๔.สรรพคุณว่านที่สำคัญ

                     สรรพคุณว่านที่สำคัญ

         ว่านกงจักรพระอินทร์ (ว่านมรกต)

   

       

                             สรรพคุณของว่านกงจักรพระอินทร์

    ว่านกงจักรพระอินนทร์   สรรพคุณเป็นว่านอยู่ยงคงกระพันมีอานุภาพว่านหนึ่ง ก่อนจะกินต้องเสกด้วยคาถา ดังนี้.-
“อุทธัง อัทโธ นะโมพุทธายะ จะพะกะสะ พุทธะสังมิ” กินวันไหน ต้องเสกตามวัน คือ วันอาทิตย์ต้องเสก ๑ เที่ยว วันจันทร์ ๒ จนถึงวันเสาร์ ๗ เป็นคงกระพันชาตรี, เป็นเมตตามหานิยม และสามารถหลบหลีกศัตรูและข้าศึกอย่างวิเศษยิ่ง (ว่านต้นนี้เจริญงอกงามตั้งแต่เดือน ๕ – เดือน ๑๒ หลังจากนั้นก็จะโทรมไป เหลือแต่หัว)
    วิธีปลูกนำดินสะอาด เช่นดินตามท้องนา หรือดินที่เผาไฟ พอระอุ นำไปตากน้ำค้างไว้ ๑ คืน กลบหัวว่านพอมิด แล้วนำน้ำที่เสก คาถา นะโมพุทธายะ ๓ จบ รดพอให้เปียกทั่วไป
   ๐สรรพคุณพิเศษ
    ประโยชน์และอนุภาพของว่านกงจักรพระอินทร์
ในทางการแพทย์แผนโบราณสมัยก่อนใช้หัวว่านชนิดนี้ในทางรักษาโรคตา โดยเฉพาะ แก้ตาแดง ตามัว ตาต้อ ริดสีดวงตา และตาแฉะ โดยการนำหัวว่านมาปอกเปลือกแล้วปิ้งไฟพอเกรียมทั่ว แล้วจึงนำมาดองกับสุราขาว ๔๐ ดีกรี เอาหมกข้าวเปลือกไว้ ๓ คืน จึงเอามาคั้นเอาแต่น้ำเก็บไว้หยอดตา แก้โรคตาต่าง ๆ ได้เป็นอางดี ทั้งนี้การใช้ควร ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะว่าเดี๋ยวนี้เชื้อโรคมันเยอะการที่จะเอาอะไรมาหยอดตาต้องทำให้สะอาดและถูกวิธีด้วย

  ถ้าจะแก้ปวดท้อง และลงท้อง ให้นำหัวว่านมาตำผสมกับสุราขาว ให้กินทั้งกาก หายได้ทันใจแล

                        ว่านนางคำ

   

      

       สรรพคุณของว่านนางคํา
    ว่านนางคำ มีสรรพคุณช่วยกระทุ้งพิษต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยแก้พิษจากว่านร้ายต่าง ๆ แก้ฤทธิ์ของว่านทั้งปวง เพราะว่านนางคำจัดเป็น "พญาว่าน"
    สมุนไพรว่านนางคำ น้ำมันหอมระเหยจากว่านนางคำมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้า
นอนุมูลอิสระ  หัวและรากว่านนางคํา มีสรรพคุณช่วยควบคุมธาตุในร่างกาย (หัว, ราก) ส่วนของรากใช้เป็นยาขับเสมหะ (ราก)
    หัวใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ ลดกรดในกระเพาะ (หัว)
    ช่วยแก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้อง ด้วยการใช้หัวสดนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใสกิน อาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง หรือจะกินหัวสดผสมกับเหล้าขาวก็ได้เช่นกัน (หัว)
    ส่วนของรากช่วยแก้ลงท้องหรืออาการท้องเสีย ท้องเดิน ท้องร่วง (ราก)
    ช่วยแก้กามโรค (หัว)
    รากช่วยรักษาโรคหนองในเรื้อรัง (ราก)
    รากใช้เป็นยาสมานแผล (ราก)
    หัวใช้ตำนำมาพอกช่วยแก้อาการฟกช้ำบวมตามร่างกาย (หัว)
    หัวใช้ฝนแล้วนำมาทาแก้อาการเม็ดผื่นคัน (Prurigo) และโรคผิวหนังต่าง ๆ หรือใช้หัวตำผสมกับเหล้า  ๔๐ ดีกรีแล้วนำมาฟอกก็ได้เช่นกัน (หัว)
    ในตำราจีนใช้ว่านนางคำเป็นยาฆ่าเชื้อ ฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย (หัว)
    ช่วยรักษาอาการข้อเคล็ด เคล็ดขัดยอก อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (หัว)
      ประโยชน์ของว่านนางคำ
    นิยมใช้ปลูกไว้ประจำบ้าน เป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกที่สวยงาม
    การปลูกว่านนางคำไว้ประจำบ้าน เชื่อว่าจะทำให้มีเสน่ห์ มีเมตตามหานิยมแก่ผู้ที่อาศัยในบ้าน ช่วยปกป้องคุ้มครองผู้อยู่อาศัยให้อยู่เย็นเป็นสุข ช่วยให้รอดพ้นจากภัยอันตรายต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องคุณไสย    ผงว่านนางคำสามารถนำมาใช้มาส์กพอกหน้าได้เพื่อช่วยบำรุงผิวพรรณให้ผุดผ่องสวยงาม ช่วยป้องกันสิว ฝ้า จุดด้างดำ ช่วยทำให้ผิวหน้าดูอ่อนกว่าวัย โดยสามารถหาซื้อได้ในรูปแบบสำเร็จจะสะดวกหน่อย ส่วนธีการใช้ก็ง่าย ๆ ใช้ผสมกับน้ำผึ้งและน้ำสะอาด แล้วนำทาให้ทั่วใบหน้าทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วล้างออก
    หัวของว่านนางคำเมื่อนำมาหักหรือผ่าจะมีกลิ่นหอมเย็น ๆ เมื่อสูดดมแล้วจะทำให้รู้สึกสดชื่น    สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างหลากหลาย เช่น ว่านนางคำผงหรือผงว่านนางคำมาส์กหน้า หรือทำเป็นโลชั่นบำรุงผิวว่านนางคำ ทำเป็นสบู่สมุนไพรว่านนางคำ ทำเป็นยากันยุง เป็นต้น
    สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบเข้าในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น ยาสตรีว่านนางคำ ที่ช่วยแก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ เป็นต้น
    ว่านนางคำที่ปลูกกันอยู่ทั่วไป หัวว่านนางคำนอกจากจะใช้ผสมเป็นยาทาแก้อาการเคล็ดบวม ยังสามารถนำมาใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองที่ติดทนนาน (สมัยก่อนใช้ย้อมทำจีวรพระ) หรือคั้นเอาน้ำมาใช้เขียนภาพได้อีกด้วย

                          ว่านไพร

     

       

     ๐ว่านไพล ชื่อสามัญ Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root
   ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb., Zingiber purpureum Roscoe) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

    สมุนไพรไพล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ  ว่านไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเหนือ), ว่านไฟ (ภาคอีสาน) เป็นต้น
   ๐ลักษณะของว่านไพล
   ต้นไพล ลักษณะไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ ๐.๗ - ๑.๕ เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่ง หรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ปลูกกันมากในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้วใบไพล ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้างประมาณ ๓.๕ - ๕.๕ เซนติเมตรและยาวประมาณ ๑๘ - ๓๕ เซนติเมตรดอกไพล ออกดอกเป็นช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกมีสีนวล มีใบประดับสีม่วงผลไพล ลักษณะของผลเป็นผลแห้งรูปกลม
         สรรพคุณของว่านไพล
  ดอกไพล สรรพคุณช่วยขับโลหิตและกระจายเลือดเสีย กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน  

    (ดอก) ช่วยแก้ธาตุพิการ

    (ต้นไพล) สรรพคุณสมุนไพรว่านไพล ใบช่วยแก้ไข้
   -ช่วยแก้อาเจียน อาการอาเจียนเป็นโลหิต
   -ช่วยแก้อาการปวดฟันใช้หัวไพล
   -เหง้าช่วยขับโลหิต และช่วยแก้เลือดกำเดาไหลออกทางจมูก
   -ช่วยรักษาโรคที่บังเกิดแต่โลหิตออกทางปากและจมูก
   -เหง้าไพล ใช้เป็นยารักษาหอบหืด ด้วยการใช้เหง้าแห้ง ๕ ส่วน / ดีปลี ๒ ส่วน / พริกไทย ๒ ส่วน / กานพลู ๑/๒ ส่วน / พิมเสน ๑/๒ ส่วน นำมาบดผสมรวมกัน ใช้ผงยา ๑ ช้อนชาชงกับน้ำร้อนแล้วรับประทาน หรือ จะปั้นเป็นยาลูกกลอนด้วยการใช้น้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วรับประทานครั้งละ ๒ ลูก โดยต้องรับประทานติดต่อกันเรื่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น 

   (เหง้าแห้ง) ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องขึ้น ท้องเดิน ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าแห้งนำมาบดเป็นผงแล้วรับประทานครั้งละ ๑ ช้อนชา ด้วยการนำมาชงกับน้ำร้อนและผสมเกลือด้วยเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม 

   (เหง้าแห้ง) ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด บิดเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ ๔-๕ แว่น นำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนชาแล้วนำมารับประทาน หรือจะฝนกับน้ำปูนใสรับประทานก็ได้เช่นกัน 

   (เหง้าสด) ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยสมานแผลในลำไส้ แก้ลำไส้อักเสบ 

   (เหง้า) ช่วยแก้อุจจาระพิการ 

   (ต้นไพล) ช่วยขับระดู ประจำเดือนของสตรี ขับเลือดร้ายทั้งหลาย และแก้มุตกิดระดูขาว   

   (หัวไพล, เหง้า) ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ 

   (เหง้า) ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้หัวไพลนำมาฝนแล้วทาบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมหรือเคล็ดขัดยอก / หรือจะใช้เหง้าสด ๑ แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย (เหง้าสด) ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้เหง้า ๑ เหง้า นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาทานวดบริเวณที่มีอาการ / หรือจะนำมาตำให้ละเอียดแล้วผสม
กับเกลือเล็กน้อย นำมาห่อเป็นลูกประคบ แล้วอังไอน้ำให้ความร้อน นำมาใช้ประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมและบริเวณที่ปวดเมื่อย เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย / หรือจะใช้ทำเป็นน้ำมันไพล ด้วยการใช้ไพลหนัก ๒ กิโลกรัม นำมาทอดในน้ำมันพืชร้อน ๆ ๑ กิโลกรัม ให้ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก และใส่กานพลูผง ประมาณ ๔ ช้อนชา และทอดต่อไปด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ ๑๐ นาที เสร็จแล้วนำมากรองรอจนน้ำมันอุ่น ๆ และใส่การบูรลงไป ๔ ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดให้มิดชิด รอจนเย็นแล้วจึงเขย่าการบูรให้ละลาย แล้วนำน้ำมันไพล
มาทาถูนวดวันละ ๒ ครั้งเวลามีอาการปวด เช้า-เย็น 

   (เหง้า, หัว) ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ปวด บวม เส้นตึง เมื่อยขบ (เหง้า) ช่วยแก้เมื่อย แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามร่างกาย 

   (ใบ) ช่วยรักษาโรคผิวหนัง 

   (เหง้า)ไพล สรรพคุณของเหง้าช่วยรักษาฝี (เหง้า)ช่วยดูดหนอง (เหง้า)ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้เหง้านำมาบดทำเป็นผงผสมกับน้ำ หรือจะใช้เหง้าสดนำมาล้างให้สะอาด ฝนแล้วทาบริเวณที่เป็นก็ได้เช่นกัน
   -เหง้าใช้ทาเคลือบแผลเพื่อป้องกันอาการติดเชื้อได้ ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว 

   -(ใบ) ช่วยรักษาโรคเหน็บชา 

   (เหง้าสด) ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ใช้เป็นยาสมานแผล ด้วยการใช้เหง้าสด ๑ แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย และ  เหง้าใช้เป็นยาแก้เล็บถอด ด้วยการใช้เหง้าสด ๑ แง่ง (ขนาดเท่าหัวแม่มือ) นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเกลือและการบูร อย่างละครึ่งช้อนชา แล้วนำมาใช้พอกบริเวณที่เป็นหนอง โดยควรเปลี่ยนยาที่ใช้พอกวันละ  ๑ ครั้ง
   -เหง้าไพลสดสามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำอาบหลังคลอดของสตรีได้
   -เหง้าของไพลมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจากการทดลองพบว่ามันมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบได้ 

   (เหง้า) ไพลมีฤทธิ์ช่วยคล้ายกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยลดการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ รวมไปถึงกระเพาะอาหารในหนูทดลอง ไพลมีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อแบคทีเรีย ไพลมีฤทธิ์ช่วยต้านฮีสตามีนในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหอบหืด โดยสามารถช่วยลดขนาดของตุ่มนูนจากการฉีดน้ำยาฮีสตามีนเข้าใต้ผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังช่วยทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเกิดอาการหอบน้อยลง การทำงานของปอดทำงานได้ดีขึ้น
   -เหง้าไพลจัดอยู่ในตำรับยา "ยาประสะกานพลู" ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อยเนื่องจากธาตุ
   -เหง้าไพลจัดอยู่ในตำรับยา "ยาประสะไพล" ซึ่งมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ และช่วยขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอดบุตร
       ข้อควรระวัง
   การรับประทานในขนาดสูงหรือการใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ และยังไม่มีความปลอดภัยที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหืด และไม่ควรนำมารับประทานแบบเดี่ยว ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากจะมีการขจัดสารที่พิษต่อตับออกไปเสียก่อน
   การใช้ครีมไพลห้ามใช้ทาบริเวณขอบตา เนื้อเยื่ออ่อน และบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิดไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรชนิดนี้กับสตรีมีครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตรและเด็กเล็กประโยชน์ของไพลช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น ด้วยการใช้เหง้าสด ๑ แง่ง นำมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ  เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย  
   -ประโยชน์ของไพลช่วยไล่แมลง ฆ่าแมลง 

   (เหง้า) ช่วยกันยุงและไล่ยุง น้ำมันจากหัวไพลผสมกับแอลกอฮอล์นำมาใช้ทาผิวสามารถช่วยกันยุงและไล่ยุงได้
    (หัวไพล) สามารถนำมาทำเป็น ครีมไพล, น้ำมันไพล, ไพลผง, ไพลขัดผิว, ไพลทาหน้าได้ ไพลกับความงามไพลขัดผิว เหง้าสามารถนำมาใช้ทำเป็นแป้งไว้สำหรับขัดผิวได้ โดยจะช่วยทำให้ผิวดูผุดผ่อง ช่วยปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ ช่วยลดเลือนริ้วรอย จุดด่างดำและไม่ทำให้เกิดสิว ซึ่งวิธีการทำไพลขัดผิว ก็ให้นำเหง้าไพลมาหั่นแบบหยาบ ๆ ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ ใส่ลงในโถปั่น แล้วตามด้วยดินสอพอง ๓ ถ้วยตวง นำมาทุบให้พอแตกแล้วใส่ลงไปในเครื่องปั่นและปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นให้เติมน้ำต้มสุก ๑ ถ้วยตวง และปั่นให้เข้ากันอีกครั้ง เมื่อได้ครีมเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้นำมาปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิทเก็บไว้ใส่ขวด ก็จะได้แป้งไพลที่สามารถนำมาใช้ขัดผิวได้แล้ว ซึ่งวิธีการใช้ก็นำมาผสมกับน้ำเย็นแล้วนำมาพอกบริเวณผิวทิ้งไว้ประมาณ ๓๐ นาทีแล้วค่อยล้างออกไพลทาหน้าหรือการพอกหน้าด้วยไพล ด้วยการใช้แป้งไพลจำนวน ๒-๓  ก้อนนำมาผสมกับน้ำเย็นแล้วนำมาพอกหน้าก่อนเข้านอน ทิ้งไว้ประมาณ ๓๐ นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผิวหน้าดูอ่อนนุ่ม 

    ในสูตรสามารถเติมนมสดหรือโยเกิร์ตประมาณ ๒ ช้อนชาลงไปด้วยก็ได้แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์ข้อมูลเครื่อยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล, การศึกษาสารสกัดจากไพลใช้ทาผิวหนังกันยุงกัด วารสารกรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์

                            ขมิ้ยอ้อย (ขมิ้นขึ้น)

                  

           

     สรรพคุณของขมิ้นอ้อย เหง้าขมิ้นอ้อยมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม
     -ช่วยกระจายโลหิต รักษาอาการเลือดคั่งหรือเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดในท้องอุดตัน
     -ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ แก้พิษโลหิต ใช้เป็นเป็นยาชำระโลหิต
     -ช่วยลดความดันโลหิต ในเหง้าหรือในหัวสดของขมิ้นอ้อย มีสารหอมชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง  
     -ช่วยแก้อาการหืดหอบหายใจไม่เป็นปกติ
     -เหง้าสดนำมาตำผสมกับการบูรเล็กน้อย นำมาดองหรือผสมกับน้ำฝนกลางหาว (ฝนกลางแจ้ง) ใช้รินเอาแต่น้ำเป็นยาหยอดตา
แก้อาการตาแดง ตามัว ตาแฉะ และตาพิการ  
     -ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาแก้ไข้ไข้ทั้งปวง
     -ใช้รักษาอาการหวัด ด้วยการใช้หัวขมิ้นอ้อย อบเชยเทศ และพริกหาง นำมาต้มแล้วเติมน้ำผึ้งใช้รับประทานเป็นยาแก้หวัดได้ดี
     -ช่วยแก้อาเจียน  
     -ช่วยแก้เสมหะ  
     -เหง้าใช้เป็นยาแก้ลมได้
     -ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะและลำไส้ให้เกิดการบีบตัว จึงช่วยในการขับลม ช่วยแก้อาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการย่อย
อาหาร แก้อาการปวดท้อง และแก้อาการปวดลำไส้ได้
     -เหง้าใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค)
     -เหง้าสดประมาณ ๒ แว่น เมื่อนำมาบดผสมกับน้ำปูนใส สามารถนำมาใช้ดื่มเป็นยารักษาอาการท้องร่วงได้
     -เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น ๆจะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้ โดยนำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่มแก้โรคกระเพาะ ช่วยสมานลำไส้
     -น้ำคั้นจากใบของต้นขมิ้นอ้อย ใช้เป็นยาแก้ท้องมาน โดยขับออกทางปัสสาวะ
     -ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อย พริกไทยล่อน และเปลือกยางแดง นำมาผสมกันทำเป็นยาผง แล้วนำไปละลายในน้ำยาง
ใส ปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วชี้ ใช้กินเช้าและเย็น
     -เหง้าและใบมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ  ช่วยแก้หนองใน  ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้เหง้าหนัก
ประมาณ ๑๒ กรัม, ขมิ้นชัน ๑๐ กรัม, คำฝอย ๖ กรัม, ฝางเสน ๘ กรัม, เม็ดลูกท้อ ๘ กรัม, หง่วงโอ้ว ๘ กรัม และโกฐเชียง ๑๐ กรัม นำมาต้มกับ
น้ำหรือใช้ดองกับเหง้าเป็นยารับประทาน ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี ช่วยแก้ระดูขาวของสตรี
     -เหง้าใช้เป็นยาขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตรของสตรี  ช่วยรักษาซีสต์ในรังไข่ของสตรี
     -ช่วยแก้อาการตับและม้ามโต
     -แก้หัดหลบใน ด้วยการใช้เหง้า ๕ แว่น และต้นต่อไส้ ๑ กำมือ นำมาต้มรวมกับน้ำปูนใสพอสมควร แล้วนำมาใช้ดื่มเป็นยาก่อน
อาหารเช้าและเย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยชา
     -เหง้าใช้เป็นยาสมานแผล
     -เหง้านำมาหุงกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใส่แผล จะช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากหัวหรือเหง้าของขมิ้นอ้อยนั้นมีรสฝาด
(สาร Tannin) อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำบวมได้อีกด้วย
     -เหง้าใช้เป็นยาภายนอก ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ ฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แก้กลากเกลื้อน แก้ผิวหนังอักเสบ
     -ใช้เป็นยารักษาฝี ฝีหนองบวม ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยสด, ต้นและเมล็ดของเหงือกปลาหมอ อย่างละเท่ากันมากน้อยตามต้องการ นำมา
ตำรวมกันจนละเอียดแล้วใช้พอกเช้าเย็น หรือหากเป็นฝีหัวเดือน ให้นำใบไผ่เผาไฟให้ไหม้ ส่วนหัวขมิ้นอ้อยนั้น ให้เอามาตำด้วยกัน แล้วใช้น้ำ
เป็นกระสายยา สามารถใช้ได้ทั้งกิน ทาหรือพอก
     -ช่วยแก้ฝีในมดลูกของสตรี ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ ๓ ท่อน, บอระเพ็ด ๓ ท่อน, ลูกขี้กาแดง ๑ ลูก (นำมาผ่าเป็น ๔ ซีก แล้วใช้ เพียง ๓ ซีก) แล้วนำมาต้มรวมกับสุรา ใช้กินเป็นยาแก้ฝีในมดลูกได้ดี
     -ช่วยแก้เสี้ยน ถูกหนามตำ ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ ๕ แว่น ดอกชบา ๕ ดอก และข้าวเหนียวสุกประมาณ ๑ กำมือ นำมาตำแล้วใช้พอก จะสามารถช่วยดูดเสี้ยนและหนองที่ออกจากแผลได้ดี
     -ใช้รักษาอาการปวด ปวดบวม แก้บวม ฟกช้ำ แก้ช้ำใน แก้อักเสบ แก้อาการ
เคล็ดขัดยอก ข้อเคล็ดอักเสบ และบรรเทาอาการปวดได้ดี ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นสด ๆ นำมาตำให้ละเอียด แล้วเอามาพอกบริเวณที่มีอาการบวม
จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ฟกชกช้ำบวมได้  ส่วนใบก็ช่วยแก้ฟกช้ำบวมได้เช่นกัน
     -ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว  น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ยับยั้งและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดี เช่น เชื้ออหิวาตกโรค
เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฝีหนองที่แผล เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ เชื้อที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
     -เหง้านำมาใช้เข้าตำรับยาจู้ (ยานวดประคบ) ใช้แก้อาการปวดเมื่อย เจ็บตามร่างกาย
     -เหง้าใช้ผสมในยาระบายเพื่อทำให้ยาระบายมีฤทธิ์น้อยลง เหง้าใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง เช่น รักษาโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่
มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด เนื้องอกธรรมดาของกล้ามเนื้อมดลูก
     -ขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณทางยาเหมือนกับขมิ้นชัน ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรรพคุณและประโยชน์ของ
ขมิ้นชัน ๕๕ ข้อ ! วิธีใช้ขมิ้นอ้อย ใช้ภายใน ให้นำเหง้ามาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยา โดยใช้ครั้งละประมาณ ๕-๑๐ กรัม หากใช้เป็นยารักษา
ภายนอก ให้นำมาบดเป็นผงหรือทำเป็นยาเม็ดตามตำรายาที่ต้องการ
     -ข้อควรระวังระวังในการใช้ขมิ้นอ้อย สำหรับผู้ที่เลือดน้อยหรือพลังหย่อนและสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานขมิ้นอ้อย และมีข้อมูลที่ระบุ
ด้วยว่าการรับประทานขมิ้นอ้อยในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ และในบางรายนั้นมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมี
อาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดศีรษะ และนอนไม่หลับ หากใช้แล้วมีอาการดังกล่าวให้หยุดใช้ทันที

         สรรพคุณพิเศษของขมิ้นอ้อย
     -รักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค) โดยใช้หัวขมิ้นอ้อยสด ๆ ประมาณ ๒ แว่น มาบดผสมกับน้ำปูนใส กินแก้
ท้องร่วงได้
     -รักษาแผล โดยนำขมิ้นอ้อยไปหุงในน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใส่แผล จะช่วยให้แผลหายเร็ว เนื่องจากหัวขมิ้นอ้อยเป็นยาฝาดสมานด้วย
รักษาฝี ถ้าเป็นฝีหัวเดือน ให้นำใบไผ่มาเผ่าไฟให้ไหม้ แล้วนำหัวขมิ้นอ้อยมาตำด้วยกัน แล้วใช้น้ำเป็นกระสายยา และใช้ได้ทั้งกินและ
ทาหรือพอก
     -แก้ฝีในมดลูก โดยใช้ขมิ้นอ้อย ๓ ท่อน บอระเพ็ด ๓ ท่อน ลูกขี้กาแดง ๑ ลูก (ผ่าเป็น ๔ ซีกแต่ใช้แค่ ๓) นำมาต้มรวมกับสุรา กินแก้ฝีใน
มดลูกได้ดี
     -รักษาอาการเสี้ยนหนามตำ โดยนำขมิ้นอ้อยมา ๕ แว่น ข้าวเหนียวสุก ประมาณ ๑ กำมือ ดอกชบา ๕ ดอก ใช้ตำพอก จะดูดเสี้ยนและ
หนองออกจากแผลได้
     -รักษาอาการปวดบวม ฟกช้ำ โดยนำขมิ้นสด ๆ มาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณปวดบวม ฟกช้ำ
     -แก้หวัด โดยนำหัวขมิ้นอ้อย พริกหาง อบเชยเทศ มาต้มและเติมน้ำผึ้งลงไปผสม นำมารับประทานแก้หวัดได้
     -แก้ริดสีดวงทวาร นำขมิ้นอ้อย พริกไทยล่อน เปลือกยางแดง มาผสมกันทำยาผง แล้วนำไปละลายในน้ำยางใส ปั้นทั้งหมดเป็นลูกกลอน
ขนาดเท่าปลายนิ้วชี้ รับประทานเช้า-เย็น
     -แก้หัดหลบใน นำต้นต่อไส้ ๑ กำมือ ขมิ้นอ้อย ๕ แว่นมาต้มรวมกับน้ำปูนใสพอสมควร แล้วใช้ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชาก่อนอาหารเช้าเย็น
     -ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฝี หนองที่แผล เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ
 เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อย จะมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี
      -ฆ่าเชื้อรา มีผลวิจัยพบว่า ขมิ้นอ้อย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ถึง ๑๑ ชนิด และหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อราอีก ๔ ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อ
ราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น กลาก ชันนะตุ เชื้อราที่เล็บ ผิวหนัง ซอกนิ้วเท้า นอกจากนี้ ขมิ้นชัน ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้เหมือนขมิ้นอ้อย
      -ขับลม น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อย สามารถช่วยขับลมในท้องได้
      -บำรุงผิว นำขมิ้นอ้อย กระชาก พริกไทย หัวแห้วหมู มาทุบรวมกันแล้วดองด้วยน้ำผึ้ง รับประทานก่อนนอนทุกคืน จะช่วยให้ผิวสวย
      -ทั้งนี้ นอกจากจะนำขมิ้นอ้อยมาใช้เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร เช่น ข้าวเหนียวเหลือง ขนมเบื้องญวน ได้
แถมยังนำมาย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้อีก

                      ขมิ้นชัน

      

      
          ขมิ้นชัน (Turmeric) หรือขมิ้น เป็นพืชที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อของเหง้ามีสีเหลืองเข้มไปจนถึงสีแสดเอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือ
รสชาติที่จัดจ้าน สีสันมีความสวยงาม อีกทั้งยังได้มีการนำเอาสมุนไพรมาประยุกต์ผสมผสานลงไปในอาหารไทย ทำให้ได้รสชาติที่ดูแตกต่างแต่
ลงตัว เมื่อพูดถึงเรื่อง สมุนไพร ที่คนไทยนิยมนำมาทำอาหาร เราคงจะพลาดที่จะเอ่ยถึง ขมิ้นชัน ไม่ได้ เพราะว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ทำให้
อาหารมีสีสันสะดุดตา ตลอดจนมีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มพูนเป็นลำดับถัดมาจากความอร่อย ตอนนี้เราจะมาทำความรู้
จักกับสมุนไพรชนิดนี้กันให้มากขึ้น เพราะเหตุใดจึงเป็นที่นิยม และประโยชน์ที่ได้จากสมุนไพรชนิดนี้มีอะไรบ้าง หากพร้อมแล้วมาเริ่มเรียนรู้ไป
พร้อม ๆ กัน
     สรรพคุณ:-ตำรายาไทย: ใช้ภายใน ช่วยเจริญอาหาร ยาบำรุงธาตุ ฟอกเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด ลดน้ำหนัก ปวดประจำเดือน ประจำ
เดือนมาไม่ปกติ อาการดีซ่าน แก้อาการวิงเวียน แก้หวัด แก้อาการชัก ลดไข้ ขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องมาน แก้ไข้ผอมแห้ง แก้เสมหะและ
โลหิตเป็นพิษ โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้ตกเลือด แก้อาการตาบวม แก้ปวดฟันเหงือกบวม มีฤทธิ์ระงับเชื้อ ต้านวัณโรค ป้องกันโรค
หนองใน แก้ท้องเสีย แก้บิด รักษามะเร็งลาม ใช้ภายนอก ช่วยลดอาการฟกช้ำบวม ปวดไหล่และแขนบวมช้ำและปวดบวม แก้ปวดข้อ สมานแผล
สดและแผลถลอก ผสมยานวดคลายเส้นแก้เคล็ดขัดยอก แก้น้ำกัดเท้า แก้ชันนะตุ แก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน สมานแผล รักษาฝี  
แผลพุพอง  ลดอาการแพ้  อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย  ตำใส่แผลห้ามเลือด รักษาผิว บำรุงผิว
     สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชัน

       นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา  ปรากฏการใช้ขมิ้นชัน
ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ตำรับ ”ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของขมิ้นชันเป็นองค์ประกอบหลัก ร่วมกับ
สมุนไพรอื่นอีก 12 ชนิดในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน
และท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพรที่สามารถใช้เดี่ยว เพื่อบรรเทาอาการแน่น จุกเสียด

     รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ใช้ภายใน (ยารับประทาน):
             - ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชันแห้ง 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน  อาจปั้นเป็น
ลูกกลอนกับน้ำผึ้ง
             - เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว ขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาดตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ
3-4 ครั้ง
           ใช้ภายนอก:
             - ใช้เหง้าขมิ้นแก่สดฝนกับน้ำสุก หรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
             - เหง้าแก่แห้ง บดเป็นผงละเอียด ทาบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน
             - เหง้าแห้งบดเป็นผง นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด
             - เหง้าแก่ 1 หัวแม่มือ ล้างสะอาดบดละเอียด เติมสารส้มเล็กน้อย และน้ำมันมะพร้าวพอแฉะๆใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลพุพอง ที่หนัง
ศีรษะ
        ข้อควรระวัง:        
           1. การใช้ขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ  ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไป  จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
             2. คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น  โดยมีอาการคลื่นไส้  ท้องเสีย  ปวดหัว  นอนไม่หลับ  ให้หยุดยา
              3. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
           4. ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากเสริมฤทธิ์กัน อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และเลือดไหลหยุดยาก
ได้ปอดถือว่าเป็นอวัยวะสำคัญ เพราะเป็นอวัยวะด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเมื่อร่างการเกิดการเจ็บป่วย จึงมีความสำคัญที่จะต้องดูแลให้
ปอดแข็งแรงเสมอ โดยการศึกษาในปัจจุบันพบว่าเกิดจากการอักเสบและการที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป ซึ่งเป็นหนึ่งในการตอบสนอง
ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นนี้อาจนำไปสู่การที่อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานล้มเหลวได้ในที่สุด

               ขมิ้นชัน หรือ ขมิ้น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าวิตามินอีถึง 8 เท่า จึงช่วยต้านการอักเสบ และช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันแพทย์ได้มีการนำขมิ้นชันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันรวมถึงรักษาโรคเรื้อรังหลายชนิด อาทิเช่น
โรคปอด โรคหลอดลมอุดตันเรื้อรัง โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอด
            ในส่วนของการฟื้นฟูและบำรุงปอดด้วยขมิ้น จะช่วยให้ปอดกลับมามีสุขภาพดีขึ้นได้เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง เพราะมีสาร
เคอร์คูมินในขมิ้น ที่จะช่วยฟื้นฟูปอดที่เกิดจากโควิด-19 โรคปอด ปอดอักเสบ ฯลฯ

     "ขมิ้นชัน" (Turmeric) สมุนไพรคู่ครัวที่คนไทยรู้จักกันดี อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด นิยมนำมาทำอาหารเนื่องจากมี
สีสันสวยงามและให้กลิ่นหอมเครื่องเทศ ขมิ้นชันถูกจัดอยู่ในตำรับยาสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรคต่างๆ โดยองค์การ
เภสัชกรรมยังได้ยกให้ขมิ้นชันเป็น "มหัศจรรย์สมุนไพร" ที่ได้รับการบรรจุเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ เรามาทำความรู้จักพืชสมุนไพรชนิดนี้
ให้มากขึ้น แล้วจะรู้ว่าขมิ้นชันที่อยู่ใกล้ตัว...มีประโยชน์มากกว่าที่คิด!
       
         10 คุณประโยชน์และสรรพคุณของขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน มีสารเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) พบได้ในพืชมีเหง้าและพืชวงศ์ขิง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดอาการอักเสบ และลด
ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ทำให้มีการนำขมิ้นชันมาประยุกต์ใช้ในอาหารและยาอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีประโยชน์และสรรพคุณ ดังนี้
    1. ล้างพิษตับ
ขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยขับพิษที่สะสมในตับ เนื่องจากมีฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ ช่วยบำรุงตับ และฟื้นฟูตับ โดยมีการใช้ขมิ้นชันทดลองรักษา
โรคตับแข็งในหนู ผลปรากฏว่าอาการไม่ลุกลามเพิ่ม ทำให้นิยมใช้เป็นสมุนไพรยาที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพและล้างพิษออกจากตับ
    2. รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
ขมิ้นชันสามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังได้ เช่น โรคผื่นคัน กลาก เกลื้อน ผิวหนังอักเสบจากอาการแพ้ คนไทยสมัยก่อนใช้เหง้าสดของ
ขมิ้นชันมาฝนและบดให้ละเอียด ก่อนจะนำไปทาบริเวณที่มีอาการคัน แต่ปัจจุบันสามารถใช้ผงขมิ้นชันสำเร็จรูปผสมน้ำเปล่าหรือน้ำมัน
มะพร้าว นำไปทาบริเวณที่อักเสบหรือคันได้
    3. แก้อาการท้องร่วง
ใครที่กินของผิดสำแดงเข้าไปแล้วเกิดอาการท้องร่วง สามารถหาขมิ้นชันในครัวมาใช้เป็นยาได้ โดยนำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและหั่น
เป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตำพร้อมผสมน้ำเปล่า หลังจากนั้นคั้นเฉพาะน้ำให้ได้สัก 1 ถ้วยตวง แบ่งกินคราวละ 2 ช้อนโต๊ะ จะช่วยสร้างสมดุลให้ระบบ
ขับถ่ายและระบบย่อยอาหาร
   4. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการรักษาอาการอักเสบ จึงสามารถช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้น นอกจากนี้หากหั่นขมิ้นชันผสมกับน้ำผึ้ง
 จะช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และจุกเสียดแน่น เรียกว่าเป็นสมุนไพรที่มอบประโยชน์ให้คนกินอย่างครบสูตร ทั้งในรูปแบบอาหารและ
รูปแบบยา
    5. ชะลอการแก่ก่อนวัย
เนื่องจากขมิ้นชันออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงถูกนำมาสกัดเป็นยาเสริมอาหารที่ใช้บำรุงร่างกาย ป้องกันโรค ป้องกันการเสื่อมโทรมของเซลล์
และป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมไปตามวัย ถือเป็นสรรพคุณด้านความงามที่น่าจะถูกใจใครหลายคน
    6. รักษาริดสีดวง
สำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารและมีแผลบริเวณทวารหนัก ให้ใช้ผงขมิ้นทาหัวริดสีดวง จะช่วยสมานแผลให้แห้งและหายเร็วขึ้น เพราะขมิ้นชัน
จะช่วยลดการอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค และทำให้เนื้อเยื่อบริเวณแผลกระชับเร็วขึ้น
    7. แก้พิษแมลงกัดต่อย
หากถูกแมลงกัดจนเป็นแผล มีอาการบวมแดง สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ผงขมิ้นชันผสมกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำไปเคี่ยวบนไฟ จะได้น้ำ
มันนวดสำหรับทาแก้พิษแมลงกัดต่อย หรือจะนำผงขมิ้นชันไปผสมกับน้ำปูนใสเพื่อนำมาพอกแผลก็ได้เช่นกัน
    8. ป้องกันโรคข้อเข่าอักเสบ
ในผู้สูงอายุนิยมใช้ขมิ้นชันรักษาอาการข้อตึง ปวดเมื่อยตามข้อเข่า ซึ่งอาจจะเป็นไปตามวัยหรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน แต่ขมิ้นชัน
สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยมีการนำมาใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันอย่างแพร่หลาย
    9. ลดระดับไขมันในเส้นเลือด
สารไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) ที่อยู่ในพืชธรรมชาติอย่างขมิ้นชันจะช่วยยับยั้งคอเลสเตอรอล มีฤทธิ์ในการลดไขมันในเส้นเลือด
ป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันและโรคหัวใจ
    10. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ขมิ้นชันสามารถช่วยปรับสมดุลและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยเฉพาะในปัจจุบันมีปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อร่าง
กาย ทำให้เป็นภูมิแพ้ได้ง่าย จึงนิยมกินขมิ้นชันเพื่อเป็นตัวช่วยเสริมร่างกายให้แข็งแรงต่อมลพิษ 

        คุณสมบัติพิเศษ

    

 

                  

  

 

 

 

 

 

 

 

ป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 139,924