หน้าที่ ๕ สัตว์ป่าหิมพานต์ที่สำคัญ
๐สัตว์หิมพานต์ที่สำคัญแบ่งออกเป็น ๑๒ ชนิด คือ:-
๑.เรื่องของนกกาเหว่าลาย
๒.เรื่องของราชสีห์
๓.เรื่องของกระต่าย
๔.เรื่องของนกการเวก
๖.เรื่องชองนกยูงทอง
๗.เรื่องชองนกมัยหสกุณี
๘.เรื่องของพญาวานร
๙.เรื่องของพญาม้าวลาหก
๑๐.เรื่องของม้าสินธพ
เรื่องของนกกาเหว่าลาย
พระพุทธองค์ได้ทรงอธิษฐานจิตขอให้สัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในป่าหิมพานต์ทุกหนทุกแห่งทุกตำบลแห่งที่อยู่ในระยะทางกว้างได้ ๓๐๐๐ โยชน์ ให้มารวมตัวกัน ณ ที่กุณาละสระ สัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็นสัตว์สองเท้าสี่เท้า สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่และปานกลางได้มารวมตัวกันที่กณาละนั้นจนหมดสิ้น แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปสอบถามถึงขื่อของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นว่ามีชื่ออะไรบ้าง
ในขณะนั้นมีนกกาเหว่าลายตัวหนึ่งบินมาพร้อมกับบริวาร นกกาเหว่าตัวนี้มีนกกาเหว่าแวดล้อมเป็นบริวารอยู่เป็นจำนวนมากคือ เบื้องขวามี ๘ ตัว เบื้องซ้ายมี ๘ ตัว เบื้องหน้ามี ๘ ตัว เบื้องหลังมี ๘ ตัว เบื้องบนมี ๘ ตัว เบื้องล่างมี ๘ ตัว รวมเป็น ๔๘ ตัว และมีนกกาเหว่า ๒ ตัว ตาบที่สุดไม้คอนทั้งสองข้าง พญานกกาหว่าลายจับอยู่ตรงกลางของไม้คอน พาบินมาที่กุณาละสระนั้น ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้เห็นจึงกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "ข้าแต่พระคงค์ผู้เจริญ นกที่ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นนั่นคือพญานกกาเหว่าใช่ไหม พระพุทธเจ้าข้า"
พระพุทธองค์ตรัสว่า "ใช่ ภิกษุทั้งหลาย นั่นคือพญานกกาเหว่าลายซึ่งเป็นเหล่ากอของพระโพธิสัตว์ นกกาเหว่าลายตัวนี้เป็นเหล่ากอของพระโพธิสัตว์ที่ประพฤติปฏิบัติตามประเพณีของพระพุทธเจ้าในอดีต แต่ก่อนตถาคตก็เคยเสวยพระขาติเป็นพญานกกาเหว่าลายก็ได้เคยอาศัยอยู่ในกุณาละสระนี้เหมือนกัน
พระภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ได้กราบทูลถามถึงเรื่องราวที่เป็นมาในอดีตของพระพุทธองค์
พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ตถาคตเคยเกิดเป็นพญานกกาเหว่าลาย มีนางนกกาเหว่าเป็นบริวาร ๓๕๐๐ ตัว พญากาเหว่าลายนั้นเมื่อประสงค์จะไปในสถานที่แห่งใดก็ตามก็จะจับเหนือไม้คอนแล้วนางนกกาเหว่า ๒ ตัว ก็จะคาบบนปลายไม้คอนช้างละตัวแล้วก็พาบินไปในที่ต่างๆตามที่พญากาเหว่าประสงค์ และในขณะที่บินไปนั้นก็จะมีนางนกกาเหว่า ๕๐๐ ตัว บินป้องกันภัยในทิศเบื้องบน มีนางนกกาเหว่า ๕๐๐ ตัว บินป้องกันภัยในทิศเบื้องล่าง มีนางนกกาเหว่า ๕๐๐ ตัว บินป้องกันภัยในทิศเบื้องหน้า มีนางนกกาเหว่า ๕๐๐ ตัว บินป้องกันภัยในทิศเบื้องหลัง มีนางนกกาเหว่า ๕๐๐ ตัว บินป้องกันภัยในทิศเบื้งขวา และมีนางนกกาเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินป้องกันภัยภัยในทิศเบื้องซ้าย
-นางนกกาเหว่า ๕๐๐ ตัว ที่บินไปในทิศเบื้องบนมีหน้าที่ปิดป้องกำบังแสงพระอาทิตย์ที่จะส่องแสงมาถูกต้องกายของพญานกกาเหว่าลายไม่ให้ร้อนแรงเกินไป
-นางนกกาเหว่า ๕๐๐ ตัว ที่บินไปในทิศเบื้องล่าง มีหน้าที่จะป้องกันกอไม้กิ่งไม้เครือไม้ที่จะมาถูกต้องตัวพญากาเหว่าลาย และยังมีหน้าที่รับรองพญานกกาเหว่าลายในเวลาที่ถลำพลาดตกลงไปจากอากาศ
-นางนกกาเหว่า ๕๐๐ ตัว ที่บินไปในทิศเบื้องหน้า มีหน้าที่ป้องกันเสียซึ่งไม้คอน ก้อนหิน และท่อนกระเบื้องที่จะกระเด็นมาถูกตัวพญานกกาเหว่าลาย
-นางนกกาเหว่า ๕๐๐ ตัว ที่บินไปในทิศเบื้องหลัง มีหน้าที่ในการร่ำร้องและการเจรจาด้วยเสียงอันไพเราะ
-นางนกกาเหว่าทั้งหลาย ที่บินไปในทิศเบื้องขวา ๕๐๐ ตัว และทิศเบื้องซ้าย ๕๐๐ ตัว มีหน้าที่ป้องกันซึ่งเย็นและร้อน ลม น้ำค้าง และละอองธุลีอันจะมาถูกต้องกายของพญานกกาเหว่าลาย
-นางนกกาเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว ที่บินไปในทิศน้อยทิศใหญ่ มีหน้าที่หาผลหมากรากไม้อันโอชารสมาถวายแก่พญานกกาเหว่าลาย
พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาลล่วงมานานแล้ว เมื่อตถาคตเสวยพระชาติเป็นนกกาเหว่าลาย พญานกกาเหว่าลายตัวนั้นมีสหายอยู่ ๒ ตัว ตัวหนึ่งชื่อว่า "ปุสสะโกกิละ" อีกตัวหนึ่งเป็นนกกาเหว่าขาวมีชื่อว่า ปุณณะมุขะ" ติดต่อไปมาหาสู่กันเนืองๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเสวยพระชาติเป็นพญานกกาเหว่าลาย โดยมีนกกาเหว่าขาวตัวหนึ่งชึ่อว่า "ปุสสะโกกิละ" และนกกาเหว่าอีกตัวหนึ่งชื่อว่า "ปุณณะมุขะ" เป็นสหายไปมาหาสู่กันเป็นประจำ เวลาจะไปไหนก็มีนางนกกาเหว่า ๒ ตัว คาบไม้คอนพาไปในสถานที่ต่างๆตามที่ปราถนา โดยมีนางนกกาเหว่าทั้งหลายแวดล้อมเป็นบริวาร ข้างละ ๕๐ ตัว
-ข้างบน ๕๐ ตัว
-มีหน้าที่บินปิดป้องแสงพระอาทิตย์ไม่ให้ส่องมาต้องกายของพญากาเหว่าลายมากเกินไป
-ข้างล่าง ๕๐ ตัว
-มีหน้าที่บินป้องกันกอไม้กิ่งไม้และเครือไม้ไม่ให้มาถูกกายของพญากาเหว่าลายและมีหน้าที่รองรับพญากาเหว่าในเวลาตกลงจากคอนไม้
-ข้างหน้า ๕๐ ตัว
-มีหน้าที่ป้องกันก้อนหินก้อนดินธนูหน้าไม้และอาวุธทุกชนิดที่จะมาถูกต้องกายพญากาเหว่าลาย
-ข้างหลัง ๕๐ ตัว
-มีหน้าที่พูดจาและร่ำร้องชับรำด้วยเสียงอันไพเราะ
-ข้างขวา ๕๐ ตัว
-มีหน้าที่บินป้องกันเย็นและร้อนที่จะมากระทบกายพญากาเหว่าลายมากเกินไป
-ข้างซ้าย ๕๐ ตัว
-มีหน้าที่บินป้องกันลมฝนน้ำค้างและละอองธุลีที่จะมาถูกกายพญากาเหว่าลายมากเกินไป
-อีก ๕๐ ตัว มีหน้าที่หาผลหมากรากไม้และน้ำดื่มมาถวายพญานกกาเหว่าลายพระบรมโพธิสัตว์ รวมเป็น ๓๕๐ ตัว
เมื่อจบพระธรรมเทศนาเรื่องของพญานกกาเหว่าลาย ในกุณาละชาดก พระภิกษุ ๕๐๐ รูปก็บรรเทาเสียได้ซึ่งควากระสันอยากสึก และก็ตั้งใจบำเพ็ญสมณะธรรมก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ รูป
เรื่องของราชสีห์
นี่ตือรูปภาพราชสีห์
๐สัตว์สี่เท้าในป่าหิมวันต์มีมากกว่าแสนชนิด ราชสีห์ก็เป็นสัตว์สำคัญมากในป่าหิมวันต์ บางคนมีความเข้าใจว่าสิงห์โตเป็นราชสีห์ แต่ตามความเป็นจริงแล้วสิงห์โตไม่ใข่ราชสีห์ สิงห์โตเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในชมพูทวีป สิงห์โตมีมากที่สุดในแถบประเทศแอฟริกา ส่วนราชสีห์มีมากทางริมฝั่งแม่น้ำที่ไหลออกจากทางช่องปากราชสีห์ของสระอโนดาดนั้น ในสระอโนดาดนั้นจะมีราชสีห์อาศัยอยู่ที่นั่นเป็นจำนวนมาก ให้ดูสิงห์โตเปรียบเทียบกับราชสีห์ด้วยภาพข้างล่างนี้
นี่คือรูปภาพสิงห์โต
๐ราชสีห์ในป่าหิมพานต์มี ๔ จำพวก คือ:-
๑.ติณะสิหะราชสีห์
-ติณะสิงหะราชสีห์ มีรูปร่างสัณฐานคล้ายกับนางโคตัวที่มีสีหม่นคล้ายกับสีของนกพิราบ ติณะสิงหะราชสีห์กินหญ้าเป็นอาหาร ไม่กินเนื้อสัตว์
๒.กาฬะสิหะราชสีห์
-กาฬะสิงหะราขสีห์ มีรูปร่างสัณฐานคล้ายนางโคตัวที่มีสีกายดำสนิท กาฬะสิงหะราขสีห์กินหญ้าเป็นอาหาร ไม่กินเนื้อเป็นอาหาร
๓.ปัณฑุสีหะราขสีห์
-ปัณฑุสีหะราชสีหฺ มีรูปร่างสัณฐานดล้ายกับนางโคตัวที่มีสีกายเหลืองเหมือนสีของใบไม้ ปัณฑุสีหราชสีห์ กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ไม่กินหญ้าเป็นอาหาร
๔.ไกสรสีหะราชสีห์
-ไกสรสีหะราชสีห์ มีรูปร่างสัณฐานดล้ายกับนางโคตัวที่มีสีกายขาว มีปากแดงเหมือนน้ำครั่งสด ที่สุดแห่งเท้าทั้ง ๔ ก็มีสีแดงประดุจน้ำครั่งสดเหมือนกัน และตั้งแต่ศีรษะลงไปถึงหางจะมีลายยาวๆสามลาย ลายทั้งสามเหล่านี้มีลวดลายอันวิจิตรพิสดารอยู่ มีสีแดงประดุจดังน้ำครั่งสดเหมือนกันพาดผ่านไปตามสันหลังตลอดทั้งกายแล้วเป็นลายทบตลบเข้าไปข้างพื้นท้อง วงวนเป็นก้นหอยเป็นทักษิณาวัฏเวียนขวาในระหว่างขาหน้าและขาหลัง ในลำคอแห่งไกสรสีหะราชสีห์นั้นประดับด้วยสร้อยคออันงามเปรียบประดุจดังผ้ากัมพลอันมีราคาแสนตำลึงทอง ดูประหนึ่งว่าผ้ากัมพลหุ้มตัวเอาไว้ อวัยวะส่วนอื่นของไกสรสีหราชขาวบริสุทธิ์ประดุจดังสังข์ที่บุคคลขัดทำให้เป็นจุณแล้วปั้นไว้เป็นก้อน
ไกสรสีหราชนั้นบางตัวก็อาศัยอยู่ในถ้ำเงิน บางตัวก็อาศัยอยู่ในถ้ำทองคำ บางตัวก๊อาศัยอยู่ในถ้ำแก้วมณี บางตัวก็อาศัยอยู่ในถ้ำแก้วผลึก และบางตัวก็อาศัยอยู่ถ้ำมโนศิลา ในเวลาที่พญาไกสรสีหราชจะออกไปภายนอกถ้ำ ก็จะไปยืนดัดกายที่หน้าปากถ้ำ โดยการตั้งเท้าหลังทั้งสองให้เสมอกันแล้วจึงเหยียดเท้าหน้าทั้งสองข้างออกไปข้างหน้า ราชสีห์ตัวไหนอยู่ในถ้ำเงินก็จะออกไปยืนบนแผ่นเงิน ตัวไหนอยู่ในถ้ำทองคำก็จะออกไปยืนบนแผ่นทองคำ ตัวไหนอยู่ในถ้ำแก้วก็จะออกไปยืนบนแผ่นแก้ว ตัวไหนอยู่ในถ้ำแก้วผลึกก็จะออกไปยืนบนแผ่นแก้วผลึก ตัวไหนอยู่ในถ้ำมโนศิลาก็จะออกไปยืนบนแผ่นมโนศิลา แล้วเดินไปมาในสถานที่ตนยืนเหยียบนั้นด้วยกำลังอันว่องไวรวดเร็วสิ้นวาระสามรอบแล้วก็ส่งเสียงบันลือสุรสีหนาทดังสนั่นกึกก้องทั่วบริเวณเป็นระยะทาง ๓ โยชน์ ตลอดทั้งสี่ทิศคือดังสนั่นไปข้างหน้า ๓ โยชน์ ไปข้างหลัง ๓ โยชน์ ไปข้างขวา ๓ โยชน์
ไปข้างซ้าย ๓ โยชน์ กำหนดโดยกลมรอบ ๑๘ โยชน์
ฝูงสัตว์ทั้งหลายทั้ง ๔ เท้า และ ๒ เท้า ที่อยู่ในรัศมี ๓ โยชน์ทั้ง ๔ ทิศ และโดยกลมรอบ ๑๘ โยชน์นั้นเมื่อได้ฟังเสียงของพญาไกสรสีหราชแล้วก็จะสะดุ้งตกใจกลัวประหม่ามิอาจจะยืนอยู่กับที่ได้รีบพากันวิ่งหนีอย่างลนลานเพื่อเอาชีวิตรอด เมื่อเสียงของพญาไกสรสีหราชดังกัมปนาทขึ้นสัตว์ทั้งหลายต่างพากันสะดุ้งตกใจคิดว่าพญาไกรสรสีหราชจะมาจับกินเป็นอาหารต่างก็ตัวสั่นขวัญหายวิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต สัตว์ที่อยู่ในปล่องในโพรงเช่น งูพังพอน เหี้ยและตะกวด ต่างก็แล่นเข้าปล่องและโพงของตนเอง สัตว์ที่อยู่ในน้ำเช่น ปลาและเต่าก็กระโจนลงไปในน้ำเพื่อซ่อนตัว ไม่อาจจะล่องลอยอยู่เหนือผิวน้ำได้ สัตว์ที่อยู่ในพุ่งป่าและพุ่มไม้เช่น ช้างม้า โคกระบือ เนื้อและกวาง ก็จะรีบแล่นเข้าป่าหาที่หลบซ่อน ส่วนฝูงนกก็จะตื่นตระหนกบินหนีอย่างจ้าละหวั่น แม้กระทั้งช้างม้าวัวควายที่เขาผูกเอาไว้ในบ้านก็จะดึงดันเชือกหนังให้ขาดแล้วก็ปลาสหนีด้วยความหวาดกลัวยิ่งนัก
-มีคำถามสอดเข้ามาว่า "สัตว์ที่ไม่กลัวเสียงของราชสีห์มีอยู่หรือไม่"
-ตอบว่า "มีซิ, สัตว์ที่ไม่กลัวเสียงราชสีห์มีอยู่ ๖ ประเภท คือ:-
๑.ราชสีห์ด้วยกัน
๒.ช้างอาชาไนย
๓.ม้าอาชาไนย
๔.โคอุสุภราช
๕.บุรุษอาชาไนย
๖.พระขีณาสพ
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญาไกสรสีหราช
๐ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าของเราเสวยพระชาติเป็นพญาไกสรสีหราช อยู่ในป่าหิม พานต์ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย วันหนึ่งมีกระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ที่กอตาลภายใต้ต้นมะตูม มีมะตูมผลหนึ่งได้หล่นลงมาถูกใบตาลแห้งที่อยู่ใกล้กับกระต่าย กระต่ายตื่นตกใจด้วยความสำค้ญผิดคิดว่าแผนดินถล่มก็ผุดลุกขึ้นอย่างตกใจแล้วก็แล่นหนีไปด้วยความหวาดกลัวโดยไม่เหลียวหลัง
ฝ่ายฝูงเนื้อและฝูงสุกร ครั้นเห็นกระต่ายวิ่งหนีมาอย่างร้อนรนก็ถามกระต่ายว่า "ดูก่อนสหาย ท่านวิ่งหนีอะไรมาถึงตื่นตกใจขนาดนี้"
กระต่ายตอบว่า "พวกท่านทั้งปวงไม่รู้หรือว่าตอนนี้แผ่นดินกำลังถล่ม"
เมื่อพวกฝูงเนื้อและสุกรทั้งหลายได้ยินกระต่ายพูดว่าแผนดินถล่ม ยังไม่ได้คิดพิจารณาว่ามันจริงหรือไม่ก็ตื่นตกใจไปด้วย ต่างก็เรียกลูกเรียกเมียเรียกผัวแล่นหนีไปอย่างหวาดกลัว พวกสัตว์ทั้งหลายต่างก็จับกลุ่มเป็นพวกๆวิ่งหนีตายตามกระต่ายไปสู่มหาสมุทร พวกฝูงโคและกระบือทั้งหลายเมื่อเห็นฝูงเนื้อและฝูงสุกรวิ่งหนีตายมาเป็นหมู่ๆเช่นนั้นก็เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าจะต้องมีภัยอันตรายอันใหญ่หลวงเป็นแน่แท้จึงได้ควบตะบึ่งแล่นหนีไปตามด้วย พอแล่นหนีมาถึงฝูงม้าพวกม้าทั้งหลายก็ไม่ถามดูให้รู้ว่าแล่นหนีด้วยความหวาดกลัวนี้ด้วยเหตุอันใด เมื่อเห็นเขาแล่นหนีตายด้วยความหวาดกลัวก็รีบแล่นหนีไปด้วย พอแล่นหนีมาถึงฝูงช้างพวกช้างทั้งหลายก็ไม่ถามหน้าถามหลังเห็นฝูงม้าวิ่งก็วิ่งหนีตามไปด้วย
ฝูงสัตว์ทั้งหลายไม่ถามไถ่ให้รู้เรื่องว่าแล่นหนีตายเพราะเหตุอันใด เมื่อได้เพื่อนสัตว์ทั้งหลายวิ่งหนีตายก็วิ่งหนีตามกันโดยไม่ถามถึงสาเหตุแห่งการวิ่งหนีนั้นเลย ในกาลครั้งนั้นพระพุทธเจ้าของเราเสวยพระชาติเป็นพญาไกสรสีหราช ครั้นทอดพระเนตรเห็นพวกสัตว์ทั้งหลายพากันวิ่งหนีตายอย่างตระหนกตกตื่นมาจึงถามว่า "เหตุเภทภัยเป็นประการใดพวกท่านทั้งหลายจึงวิ่งหนีตายกันเช่นนี้"
ฝูงสัตว์ทั้งหลายก็พูดว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลายก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเกิดเหตุเภทภัยประการใด ข้าพเจ้าเห็นเขาวิ่งหนีตายมาข้าพเจ้าก็วิ่งไปด้วย"
พญาไกสรราชสีห์โพธิสัตว์จึงกล่าวว่า "เป็นเช่นนี้ดอกหรือ"
ฝูงสัตว์ทั้งหลายจึงตอบว่า "เป็นเช่นนั้นแหละนาย"
พญาไกสรสีหราชจึงถามฝูงสัตว์ทั้งหลายมีฝูงช้าง ฝูงม้า ฝูงโคและฝูงกระบือก็ตอบเหมือนกันว่า "พวกข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ทันถามไถ่ให้รู้แน่ว่าวิ่งหนีตายด้วยเหตุอันใด เห็นเขาวิ่งก็วิ่งไปด้วย เจ้านาย"
พญาไกสรสีหราชจึงถามฝูงเนื้อและฝูงสุกรว่า "พวกท่านวิ่งหนีตายด้วยเหตุอันใดหรือ?"
ฝูงเนื้อและฝูงสุกรก็ตอบว่า "พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย เห็นกระต่ายวิ่งหนีตายมา จึงถามเขาว่าวิ่งหนีตายด้วยเหตุอันใด? กระต่ายก็ตอบว่าแผ่นดินกำลังถล่มพวกท่านไม่รู้ดอกหรือ? เมื่อพวกข้าพเจ้าทั้งหลายได้ยินกระต่ายประกาศดังนั้นก็หลงเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริงจึงได้วิ่งหนีตายตามกระต่ายไปด้วย เหตุเป็นเช่นนี้แหละนาย"
พญาไกสรสีหราชจึงถามกระต่ายว่า "ดูก่อนกระต่ายข้อที่ท่านว่าแผนดินถล่มนั้น ท่านเห็นกับตาตนเองหรือไม่"
กระต่ายตอบว่า "ข้าพเจ้าไม่เห็นกับตาตนเองหรอก ข้าพเจ้าได้ยินแต่เสียงถล่มเท่านั้น นาย"
พญาไกสรสีหราชจึงกล่าวว่า "ท่านได้ยินตรงไหน พาพวกเราไปดูซิ"
กระต่ายตอบว่า "ข้าพเจ้าพาพวกท่านทั้งหลายไปดูไม่ได้ เพราะข้าพเจ้ากลัวเสียงนั้นอย่างสุดใจแล้ว ข้าพเจ้าไปที่ตรงนั้นไม่ได้ พากันหนีด้วยกันไปเถิด อย่าไปเลย"
พญาไกสรสีหราชจึงพูดกับกระต่ายว่า "ถ้าเราไปด้วยท่านอย่ากลัวเลย ถ้าเกิดเหตุเช่นนั้นจริง ข้าพเจ้าจะพาท่านหนีไปรวดเร็วประดุจดังลมพัด แผ่นดินถล่มไม่ทันความเร็วของข้าพเจ้าดอก"
เมื่อกระต่ายได้ยินพญาไกสรสีหราชรับรองความปลอดภัยเป็นมั่นเหมาะเช่นนั้นก็เกิดความเชื่อถือในความปลอดภัยจึงได้พาพญาสีหราชและฝูงสัตว์ทั้งหลายไปดูตรงที่เกิดเสียงแผ่นดินถล่มนั่น
ครั้นกระต่ายพาไกสรสีหราชและฝูงสัตว์ทั้งหลายไปถึงต้นมะตูมและก็ได้ชี้บอกว่า "ช้าพเจ้านอนอยู่ใต้ต้นมะตูมนั้นและได้ยินเสียงแผ่นดินถล่มอยู่ตรงนั้น เชิญท่านเข้าไปดูแต่เพียงผู้เดียวเถิด"
พญาไกสรสีหราชจึงเดินเข้าไปดูใต้ต้นมะตูมนั้นก็ได้เห็นลูกมะตูมลูกหนึ่งที่มีขั้วใหม่ๆอยู่ใกล้กับสถานที่ๆกระต่ายนอนนั้นจึงได้แหงนหน้าขึ้นไปดูข้างบนต้นมะตูม ก็เข้าใจได้ทันทีว่า เสียงแผ่นดินถล่มที่กระต่ายได้ยินนั้นก็เกิดจากเสียงของมะตูมหล่นนี่เอง เจ้ากระต่ายมันตื่นเสียงของลูกมะตูมหล่นนี่เอง
พญาไกสรสีหราชจึงได้ชี้แจงแสดงให้พวกสัตว์ทั้งหลายรู้ว่าเสียงที่กระต่ายได้ยินนั้นไม่ใช่เสียงแผ่นถล่ม มันเป็นเสียงที่มะตูมหล่นลงถูกใบตาลแห้งเท่านั้น เพราะความโง่เขลาไม่พิจารณาดูสาเหตุอย่างแท้จริงว่ามันเกิดมาจากอะไร จึงพากันหลงเข้าใจผิดคิดว่าเสียงนั้นเป็นเสียงแผ่นดินถล่มพลอยทำให้ผู้อื่นหลงเข้าใจผิดคิดโง่ไปตามด้วย
ข้อนี้เป็นเรื่องเตือนใจให้เรารู้ว่า "พระพุทธเจ้าของเราแม้พระองค์จะทรงเกิดเสวยพระชาติเป็นอะไร พระองค์ก็ทรงสอนให้สัตว์ทั้งหลายรู้สาเหตุแห่งความเป็นจริงเสมอ"
เรื่องของราชสีห์จบ
เรื่องของนกการเวก
๐นกการเวกทั้งหลายอาศัยอยู่ที่ภูเขากรวิก ซึ่งอยู่ห่างจากเทือกเขาอิสินธรออกไป ๒๑๐๐๐ โยชน์ มีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของภูเขาอิสินธรคือสูง ๑๐๕๐๐ โยชน์ เป็นที่อยู่ของนกการเวก นกที่เชื่อกันว่ามีเสียงไพเราะมาก หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปักษาวายุภักษ์ แปลว่า "นกกินลม" เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออก
ปรากฏในป่าหิมพานต์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่า บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟัง นอกจากนี้ยังปรากฏมีมาในพระบาลีว่าเสียงของนกการเวก หรือ นกปักษาวายุภักษ์ เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออก ปรากฏในป่าหิมพานต์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่า บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟัง นอกจากนี้ยังปรากฏมีมาในพระบาลีว่าเสียงของพระพุทธเจ้านั้นมีความไพเราะเหมือนเสียงพรหม แจ่มใสชัดเจน
เสียงของพระพรหมประกอบด้วยความไพเราะ ๘ ประการ คือ:-
๑. แจ่มใส
๒. ชัดเจน
๓. นุ่มนวล
๔. ชวนฟัง
๕. กลมกล่อม
๖. ไม่พร่า
๗. ลึกซึ้ง
๘. กังวาน
นกการเวกทั้งหลายถ้าปราถนาจะกินรสมะม่วงในป่าหิมพานต์ซึ่งมีรสชาติหอมหวานอันเอมโอชก็จะบินมาที่กุณาละสระซึ่งมีผลมะม่วงมากมายยิ่งนัก มะม่วงในป่าหิมพานต์นี้มีรสชาติอันอร่อยกว่ามะม่วงในชมพูทวีป ถ้านกการเวกได้กินมะม่วงในป่าหิมพานต์แล้วจะทำให้เสียงของมันไพเราะเสนาะโสตเป็นยิ่งนัก เมื่อมันได้จิกกินเนื้อมะม่วงเสร็จแล้วมันก็จะบินขึ้นไปบนยอดต้นไม้เริ่มบันลือเสียงอันไพเราะออกมาทำให้สัตว์ทั้งหลายที่ได้ฟังเสียงของมันเกิดเคลิบเคลิ้มมัวเมา พิศวงงงงวย ละเลิงหลงลืมตน ที่กำลังแสวหาหาอาหาร และที่กำลังกินอาหารอยู่ ก็จะหยุดการแสวงหาและกินอาหารนั้นเสียเงี่ยหูฟังโดยมิได้ไหวติงกายเลย เสือโคร่งและเสือเหลืองที่กำลังวิ่งไล่ติดตามเนื้ออยู่ก็จะสิ้นสติลืมตนที่สลวนที่จะเงี่ยหูฟังเสียงของนกการเวก แม้กระทั่งเท้าที่ยกขึ้นวิ่งก็มิอาจจะวางลงเหนือแผ่นดินได้ยืนแข็งทื่อไม่ไหงติงอยู่เช่นนั้น เนื้อตัวน้อยๆที่กำลังวิ่งหนีเสือเพราะความกลัวตาย พอได้ยินเสียงนกการเวกร้องขึ้นเท่านั้นมันก็จะลืมสติในความกลัวตายหยุดนิ่งฟังเสียงนกการเวกร้องอย่างเพลิดเพลินเจริญใจยิ่งนัก
นกทั้งหลายที่บินไปในอากาศเมื่อได้ยินเสียงนกการเวกร้องขึ้น มันก็จะราปีกหยุดบินนิ่งฟังเสียงนกการเวกร้องอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ แม้กระทั่งปลาที่อยู่ในน้ำเมื่อได้ยินเสียงนกการเวกร้องมันก็จะมัวเมาลืมตนสลวนที่เงี่ยหูฟังเสียงอันไพเราะของนกการเวกร้อง พวกมันจะลอยตัวแข็งทื่ออยู่เหนือน้ำอย่างไม่ไหวติง นกการเวกทั้งหลายมีเสียงร้องอันไพเราะจับจิตจับใจของคนและสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยประการฉะนี้
เรื่องของนกการเวกจบ
เรื่องของพญานกยูงทอง
๐ในป่าหิมพานต์มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า "ทัณฑะกะหิรัญญะบรรพต" ที่นับเข้าในยอดเขาหิมพานต์ภูเขาลูกนี้มีข้างชันมากและ ในภูเขาลูกนี้มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งที่ปากถ้ำมีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่งมีใบอันร่มรื่นยิ่งนัก และยังมีภูเขาแวดล้อมออกไปอีกเป็น ๗ ชั้น พระพุทธเจ้าของเราในตอนที่พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพญานกยูงทองนั้น พระองค์ก็ทรงได้พักอาศัยอยู่ในเทือกเขาเงินทัณฑะกะหิรัญญะบรรพตลูกนี้
พญานกยูงทองบรมโพธิสัตว์มีความปราถนาที่จะรักษาชีวิตให้ปราศจากภัย จึงได้หนีออกจากพวกนกยูงทองทั้งหลายไปอยู่ที่ภูเขาเงิน "ทัณฑะกะหิรัญญะบรรพต"แต่เพียงตัวเดียว เมื่อถึงเวลาเช้าที่จะออกไปแสวงหาอาหารก็จะประนมปีกนมัสการพระสุริยเทพบุตรแล้วกล่าวซึ่งพรหมมันตะคาถาว่า "
๐อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง ฯ
ครั้นถึงเวลาพระอาทิตย์อัสดงก็จะกลับสู่ยอดเขาทัณฑะฏะหิรัญบรรพตอันเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อกลับมาถึงแล้วก่อนที่พระอาทิตย์จะหายไปจากขอบฟ้าก็ประนมปีกนมัสการพระอาทิตย์กล่าวพรหมมันตะคาถาว่า
๐ อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง ฯ
ในสมัยนั้นยังมีพรานป่าคนหนึ่งอยู่ในบ้านชื่อว่า "เนสาทะคาม" ใกล้กรุงพาราณสี พรานป่าผู้นี้ได้เที่ยวไปในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งเขาเที่ยวไปไกลจนถึงภูเขาทัณฑะกะหิรัญญะบรรพตก็ได้พบเห็นพญานกยูงทองจับอยู่ที่ภูเขาลูกนี้ เมื่อเขาได้พบเห็นพญานกยูงทองแล้วเขารู้สึกพิศวงยิ่งนัก
ครั้นเขากลับมาถึงบ้านก็ได้บอกเรื่องนี้แก่ลูกชายว่า "วันนี้พ่อได้พบเห็นพญานกยูงทองจับอยู่ที่ยอดภูเขาทัณฑะกะหิรัญญะบรรพต ภูเขาลูกนี้อยู่ลี้ลับมากทางที่จะขึ้นไปสู่ยอดภูเขาลูกนี้ชันมากยากที่จะปีนขึ้นไปได้ และมีภูเขาอื่นแวดล้อมกั้นเอาไว้ถึง ๗ ชั้น"
พอเล่าเรื่องราวของนกยูงทองให้ลูกชายฟังแล้วต่อมาไม่นานเขาก็สิ้นใจตาย อยู่มาวัน
หนึ่งพระนางเขมาราชเทวี ผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระสุบินนิมิตร
ว่า "พญานกยูงทองมาแสดงธรรมเทศนาให้พระนางฟังซึ่งมีความไพเราะจับจิตจับใจยิ่งนัก ครั้นพระนางตื่นพระบรรทมก็ทรงปริวิตกที่จะไม่ได้ฟังธรรมเทศนาของพญานกยูงทองอีก พระนางจึงเอาเรื่องความฝันนี้ไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ เมื่อพระราชาทรงทราบเรื่องราวนี้แล้วจึงตรัสสั่งให้ประชุมเสนา อำมาตย์และข้าราชการทั้งปวงแล้วทรงตรัสถามในที่ประชุมว่า "นกยูงทองมีอยู่จริงหรือไม่"
ข้าราชการทั้งปวงก็กราบทูลว่า "นกยูงทองจะมีหรือไม่มี จะต้องถามพวกพรานป่า พระเจ้าข้า"
พระราชาจึงตรัสสั่งให้นายพรานป่าทุกคนในกรุงพาราณสีเข้ามาเฝ้าแล้วจึงตรัสถามพรานป่าว่า "พวกท่านทั้งหลายท่องเที่ยวไปในป่าใครได้เห็น พญานกยูงทองบ้าง"
พวกพรานป่าทุกคนก็กราบทูลว่า "ยังไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า แต่ลูกชายของนายพรานป่าที่บ้านเนสาทะคาม กราบทูลว่า "บิดาของข้าพระองค์ได้เคยเล่าให้ข้าพระองค์ทราบว่าท่านได้เห็นพญานกยูงทองจับอยู่ที่ยอดเขาทัณฑะกะหิรัญบรรพต ที่เป็นยอดภูเขาเงิน หม่อมฉันได้ฟังบิดาเล่าให้ฟังดังนี้แต่มิได้ไปพบเห็นด้วยตนเอง พระเจ้าข้า"
พระราชาจึงตรัสสั่งว่า "ขอให้ท่านไปสืบเสาะหานกยูงทองตามที่บิดาของท่านเล่าให้ฟัง
ขอให้ท่านจับนกยูงทองนั้นมาให้ได้ เราจะให้รางวัลอย่างงามตามที่ท่านต้องการทุกประการ"
นายพรานแห่งบ้านเนสาทะคามก็ได้อาสาไปสืบเสาะหานกยูงทองตามที่บิดาของตนแนะนำไว้ เขาได้เดินข้ามภูเขาไป ๗ ลูก ก็ไปพบภูเขาเงืนที่มีความสวยงามยิ่งนัก ภูเขาลูกนี้มีความชันมากพ้นวิสัยที่คนจะปีนป่ายขึ้นไปยังข้างบนได้ เมื่อแลขึ้นไปบนยอดเขาก็ได้พบเห็นนกยูงทองตัวหนึ่งอยู่บนยอดเขาตามคำบิดาพูดเอาไว้จริงๆ นายพรานเนสาทเมื่อได้เห็นนกยูงทองแล้วเขาพยายามครุ่นคิดหาวิธีที่จะจับเอานกยูงทอง ไปถวายพระราชาให้ได้ แต่การจะปีนป่ายขึ้นไปจับนั้นทำไม่ได้จริงๆเพราะภูเขาสูงชันมาก เขาจึงได้สังเกตุว่าพญานกยูงทองไปหากินที่ไหน เมื่อรู้ที่พญานกยูงทองหากินแล้วเขาจึงทำบ่วงไปดักเอาไว้
ตรงที่พญานกยูงทองไปหากิน ด้วยอำนาจพระพรหมมนต์อันประเสริฐที่พญานกยูงทองร่ายทุกวันทั้งเช้าและเย็นนั้น เมื่อพญานกยูงทองเหยียบลงบนบ่วงๆนั้นก็ไม่รูดรัดเท้าของพญานกยูงทอง นายพรานเนสาทพยายามจับพญานกยูงทองเป็นเวลาถึง ๗ ปี ก็ไม่สามารถที่จะจับพญานกยูงทองได้ นายพรานเฝ้ากระทำเช่นนั้นอยู่ถึง ๗ บี ก็สิ้นอายุขัยอยู่ตรงนั้นนั่นเอง
ฝ่ายพระนางเขมาราชเทวีเมื่อไม่ได้นกยูงทองก็ทรงเศร้าโศกเสียใจและทรงตรอมใจตายไปในที่สุด พระราชาแห่งกรุงพาราณสีเมื่อเห็นพระมเหสีตรอมใจตายไปก็ทรงพิโรธยิ่งนัก ทรงคิดว่าพระมเหสีของเราตรอมใจตายเพราะปราถนายากได้นกยูงทอง นกยูงทองตัวนี้เป็นคู่กรรมคู่เวรของเรา จำเราจะต้องให้จับนกยูงทองตัวนี้ให้ได้ พระราชาจึงได้ทรงเขียนพระอักษรไว้ในแผ่นทองคำว่า "บนยอดเขาเงินชื่อทัณฑะกะหิรัญบรรพตนั้นมีนกยูงทองตัวหนึ่งมีคุณวิเศษยิ่งนัก ถ้าใครได้กินเนื้อนกยูงทองตัวนี้แล้วผู้นั้นจะไม่แก่ไม่ตายรูปร่างจะเป็นอมตะ ภูเขาลูกนี้เป็นภูเขาลูกที่ ๔ที่ล้อมรอบสระอโนดาด แต่ก่อนจะถึงภูเขาลูกนี้จะต้องผ่านภูเขาไป ๗ ชั้น เมื่อพระองค์ทรงเขียนอักษรเช่นนี้ไว้ในแผ่นทองคำแล้วจึงเอาแผ่นทองคำนี้ใส่ไว้ในหีบทองคำและทรงเก็บเอาไว้อย่างดี เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว พระราชาแห่งกรุงพาราณสีองค์ใหม่ เมื่อได้ทรงอ่านพระอักษรในแผ่นทองนั้นแล้วก็สำคัญว่าจริง ทรงคิดว่าถ้าเราได้กินเนื้อของนกยูงทองตัวนี้แล้วเราก็จะไม่แก่ไม่ตาย
เมื่อได้ทรงอ่านพระอักษรในแผ่นทองนั้นแล้วทรงให้ป่าวร้องเรียกนายพรานป่าทั้งหลายมาประชุมแล้วตรัสว่า "เราได้อ่านอักษรในแผ่นทองที่บุรพกษัตริย์ในอดีตทรงเขียนอักษรเอาไว้ว่า ณ ที่ ยอดเขา ทัณฑะกะหิรัญบรรพต ภูเขาเงิน มีนกยูงทองตัวหนึ่งจับอยู่บนยอดเขานั้น ใครได้กินเนื้อของนกยูงทองตัวนั้นแล้วจะไม่แก่ไม่ตายจะมีอายุยืนยาวเป็นอมตะ นายพรานคนไหนสามารถไปจับนกยูงทองตัวนั้นมาให้เราได้ เราจะให้รางวัลอย่างงามเช่น ทรัพย์สินเงินทอง บ้านเรือน ที่ดิน ช้างม้า วัวควาย หญิงสาวชายหนุ่มให้เป็นข้าทาสบริวาร"
ครั้นนายพรานทั้งหลายได้เห็นรางวัลมากมายเช่นนั้นก็รับอาสาแต่ก็ไม่มีนายพรานคนไหนจับนกยูงทองมาได้แม้แต่คนเดียว พระราชาในกรุงพราณสีล่วงไปแล้วถึง ๖ พระองค์และนายพรานที่พระราชาส่งไปจับพญานกยูงทองตายไปแล้วถึง ๖ คน ก็ไม่สามารถจับพญานกยูงทองมาได้
ครั้นมาถึงพระราชาองค์ที่ ๗ พระองค์ก็ทรงอ่านอักษรที่จารึกไว้ในแผ่นทองนั้น พระองค์ก็มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปป่าวร้องเรียกนายพรานป่าทั้งหลายให้มาประชุมที่ท้องพระโรงแล้วพระองค์ก็ตรัสกับพวกนายพรานทั้งหลายว่า "เราได้อ่านอักษรที่จารึกไว้ในแผ่นทองว่า บนยอดเขาทัณฑะกะหิรัญบรรพต ที่ภูเขาเงินในป่าหิมพานต์ มีนกยูงทองตัวหนึ่งจับอยู่บนยอดเขานั้น ถ้าใครได้กินเนื้อนกยูงทองตัวนั้นแล้วคนนั้นก็จะมีอายุยืนยาวเป็นอมตะ ถ้าใครสามารถจับนกยูงทองตัวนั้นมาให้เราได้เราจะให้ทรัพย์สินเงินทองเป็นจำนวนมากแก่ผู้นั้นและจะทูลขออะไรเราก็จะให้หมด"
ในขณะนั้นมีนายพรานป่าคนหนึ่งชื่อเฉโกรับอาสาที่จะไปจับนกยูงทองตัวนั้นมาให้ได้ พระราชาก็ทรงส่งเขาไปตามที่ตกลงกันไว้ นายพรานเฉโกพอไปถึงยอดเขาทัณฑะกะหิรัญบรรพตแล้ว เขาก็ไปสำรวจดูที่ทางที่นกยูงทองไปแสวงหาอาอาร เมื่อไปเจอที่เที่ยวแสวงหาอาหารของนกยูงทองแล้วเขาก็เอาบ่วงไปดักไว้บนทางเดินของนกยูงทอง ส่วนตัวเขาก็ได้แอบอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ๆเพื่อดูว่านกยูงทองจะติดบ่วงหรือไม่
ส่วนนกยูงทองเมื่อมาถึงที่แสวงหาอาหารแล้วก็ได้เหยียบลงไปที่บ่วงๆนั้นไม่รูดรัดเท้าของนกยูงทองก็รู้เลยทันทีว่านกยูงทองตัวนี้รู้พระมนต์อันวิเศษอันเป็นพระปริตที่สามารถคุัุมครองตัวจากอุบัติภัยและอันตรายได้ นายพรานคิดว่า "การที่จะทำลายมนตราของพญานกยูงทองตัวนี้ได้จะต้องอาศัยมาตุคามคือจะต้องใช้อุบายนารีพิฆาตคือจะต้องหานกยูงทองตัวเมียรุ่นสาวมาล่อนกยูงทองตัวนี้ให้ลุ่มหลงในการจำเริญมนตรา นกยูงทองตัวนี้ก็จะติดบ่วงอย่างแน่นอน" ว่าแล้วนายพรานก็ลงจากเนินเขาลงไปยังปัจจันตประเทศเพื่อดักเอานกยูงทองตัวเมียในป่าเขาที่ปัจจันตประเทศหลายวันจึงได้นางนกยูงทองตัวเมียมาตัวหนึ่ง แล้วฝึกสอนให้อยู่ในอำนาจของตน ถ้าปราถนาจะให้มันฟ้อนก็ตบมือนางนกยูงก็จะฟ้อน ถ้าปราถนาจะให้มันร้องดีดมือเข้ามันก็จะร้อง เมื่อทำการฝึกสอนนางนกยูงให้รู้ดีแล้ว นายพรานเนสาทก็นำเอานางนกยูงทองไปยังยอดเขาทัณฑะกะหิรัญบรรพต ณ ที่ภูเขาเงิน
เวลาตอนเช้าตรู่เมื่อดักบ่วงเสร็จแล้วก็เอาเชือกผูกขานางนกยูงทองตัวเมียเอาไว้ใกล้ๆบ่วงตรงทางเดินที่จะไปแสวงหาอาหาร ส่วนตัวเองก็แอบซุ้มอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ๆที่นั้นแล้วก็ดีดมือขึ้น นางนกยูงทองเมื่อได้ยินเสียงดีดมือของนายพรานก็ส่งเสียงร้องอันไพเราะขึ้น พญานกยูงทองที่อยู่บนจอมเขาเมื่อได้ยินเสียงร้องของนางนกยูงทองแล้วก็เกิดความเร่าร้อนไปทั่วสารพางค์กาย ด้วยอำนาจของราคะดำกฤษณาอันเป็นกิเลสที่ระงับมานานถึง ๗๐๐ ปี ก็ระเบิดขึ้นทันทีในขณะนั้น
พญานกยูงทองไม่สามารถจะตั้งสติเจริญมนตราที่ตนเจริญมาทุกวันได้ก็โผลบินลงมาจากยอดเขาอย่างฉับพลันทันที เมื่อบินลงมาถึงพื้นดินแล้วก็ตรงเข้าไปหานางนกยูงทอง ทันที บัดเดี๋ยวก็ติดบ่วงนายพรานที่ดักเอาไว้ เมื่อนายพรานเห็นพญานกยูงทองติดบ่วง แล้วก็รีบวิ่งออกมาจากที่แอบซุ้มในทันที แล้วตรงเข้าจับพญานกยูงทองได้จึงผูกมัดเอาไว้อย่างแน่นหนา จากนั้นก็ได้นำพญานกยูงทองมาถวายพระราชาแห่งเมืองพาราณสี
ส่วนพระเจ้ากรุงพาราณสีครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพญานกยูงทองที่ประกอบด้วยลักษณะอันงดงาม ก็ทรงมีพระทัยชื่นชมยินดียิ่งนักจึงตรัสพระราชทานอาสนะแก่พญานกยูงทอง พญานกยูงทองก็ได้จับอยู่บนอาสนะที่พระราชาทรงพระราชทานแล้วก็พูดจา เป็นภาษามนุษย์แล้วจึงทูลพระราชาว่า " ข้าแต่สมเด็จบรมบพิตรผู้ประเสริฐ พระองค์ให้นายพรานไปจับหม่อมฉันมาเพื่อประสงค์อันใดหรือ? พระเจ้าข้า"
พระราชาตรัสว่า "ดูก่อนพญานกยูงทอง เราได้ตำราข้างพระที่ๆพระราชาแต่อดีตทรงเขียนตัวอักษรเอาไว้ในแผ่นทองคำว่าถ้าผู้ใดได้กินเนื้อของท่าน ผู้นั้นก็จะมีอายุยืนยาวไม่รู้จักแก่ ไม่รู้จักตาย"
พระญานกยูงทองเมื่อได้ยินพระราชาตรัสดังนั้นก็หัวเราะขึ้นด้วยเสียงอันดังแล้วกราบทูลว่า "อักษรที่พระองค์ได้ทรงอ่านนั้นเป็นอักษรที่เขียนขึ้นเพราะความเคียดแค้นในตัวของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า"
พระราชาตรัสถามว่า "ทำไมท่านจึงพูดเช่นนั้น พญานกยูงทอง"
พญานกยูงทองทูลว่า "ในสมัยแรกของกรุงพาราณสี พระนางเขมาราชเทวีของพระเจ้ากรุงพาราณสีอยากให้พญานกยูงทองมาแสดงธรรมให้ฟัง พระเจ้ากรุงพาราณสีจึงจ้างพรานป่าไปจับนกยูงทองมาให้ แต่พรานป่าไปจับแล้วไม่ได้พญานกยูงทองตามปราถนา เมื่อไม่ได้พญานกยูงทองจึงเป็นสาเหตุให้พระนางเขมาราชเทวีเศร้าโศกจนตรอมใจตายในที่สุด เมื่อพระนางเขมาราชเทวีตรอมใจตาย จึงเป็นสาเหตุให้พระเจ้ากรุงพาราณสีในสมัยนั้น ทรงโกรธแค้นเป็นยิ่งนัก จึงได้จาลึกอักษรลงในแผ่นทองคำว่า "ณ ที่ ยอดเขา ทัณฑะกะหิรัญบรรพต บนภูเขาเงิน มีนกยูงทองตัวหนึ่งจับอยู่บนยอดเขานั้น ใครได้กินเนื้อของนกยูงทองตัวนั้นแล้วจะไม่แก่ไม่ตายจะมีอายุยืนยาวเป็นอมตะ" แล้วทรงวางแผ่นทองคำนั้นไว้ข้างพระที่เพื่อประสงค์อยากให้พระราชาแห่งกรุงพาราณสีในรุ่นหลังเช่นเดียวกับพระองค์ช่วยฆ่าพญานกยูงทองตัวนี้ให้สมกับความอาฆาตแค้นที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ พระเจ้าข้า"
พญานกยูงทองทูลถามพระราชาต่อไปว่า "พระองค์ทรงคิดว่าหม่อมฉันจะไม่ตายหรือ?"
พระราชาตรัสว่า "ตายสิ"
พญานกยูงทองทูลว่า "ขอพระราชทาน ถ้าพระองค์ ทรงเห็นว่าหม่อมฉันตาย คนที่กินเนื้อของหม่อมทำไมหรือจะไม่ตาย พระเจ้าข้า"
เมื่อพระราชาได้ทรงฟังคำชี้แจงของพญานกยูงทองที่เป็นความจริงแล้วพระองค์ก็ทรงนิ่งอึ้งไปไม่สามารถจะตรัสอะไรต่อไปได้
พญานกยูงทองจึงได้แสดงธรรมถวายพระราชาว่า "สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นคน, สั้ตว์, หรือต้นไม้ภูเขา จะต้องตายและแตกสลายไปในที่สุด ไม่มีอะไรจีรังยังยืน ธรรมดาว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย จะมีอายุยืนยาว ไม่รู้จักแก่จักตาย และจะมีรูปโฉม โนมพรรณงดงามปราศจากโรคภัยไข้เจ็บได้นั้น สาเหตุเกิดมาจากการรักษาศีล ๕ ให้ครบบริบูรณ์เท่านั้น สิ่งอื่นไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง
ขออภัยโทษ แต่ปางก่อนข้าพระองค์ก็ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เสวยศิริราชสมบัติที่เมืองนี้ ในขณะที่ข้าพระองค์เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในเมืองแห่งนี้ ข้าพระองค์ก็รักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด และข้าพระองค์ยังได้แนะนำให้ประชาราษฎรรักษาศีล ๕ ทุกคน เมื่อคนรักษาศีลได้ บ้านเมืองๆก็สงบสุขปราศจากโจรผู้ร้าย เมื่อข้าพระองค์สิ้นอายุขัยไปแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อสิ้นอายุขัยในเทวโลกแล้ว ด้วยอกุศลกรรมข้อหนึ่งทำให้ข้าพระองค์ได้ไปบังเกิดในกำเนิดของอเดรัจฉานเกิดเป็นนกยูงทอง ด้วยเหตุ ที่ทำให้ข้าพระองค์มีผิวพรรณวรรณะเป็นสีทองสดใสอันงดงามนั้น มันเกิดเป็นเช่นนี้ก็เพราะอานุภาพของศีล ๕ ตามที่ข้าพระองค์ได้บำเพ็ญรักษาในตอนเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นเป็นสาเหตุ ใช่ว่าจะงดงามโดยปราศจากเหตุคือกุศลก็หามิได้
ถ้าพระองค์ปราถนาจะให้มีร่างกายงดงามเป็นสีทอง ปราถนาจะให้มีอายุยืนยาว และปราถนาจะให้มีร่างกายสวยสดใสงดงามนั้น พระองค์ก็จะต้องรัษาศีล ๕ ให้ได้
พระราชาตรัสถามว่า "ดูก่อนพญานกยูงทอง ท่านมีหลักฐานพอที่จะทำให้ข้าพเจ้าเชื่อในคำพูดของท่านในเรื่องนี้ไหม๊ ?"
พญานกยูงทองทูลว่า " มีสิ หาบพิตร ในคราวที่ข้าพองค์เกิดเป็นเจ้าบรมจักรพรรดิในพระนครนี้ ข้าพระองค์ทรงรถที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ ซึ่งสามารถเหาะเหิรไปในอากาศได้ ราชรถนั้นข้าพองค์ได้ฝังเอาไว้ที่มงคลสระโบกขรณี พระองค์จงให้ขุดเอาราชรถขึ้นมาเถิด ราชรถนั้นจะเป็นสักขีพยานยืนยันว่า "คำพูดของข้าพระองค์เป็นความจริง"
พนระราชาจึงตรัสว่า "ดีแล้ว พระองค์ก็ทรงรับสั่งราชบุรุษวิดน้ำในสระจนแห้ง แล้วให้ขุดรื้อลงไปก็ได้พบราชรถที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ ตามที่พญานกยูงทองพูดไว้อย่างแท้จริง พระราชา แห่งเมืองพาราณสีก็ทรงโสมนัสยินดีเป็นยิ่งนัก พระเจ้ากรุงพาราณสีพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลายก็ทรงรักษาศีล ๕ ทั่วทุกตัวคน พระเจ้ากรุงพาราณสีก็ทรงยกราชสมบัติให้แก่พญานกยูงทองบรมโพธิสัตว์ พระบรมโพธิสัตว์ก็ถวายราชสมบัติ คืนให้แก่พระเจ้ากรุงพาราณสีเหมือนเดิม
พญานกยูงทองบรมโพธิสัตว์ยับยังอยู่ที่กรุงพาราณสี ๓ วัน และได้สั่งสอนให้พระเจ้ากรุงพาราณี พร้อมด้วยข้าราชบริพารให้รักษาศีลเจริญภาวนาและให้ตั้งอยู่ในอัปปมาทธรรมเป็นอันดีแล้ว ก็ได้ทูลลาพระเจ้ากรุงพาราณสีสู่ภูเขาทัณฑะกะหิรัญญบรรพตในป่าหิมพานต์ดังเดิม
เรื่องของนกมัยหสกุณี
๐นกมัยหะสกุณี เป็นนกที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เหตุที่มีชื่อว่า "มัยหะสกุณี" เพราะเป็นนกที่หวงอาหารไม่ยอมให้ผู้อื่นกินด้วยอยากกินแต่ผู้เดียว นกชนิดนี้จะเที่ยวหาหาอานตามซอกหิน ครั้นไปพบอาหารแล้วจะนิ่งกินอยู่แต่ผู้เดียวและจะร้องประกาศให้นกทั้งหลายรู้ว่า "ของกูๆ ๆ ๆ" หวังจะให้นกอื่นไม่ให้เข้ายุ่งในอาหารของตนเอง นกทั้งหลายแทนที่จะฟัง กลับเป็นการยัวยุให้นกทั้งหลายรีบบินเข้ามากินแล้วก็บินหนีไป นกมัยหะสกุณีก็ร้องให้เสียใจ เพราะห้ามนกทั้งหลายไม่ได้
เรื่องของพญาวานร
๐พญาวานร อาศัยอยู่ตามเนินเขาที่อยู่ใกล้สระในป่าหิมพานต์ ในป่าหิมพานต์ไม่ใช่จะมีแต่สระทั้ง ๗ ก็หามิได้ยังมีสระน้อยสระใหญ่อีกเป็นจำนวนมาก ถ้าในสระใดมีผีเสื้อน้ำเป็นเจ้าของแล้ว ถ้าพวกผีเสื้อน้ำพิทักษ์รักษาอยู่สระใด ถ้าสัตว์ใดหลงเข้าไปอาบน้ำกินน้ำในสระนั้น ผีเสื้อน้ำที่พิทักษ์รักษาก็จะจับกินเป็นอาหาร
ตามแนวเนินเขาในป่าหิมพานต์มีสระอยู่สระหนึ่งที่มีน้ำใสเย็น และบริบูรณ์ด้วยดอกบัว ๕ ชนิด ในเนินเขาไกลริมน้ำนั้นมีผีเสื้อน้ำตนหนึ่งที่เป็นเจ้าของสระ และในที่ใกล้สระโบกขรณีนั้นมีหมู่วานรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในกาลครั้งนั้นพระเทวทัตต์ได้เสวยพระชาติเป็นหัวหน้าวานรทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้มากไปด้วยความริษยา ถ้ามีลูกเป็นตัวผู้ก็จะกัดตายเสียแทบทุกตัวเพราะกลัวว่าลูกจะมาเป็นจ่าฝูงแข่งกับตัวเอง ในกาลครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ปฏิสนธิในครร๓์ของนางวานรตัวหนึ่งซึ่งเป็นภรรยาแห่งวานรฝูงนั้น
นางวานรเมื่อเห็นว่ามีครรภ์แก่แล้วก็หลบหนีไปคลอดลูกในสถานที่อื่นที่ห่างไกลจากหัว หน้าฝูง พระโพธิสัตว์เมื่อเจริญวัยขึ้นก็เป็นวานรที่มีพละกำลังมาก ครั้นอยู่มาวันหนึ่งพระโพธิสัตว์ก็ได้ถามมารดาว่า "ใครเป็นบิดาของข้าพเจ้า บิดาของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน?"
นางวานรที่เป็นแม่ก็ตอบว่า "บิดาของเจ้าเป็นหัวหน้าฝูงอยู่ที่เนินเขาลูกนั้น"
พระโพธิสัตว์จึงถามมารดาว่า "ข้าแต่แม่ ท่านจะพาลูกไปยังสำนักของบิดาจะได้หรือไม่ ลูกอยากไปเห็นสำนักของบิดาจริงๆ ครับแม่"
นางวานรผู้เป็นมารดาจึงกล่าวว่า "ดูก่อนพ่อ ผู้เป็นลูกรักแม่ก็อยากพาเจ้าไปยังสำนักของบิดาเหมือนกันแต่แม่กลัวว่าบิดาผู้โหดร้ายและหยาบช้าของเจ้าจะขบกัดเจ้าตายเสีย
เพราะถ้าบิดาของเจ้ารู้ว่ามีลูกเป็นตัวผู้จะขบกัดให้ตายหมดไม่มีเหลือสักตัว ด้วยกลัวว่าลูกจะมาแย่งตำแหน่งหัวหน้าฝูงของตนเองไป เขาไม่เคยมีเมตตากรุณาแม้กับลูกของตัวเอง เพราะเหตุฉะนี้แม่จึงหลบหนีมาคลอดเจ้าที่นี้ จะได้กินดีอยู่ดีไม่มีภัย เจ้ามีความจำเป็นอะไรที่จะกลับไปยังที่มีอันตรายเช่นนั้นเล่า?"
พระโพธิสัตว์กล่าวกับมารดาว่า "ข้าแต่แม่ ข้อนั้นลูกรู้ตัวเองดี ลูกไม่เป็นอะไรหรอก พา ลูกไปเถอะแม่ไม่ต้องกลัวในเพราะเหตุนี้ มารดาทนลูกรบเร่าไม่ไหวก็เลยพาลูกไปยังสำนักของบิดา"
ส่วนพญาวานรจ่าฝูงเมื่อได้เห็นลูกตัวเองก็โทมนัสขัดเคือใจยิ่งนัก นึกในใจ "ลูกเจ้ากรรมตัวนี้ มันโตเต็มที่แล้ว ถ้าขืนปล่อยไว้นานมันจะต้องมาแย่งชิงความเป็นจ่าฝูงของเราไปอย่างแน่นอนจำจะต้องทำอุบายฆ่าให้มันตายเสีย" คิดฉะนี้แล้ว วานรจ่าฝูงจึงแกล้ง ระงับความโกรธแค้นเอาไว้ กระทำประหนึ่งว่ารักใคร่ยิ่งนัก พูดจาถามไถ่ด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวานว่า "ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ไปไหนมาเชิญเข้ามาใกล้ๆบิดาสิ เมื่อพระโพธิสัตว์ เข้าไปใกล้ๆแล้วก็ทำทีว่าจะสวมกอดเพื่อเชยชม ครั้นกอดเข้าได้ทีแล้วจึงกอดรัดให้ แหน่นหมายจะรัดให้ตายคามือ หน่อพระโพธิสัตว์มีกำลังดุจพญาช้างสารก็ทะยานเข้ากอด วานรจ่าฝูงที่ศีรษะ วานรจ่าฝูงให้เจ็บปวดยิ่งนักประดุจดังลูกตาจะทะลักออกจากเบ้าตา จึงได้ปล่อยวางมีอออก ส่วนพระโพธิสัตว์ก็ได้ปล่อยวางมือเสียบาง วานรจ่าฝูงก็เศร้าสลด รันทดใจยิ่งนัก เมื่อไม่สามารถจะฆ่าพระโพธิสัตว์ด้วยวิธีนี้ได้จึงคิดหาวิธีฆ่าโดยวิธีอื่น จึงอุบายที่จะส่งพระโพธิสัตว์ไปให้ผีเสื้อน้ำกิน จึงพูดเป็นอุบายกับพระโพธิสัตว์ว่า "ดูก่อนพ่อ บิดานี้ก็มีอายุมากแล้ว บิดาจะมอบตำแหน่งจ่าฝูงให้เจ้าๆจงไปเอาดอกโกมุท ๓ ชนิด ดอกบัว ๓ ชนิด และดอกประทุมชาติอีก ๓ ชนิด ที่อยู่ในสระโน้น บิดาจะทำพิธีอภิเสกเจ้า ให้เป็นหัวหน้าฝูงในวันพรุ่งนี้ เจ้าจงไปนำดอกไม้ทั้ง ๓ ชนิดมาให้พ่อในวันนี้
พระโพธิสัตว์ ครั้นได้รับคำสั่งเช่นนั้นก็ได้ไปรีบไปยังสระนั้น เมื่อไปถึงแล้วก็ได้ยืนอยู่ที่ขอบสระพิจาราดูที่ขอบสระก็เห็นแต่รอยเท้าของมนุษย์ที่ลงไปในสระนั้น แต่รอยเท้าขึ้นมาจากสระไม่มี พระโพธิสัตว์ก็เข้าใจในทันทีว่าสระนี้มีผีเสื้อน้ำอาศัยอยู่ คิดว่าบิดาหมายจะฆ่าเราด้วยวิธีกอดรัดให้ตายคามือแต่ไม่สำเร็จ บัดนี้ได้ส่งเรามาให้ผีเสื้อน้ำกินเราจะลงไปในน้ำไม่ได้เราต้องอยู่ข้างบน แม้อยู่ข้างบนเราก็มีวิธีที่จะเอาดอกบัวให้ได้ ว่าแล้วพระโพธิสัตว์ก็ไปยืนเหยียบอยู่ที่ขอบสระข้างนี้แล้วก็กระโดดโลดโผนโจนไปสู่ขอบสระข้างโน้น และโลดโผนโจนมาที่ขอบสรนะข้างนี้ ในเวลาที่โลดโผนโจนไปนั้นมือทั้ง ๒ ข้างก็คว้าเอา ดอกบัวข้างละ ๑ ดอก จนได้ดอกบัวครบตามจำนวนที่บิดาต้องการ
ฝ่ายผีเสื้อน้ำเมื่อเห็นผู้มาเก็บดอกบัวมีความเฉลียวฉลาดไม่ลงไปในน้ำเหมือนคนอื่นๆก็เกิดความเลื่อมใสในปัญญา ไม่สามารถจะทนอยู่ใต้น้ำต่อไปได้จึงขึ้นมาบนบกแล้วคิดว่า "พญาวานรตัวนี้เห็นที่จะประพฤติธรรม ๓ ประการเหล่านี้คือ:-
๑.ทักขิยัง คือผู้มีความเพียรอันกล้าแข็งเกิดขึ้นพร้อมกับปัญญา
๒.สุริยัง คือความกล้าหาญที่ปราศจากความกลัว
๓.ปัญญา คือเป็นผู้ฉลาดในอุบาย
ถ้าธรรม ๓ ประการนี้มีในสันดานของผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็จะครอบงำย่ำยีข้าศึกศัตรูได้ทั้งหมด"
ผีเสื้อน้ำจึงถามพญาวานรว่า "ท่านจะเอาดอกบัวไปทำอะไรหรือ?"
พญาวานรตอบว่า "บิดาจะอภิเษกตัวข้าพเจ้าให้เป็นหัวหน้า เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงนำเอาดอกบัวไปเพื่อการราชาภิเษกนั้น" ผีเสื้อน้ำพูดว่าท่านเป็นบุรุษผู้ประเสริฐ หาควรจะแบกดอกไม้ไปด้วยตนเองไม่ ว่าแล้วผีเสื้อน้ำก็ตรงเข้าไปคว้าเอามัดดอกบัวโยนขึ้นบ่าแล้วแบกเดินตามหลังพญาวานรไป พญาวานรผู้เป็นบิดาเมื่อเห็นเหตุการณ์กลับกลายเป็นเช่นนี้ก็เกิดโศกเศร้าเสียใจอับอายเป็นอันมากแล้วก็เกิดอกแตกออกเป็น ๗ เสี่ยงตายในที่สุด พระโพธิสัตว์ก็ได้รับการอภิเษกให้เป็นหัวหน้าของวานรทั้งหมด
เรื่องของม้าวลาหก
๐ภูเขาจิตรกูฏที่เป็นเทือกเขาอยู่ในป่าหิมพานต์์ซึ่งเต็มไปด้วยแก้ว ๗ ประการมีถ้ำแก้ว ใหญ่ที่สวยงามและมีบรรยากาศอันน่ารื่นรมณ์ยิ่งนัก ในภูเขาลูกนี้มีม้าชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ ในถ้ำแก้วแถบเชิงเขา มัาชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "ม้าพลามาคละ" ซึ่งเป็นม้าเกิดในตระกูล วลาหก ม้าวลาหกนั้นมีลำตัวขาวนวล และมีศีรษะดำดังปีกกา มีขนอ่อนดังใส้หญ้าปล้อง มีปากแดง และมีเท้าแดงทั้ง ๔ ข้าง ม้าชนิดนี้มีพละกำลังมากสามารถวิ่งเหาะเหิรไปในอากาศได้เป็นม้าอาชาไนยที่ประหลาดและปรนะเสริฐยิ่งนัก วิ่งรวดเร็วประดุจดังลมพ้ด เป็นม้าอาชาไนยที่ประเสริฐเลิศกว่าม้าทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกมนุษย์ใบนี้ ม้าชนิดนี้เป็นม้าของผู้ มีบุญคือพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิขึ้นนั่งแล้วขับขี่ไปรอบขอบจักรวาลในตอนเช้า เวลาประมาณบ่ายโมงก็จะวิ่งกลับมาถึงที่เดิม
ในสมัยหนึ่งพระพุทธโคดมเสวยพระชาติเป็นม้าวลาหก เมื่อพระองค์เห็นประชาชนคนไหนเกิดภัยได้ทุกข์ พระองค์ก็จะให้คนนั้นขี่หลังแล้วพาวิ่งไปส่งยังที่ปลอดภัย กาลครั้ง หนึ่งพวกพ่อค้า ๕๐๐ คน แล่นเรือสำเภาไปในทะเล เรือสำเภาโดนคลื่นยักษ์ถล่มจนเรือสำ เภาแตกทำลาย พวกพ่อค้าทั้ง ๕๐๐ คน ว่ายน้ำเข้าสู่เกาะลังกา และที่เกาะลังกานั้นมีนางยักษิณีอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมืองที่นางยักษิณีอาศัยอยู่นั้นมีชื่อว่า "เมืองสิริสะวัตถุ"
พวกนางยักษิณีทั้งหลายได้โลมเล้าให้พวกพ่อค้าทั้งหลายให้มีความรักใคร่ในตนแล้วก็นำพาไปสู่เมืองยักษ์ของตนเพื่อเอาไปเลี้ยงดูเป็นผัว ส่วนที่เป็นผัวอยู่แต่ก่อนนั้นก็จับเอา ไปใส่เรือนจำขังเอาไว้ ตั้งพ่อค้า ๕๐๐ คนที่ได้มาใหม่เหล่านั้นให้เป็นผัว
นางยักษิณีที่เป็นหัวหน้าก็ได้กับพ่อค้าที่เป็นหัวหน้า ส่วนนางยักษ์ทั้งหลายอื่นๆก็ได้พ่อค้าทั้งหลายเป็นผัวตามลำดับอายุกันไปทุกตน ในเวลากลางคืนนางยักษิณีทั้งหลายครั้นเห็นพ่อค้าผู้เป็นสามีพากันมัวเมาหลับไหลไปหมดแล้ว ก็ไปจับสามีเก่าที่จับขังไว้ในเรือน จำกินเสียให้หมด
ฝ่ายหัวหน้าพ่อค้าผู้เป็นชาติแห่งบัณฑิต พิจารณาเห็นว่าหญิงทั้งหลายเหล่านี้ไม่ใช่หญิงธรรมดา หญิงหล่านี้ล้วนเป็นนางยักษิณีทั้งสิ้น จึงไม่ประมาทมัวเมาเหมือนพ่อค้าคนอื่น หัวหน้าพ่อค้าจึงบอกให้พ่อค้าทั้งหลาย พวกเราทั้งหลายอย่าประมาทหลงไหลมัวเมาในคำลวงของพวกนางยักษิณี พวกเราทั้งหลายจะมาประมาทมัวหลงไหลกับนางยักษิณี เหล่านี้ย่อมไม่ควร สักวันหนึ่งเมื่อพวกมันจับเอาผู้ชายอื่นมาเป็นผัวได้แล้วมันก็จะจับพวกเรากินเป็นอาหารอย่างแน่นอน พวกเราพากันหลบหนีจากพวกมันไปเถอะ พ่อค้า ๒๕๐ คนที่เป็นคนดีก็เชื่อในกล่าวสอนของหัวหน้า พ่อค้าที่เป็นหัวหน้าก็นำพ่อค้า ๒๕๐ คน ที่อยู่ในโออวาทหลบหนีจากนางยักษิณีก็ไปพบม้าพระโพธิสัตว์ที่เหาะเหิรมาแต่ป่าหิมพานต์เพื่อกินข้าวสาลีที่บังเกิดในลังกาทวีป เมื่อม้าพระโพธิสัตว์เห็นพ่อค้าจึงประกาศขึ้นเป็นภาษา มนุษย์ว่า "ถ้าใครจะกลับบ้านกลับเมืองก็ให้รีบมาเถอะเราจะไปส่งให้"
เมื่อพวกพ่อค้าได้ยินเสียงประกาศเช่นนั้น ก็ดีอกดีใจเป็นหนักหนาเหมือนเทพเจ้ามาโปรดจึงรีบเข้าไปหาม้าพระโพธิสัตว์แล้วพูดจาขอร้องให้ม้าพระโพธิสัตว์นำพวกตนกลับ บ้านเมืองด้วย ม้าพระโพธิสัตว์ก็ยินยอมแล้วพูดว่า "ใครจะไปบ้านเมืองให้ขึ้นบนหลังข้าพเจ้า บางจำพวกก็ขึ้นขี่บนหลัง บางจำพวกก็จับที่ลำตัว บางจำพวกก็ยืนประนมมือ ม้าพระโพธิสัตว์ก็ได้นำพ่อค้าแต่ละคนกลับสู่บ้านเมืองของตนอย่างปลอดภัยทุกคน เมื่อไปส่งพ่อค้าทุกคนอย่างปลอดภัยแล้ว ม้าพระโพธิสัตว์ก็เหาะกลับสู่ถ้ำแก้วพิจิตรรัตนคูหา ที่ภูเขาจิตรกูฏในป่าหิมพานต์
ส่วนพวกพ่อค้าอีก ๒๕๐ คน ที่ไม่เชื่อโอวาทของพ่อค้าที่เป็นบัณฑิต เมื่อนางยักษิณีได้ชายใหม่มาเป็นสามีก็ถูกนางยักษิณีจับกินสิ้นทุกตัวคน
เรื่องของม้าสินธพ
๐ม้าสินธพ มีลักษณะภายนอกเป็นม้าแต่มีหางเป็นปลาตัวสีดำ หางแปรงสีขาว อาศัยอยู่ บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งของประเทศอินเดีย
ม้าสินธพเกิดจากม้าตัวผู้และนางลาตัวเมียประสมพันธ์กัน เป็นม้าที่มีกำลังมากและมีกำลังอันว่องไวรวดเร็วมาก มันวิ่งเร็วจนสามารถวิ่งไต่ไปบนหลังน้ำได้
คุณพิเศษของม้าสินธพ
๑.ถ้าม้าสินธพวิ่งไปบนใบบัวๆ ก็จะไม่จมน้ำและใบบัวทั้งหลายก็จะไม่ไหวแม้แต่นิดเดียว
๒.ถ้านายม้าตบมือแล้วแบมือข้างหนึ่งไว้ ม้าสินธพก็จะกระโจนขึ้นไปยืนบนฝ่ามือได้
๓.เมื่อเข้าสู่สงครามถัาข้าศึกศัตรูอยู่ในหลุมเพื่อจะตัดขา ม้าสินธพก็จะกระโจนข้ามข้าศึกศัตรูไปได้
๔.ในขณะที่อยู่ในสมรภูมิ ถ้านายของมันเกิดดาบหลุดมือ มันก็จะย้อตัวลงต่ำให้นายของมันจับเอาดาบนั้นได้
๕.ถ้าออกรบกับข้าศึกในตอนกลางคืน มันก็จะเยาะยางไปอย่างเงียบๆไม่ให้ข้าศึกได้ยินเสียงฝ่าเท้าวิ่งของมันได้
๖.ถ้าข้าศึกมีเป็นจำนวนมากยากแก่การสู้รบเอาชนะได้ มันก็จะพานายของมันหลบหนีข้าศึกรวดเร็วอย่างไร้ร่องรอย
เรื่องของโคอุสุภราช