๒.วิชาธาตุ ๔ ของสมเด็จลุน

                   


               

       วิชาธาตุ ๔ ของหลวงพ่อสมเด็จลุน      

   จะเก่งจริงอย่างที่เขาร่ำลือมั้ย!! เมื่อ "สำเร็จลุน" แห่งนครจำปาศักดิ์ มาประลองฤทธิ์กับ "หลวงปู่ศุข" ถึงวัดปากคลองมะขามเฒ่า น่าอัศจรรย์ยิ่ง!!

  หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเป็นพระที่มีประชาชนเคารพนับถือมากแม้แต่ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ท่านก็ยังเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ถึงปัจจุบันนี้ท่านก็ละสังขารไปนานแล้วก็ตาม แต่ประชาชนชาวพุทธทั่วไปก็ยังเคารพนับถือท่านทั่วทุกจังหวัดก็ว่าได้ เรื่องวิชาอาคมของหลวงปู่ศุขนั้นแก่กล้ามาก เพราะท่านเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีอภิญญาแก่กล้า และวิชาอาคมที่เข้มขลังมาก  เมื่อครั้งหนึ่งมีเรื่องเล่าว่า มีพระเฒ่าองค์หนึ่งได้เคยเข้าไปทดสอบวิชากับหลวงปู่ศุข พอพระเฒ่าเข้าไปถึง

   หลวงปู่ศุขก็เอ่ยถามว่า "ท่านมาจากที่ไหนครับ"

   พระเฒ่าเอ่ยตอบมาว่า "ผมมาจากนครเวียงจันทร์ครับ"

   หลวงปู่ศุขถามต่อไปว่า "แล้วท่านมีภารกิจอันใดให้ผมรับใช้ครับ"

   พระเฒ่าตอบมาว่า "กระผมอยากรู้ว่าสมภารเจ้าแห่งวัดมะขามเฒ่า เก่งจริงดังที่เขาเลื่องลือไหม"

   พอหลวงปู่ศุขฟังจบท่านก็หันไปรูดเอาใบมะขามเสกพร้อมตอบไปว่า "ผมขอโทษนะครับ"

   หลวงปู่ศุขก็ได้ขว้างใบมะขามออกมา กลายเป็นต่อและแตน บินพุ่งเข้าใส่พระองค์นั้น พระเฒ่าองค์นั้นได้ยกมือขึ้นรับต่อและแตน แทนที่ต่อและแตนจะบินเข้าไปต่อยพระเฒ่า แต่กลับบินเข้าไปอยู่ในมือและกลายเป็นใบมะขามเหมือนเดิม

   หลวงปู่ศุขเลยเอ่ยถามพระเฒ่าว่า "ไม่ทราบว่าท่านเป็นใคร โปรดเมตตาต่อข้ากระผมด้วยครับ"

   พระเฒ่าตอบด้วยความเคารพเช่นกันว่า "กระผมคือสำเร็จลุนครับ"

   หลวงปู่ศุขเลยพนมมือทำความเคารพและกล่าวไปว่า "กระผมได้ยินแต่ชื่อเสียงพึ่งเห็นตัวจริงวันนี้นี่เอง เหมาะสมที่ได้ชื่อว่าสำเร็จลุนจริงๆ"

   สำเร็จลุน เป็นพระมหาเถระ นามกระเดื่องทางด้านผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ มีมหัศจรรย์ในตัวท่านเอง คล้ายๆ กับสมเด็จโต พรหมรังษี วัดระฆังโฆษิตาราม

  กรุงเทพมหานคร สมัยนั้น สำเร็จลุน เป็นพระมหาเถระชาวเมืองจำปาศักดิ์ เป็นศิษย์ของท่านราชครูขี้หอมโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) ผู้มีวสี (ความชำนาญ) ในการเดินเรื่องธาตุ และกสิน สำเร็จลุนได้แสดงฤทธิ์ให้คนเห็นหลายครั้ง ท่านเป็นหนึ่งในพระอภิญญาที่มีความเข้าใจกันว่าท่านคือหลวงปู่เทพโลก อุดร ก็คือ “สำเร็จลุนแห่งนครจำปาศักดิ์” สำเร็จลุนนั้นเป็นพระที่ทรงอภิญญา มีปฏิปทาทางพระโพธิสัตว์ หวังพุทธภูมิเป็นเบื้องหน้าคือ ท่านไม่ได้หวังเอานิพพานในปัจจุบันชาติ แต่ท่านหวังจะสำเร็จเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในภายภาคหน้า นอกจากนี้ สำเร็จลุนเลื่อง

ชื่อลือนามถูกยกย่องว่าเดินบนผิวแม่น้ำโขงที่เต็มไปด้วยเกาะแก่งอันตรายได้ ข้ามไปมาสองฝั่งแม่น้ำโขงระหว่างไทยลาว ได้เหมือนเดินบนผิวถนนท่านสามารถเดินทะลุภูเขาได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ หยั่งรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้ทั้งหมด

 

           วิชาธาตุ ๔ ของหลวงพ่อสำเร็จลุน(สมเด็จลุน)

 

    ๐วิชาธาตุ ๔ ของสำเร็จลุนนี้ท่านเรียนมาจากท่านราชครูขี้หอมโพนสะเม็ก  แห่งวัดโพนสะเม็กแขวงนครเวียงจันทร์  ประเทศลาว  รายละเอียดที่เรียนมามีดังนี้

 

      ๑.ปฐวีธาตุ คือธาตุดิน:

 

           -มะ  กะ  ทะ  นะ  พะ  กะ  สะ  จะ

 

           -มิ  ตะ  ติ  อุ  อะ  มะ  นะ

 

           -จิ  ตะ  ติ  จะ  พะ  กะ  สะ

 

           -มุ  ตะ  ติ  มะ  นะ  อะ  อุ ฯ

 

      ๒.อาโปธาตุ คือธาตุน้ำ:

 

           -นะ  มะ  ทะ  จะ  พะ  กะ  สะ

 

           -ริ  ตะ  ติ  นะ  อะ  อิ  อุ

 

           -ริ  ตะ  ตะ  วิ  กะ  วิ  ตะ  ติ ฯ

 

      ๓.วาโยธาตุ คือธาตุลม:

 

           -พะ  ทะ  นะ  มะ  พะ  สะ  จะ  พะ

 

           -ริ  ตะ  ติ  ทะ  พะ  มะ  นะ

 

           -มิ  ตะ  ติ  อุ  อะ  มะ  นะ

 

           -วิ  ตะ  ติ  นะ  สะ  กะ  สะ ฯ

 

      ๔.เตโชธาตุ คือธาตุไฟ:

 

           -ทะ  นะ  มะ  พะ  สะ  จะ  พะ  วะ

 

           -มิ  ตะ  ติ  พะ  จะ  สะ  กะ

 

           -มุ  ตะ  ติ  นะ  มะ  อะ  อุ ฯ

 

         -นี่คือคาถาที่เป็นแม่ธาตุ ท่านยังถอดเอาไปใช้เฉพาะเรื่องได้อีก     เช่น:-

 

           -ถ้าต้องการทำให้ร่างกายใหญ่โตให้สวดภาวนาด้วยคาถานี้

 

               -มะ  นะ  อุ  อะ     นะ  มะ  อะ  อุ

 

           -ถ้าต้องการให้มีข้าวของเครื่องใช้มากให้สวดภาวนาด้วยคาถานี้

 

               -อะ  อุ  มะ  นะ     นะ  มะ  อะ  อุ

 

           -ถ้าต้องการให้วิ่งเร็วหรือเดินเร็ว ให้สวดภาวนาด้วยคาถานี้

 

               -อุ  อะ  มะ  นะ     นะ  มะ  อะ  อุ

 

           -ถ้าต้องการทำให้หายตัวได้ไม่มีคนเห็น ให้สวดภาวนาด้วยคาถานี้

 

               -อะ  อุ  นะ  มะ     มะ  นะ  อุ  อะ

 

           -ถ้าต้องการทำให้ฝนตก ให้สวดภาวนาด้วยคาถานี้

 

               -นะ  มะ  อะ  อุ     มะ  นะ  อุ  อะ

 

    ๐วิธีนำเอาธาตุทั้งหลายไปใช้

 

       ๑.ธาตุดินเอาไปใช้ในทาง

 

           -เป็นมหาระรวย คือเป็นเมตตามหานิยมผู้คนทั้งหลายเคารพรักใคร่นับถือมาก

 

           -ใช้กันสารพัดทั้งปวง เช่น กันคุณไสย์  กันภูตผีปีศาจ

 

           -ใช้เสกข้าวกินทำให้มีสุขภาพดี

 

           -ใช้เสกน้ำมันทาที่ฝ่ามือแล้วใช้มือลูบไล้อาการป่วยไข้ให้หายไปได้

 

           -ใช้เสกน้ำหรือยากินแก้โรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง

 

      ๒.ธาตุน้ำเอาไปใช้ในทาง

 

           -มีอานุภาพในการใช้ดับไฟน้อยใหญ่ให้มอดดับไปได้

 

           -ปราบและป้องกันปืนผาหน้าไม้ไม่ให้ออกและไม่ให้แตกได้

 

           -ทำให้แคล้วคลาดจากภัยทั้งปวง

 

           -ใช้ห้ามลมห้ามฝนได้

 

           -ใช้ในทางเสน่ห์นิยมก็ได้

 

      ๓.ธาตุลม เอาไปใช้ในทาง

 

           -เป็นมหาระรวย

 

           -เมื่อป้องกันอาวุธใช้เสก ๘ จบ

 

           -ใช้รักษาโรคฝีในท้อง   หนองในอก   ริดสีดวงทวาร    โรคพยาธิ์น้อยใหญ่

 

เจ็บหัวใจ ใช้ภาวนาดีนัก 

 

      ๔.ธาตุไฟ เอาไปใช้ในทาง

 

           -เป็นนะจังงัง

 

           -เสกน้ำมัน   เสกเมี่ยงหมาก    เสกน้ำยา    เสกส้มป่อย    เสกวัวธนู   เสกหน้าไม้ป้องกันได้ทั้งสิ้น    บิดใส้บังควันก็ได้

 

       -สำเร็จลุนท่านเชี่ยวชาญในวิชาธาตุ ๔ ผสมกับกสิณ ๑๐ จึงทำให้ท่านสามารถแสดงฤทธิ์เดชอำนาจต่างๆได้มากมาย เป็นที่น่าอัศจรรยยิ่งนัก

 

            หลวงพ่อศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่า

 

     

 

       https://www.youtube.com/watch?v=v1c1S86QFiA

 

         https://www.youtube.com/watch?v=tob5W9BOKkA

 

         https://www.youtube.com/watch?v=dtLNeFsaAdI

 

              วิชาเดินธาตุหรือธาตุกรรมฐาน

   เริ่มตั้งแต่…การบูชาพระ คำนมัสการพระรัตนตรัย คำนมัสการพระพุทธเจ้า คำขอขมาพระรัตนตรัย คำพรรณาพระบรมธาตุ บทไตร

สรณคมน์ อาราธนา ศีล ๕ คำนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ บทบูชาบิดามารดาและครูบาอาจารย์ บทชุมนุมเทวดา 

ธรรมจักรกัปวัตนสูตร ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก ชินบัญชร พาหุงมหากา บารมี ๓๐ ทัศ อุณหิสวิชัยคาถา แผ่เมตตาให้ตนเองและสรรพสัตว์จาก

นั้นจึงนั่งหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อรับพลังปราณจักรวาลที่ไหลจากทิศใต้มา สู่ทิศเหนือ ด้วยการนั่งพนมมือเพื่อรวมพลังปราณทั้ง ๖ สายที่นิ้ว

มือเพื่อเพิ่มพลังปราณให้กับตนเอง พร้อมกับการท่องมนต์ตราแห่งวิชาเดินธาตุ ซึ่งมีทั้งวิชาเดินธาตุแบบขั้นต้น แบบขั้นกลางและแบบขั้นสูง 

ซึ่งมีความยากง่ายแตกต่างกันไป…เมื่อฝึกวิชาเดินธาตุแล้ว จะออกจากวิชาเดินธาตุเพื่อผ่อนคลายพลัง เพราะวิชาเดินธาตุนั้นเป็นวิชาที่มีพลัง

มหาศาล  เมื่อฝึกไปได้ถึงระดับหนึ่งแล้วจะรู้สึกว่า ใจจะเย็นเหมือนมีน้ำทิพย์ชโลมใจแต่กายจะร้อนดั่งไฟเผากาย ดังนั้นจึงต้องมีการนั่งสมาธิ

แบบธรรมดาทั่วไป คือ ท่องพุทโธ หรือ ยุบหนอพองหนอ เพื่อผ่อนคลายพลังอันมหาศาลในการและใจของผู้ฝึก จากนั้นจึงท่องบทอัญเชิญ

เทวดากลับ ที่ต้องอัญเชิญเทวดากลับทีหลังนั้น เพราะเมื่อฝึกวิชานั้นๆ ก็จะได้มีเทพเทวดาต่างๆมาช่วยปกปักษ์รักษาและช่วยส่งเสริมการฝึก

วิชา นั่นเอง  วิชาเดินธาตุแบบฉุกเฉิน ใช้ในยามคับขัน เมื่อนึกอะไรไม่ออกให้ให้ว่า นะโมพุทธายะ จิเจรูนิ

   วิขาเดินธาตุขั้นต้นนั้นจะใช้ หัวใจของธาตุทั้ง ๔ ไฟ ดิน ลม น้ำ บังเกิดสรรพสิ่งในจักรวาล ธาตุทั้ง ๔ ไฟ ดิน ลม น้ำ ตามหลักแล้วธาตุที่อยู่

ตรงข้ามกันจะเกื้อหนุนกัน เช่น ดินกับน้ำ ไฟกับลม นะ โม พุท ธา ยะ นี้เปรียบเสมือนธาตุใหญ่ เป็นรากเหง้าของธาตุทั้ง ๔

   นะ คือ พระกุกกุสันโธ คือ ธาตุน้ำ หล่อเลี้ยงร่างกายและดวงจิต กำลังธาตุ ๑๒

   โม คือ พระโกนาคม คือ ธาตุดิน ให้กำลังวังชา กำลังธาตุ ๒๑

   พุท คือ พระกัสสป คือ ธาตุไฟ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย กำลัง ธาตุ ๖

   ธา คือ พระสมณโคดม คือ ธาตุลม หล่อเลี้ยงชีวิต ดูดพลังปราณมาหล่อเลี้ยงดวงจิต กำลังธาตุ ๗

   ยะ คือ พระศรีอริยเมตตรัย คือ อากาศธาตุ เป็นที่ตั้งของวิญญาณ กำลังธาตุ ๑๐

   เมื่อรวมกำลังธาตุ นะโมพุทธายะ จะได้ ๕๖ คือกำลังพุทธคุณ ส่งผลให้เกิดกำลังธรรมคุณ ๓๘ และกำลังสังฆคุณ ๑๔ รวมกำลัง พุทธคุณ 

ธรรมคุณ สังฆคุณได้ ๑๐๘ เชื่อว่าหากกระทำการใดเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เช่น ปลุกเสกลงเลขยันต์ให้ครบ ๑๐๘ ครั้งจะมีความศักดิ์สิทธิ์

มาก ได้ผลตามใจปรารถนา

   เมื่อถอดจากพระเจ้า ๕ พระองค์ นะโมพุทธายะ จึงบังเกิดเป็นธาตุทั้ง ๔ คือ

   นะ(ธาตุน้ำ)

   มะ (ธาตุดิน)

   พะ(ธาตุไฟ)

   ธะ (ธาตุลม)

  นะ มะ พะ ธะ ธาตุทั้ง ๔ นี้ เป็นธาตุหล่อเลี้ยงร่างกาย สังขารที่ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นตัวธาตุ ที่ถอดจากแม่ธาตุใหญ่ คือ นะ โม พุท ธา ยะ  ถอดลงไป

อีกบังเกิด ธาตุพระกรณี(ธาตุพี่เลี้ยง)คือ

   จะ(ธาตุน้ำ)

   ภะ(ธาตุดิน)

   กะ(ธาตุไฟ)

   สะ(ธาตุลม)

  จะ ภะ กะ สะ คือธาตุพี่เลี้ยง นะ มะ พะ ธะ ที่ท่านจัดเป็นกองธาตุทั้ง ๔ กอง คือเมื่อจะตั้งธาตุทั้ง4กองนี้ ต้องมีธาตุพระพุทธเจ้าคือธาตุพระกรณี 

ตั้ง กำกับลงไปด้วย คือ จะ ภะ กะ สะ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงคุมธาตุลงไปอีกทีหนึ่ง

   เมื่อตั้งธาตุได้บริบูรณ์แล้ว จากนั้นก็มีการหนุนธาตุ การหนุนธาตุนั้นท่านให้หนุนด้วยแก้ว ๔ ดวง คือ นะ มะ อะ อุ

   นะ คือแก้วมณีโชติ (ธาตุน้ำ)

   มะ คือแก้วไพฑูรย์ (ธาตุดิน)

   อะ คือแก้ววิเชียร (ธาตุไฟ)

   อุ  คือแก้วปัทมราช (ธาตุลม)

  เมื่อรวมพระเจ้า ๕ พระองค์ ธาตุทั้ง ๔ ธาตุพระกรณีและดวงแก้วทั้ง ๔ เข้าด้วยกันจึงจะสมบูรณ์ครบถ้วน ทำให้เกิดเป็นอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ตาม

หลักวิชาแปรธาตุ คือการปลุกเสกของกายสิทธิ์ให้มีอิทธิฤทธิ์เทียบเท่ากับเหล็กไหลชั้น ๑ คือมีสีเปลี่ยนไปจากเดิมจนกลายเป็นสีเขียวปีกแมลง

ทับ หรือยืดหดกินน้ำผึ้งได้เองเมื่อใช้คาถากำกับหรือใช้อำนาจ กำลังของตบะฌาน ประจุลงไป ณ ธาตุนั้น ๆ

   หลักการใช้ธาตุอย่างกว้าง ๆ คือ ธาตุน้ำเด่นในทางเสน่ห์และเมตตา  ธาตุดินเด่นในทางอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์  คงกระพันชาตรี  ธาตุไฟใช้

ทำลายสิ่งชั่วร้าย และหลอมรวมวัตถุ  ธาตุลมใช้ทางล่องหนหายตัว สะกด เมื่อได้ในพื้นฐานแล้วยังต้องรู้จัก

    ๑.การเดินธาตุ

    ๒.การหนุนธาตุ

    ๓.การอัดธาตุ

    ๔.การซ้อนธาตุ

    ๕.การแยกธาตุ

    ๖.การสลับธาตุ

    ๗.การย้อนธาตุ

    ๘.การพลิกแพลงธาตุต่าง ๆ   

    และยังแบ่งแยกออกตามระดับความยากง่ายอีกด้วย คล้ายกับการเรียนหนังสือ เริ่มจากชั้นประถม  มัธยม  ปริญญาตรี  ปริญญาโท  

ปริญญาเอก

   ๐วิธีเดินธาตุขั้นแรกให้ใช้พระคาถาว่า นะโมพุทธายะ   นะมะพะทะ   จะภะกะสะ   นะมะมะนะ   นะอะอะนะ    นะอุอุนะ  บริกรรม

     วิชาเดินธาตุขั้นกลาง

   ปฐวีธาตุ หรือ ธาตุดิน    ให้ว่าดังนี้

     -มะ กะ ทะ นะ พะ กะ สะ จะ

     -มิ ตะ ติ อุ อะ มะ นะ

     -จิ ตะ ติ จะ พะ กะ สะ

     -มุ ตะ ติ มะ นะ อะ อุ

   อาโปธาตุ หรือ ธาตุน้ำ    ให้ว่าดังนี้     

     -นะ มะ ทะ จะภะ กะ สะ

     -ริ ตะ ติ นะ อะ อิ อุ

     -ริ ตะ ติ สะ มะ นิ ทุ

     -ริ ตะ ตะ วิ กะ วิ ตะ ติ

   วาโยธาตุ หรือ ธาตุลม     ให้ว่าดังนี้     

      -พะ ทะ นะ มะ พะ สะ จะ พะ

      -ริ ตะ ติ ทะ พะ มะ นะ

      -มิ ตะ ติ อุ อะ มะ นะ

      -วิ ตะ ติ พะ สะ กะ สะ

   เตโชธาตุ หรือ ธาตุไฟ       ให้ว่าดังนี้

      -ทะ นะ มะ พะ สะ จะ พะ วะ

      -มิ ตะ ติ พะ จะ สะ กะ

      -มุ ตะ ติ นะ มะ อะ อุ

      -จุ ตะ ติ กะ ระ มะ กะ

   นอกจากคาถาธาตุตัวเต็มนี้แล้ว ยังสามารถถอดเอาไปใช้เฉพาะเรื่องได้อีก   เช่น:-

    -ถ้าจะทำร่างกายให้ใหญ่โต  ให้ว่า

       -มะ นะ อุ อะ นะ มะ อะ อุ

    -ถ้าจะทำให้มีข้าวของเครื่องใช้มาก  ให้ว่า

       -อะ อุ มะ นะ นะ มะ อุ อุ

    -ถ้าจะทำให้วิ่งเร็วและเดินเร็ว   ให้ว่า

       -อุ อะ มะ นะ นะ มะ อะ อุ

    -ถ้าจะทำให้หายตัวไม่มีใครเห็น    ให้ว่า  

       -อะ อุ นะ มะ มะ นะ อะ อุ

    -ถ้าจะทำให้ฝนตก    ใหว่า  

       -นะ มะ อะ อุ มะ นะ อุ อะ

   และขั้นสูงสุดคือ วิชาเดินธาตุทั้ง ๗ อันประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ จิตธาตุ อันเป็นวิชาอันเล้นลับ

และซับซ้อนซ่อนเงื่อน ซึ่งเมื่อเดินถึงวิชา ๗ ธาตุนี้แล้วจึงจะครอบคลุมทั้ง กสิน ฌาณ มโนมยิทธิ อภิญญา ๖ และคือครบวิชชา ๘ ประการ 

แถมด้วย  พลังลมปราณและพลังจักรวาลอันเป็นเลิศเพื่อเสริมพลังให้กับร่างกายอีก ด้วย

   ทำไมต้องพอกกายทิพย์ ?

เพราะตกใจขณะจิตสงบในสมาธิ เรียกว่ากายทิพย์สะเทือน  ภาวะตกใจแล้วลุกขึ้นวิ่งหนีจากที่นั่ง เรียกว่า กายทิพย์สะเทือน ถึงขั้นกายทิพย์แตก

กระจาย อาจเสียสติได้  ตกใจในขณะทำสมาธิ…….เกิดเพราะ  เห็นวิญญาณหรือสิ่งน่ากลัว ต้องมีสติคุมอารมณ์ไม่ให้ตกใจกลัว และไม่ลุกขึ้น

จากที่นั่ง  เป็นอันขาด ต้องวางใจให้นิ่ง ๆ ระลึกถึงครูบาอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วอุทิศส่วนบุญกุลศลให้ วิญญาณนั้นก็จะหาย  ตกใจเพราะเหตุ

อื่น ทำให้สะดุ้งตกใจ เช่น เสียงดัง ๆ ให้ค่อย ๆ ลืมตาดูช้า ๆ นั่งปรับจิตใจให้สงบดีขึ้นแล้ว จึงจะลุกจากที่นั่งได้

        วิธีปรับจิตให้สงบ เพื่อรักษากายทิพย์สะเทือน

   ในขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้น เมื่อตกใจ หัวใจจะเต้นแรงผิดปกติ อาจจะมีอาการปวดเสียวเป็นระยะ ๆ หน้าซีด มือที่วางซ้อนอยู่ด้วยกัน อาจจะถูก

สลัดออกจากกัน ให้วางซ้อนให้เหมือนเดิม หลับตาลง ถอนหายใจลึก ๆ ช้า ๆ ๕ ครั้ง เริ่มต้น ตั้งจิตใจ ส่งไปที่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว หายใจเข้า

ภาวนาว่า “พุท” หายใจออกว่า “โธ” (คำอื่นก็ได้) ทำอยู่ ๑๕ นาที หัวใจที่เต้นแรงผิดปกตินั้นจะกลับเข้าสู่ภาวะเดิมได้ เมื่อหายกลัวแล้วจึง

จะออกจากสมาธิได้

       วิธีรักษากายทิพย์ที่ถูกสะเทือนถึงขั้นแตกกระจาย

   หาครูบาอาจารย์ หรือพี่เลี้ยงใจเย็น ๆ มาช่วยควบคุมให้ผู้นั้นนั่งสมาธิใหม่ ด้วยการมองพระพุทธรูป ให้จำ รูปนั้นแม้หลับตาก็ให้จำภาพนั้นให้

ชัดเจน ถ้าภาพหายไปให้ลืมตาดู จนหลับตาก็จำภาพพระพุทธรูปได้ นับว่า เริ่มมีสติรู้สึกตัว ควบคุมตัวเองได้ ต่อด้วยการพอกกายทิพย์ให้

สมบูรณ์ ด้วยการส่งความรู้สึกนึกคิดทั้งมวล เพ่งส่งไป ที่พระพุทธรูป เมื่อฝึกทำมาก ๆ ครั้งเข้า ภาพพระพุทธรูปจะค่อย ๆ ชัดขึ้นจนเห็นชัดทุก

สัดส่วน เหมือนลืมตา จนพระพุทธรูปนั้นมีความสว่างไสว จนเป็นวงรอบองค์พระเหมือนดวงแก้ว จนมีความปิติสุข เกิดขึ้น แสดงว่า 

“ท่านหายแล้ว”

   การพอกกายทิพย์นี้ เป็นการดึงเก็บรวบรวมเอา มวลสาร ของอะตอมในโมเลกุลซึ่งเป็นส่วนส่วนละเอียดที่สุด ของส่วนประกอบดวงจิต 

ที่เหมือนดวงแก้วที่แตกกระจายออกไปนั้น มารวมตัวสมานกันอีกครั้ง เมื่อเพ่งมองพระพุทธรูปจนเป็นนิมิต นั้นทำให้จิตรวมเป็นหนึ่งก็จะเกิด

อำนาจดึงดูด เหมือนแม่เหล็ก ยิ่งส่งความนึกคิดเข้าไปในองค์พระพุทธรูปมากเท่าใดแล้ว เหมือนเสริมพลังให้กับแม่เหล็ก อำนาจแม่เหล็ก 

ที่ศูนย์กลาง คือพระพุทธรูป จะยิ่งเพิ่มพลังดึงดูดมากขึ้น จึงเกิดกำลังทวีคูณดึงดูด เก็บรวบรวมชิ้นส่วนอัน ละเอียดของดวงจิต (ดวงแก้ว) 

ที่แตกซ่านกระจายนั้น รวมตัวเข้าเป็นวงกลม(ดวงแก้ว) ที่สมบูรณ์ ใหม่ ๆ ดวงแก้วจะไม่ค่อยสว่างและไม่ค่อยกลมด้วย สุดท้ายอำนาจดึงดูดสูง

ขึ้น ๆ เศษส่วนต่าง ๆ ของดวงแก้วก็ จะติดแน่น สมานจนไม่มีรอยตำหนิ

 

      ธาตุเป็นใหญ่ในจักรวาล

   คำว่า “ธาตุบารมี” และ “แก้วบารมี” เป็นคำที่มีมาก่อนซึ่งอาจเป็นภาษาพูดที่นิยมใช้มาแต่โบราณในบางยุคสมัย ไม่ใช่ศัพท์ดั้งเดิมโดย

ตรงในทางพระพุทธศาสนา น่าจะเป็นคำที่เกิดจากการพูดประสมคำ ระหว่าง คำว่า “ธาตุ” และ “แก้ว” กับคำว่า “บารมี” เพื่อใช้สื่อความ

หมาย เช่น บางครั้งก็มีการใช้คำว่า “การบำเพ็ญธาตุบารมี” เป็นต้น

   คำว่า “ธาตุ” ที่หมายถึง สารเชิงเดี่ยว (ในความหมายทางวิทยาศาสตร์) ตามความหมายในยุคปัจจุบันนี้  ใช้กันมาเพียงไม่กี่ร้อยปี

   ส่วนความหมายของ “ธาตุ” แบบโบราณซึ่งหมายถึง สภาพหรือลักษณะอันเป็นที่รวม นั้นใช้กันมากว่าสองพันปีแล้ว  แนวความคิดเรื่อง 

ธาตุเป็นใหญ่ในจักรวาลนี้  ถ้าในทางระบบความคิดก็ถือว่าเป็นระบบที่ มีความ สมบูรณ์แบบ อยู่ในตัว  หากเป็นความเชื่อทางศาสนาต่างๆก็อยู่

ในระดับ ความจริงแท้ ประการหนึ่ง

  ในแนวคิดทาง ศาสนาพราหมณ์ นั้นกล่าวเอาไว้ว่า  เวลาโลกพินาศเกิดจากอำนาจไฟ  ทุกอย่างสูญสิ้นไปในไฟ  จะเหลืออยู่ก็แต่ ผู้รู้ เทวะ และ 

ธาตุทั้งสี่( ดิน น้ำ ลม ไฟ) ซึ่งมีประจำโลก(เพิ่มอากาศอีกหนึ่งเป็น 5 )แม้พระพรหมผู้สร้างก็หมดสิ้นไปด้วย  ทุกอย่างรวมลงอยู่ในธาตุทั้งสี่  

กล่าวโดยย่อว่าธาตุทั้งสี่มาชุมนุมกันอยู่  ระหว่างนั้น วิญญาณโลกทั้งหลายเข้าไปรวมอยู่ใน มหาพรหม หรือ ปรมาตมัน

  แนวทาง ลัทธิเต๋า และภูมิปัญญาจีนโบราณ ก็ยังมีเรื่องราวที่ถ่ายทอดกันมาคือ  เมื่อเริ่มต้นนั้น จักรวาลกำเนิดจากพลังอันสับสนอลหม่านจน

แปรสภาพคล้ายฟองไข่  มีพลัง หยิน กับ หยาง อันเป็นพลังตรงข้ามกัน  จากนั้น ธาตุที่มีน้ำหนักมากก็จมลง ส่วนธาตุที่มีน้ำหนักเบาก็ลอยขึ้น  

ในภูมิปัญญาจีน มีการจำแนกธาตุเป็น ๕ อย่างคือ

   ๑.ธาตุไม้

   ๒.ธาตุไฟ

   ๓.ธาตุดิน

   ๔.ธาตุโลหะ

   ๕.ธาตุน้ำ

    แม้จะต่างกันในการจำแนกและให้ความหมายไปบ้างแต่ก็ถือได้ว่าเป็นการจำแนกธาตุนั่นเอง  แม้ในศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม 

โซโรอัสเตอร์ ฯลฯ ก็ยังกล่าวถึงการสร้างโลกที่เริ่มต้น มีน้ำ มีฟ้า และอากาศ

    ส่วนแนวทาง พุทธ ก็คงจะได้ทราบกันอยู่แล้วว่า การพิจารณาในธาตุทั้งหลายให้เห็น เป็นสักแต่ว่าธาตุ นั้น เป็นแนวทางเข้าถึงซึ่ง สัจธรรม 

ทำให้เกิดความเห็นแจ้งและปล่อยวางใน มหาภูตรูปทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  สำหรับทาง ไสยศาสตร์ นั้น ย่อมจะมีความแตกต่างและผสมผสาน

กัน  ขึ้นอยู่กับว่าพื้นฐานของเจ้าตำรับวิชาและศิษย์ที่รับช่วงการถ่ายทอดสืบสาย มาจะพัฒนาภูมิปัญญาอย่างไร

    อย่างไรก็ตาม การมองเรื่องของธาตุก็ล้วนเป็นการมองโดยรวม  ท่านจึงว่า ธาตุเป็นใหญ่ในจักรวาล  ถ้าถามว่ามิใช่จิตเป็นใหญ่หรือ  ถ้าตอบ

ตามแนวทางนี้ท่านก็คงต้องตอบว่า จิตก็เป็นธาตุคือ ธาตุจิต  ฉะนั้น ไม่ว่าจะโดยระบบความคิดหรือแนวทางการฝึกฝนปฏิบัติ เมื่อมองในแง่ของ

ความเป็นธาตุ ก็คงต้องพิจารณาในภาพรวมของความเป็นธาตุนั่นเอง

          ความสัมพันธ์ของ ธาตุ ชีวิต และสิ่งแวดล้อม

    แนวความคิดตามระบบภูมิปัญญาโบราณได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ ธาตุ ชีวิต และสิ่งแวดล้อม เอาไว้ค่อนข้างลงตัวและสมบูรณ์แบบ 

ดังจะพบเห็นได้ในข้อความเกริ่นนำเมื่อกล่าวถึงหลักการก่อนที่จะเชื่อมโยงถึงศาสตร์ต่างๆ เช่น  หลักทางไสยศาสตร์ หลักการของธาตุใน 

ตำราไสยศาสตร์  ไทย กล่าวไว้ว่า “.....ธาตุนี้เป็นใหญ่  เทพยดา อินทร์พรหม มนุษย์ และสรรพสิ่งต่างๆ  ในภพนี้จะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะ

ธาตุ  ถ้าหาธาตุมิได้แล้ว โลก ทั้ง 3 นี้ก็จะสูญสิ้นไป  เหตุฉะนี้ท่านจึงได้สรรเสริญธาตุเป็นใหญ่ ถ้าบุคคลผู้ใดได้รู้ธาตุก็ประเสริฐนักแล.....”

   หลักการในลัทธิเต๋า หลักการ “หมุนเวียน” ของลัทธิเต๋า  ได้กล่าวถึง กฎการสร้างและการทำลาย ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับธาตุต่างๆคือ 

การสร้าง ไฟ สร้างดิน  ดิน สร้างโลหะ  โลหะ สร้างน้ำ  น้ำ สร้างไม้  ไม้ สร้างไฟ  การทำลาย  ไม้ ทำลายดิน(โดยการปกคลุม)  ไฟ ทำลายโลหะ 

(โดยการหลอมละลาย)  ดิน ทำลายน้ำ(โดยการกั้นขัง)  โลหะ ทำลายไม้(โดยการตัด)  น้ำ ทำลายไฟ(โดยการดับ)

   หลักวิชาการแพทย์โบราณ ในพระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ อันเก่าแก่ของไทย ได้ให้ความสำคัญกับธาตุทั้ง ๔ และอิทธิพลของฤดูกาล โดยเชื่อว่า 

ธาตุทั้ง ๔ จะต้องอยู่ในภาวะสมดุลกับร่างกายจึงจะไม่เจ็บป่วย โดยธาตุดินอาศัยน้ำทำให้ชุ่มและเต่งตึง อาศัยลมพยุงให้คงรูปและเคลื่อนไหว 

อาศัยไฟให้พลังงานอุ่นไว้ไม่ให้เน่า น้ำต้องอาศัยดินเป็นที่เกาะกุมซับไว้มิให้ไหลเหือดแห้งไปจากที่ควรอยู่ อาศัยลมทำน้ำไหลซึมซับทั่วร่างกาย

ลมต้องอาศัยน้ำและดินเป็นที่อาศัย นำพาพลังไปในที่ต่างๆ ดินปะทะลมทำให้เกิดการเคลื่อนที่แต่พอเหมาะ ไฟทำให้ลมเคลื่อนที่ไปได้ ในขณะ

ที่ลมสามารถทำให้ไฟลุกโชน เผาผลาญมากขึ้นได้ จะเห็นได้ว่าธาตุทั้ง ๔ ต่างอาศัยซึ่งกันและกัน จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ และหากธาตุใดธาตุ

หนึ่งแปรปรวนก็จะเสียความสมดุลทันที

   หลักการของศาสตร์ต่างๆ ตามหลักของศาสตร์โบราณอันเป็นรากเหง้าของศาสตร์สมัยใหม่ก็ล้วนมีความสัมพันธ์กับเรื่องธาตุ เช่น หลักดารา

ศาสตร์  โหราศาสตร์ พิชัยสงคราม เป็นต้น

           ธรรมชาติวิปริต

   ภูมิปัญญาโบราณส่วนใหญ่จะเน้นความสำคัญของจิตใจมากกว่าวัตถุซึ่งนำไปสู่แนวความคิดที่ว่า สาเหตุที่วัตถุและสิ่งภายนอกทั้งหลายวิปริต

แปรปรวนก็เนื่องมาจากศีลธรรมในจิตใจมนุษย์เสื่อมลงนั่นเอง

    ธาตุลมกำเริบ แผ่นดินไหว

  ในปรินิพพานสูตร พระพุทธองค์ ได้ตรัสบอกเหตุแห่งแผ่นดินไหวแก่ พระอานนท์ ว่าเกิดจากเหตุ ๘ ประการคือ

    ๑. ลมกำเริบ  

    ๒.ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล

    ๓.พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตลงสู่พระครรภ์

    ๔. พระโพธิสัตว์ประสูติ

    ๕. พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ๖.พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

    ๗.พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขาร

    ๘.พระตถาคตเจ้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

      มูลเหตุจากข้อ ๓ – ๘ นั้นย่อมไม่มีอันตรายแก่สัตว์โลกแต่อย่างใด  จะมีก็แต่เรื่องลมกำเริบกับผู้มีฤทธิ์บันดาลเท่านั้น  เรื่องของลมกำเริบนี้

ครูบาอาจารย์ผู้มีญาณหยั่งรู้ท่านเล่าว่าไม่ใช่แค่ลมหรือพายุที่พัดให้เห็นบนพื้นโลกนี้เท่านั้น  แม้ใต้พื้นโลกที่ลึกลงไปก็เต็มไปด้วยลมร้อนที่มี

แก๊สแรงดันสูงอยู่มากมายมหาศาลเคลื่อนตัวอยู่  

   บาปหนา(อนันตริยกรรม) ธาตุดิน แผ่นดิน ก็รองรับไว้ไม่ได้

   อนึ่ง กรรมอันหนักหนาสาหัสคือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ประทุษร้ายพระพุทธองค์ตั้งแต่ทำให้พระบาทห้อเลือด(โลหิตุบาท)ขึ้นไป และยุยงสงฆ์ให้แตก  

สามัคคิ(สังฆเภท)  เหล่านี้เป็นธาตุแห่งอกุศลที่หนักมาก  ธาตุดินรวมทั้งผืนแผ่นดินทั้งหมดก็ไม่อาจจะรองรับเอาไว้ได้ ต้องจมดิ่งลงสู่ธาตุแห่ง

อเวจีนรก หรือที่เรียกว่า ธรณีสูบ นั่นเอง

   สัตว์ทั้งหลาย เข้ากันได้ คบกันได้...  โดยธาตุ

  ในธาตุโสสังสันทนสูตร มีข้อความว่า  “.....ภิกษุทั้งหลาย เมื่อว่าโดยธาตุ  สัตว์ทั้งหลาย เข้ากันได้ คบกันได้ กับสัตว์คือ สัตว์ที่มีนิสัยเลว

 เข้ากันได้ คบกันได้ กับสัตว์ที่มีนิสัยเลว  สัตว์ที่มีนิสัยดีงาม เข้ากันได้ คบกันได้ กับสัตว์ที่มีนิสัยดีงาม.....”

  ใน สตาปารัทธสูตร มีข้อความว่า “.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำนมสดกับน้ำนมสดย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ น้ำมันกับน้ำมันย่อมเข้ากันได้ 

ร่วมกันได้ เนยใสกับเนยใสย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ น้ำผึ้งกับน้ำผึ้งย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ น้ำอ้อยกับน้ำอ้อยย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ แม้ฉันใด

สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์

จำพวกที่มีอัธยาศัยดี.....”

    จะสังเกตได้ว่าคำว่าธาตุกินความหมายกว้างไปถึงอัธยาศัยด้วย  อานิสงส์ใหญ่

 ตามอรรถกถาคำว่า “ธาตุ” มีความหมายครอบคลุมกว้างขวางมาก  เพราะนอกจากจะหมายถึง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งรวมแล้วเรียกได้ว่าเป็น

“วัตถุธาตุ” หรือ “รูปธาตุ” แล้ว ก็ยังมี “อรูปธาตุ” หรือธาตุที่เป็นนามธรรม  การศึกษาเกี่ยวกับธาตุอย่างละเอียดในแง่ของลักษณะและคุณ

สมบัติของธาตุเหล่านี้มีผลทำให้คนเราเข้าใจธรรมะและความว่างได้มากยิ่งขึ้น

  แม้ว่ามุมมองเรื่องของธาตุในบางด้านดูค่อนข้างจะชวนให้มัวเมาลุ่มหลงอยู่กับเรื่องของอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากจนเกินไป แต่อานิสงส์อันยิ่ง

ใหญ่ของธาตุกรรมฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้นั้นก็คือ การทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในบุคคลตัวตนเราเขา ซึ่งกลับจะดูเหมือนพุ่งตรงไปสู่เป้า

หมายของความรู้แจ้งและการหลุดพ้นเลยทีเดียว

      จากธาตุกรรมฐาน สู่ต้นธารแห่งความเมตตา

   คำว่า “เมตตาธรรมค้ำจุนโลก” นั้นเป็นหลักความจริงที่ยอมรับกันทั่วไปในทุกชาติศาสนา แต่ในความเป็นจริงแล้วมิใช่ว่าจะสร้าง เมตตา

ธรรม อันบริสุทธิ์กันได้ง่ายๆ  มีพระวิปัสสนาจารย์อาวุโสและนักปฏิบัติธรรมท่านได้ให้คำอธิบายว่า  เมตตาของปุถุชนนั้นยังเจืออยู่ด้วยราคะคือ

ความกำหนัดยินดีทางกามรมณ์และความยึดถือตัวตนอยู่มาก  ผู้ที่จะเจริญเมตตาพึงพิจารณากายตนเองว่าประกอบด้วยอาการ 32 คือ เกสา 

ผม  โลมา ขน...ฯลฯ เป็นต้น รวมทั้งพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ก็จะคลายความกำหนัดยินดีและการยึดมั่นในตัวตน ก็จะรักตนเองได้อย่างถูก

ต้องคือ “เมตตาตน” 

   เมื่อรักตนเองได้อย่างถูกต้องก็จะสามารถรักผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเช่นกันคือ “เมตตาผู้อื่น”(เพราะตนเองกับผู้อื่นก็ไม่ต่างกัน มี ธาตุสี่ ขันธ์ห้า

อันเป็นก้อนทุกข์ มี โลภ โกรธ หลง ครอบงำให้จมอยู่ในความทุกข์)   จากนั้นก็จะเจริญกลายเป็นเมตตาธรรมแผ่ไปในทิศทั้งปวง

   ผู้ฝึกฝน ธาตุกรรมฐาน ย่อมพิจารณาทั้งธาตุภายในกายตนเองอันมีอยู่ในอาการ ๓๒ และธาตุภายนอกอันมีอยู่ในธรรมชาติ เป็นเหตุให้คลาย

ความกำหนัดยินดีและความยึดมั่นถือมั่นสำคัญตนว่าเป็นเราเป็นเขา ย่อมจะสามารถกำจัดอุปสรรคหรือข้าศึกที่คอยขัดขวางเมตตาธรรมได้ 

สามารถสร้างเมตตาธรรมอันบริสุทธิ์ ค้ำจุน สิ่งแวดล้อม โลก และจักรวาล ได้ในที่สุด

     เรื่องของธาตุมีมาแต่ยุคฤาษีชีไพร

  คำว่า “มุนี” “ฤาษี” “ชีไพร” “ดาบส” และ “ตาปโส” เป็นคำเรียกผู้ทรงศีลที่ชอบปลีกวิเวกเร้นกายอยู่ในที่สงัด เช่น ป่าเขาลำเนาไพร 

ถ้ำ เป็นต้นเพื่อบำเพ็ญตบะอย่างอิสระเสรี  แม้ว่าความหมายนี้ส่วนใหญ่เป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงนักบวชในศาสนาพราหมณ์และลัทธิเต๋า  

แต่โดยความเป็นจริงแล้ววิถีชีวิตเช่นนี้ เป็นวิถีชีวิตโบราณดั้งเดิมวิถีหนึ่งที่ต้องยอมรับกันว่ามีอยู่ทั่วโลกและยืนยงคงอยู่มานานคู่กาลสมัยและคู่

โลกก็ว่าได้  ท่านเหล่านี้ถือสันโดษ เป็นตัวของตัวเอง และมีอิสระในหลักและวิธีปฏิบัติตนซึ่งอาจมีทั้งแบบรวมกันเป็นหมู่คณะแบบ “มีสังกัด” 

หรือ โดดเดี่ยวแบบ“ ไร้สังกัด”ก็ได้  ไม่ว่าคนในยุคสมัยใดจะมองว่าดีหรือร้ายอย่างไรก็ตาม  ในเบื้องลึกแล้ว ผู้คนก็ต้องยอมรับว่าผู้ที่ดำรงอยู่

ในวิถีชีวิตเช่นนี้แหละคือผู้ที่มักจะค้นพบที่มาหรือรากเหง้าของภูมิปัญญาอันสำคัญของมนุษยชาติ

   พวกฤาษีมักจะเชี่ยวชาญในเรื่อง การเพ่งฌาน พระเวท และศาสตร์ต่างๆ ตลอดจนเรื่องของ ธาตุ อันเป็นภูมิปัญญาที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล

พระพุทธองค์ได้ทรงโปรดเหล่าฤาษีในโลกและชั้นภูมิต่างๆ ให้มีดวงตาเห็นธรรมมามากต่อมากและเป็นที่ทราบกันดีว่า  ต่อมาฤาษีก็กลายเป็น

ผู้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องพิทักษ์รักษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

           เรื่องเล่าจากภูพาน

  เมื่อสมัยที่ผู้เขียนยังเด็กนั้นพวกผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า  ชาวบ้านแตกตื่นพากันไปรักษาโรคกับพระธุดงค์ที่มาปักกลดอยู่ในป่าแถบเทือกเขาภูพาน

พอคนเจ็บป่วยไปถึงท่านก็จะมองพิจารณาดูสักหน่อยหนึ่ง  แล้วก็จะชี้ไปตามต้นไม้ใบหญ้าพื้นเมืองที่คุ้นเคยแถวนั้นแหละให้เอาไปต้มกินหรือ

ทำยารักษา  บางทีก็บอกวิธีที่จะรักษาให้หายได้แล้วให้โยมไปรักษาเอาเอง  เมื่อผู้ป่วยทำตามที่ท่านว่าก็หายได้จริงๆ   ผู้คนชาวบ้านยิ่งร่ำลือก็ยิ่ง

พากันไปมากจนท่านไม่เป็นอันบำเพ็ญภาวนา  ในที่สุดก็ได้ข่าวว่าท่านถอนกลดออกเดินธุดงค์ไปเสียแล้ว

    พวกผู้ใหญ่บอกว่าท่านเรียนสำเร็จทางธาตุ คือ  ใช้ “ธาตุ” หรือ “คาถาธาตุ” เป็นองค์บริกรรมภาวนาจนจิตสงบเป็นสมถะกรรมฐาน  

ดวงจิตมีอำนาจเหนือธาตุต่างๆ สามารถจะนำมาใช้คุณประโยชน์และบันดาลให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆได้มากมาย  ต่อไปเมื่อภูมิจิตภูมิ

ธรรมสูงขึ้น ก็จะสามารถแยกธาตุแยกขันธ์รู้แจ้งแทงตลอดในวิปัสสนาญาณจนปล่อยวางสู่นิพพานได้

   การฝึกฝนธาตุนั้นมีข้อดีคือจะรู้ในร่างกายของตนว่าเจ็บป่วยหรือสมบูรณ์ดีอย่างไร ร่างกายต้องการธาตุอะไรบ้าง  จะกินอะไรเข้าไปจึงจะพอ

เหมาะและทำให้แข็งแรง  นอกจากรู้ในตนเองแล้วยังรู้เกี่ยวกับคนอื่นและสถานที่ต่างๆ ด้วย เช่น บ้านไหนมีคนป่วยหรือมีคนจะตายก็รู้  สามารถ 

“หนุนธาตุ” และ “แปรธาตุ” ต่างๆได้ไม่รู้จบ

   วิชาธาตุนั้นเชื่อว่ายังมิได้สูญหายไปในปัจจุบัน  ยังมีพระภิกษุและฆราวาสที่ฝึกฝนปฏิบัติด้านนี้สำเร็จและยังมีชีวิตอยู่  แต่การเรียนธาตุนั้นมี

เรื่องอันตรายน่ากลัวอยู่บ้าง  เพราะมีคำร่ำลือมาแต่โบราณว่าถ้าท่องบริกรรมผิดแม้เพียงอักขระเดียวก็อาจทำให้เสียสติเป็นบ้าไปได้   ญาติ

ของผู้เขียนเล่าว่า  มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งไปปฏิบัติอยู่ผู้เดียวในป่าแถบ เทือกเขาภูพาน  ตอนกลางคืนก็ไปนั่งใกล้หน้าผาสูงชันปฏิบัติอยู่จนดึก

ดื่น  จู่ๆ ก็มีพระแก่ๆ มาหาซึ่งเณรบอกว่าเป็น “อาจารย์ใหญ่” ท่านมาสอนให้บริกรรมภาวนาว่า “นะ  โม  พุท  ธา  ยะ” หรือ พระคาถา

พระเจ้าห้าพระองค์ นั่นเอง ท่านบอกว่าให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ  ทำได้แล้วท่านจะมาสอนต่อให้อีก

   ความจริงเรื่อง “อาจารย์ใหญ่” นี้เป็นที่รู้จักดีของพระภิกษุนักปฏิบัติตามป่าเขา เพราะบุญญานิสงส์ของผู้ที่เป็นนักปฏิบัติจริง ตั้งอยู่ในสุจริต

ธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น  ทำให้เข้าไปอยู่ในข่ายแห่งญาณของ “อาจารย์ใหญ่” ที่เล็งดูหมู่สัตว์ผู้ใฝ่ธรรมอยู่  ท่านก็จะมา

โปรดให้เป็นพิเศษ ข่ายของญาณที่ว่านี้ไม่ใช่แต่ว่าแค่ภูพานเท่านั้น  ทั้ง อีสาน กลาง เหนือ ใต้ พม่า ลาว เขมร หรือแม้กระทั่งภูมิชั้นอื่นๆ ท่าน

ก็ไปสอนได้ทั้งนั้น

   ผู้มีบุญบารมีถึงนั้นจัดว่าเป็นผู้อยู่ ใกล้ ในทางธรรมกับพระครูบาอาจารย์เสมอ  แต่ในรอบร้อยปีจะมีสักกี่คนที่ปฏิบัติแบบกล้าอุทิศชีวิตบูชา

ธรรมจริงๆ  ในขณะเดียวกันแม้ผู้ที่อยู่ใกล้พระครูบาอาจารย์ก็นับว่าเป็นผู้อยู่ไกล อยู่นั่นเองถ้าหากบุญบารมียังไม่ถึง

   มีเรื่องเล่าว่า สามเณรน้อยรูปหนึ่ง ติดตามรับใช้พระอาจารย์ผู้ปฏิบัติอยู่ในป่าเป็นเวลานานจนผูกพันกับพระอาจารย์มาก  อยู่มาวันหนึ่งท่าน

อาจารย์พิจารณาแล้วเห็นว่าวาสนาบารมีของเณรนั้นยังต้องกลับไปอยู่ทางโลก  จึงได้บอกว่าให้กลับไปบ้านเถอะ  ต่อจากนี้อาจารย์จะธุดงค์เดี่ยว

ไป ภูหินหนามหน่อ ที่ ฝั่งลาว (เป็นภูเขาที่มีหินงอกตามพื้นเป็นหนามเป็นหน่อแหลมคมซึ่งเป็นอันตรายต่อการเดินเท้า)  สามเณรรู้สึกอาลัย

อาวรณ์  พระอาจารย์มากก็อ้อนวอนขอตามท่านไปด้วยแต่ท่านยืนยันไม่ยอมให้ไป  ในที่สุดก็จำใจลาท่านอาจารย์

  เมื่อท่านไปแล้วสามเณรก็กลับใจหวนคิดที่จะติดตามไปอีก  จึงเดินทางไปฝั่งลาวตามลำพังด้วยความเด็ดเดี่ยว  พอไปถึงฝั่งลาวก็เที่ยวถามหา

ภูหินหนามหน่อไปเรื่อยๆ  จนกระทั่งไปถึงและพยายามเดินทางด้วยความยากลำบาก  แม้ว่าหน่อหินตามพื้นที่แหลมคมทิ่มตำเท้าและแข้งขาก็

สู้อดทนต่อความเจ็บปวดด้วยความศรัทธาและผูกพันในพระอาจารย์เป็นที่สุด  ในที่สุดก็ไปถึงถ้ำแห่งหนึ่งบนเขาซึ่งคิดว่าอาจารย์อยู่จึงเดินเข้า

ถ้ำ  จู่ๆ ก็มีงูตัว ใหญ่มหึมาเท่าต้นตาลแผ่พังพานปิดปากถ้ำไว้  สามเณรน้อยตกใจกลัวมาก  แต่พอตั้งหลักได้ก็ไม่ทิ้งความตั้งใจเดิม  ตัดสินใจว่า

ตายเป็นตาย  จึงกลั้นใจ มุดใต้ท้องงูเข้าไปในถ้ำทันที  พอไปโผล่ข้างในก็เห็นอาจารย์ทำหน้าดุถมึงทึงอยู่พลางตวาดเสียงดังปานฟ้าผ่า

      “มาทำไม.....  สั่งแล้วยังไงไม่ให้มา..  กลับไปเดี๋ยวนี้..”

   สามเณรอับจนหนทางเพราะจำต้องเชื่อฟังพระอาจารย์จึงยอมกลับ  ต่อมาก็ได้ลาสิกขาออกมาแล้วพอโตเป็นหนุ่มก็แต่งงานมีครอบครัวตาม

ประสาชาวชนบท   กล่าวกันว่าปุถุชนคนทั่วไปที่มุ่งเจริญภาวนาสั่งสมบ่มบารมี  ถ้าบริกรรมภาวนาพระนามของ “พระเจ้าห้าพระองค์” ย่อม

จะได้อานิสงส์มาก  คือ ภาวนาว่า นะ โม พุทธ า ยะ อันนี้ไม่ต้องกลัว

    คำว่า “นะ  โม  พุท  ธา  ยะ” นี้เป็น แม่ธาตุใหญ่ ในพระคาถาธาตุ  เป็นพื้นฐานของธาตุรองลงมาคือ นะ มะ พะ ทะ และ จะ ภะ กะ สะ เป็นต้น

   ฉะนั้น หากผู้ใดมีศรัทธาหรือจริตชอบในเรื่องธาตุจะบริกรรมภาวนาว่า “นะ  โม  พุท  ธา  ยะ” จนจิตสงบก็ไม่มีอันตรายใดๆ และยังเป็น

พื้นฐาน ที่ดียิ่งต่อการเรียนธาตุอย่างพิสดารต่อไป  เมื่อจิตสงบแล้ว  การติดต่อกับครูบาอาจารย์โดย “ทางใน” ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอีกต่อไป

   อมตะเถระไร้รูปไร้รอย

      แม่ของผู้เขียนเป็นครูบ้านนอกคนหนึ่งในสมัยที่ครูประชาบาลยังต้องขี่ม้าไปประชุม  ท่านมีศรัทธาในเรื่องการบุญมากและมีโอกาสได้ไปทำ

บุญกับพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่งซึ่งอยู่ที่ถ้ำบนภูแถบเทือกเขาภูพาน  พระอาจารย์ท่านปฏิบัติทำความเพียรอยู่ในถ้ำแถวนี้หลาย

ถ้ำ บางปีอยู่ถ้ำล่างบางปีก็อยู่ถ้ำบนของภูเขา  บางปีไปอยู่ถ้ำใต้น้ำตกต้องอมแก่นไม้ไว้ป้องกันความชื้น  บางปีฉันแต่ข้าวโพดนึ่งวันละมื้อหรือ

หลายวันจะฉันสักครั้งหนึ่ง  บางครั้งทำความเพียรต้องเสวยวิบากกรรมคือมดมากัดกินหนังขอบตาท่านจนขาดวิ่นเป็นแผลท่านก็ไม่ยอม

กระดิกกระเดี้ยแม้แต่น้อย  ลูกศิษย์เล่าว่าเสือที่ว่าดุในแถบนั้นดูเหมือนท่านจะรู้จักทุกตัวเพราะท่านเรียกมากินน้ำมนต์เพื่อไม่ให้มันดุร้ายกินคน

อีกต่อไปแต่ก็มีอยู่ตัวหนึ่งไม่ยอมกิน  ท่านบอกว่าตัวนี้มันกินคนมาสองคนแล้วดังจะเห็นได้ที่หูของมันมีลายขีดเพิ่มขึ้นสองขีด  แม่ของผู้เขียน

เคยตั้งอกตั้งใจถักย่ามอยู่ทั้งคืนตลอดรุ่งเพื่อเอาไปรวมเป็นกองบุญถวายทานแด่ท่านซึ่งท่านก็รับและอนุโมทนาแก่ญาติโยม  พอลูกศิษย์บอกว่า

ย่ามนี้ครูผู้หญิงคนนั้นเขาถักมาถวายท่านก็เพียงแต่ปรายตาชำเลืองมองอยู่ไกลๆ จากหลังเขาเท่านั้นเพราะท่านสำรวมระวังเรื่องเพศตรงข้าม

มาก

  น้องชายของแม่ที่ไปบวชเป็นเณรอุปัฏฐากบอกถึงความเคร่งครัดในศีลและวัตรปฏิบัติของท่านว่า  อาหารที่โยมนำไปถวายนั้นถ้ามีเส้นผมสัก

เส้นหนึ่งปนอยู่ท่านก็จะรู้ด้วยญาณและก็จะไม่ฉัน  แม้บ่อน้ำตรงพลาญหินหากมีข้าวสักเม็ดตกลงไปท่านก็จะรู้เช่นกันแล้วก็จะบอกให้ล้างบ่อทำ

ความสะอาดใหม่ทันที

   วันหนึ่งคณะศิษย์ไปกราบถึงถ้ำที่อยู่ของท่านเห็นบ่อน้ำบนหินดินดานลดหลั่นกันลงไปหลายบ่อนั้นมีรอยเหมือนมีอะไรมาขูดฝนหรือเสียดสี

จนเกลี้ยงเกลาเงาเป็นมันก็แปลกใจอดสงสัยไม่ได้เลยถามท่านว่ารอยอะไรก็ได้รับคำตอบว่ารอยแก้ว..  ..แก้วจะมาเล่นที่บ่อลานหินนี้ในคืน

วันเพ็ญ...

   ลูกศิษย์ยังเคยเห็นท่านขนย้ายหีบตำรับตำราและสมบัติมากมาย  ท่านบอกว่าย้ายเอาไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเดี๋ยวคนไม่ดีจะมาพบเข้า  

สิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติในยุคสมัยของ พระศรีอารย์เมตไตรย์เจ้า จึงต้องเอาไปเก็บไว้ให้ดี  ท่านเอาเชือกหนังมัดหีบหย่อนลงไปทางหน้าผาแห่งหนึ่ง

ที่ภูพานเพื่อเอาไปเก็บไว้ในถ้ำที่ปลอดภัย

   ท่านอาจารย์เคยเล่าให้ศิษย์ฟังว่า ท่านอาจารย์ใหญ่ ของท่านจะมาสอนในเวลากลางคืน  แถบเทือกเขาภูพาน ภูลังกา ทั้งภูฝั่งลาว  ท่านผ่าน

ไปมาอย่างอิสระไร้ร่องรอย  ตามคำบอกเล่าของญาติๆ ผู้เขียนนั้นค่อนข้างจะเป็นที่แน่ใจได้ว่า พระอาจารย์ท่านนี้คงเคยฝึกกรรมฐานตาม

ตำราเดินธาตุแบบดั้งเดิม  สังเกตได้จากคำบูชาเริ่มต้นก่อนปฏิบัติจะมีพระคาถาว่า

    นะร่วมจิต  โมร่วมใจ  สังโฆหลงใหล  ร่วมใจพุทโธมา.....

  ก่อนที่ท่านจะละสังขารนั้น  ท่านบอกให้ลูกศิษย์ไปตัดไม้แดงมากองสูงมากเหมือนกองฟอน  พอใครถามก็หัวเราะหึๆ บอกว่าจะเอามาทำฟืนต้ม

น้ำร้อนฉันแต่ก็ให้หามาเยอะๆ  ท่านบอกเป็นนัยๆ ว่าจะย้ายไปอยู่ ถ้ำบน  พวกลูกศิษย์ฆราวาสผู้ชายก็พูดเยาะเย้ยฝ่ายหญิงเล่นๆ ว่าต่อไปจะขึ้น

ไปหาพระอาจารย์ได้แต่พวกผู้ชายเท่านั้นนะ  เพราะพวกเขาคิดว่า  ถ้ำบน ที่พระอาจารย์ว่านั้นคือถ้ำบนยอดภูซึ่งปีนขึ้นไปยากมาก  ที่ไหนได้  

ประมาณสามเดือนหลังจากนั้นพระอาจารย์ก็มรณภาพอย่างสงบและยังสั่งเสียให้เผาสังขารของท่านที่กองฟอนไม้แดงที่ก่อขึ้นสูงนั้นเอง

  คุณลุง ของผู้เขียนได้รับสืบทอด ตำรับวิชาธาตุแบบโบราณ มาฉบับหนึ่ง  ได้พยายามถ่ายทอดฝากไว้กับลูกหลาน  แต่เมื่อได้อ่านดูเนื้อหาที่

กล่าวย้ำตักเตือนเอาไว้ถึงอันตราย และข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว ทำให้ลูกหลานไม่ค่อยจะกล้าฝึกฝนนัก  แม้ผู้เขียนคิดจะบอกเล่าถ่าย

ทอดออกไปก็ยังหวั่นเกรงว่าจะมีความผิดพลาดในอักขระเนื้อความ  จึงคิดว่าหากจะต้องบอกเล่าถ่ายทอดในเรื่องนี้  จะต้องนำเสนออย่าง

ระมัดระวังและตรงไปตรงมา  หากส่วนใดเป็นเรื่องที่ได้รับคำบอกเล่ามาไม่มีหลักฐานข้อพิสูจน์ใดๆ ก็จะเรียนตามตรงอย่างนั้น  หากส่วนใดที่ได้

จากผู้มีประสบการณ์ มีหลักฐานข้อพิสูจน์และกรณีศึกษาอย่างชัดเจนก็จะเรียนให้ทราบ

      การสืบเนื่องที่ผสมผสาน

  นับแต่โบราณมาเชื่อกันว่าผู้ที่เข้าถึงคุณธรรมขั้นสูงนั้นท่านรู้และเข้าใจดีว่า  เรื่องของ การเล่นฌาน วิชา และศิลปะศาสตร์ ทั้งหลายเปรียบ

เสมือนกีฬาทางจิต มิใช่แก่นธรรม  เป็นเหมือนเปลือกหรือกะพี้ที่ห่อหุ้มแก่นเอาไว้แต่ก็ยังต้องอิงอาศัยกัน

  การเจริญธาตุที่จะนำพาให้เข้าถึงแก่นธรรมได้นั้นคือ ธาตุกรรมฐาน ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ คือทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่น ในขณะ

เดียวกัน ผู้ฝึกฝนก็ย่อมจะมีความรู้ความเข้าใจและความชำนาญในเรื่องของธาตุเป็นพิเศษ

   ฉะนั้น การฝึกฝนยอดวิชาเดินธาตุโดยมิได้ซาบซึ้งเข้าถึงธาตุกรรมฐาน จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากยิ่งหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย แต่สำหรับผู้

เจริญธาตุกรรมฐานจนจิตได้รับความสงบ หากต้องการเข้าถึงยอดวิชาเดินธาตุก็ย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย

          มรดกที่ยากแก่การสืบทอด

   คนรุ่นหลังที่สนใจเรียนธาตุมักจะมีความรู้สึกว่า วิชาธาตุเป็นวิชาชั้นยอดและน่าสนใจอันดับต้นๆ แต่ทำไมจึงหาคนฝึกกันยากนัก  นอกจากมี

ความเป็นมาลี้ลับแล้วก็ยังมีข้อจำกัดมากหลาย ทั้งยังไม่มีความมั่นใจว่าตำรับไหนที่เป็นของแท้และดีจริง  ในเรื่องนี้อาจจะต้องหาคำตอบโดยการ

ทำความเข้าใจในเรื่องอดีตบ้าง

           อิทธิฤทธิ์ กับ อันตราย

  มีเรื่องราวที่เปรียบเทียบให้เห็นอันตรายหรือบาปกรรมที่เกิดจากการกระทำว่า  ถ้าบุรุษกำยำล่ำสันแข็งแรงถือดาบคมตั้งใจจะฆ่าคนในชั่วอึดใจ

อย่างมากก็ฆ่าได้เพียงยี่สิบสามสิบคนเท่านั้น  แต่ผู้มีฤทธิ์สามารถฆ่าได้เป็นหมื่นเป็นแสนคน  คิดดูว่าอันตรายของการใช้ฤทธิ์นั้นมีมากมาย

แค่ไหน การควบคุมคนไม่ดีที่มีฤทธิ์นั้นเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญเพียงไร

  เรื่องของวิชาธาตุที่ทรงอานุภาพก็เช่นกัน  แม้จะปกปิดซ่อนเร้นและมีข้อจำกัดเพียงไรก็ยังมีผู้ศึกษาและนำไปใช้ในการสงครามกันอย่างกว้าง

ขวางในอดีต  นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นำไปใช้ในการเบียดเบียนและเอาเปรียบผู้อื่น  ลองคิดดูเถิดว่าทำไมปรมาจารย์ในอดีตถึงได้ป้องกันวิชาของ

ท่านนักหนา ก็เพราะท่านต้องป้องกันอันตรายและบาปกรรมนั่นเอง  มิเช่นนั้น การให้วิชาก็ไม่ต่างกับการโยนมีดและของมีคมให้เด็กเล่น ผู้เล่น

ที่ไม่เข้าใจ เล่นไม่เป็น และควบคุมไม่ได้ ก็จะเกิดโทษ

           สูตรพิสดาร เคล็ดลับ และความขลัง

    ก่อนอื่นนั้นคงต้องยอมรับว่า ทุกๆส่วนในสังคมสมัยโบราณย่อมมีความแตกต่างจากปัจจุบัน  ลักษณะของการถ่ายทอดวิชาของคนแต่ก่อน

แม้ว่าค่อนข้างจะมีสูตรที่พิสดารและยากจะเข้าใจ แต่ก็มีนัยแฝงด้วยคุณค่าและความหมายไม่น้อย

    การท่องจำ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งในสมัยก่อน  แม้แต่การเรียนพระไตรปิฎกก็ถือเป็นของสูง ต้องท่องเนื้อความเป็น ปริมัท ซึ่งมีความเชื่อมโยง

ทั้งอักขระและธาตุ เช่น ...นะมะอะสุ  กุสันโทจะ  สันญาณติสันญาณโต  สันญาณนะโภคัง  นะวะรัง  คะเจมิ  นะสินะเสนะโส  ตั้งเป็นตัว นะ 

นะปุนะปะ  นะอะคะตังโข  ตั้งเป็นตัว โม  นะธัมมะคะเต  นะเสโส  ตั้งเป็นตัว พุทธ  นะธัมมะคะโร  สันญาณโต  ทาเรโป  ตั้งเป็นตัว ทา นะปุนะปะ  

นะอะคะตังโข  ตั้งเป็นตัว  สัญญายะโต  บังเกิดเป็นตัว ยะ  นะสุเสโส  รวมสันญาณติสันญาณโต  ตั้งว่า นะโมพุทธายะ  อย่างนี้เอาแค่เริ่มต้นตั้ง 

นะ โม พุทธ า ยะ ใน ปริมัทที่ ๑ ก็ไม่ใช่ง่ายแล้ว

   สมัยที่ หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า ท่านเรียนคาถา วิชารวมธาตุ จาก หลวงพ่อสอน ซึ่งสืบต่อมาจาก หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว นั้นเล่า

กันว่า ต้องเอากระดานชนวนมาเขียนตัวบทกลับไปกลับมาเพื่อให้ลงเป็น ๑๒ เขียนๆลบๆอยู่ทั้งคืนจนใกล้สว่างจึงสำเร็จวิชารวมธาตุ

  คุณตาทวด ของผู้เขียนเคยเรียนวิชาที่ถ่ายทอดแบบ ให้ดูได้เพียงครั้งเดียว มาแล้ว  ท่านต้องอาศัยความตั้งใจอย่างแรงกล้าและความทรงจำ

อันอันเยี่ยมยอด ในการดูและอ่านจบเพียงรอบเดียว  แล้วก็หลับตาบริกรรมจนจำได้ พอจำได้แล้วก็เผากระดาษที่จารึกพระคาถานั้นให้ไหม้เป็น

ขี้เถ้าเอามาเคล้าน้ำมันแล้วทาทั่วตัว จากนั้นก็บริกรรมไปเรื่อยๆจนขึ้นใจ

  ผู้เขียนเองก็เคยรับการถ่ายทอดแบบ ฟังเพียงครั้งเดียว มาแล้ว เป็นคาถาเกี่ยวกับแก้วสี่ดวงบทหนึ่ง ก็จำได้จนบัดนี้แต่ไม่อาจจะจารึกเป็น

อักษรบอกต่อ  เพราะมีข้อห้ามคือ ห้ามจด ห้ามเขียนบันทึก  จะสอนกันได้แต่ปากเปล่าเท่านั้น

 ฉะนั้นจึงขอเรียนให้อนุชนรุ่นหลังได้เข้าใจว่า  ทำไมวิชาเดินธาตุจึงไม่ปรากฏเป็นวิชาที่ศึกษาหาความรู้ได้เป็นสากล  การสืบสายวิชานั้นก็

ต้องเคารพและเคร่งครัดในหลักเกณฑ์ของเจ้าตำรับวิชา เพราะเป็นเรื่องของสัจจะและยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ลึกซึ้งที่เรายังไม่อาจเข้าใจได้

ทั้งหมด

      -ฝึกเองไม่ได้หรือ?

   คำถามนี้เกิดขึ้นในใจของผู้ที่ฝักใฝ่ในการค้นคว้าฝึกฝน  หากตอบตามทัศนะของผู้เขียนก็ขอเรียนว่ามีความเป็นไปได้เหมือนกัน  ทั้งนี้ ผู้ฝึก

ก็ควรจะมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างพอสมควร  ที่สำคัญคือต้องตรวจสอบเทียบเคียงตำราหลายๆฉบับให้ดี  อาจจะพิมพ์ถูกพิมพ์ผิดก็ไม่แน่

 นอกจากจะตรวจสอบความถูกต้องทางการบันทึกแล้ว  ก็ควรมีหลักทางไสยศาสตร์พิจารณาร่วมด้วย เช่น เรื่องของ คาบ เป็นต้น

   การภาวนาเป็นคาบมีทั้ง ไปหน้า ถอยหลัง ไปกลับ หมุนวน และถอด  ถ้า หมุนวน ก็ต้องกำหนดเริ่มต้น แล้วไล่ตามลำดับ แล้วกลับมาบรรจบที่

เดิม เช่น  ๑ ๒ ๓ ๔ ๕    ๒ ๓ ๔ ๕ ๑    ๓ ๔ ๕ ๑ ๒    ๔ ๕ ๑ ๒ ๓    ๕ ๑ ๒ ๓ ๔  ถ้าเป็น อักขระ นะ โม พุทธ า ยะ  เราก็แทนค่าได้ว่า  นะโมพุทธายะ  

โมพุทธายะนะ  พุทธายะนะโม  ธายะนะโมพุท  ยะนะโมพุทธา เป็นต้น

   ถ้าการสลับอักขระเห็นแล้วดูผิดจากหลักการเบื้องต้น ก็จำเป็นต้องตรวจสอบยืนยันกับตำราอีกหลายเล่มหรือไปขอคำแนะนำจากผู้รู้มาเทียบ

เคียงกัน   การฝึกเองนั้นเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งก็จริง แต่จะต้องระมัดระวังอย่างรอบคอบและที่สำคัญคืออย่าใจร้อน  ควรฝึกเจริญเฉพาะ

บทแรก เริ่มต้น เพราะความสำคัญอยู่ที่บทแรกขั้นพื้นฐานนี่เอง  ขั้นต่อไปจะเป็นจริงเป็นจังได้ก็เพราะขั้นแรก หากเจริญบทเริ่มต้นจนเกิดสมาธิ

ก็จะเกิดอานิสงส์เหลือที่จะกล่าวอยู่แล้ว

         ควรจะมีบันทึกกันไว้บ้าง เพื่อคนรุ่นหลังที่ค้นคว้า

  ผู้เขียนเชื่อว่าในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีผู้มีความรู้เรื่องวิชาเดินธาตุอยู่ไม่น้อย แต่ท่านเหล่านั้นอาจจะไม่เปิดเผยให้ทราบ  คนที่สนใจจึงได้แต่ค้น

หาจากที่มาและข้อมูลที่ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่นัก

  เรื่องของสายวิชาธาตุที่ทราบกันมานั้นมีที่มาทั้งสาย ลาว พม่า เขมร และไทย เราเอง เพราะภูมิปัญญาในวงการของพระสงฆ์ผู้สืบพระศาสนา

และโบราณาจารย์มิได้ถือการแบ่งแยกเหมือนประเทศเขตแดน

  คนรุ่นหลังอาจเคยได้ยินได้ฟังกันมาว่า แต่ก่อน ทางภาคเหนือก็มี ครูบาเจ้าศรีวิชัย หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเงิน หลวงพ่ออภิชิโต หลวงพ่อสุมโน

ดาบส  ทางอีสานก็มี สมเด็จลุน ครูบาสีทัตถ์ หลวงตาจันทร์พี  ภาคกลางก็มี หลวงปู่ศุข หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อกบหลวงพ่อเนื่อง  ทางภาคใต้

ก็มี หลวงปู่สุภา  สมัยปัจจุบันนี้ก็มี พระอาจารย์มนัส พระอาจารย์สุรศักดิ์ พระอาจารย์รักษ์ พระอาจารย์ภูไทฯลฯ  อันที่จริงแล้วยังมีอีกมากมาย

ที่ผู้คนไม่ได้เอ่ยถึงและอาจลืมไปแล้ว  แม้พระเกจิดังๆที่ท่านปลุกเสกมงคลวัตถุทั้งหลายแทบทั้งหมดก็มักจะเคยเรียนรู้วิชาธาตุมาแล้ว  นอกจากนี้

ยังมีผู้รู้ที่ไม่ ได้เปิดเผยตัวทั้งที่เป็นนักบวชและฆราวาสก็มีอีกมากมาย

  ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรจะมีบันทึกกันไว้บ้าง  อย่างน้อยก็พอเป็นแนวทางให้กับคนรุ่นหลังที่ศึกษาค้นคว้าได้เข้าใจทิศทางที่ถูกที่ควร  เพราะจะ

อย่างไร ผู้ที่มีจริตที่ชอบฝึกฝนด้านนี้ก็ยังคงมีอยู่

   เรื่อง วิชาเดินธาตุ อาจเป็นเรื่องที่มีส่วนปกปิดและเร้นลับอยู่ไม่น้อย แต่ ธาตุกรรมฐาน เป็นพระธรรมคำสอนที่เป็นไปตาม หลักสัจธรรม

สามารถเปิดเผยและพิสูจน์ให้กระจ่างแจ้งได้ทุกเมื่อ  เหมือนหงายของที่คว่ำ และเหมือนออกจากที่มืดไปสู่ที่สว่าง พ.ศ.2512 กับ นิมิตของ

พระเถระ   ผู้เขียนได้รับทราบมาว่า  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ หลวงปู่สุภา  กันตสีโล พระเถระผู้มีอายุยืนที่สุดในโลกของชาวไทย ได้มีนิมิตว่า

  “..ข้าพเจ้าได้เดินทางไปพำนักอยู่ ณ ถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นเรียกกันว่า ถ้ำเขาวัง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ข้าพเจ้าได้พำนัก

อยู่ที่นี้ตลอดมา วันหนึ่งจึงได้นิมิตจากท่านฤาษีองค์หนึ่ง ได้แนะนำให้ข้าพเจ้าจัดพิมพ์ตำรา ที่ค้นคว้ามาตามสถานที่ต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น 

เพื่อให้ยุวชนรุ่นหลังได้นำไปศึกษาเล่าเรียน หากท่านผู้ใดผู้หนึ่งทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ได้บรรลุมรรคผล บางทีข้าพเจ้าอาจสำเร็จก็ได้ นี้เป็น

คำแนะนำของท่านฤาษีซึ่งประจำอยู่ที่ถ้ำเขาวัง..”

   นับเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งที่หลวงปู่วัย ๑๐๕ ปี ซึ่งเคยเป็นศิษย์ของ สมเด็จลุน หลวงปู่สีทัตถ์ และหลวงปู่ศุข ฯลฯ  ได้ส่องญาณนำพาชี้ทางให้

ชนรุ่นหลังได้ศึกษาวิชาเดินธาตุ  ทั้งยังได้แยกคำว่า “พุทธศาสตร์” กับ “ไสยศาสตร์” เพื่อความเข้าใจ

  ผู้เขียนจึงเห็นว่าเป็นนิมิตดีในช่วงเวลาแห่งยุคสมัยที่จะพลิกฟื้นคืนตำนานยอดวิชาธาตุโบราณ  โดยจะได้นำเสนอในส่วน ชีวิตจริงอันพิสดาร

ของผู้ปฏิบัติจริงในเรื่องธาตุ  เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะมีส่วนสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้สนใจเรียนรู้ปฏิบัติจริงต่อไป

       ธาตุกรรมฐานและยอดวิชาเดินธาตุ

 การฝึกฝน ธาตุกรรมฐานและวิชาเดินธาตุตามแบบโบราณ ทั้ง ๒ แบบ นี้  ข้าพเจ้า ชุนคำ  จิตจักร ผู้เรียบเรียง ได้รับอนุญาตโดยตรงจาก

หลวงพ่อทั้งสองท่าน ให้เผยแผ่เป็นธรรมทานได้

     แบบที่ ๑

   ขั้นตอนการปฏิบัติเบื้องต้น 

  โดย หลวงพ่อสุรศักดิ์  อติสักโข  

   ก่อนอื่นนั้น จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันในความหมายของธาตุอย่างคร่าวๆก่อนว่า  คำว่า ธาตุ ในที่นี้ มีความหมายถึง สภาพหรือลักษณะ

อันเป็นที่รวม  อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ ส่วนที่เอิบอาบเหลวไหล  ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน ส่วนที่แข้นแข็ง  เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ ส่วนที่อบอุ่น  

วาโยธาตุ คือ ธาตุลม ส่วนที่พัดไหว  อากาสธาตุ คือ ธาตุอากาศ ส่วนที่เป็นช่องว่าง

  การเจริญธาตุ เริ่มต้นเราจะตั้งจิตไว้เป็น สัญญา ซึ่งแปลว่า ความจำได้หมายรู้ ให้รู้ไว้ ณ จุดหนึ่งที่กำหนดก่อน นึกข้างในกายตรงจุดที่กำหนด

คือ

  จุดแรก ตำแหน่ง นะ ธาตุน้ำ อยู่กลางแก้วตาดำข้างขวา  กำหนดความจำได้หมายรู้ว่าเป็นจุดตำแหน่ง ธาตุน้ำ  ทำซ้ำๆ ทำให้มาก เจริญให้

มาก  ทำจนเกิดความ เคยชิน ชำนาญ และมั่นใจ  ทำจนจำได้หมายรู้แล้วว่า ธาตุน้ำ อยู่ตรงนี้ แล้วจึงค่อย เลื่อนจิต หรือ เอาจิตไต่ไป จุดที่สอง

  จุดที่สอง ตำแหน่ง โม ธาตุดิน อยู่กลางแก้วตาดำข้างซ้าย กำหนดความจำได้หมายรู้ว่าเป็นจุดตำแหน่ง ธาตุดิน  ทำซ้ำๆ ทำให้มาก เจริญให้

มากทำจนเกิดความ เคยชิน ชำนาญ และมั่นใจ  ทำจนจำได้หมายรู้แล้วว่า ธาตุดิน อยู่ตรงนี้ แล้วจึงเลื่อนจิตไปมาระหว่างตำแหน่ง น้ำ คือ กลางแก้วตาขวากับตำแหน่งดิน คือ กลางแก้วตาซ้าย  เป็นการเลื่อนจาก นะ ไปหา โม แล้วเลื่อนจาก โม กลับ มาหา นะ ทำซ้ำๆอยู่อย่างนี้โดยไม่จำเป็นต้องรีบร้อนไปไหน  ทำอย่างสงบสบายให้คุ้นแล้วคุ้นอีก  ไม่ต้องคิดว่าจะต้องรีบต่อไปหาตำแหน่ง พุท ธ า ยะ เลยทีเดียว  ทำอยู่อย่างนี้เป็นกรรมฐานในกายเรา

ไม่ส่งจิตออกนอกกาย  ทำจนจิตสงบรู้ชัดแม่นยำก็จะเกิดความชำนาญ  จากนั้นจึงเลื่อนจิตไป จุดที่สาม

   **หมายเหตุ:- โปรดทำความเข้าใจว่า

    เราไม่ได้เอาจิตกำหนดที่การเห็นภาพ  เพราะเราไม่ได้เพ่งกสิณ ถ้าหากว่าเกิดเห็นภาพหรือเรื่องราวอะไรขึ้นมาก็อย่าไปสนใจใดๆทั้งสิ้น

   เราไม่ได้สำคัญมั่นหมายว่าเป็นอักขระที่เป็นอักษร นะ โม พุทธา ยะ เป็นต้น  เพราะถ้าท่องเป็นอักษรก็จะเป็น คาถา หรือ การถอด ซึ่งไม่ใช่

หลักใหญ่ของ ธาตุกรรมฐาน  ขอให้เข้าใจว่าจิตของเรากำหนดรู้เฉพาะอยู่ใน ความเป็นธาตุ ในจุดตำแหน่งเท่านั้น  คำว่ารู้นี้คือรู้ในความเป็น

ธาตุ เช่น  รู้ว่า น้ำ ก็คือรู้ ความเป็นน้ำ  ตามความจำได้หมายรู้สักแต่ว่าเป็นน้ำ  ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะพิจารณาใดๆ ทั้งนั้น  เพราะเราฝึกธาตุ

 ไม่ได้

  เพ่งกสิณหรือบริกรรมถอดอักขระ  คาถาหรือทำกรรมฐานอย่างอื่น อย่าเอาอารมณ์อื่นมาปะปนกัน  เราต้องมีรากฐานและหัวใจอันแท้จริง

ของ ธาตุกรรมฐาน ก่อนจึงจะถือว่าเป็นแนวทางการฝึกธาตุโดยตรง

   จุดที่สาม ตำแหน่ง พุท ธาตุไฟ อยู่ส่วนลึกของหูทั้งสองข้าง การจำกัดความเพียงแค่นี้อาจจะยังไม่เข้าใจ คืออันที่จริงส่วนลึกของหูทั้งสองนั้น

ในที่สุดก็จะไปบรรจบกันที่จุดเดียว ก็หมายถึงจุดเดียวนี้แหละ อยู่ระดับหูทั้งสอง  ถ้าเล็งจากกลางกระหม่อมเบื้องบนตรงลงมาเบื้องต่ำถึงระดับหูก็

คือตำแหน่งนั้น  เมื่อรู้ตำแหน่งแล้ว ก็กำหนดความจำได้หมายรู้ว่าเป็นจุดตำแหน่ง ธาตุไฟ  ทำซ้ำๆ ทำให้มาก เจริญให้มาก  ทำจนเกิดความ 

เคยชิน ชำนาญ และมั่นใจ  ทำจนจำได้หมายรู้แล้วว่า ธาตุไฟ อยู่ตรงนี้ แล้วจึงค่อย เลื่อนจิตไป จุดที่สี่

   จุดที่สี่ ตำแหน่ง ธา ธาตุลม อยู่ใกล้ลิ้นปี่ระดับเหนือสะดือขึ้นมา 2 “ (สองนิ้วฟุต) แต่อยู่ลึกเข้าไปกลางลำตัว  ถ้าเล็งจากจุดกลางกระหม่อม

ตรงลงมาเบื้องต่ำผ่านจุดตำแหน่ง พุท ธาตุไฟ ลงมา พอถึงระดับเหนือสะดือสองนิ้วก็คือตำแหน่งนั้น  เมื่อรู้ตำแหน่งแล้ว ก็กำหนดความจำได้

หมายรู้ว่าเป็นจุดตำแหน่ง ธาตุลม  ทำซ้ำๆ ทำให้มาก เจริญให้มาก  ทำจนเกิดความ เคยชิน ชำนาญ และมั่นใจ  ทำจนจำได้หมายรู้แล้วว่า 

ธาตุลม อยู่ตรงนี้ แล้วจึงค่อย เลื่อนจิตไป จุดที่ห้า

   จุดที่ห้า ตำแหน่ง ยะ ธาตุอากาศ อยู่หว่างคิ้วตรงตำแหน่งอุณาโลม กำหนดความจำได้หมายรู้ว่าเป็นจุดตำแหน่ง ธาตุอากาศ  ทำซ้ำๆ ทำให้

มาก เจริญให้มาก  ทำจนเกิดความ เคยชิน ชำนาญ และมั่นใจ  ทำจนจำได้หมายรู้แล้วว่า ธาตุอากาศ อยู่ตรงนี้  ขอเรียนเพิ่มเติมว่า ธาตุอากาศ หรือ อากาสธาตุ นั้น คือ ช่องว่าง  ความหมายของช่องว่างก็คือ อะไรๆก็ลอดผ่านไปได้

    **หมายเหตุ:-

   การเอาจิตเลื่อนไปมาตามจุดตำแหน่งต่างๆ เมื่อคุ้นเคยทุกจุดแล้วก็ยังต้องฝึกให้มากต่อไปอีก  โดยอาจ เลื่อนไปมาระหว่างสองจุด หรือ เลื่อนไป

ตามลำดับ หรือ เลื่อนย้อนกลับมา หรือเลื่อนสลับจุดตำแหน่ง สามารถทำได้โดยไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ยิ่งเจริญมากก็ยิ่งดี

   หลวงพ่อเปรียบเทียบยกตัวอย่างเหมือนเราเดินไปหาเสาที่อยู่ในตำแหน่งต่างๆ พอไปถึงแล้วจะเดินต่อไปเสาอื่นเราก็ไม่ได้เอาเสาที่ไปถึงแล้ว

นั้นไปด้วย ฉันใดก็ฉันนั้น  เราเพียงกำหนดรู้ว่าเราอยู่ที่จุดตำแหน่งแล้วก็เลื่อนจิตไป ไม่ได้เอาจุดตำแหน่งนั้นไปด้วย  หลวงพ่อบอกว่าการฝึก

อย่างนี้จะทำให้เราหนุนธาตุได้ง่ายในขั้นต่อไปด้วย

  เมื่อฝึกตำแหน่ง นะ โม พุทธ า ยะ แล้ว  การฝึก นะ มะ พะ ทะ และ จะ ภะ กะ สะ ต่อไปก็จะฝึกลักษณะเดียวกันนี้ไล่ไปตามลำดับ

           (จบขั้นตอนการปฏิบัติเบื้องต้น)

     แบบที่ ๒

   ขั้นตอนการฝึกเดินธาตุเบื้องต้น

   โดย หลวงพ่อมนัส  มันตะชาโต

     การเตรียมตัวทั้งทางกายวาจาใจซึ่งต้องมีศีลเป็นเบื้องต้นและปรับสภาพชีวิตให้เหมาะสมนั้น  ให้ผู้ฝึกฝนทำตามปกติธรรมดาเช่นเดียวกับ

การเตรียมฝึกกรรมฐานอื่นๆ  จากนั้น ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

     ขั้นที่ ๑ การเดินเข้าใน ให้กำหนดจุดภายในร่างกาย คือให้นั่งสมาธิตัวตรง  นึกกำหนดจุดในร่างกายตรง ตำแหน่งความรู้สึกที่หายใจเข้าไป

ในท้อง เมื่อความรู้สึกลมหายใจเข้าไปถึงตรงกับระดับสะดือก็ให้หมายกำหนดเอาจุดนั้น นี่คือจุดที่ ๑  จากจุดที่ ๑ กำหนดต่ำลงไปอีก ๒ นิ้วมือ 

(นิ้วมือตัวเอง) ก็ให้หมายกำหนดเอาจุดนั้น นี่คือจุดที่ ๒  ให้ผู้ปฏิบัติ “เลือก” ตั้งจิตไว้ ณ จุดที่ ๑ หรือ จุดที่ ๒ จุดหนึ่งจุดใด เพียงจุดเดียว

   ตามที่ตนเองพอใจหรือรู้สึกถนัด  เมื่อเลือกจุดและตั้งจิตกำหนดรู้อยู่ตรงจุดนั้นแล้ว ให้บริกรรมว่า นะมะ มะนะ ๆๆๆๆ เรื่อยไป ไม่ใส่ใจต่อสิ่งอื่น

อีก  บริกรรมเรื่อยไป

     ขั้นที่ ๒ การเดินออกนอก ให้กำหนดจุดภายนอกร่างกาย นึกกำหนดจุดนอกร่างกายที่เรานั่งอยู่ซึ่งอาจจะเป็นระดับใดก็ได้แล้วแต่ แต่อยู่นอก

ร่างกาย (ในเบื้องต้นนี้ให้กำหนดใกล้ตัวก่อน ยังไม่ควรกำหนดไกล)  เมื่อกำหนดได้แล้ว ให้บริกรรมเหมือนเดิมคือ นะมะ มะนะ ๆๆๆๆ เรื่อยไป 

ไม่ใส่ใจต่อสิ่งอื่นอีก  บริกรรมเรื่อยไป

    **หมายเหตุ:-

   ๑.การบริกรรม นะมะ มะนะ คือ ธาตุน้ำกับธาตุดิน เป็นเบื้องต้นในขั้นที่ 1 นี้ไม่มีอันตรายใดๆ บริกรรมเรื่อยไปอย่างมีสติ จะทำอยู่นานเท่าใดนั้น

 เป็นเรื่องที่ยากจะบอกหรือระบุเวลาแน่นอนได้ ขึ้นอยู่กับความทุ่มเทเอาจริงเอาจังและวาสนาบารมีของแต่ละคน  คือจะปฏิบัติอย่างนี้เรื่อยไปจน

กระทั่งจิตสงบ จิตสงบคืออะไร คือสงบจากนิวรณ์ ๕  โดยปกติเมื่อก้าวเข้าสู่ความสงบนั้นจะเบากายเบาใจ ตำแหน่งจุดที่กำหนดจิตไว้นั้นจะค่อยๆ 

เลื่อนสูงขึ้นเอง  แต่ถ้าหากถามว่าจะเกิดมีอาการเป็นเช่นนี้เสมอไปหรือไม่หรือเป็นอย่างอื่นก็มี จะมีสภาวะอะไรปรากฏบ้าง และจะเกิดนิมิตอะไร

บ้าง

   คำถามอย่างนี้ครูบาอาจารย์ท่านจะไม่ตอบเฉลยเอาไว้ตายตัว เนื่องจากไม่เป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติ  ครูบาอาจารย์แต่โบราณมาท่านจะปกปิดเอา

ไว้ ทั้งนี้ ก็เพราะเกรงว่าศิษย์จะไปไม่ถึงความสำเร็จ  การไม่บอกให้รู้ล่วงหน้ากลับจะเป็นผลดีกว่าทั้งในด้านการประคับประคองอารมณ์และการชี้

แนะ สำหรับผู้ที่ฝึกปฏิบัติเองก็พึงตรวจสอบตนเองด้วยสติปัญญาอย่างสุขุมรอบคอบว่าจิตสงัดจากนิวรณ์ทั้ง ๕ แล้วหรือยัง ให้ตรวจสอบทบทวน

ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมั่นใจ

   ๒.เมื่อ “เดินเข้าใน” ตามขั้นตอนที่ ๑ แล้ว ก็ให้มากำหนด “เดินออกนอก” ในขั้นตอนที่ ๒ ตามลำดับ จนกระทั่งจิตสงบ  ผู้เขียนได้กราบ

เรียนถามว่า ระหว่างการนึกอักขระคาถา เช่น นะ กับการนึกถึง ความเป็นธาตุ เช่น น้ำ หลวงพ่อสอนให้ปฏิบัติแบบไหน  ท่านตอบว่า สอนให้นึก

อักขระคาถา เพราะทำให้เกิดสติดี  ส่วนการนึกถึง ความเป็นน้ำ ก็ดีแต่ถ้าสมาธิยังไม่ดีก็อาจพลาดได้

   ข้อควรระวังในเบื้องต้นนี้ การกำหนดสติ คือ ต้องระวังอย่าให้ขาดสติ  เมื่อเกิดขาดสติก็อย่าตกใจ ให้ตั้งสติใหม่และภาวนาไป   สำหรับ การ

เดินภายใน นั้น  ถามว่า ถ้าเดินภายในแล้วยังไม่เกิดผลความสงบแต่ก็มากำหนดเดินภายนอกจะได้หรือไม่  ท่านตอบว่า ได้  ไม่มีข้อห้ามแต่

อย่างใด (ผู้ฝึกฝนด้วยตนเองควรฝึกเฉพาะขั้นพื้นฐานในขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ เพียงเท่านี้ให้มั่นใจก่อน  ต่อจากนี้ ควรจะมีครูบาอาจารย์เป็นที่

ปรึกษาและกำกับดูแล)

  เพื่อความเข้าใจของผู้ฝึก จึงขอยกขั้นต่อไปมากล่าวไว้บ้างเล็กน้อยคือการฝึกธาตุน้ำตามพระคาถาดังนี้

        นะโมพุทธายะ  นะมะมะนะ

        นะโมพุทธายะ  นะพะพะนะ

        นะโมพุทธายะ  นะทะทะนะ

   การบริกรรมคือ ว่า นะ โม พุท ธา ยะ นำหน้า แล้วตามด้วยวรรคหนึ่งวรรคใด เช่น นะ โมพุทธายะ  นะมะมะนะ เป็นต้น  เป็นการเจริญธาตุน้ำ

สามารถฝึกฝนด้วยตนเองได้เช่นกัน เพราะเมื่อนำหน้าด้วย นะ ก็คือ หมวดน้ำ ไม่มีอันตรายใดๆ  หลวงพ่อห้ามไว้แต่ ไฟ กับ ลม (นำหน้าด้วย 

พะ กับ นำหน้าด้วย ทะ)ว่าอย่าเพิ่งไปเล่นมาก มันจะร้อนและอาจมีผลข้างเคียง

   การฝึกแต่ละธาตุในขั้นต้นนี้ เมื่อทำได้แล้วก็จะเข้าใจว่า มีความเชื่อมโยงกับความหมายของคำที่ว่า “คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว” ตามถ้อย

คำปริศนาที่มีมาแต่โบราณว่า  ...หกสองหกยกออกเสียตัว  พระเจ้าอยู่หัวตัวเดิมอย่าละ  นะที่ใดนะนำที่นั้น  คนสามบ้านกินน้ำสร้าง(บ่อ)เดียว  

ไปตักน้ำอย่าข้ามทางกัน  ไปทางใดให้คืนทางนั้น...

  คนที่ฝึกคล่องแคล่วในหมวด ธาตุทั้งสี่ แล้ว ต่อไปก็จะฝึก ขันธ์ทั้งห้า ได้แก่

    นะ โม พุทธ า ยะ คือ รูป

    ยะ นะ โม พุท ธา คือ เวทนา

    ธา ยะ นะ โม พุท คือ สัญญา

    พุท ธ า ยะ นะ โม คือ สังขาร

    โม พุทธ า ยะ นะ คือ วิญญาณ

   (ในส่วนท้ายนี้ ยกมาอธิบายพอเข้าใจ)

             ภาคผนวก

   ความเข้าใจในเรื่องธาตุ  ท่านที่สนใจฝึกฝน ธาตุกรรมฐาน และ วิชาเดินธาตุ อย่างจริงจังนั้น  สมควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาทำความเข้าใจใน

เรื่อง ธาตุกรรมฐาน โดยสามารถค้นจากพระไตรปิฎกได้ใน มหาราหุโลวาทสูตร มหาหัตถิปโทปมสูตร และมหาสติปัฏฐานสูตร ตลอดทั้งควรได้

มีโอกาส อ่าน ธรรมบรรยายพิเศษหัวข้อธาตุวิภังคสูตรธรรมบรรยาย ซึ่งรวมอยู่ในหนังสือโสฬสปัญหา  พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร 

สมเด็จพระสังฆราช เจ้า สกลมหาสังฆปริณายกด้วย  อย่างไรก็ตาม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในเบื้องต้นของผู้ที่ตั้งใจศึกษาและฝึกฝนจริง  

ผู้เขียนจึงขอยกเอาคำจำกัด

ความในส่วนที่เห็นว่ามีความจำเป็นต้องเข้าใจอย่างชัดเจนมาพอสังเขปดังนี้

       ธาตุกัมมัฏฐาน

   ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ (กรรมฐานคือธาตุ, กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ กำหนดพิจารณากายนี้แยกเป็นส่วนๆ ให้เป็นว่าเป็นเพียงธาตุสี่

แต่ละอย่าง จึงขึ้นอยู่กับเหตุคือธาตุทั้ง ๔  จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา ดังนั้นนั่นเอง นั่นจึงไม่ใช่เรา เราจึงไม่ใช่นั่น นั่นจึงไม่ใช่ตัวตนของเรา)

      ๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็น

อารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่

อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะแข้นแข็ง เป็นต้น อย่างเดียวกันนี้

      ๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็น

อารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะ

เอิบอาบ เป็นต้น อย่างเดียวกันนี้.

      ๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุที่มีลักษณะร้อน ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็น

อารมณ์ ของกรรมฐาน ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่ยังอาหารให้ย่อย หรือสิ่งอื่นใด

ก็ตามในตัว ที่มีลักษณะร้อน เป็นต้น อย่างเดียวกันนี้

      ๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุที่มีลักษณะพัดผันเคร่งตึง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายในสำหรับกำหนด พอให้สำเร็จ

ประโยชน์ เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมซ่านไปตามตัว ลมหายใจ หรือสิ่งอื่นใด

ก็ตามในตัว ที่มีลักษณะพัดผันไป เป็นต้น อย่างเดียวกันนี้

       ตัวอย่างธาตุที่แสดงข้างต้นนี้ ในปฐวีธาตุมี ๑๙ อย่าง ในอาโปธาตุมี ๑๒ อย่าง เติมมัตถลุงค์ คือ มันสมอง เข้าเป็นข้อสุดท้ายในปฐวีธาตุ 

รวมเป็น ๓๒ เรียกว่า อาการ ๓๒ หรือ ทวัตติงสาการ.

      ธาตุกัมมัฏฐาน นี้ เรียกอย่างอื่นว่า ธาตุมนสิการ (การพิจารณาธาตุ) บ้าง จตุธาตุววัฏฐาน (การกำหนดธาตุสี่) บ้าง   เมื่อพิจารณากำหนด

ธาตุ ๔ ด้วยสติสัมปชัญญะ มองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไปในกาย ตระหนักว่ากายนี้ก็สักว่ากาย มิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา 

ดังนี้ จัดเป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐานส่วนหนึ่ง

     อากาสธาตุ ธาตุอากาศ ได้แก่ส่วนที่มีลักษณะเป็นช่องว่างบรรดาที่มีอยู่ในกายนี้ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอที่กลืนอาหารลงไป 

ช่องที่บรรจุอาหารไว้ในท้อง และช่องที่ถ่ายอาหารเก่าออกไปในภายนอกกับช่องอื่นๆภายในกาย อันนี้บรรดาที่มีอยู่ในกายนี้ก็รวมเรียกว่า อากาสธาตุ หรือ ธาตุอากาศ

      วิชาเดินธาตุ

   การตั้งธาตุและหนุนธาตุเบื้องต้น  ความเข้าใจในหลักการตั้งธาตุและหนุนธาตุ

           การตั้งธาตุ

   การตั้งธาตุนั้นให้ตั้งแม่ธาตุใหญ่เสียก่อนแล้วจึงตั้งตัวธาตุ ๔ คือตั้ง นะโมพุทธายะ และก่อนที่จะตั้งธาตุให้ว่า คาถาชุมนุมธาตุ ดังนี้

     เอหิปถวีพรหมา เอหิอาโปอินทรา

     เอหิเตโชนารายะ เอหิวาโยอิสรา

 จากนั้นให้ว่า คาถาตั้งแม่ธาตุ ดังนี้

      นะอิเพชชคง อรหัง สุคโต ภควา      โมติ พุทธะสัง อรหัง สุคโต ภควา

      พุทปิ อิสวาสุ อรหัง สุคโต ภควา       ธาโส มะอะอุ อรหัง สุคโต ภควา

      ยะภะอุอะมะ อรหัง สุคโต ภควา

   เมื่อได้ตั้ง แม่ธาตุใหญ่ คือ นะโมพุทธายะ แล้ว ให้ตั้ง ธาตุทั้ง 4 คือ นะมะพะทะ และ ธาตุพระกรณี คือ จะภะกะสะ ตามลำดับ ดังนี้

          ตั้ง อาโปธาตุ ว่า  นะโมพุทธายะ   นะมะพะทะ         จะภะกะสะ

          ตั้ง ปถวีธาตุ ว่า  นะโมพุทธายะ    มะพะทะนะ         ภะกะสะจะ

          ตั้ง เตโชธาตุ ว่า นะโมพุทธายะ    พะทะนะมะ         กะสะจะภะ

          ตั้ง วาโยธาตุว่า  นะโมพุทธายะ    ทะนะมะพะ          สะจะภะกะ

            วิธีหนุนธาตุ

   การหนุนธาตุนั้นท่านให้หนุนด้วยแก้ว 4 ดวงคือ นะมะอะอุ กล่าวคือ

         นะ     คือ แก้วมณีโชติ

         มะ     คือ แก้วไพฑูรย์

         อะ     คือ แก้ววิเชียร

         อุ       คือ แก้วปัทมราช

   เมื่อตั้ง อาโปธาตุ ให้เอา แก้วมณีโชติ หนุน

   เมื่อตั้ง ปถวีธาตุ  ให้เอา แก้วไพฑูรย์ หนุน

   เมื่อตั้ง เตโชธาตุ ให้เอา แก้ววิเชียร หนุน

   เมื่อตั้ง วาโยธาตุ ให้เอา แก้วปัทมราช หนุน

  การหนุนธาตุนี้  ท่านโบราณาจารย์วางไว้เป็นปริศนาให้คิดกันเอาเองจากข้อความที่ว่า “หกสองหก  ยกเสียสองตัว  คุณแก้วอยู่เหนือหัว  

คำเดิมอย่าเสีย  ผู้ใดคิดได้บ่ห่อนจะได้เมีย  ผู้ใดคิดเสียก็บ่เป็นแก่นสาร  ผู้ใดคิดสบจะได้พบพระศรีอาริย์  ผู้ใดคิดกรานบ่มิพานพบเลย”  

ต่อมาจึงเกิดผังรูปแบบขึ้นมาดังนี้

      นะ  อะ  อุ     มะ  

      (หนุน ปฐวีธาตุ)

      มะ  อะ  อุ  นะ

      (หนุนอาโปธาตุ)

     นะ  มะ   อุ   อะ

     (หนุน เตโชธาตุ)

      นะ  มะ  อะ  อุ

     (หนุน วาโยธาตุ)

        การหนุนด้วยแก้วจึงเป็นดังนี้

  ๐นะโมพุทธายะ    นะมะพะทะ         จะภะกะสะ  หนุนด้วย แก้วมณีโชติ นะมะมะนะ  นะอะอะนะ  นะอุอุนะ

    นะโมพุทธายะ    มะพะทะนะ         ภะกะสะจะ  หนุนด้วย แก้วไพฑูรย์ มะนะนะมะ  มะอะอะมะ  มะอุอุมะ

    นะโมพุทธายะ    พะทะนะมะ         กะสะจะภะ หนุนด้วย แก้ววิเชียร อะนะนะอะ  อะมะมะอะ  อะอุอุอะ

    นะโมพุทธายะ    ทะนะมะพะ         สะจะภะกะ หนุนด้วย แก้วปัทมราช อุนะนะอุ  อุมะมะอุ  อุอะอะอุ

     **ข้อสังเกต:-

   ๑.การตั้งธาตุและหนุนธาตุเบื้องต้นนี้  ผู้เขียนได้เทียบเคียงและตรวจสอบจากตำราโบราณหลายฉบับ ส่วนใหญ่นั้นมีเนื้อความตรงกัน จะมีข้อ

ผิดพลาดเฉพาะอักขระซึ่งเกิดจากการบันทึกหรือพิมพ์ผิด

   ๒.การเรียงอักขระในเบื้องต้นนี้ สามารถตรวจสอบการลำดับอักขระในลักษณะหมุนวน คือมี กำหนดที่เริ่มต้น แล้วไล่ตามลำดับ แล้วกลับมา

บรรจบที่เดิม เหมือนตัวเลข  ๑ ๒ ๓ ๔    ๒ ๓ ๔ ๑    ๓ ๔ ๑ ๒    ๔ ๑ ๒ ๓  เช่น นะมะพะทะ  มะพะทะนะ  พะทะนะมะ  ทะนะมะพะ และ จะภะกะสะ  

ภะกะสะจะ  กะสะจะภะ สะจะภะกะ เป็นต้น  นอกจากนี้ก็มีลักษณะ ไป – กลับ เหมือนตัวเลข ๑๒ – ๒๑    ๑๓ – ๒๑    ๑๔ – ๔๑ เช่น 

นะมะมะนะ  นะอะอะนะ  นะอุอุนะ เป็นต้น  ถ้าตำราใดมีการบันทึกหรือพิมพ์ผิดก็จะไม่เป็นไปตามนี้  อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบแบบนี้ใช้ได้

เฉพาะการตั้งธาตุ และหนุนธาตุในระดับเบื้องต้นเท่านั้น

   สรุปการตั้งธาตุและหนุนธาตุแบบมาตรฐานเบื้องต้น  เมื่อได้ทำความเข้าใจในหลักและวิธีการแล้วจึงขอสรุปวิธีการและขั้นตอนปฏิบัติให้แน่

ชัดลงไปในเบื้องต้นตามลำดับ ดังนี้

    ๑.บริกรรมภาวนา คาถาชุมนุมธาตุ ๑ จบ ว่า

       ๐เอหิปถวีพรหมา  เอหิอาโปอินทรา

       เอหิเตโชนารายะ  เอหิวาโยอิสรา

    ๒.บริกรรมภาวนา คาถาตั้งแม่ธาตุใหญ่ ๑ จบ ว่า

      ๐นะอิเพชชคงอรหังสุคโตภควา      โมติพุทธะสังอรหังสุคโตภควา

      พุทปิอิสวาสุอรหังสุคโตภควา       ธาโสมะอะอุอรหังสุคโตภควา

      ยะภะอุอะมะอรหังสุคโตภควา

   ๓.บริกรรมภาวนา ตั้งธาตุและหนุนธาตุ อย่างน้อย ๑ จบ ว่า

       ๐นะโมพุทธายะ    นะมะพะทะ  จะภะกะสะ  นะมะมะนะ  นะอะอะนะ  นะอุอุนะ

       นะโมพุทธายะ    มะพะทะนะ  ภะกะสะจะ  มะนะนะมะ  มะอะอะมะ  มะอุอุมะ

       นะโมพุทธายะ    พะทะนะมะ  กะสะจะภะ  อะนะนะอะ  อะมะมะอะ  อะอุอุอะ

       นะโมพุทธายะ    ทะนะมะพะ  สะจะภะกะ  อุนะนะอุ  อุมะมะอุ  อุอะอะอุ

      บทนี้พระครูบาอาจารย์บอกว่ายิ่งเจริญมากก็ยิ่งดี จะทำให้ธาตุในตัวเราบริบูรณ์ยิ่งขึ้น

   ๔.เจริญภาวนา อาการ ๓๒ ให้บริกรรมภาวนาและระลึกไปในอาการ 32 อย่างน้อย ๑ จบ ว่า

       ๐หันทะ  มะยัง  กายะคะตาสะติกัมมัฏฐานัง  กาโรมะ  เส

       อะยัง  โข  เม  กาโย                    กายของเรานี้แล

       อุทธัง  ปาทะตะลา                       เบื้องต้นแต่พื้นเท้าขึ้นมา

       อะโธ  เกสะมัตถะกา                    เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

       ตะจะปะริยันโต                           มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

       ปูโร  นานับปะการัสสะ  อะสุจิโน  เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ

       อัตถิ  อิมัสมิง  กาเย                    มีอยู่ในกายนี้

       เกสา                                          ผมทั้งหลาย

       โลมา                                          ขนทั้งหลาย

       นะขา                                          เล็บทั้งหลาย

       ทันตา                                         ฟันทั้งหลาย

       ตะโจ                                          หนัง

       มังสัง                                          เนื้อ

       นะหารู                                        เอ็นทั้งหลาย

       อ้ฏฐิ                                           กระดูกทั้งหลาย

       อัฏฐิมิญชัง                                 เยื่อในกระดูก

       วักกัง                                         ไต

       หะทะยัง                                     หัวใจ

       ยะกะนัง                                     ตับ

       กิโลมะกัง                                   พังผืด

       ปิหะกัง                                       ม้าม

       ปับผาสัง                                     ปอด

       อันตัง                                         ไส้ใหญ่

       อันตะคุณัง                                  สายรัดไส้

       อุทะริยัง                                      อาหารในท้อง

       กะรีสัง                                        อาหารเก่า

       ปิตตัง                                         น้ำดี

       เสมหัง                                        น้ำเสลด

       ปุพโพ                                        น้ำเหลือง

       โลหิตัง                                       น้ำเลือด

       เสโท                                          น้ำเหงื่อ

       เมโท                                          น้ำมันข้น

       อัสสุ                                           น้ำตา

       วะสา                                          น้ำมันเหลว

      เขโฬ                                          น้ำลาย

      สิงฆาณิกา                                  น้ำมูก

      ละสิกา                                        น้ำไขข้อ

     มุตตัง                                          น้ำมูตร

     มัตถะเก  มัตถะลุงคัง                    เยื่อมันสมองในกะโหลกศีรษะ

     เอวะมะยัง  เม  กาโย                     กายของเรานี้แล

     อุทธัง  ปาทะตะลา                         เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

     อะโธ  เกสะมัตถะกา                      เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

     ตะจะปะริยันโต                             มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

     ปูโร  นานับปะการัสสะอะสุจิโนติ  เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ อย่างนี้แล

   บทนี้พระครูบาอาจารย์บอกว่ายิ่งเจริญมากก็ยิ่งดี ทั้งนี้ จะบริกรรมเฉพาะเนื้อความคาถาหรือบริกรรมทั้งเนื้อความคาถาและคำแปลด้วยก็ได้

เช่นกัน

       **หมายเหตุ:-

  วิชาเดินธาตุในเบื้องต้นแบบมาตรฐานทั่วไปนี้  ผู้เขียนได้เปรียบเทียบและตรวจสอบจากตำราหลายฉบับโดยยึดเอา คู่มือพระปรมาจารย์ เป็น

หลัก ได้แก้ไขความผิดพลาดและได้กราบเรียนขอความกรุณาพระครูบาอาจารย์ผู้ที่เคยฝึกฝนปฏิบัติมาจริงให้ท่านตรวจสอบให้แล้ว  สำหรับ

ท่านที่ฝึกฝนตามตำราอื่น อาจมีคำบูชาครู คำอาราธนาดวงแก้ว พระคาถา และอักขระที่แตกต่างกันไป

       วิชาธาตุ ๔ ของโบราณ

    ๐หัวใจวิชาธาตุ ๔  คือ นะ  มะ  พะ  ทะ

       -นะ      หมายถึงธาตุ      ธาตุน้ำ

       -มะ       หมายถึงธาตุ     ธาตุลม

       -พะ      หมายถึงธาตุ      ธาตุไฟ

       -ทะ       หมายถึงธาตุ      ธาตุดิน

       -อาโปธาตุ  คือธาตุน้ำ     ได้แก่  นะ  มะ  พะ  ทะ

       -วาโยธาตุ  คือธาตุลม     ได้แก่  มะ  พะ  ทะ  นะ

       -เตโชธาตุ  คือธาตุไฟ     ได้แก่  พะ  ทะ  นะ  มะ

       -ปฐวีธาตุ  คือธาตุดิน      ได้แก่  ทะ  นะ  มะ  พะ

       -คาถาหัวใจพระเจ้า ๕ พระองค์  คือ  นะโมพุทธายะ  

       -คาถาพระธาตุกรณี  คือ  จะ  ภะ  กะ  สะ

         จะ เป็นปฐวีกสิณ คือธาตุดิน

         ภะ เป็นอาโปกสิณ คือธาตุน้ำ

         กะ เป็นเตโชกสิณ คือธาตุไฟ 

         สะ เป็นวาโยกสิณ คือธาตุลม

            คาถาธาตุทั้ง ๔

    -อาโปธาตุ     คือ นะโมพุทธายะ     นะมะพะทะ    จะภะกะสะ

    -วาโยธาตุ     คือ นะโมพุทธายะ     มะพะทะนะ     ภะกะสะจะ

    -เตโชธาตุ     คือ นะโมพุทธายะ     พะทะนะมะ     กะสะจะภะ

    -ปฐวีธาตุ       คือ นะโมพุทธายะ    ทะนะมะพะ     สะจะภะกะ

          ๐อุปเท่ห์ในการใช้ ธาตุทั้ง  ๔  คือ:-

       -ถ้าจะทำให้เป็นต่อเป็นแตนให้เอาข้าวสารเสกด้วย วาโยธาตุ  ๑๐  จบ

       -ถ้าจะอาบน้ำร้อนไม่ร้อนให้เสกน้ำร้อนด้วย อาโปธาตุ ๑๕ จบ  และเสกด้วย เตโชธาตุอีก ๑๕ จบ

       -ถ้าจะลุยไฟให้เอาน้ำลายของเราเสกด้วยธาตุทั้ง ๔ อย่างละ ๑๘ จบ

       -ถ้าจะสะเดาะกุญแจให้เสกกุญแจด้วย วาโยธาตุ  ๑๔  จบ

       -ถ้าปราถนาอยากจะให้ฝนตกในเวลาเที่ยงคืน สวดภาวนา อาโป ๑๐๘ จบ  และสวดภาวนา วาโยธาตุ  อีก  ๑๐๘  จบ

       -ถ้าจะห้ามลมและห้ามฝน  ให้สวด อาโปธาตุ  ๑๖  จบ   และ สวดปฐวีธาตุอีก  ๑๖ จบ

       -ถ้าอยากจะสมานบาดแผลที่เกิดขึ้ตามเนื้อตามตัว  ให้เสกเป่าลงไปที่บาดแผลด้วย

 

        ปฐวีธาตุ  ๑๑  จบ   และเสกด้วย วาโยธาตุ  ๑๑  จบ

       -ถ้าอยากจะปลุกเสกวัตถุมงคลให้มีอิทธิฤทธิ์และคงกระพันชาตรี  ให้เอาใบไม้รู้นอน  ๓  อย่าง มาบดให้แหลกละเอียดแล้วตำผสมกับกล้วย

สุกและใส่น้ำมันตั้งอิ้วลงไป  แล้วจึงปั้นให้เป็นรูปหณุมานนั่งขัดสมาธิเพชร แล้วให้ปลุกเสกด้วย ปฐวีธาตุ  ๑๐๘  จบ  และ วาโยธาตุอีก  ๑๐๘ จบ 

 เวลาจะปลุกเสกให้เอาอาวุธทั้งหลายมารองตรงที่นั่งแล้วจึงนั่งทับอาวุธทั้งหลายเหล่านั้นทำการปลุกเสกต่อไป  เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้วรูปหณุมาน

จะเกิดความศักดิ์สิทธิสามารถจะนำเอาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างตามปราถนา  เวลาจะเดินทางไปไหนให้พกติดตัวไปด้วยจะสามารถป้องกันภัย

และอันตรายต่างๆได้หมดสิ้น

    **คำเตือนจากผู้เขียน:-

   -วิชาธาตุ ๔ จะมีฤทธิ์เดชและอำนาจได้ต้องอาศัยอัปปมาสมาธิ  เพราะวิชาธาตุ ๔ มีอัปปมาสมาธิเป็นพื้นฐานจึงจะสามารถแสดงฤทธิเดชและ

อำนาจต่างๆได้ เพราะฉะนั้น ผู้เรียนวิชาธาตุ ๔ จึงต้องบำเพ็ญเพียรให้ได้สมาธิในขั้นอัปปมาสมาธิจึงจะแสดงอิทธิฤทธิ์ได้  เพียงแต่ท่องจำได้

อย่างเดียวจะไม่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้เลย  ข้อนี้จะลืมเสียมิได้  ผู้เรียนวิชาธาตุ ๔  ถ้าได้สมาธิในขั้นอุปจาระสมาธิแสดงอิทธิฤทธิ์ได้บ้างแต่

ไม่มากเหมือนกับผู้ได้สมาธิในขั้นอัปปะนาสะมาธิ 

              สมาธิ

    -สมาธิ ” แปลว่า "ความตั้งมั่นแห่งจิต" เรียกอีกอย่างหนึ่งว้่า "เอกัคคตาจิต  คือจิตมีอรมณ์เป็นหนึ่ง" ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็น

หนึ่ง คือ การที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไปส่ายมาในสิ่งอื่นอารมณ์อื่น

      สมาธิ นั้น แบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ

      ๑. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ (momentary concentration) ซึ่งคนสามัญทั่วไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่

กิจการงาน ในชีวิตประจำวัน ให้ได้ผลดี

      ๒. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียดๆ หรือจวนจะแน่วแน่  (neighborhood concentration)

      ๓. อัปปนาสมาธิ  สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท  (attainment concentration) สมาธิอยู่ในขั้นฌาน เป็นสมาธิระดับสูงสุด ซึ่งถือว่า

เป็นความสำเร็จที่ต้องการของการเจริญสมาธิ

     สมาธิ เป็นความตั้งมั่น เป็นสภาวะธรรมที่มีจริง ทุกขณะที่จิตเกิดขึ้น จะต้องมีสมาธิเกิดร่วมด้วย   สมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก ที่เกิดกับจิตทุก

ดวง มีความเสมอกันกับจิตที่เกิดร่วมด้วย เป็นไปได้ทั้งกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา ตามประเภทของจิตนั้น ๆ

    ซึ่งสมาธิก็มีระดับความตั้งมั่นของสมาธิเช่นกัน ซึ่ง ขณิกะสมาธิ คือ ขณะที่จิตตั้งมั่นเพียงชั่วขณะ แต่ถ้ามีความตั้งมั่นที่มีกำลัง ก็จะเพิ่มเป็น

อุปจาระสมาธิ และ เมื่อถึงความแนบแน่นก็ถึงความเป็นอัปปนาสมาธิ

   ขณิกสมาธิ  ก็คือ ขณิก ( ชั่วขณะ )  +  สมาธิ (ความตั้งมั่น ) สมาธิที่เป็นไปชั่วขณะ หมายถึง เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตที่เป็นไปตามปกติ

ของบุคคลทั่วไป เช่น ขณะที่เห็น   ได้ยิน  ได้กลิ่น   ลิ้มรส  รู้สัมผัส  ขณะที่ยืน  เดิน นั่ง นอน  ตามปกติก็มีขณิกสมาธิเกิดร่วมด้วยเสมอ

   อุปจารสมาธิ   เป็นสมาธิที่สงบจากอกุศล  สงบจากนิวรณ์   ใกล้ถึงอัปปนาสมาธิ แต่ยังไม่ใช่ปฐมฌาน  คือเป็นแต่เพียงเฉียดๆปฐมฌาน

   อัปปนาสมาธิ   ก็คือ อัปปะนา  แปลว่า "ความแนบแน่น" + สมาธิ   แปลว่า "ความตั้งมั่น" สมาธิที่ถึงความแนบแน่น  หมายถึง    สมาธิที่เกิด

กับฌานจิตซึ่งพ้น จากรูป   เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  ธัมมาอารมณ์   สามารถข่มกิเลสนิวรณ์ได้  ตลอดเวลาที่ยังไม่ออกจากฌาน

   ดังนั้น จากคำถาม ขณะที่เป็นฌานจิต ขณะนั้น จิตสงบแนบแน่น สงบจากนิวรณ์กิเลส เป็นขณะที่เป็นอัปปนาสมาธิ  ตั้งแต่ ปฐมฌาน จนถึง 

อรูปฌาน  ส่วน ขณะที่เป็นอุปจารสมาธิ ใกล้จะถึง ปฐมฌาน ใกล้ถึง อัปปนาสมาธิ ส่วน ขณิกสมาธิ ก็เป็นสมาธิชั่วขณะ เช่น ขณะนี้ มี

เอกัคคตาเจตสิก ที่เป็นสมาธิตั้งมั่นชั่วขณะ

    เพราะฉะนั้น จึงเรียงลำดับความสงบแนบแน่นของจิต เป็น ขณิกะสมาธิ อุปจาระสมาธิ และ อัปปะนาสมาธิ เมื่อจิตเป็นอัปปะนาสมาธิ   จิตนั้น

จึงจะได้ ฌานจิต     

                  ธัมมิกสูตร

    ธัมมิกสูตร บ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกเอาไว้ว่า “ครั้นชาวบ้านชาวเมืองประพฤติไม่เป็นธรรม ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ก็โคจรไม่

สม่ำเสมอ  ครั้นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรไม่สม่ำเสมอ ดาวนักษัตรทั้งหลายก็เดินไม่เที่ยงตรง ครั้นดาวนักษัตร  ทั้งหลายเดินไม่เที่ยงตรง คืน

และวันก็เคลื่อนไป ครั้นคืนและวันเคลื่อนไป เดือนและปักษ์ก็คลาดไป ครั้นเดือนและปักษ์คลาดไป ฤดูและปีก็เคลื่อนไป ครั้นฤดูและปีเคลื่อนไป ลม

ก็พัดผันแปรไป ครั้นลมพัดผันแปรไป ลมนอกทางก็พัดผิดทาง ครั้นลมนอกทางพัดผิดทาง เทวดาทั้งหลายก็ปั่นป่วน ครั้นเทวดาทั้งหลายปั่น

ป่วน ฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ครั้นฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายบริโภคข้าวที่สุก

ไม่ดี ย่อมอายุสั้น ผิวพรรณก็ไม่งาม กำลังก็ลดถอยและมีโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น"

 

 

 

 

 

 

 

 

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 139,922