26.พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งโลก

                                             หน้าที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องของมนุษย์

                     

           
                       พุทโธ  โลกวิทู
                พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งโลก
    ๐พุทโธ  โลกวิทู     แปลว่า "พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งโลก"   คำว่า "โลก"  ในพุทธคุณบทนี้  หมายถึงโลก  ๓   คือ:-
      ๑.สังขาระโลก         โลกคือสังขารร่างกาย
      ๒.สัตตะโลก            โลกคือหมู่สัตว์
      ๓.โอกาสะโลก         โลกคือแผ่นดิน  แผ่นฟ้า  อากาศ  และน้ำ
                         สังขาระโลก
    ๐สังขาระโลก   โลกคือสังขารร่างกาย    คำว่า "สังขาร"  ในบทนี้   แปลว่า "การปรุงแต่ง"  สังขารร่างกายจะเกิดมีขึ้นมาได้ จะต้องถูกปรุงแต่งขึ้นด้วยธาตุ ๖    และคำว่าสังขารในบทนี้    หมายถึงสังขาร  ๒  คือ:-
      ๑.อุปาทินนะกะสังขาร       คือสังขารร่างกายที่มีจิตใจ     เช่น  มนุษย์   นรก   เปรต
อสุรกาย   สัตว์เดรัจฉาน   เทวดา   และพรหม
      ๒.อนุปาทินนะกะสังขาร     คือสังขารรูปกายที่ไม่มีจิตใจ    เช่น  ภูเขา   ต้นไม้   บ้านเรือน   รถเรือ   เครื่องบิน   โต๊ะเก้าอี้   สมุดดินสอ ฯลฯ
                        สังขารร่างกายที่มีจิตใจ
    

         ทั้งมนุษย์และควายในภาพนี้คือสังขารร่างกายที่มีจิตใจ

    ๐สังขารร่างกายที่มีจิตใจครอง    จะถูกปรุงแต่งขึ้นมาด้วยอำนาจของธาตุ  ๖   คือ:-
       ๑.ธาตุดิน            ๒๐
       ๒.ธาตุน้ำ            ๑๒
       ๓.ธาตุไฟ            ๔
       ๔.ธาตุลม            ๖
       ๕.อากาศธาตุ      ๑
       ๖.วิญญาณธาตุ    ๖

                    ธาตุดิน ๒๐
    ๐ธาตุดิน  ในร่างกายของมนุษย์มี   ๒๐   ชนิด   คือ:-
      -กลุ่มที่หนึ่งมี  ๕  คือ:- 
        ๑.เกสา คือผมทั้งหลาย   
        ๒.โลมา คือขนทั้งหลาย  
        ๓.นะขา คือเล็บทั้งหลาย  
        ๔.ทันตา คือฟันทั้งหลาย  
        ๕.ตะโจ คือหนัง
     -กลุ่มที่สองมี  ๕  คือ:- 
        ๑.มังสัง คือเนื้อ  
        ๒.นะหารู คือเอ็นทั้งหลาย   
        ๓.อัฏฐี คือกระดูกทั้งหลาย  
        ๔.อัฏฐิมิญชัง  คือเยื่อในกระดูก   
        ๕.วักกัง คือม้าม
     -กลุ่มที่สามมี  ๕  คือ:- 
        ๑.หะทะยัง คือหัวใจ  
        ๒. ยะกะนัง คือตับ  
        ๓.กิโลมะกัง คือพังผืด  
        ๔.ปิหะกัง คือไต  
        ๕.ปัปผาสัง คือปอด
     -กลุ่มที่สี่มี  ๕  คือ:- 
        ๑.อันตัง  คือ ใส้ใหญ่   
        ๒.อันตะคุณัง  คือใส้น้อย  
        ๓.อุทะริยัง คืออาหารใหม่  
        ๔.กะรีสัง คืออาหารเก่า  
        ๕.มัตถะเก มัตถะลุงคัง เยื่อในสมอง
     -กลุ่มที่หนึ่งมี ๕     คือ ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง
     -กลุ่มที่สองมี ๕     คือ  เนื้อ  เอ็น  กระดูก  เยื้อในกระดูก  ม้าม
     -กลุ่มที่สามมี      คือ  หัวใจ  ตับ  พังผืด  ไต  ปอด
     -กลุ่มที่สี่มี  ๕        คือ  ไส้ใหญ่  ไส้น้อย  อาหารเก่า  อาหารใหม่  มันในสมอง
                   ธาตุน้ำ ๑๒
    ๐ธาตุน้ำ  ในร่างกายของมนุษย์มี  ๑๒  ชนิด   คือ:-
       ๑.ปิตตัง            คือน้ำดี
       ๒.เสมหัง           คือน้ำเสมหะ
       ๓.ปุพโพ           คือน้ำหนอง
       ๔.โลหิตัง          คือน้ำเลือด
       ๕.เสโท             คือน้ำเหงื่อ
       ๖.เมโท             คือน้ำมันข้น
       ๗.อัสสุ             คือน้ำตา
       ๘.วะสา             คือน้ำมันเหลว
       ๙.เขโฬ            คือน้ำลาย
       ๑๐.สิงฆานิกา    คือน้ำมูก
       ๑๑.ละสิกา        คือน้ำไขข้อ
       ๑๒.มุตตัง         คือน้ำมูตร

    **ธาตุดินและธาตุน้ำรวมกัน เรียกว่า "อาการ ๓๒"  

                  ธาตุไฟ ๔
    ๐ธาตุไฟ  ในร่างกายของมนุษย์มี  ๔  ชนิด   คือ:-
       ๑.สันตัปปัคคี         คือไฟสำหรับทำให้ร่างกายอบอุ่น
       ๒.ปริทัยหัคคี         คือไฟสำหรับทำให้ร้อนระส่ำระสาย
       ๓.ชิระนัคคี              คือไฟสำหรับเผาร่างกายให้แก่ชรา
       ๔.ปริณามัคคี         คือไฟสำหรับย่อยอาหาร              
                ธาตุลม ๖
   ๐ธาตุลม   ในร่างกายของมนุษย์มี  ๖   ชนิด   คือ:-    
      ๑.อุทธังคะมาวาตา           คือลมพัดขึ้นเบื้องบน
      ๒.อะโธคะมาวาตา            คือลมพัดลงเบื้องล่าง
      ๓.กุจฉิสะยาวาตา             คือลมพัดนอกไส้
      ๔.โกฐฐาสะยาวาตา          คือลมพัดในไส้
      ๕.อังคะมังคานุสารีวาตา   คือลมพัดไปทั่วร่างกาย
      ๖.อัสสาสะปัสสาสะวาตา    คือลมหายใจเข้าหายใจออก
               อากาศธาตุ ๑
    ๐อากาศธาตุ   ในร่างกายของมนุษย์มี  ๑   ชนิด   คือ:-
      ๑.อากาสะธาตุ     คือธาตุที่เป็นช่องว่างในร่างกาย
              วิญญาณธาตุ ๖
    ๐วิญญาณธาตุ   ในร่างกายของมนุษย์มี  ๖   ชนิด   คือ:-
      ๑.จักขุวิญญาณธาตุ         คือธาตุแห่งการรู้แจ้ง    เมื่อตาได้เห็นรูป
      ๒.โสตะวิญญาณธาตุ        คือธาตุแห่งการรู้แจ้ง    เมื่อหูได้ยินเสียง
      ๓.ฆานะวิญญาณธาตุ        คือธาตุแห่งการรู้แจ้ง     เมื่อจมูกได้กลิ่น       
      ๔.ขิวหาวิญญาณธาตุ       คือธาตุแห่งการรู้แจ้ง     เมื่อลิ้นได้ลิ้มรสอาหาร
      ๕.กายะวิญญาณธาตุ        คือธาตุแห่งการรู้แจ้ง     เมื่อกายได้สัมผัสกับ เย็น  ร้อน  อ่อน  แข็ง
      ๖.มะโนวิญญาณธาตุ        คือธาตุแห่งการรู้แจ้ง     เมื่อใจได้กระทบกับอารมณ์ที่จรเข้ามา
    ๐ ร่างกายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย  จะต้องประกอบด้วย ธาตุทั้ง  ๖  เหล่านี้  เป็น
ตัวปรุงแต่งรูปร่างขึ้นมา  รูปร่างที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาจะดีหรือชั่วต้องขึ้นอยู่กับ ศีล ๕,กุศล
กรรมและอกุศลกรรม  เป็นตัวชี้ขาด
     -รูปร่างที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาด้วยธาตุทั้ง  ๖  เหล่านี้แล้ว  รูปร่างจะดี  สวยงาม  มีบุญวาสนา  มั่งคั่งร่ำรวย  สมบูรณ์ไม่พิกลพิการ  ในอดีตชาติจะต้องมีศีล ๕ เป็นตัวตั้งคือเป็นรากฐาน  และมีกุศลกรรมบถ ๑๐  เป็นตัวดำเนินในวิถ๊ชีวิต  รูปร่างจึงจะดีและสวยงาม
     -รูปร่างที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาด้วยธาตุทั้ง  ๖  เหล่านี้แล้ว  รูปร่างไม่ดี  ขี้เหร่   ไม่สวยงาม ด้อยบุญวาสนา  ลำบากอยากจน  พิกลพิการไม่สมประกอบ   เพราะในอดีตชาติไม่มีศีล ๕ เป็นรากฐาน  และไม่ได้ดำเนินวิถีชีวิตด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐   รูปร่างที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาแล้วจึงไม่ดีและไม่สวยงาม
     -ถาม  ศีล  ๕  คืออะไร?
     -ตอบ  ศีล  ๕  คือข้องดเว้นที่ทำให้มนุษย์มีข้อแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉาน  เพื่อจะทำให้มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐ
                            ศีล  ๕
     ๑.ปาณาติปาตา     เวระมะณี             คือการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีมนุษย์และโคเป็นต้น
     ๒.อะทินนาทานา     เวระมะณี            คือการงดเว้นจากการลักขโมย  ปล้นจี้  ฉกชิง
วิ่งราว ทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่น
     ๓.กาเมสุมิจฉาจารา     เวระมะณี       คือการงคเว้นจากการเล่นชู้
     ๔.มุสาวาทา     เวระมะณี                   คือการงดเว้นจากการพูดเท็จ  พูดโกหกหลอกลวงต้มตุ๋นผู้อื่น
     ๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา     เวระมะณี        คือการงดเว้นจากการดื่มน้ำ
เมา ได้แก่ สุรา  เมรัย  และยาเสพติดทุกชนิด
    -มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายถูกปรุงแต่งขึ้นมาจากธาตุทั้ง ๖  เหมือนกัน  แต่มีข้อแตกต่างกันด้วยศีล ๕  คือมนุษย์ทั้งหลายมีศีล ๕  แต่พวกสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายไม่มีศีล ๕
     -ถาม  กุศลกรรมและอกุศลกรรมมีข้อแตกต่างกันอย่างไร? มีกี่อย่างอะไรบ้าง?
     -ตอบ  กุศลกรรม   แปลว่า "กรรมดี"    อกุศลกรรม   แปลว่า "กรรมชั่ว"
                          กุศลกรรมบถ ๑๐
     ๐กุศลกรรมบถมี  ๑๐  ประการ  คือ
   ๑.ปาณาติปาตา     เวระมะณี        คือไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ก็ตาม
   ๒.อะทินนาทานา    เวระมะณี        คือไม่ลักขโมยปล้นจี้ ฉกชิงวิ่งราว ในทรัพย์สินของผู้อื่น
   ๓.กาเมสุมิจฉาจารา     เวระมะณี   คือไม่เล่นชู้
   ๔.มุสาวาทา     เวระมะณี               คือไม่พูดเท็จ พูดโกหกหลอกลวงต้มตุ๋นผ็ูอื่น
   ๕.ปิสุณายะ  วาจายะ   เวระมะณี    คือไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
   ๖.ผะรุสายะ   วาจายะ   เวระมธณี   คือไม่พูดคำหยาบ
   ๗.สัมผัปปะลาปา    เวระมะณี        คือไม่พูดเพ้อเจ้อ
   ๘.อะนะภิชะฌา         คือไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
   ๙.อะพะยาบาท        คือไม่อาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
   ๑๐.สัมมาทิฏฐิ          คือเห็นชอบตามทำนองครองธรรม  คือเห็นว่า "บุญมี  บาปมี   นรกมี   สวรรค์มี   ทำดีได้ดี   ทำชั่วได้ชั่ว   พ่อแม่มีคุณ"
        มนุษย์ทั้งหลายผู้ดำเนินชีวิตด้วย "กุศลกรรมบถ ๑๐"  ก็จะมีความสุขกายสบายใจ  มีความร่มเย็นเป็นสุข ไม่ทุกข์ยากเดือดร้อน  เป็นคนดี  มั่งมีศรีสุข  มีสุขภาพดี  ครั้นเมื่อตายไปแล้วก็จะไปบังเกิดในสุคติภูมิคือ  มนุษย์   เทวดา   และพรหม
                      อกุศลกรรมบถ ๑๐    
    ๐อกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมบถก็ได้มี  ๑๐   ประการ   คือ:-
    ๑. ปาณาติบาต หมายถึง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ห่มเหง รังเกสัตว์
    ๒. อะทินนาทาน หมายถึง การลักขโมย  ปล้นจี้  ฉกชิง  วิ่งราวทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่น
    ๓. กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง การเล่นชู้  คือการผิดลูกผิดเมียหรือการผิดลูกผิดผัวของผู้อื่น
    ๔. มุสาวาท หมายถึง การพูดเท็จ พูดโกหกหลอกลวงต้มตุ๋นผู้อื่น
    ๕. ปิสุณะวาจา หมายถึง พูดส่อเสียด พูดยุยงให้เขาแตกความสามัคคีกัน
    ๖. ผะรุสะวาจา หมายถึง การพูดคำหยาบ
    ๗. สัมผัปปะลาปะ หมายถึง การพูดเพ้อเจ้อ เลื่อนลอย ไม่มีเหตุมีผล
    ๘. อภิชฌา หมายถึง ความความโลภอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตน
    ๙. พยาบาท หมายถึง การคิดอาฆาตพยาบาทปองร้ายต่อผู้อื่น
    ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง การเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม คือเห็นว่า "บุญไม่มี   บาปไม่มี  ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี  นรกไม่มี   สวรรค์ไม่มี   พ่อแม่ไม่มีบุญคุณ"
     มนุษย์ทั้งหลายผู้ดำเนินชีวิตด้วย "อกุศลกรรมบถ ๑๐" จะเป็นคนไม่ดี  เป็นคนบาป  มีความทุกข์ยากเดือดร้อนมาก  เป็นคนยากจนเข็ญใจ  มีบุญวาสนาน้อย   สุขภาพไม่ดี    ครั้นเมื่อตายไปแล้วก็จะไปบังเกิดในทุคติภูมิคือ  นรก   เปรต   อสุรกาย   และสัตว์เดรัจฉาน    
      ภพภูมิต่าง ๆ ที่บังเกิดขึ้นมาในสังสารวัฏ เช่น นิรยภูมิ เปตวิสัย อสุรกาย และภูมิของสัตว์เดียรัจฉาน อบายภูมิเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับผู้ที่มีกาย วาจา และใจไม่บริสุทธิ์มีไว้เพื่อลงโทษมนุษย์ที่ประพฤติผิดจากทำนองคลองธรรม เป็นการขังสัตว์เอาไว้ ไม่ให้หลุดจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไปได้ ซึ่งจะได้รับความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจอย่างแสนสาหัสต่างๆ จากคุกหรือกรงขังในโลกมนุษย์มากมายหลายเท่านัก ภพภูมิต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาในสังสารวัฏนั้น ไม่ว่าจะเป็นสุคติหรือทุคติภูมิ ต่างเป็นสิ่งที่มารองรับผลแห่งกรรมที่ทำเอาไว้ในสมัยเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอย ๆ ทุกสิ่งทุก อย่าง มีเหตุมีผลในตัวเองทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเรามาดูกันว่า มนุษย์ได้ทำบาปอกุศลหรือประพฤติผิดจากทำนองคลองธรรมอย่างไรบ้างจึงมีอบายภูมิหรือทุคติภูมิบังเกิดขึ้น เพื่อรองรับชีวิตหลังความตายของมนุษย์
    ความเข้าผิดเรื่องความสะอาดของนายจุนทะกัมมาระบุตร
   ก่อนพุทธปรินิพพาน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร ใกล้เมืองปาวา พระบรมศาสดาตรัสสนทนากับนายจุนทะ ซึ่งกำลังอุปัฏฐากพระองค์ว่า “ดูก่อนจุนทะ ในโลกนี้ ท่านชอบใจความสะอาดของใครหนอ” นายจุนทะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์ชาวเมืองปัจฉาภูมิผู้ถือเต้าน้ำ สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟลงอาบน้ำเป็นวัตร ย่อมบัญญัติความสะอาดไว้และได้ชักชวนสาวกว่า มาเถิดท่านผู้เจริญท่านลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้าตรู่ พึงจับต้องแผ่นดิน ถ้าไม่จับต้องแผ่นดิน พึงจับต้องโคมัยสด ถ้าไม่จับต้องโคมัยสด ก็ให้จับต้องหญ้าเขียวสด ถ้าไม่จับต้องหญ้าเขียวสด ก็ให้บำเรอไฟ หากไม่บำเรอไฟ ก็ให้ทำการประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ถ้าไม่เช่นนั้นก็ให้ลงอาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง ข้าพระองค์ชอบใจความสะอาดของพราหมณ์พวกนั้น พระเจ้าข้า”
   พระบรมศาสดาทรงทราบว่า นายจุนทะยังไม่เข้าใจเรื่องความสะอาดทางกาย วาจา และใจ ตามหลักของผู้รู้ ด้วยพระมหากรุณาจึงตรัสสอนว่า “ดูก่อนจุนทะ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิพากันบัญญัติความสะอาดเป็นอย่างอื่น ส่วนความสะอาดในวินัยของพระอริยะเป็นอีกอย่างหนึ่ง”  แล้วพระพุทธองค์ทรงอธิบายว่า “ตราบใดที่มนุษย์ยังประพฤติผิดทางกาย วาจา และใจประพฤติผิดไปจากกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ  คือยังยินดีในการฆ่าสัตว์ ลักขโมย ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความโลภคิดอยากได้ของคนอื่น มีจิตพยาบาท และเห็นผิดไปจากทำนองคลองธรรมแม้จะลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้าตรู่ แล้วจับต้องแผ่นดิน ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง แม้จะบำเรอไฟหรือไม่ได้บำเรอไฟ ก็ยังถือว่าเป็นผู้ไม่สะอาดการประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ก็ไม่ใช่เป็นเครื่องบ่งบอกว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ หรือจะลงอาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง ก็ไม่ชื่อว่าเป็นผู้สะอาดอย่างแท้จริง”
   อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เป็นของไม่สะอาด อีกทั้งยังเป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์ไม่สะอาดอีกด้วย การที่โลกมนุษย์ของเราเกิดภาวะวิกฤต มีปัญหาสงคราม หรือดินฟ้าอากาศวิปริตไปจากเดิม ล้วนมีสาเหตุมาจากมนุษย์ทีประพฤติผิดศีลผิดธรรม เมื่อมีการรบราฆ่าฟันกันทำให้ต้องหลบหลีกลี้ภัยเอาตัวรอด ต้องสะดุ้งหวาดกลัวอยู่เป็นนิจ หาความเย็นกายสบายใจได้ยาก เป็นเหมือนกับการจำลองอบายภูมิย่อม ๆ มาไว้ในโลกมนุษย์ เมื่อ
อกุศลกรรมบถหนาแน่นมากขึ้น ทุคติภูมิอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะพึงบังเกิดขึ้นทันที

         ความสะอาดในอริยวินัย
  พระองค์ทรงบัญญัติ ความสะอาดทางกาย ในอริยวินัยว่า ใครก็ตามที่ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ มิได้ให้ด้วยจิตคิดขโมย ละการประพฤติผิดในกาม ไม่เจ้าชู้ ยินดีในคู่ครองของตัวเองเท่านั้น ไม่ประพฤติล่วงละเมิดในบุรุษหรือสตรีที่มีเจ้าของ ผู้ที่ควบคุมกายตัวเองไม่ให้ไปกระทบใครได้อย่างนี้ ชื่อว่ามีกายสะอาดบริสุทธิ์
อย่างแท้จริง
   ความสะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ ละการพูดเท็จ ไม่เป้นผู้กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้เพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ละคำส่อเสียด คือฟังความข้างนี้แล้วนำไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังความข้างโน้นแล้วนำมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น แต่เป็นคนสมานความแตกร้าว ส่งเสริมคนให้พร้อมเพรียงกันและตัวเองก็กล่าวแต่วาจาที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ ชวนให้ปฏิบัติตาม เป็นวาจาของชาวเมือง คือ มีความไพเราะ น่าฟัง ไม่หยาบกระด้าง ไม่ทำให้ขุ่นเคืองใจ ละคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาลเวลา พูดแต่คำที่เป็นจริง ถ้อยคำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง ประกอบด้วยประโยชน์ และพูดถูกกาลเวลา นี้เป็นลักษณะของผู้ที่มีความสะอาดบริสุทธื์ทางวาจาอย่างแท้จริง
   ส่วน ความสะอาดทางใจ มี 3 อย่างด้วยกัน คือ การที่บุคคลฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นผู้ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่คิดปองร้ายใคร มีความเห็นชอบว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผล การบูชาบุคคลผู้ควรบูชามีผล ผลวิบากของกรรมที่คนทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้โลกหน้ามีจริงมารดาบิดามีคุณจริง สัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะมีจริงสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่น ให้รู้ตามมีอยู่จริงๆ นี้คือ ลักษณะของผู้มีความสะอาดบริสุทธิ์ทางใจ
    เราจะเห็นได้ว่า ผู้ที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ถึงแม้จะไม่ได้บำเรอไฟ ไม่ได้อาบน้ำวันละหลายหน ไม่ได้ไหว้พระอาทิตย์วันละหลายรอบ ก็ได้ชื่อว่าผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง เพราะว่ากุศลกรรมบถนี้ เป็นธรรมที่ทำให้มนุษย์มีความสะอาด ผู้บำเพ็ญกุศลกรรมบถครบถ้วน ๑๐ ประการ จึงได้ชื่อว่า "เป็น มนุสสเทโว คือ เป็นเหมือนเทวดาในร่างมนุษย์"  ชีวิตหลังความตายจึงมีสุคติภูมิที่น่ารื่นรมย์มารองรับบุคคลนั้น บางท่านก็ได้โอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อสร้างบุญบารมีอีกครั้ง จนสามารถหมดกิเลส มีพระนิพพานเป็นที่ไป คือไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดกันอีกต่อไป
       โลกเปลี่ยนไปเพราะใจมนุษย์แปรปรวน
  ท่านทั้งหลาย โลกมนุษย์นี้เป็นชุมทางของการสั่งสมบุญและบาป ส่วนภพภูมิต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสุคติภพหรือทุคติภพ เป็นเพียงผลที่มารองรับการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้นเป็นผลที่เกิดจากความสะอาดและไม่สะอาดทางกาย วาจา ใจ โลกจะฟูขึ้นหรือยุบลง เจริญขึ้นหรือเสื่อมลง วัฒนะหรือหายนะ ก็เพราะการประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้เป็นที่ตั้ง อีกทั้งความสั้นยาวของอายุขัยของมนุษย์ก็ยังขึ้นอยู่กับกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการๆ เป็นตัวแปรที่สำคัญอีกด้วย
   ดังนั้น หากต้องการมีอายุขัยยืนยาว ต้องการให้โลกใบนี้ร่มเย็นเป็นสุข และมีสุคติภูมิมารองรับชีวิตของเราในปรโลก ก็ต้องเพิ่มเติมความสะอาดกายวาจา และใจอยู่เสมอ จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตผ่องใสไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นที่ไป
 
  **หมายเหตุ:- มีปัญหาโลกแตกอยู่ข้อหนึ่ง  คนที่ถูกถามแล้วมักจะตอบไม่ได้
       -ถามว่า "มนุษย์หรือคนเกิดมาจากไหน?
       -บางคนอาจจะตอบว่า "มนุษย์หรือคนเกิดมาจากพ่อแม่"
       -ถามต่อไปว่า "พ่อแม่เกิดมาจากไหน์"
       -ตอบว่า "พ่อแม่เกิดมาจากปู่ย่าตายาย"
       -ถามต่อไปว่า "ปู่ย่าตายายเกิดมาจากไหน?"
       -ตอบว่า "ปู่ย่าตายายเกิดมาจากทวด"
       -ถามต่อไปว่า "ทวดเกิดมาจากไหน?"
       -คำตอบจะสิ้นสุดลงแค่นี้
       **คำเตือน: แต่ถ้าท่านได้อ่านเรื่องของ "สังขาระโลก"  ในบทนี้แล้วท่านจะตอบปัญหาข้อนี้ได้อย่างถูกต้องแท้จริงเลยทีเดียว  ข้าพเจ้าผู้เขียนตำราเล่มนี้ขอฝากให้ผู้อ่านตอบลองดูนะ
                     สังขารรูปกายที่ไม่มีจิตใจ
     

        ทั้งบ้าน รถยนต์ และต้นไม้ในภาพนี้เป็นสังขารรูปกายที่ไม่มีจิตใจครอง
    ๐สังขารรูปกายที่ไม่มีจิตใจครอง ได้แก่ ภูเขา   ต้นไม้   บ้านเรือน   รถเรือ   เครื่องบินจรวด เก้าอี้   โต๊ะเตียง   ปากกา   สมุดดินสอ  เป็นต้น             
    ๐สังขารที่ไม่มีจิตใจครองจะถูกปรุงแต่งขึ้นมาด้วยธาตุ ๕ คือ:-
       ๑.ธาตุดิน   
       ๒.ธาตุน้ำ  
       ๓.ธาตุไฟ  
       ๔.ธาตุลม  
       ๕.อากาศธาตุ
                   สัตตะโลก
    ๐สัตตะโลก      โลกคือหมู่สัตว์     คำว่า "หมู่สัตว์ "  ในบทนี้หมายถึง  มนุษย์   นรก
เปรต   อสุรกาย   สัตว์เดรัจฉาน   เทวดา   และพรหม
     ๐มนุษยโลก    เป็นรากฐานคือเป็นสื่อกลางทำให้เกิดมีอีก   ๓   โลก   คือ:-
       ๑.อบายโลก         คือโลกของอบายภูมิ   แบ่งออกเป็น  ๔   ชนิด    คือ:-
          ๑.๑นรก 
          ๑.๒เปรต 
          ๑.๓อสุรกาย 
          ๑.๔สัตว์เดรัจฉาน
         ๐มนุษย์ผู้ที่ไม่มี ศีล ๕  และดำเนินชีวิตด้วย อกุศลกรรมบถ  ๑๐  เมื่อตายแล้วจะต้องไปบังเกิดในโลกทั้ง ๔  เหล่านี้
       ๒.เทวโลก       คือโลกของเทวดา    แบ่งออกเป็น   ๖   ชั้น    คือ:-
           ๒.๑ชั้นจาตุมมะหาราชิกา
           ๒.๒ชั้นดาวะดึงส์
           ๒.๓ชั้นยามา
           ๒.๔ชั้นดุสิต
           ๒.๕ชั้นนิมมานะระตี
           ๒.๖ชั้นปะระนิมมิตะวะสะวัตตี
         ๐มนุษย์ผู้มีศีล  ๕   และดำเนินชีวิตด้วย กุศลกรรมบถ ๑๐   เมื่อตายไปแล้วจะต้องไปบังเกิดในเทวโลกทั้ง  ๖  ชั้น  เหล่านี้
       ๓.พรหมโลก       คือโลกของพรหม    แบ่งออกเป็น   ๒๐   ชั้น    คือ:-
      ๐พรหมโลก  ๒๐  ชั้น  แบ่งเป็นรูปพรหม  ๑๖  ขั้น   แบ่งเป็นสุทธาวาสพรหม  ๕  ชั้น
และแบ่งเป็นอรูปพรหม  ๔   ชั้นดังนี้
  -รูปพรหมมี  ๑๖  ชั้น    คือ:-
    ชั้นที่ ๑ พรหมะปาริสัชชา
    ชั้นที่ ๒ พรหมะปุโรหิตา
    ชั้นที่ ๓ มะหาพรหมา
    ชั้นที่ ๔ ปะริตตาภาพรหม
    ชั้นที่ ๕ อัปปะมาณาภาพรหม
    ชั้นที่ ๖ อาภัสราพรหม
    ชั้นที่ ๗ ปริตตะสุภาพรหม
    ชั้นที่ ๘ อัปปะมาณะสุภาพรหม
    ชั้นที่ ๙ สุภะกิณหาพรหม
    ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผะลาพรหม
    ชั้นที่ ๑๑ อะสัญญีสัตตาพรหม
  -สุทธาวาส  มี  ๕  ชั้น   คือ:-
    ชั้นที่ ๑๒ อะวิหาพรหม
    ชั้นที่ ๑๓ อะตัปปาพรหม
    ชั้นที่ ๑๔ สุทัสสาพรหม
    ชั้นที่ ๑๕ สุทัสสีพรหม
    ชั้นที่ ๑๖ อะกะนิฏฐะพรหม
  -อรูปพรหม  มึ   ๔   ชั้น   คือ:- 
    ชั้นที่ ๑๗ อากาสานัญจายะตะนะพรหม
    ชั้นที่ ๑๘ วิญญาณัญจายะตะนะพรหม
    ชั้นที่ ๑๙ อากิญจัญญายะตะนะพรหม
    ชั้นที่ ๒๐ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะพรหม
   ๐มนุษย์ผู้เจริญสมาธิจิตจนได้ฌาน ๔  หรือ สมาบัติ ๘  จึงจะได้ไปบังเกิดในพรหมโลก  ๒๐  ชั้น  เหล่านี้  
                    รายละเอียดของสัตตะโลก
    ๐ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะได้อธิบายรายละเอียดของคำว่า "สัตตะโลก โลกคือหมู่สัตว์"
คำว่า "หมู่สัตว์" ในบทนี้  หมายถึง มนุษย์   นรก   เปรต   อสุรกาย   สัตว์เดรัจฉาน   เทวดา   และพรหม
                       มนุษย์
   
               นี่คืดภาพของมนุษย์ทั้งชายและหญิง
    ๐มนุษย์   ในโลกและจักรวาลนี้มีอยู่  ๔   ประเภท   คือ:-
       ๑.มนุษย์ในชมพูทวีป
       ๒.มนุษย์ในปุพพะวิเทหะทวี
       ๓.มนุษย์ในอุตตะระกุรุทวีป
       ๔.มนุษย์ในอมรโคยานทวีป
                 มนุษย์ในชมพูทวีป
    
    ๐มนุษย์ในชมพูทวีปมีลักษณะหน้าตาดังนี้      
     มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีใบหน้ารูปไข่  มึอายุยืนได้ตั้งแต่ ๑๐ ปี  ถึง ๑ อสงไขยปี   พระพุทธเจ้าทุกพระองค์และพระสาวก  จะต้องลงมาเกิดในชมพูทวีปนี้เท่านั้นจะไม่ไปเกิดในทวีปอื่น
     ถ้ายุคใดมนุษย์ทั้งหลายรักศีล ๕  ได้ครบทุกข้อ มนุษย์ก็จะมีอายุยืนถึง อสงไขปี   แต่ถ้ายุคใดมนุษย์ทั้งหลายรักศีล ๕  ได้ไม่ครบ ๕ ข้อ คือไม่มีศีลเลยแม้แต่ข้อเดียว  ยุคนั้นมนุษย์ทั้งหลายก็จะมีอายุสั้นลงเหลือแค่  ๑๐  ปี   คือเมื่อเกิดมาอายุได้ ๕ ปี ก็แต่งงาน   อายุ  ๑๐  ปี ก็ตายไป  เพราะหมดอายุขัย
     -คำว่า "อสงไขย"  แปลว่า "นับไม่ได้"   คือไม่สามารถจะนับเป็นตัวเลขได้
            เรื่องอสงไขย
    กาลเวลาที่เรียกว่า “อสงไขย” แปลว่านับไม่ได้ คือ ไม่สามารถที่จะนับเวลาออกมาเป็นจำนวนกี่เดือน กี่ปีได้ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า "อสงไขย"   ได้มีคำอุปมาเปรียบเทียบเอาไว้ว่า “ฝนตกใหญ่มโหฬารในโลกทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลานานถึง ๓ ปี ตกติดต่อกันมิได้หยุด มิได้ขาดสาย  จนน้ำฝนเจิ่งนองท่วมท้นเต็มขอบเขาจักรวาล อันมีระดับความสูงได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ถ้าสามารถนับเม็ดฝน และหยาดแห่งน้ำฝน ที่ตกกระจายเป็นฟองฝอยใหญ่น้อย ติดต่อกัน ๓  ปีได้  นั่นแหละจึงจะมีระยะเวลาเทียบเท่ากับระยะเวลาของอสงไขปี
           เรื่องของชมพูทวีป
    ๐ ชมพูทวีป  คือเกาะหรือแผ่นดินผืนใหญ่ที่มีต้นไม้หว้าใหญ่เป็นสัญญาลัษณ์ของทวีป
เพราะฉะนั้นทวีปนี้จึงเรียกชื่อว่า "ชมพูทวี"  คือเรียกตามชื่อของต้นหว้านั่นเอง
    ชมพูทวีปมีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๐๐๐๐ โยชน์  และมีทวีปน้อยเป็นบริวารอีก ๕๐๐ ทวีป และเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์   มีเนื้อที่  ๓๐๐๐ โยชน์   เป็นป่าหิมวันต์ ๓๐๐๐ โยชน์   และเป็นน้ำทะเล ๔๐๐๐ โยชน์  ชมพูทวีปและทวีปน้อย ๕๐๐ ทวีป ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่บนนีลสาคร คือทะเลที่มีน้ำเป็นสีเขียว
   ในชมพูทวีปมีต้นหว้าใหญ่ที่เป็นไม้ประจำทวีปนี้ วัดตั้งแต่โคนต้นถึงปลายยอด  วัดได้ ๑๐๐ โยชน์   วัดรอบต้นได้ ๑๕ โยชน์  มีกิ่ง ๔ กิ่ง  แผ่ออกไป ๔ ทิศๆ ละกิ่ง  กิ่งหนึ่งยาวได้ ๕๐ โยชน์  ต้นไม้หว้าประจำทวีปนี้มีอายุยืนได้ หนึ่งวิวัฏฏัฏฐายีกัปป์  ตั้งอยู่บนเนินเขาแห่ป่าหิมพานต์ทางด้านทิศเหนือของทวีป  ใต้กิ่งต้นหว้าที่แผ่ออกไป ๕๐ โยชน์นั้นมีแม่น้ำมหานทีหลายสายไหลผ่านในป่าหิมวันต์  ตอนปลายของแม่น้ำก็จะไหลไปตกลงที่นีลมหาสมุทร  แม่น้ำที่เกิดขึ้นภายใต้ต้นหว้านี้ล้วนแล้วแต่เกิดจากน้ำฝนและน้ำค้างที่ตกเซาะลงไปในดิน ทุกวันจึงกลายเป็นแม่น้ำใหญ่หลายสาย   ผลหว้าสุกแล้วก็หล่นลงไปในสองฝั่งของแม่น้ำ  สายใหญ่พอตกลงถึงพื้นดินแล้วก็จะกลายเป็นหน่อทองคำชมพูนุทมีเนื้อทองสุกปลั่งเหลือง อร่ามสวยงามยิ่งนัก  ผลไม้หว้านี้ถ้าหล่นลงไปในแม่น้ำก็เป็นอาหารของปลาและเต่า  ถ้าหล่นลงไปบนบกก็จะเป็นอาหารของนกที่มีตัวใหญ่เท่าเรือนยอดและใหญ่เท่าช้างมาเล็มกินเป็นอาหาร   ผลหว้านี้มีรสชาติอันอร่อยมีกลิ่นหอมมีรสหวานเหมือนน้ำผึ้งมีโอชารสยิ่งนัก  ผลหว้านี้มีผลใหญ่เท่าช้าง
    ๐ชมพูทวีป    คือแผ่นดินผืนใหญ่อันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มีเนื้อที่ทั้งหมด  ๑๐๐๐๐  โยชน์   เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์  ๓๐๐๐  โยชน์   เป็นป่าเขาและต้นไม้  ๓๐๐๐  โยชน์   และเป็นทะเลแม่น้ำและมหาสมุทร  ๔๐๐๐  โยชน์         
      -ชมพูทวีปตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของภูเขาพระสุเมรุ  ซึ่งเป็นภูเขาที่เป็นแกนกลางของโลก
      -ชมพูทวีปตั้งอยู่ตรงกลางของมหาสมุทร  อันมีชื่อเรียกว่า "นีลสาคร"  คือทะเลที่มีน้ำเป็นสีเขียว
      -ชมพูทวีปมีทวีปน้อยใหญ่ที่เป็นบริวารอยู่  ๕๐๐  ทวีป  ทวีปบริวารทั้งหลายเหล่านี้ก็ตั้งอยู่ในนีลสาครเหมือนกัน
      -ทวีปน้อยและทวีปใหญ่ที่ตั้งอยู่ในทะเลที่มีน้ำสีเขียวล้วนแล้วแต่เป็นบริวารของชมพูทวีปทั้งสิ้น
      -ประเทศใดที่มีน้ำทะเลเป็นสีเขียวประเทศนั้นต้องเป็นบริวารของชมพูทวีปทั้งสิ้น
    เรื่องการติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์ในทวีปทั้ง ๔
    ๐การติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์ในทวีปทั้ง ๔  มี  ๕  วิธี  คือ:-
      ๑.โดยวิธีของปรอทกายสิทธิ์  
      ๒.โดบวิธีของกงจักรแก้วของพระเจ้ามหาจักรพรรดิ
      ๓.โดยวิธีของบุญฤทธิ์   เช่นนางแก้วที่เป็นภรรยาของโชติกะเศรษฐี
      ๔.โดยวิธีของฌานสมาบัติ ๘    พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา    โยคี   ฤาษี  และดาบส  ผู้ได้สมาบัติ ๘
      ๕.โดยวิธีของผู้ได้บรรลุฌาน ๔   เช่นเรื่องของพระมาลัยเถระเจ้า
    ๐ตอนนี้พวกเราทั้งหลายได้อาศัยอยู่ในชมพูททวีป  ถ้าใครต้องการจะไปเที่ยวชมบ้านเรือน แผ่นดิน และมนุษย์ททั้งหลายในทวีปทั้ง ๓  คือ:- 
       ๑.ปุพพะวิเทหะทวีป
       ๒.อุตตะระกุรุทวีป
       ๓.อมรโคยานทวีป
          เขตแดนของทวีปทั้ง ๔
  ทวีปทั้ง ๔  มีเขตแดนแบ่งกันชัดเจน ที่ตรงรอยต่อของทวีปทั้ง ๔ มีหลุมน้ำลึกขนาดใหญ่ ส่วนลึกวัดได้ ๑๐๐๐ โยชน์  มีน้ำพุ่งขึ้นมาจากหลุมน้ำวัดได้ ๑๐๐๐ โยชน์ หลุมนี้มีความกว้างวัดได้ ๑๐๐ โยชน์  ในที่ใกล้หลุ่มน้ำใหญ่นี้ไม่มีเรือหรือเครื่องบินสามารถเข้าไปใกล้ได้  ถ้าขืนเข้าไปใกล้ก็จะถูกน้ำดูดจมหายลงไปอยู่ใต้พื้นน้ำหมด  ผู้ที่จะผ่านหลุมน้ำใหญ่นี้ไปได้มีบุคคล ๕ จำพวก  คือ:-
  
๑.พระอรหันต์ที่ได้อภิญญา ๖  ก็สามารถเหาะผ่านไปได้
   ๒.พวกฤาษีโยคีดาบสหรือบุคคลที่ได้สมาบัติ ๘  ก็สามารถเหาะผ่านไปได้
   ๓.ผู้เพ่งกสิณจนได้บรรลุถึง ฌาน ๔  ก็สามารถเหาะผ่านไปได้
   ๔.กงจักรแก้วของพระเจ้ามหาจักรพรรดิ    ก็สามารถเหาะผ่านไปได้
   ๕.ผู้ที่ทำปรอทกายสิทธิ์ได้สำเร็จก็สามารถเหาะผ่านไปได้
  แต่ท่านจะไม่สามารถผ่านหลุ่มน้ำลึกและใหญ่นี้ไปได้ด้วยยานพาหนะทางวิทยาศาสตร์
เช่น  เครื่องบิน   จรวด   ไอพ่น  ยานอวกาศ    เรือกำปั่น  เรือรบ   เรือเดินสมุทร   และเรือดำน้ำ   ถ้าขืนวิ่งเข้าไปใกล้ก็จะถูกน้ำดูดจมหายไปในใต้พื้นน้ำในทันที                                                
  ข้อเสนอแนะที่ควรอ่าน
    ๐ท่านผู้ใดอยากรู้อยากเห็น มนุษย์   แผ่นดิน   บ้านเรือน   ป่าเขาต้นไม้   และทะเลมหาสมุทร  ของทวีปทั้ง  ๓  ที่แตกต่างไปจากเรา    ข้าพเจ้ามีข้อแนะนำให้ไปเจริญกสิณ ๑๐  ประการ คือให้ยึดเอาข้อใดข้อหนึ่งไม่ใช่เอาทั้งหมด  เมื่อได้กสิณที่ถูกกับจริตของเราแล้วให้เริ่มปฏิบัติและเจริญไปจนได้บรรลุฌาน  ๔  เมื่อได้ฌาน ๔  แล้วท่านก็จะไปในทวีปทั้ง ๓ หรือจะไปนรก  สวรรค์  เหมือนพระมาลัยก็ได้  แต่ท่านจะไปในทวีปทั้ง ๓ ด้วยวิธีของยวดยานพาหนะทางวิทยาศาสตร์ เช่น  เครื่องบิน   ไอพ่น  จรวด   และยานอวกาศ   ไม่ได้โดยเด็ดขาด  เพราะในระหว่างช่องการเชื่อมต่อของทวีปทั้ง ๔ ขนิดนั้น มันเป็นหลุมอากาศ ที่มีความลึกหลายหมื่นโยชน์  โดยทั่วไปแล้วมันจะไม่มียวดยานพาหนะอะไรผ่านไปได้เลย นอกจากวิธีทั้ง ๕ ชนิดดังที่กล่าวมาแล้วข้างบนเท่านั้น   ข้าพเจ้าจะได้บอกวิธีปฏิบัติกสิณและอานุภาพของกสินในเรื่องการปฏิบัติสมาธิให้บรรลุถึงฌาน ๔  อันเป็นภาคการศึกษาข้อสุดท้าย ซึ่งท่านผู้อ่านทั้งหลายจะได้ศึกษาในข้อสุดท้ายของเรื่องนี้
  
                   เรื่องของมนุษย์ 
    ๐มนุษย์ในชมพูทวีปนี้มีอยู่ด้วยกัน  ๒  ประเภท  คือ:-
           ๑.บัณฑิตมนุษย์  คือมนุษย์ที่เป็นคนดี  คนบุญ  เช่น
          
                          นี่คืดภาพของคนบุญ       
      ๒.พาลมนุษย์   คือมนุษย์ที่เป็นคนชั่ว คนบาป  เช่น
                
                          นี่คือภาพของคนบาป
     ๐บัณฑิตมนุษย์       คือมนุษย์ที่เป็นคนดี  มีบุญ   ฉลาด  มีศีลธรรม  มีรูปร่างสวยงาม  เป็นคนมั่งมีศรีสุข  มีสุขภาพดี   เป็นคนสมบูรณ์ไม่เป็นคนพิกลพิการ    เมื่อตายไปแล้วก็จะได้ไปบังเกิดในสุคติภูมิคือ  มนุษย์   เทวดา   และพรหม
       ตัวอย่างบัณฑิตมนุษย์ทำบุญแล้วตายไปเกิดในเทวโลก
                    เรื่องของธัมมิกะอุบาสก
                อุบาสกและครอบครัวบำเพ็ญกุศลเป็นนิตย์              
   ๐สมัยพุทธกาล ในเมืองสาวัตถี ได้มีอุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมประมาณ ๕๐๐ คน  ในบรรดาอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกแต่ละคน จะมีอุบาสกที่เป็นบริวารคนละ ๕๐๐   อุบาสกที่เป็นหัวหน้าของอุบาสกเหล่านั้นมีชื่อว่า "ธัมมิกะ"  เขามีลูกขาย ๗ คน และลูกสาวอีก ๗ คน  ในบรรดาบุตรและธิดาทั้งหลายเหล่านั้น แต่ละคนได้จัดเตรียมการทำบุญเอาไวัดังนี้
    ๑.สลากยาคู                  คือสลากข้าวต้มที่ทำถวายเป็นประจำ
    ๒.สลากภัต                    คือสลากข้าวปลาอาหารที่ทำถวายแก่พระภิกษุสามเณรทุกวัน
    ๓.ปักขิกภัต                    คือสลากที่ทำถวายตามปักษ์ (เวลา ๑๕ วัน)
    ๔.สังฆภัต                      คือข้าวปลาอาหารที่ทำถวายแก่พระสงฆ์ ๔ รูป
    ๕.อุโปสถิกภัต                คือข้าวปลาอาหารที่ทำถวายในวันอุโบสถ               
    ๖.อาคันตุกภัต                คือข้าวปลาอาหารที่ทำถวายแก่พระภิกษุผู้จรมา
    ๗.วัสสาวาสิกภัต            คือข้าวปลาอาหารที่ทำถวายแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษา
  การถวายทานเยี่ยงนี้ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานจนเป็นประเพณีปฏิบัติ  ลูกหลานที่เกิดมาภายหลังก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตามอย่างเครงครัด   เป็นอันว่าการทำบุญทั้ง  ๗  ชนิดนี้  ทุกคนจะต้องมี คือ:-
   ๑.ธัมมิกะอุบาสกก็มี  ๗  ชนิด
   ๒.ภรรยายของธัมมิกะอุบาสกก็มี  ๗  ชนิด
   ๓.ลูกชายทั้ง ๗ คน  ก็มีคนละ  ๗  ชนิด
   ๔.ลูกสาวทั้ง ๗ คน  ก็มีคนละ  ๗  ชนิด
  การทำบุญโดยทำนองนี้ต้องทำไล่กันไปทุกวัน พอทำครบ ๗ วันแล้วก็เริ่มต้นใหม่เป็นอยู่เช่นนี้จนกว่าจะตาย   ข้าพเจ้าคิดว่าการทำบุญเช่นนี้ผู้ทำจะต้องมีทรัพย์สมบัติมากจึงจะทำได้  เพราะวันหนึ่งจะหมดค่าใช้จ่ายมาก  ตระกูลของธัมมิกะอุบาสกมีคำสั่งสอนประจำตระกูลอยู่ข้อหนึ่งว่า
  "มีทรัพย์จะต้องใช้จ่ายให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและครอบครัว  อย่าหาทรัพย์มาสะสมไว้เพื่อการแข่งรวย  เมื่อตายแล้วความร่ำรวยและทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้  เพราะคนตายเป็นผีไปแล้วไม่สามารถจะใข้เงินและทรัพย์สินนั้นได้  การที่เราแสวงหาทรัพย์มาได้เป็นจำนวนมากนั้น ก็จะเป็นการเมื่อยเปล่า  เมื่อตายไปแล้วก็จะลำบากเพราะไม่มีสมบัติภายในติดตัวไปด้วย  สมบัติภายในที่ดีที่สุดก็คือการให้ทานนั่นเอง"   ธัมมิกะอุบาสกพร้อมทั้งบุตรและภรรยา ได้เป็นผู้มีศีล มีศรัทธา  มีกัลยาณธรรม มีความยินดีในการจำแนกแจกทานอย่างสมบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้  
  ในกาลต่อมา เมื่อธัมมิกะอุบาสกแก่ชราลง  โรคภัยไข้เจ็บก็เบียดเบียน อายุสังขารเสื่อมรอบแล้ว  เขาเจ็บป่วยจนเดินเหิรไปไหนมาไหนก็ลำบากไม่สามารถจะไปฟังธรรมและรักษาศีลที่วัดได้  เขาจึงให้ภรรยาและบุตรไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ซึ่งตอนนั้นพระองด์ได้ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ที่เมืองสาวัตถีว่า "ธัมมิกะอุบาสก  ไม่สบายเดินไปไหนมาไหนก็ลำบาก  เขากราบทูลขออนุญาตให้พระทธองค์ทรงส่งพระภิกษุ ๘ รูป 
ให้ไปสวด "พระสูตร" ที่บ้านเขาต้องการฟังการสวดพระสูตร พระเจ้าข้า"
                อุบาสกป่วยนอนฟังธรรม              
    พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงส่งพระภิกษุทั้งหลายไป ภิกษุเหล่านั้น ไปแล้วก็นั่งลงบนอาสนะที่ตบแต่งไว้แล้ว ซึ่งปูล้อมเตียงของเขา เขาก็กล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  การได้เห็นพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ของกระผมเป็นการยาก  กระผมเป็นคนทุพพลภาพ  ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงสาธยายพระสูตรๆ หนึ่ง โปรดกระผมด้วยเถิด”
   พระภิกษุทั้งหลายจึงถามว่า “ท่านประสงค์จะฟังสูตรไหน? อุบาสก”
   เมื่อเขาเรียนว่า “สติปัฏฐานสูตร ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละแล้ว”
   พระภิกษุทั้งหลาย  จึงเริ่มสวดสติปัฏฐาสูตรว่า  “ เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ” (ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางไปอย่างเอก
เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย). เป็นต้น
       เทวดานำรถมารับอุบาสกไปเกิดในเทวโลก              
    ขณะนั้น รถ ๖ คันประดับด้วยอลังการทุกอย่าง เทียมด้วยม้าสินธพพันตัวๆใหญ่ประมาณได้ ๑๕๐ โยชน์ มาจากเทวโลก ๖ ชั้น  เทวดายืนอยู่บนรถเหล่านั้น ต่างก็เชื้อเชิญว่า “ข้าพเจ้าจักนำท่านไปยังเทวโลกของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าจักนำไปยังเทวโลกของข้าพเจ้า  ท่านผู้เจริญขอจงเกิดในที่นี้ เพื่อความยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า เหมือนคนทำลายภาชนะดินแล้วถือเอาภาชนะทองคำ.”
    อุบาสกไม่ปรารถนาจะให้เป็นอันตรายแก่การฟังธรรม จึงกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย จงรอก่อน ท่านทั้งหลาย  จงรอก่อน”
    พวกพระภิกษุและบุตรธิดาอุบาสกเกิดความเข้าใจผิด  คิดว่า "อุบาสก ห้ามให้พระหยุดสวด"              
    พระภิกษุทั้งหลายจึงยุดสวด ด้วยเข้าใจว่า “อุบาสกพูดให้พวกเราหยุดสวด.”
    ลำดับนั้น บุตรและธิดาของเขาคิดว่า “แต่ก่อนบิดาของพวกเรา เป็นผู้ไม่อิ่มต่อการฟังธรรม  แต่บัดนี้ บิดานิมนต์ให้พระภิกษุหยุดสวด
   ชื่อว่าสัตว์ผู้ไม่กลัวต่อภัยคือมรณะไม่มี” ดังนี้แล้ว ได้พากันร้องไห้
   พวกภิกษุปรึกษากันว่า “บัดนี้ไม่เป็นโอกาสแล้ว” จึงพากันลุกจากอาสนะแล้วจึงหลีกไป  อุบาสกหยุดนิ้งเล็กน้อย  จึงกลับได้สติถามลูกๆ ว่า “เพราะเหตุไร พวกเจ้าจึงพากันร้องไห้?”
     พวกบุตรจึงบอกว่า “พ่อ ท่านพ่อให้นิมนต์พระภิกษุมาแล้ว เพื่อฟังการสวด แต่พ่อก็ห้ามเสียเอง  เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกผมจึงคิดว่า ชื่อว่าสัตว์ผู้ไม่กลัวต่อมรณะไม่มี’ จึงได้พากันร้องไห้”
     อุบาสก: พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไปไหนเสียแล้วตอนนี้?
     พวกบุตร: พ่อ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ท่านพูดกันว่า ‘ไม่เป็นโอกาส’ ลุกจากอาสนะหลีกหนีไปแล้ว.
     อุบาสก: พ่อมิได้พูดกับพระผู้เป็นเจ้านะ
     พวกบุตร: ถ้าเช่นนั้น พ่อพูดกับใคร?
     อุบาสก: เทวดาประดับรถ ๖ คัน นำมาจากเทวโลก ๖ ชั้น พักอยู่ในอากาศ ต่างก็เปล่งเสียงชักชวนว่า ‘ขอท่านจงยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า
ขอท่านจงยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า  พ่อพูดกับเทวดาเหล่านั้น ต่างหากเล่า
     พวกบุตร: พ่อ รถอยู่ที่ไหน? พวกผมไม่เห็นเลย
     อุบาสก: ก็ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวงเพื่อพ่อนั้น มีไหม?
     พวกบุตร: มีจะพ่อ 
     อุบาสก: เทวโลกชั้นไหน? ควรเป็นที่รื่นรมย์.
     พวกบุตร: เทวโลกชั้นดุสิต อันเป็นที่ประทับอยู่ของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ของพระพุทธมารดา และของพระพุทธบิดา เป็นที่น่ารื่นรมย์ซิพ่อ
     อุบาสก: ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงเสี่ยงทายว่า ‘ขอพวงดอกไม้พวงนี้ จงไปคล้องที่รถซึ่งมาจากเทวโลกชั้นดุสิต ดังนี้แล้ว เหวี่ยงพวงดอกไม้ออกไปเถอะ.
     บุตรเหล่านั้นได้เหวี่ยงไปแล้ว ซึ่งพวงดอกไม้นั้น มันได้ไปคล้องที่แอกรถห้อยลงในอากาศ  มหาชนเห็นแต่พวงดอกไม้เท่านั้น ไม่เห็นรถ
     อุบาสกพูดว่า “เจ้าทั้งหลายเห็นพวงดอกไม้นั่นไหม?”
     เมื่อบุตรตอบว่า “เห็นจ้ะ” จึงกล่าวว่า “พวงดอกไม้นั่น มันห้อยที่รถซึ่งมาจากเทวโลกชั้นดุสิต  เราจะไปเกิดในเทวโลกชั้นดุสิตนั้น พวกเจ้า
อย่าวิตกไปเลย  ถ้าพวกเจ้ามีความปรารถนาจะเกิดในสำนักของพ่อ  ก็จงทำบุญทั้งหลาย ตามทำนองที่พ่อได้กระทำแล้วนั้นเถิด” ดังนี้แล้ว ก็สิ้นใจตาย ดำรง
อยู่บนรถที่มาจากเทวโลกชั้นดุสิต  อัตภาพของเขาสูงประมาณ ๓ คาวุต ประดับด้วยอลังการหนักได้ ๖๐ เล่มเกวียน เกิดในทันใดนั้นเอง  มีนาง
เทพอัปสรพันหนึ่งแวดล้อมเป็นบริวาร  มีวิมานแก้วประมาณ ๒๕ โยชน์ได้บังเกิดขึ้นแล้ว
     พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสถามภิกษุแม้เหล่านั้น ผู้มาถึงวิหารแล้วโดยลำดับว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกได้ฟังธรรมเทศนาแล้วหรือ?”
     ภิกษุทั้งหลาย ฟังแล้ว พระเจ้าข้า แต่อุบาสกได้ห้ามเสียในระหว่างนั่นแล ว่า "ขอท่านจงรอก่อน" 
      ลำดับนั้น บุตรและธิดาของอุบาสกนั้นก็พาร้องไห้คร่ำครวญแล้ว   พวกข้าพระองค์จึงได้ปรึกษากันว่า "บัดนี้ไม่เป็นโอกาส" จึงลุกออกมาจากอาสนะ พระเจ้าข้า
      พระพทธองค์จึงตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกนั้นไม่ได้กล่าวกับพวกเธอนะ  ก็เทวดานำรถ ๖ คัน ที่ประดับประดาแล้ว มาจากเทวโลก ๖ ชั้น แล้วเชื้อเชิญอุบาสกนั้นให้ไปเกิดในภพของตนเอง เธอไม่ปรารถนาจะทำอันตรายแก่การแสดงธรรม จึงกล่าวกับเทวดาเหล่านั้นว่า "ขอท่านจงรอก่อนๆ"
   ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "อย่างนั้นหรือ? พระเจ้าข้า"
   พระพุทธเจ้าตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย"
   ภิกษุทั้งหลายจึงทูลถามว่า " บัดนี้เขาไปเกิดแล้ว ณ ที่ไหน พระเจ้าข้า?"
        พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "เขาไปเกิดในเทวโลกชั้นดุสิต ภิกษุทั้งหลาย"
        ภิกษุทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกนั้นเที่ยวชื่นชมในท่ามกลางญาติในโลกนี้แล้ว  ไปเกิดในฐานะเป็นที่ชื่นชมนั่นแลอีกหรือ?
     พระพุทธองค์ตรัสว่า “อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะคนผู้ไม่ประมาทแล้วทั้งหลาย เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อมบันเทิงในที่ทั้งปวงทีเดียว”    ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
     "ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้  ตายไปแล้ว        ก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง
      เขาเห็นความหมดจดแห่งกรรมของตนแล้ว            ย่อมบันเทิง  และรื่นรมณ์ ฯ"  
   แต่ถ้าบัณฑิตมนษย์คนใดเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วได้เกิดความประมาทเห็นผิดเป็นชอบ
ไม่ให้ทานรักษาศีลและเจริญภาวนา  เขาก็จะกลับกลายเป็นพาลมนุษย์  เมื่อเขาตายไปแล้วเขาก็จะไปบังเกิดในทุคติภูมิคือ  นรก   เปรต   อสุรกาย   และสัตว์เดรัจฉาน
       ตัวอย่างบัณฑิตมนุษย์กลับกลายเป็นพาลมนุษย์
                    เรื่องของอนุชัยคหบดี
    อนุชัยยคหบดีเกิดในตระกูลทีมีฐานะทางการเงินดี  เขาชอบเล่นการพนันตั้งแต่อายุยังน้อย พ่อแม่ให้เรียนหนังสือแก่ก็ไม่เอาเพราะแก่ชอบการพนันมากกว่าการเรียนหนังสือ  หลังจากพ่อแม่ได้เสียชีวิตไปแล้ว  แก่ก็ได้รับทรัพย์มรดกทั้งหมด เพราะพ่อแม่มีลูกชายคนเดียว  อนุชัยยคหบดีแก่มีนิสัยดือดึงและโกรธง่าย  นางนิสาภรรยาของแก่เป็นคนมีนิสัยดีชอบทำบุญให้ทาน  พวกเขาดำเนินชีวิตเล่นการพนันเป็นอาชืพ  ที่บ้านของแก่เป็นบ่อนเล่นการพนันทุกชนิด   มีโต๊ะเล่นสนุกเก้อด้วย  แต่ละวันมีคนมาเล่นการพนันเป็นจำนวนมาก  ต่อมาในช่วงหลังแกได้ไปมีสัมพัธ์กับหญิงสาวคนหนึ่งจึงได้หย่าล้างกับภรรยาคนเดิมคือนางนิสา  พวกเขาได้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น ๒ ส่วน   ส่วนที่เป็นบ้านหลังใหญ่ ได้ตกเป็นของภรรยาหลวงและลูกๆ  ส่วนที่เป็นที่ดินที่อยู่ในทำเลที่เหมาะมีราคาสูงได้ตกเป็นสมบัติส่วนตัวของแก่  แก่จึงขายสัมบัติอันเป็นที่ดินได้เงิน ๙๐ ล้าน   แก่ได้เงินมามากแทนที่แก่จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้พ่อแม่ผู้เป็นเจ้าของมรดก  แต่แกก็กลับใช้เงินไปในทางการพนันจดหมด 
    ต่อมาภรรยาคนใหม่ไปสร้างหนี้สินไว้เป็นจำนวนมาก  ถึงกับต้องขายบ้านหลังใหม่ที่สร้างมาหลายล้านและที่ดินไปอีกเพื่อใช้หนี้เขา  ภายหลังสุดแกก็เลิกกับภรรยาน้อยคนนี้  แกก็ไปสร้างกระต๊อบหลังเล็กๆอยู่คนเดียวที่ไร่   ต่อมาไม่นานแกก็ตายอย่างไร้ญาติขาดมิตรขาดผู้ดูแล ณ ที่กระท่อมหลังน้อยนั้นเอง
    เขาเกิดมาเป็นมนุษย์บัณฑิต เกิดมาในตระกูลร่ำรวยมั่งมีทรัพย์สินเงินทองค่อนข้างมาก  แต่เขาใช้ชีวิตเสเพกลายเป็นพาลมนุษย์ ไม่ทำบุญให้ทานและไปตายอยู่คนเดียวอย่างไร้ญาติขาดมิตร ทรัพย์สมบัติมากมายก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้เลย ฯ       
       อนึ่งถ้าบัณฑิตมนุษย์คนใดให้ทาน  รักษาศีล   เจริญภาวนา จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์   บัณฑิตมนุษย์คนนั้นก็จะหมดสิ้นทุกข์ เข้าถึงถึงบรมสุข  คือพระนิพพาน  โดยไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
       ๐พาลมนุษย์     คือมนุษย์ที่เป็นคนชั่ว  คนโง่เขลา  คนทุศีล   ไม่มีบุญ   มีรูปร่างขี้เหร่   เป็นคนลำบากยากจน   มีสุขภาพไม่ดี   เป็นคนบกพร่องไม่สมบูรณ์พิกลพิการ    เมื่อตายไปแล้วก็จะได้ไปบังเกิดในทุคติภูมิ คือ  นรก   เปรต   อสุรกาย   และสัตว์เดรัจฉาน
         ตัวอย่างพาลมนุษย์ทำบาปแล้วตายไปเกิดในยมโลก         
                   เรื่องของนายจุนทะสูกะริก
   ๐ในสมัยพุทธกาลมีบุรุษคนหนึ่งมีชื่อว่า "จุนทะสูกะริก"  เขามีอาชีพฆ่าหมูขาย  ในปีใดข้าวมีราคาแพงเขาจะเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือกออกสู่ชนบท เพื่อจะเอาข้าวเปลือกไปแลกกับหมู  หมูตัวหนึ่งแลกข้าวเปลือกได้  ๒  ทนาน  ถ้าตัวเล็กหน่อยก็แลกได้ ๑ ทนาน  ข้าวเปลือก ๑ เกวียนแลกหมูได้หลายตัว  เมื่อได้หมูตามต้องการแล้ว  เขาก็ขนมันกลับบ้าน  พอถึงบ้านเขาก็ล้อมที่แห่งหนึ่งทำเป็นคอกหมู  ทางด้านหลังของคอกหมูเขาทำเป็นสวนผักปลูกผักให้หมูกิน 
   เมื่อพวกหมูทั้งหลายได้กินผักสดทุกวัน  พวกมันก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและอ้วนท้วนสมบูรณ์มีเนื้อสันหนาขึ้นมา   ครั้นเขาเห็นว่ามันอ้วนท้วนล่ำสันดีแล้ว  เขามีความประสงค์จะฆ่าหมูตัวใด ก็จะมัดตัวนั้นให้แน่น ณ ที่ฆ่าแล้ว ทุบด้วยค้อน ๔ เหลี่ยม เพื่อให้เนื้อของมันพองหนาขึ้น ครั้นรู้ว่า เนื้อหนาขึ้นแล้ว เขาก็ง้างปากของมันออกแล้วก็สอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน เสร็จแล้วก็กรอกน้ำร้อนที่เดือดพล่าน เข้าไปในปากของมันด้วยทะนานโลหะ    น้ำร้อนนั้นก็เข้าไปเดือดพล่านอยู่ในท้องของมัน 
   น้ำร้อนก็จะขับกรีสออกมาในทางทวารหนัก  เมื่อเขาเห็นกรีสยังเหลืออยู่เล็กน้อย  เขาก็จะกรอกน้ำร้อนเข้าไปจนมันกลายเป็นน้ำขุ่น เมื่อท้องของมันสะอาดดีแล้ว มันก็จะไหลออกมาเป็นน้ำใส ไม่ขุ่น  บัดนั้นเขาจึงราดน้ำที่ยังเหลืออยู่ลงบนหลังของมัน  น้ำนั้นก็จะลอกเอาหนังดำออกไป  ต่อแต่นั้นเขาจึงลนขนของมันด้วยคบหญ้า  เสร็จแล้วจึงตัดเอาศีรษะของมันด้วยดาบอันคม และรองเอาโลหิตของมันที่ไหลออกมาด้วยภาชนะ เขาเอาเนื้อของมันเคล้าด้วยโลหิต แล้วจึงปิ้งนั่งรับประทานในท่ามกลางบุตรและภรรยา ส่วนที่เหลือก็ขายออกไป
   เขาหากินเลี้ยงชีพโดยทำนองนี้ เป็นเวลานานถึง ๕๕ ปี  ตอนนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใน "ธุรวิหาร" การบูชาพระองค์ด้วยดอกไม้เพียงดอกเดียว
ก็ไม่มี   การถวายข้าวเพียงทัพพีหนึ่งก็ไม่มี ชื่อว่าบุญอื่นเพียงนิดหน่อยก็ใม่มี   ครั้นขึ้นปีที่  ๕๖  เขาก็เกิดเป็นโรคร้ายแรงที่รักษาไม่หาย  เขาเกิด
อาการเร่าร้อนกระสับกระส่ายจนทำให้เขามีอาการเพ้อคลั่ง  กินไม่ได้นอนไม่หลับ เร่าร้อนกระวนกระวายแทบจะขาดใจตาย  เขาส่งเสียงร้องเหมือนหมู แล้วก็คลานไปมาในในบริเวณบ้านคือ คลานไปทิศเหนือบ้าง  คลานไปทางด้านทิศใต้บ้าง  คลานไปทางทิศตะวันออกบ้าง   คลานไปทางด้านทิศตะวันตกบ้าง  คลานวนไปวนมาแบบนี้  จนลูกเมียเกิดความเมื่อยล่า  เสียงที่เขาคลานร้องไปนั้นได้ยินไปถึง  ๗  หลังคาบ้าน  ชาวบ้านใน ๗  หลังคาบ้านนั้นก็ไม่ได้หลับไม่ได้นอนต้องพลอยเป็นทุกข์เดือดร้อนวุ่นวายไปด้วย 
    เสียงที่เขาร้องออกมานั้นไม่สามารถจะห้ามไม่ให้ดังออกไปข้างนอกได้  ลูกเมียอับอายและเกรงใจเพื่อนบ้านจึงเอาผ้าไปปิดปากเขาไว้  ปิดเท่าไหร่ก็ไม่อยู่ ดังออกมาเหมือนเดิม  ฝ่ายลูกเมียเห็นปิดไม่ไหวจึงให้ปิดประตูเรือนไว้ไม่ให้เขาคลานออกมาร้องข้างนอกเรือน ให้คลานร้องอยู่แต่ในบริเวณข้างในบ้าน  เขามีอาการคลานเที่ยวร้องอยู่เช่นนี้ เป็นเวลา ๗ วัน พอถึงวันที่ ๘ เขาก็ขาดใจตาย  เมื่อเขาขาดใจตายไปแล้ว เขาก็ได้ไปบังเกิดในอเวจีมหานรก
     พวกภิกษุที่เดินผ่านทางประตูเรือนของเขา ได้ยินเสียงนั้นแล้ว ก็มีความสำคัญว่า “นี่คือเสียงหมู” ไปสู่วิหาร เมื่อนั่งในสำนักพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ทูลถามอย่างนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายจุนทะสูกะริก  ปิดประตูเรือนฆ่าหมูหลายตัว  วันนี้เป็นวันที่ ๗ แล้ว ที่เขาปิดประตูเรือนฆ่าหมู  ชะรอยเขาคงจะจัดงานมงคลอะไรแน่นอน  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมตตาจิตสักนิดเดียวก็ไม่มีในหัวใจของเขาเลย   ผู้ฆ่าสัตว์มากมายเช่นนี้ ข้าพระองค์ไม่เคยเห็นเลย พระเจ้าข้า"
    พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เสียร้องของหมูที่พวกเธอทั้งหลายได้ยินเป็นเวลา ๗ วันนั้น  ไม่ใช่เสียงร้องของหมู  แต่เป็นเสียงร้องของนายจุนทะสูกะริกเอง  เขาป่วยเป็นโรคความเร่าร้อนจากไฟนรกแผดเผา  เขาจึงร้องครวญครางออกมาเป็นเสียงหมูแล้วก็เที่ยวคลานไปมาในบริเวณบ้านอย่างทนทุกข์ทรมาน  วันนี้เป็นวันสุดท้ายของเขาแล้ว  เขาจะตายในวันนี้  และเมื่อตายแล้วเขาก็จะต้องไปบังเกิดในอเวจีมหานรก  อันเป็น นรกขุมใหญ่ ขุมที่ ๘"
    พวกภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามว่า "เป็นเช่นนั้นหรือ  พระเจ้าข้า"
    พระพุทธองค์ตรัสว่า “ เป็นเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย  ขึ้นชื่อว่าผู้ทำบาปแล้ว เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม  เป็นพระภิกษุก็ตาม ย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนในโลกทั้งสองเป็นแน่แท้"  พระพุทธองค์จึงตรัสสั่งสอนภิกษุทั้งหลายว่า
   ๐ผู้ทำบาปไว้แล้ว   ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้      ตายไปแล้ว  ย่อมเศร้าโศก       
   ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง           เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตนแล้ว   ย่อมเศร้าโศก และเศร้าหมอง ฯ
      นี่คือเรื่องราวที่เป็นตัวอย่างของพาลมนุษย์ ที่เกิดขึ้นแล้วในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีชีวิตอยู่         
   แต่พาลมนุษย์คนใดเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วได้เกิดความสำนึกบาปขึ้นมาในจิตใจว่า "ที่เราเกิดมาลำบากยากจน หรือเกิดมาเป็นคนพิการก็เพราะเราไม่เคยรักษาศีลและทำบุญเอาไว้ เกิดมาชาตินี้เราจึงลำบากยากจนอย่างแสนสาหัส เอาหละตั้งแต่นี้ต่อไปเราจะเริ่มทำบุญให้ทานรักษาศีลและเจริญภาวนา"  เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาก็จะกลับกลายเป็นบัณฑิตมนุษย์ได้  เมื่อตายไปแล้วก็จะไปบังเกิดในสุคติภูมิคือ มนุษยโลก   เทวโลก   พรหมโลก   ตลอดจนเข้าถึงนิพพานได้
      ตัวอย่างพาลมนุษย์ทำบุญแล้วได้ไปเกิดในเทวโลก
          เรื่องของมหาทุคคตะ
      ในสมัยพุทธกาลมีชายยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง  เขามีความยากจนมากกว่าใครๆทั้งหมดในเมือง บางวันเขาและภรรยาก็ต้องไป ขออาหารเหลือเดนที่ชาวบ้านกำลังจะเททิ้งมากินประทังชีวิต ใครๆ ก็เรียกเขาว่า "นายมหาทุคคตะ" ซึ่งแปลว่า ยากจนมากหรือโคตรจน นั่นเอง !
     อยู่มาวันหนึ่ง มีบัณฑิตคนหนึ่งเดินทางผ่านมาพบเขาเข้า ก็บังเกิดความสงสาร อยากจะให้เขาพ้นจากความยากลำบาก จึงได้บอกเรื่องที่ตนนิมนต์พระเอาไว้และชักชวนให้นายมหาทุคคตะ รับเป็นเจ้าภาพ เลี้ยงพระสักรูปหนึ่ง มหาทุคคตะปฏิเสธทันที เพราะรู้ว่าตนเอง ยากจนเข็ญใจขนาดไม่มีอะไรจะกิน ต้องมาขอเศษอาหารเขากินแทบทุกวัน จะทำการถวายทานนั้นมันเป็นไปไม่ได้   แต่บัณฑิตคนนี้ ก็ไม่ละความพยายาม ยังชักชวนต่อไปว่า "สหายเอ๋ย คนในเมืองนี้ ต่างก็มั่งคั่งร่ำรวยกันทั้งนั้นมีแต่คุณคนเดียวที่ลำบากยากจน พวกเขาไม่ต้องทำงานหนักก็ได้เงินทองมากมาย เพราะเขาทำบุญมาดี ส่วนท่านยากจนอยู่เช่นนี้ เพราะไม่เคยให้ทานอะไร จงรีบทำบุญเถิดนะ จะได้สบายกับเขาบ้าง"
    มหาทุคคตะเมื่อได้ฟังการชัดชวนเช่นนั้นก็มีสติปัญญาได้คิดขึ้นมาว่า " ที่เรายากจนอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะความตระหนี่ของเราแท้ๆ ที่ไม่มีเพราะไม่ได้ทำบุญมา ดังนั้นวันนี้เราจะต้องทำบุญใหญ่ให้ได้" เขาจึงตัดสินใจรับเลี้ยงพระภิกษุ ๑ รูป วันนั้นทั้งวัน เขาและภรรยาช่วยกัน รับจ้างทำงานที่บ้านเศรษฐี เพื่อหาเงินมาซื้อภัตตาหารเลี้ยงพระ ท่านเศรษฐีรู้เข้าก็เกิดความเลื่อมใส จึงได้ให้ค่าแรงเพิ่มเป็นสองเท่า
   ในวันรุ่งเช้า ปรากฏว่าบัณฑิตที่มาชักชวนเขาทำบุญนั้น ลืมจดชื่อของเขาไว้ในบัญชีรายการผู้ทำบุญ  มหาทุคคตะจึงไม่ได้พระที่จะเลี้ยง เมื่อไม่ได้พระภิกษุที่จะเป็นเนื้อนาบุญให้ เขาจึงรู้สึกเสียใจมาก บัณฑิตผู้นั้นรู้สึกละอายใจมาก ได้กล่าวขอโทษเขาและแนะนำเขาว่า "สหายเอ๋ย ยังมีพระผู้ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่เหลืออยู่รูปหนึ่ง คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าท่านมีบุญ พระองค์ก็คงจะรับอาราธนาเป็นแน่แท้"
    มหาทุคคตะจึงมุ่งหน้าไปสู่ประตูพระคันธกุฎี ทรุดเข่าลงร่ำไห้ ทูลอ้อนวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ในเมืองนี้คนที่จนกว่า ข้าพระองค์คงไม่มีอีกแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดสงเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า" 
    ธรรมดาของพุทธเจ้า จะต้องทรงอนุเคราะห์คนยากจนด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระพุทธองค์ทรงประทานบาตรให้นายมหาทุคคตะ เขารับบาตรไปด้วยความดีใจ เสมือนหนึ่งเขาได้ตำแหน่งพระเจ้ามหาจักรพรรดิ  เขามีน้ำตาไหลอาบแก้มทั้งสองช้าง ด้วยความปลาบปลื้มปีติ แม้พระราชาและมหาอำมาตย์ จะต่อรองขอซื้อบาตร ด้วยราคาอันแพงลิ่วอย่างไร เขาก็ไม่ยอมขาย เขาตอบปฏิเสธว่า "สิ่งที่ข้าพเจ้าปรารถนาที่สุด ในเวลานี้คือบุญ ทรัพย์สมบัติ แม้จะเอามากองโตเท่าภูเขา ข้าพเจ้าก็ไม่ต้องการ "
    มหาทุคคตะเป็นคนมีปัญญา เห็นว่าบุญเท่านั้นที่จะเป็นสมบัติติดตัวไปได้ทั้งในภพนี้และภพเบื้องหน้า เขาจึงไม่ยอมยกบุญนี้แก่ใคร ในที่สุดเขาได้ถวายทาน แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยใจที่อิ่มเอิบเบิกบาน หลังจากพระพุทธองค์เสด็จกลับไปแล้ว สิ่งมหัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น ฝนรัตนะได้ตกลงมาที่บ้านของมหาทุคคตะ เป็นเพชรเป็นพลอยมากมาย สูงท่วมถึงหัวเข่าทีเดียว เพราะการถวายทานด้วยเจตนาอันแรงกล้า ด้วยใจเบิกบานผ่องใสและผู้รับทานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ ทานที่ถวายในครั้งนี้จึงให้ผลทันตาเห็น เป็นที่น่าอัศจรรย์ ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐี ประจำเมืองในวันนั้นเอง พอได้เป็นเศรษฐีแล้ว เขาก็ไม่ได้ประมาทในชีวิต เพราะรู้ฤทธิ์ของความจนแล้วว่ามันทรมานเพียงไร จึงตั้งใจที่จะรื้อความจนให้หมดไป ตั้งผังความรวยอย่างถาวรเลยทีเดียว ด้วยการตั้งใจทำบุญ ทำทานยิ่งขึ้นไปจนตลอดชีวิต เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์  เสวยทิพยสมบัติยาวนานถึง ๑ พุทธันดร 
    ในชาตินี้ เมื่อลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก บุญก็ส่งผลให้มาเกิดในตระกูลเศรษฐี ชื่อว่า "บัณฑิต" เพราะตั้งแต่มาอยู่ในครรภ์ของมารดา ก็ทำให้ทุกคน ในบ้านกลายเป็นคนฉลาดกันไปหมด พออายุได้ ๗ ขวบ บุญในตัวกระตุ้นเตือนให้อยากออกบวช พ่อแม่
ก็ไม่ได้ขัดใจ กลับอนุโมทนาในความเป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยวของเขา ครั้นบวชได้ไม่กี่วัน ก็ได้บรรลุธรรมเป็นสามเณรอรหันต์ ฯ 
    เรื่องของมหาทุคคตะนี้เป็นตัวอย่างที่ดีให้เราได้เรียนรู้ถึงชะตาชีวิตของคนว่าแม้จะเกิดมาเป็นพาลมนุษย์ ลำบากยากจนแต่ถ้ามีจิตสำนึกบาปขึ้นมาได้เริ่มทำบุญสร้างกุศลก็จะร่ำรวยเป็นเศรษฐีได้และเมื่อตายไปแล้วก็ไปเกิดในเทวโลกได้   
      -มนุษย์ที่เป็นคนดีและฉลาด  คือมนุษย์ที่รักษาศีล ๕  ได้   และดำเนินชีวิตให้เป็นไปด้วย กุศลกรรมบถ ๑๐  ประการ   คือ:-
          ๑.ไม่ฆ่าคนและสัตว์
          ๒.ไม่ลักขโมย  ปล้นจี้  ฉกชิงวิ่งราว  และฉ้อโกง  ในทรัพย์สินของผู้อื่น
          ๓.ไม่เล่นชู้   คือนอกใจเมียหรือนอกใจผัว
          ๔.ไม่พูดเท็จ  พูดโกหกหลอกลวงต้มตุ๋นผู้อื่น
          ๕.ไม่พูดส่อเสียด    คือพูดยุยงให้เขาแตกแยกกัน
          ๖.ไม่พูดคำหยาบ
          ๗.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
          ๘.ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
          ๙.ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
          ๑๐.เป็นสัมมาทิฏฐิ  คือมีความเห็นชอบตวามตามทำนองคลองธรรม  เช่น เห็นว่า  บุญมี   บาปมี   นรกมี   สวรรค์มี   ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว   พ่อแม่มีคุณ
     -มนุษย์ที่เป็นคนชั่วและโง่เขลา    คือมนุษย์ที่ไม่มีศีล ๕   และดำเนินชีวิตให้เป็นไปด้วยอกุศลกรรมบถ  ๑๐   ประการ   คือ:-
         ๑.ชอบฆ่าตนและสัตว์
         ๒.ชอบลักขโมย  ปล้นจี้  ฉกชิง  วิ่งราว   และฉ้อโกงในทรัพย์สินของผู้อื่น
         ๓.ชอบเล่นชู้
         ๔.ชอบพูดเท็จ  พูดโกหกหลอกลวงต้มตุ๋นผู้อื่น
         ๕.ชอบพูดจาส่อเสียด  ยุยงเขาให้แตกแยกกัน
         ๖.ชอบพูดคำหยาบ
         ๗.ชอบพูดเพ้อเจ้อ
         ๘.โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตัว
         ๙.คิดอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
         ๑๐.เป็นมิจฉาทิฏฐิ     คือเห็นผิดตามทำนองคลองธรรม  เช็น  เห็นว่า  บุญไม่มี   บาปไม่มี   นรกไม่มี   สวรรค์ไม่มี   ทำชั่วได้ดี   ทำดีได้ชั่ว   พ่อแม่ไม่มีคุณ
       -มนุษย์ที่เป็นคนชั่วจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จะเข้าถึงพระนิพพานคือสิ้นสุดแห่ทุกข์ไม่ได้
  ตัวอย่างของบุคคลผู้รักษากุศลกรรมบถ ๑๐
                 หมู่บ้านธรรมปาลคาม
          
    ๐หมู่บานธรรมปาลคาม  เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่  ตลอดถึงคนรับใช้และผู้มารับจ้างทำงานที่หมู่บ้านนี้  ทุกคนจะต้องรักษากุศลกรรมบถ ๑๐  ประการ  อย่างเคร่งครัด   ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าของพวกเราได้มาบังเกิดในสกุลมหาพราหมณ์ที่เป็นหัวหน้าในหมู่บ้านนี้ โดยรับการตั้งชื่อจากบิดามารดว่า "ธรรมบาลกุมาร"   พอธรรมบาลกุมารมีอายุเจริญวัยขึ้น  บิดาได้ให้เงิน  ๑๐๐๐  กหาปณะ แล้วส่งให้ไปเรียนหนังสือที่สำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ที่มีชื่อเสียง  ณ ที่เมืองตักกะศิลา   ธรรมบาลกุมารเป็นลูกศิษย์คนโตและได้เป็นหัวหน้าของลูกศิษย์ทั้งหมดในจำนวน  ๔๙๙  คน   นักศึกษาที่เข้ามารับการศึกษาในปีนั้นจำนวน  ๕๐๐  คน
    ครั้นอยู่มาวันหนึ่งลูกชายคนโตชองอาจารย์ได้เสียชีวิตลง  อาจารย์และลูกศิษย์ทั้ง ๔๙๙  คน  ได้พากันรัองไห้เศร้าโศกเสียใจด้วยความพิไรรำพัน
ว่า "ไม่น่าเลย ลูกชายของอาจารย์เขาเป็นคนดี  มีนิสัยดี  สุภาพเรียบร้อย  กิริยามารยาทก็แฉล้มแช่มช้อย ต้องมาตายพลัดพรากไปจากพ่อแม่  ตั้งแต่อายุยังน้อย"  ในเหตุการณ์นี้มีคนไม่ร้องไห้อยู่คนเดียวคือธรรมบาลกุมาร
    ธรรมบาลกุมารจึงพูดกับเพื่อนๆว่า "ดูกรสหาย  การที่ลูกชายอาจารย์  มาตายตั้งแต่อายุยังน้อยนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่ามันไม่สมควรเลย"
    พวกเพื่อนทั้งหลายจึงพูดกับธรรมบาลกุมารว่า "ดูก่อนสหาย  ควรหรือไม่ควร ไม่ต้องพูดถึง ธรรมดาว่ามนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ย่อมมีตวามตายเป็นที่สุด  สหายไม่รู้หรือว่าความตายเป็นสภาพที่จะต้องเกิดขึ้นแก่มนุษย์ทั้งหลาย"
    ธรรมบาลกุมารกล่าวว่า "ดูก่อนสหายทั้งหลาย  ข้อนั้นเราก็รู้ ความตายจะต้องเกิดขึ้นแก่มนุษย์ทั้งหลาย  แต่ทว่ามนุษย์ทั้งหลายไม่ควรจะมาตายตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว  แก่แล้วตายถึงจะควร"
    พวกเพื่อนทั้งหลายจึงกล่าวว่า "ดูก่อนธรรมบาล  ท่านพูดเช่นนั้นมันไม่ถูก  พญามัจจุราชคือความตายนั้นจะไม่เลือกว่าหนุ่มหรือแก่   หนุ่มหรือแก่ก็ตายได้ทั้งนั้น  ธรรมดา
ว่าสังขารทั้งหลายมีสภาวะไม่เที่ยง  เกิดมาแล้วก็จะต้องตายอย่างแน่นอน"
    ธรรมบาลกุมารจึงพูดว่า "ดูก่อนสหายทั้งหลาย  คำที่พวกท่านพูดนั้นมันก็จริง  สังขาร
ทั้งหลายมันไม่เที่ยงเกิดมาแล้วก็จะต้องตายในที่สุด  แต่ทว่ามันไม่น่าจะมาตายตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวเลย  แก่แล้วตายนั้นควรที่สุด  พญามัจจุราชนั้นไม่ใช่ว่าจะไม่เลือกหน้า  ที่เลือกหน้าก็มี"
    พวกเพื่อนทั้งหลายจึงกล่าวว่า "ดูก่อนธรรมบาล  เป็นเช่นไรท่านจึงกล่าวออกมา
เช่นนี้  หรือว่าคนในบ้านเรือนของท่านพญามัจจุราชเลือกสังหาร คือสังหารแต่คนแก่ๆหรือ?"
    ธรรมบาลกุมารพูดว่า "ดูก่อนสหายทั้งหลาย  มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ  ถ้ายังหนุ่มยังสาวคนในเรือนของข้าพเจ้าจะไม่ตาย  จะตายก็ต่อเมื่อแก่แล้วเท่านั้น  การไม่ตายตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวในตระกูลของข้าพเจ้านี้เป็นประเพณีสืบทอดกันมาได้ ๗ ชั่วอายุคนแล้ว"
    พวกเพื่อนทั้งหลายจึงได้นำเอาคำบอกเล่าของธรรมบาลกุมารนั้นไปบอกแจ้งแก่อาจารย์
    อาจารย์จึงได้เรียกธรรมบาลกุมารเข้ามาหาแล้วถามว่า "คนในตระกูลของเธอไม่ตายตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว จริงหรือ?"
    ธรรมบาลกุมารจึงพูดว่า "เป็นเช่นนั้นจริงๆครับ อาจารย์"
    อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ฟังคำบอกเล่าของธรรมบาลกุมารแล้วได้เกิดความพิศวงและ
อัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง  คิดว่า "ในสกุลนี้น่าจะมีคุณวิเศษอะไรสักอย่างหนึ่งอย่างแน่นอน
จึงมีอายุยืนเช่นนี้  จำเราจะต้องไปสืบดูให้ได้ข้อมูลที่แน่นอน  ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆแล้วเราก็จะเรียนเอาลัทธิของเขา  แล้วนับถือเขาเป็นครูเป็นอาจารย์ต่อไป" 
    เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วอาจารย์ทิศาปาโมกข์จึงเรียกธรรมกุมารมาแล้วสั่งว่า "อาจรย์จะเดินทางไปทำธุระต่างเมือง  ขอให้ธรรมบาลกุมารช่วยสั่งสอนศิลศาสตร์แก่ลูกศิษย์ทั้งหลายแทนอาจารย์ไปก่อน  จนกว่าอาจารย์จะกลับมา"
    ธรรมบาลกุมารก็รับตามที่อาจารย์สั่ง
    อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ครั้นสั่งเสียเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำเอาอุปฐากน้อยคนหนึ่งเดินทางไปด้วย  แล้วก็ออกเดินทางจากเมืองตักกศิลามุ่งสู่กาสิกะรัฐมหาชนบทอันเป็นบ้านเกิดของธรรมบาลกุมาร   ในระหว่างทางที่เดินทางไปนั้นก็ได้เก็บเอากระดูกแพะและกระดูกสุนัขใส่กระทอไปด้วย เมื่อเดินทางมาถึงกาสิกะรัฐมหาชนบทแล้วก็ถามหาหมู่บ้านธรรมปาลคาม  ครั้นเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านธรรมปาลคามก็ถามหาบ้านของมหาพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของธรรมบาลกัมาร  เมื่อถามดูรู้ว่าบ้านมหาพราหมณ์อยู่ที่ไหนแล้ว  ก็ได้ไปยืนอยู่แทบประตูเรือนของมหาพราหมณ์
    เมื่อมหาพราหมณ์รู้ว่าอาจารย์ของลูกชายมาที่บ้านก็รีบออกมาต้อนรับด้วยความเคารพ
นอบน้อม  แล้วเชื้อเชิญอาจารย์ให้เข้าไปในบ้าน  เชิญให้นั่งเหนืออาสนะ แล้วจึงทำวัตร ปฏิบัติแก่อาจารย์มีการล้างเท้าเป็นต้น
    อาจารย์ทิศาปาโมกข์จึงกล่าวออกมาเป็นเลศนัยว่า "ดูก่อนมหาพราหมณ์  ธรรมบาลกุมารบุตรชายของท่านเป็นคนมีปัญญาดีมาก  เรียนไตรเพทและศิลศาสตร์ ๑๔ ประการสำเร็จแล้วโดยรวดเร็ว
    อยู่มาวันหนึ่งเขาได้ล้มป่วยลง ให้หมอมารักษาก็ไม่หาย  ไม่นานเขาก็ตาย  ดูก่อนมหาพราหฒณ์ท่านอย่าเสียใจเลยนะ จงเป็นผู้มีสติ  ขึ้นชื่อว่าสังขารร่างกายเป็นของไม่เที่ยง  เกิดมาแล้วก็ต้องตาย  ท่านอย่าเศร้าโศกเสียใจ  อย่าร้องไห้พิไรรำพันเลย"
    ครั้นมหาพราหมณ์ได้ยินอาจารย์ทิศาปาโมกข์พูดเช่นนั้นก็ตบมือหัวเราะอย่างดัง
    อาจารย์ทิศาปาโมกข์ก็แปลกใจจึงถามว่า "ท่านตบมือหัวเราะทำไม"
    มหาพราหมณ์จึงตอบว่า "ท่านพูดแบบมีมายาที่ไม่เป็นความจริง  บุตรชายของผมยังไม่ตาย  ที่ตายต้องเป็นคนอื่น"
    อาจารย์ทิศาปาโมกข์เมื่อเห็นมหาพราหมณ์มีความมั่นใจเช่นนั้นจึงเทกระดูกออกจาก กระทอให้ดู  ท่านจงดูซินี่คือกระดูกของเขา
          
              นี้คือกระทอใส่กระดูก
    มหาพราหมณ์เมื่อดูกระดูกแล้วจึงพูดว่า "นี่คือกระดูกแพะและกระดูกสุนัข  ไม่ใช่กระดูกลูกชายของข้าพเจ้า  คนในตระกูลของข้าพเจ้าไม่เคยตายตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวมา ๗  ชั่วอายุคนแล้ว  ท่านอาจารย์พูดโกหกหรือเปล่านี่"
    ในขณะนั้นคนทั้งหลายที่มานั่งอยู่ในบ้านของมหาพราหมณ์เหล่านั้น  เมื่อได้ยินอาจารย์ทิศาปาโมกข์พูดว่า "ธรรมบาลกุมารตายแล้ว  ก็พากันตบมือหัวเราะดังสนั่น  ไม่มีใครเชื่อเลยซักคนเดียวว่าธรรมบากุมารตายแล้ว"
    อาจารย์ทิศาปาโมกข์เมื่อได้เห็นเหตการณ์เช่นนั้นแล้วก็เกิดความพิศวงอัศจรรย์ใจและความโสมนัสยินดีเป็นอย่างยิ่ง  จึงคิดว่า "เรามาที่นี่ไม่เสียเที่ยวเลย  ได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ที่จะนำเอามาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราอย่างดียิ่งทีเดียว"
    เมื่อคิดเช่นนี้จึงได้ถามมหาพราหมณ์ว่า "ดูก่อนมหาพราหมณ์   คนในตระกูลของท่าน
ปฏิบัติเช่นใดถึงมีอายุยืน  ไม่ตายตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว ขอท่านจงบอกข้อวัตรปฏิบัตินั้นให้ข้าพเจ้าทราบด้วย"
    ท่านมหาพราหมณ์ก็ตอบว่า "คนในตระกูลของข้าพเจ้า  จะต้องประพฤติปฏิบัติและรักษากุศลกรรมบถ  ๑๐  ข้อ  ดังต่อไปนี้
                 กุศลกรรม ๑๐ ข้อ   
          ๑.ไม่ฆ่าคนและสัตว์
          ๒.ไม่ลักขโมย  ปล้นจี้  ฉกชิงวิ่งราว  และฉ้อโกง  ในทรัพย์สินของผู้อื่น
          ๓.ไม่เล่นชู้   คือนอกใจเมียหรือนอกใจผัว
          ๔.ไม่พูดเท็จ  พูดโกหกหลอกลวงต้มตุ๋นผู้อื่น
          ๕.ไม่พูดส่อเสียด    คือพูดยุยงให้เขาแตกแยกกัน
          ๖.ไม่พูดคำหยาบ
          ๗.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
          ๘.ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
          ๙.ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
          ๑๐.เป็นสัมมาทิฏฐิ  คือมีความเห็นชอบตวามตามทำนองคลองธรรม  เช่น เห็นว่า  บุญมี   บาปมี   นรกมี   สวรรค์มี   ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว   พ่อแม่มีคุณ
     ประโยชน์ที่จะได้รับจากการรักษากุศลกรรมบถ ๑๐ ข้อ
          ๑.จะมีอายุยืน  ๑๐๐  ปี  ขึ้นไป
          ๒.จะไม่ตายตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว  แก่แล้วจึงตาย
          ๓.รูปร่างก็ไม่แก่ชราเร็ว
          ๔.มีสุขภาพแข็งแรง  ไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย
          ๕.เป็นคนมีโรคน้อย
          ๖.รูปร่างก็สมบูรณ์ไม่พิกลพิการ
          ๗.รูปร่างสง่างามและองอาจกล้าหาญ
          ๘.มีสติปัญญาและความรู้ดี
          ๙.เป็นคนร่าเริงเบิกบาน  ไม่อมทุกข์
          ๑๐.เมื่อสิ้นอายุขัยไปแล้ว  ก็จะได้ไปบังเกิดในโลกทั้ง ๓  คือ  มนุษยโลก   เทวโลกหรือพรหมโลก  อย่างแน่นอน    ถ้าใครเจริญสมาธิจนได้บรรลุสมาธิขั้นสูงก็จะได้เป็นพระอรหันต์
     เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์รู้ข้อวัตรปฏิบัติของตระกูลมหาพราหมณ์บิดาของธรรมบาลกุมารเช่นนี้แล้วจึงได้กราบขอโทษและบอกกล่าวให้ฟังตามความเป็นจริงว่า "ดูก่อนท่านมหาพราหมณ์  ที่ข้าพเจ้าได้มาที่หมู่บ้านธรรมปาลคามนี้  ก็เพื่ออยากพิสูจน์ความจริง
 ที่ธรรมบาลกุมารพูดว่า "คนในตระกูลของเขาไม่มีใครตายตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว แก่แล้ว
จึงตายเท่านั้น"  ข้าพเจ้าต้องขอโทษที่พูดจาลวงเกินท่านด้วยคำไม่จริง  ที่พูดเข่นนี้ก็เพื่อ
อยากจะรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่านั้น  เพราะข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินคำเช่นนี้มาก่อนเลยในชีวิต   หลังจากบอกกล่าวเรื่องราวให้ฟังตามความเป็นจริงแล้ว  ท่านอาจารย์ทิศาปาโมกข์ก็ได้ขอเรียนเอาซึ่งกุศลกรรมบถ  ๑๐  ข้อ จากท่านมหาพราหมณ์  เพื่อจะได้นำเอาไปประฤติปฏิบัติในสกุลของตนและจะได้กล่าวสอนลูกศิษย์ทุกรุ่นทุกคนต่อไปด้วย
    หลังจากได้ถือเอามหาพราหมณ์เป็นครูเป็นอาจารย์แล้ว  ท่านอาจารย์ทิศาปาโมกก็ได้เดินทางกลับสู่เมืองตักกศิลา
    มนุษย์ทั้งหลายในชมพูทวีปนี้ส่วนมากจะเป็นมนุษย์ประเภท พาลมนุษย์มาก คือมนุษย์ส่วนใหญ่ในชมพูทวีปจะดำเนินชีวิตด้วยการทำ อกุศลกรรมบถ ๑๐  อย่าง ดังต่อไปนี้
                 อกุศลกรรม ๑๐ ข้อ
         ๑.ชอบฆ่าตนและสัตว์
         ๒.ชอบลักขโมย  ปล้นจี้  ฉกชิง  วิ่งราว   และฉ้อโกงในทรัพย์สินของผู้อื่น
         ๓.ชอบเล่นชู้
         ๔.ชอบพูดเท็จ  พูดโกหกหลอกลวงต้มตุ๋นผู้อื่น
         ๕.ชอบพูดจาส่อเสียด  ยุยงเขาให้แตกแยกกัน
         ๖.ชอบพูดคำหยาบ
         ๗.ชอบพูดเพ้อเจ้อ
         ๘.โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตัว
         ๙.คิดอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
         ๑๐.เป็นมิจฉาทิฏฐิ     คือเห็นผิดตามทำนองคลองธรรม  เช็น  เห็นว่า  บุญไม่มี   บาปไม่มี   นรกไม่มี   สวรรค์ไม่มี   ทำชั่วได้ดี  ทำดีได้ชั่ว   พ่อแม่ไม่มีคุณ 
    เมื่อมนุษย์ทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ มากขึ้นมันจะเป็นสาเหตุทำให้ดินฟ้าอากาศการเกิดการเปลี่ยนแปลง  ฝนเคยตกมากก็จะตกน้อยลง  จะมีลมพายุอันร้ายแรงมากเกิดขึ้นทำให้เกิดความเสียหายและมีคนตายเป็นจำนวนมาก  ฟ้าร้องฟ้าผ่าก็จะเปลี่ยนเสียไป คือจะมีเสียงเหมือนระเบิดหรือปืน  ฟ้าฝนจะแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล  หน้าร้อนอากาศจะร้อนมากร้อนจนมีคนตาย  หน้าหนาวอากาศจะหนาวมากหนาวจนมีคนตาย   หน้าฝนๆจะตก
มากจนน้ำท่วมจนมีคนตาย  เมื่บรรยากาศเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้  จิตใจของมนุษย์ก็จะเปลี่ยนแปลงจากเมตตาปรานีไป คือจะกลับกลายเป็นคนโหดร้ายเข่นฆ่ากัน  เมื่อจิตใจของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป  มนุษย์ทั้งหลายก็จะมีอายุสั้นลง และมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนมากขึ้น  ดินฟ้าอากาศก็จะเกิดวิปริตแปรปรวนผิดฤดูกาล   เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ พื้นแผ่นดินอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทั้งหลายก็จะหดสั้นเข้าเหลือแผ่นดินน้อยลง  อันเกิดจากสาเหตุทั้งหลายดังต่อไปนี้
    ๑.เกิดจากแผ่นดินไหว  แผ่นดินจะทรุดหายไป
    ๒.เกิดจากการขุดเจาะน้ำมันใต้ทะเลขึ้นมาใช้  ซึ่งเป็นการทำลายระบบนิเวศภายใต้พื้นน้ำให้ขาดความสมดุล
    ๓.เกิดจากการขุดเจาะแก๊สในทะเลขึ้นมาใช้  ทำไห้พื้นดินใต้ทะเลชาดความสมดุลอันเป็นการทำลายระบบนิเวศภายใตัพื้นน้ำให้สูญเสียไป
    ๔.เกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียส์หรือระเบิดปรมานูภายใต้พื้นน้ำในทะเลอันเป็นสาเหตุให้พื้นทะเลเกิดอาการปั่นปรวนวิปริตแปรปรวนอย่างร้ายแรงและเกิดสารกัมมันต ภาพรังสีภายใต้พื้นน้ำในทะเลอันเป็นสารพิษที่ร้ายแรงในน้ำทะเล
    ๕.เกิดจาการทดลองระเบิดปรมาณูหรือระเบิดนิวเคลียส์ภายใต้แผ่นดินอันเป็นสาเหตุทำให้แผ่นดินถูกทำลายจนเกิดการถล่มถลายสูญหายไป  
                 ตัวอย่างของอกุศลกรรมบถข้อที่ ๑
                          เรื่องของนายโคฆาตก์
      
    ๐อกุศลกรรมข้อที่ ๑  คือ ชอบฆ่าคนและสัตว์
                      ตัวอย่างอกุศกรรมข้อที่ ๑
    ในสมัยพุทธกาล  พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร  ในเมืองสาวัตถี  ได้มีคนฆ่าโคขายเนื้อคนหนึ่งมีชื่อว่า "นายโคฆาตก์" เขามีอาชีพฆ่าโคขายเนื้อ  วันไหนที่มีการฆ่าโคเขาจะเอามีดคมๆเฉือนเอาเนื้อตรงเนื้อล่ำแล้วก็นำเอาไปให้ภรรยาปิ้งเขาภรรยาพร้อมด้วยลูกก็พากันนั่งกินอย่างเอร็ดอร่อย  ส่วนที่เหลือกินก็นำเอาไปขาย  เขาทำการฆ่าโคนับเป็นเวลาได้  ๕๕  ปี   ข้าวยาคูหรือภัตราหารแม้ทัพพี ๑ ก็ไม่เคยถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารซึ่งอยู่ไม่ไกล้จากบ้านของเขาเลย   อาหารทุกวันจะต้องมีเนื้อด้วยเขาจึงจะกินข้าว  ถ้าไม่มีเนื้อวันนั้นเขาก็จะไม่กินข้าวเลย
     วันหนึ่งเมื่อเขาขายเนื้อหมดแล้วก็เอาก้อนเนื้อก้อนหนึ่งมอบให้ภรรยาเพื่อนำเอาไปปิ้งสำหรับอาหารภาคกลางวันของเขา  และตัวเขาเองก็ได้ไปอาบน้ำที่ท่าน้ำ   ขณะนั้นเพื่อนของเขาคนหนึ่งได้มาที่เรือนของเขาแล้วพูดกับภรรยาของเขาว่า "วันนี้ผมมีแขกมาที่บ้าน  ผมขอซื้อเนื้อสักชิ้นหนึ่งเพื่อจะเอาไปทำอาหารเลี้ยงแขก"
     ภรรยาของเขาก็พูดว่า "เนื้อที่จะขายนั้นมันหมดไปแล้ว  บัดนี้สหายของท่านขายเนื้อเสร็จแล้วก็ไปอาบน้ำที่ท่าน้ำ" 
     สหายของเขาก็พูดว่า "อย่าทำอย่างนั้นเลย  ถ้าเนื้อยังเหลืออยู่ก็จงขายให้ผมเถอะนะ  เพราะผมมีความจำเป็นจริงๆ"
     ภรรยาของนายโคฆาตก์จึงพูดว่า "เนื้อที่จะขายหมดแล้ว  ยังเหลือแต่เนื้อที่จะปิ้งให้เขากินตอนกลางวันเท่านั้น"
     สหายของเขาคิดว่า "เนื้ออื่นนอกจากเนื้อที่เก็บไว้ทำอาหารกลางวันให้เขาไม่มี, สหายของเราถ้าไม่มีเนื้อเขาจะไม่กินอาหารเลย, ภรรยาเขาคงไม่ให้แน่" เขาถือวิสาสะความสนิทสนมคุ้นเคยกันถือเอาเนื้อแล้วก็เดินหนีไปแบบหน้าด้านๆ
    ฝ่ายนายโคฆาตก์  เมื่ออาบน้ำเสร้จแล้วก็กลับมาบ้าน ภริยาของเขาก็ได้จัดเตรียมอาหารให้เขาซึ่งมีแต่ผักต้มไม่มีเนื้อ เขาจึงถามว่า "เนื้ออยู่ที่ไหน?"
    ภริยาของเขาตอบ "เนื้อไม่มีจะนาย"
    นายโคฆาตก์พูดว่า "เราเอาเนื้อก้อนหนึ่งให้เธอเพื่อปิ้งทำอาหารให้ฉัน ก่อนฉันจะไป  มิใช่หรือ?
     ภริยาของเขาพูดว่า "ใช่ แค่วันนี้เพื่อนของท่านมาแล้วพูดว่า "แขกมาที่บ้านของฉัน, หล่อนจงให้เนื้อที่จะพึงขายแก่ฉัน"  เมื่อฉันแม้ตอบว่า
"เนื้ออื่นจากเนื้อที่ฉันเก็บไว้ เพื่อทำอาหารให้ท่านไม่มี   สหายของท่าน ถ้าไม่มีเนื้อเขาจะไม่กินอาหารเลย" ก็ได้ถือเอาเนื้อนั้นไปโดยพลการเลยทีเดียว
     นายโคฆาตก์ก็พูดกับภรรยาว่า "ถ้าไม่มีเนื้อฉันจะไม่กินอาหาร เธอก็รู้มิใฃ่หรือ? จงนำเอาหารนี้ออกไปเสีย"
     ภริยาของเขาถามว่า "ฉันทำอาหารอย่างไร?  นายจึงจะรับประทานข้าวได้"              
     นายโคฆาตก์ตอบว่า "จะต้องตัดเอาลิ้นโคมาทำเป็นอาหารฉันจึงจะรับประทานข้าวได้" 
     ครั้นนายโคฆาตก์ให้ภรรยานำเอาอาหารออกไปแล้วก็ถือมีดเดินตรงไปหาโคตัวที่ยืนอยู่ข้างหลังบ้าน  แล้วก็ดึงเอาลิ้นของมันออกมาใช้มีดเฉือนเอาตรงที่โคนลิ้นของมันอย่างโหดเหี้ยม แล้วก็ถือเอาไปให้ภรรยาปิ้งบนถ่านเพลิง  เมื่อสุกดีแล้วก็เอามาเฉือนเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อจะรับประทาน  เมื่อเขาเอาชิ้นเนื้อก้อนหนึ่งยัดเข้าไปในปาก  ในทันใดนั้นลิ้นชองเขาก็ขาด แล้วก็ตกลงไปในจานใส่อาหาร  วิบากกรรมอันชั่วร้ายย่อมปรากฏแก่เขาในทันใดนั้นเอง  เขามีสภาพเหมือนโคที่ถูกตัดลิ้นมีเลือดไหลออกมาทางปากอย่างไม่หยุดแล้วเขาก็คลานร้องไปเหมือนโคที่ถูกตัดลิ้น
                    บุตรนายโคฆาตก์หนีไป              
      สมัยนั้น บุตรของนายโคฆาตก์ยืนแลดูบิดาอยู่ในที่ใกล้  ลำดับนั้น มารดาจึงพูดกะเขาว่า "ลูก เจ้าจงดูบิดาซิ เขาเที่ยวคลานร้องไปในท่ามกลางเรือนเหมือนโค ความทุกข์นี้จักตกบนกระหม่อมของเจ้า, เจ้าไม่ต้องห่วงนะ เจ้าจงทำความสวัสดีให้มีแก่ตนจงหนีไปเถิด"
      บุตรนายโคฆาตก์นั้นถูกมรณภัยคุกคาม ไหว้มารดาแล้วหนีไป ก็แลครั้นหนีไปแล้ว ก็ได้ไปยังนครตักกสิลา
      แม้นายโคฆาตก์ก็เป็นเหมือนโค เที่ยวร้องไปในท่ามกลางเรือน ๒ - ๓ วัน ก็ตายไปเกิดในอเวจีมหานรก  ส่วนแม่โคทนพิษบาดแผลไม่ได้ก็ได้ตายไปไล่ๆกัน
      ฝ่ายบุตรของนายโคฆาตก์ไปนครตักกสิลา ก็ได้เรียนวิชาชีพช่างทอง  เมื่อเรียนจบแล้ว อาจารย์ของเขา จึงบอกเขาว่า "เธอพึงทำเครื่องประดับแบบนี้นะ มันจะเหมาะสมกับวาสนาของเธอ" แล้วเขาก็ลาอาจารย์หนีไป   แม้เขาก็ได้ไปทำเครื่องประดับแบบนั้นแล้ว
      วันหนึ่งอาจารย์เข้าไปทำธุระในเมือ ไปเจอเขาทำเครื่องประดับขายอยู่  อาจารย์เห็นเครื่องประดับที่เขาทำแล้ว คิดว่า "ชายผู้นี้ทำเครื่องประดับสวยงาม ฝีมือขั้นเทพไปในที่ใดก็ตาม เขาก็จะเป็นผู้สามารถจะเลี้ยงชีพได้ดีทีเดียว"  จึงได้ยกลูกสาวที่กำลังเจริญวัยแก่เขา  เขามีอาชีพเจริญรุ่งเรืองมีบุตรและธิดาหลายคน
                      ลูกทำบุญให้พ่อ              
       ลำดับนั้น บุตรทั้งหลายของเขาเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะ  ในกาลต่อมาพวกเขาไปอยู่พระนครสาวัตถี ดำรงชีวิตอยู่ในพระนครนั้น ได้เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  ฝ่ายบิดาของพวกเขาไม่ทำบุญกุศลอะไรๆ เลย ถึงความชราในนครตักกสิลานั้นแล้ว.
       ครั้นต่อมา พวกบุตรของเขาปรึกษากันว่า "บิดาของพวกเราแก่แล้ว จำพวกเราจะทำบุญกุศลให้แก่บิดา" แล้วจึงเชิญให้บิดามาที่บ้านของเขาแล้วจึงพูดว่า "พวกฉันจะถวายทานเพื่อประโยชน์แก่บิดา" แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
       วันรุ่งขึ้น พวกเขานิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้นั่งภายในเรือนแล้ว อังคาสโดยเคารพ ในเวลาเสร็จภัตกิจ กราบทูลพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ถวายภัตนี้ให้เป็นชีวภัต (ภัตเพื่อบุคคลผู้เป็นอยู่) เพื่อบิดา. ขอพระองค์จงทรงทำอนุโม ทนาแก่บิดาของพวกข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า"
               พระศาสดาทรงแสดงธรรม              
       พระศาสดาตรัสเรียกบิดาของพวกเขามาแล้ว ตรัสว่า "อุบาสก ท่านเป็นคนแก่ มีสรีระแก่หง่อมเช่นกับใบไม้เหลือง, เสบียงทาง คือกุศลเพื่อจะไปยังปรโลกของท่านยังไม่มี ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน จงเป็นบัณฑิต อย่าเป็นพาล" ดังนี้แล้ว
       เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-                              
     ๐บัดนี้ ตัวท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง, อนึ่ง บุรุษแห่งพระยายม (คือความตาย)
       ปรากฏแก่ท่านแล้ว. ท่านตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม, อนึ่ง แม้เสบียงทางของท่าน ก็ยังไม่มี  ท่านนั้น จงทำที่พึ่งแก่ตน, จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต   ท่านกำจัดมลทินได้แล้ว  ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์ ฯ
    
               ตัวอย่างของอกุศลกรรมบถข้อที่ ๒
        
      ๐อกุศลกรรมบถข้อที่ ๒  คือ ชอบลักขโมย  ปล้นจี้  ฉกชิงวิ่งราว  และฉ้อโกงในทรัพย์สินของผู้อื่น
 
                    ตัวอย่างอกุศลกรรมข้อที่ ๒      
      ในหมู่บ้านขามเทศ มีชาย ๒ คนคือนายผาดและนายแผง  ชายทั้ง ๒ คนนี้มีจิตใจเป็นอกุศลจิตชอบลัก ขโมย ปล้นจี้  และฉกชิงวิ่งราวในทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่น    คืนวันหนึ่งเขาทั้ง ๒ คน ออกทำโจรกรรม ลักมอเตอร์ไซต์ไปขายให้ร้านแปรรูปมอเตอร์ไซต์  เมื่อร้านรับซื้อมอเมตอร์ไซต์ที่นายผาดและนายแผงลักมาขายให้ในราคาถูก  เจ้าของร้านก็แปรรูปมอเตอร์ไซต์ให้เป็นคันใหม่สีใหม่ในเร็วพลัน  ธุรกิจนี้ดำเนินมาได้  ๓ ปี  ก็ถูกตำรวจจับได้
   นายผาดถูกรถชนตายในขณะที่วิ่งหลบหนีการไล่จับของตำรวจ  ส่วนนายแผงถูกตำรวจจับได้เขารับสารภาพทุกข้อหา เขาจึงถูกจำคุก ๗ ปี  เมื่อพ้นโทษออกมาจากคุกแล้ว เขากลับไปบ้านไม่เจอเมียเพราะเมียหนีไปหาผัวใหม่ตั้งแต่เขาถูกจับแล้ว  เขาออกมาจากคุกไม่นานเขาก็ป่วยเป็นโรคอัมพาตเงินที่ได้มาในตอนเป็นขโมยในการลักรถเขามาขายก็เอามารักษาโรคหมด  เท่านั้นยังไม่พอ  เขาต้องขายที่ดินที่พ่อแม่แบ่งให้ ๑ แปลง เอาเงินมารักษาโรคแต่ก็ไม่หายเพราะเขาทำกรรมชั่วเอาไว้มาก พอเงินหมดเขาก็ตายอย่างทนทุกข์ทรมาน 
    ส่วนเจ้าของร้านที่รับซื้อมอเตอร์ไซต์มาแปรรูป  ถูกคนร้ายซัดทอดจึงถูกตำรวจจับในข้อหารับซื้อของโจร  ทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ถูกอายัดไว้ทั้งหมดและเจ้าทุกข์ที่เป็นเจ้าของรถชี้ตัวให้ดำเนินคดีรถหายหลายคน เขาจึงถูกจำคุก ๑๐ ปี  พวกเขาทุกคนเกิดความวิบัติฉิบหายไปต่างๆกัน  นี่แหละคือผลแห่งอกุศลกรรมที่พวกพวกเขาได้กระทำเอาไว้  เห็นผลกรรมในชาตินี้เลยทีเดียว
     
                         อกุศลกรรมบถข้อที่ ๓
      
                              ชอบเล่นชู้ 
    ๐อกุศลกรรมบถข้อที่ ๓  คือการเล่นชู้  ได้แก่การประพฤตินอกใจเมียหรือการประพฤตินอกใจผัว
                      ตัวอย่างอกุศลกรรมข้อที่ ๓
    ณ  หมู่บ้านออลีน  มึครอบครัวที่มีฐานะทางการเงินดีครอบครัวหนึ่ง  สามีมีชื่อว่า "ทิม" มีอาชีพเกี่ยวกับวงการบันเทิง  ภรรยาชื่อว่า "จิน"  หล่อนมีอาชีพเป็นนักร้อง  หล่อนเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงและมีรายได้ดีคนหนึ่งของหมู่บ้านนี้  หล่อนแต่งงานกับทิมมาได้  ๗  ปี แต่ยังไมมีลูกไว้สืบสกุล  หล่อนได้รับเอา "ลีน่า" เด็กหน้าตาดีที่เป็นญาติห่างๆของเธอไว้เป็นบุตรบุญธรรม  พอหล่อนรับเอา น.ส.ลีน่า เข้ามาเป็นสมาชิกของครอบครัวได้  ๓  ปี ก็เกิดปัญหาขึ้นภายในครอบครัว คือทิมที่เป็นสามีของเธอลักลอบเล่นชู้กับลีน่าที่มีฐานะเป็นบุตรบุญธรรม  ทำให้ครอบครัวเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ ทำให้หล่อนเกิดความเบื่อหน่าย หล่อนเลยตัดสินใจเลิกกับทิมและได้แบ่งสมบัติกัน  ส่วนลีน่าก็ถูกส่งกลับบ้านและหล่อนก็ให้เงินแก่ลีน่าเล็กน้อยเพื่อนำเอาไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัว  หลังจากเลิกลากันได้  ๔  ปี ทิมก็ไปติดผู้หญิงอีกหลายคนในที่สุดเขาก็ถูกนักเลงหญิงหลอกเอาจนหมดตัว เมื่อหมดเงินแล้วเขาก็ป่วยเป็นโรคมะเร็งเพราะพิษสุรา ไม่นานเขาก็ตาย
    ส่วนจินหลังจากเลิกกับสามีแล้วหล่อนก็ได้พบเพื่อนเก่าคนหนึ่ง ชื่อว่า "พิตตี้" พิตตี้ได้ชวนให้จินไปนั่งสมาธิด้วยกันที่วัดแห่งหนึ่งที่พระภิกษุเป็นชาวอเมริกาที่เคยเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ชา  แห่งวัดหนองป่าพง  จังหวัดอุบลราชธานี  ที่อยู่ในประเทศไทย   เมื่อจินไปฝึกนั่งสมาธิได้ ๑ เดือน  เธอก็เห็นแสงสว่างในชีวิตของเธอทำให้ชีวิตของเธอมีความสุขมากและหล่อนก็มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก  หล่อนจึงได้บริจาคเงินสร้างกูฏินั่งกรรมฐานหมดเงินไป ๒  ล้านเหรียญ  เหลืออีก ๓  ล้าน หล่อนก็เก็บเอาไว้เลี้ยงชีพตนเอง  นี่คือตัวอย่างของคนชอบเล่นชู้คือนอกใจเมีย
               
                   ตัวอย่างอกุศลกรรมข้อที่ ๔
          
    ๐อกุศลกรรมข้อที่ ๔  คือชอบพูดเท็จ  โกหกพูดหลอกลวงต้มตุ๋นผู้อื่น
                     ตัวอย่างอกุศลกรรมข้อที่ ๔
     ในโกดังเก็บสินค้าแห่งหนึ่งย่านร่มเกล้า มีครอบครัวๆหนึ่ง มีฐานะทางการเงินดี สามีชื่อว่า "นายชิต"มีอาชีพขายของทางออนไลน์   ภรรยามีชื่อว่า "นุช"  มีอาชีพประชาสัมพันธ์   วันหนึ่งในนายชิตได้ออร์เดอร์แว่นตาแก่สายตาสั้นและสายตายาวจากต่างประเทศมาโฆษณาโกหกหลอกขายให้คนหลงเชื่อ โดยเขาโกหกหลอกขายว่า "แว่นตาอันนี้มีความสามารถพิเศษโดยระบุว่าสามารถปรับระยะการมองเห็นได้อัตโนมัติ ช่วยกันแสงสีฟ้า ใช้ได้ทั้งผู้ที่สายตาสั้น สายตายาวและสายตาเอียง ครบในชิ้นเดียว ซึ่งคำกล่าวอ้างเหล่านี้เข้าข่ายหลอกลวงต้มตุ๋นผู้บริโภค"  เขากล่าวอ้างว่าได้สั่งมาจากอเมริกา จำหน่ายในราคาอันละ ๙๙๘ บาท  ตามที่จริงแล้วแว่นตาชุดนี้ทำจากฮ่องกงราคาแค่ ๕๐ บาทเท่านั้น  แต่เขาเอามาโฆษณาหลอกขายถึงราตาอันละ  ๙๙๘  บาท  เขาโฆษณาขายทางออนืไลน์แค่ ๔ เดือน  ปรากฏว่าคนสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก  เขาโฆษณาหลอกขายได้ ๔ เดือน ได้เงินไป ๕ ล้านบาท แต่ต่อมาในเดือนที่ ๕  เขาถูกแจ้งดำเนินคดีในข้อหาขายของแพงมากเกินจริง  และของเมื่อนำเอาไปใช้แล้วไม่เป็นจริงดังโฆษณา เข้าข่ายหลอกลวงต้มตุ๋นผู้บริโภค  ต้องอายัดสินค้าไว้ทั้งหมด  ปรับ  ๑๐๐๐๐๐  บาท  จำคุก  ๑  ปี   นี่คือผลแห่งการโกหกหลอกลวงต้มตุ๋นผู้อื่นจะต้องได้รับผลกรรมเช่นนี้  เมื่อตายไปแล้วก็จะได้รับผลแห่งกรรมชั่วที่เมืองนรกอีก
 
                 อกุศลกรรมข้อที่ ๕
    
    ๐ชอบพูดจาส่อเสียด  ยุยงเขาให้แตกแยกกัน
                    ตัวอย่างอกุศลกรรมข้อที่ ๕
      ณ ที่หมู่บ้านเจียงหู  มีครอบครัวๆ หนึ่ง  มีอาชีพทำซาลาเปาขาย  สามีชื่อว่า "นายเหลียงเปา"   ภรรยาชื่อว่า "นางเกาเต็ก"  สองสามีภรรยาช่วยกันทำซาลาเปาขายจนมีชื่อเสียงว่าทำซาลาเปาอร่อยกว่าทุกเจ้าในเมืองนี้  นางเกาเต็กผู้ภรรยามีเพื่อนคนหนึ่งชื่อว่า
  "นางกิม"  นางกิมก็ทำซาลาเปาขายเหมือนกันแต่ขายดีสู้นางเกาเต็กไม่ได้  นางกิมอยาก
ขายดีเหมือนนางเกาเต็กจึงถามเคล็ดลับในการทำซาลาเปาให้อร่อยเหมือนนางเกาเต็ก  นางเกาเต็กก็พูดว่า "บอกไม่ได้  มันเป็นความลับที่ทำให้ซาลาเปาอร่อยของวงศ์ตระกูล  ถ้าฉันบอกคุณ ฉันก็เป็นคนทรยศต่อวงศ์ตระกูลที่ฉันรับปากว่าจะไม่บอกใคร นอกจากลูกหลานของตนเองเท่านั้น" 
    นางกิมเริ่มไม่พอใจที่นางเกาเต็กไม่บอกความลับของการทำซาลาเปาให้อร่อย  จึงหาวิธีที่จะทำให้นางเกาเต็กเกิดความเดือดร้อนให้จงได้    เมื่อถามเมียไม่บอกนางกิมจึงใช้
แผนเข้าทางสามีของนางเกาเต็ก  นายเหลียงเปาสามีของนางเกาเต็กชอบการดื่มเหล้า นางกิมจึงซึ้อเหล้าเลี้ยงนายเหลียงเปาบ่อยๆ  เมื่อนายเหลียงเปาถูกนางกิมเลี้ยงเหล้าบ่อยๆก็เกิดความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของนางกิมจึงพูดว่า
   "มีอะไร? จะให้ช่วยบอกเลยนะ" 
   นางกิมเห็นได้ทีจึงพูดกับนายเหลียงเปาว่า "สิ่งที่ฉันต้องการคุณช่วยฉันไม่ได้หรอก"
   นายเหลียงเปาจึงพูดว่า "ทำไมจะช่วยไม่ได้  ลองบอกผมมาสิ"
   นางกิมจึงพูดว่า "ซาลาเปาของฉันขายไม่ค่อยดี  เพราะมันอร่อยสู้ของภรรยาคุณไม่ได้
ถ้าคุณจะช่วยฉันจริงๆแล้ว กรุณาบอกเคล็ดลับในการทำซาลาเปาให้อร่อยแก่ฉัน  ฉันจะขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง"
    นายเหลียงเปาคิดว่า "ถ้าเราบอกเคล็ดลับให้แก่นางกิม  ภรรยาจะต้องด่าเราอย่างแน่นอน  แต่นางกิมก็เลี้ยงสุราเราอยู่บ่อยๆ  ภรรยาไม่เคยซื้อเหล้าเลี้ยงเราเลย  บอกไปคงไม่เสียหายอะไรมากนักหรอก"    เมื่อคิดเช่นนี้แล้วนายเหลียงเปาจึงได้บอกเคล็ดลับการทำซาลาเปาอร่อยให้แก่นางกิม   นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  นางกิมก็ทำซาลาเปาอร่อยเหมือนกับนางเกาเต็ง  
    ส่วนนางเกาเต็งเริ่มสงสัยว่านางกิมทำซาลาเปาอร่อยเหมือนของตนก็เริ่มไม่สบายใจ
จึงคิดว่านางกิมได้เคล็ดลับมาจากใครจึงเริ่มสงสัยในสามีของตนเองเพราะในระยะหลังๆนี้
เห็นนายเหลียงเปาเมามาที่บ้านบ่อยๆ  จึงถามสามีดูว่า "คุณเอาเคล็ดลับในการทำซาลา เปาอร่อยให้แก่นางกิมใช่ไหม?"
    นายเหลียงเปาตอบว่า "ไม่นะ"
    นางเกาเต็งคิดว่าถามนายเหลียงเปาตรงๆเขาคงไม่ยอมรับ  จะต้องใช้อุบายถามนางกิม
ดู     วันหนึ่งนางเกาเต็กเจอหน้านางกิมที่ตลาดเลยพูดเป็นเลศนัยว่า "กิม  เอาไหมฉันจะให้เคล็ดลับในการทำซาลาเปาอร่อยให้แก่คุณ  นางกิมจึงพูดว่า "ผัวมึงเอามาให้กูแล้ว"
    นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมานางเกาเต็กกับสามีก็ทะเลาะกันทุกวันจนชีวิตในครอบครัวไม่มีความสงบสุขต่างคนก็ไม่ไว้ใจซึ่งกันแหละกันในสุดก็เลิกล้างกันไป 
    นายเหลียงเปาหลังจากเลิกกับภรรยาแล้วก็ติดเหล้าง่อมแง่มไม่นานก็เป็นโรคตับแข็งตาย
    ส่วนนางกิมหลังจากได้เคล็ดลับการทำซาลาเปาอร่อยจากนายเหลียงเปาแล้วก็ขายดีจนร่ำรวย จากนั้นมาอีก ๕ ปี หล่อนก็ถูกไฟไหม้บ้าน หล่อนออกจากบ้านไม่ทันเลยถูกไฟครอกตายพร้อมกับทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก   นี่แหละคือผลกรรมที่ยุยงให้ผัวเมียเขาแตกแยกกัน      
                 อกุศลกรรมข้อที่ ๖
      
    ๐ชอบพูดคำหยาบ
                 ตัวอย่างอกุศลกรรมข้อที่ ๖
      ส.ต.ค.เค็ง  มีอาชีพเป็นตำรวจ  รับราชการเป็นตำรวจได้ ๓ ปี เกิดบรรดาลโทสะฆ่าผู้บังคับบัญชาตาย เขาพูดว่า เขาทนคำด่าอันหยาบคายของผู้บังคับบัญชาคนนี้ไม่ไหว  ผู้บังคับบัญชาคนนี้ด่าพ่อล่อแม่ ไอ้เหีย  ไอ้สัตว์  ไอ้ชิงหมาเกิด  และคำด่าอันหยาบคายมากมายไม่รู้ว่าเขาไปขุดเอาคำด่าอันหยาบคายเหล่านี้มาจากไหนจนผมทนฟังไม่ได้ ผมเกิดบรรดาลโทสะเอาปืนกรอกปากเขาจนตายค่าที่ และผมก็มอบตัวกับตำรวจรับโทษว่าฆ่าคนตาย"  เขารับสารภาพมีโทษจำคุก ๒๐ ปี  การพูดคำหยาบย่อมนำผลร้ายมาสู่ตัวเองและครอบครัวเสมอ
 
               อกุศลกรรมข้อที่ ๗
     
    ๐ชอบพูดเพ้อเจ้อ
    การพูดเพ้อเจ้อ หมายถึง การที่บุคคลพูดเหลวไหล พูดพล่อยๆ พูดไม่ถูกกาละเทศะ พูดไม่จริง พูดไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย พูดไม่มีหลักฐานอ้างอิง พูดเรื่อยเปื่อยพูดไม่ยอมหยุด พูดไม่เป็นประโยชน์
    การพูดเพ้อเจ้อนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ:-
     ๑. พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง
     ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
     ๓. พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ
     ๔. กล่าวสรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ
   พูดยกเมฆเอาเองโดยไม่มีเหตุผล พวกนี้มักคิดยกเมฆแต่งเรื่องเอาเองทั้งๆ  ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน  เวลาคู่สนทนาปล่อยให้มีช่องว่างในการพูด ก็จะเสริมข้อความที่ยกเมฆเอาเองเข้าไปดื้อๆ  พวกนี้เข้าข่ายมีความแปรปรวนทางจิต  ไม่มีวุฒิภาวะ  ไม่รับผิดชอบในสิ่งที่พูด  ชอบพูดปั้นเรื่องต่างๆขึ้นมาเองเหมือนโกหกทั้งเรื่อง  ซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคมมาก
                 ตัวอย่างอกุศลกรรมข้อที่ ๗
    แฟนซี่และลอล่าเป็นเพื่อนรักกันมีอะไรก็แบ่งกันกินแบ่งกันใช้ และทำงานในสำนักงานเดียวกันด้วย   วันหนึ่งมีหนุ่มหน้าตาดีคนหนึ่งชื่อว่า "เบลล์" มาติดต่องานในสำนักงานทั้งแฟนซี่และลอล่าเกิดชอบใจในเบลล์ทั้งสองก็เลยแย่งกันช่วยให้เบลล์ได้ทำงานในสำนักงานนี้ แฟนซี่พูดกับเบลล์ว่า "ฉันมีโอกาศที่จะช่วยคุณให้เข้าทำงานในสำนักงานนี้ได้เพราะฉันรู้จักหัวหน้างานดีผู้ที่จะเข้าทำงานในสำนักงานนี้ได้จะต้องผ่านความเห็นชอบของหัวหน้างานทุกคน" เบลล์ก็รู้สึกชื่นชมในตัวแฟนซี่มาก
    วันต่อมาลอล่าก็พูดกับเบลล์ว่า "ฉันรู้จักกับผู้อำนวยการดี ฉันมีโอกาสที่จะช่วยให้คุณเข้าทำงานได้  เพราะงานทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการ  ถ้าผู้อำนวยการเห็นชอบก็ไม่มีใครจะขัดได้"  เบลล์ก็รู้สึกชื่นชอบในตัวลอล่ามากเพราะลอล่าเป็นคนสวย
    เมื่อแฟนซี่เห็นลอล่าและเบลล์สนิทสนมกันมากเกินไปก็เริ่มไม่พอใจคิดว่า "ถ้ากูไม่ได้  มึงก็อย่าหวัง"  เมื่อแฟนซี่คิดเช่นนี้แล้วก็หาเรื่องราวมาใส่ไคล้ลอล่า ส่วนลอล่าก็ตอบโต้โดยทำนองเดียวกันต่างคนก็ต่างใส่ไคล้ซึ่งกันบางครั้งถึงกับตบตีกันก็มีจนคนในสำนักงานเกิดความเบื่อหน่าย   ผู้อำนวยการเรียกทั้งสองคนมาตักเตือนแต่ก็ไม่เชื่อฟัง  ผู้อำนวยการเลยตัดสินใจไล่ออกทั้งสองคน  เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้อย่างนี้ก็มีแต่จะทำให้งานเกิดความเสียหายและคนอื่นจะเอาเป็นเยี่ยงอย่างอีก นี่คือผลของอกุศลกรรมชนิดเบา  บางคนถึงกับเข่นฆ่ากันตายก็มี ถ้ามีการฆ่ากัน กรรมนั้นก็จะกลายเป็นอกุศลกรรมชนิดหนักทันที
 
                   อกุศลกรรมข้อที่ ๘
      
    ๐โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตัว
                   การอยากได้ของผู้อื่น
   การอยากได้ของผู้อื่น หมายถึง การที่บุคคลใดเพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นในทางมิชอบ  การอยากได้ของผู้อื่นนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ:-
    ๑. อยากได้ของของผู้อื่นด้วยตนเอง
    ๒. ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของของผู้อื่น
    ๓. พอใจในการอยากได้ของของผู้อื่น
    ๔. กล่าวสรรเสริญการอยากได้ของของผู้อื่น
                   ตัวอย่างอกุศลกรรมข้อที่ ๘
    สองผัวเมียมีพฤติกรรมสุดแสบ หลอกเหยื่อที่มีฐานะดี นำเงินมาร่วมลงทุนปล่อยกู้ ๒ เดือนแรก นำเงินต้นมาคืน พร้อมดอกเบี้ยอย่างงดงามทำให้ผู้ร่วมลงทุนตาโตแห่เพิ่มวงเงินลงทุน สุดท้ายเดือนที่ ๓ หาย หอบเงินเข้ากลีบเมฆหายไป สูญเงินไปร่วม ๒๐ ล้าน เมื่อเวลา ๑๐.๐๐ น. ได้มีผู้เสียหายทั้งหมด ๒๐ คน ทยอยกันมาแจ้งความกับ ร.ต.ท.อัสนีชัย เร่งเทียน ร้อยเวร สภ.หันคา จ.ชัยนาท ว่าถูก น.ส.ดวงกมล อินทองคุ้ม อายุ ๓๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๖๖๙/๑๐๘ ซอยปิ่นเจริญ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กทม. และนายอานนท์ อ่อนสุด อายุ ๒๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๗๗ หมู่ ๒ ต.ช้างตะลูด อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ หลอกให้นำเงินมาร่วมลงทุนเพื่อไปปล่อยกู้ ก่อนจะฉ้อโกง
  ทั้งนี้ ผู้เสียหายให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า ในระยะแรกที่ร่วมลงทุนจะได้ดอกเบี้ยงาม อย่างเช่น วงเงิน ๑๐๐๐๐๐ บาท จะได้ดอกเบี้ยถึง ๓๕๐๐๐ บาท โดยทั้งสองคนจะนำเงินทั้งต้นและดอกเบี้ยมาให้กับเจ้าของเงิน ได้ ๒ เดือน พอเข้าเดือนที่ ๓ สามีภรรยาคู่นี้ ล่องหนหายตัวไปพร้อมกับเงินที่พวกตนร่วมลงทุน
   เจ้าของเงินรายหนึ่ง เผยว่า น.ส.ดวงกมล มีบ้านอยู่ใน อ.หันคา เคยเห็นมาตั้งแต่เด็ก ทั้งยังรู้จักทั้งพ่อและแม่ เป็นคนขยันทำมาหากิน ช่วยเหลือทางบ้านเป็นอย่างดี จนมีฐานะดี จึงไว้ใจและนำเงินมาลงทุนด้วย ๒๓๐๐๐๐๐ บาท สุดท้ายก็ถูกเชิดหายไป เข้าตามตำราที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเรา
   ด้าน พ.ต.ท.ไชยธิษณ์ อัครโสภาไชย์ หัวหน้าพนักงานสอบสวน เผยว่า พฤติกรรมของสามีภรรยาคู่นี้จะออกไปหาเหยื่อตามบ้านที่มีฐานะดี พูดจาให้เจ้าของบ้านเชื่อใจ และนำเงินมาร่วมลงทุนไปปล่อยให้รายอื่นกู้ แล้วนำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาจ่ายให้กับเจ้าของเงินอย่างงดงาม เมื่อผู้ร่วมลงทุนเห็นว่าดอกเบี้ยดี จึงเพิ่มเงินต้นไปอีกคนละไม่น้อย รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๐ ล้านบาทที่โดนกันไป ส่วนที่ยังไม่รู้ว่าถูกโกง ยังไม่มาแจ้งความก็มี
   นอกจากนี้ สามีภรรยาคู่นี้ยังใช้เฟซบุ๊กโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้ที่เข้าไปอ่านดูเกิดความโลภและนำเงินมาร่วมลงทุนกันเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้สั่งอายัดบัญชีของ น.ส.ดวงกมล ธนาคารกสิกรไทย สาขาหันคาแล้ว และขอให้ประชาชนที่ถูก น.ส.ดวงกมล และนายอานนท์หลอกลวง มาแจ้งความได้ที่ สภ.หันคา  หัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีนี้ กล่าว
                           อกุศลกรรมบถข้อที่ ๙
        
    ๐คิดอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
      การมีจิตคิดปองร้าย
   การมีจิตคิดปองร้าย หมายถึง การที่บุคคลใด มีความชั่วร้ายในใจ คิดให้ผู้อื่นถูกฆ่า ถูกทำลาย ขาดสูญ พินาศ หรืออย่ามีชีวิตอยู่เลย  การมีจิตคิดปองร้ายนี้ ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ:-
    ๑. มีจิตคิดปองร้ายด้วยตนเอง
    ๒. ชักชวนผู้อื่นให้คิดปองร้าย
    ๓. พอใจในการคิดปองร้าย
    ๔. กล่าวสรรเสริญผู้มีจิตคิดปองร้าย                          
                  ตัวอย่างอกุศลกรรมข้อที่ ๙
  มีเศรษฐีคนหนึ่ง  เก็บเอาเด็กทารกที่มารดาเอาไปทิ้งไว้ ในกองขยะ มาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม  เพราะเชื่อในคำพยากรณ์ของโหรหลวงว่า เด็กที่เกิดมาในวัน เดือน ปี นี้
จะมีบุญวาสนาดี  จะได้เป็นเศรษฐี  พอดีภรรยาของเขาก็มีครรภ์จะคลอดในช่วงเวลาวัน เดือน ปี นั้นด้วย คิดว่า ถ้าภรรยาคลอดทารกออกมาเป็นหญิง ก็จะให้แต่งงานกับเด็กคนนั้น  ถ้าคลอดออกมาเป็นชาย  ก็จะฆ่าเด็กนั้นทิ้งเสีย  เผอิญภรรยาของเขาคลอดทารกออกมาเป็นชาย จึงคิดจะฆ่าเด็กนั้น ให้ตายตามความคิดที่ได้ตั้งใจเอาไว้
    เศรษฐีพยายามฆ่าเด็กนั้น ตั้งแต่ยังเป็นทารกแบเบาะ  จนถึงโตเป็นหนุ่มถึง ๕ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑  เอาไปวางไว้ที่ประตูคอกโค  ซึ่งมีโคหลายร้อยตัวที่จะเดินแออัดแย่งกันออกจากคอกแล้วเหยียบเด็ก  แต่ปรากฏว่า  โคตัวจ่าฝูงไปยืนกันเด็กเอาไว้ จนโคออกจากคอกหมด  ทำให้เด็กรอดตายในครั้งนั้น
    ครั้งที่ ๒  เอาไปวางไว้ที่ทางเกวียน  เวลากลางคืน  เพื่อให้หมู่เกวียนที่นำสินค้าไปขาย หลายร้อย หลายพันเล่ม ทับเด็กตาย แต่โคที่ลากเกวียนคันหน้าสุด  เดินไปถึงที่นั้นได้สลัดแอกทิ้ง  ไม่ยอมลากเกวียนต่อไป  เจ้าของเกวียนลงไปจัดการกับโค ได้พบเด็กเข้า จึงนำไปคืนให้เศรษฐี
    ครั้งที่ ๓  เอาเด็กไปทิ้งในป่าช้าผีดิบ  เพื่อให้สัตว์ร้าย   และอมนุษย์ที่มาหากินในเวลากลางคืนทำร้ายเด็ก  แต่ก็ไม่มีสัตว์ร้ายอะไรทำร้ายเด็ก  จนมีคนมาพบแล้วนำไปคืนเศรษฐี
    ครั้งที่ ๔  นำเอาเด็กไปโยนเหว  แต่ปรากฏว่าเด็กตกไปค้างอยู่บนยอดพุ่มไม้  ซึ่งมีเถาวัลย์สอดประสานกันอย่างหนาแน่น  จึงไม่เป็นอันตราย  จนมีคนไปพบแล้วนำไปคืนเศรษฐี
    เศรษฐีพยายามฆ่าเด็กถึง ๔ ครั้ง  แต่เด็กไม่ตาย   ยังมีชีวิตอยู่ต่อมาจนเป็นหนุ่ม  เศรษฐีมองดูเด็กนั้นครั้งใด  หน้าของเด็กนั้นเหมือนกับหนามแทงตาแทงใจ ดังพระพุทธพจน์ว่า  อัปปิเยหิ  สัมปโยโค  ทุกโข  การอยู่ร่วมกับบุคคลไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์  สุดท้ายเศรษฐี จึงวางแผนฆ่าทำลายหลักฐาน  ด้วยการส่งเด็กไปยังบ้านของนายช่างหม้อเพื่อนตนเอง เขียนหนังสือให้เด็กถือไป มีข้อความว่า ให้ฆ่าเด็กคนนี้แล้วเผาทิ้งเสีย  เพราะเด็กไม่รู้หนังสือ เพราะเศรษฐีไม่ส่งไปเรียนหนังสือกลัวจะเสียเงิน จึงรับคำของบิดา เดินทางออกจากบ้านมุ่งหน้าไปยังบ้านของนายช่างหม้อ บังเอิญไปพบกับบุตรชายแท้ ๆ ของเศรษฐี กำลังเล่นอยู่กับเพื่อน ๆ และพ่ายแพ้มาตลอด  จึงรบเร้าให้พี่ชายเล่นแทน และขออาสาเอาจดหมายของพ่อไปให้นายช่างหม้อแทน จึงถูกนายช่างหม้อฆ่าตาย นายช่างหม้อฆ่าแล้วเผาทำลายหลักฐาน ตามคำสั่งของเศรษฐี  ส่งข่าวไปให้ทราบว่า  งานที่สั่งให้ทำ  ได้ทำสำเร็จเรียบร้อยแล้ว  ครั้นตกเย็น  เด็กหนุ่มกลับมาบ้าน  พอเศรษฐีเห็นหน้าเขาเท่านั้น ก็ถามกุมภโฆสกะทันทีว่า "เธอไม่ได้เอาหนังสือไปส่งนายช่างหม้อหรือ?"
    กุมภโฆสกะตอบว่า "ไม่ได้ไปเพราะน้องชายเขาอาสาไปแทน"
    เศรฐีพอได้ยินคำว่า "น้องชายเขารับอาสาไปแทนเท่านั้น"  ก็เกิดความเสียใจอย่างหนัก
ถึงกับอาเจียนออกมาเป็นเลือด  และถึงแก่ความตายในที่สุด  หลังจากนั้นกุมภโฆสกะก็ได้รับทรัพย์มรดกของของเศรษฐีผู้คิดปองร้ายทั้งหมด  สมกับคำสุภาษิตที่ว่า "ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว" และสมกับพระดำรัสที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
    "ผู้ใดประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่คิดประทุษร้ายตอบ, ผู้ไม่มีความผิด, ย่อมจะประสบความทุกข์และเหตุร้าย ๑๐  ประการ  ดังนี้  คือ:-
         ๑. จะต้องเจ็บป่วยอย่างหนัก  จนยากแก่รักษา
         ๒. ทรัพย์สมบัติก็จะเสื่อมถอย  ค่อยๆหดหายไป
         ๓. อวัยวะ  แตกหัก  จากร่างกาย
         ๔. โรคร้าย  เกาะเกี่ยว  สุดเยียวยา
         ๕. เกิดโรค  ทางจิต  คิดฟุ้งซ่าน
         ๖. มีความอื้อฉาว  ถูกกล่าวหา
         ๗. อุปสรรค  มากมี  เข้าบีฑา
         ๘. ญาติกา  ที่รัก  ต้องจากไป
         ๙. ทรัพย์สิน  ย่อยยับ  อย่างฉับพลัน
        ๑๐.บ้านเรือน  ถูกไฟไหม้
    ใน ๑๐ ข้อ  ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง   เป็นต้องได้  ประสบ  พบแน่นอน
     ความพยาบาทปองร้าย เป็นเหตุนำทุกข์ภยันตราย มาสู่ตนและคนอื่น ดังกล่าวมา  ฉะนั้นจึงควรมีเมตตากรุณา  รักใคร่  ช่วยเหลือซึ่งกันและกันดีกว่า  เพื่อให้โลกของเรา มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพึ่งพาอาศัยกันได้ต่อไป"
             
               อกุศลกรรมบถข้อที่ ๑๐
    
     ๐มิจฉาทิฏฐิ   คือการเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เห็นว่า  บุญไม่มี   บาปไม่มี   นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี   ทำดีได้ชั่ว   ทำชั่วได้ดี   พ่อแม่ไม่มีคุณ                        
             การมีความเห็นผิด
    การเป็นผู้มีความเห็นผิดนี้ ครอบคลุมถึงการ กระทำใน ๔ ลักษณะ คือ:-
     ๑. เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง
     ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นผู้มีความเห็นผิดตาม
     ๓. พอใจในการเป็นผู้มีความเห็นผิด
     ๔. กล่าวสรรเสริญผู้มีความเห็นผิด
           มิจฉาทิฏฐิ
     เจตนาเป็นเหตุให้เห็นผิด เพราะไม่มีการถือเอาตามความเป็นจริง คัดค้านข้อประพฤติปฏิบัติของสัตบุรุษทั้งหมด  โดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล  ชื่อว่า  นิยตะมิจฉาทิฏฐิ
นิยตะมิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่าง
      ๑. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าผลกรรมไม่มี  เช่นเห็นว่า ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้ ไม่มี  โลกหน้าไม่มี  บิดามารดาไม่มีบุญคุณต่อบุตรธิดา  เป็นต้น
      ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ คือ เหตุแห่งความเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายไม่มี  สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง บริสุทธิ์เอง ทุกข์เอง สุขเอง ไม่มีอำนาจ  ไม่มีกำลัง  ไม่มีความเพียรอะไร ที่จะมาทำให้สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมอง และบริสุทธิ์ได้ ดังนั้น อเหตุกทิฏฐิ  ก็คือ  ความเห็นว่ากรรมไม่มีนั่นเอง
      ๓. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ หมายความว่า เมื่อคนทำบาป ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์  เป็นต้น ก็ไม่จัดว่าเป็นการทำบาป  เมื่อคนให้ทาน  รักษาศีล  เป็นต้น  ก็ไม่จัดว่าเป็นการทำบุญ  ดังนั้น อกิริยทิฏฐิ  ก็คือความเห็นว่ากรรมและผลของกรรมไม่มี นั่นเอง
      มิจฉาทิฏฐิ  ๓  อย่างนี้  อย่างใดอย่างหนึ่ง ล้วนปฏิเสธกรรมและผลของกรรมโดยสิ้นเชิง  จัดเป็นกรรมบถ  ส่วนที่เป็นมิจฉาทิฏฐินอกจากนี้ มีสักกายทิฏฐิ  ๒๐ หรือ  ทิฏฐิ ๖๒  เป็นต้น  เป็นเพียงกรรมเท่านั้น
     มิจฉาทิฏฐิ จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ต้องประกอบด้วยองค์  ๒ คือ:-
         ๑. เรื่องไม่จริง
         ๒. เรื่องไม่จริงนั้น ไม่เป็นไปตามที่มิจฉาทิฏฐิยึดถือ
     มิจฉาทิฏฐินั้น มีโทษมาก  เพราะเหตุ ๒ ประการ  คือ:-
         ๑. เพราะมีอาเสวนะมาก
         ๒. เพราะเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ
                 มโนกรรมเป็นไปในทวาร ๓
     อภิชฌา  พยาบาท  และมิจฉาทิฏฐิ  ทั้ง ๓ นี้  จัดเป็นมโนกรรม  เพราะเป็นไปในมโนทวารโดยมาก แม้ไม่มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางวาจา  เพียงแต่คิดในใจ ก็สำเร็จเป็นกรรมบถได้    บางครั้ง อกุศลธรรมทั้ง ๓ นี้  ย่อมเกิดขึ้นในกายทวารและวจีทวาร  เช่น บางคนมีใจละโมบอยากได้ของคนอื่น  จึงยื่นมือไปหยิบของนั้น  มีใจโกรธแค้น  หยิบมีดหยิบไม้เพื่อทำร้ายเขา  หรือมีความเห็นผิดไปไหว้กระบือ ๕ ขา  เพื่อขอหวย  เป็นต้น  กรรมนั้นของเขา จัดเป็นมโนกรรม  ส่วนทวาร  จัดเป็นกายทวาร ถามว่า ทำไม ? จึงไม่จัดเป็นกายกรรม  แก้ว่า เพราะตรงนี้ ท่านมุ่งถึง อภิชฌา  พยาบาท  และมิจฉาทิฏฐิเป็นใหญ่  ไม่ได้มุ่งเจตนาเป็นใหญ่  ถ้ามุ่งถึงเจตนาที่เป็นเหตุให้กระทำทางกาย จึงจัดเป็นกายกรรมได้
     บางคนมีใจละโมบ พูดออกมาว่า  ทำอย่างไรหนอ ? ของนั้น พึงเป็นของเรา  มีใจโกรธแค้น  พูดแช่งว่า  ทำอย่างไรหนอ ? คนนี้ พึงตายเสียที  มีความเห็นผิด พูดว่า ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี  เช่นนี้ กรรมของเขา จัดเป็นมโนกรรม  ส่วนทวาร จัดเป็นวจีทวาร
        บางคนไม่มีการทำทางกาย หรือพูดทางวาจา คิดละโมบอยากได้  คิดพยาบาทปองร้าย และเห็นผิดจากทำนองคลองธรรมอย่างเดียว  กรรมของเขา จัดเป็นมโนกรรม  แม้ทวาร ก็เป็นมโนทวาร  มโนกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมเกิดได้ในทวารทั้ง ๓  ดังพรรณนามาฉะนี้ ฯ
         โทษของอกุศลกรรมบถ ๑๐
    บุคคลผู้ประกอบ คือ ประพฤติ หรือ กระทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างนี้ ย่อมตกนรก เหมือนกับถูกจับเอาไปวางไว้ ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ ในปฐมนิรยสัคคสูตร ปัญจมปัณณาสถ์ ทสกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม  ๑๐  ประการ  ย่อมตกนรกเหมือนถูกจับเอาไปวางไว้  ธรรม ๑๐ ประการอะไรบ้าง ? คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้
     ๑.เป็นผู้มักฆ่าสัตว์  มีมือเปื้อนเลือด  คิดแต่ประหัดประหาร  ไม่มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งปวง
     ๒.มักเป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่ว่าของนั้นจะอยู่ในบ้านของเขา หรือที่ไหน ๆ ก็ตาม  เป็นผู้ถือเอาสิ่งของนั้นด้วยจิตคิดขโมย
     ๓.  เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม จะเป็นผิดเพราะการนอกใจคู่ครองของตน  ผิดเพราะล่วงละเมิดคู่ครองของผู้อื่น  หรือผิดเพราะล่วงละเมิดต่อบุคคลที่ตนไม่มีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนั้นก็ตาม
     ๔.เป็นผู้มักกล่าวเท็จ  คือ  ตนไม่รู้บอกว่ารู้  ไม่เห็นบอกว่าเห็น  หรือรู้บอกว่าไม่รู้  เห็นบอกว่าไม่เห็น  เป็นผู้กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้  เพราะเหตุแห่งตน  เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น  หรือ เพราะเห็นแก่อามิสสินจ้าง
     ๕.เป็นผู้พูดทำลายความสามัคคี   ฟังจากฝ่ายนี้ไปบอกฝ่ายโน้น  หรือฟังจากฝ่ายโน้นมาบอกฝ่ายนี้  เพื่อให้เขาแตกสามัคคีกัน  หรือเพื่อจะทำตนให้เป็นที่รักของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  ชอบสร้างความแตกแยก หรือส่งเสริมให้คนแตกแยก ชอบตั้งพรรค ตั้งพวก พูดแต่ถ้อยคำที่จะทำให้แบ่งพรรคแบ่งพวก
     ๖.เป็นผู้พูดวาจาที่แผ่ไปเผาผลาญหัวใจของผู้ฟัง  เป็นคำพูดบาดหู  หยาบคาย  เผ็ดร้อน  กระทบกระเทียบเปรียบเปรย  ทำให้ผู้ฟังเกิดความโกรธ  และฟุ้งซ่าน
     ๗.เป็นผู้พูดทำลายความสุข และประโยชน์ที่สัตบุรุษพึงได้รับ  คือ พูดคำที่กำจัดทางแห่งประโยชน์และความสุขนั้น  ไม่รู้กาลเทศะ พูดปราศจากอรรถ  ธรรม  หรือวินัย  อย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งเป็นเครื่องแสดงเหตุผลเพื่อให้เข้าใจประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า
     ๘.เป็นผู้มากไปด้วยความละโมบ  จ้องหาทางเอาของคนอื่นมาเป็นของตน
     ๙.เป็นผู้มีใจพยาบาท  มีความคิดประทุษร้ายว่า  ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า  ถูกจองจำ    จงหายสาบสูญ  จงพินาศ  จงอย่าอยู่ในโลกนี้
     ๑๐.  เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัศนที่วิปริต ว่า   การให้ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล  ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี  โลกนี้ไม่มี  โลกหน้าไม่มี  มารดาไม่มีคุณ  บิดาไม่มีคุณ  โอปปาติกสัตว์ไม่มี  สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  รู้แจ้งเองแล้ว  แสดงโลกนี้ และโลกหน้าได้แจ่มแจ้งไม่มี
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ย่อมตกนรก  เหมือนถูกจับเอาไปวางไว้
                               
                        ตัวอย่างของอกุศลกรรมบถข้อที่ ๑๐
        
     สมัยหนึ่ง พราหมณ์ผู้หนึ่งได้เข้ามาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถามปัญหาเรื่องกรรม และเรื่องการตายการเกิดเป็นสัตว์ในภพภูมิต่างๆ เช่น เป็นผีสางเทวดาได้ เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหลับพระเนตรเสียไม่ตอบ พราหมณ์ถามอยู่หลายครั้งก็ไม่ได้รับคำตอบ พราหมณ์คนนั้นจึงเดินหลีกหนีไป  พระอานนท์จึงได้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "คำถามก็ล้วนแต่ดีๆ ทั้งสิ้น เหตุใดพระองค์จึงไม่ตอบเขา พระเจ้าข้า"
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า "อานนท์เธอยังไม่รู้ว่าพราหมณ์ผู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่มีกำลังความเห็นผิดเหนียวแน่นมาก ผ่านนรกมาหลายชาติแล้ว ที่เข้ามาถามวันนี้ ก็มิได้ปรารถนาจะมาหาความรู้ หากแต่ต้องการจะมาโต้คารมแสดงความคิดเห็น จะได้ไปโอ้อวดกับคนทั้งหลายว่า ได้มาโต้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องการสร้างพยานหลักฐานเพื่อจะให้คนทั้งหลายเชื่อในความคิดเห็นผิดๆ ของตน"
   ความเห็นผิดชนิดที่ล่วงอกุศลกรรมบทคือ นิยตะมิจฉาทิฏฐิ ๓ นั้นมีกำลังของการให้ผลมากจริงๆ ผู้ที่มิได้ศึกษาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมิได้มีความคิดพิจารณาในปัญหาของชีวิตให้ลึกซึ้งแล้วจะเข้าถึงความจริงของการให้เหตุผลไม่ได้ เป็นเรื่องที่น่าหวั่นไหวเกรงอันตรายที่ร้ายแรงนี้เหลือเกิน เพราะความเห็นผิดที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ มันจะแสดงออกไปซึ่งความเห็นผิดนั้นอยู่เสมอ ในแต่ละชาติที่เกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์
   ผลร้ายแรงที่จะได้รับจึงได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า คือตกนรกบ่อยครั้งจนจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับชีวิตแล้วจึงจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงกลับเป็นตรงกันข้ามได้ เช่น เกิดเป็นมนุษย์แล้ว เพราะความยากจนมากจึงมัวยุ่งแต่การทำมาหากิน หรือเจ็บป่วยมากอยู่เสมอ มัวแต่ยุ่งเรื่องการรักษาพยาบาลตัวเอง หรือมีเรื่องเศร้าหมองเร่าร้อนอยู่ไม่สร่างซาจนไม่มีเวลาที่จะครุ่นคิดถึงปัญหาชีวิตอันลึกซึ้งที่ตนมีความเห็นผิดติดมา และเมื่อได้พบบัณฑิตย์ที่มีความสามารถเสนอความรู้ให้ ทั้งได้เกิดมาหลายชาติก็มิได้แสดงความเห็นผิดมากมายออกไป และกุศลของตนเพิ่มขึ้นจึงได้มีโอกาสเปลี่ยนความคิดเสียใหม่เปรียบเหมือนเสือโคร่งหนุ่มฉกรรจ์ย่อมจะหยิ่งผยองในศักดิ์ศรีของตน เพราะในป่าอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้มิได้มีผู้ใดที่จะมีความเก่งกาจหรือมีความสามารถเท่าตนได้ จึงยืนผงาดวาดลวดลายว่าข้านี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ให้สัตว์ทั้งหลายเกรงขาม
   ครั้นในบั้นปลายของชีวิต เมื่อความชราได้เข้ามาเยือนจึงได้มีความรู้สึกสำนึกตัวว่าจะยิ่งใหญ่ต่อไปไม่ได้เสียแล้ว เพราะเขี้ยวอันแหลมคมราวกับเหล็กกล้าภายในปากนั้น บัดนี้ก็ได้หลุดถอน เล็บทุกเล็บอันทรงพลังก็โยกคลอน แม้ร่างกายก็อ่อนแอลงไปแล้วจะจับสัตว์ใหญ่กินได้อย่างไร และจะวิ่งตามสัตว์เล็กก็ไม่ไหว แล้วจะยืนผงาดโอ้อวดความยิ่งใหญ่อยู่ได้หรือ ด้วยเหตุนี้เองเพื่อจะยังชีวิตของตนให้คงอยู่ต่อไป จึงต้องค่อยๆย่องตามเสือหนุ่ม
สาวกัดกินสัตว์ทิ้งไว้แล้วไปนอนเฝ้าคอยท่าอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้เพื่อจะได้กินในมื้อต่อไป เสือแก่ก็จะย่องเข้ามากินเศษอาหารที่ทิ้งไว้ ถ้าเสือหนุ่มสาวกระโชกเข้ามาขับไล่ ก็ถอยหลบไป ถ้าเสือหนุ่มสาวเผลอหรือนอนหลับ ก็จะย่องเข้าไปแทะกินใหม่ พอให้ชีวิตรอดไปได้วันหนึ่งๆจนกว่าจะตายลงไป   ถึงตอบไปคนชนิดนี้ก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมีแต่จะหยิ่งผยองขึ้นไปอีกและเขาก็จะอ้างเอาการโต้ตอบกันในวันนี้เป็นข้อมูล  ในการชักชวนคนอื่นให้มีความเห็นผิดเพิ่มจำนวนมากขึ้นๆไปอีก อันเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงทีเดียว อานนท์ ฯ
   ตัวอย่างมนุษย์ในชมพูทวีปและอุตตระกุรุทวีปแต่งงานกัน
           
   
โชติกะเศรษฐี ผู้ได้ภรรยาเป็นมนุษย์ชาวอุตตระกุรุทวีป
                  เรื่องของโชติกะเศรษฐี              
      สมัยพุทธกาล ยังมีเศรษฐีคนหนึ่ง มีนามว่า "โชติกะ" อาศัยอยู่ในเมืองราชคฤห์ เขามีปราสาทสูง ๗ ชั้น ประดับตกแต่งด้วยแก้ว ๗ ประการ พื้นภายในบ้านเป็นแก้วผลึกอันสุกใสแวววาวงดงามยิ่ง เหมือนหน้าแว่นที่ขัด ๑,๐๐๐ ครั้ง บ้านนั้นล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ๗ ชั้น ทำด้วยแก้ว  ๗ ประการ
    ในระหว่างกำแพงนั้นมีต้นกัลปพฤกษ์เรียงรายเป็นแถวจรดถึงมุมปราสาททั้ง ๔ มุม และมีขุมทองอยู่มุมละ ๑ ขุม ซึ่งกว้าง ๘,๐๐๐ วา ๖,๐๐๐ วา ๔,๐๐๐ วา และ ๒,๐๐๐ วา ตามลำดับ ทั้ง ๔ ขุมนั้นลึก ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ทุกขุมเต็มไปด้วยกองเงิน กองทองและกองแก้ว ๗ ประการ จนล้นปากขุมขึ้นมาเหมือนกองลูกตาลไว้ แม้จะตักสักเท่าใดก็ไม่มีวันพร่อง
    แก้วแหวนเงินทองที่อยู่ภายใต้ก็จะเกิดพอกพูน จนเต็มขุมดังเดิม เหมือนนํ้าไหลซึมออกมา ในมุมปราสาททั้ง ๔ มุมนั้น มีลำอ้อยทองคำลำใหญ่เท่าลำต้นตาลขนาดใหญ่ ประจำอยู่มุมละ ๑ ลำ เป็นแก้วมณีและทองคำล้วน ที่ปากทางเข้าออกประตูกำแพงทั้ง ๗ ชั้น มียักษ์ใหญ่ ๗ ตน พร้อมด้วยบริวารเฝ้าอยู่ที่ปากประตูชั้นนอกมียักษ์ชื่อยมโกลิพร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ ตนเฝ้าอยู่ ที่ปากประตูถัดเข้าไปชั้นที่ ๒ มียักษ์อุปละ พร้อมด้วยบริวาร ๒,๐๐๐ ตนเฝ้าอยู่ ที่ปากประตูชั้นที่ ๓ มียักษ์ทมิฬ พร้อมด้วยบริวาร ๓,๐๐๐ ตนเฝ้าอยู่ ที่ปากประตูชั้นที่ ๔ มียักษ์วชิรวามะ พร้อมด้วยบริวาร ๔,๐๐๐ ตนเฝ้าอยู่ ที่ปากประตูชั้นที่ ๕ มียักษ์สกนะ พร้อมด้วยบริวาร ๕,๐๐๐ ตนเฝ้าอยู่ ที่ปากประตู ชั้นที่ ๖ มียักษ์กตารตะ พร้อมด้วยบริวาร ๖,๐๐๐ ตนเฝ้าอยู่ ที่ปากประตูกำแพง แก้วชั้นที่ ๗ มียักษ์ทิศาปาโมกข์ พร้อมด้วยบริวาร ๗,๐๐๐ ตนเฝ้าอยู่
    สมบัติของโชติกะเศรษฐีนั้นมีมากมายเหลือคณนา ชนทั้งหลายจึงนำ เรื่องของเขาขึ้นกราบบังคมทูลพระเจ้าพิมพิสารราชาผู้ครองนครราชคฤห์ให้ทรงทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงพระกรุณาให้นำเศวตฉัตรมาพระราชทานแก่โชติกเศรษฐี แล้วทรงสถาปนาให้เป็นเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นั้น
    ภรรยาของโชติกเศรษฐีเป็นนางแก้วที่เทวดาได้นำมาจากอุตตรกุรุทวีป นางได้นำหม้อข้าวหม้อแกงมาด้วยลูกหนึ่ง พร้อมด้วยก้อนเส้าเท่าลูกฟักมาด้วย ๓ ก้อน ก้อนเส้านี้ชื่อโชติปาสาณะ และนำข้าวสารมาด้วย ๓ ทะนาน ข้าวสารพันธุ์ข้าวสาลี (สัญชาติสาลี) ๒ ทะนาน ข้าวนั้นมีกลิ่นหอมและรสอร่อยยิ่งนัก ข้าวสาร ๒ ทะนานหุงให้ โชติกเศรษฐีรับประทานได้ตลอดชั่วชีวิตก็ไม่มีวันหมดสิ้น
    เมื่อนำเอาข้าวสารมาใส่หม้อข้าวสารก็เต็มทะนานขึ้นมาเหมือนเดิมไม่หมดสิ้นไป หากจะตักออก ใส่เกวียนให้เต็ม ๑,๐๐๐ เล่มเกวียน ข้าวสาร ๒ ทะนานก็ไม่พร่อง ยังเต็มอยู่เหมือนเดิม เมื่อจะหุงข้าว นำข้าวสาร ๒ ทะนานใส่ลงในหม้อแก้วแล้วยกขึ้นตั้งบนก้อนเส้าแก้วโชติปาสาณ ชั่งเวลาไม่นาน ไฟจะลุกขึ้นที่ก้อนเส้าแก้วเอง เมื่อข้าวสุกไฟก็จะดับไปเองเช่นกัน เมื่อจะต้มแกงหรือทำขนมข้าวต้มของกินอย่างอื่นก็ทำเช่นเดียวกัน
   บรรดาสิ่งของภายในปราสาทและบ้านเรือนของเศรษฐีรุ่งเรืองไปด้วย รัศมีแก้ว โดยไม่ต้องตามประทีปโคมไฟและจุดเทียน ความมั่งมีของโชติกะเศรษฐีนี้เลื่องลือไปทั่วชมพูทวีป มหาชนทั้งหลายต่างพากันขึ้นยานคานหามมาดูสมบัติของโชติกเศรษฐี
    โชติกะเศรษฐีจึงให้หุงข้าว ๒ ทะนานที่ภรรยานำมาจากอุตตรกุรุทวีปนั้น เลี้ยงดูผู้คนที่มาดูและเยี่ยมเยียนทั่วถึงทุกคน ให้นำเอาเครื่องถนิมพิมพาภรณ์จากต้นกัลปพฤกษ์มามอบให้ผู้มาดูโดยทั่วถึงทุกคน แล้วจึงเปิดขุมทองกว้าง ๒ วาออกให้ดูพร้อมกับกล่าวว่า ผู้ใดอยากได้แก้วแหวนเงินทองจำนวนเท่าใดจงเก็บเอาได้ตามใจชอบ ผู้คนในชมพูทวีปต่างมาตักเอาโกยเอาแก้วแหวนเงินทองในขุมทองขุมเดียวกันนั้น แก้วแหวนเงินทองก็จะไม่พร่องแม้เพียงฝ่ามือเดียว
  พระเจ้าพิมพิสารทรงเสด็จทอดพระเนตรสมบัติโชติกะเศรษฐี
   ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารผู้เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองราชคฤห์ ทรงมีพระประสงค์ใคร่จะทอดพระเนตรสมบัติของโชติกเศรษฐี จึงเสด็จพร้อมด้วย  ข้าราชบริพาร เมื่อเสด็จถึงปากประตูกำแพงแก้วชั้นนอก ได้ทอดพระเนตรเห็นนางทาสีกำลังปัดกวาดบ้านอยู่ รูปสวยงามมาก นางได้ยื่นมือออกให้พระราชาทรงเหนี่ยวขึ้นที่ปากประตู ความงามของนางทำให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่านางเป็นภรรยาของเศรษฐี ทรงนึกเกรงใจและอาย จึงมิได้ทรงยื่นพระหัตถ์ออกไปจับแขนนางทาสีนั้น
   บรรดาสตรีที่บัดกวาดอยู่ที่ปากประตูด้านนี้ พระราชาทรงเห็นงามทุกคน ทรงเข้าพระทัยว่าเป็นภรรยาของโชติกเศรษฐีทุกคน จึงมิทรงแตะต้องทาสีเหล่านั้นแม้แต่คนเดียว ต่อมา โชติกเศรษฐีจึงออกมารับเสด็จพระเจ้าพิมพิสารถึงปากประตูชั้นนอกปราสาท ทูลเชิญให้เสด็จนำหน้า ส่วนตนเดินตามเสด็จ เมื่อพระราชาทรงดำเนินเข้าไปในปราสาท ทอดพระเนตรเห็นพื้นปราสาทประดับด้วยแก้วมณีมีรัศมีรุ่งเรืองตลอดทะลุลงไปเบื้องตํ่าเหมือนหลุมที่ลึกลงไปถึง ๗ ช่วงตัว จึงทรงดำริว่าเศรษฐีนี้ขุดหลุมไว้ล่อให้พระองค์ตกลงไป จึงทรงหยุดยืนคอย
    ฝ่ายโชติกเศรษฐีเมื่อเห็นพระราชาทรงหยุดยืนเช่นนั้น จึงกราบทูลว่าอันนี้ไม่ใช่หลุมแต่เป็นแก้วมณี ขออัญเชิญพระองค์เสด็จตามมา กราบทูลดังนั้นแล้วเศรษฐีจึงนำเสด็จพระองค์ไป เศรษฐีเหยียบที่ใดพระราชา ทรงเหยียบตามที่นั้น ทรงดำเนินตามเศรษฐีทอดพระเนตรปราสาทตั้งแต่ชั้นล่างจนถึงชั้นบน
   ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเกาะมือตามเสด็จพระราชบิดา ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นปราสาทงดงาม จึงทรงดำริว่าพระราชบิดาของเรานี้ยังไม่นับว่าเป็นใหญ่จริง เพราะยังประทับอยู่ในปราสาทไม้ แต่เศรษฐีคนนี้กลับได้อยู่ในปราสาทแก้ว ๗ ประการ ถ้าเราได้เป็นพระราชาเมื่อใดจะมายึดเอาปราสาทนี้ไปเป็นของเราให้จงได้
   เมื่อพระเจ้าพิมพิสารเสด็จดำเนินทอดพระเนตรไปถึงชั้นสุดท้าย ได้ เวลาเสวยพระกระยาหารเช้าพอดี พระองค์จึงตรัสแก่เศรษฐีว่าฉันจะกินข้าวเช้าที่บ้านท่าน เศรษฐีกราบทูลรับว่ายินดี
   เศรษฐีจึงอัญเชิญพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงสรงนํ้าอันหอม แล้วอัญเชิญ เสด็จขึ้นประทับนั่งเหนือรัตนบัลลังก์ทองซึ่งตั้งอยู่บนบัลลังก์แก้ว ๗ ประการ   อันเป็นบัลลังก์ที่เศรษฐีเคยนั่ง ฝ่ายคนครัวจัดเตรียมอาหารและข้าวกิลินปายาส (ข้าวปายาสอุ่น) ใส่เต็มตะไลมีค่าล้านตำลึง แล้วนำมาตั้งไว้เบื้องพระพักตร์ พระพิมพิสารทรงเข้าพระทัยว่าเป็นข้าวสำหรับเสวยจึงทรงล้างพระหัตถ์เพื่อเตรียมเสวย
    เศรษฐีเห็นดังนั้นจึงกราบทูลห้ามว่า ข้าวนี้ไม่ใช่พระกระยาหารเป็นข้าวกิลินปายาสที่จัดไว้เพื่อรองตะไลข้าวสำหรับเสวยอีกทีหนึ่ง ป้องกันมิให้ข้าวเย็น ครั้นกราบทูลดังนั้นแล้ว เศรษฐีจึงให้นำข้าวสารสำหรับเสวย ซึ่งหุงด้วยข้าวสารที่นำมาจากอุตตรกุรุทวีปใส่เต็มตะไลทอดอีกลูกหนึ่ง มาตั้งเหนือตะไลข้าวกิลินปายาสนั้น แล้วกราบทูลอัญเชิญพระราชาเสวย พระราชาเสวยแล้วได้รับรส โอชายิ่งนัก ไม่มีอาหารชนิดใดอร่อยเท่า เสวยเท่าใดๆ ก็ไม่ทรงรู้อิ่ม
    เศรษฐี เห็นดังนั้นจึงกราบทูลห้ามว่า เสวยมากแล้วขอได้โปรดเสวยแต่พอประมาณเถิด ถ้าเสวยมากอาจทำให้ทรงประชวร จะเป็นโทษแก่พระองค์ได้ พระเจ้าพิมพิสารตรัสตอบว่า เศรษฐีคิดเสียดายข้าวที่เรากิน กลัวว่าเราจะกินข้าวท่านหมดเปลืองไปมากหรือ เศรษฐีกราบทูลว่ามิได้คิดเสียดายกลัวจะหมดเปลือง เพราะเพียงข้าวและแกงหม้อเดียว หากรี้พลบ่าวไพร่ข้าไทของพระองค์จะมา รับประทานมากเท่าใด ข้าวและกับก็จะไม่พร่องจากหม้อเลย
    การที่กราบทูลห้ามไว้เพราะกลัวว่าพระองค์จะเสวยพระกระยาหารมากเกินประมาณ การที่พระองค์เสด็จมาเรือนของข้าพระพุทธเจ้า ถ้าทรงพระเกษมสำราญก็นับว่าเป็นโชคลาภ แต่ถ้าพระองค์ทรงมีอันเป็นไปในเรือนของข้าพระพุทธเจ้า ไพร่ฟ้า ข้าไททั้งหลายจะพากันตำหนิว่า การที่พระองค์ทรงมีอันเป็นไปนั้น สาเหตุมาจากการเสด็จไปบ้านของโชติกเศรษฐี ถูกเศรษฐีประทุษร้าย
   พระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสตอบว่าดีแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็จะกินเพียง เท่านี้ แล้วพระองค์ทรงหยุดเสวยทันที หลังจากนั้นเศรษฐีจึงให้จัดหาอาหารมาเลี้ยงดูข้าราชบริพารที่ตามเสด็จให้อิ่มหนำสำราญกันทุกคน ตลอดทั้งชาวเมืองผู้มาเยี่ยมเยียน เศรษฐีก็เลี้ยงดูด้วยข้าวและแกงหม้อเดียว แม้จะตักออกเท่าใดก็ยังเต็มอยู่เหมือนเดิม ไม่มีหมดสิ้น
   พระเจ้าพิมพิสารตรัสถามว่า ท่านเศรษฐีมีภรรยาไหม เศรษฐีทูลตอบ ว่ามี เป็นนางแก้วมาจากอุตตรกุรุทวีป พระราชาถามว่านางแก้วภรรยาท่านอยู่ที่ไหน เศรษฐีทูลตอบว่า นางนอนอยู่ในปราสาท ตอนแรกที่พระองค์เสด็จมาถึง นางกำลังอยู่ในสุขสมบัติ จึงไม่ทราบว่าพระองค์เสด็จมา เมื่อกราบทูลดังนั้นแล้ว เศรษฐีก็คิดว่าพระองค์ทรงมีพระประสงค์ใคร่จะทอดพระเนตรภรรยาของตน จึงกราบทูลว่าจะไปนำภรรยามาเฝ้า
   จากนั้นจึงลุกไปหาภรรยาในปราสาท แล้วกล่าวกับนางว่า พระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งราชคฤห์มหานครได้เสด็จมาถึงปราสาทของเราแล้ว
    ขณะนี้ประทับอยู่ห้องข้างนอก พี่ได้ถวายพระกระยาหารแล้ว เชิญเจ้าออกไปเฝ้าพระองค์เถิด นางจึงถามว่าพระราชาผู้นั้นเป็นใครจึงจะให้ออกไปถวายบังคม
เศรษฐีกล่าวตอบว่าพระองค์ทรงเป็นใหญ่อยู่ในเมืองนี้ ทรงเป็นเจ้าเหนือหัวของพวกเราทุกคน ใครหรือจะไม่รู้จักพระองค์
    นางจึงกล่าวว่าน้องอยู่มาทุกวันนี้ยังไม่รู้เลยว่ามีเจ้าเหนือหัวปกครองเราอยู่ เพิ่งมารู้วันนี้เอง บุญของเรามีถึงเพียงนี้นับว่ายังน้อยอยู่ จึงมีเจ้าเหนือหัวผู้ยิ่งใหญ่กว่าอาจเป็น
เพราะ เราทำบุญแต่อดีตชาติปางก่อนมิได้ทำด้วยศรัทธา มาชาตินี้เราจึงมีเจ้าที่เหนือกว่า ถ้าเราทำบุญด้วยศรัทธาอันมั่นคงเราก็จะไม่มีเจ้าเหนือหัวมาปกครอง เพราะท่านจักได้เป็นเจ้าแห่งคนทั้งหลายเสียเอง เหมือนพระราชาพระองค์นี้ นางจึงถามต่อไปว่าเมื่อท่านจะให้ไปเฝ้าพระราชาควรจะให้ปฏิบัติอย่างไร วางตัวอย่างไร โปรดสั่งมาเถิด
    เศรษฐีจึงสั่งภรรยาว่าเมื่อเฝ้าแล้วจงนั่งถวายงานพัดเถิด นางออกไปเฝ้าพระราชาแล้วถือพัดใบตาลแก้วถวายงานพัดอยู่ ลมได้พัดเอากลิ่นธูปที่อบผ้าทรงและผ้าโพกศีรษะของพระราชามาเข้าตานาง ทำให้นางรู้สึกแสบตา นํ้าตาไหลพราก
                 ภรรยาโชติกะเศรษฐีน้ำตาไหลพราก
    นางจึงยกผ้าขึ้นซับนํ้าตา พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงเข้าพระทัยว่านางร้องไห้ จึงตรัสแก่โชติกเศรษฐี ว่า ภรรยาของเจ้านี้ไม่น่ารัก นางเห็นเรามาบ้านคงนึกว่าเราจะมาแย่งชิงเอามหาสมบัติของนาง นางจึงร้องไห้ แต่เรามาคราวนี้หวังจะมาชมบุญของเจ้าต่างหาก เจ้าจงปลอบใจอย่าให้นางร้องไห้เลย
   เศรษฐีกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองเป็นผู้น้อย นางมิได้ร้องไห้ แต่เป็นเพราะไอกลิ่นธูปซึ่งอบเครื่องทรงของพระองค์มาเข้าตานาง เพราะอบด้วยไฟ ทำให้นางแสบตานํ้าตาไหล เพราะในปราสาทนี้จะหุงต้มหรืออบสิ่งใด ก็อาศัยแสงแก้วมณีรัตนะทั้งสิ้น ไม่เคยอาศัยไฟเลย แต่ในปราสาทของพระองค์อาศัยแต่แสงไฟ
   เศรษฐีกราบทูลต่อไปว่า นับแต่นี้เป็นต้นไป พระองค์จะได้ทรงอาศัย แสงแก้วเลิกอาศัยแสงไฟ ครั้นกราบทูลดังนี้แล้ว เศรษฐีจึงถวายแก้วดวงหนึ่งโตเท่าแตงโมลูกใหญ่ มีค่าเหลือคณนา
   ครั้นพระเจ้าพิมพิสารได้ทอดพระเนตรมหาสมบัติของโชติกมหาเศรษฐี ซึ่งมีมากมายเหลือที่จะประมาณแล้ว ทรงมีพระราชหฤทัยชื่นชมโสมนัสยิ่ง เสด็จออกจากปราสาทของเศรษฐีกลับสู่พระราชมนเทียรพร้อมด้วยข้าราชบริพาร
   พระเจ้าอชาตศัตรูกราบบังคมทูลพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชบิดาว่า "สมบัติมากมายมหาศาลของเศรษฐีนั้น ไม่เหมาะสมกับเศรษฐีผู้อาศัยอยู่ในเมืองของเรานี้ เราควรจะไปชิงเอามาเป็นราชสมบัติทั้งหมด"
   พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่าลูกจะชวนพ่อไปชิงเอาสมบัติของโชติกเศรษฐีนั้น เป็นการไม่ชอบธรรม เพราะสมบัติเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นด้วยบุญบารมีของเราทั้งสอง หากแต่สมบัตินั้นเกิดขึ้นด้วยอำนาจบุญบารมีของโชติกะเศรษฐี เพราะได้เคยทำบุญมาแต่ชาติปางก่อน ดังนั้นพระวิษณุกรรมจึงเนรมิตให้มิใช่ได้มาด้วยเหตุอื่น การที่เราจะชิงเอามาเป็นราชสมบัตินั้นไม่สมควร
            พระเจ้าอชาตศัตรูคิดชิงเอาสมบัติโชติกะเศรษฐี
     เมื่อกาลเวลาล่วงมา พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงคุ้นเคยกับพระเทวทัต นับถือเป็นครู พระเทวทัตได้เสี้ยมสอนยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูชิงเอาราชสมบัติและฆ่าพระราชบิดาเสีย พระเจ้าอชาตศัตรูครั้นได้ราชสมบัติแล้ว ทรงรำพึงในพระทัยว่า คราวนี้จะไปชิงเอาปราสาทแก้วของโชติกเศรษฐีมาเป็นของเราเสีย ทรงดำริดังนั้นแล้วจึงคุมกองทหารออกไปล้อมบ้านโชติกเศรษฐีไว้ วันนั้น เป็นวันพระ โชติกเศรษฐีรับประทานอาหารแล้วก็ไปยังพระเวฬุวันมหาวิหาร เพื่อรักษาศีล ๘ และฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า
   ฝ่ายพระเจ้าอชาตศัตรูไม่ทรงทราบว่าเศรษฐีไปฟังธรรม ทรงเข้าพระทัยว่าเศรษฐีอยู่ในปราสาท จึงนำรี้พลไปล้อมกำแพงแก้วชั้นนอกไว้ ฝ่าย ทหารช้างม้าแลเห็นเงาของตนเองบนกำแพงแก้ว เข้าใจว่ามีกองทหารมากมายอยู่ภายในจะยกออกมาสู้รบกับพวกตน ตกใจกลัวไม่กล้าที่จะเข้าไปข้างในช้าง เอางาแทงปักลงดิน ไม่ยอมเข้าไปในกำแพงแก้วนั้นเลย
   พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเห็นดังนั้นจึงเร่งขับรี้พลให้เคลื่อนเข้าไป ในทันใดนั้นพระยายักษ์ตนหนึ่ง ชื่อยมโกลิยักษ์ เป็นยามอยู่เฝ้ากำแพงชั้นนอกพร้อมด้วยบริวารยักษ์หนึ่งพันตนเห็นพระเจ้าอชาตศัตรูพาบริวารเข้าไป จึงร้องถามว่าท่านมาที่นี่ด้วยเหตุผลอันใด ยมโกลิยักษ์และบริวารถือตะบองเหล็ก ประหนึ่งว่าจะเข้าตี แล้วร้องตวาดขับไล่พระเจ้าอชาตศัตรูและบริวารแตกหนีกระจัดกระจายไป
   พระเจ้าอชาตศัตรูตกพระทัยเสด็จหนีเข้าไปในพระเวฬุวันที่ประทับของพระพุทธเจ้า โชติกเศรษฐีเห็นแล้วลุกขึ้นจากอาสนะมาทูลถามพระเจ้าอชาตศัตรูว่า วันนี้เหตุใดพระองค์จึงรีบเสด็จโดยด่วน พระเจ้าอชาตศัตรูจึงตรัสว่า ท่านเศรษฐีได้ใช้บริวารของท่านต่อต้านรุกรบกับพวกเรา จนพวกเราพ่ายแพ้ แต่ตัวท่านกลับหนีมาก่อน แกล้งทำทีนั่งฟังธรรมทำเป็นไม่รู้เรื่อง เศรษฐีทูลว่า พระองค์ยกทัพมาชิงเอาปราสาทของข้าพระพุทธเจ้าหรือ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสตอบว่าถูกต้องแล้ว เราต้องการชิงเอาปราสาทแก้วของท่าน
   เศรษฐีทูลว่าสมบัติใดๆ ของข้าพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเพียงเศษด้ายที่หูกทอผ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้าไม่ยกให้ ผู้นั้นก็ไม่สามารถเอาไปได้ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสว่า เศรษฐีเจรจาโอหังเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินเศรษฐีทูลว่าหามิได้ ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ทำตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่เชื่อในกุศลกรรมที่เคยกระทำไว้นั้น สมบัติถ้าข้าพระพุทธเจ้ามิได้ถวายให้อย่าว่าแต่พระราชาพระองค์เดียวเลย แม้พระราชาผู้มีอำนาจเช่นท่านสักพันพระองค์ก็มิอาจจะยึดเอาสมบัติแห่งข้าพระพุทธเจ้านี้ได้ เพราะว่าข้าพระพุทธเจ้ามิได้ให้ แต่ว่าเมื่อใดข้าพระพุทธเจ้ายกให้ เมื่อนั้นจึงเอาไปได้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อบุญของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าก็จะทำให้พระองค์เชื่อดังนี้ แหวนทั้ง ๒๐ วงในมือข้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๑๐ นิ้วนี้ เมื่อข้าพระพุทธเจ้ามิได้ถวายแก่พระองค์ พระองค์ก็ไม่สามารถที่จะถอดแหวนออกจากนิ้วของข้าพระพุทธเจ้าได้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อก็ขอให้พระองค์โปรดทดลองถอดเอาเถิด
   เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูได้สดับคำที่โชติกเศรษฐีกราบทูลเช่นนั้น ทรงพิโรธยิ่งนัก อุปมาดังพญานาคราชถูกค้อนเหล็กตีขนดหาง ขณะที่กำลังประทับนั่ง ทรงกระโดดขึ้นสูง ๑๘ ศอก แล้วเสด็จลงมาประทับยืนที่พื้น แล้วทรงกระโดดขึ้นอีกหนึ่งครั้ง สูง ๗๐ ศอก ทรงมีพละกำลังมากยิ่งนัก แล้วทรงบิดองค์ไปทางขวาเพื่อทรงถอดเอาแหวนในมือโชติกเศรษฐี ทรงล้มลุกคลุกคลาน พระเสโทไหลย้อยทั่วพระวรกาย แม้กระทำเช่นนั้น แต่ก็ไม่อาจแย่งชิงเอาแหวนออกจากนิ้วเศรษฐีได้ จึงประทับนั่งลงตามเดิม
   เศรษฐีเห็นดังนั้นจึงกราบทูลว่า แหวนของข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๐ วงนี้ ขอน้อมถวายแด่พระองค์ ขอเชิญพระองค์ทรงนำภูษามารองรับเถิด พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทรงปูผ้าฉลองพระพักตร์ลงบนพื้น โชติกเศรษฐีจึงยื่นมือออกไปเหนือผ้านั้นต่อพระพักตร์พระเจ้าอชาตศัตรู ทันใดนั้นแหวนทั้ง  ๒๐ วงก็หลุดจากนิ้วมือตกลงบนผ้านั้น
   โชติกะเศรษฐีจึงกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรูว่า สมบัติของข้าพระพุทธเจ้า นี้ ถ้าข้าพระพุทธเจ้ายังมิได้ทูลถวายพระองค์ก็จะไม่สามารถนำไปได้ แต่ถ้าได้ถวายแล้วพระองค์จึงจะได้นำสมบัติของข้าพระพุทธเจ้า ดังที่พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นแล้ว
                   โชติกะเศรษฐีสลดใจขอบวช
    เมื่อโชติกะเศรษฐีกราบทูลเช่นนั้นแล้วก็รู้สึกสังเวชใจ จึงกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรูว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลอำลาบวชเพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงอนุญาต พระเจ้าอชาตศัตรูได้สดับดังนั้นทรงพอพระราชหฤทัยอย่างยิ่งและทรงพระราชดำริว่า ปราสาทนั้นจะตกเป็นของเรา จึงตรัสบอกโชติกเศรษฐีว่า ถ้าเศรษฐีจะบวชเราก็อนุญาตขอเศรษฐีจงบวชเถิด
  ดังนั้นโชติกเศรษฐีจึงโกนผมเข้าบวชในพระพุทธศาสนาแล้วบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา มีสมณฉายาว่า "พระโชติกเถระ" เมื่อบวชแล้วสมบัติทั้งหลายก็อันตรธานหายไปหมดสิ้น เป็นต้นว่านางแก้ว ซึ่งมีนามว่า "นางอตุลกายเทวี" ผู้เป็นภรรยา เทวดานำกลับคืนไปสู่อุตตรกุรุทวีปดังเดิม ปราสาท ๗ ชั้น ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ
กำแพง ๗ ชั้น อันล้อมรอบปราสาทแก้วนั้น ต้นกัลปพฤกษ์อันเรียงรายไปรอบทั้ง๗ ชั้น ขุมเงินขุมทอง ๔ มุมปราสาทหม้อข้าวแก้วมณี สมบัติมากมายซึ่งเกิดมาด้วยบุญโชติกเศรษฐี ก็จมลงไปในแผ่นดินหมดสิ้น
           
 
               อดีตกรรมของโชติกะเศรษฐี
     ได้ยินว่า ในอดีตกาล กุฎุมพี ๒ คนพี่น้องในกรุงพาราณสี ยังชนให้ทำไร่อ้อยไว้เป็นอันมาก. ต่อมาวันหนึ่ง น้องชายไปยังไร่อ้อย คิดว่า "เราจักให้อ้อยลำหนึ่งแก่พี่ชาย ลำหนึ่งจักเป็นของเรา" แล้วผูกลำอ้อยทั้งสองลำในที่ๆ ตัดแล้ว เพื่อต้องการไม่ให้รสไหลออก ถือเอาแล้ว.
     ได้ยินว่า ในครั้งนั้น กิจด้วยการหีบอ้อยด้วยเครื่องยนต์ ไม่มี, ในเวลาอ้อยลำที่เขาตัดที่ปลายหรือที่โคนแล้วยกขึ้น รส (อ้อย) ย่อมไหลออกเองทีเดียว เหมือนน้ำไหลออกจากธมกรกฉะนั้น.
     ก็ในเวลาที่เขาถือเอาลำอ้อยจากไร่เดินมา พระปัจเจกพุทธเจ้าที่ภูเขาคันธมาทน์ออกจากสมาบัติแล้ว ใคร่ครวญว่า "วันนี้ เราจักทำการอนุเคราะห์แก่ใครหนอแล?" เห็นเขาเข้าไปในข่าย คือญาณของตน และทราบความที่เขาเป็นผู้สามารถเพื่อจะทำการสงเคราะห์ได้ จึงถือบาตรและจีวรแล้ว มาด้วยฤทธิ์ ได้ยืนอยู่ข้างหน้าของเขา.
               น้องชายถวายอ้อยแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า              
    เขาพอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ก็มีจิตเลื่อมใส จึงลาดผ้าห่มบนภูมิประเทศที่สูงกว่า แล้วนิมนต์ให้พระปัจเจกพุทธเจ้านั่ง ด้วยคำว่า "นิมนต์นั่งที่นี้ ขอรับ" แล้วก็กล่าวว่า "ขอท่านจงน้อมบาตรมาเถิด" ได้แก้ที่ผูกลำอ้อย วางไว้เบื้องบนบาตร. รสไหลลงเต็มบาตรแล้ว.
    เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าดื่มรส (อ้อย) นั้นแล้ว เขาคิดว่า "ดีจริง พระผู้เป็นเจ้าของเราดื่มรส (อ้อย) แล้ว, ถ้าพี่ชายของเราจักให้นำมูลค่ามาเราก็จักให้มูลค่า; ถ้าจักให้เรานำส่วนบุญมา เราก็จักให้ส่วนบุญ" แล้วกล่าวว่า "นิมนต์ท่านน้อมบาตรเข้ามาเถิด ขอรับ" แล้วได้แก้ลำอ้อยแม้ที่ ๒ ถวายรส.
    นัยว่า เขามิได้มีความคิดที่จะลวงแม้มีประมาณเท่านี้ว่า "พี่ชายของเราจักนำอ้อยลำอื่นจากไร่อ้อยมาเคี้ยวกิน" ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้ใคร่จะแบ่งรสอ้อยนั้นกับด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่าอื่น เพราะความที่ตนดื่มรสอ้อยลำแรกนั้น จึงรับไว้เท่านั้น แล้วก็นั่งอยู่.
     เขาทราบอาการของท่านแล้ว จึงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ตั้งความปรารถนาว่า "ท่านขอรับ รสอันเลิศนี้ใดที่กระผมถวายแล้ว ด้วยผลแห่งรสอันเลิศนี้ กระผมพึงเสวยสมบัติในเทวโลกและมนุษยโลก ในที่สุดพึงบรรลุธรรมที่ท่านบรรลุแล้วนั่นแล."
     แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็กล่าวว่า "ขอความปรารถนาที่ท่านตั้งไว้แล้ว จงสำเร็จอย่างนั้น" แล้วทำอนุโมทนาแก่เขาด้วย ๒ คาถาว่า "อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ" เป็นต้น แล้วก็อธิษฐานโดยประการที่เขาจะเห็นได้ แล้วเหาะไปสู่เขาคันธมาทน์โดยทางอากาศ แล้วได้ถวายรส (อ้อย) แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ รูป.
     เขาเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว ไปสู่สำนักพี่ชาย เมื่อพี่ชายถามว่า "เจ้าไปไหน?" จึงบอกว่า "ฉันไปตรวจดูไร่อ้อย" ถูกพี่ชายกล่าวว่า "จะมีประโยชน์อะไรด้วยคนอย่างเจ้าไปไร่อ้อย เจ้าควรจะถือเอาลำอ้อยมา ๑ ลำหรือ ๒ ลำมิใช่หรือ?" กล่าวว่า "พี่ ถูกละ ฉันถือเอาอ้อยมา ๒ ลำ แต่ฉันเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง จึงถวายรสแต่ลำอ้อยของฉัน แล้วถวายรสแต่ลำอ้อยแม้ของพี่ ด้วยคิดว่า ‘เราจักให้มูลค่าหรือส่วนบุญ’
พี่จักรับเอามูลค่าอ้อยนั้น หรือจักรับเอาส่วนบุญ?"
     พี่ชาย. ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า ทำอะไร?
     น้องชาย. ท่านดื่มรสจากลำอ้อยของฉันแล้ว ก็ถือเอารสจากลำอ้อยของพี่ ไปสู่เขาคันธมาทน์โดยอากาศ แล้วได้ให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ รูป.
                   พี่ชายเลื่อมใสขออนุโมทนาส่วนบุญ              
     พี่ชายนั้น เมื่อเขากำลังกล่าวอยู่นั้นแหละ, เป็นผู้มีสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว หาระหว่างมิได้ ได้ทำความปรารถนาว่า "การบรรลุธรรมที่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเห็นแล้วนั่นแหละ พึงมีแก่เรา."
     น้องชายปรารถนาสมบัติ ๓ อย่าง ส่วนพี่ชายปรารถนาพระอรหัตด้วยประการฉะนี้.
               นี้เป็นบุรพกรรมของชนทั้งสองนั้น.
               สองพี่น้องได้เกิดร่วมกันอีกในชาติต่อมา              
    ชนทั้งสองนั้น ดำรงอยู่ตลอดอายุแล้ว เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก ยังพุทธันดรหนึ่งให้สิ้นไป. ในเวลาชนทั้งสองนั้นไปสู่เทวโลกนั่นแหละ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก.
    พี่น้องทั้งสองแม้นั้น เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว, ผู้พี่ชายก็คงเป็นพี่ชาย ผู้น้องชายก็คงเป็นน้องชาย ถือปฏิสนธิในเรือนแห่งตระกูลหนึ่งในพันธุมดีนคร. บรรดาเด็กทั้งสองนั้น มารดาบิดาได้ตั้งชื่อของผู้พี่ชายว่า "เสนะ" ของผู้น้องชายว่า "อปราชิต"
    เมื่อพี่น้องทั้งสองนั้นกำลังรวบรวมขุมทรัพย์อยู่ ในเวลาเติบโตแล้ว๑-, เสนกุฎุมพีได้ฟังการป่าวร้องในพันธุมดีนครของอุบาสกผู้โฆษณาธรรมว่า "พุทธรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก, ธรรมรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก, สังฆรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก, พวกท่านจงให้ทานทั้งหลาย จงทำบุญทั้งหลาย วันนี้เป็นดิถีที่ ๑๔ วันนี้เป็นดิถีที่ ๑๕ พวกท่านจงทำอุโบสถ จงฟังธรรม"
     เห็นมหาชนถวายทานในกาลก่อนภัตแล้ว ไปเพื่อฟังธรรมในกาลภายหลังภัต จึงถามว่า "พวกท่านจะไปไหน? เมื่อมหาชนบอกว่า "พวกฉันจะไปสู่สำนักพระศาสดา เพื่อฟังธรรม." จึงพูดว่า "แม้ฉันก็จักไป" แล้วก็ไปพร้อมกับชนเหล่านั้นทีเดียว นั่งแล้วในที่สุดบริษัท.
     พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของเขา จึงตรัสอนุปุพพีกถา. เขาฟังธรรมของพระศาสดาแล้ว เกิดความอุตสาหะในบรรพชา จึงทูลขอบรรพชากะพระศาสดา.
     ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า "ก็พวกญาติที่ท่านจะพึงอำลามีไหม?"
     เสนกุฎุมพี. มี พระเจ้าข้า.
     พระศาสดา. ถ้าอย่างนั้น ท่านไปอำลา แล้วจงมา.
         พี่ชายลาน้องชายออกบวชแล้วได้บรรลุพระอรหันต์              
     เขาไปสู่สำนักของน้องชายแล้ว กล่าวว่า "ทรัพย์สมบัติใด มีอยู่ในตระกูลนี้ ทรัพย์สมบัตินั้นทั้งหมด จงเป็นของเจ้า."
     น้องชาย. ก็พี่เล่า? ขอรับ.
     เสนะกุฎุมพี. ฉันจักบวชในสำนักของพระศาสดา.
     น้องชาย. พี่พูดอะไร? ฉันเมื่อมารดาตายแล้ว ก็ได้พี่เป็นเหมือนมารดา, เมื่อบิดาตายแล้ว ก็ได้พี่เป็นเหมือนบิดา ตระกูลนี้ก็มีโภคะมาก
พี่ดำรงอยู่ในเรือนนี่แหละ ก็สามารถจะทำบุญได้. พี่อย่าทำอย่างนั้น.
     เสนะกุฎุมพี. ฉันฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้ว ฉันดำรงอยู่ในท่ามกลางเรือน ไม่อาจบำเพ็ญธรรมนั้นได้ ฉันจักบวชให้ได้ เจ้าจง
กลับ.
      เขายังน้องชายให้กลับไปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระศาสดาแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต.
      ฝ่ายน้องชายคิดว่า "เราจักทำสักการะแก่บรรพชิตผู้พี่ชาย" จึงถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขสิ้น ๗ วัน ไหว้พี่ชายแล้วกล่าวว่า "ท่านขอรับ ท่านทำการสลัดออกจากภพแห่งตนได้แล้ว ส่วนกระผมยังเป็นผู้พัวพันด้วยกามคุณ ๕#- ไม่อาจออกบวชได้ ขอท่านจงบอกบุญกรรมอันใหญ่ที่สมควร แก่กระผมผู้ดำรงอยู่ในเรือนนี่แหละ."
      ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะน้องชายนั้นว่า "ดีละ เจ้าผู้เป็นบัณฑิต เจ้าจงให้สร้างพระคันธกุฎี สำหรับพระศาสดา."
      น้องชายสร้างพระคันธกุฎีถวายพระศาสดา              
      น้องชายนั้นรับว่า "สาธุ" แล้วยังชนให้นำไม้ต่างๆ มาแล้วให้ถากเพื่อประโยชน์แก่ทัพสัมภาระทั้งหลายมีเสาเป็นต้น ให้ทำเสาทั้งหมด ให้ขจิตด้วยแก้ว ๗ ประการ คือต้นหนึ่งขจิตด้วยทองคำ ต้นหนึ่งขจิตด้วยเงิน ต้นหนึ่งขจิตด้วยแก้วมณีเป็นต้น แล้วให้สร้างพระคันธกุฎีด้วยเสาเหล่านั้น ให้มุงด้วยกระเบื้องสำหรับมุงอันขจิตด้วยแก้ว ๗ ประการเหมือนกัน.
     ก็ในเวลาสร้างพระคันธกุฎีนั้นแล หลานชายชื่ออปราชิต ผู้มีชื่อเหมือนกับตนนั่นแล เข้าไปหาอปราชิตกุฎุมพีนั้นแล้ว กล่าวว่า "แม้ฉันก็จักสร้าง ท่านจงให้ส่วนบุญแก่ฉันเถิด ลุง" เขากล่าวว่า "พ่อ ฉันไม่ให้ ฉันจักสร้างไม่ให้ทั่วไปด้วยชนเหล่าอื่น."
     หลานชายนั้นอ้อนวอนแม้เป็นอันมาก เมื่อไม่ได้ส่วนบุญ จึงคิดว่า "การที่เราได้กุญชรศาลา๑- ข้างหน้าพระคันธกุฎี ย่อมควร" ดังนี้แล้ว จึงให้สร้างกุญชรศาลาที่สำเร็จด้วยแก้ว ๙ ประการ. เขาเกิดเป็นเมณฑกเศรษฐีในพุทธุปบาทกาลนี้.
    ก็บานหน้าต่างใหญ่ ๓ บาน ที่สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ ได้มีแล้วในพระคันธกุฎี. อปราชิตคฤหบดีให้สร้างสระโบกขรณี ๓ สระ ที่โบกด้วยปูนขาว ณ ภายใต้ที่ตรงบานหน้าต่างเหล่านั้น ให้เต็มด้วยน้ำหอม อันเกิดแต่ชาติทั้ง ๔ แล้วให้ปลูกดอกไม้ ๕ สี ให้ย่อยบรรดาแก้ว ๗ ประการ แก้วที่ควรแก่ความเป็นของที่จะพึงย่อยได้แล้วถือเอาแก้วนอกนี้ทั้งหมดทีเดียว โปรยรอบพระคันธกุฎีโดยถ่องแถวเพียงเข่า ยังบริเวณให้
เต็มแล้ว.
   เพื่อจะโปรยพระสรีระด้วยสายแห่งเกสรทั้งหลาย อันตั้งขึ้นแล้วด้วยกำลังลม ในกาลแห่งพระตถาคตประทับนั่งภายในแล้ว กระเบื้องที่ยอดพระคันธกุฎีได้สำเร็จด้วยทองคำอันสุกปลั่ง. หาง (กระเบื้อง) สำเร็จด้วยแก้วประพาฬตอนล่าง กระเบื้องมุงสำเร็จด้วยแก้วมณี. พระคันธกุฎีนั้นได้ตั้งอยู่งดงามดุจนกยูงลำแพน ด้วยประการฉะนี้.
   คฤหบดีชื่ออปราชิต ยังพระคันธกุฎีให้สำเร็จด้วยอาการอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปหาพระเถระผู้พี่ชาย เรียนว่า "ท่านขอรับ พระคันธกุฎีสำเร็จแล้ว. กระผมหวังการใช้สอยพระคันธกุฎีนั้น. ได้ยินว่า บุญเป็นอันมากย่อมมีเพราะการใช้สอย."
    พระเถระนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ทราบว่า กุฎุมพีผู้นี้ให้สร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระองค์ บัดนี้ เธอหวังการใช้สอย."
    พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะแล้ว เสด็จไปสู่ที่เฉพาะหน้าพระคันธกุฎี ทอดพระเนตรกองรัตนะที่เขากองล้อมรอบพระคันธกุฎี ได้ประทับยืนอยู่แล้วที่ซุ้มแห่งประตู๒- ก็เมื่อกุฎุมพีนั้นกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า การรักษาจักมีแก่ข้าพระองค์เอง, ขอพระองค์จงเสด็จเข้าไปเถิด."
               พระศาสดาเสด็จเข้าไปแล้ว
   ลำดับนั้น กุฎุมพีกราบทูลพระองค์ว่า "ขอพระองค์โปรดเสด็จเข้าไปเถิด พระเจ้าข้า"
   พระศาสดาประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล ทอดพระเนตรดูพระเถระพี่ชายของกุฎุมพีนั้นถึง ๓ ครั้ง, พระเถระทราบด้วยอาการที่พระองค์ทอดพระเนตรแล้วนั่นแล กล่าวกะน้องชายว่า "มาเถิด พ่อ เธอจงทูลพระศาสดาว่า การรักษาจักมีแก่ข้าพระองค์เอง ขอเชิญพระองค์ประทับอยู่ตามสบายเถิด"
    เขาฟังคำพระเถระแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พวกมนุษย์เข้าไปที่โคนไม้แล้วไม่มีความเยื่อใยหลีกไปฉันใด, อนึ่ง พวกมนุษย์ข้ามแม่น้ำ ไม่มีความเยื่อใย สละพ่วงแพเสียได้ฉันใด, ขอพระองค์ทรงเป็นผู้ไม่มีความเยื่อใยฉันนั้น ประทับอยู่เถิด."  ก็พระศาสดาประทับยืนอยู่เพื่ออะไรฯ
   ได้ยินว่า พระองค์ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า "ชนเป็นอันมาก ย่อมมาสู่สำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัตบ้าง ในเวลาหลังภัตบ้าง เมื่อชนเหล่านั้นถือเอารัตนะทั้งหลายไปอยู่ พวกเราไม่อาจห้ามได้ กุฎุมพีพึงติเตียนว่า ‘เมื่อรัตนะประมาณเท่านี้เราโปรยลงแล้วที่บริเวณ, พระศาสดาไม่ห้ามปรามอุปัฏฐากของพระองค์ แม้ผู้นำ (รัตนะ) ไปอยู่ ดังนี้แล้ว ทำความอาฆาตในเรา พึงเป็นผู้เข้าถึงอบาย’  เพราะเหตุนี้ พระศาสดาจึงได้ประทับยืนอยู่แล้ว.
          เขาตั้งการรักษารัตนะที่โปรยไว้รอบพระคันธกุฎี              
   แม้กุฎุมพีก็ตั้งการรักษาไว้โดยรอบ สั่งมนุษย์ทั้งหลายไว้ว่า "พ่อ พวกเธอจงห้ามชนทั้งหลายผู้ถือเอา (รัตนะ) ด้วยพก หรือด้วยกระเช้าและกระสอบไป แต่อย่าห้ามชนผู้ถือเอาด้วยมือไป." แม้ในภายในนครก็ให้บอกว่า "รัตนะ ๗ ประการอันเราโปรยลงแล้วที่บริเวณพระคันธกุฎี, มนุษย์เข็ญใจทั้งหลายผู้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้วไป จงถือเอาเต็มมือทั้งสอง มนุษย์ทั้งหลายแม้ถึงสุขแล้ว ก็จงถือเอาด้วยมือเดียว."
    ได้ยินว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "ชนทั้งหลายผู้มีศรัทธา ประสงค์จะฟังธรรมก่อนจึงจักไปทีเดียว ส่วนผู้ไม่มีศรัทธาไปด้วยความโลภในทรัพย์ ฟังธรรมแล้ว ก็จักพ้นจากทุกข์ได้" เพราะเหตุนั้น เขาจึงให้บอกอย่างนั้น เพื่อต้องการจะสงเคราะห์ชน.
    มหาชนถือเอารัตนะทั้งหลายตามกำหนดที่เขาบอกแล้วนั่นแล. เมื่อรัตนะที่เขาโปรยลงไว้คราวเดียว หมดแล้ว เขาจึงให้โปรยลงเรื่อยๆ โดยถ่องแถวเพียงเข่าถึง ๓ ครั้ง. อนึ่ง เขาวางแก้วมณีอันหาค่ามิได้ประมาณเท่าผลแตงโม แทบบาทมูลของพระศาสดา.
    ได้ยินว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "ชื่อว่าความอิ่มจักไม่มีแก่ชนทั้งหลายผู้แลดูรัศมีแห่งแก้วมณี พร้อมด้วยพระรัศมีอันมีสีดุจทองคำ แต่พระสรีระของพระศาสดา" เพราะฉะนั้น เขาจึงได้ทำอย่างนั้น. แม้มหาชนก็แลดูไม่อิ่มเลย.
               พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิลักแก้วมณี              
    ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่งคิดว่า "ได้ยินว่า แก้วมณีที่มีค่ามาก อันกุฎุมพีนั้นวางไว้แทบบาทมูลของพระศาสดา เราจักลักแก้วมณีนั้น" จึงไปสู่วิหาร เข้าไปโดยระหว่างมหาชนผู้มาแล้ว เพื่อจะถวายบังคมพระศาสดา. ด้วยอาการแห่งการเข้าไปแห่งพราหมณ์นั้นนั่นแล คิดว่า "โอหนอ! พราหมณ์ไม่ควรถือเอา."
     แม้พราหมณ์นั้นวางมือไว้แทบบาทมูลคล้ายจะถวายบังคมพระศาสดา ถือเอาแก้วมณีซ่อนไว้ในเกลียวผ้า หลีกไปแล้ว. กุฎุมพีไม่อาจยังจิตให้เลื่อมใสในพราหมณ์นั้นได้.
    ในกาลจบธรรมกถา กุฎุมพีนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า รัตนะ ๗ ประการอันข้าพระองค์โปรยล้อมรอบพระคันธกุฎี  สิ้น ๓ ครั้ง โดยถ่องแถวเพียงเข่า เมื่อชนทั้งหลายถือเอารัตนะเหล่านั้น ขึ้นชื่อว่าความอาฆาตมิได้มีแล้วแก่ข้าพระองค์ จิตยิ่งเลื่อมใสขึ้นเรื่อยๆ แต่วันนี้ ข้าพระองค์คิดว่า "โอหนอ! พราหมณ์นี้ ไม่ควรถือเอาแก้วมณี" เมื่อพราหมณ์นั้นถือเอาแก้วมณีไปแล้ว จึงไม่อาจยังจิตให้เลื่อมใสได้."
    พระศาสดาทรงสดับคำของกุฎุมพีนั้นแล้ว ตรัสว่า "อุบาสก ท่านไม่อาจเพื่อจะทำของมีอยู่ของตน ให้เป็นของอันชนเหล่าอื่นพึงนำไปไม่ได้ มิใช่หรือ?" ดังนี้แล้ว ได้ประทานนัยแล้ว.
    กุฎุมพีนั้นดำรงอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทานแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ได้ทำการปรารถนาว่า "พระเจ้าข้า พระราชาหรือโจรแม้หลายร้อย ชื่อว่าสามารถเพื่อจะข่มเหงข้าพระองค์ ถือเอาแม้เส้นด้ายแห่งชายผ้าอันเป็นของข้าพระองค์ จงอย่ามี นับแต่วันนี้เป็นต้นไป, แม้ไฟก็อย่าไหม้ของๆ ข้าพระองค์, แม้น้ำก็อย่าพัด."
    แม้พระศาสดาก็ได้ทรงทำอนุโมทนาแก่กุฎุมพีนั้นว่า "ขอความปรารถนาที่ท่านปรารถนาอย่างนั้น จงสำเร็จ."
    กุฎุมพีนั้น เมื่อทำการฉลองพระคันธกุฎี ถวายมหาทานแก่ภิกษุ ๖๘ แสน ในภายในวิหารนั่นแหละ ตลอด ๙ เดือน ในกาลเป็นที่สุด ได้ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุทุกรูป. ผ้าสาฎกสำหรับทำจีวรของภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์ ได้มีค่าถึงพันหนึ่ง.
                อปราชิตกุฎุมพีเกิดเป็นโชติกะเศรษฐี              
    กุฎุมพีนั้นทำบุญทั้งหลายจนตลอดอายุอย่างนั้นแล้ว เคลื่อนจากอัตภาพนั้น บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกตลอดกาลประมาณเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ อยู่ในท้องของมารดาตลอด ๙ เดือนครึ่ง.
    ก็ในวันที่กุฎุมพีนั้นเกิด สรรพอาวุธทั้งหลายในพระนครทั้งสิ้นรุ่งโรจน์แล้ว. แม้อาภรณ์ทั้งหลายที่สวมกาย ของชนทั้งปวง เป็นราวกะว่ารุ่งโรจน์ เปล่งรัศมีออกแล้ว. พระนครได้รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน. แม้เศรษฐีก็ได้ไปสู่ที่บำรุงพระราชาแต่เช้าตรู่.
    ครั้งนั้น พระราชาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า "วันนี้ สรรพอาวุธทั้งหลายรุ่งโรจน์แล้ว, พระนครก็รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน ท่านรู้เหตุในเรื่องนี้ไหม?"
    เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทราบ.
    พระราชา. เหตุอะไร? เศรษฐี.
    เศรษฐี. ทาสของพระองค์เกิดในเรือนของข้าพระองค์, ความรุ่งโรจน์นั้นได้มีแล้วด้วยเดชแห่งบุญของเขานั่นแหละ.
    พระราชา. เขาจักเป็นโจรกระมัง?
    เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ข้อนั้นไม่มี, สัตว์มีบุญได้ทำอภินิหารไว้แล้ว.
    พระราชาทรงตั้งทรัพย์ค่าเลี้ยงดูวันละพัน ด้วยพระดำรัสว่า "ถ้ากระนั้น เธอเลี้ยงเขาไว้ให้ดีจึงจะควร นี้จงเป็นค่าน้ำนมสำหรับเขา." ครั้นในวันเป็นที่ตั้งชื่อ ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อของเขาว่า "โชติกะ" นั่นแหละ เพราะพระนครทั้งสิ้นรุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน.
    ต่อมา ในเวลาที่เขาเติบโตแล้ว เมื่อภาคพื้นอันเขาลงชำระอยู่ เพื่อต้องการปลูกเรือน ภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนแล้ว.
        ท้าวสักกะเสด็จมาเนรมิตสมบัติให้โชติกะเศรษฐี              
    ท้าวสักกะทรงใคร่ครวญดูว่า "นี้เหตุอะไรหนอแล?" ทรงทราบว่า "ชนทั้งหลายกำลังจับจองที่ปลูกเรือนเพื่อโชติกะ" ทรงดำริว่า "โชติกะนี้ จักไม่อยู่ในเรือนที่ชนเหล่านั่นทำแล้ว, การที่เราไปในที่นั้น ควร" แล้วเสด็จไปที่นั้นด้วยเพศแห่งนายช่างไม้ ตรัสว่า "พวกท่านทำอะไรกัน?"
     เหล่าชน. พวกฉันจับจองที่ปลูกเรือน สำหรับโชติกะ.
     ท้าวสักกะตรัสว่า "พวกท่านจงหลีกไป, โชติกะนี้จักไม่อยู่ในเรือนที่พวกท่านปลูก" แล้วทอดพระเนตรดูภูมิประเทศประมาณ ๑๖ กรีส. ภูมิประเทศนั้นได้เป็นที่สม่ำเสมอในทันใดนั้นนั่นเอง ดุจวงกสิณ. ท้าวเธอทรงดำริอีกว่า "ขอปราสาท ๗ ชั้นสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ จงชำแรกแผ่นดินผุดขึ้น ณ ที่นี้" แล้วทอดพระเนตรดู. ปราสาท (เห็นปานนั้น) ผุดขึ้นแล้วในขณะนั้นนั่นเอง. ท้าวสักกะทรงดำริอีกว่า "ขอกำแพง ๗ ชั้น ที่สำเร็จ
ด้วยแก้ว ๗ ประการ จงผุดขึ้นแวดล้อมปราสาทนี้" แล้วทอดพระเนตรดู. กำแพงเห็นปานนั้นผุดขึ้นแล้ว.
      ครั้งนั้น ท้าวเธอทรงดำริว่า "ขอต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลาย จงผุดขึ้นในที่สุดรอบกำแพงเหล่านั้น" แล้วทอดพระเนตรดู. ต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ผุดขึ้นแล้ว. ท้าวเธอทรงดำริว่า "ขุมทรัพย์ ๔ ขุม จงผุดขึ้นที่มุมทั้ง ๔ แห่งปราสาท" แล้วทอดพระเนตรดู. ทุกสิ่งได้มีอย่างนั้นเหมือนกัน.
    ก็บรรดาขุมทรัพย์ทั้งหลาย ขุมทรัพย์ขุมหนึ่งได้มีประมาณโยชน์หนึ่ง, ขุมหนึ่งได้มีประมาณ ๓ คาวุต, ขุมหนึ่งได้มีประมาณกึ่งโยชน์,ขุมหนึ่งได้มีประมาณคาวุตหนึ่ง, ที่ซุ้มประตูทั้ง ๗ ยักษ์ ๗ ตน ยึดการรักษาไว้แล้ว. ในซุ้มประตูที่ ๑ ยักษ์ชื่อยมโมลีพร้อมด้วยยักษ์พันหนึ่งที่เป็นบริวารของตน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๒ ยักษ์ชื่ออุปปละพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๒ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๓ ยักษ์ชื่อวชิระพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๓ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ยักษ์ชื่อวชิรพาหุพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๔ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๕ ยักษ์ชื่อสกฏะพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๕ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๖ ยักษ์ชื่อสกฏัตถะพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๖ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๗ ยักษ์ชื่อทิสามุขะพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๗ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว. ทั้งภายในและภายนอกแห่งปราสาท ได้มีการรักษาอย่างมั่นคงแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.
    ก็ประมาณนั่น ได้เป็นประมาณแห่งปากขุมทรัพย์ที่เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์. เบื้องล่างได้มีที่สุดแผ่นดิน, ประมาณขอบปากแห่งขุมทรัพย์ที่เกิดขึ้นแก่โชติกเศรษฐี ท่านมิได้กล่าวไว้. ขุมทรัพย์ทุกขุมเต็มเปี่ยมบริบูรณฺ์  ผุดขึ้นมาเหมือนผลตาลที่เขาฝานหัวฉะนั้น, ลำอ้อย ๔ ลำเป็นทองคำ ประมาณเท่าต้นตาลรุ่นๆ เกิดขึ้นที่มุมปราสาททั้ง ๔ ด้าน ลำอ้อยเหล่านั้นมีใบเป็นแก้วมณี มีข้อเป็นทองคำ. นับว่าสมบัตินั้นเกิดขึ้นแล้ว เพื่อแสดงบุรพกรรม ของเขาที่ทำไว้ในอดีตชาติ
   ๐นี้คือต้วอย่างของมนุษยฺ์ในชมพูทวีป
     

                มนุษย์ในปุพพะวิเทหะทวีป
    
   ๐มนุษย์ในปุพพะวิเทหะทวีป   มีใบหน้ากลมเหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ
                    ปุพพวิเทหทวีป
    -ปุพพวิเทหทวีป   ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของภูเขาพระสุเมรุ  มีเนื้อที่กว้าง ๘๐๐๐ โยชน์  มีเกาะที่เป็นบริวารอีก ๕๐๐ เกาะ
    -ต้นไม้ที่เป็นสัญญลักษณ์ประจำทวีปคือ ต้นซึก  ส่วนสูงวัดได้  ๑๐๐  โยชน์   รอบลำต้นวัดได้  ๑๕  โยชน์   มีกิ่ง  ๔  กิ่ง  แผ่ออกไปทั้ง  ๔  ทิศ   แต่ละกิ่งยาววัดได้  ๕๐  โยชน์  ตันไม้นี้มีอายุยืนได้หนึ่งวิวัฏฏัฏฐายีกัปป์
    -มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้มีรูปใบหน้ากลมเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คือมีลักษณะตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตรพระ
    -มีรูปร่างสูง ๙ ศอก 
    -มีอายุยืนได้  ๗๐๐  ปี  จึงจะตาย รักษาศีล ๕ ได้ครบทุกข้อ 
    -แผ่นดินที่เป็นเนื้อที่ของทวีปนี้ เป็นสีขาวเหมือนน้ำนม  ท้องฟ้าในทวีปนี้ก็เป็นสีเหมือนเงิน  มหาสมุทรในทวีปนี้ชื่อว่า "ขีรสาคร"   น้ำในมาสมุทรมีสีขาวเหมือนน้ำนม   
    -เด็กที่เกิดในทวีปนี้เกิดมาเพียงชั่วครู่จะโตเท่ากับเด็กที่เกิดในชมพูทวีปที่มีอายุได้ ๕ เดือน     
    -มนุษย์ในปุพพะวิเทหะทวีปนี้มีผิวกายหลายสีคือ  สีขาวก็มี  สีทองก็มี  สีดำก็มี  สองสีผสมกันก็มี  สีด่างพร้อยเหมือนกับมนุษย์ในชมพูทวีปก็มี
                 ผ้านุ่งและผ้าห่มของมนุษย์ในปุพพะวิเทหะทวีป
    ผ้านุ่งและผ้าห่มของมนุษย์ในปุพพะวิเทหะทวีป  มีด้วยกันหลายสีหลายชนิด   เช่น:-
      ๑.ผ้ากัปปาสิะพัสตร์  ที่ทอด้วยด้ายก็มี
      ๒.ผ้าโกไสยพัสตร์  ที่ทอด้วยผ้าไหมก็มี
     ผ้าทั้งหลายเหล่านี้มีราคาแพงก็มี  มีราคาถูกก็มี  เนื้อหยาบก็มี  เนื้อละเอียดก็มี
                  เครื่องประดับของชาวปุพพะวิเทหะทวีป
    เครื่องประดับของชนชาวปุพพะวิเทหะทวีป เป็นทองคำก็มี  เป็นเงินก็มี  เป็นแก้วก็มี
                  บ้านเรือนของชาวปุพพะวิเทหะทวีป
    บ้านเรือนของชาวปุพพะวิเทหะทวีป  เป็นปราสาทหลังยาวๆก็มี   เป็นปราสาทสี่เหลี่ยมก็มี   เป็นตึกกว้างก็มี   เป็นเรือนยอดก็มี   เป็นเรือนไม่มียอดก็มี   บ้านเรือนบ้างหลังสร้างด้วยทองคำก็มี    บ้านเรือนบางหลังสร้างด้วยเงินก็มี   บ้างหลังสร้างด้วยศิลาก็มี   บางหลังสร้างด้วยแก้วก็มี   บางหลังสร้างด้วยปูนและดินก็มี   บ้างหลังสร้างด้วยไม้ต้นใหญ่ๆก็มี   บางหลังสร้างด้วยไม้ไผ่ก็มี
                 อาหารองชาวปุพพะวิเทหะทวีป
     อาหารสำหรับหล่อเลี้ยงชีวิตในปุพพะวิเทหะทวีปนั้น  ได้แก่  ข้าวสตู   ข้าวสุก   ถั่วและงา   เนื้อและปลาก็มีอยู่บ้างแต่ไม่มากเหมือนในชมพูทวีป     คนในปุพพะวิเทหะทวีปจะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  ถ้าจะกินเนื้อปลาก็กินแต่เนื้อและปลาที่ตายแล้วเท่านั้น
                 สังคมของชาวปุพพะวิเทหะทวีป
    ในปุพพะวิเทหะทวีปก็มีการสะสมทรัพย์สมบัติเหมือนกัน   การทำไรไถนาก็มีเหมือนกับในชมพูทวีป   แต่การค้าขายไม่มีในปุพพะวิเทหะทวีป  ของทุกอย่างในปุพพะวิเทหะทวีป
จะไม่ขายมีอะไรก็แบ่งกันกินกันใช้ไม่ต้องซื้อขายและแก่งแย่งกัน
     คนในปุพพะวิเทหะทวีปเวลาตาย  ก็จะนำไปเผาก็มี   นำเอาไปฝังก็มี   และนำเอาไปโยนทิ้งก็มี  เหมือนในชมพูทวีป
     ในเวลาที่จะแต่งงานกัน เจ้าบ่าวก็จะต้องไปขอเจ้าสาวเหมือนกับในขมพูทวีป  เวลามีครรภ์ก็จะบำรุงเลี้ยงดูให้ดีเหมือนในชมพูทวีป   แต่การร่วมสังวาสกันจะมีแค่  ๖  ครั้งเท่านั้นในชีวิต   แต่ในชมพูทวีปนับครั้งไม่ถ้วน
              ต้นไม้เครือไม้และป่าไม้ในปุพพะวิเทหะทวีป
    ต้นไม้เครือไม้และป่าไม้ในปุพพะวิเทหะทวีป มีสีสันและสัณฐานต่างๆกัน  เช่น  สีขาว
สีเขียว   สีดำ   สีแดง   สีหงสบาท  เหมือนในชมพูทวีป  แต่ในปุพพะวิเทหะทวีปไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าเหมือนในชมพูทวีป
                  เครื่องอุปโภคบริโภคในปุพพะวิเทหะทวีป
    เครื่องอุปโภคบริโภคและของกินของใช้ต่างๆ ในปุพพะวิเทหะทวีป ก็มีเหมือนในชมพูทวีป  แต่ในปุพพะวิเทหะทวีปไม่มีการบวชพระบวชเณร และศาสนาต่างๆ เหมือนในชมพูทวีป
     ๐นี้คือลักษณะทั่วไปของปุพพะวิเทหะทวีป
         

 

    
        
                  
 
                      
          
 
        

      

 

  

 

 

 

    

            

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

 

Visitors: 139,924