หน้าที่ ๔.ประวัติศาสตร์สากล

  

                        ประวัติศาสตร์สากล

      

                        https://www.winnews.tv/news/12498

                           ภาพบุโรพุทโธ

    ประวัติศาสตร์สากลแบ่งออกเป็น  ๓  สมัย   คือ:-

      ๑.ประวัติศาสตร์สากลสมัยโบราณ

      ๒.ประวัติศาสตร์สากลสมัยกลาง

      ๓.ประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่

            ประวัติศาสตร์สากลสมัยโบราณ

    
                นี่คือภาพประวัติศาสตร์สากลสมัยโบราณ           
    สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลักโดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูก สิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า
ยุคหินกลาง และ ยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก  เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักนำหินมาปรับใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์และอาวุธ นักโบราณคดีกำหนดให้ยุคหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สากล) อยู่ระหว่าง 2.5 ล้านปี ถึงประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว แต่เนื่องจากสิ่งที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือหิน ดังนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคหิน ทั้งนี้ยุคหินตามพัฒนาการเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อย คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ ดังนี้
   1. ยุคหิน (Stone Age)
     1.1 ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Stone Age) อยู่ระหว่าง 2,500,000 -10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผา ยังไม่มีความคิดสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุธรรมชาติหรือตั้งรกรากถาวร ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ หาปลา และเก็บหาผลไม้ในป่า เมื่ออาหารตามธรรมชาติหมดก็อพยพไปหาแหล่งอาหารที่อื่นต่อไป มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักประดิษฐ์เครื่องมืออย่างหยาบๆ เครื่องมือที่ใช้ทั่วไป คือ เครื่องมือหิน
กะเทาะ ที่มีลักษณะหยาบ ใหญ่ หนา กะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้าน ไม่มีการฝนให้เรียบ มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักนำหนังสัตว์มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้แสงสว่าง ให้ความปลอดภัย และหุงหาอาหาร มีการฝังศพ ทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย และมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่างๆ ของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วย นอกจากนี้มนุษย์ยุคหินเก่ายังรู้จักสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งพบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้
สีฝุ่นสีต่างๆ ได้แก่ สีดำ น้ำตาล ส้ม แดงอ่อน และเหลือง ภาพที่วาดส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ เช่น วัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง เป็นต้น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของมนุษย์ยุคหินเก่าอยู่ที่ถ้ำลาสโก ประเทศฝรั่งเศส
   หลักฐานเครื่องมือหินที่นักโบราณคดีพบตามที่ต่างๆ เช่น ทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย และทวีป อเมริกา ทำให้มีการตั้งชื่อมนุษย์ยุคนี้ตามสถานที่ที่พบหลักฐาน เช่น มนุษย์ชวา พบที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย มนุษย์ปักกิ่ง พบที่ถ้ำใกล้กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล พบที่หุบเขาแอนเดอร์ ประเทศเยอรมนี มนุษย์โครมันยองพบที่ถ้ำโครมันยอง ประเทศฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยองเป็นมนุษย์ยุคหินเก่ารุ่นสุดท้าย
(อายุระหว่าง 30,000-17,000 ปีมาแล้ว) ที่ค้นพบและมีลักษณะเหมือนมนุษย์ปัจจุบัน
     1.2 ยุคหินกลาง (Mesolithic Period หรือ Middle Stone Age) อยู่ระหว่าง 10,000-6,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักทำเครื่องมือหินที่ มีความประณีตมากขึ้นด้วยการกระเทาะ ผิวด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านออกให้เกิดความคม ทำให้เครืองมือหินในยุคนี้มีรูปทรงที่เหมาะแก่การใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม เครื่องมือยุคหินกลางที่พบมีทั้งเครื่องมือสับ ตัด ขุด และทุบ
   หลักฐานเครื่องมือหินของมนุษย์ในยุคหินกลางพบในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โดยพบครั้งแรกในเวียดนามเรียกว่าวัฒนธรรมฮัวบิเนียน จัดเป็นวัฒนธรรมยุคหินกลางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
    1.3 ยุคหินใหม่ (Neolithic Period หรือ New Stone Age) อยู่ระหว่าง 6,000 -4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความเจริญทางวัตถุมากกว่ายุคหินกลาง รู้จักควบคุมธรรมชาติมากขึ้น รู้จักพัฒนาการทำเครื่องมือหินอย่างประณีตโดยมีการขัดฝนหินทั้งชิ้นให้เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้สอยมากขึ้นกว่าเครื่องมือรุ่นก่อนหน้านี้ เช่น มีดหินที่สามารถตัดเฉือนได้แบบมีดโลหะ มีการต่อด้ามยาวเพื่อใช้
แผ่นหินลับคมเป็นเสียมขุดดิน หรือต่อด้ามไม้สำหรับจับเป็นขวานหิน สามารถปั้นหม้อดินและใช้ไฟเผา สามารถทอผ้าจากเส้นใยพืชและทอเป็นเชือกทำเป็นแหหรืออวนจับปลา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำแนกมนุษย์ยุคหินใหม่ออกจากมนุษย์ยุคหินกลางก็คือการที่มนุษย์ยุคนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น มีการปลูกข้าวและพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ และเลี้ยงสัตว์หลายชนิดมากขึ้น เช่น แพะ แกะ
และ วัว ซึ่งก็คงทั้งไว้ใช้งานและเป็นอาหาร
   วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลก แต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่น คือ การสร้างอนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์  (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์ เพื่อพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์ และเพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก
   2. ยุคโลหะ (Metal Age) เริ่มเมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอันแสดงถึงการพัฒนาความสามารถทางความคิด ด้วยการมีควาสามารถ นำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้นั่นเอง ในระยะแรกของยุคโลหะจะพบว่าพวกเขารู้จักหลอมทองแดงและดีบุกซึ่งเป็นโลหะที่ใช้อุณหภูมิไม่สูงนักในการหลอม ต่อมาจึงพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีขึ้นมาจนสามารถหลอมเหล็กได้ ซึ่งการหลอมเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูง นักโบราณคดีจึงแบ่งยุคโลหะออกเป็น 2 ยุคตามความแตกต่างของระดับเทคโนโลยีและวัสดุที่นำมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ดังนี้
    2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) การเริ่มต้นของยุคสำริดในแต่ละภูมิภาคจะต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มระหว่างประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้มนุษย์รู้จักนำทองแดงผสมกับดีบุกหลอมรวมกันกลายเป็นโลหะผสมที่เราเรียกว่า สำริด มาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธที่มีคุณภาพดีกว่าที่ทำจากหินขัดมาก การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคนี้ก็เปลี่ยนไปจากการเป็นชุมชนเกษตรกรรมเล็กๆ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่าชุมชนเมือง มีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมตามความสัมพันธ์และความสามารถ ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สังคมมีความมั่นคงและมีการสั่งสมอารยธรรมได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา แหล่งอารยธรรมสำคัญที่มีพัฒนาการจากสังคมสมัยหินใหม่สู่สมัยสำริด เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดีย และแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงเหอในประเทศจีน เป็นต้น
    2.2 ยุคเหล็ก (Iron Age) เริ่มเมื่อประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว เป็นช่วงของการพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ต่อเนื่องจากยุคสำริด หลังจากที่มนุษย์สามารถนำทองแดงมาผสมกับดีบุกและหลอมเป็นโลหะผสมได้แล้ว มนุษย์ก็คิดค้นหาวิธีนำเหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มีความแข็งและทนทานกว่าสำริดมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ ด้วยการใช้อุณหภูมิในการหลอมที่สูงกว่าการหลอมสำริด แล้วจึงตีโลหะเหล็กในขณะที่ยังร้อนอยู่ให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ เนื่องจากเหล็กใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้มีความเหมาะสมกับงานการเกษตรที่ต้องใช้ความแข็งแรงมากกว่าสำริด และมีความทนทานกว่าด้วย จึงทำให้มนุษย์ยุคเหล็กสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เหล็กยังใช้ทำอาวุธที่มีความแข็งแกร่งและทนทานกว่าสำริด จึงทำให้สังคมมนุษย์ยุคนี้ที่พัฒนาเข้าสู่ยุคเหล็กและเข้าสู่ความเป็นรัฐได้ด้วยการมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพกว่า สามารถปกป้องเขตแดนของตนเองได้ดีกว่า ทำให้สังคมเมืองของตนมีความมั่นคงปลอดภัย และในที่สุดก็สามารถขยายอิทธิ พลไปยังดินแดนอื่นๆ ได้ในเวลาต่อมา      
    สมัยประวัติศาสตร์ของตะวันตก แบ่งออกเป็น  4  ยุค ดังนี้
      1.ยุคโบราณ
         1.1 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสหรือ เมโสโปเตเมีย
     อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีสหรือ เมโสโปเตเมีย เป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2  สาย คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้ อยู่ในเขตแดนของประเทศอิรักซึ่งมีกรุงแบกแดด เป็นเมืองหลวง
   แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย  อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย อาณาเขตติดต่อดังนี้
      -ทิศเหนือ                    ติดต่อกับ ทะเลดำ และทะสาบแคสเปียน
      -ทิศตะวันตกเฉียงใต้      ติดต่อกับ คาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย
      -ทิศตะวันตก                ติดต่อกับ ที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์
      -ทิศตะวันออก              ติดต่อกับ ที่ราบสูงอิหร่าน
      บริเวณแม่น้ำ ไทกริส-ยูเฟรติส หรือบริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน ในอดีตเป็นดินแดนที่มีร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จนกลายเป็นอู่อารยธรรมของโลก ดินแดนแห่งนี้เป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำ 2 สายมาบรรจบกัน จึงเหมาะต่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จึงมีชื่ออีกอย่างว่าหนึ่ง ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (The Fertile Crescent)  หรือวงโค้วแห่งความอุดมสมบูรณ์ หรือที่รู้จักกัน คือ ดินแดนเมโสโปเตเมีย

      
                 นี่คือดินแดนเมโสโปเตเมียสมัยโบราณ
     ได้พบหลักฐานที่ยืนยันว่าดินแดนบริเวณนี้เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณในแถบเอเชียไมเนอร์ สองฝั่งแม่น้ำทั้งสองเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ ฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนกระทั่งที่ไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย เป็นแหล่งที่มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  เช่นเดียวกับประเทศอียิปต์ และผู้ที่เข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ส่วนมากจะเป็นพวกเร่ร่อนในทะเลทราย ถ้ากลุ่มใดเข้มแข็งก็มีอำนาจปกครองอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ พวกที่อ่อน แอก็จะเร่ร่อนต่อไป  หรืออยู่ในอำนาจผู้ที่แข็งแรงกว่า การปกครองแต่ละเมืองจึงเป็นแบบนครรัฐ มีอิสระ ชนชาติต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแถบนี้มีหลายเผ่าพันธุ์ กลุ่มชนต่างๆ ที่สร้างสรรค์อารยธรรมและมีหลักฐานปรากฏอยู่ คือ:-
   1.ชาวสุเมเรียน (Sumerians)
ชนชาติสุเมเรียน  (Sumerian)  เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณเมโสโปเตเมีย  ซึ่งเชื่อกันว่า  ชาวสุเมเรี่ยนได้อพยพมาจากที่ราบสูงอิหร่าน  และได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตอนล่างสุดของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสตรงส่วนที่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย  โดยเรียกบริเวณนี้ว่า  ซูเมอร์ (Sumer)  นักประวัติศาสตร์ถือว่า ซูเมอร์ คือ แหล่งกำเนิดของนครรัฐ (city-state) แห่งแรกของโลก
   การตั้งถิ้นฐานเริมแรกของชาวสุเมเรียนนั้นเป็นเพียงหมูบ้านกสิกรรม  ต่อมาเมื่อรวมกันและได้มีการสร้างชลประทานขึ้น  ทำให้หมูบ้านได้รวมเป็นศูนย์กลางการปกครองในลักษณะของเมือง  เมืองที่สำคัญได้แก่  อิเรค (Erech) อิริดู (Eridu) เออร์  (Ur)  ลาร์ซา (Larsa)  ลากาซ (Lagash) อุมมา (Umma) นิปเปอร์ (Nippur) คิช (Kish)  เป็นต้น  เมืองต่างๆเหล่านี้มีฐานะเป็นศูนย์กลางของการปกครองที่ไม่ขึ้นต่อกันที่เรียกว่า “นครรัฐ”   โดยแต่ละนครรัฐดูแลความเป็นอยู่ของคนในนครรัฐของตน
   ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน ได้แก่
     1.การประดิษฐ์ตัวอักษร อารยธรรมสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียที่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรได้เมื่อ300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เริ่มแรกตัวอักษรของชาวสุเมเรียนเป็นตัวอักษรภาพ ต่อมาได้มี การดัดแปลงคิดสัญลักษณ์ต่างๆ ใช้แทนภาพ ทำให้ง่ายต่อการบันทึกยิ่งขึ้น เครื่องหมายบางตัวใช้แทนเสียงในการผสมคำ มีจำนวนมากกว่า 350 เครื่องหมาย หลักฐานตัวอักษรของชาวสุเมเรียนพบในแผ่นดินเผาตัวอักษรเขียนด้วยก้านอ้อในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวแล้วนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง ตัวอักษรจึงมีลักษณะคล้ายลิ่ม จึงเรียกว่า อักษรลิ่มหรือคูนิฟอร์ม (Cuneiform) เนื่องจากคำว่า Cuneiform มาจากภาษาละตินว่า Cuneus แปลว่า ลิ่ม
         อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มของชาวสุเมเรียน

     

   2.วรรณกรรม วิธีการเขียนตัวอักษรลิ่มไม่สะดวกต่องานเขียนที่มีขนาดยาวๆ เพราะแผ่นดินเหนียวแผ่นหนึ่งบรรจุข้อความได้เพียงเล็กน้อย แต่ชาวสุเมเรียนมี วรรณกรรมที่ท่องจำสืบต่อกันมา เช่น นิยาย กาพย์ กลอน ส่วนเรื่องสั้นมีจารึกไว้ในแผ่นดินเผา งานเขียนส่วนใหญ่เขียนโดยนักบวช จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น โคลงสดุดีเทพเจ้า เพลงสวดเป็นต้น วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง คือ มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh Epic) กล่าวถึงการผจญภัยของกษัตริย์ของนครเออรุค ซึ่งสันนิษฐานว่าคงมีอิทธิพลต่อพระคัมภีร์เก่าเล่มแรกๆ ของพวกฮิบรู
   3. สถาปัตยกรรม การก่อสร้างของชาวสุเมเรี ยนส่วนใหญ่มักทำด้วยอิฐ ซึ่งทำจากดินเหนียวที่ตากแห้ง เรียกว่า sun-dried brick หรืออิฐตากแห้ง อิฐบางชนิดเป็นอิฐเผาหรืออบให้แห้ง เรียกว่า baked – brick จะทนทานและป้องกันความชื้นได้ดี กว่าอิฐตากแห้งจงใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงถาวร เช่น กำแพงที่นครคิช ที่มี ซากพระราชวังที่ก่อสร้างด้วยอิฐสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวสุเมเรียน คือ ซิกกูแรต (Ziggurat) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพีระมิดของอียิปต์ สร้างขึ้นบนฐานที่ยกสูงจากระดับพื้นดินมีบันไดทอดยาวขึ้นไป ข้างบนเป็นวิหารเทพเจ้า พบที่นครเออร์ เป็นซิกกูแรตที่มีฐานยาว 200 ฟุต กว้าง 150 ฟุต สูง 70 ฟุต สันนิษฐานว่าอาจเป็น Tower of Babel หรือเทาเวอร์ ออฟ บาเบิลตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ของชาวฮิบรู
          ซิกกูแรตสถาปัตยกรรมของชาวสุเมเรียน

     

    4.ปฏิทินและการชั่งตวงวัดปฏิทินของชาวสุเมเรียนเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี 29  1/2 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน แต่ละเดือนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งมี 7-8 วัน ส่วนระบบการชั่ง ตวง วัด ของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น ทาเลนท์ (talent) เชเคิล (shekel)และมีนา (mina) ดังนั้น 1 เชคเคิล เป็น 1 มีนา 60 มีนา เป็น 1 ทาเลนท์ (1 มีนา ประมาณ 1 ปอนด์กว่า) เรียกว่าใช้ระบบฐาน 60 ซึ่งมีอิทธิพลต่อการแบ่งเวลาในปัจจุบัน (คือ 60 วินาที เป็น 1 นาที 60 นาที เป็น 1 ชั่วโมง)
  2.ชาวแอคคัค (Akkad)
     เป็นพวกเร่ร่อนเผ่าเซมิติกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณซีเรียและทะเลทรายอาหรับ ได้เข้ามารุกรานยึดครองพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 2,300 ปี ก่อนคริสต์ศักราชโดยมีผู้นำชาวแอคคัดคือ ซาร์กอน (Sargon) ได้ยกทัพยึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนในซูเมอร์และรวบรวมดินแดนตั้งแต่ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เนียนไปจนถึงอ่าวเปอร์เซียเข้าเป็นจักรวรรดิแรกในเมโสโปเตเมีย แต่ยึดครองได้ไม่นานก็ถูกชาวสุเมเรียนล้มล้างอำนาจและจัดตั้งนครรัฐขึ้นมาปกครองใหม่
  3. ชาวอมอไรต์ (Amorite)
     เป็นชนเผ่าเซเมติกอพยพจากทะเลทรายอาระเบีย เข้ามายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและสถาปนาจักรวรรดิ บาบิโลเนียขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีนครบาบิโลนเป็นศูนย์กลางการปกครอง ซึ่งมีกษัตริย์ที่สำคัญคือพระเจ้าฮัมมูราบี (Hammurabi) ที่ได้รวบรวมกลุ่มต่างๆ ในเมโสโปเตเมียให้อยู่ภายใต้อำนาจการปกครอง ซึ่งผลงานสำคัญของพระองค์คือประมวลกฎหมายฮั มมู ราบี (The Hammura-bi’s
Code) เป็นกฎหมายที่ผสมผสานวัฒนธรรมชาวอาหรับกฎของเผ่าเซมิติกและจารีตประ เพณีของพวกสุเมเรียน กฎหมายนี้ครอบคลุมด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม เศรษฐกิจการถือครองที่ดินการทำมาหากินและอื่นๆ นอกจากนี้ก็กำหนดบทลงโทษที่เรียกว่า การลงโทษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน (an eye for an eye, and a tooth for a tooth) กล่าวคือ ถ้าผู้ทำผิดทำให้ใครตาบอด ผู้ทำผิดนั้นก็จะถูกลงโทษด้วยการถูกทำให้ตาบอด
เช่น กันจักรวรรดิบาบิโลเนียถูกชาวฮิตไทต์ (Hittite) รุกรานและล่มสลายลงเมื่อ 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช
      
            จารึกประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี
   4. ชาวฮิตไทต์ (Hittite)
     เป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนใต้รัสเซียได้อพยพขยายตัวมาตามแม่น้ำยูเฟรทีส และเข้าโจมตีทางเหนือของซีเรียและปล้นสะดมกรุงบาบิโลเนียของพวกอมอไรต์เมื่อประมาณ 1,595 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกอมอไรต์จึงหมดอำนาจลง ช่วงเวลาที่พวกฮิตไทต์มีอำนาจในเมโสโปเตเมียนั้นเป็นเวลาเดียวกับที่อียิปต์เรืองอำนาจ ทำให้ทั้งสองอาณาจักรทำสงครามแย่งชิงดินแดนเมโสโปเตเมีย ภายหลังสงบศึกจึงแบ่งพื้นที่กันยึดครอง กล่าวกันว่าพวกฮิตไทต์มีความสามารถในการรบมาก โดยเป็นชนเผ่าแรกที่นำเหล็กมาใช้ในการทำอาวุธรู้จักใช้ม้ารถเทียมม้าทำให้กองทัพเข้มแข็งและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว
   5.แอสสิเรียน (Assyrian)
     เป็นชนชาตินักรบ  มีวินัย  กล้าหาญ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงนิเนเวห์ (Nineveh) ได้สร้างอารยธรรมการสลักภาพนูนต่ำ ด้านการรบและการล่าสัตว์ มีการสร้างวังขนาดใหญ่  และสร้างห้องสมุดแห่งแรกของโลก  โดยพระเจ้าแอสซูรบานิปาลที่เมืองนิเนเวห์
   6.แคสเดีย(Chaldea)  หรือพวกบาบิโลเนียใหม่ 
     เป็นชนเผ่าฮีบรู  ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเดรดซาร์(Nebuchadrezzar)  ได้สร้างพระราชวังขนาดใหญ่และสร้างสวนพฤกษชาติ  บนพระราชวัง เรียกว่า “สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon) นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก นอกจากนั้นพวก คาลเดีย  ยังมีความรู้เรื่องการชลประทาน  ดาราศาสตร์  และคำนวณการโคจรของดวงอาทิตย์  ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง
    
                 นี่คือภาพสวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน      

                        คลิกฟังการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์

       https://www.youtube.com/watch?v=DppB4gTJEH0

      https://www.youtube.com/watch?v=pluydOmZoUo

       https://www.youtube.com/watch?v=61cmsAZflE8

                 ประวัติศาสตร์สากลสมัยกลาง

     http://hhistoryoftheworldd.blogspot.com/2014/09/blog-post_44.html

                         สมัยกลางหรือยุคมืด

                

                               นี่คือภาพการล้มสลายของจักรวรรดิโรมัน
   เริ่มประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 -15 เป็นช่วงรอยต่อหลังจากที่จักรวรรดิโรมันล่มสลาย ความเจริญหยุดลง ประดุจยุคมืด ประชาชนในยุโรปต่างไม่มีที่พึ่ง เจ้าผู้ครองแต่ละเมืองตั้งตัวเป็นใหญ่ เกิดระบบศักดินาสวามิภักดิ์ ประชาชนให้ความสำคัญกับศาสนจักรคริสต์โรมันคาธอลิคอย่างมาก การกระทำทุกอย่างถูกครอบงำโดยศาสนา ห้ามกระทำนอกเหนือจากคำสอนของศาสนา ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยมีรายละเอียดดังนี้
การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน   โรมันตะวันออกกับโรมันตะวันตกทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่
   ก่อนหน้านี้ โรมในสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน มีอาณาเขตกว้างขวางมาก จนมีการแบ่งการปกครองเป็นสองส่วน คือโรมันตะวันออกกับโรมันตะวันตก แต่แทนที่จะมีการปกครองที่ดีขึ้น ทั้งสองฝั่งกับทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่  
     
           จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 บุกเข้าโรม

                 
   จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นจักรพรรดิทางด้านตะวันออก ที่ทำสงครามชนะ สามารถบุกเข้าโรม รวมอาณาจักรโรมันไว้เป็นหนึ่งเดียว แต่ครั้งนี้เมืองหลวงไม่ได้อยู่ที่โรมเสียแล้ว เนื่องจากว่าคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิด้านตะวันออกก็อยากจะอยู่ที่ด้านตะวันออก คือกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งตั้งตามชื่อของเขาเอง หรืออาจเรียกว่า ไบแซนทิอุม หรือ ไบแซนไทน์ (Byzantium) ปัจจุบันคือ เมืองอิสตันบุล ในประเทศตุรกีนั่นหมายความว่าจักรวรรดิโรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ:-
   1. โรมันตะวันตก มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงโรม-ประเทศอิตาลี
   2. โรมันตะวันออก หรือถูกเรียกอีกชื่อว่า จักรวรรดิไบแซนไทน์ มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงคอนสแตนติโนเปิล

     พระเจ้าคอนสแตนตินได้เห็นนิมิตจากสวรรค์

          
    ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต พระเจ้าคอนสแตนตินก็หันไปพึ่งศาสนาในขณะที่นอนป่วยอยู่บนเตียง มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระเจ้าคอนแสตนตินจะข้ามแม่น้ำไปยังกรุงโรมในสมัยสงครามกลางเมือง เขาได้เห็นนิมิตจากสวรรค์(ซึ่งก็พึ่งจะแปลความหมายออกตอนนอนป่วย) ทำให้พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ส่งผลให้ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาของจักรวรรดิ ซึ่งกฎหมายของพวกโรมันบังคับให้ประชาชนต้องหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกระทั่งแพร่หลายในยุโรปในที่สุด
   หลังจากนั้นมาโรมันตะวันตกเริ่มอ่อนแอมากข้นเรื่อยๆ เนื่องจากถูกคุกคามจากชนเผผ่าต่างๆ และในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกวิสิกอธ หรือชนเผ่าเยอรันค.ศ.476 เผ่าเยอรมันได้ปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของโรมันตะวันตก(โรม) ถือเป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิโรมัน ดินแดนยุโรปจึงแยกแยกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ชนเผ่าที่สำคัญในยุคนั้นได้แก่ แฟรงค์ ออสโตรกอธ ลอมบาร์ด แองโกล-แซกซอน เบอร์กันเดียน วิสิกอธ แวนดัล เป็นต้น

       
    การสวมมงกุฏให้ดำรงตำแหน่ง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากพระสันตะปาปา


   ค.ศ.800 พระเจ้าชาร์เลอมาญ ได้รวบรวมดินแดนในยุโรปเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ และได้รับการอภิเษกจากพระสันตะปาปาซึ่งเป็นผู้นำของศาสนาคริสต์ ภายใต้ชื่อ “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)” หลังสิ้นสมัยพระเจ้าชาร์เลอมาญ ยุโรปถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ต่อมากลายเป็น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี
   การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล(โรมันตะวันออก) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นการสิ้นสุดของยุคมืดด้วย กล่าวคือ หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม(โรมันตะวันตก) โรมันทางฝั่งตะวันออก(ไบแซนไทน์) ก็ค่อยๆลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป แต่เป็นชาวกรีกดั้งเดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน
   พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น“ไบแซนไทน์”(Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิล เมืองที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรปยุคมืด แต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับชาวเติร์ก (Turk) ทำให้กรุงไบเซนติอุมกลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ อิสตันบูล (Istanbul) จนถึงปัจจุบัน

              
                 ระบบฟิวดัล Feudalism

         
   ยุโรปยุคกลาง เป็นการปกครองในระบบขุนนาง หรือที่เรียกว่า ระบบฟิวดัล หรืออาจเรียกอีกชื่อว่า ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย lord กับ ข้า ในเรื่องเกี่ยวกับ การหาผลประโยชน์ของที่ดิน เริ่มจากกษัตริย์มอบที่ดินให้ขุนนาง เพื่อตอบแทนความดีความชอบ ขุนนางทำหน้าที่ปกครองผู้คนที่อาศัยอยู่ในที่ดิน และมีพันธะต่อกษัตริย์โดยส่งคนไปช่วยรบ
     ระบบฟิวดัล
   ลักษณะ สำคัญ ของระบบนี้ คือ การจัดสรรที่ดินตามระดับชั้น เป็นทอด ๆ ส่งผลให้เกิดความจงรักภักดีระหว่าง นาย กับ ข้า โดยตรง กษัตริย์จึงไม่มีอำนาจในการควบคุมประชาชนจริง ๆ
   การจัดระเบียบที่ดิน โดยขุนนางจะสร้างปราสาท เพื่อเป็นศูนย์กลาง รอบนอกเป็นหมู่บ้าน มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบครบวงจร ผลิตสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชิวิต รวมถึงการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เหล่านี้ถูกเรียกว่าระบบ “แมเนอร์” (Manor)

   คริสตศาสนา  (ศาสนจักร)
   หลัง สมัยพระเจ้าคอนสแตนติน ได้ประกาศให้ชาวโรมันนับถือศาสนาคริสต์ คริสตจักร จึงเป็นสถาบันที่พึ่งทางใจและเป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ มีประสิทธิภาพ เป็นระบบระเบียบ และมีความเข้มแข็ง องค์สันตะปาปา เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด สามารถกำหนดนโยบายทุกอย่าง รวมถึงการเมือง ใน ยุคแรก ๆ คริสตจักรร่วมมือกับจักรวรรดิ์ ในการเรื่องการเมืองการปกครอง ทำให้มีอิทธิพลสูงสุด ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมรวมทั้งภูมิปัญญา  ต่าง ๆ
   นอกจากนี้ องค์สันตะปาปา ยังมีอำนาจกระทำ “บัพชนียกรรม” บุคคลใดก็ตามที่ต้องสงสัยว่ามีความเห็นขัดแย้ง กระทำการไม่เป็นไปตามคำสั่ง หรือนโยบายของคริสตจักร คือการขับไล่ให้ออกจากศาสนา ซึ่งถือเป็นโทษสูงสุด ทำให้ทุกคนเกรงกลัวการลงโทษ

             คริสต์ศาสนา

       
   ค.ศ.955 จักรพรรดิออตโต ที่ 1 ของเยอรมัน สถาปนาเป็น Holy Romans Empire H.R.E. แต่เกิดการขัดแย้งเรื่องอำนาจกับคริสตจักร ส่งผลให้ต่อสู้ชิงอำนาจ และเยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้จักรพรรดิองค์ต่อมาต้องขึ้นกับคริสตจักรโดยสิ้นเชิง
   ศตวรรษที่ 9-14 ระบบสวามิภักดิ์ พัฒนาสูงสุด ขุนนางท้องถิ่นมีอิทธิพล และอำนาจ สามารถต่อรองกับกษัตริย์ได้ ทำให้เกิดการเมืองแบบหลายศูนย์อำนาจขึ้นทั่วยุโรประหว่างนี้เกิดสงครามครูเสดขึ้น ค.ศ.1095-1291

              สงครามครูเสด

     
   สงคราม ครูเสด (The Crusades - Cross ไม้กางเขน) คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง  หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13
   สงครามครูเสด   ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ อยู่ ดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์
   ค.ศ.1055 เมื่อพวกเซลจูคเติร์ก เข้ามายึดครองเมืองแบกแดด พวกสุลต่านไม่ได้ปฏิบัติต่อชาว คริสเตียนเหมือนเช่นเคย พวกคริสเตียนในยุโรปจึงโกรธมาก
   ค.ศ.1095 องค์สันตะปาปาออร์บานที่ 2 (Pope Urban II)ได้เรียกประชุมขึ้นที่เคลอร์มองต์ ใน ได้ประกาศให้ทำสงครามครูเสดต่อ "พวกนอกศาสนา" (ซึ่งพวกคริสเตียนในเวลานั้นหมายถึงบรรดามุสลิมีนโดยเฉพาะ)องค์สันตะปาปาได้ปลุกระดมให้พวกคริสเตียนเข้าร่วมในสงครามครูเสด โดยประกาศว่า "ผู้ ใดถือไม้กางเขนหรือประดับไม้กางเขนเพื่อไปในสงครามครูเสด ย่อมถูกยกเว้นจากการถูกฟ้องร้องเรื่องหนี้สิน ไม่ต้องเสียภาษี และบุคคลภาพผู้นั้นอยู่ในพิทักษ์ของศาสนจักร ถูกไถ่บาปทั้งหมดและจะได้เข้าสวนสวรรค์อันสถาพร"
   การเริ่มรณรงค์ดังกล่าวนี้เอง เป็นที่มาของสงครามศาสนา หรือ "สงครามครูเสด"สงครามครูเสดเพื่อยึดครองแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ครั้งแรกอีก ตำนานกล่าวว่า เนื่องจากพวกคริสต์กลุ่มหนึ่งมีความเชื่อกันว่า โลกนี้จะถึงการอวสานเมื่อครบ ค.ศ. 1000 เรียกว่า Millennium และเชื่อว่าพระเยซูพร้อมด้วยสาวกจะเสด็จมาโปรดชาวโลกในวันนั้น
พวก คริสเตียนจำนวนมากจึงได้ละถิ่นฐานบ้านช่องของตนเดินทางไปชุมนุมกันใน ปาเลสไตน์ เพื่อรอวันโลกแตก แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1000 โลกไม่ได้
   อวสานตามที่พวกนี้คิดไว้ ประกอบกับพวกคริสต์จำนวนมากไม่ได้รับการปฏิบัติด้วยดีจากพวกสัลยูก ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในเวลานั้น พวกคริสเตียนนี้เมื่อกลับ บ้านไปแล้ว(คือทวีปยุโรป) ต่างพกเอาความเคียดแค้น ไปเล่าเรื่องแล้วแต่งเติมสิ่งที่ได้ประสบในปาเลสไตน์ให้พวกคริสเตียนด้วยกัน ฟัง มีคริสเตียนคนหนึ่ง ชื่อ ปิเตอร์ ได้ฉายาว่า ปิเตอร์ เดอะ เฮอร์มิต (ปิเตอร์ นักพรต ถือไม้เท้าท่องเที่ยวไปในเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ได้ป่าวประกาศข่าวเรื่องที่พวกคริสเตียนไปอยู่ในปาเลสไตน์เพื่อรอวันโลกแตก แล้วได้รับการข่มเหงจากพวกสัลยูก พร้อมทั้งได้ปลุกระดมให้พวกคริสเตียนรวมกำลังกันไปตีปาเลสไตน์กลับคืนมา)
   สงคราม ครูเสด มีการทำสงครามและพักรบ เป็นช่วง ๆ หลายครั้ง ยุติลงเมื่อ ค.ศ.1291 เมื่อพวกครูเสดถูกอียิปต์ยึดครอง ทำให้กองทัพจากยุโรปไม่สามารถเอาชนะจักรวรรดิมุสลิมได้กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในศึกครั้งนี้ อาทิ พระเจ้าริชาร์ด ใจสิงห์ (Richard the lionheart) อังกฤษ และ ซาลาดิน ของฝั่งอิสลาม

     กำเนิดชาติรัฐ (เริ่มประวัติการก่อตั้งเป็นประเทศต่าง ๆ ในยุโรป)
ค.ศ.1273  จักรพรรดิเป็นตำแหน่งไม่มีอำนาจ ขุนนางและผู้ครองแคว้นต่าง ๆ แตกแยกออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย ระบบศักดินาเริ่มเสื่อมสลาย
เกิดสงคามระหว่างขุนนาง ภายในประเทศ
ศตวรรษที่ 14-15 ขุนนางเริ่มเสื่อมอำนาจ เปิดโอกาสให้ระบบกษัตริย์รวบรวมก่อตั้งเป็น “ชาติรัฐ” ขึ้นมา ระหว่างนี้เกิดสงครามร้อยปี ระหว่าง
อังกฤษกับฝรั่งเศสขึ้น
                 สงครามร้อยปี

     
   สงครามร้อยปี เป็นความขัดแย้งระหว่าง อังกฤษและฝรั่งเศส นาน 116 ปี นับแต่ ค.ศ. 1337 ถึง 1453  เริ่มจากการอ้างสิทธิ์ของกษัตริย์อังกฤษ เหนือบัลลังก์ฝรั่งเศส คำที่นักประวัติศาสตร์ใช้นิยามสงครามความขัดแย้งแบ่งได้สามถึงสี่ช่วง คือ
    สงครามยุคเอ็ดเวิร์ด(Edwardian War 1337-1360)
    สงครามยุคแครอไลน์ (Caroline War 1369-1389)
    สงครามยุคแลงคาสเตอร์ (Lancastrian War 1415-1429)
อังกฤษ กับฝรั่งเศส เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน ชาวนอร์มังดีบุกไปชิงราชบังลังก์ที่เกาะอังกฤษเพราะยังอยากที่จะได้ดินแดน ของบรรพบุรุษกลับ มาอีกครั้ง อังกฤษกับฝรั่งเศสจึงทำสงครามกันเรื่อยมา
   สงครามร้อยปี   ช่วงหลังของสงครามอังกฤษสามารถบุกเข้าไปยึดดินแดนของฝรั่งเศสได้จนเกือบจะสิ้นชาติ แต่ก็มีการมาถึงของหญิงสาว “ฌานดาร์ค” (โจน ออฟ อาร์ค) Jon of Arc สาวชาวนาผู้ได้รับนิมิตจากพระเจ้าให้นำฝรั่งเศสไปสู่เอกราชจากพวกอังกฤษ

               นักบุญโจน อ๊อฟ อาร์ค วีรสตรีหญิง

                       
โจน เป็นผู้นำทัพฝรั่งเศสต่อสู้ จนสามารถช่วยให้ กษัตริย์ชาร์ล ที่ 7 สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสแต่ไม่ทันที่จะจบสงคราม โจน ก็ถูกฝรั่งเศสทรยศ จับตัวส่งไปให้อังกฤษเผาทั้งเป็น ในข้อหาว่าเป็นแม่มด แต่การกระทำของโจนก็ไม่เสียเปล่าพวกฝรั่งเศสขับไล่อังกฤษออกจากประเทศได้สำเร็จ
    นักบุญโจน ออฟ อาร์ค  ผู้ถือว่าเป็นหนึ่งในสาม นักบุญอุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศส
วีรกรรมของ โจน ทำให้ชาวฝรั่งเศสร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันต่อสู้เพื่อประเทศชาติ  จนเกิดการสร้างชาติ "ฝรั่งเศส" ในกาลต่อมาในที่สุด คริสต์ศาสนาได้ประกาศแต่งตั้งให้เป็น นักบุญโจน ออฟ อาร์ค  ผู้ถือว่าเป็นหนึ่่งในสาม นักบุญอุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศส
นักปราชญ์แห่งยุค
   -เซนต์ออกัสติน ค.ศ.354-430
เขียนเรื่อง The city of god เป็นวรรณกรรมทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของชาวคริสต์
   -เซนต์โธมัส อะไควนัส ค.ศ.1224-1274
เขียนเรื่อง Summa Theological เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อและศรัทธาอย่างมีเหตุผล
           นักปราชญ์แห่งยุค

      
   การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล (โรมันตะวันออก)
หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม (โรมันตะวันตก)  โรมันทางฝั่งตะวันออก (ไบแซนไทน์) ก็ค่อยๆ ลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด จักรพรรดิองค์ต่อๆ มาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป แต่เป็นชาวกรีกดั้ง เดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น “ไบแซนไทน์” (Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิลเมืองที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรปยุคมืดแต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับชาวเติร์ก (Turk) ทำให้กรุงไบเซนติอุม กลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ อิสตันบูล (Istanbul) จนถึงปัจจุบันยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
   ในปลายสมัยกลาง การศึกษาและการค้าเจริญก้าวหน้า ทำให้ผู้คนในสมัยนี้กระตือรือร้นแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถอธิบายเหตุการณ์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้ รวมทั้งเปิดโลกทัศน์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความเจริญต่างๆ ซึ่งแต่เดิมถูกปิดกั้นด้วยความเชื่อทางศาสนาว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้าบันดาลขึ้น พัฒนาการดังกล่าวเรียกว่า “ขบวนการมนุษย์นิยม (Humanism)” อนึ่ง การเรียนรู้ที่สำคัญในสมัยนี้
คือการฟื้นฟูศิลปวิทยาการสมัยคลาสสิก ซึ่งเป็นความเจริญของกรีกและโรมันในอดีต
      ขบวนการมนุษย์นิยม
   ขบวนการมนุษย์เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่แหลมอิตาลี โดยเฉพาะที่นครฟลอเรนซ์ (Florence) โรม และเวนิส โดยกลุ่มนักวิชาการซึ่งศึกษาวรรณกรรมคลาสสิกและศาสตร์ต่างๆ หลังจากนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้มีผลงานซึ่งเขียนด้วยภาษาท้องถิ่นและสะท้อนความคิดด้านมนุษย์นิยมแพร่หลายในยุโรปตะวันตก เนื่องจากขณะนั้นมีการประดิษญ์แท่นพิมพ์หนังสือได้จำนวนมาก การพิมพ์ไม่เพียงแต่เผยแพร่แนวคิดแบบมนุษย์นิยมในสังคมยุโรปเท่านั้น หากยังส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลงานของนักวิชาการและกวีในดินแดนต่างๆ ด้วยความเจริญรุ่งเรืองในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ผลงานที่โดเด่นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ได้แก่ วรรณกรรมและศิลปกรรม  ด้านวรรณกรรม ผู้บุกเบิกแนวคิดด้านมนุษย์นิยมในแหลมอิตาลีคือ เพราช (Petrarch) ซึ่งรับรูปแบบจากวรรณกรรมโรมันและถ่ายทอดเป็นผลงานประเภทกวีนิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของนักมนุษย์นิยมรุ่นต่อมา ส่วนนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการของแหลมอิตาลี คือ
   มาคิอาเวลลี (Machiavelli) ซึ่งเป็นทั้งนักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ ผลงานที่สำคัญของเขาคือหนังสือเรื่อง The Prince หรือเจ้าชาย ซึ่งสะท้อนแนวคิดในการบริหารและการปกครอง ที่เน้นด้านปฏิบัติมากกว่าอุดมการณ์หรือจริยธรรมของผู้ปกครอง นอกจากนี้นอกแหลมอิาลีก็มีนักมนุษย์นิยมที่มีผลงานโดเด่นด้วยที่สำคัญได้แก่ อีรัสมัส (Erasmus)  ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประยุกต์แนวคิดแบบกรีกและโรมันในการวิเคราะห์
คัมภีร์ไบเบิล โดยใช้หลักเหตุผลประกอบความศรัทธาในศาสนาแทนความเชื่อแบบงมงาย และนักมนุษย์นิยมชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ ทอมัส มอร์ (Sir Thomas More) เขียนหนังสือเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติชื่อ Utopia (ยูโทเปีย) ซึ่งมีชื่อเสียงแพร่หลายจนกระทั่งปัจจุบันและคำว่า “ยูโทเปีย” ได้กลายเป็นคำศัพท์ที่หมายถึงรัฐในอุดมคติ
   ด้านศิลปกรรม ศิลปกรรมที่โดดเด่นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ได้แก่ ผลงานด้านจิตรกรรม ซึ่งเริ่มในแหลมอิตาลีก่อนแพร่หลายไปในดินแดนอื่น ลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ได้แก่ การสะท้อนลักษณะที่เหมือนจริงทั้งมนุษย์และธรรมชาติ เช่น ภาพคนที่มีสรีระและสัดส่วนที่ถูกต้อง การใช้ภูมิทัศน์ของท้องทุ่งและชนบทเป็นฉากหลังของภาพ และการใช้หลักของเส้นทัศนียภาพ (Perspective) ที่สะท้อน
ระยะใกล้ไกลของวัตถุในภาพ จิตรกรอิตาลีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ซึ่งวาดภาพ “Mona Lisa” และ  “The Last Supper” หรือไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) ซึ่งมีชื่อเสียงในการสร้างงานประติมากรรมและจิตรกรรม ผลงานจิตรกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับการสร้างโลกบนเพดานของวิหารน้อยซิสตีน (Sistine Chapel) ในนครวาติกัน และราฟาเอล ซาานซิโอ
(Raphael Sanzio) ซึ่งวาดภาพ “School of Athens” บนฝาผนังห้องสมุดของสันตะ   ปาปา นอกจากนี้ในแคว้นแฟลนเดอร์ยังมีผลงานจิตรกรรมของกลุ่ม “เฟลมิส” (Flemish) ซึ่งสร้างสรรค์งานโดยได้รับอิทธิพลจากผลงานของจิตรกรในแหลมอิตาลี ลักษณะเด่นของงานจิตรกรในแหลมอิตาลี
    ลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมแบบเฟลมิสคือ การวาดภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบที่สะท้อนทิวทัศน์และวิถีชีวิตของชนบท อนึ่ง ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนี้ จิตรกรชาวเยอรมันได้คิดค้นวิธีทำภาพพิมพ์ และมีการทำภาพพิมพ์ประกอบในหนังสือ

       
   เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) จิตรกรชาวอิตาลี
            ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo)

       
   ผลกระทบของการฟื้นฟูศิลปวิทยากการต่อพัฒนาการของยุโรป
การศึกษา การคิดค้นแท่นพิมพ์ช่วยให้การศึกษาขยายตัวอย่างกว้างขวาง เพราะทำให้องค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับวิทยาการสมัยคลาสสิกแพร่หลายในสังคมยุโรป นอกจากนี้การศึกษาโดยใช้หลักเหตุผลของกลุ่มมนุษย์นิยมยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทำให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคมโลกจนถึงปัจจุบัน
   ศาสนา แนวคิดแบบมนุษย์นิยมที่ส่งเสริมให้ใช้หลักเหตุผลแทนความเชื่อแบบงมงายได้ส่งผลกระทบต่ออิทธิพลของคริสตจักรที่ชี้นำความคิดของ
ผู้คนมาตลอดสมัยกลาง เนื่องจากกลุ่มปัญญาชนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาที่ยึดถือกันมานับพันปี การพัฒนาความคิดแบบมนุษย์นิยมทำให้ชาวยุโรปเริ่มหลุดพ้นจากกรอบของศาสนาคริสต์ และทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ทำให้ศาสนาคริสต์ในยุโรปเสื่อมอิทธิพล และถือว่าเป็นการสิ้นสุดของสมัยกลาง
   ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยกลางจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ถือว่าสมัยนี้สิ้นสุดในราวค.ศ. 1900 และได้แบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน เพราะระยะช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้นมากมาย มีรายละเอียดที่มากจนสามารถแบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งได้

            ประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่

                        สงครามเย็น

          
   สงครามเย็น หนึ่งในสงครามครั้งสำคัญที่ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์โลก แม้ว่า สงครามเย็นจะเป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งอุดมการณ์ทางการเมือง แต่มันก็ได้ลุกลามและแผ่ขยายจนสร้างความตึงเครียดไปทั่วโลก สงครามเย็น เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการเมืองต่างกันระหว่างกลุ่มประเทศโลกเสรี นำโดยสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ นำโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงประมาณ ค.ศ.1945-1991 (พ.ศ. 2488-2534)
   โดยประเทศมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่ทำสงครามกันโดยตรง แต่จะพยายามสร้างแสนยานุภาพทางการทหารของตนไว้ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม และสนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามแทน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสงครามตัวแทน (Proxy War) เหตุที่เรียก สงครามเย็น เนื่องจากเป็นการต่อสู้กันระหว่างมหาอำนาจ โดยใช้จิตวิทยา ไม่ได้นำพาไปสู่การต่อสู้ด้วยกำลังทหารโดยตรง แต่ใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อการแทรกซึมบ่อนทำลาย การประณาม การแข่งขันกันสร้างกำลังอาวุธ และแสวงหาอิทธิพลในประเทศเล็ก
       สาเหตุของสงครามเย็น
   สงครามเย็นมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจทั้งสอง คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ที่ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์และเขตอิทธิพล เพื่อครองความเป็นผู้นำของโลกโดยทั้งสองประเทศพยายามแสวงหาผลประโยชน์และเขตอิทธิพลในประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ผู้ยิ่งใหญ่หรือผู้นำทางการเมืองของโลก
ในสมัยก่อน คือ อังกฤษ เยอรมนี ได้หมดอำนาจลงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
     ความเป็นมาของสงครามเย็น
   เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยเยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อฝ่ายสหประชาชาติ ทำให้สหรัฐอเมริกาและโซเวียตขาดจุดมุ่งหมายที่จะดำเนินการร่วมกันอีกต่อไป และความขัดแย้งก็เริ่มต้นขึ้นหลังจากทั้งสองประเทศมีมุมมองต่ออนาคตของประเทศในยุโรปตะวันออกและประเทศเยอรมนีแตกต่างกัน และทำให้เกิดความขัดแย้งทางอุดมการณ์อย่างชัดเจน กล่าวคือ เกี่ยวกับประเทศยุโรปตะวันออกนั้น ประเทศทั้งสองได้เคยตกลงกันไว้
ที่เมืองยัลต้า (Yalta) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1945 ว่า
    "เมื่อสิ้นสงครามแล้ว จะมีการสถาปนาการปกครองระบบประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้น" แต่พอสิ้นสงคราม โซเวียตได้ใช้ความได้เปรียบของตนในฐานะที่มีกำลังกองทัพอยู่ในประเทศเหล่านั้น สถาปนาประชาธิปไตยตามแบบของตนขึ้นที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยของประชาชน " ฝ่ายสหรัฐอเมริกาจึงทำการคัดค้าน เพราะประชาธิปไตยตามความหมายของสหรัฐอเมริกา หมายถึง "เสรีประชาธิปไตยที่จะเปลี่ยนรัฐบาลได้โดยวิธีการเลือกตั้งที่เสรี" ส่วนโซเวียตก็ยืนกรานไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
  ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวกับประเทศเยอรมนีก็เช่นกัน เพราะโซเวียตไม่ยอมปฏิบัติการตามการเรียกร้องของสหรัฐอเมริกาที่ให้มีการรวมเยอรมนี และสถาปนาระบอบเสรีระชาธิปไตยในประเทศนี้ตามที่ได้เคยตกลงกันไว้
  ความไม่พอใจระหว่างประเทศทั้งสองเพิ่มมากขึ้น เมื่อประธานาธิบดีทรูแมน (Harry S. Truman) ของสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนสุนทรพจน์ของอดีตนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล (Sir. Winston Churchill) ของอังกฤษ ซึ่งได้กล่าวในรัฐมิสซูรี เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.1946 ว่า "ม่านเหล็กได้ปิดกั้น และแบ่งทวีปยุโรปแล้ว ขอให้ประเทศพี่น้องที่พูดภาษาอังกฤษด้วยกัน ร่วมมือกันทำลายม่านเหล็ก (Iron Curtain)" ซึ่งหมายความว่า เชอร์ชิลล์  เรียกร้องให้มีการจับขั้วพันธมิตรระหว่างสหรัฐอเมริกากับอังกฤษเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต ซึ่งถูกมองว่าเป็นผู้สร้างม่านเหล็กกั้นยุโรป และด้วยสุนทรพจน์นี้เอง ทำให้ประเทศในโลกนี้แตกออกเป็นสองฝ่ายระหว่างประเทศประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน
     ส่วนปัญหาที่แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันในการเป็นผู้นำของโลกแทนมหาอำนาจยุโรปก็คือ การที่สหรัฐอเมริกาสามารถบังคับให้โซเวียตถอนทหารออกจากอิหร่านได้สำเร็จในปี ค.ศ.1946 ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ.1947 อังกฤษได้ประกาศสละความรับผิดชอบในการช่วยเหลือกรีซ และตุรกี ให้พ้นจากการคุกคามของคอมมิวนิสต์ เพราะไม่มีกำลังพอที่จะปฏิบัติการได้ และร้องขอให้สหรัฐอเมริกาเข้าทำหน้าที่นี้แทน
    ประธานาธิบดีทรูแมนจึงตกลงเข้าช่วยเหลือและประกาศหลักการในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาให้โลกภายนอกทราบว่า "……จากนี้ไปสหรัฐอเมริกาจะเข้าช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศที่รักเสรีทั้งหลายในโลกนี้ให้พ้นจากการคุกคามโดยชนกลุ่มน้อยในประเทศที่ได้รับการช่วยเหลือจากต่างประเทศ…" หลักการนี้เรียกกันว่า หลักการทรูแมน (Truman Doctrine)
     จากนั้น สหรัฐอเมริกาก็แสดงให้ปรากฏว่า ตนพร้อมที่จะใช้กำลังทหารและเศรษฐกิจ สกัดกั้นการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ทุกแห่งในโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปยุโรป เอเชีย หรือแอฟริกา ทำให้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1947 ผู้แทนของโซเวียตได้ประกาศต่อที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกที่นครเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย ว่า "โลกได้แบ่งออกเป็นสองค่ายแล้วคือ ค่ายจักรวรรดินิยมอเมริกันผู้รุกราน กับค่ายโซเวียตผู้รักสันติ…
และเรียกร้องให้คอมมิวนิสต์ทั่วโลก ช่วยสกัดกั้นและทำลายสหรัฐอมริกา…." ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าถ้อยแถลงของผู้แทนโซเวียตนี้เป็นการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ
    อย่างไรก็ตาม สงครามเย็นที่มีลักษณะเป็นทั้งการขัดแย้งทางอุดมการณ์และการแข่งขันเพื่อกำลังอำนาจของประเทศมหาอำนาจทั้งสองซึ่งต้องการที่จะเป็นผู้นำโลก ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ลดความรุนแรง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศสำคัญ 2 ประการคือ
    1. การดำเนินนโยบาย "การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ" (Peaceful Co-existence) ของประธานาธิบดี นิกิตา ครุสชอฟ (Nikita Khrushchev)   ของโซเวียต เนื่องจากเกรงว่าอำนาจนิวเคลียร์ที่โซเวียตและสหรัฐอเมริกามีเท่าเทียมกัน อาจถูกนำมาใช้ในกรณีที่ความตึงเครียดระหว่างสองฝ่ายมีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อว่าประเทศที่มีลัทธิการเมืองและลัทธิเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน จะสามารถติตดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์ต่อกันได้
 โดยไม่ยุ่งเกี่ยวในกิจการภายในซึ่งกันและกัน ดังนั้น การต่อสู้ระหว่างค่ายเสรีประชาธิป ไตยกับค่ายคอมมิวนิสต์อาจจะเอาชนะกันได้โดยไม่ต้องใช้กำลัง
      อย่างไรก็ตาม หลักการอยู่ร่วมกันโดยสันติของโซเวียต เป็นเพียงแต่การเปลี่ยนจากการมุ่งขยายอิทธิพลด้วยสงครามอย่างเปิดเผยไปเป็นสงครามภายในประเทศและการบ่อนทำลาย ฉะนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาและโซเวียตต่างใช้วิธีการทุกอย่างทั้งด้านการทหาร การเมือง และเศรษฐกิจ ในการแข่งขันกันสร้างความนิยม ความสนับสนุนและอิทธิพลในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยหลีกเลี่ยงการใช้อาวุธ
และการประจันหน้ากันโดยตรง
    2. ความแตกแยกในค่ายคอมมิวนิสต์ระหว่างโซเวียตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเริ่มปรากฏตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา และเมื่อจีนสามารถทดลองระเบิดปรมาณูสำเร็จและกลายเป็นประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1964 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองก็เสื่อมลง จนถึงขึ้นปะทะกันโดยตรงด้วยกำลังในปี ค.ศ. 1969 จากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์และการแข่งขันกันเป็นผู้นำในโลกคอมมิวนิสต์ ระหว่างจีนกับโซเวียต มีผลทำให้ความเข้มแข็งของโลกคอมมิวนิสต์ลดน้อยลง และมีส่วนผลักดันให้จีนเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ ไปสู่การปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาในที่สุด
     ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจเริ่มคืนสู่สภาวะปกติ โดยใช้วิธีการหันมาเจรจาปรับความเข้าใจกัน ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับที่เอื้อต่อผลประโยชน์ และความมั่นคงปลอดภัยของ ประเทศตน ระยะนี้จึงเรียกว่า "ระยะแห่งการเจรจา" (Era of Negotiation) หรือระยะ "การผ่อนคลายความตึงเครียด" (Detente) โดยเริ่มจากสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งเป็นผู้ปรับนโยบายจากการเผชิญหน้ากับโซเวียต มาเป็นการลดความตึงเครียดในความสัมพันธ์ต่อกัน
     นอกจากนี้ยังได้เปิดการเจรจาโดยตรงกับสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย ทั้งนี้เพราะตระหนักว่าจีนได้กลายเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์อีกชาติหนึ่ง และกำลังจะมีบทบาทมากขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา และประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา ลาตินอเมริกา และยุโรป
     ดังนั้น ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1971 สหรัฐอเมริกาได้ส่งนายเฮนรี่ คิสชินเจอร์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่ชาติ เดินทางไปปักกิ่งอย่างลับ ๆ เพื่อหาลู่ทางในการเจรจาปรับความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งนำไปสู่การเยือนปักกิ่งของ ประธานาธิบดีนิกสัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972 และได้ร่วมลงนามใน "แถลงการณ์เซี่ยงไฮ้" (Shanghai Joint Communique) กับอดีตนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ซึ่งมีสาระที่สำคัญคือ สหรัฐ
อเมริกายอมรับว่า รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นรัฐบาลอันชอบธรรมเพียงรัฐบาลเดียวและไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน จากนั้นมาทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979
     นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาและโซเวียต ได้พยายามที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะที่เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งจะเห็นได้จากการเปิดการ เจรจาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ ครั้งแรกที่กรุงเฮลซิงกิ ที่เรียกว่า SALT-1 (Strategic Arms Limitation Talks) ในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งเป็นการเริ่มแนวทางที่จะให้เกิดความร่วมมือและสันติภาพ ในปีเดียวกันนี้ประธานาธิบดีนิกสันก็ได้ไปเยือนโซเวียต ส่วนเบรสเนฟเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของโซเวียต ก็ได้ไปเยือนสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1973 ต่อมาประเทศทั้งสองได้เจรจาร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธ ศาสตร์ ฉบับที่ 2 (SALT-2) ที่เวียนนา ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1979 ซึ่งมีผลทำให้โซเวียตมีความเท่าเทียมกับสหรัฐอเมริกา ทั้งทางการเมืองและทางแสนยานุภาพ นอกจากนั้นยังได้รับผลประโยชน์ทางการค้ากับฝ่ายตะวันตกเพิ่มมากขึ้น
      อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโซเวียตจะยอมร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในบางกรณีที่เป็นผลประโยชน์แก่ตน แต่โซเวียตก็ยังคงดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจและอิทธิพลเข้าไปในดินแดนต่าง ๆ ทั้งในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา แต่โซเวียตก็พยายามระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งที่จะนำไปสู่การทำลายสภาพการผ่อนคลายความตึงเครียด ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความขัดแย้งและอาจจะไปสู่สงครามได้   สหรัฐอเมริกาและโซเวียต ได้พยายามที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกัน
               วิกฤตการณ์เบอร์ลิน

      
   เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในปี ค.ศ. 1945 เยอรมนีแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยสนธิสัญญาปอทสดัม (Treaty of Potsdam) นั้น ได้ให้ประเทศมหาอำนาจตะวันตก คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ครอบครอง 3 ส่วนร่วมกันเรียกว่าเยอรมนีตะวันตก ขณะที่อีกส่วนหนึ่งให้โซเวียตปกครองเรียกว่า เยอรมนีตะวันออก ทำให้กรุงเบอร์ลินนครหลวงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายพันธมิตรตะวันตกเรียกว่า เบอร์ลินตะวันตก ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1948 โซเวียตได้ปิดกั้นเส้นทางคมนาคมทางบกที่ผ่านไปยังเบอร์ลินตะวันตก ทำให้พันธมิตร 3 ชาติ ไม่สามารถส่งอาหารและสินค้าต่าง ๆ ไปยังเบอร์ลินตะวันตกได้ เพื่อบังคับให้มหาอำนาจตะวันตกละทิ้งเบอร์ลิน การปิดล้อมครั้งนี้ใช้เวลาเกือบ 1 ปี โดยพันธมิตร 3 ประเทศได้ช่วยกันใช้เครื่องบินลำเลียงสิ่งของ เช่น อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรคให้แก่ชาวเบอร์ลินตะวันตก เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งแยกเยอรมนีเป็น 2 ประเทศ และแบ่งเบอร์ลินเป็น 2 ส่วนอย่างถาวร เรียกว่าวิกฤตการณ์เบอร์ลิน
      วิกฤตการณ์เบอร์ลิน
     โดยอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสได้รวมเขตการปกครองของตนเข้าด้วยกันเป็นประเทศเอกราชเรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) ฝั่งโซเวียตก็สถาปนาเขตที่ตนเองปกครองเรียกว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) เมื่อแบ่งประเทศแล้ว ชาวเยอรมันตะวันออกได้อพยพมาอยู่ในเขตตะวันตกมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้โซเวียตต้องสร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์ กั้นระหว่างเบอร์ลินใน
ค.ศ.1961 เรียกว่า กำแพงเบอร์ลิน
     กำแพงเบอร์ลินถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญหนึ่งของสงครามเย็น และถูกทำลายไปเมื่อ ค.ศ. 1989 ขณะที่ มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต ยินยอมให้เยอรมนีทั้งสองตัดสินใจอนาคตตนเอง โดยสหภาพโซเวียตจะไม่เข้าแทรกแซง ภายหลังจึงมีการรวมเยอรมนีเป็นประเทศเดียวกันอย่างเป็นทางการ เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
     ทั้งนี้ ถือได้ว่าวิกฤตการณ์เบอร์ลิน เป็นผลทำให้สภาวการณ์เผชิญหน้ากันในสงครามเย็นทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น และมีการร่วมมือกันของกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตกกับสหรัฐอเมริกา และประเทศเสรีประชาธิปไตย เพื่อขจัดการแทรกแซงและขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์กันเป็นระบบ เช่น สหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกับประเทศโลกเสรีก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาทางทหาร เช่น องค์การนาโต้ องค์การซีโต้ องค์การนานารัฐอเมริกาตลอดรวมถึง การตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกา ใน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไทย และประเทศอื่นอีกหลายประเทศทั่วโลก
     วิกฤตการณ์คาบสมุทรเกาหลี

    
    ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง คาบสมุทรเกาหลีได้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น แต่เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 คาบสมุทรเกาหลีได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ โดยโซเวียตควบคุมดูแลดินแดนส่วนเหนือหรือเกาหลีเหนือ และสหรัฐอเมริกาดูแลดินแดนทางใต้ของเส้นขนานที่ 38 เรียกว่า เกาหลีใต้
     วิกฤตการณ์คาบสมุทรเกาหลี
    ในปี ค.ศ. 1948 ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มถอนทหารออกจากดินแดนดังกล่าว ทั้งนี้ เกาหลีเหนือมีรัฐบาลคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของ คิม อิล ซุง ส่วนในเกาหลีใต้นั้นมีการปกครองในแบบประชาธิปไตยภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา
     ต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 เกาหลีเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโซเวียต ได้โจมตีเกาหลีใต้เพื่อรวมเกาหลีทั้งหมดให้อยู่ภายใต้คอมมิวนิสต์ โดยคิดว่า สหรัฐอเมริกาคงจะไม่ปกป้องเกาหลีใต้ เพราะผู้นำของสหรัฐอเมริกาได้เคยประกาศว่า แนวป้องกันของสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่หมู่เกาะชายฝั่งตั้งแต่ญี่ปุ่นถึงฟิลิปปินส์ แต่เมื่อกองทัพของเกาหลีเหนือรุกผ่านเส้นขนานที่ 38 ลงสู่เกาหลีใต้อย่างรวดเร็ว สหรัฐอเมริกาได้มอง
การโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นการท้าทายของฝ่ายคอมมิวนิสต์และเป็นการพยายามที่จะขยายอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ามาในเอเชีย
      สหรัฐอเมริกาได้ประท้วงการรุกรานเกาหลีใต้ต่อคณะมนตรีความมั่นคงและองค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้มีมติให้ดำเนินการตอบโต้ โดยกำลังทหารของสหประชาชาติและของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกแมคอาร์เธอร์ ได้โจมตีกำลังของฝ่ายเกาหลีเหนือจนถอยร่นไปถึงเส้นขนานที่ 38 ทำให้ผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีนออกแถลงการณ์เตือนมิให้กำลังของฝายสหประชาชาติและของสหรัฐอเมริกาล่วง
ล้ำเลยเข้าไปในดินแดนเกาหลีเหนือ มิฉะนั้นจีนจะเข้าสู่สงครามด้วย เพราะจีนเกรงว่าถ้าเกาหลีเหนือถูกยึดครอง จีนจะขาดรัฐกันชน และเป็นการคุกคามความมั่นคงปลอดภัยของจีน
      แต่ทว่า กองกำลังของสหประชาชาติไม่สนใจคำเตือนของจีน ตัดสินใจรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 จีนจึงส่งกองกำลังข้ามพรมแดนจีนที่แม่น้ำยาลู เข้าสู่คาบสมุทรเกาลีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1950 และปะทะกับทหารสหประชาชาติในเดือนพฤศจิกายน การสู้รบเป็นไปอย่างยืดเยื้อโดยไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด แม้ว่าจีนจะสูญเสียกำลังเป็นอย่างมาก
      ขณะที่ประธานาธิบดีทรูแมนแห่งสหรัฐอเมริกาได้มีความเห็นขัดแย้งกับพลเอกแมคอาเธอร์เกี่ยวกับนโยบายในการทำสงคราม โดยประธานาธิบดีทรูแมนต้องการจำกัดการปฏิบัติการทางทหาร เพราะไม่ต้องการให้สงครามขยายตัวจนอาจเป็นสงครามโลกได้ แต่นายพลแมคอาเธอร์ไม่เห็นด้วย ประธานาธิบดีทรูแมนจึงได้สั่งปลดนายพลแมคอาเธอร์ออกจากตำแหน่งในเดือนเมษายน ค.ศ. 1951
      ต่อมาในเดือนมิถุนายน โซเวียตเสนอให้มีการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในเกาหลี การเจรจาได้ดำเนินอยู่หลายปี ก็สามารถลงนามในข้อตกลงหยุดยิงระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือฝ่ายหนึ่ง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 สงครามในคาบสมุทรเกาหลีจึงได้ยุติลง แต่ความตึงเครียดบริเวณพรมแดนที่เส้นขนานที่ 38 ยังคงดำรงอยู่
      สงครามเกาหลีได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในเอเชียหลายประการ เนื่องจากสงครามเกาหลีนับเป็นการเผชิญหน้าทางทหารครั้งแรกระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน จีนถูกสหรัฐอเมริกากล่าวหาและประณามว่าเป็นผู้รุกรานและก้าวร้าว คำประณามของสหรัฐอเมริกาทำให้ภาพพจน์ของจีนเสียหายในสายตาของชาวโลก เพราะมองว่าการที่จีนจำต้องเข้าร่วมรบในสมรภูมิเกาหลี ก็เพื่อป้องกันมิให้เกาหลีเหนือถูกยึดครอง ซึ่งจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของจีนและยิ่งไปกว่านั้นในการร่วมสงครามครั้งนี้ จีนต้องสูญเสียทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งจีนมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้จีนต้องชะลอการฟื้นฟูบูรณะประเทศไป
     วิกฤตการณ์ในอินโดจีน
                       เวียดนาม

         
    เวียดนาม ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1883 ทำให้ใน ปี ค.ศ. 1898 ฝรั่งเศสได้รวมเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ไว้ภายใต้การปกครองเรียกว่า อินโดจีนของฝรั่งเศส มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงไซ่ง่อน และฝรั่งเศสก็ได้ส่งข้าหลวงใหญ่มาปกครอง
      เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดจีน และได้ประกาศมอบเอกราชให้เวียดนามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 โดยเชิญพระจักรพรรดิเบาได๋ (Bao Dai) ขึ้นเป็นประมุข เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม โฮจิมินห์ นักปฏิวัติชาวเวียดนาม จึงนำกองทัพเวียดมินห์ เข้ายึดครองเวียดนาม และประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 เปลี่ยนชื่อประเทศเวียดนาม เป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม” โดยมี โฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี และนายฟาม-วันดง เป็นนายกรัฐมนตรี
     แต่เมื่อญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากเวียดนามหมดแล้ว ฝรั่งเศสกลับเข้ามาในเวียดนามอีก จึงเกิดการสู้รบกับกองกำลังเวียดมินห์ การสู้รบดำเนินไปถึงวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 กองทัพเวียดมินห์สามารถยึดป้อมเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของฝรั่งเศสได้ ฝรั่งเศสยอมเจรจาสงบศึกที่กรุงเจนีวา (Jeneva) ส่งผลให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือ จัดการปกครองแบบสังคมนิยม และเวียดนามใต้
จัดการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีเส้นขนานที่ 17 เป็นเส้นแบ่งเขตแดน
      สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่เวียดนามใต้เพื่อให้มีความเข้มแข็ง สามารถต้านทานอิทธิพลของเวียดนามเหนือได้ แต่ประธานาธิบดีโงดินเดียม (Ngo Dinh Diem) บริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนผนึกกำลังกันจัดตั้ง "แนวร่วมปลดแอกแห่งชาติ" หรือที่เรียกว่า "เวียดกง" เพื่อโค่นล้มรัฐบาลโดยใช้ยุทธวิธีการรบแบบสงครามกองโจร และได้รับการสนับสนุนด้วยอาวุธจากเวียดนาม
เหนือ จีน และโซเวียต
    เวียดนามใต้ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถทำให้สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมั่นคงได้ การสู้รบระหว่างเวียดกงกับรัฐบาล จึงขยายตัวอย่างกว้างขวาง สหรัฐอเมริกาจึงส่งทหารเข้าร่วมปฏิบัติการเป็นจำนวนถึง 500,000 คน ในปี ค.ศ. 1968 สงครามเวียดนามจึงกลายเป็นสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับทหารเวียดนามเหนือและเวียดกง สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเททั้งกำลังทหารและพยายามใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ ในการสู้รบ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะสงครามได้
     เมื่อประธานาธิบดีนิกสันได้รับเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1969 ได้ประกาศลัทธินิกสัน (Nixon Doctrine) และพยายามหาทางเจรจายุติสงคราม ในที่สุดก็สามารถลงนามในข้อตกลงด้วยการยุติสงครามตามข้อตกลงปารีส เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1973 หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามใต้แล้ว การสู้รบระหว่างเวียดนามใต้กับเวียดนามเหนือก็ยังคงดำเนินอยู่จนถึงวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975 เวียดนามเหนือมีชัย
ชนะต่อเวียดนามใต้และได้รวมประเทศเวียดนามได้สำเร็จ
                                 กัมพูชา

   
    กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสตามข้อตกลงเจนีวา เมื่อปี ค.ศ. 1954 โดยมีเจ้านโรดมสุรามริต เป็นกษัตริย์ ส่วนเจ้านโรดมสีหนุ ได้ตั้งพรรคการเมือง คือ Popular Socialist Party เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1955 เมื่อเจ้านโรดม สุรามริตสวรรคต ในปี ค.ศ. 1960 เจ้านโรดมสีหนุจึงรวมอำนาจทางการเมืองและประมุขประเทศเข้าด้วยกัน
    ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เจ้านโรดมสีหนุได้ประกาศนโยบายเป็นกลางเพื่อที่จะได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองฝ่าย และเจ้านโรดมสีหนุยังยอมให้เวียดกง และกองทัพเวียดมินห์เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการตามแนวชายแดนเพื่อสะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงานในเวียดนามใต้ กัมพูชาจึงเป็นเป้าหมายให้เวียดนามใต้โจมตี ทำให้ประชาชนชาวกัมพูชาตามแนวชายแดนได้รับความเดือดร้อน
     ปี ค.ศ. 1970 นายพลลอนนอล ทำการยึดอำนาจจากเจ้านโรดมสีหนุ ในขณะที่พระองค์เสด็จเยือนโซเวียตและจีน นายพลลอนนอลได้จัดตั้งรัฐบาล เจ้านโรดมสีหนุจึงเสด็จลี้ภัยไปประทับที่กรุงปักกิ่งและสนับสนุนให้คอมมิวนิสต์กัมพูชา "เขมรแดง" ทำการสู้รบกับรัฐบาลนายพลลอนนอล
    สหรัฐอเมริกาจึงส่งทหารเข้าไปปฏิบัติการสู้รบกับฝ่ายเขมรแดง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกองกำลังเขมรแดงซึ่งมีนายพลพต (Pol Pot) เป็นผู้นำได้ ในที่สุดเขมรแดงก็เข้ายึดกรุงพนมเปญได้สำเร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 ได้จัดการปกครองแบบสังคมนิยม และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย
    ต่อมาเวียดนามสนับสนุนให้นายเฮง สัมริน (Heng Samrin) เข้ายึดอำนาจจากนายพลพต และยึดกรุงพนมเปญได้เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1979 ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่จึงอพยพมาตั้งมั่นอยู่ตามแนวชายแดนไทย โดยแยกเป็น 3 ฝ่าย คือ เขมรรักชาติภายใต้การนำของเจ้านโรดมสีหนุ เขมรสรีภายใต้การนำของนายซอนซานน์ (Son Sann) และเขมรแดงภายใต้การนำของนายเขียว สัมพันธ์ (Khieu Samphan) เขมรทั้ง 3 ฝ่ายได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) ประเทศมาเลเซีย โดยได้รับการรับรองจากสหประชาชาติและทำการสู้รบกับกลุ่มเฮง สัมริน เรื่อยมาตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1979 ถึงวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1991 จึงได้ลงนามสันติภาพที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
    หลังจากนั้นสหประชาชาติได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ถ่ายโอนอำนาจที่เรียกว่า UNTAC (United Nations Transitional Authority in Cambodia) มีนายยาซูซิ อะกาชิ เป็นหัวหน้า เข้าไปปฏิบัติงานในกัมพูชาเพื่อเตรียมอพยพผู้คนจากศูนย์อพยพตามแนวชายแดนไทยและเตรียมการเลือกตั้งวันที่ 23-28 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 กัมพูชาจัดการเลือกตั้งแต่เขมรแดงไม่ยอมเข้าร่วมเพราะต้องการผลักดันชาวเวียดนามให้ออกจาก
        กัมพูชา
     ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฟุนชินเปก ของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ได้รับชัยชนะเหนือพรรคประชาชนกัมพูชา ของนายฮุนเซน (Hun Sen)   และทั้งสองพรรคได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลปกครองกัมพูชา โดยมีเจ้านโรดมรณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และนายฮุนเซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2
                           ลาว

   

                  นี่คือทุ่งไหหินสนามรบของลาว
    ฝรั่งเศสได้ผนวกลาวเข้าเป็นอาณานิคม เมื่อปี ค.ศ. 1898 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นเข้ายึดครองลาวและสนับสนุนให้ลาวประกาศเอกราช พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ จึงทรงประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1944
    แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝรั่งเศสได้กลับเข้ามามีอำนาจ ในลาวอีก ทำให้พวกชาตินิยมไม่พอใจ เจ้าเพชราช จึงจัดตั้ง "ขบวนการลาวอิสระ" ขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 และจัดตั้งรัฐบาลที่กรุงเวียงจันทน์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1949 อย่างไรก็ตาม แม้ฝรั่งเศสจะให้เอกราชแก่ลาว แต่ฝรั่งเศสยังควบคุมนโยบายที่สำคัญ ๆ เช่น การทหาร เศรษฐกิจ และด้านต่างประเทศ
    จากการที่ฝรั่งเศสให้เอกราชแก่ลาวไม่สมบูรณ์ ทำให้ขบวนการลาวอิสระแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ และเจ้าสุวรรณภูมา ซึ่งยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศสเพื่อประนีประนอม ส่วนเจ้าสุภานุวงศ์ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ จึงขอความช่วยเหลือจากขบวนการเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ และได้ก่อตั้งขบวนการกู้ชาติคือ "ขบวนการประเทดลาว" โดยจัดตั้งรัฐบาลที่แคว้นซำเหนือ เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู (Dienbienphu) ลาวจึงได้รับเอกราชตามข้อตกลงที่เจนีวา ปี ค.ศ. 1954
    หลังจากได้รับเอกราช ลาวแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทางเหนือ ได้แก่ แขวงพงศาลีและซำเหนือ อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าสุภานุวงศ์  ส่วนทางใต้อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าสุวรรณภูมา ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1957 ลาวทั้ง 2 ฝ่าย ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมีเจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่สามารถดำเนินนโยบายร่วมกันได้
    ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 ร้อยเอกกองแล ทำการปฏิวัติจัดตั้งรัฐบาลโดยมี เจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่บริหารประเทศได้ไม่นานก็ถูกนายพลภูมีหน่อสวัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาทำการปฏิวัติและจัดตั้งรัฐบาลโดยมีเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น ลาวได้แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
    1. ลาวฝ่ายซ้าย – ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์
    2. ลาวฝ่ายขวา  - ภายใต้การนำของนายพลภูมีหน่อสวัน
    3. ลาวฝ่ายกลาง – ภายใต้การนำของเจ้าสุวรรณภูมา
   ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1962 ลาวทั้ง 3 ฝ่ายได้จัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลผสมไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ทหารต่างชาติ ซึ่งได้แก่ โซเวียต จีน และเวียดนาม รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ต่างก็ประจำอยู่ในลาวเพื่อให้การช่วยเหลือลาวฝ่ายที่ตนให้การสนับสนุน
   สหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนให้นายพลวังเปาจัดตั้งกองทัพแม้ว มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่ล่องแจ้ง โดยมีศูนย์การฝึกอยู่ที่ จ.อุดรธานี สงครามในลาวจึงได้เกิดขึ้น โดยรัฐบาลของเจ้าสุวรรณภูมาไม่สามารถสกัดกั้นไว้ได้
   เมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากอินโดจีน ตามวาทะนิกสัน ขบวนการปะเทดลาวจึงยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลให้จัดตั้งรัฐบาลผสมอีกครั้ง โดยมีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี กระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1975 ขบวนการปะเทดลาวหรือลาวฝ่ายซ้าย ก็สามารถยึดอำนาจการปกครองลาว ได้ ลาวดำเนินการปกครองตามแนวสังคมนิยม โดยมีเจ้าสุภานุวงศ์ เป็นประธานาธิบดี และนายไกรสร พรหมวิหาร เป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันผู้นำประเทศลาวเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นประธานประเทศ
    วิกฤตการณ์ช่องแคบฟอร์โมซา

  
   แต่เดิมเกาะไต้หวันมี ชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม
    ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1954 จีนมีนโยบายที่จะรวมไต้หวันกลับคืนมาเป็นของจีน แต่ทางสหรัฐอเมริกาได้ส่งกองเรือที่ 7 มาลาดตระเวนในทะเลจีนตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ช่องแคบไต้หวัน ทำให้จีนพยายามผลักดันให้สหรัฐอเมริกาออกจากบริเวณนี้ ด้วยการระดมยิงหมู่เกาะนอกฝั่งที่ช่องแคบไต้หวัน อันได้แก่ เกาะคีมอยและเกาะมัทสุ
   สหรัฐอเมริกามองว่าจีนเป็นผู้รุกราน ดังนั้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1954 สหรัฐอเมริกาจึงออกแถลงการณ์ว่า สหรัฐอเมริกาจะป้องกันเกาะคีมอยและเกาะมัทสุ เช่นเดียวกับเกาะไต้หวัน จากนั้น สหรัฐอเมริกาได้ส่งกองทหารไปประจำที่ไต้หวันและได้ลงนามในสัญญาพันธมิตรทางทหาร เพื่อการป้องกันร่วมกันกับไต้หวัน
    เมื่อจีนเห็นว่าวิธีการของตนไม่ประสบผลสำเร็จ แต่กลับทำให้สหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไต้หวันยิ่งขึ้น จีนจึงลดการะดมยิงและยุติไปในที่สุด ขณะที่สหรัฐอเมริกามองว่าจีนเป็นตัวแทนของโซเวียต เพราะจีนได้ลงนามในสัญญามิตรภาพ พันธมิตรและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเวลา 30 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มนโยบายปิดล้อม (Containment Policy) เข้ามาในเอเชีย โดยการทำสัญญาพันธมิตรทางทหารกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย เป็นต้น

                คิวบา

 
วิกฤตการณ์คิวบา  คิวบาได้เปลี่ยนแปลงเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1959 เมื่อนายฟิเดล คาสโตร สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลเผด็จการของนายพลบาติสตา (Batista) ซึ่งสหรัฐอเมริกาสนับสนุนอยู่ คาสโตรต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในคิวบาให้มีความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันมากขึ้น โดยดำเนินการปฏิรูปที่ดินและปรับปรุงสวัสดิการทางสังคมแก่ประชาชน
   คาสโตรเป็นนักปฏิวัติชาตินิยมและต่อต้านสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าครอบงำและมีอิทธิพลทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจในคิวบามาเป็นเวลาช้านาน อีกทั้งยังมีฐานทัพอยู่ที่กวนตานาโม (Guantanamo) บนเกาะคิวบา คาสโตรจึงรู้สึกหวาดระแวงสหรัฐอเมริกาและมีนโยบายใกล้ชิดกับประเทศคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซเวียตซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านทหารและทางเศรษฐกิจแก่คิวบา
   ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างคิวบากับโซเวียตทำให้สหรัฐอเมริกาไม่พอใจ เพราะจะช่วยขยายอิทธิพลของโซเวียตแถบทะเลแคริบเบียนและอเมริกากลาง ในขณะเดียวกันชาวคิวบาที่ลี้ภัยในสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการฝึกฝนและสนับสนุนจากองค์การข่าวกรอง กลาง หรือซีไอเอของสหรัฐอเมริกาให้ยกพลขึ้นบกในคิวบาเพื่อโค่นล้มคาสโตร แผนการนี้ได้เริ่มในปลายสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาวเวอร์ ต่อมาเมื่อได้รับอนุมัติจากประธานาธิบดีเคเนดี้
   กองกำลังคิวบาลี้ภัยได้ยกพลขึ้นบกที่เบย์ ออฟ พิกส์
   กองกำลังคิวบาลี้ภัยได้ยกพลขึ้นบกที่เบย์ ออฟ พิกส์ (Bay of Pigs) ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1961 เพียง 3 เดือนภายหลังจากที่เคเนดี้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยผู้ลี้ภัยคิวบาเหล่านี้ คาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในการโค่นอำนาจคาสโตร แต่การยกพลขึ้นบก  ครั้งนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะขาดการวางแผนที่ถูกต้องและการประ สานงานกับชาวคิวบาที่ต่อต้านคาสโตรภายในประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น กองกำลังปฏิวัติของคาสโตรสามารถจับกุมชาวคิวบาลี้ภัยเหล่านี้และใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านสหรัฐอเมริกา ภาพพจน์ของสหรัฐอเมริกาและประธานาธิบดีเคเนดี้ต้องเสียหายอย่างมากจากกรณีการบุกคิวบาในครั้งนี้
    คิวบาได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในปีต่อมา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1962 ฝ่ายข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบจากภาพถ่ายทางอากาศว่า โซเวียตกำลังสร้างฐานส่งขีปนาวุธนิวเคลียร์บนเกาะคิวบา ซึ่งถ้าหากสร้างสำเร็จและติดตั้งขีปนาวุธได้ก็จะเปรียบประดุจมีขีปนาวุธนิวเคลียร์อยู่หน้าประตูบ้านของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา
    ขณะที่ ครุสชอฟ ประธานาธิบดีของโซเวียต คงคิดว่าจะสามารถลอบสร้างฐานยิงจนเสร็จ และเมื่อติดตั้งขีปนาวุธแล้วสหรัฐอเมริกาก็คงไม่กล้าทำอะไร เพราะจะเป็นการเสี่ยงอย่างมากต่อสงครามนิวเคลียร์ อีกทั้งสหรัฐอเมริกาก็ดูเหมือนจะไม่กล้าใช้กำลังรุนแรงโซเวียต เพราะเชื่อว่าตนจะได้เปรียบทางยุทธศาสตร์และจะทำให้พันธมิตรนาโต้ของสหรัฐอเมริกาหมดความเชื่อถือว่า สหรัฐอเมริกาจะสามารถปกป้องยุโรปตะวันตกได้เมื่อเกิดสงคราม
   แต่ผู้นำของโซเวียตก็คาดคะเนผิดพลาด เพราะประธานาธิบดีเคเนดี้ของสหรัฐอเมริกาได้ตอบโต้อย่างหนักแน่นโดยการปิดล้อมคิวบา ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1962 ประธา นาธิบดีเคเนดี้ได้แจ้งให้โซเวียตทราบถึงการปิดล้อมคิวบา พร้อมเตือนโซเวียต ในระหว่างวิกฤตการณ์กองกำลังยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาได้เตรียมพร้อมต่อการถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกาได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปชี้แจงสถานการณ์พร้อมด้วย
ภาพถ่ายและหลักฐานอื่น ๆ ต่อคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติและพันธมิตรในยุโรป
   จุดวิกฤตของสถานการณ์ครั้งนี้ก็คือ เมื่อเรือสินค้าจำนวนหนึ่งของโซเวียต ซึ่งเชื่อว่าบรรทุกขีปนาวุธนิวเคลียร์เพื่อมาติดตั้งยังคิวบาได้เข้าใกล้กองเรือของสหรัฐอเมริกาที่กำลังปิดล้อมคิวบาอยุ่ในวันที่ 24 ตุลาคม แต่เรือเหล่านี้ก็หันลำกลับไปยังโซเวียต โดยมิได้ฝ่ากองเรือปิดล้อมเข้ามา ซึ่งถ้าหากโซเวียตไม่ยอมอ่อนข้อในกรณีนี้ สงครามนิวเคลียร์ระหว่างมหาอำนาจทั้งสองก็อาจเกิดขึ้นได้
   อีก 4 วัน ต่อมา ครุสชอฟผู้นำของโซเวียตก็ยอมประนีประนอม และแถลงว่าจะถอนฐานยิงและจรวดต่าง ๆ ออกไปจากคิวบา ถ้าหากสหรัฐอเมริกายอมตกลงที่จะไม่บุกคิวบา ในที่สุดวิกฤตการณ์อันตึงเครียดและการเผชิญหน้าระหว่างมหาอำนาจนิวเคลียร์ก็ผ่านไปโดยเรียบร้อย  ประธานาธิบดีเคเนดี้แห่งสหรัฐอเมริกาได้รับการยกย่องว่ามีความกล้าหาญและชาญฉลาดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ใช้เครื่องมือทางการทูตและการทหารที่เหมาะสมเปิดโอกาสและทางออกให้ฝ่ายตรงข้ามอย่างโซเวียตเสียเกียรติภูมิไปบ้าง
    และต่อมาครุสชอฟถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต และใน ค.ศ. 1965 เลโอนิด เบรสเนฟ (Leonid Brezhnev) ได้ขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แทน ในขณะเดียวกันนั้นเอง ลินดอน จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ความสำเร็จในวิกฤตการณ์คิวบา ทำให้ผู้นำของสหรัฐอเมริกามีความเชื่อมั่นในแสนยานุภาพและความแข็งแรงของตน ส่วนโซเวียตก็ได้รับบทเรียนและเร่งสะสมอาวุธนิวเคลียร์มากขึ้น เพื่อที่จะได้มีความเท่าเทียมทางยุทธศาสตร์กับสหรัฐอเมริกาสถานการณ์หลังสงครามเย็น

                      ยุครัสเซียล้มสลาย

   
    ในช่วงทศวรรษ 1980-1991 ถือเป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในสหภาพโซเวียต เมื่อในช่วงนั้นสาธารณรัฐเล็ก ๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียตได้เริ่มปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากโซเวียต และโดยเฉพาะในช่วงปี 1985-1991 ที่ มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ได้นำนโยบายกาสนอสท์-เปเรสทรอยก้า มาใช้ปฏิรูปประเทศ ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวได้ทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตเริ่มตระหนักถึง
เสรีภาพในการดำรงชีวิต และในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991
   ทั้งนี้ เมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ในโซเวียตล่มสลายแล้วก็นับเป็นการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นและเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 หรือโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ที่จัดเป็นโลกในสังคมแห่งยุคข่าวสาร จากนั้นบทบาทของโซเวียตในเวทีโลกก็ลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะการแตกออกเป็นสาธารณรัฐต่าง ๆ ทำให้สหภาพโซเวียตเดิมอ่อนแอลงมาก อีกทั้งการเกิดขึ้นของรัสเซียใหม่ (Neo-Russia) ภายหลังการล่มสลายของโซเวียต ก็ทำให้รัสเซียต้องหมก
มุ่นอยู่กับปัญหาการเมืองภายในของตัวเอง และปัญหาของการเป็นผู้นำกลุ่มประเทศในเครือจักรภพรัฐเอกราช ดังนั้นจึงทำให้สหรัฐอเมริกาก้าวเข้า มามีบทบาทเต็มที่เพียงหนึ่งเดียวในโลกยุคโลกาภิวัตน์
   นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่เป็นนับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดของสงครามเย็น ก็คือ การทำลายกำแพงเบอร์ลิน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 และการรวมประเทศเยอรมนีทั้งสองเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1990 พร้อมกับการสิ้นอำนาจของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศของยุโรปตะวันออก และการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสันติภาพหลังยุคสงครามเย็นอย่างแท้จริง

  


 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 132,918