๖.รวมชุดกัณฑ์เทศน์

  

                                          รวมชุดกัณฑ์เทศน์             

   

                 กัณฑ์ที่ ๑ เรื่องการสะสมบุญ

    ๐ปุญญัญเจ  ปุริโส  กะริยา             กะริยาเถนัง  ปุนัปปุนัง

  ตัมหิ  ฉันทัง  กะริยาถะ                     สุโข  ปุญญัสสะ  อุจจะโยติ ฯ

    ๐ถ้าบุคคลพึงทำบุญไซร้  พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ  พึงทำความพอใจในบุญนั้น

  เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้ ฯ

    บุญ   คือความดี   ความดีในที่นี้หมายถึงความดีทางกายวาจาใจ

    ลักษณะของการสั่งสมบุญแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด  คือ:-

      ๑.ปะสาโท  คือการทำจิตให้เลื่อมใสในคุณของพระรัตนะตรัย   การทำจิตให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยทำอย่างไร ?  ให้ดูเรื่องมัฏฐะกุณฑะลี   และให้ดูตัวอย่างข้างล่างนี้

    อนุภาพของพุทโธนั้นหลวงปู่มั่นเล่าว่า ...“มีพระภิกษุบวชใหม่รูปหนึ่งมรณภาพด้วยโรคท้องร่วงอย่างกะทันหัน ท่านภาวนาพุทโธ พุทโธ แม้ขณะมรณภาพก็ภาวนาพุทโธอยู่ หลวงปู่มั่นต้องการจะรู้ว่า "คนภาวนาพุทโธ ตายแล้วจะไปเกิดที่ไหน"  ตอนที่พระใหม่รูปนี้มรณภาพ  หลวงปู่ท่านก็เข้าสมาธิ ตามดูจิตของพระภิกษุรูปนั้น ทราบว่าไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์”
   หลวงพ่อฤาษีลิงดำเล่าว่า ... "ก่อนภาวนา ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนถือเป็นพุทธานุสสติ เวลาภาวนาจะใช้เวลาไหนบ้างก็ตามชอบ ใจถ้าเวลาอื่นไม่มี ก็นอนอย่าลืม ถ้าศีรษะถึงหมอน ภาวนาพุทโธทันที นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งที่สวยและถูกใจเรา หรือให้นึกภาพของพระพุทธเจ้าที่เราเคยเห็นในที่ๆเราชื่นชอบ ว่า "ภาพนี้ คือภาพพระพุทธเจ้า แล้วก็ภาวนา  อาจจะภาวนา "พุทโธ" หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" สัก ๒-๓ ครั้งก็ ได้ตามความพอใจมากก็ได้น้อยก็ได้แล้วก็หลับไป พอตื่นขึ้นมาใหม่ๆ ก็นึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอีกแล้วก็ภาวนาว่า "พุทโธ" อีก ทำอย่างนี้ทุกวัน จนกระทั่งวันไหน ถ้าเราไม่มีโอกาสจะทำ วันนั้นรำคาญ ต้องทำเป็นอารมณ์จนชิน อย่างนี้ ถือว่า ทรง ฌานในพุทธานุสสติกรรมฐานแล้ว แม้ศีลมันจะขาดมันจะบกพร่องบ้าง ถึงยังไงก็ตาม ตายแล้วต้องไปสวรรค์แน่นอน" และแม้แต่ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ยังได้เล่าอนุภาพ และ อานิสสงค์ของ “พุท-โธ” ไว้ดังนี้...
   ยังมีหมอพรานคนหนึ่ง เติบใหญ่ขึ้นมาไม่ยอมทำบุญทำทาน ไม่ยอมไหว้พระนบธรรมอย่างใด มีแต่ความปราถนาจะไปฆ่าช้าง ให้ได้พันตัว ก็ออกไปล่าช้างทุกวัน ฆ่า๒-๓ วัน ได้ตัวหนึ่ง ๔-๕ วันได้ตัวหนึ่ง เดือนหนึ่งได้ตัวหนึ่ง ทำไปอย่างนี้จนได้ ๙๙๙ ตัว ยังขาดอีกตัวหนึ่ง พอดีไปเจอช้างตกมันตัวหนึ่ง ช้างเห็นก็วิ่งเข้ามาจะมาแทงพรานช้างคนนั้น ชายคนนั้นก็กระโดดขึ้นต้นไม้ ช้างก็ไล่แทงที่ต้นไม้ ชายคนนั้นก็จับกิ่งไม้ไม่มั่นก็ร่วงลง
มา ไม่ทันนึกอันใด พอตกลงมาก็นึกพุทโธได้คำเดียวก็ตกถึงดิน ช้างก็เหยียบแทงกินชิ้น(เนื้อ) หมด บุญที่ร้องว่า พุทโธ นำเอาวิญญาณไปเกิดเป็นเทพอยู่บนชั้นฟ้า มีปราสาทสูง ๖ โยชน์ เสวยสุขอยู่นั่น สุขที่นึกคำว่า พุทโธ ได้ แต่ก่อนก็ไม่ได้นึก นึกแต่จะฆ่าช้างอย่างเดียว คงจะเป็นตัวกรรมตัวเวร ใช้กรรมใช้เวรหมดกันช้างตัวนั้นก็ไม่มีเวรติดกันทำให้นึกคำว่า "พุทโธ" ได้ก่อนจะตายเพราะดวงจิตจะยึดเอาอารมณ์สุดท้ายที่จิตเสวยอยู่นั้นมาเป็นอารมณ์จิตเลยข้าไปสู่ปรโลกได้ ไปก่อให้เกิดภพภูมิของจิต อันเปรียบเสมือนมิติ
แห่งความคิดที่ดวงจิตวิญญาณ เมื่อผ่านเข้าไปยังปรโลกใหม่ไปสร้างมิติแห่งความฝันนี้ให้บังเกิดขึ้น  อารมณ์ของจิตสุดท้ายก่อนตายนี้นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะดวงจิตวิญญาณจะถูกยึดเอาไว้ เพื่อเป็นการน้อมนำไปสู่การเกิดใหม่ หรือบางครั้งอารมณ์จิตติดอยู่ในเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงสำคัญมากที่จะต้องรักษาจิตสุดท้าย ไม่ให้ฟุ้งซ่าน มีสติอยู่เสมอ และภาวนาคำว่า “พุทโธ”

    ๒.สังเวโค   คือความสังเวชสลดใจในสัตว์และสังขาร  ให้ดูเรื่องของพระยสกุลบุตร  เช่น

   พระยสกุลบุตร เป็นพระสงฆ์กลุ่มแรก ๆ ในพระพุทธศาสนา โดยท่านเป็นพระสงฆ์สาวกองค์ที่ 6 ในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านบวชแล้วได้เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการชักชวนสหายของท่านกว่า ๕๔ คนให้เข้ามาบวชช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล
   พระยสกุลบุตร เป็นบุตรนางสุชาดา (ผู้ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระโคตมพุทธเจ้า) กับเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี ก่อนบวชท่านมีเรือนอาศัยอยู่ 3 หลัง
มีประโคมดนตรี  มีสตรีรายล้อมเป็นจำนวนมาก คืนหนึ่งท่านหลับไปก่อนประโคมดนตรีจบ ท่านจึงตื่นขึ้นมากลางดึก เห็นสตรีนอนมีกิริยาน่าเกลียดน่า
กลัว ท่านจึงเกิดความเบื่อหน่ายและออกจากปราสาทไป พลางบ่นไปว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ" ไปตลอดทาง จนเข้าเขตป่าอิสิปตนมฤค
ทายวัน (พระพุทธเจ้าทรงแผ่ญาณเพื่อตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้ที่พอจะบรรลุ) เมื่อ ยสกุลบุตรเดินมาใกล้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญมาที่นี่ เราจะแสดงธรรมแก่เธอ"
  เมื่อยสกุลบุตรได้ยินดังนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าๆ ก็ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดแด่ท่านยสกุลบุตรจนได้ดวงตาเห็นธรรม ภายหลังบิดาท่านได้เดินออกมาตามหายสกุลบุตร ก็ได้ไปพบพระพุทธเจ้าและได้ฟังพระธรรมเทศนา ยสกุลบุตรจึงได้ฟังพระธรรมเทศนาเป็นครั้งที่ ๒ โดยส่งกระแสจิตไปตามธรรม จนได้บรรลุอรหัตแล้วท่านจึงทูลขอบวช เมื่อบิดาท่านสดับพระธรรมเทศนาจนได้ดวงตาเห็นธรรมและถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เช้าวันรุ่งขึ้น
พระพุทธเจ้าและพระยสะได้เข้าไปรับภัตตาหารที่บ้านบิดาพระยสะ มารดาท่านยสะ และ(อดีต)ภริยาของพระยสะได้สดับพระธรรมเทศนาจนได้ดวงตาเห็นธรรม แสดงตนเป็นอุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนา

    ๓.เต  สุจริตา  คือสุจริต  ๓  คือ:-

        ๑.กายสุจริต ๓  คือ:-

            ๑.ไม่ฆ่าสัตว์

             ๒.ไม่ลักทรัพย์

             ๓.ไม่เล่นชู้

        ๒.วจีสุจริต ๔   คือ

            ๑.ไม่พูดเท็จ

            ๒.ไม่พูดส่อเสียด

            ๓.ไม่พูดคำหยาบ

            ๔.ไม่พูดเพ้อเจ้อ

        ๓.มโนสุจริต ๓  

            ๑.ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น

            ๒.ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น

            ๓.เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม

       https://www.youtube.com/watch?v=LbQFb4VXgtk

                          กัณฑ์ที่ ๒

             จัตตาโร   ทุลลภา   อิมัสมิง   โลเก ฯ

     ๐สภาพอันสรรพสัตว์ทั้งหลายได้โดยยากในโลกนี้มีอยู่  ๔  อย่าง  คือ

        ๑.การเสด็จอุบัติขึ้นในโลกของพระพุทธเจ้า

        ๒.การได้สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า

        ๓.การได้บวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนา

        ๔.บุคคลที่ถึงพร้อมด้วยศรัทธาความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย   

         ๐ดูตัวอย่างข้างบน และตัวอย่างของอนาถบิณฑิกะเศรษฐี

                อนาถบิณฑิกะเศรษฐี

    วันหนึ่งท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี  ถูกราชคฤหเศรษฐีเชิญให้ไปในงานทำบุญเลี้ยงพระ

มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานที่จัดขึ้น ณ ที่บ้านของคฤหเศรษฐี  การทำบุุญเลี้ยงพระในครั้งนี้

ท่านราชคฤหเศรษฐี ถือว่าเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร  วัตถุทานที่สำคัญมีครบหมดทุกอย่างในงานนี้   เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีมาเห็นเครื่องไทยทานที่ ท่านราชคฤหเศรษฐีจัดเตรียมล้วนแล้วแต่เป็นของดีๆและมีราคาแพง

    อนาถบิณฑิกะเศรษฐี จึงถามราชคฤหะเศรษฐีว่า "เครื่องไทยทานที่ท่านจัดเตรียมนี้มันราคาแพงและใช้เงินมาก  ท่านจัดเตรียมไว้เพื่อใครหรือ?"

    ราชคฤหะเศรษฐีตอบว่า "ข้าพเจ้าจัดเตรียมไว้เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน"

    อนาถบิณฑิกะเศรษฐีถามซ้ำอีกถึง ๒ ครั้งว่า "ท่านพูดอะไรนะ"

    ราชคฤหะเศรษฐีก็ตอบว่า "จัดเตรียมไว้เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน"

    พอท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้ยินคำว่า "พุทโธ"  เท่านั้นแหละ  ใจของท่านก็เกิดปราบปรืมยินดีปรีดาปราโมชอย่างเหลือกำลัง มันเกิดความซาบซ่านไปทั่วทุกขุมขน  ปานประหนึ่งว่าตัวของท่านลอยขึ้นไปในอากาศ ๗ ชั่วลำตาล

    อนาถบิณฑิกะเศรษฐีจึงกล่าวกับราชคฤหเศรษฐีว่า "บุคคลจะได้ยินคำว่า "พุทโธ" นี้ยากนักหนาในโลกนี้  ร้อยกัปป์  พันกัปป์  หมื่นกัปป์  แสนกัปป์  ยังไม่เคยได้ยินคำว่า     "พุทโธ" เลยก็มี  เราพึงได้ฟังคำว่า "พุทโธ"  จากสำนักของท่านในวันนี้ๆแหละ  นับว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐของเรายิ่งนัก

                คนมีอวัยวเพศบกพร่องบวชไม่ได้

    ๑.คนถูกตอน

    ๒.ขันที

    ๓.กะเทย

    ๔.บัณเฑาะก์

    ๕.คนมี ๒ เพศ

    ๖.พวกลักเพศ  คือผูชายแต่งตัวเป็นผู้หญิง  ผู้หญิงแต่งตัวเป็นผู้ชาย  ทุกวันนี้เขาเรียกกันว่า "ทอม"

                    กัณฑ์ที่ ๓

    กัณฑ์เทศน์เรื่องการทำบุญอุทิศให้คนตาย

     

    ๐สัพพัง  เภทะปะริยันตัง              เอวัง  มัจจานะ ชีวิตัง ฯ

    ๐ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วต้องแตกสลายไปในที่สุด ฯ

      ๐ลำดับขั้นตอนของการเทศน์มีดังนี้

         ๑.อธิบายเรื่องความตายสักเล็กน้อย

         ๒.การทำบุญอุทิศเป็นหน้าที่ของลูกหลานที่ได้รับมรดกจากพ่อแม่

             -ถ้าเราคิดถึงพ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเราจะทำอย่างไร

             -ตอบวิธีที่ดีที่สุดคือทำบุญอุทิศไปให้   ทำบุญอุทิศไปให้มีหลายวิธีด้วยกัน  เช่น:-

                ๑.ทำบุญ  ๓    วัน

                ๒.ทำบุญ  ๗   วัน

                ๓.ทำบุญ  ๕๐   วัน

                ๔.ทำบุญ  ๑๐๐  วัน

                ๕.ทำบุญแจกข้าว

                ๖.ทำบุญสรงอัฏฐิตอนสงกรานต์

         ๓.การทำธาตุหรือเจดีย์เก็บกระดูกเอาไว้เพื่อเตือนให้ลูกหลานที่เกิดมาในภายหลังไม่ลืมพ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว  ถ้าทำบุญอื่นไม่ได้ให้ทำสังฆทานอุทิศไปให้  ถ้า

ปราถนาจะทำให้ใครก็ให้เจาะจงผู้นั้นโดยตรง    บางแห่งเมื่อเผาศพเสร็จเรียบร้อยแล้วนิยมเอาเถ้าและกระดูกที่เรียกว่า "อังคาร" ไปลอยน้ำเพื่ออยากให้คนตายไปแล้วร่มเย็นเป็นสุขและวิญญาณจะได้ไปเกิดในสวรรค์    การเอากระดูกไปลอยน้ำเป็นความเชื่อของชาวฮิวดู โดยพวกเขมีความเชื่อว่า "เวลาตายจะต้องนำเอาศพไปเผาที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาที่เมืองพาราณสี  ถ้าใครได้เผาศพที่นี้และได้เอากระดูกเถ้าถ่านไปลอยในแม่น้ำคงคาเชื่อว่าผู้ตายจะร่มเย็นเป็นสุขและจะได้ไปเกิดในเมืองสวรรค์

         เมืองพาราณสี
   เมืองพาราณสี หรือ วาราณสี (Varanasi) เป็นชื่อของเมืองหลวงแคว้นกาสี ประเทศอินเดีย มีแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ไหลผ่าน มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปี เป็นเมืองที่ถือว่าเป็นสุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพ ถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดียและเป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดูและชาวพุทธทั่วโลก
   พาราณสียังเป็นเมืองที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในหลายด้าน คือเป็นที่เกิดของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง พื้นที่เมืองพาราณสี มีอาณาเขตครอบคลุมถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ อันเป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่ง
  เมืองพาราณสี เป็นเมืองที่มีแม่น้ำคงคาจากสรวงสวรรค์ไหลผ่าน เมืองพาราณสีจึงถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความศักดิ์สิทธิ์สูงสุด มีผู้คนนับล้านจากทั่วถิ่นอินเดียเดินทางมาประกอบพิธีกรรม ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
  เมืองพาราณสี เมืองนี้ยังคงเป็นเมืองที่มีเสนห์เฉพาะตนและเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุด ชาวฮินดูที่เลื่อมใสและถือปฎิบัติโดยเคร่งครัดที่จะพากันอาบน้ำ ชำระร่างกายในแม่น้ำคงคา โดยมีเชื่อกันอย่างจริงจังตลอดมานับพันๆปีว่า หากไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา บาปนั้นจะหมดสิ้นไป และในวันหนึ่งๆจะมีผู้คนพากันไปอาบน้ำล้างบาปกันเต็มท่าน้ำไปหมด โดยเฉพาะท่าอัศวเมธ เมืองพาราณสี
  เมืองพาราณสี ยิ่งวันเพ็ญเดือนสิบสองด้วยแล้ว ชาวฮินดูนับแสนคนจากทั่วทุกสารทิศ จะพากันมุ่งหน้าสู่นครพาราณสี เพียงเพื่อจะล้างบาปที่แม่น้ำคงคา
  สำหรับคนไทยแล้วเมืองพาราณสี คือสถานที่มาแสวงบุญ ส่วนคนอินเดียเมืองพาราณสี คือสถานที่มาล้างบาปและสถานที่เดินทางมาตายที่นี่ ว่ากันว่าชาวฮินดูทุกคนล้วนปราถนาที่จะมาตายและได้เผาศพที่นี่ บางคนรู้ตัวว่าใกล้ตาย ก็จะให้ลูกหลานพามานอนรอความตายที่นี่เลย เพื่อจะได้ไปสู่ภพชาติที่ดีกว่าและบาปจะได้รับการชำระเสียแต่ชาตินี้ บางคนก็สั่งเสียลูกหลานไว้ ให้มาเผาหรือลอยน้ำที่นี่
  ศาสนาพราหมณ์ให้ความสำคัญของแม่น้ำคงคามาก่อนพุทธกาล ทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้น เพราะเชื่อกันว่าแม่น้ำคงคาไหลมาจากสวรรค์ทางช้างเผือกดินแดนสุขาวดี
 กล่าวกันว่า แม่คงคาเป็นมเหสีองค์หนึ่งของพระศิวะหรือพระอิศวร เทพประธานบนยอดเขาไกรลาส เขาพระสุเมรุ แม่คงคาไหลผ่านเมืองใด พราหมณ์ผู้นำความเชื่อทางศาสนาฮินดูก็ให้ความสำคัญเมืองนั้น
  จนมีคำกว่าว่า ไฟเผาศพไม่เคยดับมาแต่อดีตกาล อย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี
  น้ำในแม่น้ำคงคา มองดูแล้วสีขุ่น แถมยังมีเศษขยะ ซากศพและสิ่งปฎิกูล แต่ไม่น่าเชื่อว่ามีหลายต่อหลายองค์กรนำน้ำในแม่น้ำคงคาคงคา ไป ตรวจพิสูจน์แล้วพบว่าไม่มีสิ่งสกปรก เพราะมีแร่ธาตุบางชนิดที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
  การล่องแม่น้ำคงคาอยู่ที่ ท่ามณิกรรนิการ์ หรือท่าตุ้มหูพระศิวะ ที่ได้ชื่อว่า ท่าตุ้มหูพระศิวะ เพราะมีเรื่องเล่ากันมาว่า ท่านี้เป็นท่าน้ำที่พระศิวะมาอาบน้ำ เมื่อทรงอาบน้ำเสร็จก็ขึ้นมาจากแม่น้ำ ปรากฎว่าตุ้มหูของพระองค์หล่นหายหาเท่าไรก็ไม่เจอ
  บริเวณท่าแห่งนี้ มีการเผ่าศพทุกวัน  วันละเป็นสิบๆ ศพ รอบๆ สถานที่แห่งนี้จะมี “โรงแรมแห่งความตาย” เป็นโรงแรมห้องเล็ก ๆ ไว้สำหรับคนที่รอความตายมาพัก และยังมีที่หลบแดดหลบฝนของญาติ ๆ ที่นำศพมาทำพิธี
  ชาวฮินดูเชื่อว่าความตายเป็นการทิ้งสังขารเก่าที่ผุพัง ไปเกิดใหม่ตามแต่บุญกรรมของดวงวิญญาณนั้น คล้ายกับพุทธเราเลยนะ ความตายจึงเป็น
เรื่องธรรมดา ๆ

                   เรื่องของนายทนงค์ศักดิ์   พรมสานต์

       ๐นายทนงศักดิ์     พรมสานต์  ชื่อเล่นว่า "โอเร่" อยู่บ้านเลขที่  ๓๘  หมู่ที่  ๔  บ้านท่าดีหมี  ต.ปากตม   อ.เชียงคาน   จ.เลย    เขาถูกรถชนตายในวันที่  ๔  เดือนเมษายน  พ.ศ.๒๕๕๐  อายุได้  ๒๓  ปี
    เมื่อเผาศพเสร็จแล้วพ่อแม่ของเขาได้แบ่งกระดูกออกเป็น  ๒  ส่วน  ส่วนหนึ่งเอาเก็บไว้ที่วัด อีกส่วนหนึ่งพ่อแม่เอากระดูกใส่ในขวดโหลแล้วเอาขวดที่ใส่กระดูกแล้วนั้น  ลอยเรือออกไปกลางแม่น้ำโขงแล้วจึงจับขวดโยนลงไปกลางแม่น้ำโขง ด้วยคิดว่าจะให้ลูกชายที่ตายไปแล้วเย็นสบายดี นี้คือความหวังดีที่ผิดของพ่อแม่ แต่มันกลับกลายเป็นผลร้ายแก่ลูกที่ตายไปแล้ว  พอโยนขวดกระดูกลงไปที่แม่น้ำโขงได้  ๑  เดือน  ลูกฃายที่ตายไปแล้วมาเข้าฝันบอกว่า "แม่ครับผมอยู่ในน้ำได้  ๑  เดือนแล้ว  ผมหนาวจริงๆ ขอให้แม่นำขวดกระดูกของผมขึ้นมาจากน้ำเถอะ"  ฝันคืนแรกแม่เขายังไม่เชื่อ  แม่ของเขาเข้าใจว่าคนตายไปแล้วมันจะหนาวได้อย่างไร? ไม่จริง  พอฝันติดกัน  ๓  คืน แม่ก็ชักเอะใจไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เลยจ้างคนไปงมเอาขวดกระดูกขึ้นมาแต่งมเท่าไหร่ก็ไม่เจอไม่รู้ว่าน้ำมันผัดพาไปที่ไหน  ข้าพเจ้าว่ามันเป็นกรรมของคนตาย  จึงทำให้แม่ของเขาเข้าใจผิดเช่นนี้  เขาจะต้องทรมานไปอีกนานจนกว่าจะหมดหนี้กรรม  เมื่อหมดหนี้กรรมนี้แล้วเขาก็จะเกิดที่ใหม่เอง  สมมุติว่าเขามีอายุขัยที่จะต้องตายในอายุ ๗๐  ปี แต่เขามาตายก่อนเพราะอุบัติเหตุในอายุ  ๒๓  ปี  เป็นอันว่าเขาจะต้องทนหนาวอยู่ในน้ำอีก  ๔๗  ปี  จึงจะพ้นกรรมนี้ได้
    เรื่องนี้ข้าพเจ้าขอฝากท่านผู้รู้และนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายช่วยกันคิดค้นหาความจริง
ว่า "ทำไมคนที่ตายไปแล้วจึงมีความหนาวอยู่"  
   อนึ่งข้าพเจ้ามีเรื่องการเก็บกระดูกอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ, น่าคิด, และน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งจะนำมาเสนอท่านผู้อ่านให้ช่วยกันศึกษาและพิจารนาดู
ว่า เรื่องแบบนี้มันเป็นไปได้อย่างไร ฯ
    ๔.การทำบุญอุทิศให้คนตาย ผู้ทำเป็นคนแรกคือท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี  

              ต้นกำเหนิดการทำบุญอุทิศให้คนตาย
   วันหนึ่งหลานสาวของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีเล่นตุ๊กตาที่ทำจากแป้งเล่นไปเล่นมาก็ทำหล่นลงบนพื้นแตก หลานสาวก็ร้องไห้ด้วยความเสียดายตุ๊กตาที่แตกไป เพราะจะไม่มีตุ๊กตาเล่นอีก   ท่านเศรษฐีก็ได้ปลอบโยนหลานว่า “ไม่เป็นไร เรามาช่วยกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตากันเถิด” ปรากฏว่าหลานหยุดร้องไห้ รุ่งเช้าท่านเศรษฐีจึงพาหลานไปทำบุญเลี้ยงพระแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาข่าวการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาของท่านเศรษฐี แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วประชาชนชาวพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกระทำ ดังนั้นเมื่อญาติผู้เป็นที่รักของตนตายลงก็พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ประเพณีการทำบุญกรวดน้ำให้คนตายจึงกลายเป็นประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

        ๕.การทำบุญให้คนตาย
         การทำบุญให้คนตายตามหลักที่ถูกต้องแล้วมีดังนี้ คือหลังจากที่ญาติพี่น้องและมิตรสหายที่ล่วงลับไปแล้ว  แต่มีสิ่งที่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ตาย คือการปฏิบัติตามธรรมเนียมของท่านผู้รู้ที่สมบูรณ์  คือ:-
   ๑.ไม่พึงสวดอ้อนวอนให้ไปดี หรือสาปแช่งให้ผู้ตายไปไม่ดี   
     ในบางลัทธิศาสนา มีการสวดอ้อนวอนให้ผู้ตายเพื่อหวังให้ผู้ตายไปแล้ว   ได้ไปอยู่ร่วมกับเทพเจ้าของตนหรือไม่ก็สวดสาปแช่งศัตรูให้ไปสู่อบาย ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นนอกจากจะไม่มีประโยชน์ ยังทำให้จิตใจผู้ทำเศร้าหมองด้วยโมหะอีกด้วย เพราะผู้ทำกรรมใดไว้ในโลกนี้ ก็ย่อมต้องเสวยผลแห่งกรรมที่ตนทำเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้า การทำเพียงสวดอ้อนวอนจึงไม่มีประโยชน์อะไร (ดูในภูมกสูตร)

                ภูมะกะสูตร
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
*พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาว
ปัจฉาภูมิ มีคณโฑน้ำติดตัว ประดับพวงมาลัยสาหร่าย อาบน้ำทุกเช้าเย็น บำเรอไฟ
พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่ายังสัตว์ที่ตายทำกาละแล้วให้เป็นขึ้น ให้รู้ชอบ ชวนให้
เข้าสวรรค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
*สัมพุทธเจ้า สามารถกระทำให้สัตว์โลกทั้งหมด เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ได้หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี ถ้าอย่างนั้น เราจัก
ย้อนถามท่านในข้อนี้ ปัญหาควรแก่ท่านด้วยประการใด ท่านพึงพยากรณ์ปัญหา
ข้อนั้นด้วยประการนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด หมู่มหาชนมาประชุมกันแล้ว
พึงสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบผู้นั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป
จงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไป
พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะเหตุการสวดวิงวอน เพราะเหตุการสรรเสริญ หรือ
เพราะเหตุการประนมมือเดินเวียนรอบดังนี้หรือ ฯ
     คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ดูกรนายคามณี เปรียบเหมือนบุรุษโยนหินก้อนหนาใหญ่
ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือ
เดินเวียนรอบหินนั้นว่า ขอจงโผล่ขึ้นเถิดท่านก้อนหิน ขอจงลอยขึ้นเถิดท่าน
ก้อนหิน ขอจงขึ้นบกเถิดท่านก้อนหิน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อน
หินนั้นพึงโผล่ขึ้น พึงลอยขึ้น หรือพึงขึ้นบก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ
ประนมมือเดินเวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ ฯ
      คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ดูกรนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษคนใดฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วย
อภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวด
วิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป
จงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็จริง แต่บุรุษนั้นเมื่อตาย พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ฯ
       ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลก
นี้เว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา
ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ ไม่มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ
หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบ
บุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ท่านจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ หรือเพราะเหตุการประนมมือเดิน
เวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ ฯ
     คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ดูกรนายคามณี เปรียบเหมือนบุรุษลงยังห้วงน้ำลึกแล้ว
พึงทุบหม้อเนยใสหรือหม้อน้ำมัน ก้อนกรวดหรือก้อนหินที่มีอยู่ในหม้อนั้น พึง
จมลง เนยใสหรือน้ำมันที่มีอยู่ในหม้อนั้นพึงลอยขึ้น หมู่มหาชนพึงมาประชุมกัน
แล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบเนยใสหรือน้ำมันนั้นว่า
ขอจงจมลงเถิดท่านเนยใสและน้ำมัน ขอจงดำลงเถิดท่านเนยใสและน้ำมัน ขอจง
ลงภายใต้เถิดท่านเนยใสและน้ำมัน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เนยใส
และน้ำมันนั้นพึงจมลง พึงดำลง พึงลงภายใต้ เพราะเหตุการสวดวิงวอน
สรรเสริญ หรือเพราะเหตุการประนมมือเดินเวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ ฯ
             ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ดูกรนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษใดเว้นจากปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ
ไม่มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ หมู่มหาชนจะพากันมา
ประชุมแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษ
นี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็จริง แต่บุรุษนั้นเมื่อตายไป
พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
      เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าอสิพันธก-
*บุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุ
จักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค
กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้า-
*พระองค์ ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป ฯ

  ๒.พึงทำบุญอุทิศให้
      การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนที่ยังเป็นอยู่ทีเดียว เป็นสิ่งที่คนทุกชาติทุกศาสนาควรศึกษาไว้ให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในภูมิอื่น (เว้นมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน) ย่อมไม่มีการทำมาหากินเลย ผู้ล่วงลับไปจะมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับกรรมดีกรรมชั่วที่ตนเองกระทำตอนเป็นมนุษย์ และเพราะอาศัยการทำบุญอุทิศให้ของผู้ที่ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์นี้เท่านั้น  และการทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับก็ต้องทำกับผู้รับที่มีศีลมีธรรมเท่านั้น เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัย บุญนั้นจึงจะถึงแก่ผู้ตายไปอย่างแน่นอน ตามภูมิตามกำเนิดที่สามารถรับผลบุญที่อุทิศให้ แต่ถ้าทำกับผู้รับที่ไม่มีศีลธรรม บุญก็จะไม่ถึงแก่ผู้ตาย    
     ส่วนกิจอื่น เช่น การร้องไห้คร่ำครวญ การแสดงอาการเศร้าโศก การสวดอ้อนวอนฝากกับเทพเจ้า การเล่นมหรสพ เป็นต้น ซึ่งบางท้องถิ่นยังนิยมทำกันจนเป็นประเพณี เป็นต้นว่ามีการจ้างนักร้องมาร้องเพลงเศร้า เช่น มอญครวญ มอญร้องไห้
    อาชีพร้องไห้หน้าศพ
 การร้องไห้หน้าศพ ถือเป็นการไม่สมควรเลย
   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่สมควรทำเลย เพราะไม่มีประโยชน์อะไรทั้งแก่ผู้เป็นอยู่และผู้ตาย  มีแต่จะสิ้นเปลืองไป และเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี นอกจากไม่ได้บุญกุศลอะไรแล้ว ซ้ำร้ายยังทำจิตใจให้เศร้าหมองด้วยบาปอกุศลทั้งฝ่ายคนเป็นอยู่และผู้ที่ตายไปอีกด้วย  เพราะทำไปด้วยความเห็นผิดเข้าใจผิด 
    ๒.๑วิธีอุทิศบุญให้ถึงแก่ผู้ตาย           
      นอกจากนี้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถายังแสดงว่า ทักษิณา คือผลบุญที่ญาติสาโลหิตอุทิศให้ย่อมสำเร็จผลให้เป็นสมบัติมีอาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่มเป็นต้นแก่ผู้ล่วงลับในขณะนั้นได้ ก็ด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการคือ:-
     ๑. ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล เช่น พระภิกษุ สามเณรผู้มีศีลบริสุทธิ์  
     ๒. ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย 
     ๓. ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย                                              
    ในองค์ประกอบทั้ง ๓ นั้น องค์ที่ ๑ และ ๒ ขาดไม่ได้ ส่วนองค์ที่ ๓ ขาดได้ เพราะแม้เปรตจะไม่อนุโมทนาบุญด้วยตนเอง บุญที่ญาติอุทิศให้ก็ยังคงไปถึงได้บ้าง
      หากมีผู้สงสัยว่า เปรตจำพวกไหนบ้างที่ได้สามารถได้รับผลบุญที่หมู่ญาติอุทิศให้ พระอรรถกถาจารย์ตอบว่า
       “ฐานะใด ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมสำเร็จผลแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนั้นแล เป็นฐานะดังนี้ ทักษิณาที่สำเร็จผล
ในฐานะนั้น อันแตกต่างกันโดยประเภทแห่งเปรตมี ขุปปิปาสิกเปรต วันตาสาเปรต ปรทัตตูปชีวีเปรต และนิชฌามตัณหิกเปรต เป็นต้น ก็ตรัสว่า
ย่อมสำเร็จผลโดยฐานะ” 
    สรุปคือ เปรตทุกจำพวกสามารถได้รับผลบุญที่ญาติมิตรอุทิศให้ได้
    ข้อที่ควรคำนึงของผู้จะตาย !
     จากข้อความข้างต้นนี้ มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่ว่า  ถ้าผู้ตายสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย หรือศึกษาแต่ผิวเผินเพราะความไม่ใส่ใจ ไม่ทุ่มเทในการประกอบบุญกุศลในโลกนี้  เมื่อละโลกไปแล้ว  แม้มีผู้อุทิศส่วนกุศลให้ แต่ตนอนุโมทนาบุญไม่เป็นก็ย่อมไม่ได้รับส่วนบุญเท่าที่ควร นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนคือผู้ตายข้อที่ ๑
  -ญาติทำบุญให้ก็อดเหมือนเดิม
  -ญาติไม่ทำบุญให้ก็อดเหมือนเดิม
  หรือลูกหลานทะเลาะกันเรื่องแบ่งสมบัติ  ซึ่งเราได้เห็นได้ยินกันอยู่ทั่วไป พ่อแม่จวนตาย ลูกหลานแย่งสมบัติกัน บางทีฆ่ากันตายก่อนพ่อแม่ก็มี ตนเองก็ต้องมาทุกข์ใจก่อนตาย  เพราะสมบัติของตนเป็นเหตุ เมื่อตายไป  จึงไม่มีใครอุทิศส่วนกุศลให้เลย เพราะตนเองมิได้คบหากับบัณฑิตทางธรรมและไมเคยทำแบบอย่างเช่นนี้ไว้ให้ลูกหลานดูเลย นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนข้อที่ ๒                                
    และข้อสุดท้าย แม้บุตรธิดาทำบุญอุทิศให้  แต่ทำไม่ถูกเนื้อนาบุญ   เช่น ทำบุญกับผู้ทุศีล มีความเห็นผิด ไม่เชื่อกรรม ผลของกรรม นรกสวรรค์เป็นต้น  ทั้งนี้ก็เพราะสมัยที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย  ไม่เข้าหาพระภิกษุสามเณรผู้รู้ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งสามารถชี้แจงโลกนี้โลกหน้าได้กระจ่างชัด   แต่กลับไปคบหานักบวชอื่นหรือพระภิกษุและพุทธศาสนิกชนที่ไม่เชื่อเรื่องโลกนี้โลกหน้า  จึงไม่ฉลาดในวิธีอุทิศส่วนกุศล  บุตรธิดาจึงได้แบบอย่างที่ไม่ถูกต้องตามตนเอง เมื่อถึงคราวต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย  จึงทำไม่ถูกวิธีเช่นกัน  นี้ก็เป็นผู้ผิดพลาดข้อที่ ๓ ของผู้ตาย
     ๒.๒. วันและสถานที่ที่ควรทำบุญให้เป็นพิเศษ
     วันหรือโอกาสที่ควรทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นพิเศษที่คนสมัยโบราณผู้มีปัญญานิยมทำกัน ตามภูมิรู้ภูมิธรรมที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาจากอดีต ด้วยความพากเพียรทางจิต อันประกอบไปด้วยเหตุผลที่ตนเห็นมาเอง มิใช่เป็นเพียงแค่ความเชื่อ แต่ปัจจุบันเหตุผลดังกล่าวได้หายสาบสูญไป   จึงเหลือเพียงความเชื่อตามปัญญาของคนสมัยโบราณ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นประเพณีนิยมที่ดีงาม ที่น่าทำสืบ ๆ กันไป เพื่อเป็นแบบแผน         
            การทำบุญอุทิศให้คนตาย
      การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้คนตาย
      ให้กับอนุชนรุ่นหลัง วันสำคัญดังกล่าวได้แก่ วันพระ วันครบรอบวันตาย ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน การทำบุญในสถานที่เกิดอุบัติเหตุ  ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้ 
      ๒.๒.๑. วันพระ  เฉพาะวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันที่ยมโลกนรกหยุดทัณฑ์ทรมานให้สัตว์นรก ๑ วันโลกมนุษย์  สัตว์นรกมีทุกขเวทนาเบาบางลง จึงมีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลที่ตนทำและอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ได้เต็มที่  ส่วนญาติที่เกิดเป็นเทวดาก็จะนิยมมาฟังธรรมในวันพระและตรวจดูการทำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกับผู้ที่ทำความดีในโลกนี้
      ดังนั้นญาติหรือมิตรสหายที่อยู่ในโลกนี้ จึงควรสละเวลามาทำบุญในวันพระให้กับผู้มีอุปการคุณของตนเอง เพื่อเป็นแบบแผนที่ดีงามให้กับอนุชนรุ่นหลังโดยเฉพาะบุตรธิดาของตน เพราะเมื่อถึงคราวตนเองละโลกนี้ไปแล้วบุตรธิดาก็จะได้ทำบุญอุทิศให้บ้าง หากเราไม่ทำเป็นแบบอย่างไว้ เมื่อเราล่วงลับไปแล้วก็จะไม่มีบุญให้ได้รับความสุขให้ภพหน้าและไม่มีใครอุทิศส่วนบุญให้ด้วย
       ๒.๒.๒. วันครบรอบวันตาย ๗ วัน  ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้วเป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันที  ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ ๗ วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ และเจ้าหน้าที่ยมโลก (กุมภัณฑ์) กำลังผลัดเปลี่ยนเวรกัน ระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่ซึ่งจะพาตัวไปยมโลกนรก หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือ หากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และอนุโมทนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะพาไป
เกิดในที่   ดี ๆ โดยไม่ต้องไปยมโลกนรก อุสสทนรก หรือ มหานรก อนึ่ง ผู้ตายที่ทำบาปกรรมไว้ เมื่อครบ ๗ วันผู้ตายต้องกลับมา ณ สถานที่ตาย หากเห็นญาติมิตรทำบุญให้ก็จะอนุโมทนาบุญ และจะไปสู่สุคติได้                                                                      

                การนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรมในงานศพ
             ๒.๒.๓. วันครบรอบวันตาย ๕๐ วัน ในกรณีที่ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ยมโลกพาไปยมโลกแล้ว ช่วงระหว่างเวลา ๕๐ วันหลังตาย คือช่วงเวลาที่ผู้ตายกำลังรอคอยลำดับคิวการพิพากษาตั้งแต่ถูกลากตัวไปจากมนุษย์โลก ผ่านประตูยมโลก อยู่หน้าลานรอขานชื่อเพื่อเข้าพบพระยายมราช                           
     *พระยายมราช คือ เทพชั้นจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งที่มีกรรมเกี่ยวพันด้านกฎหมาย ชอบตัดสินคดีความด้วยความซื่อสัตย์ตอนสมัยเป็นมนุษย์และทำบุญ หรือเมื่อทำบุญก็ตั้งความปรารถนาไว้  
           ๒.๒.๔. วันครบรอบวันตาย ๑๐๐ วัน  ช่วงเวลาระหว่าง ๕๑ ถึง ๑๐๐ วัน คือช่วงกำลังถูกพิพากษา พระยายมราชจะซักถามความประพฤติตอนสมัยเป็นมนุษย์  และจะส่งไปเกิดเป็นอะไรต่ออะไร เช่น ไปเกิดในยมโลก อุสสทนรก และมหานรก ไปเป็นมนุษย์ เทวดา เป็นเปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน ตามกรรมที่ปรากฏเป็นภาพหน้าบัลลังก์ของพระยายมราช    ช่วงนี้ถ้าญาติอุทิศบุญให้ก็ยังรับบุญได้                                       
        นี้เป็นหลักการส่วนใหญ่ มิใช่ทั้งหมด เพราะฉะนั้นญาติมิตรผู้ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์จึงควรศึกษาวิธีอุทิศส่วนกุศลให้ถูกวิธี และรีบทำบุญทุกบุญอย่างเต็มกำลังและอุทิศส่วนกุศลให้ในวันดังกล่าว

      การอุทิศส่วนกุศลในพระพุทธศาสนาไม่ต้องใช้นํ้าการที่พระเจ้าพิมพิสารเป็นองค์แรกที่อุทิศส่วนกุศลโดยใช้นํ้าก็เพราะท่านเพิ่งพบพระพุทธเจ้า เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เขาถือว่าถ้าจะให้อะไรกับใคร ต้องให้คนนั้นแบมือแล้วเอานํ้าราดลงไป ท่านยังชินอยู่กับประเพณีของพราหมณ์ แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ห้าม เพราะเห็นว่าใจท่านตั้งตรงเวลาอุทิศส่วนกุศลเวลาอุทิศส่วนกุศลให้ว่าเป็นภาษาไทยชัดๆ และให้สั้นที่สุด ให้บอกว่า "บุญใดที่ฉันบำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผลบุญทั้งหมดนี้จะมีประโยชน์ ความสุขแก่ฉันเพียงใด ขอเธอจงโมทนาผลบุญนั้นและรับผลเช่นเดียวกับฉันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"
   การได้รับส่วนกุศลนี้ขึ้นอยู่กับท่านนั้นมีโอกาสโมทนาท่านก็ได้รับ แต่ถ้าท่านนั้นไม่มีโอกาสโมทนาก็ไม่ได้รับ เปรียบเหมือนเราเอาสิ่งของไปให้ แต่ผู้รับเขาไม่รับ เขาก็จะไม่ได้ของ ถ้าเราอุทิศให้แผ่กระจายเขาโมทนาได้ จึงต้องให้เจาะจงเฉพาะตรง ถ้าไม่ให้ตรงเฉพาะก็รับไม่ได้เพราะกรรมหนัก ฉะนั้นการอุทิศส่วนกุศลเวลาจะให้ ๆ ว่าเป็นภาษาไทยให้เรารู้เรื่องและให้สั้นที่สุด
   การอุทิศส่วนกุศลแก่บุคคลต่างๆ ที่ตายไปแล้ว ถ้านึกได้ออกชื่อเขาก็ดี เพราะถ้ากรรมหนาอยู่นิดถ้าออกชื่อเจาะจงเขาก็ได้รับเลย ถ้านึกไม่ออกก็ว่า รวมๆ “ญาติก็ดี ไม่ใช่ญาติก็ดี” ถ้าขืนไปนั่งไล่ชื่อน่ากลัวจะไม่หมด การถวายสังฆทานก็ดี การเจริญพระกรรมฐานก็ดี ควรตั้งจิตอธิษฐานตามความประสงค์ การตั้งจิตอธิษฐานเรียกว่า “อธิษฐานบารมี” ถ้าท่านตั้งใจเพื่อพระนิพพานก็ต้องอธิษฐานเผื่อไว้ โดยอธิษฐานว่า
   “ขอผลบุญทั้งหมดนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ แต่ถ้าหากข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด จะไปเกิดใหม่ในชาติใดก็ตาม ขอคำว่า “ไม่มี”จงอย่าปรากฏแก่ข้าพเจ้า”
   การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปีๆ บุญก็ยังมีอยู่ ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปีก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้วเดี๋ยวเดียวบุญหายไป ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าทำบุญแล้วไม่ได้อุทิศส่วนกุศล ผู้ทำเป็นผู้ได้บุญเต็มที่สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ ถ้าเราไม่ให้เราก็กินคนเดียว ทีนี้ถ้าเราให้เขาบุญของเราก็ไม่หมด ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม
   “การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน เราให้เขา เขาก็โมทนา แต่บุญของเราก็ยังอยู่เต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้หายไป” การสร้างบุญเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ขึ้นอยู่กับสร้างดีก็ได้บุญ ถ้าสร้างไม่ดีก็ได้บาป แต่ถ้าหากตั้งใจทำบุญโดยมีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มีบาปมีแต่บุญ อย่างนี้ผู้สร้างบุญก็ได้บุญเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ คือบุญนี่จะต้องได้แก่ผู้สร้างบุญก่อน แล้วผู้สร้างจึงจะอุทิศส่วนกุศลให้คนอื่นได้

       คำอุทิศส่วนกุศล
“อิทัง ปุญญะผะลัง” ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
   -บทอุทิศส่วนกุศลท่อนแรกนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร หลวงปู่โตท่านมาบอก และบทอุทิศส่วนกุศลอีก ๓ ท่อน ท่านพระยายมราชท่านมาบอก
มีดังนี้
   -ท่อนที่สอง
และ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช
ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
  -ท่อนที่สาม
และ ขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย
จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
  -ท่อนที่สี่
ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด..

     การทำบุญอุทิศส่วนกุศล เขาทำกันอย่างไร
    ทำไมต้องมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ?
  การทำบุญอุทิศส่วนกุศล ครบ ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วัน ให้กับคนตาย ถือเป็นการทำบุญใหญ่อย่างหนึ่ง เพราะเป็นการเติมกำลังบุญให้ผู้เสียชีวิตได้เดินทางสู่สุขคติ หมดห่วง ทั้งนี้ก่อนมีพิธีการทำบุญครบรอบวันตายนั้น เจ้าภาพจะต้องติดต่อวัด จัดเตรียมชุดสังฆทาน ผ้าบังสุกุล และอาราธนาคณะสงฆ์สวดอภิธรรม ๓ คืน ๕ คืน หรือ ๗ คืน ต่อเนื่องที่วัด เพื่อให้ผู้ตายได้ระลึกถึงบุญกุศลในขณะที่มีชีวิตอยู่ และในวาระครบรอบ ๗ วัน ๕๐ วัน หรือ ๑๐๐ วัน จึงสามารถนิมนต์พระเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อถวายสังฆทาน ภัตตาหาร และทอดผ้าบังสุกุลต่อเนื่องที่บ้าน เพื่อส่งบุญให้กับผู้เสียชีวิต
   วิธีนับวันตาย เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศล ครบ ๗ วัน ๕๐ วัน หรือ ๑๐๐ วัน
ให้นับวันตายเป็นวันที่ ๑ เช่น ถ้าเสียชีวิตวันจันทร์ ก็นับวันจันทร์เป็นวันที่ ๑ วันอังคารเป็นวันที่ ๒ วันพุธเป็นวันที่ ๓ จนถึงวันอาทิตย์เป็นวันที่ ๗
   ดังนั้นในการทำบุญครบ ๗ วัน จึงต้องกำหนดทำบุญในวันอาทิตย์ที่ ๗
อย่างไรก็ตาม การทำบุญครบรอบวันตาย ๗ วัน ๕๐ หรือ ๑๐๐ วัน
  กรณีทำบุญวันเดียว เจ้าภาพจะต้องนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป ๗ รูป หรือ ๙ รูป เพื่อมาสวดพระพุทธมนต์ และเลี้ยงอาหารพระ ให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวกัน อาจจะทำในช่วงฉันเช้าหรือฉันเพล แล้วแต่ความสะดวกของเจ้าภาพ
  กรณีทำบุญสองวัน เจ้าภาพจะต้องนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป ๗ รูป หรือ ๙ รูป มาสวดพระพุทธมนต์ในตอนเย็น และในวันรุ่งขึ้นก็เลี้ยงอาหารพระในตอนเช้า
  * ในกรณีทำบุญครบ ๕๐ วัน หรือ ๑๐๐วัน ใช้วิธีนับวันตายแบบเดียวกับทำบุญครบ ๗ วัน และมีรูปแบบการทำบุญเหมือนกัน คือ จะทำ ๑ วัน หรือ ๒ วันก็ได้
  นอกเหนือจากนี้ หากเจ้าภาพต้องการเลื่อนวันทำบุญครบรอบวันตาย ถ้ามีความจำเป็นก็สามารถเลื่อนวันทำบุญได้ (โดยทั่วไปแล้วจะนิยมเลื่อนวันทำบุญเข้ามามากกว่าเลื่อนออกไป) ทั้งนี้ทั้งนั้นในทางพุทธศาสนาไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องวันเท่าใดนัก แต่ขอให้ยึดถือความพร้อมและความสะดวกของเจ้าภาพและพระสงฆ์เป็นหลักไว้ เพื่อความราบรื่นในการทำบุญ
  การทำบุญครบรอบในทั้งสามวาระนี้ จึงถือเป็นพิธีที่สำคัญ นอกจากให้ผู้ตายได้รับส่วนบุญจากการทำบุญแล้ว ขั้นตอนพิธีการทำบุญนั้นก็สำคัญอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องมีพิธีการและขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้ตายได้รับบุญอย่างแท้จริง...
                 คำกรวดน้ำจากยมบาล
       จากปากคนตายแล้วฟื้น เผยบท “กรวดน้ำ” โดย “ยมบาล” อุทิศอย่างไรให้ถึงผู้ตาย ประกาศบุญไปให้ไพศาล
“อ.นิติกฤตย์” เผยบทกรวดน้ำ จากปากคนตายแล้วฟื้น ยมบาลสอนมาให้ทำแบบนี้ จะได้อุทิศถึงผู้ตาย เทวดา เจ้าที่ฯลฯ ประกาศบุญไปให้ไพศาล คือในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทยที่กำลังจะถึงนี้ นอกจากกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวรอคอยที่จะเล่นสาดน้ำกันแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือการทำบุญ ไม่ว่าจะเข้าวัดทำบุญ ปล่อยนก ปล่อยปลา หรือจะทำบุญด้วยวิธีใดก็ตาม มีหลักที่สำคัญอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ และไม่ควรจะลืมเด็ดขาด ก็คือการกรวดน้ำ บางคนคิดว่าไม่สำคัญ บางคนกรวดไม่เป็น บางคนไม่เคยแผ่ส่วนกุศลให้ใคร นั่นจะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อไปยังเวลาที่คุณไม่มีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์แล้ว และจะเป็นสิ่งชี้วัดว่าคุณจะต้องลงนรก หรือได้ขึ้นสวรรค์
   สำหรับเคล็ดลับการทำบุญคนอื่นเขาจะเริ่มต้นด้วยการปล่อยปลา ปล่อยนกกี่ตัวอะไรต่างๆ อันนั้นคือต้นทาง แต่สิ่งที่ผมอยากจะให้ทุกคนทำคือปลายทางตอนจบ วิธีการทำบุญมันมีตอนจบที่สำคัญคือการกรวดน้ำ แล้วคนไทยจำนวนมากไม่เข้าใจเรื่องการกรวดน้ำ บางคนก็กรวดน้ำไม่เป็นมันมีหลากหลายบทให้ใช้และไม่รู้จะจบยังไง ผมก็จะแนะนำให้ใช้บทนี้ มันจะชื่อว่า บทกรวดน้ำไทยโบราณ อันนี้เป็นชื่อที่เขาตั้งขึ้นมา แต่จริงๆ
มันอาจจะไม่ได้ชื่อนี้ก็ได้
  มีเรื่องเล่าของบทกรวดน้ำจากอาม่าที่เป็นคนจีน เมื่อประมาณสัก 60 ปีที่แล้ว แกตายไปไม่ถึง ๗ วันแกก็กลับฟื้นคืนมา  เมื่อแกฟื้นขึ้นมาได้ ลูกหลานก็ถามว่า ทำไมถึงฟื้น แล้วไปไหนมา อาม่าแกก็เล่าว่า เขาตายไปก็มียมฑูตมารับไป พอไปถึงสำนักพญายม พญายมก็บอกว่าคนนี้ยังไม่หมดอายุขัย เนื่องจากในตอนนั้นคนจีนจะมีชื่อซ้ำกัน นามสกุลก็แซ่เดียวกัน เขาก็จับวิญญาณผิด แต่ท่านบอกว่าไหนๆ ก็มาถึงนรกแล้วก็ขอให้ได้รับรู้ ท่านก็พาทัวร์นรก อาม่าก็ได้เห็นสิ่งต่างๆ มากมาย
  แต่มันมีเรื่องที่น่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่งคือแกไปเจอคนที่อยู่บ้านใกล้กันอยู่คนหนึ่งคือลุงทัน แกตายไปเมื่อต้นปี แกเดินเข้ามาใกล้ๆ และขอร้องให้อาม่าช่วย เพราะร่างของแก  มีขวานจามผ่าศีรษะเอาไว้ และมีการเอาเหล้ามาราดที่หัวของแกตรงที่เป็นแผล มันเจ็บปวดและทรมานมาก เขาก็บอกว่าช่วยกลับไปบอกลูกหลานเขาด้วยว่า "ในโลงศพของแกจะมีขวานกับเหล้าอยู่ ช่วยเอาออกจากโลงศพให้าด้วย

   อาม่าก็ถามว่าใส่ไว้ทำไม เขาบอกเขาเป็นคนสั่งเองว่า "ถ้าตายให้ใส่เหล้ากับขวานไว้ในโลงศพด้วย เพราะเขาไม่เชื่อเรื่องนรก เขาคิดว่าเขาจะเอาขวานฟันต้นงิ้วและจะกินเหล้าอวดยมบาล พอมาตอนนี้สิ่งที่เขาทำไว้กลับเป็นเครื่องมือทรมานเขา เขาสำนึกแล้วช่วยไปบอกลูกหลานเขาให้เอาออกจากโลงศพที
   คือแกก็ท่องนรกไปเรื่อย มีเหตุการณ์หลายอย่าง และก่อนจะกลับท่านก็สอนให้อาม่าคนนี้สวดมนต์ แต่คนแก่คนจีนพูดไทยก็ไม่ชัด ท่านก็ให้บทกรวดน้ำมาบทหนึ่ง ท่านก็ท่องให้ฟัง บทกรวดน้ำนี้ก็จะเป็นคำกลอน พออาม่าได้ฟังด้วยความที่มันยาวมาก อาม่าแกก็บอกยมบาลว่ามันยาวมากจำไม่ได้ท่านบอกว่าพอขึ้นไปจะจำได้ทุกเรื่อง พอหลังจากแกฟื้นขึ้นมาที่งานศพ แกก็เคาะฝาโลง พอเปิดมาแกก็ฟื้นจริงๆ แล้วแกก็เล่าในสิ่งที่แกเจอ
   ข้อพิสูจน์ก็คือแกก็ไปบอกลูกหลานของคนแก่คนนั้นที่ขอร้องให้เอาขวานกับเหล้าออกจากโลงศพให้ พอไปบอกทางนั้นก็ตกใจ เพราะเป็นความลับของบ้านเขาแต่ทำไมถึงรู้ อาม่าก็บอกว่าไปเห็นแบบนี้มา ลูกหลานก็เอาเหล้าเอาขวานออกจากโลงศพให้ แล้วอาม่าเองก็กรวดน้ำบทนี้ได้และสวดมนต์ไทยได้ ไม่รู้สวดบทไหนนะ แต่สวดเป็นเฉยเลย และแกก็บอกว่าพญายมราชฝากบอกว่า กลับไปบอกคนที่โลกมนุษย์ว่า นรก สวรรค์มีจริง ฝากไป
เตือนการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วมีจริง

   อ.นิติกฤตย์ ยังเผยอีกว่า เรื่องที่เล่ามานี้เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับที่เมื่อตอนสมัยอยู่ป.5 มีครูคนหนึ่งเคยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องการถอดจิต ตายแล้วฟื้น จนพอโตถึงวัยบวชเรียนก็ได้เจอหนังสือเรื่องกฎแห่งแห่งกรรมของนักเขียนท่านหนึ่งที่ใช้นามปากกาว่า ท.เลียงพิบูลย์ เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการบวชเรียนและกฎแห่งกรรมได้อย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงบทกรวดน้ำไทยโบราณนี้ด้วย จนเมื่ออายุได้ 19 ปีจึงได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่มีซิก
เซ้นส์สามารถติดต่อกับโลกวิญญาณได้ อาจารย์จึงได้เล่าถึงบทกรวดน้ำนี้ให้ฟัง จึงได้มารู้ความจริงว่าเป็นเรื่องราวของอาม่าของผู้ใหญ่ท่านนี้นี่เอง และถึงได้เชื่อว่าเรื่องนี้คือเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้น
  ทีนี้เจอใครผมก็จะแนะนำว่าให้ใช้บทกรวดน้ำนี้ มันเหมือนเป็นสิ่งที่เบื้องบนประทานให้ และอีกอย่างชาวพุทธจำนวนมากไม่รู้ว่าการกรวดน้ำสำคัญยังไง ครูบาอาจารย์ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำเล่าเรื่องเกี่ยวกับการไปนรกให้ฟังว่า คนเข้าใจผิดว่าไปสำนักพญายมราชไปเจอท่านนี่เป็นคราวซวยล่ะ ต้องลงนรกแน่ แต่แท้ที่จริงแล้วการเจอพญายมราชเนี่ย ท่านมีหน้าที่ช่วยเราให้เราจำได้ ช่วยให้เรานึกได้ว่าเรามีความดีอะไรเพื่อให้เราไม่ต้องลงนรก ท่านก็จะถามว่านึกความดีอะไรออกบ้าง ท่านจะถามอย่างน้อย 3 ครั้ง แต่พอนึกความดีไม่ออก ท่านก็ใช้ตัวช่วยว่า ลองประกาศในโลกวิญญาณ มีวิญญาณท่านใดบ้างที่รู้ว่าดวงวิญญาณนี้ ชื่อนี้ทำความดีอะไรไว้บ้างช่วยมายืนยันหน่อย เพราะถ้ามีพยานยืนยันความดีเขาก็มีโอกาสขึ้นสวรรค์
  แต่เราจะไม่มีใครมายืนยันถ้าเราไม่กรวดน้ำและมีพยาน กรวดน้ำแบ่งผลบุญให้คนนั้น คนนี้ เทวดา ต้นไม้นั่นนี่ เจ้าที่เจ้าทาง ก็จะมีพยานประจักษ์ความดีเรา ถึงเวลาจนแล้วจนรอดเราก็ต้องไปตรงนั้น เราก็จะมีตัวช่วย มันก็ส่งผลมาจากตรงนี้ ถ้าเราทำบุญไม่ปราณีต สักแต่ว่าทำ ตอนจบก็ไม่ได้อุทิศให้ใคร หรือไม่เข้าใจก็ละเลยไม่ทำ เราก็เสียโอกาสในการใช้ชีวิต ฉะนั้นตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ ไม่จำเป็นต้องเทศกาลนี้ก็ได้ ทำได้ทุกเทศกาล
ทุกเวลา ถ้ามีโอกาสก็ลองใช้เรื่องนี้ไป คนที่มาช่วยถ่ายทอดก็ได้บุญ ก็สาธุด้วยครับ”
  อ.นิติกฤตย์ ย้ำอีกว่าโลกวิญญาณนั้นมีอยู่จริง แต่คนที่ไม่เชื่อและยังลบหลู่ รับรองว่ามีที่ทรมานแบบเฉพาะให้แน่นอน ต้องเวียนว่ายตายเกิดจนฉลาดรู้ว่าโลกวิญญาณนั้นมีอยู่จริง และบทกรวดน้ำนี้เหมาะสำหรับการทำบุญใหญ่ เพราะมีคำกล่าวถึงเทวดาที่ละเอียด และเป็นคำกลอนที่ท่องง่าย ใครทำได้ย่อมเกิดผลดีต่อตัวเองแน่นอน

    คำกรวดน้ำภาษาไทยโบราณ
   บุญทานที่ทำ กลายเป็นข้าวน้ำ เครื่องทิพย์นานา
เป็นวิมานทอง เรืองรองโสภา กับทั้งนางฟ้า
พันหนึ่งบริวาร เครื่องทิพย์ครั้งนี้ ส่งถึงชนนี
บิดาอย่านาน ถึงญาติทุกหมู่ ครูบาอาจารย์
พ้นทุกข์อย่านาน ได้วิมานทอง ฝูงเปรตทั้งหลาย
นรกอสุรกาย หมู่สัตว์ทั้งผอง เต่า ปลา ปู หอย
กุ้งน้อยเนืองนอง จงตั้งใจปอง รับเอาส่วนบุญ
สัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ ตัวเรานี้ไซร้ ได้กระทำทารุณ
ด้วยกายน้ำใจ ฝากไว้เป็นทุน รับเอาส่วนบุญ
อย่าเป็นเวรกรรม อินทราเทวา อีกทั้งพรมมา
   ท้าวเวสสุวรรณ พระภูมิเจ้าที่ พระอาทิตย์พระจันทร์
พระอังคารพุทธัญ พฤหัสบดี พระศุกร์พระเสาร์
เทพเจ้าทั้งหลาย สิบสองราศี พระยมพระกาฬ
จตุโลกบาลทั้งสี่ ครุฑานาคี กินรีกินนรา
เทพเจ้าทั้งหลาย ทั้งหญิงและชาย จงอนุโมทนา
รับเอากุศล ผลบุญนี้หนา ทั้งพสุธา
คงคาวารี ชื่อว่าเข็ญใจ ขอจงอย่าได้
ไปบังเกิดมี ความยากอย่าได้เห็น ขอเป็นเป็นเศรษฐี
คฤหบดี มนตรีพระยา คนพาลอย่าได้พบ
ขอให้ประสพ คนมีปัญญา เดชะกุศล
ได้พ้นอสุรา ขอให้ตัวข้า พบพระศรีอาริย์
ได้ฟังคำสอน จิตใจโอนอ่อน สำเร็จอย่านาน
ลุถึงเมืองแก้ว กล่าวแล้วนิพพาน ดับชาติสังขาร จากโลกโลกีย์

                คำกรวดน้ำ
       อิทัง ปุญญะ พะลัง  ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญ มาล้ว ณ.โอกาสนี้  ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้  ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว ตั้งแต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ และขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้..ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาตัวข้าพเจ้า  และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ  และพญายมราช  ขอให้เทพเจ้าทั้งหลาย  และพญายมราช  จงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ และขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้  ให้แก่ท่านทั้งหลาย  ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์  และความสุข  เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ.กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด ผลและบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้ว ณ.โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึง  ซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เทอญ

                           ตายแล้วไปไหน

   https://www.youtube.com/watch?v=bkS28dR4nxE

                                         กัณฑ์ที่ ๔

             เรื่องการให้ทานแล้วได้ผลทันตาเห็น

    

    ๐อัปปัมปิ  เจ  สัททะหาโน  ทะทาติ

      เตเนวะ  โส  โหติ  สุขี  ปะรัตถะ ฯ

      -ถ้าคนเชื่อกรรมและผลของกรรม  การให้ทานแม้น้อย  ก็จะมีความสุขในโลกหน้า  ด้วยทานเพียงเล็กน้อยนั้น ฯ

     -ทาน  แปลว่าการให้  ให้อะไรบ้างจึงจะจัดเป็นทาน  การให้ที่จัดเป็นทานนั้นคือการให้วัตถุทาน  ๑๐  อย่างเหล่านี้  คือ:-

        ๑.ให้ข้าว

        ๒.ให้น้ำ

        ๓.ให้ผ้า

        ๔.ให้ยาน   การให้ยานแบ่งออกเป็น  ๔  ชนิด  คือ

            ๔.๑ให้รถ

            ๔.๒เรือ

            ๔.๓ให้ร่ม

            ๔.๔รองเท้า

            ๔.๕ให้ที่นั่งแก่ผู้อื่นในเวลาขึ้นรถโดยสาร

       ๕.ให้ดอกไม้

       ๖.ให้ของหอม  ให้น้ำหอมในเวลาสรงพระ  เช่นน้ำมันจันทน์หอม   น้ำอบไทย

       ๗.ให้เครื่องลูบไล้     เช่นยาหม่อง   น้ำมันเหลือง เป็นต้น

       ๘.ให้ที่นอน

       ๙.ให้ที่พักพาอาศัย

       ๑๐.ให้ประทีป   คือเทียน

    การให้อย่างอื่นไม่ใช่วัตถุทาน  ๑๐  อย่างเหล่านี้แล้วไม่จัดเป็นการให้ทานถึงให้ไปก็ไม่บังเกิดผล  เช่นจ้างหนังจ้างหมอลำมาให้พระดู  ซื้อเหล้าซื้อบุหรี่ถวายพระ  คือถ้าถวายสิ่งเหล่านี้มันจะไม่มีผลดีแก่ผู้ถวายเลยกลับจะเป็นโทษเสียอีก

    การให้ทานจะให้ผลอยู่  ๒  ครั้ง   คือ:-

      ๑.ให้ผลในปัจจุบัน

      ๒.ให้ผลในอนาคต

                     การให้ทานแล้วได้ผลรับในปัจจุบัน

    ๐ทานที่บุคคลให้ไปแล้วจะเห็นผลทันตาจะต้องประกอบด้วยสัมปทา  ๔  อย่าง   คือ:-

       ๑.วัตถุสัมปทา  คือความถึงพร้อมด้วยวัตถุ หมายถึง ผู้รับทาน จะต้องเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณธรรมสูงเช่น พระโสดาบัน   พระสะกะทาคามี   พระอนาคามี   พระอรหันต์   หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า
       ๒.ปัจจัยสัมปทา  คือความถึงพร้อมด้วยปัจจัย หมายถึง สิ่งของที่นำมาทำบุญนั้น จะต้องได้มาด้วยบริสุทธิ์ไม่ลักขโมยปล้นจี้และฉ้อโกงเขามา คือได้มาในทางที่ชอบธรรม
       ๓.เจตนาสัมปทา ความพร้อมด้วยเจตนา หมายถึง มีเจตนาดี คือตั้งใจดีที่จะสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยไม่มีเจตนาอื่นแอบแฟงอยู่ในใจ เจตนาดีนั้นมี ๓ อย่างดังนี้  คือ
     - ปุพพเจตนา  คือก่อนที่จะบริจาคทานมันเกิดจากศรัทธาคือความเชื่อและความเลื่อมใสขึ้นในใจอย่างแท้จริงไม่ได้เสแสร้ง และยังมองเห็นคุณค่าของการบริจาคทานอย่างแท้จริง
     - มุญจนเจตนา  คือในขณะที่กำลังบริจาคทานอยู่นั้น  ก็ยังคงรักษาความรู้สึกนั้นเอาไว้ ได้ไม่เกิดความเสียดายในทานที่ให้ไป จนจิตเศร้าหมอง
     - อปราปรเจตนา  คือหลังจากบริจาคทานเสร็จสิ้นไปแล้ว ไม่เกิดความระแวงสัยในการบริจาคทานที่ให้ไปว่ามันจะดีหรือร้าย เมื่อระลึกถึงการบริจาคทานของตนแล้ว กลับมีความชื่นชมโสมนัสยินดี มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส
     เจตนาที่ดีทั้ง ๓ อย่างนี้ ต้องรักษาเจตนาอันเป็นกุศลไว้ นอกจากนี้ยังต้องประกอบไปด้วย ปัญญา ในการให้มิใช่ให้ด้วยความโง่เขลา
     ๔. คุณาติเรกสัมปทา  คือความถึงพร้อมด้วยคุณพิเศษของผู้รับทานจะต้องออกจากนิโรธสมาบัติในวันนั้น    ตัวอย่างเช่น

     พระสารีบุตรบ้างและพระมหากัสสปบ้าง ออกจากนิโรธสมาบัติ ใหม่ๆ กำลังหิว ท่านจะพิจารณาหาคนที่ท่านควรจะไปโปรดในวันนั้น เพราะเมือท่านไปรับอาหาร จากผู้ใดในวันนั้น ผู้ที่ทำทาน ก็จะต้องได้สมบัติเป็นอันมาก ท่านจึงมักจะไปสงเคราะห์คนจน เพื่อให้เขาได้มีความสุขมากขึ้น
    สำหรับคำกล่าวที่ว่า การทำบุญกับผู้มีศีลธรรม มีคุณธรรม จะได้ผลบุญมากนั้น มีเรื่องเล่าว่า

    คราวหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถาม พระพุทธเจ้าว่า "ควรทำบุญในที่ใด จึงจะได้บุญ"

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า "ควรทำในที่ที่เราเลื่อมใส"

    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถามว่า "ทำบุญในที่ใดจึงจะมีผลมาก"

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ถ้าต้องการผลมากก็ต้องทำในผู้มีศีลธรรม ถ้าทำในผู้ที่ไม่มีศีลธรรมก็มีผลน้อย ทรงตรัสอธิบายขยายเรื่องนี้ว่า นาข้าวมีต้นหญ้าเป็นโทษ ปลูกข้าวลงในนาที่มีต้นหญ้ามาก ข้าวย่อมไม่งอกงามเพราะจะถูกต้นหญ้าเบียดเบียน  การ ทำบุญให้ทานในผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย  ราคะ โทสะ โมหะ ย่อมไม่มีผลมากฉันนั้น.. ส่วนการทำบุญให้ทาน ในท่านผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ย่อมได้รับอานิสงส์ ประมาณมิได้ ด้วยเหตุนี้ คนทั้งหลายจึงนิยม ทำบุญกับพระภิกษุสามเณร โดยเชื่อว่าท่านเป็นผู้มีศีลธรรมสูงกว่าคนสามัญธรรมดา  ในบรรดาภิกษุสามเณรด้วยกัน พุทธบริษัทก็นิยมทำบุญกับท่านที่มี อายุพรรษามาก บวชมานานมีคุณธรรม ด้วยเชื่อว่า ท่านมีจิตใจสูงกว่า บำเพ็ญบารมีมามาก กว่า เป็นต้น"

                 ตัวอย่างผู้ให้ทานแล้วเห็นผลทันตา

    ๑.เรื่องของมหาทุคคตะ

    ๒.เรื่องของธิดาเศรษฐีผมงาม

    ๓.เรื่องของบุรุษผู้เข็ญใจชาวเมืองพาราณสี

                  เรื่องของมหาทุคคตะ

   
     ชีวิตของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฟ้าบันดาลหรือสวรรค์ลิขิต แม้พรหมผู้มีฤทธิ์ก็มิอาจลิขิตชีวิตเราได้ แล้วอะไรล่ะ ที่กำหนดชีวิตของเราให้รวยโคตร หรือโคตรจน การที่ชีวิตในสังสารวัฏมีขึ้นๆ ลงๆ นับเป็นเรื่องที่น่าฉงนยิ่งนัก เหมือนดังความผกผันในชีวิตของบุคคลคนหนึ่ง
    ....จากที่เป็นคนเคยจน ก็กลายมาเป็นคนรวยที่สุดในโลก
    ....จากบุคคลผู้มีท้องพร่องทุกวัน กลายมาเป็นมหาเศรษฐีผู้มีสมบัติตักไม่พร่อง ใช้ทั้งชาติ ก็ไม่หมด
   ....จากปุถุชนคนธรรมดา กลายมาเป็นพระอริยบุคคล ผู้หลุดพ้นจากกิเลส
    สวรรค์กำลังเล่นตลกกับชีวิตของเขาหรือไร อะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุข และความสำเร็จเหล่านี้? หลายท่านคงมีคำตอบอยู่ในใจอยู่แล้ว สำหรับบางท่านหากยังไม่ทราบ เราจะมาฟังคำเฉลยจากเรื่องของมหาทุคคตะ ผู้ที่ได้ชื่อว่าจนข้ามภพรวยข้ามชาติ
    เรื่องมีอยู่ว่ามีชายยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง ยากจนกว่าใครทั้งหมดในเมือง บางวันเขาและภรรยาต้องไป ขออาหารเหลือเดนที่ชาวบ้าน กำลังจะเททิ้งมากินประทังชีวิต ใครๆ ก็เรียกเขาว่า "มหาทุคคตะ" ซึ่งแปลว่า ยากจนมากหรือโคตรจน นั่นเอง !
   อยู่มาวันหนึ่ง มีบัณฑิตคนหนึ่งเดินผ่านมาพบเขาเข้า ก็บังเกิดความกรุณา อยากจะให้เขาพ้นจากความยากลำบาก จึงได้บอกเรื่องที่ตนนิมนต์พระไว้ และชักชวนให้มหาทุคคตะ รับเป็นเจ้าภาพ เลี้ยงพระสักรูปหนึ่ง มหาทุคคตะปฏิเสธ เพราะรู้ว่าตนเอง ยากจนเข็ญใจขนาดนี้ ต้องขออาหารเขากินแทบทุกวัน จะถวายทานได้อย่างไร แต่บัณฑิตยอด
กัลยาณมิตร ก็ไม่ละความพยายาม ยังชักชวนต่อไปว่า "สหายเอ๋ย คนในเมืองนี้ ต่างก็ร่ำรวยมั่งคั่ง ไม่ต้องทำงานหนักก็ได้เงินทองมากมาย เพราะเขาทำบุญมาดี ส่วนท่านยากจนอยู่เช่นนี้ เพราะไม่ค่อยให้ทาน จงรีบทำบุญเถิด"
   มหาทุคคตะแม้จนทรัพย์แต่ไม่จนปัญญา ในวันนั้นบุญเก่าตามมาทัน ส่งผลให้เกิดปัญญา ได้คิดว่า " ที่เรายากจนอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะความตระหนี่ของเราแท้ๆ ที่ไม่มีเพราะไม่ได้ทำมา ดังนั้นวันนี้เราจะต้องทำบุญใหญ่ให้ได้" เขาจึงตัดสินใจรับเลี้ยงพระภิกษุ ๑ รูป วันนั้นทั้งวัน เขาและภรรยาช่วยกัน รับจ้างทำงานที่บ้านเศรษฐี เพื่อหาเงินมาซื้อภัตตาหารเลี้ยงพระ ท่านเศรษฐีรู้เข้าเกิดความเลื่อมใส จึงให้ค่าแรงเพิ่มเป็นสองเท่า เราจะเห็นว่า...
ใจของคนเรานั้น พอคิดที่จะให้ ก็ยิ่งได้กลับคืนมา ยิ่งให้ก็ยิ่งได้ พอรุ่งเช้า ปรากฏว่าบัณฑิตที่มาชวนเขาทำบุญ ลืมจดชื่อของเขาไว้ มหาทุคคตะจึงไม่มีพระมารับภัตตาหาร เมื่อไม่ได้พระภิกษุที่จะเป็นเนื้อนาบุญให้ เขาจึงรู้สึกเสียใจมาก บัณฑิตผู้นั้นรู้สึกละอายใจมาก ได้กล่าวขอโทษและแนะนำเขาว่า "สหายเอ๋ย ยังมีพระผู้ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่เหลืออยู่อีกรูปหนึ่ง คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าท่านมีบุญ พระองค์ก็คงจะรับอาราธนาเป็นแน่"
  มหาทุคคตะจึงมุ่งหน้าไปสู่ประตูพระคันธกุฎี ทรุดเข่าลงร่ำไห้ ทูลอ้อนวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ในเมืองนี้คนที่จนกว่า ข้าพระองค์ไม่มีอีกแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดสงเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด"
   ธรรมดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงอนุเคราะห์คนยากจนด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระพุทธองค์ทรงประทานบาตรให้มหาทุคคตะ เขารับบาตรไปด้วยความดีใจ เสมือนหนึ่งได้มหาสมบัติจักรพรรดิ น้ำตาไหลอาบแก้มทั้งสอง ด้วยความปลาบปลื้มปีติ แม้พระราชามหาอำมาตย์จะต่อรองขอซื้อบาตร ด้วยราคาอันแพงลิ่วอย่างไร เขาก็ไม่ยอมขาย
กลับตอบปฏิเสธว่า "สิ่งที่ข้าพเจ้าปรารถนาที่สุด ในเวลานี้คือ บุญ ทรัพย์สมบัติ แม้เอามากองเท่าภูเขา ข้าพเจ้าก็ไม่ต้องการ "
วิธีรื้อผังจนถาวร
  มหาทุคคตะเป็นคนมีปัญญา เห็นว่าบุญเท่านั้นที่จะเป็นสมบัติติดตัวไป ได้ทั้งในภพนี้และภพเบื้องหน้า เขาจึงไม่ยอมยกบุญนี้แก่ใคร ในที่สุด เขาได้ถวายทาน แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยใจที่อิ่มเอิบเบิกบาน หลังจากพระพุทธองค์เสด็จกลับไปแล้ว สิ่งอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น ฝนรัตนะได้ตกลงมาที่บ้านของมหาทุคคตะ เป็นเพชรเป็นพลอยมากมายสูงท่วมถึงหัวเข่าทีเดียว เพราะการถวายทานด้วยเจตนาอันแรงกล้า ด้วยใจเบิกบานผ่องใส และผู้รับทานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ ทานที่ถวายในครั้งนี้จึงให้ผลทันตาเห็น เป็นที่น่าอัศจรรย์ ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐี ประจำเมืองในวันนั้นเอง พอได้เป็นเศรษฐีแล้ว เขาก็ไม่ได้ประมาทในชีวิต เพราะรู้ฤทธิ์ของความจนแล้วว่ามันทรมานเพียงไร จึงตั้งใจที่จะรื้อผังจนให้หมดไป ตั้งผังรวยถาวรข้ามชาติ ด้วยการตั้งใจทำบุญ ทำทานยิ่งขึ้นไปจนตลอดชีวิต เมื่อละโลกไปแล้วก็ไปบังเกิดในสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติยาวนานถึง ๑ พุทธันดร
  ในชาตินี้ เมื่อลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก บุญก็ส่งผลให้มาเกิดในตระกูลเศรษฐี ชื่อว่า "บัณฑิต" เพราะตั้งแต่มาอยู่ในครรภ์มารดา ก็ทำให้ทุกคน ในบ้านกลายเป็นคนฉลาดกันไปหมด พออายุได้ ๗ ขวบ บุญในตัวกระตุ้นเตือนให้อยากออกบวช พ่อแม่ก็ไม่ได้ขัดใจ กลับอนุโมทนาในความเป็น ผู้มีใจเด็ดเดี่ยวของท่าน ครั้นบวชได้ไม่กี่วัน ก็ได้บรรลุธรรม
เป็นสามเณรอรหันต์
  บุญ... เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จ..
  จากเรื่องมหาทุคคตะผู้ได้ชื่อว่าเป็นคนจนข้ามภพรวยข้ามชาตินี้ เราจะเห็นว่า บุญนี่แหละคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุข และความสำเร็จทั้งมวล ชีวิตในสังสารวัฏจะเป็นเช่นไร ก็ขึ้นอยู่กับกรรมดีกรรมชั่วเท่านั้น กรรมจะเป็นเครื่องแบ่งแยกมนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นอย่าได้ดูเบา ในการสั่งสมกรรมดี หรือเรียกง่ายๆ ว่า บุญ จะเป็นบุญ
เล็กบุญน้อยก็ทำไปเถอะ เก็บเกี่ยวบุญของเราไว้เรื่อยๆ ทั้งบุญจากการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ทำไปพร้อมๆ กัน เพราะบุญ คือเพื่อนแท้ ที่จะติดตามตัวเราไปทุกหนทุกแห่ง เป็นสมบัติละเอียด ที่เราสามารถนำติดตัวไปได้ บุญนั้น
อยู่ในกลางกายของเรา คอยอำนวยผลให้เราประสบความสุข และความสำเร็จข้ามชาติ
  โดยเฉพาะบุญพิเศษสุดในช่วงนี้ คือบุญจากการร่วมกันสถาปนามหารัตนวิหารคด อันจะเป็นศูนย์รวมใจของมนุษย์และเทวดาทั้งหลายอย่างแท้จริง จะเป็นอริยสถานอันศักดิ์สิทธิ์ให้ภิกษุสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล มาสวดมนต์นั่งสมาธิ และแผ่กระแสแห่งความเมตตา ไปสู่สรรพสัตว์นับอนันต์ บุญพิเศษจากการมีส่วนร่วม สถาปนามหารัตนวิหารคดแห่งนี้ จะส่งผลให้เราหมดสิทธิ์จน เป็นคนจนยาก เราจะหลีกไม่พ้นจาก ความรวยอีกต่อไป กลายเป็นผู้พรั่งพร้อมไปด้วยที่สุดแห่งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติ กระทั่งสมบัติ อจินไตยหรือสมบัติจักรพรรดิตักไม่พร่อง ก็จะไม่ยากเกินกว่าจะได้ครอบครอง
   ยอดนักสร้างบารมีทั้งหลาย...เส้นทางไกลในสังสารวัฏเพื่อมุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรมนั้น จะรอโชคชะตา ให้ฟ้าบันดาลหรือสวรรค์ลิขิตไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ชีวิตต้องลิขิตด้วยกรรม คือการกระทำของเราเอง กรรมดีหรือการกระทำที่เป็นกุศลนั่นแหละ คือบุญ บุญเท่านั้นจะบันดาลความสุข และความสำเร็จให้กับเราได้ เมื่อบุญใหญ่จากการสถาปนาเสาแก้วพันปี
เพื่อรองรับมหารัตนวิหารคด กำลังรอเราอยู่ข้างหน้า ขอให้เติมพลังแห่งศรัทธา และเชื่อมั่นว่าสันติภาพโลกเป็นจริงได้ ถ้าเราพร้อมใจกันสู้ พร้อมใจกันสร้างพุทธสถานสำหรับชาวโลก ให้เขาได้มาปฏิบัติธรรม และเข้าถึงธรรมกันที่นี่ อย่างรวดเร็วที่สุด ก่อนที่กระแสกิเลสร้าย จะฉุดรั้งพวกเขาไปสู่อบาย ดังนั้นเราต้องเป็นเจ้าของบุญพิเศษสุดนี้ให้ได้ เพราะบุญนี้จะทำให้เราถึงพร้อมด้วยที่สุด ของความพิเศษทั้งมวล ยามที่กระแสบุญส่งผล อะไรๆ ก็ห้ามก็กันไม่อยู่ เหมือนดวงอาทิตย์ เมื่อโผล่พ้นขอบฟ้า พลันขจัดความมืดให้หมดไปได้ ส่องความสว่างให้แก่สรรพชีวิต ในขณะที่เรายังมีลมหายใจ มีโอกาสที่จะได้สั่งสมมหาทานบารมี ได้โอกาสที่จะรื้อผังจน และตั้งผังรวยถาวร ก็ควรทุ่มเทกันให้เต็มที่ ก่อนที่จะหมดโอกาส ดังพุทธพจน์ที่ว่า
    "เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ เจ้าของเรือน ขนเอาสิ่งใดออกไปได้ สิ่งนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา ส่วนสิ่งใดที่ขนออกไปไม่ได้ ย่อมถูกไฟไหม้ ฉันใด โลกคือหมู่สัตว์ อันชราและมรณะเผาแล้ว ก็ฉันนั้น ควรนำโภคทรัพย์สมบัติ ออกด้วยการให้ทาน "เพราะทานวัตถุที่บุคคลให้แล้ว ได้ชื่อว่านำออกดีแล้ว ย่อมมีสุขเป็นผล ส่วนที่ยังมิได้ให้ โจรยังปล้นไปได้ไฟยังไหม้ได้ หรือสูญหายได้ บุคคลจำต้องละร่างกายพร้อมด้วยเครื่องอาศัย ผู้มีปัญญารู้ชัดดังนี้แล้ว ควรใช้สอยและให้ทาน..เพราะบุญเท่านั้นเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ในปรโลก" 

                    เรื่องธิดาเศรษฐีผมงาม

   

            พระมหากัจจายนะโปรดธิดาเศรษฐีผมงาม
   ในหมู่บ้านนาลินิคมแห่งเมืองอุชเชนีนั้นมีลูกสาวของอดีตเศรษฐีเก่าคนหนึ่งหลังจากเศรษฐีผู้เป็นพ่อได้ตายไปแล้วก็เกิดยากจนลงจนต้องไปรับจ้างเลี้ยงลูกให้เขาเพื่อเลี้ยงชีพแต่ลูกสาวของเศรษฐีเก่าคนนี้ นางมีผมยาวงามดำสนิทสละสลวยสวยงามกว่าใครๆในหมู่บ้านนั้นและในหมู่บ้านนี้มี เศรษฐีคนหนึ่งชื่อว่า “อิสระเศรษฐี”  ท่านอิสระเศรษฐีมีลูกสาวคนหนึ่งที่ที่มีผมบางๆจนแทบจะโล้นนางพยายามถามซื้อผมอันยาวงามจากลูกสาวเศรษฐีเก่าในราคาถึง ๑๐๐๐ กหาปณะ  ถึงแม้จะยากจนลูกสาวเศรษฐีเก่าก็ไม่ยอมขายผมของตนเอง 
   ในวันนั้นพระมหากัจจายนะและพระอรหันต์อีก ๗ รูป ออกเที่ยวรับบิณฑบาตแต่ไม่ได้อะไรเลยนางก็คิดในใจว่า“พระหนุ่มที่เดินนำหน้าเพื่อนเป็นพระรูปงามผิวเหลืองอร่ามประดุจดังทองคำสวย งามยิ่งนักซี้งเรายังไม่เคยพบเคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลย จำเราจะถวายบิณฑบาตให้แก่ท่านเถอะ”   เมื่อคิดดังนี้แล้วนางก็ไปนิมนต์พระมหากัจจายนะ
และพระอรหันต์อีก ๗ รูปมามารับบิณฑบาตที่เรือนของตน   แต่นางก็ไม่มีเงินจะทำบุญเลยนางจึงได้ตัดสินใจตัดผมอันสวยงามของตนเอาไปขาย ให้แก่ลูกสาวอิสระเศรษฐี   ส่วนลูกสาวอิสระเศรษฐีคิดว่า “แต่ก่อนเราถามซื้อนางราคาถึง ๑๐๐๐ กหาปณะ นางก็ไม่ยอมขายแต่วันนี้ทำไมนางยอมขายโดยไม่เรียกร้องราคาเลย ช่างน่าแปลกใจยิ่งนัก”  
    เมื่อเป็นเช่นนี้นางก็เลยฉวยโอกาสบั้นราคาลงเหลือแค่ ๘ กหาปนะเท่านั้น  นางจึงพูดกับลูกสาวเศรษฐีเก่าว่าฉันซื้อได้แค่ ๘ กหาปณะเท่านั้น คุณจะขายหรือเปล่า”  ลูกสาวเศรษฐีเก่าต้องการเอาเงินไปทำบุญจึงได้ตัดสินใจขาย   เมื่อได้เงินมาแล้วนางจึงจัดถวายบิณฑบาตแก่พระมหาเถระแบ่งออกเป็น ๘ ที่ๆละ ๑ กหาปณะ  พระมหากัจจายนะเล็งดูด้วยญาณเห็นอุปนิสัยของนางจึงถามสาวใช้ว่า “นางไปไหนหรือ”   สาวใช้ตอบว่า “นางอยู่ในห้องข้างในเพราะความละอายที่ตัดผมออกขาย  เจ้าข้า”   พระมหาเถระจึงพูดกับสาวใช้ว่า “จงไปเรียกนางออกมาที่นี่ซิ  อาตมามีเรื่องจะพูดคุยด้วย
สักเล็กน้อย”    สาวใช้ก็รีบเข้าไปบอกนางๆก็ออกมานมัสการพระมหาเถระแล้วนางก็กราบเรียนพระมหาเถระว่า “ดิฉันไม่ได้ออกมาต้อนรับพระคุณเจ้าผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ต้องขออภัยโษทด้วย เจ้าค่ะ”    ไม่เป็นไรน้องหญิง
    พระมหาเถระกล่าวแล้วก็ให้พรและอนุโมทนาในผลทานของนาง   ด้วยอำนาจที่นางมีความรักและศรัทธาเลื่อมใสในพระมหาเถระอย่างแรงกล้า ทานของนางจึงมีอานิสงส์มากที่สามารถเห็นผลได้ในทันตา  จนทำให้ผมที่นางได้ตัดขายไปแล้วนั้นเกิดงอกขึ้นมาใหม่ซึ่งมีความสวยงามมาก ยิ่งกว่าเดิมและตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมานางก็มีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆโดย
ลำดับ  เพราะเรื่องนี้เป็นสาเหตุจึงทำให้ประชาชนในตำบลนาลินิคมกล่าวโจษขานไปต่างๆ นานา     หลังจากพระมหาเถระฉันภัตราหารเสร็จแล้วก็ได้เหาะขึ้นไปในอากาศต่อหน้าลูกสาว เศรษฐีและประชาชนที่อยู่ในที่นั้นแล้วก็เหาะไปลงที่พระราชอุทยานของพระเจ้าจันฑปัชโชตที่มีชื่อว่า “อุทยานกัญจนะ”  ในกรุงอุชเชนี

    ด้วยเกียรติคุณความดีของนางพระเจ้าจันฑปัชโชติจึงได้ส่งราชรถเทียบเชิญไปเชิญนางขึ้นเป็นพระอัดรมเหสีในกรุงอุชเชนีต่อไป

                  กัณฑ์ที่ ๕

         กัณฑ์เทศน์เรื่องทำบุญน้อยแต่ได้ผลมาก

          เรืองของบุรุษเข็ญใจชาวเมืองพาราณสี

   

            มาวะมัญเญถะ  ปุญญัสสะ          นะ  มัตตัง  อาคะมิสสะติ ฯ

           =ไม่พึงดูหมิ่นบุญมีประมาณเล็กน้อยจะไม่มีผล               

     ๐คำว่าบุญเป็นชื่อของความดี ความดีแบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด  คือ

        ๑.ดีทางกาย

        ๒.ดีทางวาจา

        ๓.ดีทางใจ

    เช่นคนไหนตื่นนอนแต่เช้าเพื่อใส่บาตรเราก็เรียกว่าผู้นั้นว่าทำบุญ คือทำบุญทางกาย   คนไหนพอถึงเทศกาลเข้าพรรษาก็เสียสละเวลาเข้าธรรมจำศีลเราก็เรียกผู้นั้นว่าทำบุญคือสร้างสมความดีใส่ตัว  คืทำบุญทางวาจา คนไหนเสียสละเวลาวันละ ๑๐ ถึง ๓๐  นาที นั่งสมาธิเพื่อฝึกฝนอรมจิตใจของตัวเองให้สงบระงับจากกิเลสคือความเศร้าหมองแห่งจิตซึ่งเป็นสาเหตุทำให้จิตใจฟุ้งซ่านเร่าร้อนกระสับกระส่ายเราเรียกผู้นั้นว่าทำบุญคือทำบุญทางใจ

    การทำบุญนั้นจะมากหรือน้อยก็ตามถ้าเกิดจากเจตนาที่บริสุทธิ์และความเลื่อมใสศรัทธาอันแน่วแน่แล้วก็จัดว่ามีผลทั้งนั้น

    ๐ในสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "กัสสะปะ"  ในเมืองพาราณสีมีบุรุษเข็ญใจคนหนึ่งเขาเป็นคนไร้ญาติขาดอยู่ตัวคนเดียว  วันหนึ่งเข้าได้เข้าไปสมัครขอทำงานกับท่านสิริธรรมเศรษฐีผู้มั่งมีทรัพย์สมบัติถึง  ๘๐  โกฏิ  (๑ โกฏิ = ๑๐  ล้าน  ๘๐ โกฏิ  =  ๘๐๐  ล้าน) 

    เมื่อเขามาสัครงานท่านเศรษฐีจึงถามเขาว่า "คุณมีความรู้อะไรบ้างหรือ?"

    นายบุรุษเข็ญใจตอบว่า " ผมไม่มีความรู้อะไรครับท่าน"

    ท่านเศรษฐีพูดว่า "เอ  ไม่มีความรู้จะให้ทำงานอะไรดีนะ"

    เขาพูดว่า "ทำงานอะก็ได้ครับท่าน"

    เศรษฐีจึงพูดว่า "ถ้าเช่นนั้นคุณจะไปรักษาไร่หญ้าให้ฉันได้ไหม?"

    เขากล่าวว่า "ได้ครับท่าน"

    เศรษฐีจึงพูดว่า "ฉันจะให้ค่าจ้างแก่คุณคือให้อาหารและข้าววันละ ๑ หม้อ"

    เพราะความยากจนเขาจึงตอบตกลง  เมื่อพอใจกันทั้งสองฝ่ายแล้วเขาก็เข้าทำงานเป็นคนรกษาไร่หญ้าให้เศรษฐีในทันที  เศรษฐีจึงเรียกเขาว่า "นายติณบาล (แปลว่าคนรักษาหญ้า)"

    อยู่มาวันหนึ่งนายติณบาลมาคิดว่า "การที่เราเกิดมายากจนในชาตินี้เพราะในอดีตและชาติที่แล้วเราไม่เคยทำบุญอะไรไว้เลย  เกิดมาชาตินี้จึงต้องตกระกำลำบากไร้ญาติขาดมิตรสมบัติสักนิดติดตัวก็ไม่มี"

    **ข้อคิด  ความคิดเห็นเช่นนี้เป็นความคิดเห็นของเศรษฐี  มหาเศรษฐี  บุคคลผู้ยิ่งใหญ่และผู้นำของโลกเท่านั้นคนธรรมดาสามัญจะไม่มีความคิดเห็นออกมาเช่นนี้  เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความคิดเห็นเช่นนี้จะต้องเป็นเเศรษฐี  มหาเศรษฐี  และบุคคลผู้ยิ่งของโลกอย่างแน่นอน  ถึงตอนนี้เขาจะตกระกำลำบากอย่างไรก็ตาม

    เมื่อนายติณบาลมีความเห็นเช่นนี้เขาจึงได้แบ่งข้าวหม้อหนึ่งที่ได้มาออกเป็น  ๒  ส่วนคือ   ส่วนหนึ่งใส่บาตรถวายพระที่มาเที่ยวบิณฑบาตในตอนเช้า  อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้กินเพื่อเลี้ยงชีวิตของตัวเอง   ด้วยเดชอำนาจบุญกุศลที่เขาได้ใส่บาตรเป็นประจำทุกวันนั้น  เมื่อข่าวนี้ได้ยินไปถึงหูท่านเศรษฐี  ท่านเศรษฐีจึงได้ให้ข้าวแก่เขาเพิ่มขึ้นเป็น ๒ หม้อ  พอได้อาหารและข้าวเพิ่มเป็น ๒ หม้อ  เขาจึงได้แบ่งอาหารและข้าวออกเป็น  ๓  ส่วน คือ

    -ส่วนหนึ่งเอาใส่บาตรพระในตอนเช้า

    -ส่วนที่สองให้ทานแก่คนยากจนทั้งหลาย

    -และส่วนที่สามเก็บไว้กินเพื่อเลี้ยงชีพของตนเอง

    เขาได้ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน  พอถึงวันออกพรรษาท่านสิริธรรมเศรษฐีรับเป็นเจ้าภาพตั้งกองกฐินนำไปทอดถวายที่วัดจึงได้ประกาศให้ประชาชนทั้งหลายได้ทราบ  พอนายติณบาลได้ทราบข่าวนี้ก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นมาทันทีจึงรีบเข้าไปหาท่านเศรณษฐีขอมีส่วนร่วมในกองกฐินด้วย

    เขาถามเศรษฐีว่า "กฐินมีอานิสงส์เป็นเช่นไรหรือ ครับท่าน"

    เศรษฐีจึงตอบว่า "การได้ถวายผ้ากฐิน เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้ ผู้มีส่วนร่วมในกฐินย่อมได้อานิสงส์ ผู้ชักชวนให้ทอดกฐินก็ได้อานิสงส์ กฐินมิไม่ใช่มีอานิสงส์เฉพาะเจ้าของกฐินเท่านั้น แม้ผู้ชักชวนให้ผู้อื่นทอดกฐิน ถ้ารู้จักวิธีในการอธิษฐานบุญก็ย่อมได้รับอานิสงส์เหมือนกัน
  อานิสงส์ของการร่วมทำบุญทอดกฐินยังมีมากมาย ดังนี้
    ๑.ทำให้เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์สินมาก และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้โดยง่าย
    ๒.ทำให้เป็นผู้มีจิตใจแช่มชื่น บริสุทธิ์และผ่องใสอยู่เสมอ
    ๓.ทำให้เป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่น เป็นสมาธิได้เร็วและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย
    ๔.ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดเป็นบุญกุศลติดตัวไปในภพเบื้องหน้าได้อย่างเต็มที่
    ๕.ทำให้เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่รักของคนทั่วไป
    ๖.ทำให้เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติคุณ น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาน่าเคารพนับถือ
    ๗.ถ้าบวชเป็นพระเมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้วก็จะได้บาตรและเครื่องอัฏฐบริขารอันเป็นทิพย์ล่องลอยมาทางอากาศ

    เมื่อนายติณบาลได้ฟังเรืองของอานิสงส์ในการทอดกฐินจากท่านเศรษฐีแล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสและปรื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง  เขาจึงพูดกับเศรษฐีว่า "ผมจะร่วมเป็นเจ้าภาพในการทอดกฐินกับท่านได้หรือไม่"

    เศรษฐีพูดว่า "ได้สิ คุณมีอะไรก็นำมาร่วมได้  เราจะเริ่มงานนับจากวันนี้ไป ๗ วัน"

    นายติณบาลเมื่อได้ฟังเช่นนั้นก็ยินดียิ่งนัก  เขาเดินทางกลับบ้านด้วยความอิ่มเอิบใจ  ในขณะเดินทางกลับบ้านเขาคิดว่า "เราไม่มีอะไรเลยที่จะร่วมทำบุญกฐินกับเศรษฐี แม้แต่ผ้าผืนเดียวเราก็ยังไม่มี  เราจะทำอย่างไรดีหนอ"  เมื่อเขาคิดหาสิ่งของมาร่ามทำบุญก็รู้สึกอัดอั้นตันใจเพราะยังไม่มีช่องทางที่จะหาสิ่งของมาทำบุญไดด้เลย  ในที่สุดเขาก็ได้ตัดสินใจเปลื้องผ้าที่เขานุ่งห่มอยู่นั้นออกแล้วนำเอาไปซักตากแดดแล้วเก็บพับไว้  เขาได้ร้อยใบไม้เอามานุ่งห่มแทนผ้า แล้วนำเอาผ้าเก่านั้นออกไปเที่ยวเร่ขายในตลาด

    ชาวตลาดทั้งหลายเห็นอาการของเขาเช่นนั้นก็พากันหัวเราะเสียงลั่นไปทั้งตลาด  เขาชูมือขึ้นแล้วชี้แจงว่า "ท่านทั้งหลายจงหยุดก่อน! อย่าหัวเราะเยาะข้าพเจ้าเลย  การที่ข้าพ เจ้าทำเช่นนี้ก็เพราะข้าพเจ้ามีความจำเป็นที่จะต้องหาเงินไปซื้อของทำบุญกฐินกับท่านเศรษฐี  ข้าพเจ้าจะนุ่งห่มใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น  ชาติหน้าข้าพเจ้าจะนุ่งห่มผ้าทิพย์"

    ครั้นเขาได้พูดชี้แจงกับชาวตลาดเช่นนั้นแล้ว  เขาก็ได้เดินเร่ขายผ้านั้นไปเรื่อยๆ  คนส่วนมากที่เขาเสนอขายผ้าให้มักจะพูดว่า "นี่คือผ้าเก่าขาดแล้วไม่รู้จะเอาไปทำอะไร  ให้คุณนำเอาไปขายที่อื่นเถอะนะ เขาได้ถูกปฏิเสธคนแล้วคนเล่าจนแทบจะหมดความพยา ยาม ในที่สุดเขาก็ได้ตัดสินใจเดินเข้าไปในร้านสุดท้ายของตลาดแล้วนำผ้านั้นเข้าไปเสนอขาย หญิงชราเจ้าของร้านเห็นผ้านั้นแล้วคิดว่า "ในบ้านของเรายังไม่มีผ้าเก่าราคาถูกเอาไว้เช็ดถูบ้านเลย  เราจะซื้อผ้าผืนนี้เอาไว้เช็ดถูบ้าน"  จึงได้ถามนายติณบาลไปว่า "คุณจะขายราคาเท่าไหร่หรือ?"

    นายติณบาลตอบว่า "ยายจะให้เท่าไหร่ก็ได้ครับ"

    หญิงเจ้าของร้านจึงตอบว่า "๕  มาสก (คือหนึ่งบาท)ก็แล้วกันนะพ่อหนุ่ม"

    นายติณบาลก็ตอบตกลงในทันที "ครับยายตกลงตามนั้น"

    เมื่อนายติณบาลขายผ้าแล้วก็นำเอาเงินจำนวนนั้นไปหาท่านเศรษฐีเพื่อร่วมทำบุญ  ท่านเศรษฐีก็มาคิดว่า "เงิน ๑ บาทของนายติณบาลนี้จะเอาไปซื้ออะไรดีนะ  จะเอาไปซื้อผ้าและสิ่งของอย่างก็ไม่พอเพราะมันน้อยเกินไป"  ในที่สุดท่านเศรษฐีก็คิดได้จึงให้นายติณบาลนำเอาเงินจำนวน ๑ บาบไปซือเข็มและด้ายเย็บผ้า  เมื่อเขาซื้อเข็มและด้ายเย็บผ้าได้แล้ว เขาก็ได้นำเอาไปร่วมทำบุญกับท่านเศรษฐี  พอท่านเศรษฐีได้รับเข็มและด้ายจากมือของนายติณบาลเท่านั้นก็ทำให้เกิดเสียงโกลาหลขึ้นในหมู่ประชาชนและเสียงโกลาหลนั้นก็ดังขึ้นไปจนถึงสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น  ลักษณะเสียงโกลาหลมันเป็นดังนี้

    -ประชาชนทั้งหลายในเมืองพาราณสีเกิดเลื่องลือกันเซ็งแซ่เกี่ยวกับเรื่องของนายติณบาลอย่างโกลาหล เทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเมื่อเห็นมนุษย์ทั้งหลายเรื่องลือกันเช่นนั้นก็เรื่องลือกันไปบ้าง   เทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เมื่อได้ยินเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาเลื่องลือกันก็เลื่องลือไปด้วย   เทวดาในสวรรค์ชั้นยามาเมื่อได้ยินเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เลื่องลือกันก็เลื่องลือไปด้วย   เทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิตเมื่อได้ยินเทวดาในสวรรค์ชั้นยามาเลื่องลือกันก็เลื่องลือไปด้วย   เทวดาในสวรรค์ชั้นนิมมานรตีเมื่อได้ยินเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิตเลื่องลือกันก็เลื่องลือไปด้วย   เทวดาในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเมื่อได้ยินเทวดาในสวรรค์ชั้นนิมมานรตีเลื่องลือกันก็เลื่องลือไปด้วย

    พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงทราบเหตุที่ประชาชนเลื่องลือกันอย่างโกลาหลแล้ว ทรงรับสั่งให้นายติณบาลเข้าเฝ้า  นายติณบาลไม่สามารถจะเข้าไปเฝ้าพระราชาได้เพราะความละอายในทานอันน้อยนิดของตน  พระราชาแห่งกรุงพาราณสีจึงได้ตรัสถามถึงความเป็นไปของเขาโดยตลอดแล้วทรงพระราชทานสิ่งของให้แก่เขาดังนี้  คือ:-

     ๑.ผ้าสาฎกชั้นดีราคา  ๑๐๐๐๐๐  ตำลึง   ๑  ผืน

     ๒.บ้านเรือนหนึ่งหลัง

     ๓.ช้าง   ๔   เชือก

     ๔.ม้า    ๑๐    ตัว

     ๕.วัว     ๑๐   ตัว

     ๖.ควาย    ๑๐   ตัว

     ๗.ทาสี    ๑๐    คน

     ๘.ทาสา    ๑๐   คน

     ๙.ที่ดิน    ๑    ตำบล

     ๑๐.ทรัพย์สินเงินทองอีก   ๗  หาบ

    นอกจากนั้นพระราชายังได้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีในเมืองพาราณสีให้แก่เขามีชื่อว่า "ติณบาลเศรษฐี"  เขาดำรงตำแหน่งเศรษฐีจนชรา  เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วเขาก็ได้ไปบัง เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีวิมานแก้วสูงได้  ๕  โยชน์ เป็นที่อยู่อาศัย  และมีนางเทพอัปสร  ๑๐๐๐๐  องค์เป็นบริวาร

    ส่วนสิริธรรมเศรษฐีครั้นตายจากมนุษย์แล้วก็ได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีนางเทพอัปสรเป็นบริวาร  ๑๐๐๐๐  องค์  และมีวิมานแก้วสูงได้  ๑๐  โยชน์เป็นที่อยู่อาศัย  ถ้าเทพบุตรองค์ไหนมีบุญมากวิมานแก้วอาจจะสูงถึง  ๑๐๐  โยชน์  นี่คือตัวอย่างของคนทำบุญแล้วเห็นผลบุญทันตาเห็นเลยทีเดียว

                        กัณฑ์ที่ ๖

                   กัณฑ์เทศน์เรื่องการทำความสะอาดวัด

       ๐อาปูระติ  ธีโร  ปุญญัสสะ      โถกัง  โถกังปิ  อาจินัง ฯ

        =คนฉลาดสร้างบุญที่ละน้อยก็เต็มเปี่ยมไปด้วยบุญ ฯ

     

              อานิสงส์ของการกวาดลานวัด
   คนโบราณเขาเชื่อถือกันมาว่า ผู้ที่มีโรคผิวหนังพุพองหรือโรคเรื้อน ถ้าได้มาเก็บขยะเก็บใบไม้ที่ล่วงหล่นปัดกวาดลาดวัดให้สวยงามสอาดตาแล้วนั้น เชื่อกันว่าจะทำให้ผิวพรรณวรรณะงดงามและทำให้โรคร้ายหายไปได้ การกวาดวัดนี้มีอานิสงส์ถึง ๕ อย่างคือ
     ๑. บุคคลเห็นเข้าก็เลื่อมใส
     ๒. เทวดาเห็นเข้าก็เลื่อมใส
     ๓. จิตของผู้กวาดตั้งสมาธิได้เร็ว
     ๔. ผิวพรรณวรรณผ่องใส
     ๕. เมื่อตายดับสังขารจากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบังเกิดในภพภูมิสวรรค์
    เป็นสิ่งที่เล่าขานกันมา ว่าบางคนเป็นโรคผิวหนังอันเกิดจากกรรมเก่าได้รับคำแนะนำให้ทำความสะอาดส้วมในวัดติดต่อกันเป็นเดือนๆหากทำด้วยจิตที่ผ่องใสและปลาบปลื้มใจเต็มกำลัง บุญใหม่ก็อาจมีกำลังมากพอจะละลายบาปเก่าให้เบาบางลงได้
    กรรมวิบากเกี่ยวกับเรื่องนี้ต้องนำทั้งกายและจิตมาอธิบายควบคู่กันไป ขอให้คิดว่า การนำสิ่งสกปรกออกจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ก็คือการนำเอาความสะอาดอันศักดิ์สิทธิ์เข้าสู่จิตใจ
แม้ไม่สามารถอธิบายตามหลักทางวิทยาศาสตร์ว่าความปลาบปลื้มที่ได้ทำความสะอาดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไปกระตุ้นให้สารชนิดไหนหลั่งออกมา แต่คุณก็จะรู้สึกว่าสมเหตุสมผล เมื่อเห็นว่าจิตตัวเองสะอาดขึ้น
    การขันอาสาเข้าไปล้างส้วมวัดด้วยความเต็มใจของตนเองนั้น ยังมีอานิสงส์อีกมาก เช่นทำให้เป็นผู้มีความคิดดี จิตใจห่างไกลจากความคิดสกปรกน่ารำคาญใจ เมื่อจะทำทานก็สามารถทำได้ด้วยใจบริสุทธิ์ ตลอดจนกระทั่งเป็นผู้มีกำลัง สามารถรักษาศีลได้ง่าย สรุปคือถ้าคิดเสียสละแรงกายแรงใจไปทำความสะอาดวัด คุณจะเป็นผู้มีกำลังในการทำทานและรักษาศีลให้เกิดผลยิ่งใหญ่ไพบูลย์ อาจเหมาะสำหรับคนที่รู้สึกว่ากายหรือจิตของตนเองสกปรกด้วยบาปเก่า ต้องการเครื่องทุ่นแรงในการละลายบาปสกปรกเก่าๆออกไป
    ที่มา : http://www.dhammajak.net

     อานิสงส์การกวาดลานวัด
        เรื่องของพระนางโรหิณี
     พระนางโรหิณีนั้นเป็นพระกนิษฐภคิรี ( น้องสาว ) ของพระอนุรุทธเถระ พระอนุรุทธะนั้น ท่านมีพี่น้อง ๓ คน คือ
     ๑ . พระมหานามะ ๒. พระอนุรุทธะ ๓ พระนางโรหิณี
    พระอนุรุทธะ บิดาของ พระนางโรหิณีนั้นเป็นพระกนิษฐภคิรี ( น้องสาว ) ของพระอนุรุทธเถระ พระอนุรุทธะนั้น ท่านมีพี่น้อง ๓ คน คือ :-

     ๑ . พระมหานามะ

     ๒. พระอนุรุทธะ

     ๓. พระนางโรหิณี
    พระอนุรุทธะ บิดาของท่านคือ พระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระกนิษฐภาดา ( น้องชาย ) ของพระเจ้าสุทโธทนะ เพราะฉะนั้น พระอนุรุทธะนั้นจึงเป็นลูกผู้พี่ผู้น้องของพระพุทธเจ้า
    วันหนึ่ง พระอนุรุทธะได้เดินทางไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ อันเป็นบ้านเดิมของท่าน เมื่อไปแล้ว พวกบรรดาพระญาติก็มาหาท่านเป็นจำนวนมาก แต่ยังขาดอยู่คนหนึ่งไม่ได้ไปพบ นั้นก็คือพระนางโรหิณี พระอรนุรุทธะจึงถามพวกพระญาติที่มาพบว่า น้องหญิงไปไหนเสียจึงไม่มา ก็ได้รับการบอกว่าอยู่ที่พระตำหนัก ท่านก็ถามว่า ทำไมจึงไม่มา ก็ได้รับคำตอบว่า พระนางเป็นโรคผิวหนังมีแผลพุพองคันไปทั่วทั้งตัวจึงไม่กล้ามา
    พระอนุรุทธะก็ให้คนไปตามมาพบให้ได้ พอพระนางมาแล้วไหว้พระเถระ ๆ ก็ถามว่าทำไมไม่มา พระนางก็เรียนว่าตนเป็นโรคผิวหนังอันไม่งามจึงไม่มา ก็เพราะความละอาย
     พระอนุรุทธะเถระก็กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นเธอจงสร้างศาลาขึ้น ๑ หลัง เป็นศาลาโรงฉันสำหรับภิกษุสงฆ์
    พระนางโรหิณีก็เรียนถามว่า "กระหม่อมฉันจะเอาเงินที่ไหนมาสร้าง"
    พระเถระก็พูดว่า "เครื่องประดับของเธอไม่มีบ้างหรือ?"
    พระนางก็เรียนว่า "มีเครื่องประดับอยู่"
    พระเถระถามว่า "ราคาประมาณเท่าไร"
    พระนางเรียนว่า "ประมาณหนึ่งหมื่นกหาปณะ"
   พระเถระจึงบอกว่า "เธอจงขายเครื่องประดับนี้เสียแล้วนำไปสร้างศาลาโรงฉัน"
   พระนางก็ถามว่า "แล้วใครจะช่วยสร้างให้ เพราะไม่มีคนสร้าง พระเถระก็มองดูพระญาติ ๆ ทั้งหลายซึ่งมานั่งอยู่เป็นจำนวนมากแล้วพูดขึ้นว่า ให้พระญาติทั้งหลายนั้นช่วยจัดการเรื่องนี้ ช่วยกันสร้างศาลานี้ บรรดาพระญาติทั้งหลายก็รับคำจัดการสร้างให้"
    พอศาลาโรงฉันสร้างเสร็จ พระนางก็มีจิตผ่องแผ่วเกิดปีติโสมนัสยิ่ง เริ่มไปปัดกวาด ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉันไว้ แล้วพระนางก็เริ่มปฎิบัติถือศีลฟังธรรมตามกาล โรคเรื้อนหรือโรคผิวหนังที่พระนางเป็นอยู่ก็เริ่มแห้งราบลงไป ๆ เมื่อถึงวันฉลองศาลาโรงฉัน พระนางก็ได้ให้คนไปนิมนต์พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้มาเสวยที่
โรงฉันหลังนั้น พระพุทธเจ้าทรงรับแล้วได้เสด็จมาเสวยพระกระยาหารในที่นั้น    พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสถามว่านี้เป็นทานของใคร พระอนุรุทธเถระก็ทูลตอบว่า นี้เป็นทานของพระนางโรหิณี ผู้เป็นพระน้องนาง
    พระพุทธองค์ทรงตรัสถามว่า "พระนางโรหิณีไปอยู่ที่ไหนเสียเล่า?"   

    พระอนุรุทธเถระทูลตอบว่า "อยู่ที่พระตำหนักไม่กล้ามา เพราะละอายที่ตนเป็นโรคผิวหนังอันน่ารังเกลียด"

    พระพุทธองค์จึงทรงตรัสรับสั่งให้ไปตามพระนางมา เมื่อพระนางมาแล้วก็ทำการถวายบังคม แล้วก้มหน้านิ่ง
    พระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระนางว่า ทำไมไม่มา
    พระนางก็ทูลตอบว่า ตนเป็นโรคผิวหนังอันพุพองเป็นที่น่ากลัวน่ารังเกลียด จึงได้มีความละอาย เลยไม่กล้าที่จะมา
เข้าเฝ้า
    พระพุทธองค์ทรงตรัสถามว่า "เธอทราบไหมว่า ทำไมจึงเป็นโรคผิวหนัง"
    พระนางทูลตอบว่า "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
    พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ที่เป็นโรคผิวหนังพุพองนั้นก็เพราะความโกรธที่เธอทำไว้ในชาติก่อน จึงทำให้เป็นโรคผิวหนังเป็นแผลพุพองอันน่าเกลียด และพระองค์ได้ยกอดีตนิทานของพระนางโหริณีในชาติก่อนมาตรัสเล่าว่า
   ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี พระนางนั้นได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสี พระนางมีความผูกจิตริษยาอาฆาตแค้นในหญิงนักฟ้อนรำของพระราชาองค์นั้น ( อาจเป็นเพราะพระราชาโปรดปราณหญิงนักฟ้อนรำคนนั้นมากก็ได้ ทำให้พระนางริษยาแค้นเคืองหนักหนา ) พระนางทรงรับสั่งให้เรียกหญิงนักฟ้อนรำนั้นเข้ามาที่พระตำหนักแล้วตรัสสั่งคนให้เอาผงเต่าร้างโปรยบนผ้าที่นอนของหญิงนักฟ้อนรำนั้น นอกจากจะโรยที่นอนแล้วก็ให้โปรยบนผ้าห่มด้วย เมื่อหญิงนักฟ้อนรำเข้ามาเฝ้า พระนางก็ทรงโปรยผงเต่าร้างลงไปที่ตัวของนางนักฟ้อนรำแล้วทำเป็นหัวเรอะเล่นหญิงนักฟ้อนรำนั้นเมื่อโดนผงเต่าร้างโรยมาที่ตัวก็ให้คันเหลือประมาณได้รับทุกขเวทนายิ่ง ตามตัวก็พุพองขึ้นเป็นเม็ดน้อยเม็ดใหญ่ เมื่อเม็ดพุพองขึ้นมาก็เกา เกาหาที่คันเม็ดตุ่มคันก็เเตกเป็นแผล เมื่อนางไปนอนบนที่นอนก็ถูกผงเต่าร้างกัดที่นอนนั้น นางได้รับทุกข์เวทนาอย่างแรงกล้า
    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เพราะกรรมอันนี้เอง เธอจึงเป็นโรคเรื้อนเพราะความริษยา เพราะความโกรธนี้เองจึงเป็นเหตุให้เธอต้องรับทุกข์เวทนาเช่นนี้ ในที่สุด พระพุทธองค์จึงทรงตรัสแสดงธรรมกับพระนางขึ้นว่า
    “ บุคคลไม่พึงโกรธ พึงสละความถือตัวเสีย ควรล่วงสังโยชน์เสียให้สิ้น ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกแก่บุคคลเช่นนั้น ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ”
    เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม พระนางก็พิจารณาตามกระแสแห่งพระสัทธรรมนั้น และในที่สุดพระนางก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น เมื่อพระนางสำเร็จโสดาบันในครั้งนั้น พระนางก็มีผิวพรรณวรรณะดุจทองคำในขณะนั้นเอง นี่เป็นผลอานิสงส์จากการที่พระนางได้สร้างศาลาโรงฉันแล้วก็ได้ปฎิบัติธรรมปัดกวาดศาลา
โรงฉัน ตั้งน้ำใช้น้ำฉันเป็นต้น
       อานิสงส์ของการกวาดลานวัด
    คนโบราณเขาเชื่อถือกันมาว่า ผู้ที่มีโรคผิวหนังพุพองหรือโรคเรื้อน ถ้าได้มาเก็บขยะเก็บใบไม้ที่ล่วงหล่นปัดกวาดลาดวัดให้สวยงามสอาดตาแล้วนั้น เชื่อกันว่าจะทำให้ผิวพรรณวรรณะงดงามและทำให้โรคร้ายหายไปได้ การกวาดวัดนี้มีอานิสงส์ถึง ๕ อย่างคือ
    ๑. บุคคลเห็นเข้าก็เลื่อมใส
    ๒. เทวดาเห็นเข้าก็เลื่อมใส
    ๓. จิตของผู้กวาดตั้งสมาธิได้เร็ว
    ๔. ผิวพรรณวรรณผ่องใส
    ๕. เมื่อตายดับสังขารจากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบังเกิดในภพภูมิสวรรค์
    นี่คือผลอานิสงส์ของการเก็บปัดกวาดลานวัด ส่วนพระนางโรหิณีกวาดศาลาที่พระนางสร้างเองนั้น เมื่อพระนางสิ้นชีพแล้วก็ไปบังเกิดบนสวรรค์ดาวดึงส์ แต่สถานที่พระนางไปเกิดนั้นแปลกกว่าคนอื่น คือ ไม่ได้ไปเกิดในวิมานของใคร  พระนางไปเกิดอยู่ในระหว่างพรหมเทพบุตรทั้ง ๔ จึงเกิดปัญหาขึ้น เทพบุตรทั้ง ๔ ต่างก็พูดว่า นางเทพธิดานี้เป็น
สมบัติของตน ต้องการจะเอามาเป็นภรรยา เมื่อตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดก็นำเรื่องไปกราบทูลท้าวสักกเทวราชเพื่อให้ทรงตัดสิน ท้าวสักกเทวราชทรงเห็นพระนางแล้วก็เกิดความรักขึ้นจึงตรัสถามเทพบุตรทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายเห็นนางแล้วรู้สึกอย่างไร
    เทพบุตรองค์หนึ่งได้กราบทูลว่า "เมื่อเห็นนางแล้ว จิตของข้าพระองค์เต้นแรงเหมือนกับกลองศึก ไม่อาจจะสงบนิ่งอยู่ได้"
    เทพบุตรอีกองค์ที่สองก็กราบทูลว่า "เมื่อเห็นนางแล้ว จิตของข้าพระองค์ถลนออกมาเหมือนตาปู"
    เทพบุตรอีกองค์ที่สามกราบทูลว่า "เมื่อข้าพระองค์เห็นนางแล้ว จิตของข้าพระองค์เป็นไปโดยรวดเร็ว เหมือนกับน้ำที่ตกจากภูขา"
     เทพบุตรองค์ที่สี่กราบทูลว่า "เมื่อข้าพระองค์เห็นนางแล้ว ใจเต้นเหมือนกับธงที่ปักไว้บนยอดเจดีย์ สะบัดอยู่ ไม่หยุดนิ่ง"
    ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า "ท่านทั้งสี่เห็นนางเทพธิดานี้แล้วยังพออยู่ได้ แต่ข้าพเจ้านี้ ถ้าหากไม่ได้นางเทพธิดาองค์นี้เป็นพระชายาแล้วจะต้องตาย"
    เทพบุตรทั้งสี่นั้นก็กราบทูลว่า "พวกข้าพระองค์ไม่ต้องการให้พระองค์ถึงสวรรคต ขอมอบนางเทพธิดาองค์ให้เป็นสิทธิ์ของพระองค์"
    ดังนั้น พระนางโรหิณีที่ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ได้เป็นที่โปรดปรานของท้าวสักกเทวราช

             อานิสงส์ทำความสะอาดวัด
           
โดยหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง
   หลวงพ่อ : ตัวอย่างก็คือน้องสาวของพระอนุรุทธ น้องสาวของท่านเป็นโรคเรื้อน เวลาพระพุทธเจ้าไปเทศน์เธอก็ไม่ออกมาเพราะอายต่อมาวันหนึ่งพระอนุรุทธก็ไปถามว่า
“พระพุทธเจ้ามาทำไมจึงไม่ฟังเทศน์”
เธอตอบว่า “เธอเป็นสาว เป็นโรคเรื้อนก็อาย”
   พระอนุรุทธก็บอกว่า “ถ้าอย่างนั้นหาเวลาทำบุญให้ทำแบบนี้เวลาที่พระไปบิณฑบาตก็จัดสถานที่กวาดสถานที่ จัดน้ำใช้น้ำฉันให้พระ”
   เธอก็ทำแบบนั้นทุกวัน ทำไป ๆ ไม่ช้าโรคเรื้อนมันก็หายไปทีละหน่อย ๆ เพราะทำด้วยจิตใจเคารพต่อมาก็หายสามารถมาไหว้พระได้ มาฟังเทศน์ได้  ต่อมาเธอก็ตาย ตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกไปเกิดระหว่างวิมานของเทวดา ๔ องค์ เธอสวยมาก เพราะอานิสงส์กวาดพื้นที่ จัดพื้นที่เพราะฉะนั้นใครที่ถวายไม้กวาดจะสวยเหมือนกัน อันนี้เรื่องจริงนะ ไม้กวาดทำให้พื้นที่สะอาด อานิสงส์มาสนอง”
จากหนังสือหลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษเล่ม 4 (เครดิตเว็บแดนนิพพาน)
        อานิสงส์ของการกวาดลานวัด
   คนโบราณเขาเชื่อถือกันมาว่า ผู้ที่มีโรคผิวหนังพุพองหรือโรคเรื้อน ถ้าได้มาเก็บขยะเก็บใบไม้ที่ล่วงหล่นปัดกวาดลาดวัดให้สวยงามสอาดตาแล้วนั้น เชื่อกันว่าจะทำให้ผิวพรรณวรรณะงดงามและทำให้โรคร้ายหายไปได้ การกวาดวัดนี้มีอานิสงส์ถึง ๕ อย่างคือ
     ๑. บุคคลเห็นเข้าก็เลื่อมใส
     ๒. เทวดาเห็นเข้าก็เลื่อมใส
     ๓. จิตของผู้กวาดตั้งสมาธิได้เร็ว
     ๔. ผิวพรรณวรรณผ่องใส
     ๕. เมื่อตายดับสังขารจากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบังเกิดในภพภูมิสวรรค์
    เป็นสิ่งที่เล่าขานกันมา ว่าบางคนเป็นโรคผิวหนังอันเกิดจากกรรมเก่าได้รับคำแนะนำให้ทำความสะอาดส้วมในวัดติดต่อกันเป็นเดือนๆหากทำด้วยจิตที่ผ่องใสและปลาบปลื้มใจเต็มกำลัง บุญใหม่ก็อาจมีกำลังมากพอจะละลายบาปเก่าให้เบาบางลงได้กรรมวิบากเกี่ยวกับเรื่องนี้ต้องนำทั้งกายและจิตมาอธิบายควบคู่กันไป ขอให้คิดว่า การนำสิ่งสกปรกออกจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ก็คือการนำเอาความสะอาดอันศักดิ์สิทธิ์เข้าสู่จิตใจ แม้ไม่สามารถอธิบายตามหลักทางวิทยาศาสตร์ว่าความปลาบปลื้มที่ได้ทำความสะอาดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ไปกระตุ้นให้สารชนิดไหนหลั่งออกมา แต่คุณก็จะรู้สึกว่าสมเหตุสมผล เมื่อเห็นว่าจิตตัวเองสะอาดขึ้น
   การขันอาสาเข้าไปล้างส้วมวัดด้วยความเต็มใจของตนเองนั้น ยังมีอานิสงส์อีกมาก เช่นทำให้เป็นผู้มีความคิดดี จิตใจห่างไกลจากความคิดสกปรกน่ารำคาญใจ เมื่อจะทำทานก็สามารถทำได้ด้วยใจบริสุทธิ์ ตลอดจนกระทั่งเป็นผู้มีกำลัง สามารถรักษาศีลได้ง่าย สรุปคือถ้าคิดเสียสละแรงกายแรงใจไปทำความสะอาดวัด คุณจะเป็นผู้มีกำลังในการทำ
ทานและรักษาศีลให้เกิดผลยิ่งใหญ่ไพบูลย์ อาจเหมาะสำหรับคนที่รู้สึกว่ากายหรือจิตของตนเองสกปรกด้วยบาปเก่า ต้องการเครื่องทุ่นแรงในการละลายบาปสกปรกเก่าๆออกไปครับ

                  กัณฑ์ที ๘

               กัณฑ์เทศน์เรื่องความตาย

   

           นะ  มิยยะมานัง  ธะนะมันเวติ  กิญจิ ฯ

           =เมื่อคนตายไปแล้วสมบัติสักนิดก็ติดตัวไปไม่ได้ ฯ

    ๐คำว่าสมบัติในที่นี้หมายถึงสมบัติภายนอกและสมบัติภายใน

      -สมบัติภายนอก  ได้แก่ ที่ดินเรือกสวนไร่นา  ตึกรามบ้านช่อง   รถเรือ   แก้วแหวนเงินทอง   เพชรนิลจินดา

      -สมบัติภายใน   ได้แก่อริยทรัพย์  ๗  ประการ  คือ  ทาน  ศีล  หิริ  โอตตัปปะ  พาหุสัจจะ  จาคะ  ปัญญา  ทรัพย์ภายในจัดเป็นทรัพย์อันประเสริฐที่เราสามารถนำติดตัวไปได้ในเวลาตาย

    มันเป็นความจริงที่ใครจะปฏิเสธไม่ได้ว่า "ทุกคนที่เกิดมาแล้วในโลกนี้เมื่อตายไปแล้วก็จะทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้บนโลกนี้ ไม่สามารถจะนำเอาอะไรติดตัวไปได้เลย มาตัวเปล่าก็ไปตัวเปล่า  สิ่งที่จะติดตามตัวเราไปได้ก็มีอยู่ ๒ อย่าง  คือ บุญและบาป  บุญและบาปนี่มันก็แปลกมันสามารถติดตามเราไปได้ทุกหนทุกแห่ง  เมื่อเราสร้างมันแล้วมันก็จะฝั่งแน่นอยู่ในจิตวิญญาณของเราๆจะไปเกิดในภพไหนภูมิไหนมันก็จะติดตามตัวเราไปเหมือนเงาตามตัว  ความจริงข้อนี้พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วพระองค์ก็ได้นำมาสั่งสอนมนุษย์ไม่ให้มัวเมาลุ่มหลงในสิ่งที่เราเอาไปไม่ได้ ให้รู้จักเสียสละแบ่งปั้นคือบริจาคทานสิ่งของๆตนให้แก่ผู้อื่น  เมื่อเรารู้จักการบริจาคทานสิ่งของๆเราให้แก่ผู้อื่น สิ่งที่เราให้แล้วนั้นมันก็จะกลายเป็นบุญที่เราสามารถจะนำมันติดตัวไปได้  เงินที่มีอยู่ในธนาคารและทรัพย์สมบัติคือที่ดินเรือกสวนไร้นาตึกรามบ้านช่องไม่นานเราก็จะละทิ้งมันไป พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราฉลาดมีสติระลึกให้ได้ว่าก่อนที่เราจะจากมันไปเราจะต้องทำมันให้เกิดเป็นประโยชน์ทั้งคนอยู่และคนตาย  คนอยู่ก็คือลูกผัวหรือลูกเมียที่ยังไม่ตายของเรา คนตายก็หมายถึงตัวเรานั่นเอง  เมื่อเรายังมีลมหายใจอยู่เราก็ยังสามารถที่จะจัดการมันได้  แต่ถ้าวันไหนเราหมดลมหายใจไปแล้วเราก็หมดสิทธิ์ที่จะจัดการมัน  เพราะคนที่ตายไปแล้วไม่สามารถที่จะไปเบิกเงินในธนาคารมาจับจ่ายใช้สอยได้  แม้ทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่เราหวงแหนเอาไว้เช่นที่ดินเรือกสวนไร่นาตึกรามบ้านช่องที่มีไว้เป็นจำนวนมากคนตายไปแล้วก็ไม่สามารถที่จะเข้าจัดการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับใครตามใจปราถนาได้ 

    พูดง่ายๆก็คือหมดสิทธิ์ที่จะทำตามใจชอบเหมือนที่ยังมีชีวิตได้  ทำไมเมื่อตอนมีชีวิตอยู่เราถึงไม่ทำก็เพราะว่าเราตกอยู่ใต้อำนาจของความโลก มันเลยทำให้เราโง่เขลาเบาปัญ ญาปิดบังสภาพความเป็นจริงของมันเอาไว้  เราคิดว่ามันเป็นของๆเราก็จะต้องอยู่กับมันตลอดไป ตอนที่เรามีชีวิตอยู่เราไมเคยคิดถึงความตายเพราะเรากลัวความตายจะมาทำให้เราต้องพลัดพรากไปจากทรัพย์สมบัติที่มีอยู่  เราวิ่งหนีสภาพความเป็นจริงที่ว่า "กลัวตายหรือไม่กลัวตายเราก็ต้องตายอยู่เอง หนีไม่พ้น"   พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้ความจริงที่ว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้หรือภูเขาเมื่อถึงกาลเวลาของมัน  สิ่งเหล่านี้มันก็จะแตกสลายไปในที่สุดมันไม่ใช่ของเราๆมาอาศ้ยมันเพียงชั่วครั้งชั่วคราว  ถ้าเราไม่ลุ่มหลงมันเราก็จะใช้มันให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ ดังที่ข้าพเจ้าจะยกตัวอย่างมาให้ท่านทั้งหลายพิจารณาดูดังนี้

    ที่บ้านเกิดของข้าพเจ้ามียายแก่คนหนึ่งชื่อว่า "คุณยายดำ" ที่แกชื่อยายดำเพราะแก่มีผมไม่หงอกแม้แต่เส้นเดียวถึงแกจะมีอายุถึง ๙๙ ปีก็ตาม  แกไม่ได้ย้อมผมเหมือนคนในสมัยปัจจุบัน แก่สระผมด้วยน้ำมะกรูดที่เผาไฟแล้วผสมกับน้ำซาวข้าวสระผมทุก ๗ วัน  แต่สวนที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ผมแกดำ  ข้าพเจ้คิดว่าจะเป็นที่อารมณ์ของแกมากกว่า ข้าพเจ้าอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกับแก ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นแกโมโหโทโสด่าทอผู้ใดเลยทั้งในบ้านและนอกบ้าน แกจะควบคุมอารมณ์ได้ดีมาก แกจะแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นด้วยเหตุผลและความละมุนละม่อมยินดีด้วยกันทั้งสองฝ่ายจะไม่ทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นศัตรูแก่กันและกัน  แกไม่นิยมแก้ปัญหาด้วยความโกรธและความอาฆาตเคียดแค้นต่อกันซึ่งมันจะเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นเวรต่อกันและกันไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณยายดำคนนี้แก่ชอบการทำบุญให้ทาน  ข้าพเจ้าสังเกตุเห็นว่า แก่ใส่บาตรทุกวันไม่เคยเว้นนอกเสียจากว่าแก่เจ็บป่วยเท่านั้น  เดือนหนึ่งแก่จะทำสังฆทานครั้งหนึ่งคือจะทำในวันพระแรกของเดือนทุกเดือน  พอออกพรรษาถ้าวัดไหนไม่มีกฐินแก่ก็จะจัดตั้งกองกฐินนำไปถวายที่วัดนั้น

    พอถึงวัยที่แก่ตัวลง ไปไหนมาไหนก็ลำบาก วันหนึ่งแก่เรียกลูกสาวลูกชายลูกสะใภ้และลูกเขยมาประชุมกันและแกก็พูดว่า "แม่ก็แก่ชรามากแล้วเมื่อแม่ตายไปแล้วแม่ไม่อยากให้ลูกๆมาทะเลาะเบาะแว้งแย่งทรัพย์สมบัติกันเหมือนครอบครัวอื่น แม่ก็ได้ส่งเสียให้ลูกทุกคนได้รับการศึกษาและได้ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว ยังเหลืออยู่แต่ที่ดินแปลงหนึ่งมีที่ดินอยู่ ๓๐ ไร่  แม่จะแบ่งที่ดินให้พวกเธอดังนี้

    ๑.ลูกชายทั้งสองคนแม่ให้คนละ ๕ ไร่

    ๒.ลูกสาวทั้งสองคนแม่ให้คนละ ๕ ไร่

    ๓.เหลือที่อีก ๑๐ ไร่ แม่จะแบ่งเป็นดังนี้

       -ที่ดิน ๕ ไร่  ให้แก่ลูกสาวที่เลี้ยงดูแม่คืออยู่บ้านกับแม่

       -ที่ดินที่เหลืออีก ๕ ไร่  แม่จะขายเอาเงินฝากธนาคารไว้  เงินที่ขายที่ได้ทั้งหมดให้พวกลูกๆจัดเป็นดังนี้

          ๑.เวลาแม่ได้ตายไปแล้วให้เอาเงินที่ฝากเอาไว้ในธนาคารมาทำบุญงานศพให้กับแม่

          ๒.เมื่อถึงเวลาแจกข้าวให้แม่ ก็ให้เอาเงินที่ฝากไว้มาทำบุญ พวกเธอทั้งหลายไม่ต้องเสียเงินให้เอาเงินส่วนที่ฝากใว้นี้มาทำบุญ

         ๓.เงินที่เหลือจากการทำบุญทั้งหมดให้เอาไปสร้างกุฏิถวายวัดหนึ่งหลังแล้วอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แม่  ส่วนเงินที่เหลือจากการสร้างกุฏิให้มอบถวายเป็นสมบัติของวัด ท่านจะเอาไปบูรณะซ่อมฉวมที่ไหนก็แล้วแต่ท่าน

        ๔.งานทำบุญงานศพและงานแจกข้าวห้ามไปซื้อสัตว์มาฆ่าเลี้ยงคนให้ไปซื้อที่เขาฆ่าไว้แล้ว

    ข้าพเจ้าเห็นวิธีจัดแจงทรัพย์สมบัติของคุณยายดำแล้วรู้สึกเลื่อมใสในวิธีการจัดแจงของแก่จริงๆ คนจะทำอย่างนี้ได้ต้องเป็นฉลาดมีวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ  ตอนแก่ตายข้าพเจ้าก็ได้ไปดูศพของแก่ที่อยู่ในโลง เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นศพของแกแล้ว ข้าพเจ้าซักเอะใจทำไมไม่เหมือนคนตาย เหมือนกับกับคนนอนหลับดีๆนี่เอง หน้าตาอิ่มเอิบไม่ซีดเซียวและหมองคล่ำ ไม่เหมือนบางคนเวลาตายหน้าตาดำคล่ำเศร้าหมองแลบลิ้นปลิ้นตาไม่ต่างอะไรกับเปรตเลยหละ

    บุญกุศลทีญาติโยมทำอุทิศไปให้แก่พ่อแม่ญาติน้องแล้วมันจะถึงแก่พวกเขาหรือไม่มันจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ  ๔  ประการ  ดังนี้

     ๑.พระที่รับทานต้องเป็นพระปฏิบัติดีมีศีลธรรม  เช่น  พระโสดาบัน   พระสะกะทามี  

พระอนาคามี   พระอรหันต์   หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า

     ๒.วัตถุทานที่ให้มี ๑๐ อย่าง คือ  ข้าวหนึ่ง   น้ำหนึ่ง   ผ้าหนึ่ง   ยานหนึ่ง   ดอกไม้หนึ่ง   ของหอมหนี่ง   เครื่องลูบไล้หนึ่ง   ที่นอนหนึ่ง   ที่พักอาศัยหนึ่ง   ประทีปหนึ่ง  สิ่งอื่นนอกจากนี้ไม่จัดเป็นวัตถุทาน  สิ่งเหล่านี้ต้องได้มาด้วยความบริสุทธิ์ คือไม่ลักขโมยปล้นจี้ฉกชิงวิ่งราวเขามาทาน

     ๓. ในขณะที่กำลังให้ทานต้องมีเจตนาดีไม่ให้ด้วยความโลภที่แอบแฝงอยู่ในใจ

          ๓.๑ปุพพะเจตนา   คือก่อนที่จะให้ทานต้องมีใจดี

          ๓.๒มุญจะนะเจตนา  คือในขณะที่กำลังให้ทานต้องมีใจยินดีในการบริจาคทาน

          ๓.๓อะปะราปะระเจตนา  คือเมื่อบริจาคทานไปแล้วต้องมีใจชื่นชมโสมนัสยินดีในการบริจาคทานนั้น ไม่คิดระแวงสงสัยในการบริจาดทานที่ให้ไปแล้ว

                อริยทรัพย์คือสมบัติภายใน

    ๐อริยทรัพย์คือ สมบัติภายในที่ทุกคนต้องแสวงหาก่อนจะสิ้นลมหายใจแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด  คือ:-

       ๑.ทาน    แปลว่า "การให้"  ให้อะไรบ้างจึงจะจัดเป็นทาน

       ๒.ศีล     แปลว่า "การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย"       

       ๓.หิริ     แปลว่า "ความละอายต่อการทำบาป"

       ๔.โอตตัปปะ     แปลว่า "ความเกรงกลัวต่อการทำบาป"

       ๕.พาหุสัจจะ     แปลว่า "ได้เรียนรู้และได้ยินได้ฟังมามาก"

       ๖.จาคะ     แปลว่า "การเสียสละหรือการแบ่งปัน"

       ๗.ปัญญา     แปลว่า "ความรอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์"

                               ทาน

    ๐ทาน   แปลว่า "การให้"  เราจะให้อะไรบางเป็นทาน   ในพระพุทธศาสนาสิ่งที่จะให้เป็นทานได้พระพุทธองค์ทรงอนุญาติไว้ ๑๐ ประการด้วยกัน  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วัตถุทาน ๑๐ ประการ "  วัตถุทานที่จะจัดเตรียมถวายพระมีอยู่ ๑๐ ประการ   คือ:-

      ๑.ข้าว      ข้าวแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด   คือ ข้าวเหนียวและข้าวจ้าว   ข้าวที่นิยมให้เป็นทานมี ๓ ชนิด  เช่น:-

          ๑.๑ข้าวสุก     คือข้าวที่นึ่งหรือหุงให้สุกดีแล้ว

          ๑.๒ข้าวสาร    คือข้าวที่ยังไม่ได้นึ่งหรือหุงให้สุก

          ๑.๓ข้าวเปลือก  คือข้าวที่ยังไมได้สี วัดทางภาคอิสานบางวัดเมื่อญาติโยมนวดข้าวเสร็จแล้วก่อนจะนำข้าวขึ้นฉาง (ทางภาคอิสานเรียกว่าเหล้า) จะต้องแบ่งข้าวถวายวัดหลังคาเรือนละ ๓ กระบุง   คนสมัยก่อนท่านตั้งใจทำบุญกันจริงๆ

          -ขนมนมเนยและผลไม้ต่างๆก็จัดเข้าอยู่ในกลุ่มนี้

      ๒.น้ำ    น้ำที่นิยมให้เป็นทานมีอยู่  ๓  ชนิด   คือ:-

          ๒.๑น้ำเย็น

          ๒.๒น้ำร้อน

          ๓.น้ำอัดลม

     ๓.ผ้า   ผ้าที่นิยมถวายแก่พระเณร

        ๓.๑ผ้าไตรจีวร  คือผ้า ๓ ผืน  คือ ผ้าจีวร   ผ้าสบง   ผ้าสังฆาฏิ  ผ้าอังสะ   ผ้าอาบน้ำฝน   ผ้ากราบ

        ๓.๒ผ้าห่ม  มุ้ง   หมอน   ผ้าปูนอน   และฝูกหมอน

        ๓.๓สื่อสาด

    ๔.ยาน    แปลว่า "เครื่องนำพา"  เช่น

        ๔.๑รถทุกชนิด   ห้ามรถม้าเพราะมันทรมานสัตว์

        ๔.๒เรือทุกชนิด   ห้ามเรือบินและเรือยนต์ใหญ่ เช่น เรือยอร์ช    ในกรุงเทพฯ บางแห่งเช่นคลองบางหลวงพระพายเรือบิณฑบาต

        ๔.๓ร่ม     นิยมสีดำและสีเหลือง

        ๔.๔รองเท้า    เช่น  รองเท้าแตะ   รองเท้าหุ้มส้นไม่ได้

     ๕.ดอกไม้ทุกชนิด   เช่นดอกบัว   ดอกดาวเรือง   ดอกมะลิ

     ๖.ของหอม     เช่น  น้ำมันเหลือง   น้ำอบไทย   ยาหอมชนะลม

     ๗.เครื่องลูบไล้    เช่น  เช่นยาหม่อง   น้ำมันทาถูนวด  สบู่  ผงซักฟอก  น้ำยาล้างจาน  น้ำยาล้างห้องน้ำห้องส้วม

     ๘.ที่นอน    เช่น  เสื่อสาดฝูกหมอนและมุ้ง

     ๙.ที่พักอาศัย     เช่น  โบสถ์   ศาลา   กุฏิ   วิหาร

     ๑๐.ประทีป     เช่นเทียนและธูป  ตะเกียง   ไฟฉาย

      เพิ่มเข้ามาใหม่อีก  ๕  อย่าง ที่เกี่ยวกับประทีป  คือ:-

       ๑.โทรศัพท์

       ๒.พัดลม

       ๓.แอร์

       ๔.ตู้เย็น

       ๕.คอมพิวเตอร์

       ๖.หลอดไฟฟ้า

                       ศีล

    ๐ศีล  คือการรักษากาวาให้เรียบร้อย  ศีลที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นพระเณรหรือเป็นโยมทุกคนจะต้องมี  ปกติพระจะต้องมีศึล ๒๒๗ ข้อ  แต่ถ้าพระไม่มีศีล ๕ ความเป็นพระก็จะหมดไปในทันที  ศีลมี  ๕  ข้อ  ดังนี้

      ๑.ปาณาติปาตาเวรมณี    คือให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ทุกชนิด

      ๒.อทินนาทานาเวรมณี   คือให้งดเว้นจากการลักขโมยปล้นจี้ฉกชิงวิ่งราว

      ๓.กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี   คือให้งดเว้นจากการเล่นชู้

      ๔.มุสาวาทาเวรมณี   คือให้งดเว้นจากการพูดจาโกหกมดเท็จหลอกลวงต้มตุ๋นผู้อื่น

      ๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานาเวรมณี   คือให้งดเว้นจากการดื่มเหล้าเบียรบุหรี่และยาเสพติดทุกชนิด

                    หิริ

    ๐หิริ   คือความละอายใจในการทำบาป  เมื่อหิริมันเกิดขึ้นในใจมันจะละการทำบาปได้  เช่น นางซิวเดินไปไร่ทุกวัน  วันหนึ่งหล่อนเดินผ่านไร่แตงโมที่เพื่อนบ้านปลูกเอาไว้  หล่อนมองเห็นแตงโมลูกหนึ่งสวยน่ากินมาก  หล่อนเดินเข้าไปหาแตงโมแล้วเอามือขวาลูบลูกแตงโมนั้นแต่เพียงเบาๆ และหล่อนก็พูดเบาๆว่ามันช้งน่ากินเสียเหลือเกิน  หล่อนเหลียวซ้ายแลขวาคิดจะลักแตงโมไปกิน ในขณะนั้นหล่อนก็เกิดความคิดขึ้นในใจว่า ถ้าเราลักแตงโมเขาไปเราก็จะผิดศีลข้อที่ ๒ คืออทินนาทาน  ห้ามลักขโมยของผู้อื่น  นับเป็นการทำบาปที่ให้อภัยไม่ได้  อย่ากระนั้นเลยเราหาเงินไปซื้อกินดีกว่า แตงลูกลูกหนึ่งก็ไม่กี่ตางต์เพียง ๒๐ - ๓๐ บาทเท่านั้น  เราจะมาทำบาปเพราะแตงโมลูกเดียวดูไม่เหมาะสมเลย เมี่อหล่อนคิดได้ดังนี้หล่อนก็เดินหนีจากลูกแตงโมใบนั้นไป  ความละอายใจเกิดขึ้นเพราะหล่อนเคยเรียนรู้และจำโทษของมันได้  หล่อนจึงยับยั่งชั่งใจเอาไว้ได้

                โอตตัปปะ

    ๐โอตตัปปะ    คือความเกรงกลัวต่อการทำบาป   เมื่อโอตตัปปะมันเกิดขึ้นในใจมันก็สามารถยับยั่งการทำบาปได้  เช่น  นายวิ๋งเกิดไปรักใคร่ นางสาว อิ๋ง  และนายติงสะก็ไปหลงรักใคร่กับ นางสาวอิ๋ง เข้าไปอีกก็กลายเป็นรักสามเส้า  นายวิ๋งรักนางสาวอิ๋งมาก นางสาวอิ๋งอยากได้อะไรก็หาให้ได้หมดนอกจากเดือนและดาวเท่านั้น  นางสาวอิ๋งไม่ชอบนายวิง  แต่กลับไปชอบนายติงสะเพราะมีนิสัยใจคอเข้ากันได้ดี  นายวิ๋งรู้ตัวว่านางสาวอิ๋งไม่ชอบตัวก็เกิดโทษะชึ้นในใจคิดว่า "ถ้าเราไม่ได้นางสาวอิ๋งเป็นเมีย นายติงสะก็จะไม่ได้เหมือนกัน"

เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วเขาก็ตัดสินใจที่จะฆ่านายติงสะเสีย  เมื่อนายติงสะตายแล้วศัตรูความรักของเราก็จะหมดไป

    วันหนึ่งนายวิ๋งจับเอาปืนลูกซองเดินไปดักซุ้มอยู่ที่ป่าละเมาะบนทางที่นายติงสะจะกลับบ้าน เมื่อนายวิ๋งเห็นนายติงสะขี่รถมาก็เล็งปืนใส่นายติงสะ  ในขณะที่นายวิ๋งเล็งปืนอยู่นั้น

ในบัดดลนายวิ๋งก็เกิดความคิดขึ้นว่า ถ้าเราฆ่านายติงสะตาย เราก็จะกลายเป็นนัดโทษจำคุกตลอดชีวิต  นางสาวอิ๋งก็จะรังเกลียดเรา  เมื่อเราถูกจำคุกตลอดชีวิต นางสาวอิ๋งก็จะมีแฟนใหม่  เราก็จะไม่ได้นางเป็นเมีย  คิดดูแล้วมีแต่เสียกับเสีย  นางสาวอิ๋งเราก็ไม่ได้แถมยังเป็นนักโทษจำคุกตลอดชีวิตอีก  มันช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร  เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วนายวิ๋งก็แบกปืนหนีไปอย่างไร่ร่องรอยตราบเท่าทุกวันนี้

                พาหุสัจจะ

    ๐พาหุสัจจะ   คือการได้เห็นได้ได้ยินได้ฟังและได้เรียนรู้มามาก   ถ้าเราได้ยินได้ฟังและเรียนรู้ธรรมะและความถูกต้องมามากเราก็จะสามารถยกเอาความรู้นั้นมาเปรียบเทียบผลได้ผลเสียที่จะเกิดขี้นได้  ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของ  ความโลภ  ความโกรธ  และความหลง อันจะเป็นเครื่องนำทางไปสู่ความวิบัติฉิบหายได้  พาหุสัจจะนี้เราต้องสร้างสมเอาไว้ให้มากเพราะพาหุสัจจะตัวนี้เป็นทรัพย์ที่สำคัญมาก ในการแยกแยะบุญและบาป ถ้าเรามีน้อยเราจะแยกบุญและบาปไม่เป็นเลย  ต่อให้มีความรู้มากแค่ไหนก็ตาม  ถ้าเราได้เห็น,ได้ยิน,ได้ฟัง,ได้เรียนรู้, และได้ปฏิบัติมาน้อย  เราก็จะแยกแยะบุญและบาปไม่ออก   ดังตัวอย่าง เช่น

    ๑.เรื่องของโยมพ่อหลวงปู่แหวนกับอาชีพการตีเหล็กคือตีมีดและพร้าขาย

      หลวงปู่แหวนท่านกลับมาเยี่ยมโยมพ่อเห็นโยมพ่อตีเหล็กทำมีดพร้าขาย  หลวงปู่แหวนท่านบอกโยมพ่อว่าให้เลิกอาชีพนี้เสียเพราะอาชีพนี้มันเป็นมิจฉาชีพคืออาชีพที่เป็นบาป  โยมพ่อพูดกับหลวงปู่แหวนว่าตีเหล็กเฉยๆมันไม่บาปหรอกลูก  เราไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไ ม่ผิดศีลข้อปาณาติปาตา  ข้อนี้เราจะมองเห็นว่าโยมพ่อของหลวงปู่แหวนท่านไม่มีพาหุสัจจะแยกแยะบุญและบาปไม่ออก ท่านคิดว่าการตีเหล็กไมเป็นบาปเพราะไม่ได้ฆ่าสัตว์  แต่ตามความเป็นจริงแล้วการตีมีดตีพร้าขายมันเป็นการสร้างตัวบาปขึ้นมาให้คนอื่นไปฆ่า  เราไม่ได้ฆ่าแต่เราสร้างมันขึ้นมาให้คนอื่นไปฆ่ามันก็บาปเท่ากันนั้นแหละ หลวงปู่แหวนท่านมองในจุดนี้  เหมือนกับว่าเราไม่ได้ฆ่าคนที่เราไม่ชอบแต่เราสั่งหรือจ้างวานให้คนอื่นไปฆ่ามันก็บาปเท่ากัน ถ้ามองในแง่ของศีลธรรมการฆ่าคนเป็นบาปอย่างมหันต์  แต่ถ้ามองในแง่ของกฏหมายการสั่งฆ่าหรือจ้างวานไปฆ่าคนอื่นก็มีโทษหนักเท่ากัน

               มิจฉาชีพ  ๕  อย่าง

    ๑.การค้าขายวัตถุเครื่องประหาร   เช่น  ปืนมีดพร้า    เป็นบาป  

    ๒.การค้าขายมนุษย์   เช่น เปิดช่องขายบริการทางเพศ   เปิดบาร์   และไนท์คลับ   เป็นบาป

    ๓.การค้าขายสัตว์ที่เขาจะนำเอาไปฆ่าเป็นอาหาร     เป็นบาป

    ๔.การค้าขายน้ำเมาคือสุรายาเมาและยาเสพติด     เป็นบาป

    ๕.การค้าขายยาพิษและยาฆ่าแมลง     เป็นบาป

    การแยกแยะเรื่องตัวบุญและตัวบาปนี้ถ้าเรามีพาหุสัจจะคือได้เห็นได้ยินได้ฟังและได้ศึกษาเล่าเรียนมาน้อยเราก็จะไม่เข้าใจมันเลยถึงเราจะเห็นมันอยู่ทุกวี่ทุกวันก็ตาม  เราก็จะไม่รู้ว่าอันไหนเป็นตัวบุญอันไหนเป็นตัวบาป  ถึงได้เห็นได้ยินได้ฟังและได้ศึกษาเล่าเรียนมามากเพียงไรก็ตาม แต่ถ้าตัวขาดปัญญาเป็นเตรื่องพิจารณาไต่ตรองแล้วก็ไม่สามารถจะเข้าใจมันได้เหมือนกัน  เช่นเราสงสัยว่าทำไมคนมีความรู้มากๆที่เรานับถือกันว่าเขาเป็นคนฉลาดมีความรู้มาก เป็นเพราะเหตุใดเขายังถูกหลอกอยู่  แสดงให้เราเห็นว่าความโง่มันแอบซ่อนอยู่ในความฉลาดของเขา   คนฉลาดถ้ายังมีความโลภความโกรธและความหลงแฝงอยู่ในจิตใจ  คนฉลาดก็จะโง่ได้ตลอดเวลา

    โยมพ่อหลวงปู่แหวนทำไมท่านแยกตัวบุญตัวบาปไม่ออก  ที่ท่านแยกมันไม่ออกก็เพราะจิตใจท่านยังอัดแน่นไปด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลง  ถ้าจิตใจยังอัดแน่นไปด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลง  ตัวปัญญาคือความรอบรู้ในสิ่งที่เป็นโทษและสิ่งไม่เป็นโทษมันไม่มีในจิตใจ  นี่แหละมันถึงทำให้คนเราต้องโง่

    หลวงปู่แหวนทำไมท่านถึงรู้ว่าการตีเหล็กตีมีดตีพร้าขายมันเป็นบาป  ก็เพราะท่านมีพาหุสัจจะมากคือได้ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติทำวิปัสสนามามาก วิปัสสนาแปลว่า "การรู้แจ้งเห็นจริง"   เห็นแบบไม่มีโลภโกรธหลงมาปิดบังคือท่านเห็นว่าคนตีเหล็กตีมีดตีพร้าขายก็คือคนสร้างวัตถุเครื่องประหารอันเป็นมิจฉาชีพ ๕ ประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามเอาไว้อย่าทำ เพราะมันเป็นบาป

    ๒.เรื่องการทำบุญแจกข้าว  การทำบุญแจกข้าวเจ้าภาพบางคนคิดทำบุญครั้งใหญ่เพื่อความมีหน้ามีตาจะต้องจัดเตรียมอาหารไว้เลี้ยงแขกคนเป็นจำนวนมาก  โดยการซื้อสัตว์ไว้หลายตัวเพื่อฆ่าเลี้ยงแขก  เช่น:-

                ส่วนที่เป็นบาป

    -ซื้อ ควาย ๒ ตัว

    -หมู  ๓  ตัว

    -ซื้อเป็ด ๒๐ ตัว

    -ไก่อีก  ๔๐  ตัว    ร่วมเป็นสัตว์ที่จะฆ่าทั้งหมด  ๖๕  ตัว

    -เหล้าแม่โขงขวดกลม  ราคา  ๒๑๑  บาท  ๑๐  ลัง  ลังหนึ่งมี  ๑๒  ขวด

       -ลังหนึ่งราคา  ๒๕๓๒  บาท

       -ถ้า ๑๐  ลัง   ราคา  ๒๕๓๒๐  บาท

                ส่วนที่เป็นบุญ

       -ซื้อเครื่องทำบุญไปทั้งหมด มีผ้าไตรเครื่องอัฏฐะบริขาร  กัณฑ์แจกด้วย  ประมาณ  ๒๐๐๐๐  บาท

       -ถวายพระ ๕ องค์ๆละ  ๕๐๐  บาท   รวมเป็น  ๒๕๐๐  บาท

          รวมเบล็ดเสร็จแล้วทำบาปมากกว่าทำบุญ

      ๓.เรื่องของคนดูหนังเรื่องพิภพมัจจุราช   นายคงแต่ก่อนแก่เป็นคนไม่เชื่อเรื่องบุญบาปเพราะแกไม่เคยเห็นตัวบุญตัวบาป  เพราะพาหุสัจจะของแกมีน้อยมันก็เลยแยกตัวบุญตัวบาปไม่ออก  ตามที่จริงตัวบุญตัวบาปเป็นของง่ายๆ ถ้าเรามีสมบัติภายในข้อที่ ๕  คือพาหุสัจจะ    วันนี้อาตมาจะยกตัวบุญมาให้ญาติโยมได้ดู  จะได้หายสังสัยกันซะที

      -ไตรจีวร  เป็นตัวบุญ  เมื่อกล่าวคำถวายว่า "อิมานิ  มยัง  ภันเต  ติจีวรานิ  สะปะริวานิ

ภิกขุสังฆัสสะ  โอโนชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  ติจีวะรานิ  ปะฏิคคันหาตุ

อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ"

       -ปืน  มีด  พร้า  เป็นตัวบาป   ต้นไม้ถ้าเราเอามันไปสร้างเป็นกุฏิถวายวัดมันก็จะเป็นตัวบุญ  แต่เราเอามันไปเป็นฆ้อนตีคนตายมันก็จะกลายเป็นตัวบาป

            รื่องของตัวบุญและเรื่องของตัวบาป

                                         ตัวบุญ

           

    ๐ตัวบุญ  คือผ้าไตรจีวร  ถ้ามันอยู่ในร้านมันยังไม่เป็นตัวบุญ  มันยังเป็นผ้าสีเหลืองธรรมดาแต่ถ้าเราเอามันไปกล่าวคำถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ว่า

     ๐อิมานิ  มะยัง ภันเต  ติจีวรานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโน  ชะยาม  สาธุ  โน

ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  สะปะริวารานิ  ปะฏิคคันหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ฯ

     ๐ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งผ้าไตรจีวร  พร้มทั้งเตรื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ขอพระภิกษุสงฆ์  จงรับซึ่งผ้าไตรจีวร  พร้อมทั้งเครื่องของบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

     พอเรากล่าวคำถวายเสร็จมันก็จะเป็นวัตถุทานที่ให้ไว้ในสงฆ์  ตอนนี้มันก็จะกลายเป็นตัวบุญโดยสมบูรณ์แบบแล้ว  หรือถ้าเราซึ้อเอาไปบวชพระหรือบวชเณรมันก็จะกลายเป็นตัวบุญโดยไม่ต้องกล่าวคำถวายเลย  คือกลายเป็นตัวบุญโดยอัตโนมัติ

     ผ้าไตรจีวรนี้ก็แปลกนะ  ถ้าเราเอามันไปห่มให้ผู้ชาย  คนที่ได้ห่มมันก็จะกลายเป็นพระพ่อแม่หรือคนทั้งหลายจะต้องกราบไหว้  ถ้าเราเอาไปห่มให้เด็กผู้ชาย  เด็กชายคนนั้นก็จะกลายเป็นสามเณร  แม้เอามันไปห่มให้นักเลงหัวไม้  นักเลงหัวไม้คนนั้นก็จะหมดสภาพความเป็นนักเลงหัวไม้กลับกลายเป็นผู้บำเพ็ญบุญไปในทันที  ผู้คนทั้งหลายก็จะกราบไหว้โดยไม่รังเกียจ  แม้เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ก็ยังกราบไหว้  นี่หมดสภาพความเป็นนักเลงที่ผู้คนทั้งหลายรังเกียจเลยจริงๆนะนี้

     แต่ทุกดวันนี้มันมีคนชั่วอีกประเภทหนึ่ง  มันเอาผ้าจีวรไปนุ่งห่มเพื่อหลอกลวงชาวบ้าน

ว่าเป็นพระเป็นเณร  ออกเรี่ยไรชาวบ้านตามบ้านเรือนห้างร้านและตลาด  ทำให้ผู้คนทั้งหลายเข้าใจผิดคิดว่าพระเณรจริงๆ  ทำให้ภาพพจน์ของพระเณรจริงๆเสียหายไป  ทำให้ผู้คนทั้งหลายเสื่อมศรัทธาในพระศาสนา  คนพวกนี้ถึงห่มผ้าเหลืองก็ไม่ใช่พระเณร  เป็นได้แค่คนหลอกลวงต้มตุ๋น  คนพวกนี้เป็นตัวบาป  บ่อนทำลายพระพุทธศาสนา  พวกนี้เป็นได้แค่เปรตเดินดิน  หากินด้วยการหลอกลวงผู้อื่นเลี้ยงชีพ   พวกนี้เมื่อตายไปแล้วก็จะไปตกโลกันตะนรก  โลกันตนรกนี้หนักมากไม่เห็นแสงเดือนและแสงตะวัน มืดบอดชั่วกัปป์ชั่วกัลป์เลยหละ

              ตัวบาป

                 ปืน

    

    

    

                      มีด

    

    

                           พร้า

    

     **ถามว่า "ทำไมมีดพร้าและปืนจึงเป็นตัวบบาป"

         -ตอบว่า "ที่ว่ามีดพร้าและปืนเป็นตัวบาปนั้น  ก็เพราะปืนมีดและพร้าเป็นวัตถุเครื่องประหารที่เป็นมิจฉาชีพข้อที่หนึ่งว่า การค้าขายวัตถุเครื่องประหารเช่น  ปืนมีดพร้า เป็นบาป"  คนเราถ้ามีความโลภ  ความโกรธ  และความหลงอยู่ในใจจึงจะทำบาปได้  เรายิงปืนใส่นกโป้ง นกตกลงมาตายยังพื้นดิน  ผิดศีลข้อที่หนึ่ง   เรายิงปืนใส่ไก่ดังโป้ง ไก่ตายผิดศีลข้อที่หนึ่ง  เราฆ่าเขาเราประหารเขา เราทำบาปข้อที่หนึ่ง   ถ้าเราคิดอยากฆ่าเขาแต่ไม่มีวัตถุเครื่องประหารประกอบด้วยเช่นมีดพร้าหรือปืนยังไม่จัดเป็นการทำบาป  เป็นแค่อกุศลจิต คือจิตที่ไม่ดี ก็จัดเข้าในอกุศลกรรมบถข้อที่ ๙ คือดิคอาฆาตพยาบาทปองร้ายเขา      

   

                      จาคะ

    ๐จาคะ   แปลว่า "การเสียสละ  หรือการแบ่งปั้นสิ่งของๆตนให้แก่ผู้อื่น" 

     จาคะ คือคุณธรรมที่เป็นเหตุทำให้ผู้ปฏิบัติมองเห็นและเอื้ออาทรต่อความทุกข์ยากและความต้องการของคนอื่น ทำให้เป็นคนไม่คับแคบ ไม่เห็นแก่ตัวแล้วให้ความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นด้วยความเห็นอกเห็นใจเขา เป็นคนชอบให้ ชอบแบ่งปันคิดถึงคนอื่นมากกว่าตัวเอง

    จาคะ (ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว     ตัวอย่างเช่น:-

                            เรื่องที่หนึ่ง

    ๐ในสมัยพุทธกาลได้เกิดฝนแล้งที่เมืองไพสารี ฝนไม่ตกเป็นเวลานานทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากเพราะไม่มีน้ำกินน้ำใช้  สาเหตุเพราะประชาชนรักษาศีล ๕ ไม่ได้ จึงทำให้เกิดฝนแล้ง  พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดจึงทำให้ฝนแล้งหยุดลง  ในเมืองไพสารีนี้มีคหบดีคนหนึ่งชื่อว่า "อะนันตะคะหะบดี"   อนันตคหบดีเป็นคนรักษาศีล ๕ ได้ทั้งครอบครัวเพราะฉะนั้นน้ำบ่อและน้ำในสระของเขาจึงไม่แห้งเหมือนคนอื่น  อนันตคหบดีเห็นความเดือดร้อนของประชาชนจึงเสียสละอนุญาตให้คนที่เดือดเข้ามาตักเอาน้ำไปกินไปใช้ได้โดยไม่ต้องซื้อขาย   อนันตคหบดีเห็นความเดือดร้อนของคนเป็นจำนวนมากจึงได้เสียสละแบ่งปันน้ำในบ่อและในสระของตนให้แก่ผู้อื่นลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะของจาคะ

                            เรื่องที่สอง  

    ๐ เรื่องสุเมธดาบส ปราถนาโพธิญาณ  นับเป็นชาติแรกของพระโคดม พระพุทธเจ้าองค์ ปัจจุบันของเราทั้งหลายที่ได้ตั้งสัจจาธิฐานและได้รับพุทธพยากรณ์ ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต จากพระพุทธเจ้าในอดีต เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อคราวสมเด็จพระบรมศาสดา เสด็จกลับเมืองกบิลพัสดุ์ (มาตุภูมิบ้านเกิด) ทรงเล่าเรื่องในอดีตเมื่อ ๔ อสงไขยกับอีก
๑๐๐๐๐๐  มหากัปว่า "มีเมื่องๆหนึ่งชื่อว่า "อมรวดี"  ในสมัยนั้นพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น "สุเมธดาบส" ก่อนจะออกบวชเป็นดาบสนั้น พระองค์เกิดในตระกูลพราหมณ์
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์หลายร้อยโกฏิ เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ จบไตรเพท รู้คัมภีร์ทำนายลักษณะชาย-หญิง
    วันหนึ่งได้นั่งในที่สงัด คิดแล้วว่า"การเกิดในภพใหม่ และการแตกสลายของสรีระเป็นทุกข์ ความหลงตายเป็นทุกข์ ชีวิตถูกชราย่ำยี เรามีเกิด แก่ เจ็บไข้เป็น ธรรมดา เราจะแสวงหานิพาน ที่ไม่แก่ไม่ตาย  อันเป็นแดนเกษม"
    ครั้นเมื่อสุเมธพราหมณ์คิดได้อย่างนี้แล้ว ได้ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิแก่คนที่ไม่มีที่พึ่งพิง และคนยากไร้ เป็นทาน แล้วไปยังเขาหิมพานต์ สร้างอาศรม บรรณศาลา สร้างทางจงกรม สละผ้าสาฎก นุ่งห่มผ้า กรองคา(น่าจะได้แก่ผ้าทำจากเชือกป่าน) บวชเป็นดาบส
บำเพ็ญเพียรด้วยการนั่ง ยืน เดิน ตลอด ๗ วัน บรรลุอภิญญาพละ ( อภิญญา ๕ ) ในขณะที่สุเมธดาบส กำลังอิ่มเอมด้วยปีติสุขอันเกิดจากฌาณสมาบัติ ข้ามล่วงวันเวลาไป พระพุทธ เจ้าพระองค์หนึ่งพระนามว่า "ทีปังกร" ทรงถือปฏิสนธิ ประสูติ ออกบรรพชา บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แสดงธรรม และทรงออกประกาศพระศาสนาโปรดสัตว์โลกแล้ว
    ครั้นวันหนึ่งดาบสได้เหาะไปบนอากาศ ได้เห็น หมู่ชนทั้งหลายมีจิตใจแจ่มชื่นยินดี จึงเข้าไปถามได้ความว่า "ฝูงชนได้พากันแผ้วถางทางทำถนนหนทางเพื่อต้อนรับ การเสด็จของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า "ทีปังกร" คำว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก้องอยู่ในหูของดาบส" ความปลาบปลื้มปีติได้บังเกิดมีในใจของดาบสๆ คิด ว่า "เราจะหวานเมล็ดพันธุ์คือบุญกุศลในที่นี้ " จึงได้ขอมหาชนร่วมแผ้วถางทางด้วยคน แต่ทาง ยังมิทันเสร็จดี พระพุทธเจ้าก็เสด็จมา พร้อมด้วยสาวกหมู่ใหญ่ที่พระขีณาสพ (ผู้หมดอาสวะกิเลส) ผู้ทรงอภิญญา  ๖ จำนวน ๔๐๐๐๐๐ รูป ก็มาถึง
    ฝ่ายดาบสเมื่อเห็นพระพุทธองค์เสด็จมา หนทางยังไม่เรียบร้อย จึงเอาผ้ากรองคาที่ห่มของตน และหนังปูลาดในที่มีโคลนตมแล้วสยายผมของตนลงนอน ด้วยความคิดว่า "ขอพระพุทธเจ้าพร้อมสาวกอย่าได้เปื้อน โคลนตมเลย ขอพระองค์จงเหยียบเราไปเถิด จะเป็นประโยชน์แก่เรา " และในขณะนั้นก็คิดว่า "เมื่อเรามีชีวิตอยู่เพื่อเผากิเลสให้หมดไปได้ในวันนี้จะมี ประโยชน์อะไรแก่เราที่รู้แจ้งพระธรรมในศาสนานี้ผู้ข้ามพ้นเพียงผู้เดียว โดยผู้อื่นไม่รู้จัก เราบรรลุสัพพัญญุตญาณพ้นแล้วปลดเปลื้องมนุษย์เทวดามากให้พ้นด้วย"
    พระทีปังกรพุทธเจ้า ตรัสว่า เธอทั้งหลายจงดู ชฎิลดาบสนี้ มีตบะแก่กล้า ในกัปอันมีประมาณมิได้ นับจากกัปนี้ เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกนี้ พระตถาคตเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยา ประทับที่โคนอัชปาลนิโครธรับข้าวปายาส เสด็จไปที่ แม่น้ำเนรัญชรา เสวยแล้ว กลับมาประทับทีโคนต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถะ มีพระมารดานามว่า พระนาง มายาเทวี มีพระบิดานามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระองค์จะมีพระนามว่า "โคตมะ"   ตามโคตร   ถือว่าพระพุทธองค์ได้ทรงเป็นพระโพธิสัตว์โดยสมบูรณ์ ในชาติที่เป็น สุเมธดาบส และทรงได้บำเพ็ญบารมีเรื่อยมาจนครบ ๔ อสงไขย กับแสนมหากัป แล้วได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน   เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าสุเมธะดาบสได้เสียสละครั้งยิ่งใหญ่ที่คนธรรมดาทำไม่ได้  คือสุเมธะดาบสมีความปราถนาไม่ให้เท้าของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าแปดเปื้อนโคลนตมจึงได้นอนทอดตนให้เป็นสพานให้พระพุทธเจ้าทรงเเหยียบ ผ่านเปือกตมไป

                      เรื่องที่สาม

    ๐เรื่องท่านจำรัส    ท่านเป็นลูกศิษย์ววัดจอมมณี  ท่านมีนิสัยชอบการธุดงค์  ท่านออกเดินธุดงค์เป็นเวลา  ๑๐  กว่าปี แล้วท่านก็กลับมาเยี่ยมบ้านพอท่านเดินมาถึงภูหลวงก็เป็นเวลาพลบค่ำพอดี  ท่านเดินหาที่ปักกรดก็ไปเจอแผ่นศิลาใหญ่อยู่แห่งหนึ่งท่านก็เลยปักกรดที่แผ่นศิลานั้น  พอตกกลางคืนประมาณ ๕ ทุ่ม  ท่านได้ยินเสียงฟืดฟาดๆมาแต่ไกล

ท่านสังเกตุรู้ว่าเสียงนั้นคือเสียงของโขลงช้างหลาย ๑๐ ตัว  พวกมันกำลังเดินลงมาที่ท่านปักกรดอยู่เพราะทางที่ท่านปักกรดนั้นเป็นทางลงไปกินน้ำของช้างจะรื้อกรดหนีก็ไม่ทัน  มันจวนแจเต็มทน  ท่านเลยลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า "ถ้าในอดีตชาติข้าพเจ้าเคยเป็นศัตรูต่อกันมา  ข้าพเจ้าก็ขอให้ช้างโขลงนี้เหยียบข้าพเจ้าไปเลยข้าพเจ้าขอเสียสละชีวิตเพื่อให้กรรมเวรของเราสิ้นสุดลงแค่นี้  แต่ถ้าช้างโขลงนี้ไม่เคยเป็นศัตรูกันมาแต่ชาติปางก่อน ขอให้ช้างโชลงนี้หลีกไป   มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อจริงๆท่านผู้อ่านทั้งหลาย  พอช้างมาถึงกรดข้าพเจ้าตัวหัวหน้าโขลงเอางวงมันยืนเข้ามาดมที่กรด พอดมแล้ว

มันก็เดินหลีกกรดข้าพเจ้าไป  ช้างตัวต่อมาก็ทำเหมือนกันหมดมันช่างน่าประหลาดใจจริงๆ  สมกับภษิตที่ว่า "ธัมโม  หะเว  รักขะติ  ธัมมะจารี  แปลว่า "ธรรมะย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม"

     **หมายเหตุ:-

          -ในหมู่บ้านควายเงินวัดได้ทำน้ำประปาให้ประชาชนได้ใช้  วัดไม่ได้ทำน้ำประปาเพื่อหวังผลกำไรอะไร ทำให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ก็พอแล้ว  เพียงแต่ชาวบ้านช่วยเสียค่าไฟฟ้าร่วมกับทางวัดเท่านั้น  ทางวัดหาคนช่วยเก็บค่าน้ำประปาไม่ได้  เพราะทุกคนพูดว่า "ไม่มีเวลา  ทำแล้วก็ไม่ได้อะไรได้แค่ใช้น้ำฟรีเท่านั้น" ตามที่จริงแล้วคนเก็บค่าน้ำไม่ได้ใช้เวลาเก็บค่าน้ำทุกวัน  เดือนหนึ่งเก็บแค่ว้นเดียวใฃ้เวลาเพียง  ๓  ชั่วโมง ก็เสร็จแล้ว  และในชุมชนกลุ่มนี้ได้มีบุรุษคนหนึ่งชื่อว่า "นายกรองสา"  ได้เข้ามาอาสาเสียสละเวลาส่วนตัวช่วยทางวัดเก็บค่าน้ำประปาให้แก่ทางวัด  คนส่วนมากพูดว่า "นายกรองสาโง่ทำแล้วก็ไม่ได้อะไร  เงินเดือนก็ไม่ได้"  ถ้าเราจะมองให้ลึกลงไปอีกเราก็จะพบว่า "คนพูดว่านายกรองสาโง่นั้นแหละ  เป็นคนโง่ที่สุด เขาไม่มีน้ำใจเสียสละเวลาช่วยเหลือสังคมเลย เขาเป็นคนเห็นแก่ตัวเอาเปรียบสังคม  เขาจะเป็นได้แค่กากเดนสังคม  เป็นอยู่ด้วยการเอาเปรียบสังคม  บ้านไหนเมืองไหนมีคนเช่นนี้บ้านนั้นเมืองนั้นก็จะวิบัติฉิบหาย   ตามความเป็นจริงแล้วนายกรองสาได้สมบัติภายในข้อที่ ๖  คือ  จาคะ  คือการเสียสละเวลาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น คนสวนมากจะไม่รู้ในสมบัติข้อนี้เลย  

         ปัญญา

    ๐ปัญญา    แปลว่า "ความรอบรู้ในสิ่ที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์"

     คนเราถ้ามีพาหุสัจจะมาก คือได้เห็นได้ยินได้ฟังและได้ศึกษาเล่าเรียนมามากแต่ไม่เข้าใจในสิ่งที่เห็นมา  ไม่เข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา  และไม่เข้าใจในสิ่งที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา  ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาไตร่ตรองว่า "สิ่งนี้ถูกสิ่งนี้ผิด   สิ่งนี้มีประโยชน์สิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ สิ่งนี้ดีสิ่งนี้ชั่ว   สิ่งนี้เป็นบาปสิ่งนี้เป็นบุญ"  ก็จะมีค่าเท่ากับไม่เคยได้เห็น  ไม่เคยได้ยิน  ไมเคยได้ฟังมา  และไม่เคยได้ศึกษาเล่าเรียนมาก่อนเลย  อาจจะทำผิดทำชั่วและทำบาปได้ง่ายๆ  เพราะสิ่งที่ได้เห็นมา สิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา  และสิ่งที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา  เราไม่เข้าใจมันก็เลยแก้ปัญหาที่คาใจของเราไม่ได้  เพราะฉะนั้นเราอาจจะถูกเขาหลอกได้ง่ายๆ  ดังตัว อย่าง เช่น

    นางจินต์ได้ไปฟังเทศน์ผเวสสันดรคือเทศน์มหาชาติและเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสนกับยายตั้งแต่อายุได้  ๑๗  ปี  จนถึงอายุ  ๘อ  ปี  ใช้เวลาในการฟัง  ๖๔  ปี  แต่นางอาจิณไม่เข้าในการฟังเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสน  วันหนึ่งหล่อนไปเยี่ยมเพื่อนที่บ้านเกิดเพื่อนของหล่อนมีชื่อว่า "นางแวว"  เวลาบ่าย ๔ โมงเย็น  นางแต้วผู้เป็นเพื่อนชวนนางจินต์ไปหาพระศรีอารย์น้อยซึ่งเป็นผู้หญิงที่เก่งในการทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้แม่นยำ  นางจินต์เมื่อได้ฟังคำทำนายของเจ้าศรีอารย์น้อยแล้วเกิดความเลื่อมใสติดใจคิดว่าเป็นพระศรีอารย์มาเกิดจริงๆจึงได้ยอมฝากตัวเป็นลูกศิษย์  ต่อมานางจินต์ถูกนางแววแม่ของเจ้าศรีอารย์น้อยหลอกให้ทำบุญหมดไป  ๓๐๐๐๐๐  บาท  นายปั้นสามีของนางจินต์เห็นว่าเมียถูกหลอกก็เลยพูดกับนางจินต์ว่า "ถ้าเป็นพระศรีอานมาเกิดจริงๆก็จะไม่มีการหลอกลวงเช่นนี้" จึงบอกให้นางจินต์ผู้ภรรยาไม่ให้ไปหาเจ้าศรีอารย์น้อยอีกต่อไป  เห็นไหม ถ้าฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจก็จะถูกหลอกลวงได้ง่ายๆเช่นนี้แหละท่านเอ๋ย

    แต่ถ้านางอาจินต์ฟังเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสนมาอย่างเข้าใจก็จะมีปัญญาเกิดขึ้นว่า

"  เมื่อพระมาลัยได้ทราบความจริงเกี่ยวกับเรื่องของพระศรีอริยเมตตรัยจะเสด็จลงไปตรัส รู้ เป็นพระพุทธเจ้าในโลกมนุษย์แล้ว  จึงได้ทูลถามความเจรืญรุ่งเรืองของศาสนาของพระองค์ว่าจะเป็นเช่นไร ?
 พระศรีอริยเมตตรัยมหาโพธิสัตว์จึงตรัสว่า "ในศาสนาของพระองค์  หมู่มนุษย์จะอยู่เย็นเป็นสุข  ข้าวปลาอาหารจะอุดมสมบูรณ์   ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล  ๑๕ วันฝนจะตกครั้งหนึ่ง  ฝนจะตกก็ตกเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้นกลางวันฝนจะไม่ตก  ต้มไม้ใบหญ้าน้อยใหญ่ก็จะเขียวชะอุ่มร่มรื่นชื่นอุรายิ่งนัก  จะหอมตลบอบอวนไปด้วยกลิ่นของดอกไม้และไอดิน มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดความร่มเย็นเป็นสุข  ฝูงวัวควายจะอ้วนดีพีมัน  สิงห์สาราสัตว์ก็จะไม่เบียดเบียนกัน  วัวควายปล่อยทิ้งไว้ไม่ต้องมีคนเลี้ยงดู  โจรผู้ร้ายก็จะไม่ลักขโมย
  น้ำในสระหนองคลองบึงก็จะไม่แห้ง  น้ำจะเต็มขอบสระอยู่ตลอดเวลา  คนแก่เฒ่าก็จะไม่มีพยาธิโรคามาเบียดเบียน จะมีแต่คนหนุ่มคนสาวรูปร่างสวยงามเหมือนกับเทพบุตรและเทพธิดาอยู่ในแดนฟ้าเมืองสวรรค์   พระราชาผู้ครองพระนครก็จะทรงทศพิธราชธรรม  ไม่กดขี่ข่มเหงประชาชน  ไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงคดโกงซึ่งกันและกัน
   กากับนกเค้าแมว   หนูกับแมว   พังพอนกับงูเง่า   หมีกับไม้สะคร้อ   เสือกับเนื้อจะเลิกเป็นศัตรูกัน   ประชาชนในชมพูทวีปไม่ต้องทำไร่ไถนา ไม่ต้องทำมาค้าขายเพราะศาสนาของพระองค์จะมีต้นกัลปพฤกษ์เกิดขึ้นในสี่มุมเมือง  ในต้นกัลปพฤกษ์จะมีทุกอย่างตามต้องการ   เช่น เสื้อผ้าแพรพรรณ แก้วแหวนเงินทองเพชรนิลจินดา เครื่องประดับตก
แต่ง  ข้าวปลาอาหาร
   ประชาชนในศาสนาพระศรีอริยเมตตรัยจะไม่มีคนหูหนวกตาบอด แขนขาคดงอ  ขี้ทูตกุดถัง  สูงต่ำดำเตี้ยจะไม่มี ผู้ทำบุญสร้างกุศลไว้มากจะได้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตตรัย
     รูปร่างพระศรีอริยเมตตรัยมหาโพธิสัตว์มีลักษณะดังนี้
    -รูปร่างสูงได้   ๘๘   ศอก
    -วัดจากเท้าถึงสะดือ   ๔๔   ศอก
    -วัดจากสะดือถึงศีรษะ   ๔๔   ศอก   รวมเป็น  ๘๘  ศอก
    -มีอายุยืนได้   ๘๐๐๐๐   ปี
    -จะเสด็จบังเกิดขึ้น  ณ  ที่เมืองเกตุมมดี   ในมัชฌิมประเทศ
    -บิดาชื่อว่า "สุพรหมพราหมณ์"
    -มารดาชื่อว่า "พราหมณะวะดี"
    -มเหสีชื่อว่า "จันทมุกขี"
    -โอรสชื่อว่า "พราหมณ์วัฒนะกุมาร"
    -พระสาวกเบื้องขวาชื่อว่า "อโสกะเถระ"
    -พระสาวกเบื้องซ้ายชื่อว่า "สุพรหมเถระ"
    -พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า "พระสีหเถระ"
    -พระสาวิกาเบื้องขวาชื่อว่า "ปทุมมา"
    -พระสาวิกาเบื้องซ้ายชื่อว่า "สุมนา"
    -อุบาสกที่เป็นพุทธอุปัฏฐากมี  ๒  คน  คือ:-
       ๑.สังฆะคะหะบดี
       ๒.สุทัตตะคะหะบดี
    -อุบาสิกาที่เป็นพุทธอุปัฏฐากมี  ๒  คน  คือ:-
       ๑.นางสะวะดี
       ๒.นางสังฆะ               
    พระศรีอริยเมตตรัยเป็นพระมหาโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ในภัทรกัปป์นี้ เมื่อศาสนาของพระโคตมะสัมมาส้มพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ ๑๐ ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยก็จะเพิ่มขึ้นถึง ๑ อสงไขยปี แล้วก็เกิดความประมาทจึงทำให้อายุขัยลดลงอีกจนเหลือ ๘๐๐๐๐ ปี พระศรีอริยเมตตรัยมหาโพธิสัตว์จึงจะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "ศรีอริยเมตตรัย" พระศรีอริยเมตตรัยทรงบำเพ็บารมีมา ๘๐  อสงไขย กับแสนมหากัปป์  เป็นพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารีมาสูงที่สุด  

    ถ้าอายุขัยของมนุษย์ในชมพูทวีปน้อยหรือมากกว่านี้พระองค์จะไม่เสด็จลงมาเกิดเพื่อตรัสรู้โดยเด็ดขาด   ถ้านางอาจิณจำได้และเข้าใจในข้อความตอนนี้นางจะไม่ถูกหลอกโดยเด็ดขาด  ที่นางถูกหลอกก็เพราะนางจำข้อความตอนนี้ไม่ได้ และนางไม่เข้าใจว่า "พระพทธเจ้าต้องเป็นผู้ชาย  พระศรีอริยเมตตรัยจะลงมาตรัสรู้ในตอนที่มนุษย์ทั้งหลายมีอายุขัยได้  ๘๐๐๐๐  ปี  เท่านั้น  ตอนนี้อาขัยของมนุษย์แค่  ๗๕  ปีเท่านั้น  และเจ้าศรีอารย์น้อยก็เป็นผู้หญิงด้วย  เพราะฉะนั้นก็ฟันธงได้เลยว่า "เจ้าศรีอารย์น้อยคนนี้ถูกอุปโหลกขึ้นมาให้เป็นพระศรีอารย์อย่างแน่นอน"  ถ้ามีปัญญาแยกแยะเหตุและผลเช่นนี้ก็จะไมะถูกหลอกอย่างแน่นอน

                  กัณฑ์ที่ ๙   

     ๐สัพเพ  วะ  นิกขิปิสสันติ       ภูตา  โลเก  สะมุสสะยัง ฯ

        แปลว่า " ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก ฯ"

      ส่วนประกอบที่เป็นร่างกายของมนุษย์

    ๐ร่างกายของมนุษย์เกิดมาจากธาตุ ๖ ร่วมตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างด้วยอำนาจของบุญกรรม ที่ได้สร้างเอาไว้  ถ้าทำบุญกรรมเอาไว้มากก็จะมีรูปร่างสวยงาม  ถ้าทำบาปกรรมเอาไว้มากรูปร่างก็จะขี้เหล่น่าเกลียดน่ากลัว  ธาตุ ๖ มีดังนี้ 

                   ธาตุ ๖
          ๑. ปฐวีธาตุ                คือ       ธาตุดิน
          ๒. อาโปธาตุ              คือ       ธาตุน้ำ        
          ๓. เตโชธาตุ              คือ       ธาตุไฟ
          ๔. วาโยธาตุ              คือ       ธาตุลม
          ๕. อากาสธาตุ           คือ       ธาตุที่เป็นที่ว่างหรือเป็นช่อง
          ๖. วิญญาณธาตุ        คือ       ธาตุแห่งการรู้แจ้งซึ่งอารมณ์

                 ปฐวีธาตุ

     ๐ปฐวีธาตุ  คือธาตุดิน  มีลักษณะแข็งแกระด้าง มี  ๒๐  อย่าง   คือ:-

        ๑.ผม   มี      เส้น

        ๒.ขน

        ๓.เล็บ

        ๔.ฟัน    มี   ๓๒   ซี่

        ๕.หนัง  เมื่อร่วมกันเข้าจะได้เท่ากับ

 

        ๖.เนื้อ

        ๗.เส้น

        ๘.เอ็น

        ๙.กระดูก

        ๑๐.เยื่อในกระดูก

 

        ๑๑.ม้าม

        ๑๒.หัวใจ

        ๑๓.ตับ

        ๑๔.พังผืด

        ๑๕.ไต

 

        ๑๖.ปอด

        ๑๗.ไส้ใหญ่

        ๑๘.ไส้น้อย

        ๑๙.อาหารใหม่

        ๒๐.อาหารเก่า

                 อาโปธาตุ

    ๐อาโปธาตุ    คือธาตุน้ำ   มีลักษณะเอิบอาบ   ธาตุน้ำมี  ๑๒  อย่าง  คือ:-

       ๑.น้ำดี

       ๒.น้ำเสลด

       ๓.น้ำหนอง

       ๔.น้ำเลือด

       ๕.น้ำเหงื่อ

       ๖.น้ำมันข้น

       ๗.น้ำตา

       ๘.น้ำเปลวมัน

       ๙.น้ำลาย

       ๑๐.น้ำมูก

       ๑๑.น้ำไขข้อ

       ๑๒.น้ำมูตร

             เตโชธาตุ

    ๐เตโชธาตุ    คือธธาตุไฟ     มีลักษณะร้อนอบอุ่น มี  ๔   อย่าง   คือ:-

       ๑.ธาตุไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น

       ๒.ธาตุไฟที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม

       ๓.ธาตุไฟที่ทำให้ร่างกายเล่าร้อน

       ๔.ธาตุไฟที่ทำการย่อยอาหาร

             วาโยธาตุ

    ๐วาโยธาตุ    คือธาตุลม     มีลักษณะพัดไปมา มี  ๖   อย่าง  คือ:-

       ๑.ลมพัดขึ้นเบื้องบน

       ๒.ลมพัดลงเบื้องล่าง

       ๓.ลมในท้อง

       ๔.ลมในไส้

       ๕.ลมพัดไปตามตัว

       ๖.ลมหายใจ

         อากาสะธานตุ

    ๐อากาสะธาตุ     คือธาตุที่ว่างเปล่า  โปร่งใส   เป็นช่อง   มีลักษณะโปร่งใส  มีชนิดเดียว

           วิญญาณธาตุ

    ๐วิญญาณธาตุ     คือธาตุที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์   มี  ๖   อย่าง   คือ:-

       ๑.จักขุวิญญาณธาตุ

       ๒.โสตวิญญาณธาตุ

       ๓.ฆานวิญญาณธาตุ

       ๔.ชิวหาวิญญาณธาตุ

       ๕.กายวิญญาณธาตุ

       ๖.มโนวิญญาณธาตุ

              ที่เกิดของวิญญาณ

    ๐อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖  กระทบกันทำให้เกิดวิญญาณขึ้นมา

     
       หมวดอายตนะ (เครื่องต่อ) ภายใน ๖
    ๑. จักขายตนะ เครื่องต่อ คือ ตา หมายถึง จักขุปสาท
    ๒. โสตายตนะ เครื่องต่อ คือ หู หมายถึง โสตปสาท
    ๓. ฆานายตนะ เครื่องต่อ คือ จมูก หมายถึง ฆานปสาท
    ๔. ชิวหายตนะ เครื่องต่อ คือ ลิ้น หมายถึง ชิวหาปสาท
    ๕. กายายตนะ เครื่องต่อ คือ กาย หมายถึง กายปสาท
    ๖. มนายตนะ เครื่องต่อ คือ ใจ หมายถึง วิญญาณธาตุ คือจิตทั้งหมด
               การกระทบกัน

     -ตา  กับ  รูป    กระทบกันเกิดเป็น     จักขุวิญญาณ

     -หู   กับ   เสียง    กระทบกันเกิดเป็น     โสตวิญญาณ

     -จมูก   กับ   กลิ่น     กระทบกันเกิดเป็น     ฆานวิญญาณ

     -ลิ้น   กับ   รส     กระทบกันเกิดเป็น     ชิวหาวิญญาสณ

     -กาย   กับ    โผฏฐัพพะ     กระทบกันเกิดเป็น     กายวิญญาณ

     -ใจ   กับ   ธัมมารมณ์     กระทบกันเกิดเป็น     มโนวิญญาณ

      หมวดอายตนะ (เครื่องต่อ) ภายนอก ๖
    ๑. รูปายตนะ เครื่องต่อ คือ รูป หมายถึง รูปารมณ์
    ๒. สัททายตนะ เครื่องต่อ คือ เสียง หมายถึง สัททารมณ์
    ๓. คันธายตนะ เครื่องต่อ คือ กลิ่น หมายถึง คันธารมณ์
    ๔. รสายตนะ เครื่องต่อ คือ รส หมายถึง รสารมณ์
    ๕. โผฏฐัพพายตนะ เครื่องต่อ คือ การกระทบ หมายถึง โผฏฐัพพารมณ์
    ๖. ธัมมายตนะ เครื่องต่อ คือ ธรรม หมายถึง ธรรมารมณ์

          วิญญาณ ๖
    ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้เกิดขึ้นทางตา
    ๒. โสตวิญญาณ ความรู้เกิดขึ้นทางหู
    ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้เกิดขึ้นทางจมูก
    ๔. ชิวหาวิญาณ ความรู้เกิดขึ้นทางลิ้น
    ๕. กายวิญญาณ ความรู้เกิดขึ้นทางกาย
    ๖. มโนวิญญาณ ความรู้เกิดขึ้นทางใจ

           ผัสสะ ๖
    ๑. จักขุสัมผัส ความถูกต้อง เกิดขึ้นทางตา
    ๒. โสตสัมผัส ความถูกต้อง เกิดขึ้นทางหู
    ๓. ฆานสัมผัส ความถูกต้อง เกิดขึ้นทางจมูก
    ๔. ชิวหาสัมผัส ความถูกต้อง เกิดขึ้นทางลิน
    ๕. กายสัมผัส ความถูกต้อง เกิดขึ้นทางกาย
    ๖. มโนสัมผัส ความถูกต้อง เกิดขึ้นทางใจ

        

    ๐ คนเราเมื่อหมดลมหายใจไปแล้ว ร่างกายนี้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะน่ายินดี  แม้ร่างกายนั้นจะมีความสวยงามเพียงใดก็ตาม  เมื่อตายไปแล้วเอาไปให้ใครๆก็ไม่เอา   ดังเรื่องของนางศิริมาในสมัยพุทธกาล  เรื่องมีว่า

             ต้นกำเหนิดของหญิงโสเภณี
    ๐ในสมัยพุทธกาลมีเมืองๆหนึ่งชื่อว่า "เวสาฬี"  เมืองเวสาฬีนี้เป็นเมืองที่มีธุรกิจและกิจการค้าเจริญรุ่งมาก พ่อค้าทุกคนในแต่ละเมืองต่างก็มีจิตยินดีที่จะไปในเมืองเวสาฬีนี้ให้ได้  เหตุที่พ่อค้าทั้งหลายมีจิตมุ่งหมายที่จะไปเมืองเวสาฬีนี้ให้ได้ก็เพราะเมืองเวสาฬีมีสิ่งที่ดึงดูดใจจิตของพวกเขา  อะไรรึ?  มันมีอำนาจดึงดูคจิตใจของพวกเขาให้ลุ่มหลงและหมางปองที่จะไปในเมืองนี้ให้ได้ในชีวิตนี้  สิ่งที่ทำให้พวกเขาลุ่มหลงและหมายปองที่สุดก็คือผู้หญิงงามเมืองที่มีชื่อว่า "อัมพปาลี"  ตั้งแต่ยังเด็กหล่อนมีแก้มแดงเหมือนมะม่วงสุกและแก้มของเธอก็ยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย

   ผู้คนได้เห็นมักจะขอหอมแก้มเธอเสมอเพราะเหตุนี้แม่ของหล่อนจึงตั้งชื่อให้เธอว่า "อัมพะปาลี"  หญิงงามเมืองเป็นชื่อที่พวกพ่อค้าและข้าราชการเขาเรียกกัน  คนชั้นกลางเรียกว่า "หญิงโสเภณี"  หมายถึงผู้หญิงขายตัวเลี้ยงชีพ   ถ้าเรียกแบบดูถูกเรียกว่า "กะหรี่"  กะหรี่แผงมาจาก ภาษาปากเรียกโสเภณีว่า "กะหรี่" ตัดและเพี้ยนมาจาก "ช็อกกะรี" แปลว่า เด็กผู้หญิง   ถ้าเรียกแบบดูถูกเหยียดหยามเรียกว่า "แพศยา"  หมายถึงผู้หญิงสำส่อน หรือ ผู้หญิงถ่อย
    นางอัมพปาลีเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในเมืองเวสาฬีผู้ชายทั้งหลายใครๆก็ต้องหมายปองอยากได้หล่อนเป็นสมบัติของตนเอง  นางเป็นสตรีผู้เลอโฉม มีผิวพรรณผุดผ่องเฉิดฉายยิ่งนัก หล่อนเป็นคนน่ารักใคร่และน่าเอ็นดู และหล่อนยังเป็นผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมซึ่งประกอบไปด้วย การฟ้อนรำ และการขับร้อง ซึ่งหาสตรีผู้ใดเปรียบเทียบได้ยาก บุคคล
ทั้งหลายล้วนมีความต้องการนาง  เพื่อที่จะร่วมอภิรมย์กับเธอด้วยเงินเป็นจำนวนมาก  ผู้ใดจะร่วมอภิรมย์จะต้องจ่ายค่าตัวให้แก่เธอคืนละ  ๕๐  กหาปณะ  (กะหาปะนะ  เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท)
   กหาปณะ (เป็นภาษา สันสกฤต) เป็นคำเรียกเงินตราที่ทำด้วยโลหะที่ใช้ในสมัยพุทธกาล เป็นเงินตราโลหะชนิดแรกของอนุทวีปอินเดีย  ในสมัยปัจจุบันได้ แผลงคำว่า "กหาปณะ" มาเป็น "กษาปน์"  มีอัตราเทียบดังนี้  ๑  กหาปนะ เท่ากับ ๒๐ มาสก  ๒๐  มาสก   เท่ากับ  ๑ ตำลึง หรือ ๔ บาทไทย   กหาปณะ มีปรากฏอยู่ในพระวินัยว่าด้วยเรื่องการ ลักทรัพย์ คือภิกษุจงใจลักทรัพย์ที่มีราคา ๕ มาสก หรือ ๑ บาทขึ้นไปต้องอาบัติสูงสุดคือปาราชิกขาดจากความเป็นพระ  หากมีราคาต่ำกว่านั้นก็มีความผิดลดหลั่นลงมาตามราคาทรัพย์
   ผู้ที่จะได้ตัวเธอไปร่วมอภิรมย์ด้วยส่วนมากจะเป็นพระราชา เจ้าชาย  เศรษฐี  คหบดี  พ่อค้า  คนธรรมดารู้สึกจะยาก  เพราะค่าตัวแพง  ชาวบ้านชาวไร่ชาวนาไมีมีเงินมาจ้างหรอก  ในสม้ยนั้นใครมีเงินแค่ ๑๐ กหาปนะก็ถือว่าดีแล้ว
    พ่อค้าชาวเมืองราชคฤห์เมื่อมาเที่ยวเมืองเวสาฬีแล้วก็ว่ากล่าวกันต่อๆไป
  ผมสงสัยมานาน ที่ประเทศอินเดีย มีหญิงสาวสวยนางงามเมืองในสมัยพุทธกาล ชื่อนางสิริมา เวลา พระราชา พ่อค้า เศรษฐี จะพาหานางไปเชยชม ต้องเสียเงิน 1,000 กหาปณะต่อ 1 วันใน  สมัยพุทธกาลในสมัยนั้นซื้ออะไรได้บ้าง เช่น ถ้าซื้อ ซ่าหรีย์ หรือข้าว หรือบ้าน หรือคฤหัสห์ หรือถ้าเทียบกับคุณค่าของเงินในสมัยปี 2561 ใช้ซื้ออะไรได้บ้าง เช่น
บ้านราคา 2 ล้านบาท หรือรถยนต์ราคา 1 ล้านบาทหรือมากกว่านั้นนะ

                       นางสิริมา

     
             กำเนิดนางสิริมา
   ๐ในสมัยพุทธกาล มีเมืองๆ หนึ่งชื่อว่าเวสาฬี เป็นเมืองที่มั่งคั่งกว้างใหญ่ไพศาล มีประชาชนมากมาย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร การค้าขายเจริญรุ่งเรือง มีพ่อค้าต่างเมืองเดินทางมาติดต่อค้าขายอย่างคับคั่ง และหนึ่งในความเสื่อม แต่เป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองคือ มีหญิงงามเมืองที่มีความงดงาม ชื่อว่า อัมพปาลี
(คือเธอมีความงามมาก สมัยนี้เรียกว่านางงาม สมัยนั้นเรียกว่าหญิงงามเมือง)
   นางเป็นสตรีผู้เลอโฉม มีผิวพรรณผุดผ่องเฉิดฉายยิ่งนัก น่าดู น่าพอใจ และนางยังเป็นผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมซึ่งประกอบไปด้วย การฟ้อนรำ และการขับร้อง ซึ่งหาผู้ใดเปรียบเทียบได้ยาก บุคคลทั้งหลายที่มีความต้องการพานางไปร่วมอภิรมย์ด้วย จะต้องจ่ายค่าตัวคืนละห้าสิบกหาปณะ
   ครั้งหนึ่งพวกพ่อค้าชาวกรุงราชคฤห์ได้ไปทำธุรกิจที่เมืองเวสาฬี ก็คิดว่าเมืองเวสาฬีนี้รุ่งเรืองงดงามเพราะมีนางอัมพปาลีเป็นหญิงงามเมือง (คือพ่อค้าก็มักจะคิดไปแบบนี้ ซึ่งก็เป็นความคิดที่ไม่ค่อยถูกต้องอะไรเท่าไหร่ คือมองเห็นเม็ดเงิน และมองเห็นความ
เพลิดเพลิน คือผู้ที่ข้องอยู่ในกาม ที่นี่คือกามภพ ที่อยู่ของผู้ที่ข้องอยู่ ก็มีความคิดที่แปรปรวนกันไปอย่างนี้ จากเมืองราชคฤห์มาเห็นเมืองเวสาฬี)
   เพราะมีนางอัมพปาลีนี่แหละที่เวสาฬี พ่อค้าจึงเข้าใจว่าจึงทำให้มีคนต่างเมืองหลั่งไหลกันเข้ามามากมาย เพราะได้ยินกิตติศัพท์ของนางอัมพปาลี ทำให้ธุรกิจการค้าทางด้านอื่นๆ เจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย(คือเข้าใจว่าเธอเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดเอานักธุรกิจต่างเมืองเข้ามา ก็ทำให้มีการค้าขายกันเกิดขึ้นจนเจริญรุ่งเรือง แต่ที่จริงมันเป็นคนละเรื่อง มันเป็นกรรมของเธอต่างหาก แต่นี่คือความเข้าใจ คือพวกที่มุ่งแต่เศรษฐกิจ แต่ไม่คิดเรื่องจิตใจก็จะคิดกันอย่างนี้)
   พ่อค้ากลุ่มนั้นจึงพากันเข้ามากราบถวายบังคมทูลพระเจ้าพิมพิสารถึงอานุภาพความเจริญรุ่งเรืองของเมืองเวสาฬีให้ทราบว่าเวสาฬีนี้เจริญรุ่งเรืองมาก แล้วกราบถวายบังคมว่า
“เมืองเวสาฬีมีนางอัมพปาลี เมืองราชคฤห์ของเราควรจะมีหญิงงามเมืองอย่างเธอบ้าง”
(พระเจ้าพิมพิสารตอนนั้นยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน ยังไม่ได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต และพวกนักธุรกิจก็พยายามมากระทุ้งกันอยู่เรื่อยๆ มีทั้งมหาอำมาตย์ เสนาบดี นักธุรกิจ ก็อ้างเหตุผลกันต่างๆ นาๆ ท่านก็ไม่อยากขัดใจ จึงตรัสอนุญาต ตามสะดวก)

   ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จงไปดูว่ากุมารีคนไหนที่มีลักษณะงดงาม และมีคุณสมบัติเช่นนั้น แล้วตั้งให้นางเป็นหญิงงามเมืองเถิด(เพราะฉะนั้นคนสวยๆ สมัยนั้นยุ่งเลย ต้องไปเป็นอย่างนี้ ไม่งั้นเดี๋ยวทะเลาะกัน เอามาเป็นของกลางซะ ใครจะใช้บริการก็จ่ายเงินซะ ส่วนหนึ่งเป็นของเธอ อีกส่วนหนึ่งเข้ารัฐ ถนนหนทางที่เดินอาจจะได้มาจากภาษี)
   ในขณะนั้นในเมืองราชคฤห์มีกุมารีคนหนึ่งชื่อ สารวดี นางเป็นหญิงผู้เลอโฉมสะคราญตา น่าเสน่หา ทั้งเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก พวกพ่อค้าชาวกรุงราชคฤห์เหล่านั้น จึงได้ตั้งนางสารวดีกุมารีเป็นหญิงงามเมืองกลางกรุงราชคฤห์ (คงจะไปตกลงต่อรองอะไรกัน แล้วก็จูงใจ คงไม่ได้บังคับหรอก ว่างานนี้มันง่าย ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไร แค่สวยๆ
ร้องรำทำเพลงให้เพราะๆ บริการ แล้วเธอจะได้เงินมาก นางก็ตกลง เพราะวิบากกรรมของเธอนั่นแหละทำให้เธอดูแต่ ได้ อย่างเดียว แต่ไม่ได้ดู เสีย)
   เมื่อนางสารวดีได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว นางจึงฝึกฝนการฟ้อนรำขับร้อง ดีด สี ตี เป่า จนมีความชำนาญ ทำให้นางมีค่าตัวคืนละหนึ่งร้อยกหาปณะ  นางสารวดีประกอบอาชีพเป็นหญิงงามเมืองได้ไม่นานก็เกิดความประมาทขาดการระมัดระวังตัว จึงตั้งครรภ์
   นางสารวดีได้ปกปิดเรื่องการตั้งครรภ์ของเธอไว้ได้จนถึงกำหนดคลอด ในวันคลอด ทันทีที่นางทราบว่า บุตรที่คลอดออกมาเป็นชาย นางก็ตัดสินใจที่จะให้คนนำบุตรของนางไปทิ้งเสียแต่วันนั้น เพราะมีความคิดเห็นว่าบุตรชายไม่สามารถสืบทอดอาชีพโสเภณีได้  (คิดเพียงสั้นๆ แค่นี้ คิดสั้นตั้งแต่มาเป็นโสเภณีเพราะเห็นแก่เม็ดเงิน พอพลาดมี
เด็กขึ้นมา ก็คิดสั้นๆ ว่าเป็นลูกชาย เป็นโสเภณีต่อสืบทอดไม่ได้)
   นางได้สั่งให้สาวใช้คนสนิท (แสดงว่ารวยมาก จนกระทั่งมีสาวใช้) นำลูกชายของตนใส่ในกระด้งเก่าๆ นำไปทิ้งที่กองขยะ กำชับให้ระวังไม่ให้ใครรู้เห็น สาวใช้ก็ทำตามคำสั่งทุกประการ เวลาที่นำทารกไปทิ้งนั้นก็เป็นเวลากลางดึก ในเช้าวันนั้นเอง เจ้าชายอภัย พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร กำลังเสด็จเข้าเฝ้าพระราชบิดา ได้เสด็จผ่านมาทางนั้น
ได้เห็นฝูงการุมล้อมเด็กนั้นอยู่ จึงได้ตรัสถามมหาดเล็กว่า  “ฝูงการุมล้อมอะไร”
มหาดเล็กจึงรีบเข้าไปดู เห็นทารกเพศชายอยู่ในกระด้ง จึงถือกลับมาแล้วกราบทูลให้ทรงทราบว่า “ฝูงกากำลังรุมล้อมทารกเพศชายอยู่พระเจ้าข้า”
   เจ้าชายอภัยจึงถามมหาดเล็กว่า “ทารกนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า”
   มหาดเล็กจึงกราบทูลว่า “ทารกนั้นยังมีชีวิตอยู่พระเจ้าข้า”
   เจ้าชายอภัยเมื่อทราบว่าทารกยังมีชีวิต จึงรับสั่งให้นำทารกกลับไปที่วังของตน แล้วนำให้แม่นมเลี้ยงดูอย่างดี (มีทั้งบุญทั้งกรรม กรรมไปเกิดเป็นลูกโสเภณี แต่บุญเจ้าชายเอาไปเลี้ยง มันต้องแยกกัน ชนกกรรมนำมาเกิดเป็นลูกโสเภณี แต่บุญบันดาลให้เจ้าชายเอาไปเลี้ยง บุญปาบมันอยู่ในตัวนั่นแหละ)
   ต่อมาภายหลัง ทารกนั้นเมื่อเจริญเติบโตแล้ว ได้ศึกษาวิชาแพทย์จนเชี่ยวชาญ และก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นแพทย์หลวงประจำสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร นามว่าชีวกโกมารภัจ แปลว่า กุมารที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงไว้
   ต่อมาภายหลังนางสารวดีก็ได้ตั้งครรภ์อีก แต่ได้คลอดออกมาเป็นธิดา เธอก็ดีใจสุดขีด นางจึงได้เลี้ยงเอาไว้สืบทอดตระกูลหญิงงามเมืองของตน (กลัวตระกูลเธอหายไป) แล้วตั้งชื่อลูกหญิงของตนว่า สิริมา แปลว่า "นางผู้มีสิริ"
   นางสิริมาเมื่อเติบโตขึ้นมา ก็ได้เป็นหญิงมีรูปงามมาก เป็นที่ปรารถนาของชายหนุ่มทั้งหลาย จึงได้รับตำแหน่งสืบทอดกิจการจากนางสารวดีผู้เป็นมารดาของเธอ (หนุ่มๆ ก็มาเมียงมองเธอกันอย่างนี้ เธองาม..)
   เธอต้องคอยรับแขกที่มีทรัพย์ประเภทตระกูลกษัตริย์ เศรษฐี หรือพวกอำมาตย์ โดยมีค่าบริการวันละ ๑๐๐๐กหาปณะ เพราะเธอยังเป็นเด็กสาวอยู่ และก็แม่ก็ถ่ายทอดวิทยายุทธให้ แล้วปลูกฝังว่า ลูกสิริมา ลูกจำไว้ ลูกอย่าเอาหัวใจมอบให้ชายหนุ่มใดๆ ทั้งสิ้น ลูกจงคิดแต่เงิน เงิน เงิน อย่างเดียวเท่านั้น และลูกพยายามทำตัวให้น่ารัก พูดจาหวานๆ ไม่ขัดคอ ยอตะบัน รับรองพันกหาปณะเนี่ยจะได้บ่อยๆ และจะได้ทิปต่างๆ อีกเยอะแยะ ก็สอนวิทยายุทธวิธีเอาอกเอาใจ ตั้งแต่ถอดรองเท้า ถอดถุงเท้า อะไรเรื่อยไปเลย
        นางสิริมา หญิงโสเภณีผู้บรรลุโสดาบัน
   เนื่องจากนางมีรูปร่างงดงาม และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในศิลปะอันเป็นวิชาชีพ จึงมีพวกบุรุษทั้งหลายรับนางไปบำเรอและสมสู่ด้วยโดยจ่ายทรัพย์ให้นางเป็นค่าตอบแทนตามราคาที่นางกำหนดไว้ นางสิริมาจึงร่ำรวยด้วยอาชีพเช่นนั้น ทั้งต่อมา นางสิริมาผู้นี้ยังบรรลุคุณธรรมพิเศษคือโสดาปัตติผลอีกด้วย นางสิริมาผู้ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผลแล้วพร้อมด้วยหญิงบริวารจำนวน ๕๐๐ คน ต่างประกาศตนเป็นเป็นอุบาสิกาผู้มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
   นางสิริมาหลังจากได้สำเร็จโสดาปัตติผลเป็นโสดาบันแล้ว ได้ทูลอาราธนาพระทศพลเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อเสวยพระกระยาหารในวันรุ่งขึ้น ได้ถวายมหาทานอันโอฬารและประณีตตั้งแต่นั้นมา และได้ถวายอาหารแก่ภิกษุวันละ ๘ รูปเป็นประจำ นางได้เอาใจใส่สั่งคนรับใช้ให้ทำของประณีตถวายสงฆ์ ใส่ให้จนเต็มบาตรทุกรูป อาหารที่พระรูปเดียว
รับมาจากบ้านของนาง พอเลี้ยงพระถึง ๓ หรือ ๔ รูป
   ต่อมาวันหนึ่งภิกษุรูปหนึ่งไปรับอาหารที่บ้านของนางสิริมาแล้วกลับมา ตกตอนเย็นนั่งสนทนากับเพื่อนภิกษุด้วยกัน รูปหนึ่งถามขึ้นว่า  “อาวุโส วันนี้ท่านไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านใด”
   ภิกษุรูปหนึ่ง ตอบว่า “ที่บ้านของนางสิริมา” 
   ภิกษุรูปนั้น ถามว่า “อาหารดีไหม”
   ภิกษุรูปหนึ่งตอบว่า “ดีมาก ดีจนพูดไม่ถูก ปริมาณก็มากด้วย อาหารที่นางถวายแก่ข้าพเจ้านั้นแจกจ่ายแก่เพื่อนๆ ได้ถึง ๓ หรือ ๔ รูป เลยทีเดียว  แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่า นางสวยเหลือเกิน การที่ได้มองดูนางยังดีกว่าไทยธรรมที่นางถวายเสียอีก ท่านลองคิดดูเถอะว่า "จะเลิศสักปานใด ปาก จมูก คอ มือ เท้าของนางดูงามละเมียดละไมไปหมด
เลยหละ”
   ภิกษุรูปนั้นได้ฟังเพื่อนเล่าดังนี้ ก็กระหายใคร่จะได้เห็นนางสิริมาบ้าง จึงถามถึงลำดับของตนว่าจะได้ไปเมื่อใด ก็ทราบว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นลำดับของตน  ก็ดีใจเอามากๆ
   วันรุ่งขึ้นเมื่ออรุณยังไม่ทันเบิกฟ้า ท่านก็รีบเข้าไปที่โรงสลาก ได้เป็นหัวหน้าพระอีก ๗ รูปไปสู่บ้านของนางสิริมาเพื่อรับอาหาร แต่ว่าบังเอิญนางสิริมาได้ล้มป่วยลงโดยกระทันหันตั้งแต่เมื่อวันวาน จึงได้เปลื้องเครื่องอาภรณ์ที่สวยงามออกแล้วนอนซมอยู่ เมื่อเวลาพระมาถึง นางได้สั่งสาวใช้ให้จัดแจงให้เรียบร้อยเหมือนอย่างที่นางเคยทำเอง คือนิมนต์ให้
พระคุณเจ้านั่งแล้วเอาบาตรไปบรรจุโภชนะให้เต็ม แล้วถวายข้าวยาคู หรือข้าวสวยแก่พระคุณเจ้า หญิงรับใช้ได้ทำตามที่นางสั่งไว้ทุกประการ เสร็จแล้วบอกให้นางทราบ นางจึงขอร้องให้หญิงรับใช้ช่วยกันประคองนางออกไปเพื่อไหว้พระคุณเจ้าทั้งๆ ที่กำลังจับไข้อยู่ ตัวของนางจึงสั่นน้อยๆ
   ภิกษุรูปนั้นเมื่อเห็นนางสิริมาแล้ว ตะลึงในความงามพลางคิดว่า
“โอ้โห กำลังจับไข้อยู่ ยังงามถึงปานนี้ ในเวลาไม่เจ็บป่วย ประดับประดาด้วยสรีราภรณ์อันอลังการอันสวยงาม นางจะมีรูปสมบัติที่สวยงามเลิศหรูสักปานใดหนอ” ขณะนั้นเองกิเลสที่ท่านเคยสั่งสมไว้หลายโกฏิปีก็ฟูขึ้นประหนึ่งถูกแรงลม ท่านนั้นมีจิตใจจดจ่อแต่นางสิริมาไม่สามารถฉันอาหารใดๆ ได้เลย กลับสู่วิหารแล้วปิดบาตรไว้โดยมิได้แตะต้องเอาจีวรคลุมศรีษะนอนรำพึงถึงแต่นางสิริมาด้วยความหลงใหล นี้แหละคืออำนาจของความรัก
   ภิกษุผู้เป็นสหายกันทราบความนั้น พยายามชี้แจงและอ้อนวอนให้ท่านฉันอาหาร แต่ก็ไร้ผลจึงอดอาหารไปทั้งวัน และเย็นวันนั้นเองนางสิริมาก็ตาย
   พระเจ้าพิมพิสารให้ราชบุรุษไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า บัดนี้นางสิริมาน้องสาวของหมออาชีวกตายเสียแล้ว พระศาสดาทรงทราบเรื่องการตายของนางสิริมา และทรงทราบเรื่องภิกษุผู้หลงใหลในรูปของนางสิริมานั้นด้วย ทรงเห็นเป็น
โอกาสที่จักแสดงสัจธรรมบางประการ และทรงเห็นอุบายที่จะสอนภิกษุรูปนั้น และประชาชนทั้งหลายให้ได้ทราบความเป็นจริงของชีวิต จึงทรงรับสั่งถึงพระราชาพิมพิสารว่า ขอให้รักษาศพของนางสิริมาเอาไว้ในป่าช้าผีดิบ อย่าให้กาและสุนัขเป็นต้นกัดกิน พระราชาทรงทราบแล้วทรงทำตามพุทธบัญชาเพราะทรงแน่พระทัยว่า พระศาสดาจะต้องทรงมีพระอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่นอน
   ๓ วันล่วงไปตามลำดับ ในวันที่ ๔ สรีระนั้นก็ขึ้นพอง น้ำเน่าได้ไหลเหยิ้มไปทั่วร่างกาย สรีระทั้งสิ้นได้แตกปริออกเน่าและเหม็นผุพังพระราชาได้ให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศทั่วพระนครว่า เว้นแต่เด็กกับคนชราเฝ้าเรือนเท่านั้น นอกนั้นถ้าใครไม่ไปดูนางสิริมาจะถูกปรับ ๘ กหาปณะ แล้วทรงส่งข่าวไปถึงพระผู้มีพระภาค หากพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์จะดูนางสิริมาด้วยก็จะเป็นการดี พระศาสดาตรัสบอกพระภิกษุทั้งหลายว่า จะเสด็จไปดูศพนางสิริมาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก
   ภิกษุรูปนั้นพอทราบว่าพระศาสดาและภิกษุสงฆ์จะไปดูนางสิริมาเท่านั้น แม้จะอดอาหารมาตั้ง ๔ วันแล้ว ก็รีบลุกขึ้นทันที เอาอาหารที่บูดเน่าในบาตรนั้นทิ้งเสีย เมื่อเช็ดบาตรเรียบร้อยแล้วก็เอาใส่ถุงบาตร รีบไปกับภิกษุทั้งหลาย
   พระศาสดาผู้อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับยืนอยู่ข้างหนึ่ง แม้ภิกษุณีสงฆ์ ราชบริษัท อุบาสกบริษัท และอุบาสิกาบริษัทก็ยืนอยู่ข้างหนึ่งๆ
   พระศาสดาตรัสถามพระราชาว่า “มหาบพิตรร่างนั้นคือใคร”
   “นางสิริมาพระเจ้าข้า” พระราชาตรัสตอบ
   “นางสิริมาหรือนั่น” พระพุทธองค์ทรงถามซ้ำ
   “พระเจ้าข้า” พระราชาทูลตอบ
   “มหาบพิตรถ้าอย่างนั้นขอให้พระองค์ยังราชบุรุษให้เที่ยวประกาศไปในพระนครว่า ถ้าใครให้ทรัพย์พันหนึ่งแล้ว ก็จงมารับนางสิริมาไป”
   พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษทำอย่างนั้น ราชบุรุษเที่ยวประกาศทั่วพระนคร ไม่มีใครเลยที่จะรับนางสิริมาเป็นของตน ราชบุรุษประกาศลดราคาลงตามลำดับ ในที่สุดประกาศให้เปล่าก็ไม่มีใครรับ พระราชาทูลความทั้งปวงให้พระศาสดาทรงทราบแล้ว
   พระองค์ผู้เจนจบรู้แจ้งแล้วซึ่งโลกและธรรมทั้งปวงทอดพระเนตรภิกษุทั้งมวลแล้วตรัสว่า
“ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดูสตรีอันเป็นที่น่ารักที่น่าพอใจของคนเป็นอันมาก เมื่อก่อนนี้ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะแล้ว ให้อยู่ร่วมด้วยนางสิริมาเพียงวันเดียวคนทั้งหลายก็แย่งกัน แต่บัดนี้เวลาล่วงไปเพียง ๕-๖ วันเท่านั้น ร่างเดียวกันนี้ แม้ให้เปล่าก็ไม่มีใครต้องการ
   ภิกษุทั้งหลาย รูปที่มีความงามถึงปานนี้ ถึงแล้วซึ่งความสิ้นและความเสื่อมไปตามธรรมดาของโลก รูปนี้เป็นอย่างไร? รูปอื่นก็เป็นอย่างนั้น รูปอื่นเป็นอย่างไร? รูปนี้ก็เป็นอย่างนั้น  ภิกษุทั้งหลาย ดูเถิด ดูร่างกายที่เน่าเปื่อยมีกลิ่นเหม็น มีกระดูกเป็นโครงอันเนื้อและเลือดซึ่งเกิดแต่กรรมทำให้วิจิตรแล้วร่างกายนี้อาดูร ไม่มีความเที่ยงหรือยั่งยืน แต่
คนส่วนมากก็ยังดำริถึงด้วยความกำหนัดพอใจ”
   เมื่อจบพระธรรมเทศนาลงธรรมาภิสมัย คือการรู้ธรรม ได้เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลเป็นอันมาก แม้ภิกษุที่ติดใจร่างกายของนางสิริมายิ่งนัก ก็ได้สำเร็จโสดาปัตติผลด้วย

                     กัณฑ์ที่ ๑๐

    

              ๐มะระณะ  ธัมโมมหิ   มะระณัง  อะนะตีโต

           เรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

    ๐ทุกชีวิตที่เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นคนและสัตว์ ไม่ว่าจะยากดีมีจน ไม่มีใครจะล่วงพ้นความตายไปได้  เมื่อถึงเวลาและกำหนดแห่งอายุขัยจะห้ามไว้ก็ไม่ฟัง  บางคนกลัวตายพยายามคิดหายาที่จะทำให้มีอายุยืนยาว  อายุขัยของมนุษย์ไม่ว่าจะสั้นหรือยาวไม่ใช่ตัวกำหนดว่าจะทำให้เราไม่ตาย  สั้นหรือยาวก็ตามเมื่อถึงเวลาก็ต้องตายอยู่ดีหนีไม่พ้น  ต่อให้มีอายุยืนยาว  เป็นร้อย  เป็นพัน  เป็นหมื่น  เป็นแสน  และเป็นล้านปี  เมื่อหมดเวลาก็ต้องตายทั้งนั้นอยู่เป็อะมะตะไม่ได้  พระพุทธเจ้าทรงสอนเราไม่ให้ประมาท  อย่าไปลุ่มหลงในสิ่งที่ไม่เที่ยง เช่น ทรัพย์สินเงินทอง  เรือกสวนไร่นา  รถราบ้านเรือน ยศถาบรรดาศักดิ์ เมื่อเราไปลุ่มหลงในสิ่งเหล่านี้จิตของเราก็จะเกิดความหวงแหนไม่ยากตายจากมันไป  เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้เราเป็นคนโง่  ทำไมถึงเป็นคนโง่  ก็เพราะเราไปยึดติดในของที่ไม่เที่ยงคือเราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งเหล่านี้ไปไม่วันใดก็วันหนึ่งอย่างหลีกหนีไม่พ้น  เมื่อเราเอาจิตไปยึดติดกับของเหล่านี้เราก็จะเป็นทุกข์ เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร คือภูมิ ๓๑ ได้แก่  นรกภูมิ  เปรตภูมิ  อสุรกายภูมิ  สัตว์เดรัจฉานภูมิ  มนุษยภูมิ  สวรรคภูมิ ๖  พรหมโลกภูมิ ๒๐    ไม่รู้จบไม่รู้สิ้น ทั้งๆที่เราก็รู้อยู่แก่ใจแล้วว่าไม่วันใดก็วันหนึ่งเราก็จะต้องตายจากมันไปอย่างแน่นอน  พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เรามีสติระลึกขึ้นได้ว่าในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่เราจะทำอย่างไร จึงจะให้ทรัพย์สมบัติที่เรามีอยู่นี้เป็นเป็นประโยชน์แก่เราในภพเบื้องหน้า คือในสถานที่เราจะไปเกิดในภพต่อไป  การที่จะทำให้ทรัพย์สมบัติเป็นประโยชน์แก่เราในภพต่อไปก็มีอยู่ทางเดียวคือการบริจาคทาน

   บริจาค  คือการให้  หรือ  การแบ่งปั้นทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ แก่ผู้อื่น  เช่น พระภิกษุสามเณร สมณะชีพราหมณ์ และคนลำบากยากไร้  ตัวอย่างเช่น  การถวายเครื่องอ้ฏฐบริขาร ผ้าไตรจีวร  กฐินผ้าป่า  กุฏิวิหาร  ศาลาโรงธรรม  สิ่งที่เราได้บริจาคเงินสร้างเอาไว้ในพระพุทธศาสนาเหล่านี้จะกลายเป็นสมบัติภายในข้อที่ ๖ คือจาคะ  มันจะเป็นสมบัติที่ติดตัวเราไปในภพเบื้องหน้า เมื่อเราละจากโลกนี้ไปแล้ว  ทรัพย์สินเงินทองที่เรายังไม่ได้บริจาคทานมันไม่ใช่ของเรา เมื่อเราจับจ่ายใช้สอยมันๆ ก็จะเป็นของๆเราเพราะเรายังจับจ่ายใช้สอยมันได้  แต่ถ้าเราตายไปแล้วเราก็ไม่สามารถจับจ่ายใช้สอยมันได้ มันก็จะกลายเป็นของคนอื่นไป  ถ้าเราเอาจิตใจไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านี้มากเกินไปเราก็จะเกิดความลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติเหล่านี้จนลืมตาย  เมื่อได้ยินใครมาพูดเรื่องความตายก็จะเกิดความหวาดกลัว ไม่ยากตาย จะกลัวหรือไม่กลัวเราก็จะต้องตายอย่างแน่นอนไม่มีใครหนีพ้น  ข้าพเจ้าขอเตือนว่าเราควรจะมีสติ ทำความรู้จักกับความตายกันดีกว่าไม่ต้องกลัวมันและไม่ต้องหนีมันคือรู้จักว่า "ความตายคืออะไร?  ตายแล้วเราจะไปไหน?" 

    ความตายคือ  การสิ้นลมหายใจ  ลมหายใจนี้สำคัญมากเข้าแล้วไม่ออกก็ตาย   ออกแล้วไม่เข้าก็ตาย  พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องอาปาณสติ คิอการกำหนดลมหายใจเข้าออก

                อานาปานสติ
   ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น       
   อานาปานสติ  เป็นสติที่มีลมหายใจเป็นอารมณ์  เป็นได้ทั้งสมถภาวนาและ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งจะขาดปัญญาไม่ได้เลยทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนา  แต่ผลต่างกัน เพราะสมถภาวนา เพียงระงับกิเลสด้วยการข่มไว้เท่านั้น ไม่สามารถดับกิเลสใดๆ ได้เลย แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาหรือสติปัฏฐาน แล้ว สามารถทำให้รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น สูงสุด คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น
   เรื่องเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ ๔ ประการ ไม่ใช่เพียงประการเดียวเท่านั้น การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ พิจารณาเหตุผลแล้วก็เจริญเหตุให้สมควรแก่ผลด้วย ข้อสำคัญประการหนึ่ง ก็คือ จะต้องไม่เข้าใจผิดว่าเป็นสติปัฏฐานเฉพาะบางสิ่งบางประการ หรือ เลือกเจาะจงเฉพาะบางนามธรรม บางรูปธรรม 
   แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู  ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ทางใจ นั้น  เป็นสติปัฏฐาน  ทั้งสิ้น  เพราะเป็นที่ตั้งให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นระลึกรู้ตามความเป็นจริงได้ ลมหายใจ ก็เป็นหนึ่งในนั้น ด้วย  เพราะลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของกาย เป็นสภาพที่ปรุงแต่งกาย และเคยยึดถือว่าเป็นลมหายใจ
ของเรา เป็นเราหายใจ  แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น  รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ  หรือธาตุลมเริ่มที่จะเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะอย่างนั้นเอง คือ เป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์ (คือเป็นรูปธรรม) เป็นการถ่ายถอนความเข้าใจผิดที่เคยยึดถือว่า  เป็นเราที่หายใจ  หรือเป็นลมหายใจของเรา  ทั้งนี้ แล้วแต่ว่าสติจะระลึกรู้ลักษณะใด โดยไม่จำกัดและไม่เจาะจง เพราะเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น 

   อานาปานสติมี ๒ แบบ คือ มีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก และ มีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกถ้าเป็นแบบแรก หายใจไป ทีแรกลมหายใจจะยาว ลมจะลึก ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า
“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ให้เธอนั่งสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า…”
   ให้มีสติอยู่เฉพาะหน้า คืออยู่กับปัจจุบันเท่านั้นเอง ไม่ได้ให้บังคับ ไม่ได้ให้ไปดัดแปลง ไม่ได้ให้ทำอะไร ไม่ได้ให้ตึง ไม่ได้ให้หย่อน มีสติอยู่เฉพาะหน้า ใครที่หย่อน เคลิ้มๆ น่ะขาดสติ ใครที่นั่งเพ่งๆ นั้นมันรุนแรงไป ไม่ใช่ แค่มีสติอยู่“ให้นั่งสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า หายใจออกยาว ให้รู้ว่าหายใจออกยาว…”  เห็นไหม ท่านให้หายใจออกก่อนนะ ต่อไปคือ  “…หายใจเข้ายาว ก็ให้รู้ว่าหายใจเข้ายาว…”
   ตอนแรกอ่านพระสูตรนี้ก็อ่านข้ามไป เราชินกับการหายใจเข้าแล้วค่อยหายใจออก ตอนเด็กเราหายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ พอได้มาอ่านพระสูตรนี้ ทำไมหายใจออกก่อน จึงมาลองดู อยู่ๆ เราหายใจออกได้ไหม ได้ อย่างน้อยก็นิดหนึ่ง ในปอดต้องมีลมอยู่บ้าง ถ้าอยู่ๆ เราหายใจออกแล้วเรารู้สึกอยู่ ใจมันจะเบา แต่ถ้าเริ่มต้นด้วยการหายใจเข้ามันจะเป็นการตั้งท่าปฏิบัติแข็งไป แข็งแล้วแก้ยาก หายใจออกก่อนจะสบาย แล้วหายใจเข้าก็สบาย ใจมันจะเบาๆ ใจที่เบาใจที่สบายนี่แหละ เกิดสมาธิง่าย ในที่หนัก ที่แน่น ที่แข็งๆ เกิดสมาธิยาก เพราะสมาธิเกิดจากความสุข ฉะนั้นท่านบอกให้หายใจออกก่อน หายใจออกแล้วหายใจเข้า หายใจเข้าก็ไม่ได้เกร็งขึ้นมา แค่เห็นร่างกายหายใจเข้ามาเหมือนตอนที่เห็นร่างกายหายใจออก ตอนหายใจออกไม่มีใครเกร็งอยู่แล้ว
   แล้วทำไมทีแรกต้องหายใจยาว เพราะจิตยังไม่สงบ ร่างกายต้องการออกซิเจนเยอะ หายใจมันจะต้องลึกๆ หน่อย มันจะยาว พอหายใจไปแล้วมีความสุข หายใจออกไปแล้วหายใจเข้า มีความสุข จิตมีความสุขจิตค่อยสงบ พอจิตค่อยสงบขึ้นมา ลมหายใจจะตื้น ตื้นขึ้นๆ หายใจน้อยลงๆ มันจะหายใจสั้นๆ หายใจอยู่ที่ปลายจมูกเท่านั้น ไม่ได้หายใจลงไปถึง
ท้อง ถึงสะดือ ถึงหน้าอก พวกภาวนาไม่เป็น ถ้ามาหัดเริ่มหายใจก็จะหายใจไปที่หน้าอก คนหายใจเป็นจะหายใจลงไปที่ท้อง แปลกไหม เวลาเราจงใจหายใจ มันจะไปหายใจด้วยหน้าอก ถ้าหายใจตามธรรมชาติที่เราหายใจทุกวันนี้ มันหายใจลึกลงไปถึงท้อง ในความรู้สึกนะ ลมไม่เข้าท้องหรอก ไม่อย่างนั้นท้องป่องตาย ถ้าหายใจตามธรรมชาติ ท้องจะ
พองท้องจะยุบ หายใจแบบจงใจ เกร็งไว้ หน้าอกจะพองหน้าอกจะยุบ เหนื่อยนะ หน้าอกเขามีกระดูกหุ้มไว้ เขาไม่ได้เอาไว้ให้พองเล่น พองได้ไม่มากหรอก แต่ท้องขยายได้ หายใจแล้วสบาย
   ฉะนั้น ทีแรกหายใจ มันจะลงไปลึกหน่อย หายใจไม่เป็นก็ลึกไประดับหน้าอก หายใจเป็นก็ลึกลงระดับท้อง พอจิตเริ่มรวม จิตเริ่มสงบ ลมหายใจมันจะตื้นขึ้นมา จะสั้นๆๆ ขึ้นมา เหมือนมาอยู่ที่จมูกเท่านั้นเอง พอลมหายใจสูงขึ้นมา จิตมันจะสว่างขึ้นเรื่อยๆ
   อานาปานสติคืออะไร  อานาปานสติ คือ สติที่ระลึกรู้เป็นไปในลมหายใจ ซึ่งก็ต้องเป็นผู้ละเอียดว่า ไม่ใช่มีแต่สติเท่านั้น แต่ต้องมีปัญญาด้วย ซึ่งอานาปานสติ มีทั้งที่เป็นใน สมถภาวนา  และวิปัสสนาภาวนา
   อานาปานสติ มีประโยชน์อย่างไร  ถ้าอบรมถูก ด้วยความเข้าใจถูก หากอบรมโดยนัย สมถภาวนา ก็ถึงฌานขั้นสูงสุด แต่ไม่สามารถดับกิเลสได้ แต่ถ้าอบรมโดยนัย วิปัสสนา ย่อมถึงการดับกิเลส เป็นพระอรหันต์ได้
   ทำอย่างไร  ก็ต้องเข้าใจเบื้องต้น ว่าใครทำ เรา หรือธรรม หากไม่มีความเข้าใจเบื้องต้น แม้แต่คำว่า ธรรมคืออะไรให้ถูกต้อง ไม่ต้องกล่าวถึงอานาปานสติ แม้แต่การเจริญสติปัฏฐานที่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำ แต่เป็นเรื่องที่จะค่อยๆ เข้าใจ ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงถึงเรื่องอานาปานสติ ว่าเป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ คือ ผู้ที่ปัญญามาก สะสมบารมีมามาก จึงจะอบรม อานาปานสติได้ เพราะอานาปานสติ เป็นอารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง หากอยากจะทำ ก็ไม่มีทางถึง เพราะด้วยความต้องการ ไม่ใช่ด้วยความเข้าใจครับ
    ขณะนี้ กำลังหายใจ แต่ไม่รู้เลยว่ากำลังหายใจอยู่ และหากบอกว่ารู้ไหมที่กำลังหายใจขณะนี้ ก็ตอบได้ ว่ากำลังหายใจ แต่การรู้ว่ากำลังหายใจอยู่ ไม่ใช่เป็นการเจริญวิปัสสนา ที่เป็น อานาปานสติเลยครับ ซึ่งการเจริญวิปัสสนา  ต้องมีสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอารมณ์ให้สติและปัญญารู้ นั่นคือ ขณะที่หายใจ มีอะไรปรากฎที่กำลังหายใจ ขณะที่มีลมกระทบ
ก็มี เย็น ร้อน เป็นต้น สภาพธรรมเหล่านี้มีจริง  ก็รู้ความเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ขณะที่หายใจ เช่น เย็นก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่สติและปัญญาเกิดในขณะนั้นครับ ทีละขณะ แต่ละสภาพธรรมครับอานาปานสติ เป็นอารมณ์ที่ละเอียด แต่ก็ต้องไม่ลืมคำนี้เสมอ คำว่า "อนัตตา"   บังคับบัญชาไม่ได้ การอบรมโดยนัย สมถและวิปัสสนา ไม่มีตัวตนที่จะเลือกอารมณ์ เช่น จะเลือกเป็นไปในอานาปานสติ เป็นต้น แล้วแต่สติและปํญญาว่าจะ เกิดระลึกรู้สภาพธัมมะอะไร ซึ่งอาจรู้สภาพธัมมะที่มีจริงในขณะนี้ เช่น เห็น ได้ยิน เสียง เป็นต้นก็ได้ครับ ขอให้เข้าใจความจริงก่อนนะครับว่า  การศึกษาพระไตรปิฎกไม่ว่าในส่วนใดหรืออภิธรรมก็เื่พื่อเข้าใจความจริงของสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงธรรม  และอภิธรรมก็มีอยู่ในขณะนี้เองครับ    

   เพียงแต่ว่า  เราจะรู้ชื่อหรือจะเข้าใจความจริงของอภิธรรมที่มีอยู่ในขณะนี้ รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา นี่คือจุดประสงค์ของการอบรมปัญญาดับกิเลสครับแม้ขณะที่หายใจ   ก็มีสภาพธัมมะที่มีจริง คือ เย็น ร้อน ที่อาศัยเนื่องอยู่กับลมหายใจ แต่ก็แล้วแต่สติว่าจะเกิดระลึก
สภาพธัมมะอะไรครับ  แต่เบื้องต้นในการอบรมปัญญาและการศึกษาธัมมะที่ถูกคือ เพื่อเข้าใจความจริงของสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรม เพราะอภิธรรมอยู่ในชีวิตประจำวัน  
    เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ ความเข้าใจถูก นั่นคือ ปัญญา ซึ่งปัญญาจะเจริญได้ ก็ต้องเริ่มจากปัญญาขั้นการฟัง ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ เป็นเบื้องต้น เพราะเมื่อมีความเข้าใจเบื้องต้น ก็สามารถทำให้เข้าใจในคำแต่ละคำ และหนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง แม้แต่เรื่องของ อานาปานสติ

  ตัวอย่างคนหลงไหลในทรัพย์สิ่งของ

         ประวัติพระนางกีสาโคตมีเถรี
     กีสาโคตมีเถรีบังเกิดในสกุลคนเข็ญใจ กรุงสาวัตถี ชื่อเดิมของนางว่า โคตมี แต่เพราะตัวผอม เขาจึงเรียกว่า "กิสาโคตมี"
   เวลาเจริญวัยแล้วก็ไปสู่การครองเรือน แต่ก่อนที่นางจะมีคู่ครองเรือน มีเหตุแห่งนิมิตที่บอกว่า นางกีสาโคตมี บุญบารมีให้ปรากฏแก่ตระกูลของสามีซึ่งเป็นเศรษฐี ดังความย่อว่า
   ได้ยินว่า ทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ในเรือนของเศรษฐีคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ได้กลายเป็นถ่านหมด เศรษฐีเห็นเหตุนั้นเกิดความเศร้าโศก จึงไม่ยอมทานอาหาร นอนอยู่บนเตียงน้อย
สหายผู้หนึ่งของเศรษฐีนั้นถามว่า “เหตุไร จึงเศร้าโศกเล่า? เพื่อน”
   ครั้นเมื่อได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว สหายผู้นั้นจึงกล่าวว่า “อย่าเศร้าโศกเลย เพื่อน ฉันทราบอุบายอย่างหนึ่ง จงทำอุบายนั้นเถิด.”
   เศรษฐี: ทำอย่างไรเล่า? เพื่อน
   สหาย: เพื่อน ท่านจงปูเสื่อลำแพนที่ร้านตลาดของตน ทำถ่านให้เป็นกองไว้ จงนั่งเหมือนจะขาย ถ้ามีผู้มาพูดกับท่านอย่างนี้ว่า ‘คนอื่นเขา ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยกัน ส่วนท่านกลับนั่งขายถ่าน’
   ท่านก็จงพูดกับคนเหล่านั้น ว่า ‘ถ้าเราไม่ขายของ ๆ ตน แล้วเราจักทำอะไร?’
แต่ถ้ามีผู้ใดพูดกับท่านอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น ส่วนท่านนั่งขายเงินและทอง”
   ท่านก็จงพูดกับผู้นั้นว่า ‘เงินและทองที่ไหนกัน ก็เมื่อเธอพูดว่า ‘นี้ไงเล่า’ ท่านก็จงพูดว่า ‘จงนำเงินทองนั้นมาก่อน เมื่อเขานำมาให้แล้วก็จงรับด้วยมือทั้งสอง ของที่เขาให้ในมือของท่านนั้น จักกลายเป็นเงินและทอง และถ้าผู้นั้นเป็นหญิงรุ่นสาว ท่านจงให้นางแต่งงานกับบุตรของท่านแล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏิให้แก่นาง พึงใช้สอยเงินทองที่นางให้ ถ้าเป็นเด็กชาย ท่านพึงให้ธิดาผู้เจริญวัยแล้วในเรือนของท่านแก่เขา แล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏิให้แก่เขา ใช้สอยทรัพย์ที่เขาให้
   เศรษฐีนั้นกล่าวว่า “อุบายนี้ดี” จึงนำถ่านให้กองไว้ในร้านตลาดของตน นั่งทำเหมือนจะขาย คนเหล่าใดพูดกะเศรษฐี อย่างนั้นอย่างนี้ว่า “คนอื่นเขา ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยกัน ส่วนท่านกลับนั่งขายถ่าน”

   ท่านเศรษฐีก็ให้คำตอบแก่คนเหล่านั้นว่า “ถ้าเราไม่ขายของ ๆ ตน แล้วเราจักทำอะไร?”
           ถ่านกลายเป็นทรัพย์อย่างเดิม
   ครั้งนั้น หญิงรุ่นสาวคนหนึ่งชื่อโคตมี ปรากฏชื่อว่า “กิสาโคตมี” เพราะนางมีสรีระแบบบาง เป็นธิดาของตระกูลเก่าแก่ ไปยังประตูตลาดด้วยกิจอย่างหนึ่งของตน เห็นเศรษฐีนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า
   “พ่อ คนอื่น ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น ส่วนท่านนั่งขายเงินและทอง?”
   เศรษฐีถามว่า "เงินทองที่ไหนเล่า แม่"
   นางโคตมีพูดว่า "ท่านนั่งจับเงินทองนั้นเอง มิใช่หรือ?"
   นางจึงเอามือกอบเงินทองเหล่านั้นจนเต็มมือแล้ววางไว้ในมือของเศรษฐีนั้น ถ่านนั้นก็ได้กลายเป็นเงินและทองทั้งหมด
   ลำดับนั้น เศรษฐีถามนางว่า “แม่ เรือนเจ้าอยู่ไหน.”
   เมื่อนางบอกสถานที่อยู่ของนางและเศรษฐีซักถามจนรู้ความที่นางยังไม่มีสามีแล้ว จึงเก็บทรัพย์แล้วนำนางแต่งงานกับบุตรของตน ให้นางรับทรัพย์ ๔๐ โกฏิไว้ ทรัพย์ทั้งหมดได้กลายเป็นเงินและเป็นทองดังเดิม
   พวกชนในสกุลนั้นดูหมิ่นนางว่า เป็นธิดาของสกุลคนเข็ญใจ
   สมัยต่อมานางตั้งครรภ์ โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางก็ได้คลอดบุตรคนหนึ่ง ในครั้งนั้นชนทั้งหลายก็ได้ทำความยกย่องนาง ครั้นเมื่อบุตรของนางตั้งอยู่ในวัยพอจะวิ่งไปวิ่งมาเล่นได้ก็มาตายเสีย ความเศร้าโศกก็ได้เกิดขึ้นแก่นาง
   นางห้ามพวกชนที่จะนำบุตรนั้นไปเผา เพราะนางไม่เคยเห็นความตาย จึงอุ้มบุตรใส่สะเอวเที่ยวเดินไปตามบ้านเรือนในพระนครแล้วพูดว่า ขอพวกท่านจงให้ยาแก่บุตรของเราด้วยเถิด ดังนี้
   ครั้นเมื่อนางเที่ยวถามไปว่า “ท่านทั้งหลายรู้จักยาเพื่อรักษาบุตรของฉันบ้างไหมหนอ?”
   เมื่อนั้นคนทั้งหลายก็พูดกับนางว่า “แม่ เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ? เจ้าเที่ยวถามถึงยาเพื่อรักษาบุตรที่ตายแล้ว.”
   พวกคนทั้งหลายต่างก็กระทำการเย้ยหยันว่า ยาสำหรับคนตายแล้ว ท่านเคยเห็นที่ไหนบ้าง แต่นางมิได้เข้าใจความหมายแห่งคำพูดของพวกเขาเลย
   ทีนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง เห็นนางแล้วคิดว่า “หญิงนี้คงจะคลอดบุตรคนแรก ยังไม่เคยเห็นความตาย เราควรเป็นที่พึ่งของหญิงนี้”
   จึงกล่าวว่า “แม่ ฉันไม่รู้จักยา แต่ฉันรู้จักคนผู้รู้ยา.”
   นางโคตมี: ใครรู้? พ่อ
   บัณฑิต: แม่ พระศาสดาทรงทราบ จงไปทูลถามพระองค์เถิด
   นางกล่าวว่า “พ่อ ฉันจักไป จักทูลถาม พ่อ”
   ดังนั้น นางจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่สุดข้างหนึ่ง ทูลถามว่า
   “ทราบว่า พระองค์ทรงทราบยาเพื่อบุตรของหม่อมฉันหรือ? พระเจ้าข้า.”
   พระศาสดา: เออ เรารู้
   นางโคตมี: ได้อะไร? จึงควร
   พระศาสดา: ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดสักหยิบมือหนึ่ง ควร
   นางโคตมี: จักได้ พระเจ้าข้า แต่ได้ในเรือนใคร? จึงควร
   พระศาสดา: บุตรหรือธิดาไร ๆ ในเรือนของผู้ใด ไม่เคยตาย.ได้ในเรือนของผู้นั้น จึงควร
   นางทูลรับว่า “ดีละ พระเจ้าข้า” แล้วถวายบังคมพระศาสดา อุ้มบุตรผู้ตายแล้วเข้าสะเอวแล้วเข้าไปภายในบ้าน ยืนที่ประตูเรือนหลังแรกกล่าวว่า “เมล็ดพันธุ์ผักกาดในเรือนนี้ มีบ้างไหม? ทราบว่านั่นเป็นยาเพื่อบุตรของฉัน.”
   เมื่อเขาตอบว่า มี จึงกล่าวว่า “ถ้าอย่างนั้นจงให้เถิด”
   เมื่อคนเหล่านั้นนำเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาให้ จึงถามว่า “ในเรือนนี้ เคยมีบุตรหรือธิดาตายบ้างหรือไม่เล่า? แม่”
   เมื่อเขาตอบว่า “พูดอะไรอย่างนั้น? แม่ คนเป็นมีไม่มาก คนตายนั้นแหละมาก” นางจึงกล่าวว่า
 “ถ้าอย่างนั้น จงรับเมล็ดพันธุ์ผักกาดของท่านคืนไปเถิด นั่นไม่เป็นยาเพื่อบุตรของฉัน” แล้วได้ให้เมล็ดพันธุ์ผักกาดคืนไป แล้วก็เที่ยวถามโดยทำนองนี้ ตั้งแต่เรือนหลังต้นไปเรื่อย
   จนถึงเย็น นางหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนที่ไม่เคยมีบุตรธิดาที่ตายลงไม่ได้แม้แต่หลังหนึ่ง จึงได้คิดว่า “โอ กรรมหนัก เราได้ทำความสำคัญว่า ‘บุตรของเราเท่านั้นที่ตาย ก็ในบ้านทั้งสิ้น คนที่ตายเท่านั้นมากกว่าคนเป็น.”  ดังนี้ จึงได้ความสังเวชใจ แล้วจึงออกไปภายนอกนครนั้นทีเดียว ไปยังป่าช้าผีดิบเอามือจับบุตรแล้วพูดว่า แน่ะลูกน้อย แม่คิดว่าความตายนี้เกิดขึ้นแก่เจ้าเท่านั้น แต่ว่าความตายนี้ ไม่มีแก่เจ้าคนเดียว นี่เป็นธรรมดามีแก่มหาชนทั่วไป ดังนี้แล้ว จึงทิ้งลูก ในป่าช้าผีดิบแล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-
   -ธรรมนี้นี่แหละคือความไม่เที่ยง มิใช่ธรรมของชาวบ้าน มิใช่ธรรมของนิคม ทั้งมิใช่ธรรมสกุล เดียวด้วย แต่เป็นธรรมของโลกทั้งหมด พร้อมทั้งเทวโลก
   เมื่อนางคิดอยู่อย่างนี้ หัวใจที่อ่อนด้วยความรักบุตร ได้ถึงความแข็งแล้ว นางทิ้งบุตรไว้ในป่า ไปยังสำนักพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน ณ ที่สุดข้างหนึ่ง
   ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า “เธอได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดประมาณหยิบมือหนึ่งแล้วหรือ?”
   นางโคตมี ไม่ได้ พระเจ้าข้า เพราะในบ้านทั้งสิ้น คนตายนั้นแหละมากกว่าคนเป็น
   ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า “เธอเข้าใจว่า ‘บุตรของเราเท่านั้นตาย’ ความตายนั่นเป็นธรรมยั่งยืนสำหรับสัตว์ทั้งหลาย ด้วยว่า ปัจจุราชฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยยังไม่เต็มเปี่ยมนั่นและลงในสมุทรคืออบาย ดุจห้วงน้ำใหญ่ฉะนั้น”
   เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงตรัสพระคาถานี้ว่า:- “มฤตยู ย่อมพาชนผู้มัวเมาในบุตรและสัตว์ ของเลี้ยง ผู้มีใจซ่นไปในอารมณ์ต่าง ๆ ไป ดุจห้วงน้ำใหญ่ พัดชาวบ้านผู้หลับไหลไปฉะนั้น
   ในกาลจบคาถา นางกีสาโคตมีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แม้ชนเหล่าอื่นเป็นมาก บรรลุอริยทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นดังนี้แล นางบวชในพุทธศาสนา
   ฝ่ายนางกีสาโคตมีนั้นทูลของบรรพชากะพระศาสดาแล้ว นางทำประทักษิณพระศาสดา ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้วไปยังสำนักภิกษุณี นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า “กิสาโคตมีเถรี.”
   วันหนึ่ง นางถึงวาระในโรงอุโบสถ นั่งตามประทีปเห็นเปลวประทีปลุกโพลงขึ้นและหรี่ลง ได้ถือเป็นอารมณ์ว่า  “สัตว์เหล่านี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นและดับไปดังเปลวประทีป ผู้ถึงพระนิพพาน ไม่ปรากฏอย่างนั้น.”
   พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฏีนั่นแล ทรงแผ่พระรัศมีไป ดังนั่งตรัสตรงหน้านาง ตรัสว่า “อย่างนั้นแหละโคมี สัตว์เหล่านั้น ย่อมเกิดและดับเหมือนเปลวประทีป ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่แม้เพียงขณะเดียว ของผู้เห็นพระนิพพานประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานอย่างนั้น”  ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
     ก็ผู้ใดไม่เห็นอมตบท พึงมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี  ชีวิตของผู้เห็นอมตบทเพียงวันเดียว ยังประเสริฐกว่า ดังนี้
   จบพระคาถา นางก็บรรลุอรหัต เป็นผู้เคร่งครัดยิ่งในการใช้สอยบริขาร ห่มจีวรประกอบด้วยความปอน ๓ อย่างเที่ยวไปต่อมาพระศาสดาประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่า พวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมองแล
        นางโคตมีเห็นท้าวสักกเทวราช
   ได้ยินว่า ในกาลนั้นท้าวสักกะเข้าไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมกับเทวบริษัท ในที่สุดแห่งปฐมยาม ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ทรงสดับธรรมกถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง
   ในขณะนั้น นางกิสาโคตมีคิดว่า "เราจักเฝ้าพระศาสดา" เหาะมาทางอากาศแล้ว เห็นท้าวสักกะ จึงกลับไปเสีย (การเที่ยวไปกลางคืนเสมอ ๆ ภิกษุณีมิได้ประพฤติ) ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นนางผู้ถวายบังคมแล้ว กลับไปอยู่ ทูลถามพระศาสดาว่า  "พระเจ้าข้า ภิกษุณีนั่นชื่อไร? พอมาเห็นพระองค์แล้วก็กลับ."
   นางกิสาโคตมีเลิศทางทรงผ้าบังสุกุล
   พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร ภิกษุณีนั่น ชื่อกิสาโคตมี เป็นธิดาของตถาคต เป็นยอดแห่งพระเถรีผู้ทรงผ้าบังสุกุลทั้งหลาย" ดังนี้ ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
   ๐ปํสุกูลธรํ ชนฺตุ ? กิสนฺธมนิสนฺถตํ เอกํ วนสฺมึ ฌายนตํ ตมหํ พฺรูมิ พราหฺมณํ
  "เราเรียกชนผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผู้ผอม สะพรั่งด้วยเอ็น ผู้เพ่งอยู่ผู้เดียวในป่านั้นว่า เป็นพราหมณ์.”
        บุพกรรมในอดีตชาติ
   ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไปปรารถนาตำแหน่งนั้น นางเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็นพระราชธิดาองค์หนึ่ง ระหว่างพระพี่น้องนาง  ๗ พระองค์ คือ นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกขุนี(ภิกขุณี) นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา(ธรรมา) นางสุธัมมา(สุธรรมา) และนางสังฆทาสี ครบ ๗
   พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาลชาติปัจจุบัน] คือพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี  พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และนางวิสาขา ครบ ๗ ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้
   ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในภพหลังครั้งนี้ ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีที่ตกยาก จนทรัพย์ เป็นวงศ์ต่ำ ไปสู่สกุลที่มีทรัพย์ ดังความกล่าวมาแล้วข้างต้น

       เรื่องราวของคนหลงสมบัติ

            เรื่องมัฏฐกุณฑลี

    
   มัฏฐกุณฑลี  คือชื่อของเด็กหนุ่มชาวเมืองสาวัตถี พ่อแม่ของเขาเป็นพราหมณ์ผู้มั่งคั่ง แต่มีความตระหนี่ถี่เหนียวมาก จนได้รับฉายาว่า “อทินนปุพพกะ” แปลว่า “ไม่เคยให้อะไรแก่ใคร”
   แต่ถึงกระนั้น พราหมณ์ผู้เป็นพ่อก็ยังมีแก่ใจเอาทองมาตีแผ่ทําเป็นตุ้มหูเกลี้ยงๆ ให้ลูกชายได้สวมใส่ ด้วยเหตุนี้คนทั้งหลายจึงเรียกเด็กคนนี้ว่า “มัฏฐกุณฑลี” แปลว่า “มีตุ้มหูเกลี้ยง” อย่างไรก็ดี ตุ้มหูที่พราหมณ์ให้ลูกใส่นั้นเขาก็ยังอุตส่าห์ทําเอง เพราะไม่อยากเสียค่าจ้างให้ช่างทําทอง
   เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี มัฏฐกุณฑลีป่วยหนัก แม่เห็นลูกป่วยก็สงสาร จึงขอร้องให้พ่อพาลูกไปหาหมอ แต่พ่อเกรงจะเสียเงิน เลยถามหมอว่า "คนป่วยอาการอย่างนี้ต้องกินยาอะไรดี"  แล้วพ่อก็ไปหารากไม้ ใบไม้มาต้มให้ลูกกินตามที่หมอบอกแต่ก็ไม่เป็นผล ลูกอาการทรุดลงเรื่อยๆ จึงพาไปหาหมอ  หมอไม่รับรักษา พ่อคิดว่าลูกคงตายแน่แล้วคราวนี้ ซ้ํายังกลัว
ว่าถ้ามีใครมาเยี่ยมจะเห็นทรัพย์สมบัติ เลยหามลูกชายออกมานอนที่ระเบียงนอกห้อง

   ก่อนจะรุ่งอรุณของวันนั้นเวลาประมาณ  ตึ  ๔  พระพุทธองค์ทรงนั่งแผ่ข่ายคือพระญาณตรวจดูสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุธรรมหรือมีบุญบารมีที่ได้สั่งสมเอาไว้ในปางก่อน   วันนั้นมัฏฐกุณฑลีเข้าไปปรากฏในข่ายคือพระญาณของพระองค์

   พอถึงวันรุ่งเช้า พระพุทธองค์ก็เสด็จไปโปรด ทรงทอดพระเนตรเห็นมัฏฐกุณฑลีนอนตะแคงหันหน้าเข้าฝาบ้านอยู่ไม่ทันเห็นพระองค์ จึงทรงเปล่งพระรัศมีไปวาบหนึ่ง ชายหนุ่มคิดว่า “แสงอะไรกันนะ” แล้วหันหน้าออกมามองก็ได้เห็นพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า “เพราะพ่อเราเป็นคนมิจฉาทิฏฐิ  เราจึงไม่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ไม่ได้ถวายทานหรือฟังธรรม บัดนี้ แม้แต่มือของเราก็ยกไม่ไหวเสียแล้ว จะทําอย่างอื่นได้อย่างไร”  คิดแล้วจึงทําจิตใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงทราบในวาระจิตที่เลื่อมใสของชายหนุ่ม จากนั้นก็เสด็จจากไป ชายหนุ่มสิ้นใจในวินาทีนั้นเองและได้ไปเกิดเป็นเทวดา ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
   ฝ่ายพราหมณ์ผู้เป็นพ่อ เมื่อฝังศพลูกชายแล้ว ก็ได้แต่ไปยืนร้องไห้คร่ําครวญที่ป่าช้าทุกวันว่า "ลูกชายคนเดียวของพ่อเอ๋ย ตอนนี้ลูกไปอยู่ไหน มาหาพ่อเถิดลูก"
   ส่วนเทพบุตรมัฏฐกุณฑลีนั้น เมื่อพิจารณาสมบัติที่ตนได้มาพร้อมวิมานแล้ว ก็รู้ว่าทั้งหมดนี้ได้มาเพราะทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และเมื่อมองลงไปยังโลกมนุนย์  ก็ยังเห็นพ่อไปยืนร้องไห้อยู่ในป่าช้า จึงคิดว่าเราจะทำให้บิดามีจิตสมนึกที่ดี จึงแปลงกายเป็นชายหนุ่มมายืนร้องไห้อยู่อีกมุมหนึ่งใกล้ๆกัน   
   พราหมณ์เห็นเข้าจึงถามขึ้นว่า "เหตุใดจึงมายืนร้องไห้อยู่เช่นนี้ ชายหนุ่มได้ทีก็เลยย้อนถามกลับไปว่า “ท่านเล่ามีความทุกข์อะไร”  จึงมายืนร้องไห้อยู่เช่นนี้
   พราหมณ์ตอบว่า “ข้าพเจ้ามายืนร้องไห้เศร้าโศกเพราะคิดถึงบุตรถึงบุตรชายคนเดียวที่ตายไปแล้ว, ส่วนท่านหละมายืนร้องไห้เพราะอะไรหรือ?”

    ชายหนุ่มแปลงกายพูดว่า “ข้าพเจ้ามีรถอยู่คันหนึ่ง แต่ตัวรถเป็นทองคําผุดผ่องสวยงามนัก แต่ยังหาล้อรถไม่ได้ ข้าพเจ้าคงจะต้องตรอมใจตายแน่เลยคราวนี้”
   พราหมณ์ได้ยินดังนั้นก็ตกตะลึงนิ่งอึ้งไปครู่หนึ่งจึงกล่าวขึ้นว่า “ท่านจะต้องการล้อทอง หรือเงิน หรือแก้วมณี หรือโลหะ จงบอกมาเถิด ข้าจะจัดหามาให้”
   ชายหนุ่มคิดว่า “ดู ดู พ่อเราหนอช่างเป็นไปได้ ตอนเราป่วยหนักไม่ยอมเอาหมอมารักษาเพราะกลัวจะเสียเงินค่ารักษา แต่ตอนนี้เห็นเรามีรถทองคำ กลับจะยอมจัดหาล้อรถมาให้  ไม่ว่าจะเป็นล้อเงินหรือล้อทองคำ แย่จริงๆ แต่เอาเถอะ เราจะทำให้แกเกิดความสำนึกให้ได้”
   คิดดังนั้นแล้ว เทพบุตรมัฏฐกุณฑลีจึงกล่าวต่อไปว่า “สิ่งใดจะเหมาะกับรถของข้าพเจ้าเท่าดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์เล่า ถ้าได้มาเป็นล้อรถคงจะงามเยี่ยมเป็นแน่แท้”
   พราหมณ์คิดว่าเด็กหนุ่มคนนี้ท่าจะบ้า จึงเอ่ยว่า “ท่านโง่เขลาเหลือเกิน ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ก็เอาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มาทําล้อไม่ได้หรอก”
   เทวดาแปลงกายจึงตอบว่า “พราหมณ์ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มันปรากฏให้เราเห็นอยู่ ข้าพเจ้าต้องการในสิ่งที่มองเห็นได้ ส่วนท่านคร่ําครวญถึงสิ่งที่ใครๆ ก็มองไม่เห็นอยู่ ระหว่างท่านกับผม ใครจะโง่กว่ากัน”
   พอพราหมณ์ได้ฟังคำนี้ก็กลับได้สติขึ้นมา ยอมรับว่าชายหนุ่มพูดถูกและตระหนักว่าตนนั้นโง่เขลานัก เพราะต้องการในสิ่งที่มองไม่เห็นและไม่เคยมีใครเรียกคืนมาได้  “ข้าพเจ้าเป็นผู้เร่าร้อนนักหนา ท่านได้รดน้ําคือความเห็นถูก ทําให้ข้าพเจ้ากลายเป็นผู้เย็น ความกระวนกระวายของข้าพเจ้าดับลงแล้ว ความทุกข์โศกของข้าพเจ้าบรรเทาลงแล้ว”
   ต่อจากนั้นพราหมณ์จึงถามมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรว่า "ท่านคือใคร" เขาตอบว่า ตนคือลูกชายของท่านที่ตายไปแล้ว และได้ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพราะจิตที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า"
   พราหมณ์ฟังแล้วเกิดความปีติปราโมทย์ กล่าวว่า “น่าอัศจรรย์จริงหนอ ประหลาดจริงหนอ การทําอัญชลีกรรมแด่พระพุทธเจ้ามีผลถึงเพียงนี้เชียวหรือ ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าจักทําใจให้เลื่อมใสนับถือพระพุทธเจ้าในวันนี้เลยทีเดียว”
   พราหมณ์ได้ให้สัญญากับเทวดาลูกชายว่า ต่อจากนี้จะรักษาศีลให้ทาน และเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เสร็จแล้วเขาก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลอาราธนาให้พระองค์เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่เรือนของตนในวันรุ่งขึ้น
   เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่บ้านของพราหมณ์ ชาวบ้านต่างพากันแห่มาดูมากมาย เมื่อเสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว พราหมณ์ทูลถามพระองค์ว่า “มีหรือพระโคดม บุคคลที่ไม่ได้ถวายทานแก่พระองค์ ไม่ได้บูชาพระองค์ ไม่ได้รักษาอุโบสถศีล แต่ได้ไปเกิดในสวรรค์ด้วยเหตุเพียงการทําจิตให้เลื่อมใสในพระองค์แต่เพียงอย่างเดียว”
   พระศาสดาตรัสตอบว่า “ท่านจะถามอีกทําไมเล่าเศณษฐี  มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรได้บอกความจริงแก่ท่านแล้วมิใช่หรือ”
   อย่างไรก็ดี พระองค์ทรงทราบว่ามหาชนยังไม่สิ้นสงสัย จึงทรงอธิษฐานให้เทพบุตรมัฏฐกุณฑลีซึ่งมีอัตภาพสูงได้ ๓ คาวุต ลงมาจากสวรรค์พร้อมทั้งวิมานทอง แล้วพระองค์ก็ตรัสถามมัฏฐกุณฑลีในเรื่องนี้ ซึ่งเขาก็ได้ทูลตอบตามความจริงดังนี้
   พระพุทธเจ้าตรัสถาม มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรว่า "เทพบุตรองค์นี้ท่านเป็นใครหรือ?"
   มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรทูลตอบว่า "ข้าพระองค์คือมัฎฐกุณพลี"
   พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เมื่อเธอตายไปแล้ว  เธอไปเกิดที่ไหนหรือ?"
   มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรกราบทูลว่า "เมื่อตายไปแล้ว  ข้าพระองค์ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  พระเจ้าข้า"
   พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า "เธอ ได้ทำบุญอะไรไว้  เธอได้ให้ทาน รักษาศีลหรือ จึงได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์"
   มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรกราบทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์ไม่ได้ให้ทานรักษาศีลอะไรเลย  ข้าพระองค์เพียงแต่ทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธองค์ในเวลาก่อนจะสิ้นใจตายเท่านั้น  พระเจ้าข้า"   
   เมื่อมหาชนทั้งหลายได้เห็นและได้ยินเช่นนั้นก็เกิดปีติโสมนัสยินดีเป็นยิ่งนักและกล่าวด้วยความเลื่อมใสว่า “ดูเถิดท่านทั้งหลาย บุตรของพราหมณ์ไม่ได้ทําบุญอย่างอื่นเลย เพียงทําใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเท่านั้น ยังได้สมบัติถึงปานนี้ พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณน่าอัศจรรย์แท้”
   พระพุทธเจ้าจึงตรัสพระคาถานี้ว่า

    ๐มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
   มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา
   ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี.
    ๐ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่
   สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว
   พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา
   เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น.ฯ

    ** หมายเหตุ :- มัฏฐกุณฑลี  เมื่อตายไปแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีอัตภาพร่างกายสูงได้  ๓  คาวุต

    คาวุต เป็นชื่อมาตราวัดความยาวของระยะทางหรือความสูง ใช้ในสมัยพุทธกาล ในคำไทยใช้ว่า คาพยุต ก็มี เทียบปัจจุบัน เท่ากับ 100 เส้น หรือ 2,000 วา หรือ 4,000 เมตร ซึ่งเท่ากับ 1 ใน 4 ของโยชน์ (1 โยชน์เท่ากับ 16,000 เมตร หรือ 16 กิโลเมตร)
 มาตราวัดสมัยพุทธกาล
   4 ศอก เป็น 1 ธนู
   500 ธนู เป็น 1 โกสะ
   4 โกสะ เป็น 1 คาวุต
   4 คาวุต เป็น 1 โยชน์
     มาตราอื่นๆ
   4 ศอก เป็น 1 วา
   25 วา เป็น 1 อุสภะ
   80 อุสภะ เป็น 1 คาวุต
   4 คาวุต เป็น 1 โยชน์

               มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร 

       -มีอัตภาพร่างกายสูงได้   ๓   คาวุต   =  ๖๐๐๐  วา

       -มีวิมานทองสูงได้   ๓๐  โยชน์     =     ๓๘๐    กิโลเมตร 

         

                   เรื่องการทำบุญแจกข้าว

   

             ๐อะทาสิ  เม  อะกาสิ  เม       ญาติมิตตา  สะขา  จะเม

        เปตานัง  ทักขิณัง  ทัชชา       ปุพเพ  กะตะมนุสสะรัง

      ๐แปลว่า "บุคคลมาระลึกถึงอุปการะอันท่านได้กระทำแล้วแก่ตนในกาลก่อนว่า

       ผู้นี้ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา   ผู้นี้ได้ทำกิจนี้ของเรา   ผู้นี้เป็นญาติเป็นมิตรและเป็นเพื่อนของเรา ดังนี้ 

    ๐การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วถือว่าเป็นหน้าที่ของคนที่ยังมีชีวิตอยู่เลยทีเดียว เป็นสิ่งที่คนทุกชาติทุกภาษาควรจะจดจำเอาไว้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าผู้ที่ล่วงลับไปแล้วไปเกิดในภูมิอื่น (เว้นมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน) ย่อมไม่มีการทำมาหากินเลย ผู้ล่วงลับไปจะมีสภาพความเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับกรรมดีและกรรมชั่วที่ตนเองกระทำเอาไว้ตอนที่เป็นมนุษย์ จะต้องอาศัยการทำบุญอุทิศไปให้ของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์นี้เท่านั้น  และการทำบุญอุทิศไปให้ผู้ล่วงลับไปแล้วก็ต้องทำกับพระภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นธรรมเท่านั้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ บุญนั้นจึงจะถึงแก่ผู้ตายไปแล้ว ตามภูมิตามกำเนิดที่สามารถรับผลบุญที่อุทิศให้ แต่ถ้าทำกับผู้รับที่ไม่มีศีลธรรม บุญก็จะไม่ถึงแก่ผู้ตาย
   การทำบุญอุทิสให้ผู้ตาย ทางภาคอิสานเรียกว่า "ทำบุญแจกข้าว" เป็นประเพณี ของคนอีสาน ที่ต้องการแสดงออกถึงความรักเคารพ พ่อแม่ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อให้ดวงวิญญาณได้สงบสุข ได้รับส่วนบุญที่ลูกหลานทำบุญไปให้ หรือ เรียกว่า "งานแจกข้าว" การทำบุญแจกข้าวชาวอีสานถือเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะถือว่าทุกคนเมื่อถึงแก่กรรมไปแล้วจะต้องได้กินข้าวแจก หากบุคคลใดเมื่อตายไปแล้วไม่มีใครแจกข้าวให้ เข้าใจกันว่าบุคคลนั้นจะต้องได้รับความอดอยากและไม่ไปผุดไปเกิด วิญญาณจะคงวนเวียนคอยหาข้าวแจกอยู่นั่นเอง ตระกูลใดเมื่อญาติสนิทถึงแก่กรรมไม่ทำบุญแจกข้าวให้มักจะเป็นที่ดูหมิ่นของคนอื่นถูกชาวบ้านนินทาในทางไม่ดี หาว่าเป็นผู้ไม่รู้จักบุญคุณ เป็นคนเห็นแก่ตัวไม่รู้จักเสียสละเพื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
   การดำเนินการทำบุญแจกข้าว เมื่อกำหนดงานบุญแล้ว มีการบอกญาติพี่น้องทุกคนและผู้รักใคร่นับถือในหมู่บ้านใกล้เคียง หรือแม้จะไปอยู่คนละหัวเมืองก็บอกให้ทราบ เพื่อจะ
ได้มาร่วมทำบุญโดยพร้อมเพรียงกัน มีการปลูกปะรำไว้สำหรับญาติพี่น้องได้พักอาศัยในขณะมาร่วมทำบุญด้วย พอถึงวันกำหนดวันงานตอนเช้าจะมีการเลี้ยงญาติพี่น้องที่ได้รับเชิญจนอิ่มหนำสำราญตอนกลางวัน มีการจัดตกแต่งเครื่องไทยทาน ซึ่งเรียกว่า ห่ออัฎฐะ คงหมายถึงการจัดอัฐบริขารนั้นเอง มีการถวายอาหารเพลพระภิกษุและเลี้ยงอาหารกลางวันญาติพี่น้องอีกด้วย บางงานมีการบวชนาค
   ตอนเย็นมีการฟังพระสวดมนต์ตอนกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดคืน
 ตอนเช้าถวายอาหารบิณฑบาตและเครื่องไทยทานแต่พระภิกษุสงฆ์ โดยนิมนต์มาที่บ้านของเจ้าภาพ มีพิธีถวายผ้าบังสุกุลเสร็จแล้วฟังเทศน์ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย และเลี้ยงอาหารแก่ผู้มาร่วมงานอีกครั้งหนึ่งเป็นเสร็จพิธี ประเพณีไทยอีสานที่เรียกกันว่า แจกข้าว คงหมายถึงนอกจากถวายภัตตาหารและแจกทานแต่พระภิกษุสงฆ์ ยังมีการ
เลี้ยงอาหารทำนองแจกทานแก่ผู้ไปร่วมงานโดยทั่วถึงกันเป็นพิเศษคือการทำบุญมากกว่าครั้งใดๆนั่นเอง นอกจากบุญแจกข้าวดังกล่าวญาติพี่น้องจะทำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วอีกเล็กๆ น้อยๆ ในบางโอกาศก็ทำได้แล้วแต่ศรัทธา

      ต้นกำเหนิดการทำบุญอุทิศให้คนตาย
   วันหนึ่งหลานสาวของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีเล่นตุ๊กตาที่ทำจากแป้งเล่นไปเล่นมาก็ทำหล่นลงบนพื้นแตก หลานสาวก็ร้องไห้ด้วยความเสียดายตุ๊กตาที่แตกไป เพราะจะไม่มีตุ๊กตาเล่นอีก   ท่านเศรษฐีก็ได้ปลอบโยนหลานว่า “ไม่เป็นไร เรามาช่วยกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตากันเถิด” ปรากฏว่าหลานหยุดร้องไห้ รุ่งเช้าท่านเศรษฐีจึงพาหลานไปทำบุญเลี้ยงพระแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาข่าวการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาของท่านเศรษฐี แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วประชาชนชาวพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกระทำ ดังนั้นเมื่อญาติผู้เป็นที่รักของตนตายลงก็พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ประเพณีการทำบุญกรวดน้ำให้คนตายจึงกลายเป็นประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้   ด้วยการทำบุญอุทิศไปให้ตุ๊กตาแป้งของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีนี้แหละ มันทำให้เกิดการเลืองลือไปอย่างเอิกเกริกกันใหญ่เลยทีเดียวในหมู่ชาวพุทธทั้งหลาย  เพราะอาศัยเรื่องนี้เป็นสาเหตุจึงทำให้เกิดพราหมณ์ขี้สงสัยขึ้นมาคนหนึ่งชื่อว่าชานุสโสณีพราหมณ์ เขาสงสัยว่า "การที่คนทั้งหลายพากันทำบุญอุทิศให้คนที่ตายไปแล้วนั้นทานนั้นมันถึงแก่คนตายหรือเปล่า?"

               เรื่องพราหมณ์ขี้สงสัย
  ๐ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในเมืองนั้นมีพราหมณ์ขึ้สงสัยอยู่คนหนึ่งชื่อว่า "ชานุสโสณีพราหมณ์"  เวลาไปทำบุญแล้วกลับมาบ้านเรือนเขามักจะเอามาคิดว่า "ทานที่เราให้ไปแล้วนั้นมันจะถึงแก่พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องของเราที่ตายไปแล้วหรือเปล่า?"  เมื่อเกิดความสงสัยเช่นนี้เขาก็มีความทุกข์ใจอยู่เสมอ   วันหนึ่งเขาเกิดฟิตขึ้นมาคิดว่าเราจะต้องถามเรื่องนี้ให้หายสงสัยไปจากใจให้ได้  เขาจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลถามว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  ทานที่ข้าพระองค์ถวายไปแล้วนั้นมันจะมีผลแก่พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องของข้าพระองค์ทั้งหลายที่ตายไปแล้วหรือไม่ พระเจ้าข้า"
   พระพุทธเจ้าครัสว่า "ดูก่อนพราหมณ์  ทานที่โยมให้ไปแล้วนั้นมันจะไม่ถึงแก่ญาติพี่น้องทั้งหลายของโยมที่ตายไปเกิดในนรก  เปรต   อสุรกาย   สัตวืเดรัจฉาน  และไปเกิดเป็นมนุษย์   เทวดา  และพระพรหม  ทานนั้นจะให้ผลแก่ญาติพี่น้องทั้งหลายของโยมที่ตายไปเกิดเป็น ปรทัตตูปะชีวีเปรตเท่านั้น เพราะเปรตประเภทนี้มีบาปเหลือน้อยพร้อมที่จะไปเกิดได้เสมอ เหมือนนักโทษชั้นดีกำลังจะพ้นโทษ ครั้นได้รับผลลทานที่ญาติพี่น้องอุทิสไปให้แล้วก็จะไปเกิดในที่สุคติภูมิต่อไป
   พราหมณ์ต่อไปว่า "ทำไมผลของทานจึงอุทิศไม่ถึงญาติพี่น้องทั้งหลายที่ไปเกิดใน นรก   เปรต   อสุรกาย   สัตว์เดรัจฉานและไปเกิดเป็น มนุษย์   เทวดา  และพรหม  พระเจ้าข้า"
   พระพุทธเจ้าตรัสแก่พราหมณ์ว่า "ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่ทานอุทิศไปไม่ถึงญาติพี่น้อทั้งหลายที่ไปเกิดในภูมิตามที่กล่าวนั้น  เพราะภูมิเหล่านั้นมีอาหารเป็นของตนเองอยู่แล้ว  เช่นไปเกิดในนรกๆก็มีอาหารเป็นของตนเองอยู่แล้วเช่นน้ำเลือดน้ำหนองตัวหนอน   ถ้าไปเกิดเป็นเปรตก็มีอาหารคือมลทินแห่งครรภ์  เพลิง และการอดข้าวอดน้ำ   ถ้าไปเกิด
เป็นอสุรกาย ก็อดอยากหิวโหยอยู่ตลอดเวลากินอะไรไม่ได้เพราะมีปากเท่ารูเข็ม   ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็กินใบไม้และหญ้า   ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์ก็มีข้าวปลาผักผลไม้เป็นอาหาร   ถ้าไปเกิดเป็นเทวดาก็มีโภชนาทิพย์เป็นอาหารและถ้าไปเกิดเป็นพรหมก็มีปีติเป็นอาหาร"
   พราหมณ์ทูลถามต่อไปว่า "ข้าแต่พระโคมผู้เจริญ  ถ้าทานที่อุทิสไปมันนั้นไม่ถึงแก่ใครมันจะไปไหนหรือ? พระเจ้าข้า"
   พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนพราหมณ์  ถ้ามันไม่ถึงแก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วในปัจจุบันชาตินี้ มันก็จะถึงแก่ญาติพี่น้องทั้งหลายที่เป็นญาติพี่น้องในอดีตชาติ"
   พราหมณ์ทูลถามต่อไปว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  ถ้าญาติพี่น้องทั้หลายในอดีตชาติไม่ได้รับหละ ผลทานนั้นมันจะไปไหนหรือ พระเจ้าข้า?"
   พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนพราหมณ์  ถ้าญาติพี่น้องทั้งหลายในอดีตชาติไม่ได้รับ  ผลทานนั้นมันก็จะรอผู้ให้มันอยู่จนกว่าผู้ให้ทานคนนั้นจะตายมาเกิดเสวยผลบุญนั้น"
   พราหมณ์ชานุสโสณีก็คุกเข่าขึ้นประนมมือกราบทูลว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  พระองค์เป็นผู้เปิดความมืดบอดและโง่เขลาของข้าพระองค์ให้สว่างไสวแล้ว พระเจ้าข้า"
 
  ผู้ที่จะได้รับส่วนบุญจะต้องมีความพร้อม ๓ อย่าง  
    ๑.มีผู้อุทิศส่วนบุญกุศลไปให้
    ๒.มีการอนุโมทนาคือการรับเอาของเปรตด้วย
    ๓.ถึงพร้อมด้วยทักขิไญยบุคคลคือพระที่ประพฤติปฏิบัติชอบเพื่อความพ้นทุกข์

   ถาม: การรักษาศีล หรือ การเจริญภาวนา อุทิศส่วนกุศลให้เปรต เปรตจะรับได้ไหม ?
    ตอบ: 
       
         เรื่องเปรตมารดาของพระสารีบุตร
   นางเปรตนั้นได้เคยเป็นมารดาของพระสารีบุตร ในชาติที่ ๕ แต่ปัจจุบันชาตินี้. เพราะฉะนั้น เธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดิฉันเป็นมารดาของพระผู้เป็นเจ้าสารีบุตรเถระ ในชาติที่ ๕ แต่ปัจจุบันชาติ ขอท่านจงให้ดิฉันเข้าประตู เพื่อเยี่ยมพระเถระ. เทวดาได้ฟังดังนั้นจึงอนุญาตให้นางเข้าไป นางครั้นเข้าไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สุดที่จงกรมแสดงตนแก่พระเถระ.
พระเถระครั้นได้เห็นนางเปรตนั้น  เป็นผู้มีใจอันความกรุณาตักเตือน จึงถามด้วยคาถาว่า
   ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด
  ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
    ดูก่อนนางผู้ซูบผอม มีแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครหรือ จึงมายืนอยู่ในที่นี้.   นางเปรตนั้นถูกพระเถระถาม เมื่อจะให้คำตอบจึงได้กล่าวความว่า   เมื่อก่อนดิฉันเป็นมารดาของท่าน ในชาติอื่น ๆ ดิฉันเข้าถึงเปตวิสัย เพียบพร้อมไปด้วยความหิว และความกระหาย เมื่อถูกความหิวครอบงำ ย่อมกินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ที่เขาถ่มทิ้ง และกินมันเหลวของซากศพ ที่เขาเผาที่เชิงตะกอน กินโลหิตของพวกหญิงที่คลอดบุตร และโลหิตของพวกบุรุษที่ถูกตัดมือ เท้า และศีรษะที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น และข้อมือข้อเท้าเป็นต้นของชายหญิง กินหนองและเลือดของปศุสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีที่เร้น ไม่มีที่อยู่อาศัยนอนบนเตียงของคนตายที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ลูกเอ๋ย ขอลูกจงให้ทานแล้วอุทิศส่วนบุญแก่เราบ้างไฉนหนอแม่จึงจะพ้นจากการกินหนองและเลือด.
    ท่านพระสารีบุตรเถระ ได้สดับดังนั้นแล้ว ในวันที่สองจึงเรียกพระเถระ ๓ รูป มีท่านพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้นมาพร้อมด้วยพระเถระเหล่านั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ได้ไปถึงพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร. พระราชาเห็นพระเถระแล้ว จึงถามถึงเหตุแห่งการมาว่า พระคุณเจ้าขอรับ ท่านมาทำไมหรือ?
   ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงได้ทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา  พระราชาตรัสว่า โยมรู้แล้ว แล้วจึงละพระเถระ รับสั่งให้เรียกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ ทรงพระบัญชาว่า เธอจงสร้างกุฎี ๔ หลังในที่นี้อันสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ อันวิจิตร ไม่ไกลแต่เมืองและในภายในพระราชวัง ให้แบ่งเป็น ๓ ส่วน โดยที่มีความพิเศษเพียงพอแล้วให้รับกุฎี ๔ หลัง. และพระองค์เองก็ได้เสด็จไปในที่นั้นได้ทรงกระทำพระราชกรณียกิจที่ควรทำ. เมื่อกุฎีสำเร็จแล้วจึงให้ตระเตรียมพลีกรรมทั้งหมด เข้าไปตั้งข้าวน้ำและผ้าเป็นต้นและเครื่องบริขารทุกอย่างที่สมควรแก่ภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วมอบถวายสิ่งทั้งหมดนั้นแด่ท่านพระสารีบุตรเถระ.
    ลำดับนั้น พระเถระ ได้ถวายสิ่งทั้งหมดนั้น แด่ภิกษุสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานอุทิศไปให้แก่นางเปรตนั้น. นางเปรตนั้น ได้อนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้วก็ได้
บังเกิดในเทวโลก  เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง ในวันต่อมา ก็ได้เข้าหาท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ไหว้แล้วยืนอยู่. พระเถระสอบถามนางเปรตนั้น. นางเปรตนั้น ได้แจ้งเหตุที่ตนเข้าถึงความเป็นเปรต และเข้าถึงความเป็นเทวดาอีก.ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-
    ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีจิตอนุเคราะห์ได้ฟังคำของมารดาแล้ว จึงปรึกษากับท่าน
พระมหาโมคคัลลานเถระ ท่านพระอนุรุทธะและท่านพระกัปปินะ แล้วให้สร้างกุฏิ ๔ หลัง ถวายกุฎีทั้งข้าวและน้ำแด่พระสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ อุทิศส่วนกุศลไปให้แก่มารดา.
    ในทันใดนั้นเอง วิบากคือ ข้าว น้ำ และผ้าก็เกิดขึ้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ภายหลังนางมีร่างกายบริสุทธิ์สะอาดนุ่งห่มผ้าอันมีค่า ยิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตร เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถามนางเปรตนั้นว่า ดูก่อน นางเทพธิดา ท่านมีวรรณะวรรณงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทุกทิศ สถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก. ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่าง อันเป็นที่พอใจ ย่อมบังเกิดแก่ท่าน เพราะกรรมอะไร.
    ดูก่อน นางเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมากอาตมภาพขอถามท่าน เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ได้ทำ
บุญอะไรไว้ อนึ่งท่านมีอานุภาพรุ่งเรือง และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร. ลำดับนั้น นางเปรตจึงตอบโดยนัยมีอาทิว่า ดิฉัน เป็นมารดาของท่านพระสารีบุตร. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแลลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้เข้าถึงพร้อมแล้ว.

   เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนั้นแล.
    จบ อรรถกถาสาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุที่ ๒

                 กัณฑ์ที่ ๑๑

       

  ๐ปุญญานิ  ปะระโลกัสมิง  ปะติฏฐา  โหนติ  ปาณินันติฯ 

   ๐บุญเป็นที่พึ่งของคนในโลกเบื้องหนัา ฯ

  บุญ แปลว่า"ความดี"  ตรงกันข้ามกับบาป ที่แปลว่า"ความชั่ว"  คนเราเมื่อหมดลมหายใจไปแล้ววบุญและบาปนี้แหละจะเป็นตัวชี้ขาดว่าจะไปดีหรือไปชั่ว

  ก่อนที่เราจะรู้ว่าเราจะไปดีหรือไปชั่ว เรามารู้จักบุญและบาปเสียก่อนว่ามันเป็นตัวอย่างไร

   ลำดับของตัวบุญมีดังนี้

    ๑.ผ้าไตรจีวร

    ๒.พระพุทธรูป

    ๓.เครื่องอัฏฐบริขาร

  ทำไมผ้าไตรจีวรจึงเป็นตัวบุญ เหตุที่ผ้าไตรจีวรเป็น

ตัวบุญ เพราะผ้าไตรจีวรนี้ ถ้ามนุษย์คนไหนนำไปนุงห่มบวชเป็นพระและะเป็นสามเณร ให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติแล้วผู้นั้นก็จะได้บุญ

      

    

 

 

 

 

   

 

 

 

 

    

 

 

 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 139,922