืนดวงชะตาชีวิตได้"    ขอให้ผู้อ่านทั้งหลายจงจำเรื่องนี้เอาไว้เพื่อสอนใจตนเองและผู้อื่นอยู่เสมอ

   **คำเตือน:-บุญที่แรงกล้าและบาปที่แรงกล้าสามารถฝืนดวงชะตาชีวิตของมนุษย์ได้

คือบุญแรงกล้าสามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตจากร้ายให้กลายเป็นดี  และถ้ามีบาปอันแรงกล้าก็จะสามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตจากดีให้กลายเป็นร้ายได้ ฯ

        ข้อควรจำในการปล่อยสัตว์

      ๑.ถ้าปลาน้ำจืดให้ปล่อยในน้ำจืด

      ๒.ถ้าปลาน้ำเค็มก็ให้ปล่อยในน้ำเค็ม

      ๓.ถ้าปลาน้ำไหลก็ให้ปล่อยในน้ำไหล

      ๔.ถ้าปลาในห้วย  หนอง  คลอง  บึง  ก็ให้ปล่อยในห้วยหนองคลองบึง

      ๕.ถ้าปลาอยู่ในสระก็ให้ปล่อยในสระ  

    อย่าปล่อยปลาผิดที่เดี๋ยวปลาจะตาย  แทนที่จะได้บุญแต่ถ้าปลาตายก็กลับได้บาปนะ

    มีคนถามผู้เขียนว่า "การปล่ยปลา ถ้าเรามีหนอง  มีคลอง  มีบึง  และมีสระเอง  เราจะปล่อยได้ไหม ?"

    ตอบว่า "ได้  แต่ห้ามจับขึ้นมากินหรือมาขายโดยเด็ดขาด  แต่ถ้าเราจับขึ้นมากินหรือมาขาย เราก็จะไม่ได้บุญในการปล่อยสัตว์เลยโปรดจำเอาไว้ให้ดี" 

    เพื่อความปลอดภัยในการปล่อยปลา  ให้ปล่อยในหนอง  ในคลอง  ในบึง  และในสระที่เขาห้ามจับปลาเป็นดีที่สุด

 

                         เรื่องของการบวช

        

    ๐บวช  แปลว่า "การงดเว้นจากกามทุกชนิด"  

    คำว่า "กาม "  แปลว่า "ใคร่หรือต้องการ"  ในที่นี้หมายถึงกาม  ๓  คือ:-

     ๑.กามะตัณหา

     ๒.ภะวะตัณหา

     ๓.วิภะวะตัณหา

        -กามะตัณหา   แปลว่า "ความอยากในกาม"   กามคือ รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ   และธัมมารมณ์

        -ภะวะตัณหา   แปลว่า "ความอยากในภพ"   ภพ  แปลว่า "ที่อยู่ หรือสถานที่จะไปเกิด"  คืออยากไปเกิดในที่ๆตนปราถนา

        -วิภะวะตัณหา   แปลว่า "ความอยากไม่เป็นอะไร"  คือความไม่อยากเกิดเป็นอะไร

        -การบวช   คือการสละเพศของผู้ครองเรือน     แบ่งออกเป็น  ๗  ชนิด  คือ:-

           ๑.การบวชเป็นพระ

           ๒.การบวชเป็นสามเณร หรือ สามเณรรี

           ๓.การบวชเป็นชี

           ๔.การบวชชีพราหมณ์

           ๕.การบวชเป็นผ้าขาว

           ๖.การบวชนาค

           ๗.การบวชเป็นฤาษี  โยคี   และดาบส

                   การบวชเป็นพระ

     

    ๐การบวชเป็นพระ  ต้องมีเครื่องบริขาร  ๙   คือ:-

      ๑.ผ้าจีวร

      ๒.ผ้าสบง

      ๓.ผ้าสังฆาฏิ

      ๔.ผ้าอังสะ

      ๕.ประคตเอว

      ๖.บาตร

      ๗.มีดโกน

      ๘.เข็ม

      ๙.ธมกรก   คือกระบอกกรองน้ำ

    ๐เครื่องใช้ของพระที่จะต้องจัดถวายมี  ๒๓   อย่าง  คือ:-

      ๑.ร่ม

      ๒.รองเท้า

      ๓.มุ้ง

      ๔.ผ้าอาบน้ำฝน

      ๕.ผ้าเช็ดตัว

      ๖.ย่าม

      ๗.ผ้านิสีทนะ   คือผ้าปูนั่ง

      ๘.ผ้าเช็ดมือ

      ๙.ผ้าห่ม

      ๑๐.ผ้าปูนอน   ต้องเป็นสีเหลือง

      ๑๑.หมอน

      ๑๒.หน้งสือมนต์พิธี   ๑   เล่ม

      ๑๓.จานกระเบื้องและช้อนซ่อม

      ๑๔.แก้วน้ำและกาน้ำ

      ๑๕.กระโถน

      ๑๖.สบู่และกล่องสบู่

      ๑๗.ยาสีฟันและแปรงสีฟัน

      ๑๘.ขันตักน้ำ

      ๑๙.ผ้าเช็ดหน้า         

      ๒๐.ผ้าเข็ดเท้า

      ๒๑.ตาลปัตร

      ๒๒.ไฟฉาย

      ๒๓.เสื่อปูนอน

                    ข้อปฏิบัติก่อนบวช

    ๑.ให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองพาไปฝากตัวกับเจ้าอาวาสและอุปัชฌาย์  เพื่อกำหนดวันบวช

    ๒.เมื่อรู้วันบวชแล้ว  ให้ท่องคำขอการอุปสมบทให้ดูในหนังสือมนต์พิธี

        -ถ้าบวชแบบมหานิกายให้เริ่มท่องตั้งแต่  เอสาหัง  ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ฯลฯ

        -ถ้าบวชแบบธรรมยุต  ให้เริ่มตั้งแต่  อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต  ฯลฯ

    ๓.ให้ฝึกการกราบไหว้แบบเบญจางคประดิษฐ์

    ๔.ห่อบาตร

    ๕.ทำขวัญนาค

    ๖.ให้จัดเตรียมห่ออัฏฐะที่จะถวายพระอุปัชฌาย์  พระคู่สวด  และพระนั่งอันดับ  ตามจำนวนของพระที่ได้นิมนต์มา  ส่วนของพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดให้จัดไว้เป็นพิเศษหน่อย

                การบวชเป็นสามเณร

     

    ๐การบวชสามเณรมีสิ่งที่จะต้องจัดเตรียมดังนี้

      ๑.ผ้าจีวร                      ๑     ผืน

      ๒.ผ้าสบง                     ๑     ผืน

      ๓.ผ้าอังสะ                    ๑     ผืน

      ๔.ประคตเอว                ๑     สาย 

      ๕.กาน้ำ                       ๑     ใบ

      ๖.ร่ม                            ๑     คัน

      ๗.รองเท้า                   ๑     คู่

      ๘.ผ้าห่ม                      ๑     ผืน

      ๙.หมอน                      ๑     ลูก

      ๑๐.มุ้ง                         ๑     หลัง

      ๑๑.จานกระเบื้อง          ๑     ใบ

      ๑๒.ช้อนส้อม               ๑     คู่

      ๑๓.ผ้าเช็ดเท้า             ๑    ผืน

      ๑๔.เสื่อ (สาด)             ๑     ผืน

      ๑๕.หนังสือมนต์พิธี      ๑     เล่ม

    **คำขอบรรพชาให้ดูในหนังสือมนต์พิธี

   ข้อห้าม ๒๘ ข้อในพระวินัยที่พระเณรต้องรู้

    ๑.ห้ามไว้ผมยาวเกิน   ๒   นิ้ว

    ๒.ห้ามไว้หนวดเครา

    ๓.ห้ามไว้เล็บยาว

    ๔.ห้ามไว้ขนจมูกยาว

    ๕.ห้ามไว้ขนรักแร้ยาว

    ๖.ห้ามผัดหน้า   แต่งตัว   ทาหน้า   ไล้หน้า   ย้อมหน้า

    ๗.ห้ามเจิมหน้า   ย้อมตัว   เว้นแต่ป่วยเท่านั้น

    ๘.ห้ามใส่เครื่องประดับทุกชนิด  เช่น  ตุ้มหู   สายสร้อย   เข็มขัด   แหวน   นฬิกา

    ๙.ห้ามเปลือยกาย  เช่น เปลือยกายอาบน้ำเป็นต้น

    ๑๐.ห้ามส่องกระจกเพื่อแต่งตัว  แต่ถ้าป่วยส่องเพื่อทายาได้

    ๑๑.ห้ามใส่เสื้อผ้าอย่างคฤหัสถ์

    ๑๒.ห้ามยืนถ่ายปัสสาวะ

    ๑๓.ห้ามถ่ายปัสสาวะและอุจจาระแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ล้าง

    ๑๔.ห้ามพกอาวูธ  เช่น  มีด   และปืน เป็นต้น

    ๑๕.ห้ามใส่แต่ผ้าอังสะแล้วเดินเข้าไปในบ้านโดยไม่ห่มจีวร

    ๑๖.ห้ามเดินเลิกผ้าเข้าไปในบ้าน

    ๑๗.ห้ามเลิกผ้าคลุมศีรษะเข้าไปในบ้าน

    ๑๘.ห้ามพูดคุยและหัวเราะเสียงดังเข้าไปในบ้าน

    ๑๙.ห้ามวิ่ง

    ๒๐.ห้ามผิวปาก

    ๒๑.ห้ามยืนให้พรในเวลาบิณฑบาต

    ๒๒.ห้ามยืนแสดงธรรม

    ๒๓.ห้ามเรียกโยมให้มาใส่บาตร

    ๒๔.ห้ามปรบมือ

    ๒๕.ห้ามฉันข้าวมีเสียงดังจั๊บๆ

    ๒๖.ห้ามดื่มเหล้าและเบียร

    ๒๗.ห้ามการเสพยาเสพติดทุกชนิด

    ๒๘.ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด

                มังสัง ๑๐ 

    ๐มังสัง ๑๐  คือเนื้อ ๑๐ อย่าง ที่พระเณรฉันไม่ได้   ได้แก่:-

      ๑.เนื้อมนุษย์

      ๒.เนื้อช้าง

      ๓.เนื้อม้า

      ๔.เนื้อสุนัข

      ๕.เนื้องู

      ๖.เนื้อราชสีห์

      ๗.เนื้อหมี

      ๘.เนื้อเสือโคร่ง

      ๙.เนื้อเสืดาว

      ๑๐.เนื้อเสือเหลือง

   ๐ห้ามญาติโยมทั้งหลายนำเอาเนื้อสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้มาถวายพระเณรโดยเด็ดขาด

                         การบวชเป็นชี

      

    ๐การบวชเป็นชีแบ่งออก ๒  ชนิด  คือ:-

      ๑.บวชแบบโกนผม

      ๒.บวชแบไม่โกนผม หรือที่เรียกว่า "บวชชีพราหมณ์"

      ๓.การบวชชีทั้ง ๒ ประเภทมีสิ่งที่จะต้องจัดเตรียมดังนี้

          ๓.๑ ชุดขาว          ๑     ชุด

          ๓.๒ กาน้ำหรือกระติกน้ำก็ได้    ๑    ใบ

          ๓.๓ หมอน           ๑       ลูก

          ๓.๔ ผ้าห่ม           ๑       ผืน

          ๓.๕ มุ้ง                ๑       หลัง

          ๓.๖ ผ้าปูนั่งสีขาว  ๑       ผืน

          ๓.๗ ร่ม                ๑       คัน

          ๓.๘ รองเท้า          ๑       คู่

          ๓.๙ เสื่อ (สาด)     ๑       ผืน

          ๓.๑๐ หนังสือไหว้พระสวดมนต์     ๑   เล่ม

          ๓.๑๑ จานกระเบื้อง        ๑     ใบ

          ๓.๑๒ ช้อนส้อม              ๑     คู่

          ๓.๑๓ ขันห้า    คือ ดอกไม้  ๕  คู่, ธูป  ๕  คู่, และเทียน  ๕  คู่

    ๐การบวชชีแบ่งออกเป็น  ๒  แบบ  คือ:-

       ๑.บวชแบบโกนผม

          -การบวชชีแบบโกนผมจะต้องอาศัยอยู่ในวัด

       ๒.บวชแบบไม่โกนผม

          

          -การบวชชีแบบไม่โกนผม อาศัยอยู่ในบ้านหรือในวัดก็ได้  การบวชแบบไม่โกนผมนี้เรียกว่า "การบวชแบบชีพราหมณ์"

       ๓.คำขอบวชชีและบวชชีพราหมณ์ดูได้ในหนังสือมนต์พิธี

                  การบวชเป็นผ้าขาว

    ๐การบวชเป็นผ้าขาว  คือการบวชของผูชายที่นุ่งห่มเป็นสีขาวถือศีล ๘ ไม่ต้องโกนผมอาศัยอยู่ในบ้านก็ได้ อาศัยอยู่ในวัดก็ได้

                 การบวชนาค

    ๐การบวชนาค   คือการบวชผู้ชายที่กำลังจะบวชเป็นพระถือศีล ๕   การบวชนาคชาวบ้านบวชกันเองไม่มีอุปัซฌาย์

                     บุคคลที่ห้ามบวชในพุทธศาสนา

   ๑.คนที่มีอายุไม่ถึง   ๒๐  ปี  เว้นไว้แต่บาชเป็นสามเณรอายุไม่ถึง  ๒๐  ปี ก็บวชได้

   ๒.คนมีอวัยวะเพศบกพร่อง   เช่น:-

        ๒.๑ บัณเฑาะก์   บัณเฑาะก์ อ่านว่า "บัน-เดาะ" เป็นคำนาม หมายถึง  กระเทย, ขันที, คนที่ถูกตอน. มาจากภาษาบาลีว่า "ปณฺฑกะ"  ในทางพุทธศาสนา แบ่งบัณเฑาะก์ออกเป็น  ๕  จำพวก   คือ:-
      ๑. อาสิตตะบัณเฑาะก์ หมายถึงชายที่มีกิจกรรมทางเพศกับชาย
      ๒. อาสุยยะบัณเฑาะก์ หมายถึงชายที่ไม่มีกิจกรรม แต่มีความพอใจที่จะดูกิจกรรมทางเพศที่ชายด้วยกันแสดง
      ๓. โอปักกะมิยะบัณเฑาะก์ ได้แก่บุคคลที่ถูกตอนไปแล้ว เช่น ขันที
      ๔. ปักขะบัณเฑาะก์ หมายถึง บุคคลบางคนในวันข้างแรมเกิดความกำหนัด ยินดีกระวนกระวายด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรมพอถึงข้างขึ้นความกำหนัดนั้นก็หายไป
      ๕. นะปุงสะกัปบัณเฑาะก์ หมายถึง บุคคลที่ไม่มีเพศหญิงหรือเพศชายปรากฏ มีเพียงช่องที่ใช้ปัสสาวะเท่านั้น
       ๒.๒กะเทย   คือผู้ชายที่ทำตัวเป็นผู้หญิง ถึงกับเปลี่ยนเพศเป็นหญิงก็มี

        ๒.๓ทอม หรือพวกลักเพศ  คือผู้ชายที่แต่งตัวเป็นหญิงและมีกิริยาอาการเหมือนผู้หญิง

        ๒.๔ขันที  คือผู้ชายที่ถูกตอน

        ๒.๕คนถูกตอน

        ๒.๖อุภโตพยัญชนะ  คือคนมีสองเพศ   ได้แก่คนมีเพศชายและเพศหญิงอยู่ในร่างเดียวกัน

        ๒.๗เกย์    คือผู้ชายที่ชอบผู้ชายด้วยกัน ไม่ชอบผู้หญิง

   ๓.คนทำกรรมหนัก   ๖   อย่าง   คือ:-

       ๓.๑ คนฆ่าพ่อ

       ๓.๒ คนฆ่าแม่

       ๓.๓ คนฆ่าพระอรหันต์

       ๓.๔ คนทำร้ายพระพุทธเจ้าจนทำให้พระองค์มีเลือดไหลออกมา

       ๓.๕ คนพูดยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน

       ๓.๖ คนเข้ารีดถือศาสนาอื่น

   ๔.คนทำผิดร้ายแรงต่อพระศาสนามี  ๓  ประเภท   คือ:-

       ๔.๑ คนทำร้ายภิกษุและสามเณร

       ๔.๒ คนทำร้ายนางภิกษุณี

       ๔.๓ คนทำลายถาวรวัตถุในศาสนา   เช่น  โบสถ์   วิหาร   ศาลา   ธาตุ   เจดีย์

และกุฏิ

       ๔.๔ คนต้องอาบัติปาราชิกไปแล้วกลับมาขอบวชใหม่ไม่ได้

   ๕.คนมีอวัยวะที่ไม่สมประกอบมี  ๑๓  ประเภท   คือ:-

      ๕.๑ คนมีมือเป็นแผ่น

      ๕.๒ คนคร่อม

      ๕.๓ คนเตี้ยเกินไป 

      ๕.๔ คนสูงเกินไป

      ๕.๕ คนดำเกินไป

      ๕.๖ คนขาวเกินไป (คนด่อน)

      ๕.๗ คนอ้วนเกินไป

      ๕.๘ คนผอมเกินไป

      ๕.๙ คนมือจุ้มตีนจุ้ม

      ๕.๑๐ คนคอพอก

      ๕.๑๑ คนหัวโตเกินไป

      ๕.๑๒ คนมีหัวหลิม

      ๕.๑๓ คนมีรูปร่างพิกลพิการ

   ๖.คนพิการ  ๘  จำพวก  คือ:-

      ๖.๑ คนหูหนวก

      ๖.๒ คนตาบอด

      ๖.๓ คนตาบอดใส

      ๖.๔ คนตาเข

      ๖.๕ คนตาส่อน  และคนตาเบือน

      ๖.๖ คนมีมือเท้าหงิกงอ

      ๖.๗ คนเป็นใบ้

      ๖.๘ คนขาเป๋

   ๗.คนทุพพลภาพแบ่งออกเป็  ๔  ชนิด  คือ:-

      ๗.๑ คนแก่หง่อม

      ๗.๒ คนง่อยเปลี้ยเสียขา

      ๗.๓ คนเส้นประสาทพิการ

      ๗.๔ คนเส้นเอ็นขาด

   ๘.คนมีอวัยวะร่างกายบกพร่องไม่สมประกอบมี  ๗  จำพวก  คือ:-

      ๘.๑ คนมือขาดเท้าขาด

      ๘.๒ คนพิการทุกประเภท

      ๘.๓ คนหูขาด

      ๘.๔ คนจมูกขาด

      ๘.๕ คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด

      ๘.๖ คนปากวีก

      ๘.๗ คนปากแหว่ง

   ๙.คนเป็นโรคต้องห้าม  ๑๖  ประเภท   คือ:-

      ๙.๑ คนเป็นโรคติดต่อ

      ๙.๒ คนเป็นโรคเอ๋อ

      ๙.๓ คนเป็นโรคกลากเกลื้อน

      ๙.๔ คนเป็นโรคขี้เรื้อน

      ๙.๕ คนเป็นโรคขี้ทูตกุดถัง

      ๙.๖ คนเป็นโรคฝีดาษ

      ๙.๗ คนเป็นโรคอีสุกอีใส

      ๙.๘ คนเป็นโรคมงคร่อ (โรคถุงลมโป่งพองมีเสมหะแห้งติดอยู่ในช่องลมทำให้เกิดมีอาการไอเรื้อรัง)

      ๙.๙ คนเป็นโรคลมบ้าหมู

      ๙.๑๐ คนเป็นโรคประสาท

      ๙.๑๑ คนเป็นโรคจิต

      ๙.๑๒ คนเป็นบ้า

      ๙.๑๓ คนเป็นโรคอัมพฤกษ์อัมพาต

      ๙.๑๔ คนเป็นโรคป่วยเรื้อรังที่รักษาไม่หาย

      ๙.๑๕ คนเป็นโรคติดยาเสพติด เช่น  ฝิ่น   กัญชา   เฮโรอีน   ยาอี   ยาบ้า  ฯลฯ

      ๙.๑๖ คนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

   ๑๐.คนที่บิดามารดาไม่อนุญาต

   ๑๑.คนที่เป็นราชภัฏ  คือคนที่พระเจ้าแผ่นดินเลี้ยง ได้แก่ข้าราชการ  ถ้าจะบวชต้องลาออกก่อน เว้นไว้แต่บวชชั่วคราว

   ๑๒.คนมีหนี้สิน

   ๑๓.คนเป็นทาส (ป้องกันการบวชหนีทาส)

   ๑๔.คนที่ถูกไล่ออกจากราชการ

   ๑๕.คนมีโทษหรือนักโทษ

   ๑๖.คนต้องคดี

   ๑๗.คนสักลายเต็มตัว

   ๑๘.นักเลงหัวไม้  นักเลงโต

   ๑๙.โจผู้ร้าย

    คำเตือน:- ผู้ที่เป็นพ่อแม่และพระที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์  ก่อนจะบวชลูกหลานหรือบวชใคร  จะต้องตรวจสอบให้ถูกต้องเสียก่อน ขืนบวชคนที่ต้องห้าม

จะเป็นบาปและผิดพระวินัยอย่างร้ายแรงเลยทีเดียว

               การบวชเป็นโยคี ฤาษี และดาบส

         

      ฤาษีตนนี้อยู่ที่ภูเขาหิมาลัย  ประเทศอินเดีย  มีอายุยืนได้ หลายร้อยปี

                บรมครูผู้วิเศษทั้ง ๕

        ตำนาน"๕ คุรุผู้วิเศษ" อายุยืนยาวนานหาประมาณมิได้ หากใครได้ร่ำเรียนวิชากับท่าน  ผู้นั้นก็จะเป็นผู้วิเศษ มีอภิญญา !
   ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเริ่มเขียนเรื่องนี้ได้มีนักปฏิบัติท่านหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่า คุรุหรือครูผู้วิเศษในโลกเรานี้มี ๕ ท่านคือ:-

    ๑. หลวงปู่เทพโลกอุดร

        
    ๒. บรมครูพู่พู่อ่อง

        
    ๓. มหาโยคีบาบาจี

      
    ๔. หลวงปู่สมเด็จลุน

     
    ๕. หลวงปู่สรวงเทวดาเดินดิน

     
 หากใครได้พบหนึ่งในสี่ท่านนี้และได้ร่ำเรียนวิชากับท่านบุคคลผู้นั้นจะเป็น ผู้วิเศษ มีอภิญญาเป็นอมตะไม่มีวันตาย เมื่อข้าพเจ้าได้ฟังดังนั้นแล้วก็ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จนทราบว่าแท้จริงแล้วคุรุผู้วิเศษของโลกนั้นมีมากกว่า ๕ ท่าน อย่างในจีนนั้นจะมีเรื่องราวของเซียนทั้ง ๘ ที่ถือว่าเป็นยอดบรมครู เซียนทั้ง ๘ มักนิยมแปลงร่างเป็นกระยาจกเข็ญใจ มีพฤติกรรมเที่ยวขอทาน หากพบใครใจบุญมีวาสนาจึงจะสั่งสอนให้ได้รับความเป็นเซียน   ผู้สำเร็จเป็นเซียนก็มีฤทธิ์และมีอายุยืนนานผิดคนธรรมดาสามัญ
            มหาคุรุบาบาจี
   ในอินเดียมีโยคีมากมาย แต่ที่ได้รับความสนใจไปทั่วโลกคือ มหาคุรุบาบาจี ซึ่งจะกล่าวไว้ในบทหนึ่งโดยเฉพาะ เรื่องของ “บาบาจี” ก็เหมือนกับ “หลวงปู่เทพโลกอุดร” และเซียนฝ่ายจีนเช่นกันคือถือเป็น “บุคคลอมตะไม่มีวันตาย” คงความเป็นหนุ่มตลอดกาล ไปมาไร้ร่องรอย หากพบผู้ใดมีวาสนาก็จะรับไว้เป็นศิษย์ถ่ายทอดโยคะวิถีที่ทำให้หลุดพ้นจาก ทุกข์ทั้งปวงแก่คนผู้นั้น มีตัวอย่างมาแล้วเช่นคุรุลาหิริมหาสัย ท่านก็พบคุรุบาบาจีจนได้รับการถ่ายทอด “กิริยาโยคะ” จนสำเร็จธรรมชั้นสูงกลายมาเป็นมหาคุรุผู้มีชื่อเสียงโด่งดังของอินเดียปัจจุบัน แม้ท่านจะละสังขารแต่ก็มีผู้นับถือท่านทั่วโลกและพบปาฏิหาริย์ของท่านอยู่เสมอ
           ผู่ผู่อ๋อง
  ถ้าศึกษาเข้าไปทางฝ่ายพม่าและมอญเขาก็มีผู้วิเศษเรียกว่า “ผู่ผู่อ่อง”  สำหรับบุคคลท่านนี้เป็นผู้สำเร็จปรอทกายสิทธิ์มีอายุยาวนานได้เป็นกัปล์ ล่องหนหายตัวเหาะเหิรเดินฟ้าไปป่าหิมพานต์ได้ตามปรารถนาทุกประการ “ผู่ผู่อ่อง” เป็นบรมครูใหญ่และยังมีผู้วิเศษที่สำเร็จปรอทกายสิทธิ์อีกหลายท่านดังนี้คือ อาจารย์ผู่ดออี อาจารย์ผู่ดอบิว ผู่ดอป๋วย ผู่ดอห่าง อาจารย์อุเมี๊ยะขิ่น อาจารย์โพมินอ่อง เหล่านี้ล้วนเป็นผู้วิเศษทรงฤทธิ์มีอายุยาวนานหาประมาณมิได้ ปัจจุบันก็เชื่อกันว่าท่านยังอยู่และคอยหาสานุศิษย์ที่มีปัญญามีวาสนารับวิชาของท่านได้อยู่เสมอ
           ปู่สรวงเทวดาเดินดิน
  ในเขมรก็มีตำนานของ “หลวงปู่สรวง ออยเตียนสรูญ” อันว่าหลวงปู่สรวงท่านนี้ต่อมาเข้ามาในไทยอยู่ที่ทุ่งละลม จ.ศรีษะเกษ มีปาฏิหาริย์มากมายเกี่ยวกับองค์ท่าน มีวัตรในการอยู่ป่าและไม่สะสมสิ่งของ มีอายุยาวนานหาประมาณมิได้ ความเป็นมาลี้ลับยากหยั่งรู้
            หลวงปู่สมเด็จลุน
   ทางด้านประเทศลาวก็มีตำนานแห่งสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ มีลูกศิษย์ลูกหามากมายที่มีชื่อเสียงเช่น “ญาครูสีทัตต์” แห่งวัดพระพุทธบาทท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นที่ร่ำลือกันว่า ใครได้พบท่านนับเป็นวาสนาหากได้ร่ำเรียนวิชาธาตุสำเร็จจากท่านแล้วจะทำให้มีฤทธิ์เหนือปุถุชนคนธรรมดา
            หลวงปู่เทพโลกอุดร
 มาถึงไทยเราก็มีตำนาน “หลวงปู่เทพโลกอุดร” ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการนำเอาเรื่องราวของสำเร็จลุนบ้าง “ผู่ผู่อ่อง” บ้าง “บาบาจี” บ้าง มาปะปนจนบางคนก็บอกว่าทั้งหมดคือท่านเดียวกัน บางคนก็เชื่อว่า “บาบาจี” เป็นอาจารย์ของ “หลวงปู่โลกอุดร” บางคนก็กล่าวว่า “หลวงปู่โลกอุดร” เป็นอาจารย์ของ “ผู่ผู่อ่อง” และบางคนก็เชื่อว่าหลวงปู่โลกอุดรกับ “สมเด็จลุน” คือคนๆ เดียวกัน แต่จากการศึกษาจากตำหรับคำราครูบาอาจารย์ทั้งหมดคือคนละองค์กัน แต่ก็อาจมีสายสัมพันธ์กันและข่ายญาณเกี่ยวโยงกันบ้าง แต่ยืนยันได้ชัดเจนว่าทั้งหมดเป็นคนละองค์อย่างแน่นอน

     ภิกษุลึกลับ...ไม่ได้เป็นแค่ตำนาน!! "หลวงปู่เทพโลกอุดร" หมั่นสวดบูชา ชีวิตพลิกร้ายกลายเป็นดี ศรัทธาจริงจะพบปาฏิหาริย์ด้วยตนเอง!!
  ความลี้ลับมหัศจรรย์ในพระพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่ยังคงปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัย ท้าทายความเชื่อตามหลักวิทยาศาสตร์ของคนยุคปัจจุบันหากแต่ปาฏิหาริย์ปรากฏ การณ์เหนือธรรมชาตินั้นมักปรากฏเป็นเหตุการณ์เฉพาะตัว บุคคล ที่ทางพระเรียกว่า "ปัจจัตตัง" เท่านั้น
  และหนึ่งในเรื่องราวหลายร้อยหลายพันเรื่องปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นภายใต้ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนานั้น เรื่องของ “หลวงปู่เทพโลกอุดร” นับเป็นเรื่องหนึ่งที่อยู่ในกระแสแห่งความสนใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงนักปฏิบัติกรรมฐาน
  เรื่องราวของหลวงปู่เทพโลกอุดรเป็นเรื่องที่เล่าลือเป็นเวลานานกว่า ๖๐ ปีที่ผ่านมา มีเรื่องราวประสบการณ์ของผู้ที่ได้พบเจอ อาทิเช่นได้ใส่บาตร ได้พบในนิมิต ได้ฟังหลวงปู่เทศนาสั่งสอน อย่างใดอย่างหนึ่งมาโดยตลอด โดยระบุว่า หลวงปู่โลกอุดร เป็นพระภิกษุลี้ลับไปมาไร้ร่องรอย ปรากฏกายได้ทุกรูปแบบ ทรงซึ่งอภิญญาสูงสุด มีอายุยืนนานหลายร้อยหลายพันปีมาแล้ว ไม่อาจคำนวนนับได้แม้แต่ชื่อเรียกท่านเองก็เป็นเพียงชื่อสมมุติเท่านั้น ไม่มีใครรู้จักนามท่านจริงๆ ว่าคือใคร
   มีข้อสันณิฐานเกี่ยวกับหลวงปู่โลกอุดรไว้มากมายหลายข้อมูล บ้างก็ว่าท่านคือพระภิกษุรูปสุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปปสัมปทาให้โดยตรง และมีพระพุทธบัญชาให้รักษาพระพุทธศาสนาครบถ้วน ๕,๐๐๐ ปี บ้างกล่าวว่าหลวงปู่โลกอุดรอาจเป็นพระอุปคุตเถระ ผู้ทรง อภิญญาสมาบัติสูงสุดองค์หนึ่ง ได้รับพุทธบัญชาให้ดูแลพระพุทธศาสนาจนครบ ๕,๐๐๐ ปีจึงเข้านิพพาน ปัจจุบันทางเหนือของไทย รวมไปถึงไทยใหญ่ พม่า มอญก็ยังเชื่อว่าพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ และจะมาโปรดในวันที่พระจันทร์เต็มดวงตรงกับวันพุธ โดยทางเหนือจะเรียกวันนี้ว่า “วันเพ็งพุธ” จะมีการใส่บาตรตอนเที่ยงคืนในวันนี้ด้วย
   บ้างก็เชื่อว่าหลวงปู่โลกอุดร คือ “พระอุตตระเถระ” ผู้มาพร้อมกับพระโสณะเถระ เป็นสมณะทูตที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ เชื่อกันว่าพระอุตตระนั้นยังดำรงสังขารขันธ์อยู่เพื่อดูแลพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ในทุกๆ ข้อมูลจะมีความเชื่อร่วมกันอย่างน้อยหนึ่งข้อคือ หลวงปู่โลกอุดรนั้นมิใช่เป็นเพียงวิญญาณของพระทรงอภิญญา หากแต่เป็นพระภิกษุที่บรรลุธรรมขั้นสูงสุดและยังมีชีวิตอยู่ตราบมาจนถึงปัจจุบันนี้ อาจมีอายุเป็นร้อยหรือเป็นพันปีมาแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าทำหน้าที่รักษาดูแลพระพุทธศาสนาให้ครบ ๕ พันปีนั่นเอง

         การบวชเป็นฤาษีโยคีดาบส

  ๐การบวชเป็นฤาษีโยคีดาบสเป็นการบวชของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู   การบวชแบบนี้จะไว้ผมยาวและหนวดเครายาว  การบวชแบบนี้จะถือศีล ๘ การบวชง่ายไม่ต้องมีอุปัชฌาย์ บวชด้วยตนเอง คือถ้ามีชุดบวชแล้วอธิษฐานถือศีล ๘ แล้วนุ่งห่มบวชได้เลย

                     บทแถมทาย

    ๐บทแถมทายนี้ข้าพเจ้าได้นำเอาตำราของยามอัฏฐกาล  ซึงเป็นตำราที่ผู้เขียนใช้เป็นประจำในการหาฤกษ์งามยามดี  ในการปลูกบ้านสร้างเรือน   ขึ้นบ้านใหม่   แต่งงาน   ออกรถออกเรือ   การเดินทางไม่ว่าจะเป็นการเดินทางในทางรถ ทางเรือ   และทางเครื่องบิน มันจะให้ผลทำนายที่แม่นยำมาก  เมื่อท่านผู้อ่านจะนำเอาไปใช้ในการทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น เช่น คนที่มาหาเราหรือคนที่นำสิ่งของมาให้เราในวันนี้และเวลานี้  มันจะดีหรือไม่?  เมื่อท่านดูวันและเวลาที่เขามาเราก็จะรู้ได้ในทันทีว่า "จะดีหรือร้าย?"  ถ้าดีให้ทำนายตามที่เราพอใจ  แต่ถ้าร้ายห้ามโดยเด็ดขาด แม้ผู้นั้นจะเป็นเพื่อนรัก คนที่เราเคารพนับถือก็ตาม  นี้คือการตรวจสอบที่ยอดเยี่ยมจริงๆนะ 

                  ยามอัฏกาล ภาคกลางวัน

    
                   วันอาทิตย์ภาคกลางวัน
     -เวลา ๖.๐๑ น. - ๗.๓๐ น.          เป็นยามสุริชะ
       -ยามนี้ข่าวที่ได้รับร้ายทั้งสิ้น อย่าได้เชื่อถือ  จะรับคนเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านมีแต่จะถูกทรยศหักหลัง สิ่งของที่เขามาเสนอก็เป็นของลักขโมยมา  ถ้ารับไว้ระวังจะมีโทษ  ถ้าสิ่งของหายก็อยู่ไม่ไกล คนในบ้านนั้นแหละลักเอาไป   ห้ามทำการมงคลโดยเด็ดขาด
     -เวลา  ๗.๓๐ น. - ๙.๐๐ น.          เป็นยามสุกะระ
       -ยามนี้ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวลวงไม่แน่นอนบอกว่าตายอาจจะรอด  ใครมาชักชวนไปไหนอย่าได้ไปโดยเด็ดขาดอาจจะถูกลวงไปฆ่าหรือไปทำมิดีมิร้ายก็ได้ หรืออาจจะลวงไปเรียกค่าไถ่หรือปล้นทรัพย์ก็ได้   ทำการมงคลอะไรก็ไม่ดีเลย
     -เวลา  ๙.๐๑ น. - ๑๐.๓๐ น.          เป็นยามพุธะ
       -ยามนี้เป็นยามที่จะเกิดถ้อยคดีความหรือข้าวของเสียหาย  ให้ระวังคนมาบอกข่าวล้วนเป็นข่าวร้ายทั้งสิ้น
     -เวลา  ๑๐.๓๑ น. - ๑๒.๐๐ น.         เป็นยามจันเทา
       -ยามนี้ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวที่แน่นอน  ถ้าของหายก็จะถูกนำเอาไปซ่อนไว้ในที่ลับตา ของอยู่นอกบ้านไม่ได้อยู่ในบ้านเลย
     -เวลา  ๑๒.๐๑ น. - ๑๓.๓๐ น.          เป็นยามเสารี
       -ยามนี้ไม่ควรเจรจากันเรื่องการงานหรือคุยกันในเรื่องที่จะถกเถียงกัน ไม่ควรทำการมงคลเพราะจะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้นในภายหลัง
     -เวลา  ๑๓.๓๑ น. - ๑๕.๐๐ น.          เป็นยามคะรู
       -ยามนี้เป็นยามวุ่นวายไม่ควรประกอบการมงคลใดๆทั้งสิ้น  ยกเว้นแต่การพิจารณาคดีหรือสืบพยานจึงจะต้องโฉลก
     -เวลา  ๑๕.๐๑ น. - ๑๖.๓๐ น.          เป็นยามภุมมะ
       -ยามนี้เหมาะสำหรับการตกลงยอมความประนีประนอมและการจับกุมคนร้าย  ถ้าได้ข่าวเกี่ยวกับคนป่วยทำนายว่ายังไม่หายแต่ก็ยังไม่ตาย  การตกลงทำสัญญาใดๆจะมีอุปสรรคไม่สำเร๊จ
     -เวลา  ๑๖.๓๑ น. - ๑๘.๐๐ น.          เป็นยามสุริชะ
       -ยามนี้เป็นยามที่ปลอดโปร่งดีเหมาะแก่การเจรจาง้อนง้อคืนดี  ประนีประนอมเรื่องหนี้สิน  การเดินทางเพื่อแสวงหาโชคลาภก็สดใสผ่องแผ้วดี  จะทำสัญญาเงินกู้ก็ได้ผลดี  คนเจ็บป่วยหรือข่าวที่ได้ยินมาเป็นข่าวจริงไม่หลอกลวง
     -สรูปยามดียามร้ายของวันอาทิตย์ ภาคกลางวัน
        -ยามดี  คือยามที่  ๔    ๗    ๘
        -ยามร้าย  คือยามที่  ๑    ๒    ๓    ๕    ๖     

                   วันจันทร์ภาคกลางวัน
     -๖.๐๐ น. - ๗.๓๐ น.          เป็นยามจันเทา
       -ยามนี้ไม่ดี ถ้าตกลงทำสัญญาใดๆจะมีการเบี้ยวเกิดขึ้นในภายหลัง รับจำนองจำนำอะไรก็ตามให้ระวังของปลอม  และให้ระวังเรื่องร้อนรนร้าวฉาน  ข่าวที่ได้ยินมาไม่ว่าจะดีหรือร้ายมีโอกาสผลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ ง่ายๆ  ห้ามทำการมงคล
     -๗.๓๑ น. - ๙.๐๐ น.          เป็นยามเสารี
       -ยามนี้เป็นยามอุบาทว์  การหลอกลวงต้มตุ๋นหลอกลวงรับอรุณก็ยามนี้แหละ  จะรับคนเข้าบ้านเปิดประตูรับใครให้ดูหน้าดูหลังเสียก่อนไม่งั้นจะวุ่นวาย แน่  ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวลวงทั้งสิ้น ใครมาชวนให้ไปไหนมาไหนด้วยอย่าไปโปรดระวังให้ดี
     -๙.๐๑ น. - ๑๐.๓๐ น.          เป็นยามคะรู
       -ยามนี้เป็นยามดี  จะไปทวงหนี้  ขอกู้หนี้  ประนอมหนี้หรือติดต่อธุรกิจทำมาค้าขายให้ทำได้ในทันที  จะมีการตกลงทำสัญญาใดๆให้ทำได้ในทันที  ข่าวที่ได้รับส่วนมากเป็นข่าวดีและแน่นอน  ทำการมงคลได้ทุกชนิด
     -๑๐.๓๑ น. - ๑๒.๐๐ น.          เป็นยามภุมมะ
       -ยามนี้เป็นยามอุบาทว์  ตกลงทำสัญญาใดๆก็จะกลับกลายเป็นร้ายไปหมด  ทำการเปิดร้านดีแต่ตอนแรกต่อไปในภายหลังจะเกิดความพินาศฉิบหาย  เป็นยามที่เหมาะแก่การหลอกลวงต้มตุ๋นของพวกมิจฉาชีพ  อย่าไว้ใจคนแปลกหน้าโดยเด็ดขาด  อย่าซื้อขายของร้อนของไม่ดีจะเดือดร้อนในภายหลัง
     -๑๒.๐๑ น. - ๑๓.๓๐ น.          เป็นยามสุริชะ
       -ยามนี้เป็นยามไม่ดี จะมีผู้คิดปองร้ายมีผู้วางแผนอันเร้นลับให้ร้าย  ห้ามเดินทางจะเกิดเป็นอันตราย
     -๑๓.๓๑ น. - ๑๕.๐๐ น.          เป็นยามศุกะระ
       -ยามนี้ทำการมงคลดี  เรื่องร้ายจะกลับกลายเป็นดี  จะปรับความเข้าใจต่อรองยอมความกันได้  ข่าวที่ได้ยินมาล้วนแต่เป็นข่าวดี  คนป่วยว่าไม่ตาย  คนป่วยเกือบตาย ถ้าได้ข่าวยามนี้ก็หายไปแล้ว
     -๑๕.๐๑ น. - ๑๖.๓๐ น.          เป็นยามพุธะ
       -ยามนี้เรียกว่าเป็นยามมรณะ  จะเดินทางไปไหนมาไหนโปรดระมัดระวังให้ดีเดี๋ยวจะเป็นอันตรายไม่ตายก็คางเหลือง  จำได้ว่าในสมัย พล ต.อ. เผ่า  ศรียานนท์  อธิบดีกรมตำรวจ ได้ใช้ฤกษ์นี้เข้าปราบปรามโจรผู้ร้ายบาดเจ็บล้มตายกันระนาว  ท่านห้ามนักอย่าได้ทำการใดๆเลยมีแต่เสียกับเสียไม่มีได้  ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวร้ายแทบทั้งสิ้น
     -๑๖.๓๐ น. - ๑๘.๐๐ น.          เป็นยามจันเทา
       -ยามนี้ดีทำการมงคลได้ทุกชนิด  เจรจาความเมืองดี  ทวงหนี้สินดีตกลงซื้อขายดี  ฉลองการขึ้นบ้านใหม่ก็ดีทั้งนั้น  เป็นยามที่มีฤกษ์ดีแต่ถ่ายเดียว  ข่าวที่ได้รับล้วนแล้วแต่เป็นข่าวดีแทบทั้งสิ้นไม่มีเสียเลย  ถ้าถามถึงคนป่วยว่าไม่ตาย จะหายป่วย
     -สรูปยามดียามร้ายของวันจันทร์ ภาคกลางวัน
        -ยามดี  คือยามที่  ๓    ๖    ๘
        -ยามร้าย  คือยามที่  ๑    ๒    ๔    ๕    ๗
            
           วันอังคารภาคกลางวัน
     -๖.๐๑ น. - ๗.๓๐ น.     เป็นยามภุมมะ
       -ยามนี้ ทำกิจการงานใดๆดีครึ่งเสียครึ่ง  ไม่ทำเสียเลยจะดีกว่า  ข่าวที่ได้รับดีและร้ายปานๆกันนั่นแหละ
     -๗.๓๑ น. - ๙.๐๐ น.     เป็นยามสุริชะ
       -ยามนี้เป็นยามปลอดโปร่ง จะทำอะไรจะติดต่ออะไรก็ดีทั้งนั้น  จะมีความสำเร็จดีนักแล  ข่าวที่ได้รับล้วนแล้วเป็นข่าวดีแทบทั้งสิ้น
     -๙.๐๑ น. - ๑๐.๓๐ น.    เป็นยามศุกะระ
       -ยามนี้เป็นยามร้ายไปไหนไม่สะดวกมักจะมีการหลอกลวงคดโกงต้มตุ๋นและทรยศหัก หลังกันต่างๆนานา  เซ็นสัญญาใดๆไม่ดี  ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวลวงแทบทั้งสื้น
     -๑๐.๓๑ น. - ๑๒.๐๐ น.    เป็นยามพุธะ
       -ยามนี้เป็นยามปลอดโปร่งโล่งใจดี จะทำอะไรก็ดีทั้งนั้น  ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวดี
     -๑๒.๐๑ น. - ๑๓.๓๐ น.          เป็นยามจันเทา
       -ยามนี้ ห้ามตกลงเป็นนายประกันให้เขาและการค้ำประกันทุกอย่าง  ห้ามรับคนเข้ามาอยู่ในบ้านจะกลับกลายเป็นงูพิษใครมาบอกข่าวให้ไปไหน จงอย่าไปโดยเด็ดขาดจะเกิดเป็นอันตราย
     -๑๓.๓๑ น. - ๑๕.๐๐ น.     เป็นยามเสารี
       -ยามนี้เป็นยามร้าย ร้อนใจจะแพ้ภัยแก่คนพาล  ไปไหนมาไหนไม่ดีโปรดระวัง  ข่าวที่ได้รับไม่ดีทั้งสิ้น
     -๑๕.๐๑ น. - ๑๖.๓๐ น.    เป็นยามคะรู
       -ยามนี้เป็นยามมรณะกาล ห้ามเดินทาง  ห้ามทำการรณรงค์สงคราม  ห้ามทำการมงคลทุกชนิด  ไม่จำเป็นอย่าทำการหักหาญโดยเด็ดขาด ยามนี้ร้ายยิ่งนัก  ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวร้ายทั้งนั้น  ใตรมาชวนให้ไปไหนมาไหนอย่าได้ไปเป็นเด็ดขาด ขืนไปตายลูกเดียว
     -๑๖.๓๑ น. - ๑๘.๐๐ น.          เป็นยาภุมมะ
       -ยามนี้เป็นยามดีมาก  จะยาตราไปไหน ทำอะไรล้วนปลอดโปร่ง  จะจัดเลี้ยงสังสรรค์และทำสัญญาใดๆ ก็ใหรีบทำดีนักแล  ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นขาวดีทั้งสิ้น  ตำรวจจะจู่โจมจับตัวผู้ร้ายก็จะจับกุมได้หมด
     -สรูปยามดียามร้ายของวันอังคาร ภาคกลางวัน
        -ยามดี  คือยามที่  ๒    ๔    ๘
        -ยามร้าย  คือยามที่  ๓    ๕    ๖    ๗
        -ยามที่  ๑   คือยามครึ่งดีครึ่งร้าย 
        
           วันพุธภาคกลางวัน
     -๖.๐๑ น. - ๗.๓๐ น.    เป็นยามพุธะ
       -ยามนี้ดีมากจะทำอะไรมักจะได้ผลดี  เด็กที่เกิดในยามนี้ท่านว่าสวรรค์ส่งมาเกิดมีบุญวาสนาดีจะเดินทางไปทางใดก็ สะดวกสบายดีมีอุปสรรคน้อยไม่ค่อยลำบากเหมือนคนอื่น   ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวดีแทบทั้งนั้น
     -๗.๓๑ น. - ๙.๐๐ น.    เป็นยามจันเทา
       -ยามนี้เหมาะแก่ฤกษ์มงคลรดน้ำสังข์ในการแต่งงาน  จะเข้าพระเข้านางก็ดี  จะเจรจาสู่ขอใช้ยามนี้ปลอดภัยยิ่งนัก  ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวดีแทบทั้งสิ้น
     -๙.๐๑ น. - ๑๐.๓๐ น.     เป็นยามเสารี
       -ยามนี้เป็นยามร้าย  เป็นทหารตำรวจออกลาดตระเวนโปรดระวังให้ดียามนี้ร้ายนัก  จะไปไหนมาไหนในที่เปลี่ยวอย่าได้ประมาทอาจจะถูกโจมตีได้ง่ายๆ  มีคนมาชวนให้ไปในที่เปลี่ยวด้วยกันอย่าได้ไป ยามนี้ร้ายมากกว่าดี  ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวร้ายแทบทั้งนั้น
     -๑๐.๓๑ น. - ๑๒.๐๐ น.     เป็นยามคะรู
       -ยามนี้เป็นยามร้ายที่ต่อเนื่องกันมา  ไม่ควรทำการมงคลใดๆ  หากจะเดินทางไกลให้เลื่อนออกไปอย่าได้ไปในยามนี้เดี่๋ยวจะกลายเป็นผีเฝ้าถนนได้ง่ายๆ   ข่าวที่ได้รับมาล้วนเชื่อถือไม่ได้เลย
     -๑๒.๐๑ น. - ๑๓.๓๐ น.     เป็นยามภุมมะ
       -ยามนี้ดี เดินทางไกลไปค้าขายดีจะมีโชคลาภและผลกำไรงาม  ทำการมงคลดี  ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดี
     -๑๓.๓๑ น. - ๑๕.๐๐ น.      เป็นยามสุริชะ
       -ยามนี้ไม่ดีจะมีคนคิดปองร้าย  จะเดินทางไปไหนโปรดระวังให้ดีเดี๋ยวภัยจะมาถึงตัวอย่างไม่คาดฝัน คนคิดร้ายจะจู่โจมเอา  ข่าวที่ได้รับร้ายนักแล
     -๑๕.๐๑ น. - ๑๖.๓๐ น.     เป็นยามศุกะระ
       -ยามนี้เหมาะแก่การทวงหนี้หรือไปพบปะเจรจาเรื่องการงาน  จะไปหาใครเลือกยามนี้ดีที่สุดจะได้พบปะไม่หนีไปไหน  ตำรวจที่จะตามจับผู้ร้ายให้ใช้ยามนี้ดีที่สุดคงจะได้ตัวผู้ร้ายอย่างแน่นอนทีเดียว  โอกาสที่จะพบมีมาก   ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวดี
     -๑๖.๓๑ น. - ๑๘.๐๐ น.     เป็นยามพุธะ
       -ยามนี้ห้ามการเดินทางไปในที่เปลี่ยวๆหรือในที่ๆมีอันตราย ถ้าไม่จำเป็นให้ยับยั้งเอาไว้ก่อนเป็นดีที่สุด  หากทำการอะไรแล้วมันไม่งอกเงยให้อยู่เฉยๆดีกว่า  ใครมาชักชวนให้ไปไหนการไม่ไปนั้นแหละเป็นดีที่สุด ถ้าไปอาจจะตายหรือมิฉะนั้ก็คางเหลือง   ข่าวที่ได้รับมาร้ายมากกว่าดีโปรดระมัดระวังให้มาก
      -สรูปยามดียามร้ายของวันพุธ ภาคกลางวัน
        -ยามดี  คือยามที่  ๑    ๒    ๕    ๗
        -ยามร้าย  คือยามที่  ๓    ๔    ๖    ๘      
               
              วันพฤหัสบดีภาคกลางวัน
     -๖.๐๑ น. - ๗.๓๐ น.          เป็นยามคะรู
       -ยามนี้เป็นยามที่เป็นมงคล  สร้างบ้านใหม่ ขึ้นบ้านใหม่  แต่งงานออกรถออกเรือ  เปิดร้านทำธุรกิจการค้าดี  ใช้เป็นฤกษ์ในการไปนั่งทำงานเป็นวันแรกจะดีมาก  ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดีไม่มีเสีย
     -๗.๓๑ น. - ๙.๐๐ น.          เป็นยามภุมมะ
       -ยามนี้อยู่เฉยๆดีที่สุด  ไม่ต้องไปดิ้นรนอะไรเป็นดีที่สุด   ข่าวที่ได้รับมาล้วนไม่แน่นอน
     -๙.๐๑ น. - ๑๐.๓๐ น.          เป็นยามสุริชะ
       -ยามนี้เป็นยามดี จะทำการมงคลอะไรก็ดีทั้งนั้น จะไปสู่ขอและการแต่งงานดีทั้งนั้น   ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวดีทั้งนั้น
     -๑๐.๓๐ น. - ๑๒.๐๐ น.          เป็นยามศุกะระ
       -ยามนี้ให้ระวังของหาย  คนหนี  เจ้าหนี้ตาม  ยามพลัดพรากทำอะไรก็ไม่ดี  บั้นปลายมือจะร้ายทำอะไรโปรดระวังให้ดี   ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวร้ายทั้งสิ้น
     -๑๒.๐๑ น. - ๑๓.๓๐ น.          เป็นยามพุธะ
       -ยามนี้เป็นยามแคล้วคลาด  จะไปทวงหนี้หริอติดต่อทำสัญญาใดๆไม่สะดวกพบก็มีเหตุขัดข้อง  ทำอะไรไม่ดีเลย  ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวร้าย
     -๑๓.๓๑ น. - ๑๕.๐๐ น.          เป็นยามจันเทา
       -ยามนี้เป็นยามพลัดพรากโลเลไม่แน่นอน พบคนรักหรือทำอะไรในยามนี้เอาแน่นอนไม่ได้   ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวที่ไม่แน่นอน
     -๑๕.๐๑ น. - ๑๖.๓๐ น.          เป็นยามเสารี
       -ยามนี้เรียกว่ายามชนะศึก  จะยาตราไปรบและเข้าจู่โจมจับกุมทำลายล้างพวกมิจฉาชีพดีนักแล มีแต่ได้ไม่มีเสีย  เป็นยามอุดมมงคลของขุนศึก   ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวดี
     -๑๖.๓๑ น. - ๑๘.๐๐ น.          เป็นยามคะรู
       -ยามนี้ทำการมงคลดีทุกอย่างสะดวกสบายดีนักแล   ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวดีทั้งสิ้นแล
     -สรูปยามดียามร้ายของวันพฤหัสบดี ภาคกลางวัน
        -ยามดี  คือยามที่  ๑    ๒    ๓    ๕    ๗    ๘
        -ยามร้าย  คือยามที่  ๔    ๖        
          
               วันศุกร์ภาคกลางวัน
     -๖.๐๑ น. - ๗.๓๐ น.    เป็นยามศุกะระ
       -ยามนี้เป็นยอดยามอุดมมงคล  จะเปิดบริษัทห้างร้านโรงงานโรงเรียนสมาคมและสำนักงาน  ขึ้นบ้านใหม่แต่งงาน  ปลูกบ้านสร้างเรือนยกเสาเอก  หรือจะเริ่มทำกิจการใดๆให้ตั้งเป็นยามปฐมฤกษ์ดียิ่งนักท่านเอ๋ย ถ้าปลูกบ้านสร้างเรือนก็จะอยู่เย็นเป็นสุข  ถ้าใช้เป็นฤกษ์ในการแต่งงานก็จะถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร  ถ้าใช้เป็นฤกษ์เปิดร้านขายของกิจการค้าจะเจริญก้าวหน้าดียิ่งนัก   ข่าวที่ได้ยินมาล้วนแต่เป็นข่าวยอดดี
     -๗.๓๑ น. - ๙.๐๐ น.    เป็นยามพุธะ
       -ยามนี้เป็นยามดีในการรดน้ำสังข์ในเวลาแต่งงานหรือฤกษ์ยกขันหมากดีนักจะอยู่กันยืดยาวดีไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ขาวที่ได้รับส่วนมากจะเป็นข่าวดี
     -๙.๐๑ น. - ๑๐.๓๐ น.    เป็นยามจันเทา
       -ยามนี้ให้ระวังเรื่องข่าวลวงหรือคนพาไปไหนมาไหนอย่าได้ไปมันร้ายมากกว่าดี   ข่าวที่ได้รับร้ายทั้งสิ้นโปรดระมัดระวังให้ดี
     -๑๐.๓๑ - ๑๒.๐๐ น.    เป็นยามเสารี
       -ยามนี้ทำกิจการใดๆไม่ดี มักจะไม่สำเร็จ  จะตกลงทำสัญญาใดอย่าได้ทำในเวลานี้จะมีเรื่องให้ตามแก้ไม่มีที่สิ้นสุดข่าวที่ได้รับมาสับสนไม่แน่นอน
     -๑๒.๐๑ น. - ๑๓.๓๐ น.    เป็นยามคะรู
       -ยามนี้ห้ามทำการมงคลใดๆทั้งสิ้น  การเดินทางก็ควรงด อย่าได้ไปเป็นหมู่คณะในยามนี้ จะได้กลับมาไม่หมดแล ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวไม่ดี
     -๑๓.๓๑ น. - ๑๕.๐๐ น.    เป็นยามภุมมะ
       -ยามนี้เป็นยามแห่งการต่อสู้  การจู่โจม  การเข้าเจรจาขายของหรือการขอสินเชื่อดีนักแลจะทำสำเร็จโดยง่ายดายข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวดี
     -๑๕.๐๑ น. - ๑๖.๓๐ น.          เป็นยามสุริชะ
       -ยามนี้เป็นยามเหมาะแก่การนัดพบ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม  นัดพบแล้วได้ผลสมความมุ่งหมาย  จะขอเข้าพบผู้ใหญ่ก็ได้ทั้งนั้น  จะเจรจาขอความเห็นใจก็คล่องดี    ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวดีทั้งสิ้น
     -๑๖.๓๑ น. - ๑๘.๐๐ น.    เป็นยามศุกะระ
       -ยามนี้เป็นยามดี จะรดน้ำสังข์แต่งงานก็ดีทั้งนั้น  จะใช้ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์สำเร็จก็ได้ดีนักแล   ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดี
     -สรูปยามดียามร้ายของวันศุกร์ ภาคกลางวัน
        -ยามดี  คือยามที่  ๑    ๒    ๖    ๗    ๘
        -ยามร้าย  คือยามที่  ๓    ๔    ๕
  
               วันเสาร์ภาคกลางวัน
     -๖.๐๑ น. - ๗.๓๐ น.     เป็นยามเสารี
       -ยามนี้เป็นยามแห่งชัยชนะ  ใช้ในการเคลื่อนพลทหารหรือตำรวจเขาจับกุมพวกทุจิตมิจฉาชีพ     ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดี
   -๗.๓๑ น. - ๙.๐๐ น.         เป็นยามคะรู    
     -ยามนี้เป็นยามหลอกลวงล้วงตับคู่ศัตรู  โปรดระวังการหลอกลวง   ถ้าจะทำเอกสารสัญญาใดๆให้ทบทวนดูให้ดีๆเสียก่อน  จะรับคนเข้ามาอยู่อาศัยภายในบ้านโปรดดูให้ดีๆเสียก่อนเดี๋ยวจะเสียใจในภายหลัง   ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวลวง
     -๙.๐๑ น. - ๑๐.๓๐ น.    เป็นยามภุมมะ
       -ยามนี้เป็นยามที่เหมาะในทางการเจรจา    ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดี
     -๑๐.๓๑ น. - ๑๒.๐๐ น.     เป็นยามสุริชะ
       -ยามนี้เหมาะแก่การการู่โจม ตัดหน้าและการเจรจาตัดสินใจโดยรีบด่วน  ต้องแก่งแย้งแข่งขันชิงดีชืงเด่นเอาชัยชนะใช้ฤกษ์นี้ดีนักแล    ข่าวที่ได้รับไม่แน่นอนอะไรอาจจริงหรืออาจเท็จก็ได้
     -๑๒.๐๑ น. - ๑๓.๓๐ น.    เป็นยามศุกะระ
       -ยามนี้เหมาะแก่การหลบหนี  แหกด่าน  แหกที่คุมข้ง หรือการโจมตีข้าศึกศัตรูให้พินาศ  จะมีโอกาสรอดมากกว่าเสียข่าวที่ได้รับมีทั้งข่าวดีและข่าวเสีย
     -๑๓,๓๑ น. - ๑๕.๐๐ น.    เป็นยามพุธะ
       -ยามนี้เป็นยามที่ไม่ดี  ห้ามทำการมงคลทั้งปวง  ถ้าเจ็บไข่ได้ป่วยจะร้ายแรง  ใครมาชวนไปไหนมาไหนให้ระวัง อย่าได้ไว้ใจเป็นเด็ดขาดจะเป็นอันตรายในภายหลัง     ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวลวงอย่าไว้ใจ
     -๑๕.๐๑ น. - ๑๖.๓๐ น.     เป็นยามจันเทา
       -ยามนี้เป็นยามร้าย  ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยจะมีอาการหนัก  จะไปไหนมาไหนถ้าไม่จำเป็นจริงๆให้งดไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง     ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวร้ายทั้งสิ้น
     -๑๖.๓๑ น. - ๑๘.๐๐ น.          เป็นยามเสารี
       -ยามนี้ดียิ่งนักแล  จะทำการมงคลสิ่งใดก็ดีทุกอย่าง จะติดต่อการงานใดๆก็ดีทั้งนั้นให้เร่งทำเถิด   ข่าวที่ได้รับล้วนแล้วแต่เป็นข่าวดีทั้งสิ้น
     -สรูปยามดียามร้ายของวันเสาร์ ภาคกลางวัน
        -ยามดี  คือยามที่  ๑    ๓    ๔    ๕    ๘
        -ยามร้าย  คือยามที่  ๒   ๖    ๗ 

 

             ยามอัฏฐกาล ภาคกลางคืน

   
       วันอาทิตย์ภาคกลางคืน
     -๑๘.๐๑ น. - ๑๙.๓๐ น.     เป็นยามระวิ
       -ยามนี้ให้ระวังโจรผู้ร้าย  การแตกหัก  การเสียข้าวของ  การพลัดตกหกล้ม  ระวังจะถูกงูพิษกัดหรือแมลงมีพิษต่อยไม่ควรกระทำการมงคลแต่เป็นฤกษ์ดี  ในการจู่โจมเข้าจับกุมและการตรวจค้นเหมาะสมที่สุด   ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวร้ายแทบทั้งสิ้น
     -๑๙.๐๑ น. - ๒๑.๐๐ น.     เป็นยามชีโว
       -ยามนี้เหมาะแก่การโจมตี  การทำสงครามและการตกลงธุรกิจต่างๆที่ต้องมีการตกลงรายการใหญ่ๆ เหมาะมากในช่วงนี้  จะเข้าจับกุมผู้ร้ายก็ดีนักแล  จะมีชัยสมคะเนทุกประการ  ข่าวที่ได้รับสวนมากเป็นข่าวดี
     -๒๑.๐๑ น. - ๒๒.๓๐ น.     เป็นยามศะศิ
       -ยามนี้ทำการมงคลส่งตัวเข้าห้อหรือทำการฉลองขึ้นบ้านใหม่  เจิมเสาเอกเสาโทหรือทำการมงคลนีนักแล  ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวดีแทบทั้งสิ้น
     -๒๒.๓๑ น. - ๒๔.๐๐ น.     เป็นยามศุกะโร
       -ยามนี้ไม่ให้ทำการมงคล  เพียงแต่ให้ตั้งทัพรออยู่กับที่คอยรับมือโจรผู้ร้าย  ให้งดเว้นการเดินทาง  ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวร้ายแทบทั้งสิ้น
     -๒๔.๐๑ น. - ๐๑.๓๐ น.     เป็นยามภุมโม
       -ยามนี้ไม่เหมาะแก่การทำมงคลทุกชนิด  แต่เหมาะสำหรับการเข้าทำศึกเพื่อชัยชนะนับว่าได้ผลดี
     -๐๑.๓๑ น. - ๐๓.๐๐ น.     เป็นยามโสโร
       -ยามนี้ห้ามทำการมงคลโดยเด็ดขาด    ถ้าเป็นทหารระวังจะถูกโจมตีรับอรุณ  รณรงค์สงครามก็ไม่ดีระวังจะถูกดักซุ่มโจมตี  เป็นยามไพร่พลเข้าเมืองไม่เฟื้องฟู
     -๐๓.๐๑ น. - ๐๔.๓๐ น.     เป็นยามพุโธ
       -ยามนี้ไม่เหมาะแก่การทำมงคลทุกชนิด  เป็นยามที่กรุงศรีอยุธยาแตกเสียเอกราชแก่พม่าข้าศึก  ถ้าเป็นทหารให้ระวังข้าศึกจะโจมตีอย่าประมาท
     -๐๔.๓๑ น. - ๐๖.๐๐ น.     เป็นยามระวิ
       -ยามนี้เป็นยามที่ห้ามการทำมงคลทุกชนิด ห้ามการเดินทางยับยั้งอยู่กับที่ดีที่สุด
     -สรูปยามดียามร้ายของวันอาทิตย์ ภาคกลางคืน
       -ยามดี  คือยามที่  ๒    ๓    ๘
       -ยามร้าย  คือยามที่  ๑    ๔    ๕    ๖    ๗      

            วันจันทร์ภาคกลางคืน
     -๑๘.๐๑ น. - ๑๙.๓๐ น.     เป็นยามศะศิ
       -ยามนี้ดีนักแลทำอะไรก็ไม่ติดขัด  เด็กที่เกิดในยามนี้จะมีตบะเดชะมากและมีปัญญาประเสริฐเลิศนักแล
     -๑๙.๓๑ น. - ๒๑.๐๐ น.    เป็นยามศุกะโร
       -ยามนี้ทำงานมงคลดีนัก  จะส่งตัวเข้าหอก็ดี  จะตกลงทำสัญญาใดๆก็ดีทั้งนั้น  ไม่เหมาะอย่างเดียวคือการจับกุมจี้ปล้นและหลอกลวงมีหวังติดคุกหัวโตอย่าง แน่นอน
     -๒๑.๓๑ น. - ๒๒.๓๐ น.     เป็นยามภุมโม
       -ยามนี้ห้ามการทำมงคลทุกชนิด  งดการเจรจาหารือ ควรจะออมชอมไม่งั้นจะวงแตก
     -๒๒.๓๑ น. - ๒๔.๐๐ น.     เป็นยามโสโร
       -ยามนี้ร้ายหรือดีก็พอๆกันได้ครึ่งเสียครึ่ง   ทำการได้แต่ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเช่น ตำรวจจะไปทะลายแก๊งมิจฉาชีพอย่างถอนรากถอนโคนจะทำการจับกุมไม่ได้หมดตัวการ จะหนีไปได้  ข่าวที่ได้รัยดีร้ายพอๆกัน
     -๒๔.๐๑ น. - ๑.๓๐ น.     เป็นยามพุโธ
       -ยามนี้ร้าย ห้ามออกจากเคหสานไปทำธุรกิจข้างนอกบ้าน  เป็นยามยมขันธ์ไม่มีดีมีแต่ร้ายกับตาย  ถ้าไม่อยากคอขาดบาดตายอย่าได้ออกไปเชียวร้ายยิ่งนัก  ใครมาเรียกอย่าขานอย่าเปิดประตูรับ  เว้นไว้แต่ได้นัดเวลากันไว้หรือเคยเป็นคนเข้านอกออกในมาก่อน  ให้ระวังเอาไว้เป็นดีที่สุด
     -๑.๓๑ น. - ๓.๐๐ น.      เป็นยามระวิ
       -ยามนี้เป็นยามปลอดดีนักแล  แต่เวลานี้ส่วนใหญ่จะนอนหลับกันหมดแล้ว
     -๓.๐๑ น. - ๔.๓๐ น.     เป็นยามชีโว
       -ยามนี้เป็นยามดีรับอรุณ  จะจู่โจมจับกุมหรือทำการมงคลใดๆก็จงเลือกเอาตามสบาย  ข่าวที่ได้รับดีทั้งนั้น  คนป่วยว่าจะตายอาจจะไม่ตายก็ได้
     -๔.๓๑ น. - ๖.๐๐ น.     เป็นยามศะศิ
       -ยามนี้ยอดเยี่ยมดีนักแลจะทำอะไรก็ดีทั้งนั้น  
        -สรูปยามดียามร้ายของวันจันทร์ ภาคกลางคืน
         -ยามดี  คือยามที่  ๑    ๒    ๖    ๗    ๘
         -ยามร้าย  คือยามที่  ๓    ๕
         -ยามที่  ๔  เป็นยามครึ่งดีครึ่งร้าย     
 
           วันอังคารภาคกลางคืน
     -๑๘.๐๑ น. - ๑๙.๓๐ น.     เป็นยามภุมโม
       -ยามนี้เป็นยามที่พระรถได้ดวงตาของนางสิบสองแล้วจะกลับเมืองยักษ์  ยามนี้ปลอดโปร่งดีนักแล  จะทำการสิ่งใดก็จะสัมฤทธ์ผลทุกอย่าง ท่านว่าดีเยี่ยมให้รีบทำเถิด
     -๑๙.๓๑ น. - ๒๑.๐๐ น     เป็นยามโสโร
       -ยามนี้เป็นยามดีสำหรับผู้เล่นหุ้นและเล่นการพนัน  จะเล่นเป็นเจ้ามือหรือลูกมือก็ได้ท่านว่าดีนักแล  ท่านเรียกยามนี้ว่า "เป็นยามผีพนัน" แต่อย่างอื่นไม่ดี
     -๒๑.๐๑ น. - ๒๒.๓๐ น.     เป็นยามพุโธ
       -ยามนี้เป็นยามดี  ตกลงทำสัญญาอะไรก็ดีทั้งนั้นตลอดปลอดภัยดีทุกประการ
     -๒๒.๓๑ น. - ๒๔.๐๐ น.     เป็นยามระวิ
       -ยามนี้เป็นยามมรณะอีกยามหนึ่ง  ห้ามการทำมงคลทุกชนิด  และห้ามการเดินทางอีกด้วย
     -๒๔.๐๑ น. - ๑.๓๐ น.     เป็นยามชีโว
       -ยามนี้เป็นยามที่พิลึกกึกกือ คือยามที่ทำให้ยามที่ร้ายกลับกลายเป็นดี  ทำการมงคลได้แม้ว่าฤกษ์แวดล้อมจะเสียก็ตาม  สำรับยามนี้ใช้ข่มฤกษ์อื่นยามอื่นได้ทั้งหมด  ทำอะไรให้รีบทำเถิดดีนักแล  ข่าวที่ได้รับถึงเป็นข่าวร้ายก็จะกลับกลายเป็นดีไปหมด
     -๑.๓๑ น. - ๓.๐๐ น.     เป็นยามศะศิ
       -ยามนี้เป็นยามฉุกละหุกมากจะจับกุมหรือหลบหนีมีโอกาสเท่าๆกัน คือรอดก็รอดไปเลย  ถ้าไม่รอดก็ปะทะหรือจะเอ๋กันไปเลย  ดังนั้นยามนี้จึงไม่เหมาะกับการเสี่ยงใดๆ ไม่ดีเลย  ข่าวร้ายกับข่าวดีก็พอๆกัน
     -๐๓.๐๑ น.  -  ๐๔.๓๐ น.     เป็นยามศุกะโร
       -ยามนี้เป็นยามร้าย ไม่ควรจะออกนอกชายคาบ้าน  โจรผู้ร้ายและภัยต่างๆมีมากหลายและอันตรายก็ล้นเหลือ  จะนัดผู้หญิงพาหนีหรือพาขึ้นโรงแรมระวังจะถูกจับได้ง่ายๆ  ยามนี้ไม่ควรทำมงคลทุกชนิด  ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวร้ายทั้งสิ้น
     -๐๔.๓๑ น.  -  ๐๖.๐๐ น.      เป็นยามภุมโม
       -ยามนี้ดีนักแล ทำมงคลอะไรก็ได้  ยกฤกษ์เบิกอรุณกันเลยทีเดียว ไม่ต้องกลัวทำการมงคลได้ทุกชนิด  ข่าวที่ได้รับดีมากไม่ต้องสงสัยเลย  คนป่วยทายว่าจะรอดไม่ตายเลย
     -สรูปยามดียามร้ายของวันอังคาร ภาคกลางคืน
        -ยามดี  คือยามที่  ๑    ๒    ๓    ๕    ๘
        -ยามร้าย  คือยามที่  ๔    ๖    ๗
        
     วันพุธภาคกลางคืน
     -๑๘.๐๑ น. - ๑๙.๓๐ น.      เป็นยามพุโธ
       -ยามนี้ตกยามพระลอเดินดงไม่ได้เรื่องไม่ได้ราวอะไรไม่ได้ไม่เสีย ไปไหนมาไหนเพื่อแสวงหาโชคลาภไม่ดีเลย  แต่ก็ไม่มีอันตรายอะไรเพราะผ่านยามร้ายมาแล้ว  ข่าวที่ได้รับมีทั้งดีและร้ายก้ำกึ่งกัน
     -๑๙.๓๑ น. - ๒๑.๐๐ น.     เป็นยามระวิ
       -ยามนี้ จะขอความช่วยเหลืออะไรก็เร่งทำเถิดดีนักแล  เหมาะแก่ผู้หลักผู้ใหญ่จะให้ความเมตตาช่วยเหลือแก่ผู้น้อย  ข่าวที่ได้รับดีมากกว่าร้าย
     -๒๑.๐๑ น. - ๒๒.๓๐ น.     เป็นยามชีโว
       -ยามนี้เป็นยามเลือกคู่เรียงหมอนอ้อนออดงอนง้อขอความรักหรือเจรจาเรื่อง ปัญหาหัวใจดีที่สุด  มันจะทำให้ผู้หญิงหัวใจอ่อนเพราะมันเป็นยามที่ทำให้คนหัวใจอ่อนได้ง่ายๆ  ข่าวที่ได้รับส่วนมากจะเป็นข่าวดี
     -๒๒.๓๑ น. - ๒๔.๐๐ น.     เป็นยามศะศิ
       -ยามนี้ทำธุรกิจเรื่องความรักดีนักแล  ข่าวที่ได้รับส่วนใหญ่ดี
     -๒๔.๐๑ น. - ๑.๓๐ น.      เป็นยามศุกะโร
       -ยามนี้เป็นยามโสกาอาดูร  มีแต่ความหดหู่รันทดใจ  ไปไหนมาไหนโปรดระวังให้ดีเดี๋ยวจะมีภัย   ข่าวที่ได้รับมีแต่ข่าวร้ายทั้งนั้น
     -๑.๓๑ น. - ๓.๐๐ น.       เป็นยามภุมโม
       -ยามนี้เป็นยามไม่ดีเพราะเป็นยามปล่อยคุณไสย์  ยามผีออกหลอกหลอนและเป็นยามกาลีอีกด้วย  ห้ามมิให้ออกจากเคหสถานบ้านเรือนข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวร้าย
     -๓.๐๑ น. - ๔.๓๐ น.      เป็นยามโสโร 
       -ยามนี้เป็นยามกึ่งดีกึ่งร้าย ไม่ควรทำการมงคลใดๆทั้งสิ้น  ข่าวที่ได้รับมาล้วนแต่เป็นข่าวที่ไม่แน่นอน
     -๔.๓๑ น. - ๖.๐๐ น.      เป็นยามพุโธ
       -ยามนี้เป็นยามอุดมมงคล  จะยกขันหมากหรือยาตราทัพดีทั้งนั้น  ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดีทั้งนั้น
     -สรูปยามดียามร้ายของวันพุธ ภาคกลางคืน
       -ยามดี  คือยามที่   ๒   ๓   ๔   ๘
       -ยามร้าย  คือยามที่  ๕    ๖    ๗
       -ยามที่ ๑  เป็นได้ทั้งดีและร้าย
        
          วันพฤหัสบดีภาคกลางคืน
     -๑๘.๐๑ น. - ๑๙.๓๐ น.    เป็นยามชีโว
       -ยามนี้เป็นยามบอกรัก ใช้ในการฝากรักดีนักแล  ทำการมงคลอะไรก็ดีทั้งนั้น   ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดี
     -๑๙.๓๑ น. - ๒๑.๐๐ น.    เป็นยามศะศิ
       -ยามนี้เป็นยามดีใช้เป็นฤกษ์ในการสู่ขอหรือประกอบพิธีในการหมั่นดีนักแล  จะทำการมงคลอะไรก็ดีทั้งนั้น   ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดี
     -๒๑.๐๑ น. - ๒๒.๓๐ น.     เป็นยามศุกะโร
       -ยามนี้เป็นยามดีในการแสวงหาคู่ บอกฝากรักดีนักแล  จะทำให้เพศตรงกันข้ามเกิดความเห็นอกเห็นใจ   ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวดี
     -๒๒.๓๑ น. - ๒๔.๐๐ น.     เป็นยามภุมโม
       -ยามนี้ใช้เป็นฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาวเข้าหอดีนักแล  ใช้เป็นฤกษ์เรียงหมอนอย่างง่ายๆดีนัก    ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดี
     -๒๔.๐๑ น. - ๑.๓๐ น.    เป็นยามโสโร
       -ยามนี้เป็นยามครึ่งดีครึ่งร้าย  ไม่ควรทำการมงคลอะไรเป็นดีที่สุดเพราะเป็นฤกษ์เสีย   ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวไม่ดี
     -๑.๓๑ น. - ๓.๐๐ น.     เป็นยามพุโธ
       -ยามนี้เป็นยามมรณะห้ามออกจากบ้าน  ห้ามเปิดประตูรับคนเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน    ห้ามออกลาดตระเวณโดยเด็ดขาดจะมอดม้วยมรณาข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวร้าย
     -๓.๐๑ น. - ๔.๓๐ น.      เป็นยามระวิ
       -ยามนี้เป็นยามร้ายสำหรับผู้เดินทางในทางน้ำ  อย่าเดินทางในทางเรือจะประสบกับภัยของพายุเรือจะอับปางหรือแตก  ยามนี้ชาวเรือควรระมัดระวังให้มาก  เพราะเป็นยามสมุทรพิโรธแล
     -๔.๓๑ น. - ๖.๐๐ น.      เป็นยามชีโว
       -ยามนี้เป็นยามที่ดีมาก  จะเดินทางและจะทำการมงคลใดๆก็ดีทั้งนั้นรีบทำเถิด  ยามนี้ถือเป็นมงคลฤกษ์   ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดี
       -สรูปยามดียามร้ายของวันพฤหัสบดี ภาคกลางคืน       
         -ยามดี  คือยามที่  ๑    ๒    ๓    ๔    ๘
         -ยามร้าย  คือยามที่  ๖    ๗ 
         -ยามที่  ๕  เป็นได้ทั้งดีและร้าย

      วันศุกร์ภาคกลางคืน
     -๑๘.๐๑ น. - ๑๙.๓๐ น.     เป็นยามศุกะโร
       -ยามนี้เป็นยามดีเป็นฤกษ์ที่มีชัยใช้ทำมงคลได้ทุกอย่างตามแต่จะปราถนาดีนักแล    ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นแต่ข่าวดี
     -๑๙.๓๑ น. - ๒๑.๐๐ น.     เป็นยามภุมโม
       -ยามนี้ร้ายเหลือดี เรื่องดีๆจะกลับกลายเป็นร้ายไปหมด  การทวงหนี้การปรับความเข้าใจจะไม่สำเร็จ  ความอวดดีจะกลับกลายเป็นเรื่องเลวร้ายให้ระมัดระวังให้ดี    ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวร้าย
     -๒๑.๐๑ น. - ๒๒.๓๐ น.     เป็นยามโสโร
       -ยามนี้ห้ามไม่ให้กระทำการมงคลใดๆทั้งสิ้น  ทำไปไม่เกิดผลดีจะกลับกลายเป็นผลร้ายไปหมดห้ามโดยเด็ดขาด     ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวร้ายทั้งสิ้น
     -๒๒.๓๑ น. - ๒๔.๐๐ น.    เป็นยามพุโธ
       -ยามนี้ไม่ดีเลย ไม่ควรออกจากบ้านไปไหนมาไหน    ข่าวที่ได้รับร้ายนัก
     -๒๔.๐๑ น. - ๑.๓๐     เป็นยามระวิ
       -ยามนี้ร้ายนักไม่ดีเลย  ทำการร้ายมิได้เดี๋ยวจะถูกจับกุมหรือมีอันเป็นไปอย่างแน่นอน  ไม่ควรทำการมงคลใดๆทั้งสิ้นข่าวที่ได้รับไม่ดีเลย
     -๑.๓๑ น. - ๓.๐๐ น.    เป็นยามชีโว
       -ยามนี้เป็นดิถีพิฆาต  จะยาตราไปไหนโปรดระวังให้ดีจะเป็นอันตราย   ข่าวที่ได้รับร้ายทั้งนั้นไม่ควรเชื่อถือ   เป็นกฤษ์จี้ปล้น
     -๓.๐๑ น. - ๔.๓๐ น.    เป็นยามศะศิ
       -ยามนี้เป็นยามดี  จะทำการมงคลใดๆก็ดีทั้งนั้น    ข่าวที่ได้รับล้วนแต่เป็นข่าวดี
     -๔.๓๑ น. -๖.๐๐ น.     เป็นยามศุกะโร
       -ยามนี้เป็นยามดีรับอรุณ  จะเดินทางไปไหนมาไหนก็จะมีแต่ความปลอดภัย  จะประสบแต่ควาสุขความเจริญ  ทำการมงคลใดๆก็ดีทั้งนั้น  ข่าวที่ได้รับล้วนแล้วแต่เป็นข่าวดี ทั้งสิ้นไม่มีเสียเลย
    -สรูปยามดียามร้ายของวันศุกร์ ภาคกลางคืน
      -ยามดี  คือยามที่   ๑   ๗   ๘
     -ยามร้าย คือยามที่   ๒   ๓    ๔    ๕    ๖  

            วันเสาร์ภาคกลางคืน
     -๑๘.๐๑ น. - ๑๙.๓๐ น.     เป็นยามโสโร
       -ยามนี้เข้าไปหาเจ้านาย  เจรจาปรับความเข้าใจกันดียิ่งนัก  เจรจาขอความช่วยเหลือต่างๆก็ดี     ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวดี
     -๑๙.๓๑ น. - ๒๑.๐๐ น.    เป็นยามพุโธ
       -ยามนี้รับอาสาเจ้านายดี  สื่อข่าว  ส่งเอกสารและทำการติดต่อประสานงานต่างๆดีนักแล     ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวที่แน่นอน
     -๒๑.๐๑ น. - ๒๒.๓๐ น.    เป็นยามระวิ
       -ยามนี้เป็นยามที่เหมาะแก่การโจมตี  การแอบดูพฤติกรรมของคนร้ายที่ลักล้อบทำผิดกฏหมาย  จะรู้เบาะแสการทำชั่วของมันได้ดี   ข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวดี
     -๒๒.๓๐ น. - ๒๔.๐๐ น.    เป็นยามชีโว
       -ยามนี้เป็นยามดักพบลูกหนี้  หรือดักจับคนร้ายดีทำอย่างอื่นไม่ดี   ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวร้ายโปรดระวัง
     -๒๔.๐๑ น. - ๑.๓๐ น.     เป็นยามศะศิ
       -ยามนี้เหมาะแก่การส่งกำลังบำรุง  การรุกรบบุกโจมตีให้แตกกระจายจะได้ชัยชนะโดยง่าย  เรียกว่า "ฤกษ์หนุมานทลายสวน" ข่าวที่ได้รับครึ่งดีครึ่งร้าย
     -๑.๓๑ น. - ๓.๐๐ น.     เป็นยามศุกะโร
       -ยามนี้ห้ามทำการมงคลทุกชนิด  ถ้ามีเสียงเอะอะเอ็ดตะโรภายนอกบ้าน จงอย่าได้ใส่ใจ  มันเป็นยามร้าย   อย่าออกนอกเคหสถานบ้านเรือน   ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวร้ายทั้งสิ้น
     -๓.๐๑ น. - ๔.๓๐ น.     เป็นยามภุมโม
       -ยามนี้ ห้ามทำการมงคลทุกชนิด  ถ้าคิดตัดช่องย่องเบาและจี้ปล้นในเวลานี้ มีหวังเข้าไปนอนในมุ้งสายบัวแน่นอนข่าวที่ได้รับล้วนเป็นข่าวร้าย
     -๔.๓๐ น. - ๖.๐๐ น.    เป็นยามโสโร
       -ยามนี้เป็นยามร้าย  ไม่ควรทำการมงคลทุกชนิด  ให้ระวังจะเกิดอุบัติเหตุ   ข่าวที่ได้รับเป็นข่าวร้ายแทบทั้งสิ้น
     -สรูปยามดียามร้ายของวันเสาร์ ภาคกลางคืน
       -ยามดี  คือยามที่  ๑   ๒    ๓   ๕   
       -ยามร้าย คือยามที่  ๔    ๖    ๗    ๘

                      **คำเตือนก่อนจบ**

    ถาม:-ถ้าเรามีความจำเป็นที่จะต้องออกเดินทางในฤกษ์ยามไม่ดีเราจะทำอย่างไร?

    ตอบ:-ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางในฤกษ์ยามไม่ดีให้ทำดังนี้

        ๑.ก่อนจะลงจากบ้านให้สวดคาถาเดินทางของหลวงพุอศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่า  ๗  จบ  คาถานั้นมีดังนี้

      ๐สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ  มะ  อะ  อุ ฯ 

      ๐สวด  ๗  จบ  ก่อนจะสวดต้องตั้งสมาธิจิตให้แน่วแน่แล้วตั้งนโม  ๓  จบ  ข้อนี้จะลืมเสียไม่ได้   และเมื่อสวดเสร็จแล้วก็ให้นึกถึงบารมีของหลวงพ่อศุข  ขอให้ท่านมาช่วยคุ้มครองป้องกันให้เดินทางโดยตลอดปลอดภัย

       ๒.ในขณะรถกำลังวิ่ง  เรือกำลังแล่น   หรือเครื่องบินกำลังบินไปในอากาศ ให้นึกภาวนาใว้ในใจไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง  เมื่อทำได้ดังนี้ท่านก็จะเดินทางโดยตลอดปลอดภัย  เหตุร้ายต่างๆก็จะไม่เกิดขึ้นแก่ท่านอย่างแน่นอน ฯ

                   ขอให้โชคดี 

    **หมายเหตุ:-

      -คนชอบเล่นการพนันถ้าเล่นใน "ยามผีพนัน" จะเล่นไม่เสีย ยามนี้อยู่ในยามของวันอังคารภาคกลางคืน แปลกดีเหมือนกันนะ

      -ยามพุธภาคกลางคืนเป็นยามงอนง้อขอคืนรัก  ถ้าใครอกหักอยากงอนง้อขอคืนดีรักให้ใช้ยามนี้จะสำเร็จเพราะยามนี้ทำให้ผู้หญิงใจอ่อนได้ง่ายๆ

    

    ***บันทึกทายบท   

    ๐การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือไหว้พระสวดมนต์ได้จบสิ้นลงใน วันที่ ๒๕ 

กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๖๒  เวลา  ๑๕.๕๖ น.

              พระมหาพรชัย      สุจิตฺโต  (พรชัย  ดวงมาลัย)

      วัดจอมมณี  บ้านหนองบอน  ต.นาโป่ง  อ.เมือง  จ.เลย  ร.๔๒๐๐๐ 

          

     

 

 

  

   

           

 

 

                                                          

  

 

 

 

                        

 


 

 

     

       

 

 

 

    

       

                    

                        

   

 

     

   

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 142,870