๒.สูตรยาสมุนไพร

  

  
                           ยาแก้สารพัดโรค
   
       
            สูตรยาแก้สารพัดโรค

   ๑.ลูกจันทร์                                  หนัก     ๑      เฟื้อง
   ๒.ดอกจันทร์                               หนัก     ๑      สลึง
   ๓.ลูกกระวาน                               หนัก     ๑      สลึง
   ๔.การบูร                                     หนัก     ๒      สลึง
   ๕.ดีปลี                                        หนัก     ๒      สลึง      ๑   เฟื้อง
   ๖.พิลังกาสา                                หนัก     ๓      สลึง
   ๗.อำพัน                                     หนัก     ๓      สลึง      ๑   เฟื้อง
   ๘.โกฏสอ                                    หนัก     ๑      บาท
   ๙.โกฏเขมา                                หนัก      ๑     บาท      ๑   เฟื้อง
   ๑๐.เทียนดำ                                หนัก      ๑     บาท      ๑   สลึง
   ๑๑.เทียนแดง                              หนัก     ๕     สลึง      ๑   เฟื้อง
   ๑๒.เทียนตาตั๊กแตน                    หนัก      ๖     สลึง      ๑   เฟื้อง
   ๑๓.เทียนแกลบ                           หนัก      ๖     สลึง
   ๑๔.ขิงแห้ง                                 หนัก      ๗    สลึง      ๑   เฟื้อง
   ๑๕.เจตมูลเพลิง                          หนัก      ๒    บาท
   ๑๖.สมอไทย                               หนัก      ๒     บาท     ๑    เฟื้อง
   ๑๗.สมอเทศ                              หนัก      ๙    สลึง
   ๑๘.หัวบุกลอ ( บกหวาน )           หนัก      ๙    สลึง      ๑   เฟื้อง
   ๑๙.กานพลู                                หนัก      ๑๐   สลึง
   ๒๐.หัสคุณเทศ                           หนัก      ๕     บาท     ๑   สลึง   ๑   เฟื้อง
   ๒๑.ใบกัญชาเทศ                       หนัก      ๓๑   บาท     ๒   สลึง    ๑   เฟื้อง
   ๒๒.พริกไทยอ่อน                       หนัก      ๓๐   บาท     ๓   สลึง    ๑   เฟื้อง
   ๒๓.ต้นเหงือกปลาหมอลูกดอกใบ หนัก     ๓๐    บาท
              สรรพคุณยาแก้สารพัดโรค
   ๐สรรพคุณยาแก้สารพัดโรคขนานนี้ สามารถแก้โรคได้หลายอย่างดังนี้
    -แก้โรคเรื้อน
    -แก้โรคมะเร็ง
    -แก้โรคริดสีดวง
    -แก้โรคง่อย
    -แก้โรคพุงโร
    -แก้โรคไส้พอง
    -แก้โรคท้องใหญ่
    -แก้โรคท้องมาน
    -แก้โรคไส้เลื่อน
    -แก้โรคหิด ๒๐ จำพวก
    -แก้โรคลม ๑๐๘ จำพวก
    -แก้โรคกุตถัง ๒๐ จำพวก
    -แก้โรคเสมหะ ๒๐ จำพวก
    -แก้โรคหอบหืด
    -แก้โรคตามืดตาฟาง
    -แก้โรคหูหนวก หูตึง
    -แก้โรคเดินมักเจ็บสะโพก
    -แก้โรคหลังเสียดแทง
    -แก้โรคลมจุกอก
    -แก้โรคขี้เรื้อน
    -แก้โรคคุตทะลาด
    -แก้โรคบาดทะยัก
    -แก้โรคลมกระตุกทั้งสารพางค์กาย
    -แก้โรคลมชักหาวเรอ
    -แก้โรคตาแพก
    -แก้โรคเจ็บคอหอย
    -แก้โรคจามไอทุกค่ำเช้า
    -แก้โรคบวมช้ำทั้งตัว
    -แก้โรคฝีดาษ
    -ลมวิงเวียนศรีษะ
    -แก้โรคลมชักปากเบี้ยว
    -แก้โรคตาแหก
    -ฉก้โรคเจ็บคอหอย
    -แก้โรคบวมช้ำทั้งตัว
    -แก้โรคลมอัสสาสะปัสสาสาสะพิการ (โรคลมหายใจเข้าลมหายใจออกผิดปกติ)
    -แก้โรคโลหิตมาไม่สม่ำเสมอ
    -แก้โรคธาตุทั้ง ๔ ไม่เสมอกัน
    -แก้โรคลมมักให้นอนหลับและไม่หลับ
    -แก้โรคลมมักให้ขึ้งโกรธ
    -แก้โรคมือตายตีนตายเดินไม่ได้
   ๐วิธีปรุงยา บดเป็นผงละลายน้ำผึ้ง หรือน้ำนมวัวหรือเนย ปั้นเป็นเม็ดเท่ากับเม็ดในพุดซากินวันละ ๓ เวลา  ยานี้เป็นยาดีที่มีคุณภาพมากเพราะได้ทดลองและเห็นผลมามากแล้วใครยากมีอายุยืนเกิน ๑๐๐ ปี ให้ทำกินเถิดและยาแก้สารพัดโรคขนานนี้เป็นอายุวัฒนะชั้นยอดของประเทศไทยเลยทีเดียวได้ใช้มามากแล้ว
 ผู้ที่กินยานี้หายจากโรคร้ายแล้ว
    ๑.ตาแก้ว    หายจากโรคขี้เรื้อน
    ๒.นายมาก   หายจากโรคมะเร็ง
    ๓.นายสังข์   หายจากโรคริดสีดวงทวาร
    ๔.นายคง    หายจากโรคเป็นง่อย
         สถานที่ซื้อยา
       ๑.ร้าน 5 เภสัชกร
           เจ้าของร้านชื่อ  หมอสุวัตร์   ตั้งจิตรเจริญ
      239 - 241 ข้างธนาคารกสิกรไทย   ถนนประขาธิปก  เขตคลองสาน   กทม.  10600    ใกล้กับวงเวียนเล็ก  ฝั่งธนบุรี   ลงสพานพุทธ ฯ ไปไม่ถึง 2 ป้ายรถเมล์  ถ้าลงสพานพุทธฯ ร้านนี้จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ
     -เบอร์โทรศัพท์: 02-4379297      
    5 เภสัชกร - 5 PHARMACY
      ประเภท: สาธารณสุข   ร้านขายยา  
      Marker Icon 706,708 ถนน ประชาธิปก แขวง สมเด็จเจ้าพระยา เขต คลองสาน จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10600
      Phone Icon (+66) 24379297
          คลิกดู
     ร้านนี้ขายยาซื่อสัตย์ดีไม่หลอกลูกค้า
 
       ๒.ร้านเจ้ากรมเป๋อ
      
           บริษัท เจ้ากรมเป๋อ จำกัด
           ๒๒๙-๒๓๑ จักรวรรดิ กรุงเทพมหานคร โทร.๐๒-๒๒๑-๓๒๗๒
           เปิด : วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา ๘.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
           ปิด : วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
                วิธีสั่งซื้อยาให้คลิกดูที่ลิงค์ข้างล่างนี้
           ร้านนี้หาง่ายอยู่หน้า วัดจักรวรรดิราชาวาส
        วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร  (วัดสามปลื้ม)
        เลขที่ ๒๒๕ ถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพมหานคร
        พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร
        นิกาย : มหานิกาย    เบอร์โทร : 026229085
    
               คำเตือน
     ถ้าซื้อที่ร้านขายยาในต่างจังหวัดต้องระวัง  เพราะตัวยาไหนไม่มีเขาจะโมเมเอาตัวยาอื่นใส่ให้เรา ยาที่ได้มาเมื่อนำมาทำกินแล้วจะไม่มีคุณภาพตามสรรพคุณที่กล่าวอ้างไว้  เราก็จะเข้าใจผิดคิดว่ายาไม่ดี   ข้อนี้จงจำเอาไว้ให้ดี
 
          หญ้างวงช้าง
   
    https://www.youtube.com/watch?v=F0LcJLi51_Q
     หญ้างวงช้าง
   ชื่อวงศ์ : BORAGINACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliotropium indicum R.Br.
ชื่อสามัญ : Indian Heliotrope
ชื่อพื้นเมืองอื่น : หญ้างวงช้างน้อย (ภาคเหนือ) ; หญ้างวงช้าง (ทั่วไป) ; ผักแพวขาว (กาญจนบุรี) ; กุนอกาโม (มลายู-ปัตตานี)
   สรรพคุณ ทั้งต้น รสขมสุขุม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง
     ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
   ไม้ล้มลุก (H) แตกกิ่งก้านสาขา ต้นสูง 15-60 ซม. มีขนทั่วไป ออกดอกเพียงครั้งเดียวแล้วก็ตาย
   ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันหรือเกือบจะตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจเล็กน้อยและเป็นครีบลงไปตามก้านใบ ก้านใบยาว เนื้อใบขรุขระมีขน
   ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด เป็นช่อเดี่ยวหรือช่อคู่ ปลายช่อม้วนเหมือนงวงช้าง ดอกเรียงเป็นแถวอยู่ด้านเดียว สีขาวหรือสี ฟ้า มีขนาดเล็ก กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ ฐานเชื่อมติดกัน ด้านนอกมีขนยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อทรงกระบอก คอคอด ปลายแยกเป็นกลีบสั้น ๆ 5 กลีบ เวลาบานกางออก ด้านนอกมีขน เกสรตัวผู้ 5 อันติดอยู่ภายในท่อ เกสรตัวเมีย 2 อันติดกันที่ฐาน
   ผล ลักษณะรูปไข่ ขนาดเล็ก เปลือกแข็ง 2 ผลติดกัน แต่ละผลภายในมี 2 ช่อง ช่องหนึ่งมี 1 เมล็ด ผลมีสีดำ
        นิเวศวิทยา
   เป็นไม้กลางแจ้ง มักพับขึ้นทั่วไปในที่ที่มีความชื้น
   การปลูกและขยายพันธุ์
   เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
           ประโยชน์ทางยา
   รสและสรรพคุณในตำรายา
   ราก รสเย็นเฝื่อน โขลกคั้นเอาน้ำหยอดตาแก้ตาเจ็บ ตามัว ตาฟาง
   ทั้งต้น รสเย็นเฝื่อน แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้หืด แก้ไข้ แก้ขัดเบา ดับพิษร้อน ลดบวม ปอดอักเสบ
มีหนองในช่องปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โรคชักในเด็ก ปากเปื่อย แผลบวมมีหนอง แก้ตาฟาง
   ใบ รสเย็นเฝื่อน หยอดหู รักษาโรคผิวหนัง พอกฝี พอกแผล น้ำจากใบ รสเย็นเฝื่อน ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดแล้ว
คั้นเอาน้ำรักษาสิว ทำยาหยอดตาแก้ตาฟาง ทำยาอมกลั้วคอแก้เจ็บคอ แก้กระหายน้ำ ลดน้ำตาลในเลือด
   ดอก รสเย็นเฝื่อน ต้มเอาน้ำดื่มโดยใช้แต่น้อย ๆ เป็นยาขับระดู ถ้าใช้มากอาจทำให้แท้งได้
      วิธีและปริมาณที่ใช้
   แก้อาการไอ ขับปัสสาวะและแก้หอบหืด ใช้ลำต้นสดประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำให้เดือดแล้วกรองเอาน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 1-2 เวลา
   รักษาสิว พอกแผลและรักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ใบสด 10-20 ใบ นำมาโขลกให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นสิว หรือโขลกให้ละเอียดแล้วใช้พอกแผล พอกฝี
         ข้อควรทราบ
   สตรีตั้งครรภ์ ถ้าใช้มากเกินขนาด อาจทำให้แท้งได้
ทั้งต้นมี Indicine เป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง Indicine ทำให้เกิดโรคตับอักเสบ ในสัตว์เคี้ยวเอื้องจะแสดงอาการชัดเจน
   หญ้างวงช้าง ยาเทวดา ปลูก? รักษา ภูมิแพ้ และ...? ต้มทาน
   * ใส่มวนยาสูบ * หมักเป็นยา สมุนไพร? ลุงหมอ
ยาดีที่มีคน ชอบถอนทิ้ง?
   **การเก็บมาใช้ เก็บทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด
    -ใช้สดหรือตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้ก็ได้
     สรรพคุณหญ้างวงช้าง
   -ต้นมีรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ไซนัส ภูมิแพ้ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนองและแก้ตาฟาง ว่ากันว่า ชาวบ้านย่าน  นครปฐม นำใบและต้น มาผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำซอย แล้วมวนเป็นยา สูบ 4 มวน โรคภูมิแพ้ที่แสนจะน่ารำคาญ กลับ
หายเป็นปลิดทิ้ง
   -ทั้งต้น รสขมสุขุม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ- ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม
แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะเด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม- มีหนอง แก้ตาฟาง -ใบ รสเย็นเฝื่อน ตำคั้นเอาน้ำหยอดหู- แก้ฝีในหู ปวดหู หยอดตาแก้ตาฟาง อมกลั้วคอ -แก้เจ็บคอ แก้กระหายน้ำ ดื่มลดน้ำตาลในเลือด ทาแก้สิว
   - ดอก,ราก รสเย็นเฝื่อน  ต้มดื่มพอเหมาะ ขับระดู ใช้มากอาจทำให้แท้งได้
   -ราก รสเย็นเฝื่อน คั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตาเจ็บ ตามัว  ตาฟ้าฟาง
   -ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ดีพิษตานซาง แก้กระหายน้ำ รักษาเริมงูสวัด ขยุ้มตีนหมา  แก้ไข้ แก้โรคตา แก้หนองใน ขับปัสสาวะ ละลายนิ่ว แก้น้ำเหลืองเสีย
           วิธีใช้
1.กิน ใช้ยาสดต้มกิน หรือคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งกิน
2.ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง หรือคั้นเอาน้ำมาอมบ้วนปาก
3. แก้แผลฝีเช้เป็นยาพอกรักษาแผล (ใบ)
   -ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาลดบวม ช่วยแก้แผลบวมมีหนอง ช่วยลดอาการปวดบวมฝีหนอง (ทั้งต้น)
   -ใบใช้เป็นยาพอกฝี รักษาโรคผิวหนัง (ใบ) ส่วนในประเทศอินเดียนอกจากจะใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังแล้วยัง
ใช้แก้กลากเกลื้อน ไฟลามทุ่ง และแมลงสัตว์กัดต่อยด้วย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[9] ช่วยแก้แผลฝีเม็ดเล็กๆ มีหนอง ด้วย
การ
   -ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม ผสมกับเกลือเล็กน้อย นำมาต้มกับน้ำกิน และให้นำใบสดมาตำกับข้าวเย็น (ไม่ได้ระบุว่า
ข้าวเย็นเหนือหรือข้าวเย็นใต้) ใช้พอกแผลด้วย (ราก,ใบ)
   -ใช้รักษาอาการฟกช้ำ (ประเทศอินเดีย-ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
   -ในบางตำราจะใช้ทั้งต้นหญ้างวงช้าง ผสมกับใบและดอกชุมเห็ดไทย และใบและดอกผักเสี้ยนผี ใช้เป็นยาพอกแก้ปวด ตามข้อ เช่น ข้อเข่า หัวใหญ่ โดยในขณะที่พอกให้พันด้วยผ้าไว้จนรู้สึกร้อนบริเวณที่พอก จากนั้นให้เปิดผ้าออกและ เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แล้วจึงทาด้วยน้ำมันมะพร้าวตาม (ให้เอาทั้งต้น)
   ส่วนในประเทศอินเดียจะใช้เป็นยารักษาไขข้ออักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
   นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่ระบุถึงสรรพคุณของหญ้างวงช้างไว้อีกหลายอย่าง เพียงแต่ข้อมูลดังกล่าวนั้นไม่มีแหล่งที่ที่น่าเชื่อถือได้ จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าหญ้างวงช้างมีสรรพคุณตามที่นั้นหรือไม่ ซึ่งจากข้อมูลได้ระบุสรรพคุณนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วว่า ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษตานซาง แก้หนองใน และที่ไม่ระบุส่วนที่ใช้ก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาเริม งูสวัด ขยุ้มตีนหมา เป็นต้น ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชระบุไว้ว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อรา ไล่แมลง คุมกำเนิด เร่งการสมานแผล ฯลฯ เป็นต้น ม็ดเล็กๆ มีหนอง ใช้รากสด ผสมเกลือเล็กน้อย ต้มน้ำกิน
  
      สรรพคุณพิเศษของหญ้างวงช้าง
   น้ำจากใบหญ้างวงช้างมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (น้ำจากใบ) ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้โรคชักในเด็ก (ทั้งต้น) ช่วยแก้เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อย ๆ (ทั้งต้น)
ใบสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาหยอดหู (ใบ)  น้ำจากใบใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตาฟาง ส่วนทั้งต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ตาฟางเช่นกัน (น้ำจากใบ,ทั้งต้น)
รากสดนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้หยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาเจ็บ ตาฟาง ตามัว (ราก)
ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้โรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน (ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการปากเปื่อย ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำใช้บ้วนปากและกลั้วคอวันละ 4-6 ครั้ง (ทั้งต้น)
   ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาต้มเอาแต่น้ำกินเป็นยา (ทั้งต้น)
   ทั้งต้นใช้เป็นยาเย็น ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ดับร้อนใน (น้ำจากใบ,ทั้งต้น)
   ทั้งต้นมีรสขม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอดและกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาแก้อาการไอ ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมา ต้มเอาแต่น้ำกิน (ทั้งต้น) น้ำจากใบใช้ทำเป็นยาอมกลั้วคอจะช่วยแก้อาการเจ็บคอได้ (น้ำจากใบ)  ช่วยแก้หอบหืด ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ทั้งต้น)  ช่วยแก้ปอดอักเสบ แก้ฝีในปอด มีฝีมีหนองในช่องหุ้มปอด ด้วยการใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาต้มผสมกับน้ำผึ้งรับกิน หรือจะใช้ทั้งต้นสดประมาณ 60-120 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำผึ้งกินก็ได้ (ทั้งต้น)  ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ต้น) ใช้แก้อาการปวดท้องอันเกิดจากอาหารเป็นพิษ ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มผสมกับหญ้าปันยอด (ชั้วจ้างหม่อ) และต้นว่านน้ำ (แป๊ะอะ) (ต้น) ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้บิด (ทั้งต้น)
   ในประเทศอินจะใช้หญ้างวงช้างเป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) และเฉพาะส่วนของเมล็ดจะใช้เป็นยารักษาอาการเจ็บปวดของกระเพาะอาหาร (เมล็ด)
ช่วยขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาต้มเอาแต่น้ำกินเป็นยา (ทั้งต้น) ดอกและรากใช้น้อยมีสรรพคุณเป็นยาขับระดู แต่หากใช้มากอาจทำให้แท้งบุตรได้ ด้วยการใช้ดอกสดนำมาต้มกิน (ราก,ดอก)  ใช้แก้หนองในช่องคลอด (ทั้งต้น)  ใบใช้เป็นยาพอกรักษาแผล (ใบ) ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาลดบวม ช่วยแก้แผลบวมมีหนอง ช่วยลดอาการปวดบวมฝีหนอง (ทั้งต้น)  ใบใช้เป็นยาพอกฝี รักษาโรคผิวหนัง (ใบ)
   ส่วนในประเทศอินเดียนอกจากจะใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังแล้วยังใช้แก้กลากเกลื้อน ไฟลามทุ่ง และแมลงสัตว์กัดต่อยด้วย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[9] ช่วยแก้แผลฝีเม็ดเล็ก ๆ มีหนอง ด้วยการใช้รากสดประมาณ 60 กรัม ผสมกับเกลือเล็กน้อย นำมาต้มกับน้ำกิน และให้นำใบสดมาตำกับข้าวเย็น (ไม่ได้ระบุว่าข้าวเย็นเหนือหรือข้าวเย็นใต้) ใช้พอกแผลด้วย (ราก,ใบ) ใช้รักษาอาการฟกช้ำ (ประเทศอินเดีย-ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
   ในบางตำราจะใช้ทั้งต้นหญ้างวงช้าง ผสมกับใบและดอกชุมเห็ดไทย และใบและดอกผักเสี้ยนผี ใช้เป็นยาพอกแก้ปวดตามข้อ เช่น ข้อเข่า หัวใหญ่ โดยในขณะที่พอกให้พันด้วยผ้าไว้จนรู้สึกร้อนบริเวณที่พอก จากนั้นให้เปิดผ้าออกและเปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แล้วจึงทาด้วยน้ำมันมะพร้าวตาม (ทั้งต้น)[9] ส่วนในประเทศอินเดียจะใช้เป็นยารักษาไขข้ออักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่ระบุถึงสรรพคุณของหญ้างวงช้างไว้อีกหลายอย่าง เพียงแต่ข้อมูลดังกล่าวนั้นไม่มีแหล่งที่ๆน่าเชื่อถือได้ จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าหญ้างวงช้างมีสรรพคุณตามที่นั้นหรือไม่ ซึ่งจากข้อมูลได้ระบุสรรพคุณนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วว่า ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษตานซาง แก้หนองใน และที่ไม่ระบุส่วนที่ใช้ก็มี
    สรรพคุณเป็นยาแก้น้ำ
เหลืองเสีย รักษาเริม งูสวัด ขยุ้มตีนหมา เป็นต้น ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชระบุไว้ว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อรา ไล่แมลง คุมกำเนิด เร่งการสมานแผล ฯลฯ เป็นต้น
   หมายเหตุ : การเก็บสมุนไพรชนิดนี้มาใช้ ให้เก็บทั้งต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่และมีดอก นำมาล้างให้สะอาด จะใช้เป็นยาสดหรือนำมาตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้
   ส่วนวิธีใช้ตาม และ ให้ใช้ต้นสดครั้งละ 30-60 กรัม นำมาคั้นเอา
แต่น้ำผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน (แต่ถ้าเป็นต้นแห้งให้ใช้เพียงครั้งละ 10-20 กรัม) ถ้าใช้ภายนอกให้นำมาต้มเอาน้ำ
ชะล้าง หรือคั้นเอาแต่น้ำใช้อมบ้วนปาก
   ข้อห้ามใช้ หญิงมีท้องห้ามกิน
 
                  ต้นปีกแมลงสาบชนิดใบแดง
   
   ๐สรรพคุณ:-แก้ตกเลือด   แก้เลือดคั่งในสมองและในอก  หกล้ม   ตกต้นไม้   อุบัติเหตุรถคว่ำรถชนกัน   คนสูงอายุล้มในห้องน้ำ   โดยไม่ต้องย่างด้วยใบหนาด
   ๐วิธีรับประทาน  ให้เอาต้นปีกแมลงสาบ  ๑  กำมือ ของคนป่วย  ต้นจนน้ำเป็นสีแดง  ให้คนป่วยกินวันละ  ๓  แก้ว   คือตอนเช้าหนึ่งแก้ว  ตอนเที่ยงหนึ่งแก้ว  และตอนเย็นก่อนจะเข้านอนดื่มอีกหนึ่ีงแก้ว  จะแก้เลือดครั่งในร่างกายได้ดีมากกว่ายาชนิดอื่น
             ว่านกาบหอย
    
        สรรพคุณว่านกาบหอย
            ว่านกาบหอย
   สมุนไพรว่านกาบหอย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กาบหอยแครง ว่านหอยแครง (กรุงเทพฯ), อั่งเต็ก ฮ่ำหลั่งเฮี๊ยะ (จีนแต้จิ๋ว), ปั้งหลานฮวา ปั้งฮัว (จีนกลาง) เป็นต้น
   ลักษณะของว่านกาบหอย
ต้นว่านกาบหอย มีถิ่นกำเนิดในแถบเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง มีเขตการกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่าง ๆ รวมทั้งทวีปเอเชียด้วย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มักขึ้นเป็นกอ ๆ ไม่มีการแตกกิ่งก้าน ลำต้นอวบใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร  ขยายพันธุ์ด้วยไหลหรือยอด[5] หรือปักชำในพื้นที่ปลูกในช่วงฤดูฝน หรือปักชำในถุงเพาะชำในโรงเรือนนอกฤดูฝน เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึงครึ่งวัน
   ว่านกาบหอยแครง หรือ ว่านหอยแครง
         ใบว่านกาบหอย
   ใบว่านกาบหอย ใบออกจากลำต้น ออกเรียงเป็นวงซ้อนกันหลายชั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหอกยาวหรือรูปแกมขอบขนานปลายแหลม ปลายใบแหลม โคนใบตัดและโอบลำต้น ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาและตั้งตรง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนหลังใบเป็นสีม่วงแดง เส้นใบขนาน มองเห็นไม่ชัด และไม่มีก้านใบ
     ดอกว่านกาบหอย
   ดอกว่านกาบหอย ออกดอกเป็นช่อที่โคนใบหรือตามซอกใบ ช่อดอกมีทั้งช่อเดี่ยวและหลายช่อ ในแต่ละช่อประกอบไปด้วยใบประดับที่เป็นมีลักษณะเป็นกาบ 2 กาบ สีม่วงแซมเขียว ลักษณะเป็นรูปหัวใจโค้ง มีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอบหุ้มดอกขนาดเล็กสีขาวที่อยู่รวมกันเป็นกระจุก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ที่โคนก้านช่อดอกมีใบประดับ 1 ใบ สีม่วงแซมเขียว ลักษณะเป็นรูปไข่กลีบ มีก้านดอกยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร โคนก้านดอกมีใบประดับสีม่วงอ่อนเป็นเยื่อบาง ๆ ลักษะเป็นรูปไข่ ยาวได้ประมาณ 1 เซนติ เมตร ดอกมีกลีบสีขาวเลี้ยง 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาวได้ประมาณ 3-6 มิลลิเมตร มีลักษณะบางและใส ส่วนกลีบดอกมี 3 กลีบ กลีบเป็นสีขาว ลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร แผ่นกลีบดอกหนา ตรงใจกลางดอกมีเกสรเพศผู้เป็นขนฝอย 6 อัน ก้านชูอับเรณูเป็นสีขาว รูปเรียว มีขนยาว ส่วนปลายก้านแผ่แบนเป็นสีเหลือง อับเรณูเป็นสีแดง รังไข่ผนังเรียบ ภายในมีช่อง 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 1 เม็ด โดยจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน
    ผลว่านกาบหอย ผลเป็นผลแห้งเมื่อแตกจะแยกเป็นแฉก 2-3 แฉก ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก
     สรรพคุณของว่านกาบหอย
   ใบและดอกมีรสจืดชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับละปอด ใบใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ โดยใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่มเป็นยา (ใบ) ใช้แก้เลือดกำเดาไหล ด้วยการใช้ดอกว่านกาบหอย 10 กรัม หรือดอกประมาณ 20-30 ดอก นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ดอก)
หากมีไข้ตัวร้อน ให้ใช้ใบแก่ประมาณ 10-15 ใบ นำมาต้มกับน้ำจนเดือดแล้วตักใบออก เติมน้ำตาลกรวด ใช้ดื่นกินเป็นประจำเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)
   ตำรายาไทยใช้ใบสดเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ไอ โดยใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่มเป็นยา (ใบ)
   ตำรายาแก้ไอร้อนในปอด แก้อาการไอเป็นเลือด ให้ใช้ใบว่านกาบหอย 10 กรัม นำมาต้มกับฟัก ใส่น้ำตาลกรวดเล็กน้อย ใช้รับประทาน (ใบ)
   ใช้แก้หวัด แก้ไอ แก้ไอเนื่องจากหวัด ให้ใช้ดอกประมาณ 20-30 ดอก นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ดอก) ช่วยแก้เสมหะมีเลือด ด้วยการใช้ดอกว่านกาบหอยประมาณ 20-30 ดอก นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ดอก) ดอกมีรสชุ่มเย็น ใช้ต้มกับเนื้อหมูรับประทานเป็นยาช่วยขับเสมหะ แก้ไอแห้ง ๆ (ดอก) แก้อาเจียนเป็นเลือด ให้ใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่มเป็นยา (ใบ,ดอก)
   ใบและรากหากใช้ในปริมาณมากจะเป็นยาทำให้อาเจียนได้ (ใบและราก)
ช่วยแก้บิด ถ่ายเป็นเลือด (ใบ,ดอก)[1],[3] ตำรายาแก้บิดระบุให้ใช้ยาสด 120 กรัม (เข้าใจว่าคือส่วนของดอก) แลน้ำตาล 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินตอนอุ่น ๆ โดยทั่วไปกิน 1 ชุด ก็จะเห็นผลแล้ว และเมื่อกินติดต่อกันไปอีก 3-4 ชุด จะหายขาด และไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด (ดอก) ช่วยแก้บิดจากแบคทีเรีย ให้ใช้ดอกแห้ง 20-30 ดอก นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก) ใช้แก้กรดไหลย้อน โดยใช้ใบว่านกาบหอยแครงและใบเตยสด อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำจนเดือด ใช้ดื่มต่างน้ำทั้งวัน วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และเกลือป่นอีกเล็กน้อย แล้วอาการของกรดไหลย้อนจะค่อย ๆ ดีขึ้น ถ้าต้องการให้หายขาดก็ให้ดื่มติดต่อกันเป็นเวลา 3-6 เดือน แต่มีข้อแม้ว่าห้ามกินแล้วนอนอย่างเด็ดขาด และหลังกินอาหารต้องออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยทุกครั้ง (ใบ)
ใบและรากหากใช้ในปริมาณมากจะมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย (ใบและราก)
   ตำรายาจีนจะใช้ดอกของว่านกาบหอยเป็นยาแก้อาการตกเลือดในลำไส้ (ดอก)
ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ใบ,ดอก) ในอินโดจีน จะใช้ต้นนำมาต้มเอาไอรมแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น) รากนำมาใช้เป็นยาบำรุงตับและม้ามพิการได้ดี (ราก) ในประเทศอินเดีย จะใช้ว่านกาบหอยผสมกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาพอกแก้ต่อมน้ำเหลืองบวม (ใบ) ใช้เป็นยาห้ามเลือด (ดอก) ในไต้หวันจะใช้เป็นยาพอกแผล มีดบาด และแก้บวม (ดอก) ตำรายาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน อันเกิดจากการทำนา ให้ใช้น้ำคั้นจากใบว่านกาบหอยมาทาบริเวณมือและเท้า และปล่อยให้แห้งแล้วค่อยลงไปทำนา โดยการทาน้ำคั้นจากใบของต้นว่านกาบหอย 1 ครั้ง ก่อนลงและหลังลงไปทำนา จะช่วยป้องกันมือและเท้าเน่าเปื่อยได้ดี หากมือและเท้าเน่าเปื่อยแล้ว ก็ให้ทาเพื่อรักษาได้เช่นกัน ซึ่งจากการทดสอบ 2,000 ราย พบว่าได้ผลดี (ใบ)
   ในประเทศอินเดียจะใช้ว่านกาบหอยผสมกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาพอกรักษาโรคผิวหนัง และโรคเท้าช้าง (ใบ) ส่วนในประเทศมาเลเซียจะใช้ใบเป็นยาแก้คุดทะราด และในชวาจะใช้เป็นยาแก้กลาก (ใบ) ช่วยแก้อาการฟกช้ำ แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจกการพลัดตกจากที่สูง หรือเกิดจากการหกล้มฟาดถูกของแข็ง ให้ใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อยใช้ดื่มเป็นยา (ใบ)
    หมายเหตุ : ให้ใช้ใบสดหรือใบที่ตากแห้งแล้วเก็บไว้ใช้ ส่วนดอกให้เก็บดอกที่โตเต็มที่ แล้วนำมาตากแห้งหรืออบด้วยไอน้ำ 10 นาที แล้วจึงนำไปตากแห้งเก็บไว้ใช้ และวิธีการใช้ตาม [1] และ [3] ให้ใช้ใบแห้งครั้งละ 15-35 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้ใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอก ส่วนดอก ถ้าเป็นดอกแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม แต่ถ้าเป็นดอกสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้เข้าตำกับตำรายาอื่น
   ถ้าฟกช้ำ ก็ให้ใช้ต้นสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น หรือหากวัวปัสสาวะเป็นเลือด ก็ให้ใช้ต้นแห้งร่วมกับผักกาดน้ำ อย่างละประมาณ 60-120 กรัม ต้มกับน้ำให้วัวกิน หรือถ้าวัวถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ก็ให้ใช้ต้นว่านกาบหอยสด ๆ รวมกับพลูคาวสด และก้านบัวหลวงแห้ง อย่างละประมาณ 120-240 กรัม ผสมกับน้ำตาลทรายลงไปต้มให้วัวกิน เป็นต้น
                    ใบหญ้านาง
         
   หญ้านาง เป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่โบราณในการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงการนำมาทำอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง หมอเขียว ใจเพชร นักวิชาการสาธารณสุข ครูฝึกแพทย์แผนไทย และนักบำบัดสุขภาพทางเลือก เคยนำมาอธิบายไว้ในหนังสือ "ย่านาง สมุนไพรมหัศจรรย์" เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณมากมายของย่านาง ซึ่งทางภาคอีสานหมอยาโบราณเรียกย่านางว่า "หมื่นปี บ่ เฒ่า" แปลเป็นภาษากลางว่า "หมื่นปีไม่แก่" และในปัจจุบัน ย่านางถูกใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก เพื่อรักษาอาการป่วยต่าง ๆ รวมทั้งการปรับสมดุลในร่างกายเรามาทำความรู้จักกับพืชชนิดนี้กันให้มากกว่านี้ดีกว่า รับรองว่าจะต้องทึ่งกับสรรพคุณที่มากมายของย่านางแน่นอน
   ก่อนที่จะไปดูกันถึงเรื่องสรรพคุณและประโยชน์ เรามาทำความรู้จักกับพืชชนิดนี้กันก่อนดีกว่า
   ย่านาง หรือใบย่านาง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tiliacora triandra (Colebr.) Diels มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bamboo grass ทางภาคเหนือเรียกว่า จ้อยนาง ภาคกลางเรียก เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว และภาคใต้จะเรียกว่า ยาดนาง เป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 ซม. กว้าง 2-4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2-5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ ย่านางเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น สามารถช่วยดับพิษร้อนต่าง ๆ ได้
   หญ้านาง ตำรับยาแก้ไข้ สมุนไพรอายุวัฒนะ
   คุณค่าทางโภชนาการของใบย่านาง ในใบย่านาง 100 กรัมจะ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
          - พลังงาน 95 กิโลแคลอรี
          - เส้นใย 7.9 กรัม
          - แคลเซียม 155 มิลลิกรัม
          - ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
          - เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม
          - วิตามินเอ 30625 IU
          - วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม
          - วิตามินบีสอง 0.36 มิลลิกรัม
          - ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม
          - วิตามินซี 141 มิลลิกรัม
          - โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์
          - ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์
          - โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์
          - แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์
          - แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์
        สรรพคุณทางยาของหญ้านาง
   ย่านางนั้นมีสรรพคุณทางยาที่ขึ้นชื่อมากมาย ซึ่งสรรพคุณทางยาไม่ได้มีเพียงแค่ในใบย่านางเพียงอย่างเดียวแต่ส่วนอื่น ๆ ของต้นก็มีประโยชน์มากมายเช่นกัน
      *สรรพคุณรากหญ้านาง
  รากของหญ้านาง นิยมนำมาใช้เพื่อแก้อาการไข้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ หรือ ไข้ทับระดู และอาการเบื่อเมา นอกจากนี้รากของย่านางยังเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือยา 5 ราก หรือแก้วห้าดวง ซึ่งกระ ทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาสมุนไพร โดยยาดังกล่าวเป็นสามารถรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในขณะเริ่มแรกได้ โดยนำรากแห้งต้มกับน้ำครั้งละ 1 กำมือ แล้วดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง
    หญ้านาง ตำรับยาแก้ไข้ สมุนไพรอายุวัฒนะ
   *สรรพคุณใบหญ้านาง
   ใบหญ้านาง คือเป็นส่วนที่มีประโยชน์และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคมากที่สุด เพราะเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น และมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง นอกจากนี้ถูกจัดเอาไว้ในตำราสมุนไพรว่าเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของใบย่านางในการรักษาโรคมีดังนี้
   รักษาและป้องกันโรคภัยต่าง ๆ
      -ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
      -ช่วยป้องกันและบำบัดการเกิดโรคหัวใจ
      -ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งได้
      -สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็ง หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ จะทำให้ก้อนเนื้อมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
      -ช่วยป้องกันและรักษาโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะ
      -ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
      -ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน โดยไปลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลง
      -มีส่วนช่วยช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่าง ๆ
      -มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
      -ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
      -ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อตหรือมีเข็มแทงหรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
      -ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
      -ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
      -ช่วยรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ
      -ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
      -ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
          ระบบทางเดินอาหาร
      -ช่วยรักษาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
      -ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน
      -ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
      -ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
      -ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
      -ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน

       ระบบทางเดินหายใจ
      -ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
      -ช่วยรักษาอาการของโรคไซนัสอักเสบ

          ระบบผิวหนัง
       -ช่วยชะลอและลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัย
       -ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
       -ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำ ๆ สีน้ำตาลตามร่างกาย
       -ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
       -รักษาสิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนอง โดยการน้ำใบย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยว
หมากจนเหลว แล้วนำมาทา
       -ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
       -ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
       -ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
       -ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ
        ระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ
       -ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
       -ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
       -ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
       -ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้
       -ช่วยบำบัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
       -ช่วยป้องกันโรคไส้เลื่อน
       -ช่วยรักษาอาการตกขาว
       สร้างเสริมและบำรุงสุขภาพ
       -ช่วยลดน้ำหนัก โดยการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
       -ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านโรคในร่างกายให้แข็งแรง
       -ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
       -ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
       -ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
       -ช่วยในการบำรุงรักษาตับ และไต
       -ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
       -ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกาย
       -ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
       -ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อตหรือมีเข็มแทงหรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
       -ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้
       -ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
       -ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
       -ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้ง ตามัว แสบตา ปวดตา ตาลาย เป็นต้น
       -ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย
       -ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว หรืออาการเสมหะพันคอ
       -ช่วยลดอาการนอนกรน
       -ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
       -ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
       -ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
       -ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
     *สรรพคุณเถาหญ้านาง
     เถาของย่านางช่วยลดความร้อนและแก้พิษตานซาง และยังมีข้อมูลทางเภสัชวิทยาระบุอีกว่า สามารถช่วยต้านมาลาเรีย และยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ได้
      ประโยชน์ของใบหญ้านาง
     ใบหญ้านางนั้นมีประโยชน์ในการช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำและนุ่มชุ่มชื้น และยังมีการนำมาทำเป็นอาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของหน่อไม้ เพราะน้ำใบย่านางนั้นสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ แถมยังนิยมนำมาทำอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง หรือรับประทานสด ๆ กับน้ำพริกอีกด้วย
   หญ้านางตำรับยาแก้ไข้ สมุนไพรอายุวัฒนะ
      วิธีการทำน้ำใบหญ้านาง
  โดยส่วนใหญ่แล้วการนำหญ้านางมาใช้นั้นมักจะนำมาใช้โดยการคั้นน้ำและเอาไปเป็นส่วนผสมในการทำอาหารนำมาดื่มเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งหมอเขียวก็ได้แนะนำวิธีใช้ใบย่านางเอาไว้ในหนังสือ เรามาดูกันดีกว่าว่า น้ำใบย่านางนั้นมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง
     วิธีการทำน้ำใบหญ้านางสูตรหมอเขียว
  สูตรนี้ เป็นการใช้ใบหญ้านางในการเพิ่มคลอโรฟิลล์ คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลของร่างกาย ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้
       ใบหญ้านาง
     - เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200-600 ซีซี
     - ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
     - ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
     - ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

       วิธีทำ
   1. ใช้ใบหญ้านางสด มาล้างทำความสะอาดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น(แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง)
   2. กรองน้ำใบหญ้านางที่ได้ผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ
   3. ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่างหรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชม. มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วันโดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก
     หมายเหตุ
  ถ้าจะให้ได้รสชาติ คั้นกับใบเตย จะหอมอร่อยมาก หรือจะใส่กับน้ำมะพร้าวก็จะหอมชื่นใจมากขึ้น ( แต่ถ้าใส่น้ำมะพร้าวจะเสียเร็วนะ) ผักฤทธิ์เย็น นำมาคั้นร่วมกับย่านางก็ได้  เช่น  ผักบุ้ง ตำลึง ใบบัวบก ใบเตย

    วิธีการทำน้ำใบหญ้านางสูตรทั่วไป
     ส่วนผสม
    - ใช้ใบย่านาง 30-50 ใบ
    - น้ำดื่ม 4.5 ลิตร
    - ใบเตย 10 ใบ
     วิธีการทำ
   1. ตัดหรือฉีกใบย่านางและใบเตยให้เล็กลง แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด หรือขยี้ หรือนำไปปั่น
   2. กรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกรงตาถี่เอาแต่น้ำสีเขียว แล้วนำไปดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน ที่เหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็น ไว้ดื่มได้ 4 - 5 วัน ถ้ารสชาติเริ่มเปรี้ยวควรทิ้งทันที
    วิธีการทำน้ำใบหญ้างนางสูตรที่ 2
      ส่วนผสม
     - ใบย่านาง 5-20 ใบ
     - ใบเตย 1-3 ใบ
     - บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ
     - หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น
     - ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง-1 กำมือ
     - ใบเสลดพังพอน ครึ่ง–1 กำมือ
     - ว่านกาบหอย 3-5 ใบ
     วิธีการทำ
   1. ตัดหรือฉีกใบย่านาง ใบเตย ใบบัวบก หญ้าปักกิ่ง ใบเบญจรงค์ และใบเสลดพังพอนให้เล็กลง แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด หรือขยี้ หรือนำไปปั่น
    2. กรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกรงตาถี่เอาแต่น้ำสีเขียว แล้วนำไปดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน ที่เหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็น ไว้ดื่มได้ 4 - 5 วัน ถ้ารสชาติเริ่มเปรี้ยวควรทิ้งทันที
    ย่านาง ตำรับยาแก้ไข้ สมุนไพรอายุวัฒนะ
   นอกจากนี้ยังมี วิธีทำน้ำใบย่านางอีกสารพัดสูตรตามเข้าไปดูเลย "สูตรน้ำใบย่านาง"
    เทคนิควิธีการปั่นใบหญ้านาง
  การทำน้ำใบย่านาง โดยใช้เครื่องปั่นให้คงคุณค่าสารอาหาร เทคนิคอยู่ที่วิธีการปั่นคือ ไม่ควรกดปั่นครั้งเดียวจนใบย่านางละเอียด ควรใช้วิธีกดปั่น แล้วนับ 1-2-3-4-5 อย่างเร็ว แล้วรีบกดปิด รอให้น้ำใบย่านางหยุดหมุน แล้วกดปั่นอีกครั้งนับ 1-2-3-4-5 อย่างเร็วแล้วรีบกดปิด รอให้น้ำใบย่านางหยุดหมุนทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนใบย่านางละเอียด วิธีนี้ทำให้โมเลกุลของสารอาหารไม่เปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เสร็จแล้วจึงนำมากรองเอาแต่น้ำค่ะ
     แกงหน่อไม้ใส่ใบหญ้านาง
   หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมต้มหน่อไม้ต้องใส่ใบย่านาง ? ก็เพราะมีความเชื่อกันมาว่า หน่อไม้มีฤทธิ์ร้อน กินมาก ๆ จะทำให้ท้องอืด จึงต้องแก้ด้วยน้ำใบย่านางซึ่งมีฤทธิ์เย็น นี่เองที่ทำให้หน่อไม้กับใบย่านางกลายเป็นของคู่กันไปซะแล้ว
   ถ้ารู้แล้วว่า หน่อไม้กับใบย่านางเป็นของคู่กัน แบบนี้ก็ต้องลองมาทำเมนูที่มีทั้งหน่อไม้และใบย่านางกันดูสักหน่อย กับเมนูที่มีชื่อว่า แกงหน่อไม้ใบย่านาง เมนูโปรดของคออาหารอีสานรสแซ่บ ที่จะพาทุกคนไปอร่อยไปกับหน่อไม้กรอบๆ เข้ากันดีกับน้ำใบย่านาง แถมยังมีผัก และเห็ดนานาชนิดเต็มถ้วยไปหมด กลิ่นหอมฟุ้งเลยทีเดียว ยิ่งถ้าใครชอบกินปลาร้าด้วยแล้ว รับรองเลยว่าเด็ดโดนใจ แถมในน้ำใบย่านางยังมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอีกด้วย
  เอาล่ะ ถ้าใครสนใจจะเข้าครัวไปทำ แกงหน่อไม้ใบย่านางกันแล้ว ก็ตามมาดูวิธีทำแกงหน่อไม้ใบย่านางด้านล่างนี้กันได้ที่นี่เลยค่ะ "วิธีทำแกงหน่อไม้ใบย่านาง"
     โทษของใบหญ้านาง
   ในปัจจุบันยังไม่มีการวิจัยใดพิสูจน์ได้ว่าใบหญ้านางนั้นมีโทษต่อร่างกายอย่างไร แต่ก็มีคำเตือนว่าผู้ที่ป่วยในโรคไตระยะสุดท้ายไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะสารอาหารอย่างวิตามินเอ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่อยู่ในใบย่านางนั้นจะทำให้เกิดการคั่งได้หากการทำงานของไตลดลง
    นอกจากนี้ใบหญ้านางถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ใบย่านางแคปซูล สบู่ใบย่านาง แชมพูใบหญ้านาง เครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งทำให้สามารถนำไปใช้ได้สะดวกมากขึ้น แต่ก็ควรที่จะศึกษาให้ดีก่อนนำมาใช้ เพราะบางทีอาจจะมีส่วนผสมบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุดนะครับ
   เป็นอย่างไรกันบ้างได้ทราบสรรพคุณที่มากมายจนน่ามหัศจรรย์ของสมุนไพรย่านางกันไปแล้ว คงจะเริ่มสนใจนำสมุนไพรชนิดนี้มาใช้กันแล้วใช่ไหมล่ะ แต่ก็ควรใช้ให้ถูกวิธีและเหมาะสมนะ เพราะสมุนไพรชนิดนี้ถึงมีแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าหากเราใช้มากเกินไปและไม่ถูกวิธีก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้
       ใบหญ้านางแก้ผมหงอกแบบธรรมชาติ

  สูตรยาแก้โรคกระเพาะหายภายใน ๓๐  นาที

   https://www.youtube.com/watch?v=HUx82_JwoMc

   https://www.youtube.com/watch?v=lJfzQTVnx8Y

   https://www.youtube.com/watch?v=7VNYvg0LoN4

              วิธีเก็บมะนาวให้อยู่ได้เป็นปี

   https://www.pinterest.com/pin/863002347334086616/

 

         เมล็ดในทับทิมแก้โรคตาต้อได้

    

   https://www.youtube.com/watch?v=Zy4TP0J_pW0

    ทับทิม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิหร่านทางตอนใต้ของอัฟกานิสถาน ผลไม้ชนิดนี้จะชอบอากาศหนาวเป็นพิเศษ ยิ่งหนาวมากเท่าไหร่ เนื้อทับทิมนั้นจะมีสีแดงเข้มมากขึ้นเท่านั้น และยังเป็นผลไม้มงคลของคนจีนอีกด้วย ด้วยความที่ทับทิมมีเมล็ดมากจึงสื่อความหมายถึงการมีลูกชายมาก ๆ ด้วยนั่นเอง โดยกิ่งใบของทับทิมก็นำมาใช้ในพิธีการต่าง ๆ ที่มีน้ำมนต์ในการประ กอบพิธีหรือนำมาใช้พรมน้ำมนต์เพราะเชื่อว่ามีไว้ติดตัวจะช่วยในเรื่องการคุ้ม
ครองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ด้วย
   ทับทิมยังถือว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ โดยประโยชน์ของทับทิมและสรรพคุณของทับทิมนั้นมีมากมาย ด้วยทับทิมนั้นเป็นผลไม้ที่มีรสหวานออกเปรี้ยว น้ำทับทิมจึงมีวิตามินซีสูงและยังประกอบด้วยเกลือแร่ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจึงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย อย่างเช่น บรรเทาอาการของโรคหัวใจ รักษาความดันโลหิตสูง ช่วยลดสภาวะการแข็งตัวขอเลือด รักษาโรคท้องเดิน โรคบิด เป็นต้น
   ประโยชน์ของทับทิม
   -ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
   -ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายและช่วยในการชะลอวัย
   -น้ำทับทิมมีคุณสมบัติช่วยให้ผิวหน้าเต่งตึง ด้วยการนำน้ำทับทิมประมาณ 1 ช้อนชามาทาทิ้งไว้บนใบหน้าประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก  น้ำทับทิมช่วยเพิ่มความสดชื่น แก้กระหาย คลายร้อนได้เป็นอย่างดี
   -ช่วยระงับกลิ่นปากได้อีกด้วย
   -ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง บรรเทาอาการหวัด
   -ช่วยปกป้องผิวของคุณจากแสงแดด
   -ทับทับมีวิตามินซีสูงมาก และยังมีวิตามินเอ วิตามินอี และกรดโฟลิกอีกด้วย
   -ใบทับทิมใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ที่ใช้น้ำมนต์ในการประกอบพิธี
   -ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องในหญิงตั้งครรภ์
   -ช่วยในการปรับฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน
   -ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ
   -ช่วยในการบำบัดอาการของโรคเบาหวาน
   -ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาอักเสบ  ตาต้อ
   -น้ำต้มเปลือกทับทิมช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้
   -ช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจ ด้วยการช่วยเสริมสุขภาพหัวใจให้ดียิ่งขึ้น
   -ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
   -ช่วยบำรุงสุขภาพฟันให้แข็งแรง
   -ช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
   -ช่วยลดความดันโลหิตสูง
   -ช่วยส่งเสริมการทำงานของหลอดเลือด
   -ช่วยในการฟอกไตและท่อปัสสาวะ
   -ช่วยลดสภาวะการแข็งตัวของเลือดจากไขมันในเลือดสูง
   -มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
   -ช่วยแก้อาการระดูขาว ตกเลือด
   -ช่วยบำรุงสุขภาพตับให้แข็งแรง
   -มีส่วนช่วยบำรุงและต่อต้านอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย

       ประโยชน์ของเปลือกทับทิม

   -เปลือกทับทิมสามารถรักษาโรคท้องเดินและโรคบิดได้ เพราะมีสารในกลุ่มแทนนินอยู่ในปริมาณมาก
   -เปลือกทับทิมมีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ
   -เปลือกผลช่วยรักษาแผลหิด กลากเกลื้อน
   -เปลือกของทับทิมช่วยต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
   -ยาต้มจากเปลือกผลช่วยรักษาอาการอุจจาระร่วงได้ โดยช่วยลดจำนวนครั้งในการขับถ่ายและทำให้ระยะเวลาเริ่มถ่ายครั้งแรกนานขึ้น
   -เปลือกต้นและเปลือกรากของทับทิมสามารถใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลมได้เป็นอย่างดี ด้วยการนำเปลือกของรากและต้นที่ยังสด ๆ ประมาณครึ่งกำมือ เติมกานพลูลงไปเล็กน้อยเพื่อแต่งรส นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือถ้วยครึ่ง แล้วนำมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ หลังจากนั้น 2 ชั่วโมงจึงรับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลืออีก 2 ช้อนโต๊ะตามไปอีกครั้งหนึ่ง

       ประโยชน์ของดอกทับทิม

   -ดอกทับทิมใช้ห้ามเลือดได้ ด้วยการนำดอกแห้งมาบดให้ละเอียดแล้วนำมาทาหรือโรยใส่บริเวณบาดแผล
   -ดอกทับทิมช่วยแก้อาการหูชั้นในอักเสบ

        ประโยชน์ของใบทับทิม

   -ใบของทับทิมสามารถนำมาอมกลั้วคอหรือทำเป็นยาล้างตาก็ได้
   -ช่วยลดปัญหาผมร่วง ด้วยการนำยาพอกที่ได้จากใบ แล้วนำมาพอกหนังศีรษะ
   ชาวอินเดียนำน้ำคั้นจากผลทับทิมและดอกของทับทิมมาปรุงเป็นยาธาตุ สมานลำไส้ บำรุงหัวใจ
ทับทิมช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งได้มากกว่า 13 ชนิด โดยช่วยให้เซลล์มะเร็งไม่เพิ่มจำนวนขึ้น เช่น มะเร็งผิวหนังมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ เป็นต้น
   -ช่วยในการทำลายเซลล์มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่
   -คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทับทิม ต่อ 100 กรัม  พลังงาน 83 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม
   -ประโยชน์ของทับทิมน้ำตาล 13.67 กรัม
   -เส้นใย 4 กรัม
   -ไขมัน 1.17 กรัม
   -โปรตีน 1.67 กรัม
   -วิตามินบี 1 0.067 มิลลิกรัม 6%
   -วิตามินบี 2 0.053 มิลลิกรัม 4%
   -วิตามินบี 3 0.293 มิลลิกรัม 2%
   -วิตามินบี 5 0.377 มิลลิกรัม 8%
   -วิตามินบี 6 0.075 มิลลิกรัม 6%
   -วิตามินบี 9 38 ไมโครกรัม 10%
   -โคลีน 7.6 มิลลิกรัม 2%
   -วิตามินซี 10.2 มิลลิกรัม 12%
   -วิตามินอี 0.6 มิลลิกรัม 4%
   -วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม 4%
   -ธาตุแคลเซียม 10 มิลลิกรัม 1%
   -ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม 2%
   -ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
   -ธาตุแมงกานีส 0.119 มิลลิกรัม 6%
   -ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม 5%
   -ธาตุโพแทสเซียม 236 มิลลิกรัม 5%
   -ธาตุโซเดียม 3 มิลลิกรัม 0%
   -ธาตุสังกะสี 0.35 มิลลิกรัม 4%
             

          
     ความรู้รอบตัวเรื่องประโยชน์ปูนแดง

    
   ปูนแดงภูมิปัญญาไทยที่มากกว่าการนำมาใช้ในการกินหมากสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารหรือดูแลพืช อีกทั้งยังช่วยในการกำจัดยุงลายโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
   1. ใช้ถนอมอาหาร
  เมื่อทำอาหารประเภทฟักหรือฟักทอง และใช้ไม่หมดต้องการเก็บไว้ใช้ต่อในครั้งถัดไป ให้นำปูนแดงมาใช้ทาบริเวณรอยที่ถูกตัด วิธีนี้จะช่วยให้ฟักและฟักทองไม่ขึ้นรา หากต้องการนำส่วนที่เหลือมาใช้อีกครั้ง ก็ฝานส่วนที่เราทาปูนแดงทิ้งออกไป แล้วล้างให้สะอาดและนำมาทำอาหารต่อได้เลย
  2. ห้ามเลือด
  หากโดนปลิงหรือทากกัด ให้นำปูนแดงมาใช้ทาบาดแผล จะช่วยห้ามเลือดให้หยุดไหล เมื่อต้องเดินทางเข้าป่าหรือไปในสถานที่ที่มีสัตว์ชนิดนี้ แนะนำให้พกปูนแดงไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
  3. โดนพิษแมลง
  อาการปวดบวมแดงจากพิษแมลงกัดต่อย ใช้ปูนแดงป้ายทาบริเวณที่มีอาการ จะช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวมให้ทุเลาลงได้
  4. น้ำลายยุง
  เรื่องราวน่าสนใจMgid
  เมื่อโดนยุงกัดบางท่านอาจมีอาการแพ้น้ำลายยุง ทำให้มีตุ่มคันและบวม ใช้ปูนแดงเพียงเล็กน้อย แต้มบริเวณที่โดนยุงกัด จะช่วยลดอาการคันและไม่ทำให้เป็นตุ่มแดง

  5. ดับพิษแมงกะพรุน
  แมงกะพรุนเมื่อโดนกัดแล้ว จะทำให้เกิดแผลพุพองแสบและมีอาการคัน สามารถใช้น้ำปูนใสจากการทำปูนแดงมาราดหรือทาได้ จะช่วยลดอาการแสบร้อน ลดพิษที่ทำให้เกิดอาการคัน ช่วยให้แผลไม่ลุกลามมากขึ้น
  6. กำจัดลูกน้ำยุงลาย
  สาเหตุของโรคไข้เลือดออกคือมีแหล่งน้ำขัง และมียุงลายเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ขังไม่ไหลเวียน สามารถใช้ทรายอะเบท เพื่อลดอัตราการเกิดของยุงลายได้ แต่การใช้ทรายอะเบทจะไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ ภูมิปัญญาชาวบ้านจึงคิดค้นวิธีที่ช่วยกำจัดลูกน้ำในน้ำได้ และยังสามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ต่อ โดยการใช้ปูนแดง 4 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ
ขิง 5 ขีด คลุกผสมให้เข้ากัน แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดประมาณลูกปิงปองตากไว้ 3 วัน เมื่อแห้งแล้วนำมาใช้ใส่โอ่ง ไม่มีกลิ่นเหม็น สามารถนำมาใช้กินใช้อาบได้ตามปกติ ไม่เหมือนกับทรายอะเบทที่ใช้กำจัดยุงลาย ได้เพียงอย่างเดียว
7. ล้างผักผลไม้
  ด้วยความเป็นด่างของน้ำปูนใสจากปูนแดง สามารถนำมาใช้เพื่อทำความสะอาดผักผลไม้ ช่วยล้างสารเคมียากำจัดแมลงและโลหะหนักที่ตกค้างได้ ทั้งนี้ไม่ควรแช่น้ำมากเกินไปเพราะอาจทำให้เปลือกผิวของผักผลไม้มีความแข็งกระด้างมากขึ้น
  ปัจจุบันปูนแดงก็ยังได้รับความนิยมในการใช้ทำอาหารคาวหวานอยู่เสมอ หากบ้านใดมีได้ทำอาหารแต่ถ้ามีปูนแดงไว้ติดบ้าน เมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องใช้ก็สามารถนำมาใช้ได้ทันท่วงที ทั้งนี้สามารถหาซื้อได้ง่ายตามตลาดสดหรือร้านค้าออนไลน์

                           ต้นผงชูรส

      
    ต้นผงชูรส ผักไชยา  ผักชายา มะละกอกินใบ ต้นคะน้าเม็กซิกัน ต้นสูง40-60cm.
 ได้ติดตามสืบเสาะประวัติของผักชนิดนี้ ด้วยเพราะสงสัยในด้านรูปลักษณ์ ต้น ยอด ใบ และลักษณะอื่นๆ มันไม่น่าจะเป็นพืชที่คนกินได้ เหมือนต้นสบู่ดำ ที่เขาเอาเมล็ดมาทำน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นพลังงานทางเลือกทดแทน เหมือนมากๆ มันกินไม่ได้นี่ ยิ่งเมื่อหักยอด เห็นมีน้ำยางสีขาวไหลออกมา ชัดเลยพืชมีพิษแน่ๆ มาพิจารณาดูในส่วนของยอดอ่อน
และใบอ่อน ดูคล้ายมะละกอ เดิมทียอดมะละกอ ใบอ่อนมะละกอ ชาวบ้านยังเอามาย่างไฟพอสลบ หรืออาจถึงสุกเกรียมยังเอามากินได้ ยิ่งพบเห็นข่าว คนนิยมปลูกผักไชยาไว้เป็นผักข้างรั้ว เก็บมาทำอาหารกิน เลยค่อนข้างเชื่อ และชวนให้ ติดตามดู “ผักไชยา” มาโดยตลอด และมาพบเจออีกหลายที่ มีทั่วไปที่มีปลูกไว้ จึงยิ่งได้ติดตามดู และนำมาเล่าสู่กันใน
ที่นี้ 

    ผักไชยา ประโยชน์และสรรพคุณ ใช้แทนผงชูรส ลดโซเดียมได้!  ผักไชยา หรือบางคนเรียก ต้นชายา,ต้นมะละกอกินใบ, ต้นคะน้าเม็กซิกัน, ต้นผงชูรส (ภาษาสเปน Chaya) ชื่อทาง พฤกษศาสตร์ Cnidoscolus chayamansa ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียว คล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบ อเมริกากลาง  มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมถึง 2 เท่า
   ต้นไชยาอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก แล้วยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมถึง 2 เท่า มีแคลเซียมสูงถึง 421 มิลลิกรัม มากกว่าผักทั่วไปอื่นๆหลายเท่า จึงนิยมกันมากในคนที่กินมังสวิรัติเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง
  บางคนเรียกว่า ต้นผงชูรส เพราะเมื่อนำมาตากแห้งป่นใส่ผงนัวก็จะใช้แทนผงชูรสได้เลยทีเดียว หรือจะนำผักไชยาไปใส่ผสมกับอาหารชนิดอื่นก็จะช่วยให้รสชาติกลมกล่อมโดยที่ไม่ต้องใช้ผงชูรสเลย จึงทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเมื่อรับรับประทานผงชูรสน้อยลง เพราะใช้ผักไชยาแทนการใช้ผงชูรสทำให้ปริมาณโซเดียมในร่างกายลดลง ค่าไตจึงดีขึ้น
  ประโยชน์และสรรพคุณของผักไชยา
  มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  ช่วยในการหมุนเวียนโลหิต
  ช่วยย่อยอาหาร
  ช่วยในการมองเห็น
  บำรุงสายตา
  รักกษาโรคหอบหืด
  ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  ช่วยลดน้ำหนัก
  ป้องกันอาการไอ
  ล้างพิษในตับ
  ป้องกันอาการปวดหัว
  เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก
  รักษาโรคกระดูกพรุน
  ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด
  ป้องกันโลหิตจางโดยเพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด
  ควบคุมระดับน้ำตาลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  ลดการอักเสบในเส้นเลือด
  ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  บำรุงสมองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
   ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้ ต้องทำให้สุกก่อนกิน เพราะดิบ ๆ มีพิษต้นไชยามีพิษจึงควรระวังอย่างมากเพราะมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมาจึงต้องทำให้สุก ก่อนกินเพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษลง ควรนำไปต้มหรือผัดอย่างน้อย 1 นาที ส่วนก้านสามารถนำมาทำอาหารได้เช่น กันแต่ต้องลอกเปลือกออก ไม่มีกลิ่นเขียว รสชาติหวานกรอบคล้ายผักคะน้า ข้อควรระวังคือห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียมเพราะอาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้

   แก้โรคเบาหวาน ให้กินวันละ ๗ ยอด

   https://www.youtube.com/watch?v=qFdZ8DGjbS8

            โรคริดสีดวงตา

   

       โรคนี้ติดต่ออย่างไร?
   โรคริดสีดวงตานี้จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัส วิธีติดต่อที่สำคัญคือ
สัมผัสโดยตรงกับหนองหรือขี้ตาที่มีเชื้อโรค
สัมผัสกับน้ำมูก หรือเสมหะที่มีเชื้อโรค
สัมผัสผ่านทางผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
แมลงวันก็สามารถนำเชื้อจากคนติดเชื้อไปสู่คนปรกติ
   โรคริดสีดวงตามีอาการอย่างไร?
  อาการเริ่มแรกจะมีการติดเชื้อที่เปลือกตาทำให้เกิดตาแดง น้ำตาไหลมีขี้ตา บางคนจะรู้สึกเหมือนมีผงในตา หากพลิกดูหนังตาจะพบเป็นตุ่มเล็กๆที่เรียกว่า Follicle การติดเชื้อเพียงครั้งเดียวจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตา หากมีการติดเชื้อซ้ำจะทำให้เกิดการอักเสบของเปลือกตา ทำให้เกิดพังผืดดึงรั้งเกิดแผลเป็นบริเวณขอบเปลือกตาเป็นต้นเหตุให้ขนตาเกเข้า (Trichiasis) ขนตาชี้ลงจนครูดบาดกระจกตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บตา เคืองตามากขึ้น ตามด้วยมีขี้ตามากขึ้น ขนตาจะทิ่มแทงกระจกตาทำให้เกิดแผลที่กระจกตา keratitis นานเข้าการอักเสบจะลามเข้าถึงในตาทำให้เกิดฝ้าขาว
  หนังตาบนอักเสบเห็นเป็นตุ่มๆ
  หนังตาบนจะเกิดพังผืด
  เริ่มมีพังผืดที่ตาดำจะเห็นเป็นฝ้าขาว
  นอกจากนั้นการอักเสบจะทำให้ท่อน้ำตาอุดตันก็จะเกิดตาแห้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตา ทำให้ตามองไม่เห็น
    ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
  สภาพแวดล้อมแออัด นอนรวมกันในห้องนอนหลายคน
  ขาดแคลนน้ำสะอาด
  ขาดอุปกรณ์สำหรับการทำความสะอาด
  มีแมลงวันจำนวนมาก
  ระบบสาธารณสุขไม่ดี
    การวินิจฉัยโรคริดสีดวงตา
  การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติและการตรวจพบตุ่มที่ใต้หนังตาบน มีพังผืดที่หนังตา กระจกตาเป็นแผล ขึ้นกับระยะของโรค หากสงสัยก็นำขี้ตาไปย้อมและเพาะเชื้อก็จะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุ
  การรักษา
  การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนทิศทางของขนตามิให้ทิ่มแทงกระจกตา
   ยาปฏิชีวนะ
  ยาปฏิชีวนะทั้งชนิดหยอดตา และยารับประทาน เป็นยาในกลุ่ม Tetracycline โดยเป็นยารับประทาน 1.5–2 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และเป็นยาขี้ผึ้งป้ายตาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน หรือใช้ยา Erythromycin หากผู้ป่วยแพ้ยา Tetracycline ปัจจุบันมีแพทย์บางท่านแนะนำใช้ Agithomycine 2 กรัมเพียงครั้งเดียวก็ได้
     การล้างหน้า
  การล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
  การจัดการกับสิ่งแวดล้อม
  จัดหาแหล่งน้ำสะอาด
  จัดหาสบู่ ผงซักฟอก
  ลดปริมาณของแมลงวัน
  ให้ล้างหน้าด้วยน้ำและสบู่่
     การวินิจฉัยโรคริดสีดวงตา
  แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยอาศัยประวัติว่า ผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ ร่วมกับการตรวจพบลักษณะอาการสำคัญ คือ ตุ่มเล็ก ๆ ที่เยื่อบุตาบน (Follicle), แผ่นเยื่อสีเทา (Pannus) ที่ส่วนบนของตาดำ, รอยแผลเป็นที่เยื่อบุเปลือกตาบน (เส้นพังผืด)
  โรคนี้ควรแยกออกจากโรคเยื่อตาขาวอักเสบชนิดอื่น ๆ เช่น เยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, เยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส, เยื่อตาขาวอักเสบจากการแพ้ เป็นต้น และควรสงสัยไว้ก่อนว่าเป็นโรคริดสีดวงตา ถ้าผู้ป่วยมีอาการอักเสบอย่างเรื้อรังนานเป็นเดือน ๆ และอยู่ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุม
  ภาวะแทรกซ้อนของโรคริดสีดวงตา
หากไม่ได้รับการรักษา แผลเป็นที่บริเวณเปลือกตาบนจะดึงรั้งให้เปลือกตาม้วนเข้าด้านใน เรียกว่า “อาการขอบตาม้วนเข้า” (Entropion) ทำให้ขนตาแยงเข้าด้านในไปถูกกระจกตา เกิดการอักเสบและเป็นแผลกระจกตา ทำให้สายตาพิการได้แผลเป็นอาจอุดกั้นท่อน้ำตา ทำให้น้ำตาไหลตลอดเวลา หรือไม่ก็อาจทำให้ต่อมน้ำตาไม่ทำงานและตาแห้งได้อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเป็นปัจจัยเสริมทำให้เกิดแผลกระจกตาและความเรื้อรังของโรค
   วิธีรักษาโรคริดสีดวงตา
เมื่อมีอาการทางดวงตาดังกล่าวในหัวข้ออาการ โดยเฉพาะเมื่ออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หรือเมื่อกลับจากการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น ควรรีบไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์เสมอ ไม่ควรรักษาด้วยตัวเองและเมื่อได้พบแพทย์แล้วให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
   ริดสีดวงตา
ริดสีดวงตา (Trachoma) เป็นโรคตาอักเสบเรื้อรังที่มักพบได้ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง กันดาร มีฝุ่นมาก และมีแมลงหวี่/แมลงวันชุกชุม ซึ่งการอักเสบจะเกิดขึ้นเรื้อรังเป็นแรมเดือนแรมปี และอาจติดเชื้ออักเสบซ้ำ ๆ หลายครั้ง เนื่องจากภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้มักมีอยู่เพียงชั่วคราว
  ริดสีดวงตาเป็นโรคที่พบได้ในคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักคลุกคลีอยู่กับเด็ก และพบได้มากในเด็กอายุ 3-5 ปี หรือเด็กก่อนวัยเรียนที่พ่อแม่ปล่อยให้เล่นสกปรกทั้งวัน
  โรคนี้ในอดีตเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เคยเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ประชากรโลกตาบอดได้ถึง 15% แต่ในปัจจุบันคาดว่าคงเหลือเพียง 2% ส่วนในประเทศไทย โรคนี้แทบจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป แต่ก็ยังคงพบได้บ้างทางภาคอีสาน
โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ โดยสาเหตุที่พบโรคนี้ได้ลดลง
      สาเหตุของโรคริดสีดวงตา
เชื่อที่เป็นสาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อริดสีดวงซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “คลามีเดียทราโคมาติส” (Chlamydia trachomatis) ซึ่งเป็นเชื้อสายพันธุ์ย่อยในกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่ากลุ่ม “คลามีเดีย” (Chlamydia) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่ม Trachomatis (เป็นกลุ่มที่มีอีกหลายกลุ่มย่อย ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่เป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงตาด้วย)
 กลุ่ม Pneumonial (ทำให้เกิดโรคต่อทางเดินหายใจ) และกลุ่ม Psittaci (ทำให้เกิดโรคในสัตว์)
   การติดต่อ : โรคนี้สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งวิธีการติดต่อที่สำคัญ คือการสัมผัสขี้ตาหรือสารคัดหลั่ง (เช่น น้ำมูก เสมหะ หนอง) จากตา ลำคอ และ/หรือจมูกของผู้ที่มีเชื้อติดต่อผ่านทางแมลงวันหรือแมลงหวี่ที่มาตอมตา แล้วนำเชื้อจากคนติดเชื้อไปสู่คนปกติ (เชื้อจากคนที่เป็นโรคจะแพร่
ไปเข้าตาของอีกคนหนึ่ง) จึงมักพบเป็นพร้อมกันหลายคนในครอบครัวหรือชุมชนเดียวกัน โดยเฉพาะทางภาคอีสานในพื้นที่แห้งแล้ง กันดาร มีฝุ่นมาก มีแมลงหวี่ แมลงวันชุกชุม  บางครั้งอาจติดต่อผ่านเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ทางผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวที่ใช้ร่วมกัน รวมไปถึงการว่ายน้ำในแหล่งน้ำเดียวกับผู้ติดเชื้ออย่างไรก็ตาม การติดต่อมักจะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นเวลานาน ๆ จึงมักพบเป็นโรคนี้พร้อมกันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน
   ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค : ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่แออัด, การนอนรวมกันในห้องหลายคน, การขาดแคลนน้ำสะอาด, ขาดห้องน้ำที่สะอาด, ขาดอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด, มีแมลงวันจำนวนมาก, ระบบสาธารณสุขไม่ดี เป็นต้น
  การเกิดโรค : เชื้อนี้จะเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุตาขาวและตาดำ (กระจกตา)
  ระยะเวลาฟักตัว (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งแสดงอาการ) : ประมาณ 5-12 วัน

          สูตรยาแก้โรคตาฟ้าฟาง

   ๑.เปลือกทับทิม               หยัก       ๗        บาท

   ๒.เถาบอระเพ็ด               หนัก       ๗        บาท

   ๓.ลูกขี้กา                        หนัก       ๗        บาท

   ๔.หัวขมิ้นอ้อย                 หนัก       ๗        บาท

   ๕.หัวว่านไพร                  หนัก       ๗        บาท

   ๖.ใบสวาด                       หนัก       ๗        บาท

   ๗.โกฐหัวบัว                    หนัก       ๗        บาท

   ๘.โกฐพุงปลา                  หนัก       ๗        บาท

   ๐วิธีต้มยา:- เอาตัวยาทุกอย่างใส่ลงไปในหม้อดินต้มเคี่ยวประมาณ  ๓๐  นามที  ให้ต้มกินวันละ  ๒  ครั้ง  คือตอนเช้าและตอนเย็น  ให้กินครั้งละ  ๑  ถ้วยชามีหู  เมื่อต้มกินำด้  ๔  วัน ให้เปลี่ยนยาชุดใหม่  ให้ต้มกินไปประมาณ  ๑  เดือน  จึงหยุด  ให้เว้นระยะไปประมาณ   ๓  เดือน  ให้เริ่มต้นต้มกินใหม่อีกประมาณ  ๔  ครั้ง  ถ้าท่านทำได้เช่นนี้ท่านก็จะไม่เป็นโรคตาฟ้าฟางอแะฟ้ามัวไปจนตลอดชีวิต 

              โกฐหัวบัว

     

      สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย
   โกฐหัวบัว มีกลิ่นหอม รสมัน สรรพคุณแก้ลมในกองริดสีดวง และกระจายลมทั้งปวง
(หมายถึงลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอน ๆ ทำให้ผายหรือเรอออกมา) ยาไทยมักไม่ใช้โกศหัวบัวเดี่ยวแต่มักใช้ร่วมกับยาอื่นในตำรับ
    ตำรายาไทย : เหง้า แก้ลมในกองริดสีดวง กระจายลมทั้งปวง
(หมายถึงลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอนๆทำให้ผายออกมา) ขับลม แก้ปวดศีรษะ
ปวดข้อ ปวดกระดูก จีนใช้โกฐหัวบัวเป็นยาแก้หวัด แก้ปวดศีรษะ
แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ ปวดเจ็บต่างๆรวมทั้งปวดฟันอาเจียนเป็นเลือด ไอ วัณโรค โรคเข้าข้อ ตกเลือด
    สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน
   โกฐหัวบัว รสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด รักษาอาการปวดจากเลือดคั่งกระจายการตีบของเส้นเลือด (ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดประจำเดือน
ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด เจ็บชายโครงเจ็บบริเวณหัวใจ เจ็บหน้าอก เจ็บจากการฟกช้ำ
ช้ำบวมจากฝีหนอง) และมีฤทธิ์ขับลม บรรเทาปวด รักษาอาการปวดศีรษะ
อาการปวดจากการคั่งของชี่และเลือด

                โกฐพุงปลา

   

   

    ประโยชน์และสรรพคุณของโกฐพุงปลา
    -เป็นยาคุมธาตุ แก้อุจจาระธาตุพิการ
    -แก้อติสาร แก้โรคอุจจาระธาตุลงอติสาร
    -ใช้เป็นยาแก้ไข้จากลำไส้อักเสบ
    -แก้ไข้พิษ แก้พิษทำให้ร้อน
    -ใช้เป็นยาแก้เสมหะพิการ
    -ใช้แก้อาเจียน
    -ใช้เป็นยาแก้บิด บิดมูกเลือด
    -ช่วยแก้อาการท้องร่วง
    -ใช้เป็นยาสมานแผล แก้เม็ดยอดภายใน และแก้ฝีภายใน
    -มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก แก้ไข้จับ
    -มีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้อง
    -แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย
    -ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ
 ๐ตำราสรรพคุณยาโบราณของไทย: แก้อุจจาระธาตุพิการ แก้อติสาร แก้บิดมูกเลือด คุมธาตุ แก้ไข้จากลำไส้อักเสบ แก้ไข้พิษ แก้พิษทำให้ร้อน แก้อาเจียน แก้เสมหะพิการ แก้เม็ดยอดภายใน สมานแผล แก้ฝีภายใน  แก้โรคอุจจาระ  ธาตุลงอติสาร  ลงแดง  เป็นยาฝาดสมาน
   โกฐพุงปลาเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐพุงปลาจัดอยู่ใน โกฐทั้งเก้า (เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้  ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก

      
               ใบสวาด

     

      

   
   สรรพคุณ: ตำรายาไทย ใบมีรสร้อน ขับลม แก้จุกเสียด แก้แน่น แก้ไอ ผสมในยาประสะมะแว้ง
   บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ใบสวาด ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง”  มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

        ลูกขี้กาหรือแตงโมป่า 

   

   เถา ถ้าหากเรานำมาต้ม กับน้ำให้นานๆสามารถใช้ฆ่าเห่าได้  และนอกจากนั้นเถา สามารถใช้ปรุงเป็นยา เช่น ล้าง
เสมหะ บำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา
  ใบสด ใช้ปรุงเป็นยาได้เช่นกัน สามารถรักษาอาการ คัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา และใช้ตำสุมขม่อมเด็ก เวลาเย็น
ได้ค่ะ

      

     

 

 

 

 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 139,922