หน้าที่ ๖ ประวัติศาสตร์พิเศษ

 

        ประวัติศาสตร์พิเศษ

          ประวัติลาวครั่ง

         

            ลาวครั่งจังหวัดกำแพงเพชร

    ตำบลแม่ลาด หมู่ที่ ๒ บ้านแม่ลาดใหญ่ และหมู่ที่ ๖ บ้านห้วยน้อย ประชากรส่วนใหญ่เป็นลาวครั่ง ที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจประวัติความเป็นมาของลาวครั่ง หมู่ ๒ บ้านแม่ลาดใหญ่ และหมู่ ๖ บ้านห้วยน้อย ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
         ลาวคั่ง หรือลาวครั่ง ในเขตภาคกลางตอนบนนั้น มีหลักฐานประวัติความเป็นมา พบว่าบรรพ บุรุษได้อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทน์ และหลวงพระบางพร้อมกับลาวกลุ่มอื่น ๆ ได้อพยพเข้ามาที่ ประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ทาง
การเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของ ประเทศไทย จากการสันนิษฐานลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสาย ลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ ในภาคกลางของประเทศไทยเช่นในจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี ฯลฯ ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง" ความหมาย
ของคำว่า "ลาวครั่ง" ยังไม่ทราบความหมายที่แน่ชัดบางท่านสันนิฐานว่ามาจากคำว่า "ภูฆัง" ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาที่มีลกัษณะคล้ายระฆังอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเป็นถิ่นฐานเดิมของลาวครั่ง
         จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อแน่ว่าชาวลาวครั่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีปีพุทธศกัราช ๒๓๒๑ และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในปีพุทธศกัราช ๒๓๓๔ ไม่ปีใดก็ปีหนึ่งอย่างแน่นอน เพราะไทยยกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระบาง และกวาดต้อนครอบครัวของ
ชาวลาวมาในช่วงนั้น เนื่องจากลาวแพ้สงคราม
         ลักษณะทั่วไปของลาวครั่ง คือมีรูปร่างค่อนข้างไปทางสูงหรือสันทัด ทั้งหญิงและชายผิวค่อน ข้างเหลือง ตาสองชั้น ใบหน้าไม่เหลี่ยมมากจมูกมีสันผมเหยียดตรง ชอบนุ่งผ้าซิ่นคลุมเข่า นุ่งซิ่น มีดอก ลาวครั่งมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในการทอผา้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะเทศกาลต่าง ๆ และสามารถรักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
         สรุปความเป็นมาของลาวครั่ง ได้ ๒ ประเด็น คือ
         ประเด็นที่ ๑ มาจากชื่อของภูเขา ในอาณาเขตของอาณาจักรหลวงพระบางที่มีรูปร่างเหมือนกับระฆัง จึงทำให้เรียกชื่อตามนั้น คือ ลาวภูฆัง และเรียกกันจนเพี้ยนกลายเป็นลาวครั่ง
         ประเด็นที่ ๒ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่เรียกชื่อกลุ่มของตนเองมาตั้งแต่โบราณว่า ลาวครั่ง เป็นการเรียกตามชื่อของครั่งที่นิยมนำมาใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีแดง เพื่อใช้ในการทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม
         ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นสงครามระหว่างไทยลาว เป็นเหตุให้ชาวลาวหลายชนเผ่าต้องถูก กวาดต้อนเข้ามาอยู่บริเวณภาคกลางของไทย คนกลุ่มน้อยเหล่านั้นก็แยกกันอยู่ตามกลุ่มวัฒนธรรมย่อยของตน หนึ่งในนั้นก็คือชุมชนลาวครั่ง ชาวลาวครั่งอพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ผู้นำกลุ่มลาวครั่ง ได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเขา
กระจิว จังหวัดกาญจนบุรี (ปัจจุบันคืออำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
         คนไทยเชื้อสายลาวครั่งมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ได้แก่ ภาษา การแต่งกาย ประเพณี และพิธีกรรมความเชื่อต่าง ๆ โดยได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน อีกทั้งภาษาที่ใช้ คือภาษาลาวครั่ง นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาลาวครั่งอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได การแต่งกายของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง จะมีแบบฉบับเป็นของตนเองซึ่งนำวัสดุจากธรรมชาติในท้องถิ่นคือ ฝ้ายและไหมที่เป็นวัสดุในการทอ เทคนิคที่ใช้มีทั้งการจกและมัดหมี่ ผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวลาวครั่งคือ ผา้ซิ่นมัดหมี่ต่อตีนจก ซึ่งมีลายผ้าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น และผ้าขาวม้าห้าสีมีลวดลายหลากหลายและสีที่ใช้เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีเหลืองนำมาจากหัวขมิ้น สีดำนำมาจากมะเกลือ
 + เทา (ตะไคร่น้ำ) สีครามได้มาจากต้นครามผสมกับปูนกินหมาก สีแดงได้มาจากครั่ง นอกจากจะทอไว้เพื่อใช้ในครัวเรือนแล้วยังทอเพื่อการจำหน่ายเป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลัก และอาชีพลักก็คือ เกษตรกรรม เนื่องจากสภาพดินเหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างมากความสามัคคีของลาวครั่ง ชาวลาวครั่งจะมีความสามัคคีกันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการ
ช่วยเหลือกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของเครือญาติหรือเพื่อนบ้าน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว ทำไร่ หรือแม้แต่งานบุญ งานศพงานรื่นเริงต่าง ๆ ชาวบ้านก็จะมาช่วยงานกันเป็นจำนวนมากตั้งแต่เริ่มงานจน งานเสร็จเรียบร้อย ชุมชนวัฒนธรรมลาวครั่งบ้านแม่ลาด มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านการอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีของตนเองไว้อย่าง เหนียวแน่นในอดีต
อาทิเช่น ประเพณีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน ภาษาพดู ดนตรีพื้นเมือง อาหารท้องถิ่น ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทำขนมจีนโบราณ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในด้านการรักษาด้วยสมุนไพร การนวดแผนโบราณ วิถีชีวิตการทำนาปลูกข้าวตามฤดูกาล การผลิตข้าวซ้อมมือ การแต่งกายด้วยผ้าทอพื้นบ้าน การทอผา้ลวดลายที่มีเอกลกัษณ์คือ ผ้าขิด ผ้าจกและ
ผห้ามัดหมี่ ทอทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม

   ผ้าทอที่ใช้ในพิธีทางศาสนา ผ้าคลุมหัวนาค ผ้าห่อคัมภีร์ ผา้ทอใช้ในชีวิตประจำวัน ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า หมอนน้อย หมอนเท้า ถุงขนมเส้น และมีการจดังานประเพณีท้องถิ่นที่ได้ ยึดถือกันมายาวนาน โดยเฉพาะงานประเพณีสงกรานต์ "ต้อนฮับสังขาร บุญสงกรานต์ปีใหม่ไท" ซึ่งถือ ได้ว่าเป็นงานประเพณีที่สำคัญ มีศูนย์สาธิตวิถีชีวิตชุมชนได้แก่ การทอผา้ การสีข้าวและการตำข้าวแบบโบราณ การทา ขา้วกล้อง การจักสานไม้ไผ่ และศูนย์แพทย์แผนไทย เป็นต้น

   ชุมชนแม่ลาดก็เหมือนกับชน เผ่าทั้งหลายในเอเชียอาคเนย์ที่เชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติทั่วไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้มี อิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างยิ่ง เป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจ และความมั่นใจในการทำมาหากิน และการดำเนินชีวติของตน ซึ่งชาวบ้านแม่ลาดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร อาทิ ทำนา ทำ สวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์

   พิธีกรรมต่าง ๆ ที่สืบทอดต่อกันมาจนเป็นประเพณีล้วนสะท้อนถึงความต้องการในวิถีชีวิต เรื่องน้ำและความอุดมสมบูรณ์ อันเป็นสิ่งจ าเป็นสำหรับสังคมเกษตร เช่น การเปิดยุ้งข้าว การเรียกขวัญข้าว นอกจากนั้นในแต่ละช่วงเดือนชาวบ้านยังร่วมท าบุญที่วัดตามความเชื่อในพุทธ ศาสนาเพื่อสะท้อนความต้องการความคุ้มครองจากเทพสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความ ศรัทธา ที่มีต่อพุทธศาสนา เพื่อความสงบสุข ในชีวติของตนเองและครอบครัว เช่น พิธีทา บุญกลางบ้าน วันสงกรานต์ วันนเข้าพรรษา ออกพรรษา

       ประวัติชาวลาวเวียงในราชบุรี      
    ชาวไทยลาวเวียงหรือกลุ่มชนชาวลาวตี้ในจังหวัดราชบุรี คือ ชนชาติลาวกลุ่มหนึ่งที่มี เชื้อสายลาวจากเวียงจันทน์ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว เหตุที่เรียกว่า “ลาวตี้” เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักลงท้ายคำพูดในเวลาพูดว่า “ตี้” การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทสไทยของ
ลาวเวียงเริ่มขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี แต่ไม่ปรากฏว่าเข้ามาใน พ.ศ. ใด ทราบแต่เพียงว่าเป็นช่วงที่พม่ามีอำนาจในการปกครองเวียนจันทน์

   ชนเวียงจันทน์และหัวเมืองลาวใกล้เคียงต่างลี้ภัยอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ที่เมืองนครราชสีมา พระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชทรงอนุญาตให้ชาวลาวอพยพดังกล่าวเข้าพักพิง ตั้งบ้านเรือนที่สระบุรี เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๒๑ ต่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๒๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชได้โปรดให้สมเด็จพระเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พร้อมด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราชยกทัพไปตีหัวเมืองล้านช้าง ได้แก่เวียงจันทน์ หลวงพระบางจำปาศักดิ์ และหัวเมืองฟากโขงตะวันออก ทั้งนี้เนื่องจากครั้งนั้นเจ้านายลาวเกิดความไม่ปรองดองกัน พระวอพระตา (เจ้านายลาว) จึงหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิามภารพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชโดยอพยพครอบครัวมาอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี เมื่อเจ้าสิริบุญสารผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ทราบข่าวก็โปรดให้ยกกองทัพเข้ามาในเขตไทยจับพระวอพระตาฆ่าเสีย

   พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้โปรดฯ ให้ยกกองทัพไปปราบและยกทัพไปยึดเวียงจันทน์  เมื่อยึดเวียงจันทน์ได้แล้วจึงกวาดต้อนครอบครัวลาวเวียงจันทน์พร้อมด้วยอาวุธและทรัพย์สินลงมา ในบรรดาครอบครัวดังกล่าวมีโอรสของเจ้าสิริบุญสารรวมอยู่ด้วย ๓ องค์ ได้แก่เจ้านันทเสน เจ้าอินทวงศ์ และเจ้าอนุวงศ์ ได้โปรดฯ ได้พำนักอยู่ที่บางยี่ขันหรือบริเวณวัดดาวดึงส์ ปัจจุบันสำหรับครอบครัวลาวเวียงอื่นโปรดฯ ให้รวมไว้ที่เมืองสระบุรีบางส่วนส่งมาที่ราชบุรีไปเมืองจันทบุรีบ้าง พ.ศ. ๒๓๓๕ รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้านันทเสนผู้ครองเมือง เวียงจันทน์ ได้ยกกองทัพไปตีเมืองพวนและเมืองแดงกวาดต้อนครอบครัวลาวพรวนและลาวทรงดำ มาถวายเพื่อแลกเปลี่ยนกับลาวเวียงจันทน์ที่อยู่ในประเทศไทย ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้า ไม่ประทานให้และทรงปลดเจ้านันทเสนออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองเวียงจันทน์ พร้อมกับทรงยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์กวาดต้อนครับครัวเวียงจันทน์เข้ามาในหัวเมืองชั้นในอีก
   ครั้งหนึ่ง พ.ศ. ๒๓๖๙ – ๒๓๗๑ เจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้ก่อกบฏไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงเทพฯ ได้ยกกองทัพเมืองเวียงจันทน์และเมืองจำปาศักดิ์เข้ามายึดเมืองนครราชสีมา หัวเมืองลาวบริเวณที่ราบสูงแม่น้ำโขงพร้อมยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวลาวสระบุรีกลับไปเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จ-พระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดฯ ให้ยกกองทัพ
ไปปราบเจ้าอนุวงศ์แล้วกวาดต้อนครอบครัวลาวเวียงจันทน์มาอยู่ในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ชาวลาวเวียงจันทน์บางส่วนบางส่วนถูกกวาดต้อนมาอยู่ในราชบุรีอีก

   ชาวลาวเวียงหรือลาวตี้ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น จนกระทั่งในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จ -พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลิกทาส บรรดาเชลยลาวทั้งหลายในจังหวัดราชบุรีจึงมีอิสระในการตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินโดยแยกย้ายไปตามที่ต่างๆ แบ่งเป็นสายใหญ่ๆ ได้ ๒ สาย คือ สายหนึ่งไปยังทิศตะวันตกจากบริเวณเขาแร้งไปอำเภอจอมบึง โดยตั้งฐานอยู่ในบริเวณต่างๆ เช่น หมู่บ้านนาสมอ หมู่บ้านสูงเนิน หมู่บ้านทำเนียบหมู่บ้านเกาะ หมู่บ้านหนองบ้านเก่า หมู่บ้าน วังมะเดื่อ เป็นต้น สายที่สองขยายมาทางทิศตะวันออก จากบริเวณวัดพญาไม้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณต่างๆ เช่น หมู่บ้านในตำบลนางแก้ว หมู่บ้านวัดบ้านฆ้อง หมู่บ้านตำบลบ้านเลือก ตำบล บ้านสิงห์ บ้านหนองรี ในอำเภอโพธารามปัจจุบันและหมู่บ้านดอนเสลา หมู่บ้านหนองปลาดุก ในเขตอำเภอบ้านโป่ง

    ปัจจุบันนี้ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนหรืออพยพมาจากนครเวียงจันทน์ได้ตั้งรกราก ถิ่นฐาน อยู่ในแผ่นดินไทย มีลูกหลานสืบสายเลือดกันมาหลายช่วงอายุคน จึงเรียกชนเผ่านี้ว่า “ไทยเวียง” ชาวไทยลาวในเขตพื้นที่ อำเภอโพธาราม ดังกล่าวมาแล้วว่าชาวไทยเวียงที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณวัดพญาไม้ได้แยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอโพธาราม คือ ตำบลนางแก้ว วัดบ้านฆ้อง และตำบลบ้านเลือก ยังมีชาวไทยลาวเวียงอีกส่วนหนึ่งที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และตอนต้นของสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ให้พวกชาวลาวเหล่านี้ ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ แม่กลอง จากพื้นที่เหนือวัดเฉลิมอาสน์ถึงวัดสร้อยฟ้า (ปัจจุบัน)ชาวลาวเวียงอพยพมาจากประเทศลาวซึ่งถูกต้านมาให้อยู่ในประเทศไทยทำให้ทุกวันนี้มีชาวลาวเวียงค่อนข้างมากเพราะชาวลาวเวียงตั้งถิ่นฐานอยู่ในไทยโดยเฉพาะตำบลบ้านสิงห์จะเยอะมากและปัจจุบันนี้คนลาวเวียงส่วนใหญ่ไม่ค่อยที่จะพูดภาษาของตนเอง เพราะรู้สึกอายในภาษาและสำเนียง   

   ลาวเคยเป็นกลุ่มที่อยู่ที่อยู่บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองตั้งแต่อำเภอบ้านโป่ง ลงไปถึงอำเภอโพธารามมาก่อน เมื่อชาวมอญอพยพลงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำ และโดยเฉพาะในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มอญ 7 เมือง พาผู้คนลงมาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำแม่กลองบริเวณตั้งแต่บ้านโป่งถึงโพธารามได้ ลาวจึงอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตอนในแผ่นดินเข้าไปทั้งสองฝั่ง เข้าไปอยู่ที่ดอน ซึ่งปกติลาวบางกลุ่มมักชอบอยู่ที่ดอนและใกล้หนองน้ำ 

   ลาวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านโป่งถึงบ้านเจ็ดเสมียนนี้ส่วนใหญ่ อพยพเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ในฐานะเชลยที่ถูกกวาดต้อนมา ให้มาตั้งถิ่นฐานเพื่อเป็นกำลังในการทำสงครามกับพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งซ้าย)  จากเหนือลงใต้ ย่านชุมชนลาวอยู่ถัดเข้าไปตอนใน ได้แก่บริเวณบ้านกำแพงใต้ (วัดกำแพงใต้ พ.ศ.2127 สมัยอยุธยา) บ้านเลือก (วัดบ้านเลือก พ.ศ.2343 รัชกาลที่ 1) บ้านบางลาน (วัดบางลาน พ.ศ.2360 รัชกาลที่ 2) บ้านดอนทราย (วัดดอนทราย พ.ศ.2377 รัชกาลที่ 3) บ้านกำแพงเหนือ (วัดกำแพงเหนือ พ.ศ.2400 รัชกาลที่ 4) บ้านหนองอ้อ (วัดหนองอ้อ พ.ศ.2401 รัชกาลที่ 4) บ้านหนองหูช้าง บ้านหนองหญ้าปล้อง บ้านมะขาม บ้านหุบมะกล่ำ (วัดหุบมะกล่ำ พ.ศ.2420 รัชกาลที่ 5) บ้านวัดโบสถ์ (วัดโบสถ์ พ.ศ.2434 รัชกาลที่ 5) บ้านฆ้อง (วัดบ้านฆ้อง พ.ศ.2443 รัชกาลที่ 5) และบ้านสิงห์ (วัดบ้านสิงห์ พ.ศ.2446 รัชกาลที่ 5) เป็นต้น 

   ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งขวา) จากเหนือลงใต้ ด้านนี้มีชุมชนลาวเก่าแห่งหนึ่ง และเป็นแห่งเดียวริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง คือ ชุมชนลาวบริเวณวัดสร้อยฟ้า (พ.ศ.2332 รัชกาลที่ 1) ชุมชนลาวถัดเข้ามาตอนใน ได้แก่ บ้านหนองปลาหมอ (วัดหนองปลาหมอ พ.ศ.2463 รัชกาลที่ 5) บ้านหนองคา บ้านหนองสองห้อง (วัดหนองสองห้อง) บ้านหนองกลางดง (วัดหนองกลางดง พ.ศ.2450 รัชกาลที่ 5) บ้านอู่ตะเภา บ้านวังมะนาว เป็นต้น

   ชุมชนลาวนี้ส่วนใหญ่อยู่บริเวณฝั่งตะวันออกมากกว่าฝั่งตะวันตก เพราะฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว่า มีแหล่งน้ำเหมาะต่อการตั้งถิ่นฐาน ทำนา ทำไร่   ลาวเวียงสืบเชื้อสายมาจากชนชาติลาวกลุ่มหนึ่ง ที่ถูกกวาดต้อนมาจากนครเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว ในปัจจุบัน เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ประเพณีที่น่าสนใจ และเป็นแบบอย่างในเรื่องความรัก ความสามัคคีของหมู่คณะ ความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพบุรุษ ได้แก่ ประเพณีสารทลาวเวียง ประเพณีนี้อยู่คู่กาบชุมชนลาวเวียงมาตั้งแต่ ก่อตั้งชุมชนได้เลยทีเดียว และยังนำมาปฏิบัติจน
กระทั่งทุกวันนี้
     ประเพณีการแต่งงานของชาวลาวเวียง
  การแต่งงานหรือพิธีกินดองของคนลาวเวียงถือได้ว่าเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตประเพณีหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตน สมัยก่อนเมือหนุ่มสาวชาวลาวเวียงตกลงที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ฝ่ายชายจะจัดขันหมากมาสู่ขอหญิงเพื่อมาเป็นภรรยา เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้วทั้งสองฝ่ายจะเริ่มเตรียมจัดหาของสำหรับพิธีกินดอง ในวันพิธีกินดองฝ่ายชายจะเตรียมยก
ขันหมากไปที่บ้านของฝ่ายหญิง เมื่อไปถึงบ้านของหญิงก็จะมีตรวจนับเงินค่าดอง และมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาว จากนั้นคู่บ่าวสาวจึงมานั่งเพื่อทำการผูกข้อมือ และป้อนไข่ขวัญให้แก่กัน เสร็จแล้วบ่าวสาวจะนำดอกไม้ ธูป เทียน และผ้าไปไหว้ญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย เสร็จแล้วเจ้าบ่างและญาติพี่น้องก็จะกลับไปบ้านของตน เมื่อได้เวลา ๒ – ๓ ทุ่ม ญาติ
พี่น้องเจ้าบ่าวจะนำเจ้าบ่าวไปส่งที่บ้านสาวเพื่อทำพิธีปูที่นอน และสั่งสอน อบรมคู่บ่าวสาวในเรื่องของการใช้ชีวิตคู่
     วันสารทลาวเวียง
  เป็นประเพณีของชาวไทย เชื้อสายลาวเวียง จัดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี เพื่อให้พี่น้อง ลูกหลานที่ไปทำมาหากินต่างถิ่นกลับมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันนี้ชาวลาวเวียงจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงามแบบชาวลาวเวียง โดยเริ่มพิธีตั้งแต่ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. จะนำสำรับอาหารคาว หวาน ที่เรียกว่า “พาเวน” โดยจะมีอาหารคาว ๒ – ๓ อย่าง อาหารหวานจำพวกขนมหม้อแกง ทองหยิบ ทองหยอดและผลไม้ต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้คือ กระยาสารท โดยนำอาหารมาถวายเพลที่วัด เจ้าของพาเวนจะต้องจุดเทียนไว้ที่พาเวนของตน เมื่อพระสงฆ์มาติกาบังสุกุล ผู้ที่มาทำบุญจะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นอันเสร็จพิธีทางสงฆ์ ญาติโยมทั้งหลายจะนำห่อข้าวน้อย เป็นห่อข้าวที่ทำเป็นคู่ ๆ ข้างในจะมีข้าวปลาอาหาร นำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ โดยมีความเชื่อว่า เป็นการทำบุญให้กับผีที่ไม่มีญาติ
    ประเพณีใต้ดอกไม้
   เป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง ได้สูญหายไปเกือบ ๓๐ ปี แล้วได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง โดยพระครูวิธาณปุญญาวัตนจิรปุญโญ เจ้าอาวาสวัดสระพัง คุณฉวี ใจภักดี ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลคนแรก และคณะกรรมการหมู่บ้านตามตำนานทางพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่า ในระหว่างฤดูเข้าพรรษาพระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อแสดงธรรมในให้พระมารดาฟัง เมื่อเสร็จกิจแล้ว ได้เสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ และได้รับการต้อนรับจากพสกนิกรทั่วไป เพื่อเป็นการระลึกถึงวันนี้ในพุทธกาล ชาวลาวเวียงจึงได้จัดงานประเพณี “ไต้ดอกไม้” ในเวลากลางคืนมีกำหนด ๓ วัน คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และ แรม ๑ ,๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ในช่วงออกพรรษาเพื่อเฉลิมฉลอง

    ประวัติความเป็นมาของลาวโซ่งหรือไทยดำ

      
      “ ไทยดำ  ลาวโซ่ง หรือ ไทยโซ่ง ” หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาไทย   คนไทยเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ลาว หรือ ลาวโซ่ง เพราะอพยพจากเมืองเดียนเบียนฟู  อยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศเวียดนาม ผ่านมายังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
      ผู้ไทนิยมแต่งกายด้วยสีดำ จึงเรียก ไทยทรงดำ ตามลักษณะเครื่องแต่งกาย ถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณ แคว้นสิบสองจุไทย อยู่ทางตอนเหนือประเทศเวียดนาม ส่วนคำว่า “ โซ่ง ” ที่เรียกกันสันนิษฐานเป็นคำที่มาจากคำว่า “ ซ่วง หรือ ทรง ” แปลว่า กางเกง ไทดำถูกกวาดต้อนและอพยพมาใน ประเทศไทย    สมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอน
ต้น
    ไทยทรงดำ หรือ ลาวโซ่ง ถูกกวาดต้อนและอพยพเข้าสู่ประเทศไทย ๓ ครั้ง
        ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๒๒ สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี สาเหตุของเจ้าเมืองเวียงจันทน์ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพไปเวียงจันทน์ ได้รวบรวมครอบครัว    ชาวเวียงจันทน์มาอยู่ในไทยพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าให้สร้างบ้านเรือนอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี     จังหวัดราชบุรี และจังหวัดจันทบุรี
      ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๓๕  สมัยรัชกาลที่ ๑ รวบรวมครอบครัว ลาวโซ่ง ลาวพวน ลาวเวียงมาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง สาเหตุเมืองแถง เมืองพวน แข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ยกกองทัพ ไปตีได้  ลาวโซ่ง ลาวพวน ลาวเวียง ลงมาถวายพระมหากษัตริย์ไทย ที่กรุงเทพฯ รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้ลาวเวียงไปอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี
ลาวพวนไปอยู่ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี และลาวโซ่งมาอยู่ที่หมู่บ้านหนองเลา หรือ หนองลาว (หนองปรง)  ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
     ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๓๖๙ – ๒๓๗๑ สมัยรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ก่อกบฏ  ต่อประเทศสยาม สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกกองทัพไปปราบเมืองแถง ได้รวบรวมครอบครัวลาวโซ่งมาไว้ที่จังหวัดเพชรบุรี  ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม   แต่เนื่องจากลาวโซ่งอาศัยอยู่ที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง แต่บริเวณนั้นเป็น
ที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ลาวโซ่งไม่เคยชินกับความอยู่แบบนี้ จึงอพยพมาในอำเภอเขาย้อย เพราะลักษณะภูมิประเทศคล้ายเมืองแถง  มีทั้ง ป่า ภูเขา ลำห้วย จึงได้ตั้งบ้านเรือนหนาแน่น ที่สุด ที่ตำบลหนองปรง ตำบลห้วยท่าช้าง ตำบลทับคางลาวโซ่งรุ่นเก่ายังไม่ลืมถิ่นฐานบ้านเดิม มีความปรารถนาจะกลับไปบ้านเกิดของตน เมื่อเดินทางไปนานๆ มีคนเจ็บคน
ตายไปเรื่อยๆ หลายคน พวกลูกหลานไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เพราะไม่รู้ถิ่นฐานบ้านเกิดจึงตั้งหลักอาศัยอยู่บริเวณนั้น ได้แก่ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น
    ในสมัยสงครามไทยสยามและลาวทางสยามยึดลาวได้ได้กวาดต้อนคนลาวโซ่งมาจากสิบสองจุไทซึ่งเดิมเป็นรัฐที่ขึ้นกับหลวงพระบาง..ชาวลาวนั้นไม่อยากเสียไพร่พลตนเองจึงเอาชาวไตดำหรือลาวโซ่งมาแลกและขอครัวชนชาติลาวคืน...แต่ทางสยามสมัยนั้นมีพลเมืองน้อยจึงไม่ยอมคืนให้ก็ปะทะกันสุดท้ายลาวก็ได้เอกราชคืนจากฝรั่งเศสแต่พลเมืองไทยนั้นเป็นลาวครึ่งหนึ่งของประเทศก็ตั้งแต่สมัยนั้นแหละ

        ลาวเวียงในจังหวัดอุตรดิตถ์
    บางทีการเกิดมาในยุคที่แต่ละประเทศมีพื้นที่อาณาเขตชัดเจน มีเส้นแบ่งเขตแดนให้เห็นเป็นรูปภาพในตำราเรียน
วิชาสังคมศึกษา อาจทำให้คุณลืมนึกไปว่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อนนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีอยู่เลยด้วยซ้ำ และนั่นเป็นเหตุผลที่
ทำให้วัฒนธรรมลูกผสมไทย-ลาวในแถบจังหวัดภาคอีสานถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันจนแทบแยกไม่ออก
   ในฐานะชาวท้องถิ่นเมืองเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่ในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ได้แล้วในปี พ.ศ. 2371 ยุคนั้นอาจไม่มีใครคาดคิดว่าการอพยพย้ายถิ่นฐาน
ข้ามไปมาระหว่างบ้านพี่เมืองน้องในครั้งนั้นจะกลายมาเป็นชุมชนวัฒนธรรมชาวลาวเวียงในตำบลหาดสองแคว
อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่เข้มแข็งและมีอัตลักษณ์อันดีงามได้ตราบเท่าทุกวันนี้
   นั่นจึงเป็นเหตุผลหลักที่จะทำให้การเดินทางมาเยือนหาดสองแควที่อุตรดิตถ์ของคุณในครั้งนี้น่าสนใจกว่าทุกครั้ง
เพราะคุณจะได้เห็นความเชื่อและประเพณีที่ยังคงสืบทอดกันมาผ่านการอพยพเมื่อร้อยกว่าปีก่อนอย่างการตักบาตร
หาบจังหัน ได้ชิมอาหารตำรับลาวเวียง อาทิ อั่วบักเผ็ด แกงโอ๊ะเอ๊ะ ขนมดาดกระทะ ผัดบักหมี่ ทอดหัวปลี รวมถึงได้
ฟังปราชญ์ชุมชนเล่าเรื่องราวและความเชื่อต่าง ๆ เป็นภาษาลาวเวียง ที่จะทำให้คุณอินกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของที่นี่
มากขึ้นไปอีกเป็นสิบเท่า
   นอกจากมีการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามไว้ได้อย่างเหนียวแน่นแล้ว บอกได้เลยว่าที่ชุมชนนี้เขาก็มีความเก๋ในการนำผ้า
ด้นมือลายปักลาวเวียงมาต่อยอดทำเป็นกระเป๋าผ้าน่ารัก ๆ แถมยังมีงานผ้ามัดย้อมให้คุณได้ชอปปิงกลับไปฝากคนที่
บ้าน เป็นชุมชนที่มาแล้วได้ทั้งกลิ่นอายแบบย้อนยุคและทันสมัยครบจบในที่เดียว
          

  ถนนบุ่งเข้ ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
          ลาวครั่งและลาวโซ่งจังหวัดนครสวรรค์
   อยู่ในอำเภอท่าตะโก และอำเภอบรรพตพิสัย
         ลาวครั่งในจังหวัดนครปฐม
    ลาวครั่ง ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม
    
     ลาวครั่งมีชื่อเรียกต่างๆ กันว่า ลาวขี้คั่ง ลาวคั่ง หรือลาวครั่ง ที่มาของคำว่า “คั่งหรือครั่ง” มีข้อสันนิษฐาน 3
ประการ คือ ประการแรก สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ภูฆัง หรือ ภูครัง” ซึ่งเป็นชื่อภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆังอยู่ทาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของหลวงพระบางในประเทศลาวซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของ ลาวครั่ง ประการที่สอง
 “คั่งหรือขี้คั่ง” คือ ครั่งที่ใช้ผนึกตรา และมาออกเสียงว่า “คั่ง” ในภาษาลาวครั่งเพราะในภาษานี้ไม่มีเสียงพยัญชนะ
ควบกล้ำ ข้อสันนิษฐานประการที่สาม คือ ลาวครั่งนิยมเลี้ยงครั่งและใช้ครั่งย้อมผ้า จึงใช้ครั่งเป็นของส่งส่วยให้กับ
รัฐบาลไทย จึงได้ชื่อว่าลาวขี้ครั่ง นอกจากชื่อที่กล่าวไปแล้วนั้น ลาวครั่งยังมีชื่ออื่นแตกต่างกันออกไปตามท้องที่ เช่น
 “ลาวเต่าเหลือง” เป็นชื่อเรียกลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ชื่อนี้มีที่มาว่าชาวลาวครั่งที่จังหวัดนี้อาศัยอยู่
ตามป่าเขา เหมือนเต่าที่มีกระดองสีเหลือง ส่วน “ลาวด่าน” เป็นชื่อเรียกลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในอำเภอด่านซ้าย
จังหวัดเลย และอำเถอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และ “ลาวโนนปอแดง” เป็นชื่อเรียลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในอำเภอ
บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีการรียกชื่อลาวครั่งตามเสียงคำลงท้ายของภาษาลาวครั่ง คือ
“ลาวก๊ะล่ะ หรือลาวล่อก๊อ”
   ลาวครั่งมีชื่อเรียกต่างๆ กันว่า ลาวขี้คั่ง ลาวคั่ง หรือลาวครั่ง ที่มาของคำว่า "คั่งหรือครั่ง” มีข้อสันนิษฐาน 3 ประการ
คือ ประการแรก สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ภูฆัง หรือ ภูครัง” ซึ่งเป็นชื่อภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆังอยู่ทางภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือของหลวงพระบางในประเทศลาวซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของ ลาวครั่ง ประการที่สอง "คั่งหรือขี้คั่ง” คือ
ครั่งที่ใช้ผนึกตรา และมาออกเสียงว่า "คั่ง” ในภาษาลาวครั่งเพราะในภาษานี้ไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ข้อสันนิษฐาน
ประการที่สาม คือ ลาวครั่งนิยมเลี้ยงครั่งและใช้ครั่งย้อมผ้า จึงใช้ครั่งเป็นของส่งส่วยให้กับรัฐบาลไทย จึงได้ชื่อว่าลาว
ขี้ครั่ง นอกจากชื่อที่กล่าวไปแล้วนั้น ลาวครั่งยังมีชื่ออื่นแตกต่างกันออกไปตามท้องที่ เช่น "ลาวเต่าเหลือง” เป็นชื่อเรียกลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ชื่อนี้มีที่มาว่าชาวลาวครั่งที่จังหวัดนี้อาศัยอยู่ตามป่าเขา เหมือนเต่าที่มีกระดองสีเหลือง ส่วน "ลาวด่าน” เป็นชื่อเรียกลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเถอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และ "ลาวโนนปอแดง” เป็นชื่อเรียลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีการรียกชื่อลาวครั่งตามเสียงคำลงท้ายของภาษาลาวครั่ง คือ "ลาวก๊ะล่ะ หรือลาวล่อก๊อ”
เมื่อได้ศึกษาเอกสารจดหมายเหตุพบว่ามีหลักฐานที่เกี่ยวกับกลุ่มลาวอยู่บ้างในสมัยรัชกาลที่ 2 มีร่างศุภอักษรถึงเจ้า
เวียงจันทน์ให้แต่งท้าวเพียคุมคนและช้างไปรับครัวลาวภูครังที่หลบหนีจากแขวงเมืองพิษณุโลกไปอยู่เวียงจันทน์ลงมา
ส่งกรุงเทพฯ (จดหมายเหตุรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2360 (จ.ศ. 1179) เลขที่ 10) และในปี พ.ศ. 2363 มีหลักฐานว่ามี
กองลาวอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี (จดหมายเหตุรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2363 (จ.ศ. 1182) เลขที่ 10)

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ช่วงปี พ.ศ. 2381-2386 มีการเกณฑ์ ส่วยจากเมืองเพชรบูรณ์และเมืองเลย เป็นส่วยสิ่งของ
ประเภทครั่ง ป่าน ทอง เครื่องหวาย (จดหมายเหจุรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2384 (จ.ศ. 1203) เลขที่ 100) และเมื่อ
 พ.ศ. 2384 มีหลักฐานการทำบัญชีจ่ายเบี้ยหวัด ลาว เขมร ในหัวเมืองต่างๆ ตามบันทึกเรียกลาวในสมัยนั้นว่า
ลาวพุงดำ ลาวพุงขาว กล่าวว่า ได้จ่ายเบี้ยหวัดแก่เจ้าสารเมืองเชียงขวาง และบุตรหลาน 15 คนที่เข้ามาอยู่ในเขตไทย
สถานที่กล่าวถึงซึ่งเป็นที่อยู่ของลาวที่ปะปนกับเขมรในสมัยนั้น ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี วัฒนานคร (ปราจีนบุรี)
นครนายก สุพรรณบุรี นครชัยศรี (นครปฐม) พนัสนิคม (ชลบุรี) ราชบุรี ฉะเชิงเทรา (จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2388 (จ.ศ. 1207) เลขที่ 237)
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรทำให้ทราบว่าได้ปรากฎกลุ่มชนที่มีเชื้อสายลาวเข้ามาอยู่บริเวณใน
ภาคกลางของประเทศไทยส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนครอบครัวมาเป็นเชลยในช่วงสงครามระหว่างไทยและลาวในสมัย
กรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ลาวครั่งที่อยู่ในประเทศไทยมาจากเมืองคลัง (ครั่ง) ในแขวง
หลวงพระบาง ในปลายสมัยรัชกาลที่ 2 และต้นรัชกาลที่ 3 ตามเส้นทางสายแม่น้ำเหืองประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทย
จากจังหวัดเลย ลงมายังสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครปฐม บอกจากนี้ชาวลาวครั่งยังได้อพยพเคลื่อน
ย้ายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ชาวลาวครั่งที่อาศัยในเขตอำเภออู่ทอง อำเภอเดิมนางบวช และอำเภอด่านช้าง
จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นกลุ่มลาวครั่งที่อพยพมาจากบ้านลำเหย ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
นอกจากจังหวัดสุพรรณบุรี ยังมีการการอพยพของชาวลาวครั่งไปอยู่ที่อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน และอำเภอ
ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท และอำเภอบ้านไร่ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
หลักฐานทางประวัติศาสตร์สอดคล้องกับการบอกเล่าของชาวลาวครั่งที่หมู่ 11 บ้านหนองหมา ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม คุณยายก่ำ มีสี อายุ 82 ปี เล่าว่า "ปู่ย่าตาทวด ยายของยายบอกว่าลาวครั่งที่นี่มาจากลาว
เดินมาสามเดือน จากเวียงจันทน์ อมข้าวแห้ง ตากข้างแห้งใส่ถุง เอาน้ำใส่กระบอกใหญ่ๆ เอาข้าวตากแดด คั่วบ้างไม่คั่วบ้าง ดูดอม มาเมืองไทยเพราะเกิดศึก”
  อาชีพหลักของชาวลาวครั่งในถิ่นฐานเดิมนั้น เน้นการหาของป่าล่าสัตว์และทำไร่ หลังจากอพยพมาจึงเริ่มมีการลงหลัก
ปักฐานถาวรมากขึ้น มีการทำเกษตรกรรม หาพื้นที่เพาะปลูกและและทำนาเป็นอาชีพหลักมาจนปัจจุบัน ไม่นิยม
ประกอบอาชีพค้าขาย ภายหลังมีโอกาสได้เล่าเรียนศึกษาทำหี้โอกาสได้ทำงานรับราชการ นอกจากนี้ยังมีการสืบสาน
งานหัตถกรรมพื้นบ้านดั้งเดิม ยามว่างจากทำนาก็ทำงานจักสานและทอผ้าการทอผ้าเป็นอัตลักษณ์ที่แสดงตัวตนของ
ลาวครั่ง ผ้าทอลาวครั่งมีชื่อเสียงอย่างมากด้านความงดงาม ของลวดลายอันละเอียดปราณีต และสีแดงโดดเด่นที่เกิดจาก
การย้อมด้วยครั่ง หญิงชาวลาวครั่งมีความชำนาญในการทอผ้ามาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ มีลักษณะการทอและการจกเกิด
ลวดลายเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์และยังสืบสานเทคนิคการย้อมด้วยสีธรรมชาติ ซึ่งนิยมย้อมเส้นไหมด้วยครั่งทำให้ได้
เส้นไหมสีแดงสด นอกจากครั่งแล้วยังมีการย้อมด้วยสีธรรมชาติอื่นๆ เช่น สีเหลืองจากขมิ้นและแก่นขนุน สีครามจาก
ต้นครามและมะเกลือ สีดำจากถ่านกะลามะพร้าว การทอจะเดินเส้น "ทางยืน” ด้วยไหมสีแดงครั่ง และใช้เส้นไหม
"ทางพุ่ง” ที่ผ่านการย้อมมัดหมี่สำหรับทำเป็นลวดลายต่างๆ
   บ้านลาวครั่งดั้งเดิมนั้นเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง บนบ้านเป็นห้องโถงใหญ่ กั้นห้องนอนเพียงห้องเดียว ใต้ถุนบ้าน
เอาไว้เลี้ยงสัตว์ เก็บอุปกรณ์ทำนาและทอผ้า ทอเสื่อจักสานหรือทำกิจกรรมอื่น เช่น กวนกระยาสารทหรือข้าวเหนียว
แดง บ้านของลาวครั่งเป็นบ้านเรือนหลังคาจั่วยอดไม่แหลมนัก บ้านลาวครั่งในปัจจุบันมีลักษณะเหมือนบ้านของ
คนไทยในชนบททั่วไป
   ยุ้งข้าว ยังเป็นอัตลักษณ์ของเรือนลาวครั่ง ถึงแม้ว่าปัจจุบันบางพื้นที่ชาวบ้านที่ทำนาปรังไม่มีโอกาสเก็บข้าวเข้ายุ้งแล้ว
แต่ยุ้งข่าวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวนาก็ยังคงอยู่ และเก็บรักษากันไว้อย่างดี ไม่มีการปรับเอามาใช้งานอื่น

         ลาวครั่งจังหวัดสุพรรณบุรี
   ผ้าพื้นเมืองโบราณลาวซี-ลาวครั่ง
กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองโบราณลาวซี-ลาวครั่งบ้านทุ่งก้านเหลือ
25/1 หมู่ 5 บ้านทุ่งก้านเหลือง ตำบลป่าสะแก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 72120  
       ลาวครั่งจังหวัดชัยนาท
    ตำบลกุดจอก  อยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอหนองมะโมง  แยกมาจากอำเภอวัดสิงห์ อยู่ทิศเหนือสุดของจังหวัด
ชัยนาท ปัจจุบันยกฐานะเป็นอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท
ยายซ้อง จบศรี อายุ 92 ปี ชาวบ้านบ้านกุดจอก เล่าว่า  ในปลายสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พบคนไทย
เชื้อสายลาวเผ่าต่างๆ อพยพเข้ามาประเทศสยามด้วยสาเหตุที่แตกต่างกัน บ้างก็อพยพหนีภัยสงครามทั้งภายในและภาย
นอกอาณาจักร บ้างก็หนีภัยธรรมชาติ โรคภัย ความอดอยากแร้นแค้น ที่อพยพมากที่สุด คือ คราวอาณาจักรล้านช้าง
ล่ม เป็นเหตุให้ชาวลาวหลายชนเผ่าถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่บริเวณภาคกลางของไทย คนกลุ่มน้อยเหล่านั้นแยกกันอยู่
ตามกลุ่มวัฒนธรรมย่อยของตน หนึ่งในนั้นคือ ลาวครั่งเป็นคนลาวมาจากเมืองหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 2427 ผู้นำ
กลุ่มลาวครั่ง ได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเขากระจิว จังหวัดกาญจนบุรี (ปัจจุบันคือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) มายัง
บริเวณบ้านกุดจอก ซึ่งแต่เดิมเป็นป่า ได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่บริเวณริมบึงที่มีดอกจอกขึ้นอยู่เต็มบึง ตามภาษาของ
ชนกลุ่มนี้เรียก “บึง” ว่า “กุด” จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกุดจอก
       ลาวครั่งจังหวัดพิจิตร
   กลุ่มทอผ้าซิ่นตีนจกลาวครั่ง บ้านสระยายชี ณ ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
   สำหรับกลุ่มชาวลาวครั่งนั้นเป็นกลุ่มที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษมาจากเมืองหลวงพระบางประเทศลาว แถบเทือกเขาภูคัง
เรียกตัวเองว่าลาวหลวงพระบาง อีกกลุ่มหนึ่งมาจากเมืองเวียงจันทน์ประเทศลาว เรียกตัวเองว่าลาวเวียง เข้ามาใน
ประเทศไทยตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในหลายจังหวัดของพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่
จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพิจิตร จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิษณุโลก  
ชาวลาวครั่งทั้งสองกลุ่มจะมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการแต่งกาย และวิธีการทอผ้าที่ต่างจากกลุ่มอื่นๆ
อย่างเห็นได้ชัด คือการใช้สีที่ให้ความรู้สึกร้อนแรง เช่นสีแดงครั่ง สีส้มหมากสุก สีเหลือง และลวดลายผ้าทอที่ให้ความรู้
สึกเคลื่อนไหว จะใช้ด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่ง ในการทอลวดลายจกนั้นนิยมใช้สีเหลืองเป็นหลัก สีอื่นที่เป็นองค์
ประกอบคือสีส้มหมากสุก สีขาว สีดำ และสีเขียว ผ้าหนึ่งผืนจะมีเพียง 5 สีเท่านั้น ลาวครั่งมีความชำนายในการใช้สีตรง
ข้ามและขัดแย้งมาอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืนงดงาม ถ้าเป็นผ้าทอสำหรับผู้สูงอายุจะเปลี่ยนใช้สีดำแทนสีแดงทั้งด้ายเส้น
ยืนและเส้นพุ่ง รวมในหนึ่งผืนก็จะมีเพียง 5 สีเท่านั้น
     ลาวครั่งอุทัยธานี
   บ้านไร่ ตำบลห้วยแห้ง อำเภอบ้านไร่ อุทัยธานี 61140
    ท่าซุง ตำบลท่าซุง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี 61000

     ลาวครั่งจังหวัดกำแพงเพชร
    ภาษาลาวครั่ง เป็นภาษาที่จัดอยู่ในตระกูลไท – กะได คล้ายคลึงกับภาษาลาวในแถบภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงไชยะบุรี รวมทั้งภาษาพูดที่พูดในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเลย ซึ่งอยู่ใกล้กับแขวงดังกล่าว นอกจากนี้ยังคล้ายคลึงกับภาษา
นครไทย ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่ในอำเภอนครไทยจังหวัดพิษณุโลก “พยัญชนะ ในภาษาลาวครั่งมี 20 หน่วยเสียง ได้แก่ (ก) (ข) (ค ฆ) (ง) (จ) (ซ ส) (ด) (ต) (ท ธ ฒ) (น) (บ) (ป) (พ ผ) (ม) (ฟ) (ญ ย) (ว) (ล) (ห ฮ) (อ) ทั้งหมดเป็นหน่วยเสียงพยัญชนะต้นได้ แต่เป็นหน่วยเสียงพยัญชนะท้ายได้ 9 หน่วยเสียง ได้แก่ (-ก) (-ง) (-ป) (-ด) (-น) (-ม) (-ย) (-ว) และ (-อ) หน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ำมักจะไม่ปรากฏทั่วไปในภาษาลาวครั่ง เช่น พริก เรียก พิก ปลา เรียก ปา และ ช ใช้ ซ เช่น ช้าง เป็น ซ้าง สระในภาษาลาวครั่ง มี 18 หน่วยเสียง ได้แก่ (อิ) (อี) (เอะ) (เอ) (แอะ) (แอ) (อึ) (อื) (เออะ) (เออ) (อะ) (อา) (อุ) (อู) (โอะ) (โอ) (เอาะ) (ออ) และสระประสม มี 6 หน่วยเสียง ได้แก่ (เอียะ) (เอีย) (เอือะ) (เอือ)(อัวะ) (อัว) แต่เดิมในภาษาลาวครั่ง ไม่มีเสียงสระเอือ เช่น เกลือ ออกเสียง เกีย เสือ ออกเสียง เสีย วรรณยุกต์มี 5 หน่วยเสียง แต่อาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท้องถิ่น ลักษณะเด่นของภาษาลาวครั่งที่แตกต่างจากภาษาลาวกลุ่มอื่น ๆ นอกจากลักษณะทางเสียงแล้ว เรื่องคำลงท้าย ก็เป็นเอกลักษณ์ทางภาษาของกลุ่ม”แม้จะออกเสียงและสำเนียงเพี้ยน ๆ ไป แต่รู้สึกมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เกิดมาเป็นลูกหลานลาวครั่งที่มีแต่มรดกทางวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ที่ต้องช่วยกันสืบสานอนุรักษ์ไว้
ให้ยั่งยืนต่อไป
         “ภาษาเขียนเป็นภาษาไทย ก็จะมีคนแก่ก็จะออกเป็นภาษาขอม แต่หาดูยากไม่มีแล้ว ส่วนมาก  ที่เราเน้นก็คือ
ภาษาไทย เพราะเราเรียนมา ครูไม่ได้สอนวิชาอื่นเลย ก็สอน ก-ฮ แล้ว ก็เลยไม่ได้ใช้ภาษาขอม แต่วิธีนับก็จะคล้าย ๆ
กัน แต่จะมีการออกเสียงที่ต่างกัน เช่น เสือ เป็น เสีย เป็นต้น บางทีมันออกมาไม่ตรงกัน ถ้าเป็นภาษาเขียนก็จะเขียน
ยาก เวลาครูสอนเขาจะเน้นให้เป็นลาวห้าง บางที่สอนให้ออกเลียงด้วยใช้ลิ้น ทำให้เด็กปัจจุบันพูดภาษาไทยแล้วส่วน
มาก แล้วแต่ว่าบางคนก็สอนลูกให้พูดลาวไว้ก่อน เพราะลาวพูดยาก ส่วนไทยพูดตอนไหนก็ได้ พ่อแม่บางคนคุยกับ
ลูกเวลากินข้าว “กินข้าวเด้อล่าเอ๋ย” พูดกับลูกบ่อย พ่อแม่ “แซบบ่”  ลูกตอบ “แซบ” เด็กก็จะจดจำ คนเพชรบูรณ์
ต.ปากช่อง คนที่ขายหวยส่วนมากเป็นลาวครั่ง แต่จะเหน่อต่างกัน มีหล่มเก่า ผมไปกีฬาแห่งชาติ เขาบอกว่า
อาจารย์ภาคลาวเด้อ มีผมภาคอยู่คนเดียว ไปเลยเขาก็ให้ผีโขนก็ไปภาคเป็นภาษาลาวครั่ง เขาก็หัวเราะกัน มีอาจารย์
ยอร์ช คนเดียวที่สื่อภาษาลาวได้ แล้วผมเคยไปตัดสินที่ลาวเวลาทำสนามผมเป็นคนสื่อสารกับลาว เพราะไปแข่งที่หลวง
พระบาง อาจารย์ยอร์ชสื่อสารเลย “เฮ็ดอย่างงี้เด้อ  เดี๋ยวยกเก้าอี้มาวางนี้ กางเต็นท์ดึงสาย” บางคนเขาพูดไทยก็จะฟัง
ยาก เราก็อาศัยว่าเราก็คุยเป็นภาษาลาวแต่ก็ยังฟังง่ายกว่าภาษาอีสานเพราะภาษาอีสานฟังยาก”
      ประวัติความเป็นมา
   จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าบรรพบุรุษอพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทร์ และหลวงพระบาง  
พร้อมกับเหตุผลที่ทางการเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย ได้กล่าวว่า
ลาวคั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสายลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น ในจังหวัดนคร
ปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดกำแพงเพชร ฯลฯ ลาวคั่งมักจะเรียกตนเองว่า
“ลาวขี้ครั่ง” หรือ “ลาวคั่ง”
         ความหมายของคำว่า “ลาวคั่ง” ยังไม่ทราบความหมายที่แน่ชัด บางท่านสันนิษฐานว่ามาจาก คำว่า “ภูฆัง” ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาที่ลักษณะคล้ายระฆัง อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของหลวงพระบาง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเป็นถิ่นฐานเดิมของลาวคั่ง  ถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้า
กรุงธนบุรี ปีพุทธศักราช 2321 และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปีพุทธศักราช 2334 ไม่ปีใดก็ปีหนึ่งอย่างแน่นอน เพราะไทยยกทัพไปตีเมืองหลวงพระบางและกวาดต้อนครอบครัวของชาวลาวมา
ในช่วงนั้นเนื่องจากแพ้สงคราม
         ลักษณะทั่วไปของลาวคั่ง คือมีรูปร่างค่อนข้างไปทางสูงหรือสันทัด ทั้งหญิงและชายผิวค่อนข้างเหลือง ตาสองชั้น ใบหน้าไม่เหลี่ยมมาก  จมูกมีสัน  ผมเหยียดตรง ชอบนุ่งผ้าสิ้นคลุมเข่า นุ่งซิ่นมัดหมี่ดอก ลาวคั่ง    มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในการทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะ
         “อำเภอทรายทองวัฒนา เป็นอำเภอหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากชมรมลาวคั่ง ตำบลหนองเหมือด อำเภอขาณุวรลักษบุรี และจังหวัดชัยนาท กระผม ครูยอร์ช  มีสุข ซึ่งเป็นอาจารย์ ได้มีโอกาสไปร่วมงานลาวคั่ง ที่จังหวัดมา สังเกตว่าชมรมลาวคั่งมีทั่วประเทศประมาณ 4 ล้านกว่าคนตามข้อมูลที่บอกมา  เป็นลาวคั่งแท้ ๆ เลย แต่
ว่าลาวคั่งของอำเภอทรายทองวัฒนาเป็นลาวคั่งที่อยู่มาตั้งแต่เกิดตั้งแต่ผมเกิดมา ตั้งแต่ พ.ศ.2500 จำความได้ว่าลาวคั่งเยอะที่สุด แต่ตอนนี้ได้แยกย้ายออกไปส่วนใหญ่ ที่เข้ามาอยู่ใหม่ก็จะเป็นคนจีน
         ลาวคั่งนั้นเป็นคนสงบนิ่งแล้วก็ทำมาหากิน ได้แยกย้ายไปอยู่ตามป่า ชมรมลาวคั่งของเรานั้น ก็ได้ถือว่าอพยพมาจากจังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากเราย้ายมาจากเวียงจันทร์ หลวงพระบาง โดยการเดิน การนั่งเกวียน การนั่งม้า ขี่วัว ขี่ควาย ที่อพยพนี่ไม่ใช่ว่าเราตั้งใจมา เพราะว่ามีศึกสงครามสมัยกรุงธนบุรี ที่มาเรานี่เป็นเชลยศึกอยู่ในสมัยกรุงธนบุรี สมัยนั้นสงครามมันเยอะก็ถูกต้อนมา ก็เลยอพยพมาจากเพชรบูรณ์หรือจังหวัดเลยก็มาอยู่แถวนี้ก็นาน ก็มีหลายอำเภอที่ล่วงเลยมา เช่น วังทอง ไทรงามนี่ก็ลาว บางที่ทางนี้อพยพมาจากนครสวรรค์บ้างก็มี เพิ่งย้ายมาทีหลังก็มาสมทบกันระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ ย้ายทุกทิศทุกทางเพราะว่ากำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ฟ้าอากาศก็อยู่เย็นเป็นสุขเพราะว่าลมพัดก็บ่เท่าใดน้ำท่วมก็บ่เท่าใด เป็นภาคเหนือตอนล่างแล้วก็ภาคกลางตอนบน ก็ถือว่าลาวคั่งของอำเภอทรายทองนี่อพยพมาจากหลายจังหวัด”

  

    

 

 

 

 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 139,924