4.พระราชบัญญัติคณะสงฆ์

 
      พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับปรับปรุงใหม่
       

  ๐พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ภูมิพลอยุดลยเดชป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 เป็นปีที่ 17 ในรัชกาลปัจจุบัน
และให้ไว้ ณวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน
************************

  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้
      มาตรา 1พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
      มาตรา 2พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
      มาตรา 3ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484
      มาตรา 4ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บรรดากฏกระทรวง สังฆาณัติ กติกาสงฆ์กฏองค์การ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับคณะสงฆ์ที่ใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง กฏมหาเถรสมาคม พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชข้อบังคับหรือระเบียบของมหาเถรสมาคมยกเลิก หรือมีความอย่างเดียวกันหรือขัดหรือแย้งกัน หรือกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น
      มาตรา 5เพื่อประโยชน์แห่งมาตรา 4 บรรดาอำนาจหน้าที่ ซึ่งกำหนดไว้ในสังฆาณัติ กติกาสงฆ์กฏองค์การ พระบัญชาสมเด็จ พระสังฆราช ข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับคณะสงฆ์ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพระภิกษุตำแหน่งใดหรือคณะกรรมการสงฆ์ใดซึ่งไม่มีในพระราชบัญญัตินี้ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจกำหนดโดยกฏมหาเถรสมาคมให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพระภิกษุตำแหน่งใดรูปใด หรือหลายรูป ร่วมกันเป็นคณะตามที่เห็นสมควร
               มาตรา 5 ทวิในพระราชบัญญัตินี้
     คณะสงฆ์ หมายความว่าบรรดาพระภิกษุที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่าจะปฏิบัติศาสนกิจในหรือนอกราชอาณาจักร
       คณะสงฆ์อื่น หมายความว่าบรรดาบรรพชิตจีนนิกายหรืออนัมนิกาย
       พระราชาคณะ หมายความว่าพระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่สามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ
       สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมฌศักดิ์ หมายความว่าสมเด็จพระราชาคณะที่ได้รับสถาปนาก่อนสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นถ้าได้รับสถาปนาในวันเดียวกันให้ถือรูปที่ได้รับสถาปนาในลำดับก่อน
       มาตรา 5 ตรีพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์
       มาตรา 6ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฏกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
       กฏกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

   หมวด 1  สมเด็จพระสังฆราช
       มาตรา 7  พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง
       ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง  ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ  เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
       ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ  และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
       มาตรา 8  สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายก  ทรงบัญชาการคณะสงฆ์  และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช  โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย  พระธรรมวินัย  และกฏมหาเถรสมาคม
       มาตรา 9  ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชทรงลาออกจากตำแหน่งหรือพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดให้ออกจากตำแหน่ง  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของสมเด็จพระสังฆราชหรือตำแหน่งอื่นใดตามพระราชอัธยาศัยก็ได้
       มาตรา 10  ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
       ถ้าสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการมหาเถรสมาคมที่เหลืออยู่เลือกสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ  และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
       ในเมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่ประทับอยู่ในราชาอาณาจักรหรือไม่อาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้สมเด็จพระสังฆราชจะได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน
       ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนตามวรรคสาม
หรือสมเด็จพระราชาคณะซึ่งได้แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชไม่อาจปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
       ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชตามมาตรานี้ในราชกิจจานุเบกษา
       มาตรา 11  สมเด็จพระสังฆราชพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
           (1)  มรณภาพ
           (2)  พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
           (3)  ลาออก
           (4)  ทรงพระกรุณาโปรดให้ออก

   หมวด 2  มหาเถรสมาคม
       มาตรา 12  มหาเถรสมาคมประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชซึ่งทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโดยตำแหน่ง  สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกินสิบสองรูปเป็นกรรมการ
       มาตรา 13  ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง  และให้กรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
       มาตรา 14  กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
       มาตรา 15  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 14 กรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
          (1)  มรณภาพ
          (2)  พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
          (3)  ลาออก
          (4)  สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก
       ในกรณีที่กรรมการมหาเถรสมาคมพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระสมเด็จพระสังฆราชอาจทรงแต่งตั้งพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งเป็นกรรมการแทน
       กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามความในวรรคก่อนอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
       มาตรา 15 ทวิ  การแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมตามมาตรา 12  และการให้กรรมการมหาเถรสมาคมพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 15  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
       มาตรา 15 ตรี  มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
         (1)  ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม
         (2)  ปกครองและกำหนดการบรรพชาสามเณร
         (3)  ควบคุมและส่งเสริมการศาสนศึกษา  การศึกษา  สงเคราะห์  การเผยแผ่  การสาธารณูปการ  และการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์
         (4)  รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
         (5)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
        เพื่อการนี้  ให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคมออกข้อบังคับ  วางระเบียบ  ออกคำสั่ง  มีมติหรือออกประกาศ  โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัย  ใชับังคับได้  และจะมอบให้พระภิกษุรูปใดหรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 19  เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่งก็ได้
        มาตรา 15 จัตวา  เพื่อรักษาหลักธรรมวินัย  และเพื่อความเรียบร้อยดีงามของคณะสงฆ์  มหาเถรสมาคมจะตรากฎหมาเถรสมาคม  เพื่อกำหนดโทษหรือวิธีลงโทษทางการปกครอง  สำหรับพระภิกษุ  และสามเณรที่ประพฤติให้เกิดความเสียหายแก่พระศาสนาและการปกครองของคณะสงฆ์ก็ได้
        พระภิกษุและสามเณรที่ได้รับโทษตามวรรคหนึ่ง ถึงขึ้นให้สละสมณเพศต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันทราบคำสั่งลงโทษ
        มาตรา 16  ในกรณีที่ประธานกรรมการมหาเถรสมาคมไม่อาจมาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมมหาเถรสมาคมและมิได้มอบหมายให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์ซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
        มาตรา 17  การประชุมมหาเถรสมาคมต้องมีกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการโดยการแต่งตั้งรวมกันประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด  จึงเป็นองค์ประชุม
        ระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคมให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม
      มาตรา 18  ในกรณีนี้ที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมแทนตำแหน่งที่ว่างตามมาตรา 15 วรรคสอง  ให้ถือว่ามหาเถรสมาคมมีกรรมการเท่าจำนวนที่เหลืออยู่ในขณะนั้น
      มาตรา 19  สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆตามมติมหาเถรสมาคม  ประกอบด้วยพระภิกษุหรือบุคคลอื่นจำนวนหนึ่ง  มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะเสนอต่อมหาเถรสมาคมและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่มหาเถรสมาคมมอบหมายโดยขึ้นตรงต่อมหาเถรสมาคม
      การจัดให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ การแต่งตั้งกรรมการหรือนุกรรมการการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการหรือนุกรรมการ และระเบียบการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบมหาเถรสมาคม

        หมวด 3  การปกครองคณะสงฆ์
      มาตรา 20  คณะสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม
การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
      มาตรา 20 ทวิ  เพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  ให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์
      การแต่งตั้งและการกำหนดอำนาจหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
      มาตรา 21  การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค  ให้จัดแบ่งเขตปกครอง ดังนี้
            (1)  ภาค
            (2)  จังหวัด
            (3)  อำเภอ
            (4)  ตำบล
      จำนวนและเขตปกครองดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
      มาตรา 22  การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค  ให้มีพระภิกษุเป็นผู้ปกครองตามชั้น ตามลำดับดังต่อไปนี้
           (1)  เจ้าคณะภาค
           (2)  เจ้าคณะจังหวัด
           (3)  เจ้าคณะอำเภอ
           (4)  เจ้าคณะตำบล
      เมื่อมหาเถรสมาคมเห็นสมควรจะจัดให้มีรองเจ้าคณะภาค  รองเจ้าคณะจังหวัด  รองเจ้าคณะอำเภอ  และรองเจ้าคณะตำบล  เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะนั้นๆก็ได้
      มาตรา 23  การแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์  เจ้าอาวาส  รองเจ้าอาวาส  ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่นๆและไวยาวัจกรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

        หมวด 4  นิคหกรรมและการสละสมณเพศ
       มาตรา 24  พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมก็ต่อเมื่อกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย  และนิคหกรรมที่จะลงแก่พระภิกษุก็ต้องเป็นนิคหกรรมตามพระธรรมวินัย
       มาตรา 25  ภายใต้บังคับมาตรา 24  มหาเถรสมาคมมีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ  เพื่อให้การลงนิคหกรรมเป็นไปโดยถูกต้อง  สะดวก  รวดเร็ว  และเป็นธรรม  และให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายที่มหาเถรสมาคมจะกำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
       ให้มหาเถรสมาคมหรือพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ตำแหน่งใดเป็นผู้มีอำนาจลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินับกับทั้งการกำหนดให้การวินิจฉัยการลงนิคหกรรมให้เป็นอันยุติในชั้นใดๆนั้นด้วย
       มาตรา 26  พระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยและได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด ให้ได้รับนิคหกรรมให้สึก  ต้องสึกภายในยี่สอบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น
      มาตรา 27  เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องด้วยกรณีข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
            (1)  ต้องคำวินิจฉัยตามมาตรา 25 ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึกแต่ไม่ยอมรับนิคหกรรมนั้น
            (2)  ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ
            (3)  ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง
            (4)  ไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
          ให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศตามหลักเกณฑ์  และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
           พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัยให้สละสมณเพศตามวรรคสองต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยนั้น
          มาตรา 28  พระภิกษุรูปใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายต้องสึกภายในสามวันแนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
          มาตรา 29  พระภิกษุรูปใดถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา  เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุมหรือพนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุมหรือพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่งให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้
          มาตรา 30  เมื่อจะต้องจำคุก กักขัง หรือขังพระภิกษุรูปใดตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น

              หมวด 5 วัด
        มาตรา 31  วัดมีสองอย่าง
              (1)  วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
              (2)  สำนักสงฆ์
        ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
        เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป
        มาตรา 32  การสร้าง  การตั้ง  การรวม  การย้าย  การยุบเลิกวัดและการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
        ในกรณียุบเลิกวัด  ทรัพย์สินของวัดที่ถูกยุบเลิกให้ตกเป็นศาสนสมบัติกลาง
        มาตรา 32ทวิ  วัดใดเป็นวัดร้างที่ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัยในระหว่างที่ยังไม่มีการยุบเลิกวัดให้กรมการศาสนามีหน้าที่ปกครองดูแล  รักษาวัดนั้น  รวมทั้งที่วัด  ที่ธรณีสงฆ์  และทรัพย์สินของวัดนั้นด้วย
        การยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง
        มาตรา 33  ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด มีดังนี้
                 (1)  ที่วัด คือที่ซึ่งตั้งวัด ตลอดจนเขตของวัดนั้น
                 (2)  ที่ธรณีสงฆ์ คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด
                 (3)  ที่กัลปนาคือที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา
        มาตรา 34  การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด  ที่ธรณีสงฆ์  หรือที่ศาสนสมบัติกลาง  ให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ  เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง
        การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด  ที่ธรณีสงฆ์  หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้แก่ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ  หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ  เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้องและได้รับค่าผาติกรรมจากส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
         ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดหรือกรมการศาสนาแล้วแต่กรณีในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด  ที่ธรณีสงฆ์  หรือที่ศาสนสมบัติกลาง
         มาตรา 35ที่วัด  ที่ธรณีสงฆ์  และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี
         มาตรา 36  วัดหนึ่งให้มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง  และถ้าเป็นการสมควรจะให้มีรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสด้วยก็ได้
         มาตรา 37  เจ้าอาวาสมีหน้าที่ ดังนี้
                 (1)  บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
                 (2)  ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัยกฎมหาเถรสมาคม  ข้อบังคับ  ระเบียบ  หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
                 (3)  เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัส
                (4)  ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล
        มาตรา 38  เจ้าอาวาสมีอำนาจ ดังนี้
                (1)  ห้ามบรรพชิต  และคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด
                (2)  สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด
                (3)  สั่งให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัดหรือให้ทำทัณฑ์บนหรือให้ขอขมาโทษ  ในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ในวัดนั้นประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาส  ซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม  ข้อบังคับ  ระเบียบ  หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
        มาตรา 39  ในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาสหรือเจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส  ให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาส
        การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

            หมวด 6 ศาสนสมบัติ
        มาตรา 40ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็น สองประเภท
            (1) ศาสนสมบัติกลางได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนา ซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง
            (2) ศาสนสมบัติของวัดได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง
        การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติกลางให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาเพื่อการนี้ให้ถือว่ากรมการศาสนาเป็นเจ้าของศาสนสมบัตินั้นด้วย
        การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง
        มาตรา 41ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำงบประมาณประจำปีของศาสนสมบัติกลางด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้งบประมาณนั้นได้

             หมวด 7  บทกำหนดโทษ
        มาตรา 42ผู้มดมิได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปชฌาย์หรือถูกถอดถอนจากความเป็นพระอุปชฌาย์ ตามมาตรา 23 แล้วกระทำการบรรพชาอุปสมบทแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
        มาตรา 43ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 15 จัตวา วรรคสอง มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคสาม หรือมาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
        มาตรา 44ผู้ใดพ้นจากความเป็นพระภิกษุเพราะต้องปาราชิกมาแล้วไม่ว่าจะมีคำวินิจฉัยตามมาตรา 25 หรือไม่ก็ตาม แต่มารับบรรพชาอุปสมบทใหม่โดยกล่าวความเท็จหรือปิดบังความจริงต่อพระอุปชฌาย์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
       มาตรา 44 ทวิผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราชต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
       มาตรา 44 ตรีผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยกต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

          หมวด 8  เบ็ดเตล็ด
       มาตรา 45ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ และไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา
       มาตรา 46การปกครองคณะสงฆ์อื่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

          **หมายเหตุ
       1. ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้บัญญัติเพิ่มเติมอีก 4 มาตรา คือ มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ดังนี้
       มาตรา 18 บรรดากฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคมที่ออกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
       มาตรา 19วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคณะสงห์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
       มาตรา 20ให้พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มีสมณศักดิ์อยู่ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ยังมีสมณศักดิ์นั้นต่อไป
       ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ กรรมการหรืออนุกรรมการใด ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 หรือตามกฎกระทรวงกฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคมซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ยังคงดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระการดำรงตำแหน่งหรือจนกว่ามหาเถรสมาคมจะมีมติเป็นประการอื่น
       มาตรา 21ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

      http://www.baanjomyut.com/library/law/48.html

 

 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 139,923